SCB 10X – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 01 Apr 2022 11:25:34 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 อัปเดต ‘Moonshot Mission’ ของ SCB 10X ความท้าทายในการเเสวงหา ‘ยูนิคอร์นตัวใหม่’ https://positioningmag.com/1379519 Thu, 31 Mar 2022 12:21:43 +0000 https://positioningmag.com/?p=1379519 ในปีที่ผ่านมา ‘SCB 10X’ โฮลดิ้งคอมพานีในกลุ่มไทยพาณิชย์ ที่มุ่งเข้าไปลงทุนในบริษัทเทคดาวรุ่งและสตาร์ทอัพศักยภาพสูงทั่วโลก ได้รับการจัดอันดับจาก CB Insights ให้เป็น Corporate Venture Capital (CVC) ที่ ลงทุนในสตาร์ทอัพด้าน ‘Fintech’ มากที่สุด เป็นอันดับ 2  ร่วมกับ PayPal Ventures ยักษ์ใหญ่จากสหรัฐฯ เเละและอันดับที่ 8 จาก CVC ทั่วโลก

โดย SCB 10X โฟกัสการลงทุนในธุรกิจใหม่ที่ขับเคลื่อนด้วยดิจิทัลเทคโนโลยี ทั้งการเข้าไปลงทุนเอง การลงทุนร่วมสร้าง กับเป้าหมายผลักดันให้กลุ่มไทยพาณิชย์เติบโตสู่การเป็นกลุ่มบริษัทเทคโนโลยีการเงิน ที่มีมูลค่าเกิน 1 ล้านล้านบาทและฐานลูกค้ากว่า 200 ล้านคน นับเป็นก้าวสำคัญที่จะนำมาซึ่งโอกาสด้านการลงทุนเเละสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ในประเทศ

วันนี้ เราจะมาพูดคุยกับมุขยา พานิช Chief Venture and Investment Officer บริษัท เอสซีบี เท็นเอกซ์ จำกัด (SCB 10X) กับภารกิจ “Moonshot Mission” พร้อมอัปเดตโปรเจกต์ แผนการลงทุนเเละเทรนด์เทคโนโลยีที่น่าสนใจ ความท้าทายของวงการสตาร์ทอัพ สงครามการเเย่งชิงเหล่า ‘Talents’ เเละคนเเบบไหนที่ SCB 10X อยากได้มาร่วมงานมากที่สุด

เดินหน้าปั้น ‘ยูนิคอร์น’ ตัวใหม่ 

มุขยา อธิบายถึง “Moonshot Mission” ของ SCB 10X ให้ฟังว่า เป็นเหมือนภารกิจการเดินทางออกไปสำรวจความเป็นไปได้ใหม่ๆ เพื่อสร้างการเติบโตแบบก้าวกระโดดให้กับองค์กร

โดยจะมีการโฟกัสไปที่การลงทุนด้าน ‘Disruptive Technology’ ได้แก่ เทคโนโลยีด้านการเงิน (Fintech) โดยเฉพาะบล็อกเชน (Blockchain) ที่เกี่ยวกับด้าน Financial Services รวมถึงสินทรัพย์ดิจิทัล (Digital Asset) Web 3.0 และ Metaverse

นอกจากนี้ ยังมีความสนใจเกี่ยวกับเทคโนโลยี DAO หรือ Decentralized Autonomous Organization ที่มีแนวโน้มจะเติบโตสูง ตามจำนวนโปรเจกต์ที่เกี่ยวกับ DeFi, NFT, Web 3.0 ที่มีมากขึ้น

ในช่วงที่ผ่านมา SCB 10X ได้เข้าไปลงทุนไปในสตาร์ทอัพแล้วกว่า 48 แห่ง บริษัทใน 15 ประเทศทั่วโลก

ในจำนวนนี้มี 10 บริษัทที่ประสบความสำเร็จขึ้นเป็นยูนิคอร์น (มูลค่ามากกว่า 1 พันล้านดอลลาร์) เเละอีก 11 บริษัทได้เป็นเซ็นทอร์ (มูลค่ามากกว่า 100 ล้านดอลลาร์) และ 5 บริษัทเป็นลิตเติลโพนี่ (มูลค่ามากกว่า 10 ล้านดอลลาร์)

โดยเป็นการลงทุนทั้งในเเบบ Build คือ Venture Builder และ Invest คือ Venture Capital ผ่านงบประมาณสำหรับลงทุนในช่วง 3-5 ปี ที่มีอยู่กว่า 2 หมื่นล้านบาท ซึ่งปัจจุบันยังมีเงินทุนเหลือเพียงพอที่จะเข้าไปลงทุนเเละปลุกปั้นสตาร์ทอัพตัวต่อๆ ไป

สำนักงานใหญ่บน Metaverse เชื่อมต่อผู้คนทั่วโลก

สำหรับการเปิดตัวสำนักงานใหญ่ (Headquarters) ของ SCB 10X ใน ‘The Sandbox’ แพลตฟอร์มโลกเสมือนจริงที่พัฒนาบนเทคโนโลยีบล็อกเชน หรือ Metaverse นั้น มีจุดประสงค์หลักคือการเป็นพื้นที่สำหรับสร้างรากฐานระบบนิเวศและคอมมูนิตี้ที่ขับเคลื่อนโดยชุมชน (Community-Driven) บนโลก Metaverse รวมถึงมุ่งสนับสนุนส่งเสริมและผลักดันความคิดสร้างสรรค์ของศิลปินชาวไทยสู่ตลาดโลก

นอกจากนี้ ยังเป็นพื้นที่สำหรับเชื่อมผู้คนจากทั่วทุกมุมโลก ให้สามารถเข้ามามีส่วนร่วมบนโลกเสมือนจริงพร้อมต่อยอดและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอันทันสมัยกับอุตสาหกรรมต่างๆ รวมถึงอุตสาหกรรมการเงิน คาดว่าจะสามารถเปิดให้บุคคลทั่วไปเข้าเยี่ยมชมได้ภายในไตรมาส 4 ปี 2565 นี้

โดยแบ่งประโยชน์การใช้สอย 3 ด้านหลัก ได้แก่ 

1. Virtual Hub พื้นที่แบ่งปันความรู้ (Event & Knowledge Sharing) เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีและการมีส่วนร่วม

2. Virtual Land พื้นที่สำหรับพันธมิตรทางธุรกิจในการทำกิจกรรมร่วมกันและพัฒนาต่อยอดโครงการอื่น ๆ ในอนาคต

3. พื้นที่แสดงผลงานและคอนเสิร์ต สนับสนุนและผลักดันศิลปินชาวไทยสู่ตลาดโลก ในรูปแบบต่างๆ เช่น NFT Gallery เป็นต้น

บิ๊กดีล SCB 10X ร่วม CP คาดได้ใบอนุญาตใน Q3

ด้านความคืบหน้าของบิ๊กดีลระหว่าง 2 บริษัทยักษ์ใหญ่ในไทย โดยในปีนี้นี้ SCB 10X  มีแผนจะจัดตั้งกองทุน Venture Capital (VC) ร่วมกับเครือเจริญโภคภัณฑ์ (CP) ขนาด 600-800 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 19,800-26,400 ล้านบาท)

เพื่อลงทุนใน ‘Disruptive Technology’ ด้านบล็อกเชนสินทรัพย์ดิจิทัลเทคโนโลยีด้านการเงินและเทคโนโลยีอื่นๆที่มีศักยภาพในการเติบโตสูงทั่วโลกซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาอนุมัติจากหน่วยงานกำกับทางการ โดยคาดว่าจะได้รับใบอนุญาตภายในช่วงไตรมาส 3 ของปีนี้

มีวินัยในการลงุทน ‘Valuation’ ต้องไม่สูงเกินไป 

เมื่อถามถึงความท้าทายของการลงทนสตาร์ทอัพในปีนี้ คุณมุขยา มองว่าคือเรื่องมูลค่า’ (Valuation) เพราะในปีที่ผ่านมา ทั้งบล็อกเชนและสินทรัพย์ดิจิทัลได้รับความนิยมเเละเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางมากขึ้น

ซึ่งจะเห็นว่ามี Venture Capital (VC) จำนวนมากเข้ามาลงทุนในสตาร์ทอัพเหล่านี้ เเละแม้แต่ VC ที่เน้นการลงทุนแบบดั้งเดิมก็กระโจนเข้ามาในธุรกิจนี้ เกิดการระดมทุนใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง ดังนั้น Valuation ของสตาร์ทอัพในปีนี้ จึงค่อนข้างสูงกว่าปีที่เเล้ว

“สตาร์ทอัพ Series A ในปีนี้ ราคาต่างกับปีที่เเล้วค่อนข้างเยอะ เป็นความท้าทายอย่างมาก เราเองจึงต้องมีวินัยในการลงทุน เมื่อมองว่าราคาสูงเกินไปก็ต้อง ‘Walk Away’ ออกมาเพื่อรอจังหวะ รวมถึงเข้าไปลงทุนในสตาร์ทอัพตั้งแต่ระดับ Early Stage และ Seed Round ซึ่งยังมีราคาไม่สูงมากนัก เลือกลงทุนใน Series A มากขึ้น เพราะ Series B และ C อาจจะแพงเกินไป”

สำหรับสตาร์ทอัพที่ ‘SCB 10X’ อยากจะเข้าไปลงทุนนั้น จะโฟกัสเเละให้ความสำคัญกับเรื่องโครงสร้างพื้นฐานค่อนข้างมาก ก่อนที่จะมีการขยับไปครีเอทเเอปพลิเคชันเเละอื่นๆ โดยปีนี้สนใจหมวด Web 3.0 เป็นพิเศษ

ศึกชิง ‘Talents’ ตามหาคน ‘กล้าพูด กล้าทำ’

โดยระหว่างปี 2022-2024 ถือเป็นช่วงที่ ‘SCB 10X’ ตั้งเป้าการเติบโตแบบ Exponential จึงต้องมีการขยายทีมมากขึ้นทั้งด้านการลงทุนเเละซัพพอร์ต ซึ่งหนึ่งในความท้าทายที่สำคัญ ก็คือการเฟ้นหา ‘Talents’ แรงงานทักษะสูงเข้ามาเสริมทัพ

การเฟ้นหา Talents ในเมืองไทยมีการเเข่งขันกันสูงมาก คนเก่งส่วนใหญ่มักจะเป็น Founder เอง หรือไม่ก็ถูกบริษัทเทคยักษ์ใหญ่เเละสตาร์ทอัพชื่อดังในต่างประเทศคว้าตัวไปก่อนแล้ว เพราะทุกคนสามารถทำงานทางไกลจากที่ไหนก็ได้ในโลก เเต่จุดนี้ก็ทำให้เรามีโอกาสที่จะได้ทำงานกับ Talents ในภูมิภาคหรือที่อื่นๆ ในโลกได้เช่นกัน

ในส่วนงาน ’Metaverse’ บริษัทก็มีแผนที่จะ Spin-Off ออกไปจัดตั้งเป็นอีกหนึ่งบริษัท เพื่อรับจ้างทำให้กับธุรกิจทั่วไปที่สนใจ ซึ่งก็ต้องมีการเปิดรับพนักงานใหม่เพิ่มขึ้น รวมถึงมีไอเดียจะเปิดบริษัทใหม่ๆ เพื่อรองรับการเปลี่ยนเเปลงของโลกดิจิทัล

สำหรับการบริหารจัดการทีมของ ‘SCB 10X’  จะเป็นเเบบ Flat Organization มีไม่กี่เลเวล ทำให้ตัดสินใจได้รวดเร็ว เเละมีวัฒนธรรมองค์กรที่ยึดถือคือ B-O-O-S-T = Boldness , Ownership , Open , Speed เเละ Trust

คนที่เราอยากได้มาร่วมงานมากที่สุดนั้นจะต้องกล้าพูด กล้าทำเป็นคนที่กล้าริเริ่มเเละต้องรีบทำ เพราะถ้าหากล้มเหลวขึ้นมาก็จะได้มาช่วยกันเเก้ไขเเละพัฒนาได้ก่อน” 

 

]]>
1379519
เทียบฟอร์ม Flash VS Kerry ยูนิคอร์นไฟเเรงกับเเบรนด์หุ้น IPO ในสงครามขนส่ง ‘ตัดราคา’ https://positioningmag.com/1335409 Fri, 04 Jun 2021 14:34:49 +0000 https://positioningmag.com/?p=1335409 ธุรกิจขนส่งพัสดุ’ ในไทย เติบโตตามอีคอมเมิร์ซที่พุ่งพรวดในวิกฤตโรคระบาด เเบรนด์เล็กเเบรนด์ใหญ่ งัดสารพัดวิธีครองใจลูกค้า ทั้งทุบราคา ยกระดับบริการ ขยายสาขา เเย่งชิงพนักงาน อัดโฆษณาโหมพรีเซ็นเตอร์

ไม่กี่วันที่ผ่านมา สงครามของธุรกิจนี้ก็ดุเดือดขึ้นมาอีกครั้ง เมื่อน้องใหม่ค่ายสีเหลืองที่เพิ่งเปิดมาได้เพียง 3 ปีกว่าๆ อย่าง ‘Flash Express’ (แฟลช เอ็กซ์เพรส) เขย่าบัลลังก์เจ้าตลาด ด้วยการปิดระดมทุนได้ 4,700 ล้านบาท ขึ้นเเท่นสตาร์ทอัพยูนิคอร์นรายแรกของคนไทย

ดีลนี้เป็นหมัดหนักที่สะเทือนคู่เเข่งค่ายสีส้มอย่าง ‘Kerry Express’ (เคอรี่ เอ็กซ์เพรส) ได้ไม่น้อย หลังโดนตีตื้นจนอยู่ไม่สุขมานาน ไปจนถึงสร้างความกังวลใจให้พี่บิ๊กเบอร์หนึ่งอย่างไปรษณีย์ไทย ที่ต่อไปนี้ต้องดิ้นรนหาอะไรมาสู้บ้างเพื่อไม่ให้โดนเเซงไปได้ในที่สุด

เเบรนด์เก๋าติดตลาด ปะทะ ยูนิคอร์นไฟเเรงเฟร่อ 

Kerry ดำเนินกิจการในประเทศไทยมาตั้งเเต่ปี 2549 เพิ่งระดมทุนหุ้น IPO ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อช่วงปลายปี 2563 ภายใต้ชื่อ KEX มีมูลค่าบริษัทล่าสุดอยู่ที่ราว 75,000 ล้านบาท

ปี 2561 รายได้ 13,565.35 ล้านบาท กำไรสุทธิ  1,185.10 ล้านบาท
ปี 2562 รายได้ 19,894.60 ล้านบาท กำไรสุทธิ  1,328.55 ล้านบาท
ปี 2563 รายได้ 19,010.05  ล้านบาท กำไรสุทธิ  1,405.02 ล้านบาท

ส่วน Flash เป็นบริษัทสตาร์ทอัพที่ยังไม่ได้เข้าจดทะเบียนในตลาด ก่อตั้งเมื่อปี 2560 เพิ่งระดมทุนซีรีส์ D และ E ได้สำเร็จ เป็นยูนิคอร์นที่มีมูลค่ากิจการเกิน 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 31,000 ล้านบาท

ปี 2561 รายได้ 47 ล้านบาท ขาดทุน 183 ล้านบาท
ปี 2562 รายได้ 2,123 ล้านบาท ขาดทุน 1,666 ล้านบาท
ปี 2563 ยังไม่ได้เปิดเผยข้อมูลบนเว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เเต่จากข่าวประชาสัมพันธ์ ระบุว่า บริษัทมียอดส่งรวมทั้งปี 2563 มากกว่า 300 ล้านชิ้น หรือเติบโตขึ้นกว่า 500% ทำให้คาดว่าจะมีรายได้รวมจะเยอะขึ้นหลายเท่าตัว

ดังนั้น Kerry จึงมีมูลค่าบริษัทมากกว่า Flash กว่าสองเท่า เเต่ตอนนี้กำลังประสบภาวะราคาหุ้นขาลง(วันที่ 4 มิ.ย. อยู่ที่ราว 40 บาท) ผลประกอบการยังทำกำไรสุทธิในช่วงโควิด-19 ได้เพิ่มขึ้น เเต่ในส่วนรายได้ลดลง จากการปรับราคาต่อพัสดุเชิงรุกและการเจาะกลุ่มตลาดจัดส่งราคาประหยัด ชี้ให้เห็นสัญญาณการเเข่งขันในตลาดที่คู่เเข่งกำลังไล่เบียดมาติดๆ

ส่วน Flash กำลังอยู่ในช่วงขาขึ้น’ รายได้พุ่งสูงเเต่ยังขาดทุน ตามเเบบฉบับของสตาร์ทอัพที่ต้องเผาเงินเพื่อเอาฐานลูกค้า โดยมีจุดเเข็งคือการเป็น ‘ดาวรุ่งเนื้อหอม’ ที่มีผู้สนับสนุนเป็นบริษัทระดับท็อปของไทย ต่างมุ่งหวังผลักดัน ยูนิคอร์นตัวนี้ให้มีอนาคตไกล

ชิงเเต้มต่อ ‘เเบ็กอัพใหญ่’ 

คมสันต์ แซ่ลีซีอีโอและผู้ก่อตั้ง Flash Express ยืนยันว่า ธุรกิจของเขาเป็นสตาร์ทอัพที่ก่อตั้งและดำเนินงานโดยคนไทยไม่ใช่กลุ่มทุนต่างชาติเเม้ช่วงเเรกๆ จะมีกลุ่มทุนจากจีนเข้ามาร่วมลงทุนด้วย เเต่ในการระดมทุนซีรีส์ D และ E เป็นนักลงทุนจากไทยมากขึ้น

เมื่อพูดถึงเเบ็กอัพของ Flash ก็ต้องบอกว่าเป็นบริษัททุนหนาที่มีเงินลงทุนในมือหลายหมื่นล้าน มุ่งหา New Business เพื่อขยายเครือข่ายธุรกิจเดิม หลีกหนีการถูกดิสรัปต์ในยุคใหม่

เริ่มจาก SCB 10X บริษัทลูกของธนาคารไทยพาณิชย์ ที่ปลุกปั้นขึ้นมาเพื่อพัฒนานวัตกรรม เทคโนโลยีเเละลงทุนในธุรกิจใหม่ มีเป้าหมายลงทุนในสตาร์ทอัพทั่วโลก การมีส่วนสร้างยูนิคอร์นในไทยคือหนึ่งในภารกิจหลัก ซึ่งการได้ Flash มาเป็นลูกรัก ก็คงจะได้เห็นการต่อยอดร่วมกันอีกหลายอย่าง โดยเฉพาะบริการทางการเงิน 

ถัดมาคือบิ๊กพลังงานอย่าง OR บริษัทลูกของ ปตท. ที่เพิ่งขายหุ้น IPO สูงสุดเป็นประวัติการณ์ การจับมือกับ Flash จะช่วยขยายอีโคซีสเต็มได้ดี ทำให้ปั๊มน้ำมันที่มีอยู่ทั่วประเทศมาเป็นศูนย์กระจายสินค้าเเละจุดรับส่งพัสดุภายในร้าน Café Amazon เป็นการเพิ่มทราฟฟิกลูกค้าไปในตัว รวมไปถึงการบริการน้ำมันให้กับรถขนส่งของ Flash ที่มีมากกว่าหมื่นคัน

นอกจากนี้ยังมีกรุงศรีฟินโนเวตในเครือธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) อีกเเบงก์ที่มอบทุนก้อนใหญ่ให้สตาร์ทอัพ โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้าง E-commerce Ecosystem ที่สมบูรณ์ในเมืองไทยร่วมกัน เเละ Durbell ธุรกิจกระจายสินค้าในเครือกลุ่ม TCP เจ้าของเครื่องดื่มกระทิงแดง สปอนเซอร์ ฯลฯ ที่มาช่วยเสริมเเกร่งกันในด้านโลจิสติกส์ให้พร้อมขยายต่อไปในอาเซียน

ส่วน Kerry Express มีบริษัท เคแอลเอ็น โลจิสติคส์ (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทแม่ซื้อขายอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง ถือหุ้นใหญ่ ตามมาด้วย บมจ. วีจีไอ (บริษัทที่แยกออกมาจาก BTS) เเละกัลฟ์ โฮลดิ้งส์ โดย Kerry ถือเป็นหนึ่งในธุรกิจสำคัญที่ทำกำไรให้กับเครือ BTS 

สงคราม ‘ตัดราคา’ เปิดสาขาที่ไหน…ไปด้วย 

Kerry Express บุกเบิกตลาดขนส่งพัสดุโดยเอกชนรายเเรก เป็นช่วงโอกาสธุรกิจที่ไปรษณีย์ไทย ณ ขณะนั้น ยังไม่ทรานส์ฟอร์มองค์กร ประเดิมด้วยการจัดส่งแบบ ‘Next Day’ เเละเป็นเจ้าแรกที่ให้บริการรับชำระเงินปลายทาง 

ผู้บริหาร Kerry เคยให้สัมภาษณ์กับ Positioning ว่าต้องการขยายจุดส่งพัสดุให้เข้าถึงผู้บริโภคมากที่สุด จากตอนนี้ที่มีจุดให้บริการตามถนนสายหลักต่อไปจะเข้าไปหาลูกค้าตามซอกซอยให้ได้

ทั้งนี้ จุดให้บริการราว 15,000 ใน 77 จังหวัดทั่วประเทศนั้น เป็นสาขาที่เคอรี่ดำเนินการเองราว 2,000 เเห่ง เป็นการจับมือกับพันธมิตรอีก 3,000 เเห่ง เเละที่เหลืออีกกว่า 1 หมื่นเเห่งเป็นสาขาของ SME รายย่อย มีจำนวนรถรับส่งพัสดุราว 25,000 คัน มียอดจัดส่งราว 1.9 ล้านชิ้นต่อวันทำการ ส่วนในไตรมาส 1/64 ปริมาณพัสดุเพิ่มสูงขึ้น 13% (หากเทียบกับไตรมาส 1/63)

เมื่อถามถึงการเเข่งขันด้านราคาที่หลายคนมองว่า Kerry อาจจะมีค่าบริการที่สูงกว่าเจ้าอื่นในตลาดนั้น ผู้บริหารตอบว่า บริษัทมีการดูเเลเรื่องนี้โดยตลอด เช่นการจัดเรตราคาตามหมวดหมู่ของสินค้า โดยอยากให้ผู้บริโภคเห็นถึงคุณภาพในการจัดส่งว่ามีความชัวร์เเละคุ้มค่า ในราคาที่ไม่เเพงไปกว่ากันมากนัก 

ท่ามกลางคู่แข่งที่เต็มไปหมด การบริการขยับมาอยู่ในระดับใกล้เคียงกัน ทำให้ Kerry ไม่อาจดำเนินกลยุทธ์เเบบที่เคยทำสมัยบุกเบิกตลาดได้ จึงต้องหาลูกเล่นใหม่ๆ มาทดลองตลาด อย่างการสร้างแบรนด์ให้เป็น Lifestyle & Creative Logistics ขณะที่บริษัทหน้าใหม่ๆ เน้นใช้การ ‘ตัดราคาเป็นตัวนำในการเจาะธุรกิจนี้

Flash Express ก็ใช้กลยุทธ์เรื่องราคา มาจับพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ที่ต้องการลดต้นทุนการส่ง ด้วยการเป็นเจ้าเเรกที่ ‘รับพัสดุฟรีถึงที่ตั้งแต่ชิ้นแรก ให้บริการ 365 วันไม่หยุด’ ไม่ว่าลูกค้าจะส่งที่ช็อป หรือเรียกให้ไปรับ ค่าบริการไม่บวกเพิ่ม โดยในปี 2564 บริษัทมีจำนวนพัสดุเฉลี่ยต่อวันประมาณ 2 ล้านชิ้น เติบโตจากเดิมที่มียอดส่งพัสดุเฉลี่ยอยู่ 1.3 ล้านชิ้นต่อวัน

ตลาดขนส่งพัสดุในปีนี้ยังจะมีการแข่งขันกันใน 3 เรื่องหลัก คือ ราคา คุณภาพ และความคุ้มค่าในการให้บริการ ซึ่งน่าจะเป็น 3 เรื่องหลักที่ผู้เล่นทุกรายในตลาดยังคงต้องโฟกัส รวมไปถึงเรื่องความรวดเร็วในการจัดส่งสินค้าซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้ใช้บริการต้องการที่สุด

เเละตอนนี้ไม่ใช่เเค่คู่ปรับอย่าง Kerry เเละ Flash เท่านั้น ขนส่งเอกชนยังต้องสู้กับ J&T Express , Nim Express , SCG Express , Ninja Van เเละเจ้าอื่นๆ ที่พร้อมตัดราคากันเพื่อเเย่งลูกค้า ไม่เว้นเเม้เเต่ไปรษณีย์ไทย โดยมีราคาเริ่มต้นที่ราว 18-30 บาท

ส่วนใครขยายสาขาไปที่ไหน ก็พร้อมเฮตามกันไปที่นั่น เราจึงได้เห็นร้านข้างๆ กันที่มีทั้งค่ายสีส้ม สีเหลือง สีเเดง ฯลฯ โดยเริ่มขยายเป็นโมเดลแฟรนไชส์ ธุรกิจ Drop-Off มากขึ้น เพราะบริษัทเจ้าของเเบรนด์ไม่ต้องใช้เงินทุนมากนัก

ขณะเดียวกัน Lazada เเละ Shopee ก็เป็นสองคู่เเข่งที่น่ากลัว เมื่อเจ้าของอีมาร์เก็ตเพลส ลงสนามมาเล่นธุรกิจขนส่งด้วยตัวเอง ดังนั้นก็มีเเนวโน้มที่จะ ‘จัดสรรพัสดุ’ ที่สั่งในเเพลตฟอร์มตัวเองมา ‘ส่งเอง’ ได้ด้วย

สตอรี่ ‘นักสู้’ กลายมาเป็นอีกหนึ่งจุดขาย 

ที่ผ่านมาธุรกิจโลจิสติกส์มักเลือกใช้พรีเซ็นเตอร์มาเพื่อสื่อสารเเบรนด์ เน้นเป็นพระเอกดังที่ผู้คนรู้จักกันดี มีคาเเร็กเตอร์เป็นสายลุย น่าเชื่อถือ อย่าง Kerry Express ที่เลือกเวียร์ศุกลวัฒน์ คณารศ , Flash Express ที่เลือก ติ๊กเจษฎาภรณ์ ผลดี , BEST Express ขนส่งสัญชาติจีนที่เลือก ณเดชน์ คูกิมิยะ หรือ J&T Express ที่เลือกมาริโอ้ เมาเร่อ มาเป็นพรีเซ็นเตอร์

ตอนนี้มีกิมมิกเล็กๆ เเต่น่าสนใจคือชีวิตของซีอีโอก็มาเป็นจุดขายของเเบรนด์ได้เหมือนกัน อย่างเรื่องราวการสู้ชีวิตของคมสันต์ แซ่ลีนักธุรกิจหนุ่มวัย 29 ปี จากดอยวาวี จังหวัดเชียงราย ผู้ก่อตั้ง Flash Express ด้วยคาเเร็กเตอร์ ‘กล้าคิด กล้าทำ มุ่งมั่น’

การเป็นคนรุ่นใหม่ที่สามารถปั้นธุรกิจ 3 ปีกว่าๆ ให้โตไปถึงระดับเป็นยูนิคอร์น กลายเป็นเเรงบันดาลใจให้ใครหลายคน สร้างการรับรู้เเละภาพจำให้คนรู้จักเเบรนด์มากขึ้น นอกจากนี้ ทักษะการนำเสนอที่ดี ความฉลาดเเละการสู้ไม่ถอย ก็มีส่วนที่ทำให้ผู้ลงทุนเชื่อมั่นและยอมให้เงินลงทุนด้วย

เเต่สงครามธุรกิจขนส่งพัสดุยังต้องสู้กันอีกยาวไกล นี่จึงเป็นเเค่การเเข่งขันยกใหม่ พร้อมเงินทุนก้อนใหม่เท่านั้น…ผู้บริโภคอย่างเราๆ ก็ต้องติดตามกันต่อไป

 

 

 

]]>
1335409
“แฟลช” ปิดดีลระดมทุนซีรีส์ E กว่า 4,700 ล้าน ขึ้นแท่นยูนิคอร์นตัวแรกของไทย https://positioningmag.com/1334676 Tue, 01 Jun 2021 02:55:35 +0000 https://positioningmag.com/?p=1334676 กลุ่มธุรกิจแฟลช (Flash Group) ผู้ให้บริการ E-commerce สัญชาติไทย และเป็นบริษัทแม่ของ แฟลช เอ็กซ์เพรส ผู้ให้บริการด้านขนส่งเอกชน ปิดดีลยักษ์จากการระดมทุนรอบซีรีส์ D+ และ ซีรีส์ E คว้ากลุ่ม Buer Capital Limited และ SCB 10X ร่วมทุน พร้อม eWTP -โออาร์-เดอเบล-กรุงศรีฟินโนเวต ลงเพิ่มได้เม็ดเงินรวมไปกว่า 150 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 4,700 ล้านบาท สู่ยูนิคอร์นตัวแรกของไทย

คมสันต์ ลี ประธานกรรมการบริหาร กลุ่มธุรกิจแฟลช (Flash Group) เปิดเผยข้อมูลล่าสุดจากการระดมทุนรอบซีรีส์ D+ ที่ได้ผู้ร่วมทุนรายใหม่อย่าง SCB 10X  พ่วงด้วย บริษัทจันวาณิชย์ ซีเคียวริตี้พริ้นท์ติ้ง จำกัด เข้าสนับสนุน โดยในส่วนของซีรีส์ E ก็ยังคว้า Buer Capital กลุ่มทุนจากสิงคโปร์ ร่วมด้วย SCB 10X ที่ให้การสนับสนุนทั้งซีรีส์ D+ และ E

ตามด้วยผู้ลงทุนเดิมอย่าง eWTP, บริษัท ปตท. น้ำมัน และการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือโออาร์, บริษัท เดอเบล จำกัด (Durbell) ภายใต้กลุ่มธุรกิจ TCP, บริษัท กรุงศรี ฟินโนเวต จำกัด (Krungsri Finnovate) ในเครือกรุงศรี กรุ๊ป ที่ตบเท้าลงเพิ่มในซีรีส์ E

ซึ่งดีลใหญ่นี้ทำให้กลุ่มธุรกิจแฟลช (Flash Group) สามารถระดมทุนไปได้สูงถึง 150 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นเงินไทยประมาณ 4,700 ล้านบาท โดยคาดว่าเม็ดเงินลงทุนจะถูกกระจายไปในหลายสัดส่วนทั้งด้านการบริหาร และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี ครอบคลุมไปถึงการลงทุนในด้านแพลตฟอร์ม eCommerce ที่จะตอบโจทย์ และสร้างความแตกต่างให้แก่ตลาด รวมถึงการเพิ่มช่องทางการขาย ขยายบริการ และสร้างกลยุทธ์ใหม่ๆ

กลุ่มธุรกิจแฟลช (Flash Group) ก่อตั้งขึ้นจากแนวคิด การเป็นผู้ให้บริการ E-commerce สัญชาติไทยแบบครบวงจร โดยได้รับความไว้วางใจจากกลุ่มนักลงทุนหลายอุตสาหกรรมเข้ามาร่วมสนับสนุน ปัจจุบันกลุ่มธุรกิจแฟลช (Flash Group) มีอัตราการเติบโตอย่างก้าวกระโดด พร้อมธุรกิจในเครือหลากหลายประเภท อาทิ Flash Express ผู้ให้บริการขนส่งแบบครบวงจร

โดยปัจจุบัน Flash Express มียอดจัดส่งพัสดุต่อวันสูงสุดร่วม 2 ล้านชิ้น นอกจากนี้ยังมีบริการ Flash Fulfilment คลังสินค้าแบบครบวงจร ที่มีบริษัทชั้นนำเป็นพันธมิตร และใช้บริการมากมาย รวมถึงบริษัทในเครืออีกหลายบริษัทที่สอดคล้องกับธุรกิจ E-commerce และรูปแบบตลาดของประเทศไทย รวมไปถึงบริการใหม่ที่เตรียมขยายออกสู่กลุ่มประเทศใน SEA ซึ่งรอการเปิดเผยหลังจากนี้

มร.เหลียง จี้ ผู้อำนวยการ กลุ่ม Buer Capital (Buer) ในฐานะนักลงทุนเชิงกลยุทธ์รายหลักของซีรีส์ E กล่าวว่า

“Buer เป็นนักลงทุนที่มุ่งเน้นเรื่องการเปลี่ยงแปลงโครงสร้างด้านการบริโภค Buer มีความเชื่อมั่นว่าธุรกิจขนส่งเป็นหนึ่งในระบบสาธารณูปโภคหลักที่สำคัญของเศรษฐกิจยุคดิจิทัล เมื่อระบบขนส่งถูกพัฒนาให้มีประสิทธิภาพ และยกระดับขึ้นไปอีกขั้นจะทำให้มีการเปลี่ยนแนวคิด space-time ของธุรกิจค้าปลีก รวมถึงมีความมั่งคั่ง รวดเร็ว และประหยัด ซึ่งสอดคล้องอย่างยิ่งกับกลยุทธ์การลงทุนของแฟลชทั้งในด้านเทคโนโลยี และด้านบริหาร รวมไปถึงศักยภาพในด้านฐานข้อมูล (Data base) ที่จะช่วยผลักดัน และพัฒนาธุรกิจให้มีความสามารถในการแข่งขันกับคู่แข่งรายอื่นๆ ในตลาดได้อย่างระยะยาว”

ด้าน SCB 10X ผู้ร่วมทุนรายใหม่ที่ให้การสนับสนุนทั้งรอบซีรีส์ D+ และ ซีรีส์ E โดยนางปิติพร พนาภัทร์ Chief Business Development and Financial Officer บริษัท เอสซีบี เท็นเอกซ์ จำกัด (SCB 10X) กล่าวว่า

หนึ่งในภารกิจหลักของ SCB 10X คือ มุ่งลงทุนในสตาร์ทอัพที่มีศักยภาพทั่วโลก รวมถึงสนับสนุนและผลักดันสตาร์ทอัพไทยที่มีศักยภาพให้สามารถเติบโตและก้าวสู่เวทีโลกได้ ด้วยความแข็งแกร่งของกลุ่มธุรกิจแฟลช ที่มีการเติบโตแบบก้าวกระโดด รวมถึงเป้าหมายในการขยายธุรกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

เราจึงมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้เป็นผู้ร่วมลงทุนหลักในการระดมทุนรอบ Series D+ และลงทุนเพิ่มเติมต่อเนื่องในรอบ Series E ร่วมกับนักลงทุนชั้นนำ นอกจากนี้ กลุ่มธนาคารไทยพาณิชย์และกลุ่มธุรกิจแฟลช ยังมีแผนในการต่อยอดความร่วมมือเพื่อร่วมกันพัฒนาโซลูชันและบริการทางการเงิน ตลอดจนเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงบริการทางการเงิน (Financial Inclusion) และสร้างประสบการณ์การเงินรูปแบบใหม่ให้กับกลุ่มลูกค้าในอนาคตอันใกล้

ศิระ ศรีสุกใส ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจและนวัตกรรม บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือโออาร์ ผู้ลงทุนหลักจากรอบซีรีส์ D เผยถึงการตัดสินใจลงทุนเพิ่มในซีรีส์ E

การร่วมลงทุนและการสร้างความร่วมมือทางธุรกิจระหว่าง โออาร์ และแฟลช จะเป็นการเสริมศักยภาพซึ่งกันและกันเพื่อขับเคลื่อนอุตสาหกรรมด้านขนส่งและพลังงาน อีกทั้งยังสามารถต่อยอดไปยังธุรกิจอื่น ๆ ของโออาร์ เชื่อมต่อธุรกิจแบบ Online to Offline เพื่อตอบสนองความต้องการและพฤติกรรมของผู้บริโภคในอนาคตที่มีไลฟ์สไตล์ปรับตัวสู่โลกออนไลน์มากขึ้น อีกทั้งเป็นการส่งเสริม Startup ไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืนไปด้วยกัน

ปัจจุบัน โออาร์ และ แฟลช ได้มีความร่วมมือทางธุรกิจในด้านต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมและต่อยอดธุรกิจหลักของทั้งสองบริษัท เช่น การที่โออาร์ให้บริการน้ำมันแก่รถที่ใช้ในการขนส่งของ Flash Express หรือการที่ Flash Express เริ่มเข้ามาเป็นหนึ่งในผู้ขนส่งผลิตภัณฑ์ของโออาร์ และยังมีแผนเพิ่มศักยภาพในการทำธุรกิจ ทั้งความร่วมมือในการทดลองเปิดให้บริการจุดรับส่งพัสดุของ Flash Express ภายในร้าน Café Amazon บางสาขา

และการวางแผนในการพัฒนาพื้นที่ภายในสถานีบริการน้ำมัน พีทีที สเตชั่น บางแห่ง เพื่อเป็นศูนย์กระจายสินค้าของ Flash Express เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการศึกษาความเป็นไปได้ในความร่วมมือทางธุรกิจเพิ่มเติมในประเทศต่าง ๆ ผ่านบริษัทย่อยในต่างประเทศของกลุ่มโออาร์ตามแผนการขยายธุรกิจของแฟลชอีกด้วย

บริษัท เดอเบล จำกัด (Durbell) ผู้นำด้านการกระจายสินค้าและโลจิสติกส์ในประเทศไทย ในเครือกลุ่มธุรกิจ TCP ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้สนับสนุนเงินทุนแก่แฟลชทั้งรอบ ซีรีส์ D และE โดยนางสาวนุชรี อยู่วิทยา กรรมการผู้จัดการใหญ่ กล่าวว่า

การเติบโตของธุรกิจขนส่งในประเทศไทยและกลุ่มประเทศในแถบ SEA สอดคล้องกับพฤติกรรมผู้บริโภคในยุค New Normal นี้ และแฟลช กรุ๊ปก็สามารถตอบรับความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างดีเยี่ยมแม้ในสภาพการแข่งขันที่ดุเดือด ด้วยบริการขนส่งพัสดุครบวงจรที่ก่อกำเนิดมาจากความเข้าใจลูกค้าอย่างแท้จริง และระบบปฏิบัติงานที่แข็งแกร่ง รวดเร็ว

ซึ่งเป็นแนวทางการทำงานเดียวกันกับบริษัท เดอเบล จำกัด บริษัทกระจายสินค้าและโลจิสติกส์ในเครือกลุ่มธุรกิจ TCP ทั้งนี้ กลุ่มธุรกิจ TCP ซึ่งเป็นผู้ผลิตเครื่องดื่มชั้นนำของโลกและประเทศไทย เช่น กระทิงแดง (เรดบูล) เรดดี้ สปอนเซอร์ แมนซั่ม เพียวริคุ และอื่นๆ มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมลงทุนและเป็นส่วนหนึ่งของการเติบโตของแฟลช กรุ๊ปในทั้ง 2 ซีรีส์

แฟลช กรุ๊ป (Flash Group) นับเป็น Startup ไทยรายแรกที่สามารถระดมทุนรวมได้มากที่สุดในระยะเวลาเพียงแค่ 3 ปี ซึ่งทำให้ธุรกิจมีมูลค่ามากกว่า 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือมากกว่า 30,000 ล้านบาทไทย

]]>
1334676
“โรบินฮู้ด x แอร์เอเชีย” ช่วยพนักงานเป็น Rider สร้างอาชีพเสริม ช่วงวิกฤตสายการบิน https://positioningmag.com/1306942 Fri, 20 Nov 2020 05:39:34 +0000 https://positioningmag.com/?p=1306942 “โรบินฮู้ด” แพลตฟอร์มฟู้ดเดลิเวอรี่สัญชาติไทย ประกาศความร่วมมือกับ “สายการบินแอร์เอเชีย” ช่วยเหลือพนักงานสายการบินในการสร้างอาชีพที่สอง เพื่อเสริมรายได้ให้กับพนักงานของแอร์เอเชีย เตรียมนำร้านอาหารของพนักงานขึ้นแพลตฟอร์ม รวมถึงรับสมัคร และฝึกอบรมเป็นผู้ส่งอาหาร

ช่วยเหลือเป็นอาชีพที่ 2

นอกจากนี้ยังได้นำเอาเมนูยอดฮิตที่เสิร์ฟบนเที่ยวบินของแอร์เอเชียอย่าง “ชานมไข่มุก” มาอยู่ในแอปฯ สามารถสั่งผ่านแอปพลิเคชันโรบินฮู้ด

พร้อมกับเตรียมนำโซลูชันของ SCB 10X มาร่วมต่อยอดให้การช่วยเหลือในการสร้างอาชีพผ่าน “เหมา-เหมา” แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ ศูนย์รวมแบรนด์และผู้ผลิตแบบค้าส่ง สำหรับพนักงานที่สนใจเป็นแม่ค้าออนไลน์ในอนาคตอันใกล้อีกด้วย

ธนา เธียรอัจฉริยะ ประธานกรรมการ บริษัท เพอร์เพิล เวนเจอร์ส จำกัด กล่าวว่า

“จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ในประเทศไทยและทั่วโลก ธุรกิจท่องเที่ยวและสายการบินได้รับผลกระทบเป็นลำดับต้นๆ เราได้ร่วมสนับสนุนโครงการ “Second Job” ของสายการบินแอร์เอเชีย ในการสร้างงานทางเลือกที่สอง สร้างรายได้เสริมให้กับพนักงานของสายการบินแอร์เอเชีย ด้วยการเตรียมนำร้านอาหารของพนักงานทั้งที่มีหน้าร้าน หรืออยู่ในรูปแบบโฮมคิทเช่นขึ้นแพลตฟอร์มฟู้ดเดลิเวอรี่

ซึ่งโรบินฮู้ดไม่เก็บค่า GP ทำให้ร้านค้าไม่มีต้นทุนเพิ่ม และยังได้รับเงินจากการขายเข้าบัญชีภายใน 1 ชั่วโมง รวมถึงการเปิดรับสมัครและส่งทีมไปฝึกอบรมให้กับพนักงานที่สนใจเป็นผู้ส่งอาหาร (rider) เพื่อหารายได้เสริม และนอกจากการช่วยเหลือพนักงานแล้ว เรายังได้นำเอาเมนู “ชานมไข่มุก” ที่ปกติขายบนเที่ยวบินของแอร์เอเชียมาให้ผู้ที่คิดถึงสามารถสั่งผ่านแอปพลิเคชันโรบินฮู้ดได้แล้ววันนี้”

เรียกว่าเป็นอีกหนึ่งความร่วมมือที่น่าสนใจ จากเดิมที่ช่วยร้านค้า ร้านอาหารให้เข้าถึงลูกค้าได้ง่ายขึ้น มีการขยายความช่วยเหลือพนักงานสายการบินที่ได้รับความเดือดร้อนเพิ่มขึ้นอีก

]]>
1306942
เปิดเกม KBank vs SCB เเข่งธุรกิจอาหาร เมื่อแบงก์จะไปอยู่ทุกที่ เเละเป็น “มากกว่า” ธนาคาร https://positioningmag.com/1286885 Wed, 08 Jul 2020 08:44:59 +0000 https://positioningmag.com/?p=1286885 สมัยก่อนเมื่อพูดถึงธนาคาร หรือเเบงก์เรามักจะนึกถึงเเค่การทำธุรกรรมทางการเงิน สินเชื่อเเละประกัน เเต่ในยุคดิจิทัล ธนาคารได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของเรา เป็นอีกหนึ่งเเอปพลิเคชันจำเป็นที่ต้องมีไว้ติดมือถือ

ธนาคารในไทย เป็นธุรกิจที่ถูกดิสรัปต์อย่างรุนเเรง เเต่ก็ปรับตัวได้อย่างรวดเร็วเเละมีประสิทธิภาพ พัฒนาไปสู่ดิจิทัล
เเบงกิ้งอย่างเต็มรูปแบบ มีนวัตกรรมใหม่ๆ ออกมาสม่ำเสมอ มากไปกว่านั้น ยังเป็นเหมือนผู้นำที่ขับเคลื่อนเทคโนโลยีใหม่ของเมืองไทยเลยก็ว่าได้ ด้วยความพร้อมจากการเป็นทุนใหญ่มีทรัพยากรมากทั้งบุคลากรเเละข้อมูลผู้ใช้

ในช่วงที่ผ่านมา เราได้เห็นการฟาดฟันกันระหว่าง 2 ธนาคารใหญ่เเบงก์เขียวเเละเเบงก์ม่วงอย่างกสิกรไทย (KBank) เเละไทยพาณิชย์ (SCB) ที่เเข่งขันเอาใจลูกค้าเเละตอบสนองความต้องการใหม่ๆ พยายามที่จะเป็นมากกว่าเเบงก์ทำอะไรหลายอย่างที่ไม่เคยทำ ด้วยเป้าหมายว่าต่อไปแบงก์จะอยู่ทุกที่ ยกเว้นที่แบงก์นั่นเอง

KBank เเละ SCB เป็นคู่เเข่งสมน้ำสมเนื้อมาก ด้วยฐานผู้ใช้ K Plus ที่ 13 ล้านราย (ตั้งเป้าสิ้นปีนี้ 15 ล้านราย)  ส่วน SCB Easy มีผู้ใช้ 11 ล้านราย (ตั้งเป้าสิ้นปีนี้ 13 ล้านราย)

ด้านรายได้รวม (อ้างอิงจากงบการเงิน 9 เดือน ปี 2562) KBank อยู่ที่ 139,376 ล้านบาท SCB อยู่ที่ 131,890 ล้านบาท

ทั้ง 2 ธนาคารได้ตั้งบริษัทลูกที่จะมาปั้นสตาร์ทอัพในเมืองไทยโดยเฉพาะ อย่าง KASIKORN Business- Technology Group หรือ KBTG ที่ได้ กระทิง เรืองโรจน์ พูนผล มานำทัพเป็นหัวเรือใหญ่ ฟาก SCB ส่ง
SCB 10X 
มาลงสนามนำทัพโดย ดร.อารักษ์ สุธีวงศ์ 

  • KBank เป็นผู้ให้บริการ Grab Pay ในแอปพลิเคชันฟู้ดเดลิเวอรี่ Grab ทาง SCB ก็เป็นผู้ให้บริการ Get Pay ผ่านเเอปฯ คู่เเข่งอย่าง Get เช่นกัน
  • KBank มีระบบ Face Pay สแกนใบหน้าเพื่อชำระเงิน ทาง SCB ก็มี Palm Vein การชำระเงินด้วยฝ่ามือ เช่นกัน
  • KBank เปิดตัวขุนทองเป็นแชทบอทเหรัญญิกช่วยคิดการแชร์ค่าอาหารบน LINE ทาง SCB ก็มีปาร์ตี้หาร (PartyHaan)” เช่นกัน

ล่าสุดการฉีกเเนวธนาคาร มาลงทุนในศึก “ฟู้ดเดลิเวอรี่ด้วยการเปิดตัว Robinhood ของ SCB ก็สั่นสะเทือนวงการไม่น้อย เมื่อกำลังถูกพูดถึงอย่างกว้างขวาง ด้วยประเด็นจี้จุด Pain Point อย่างการไม่คิด GP ไม่คิดค่าสมัคร โอนเงินไวใน 1 ชั่วโมง ท้าทายคู่เเข่งระดับโลกอย่าง Grab, LINE Man, GET เเละ Food Panda โดยพร้อมจะเปิดตัวอย่างเต็มรูปแบบ ในช่วงต้นเดือนสิงหาคมนี้

ส่วน KBank ตามมาติดๆ เเละได้ใจผู้ประกอบการไปเต็มๆ เปิดตัว “Eatable” (อีทเทเบิล) แพลตฟอร์มตัวช่วยจัดการร้านอาหารไม่ต้องโหลดแอป ไม่มีค่าธรรมเนียม สามารถจัดการระบบหลังบ้านแบบเรียลไทม์ผ่านทางออนไลน์ ส่วนลูกค้าสามารถเลือกอาหาร สั่ง และจ่ายแบบไร้การสัมผัส ที่กำลังจะเปิดตัวเเบบเต็มรูปแบบในเดือนตุลาคมนี้ พร้อมพัฒนาต่อยอดให้นักท่องเที่ยวจีนสั่งอาหารในไทยได้ปลายปีนี้

การได้เห็นแบงก์แข่งขัน เปิดตัวเทคโนโลยีออกมารัว เเบบนี้ เป็นประโยชน์กับผู้บริโภคเเละสร้างเเรงกระเพื่อมให้วงการธนาคารไม่น้อย

SCB vs KBank ทุ่มลงทุนธุรกิจ “อาหาร” 

ถ้าการเข้ามาในตลาดนี้ของ SCB ทำให้เจ้าอื่นๆ ตื่นตัวเเละทุ่มโปรโมชั่นเพื่อเเข่งขันกันมากขึ้น ก็ถือว่าเป็นผลประโยชน์ของผู้บริโภค

Robinhood เกิดขึ้นจากไอเดียของ อาทิตย์ นันทวิทยา ซีอีโอของ SCB ตอนที่เขาต้องกักตัวในช่วงการระบาดของ COVID-19 ต้องทำงานจากที่บ้าน ทำให้ต้องสั่งอาหารออนไลน์บ่อยครั้ง และมองเห็นโอกาสว่าธนาคารมีทรัพยากรเพียงพอที่จะทำได้ จึงต่อยอดด้วยการระดมทีมกว่า 80 คนพัฒนาแอปฯ นี้ขึ้น ภายในเวลาไม่ถึง 3 เดือนก่อนเปิดตัว

เเนวคิดหลักของ Robinhood เป็นไปตามเเบบฉบับของสตาร์ทอัพ คือมุ่งเเก้ Pain Point ในวงการฟู้ดเดลิเวอรี่ ทั้งประเด็นการเก็บค่าธรรมเนียม หรือ GP ที่สูงถึง 30-35% ที่ทำให้บางร้านอาหารเเทบไม่มีกำไร หรือผู้บริโภคที่ต้องเเบกรับค่าอาหารที่ “เเพงขึ้น” จากปกติ ดังนั้น Robinhood จึงคว้าโอกาสชูจุดขายว่า ไม่เก็บค่า GP รวมถึงปัญหา “เงินหมุน” ของทั้งร้านค้าเเละคนขับ จึงเป็นที่มาของการที่จะเคลียร์เงินเข้าบัญชีให้ได้ใน 1 ชั่วโมง

ทาง SCB ยืนยันว่าเป็นหนึ่งใน CSR ของบริษัทที่ จะไม่มีการเก็บค่าธรรมเนียม GP ทั้งในช่วงนี้และต่อไป เเละถ้าหากในอนาคตมีคนใช้จำนวนมาก แนวทางการหารายได้จะเป็นไปในทาง “เสนอสินเชื่อ” ให้ผู้ประกอบการมากกว่าที่จะหันมาหักค่า GP

เเอปพลิเคชัน Robinhood กำลังจะเปิดตัวอย่างเต็มรูปเเบบในช่วงต้นเดือนสิงหาคมนี้

ถ้าจะพูดกันว่าเป็นการเผาเงินเล่น ก็คงเป็นการเผาเงินที่คุ้มค่ามากเราลงทุนปีละร้อยล้าน จะมองว่าเยอะก็เยอะ จะว่าน้อยก็น้อย เเต่เมื่อเทียบกับกำไรของธนาคารที่ได้ปีละ 4 หมื่นล้านเเล้ว ถือว่าน้อยมาก งบในส่วน CSR ของบริษัทเยอะกว่านี้อีก

คำกล่าวของ “ธนา เธียรอัจฉริยะ” ผู้บริหาร SCB ที่จะมาเป็นหัวเรือใหญ่ของ Robinhood ผ่านการดำเนินงานภายใต้ บริษัท เพอร์เพิล เวนเจอร์ส จำกัด (บริษัทลูกของ scb 10x) โดยเขาจะนั่งเป็นประธานกรรมการบริหาร พร้อมผู้เชี่ยวชาญด้านเพย์เมนต์อย่าง “สีหนาท ล่ำซำ” ที่จะมานำทัพบุกเบิกบริษัท ในตำเเหน่งกรรมการผู้จัดการ ซึ่งกำลังจะปั้นทีมใหม่ให้ได้ราว 40-50 คน ใช้งบลงทุนราว 100 ล้านบาทต่อปี

อ่านเพิ่มเติมเจาะลึกทุกมุมของ Robinhood ไขข้อสงสัยปมค่าส่ง โมเดลธุรกิจเเละเเผนสู้ศึกฟู้ดเดลิเวอรี่

ข้อมูลของศูนย์วิจัยกสิกรไทย ในประเด็นการปรับตัวของธุรกิจร้านอาหารเข้าสู่มาตรฐานใหม่ คาดว่า ธุรกิจร้านอาหารในปีนี้จะมีมูลค่าราว 3.8 แสนล้านบาท หดตัวเกือบ 10% จากปีที่ผ่านมา เนื่องจากลูกค้ามีความระมัดระวังตัวในการออกไปทานอาหารนอกบ้าน จากปัญหาการระบาดของ COVID-19 ทำให้พฤติกรรมของผู้บริโภคบางส่วนได้เปลี่ยนแปลงไป ใช้บริการเดลิเวอรี่ในการสั่งอาหารมาทานที่บ้านหรือที่ทำงานแทนมากขึ้น ร้านอาหารยุคใหม่จะต้องผสมผสานการให้บริการและอำนวยความสะดวกแก่ลูกค้าทั้งที่ทานที่ร้านและเดลิเวอรี่ไปพร้อม ๆ กัน

อย่างไรก็ตาม แม้จะผ่านช่วงแพร่ระบาดหนักมาแล้ว แต่ร้านอาหารก็ยังฟื้นตัวช้ากว่าปีที่ผ่านมาถึง 70% ถือเป็นภาคธุรกิจที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นอย่างมาก สิ่งเหล่านี้เป็นโจทย์ท้าทายของเหล่าร้านอาหาร ที่ต้องมีการ
ทรานส์ฟอร์เมชั่นไปสู่การเป็นร้านอาหารยุค New Normal แบบครบวงจรที่ตอบรับลูกค้าทั้งการทานที่ร้านและเดลิเวอรี่

นี่จึงเป็นที่มาของ “Eatable” (อีทเทเบิล) แพลตฟอร์มให้ใช้ “ฟรี” ที่จะมาเป็นตัวช่วยจัดการร้านอาหาร พัฒนาโดย KBTG บริษัทลูกของธนาคารกสิกรไทย

“Eatable” แพลตฟอร์มฟรีช่วยร้านอาหาร กำลังเปิดให้บริการเต็มรูปเเบบในเดือนตุลาคมนี้

เรืองโรจน์ พูนผล ประธาน KBTG ยืนว่า Eatable เป็นแพลตฟอร์มฟรี ช่วยจัดการร้านอาหารที่มีทั้งส่วนบริการในร้าน รับออเดอร์ เรียกพนักงานหรือรับชำระเงิน เเละมีบริการจัดส่งเดลิเวอรี่ โดยจะเน้นไปที่ประสบการณ์การทานอาหารที่ร้านไม่ได้เน้นไปที่ธุรกิจฟู้ดเดลิเวอรี่โดยตรง ซึ่งมีการเเข่งขันอย่างดุเดือดในปัจจุบัน

อ่านเพิ่มเติม : KBank มาเเล้ว! เปิดตัว “Eatable” แพลตฟอร์มฟรีช่วยร้านอาหาร ระบบสั่งทานที่ร้าน-ส่งเดลิเวอรี่

ไม่หวังกำไร…เเล้วต่อยอดรายได้อย่างไร ? 

การลงทุนใน Robinhood ของ SCB จะเน้นต่อยอดไปที่สินเชื่อเเละสร้างความหลากหลาย

บริษัทใหญ่ของโลกที่ให้บริการทั้ง E-Marketplace , Ride Hailing เเละเดลิเวอรี่ สุดท้ายก็จะวนมาสู่บริการทางการเงิน เป็นคำถามว่าแล้ว SCB ที่เป็นธนาคารให้บริการทางการเงินอยู่แล้ว โดนดิสรัปต์มาโดยตลอด แล้วทำไมธนาคารจะก้าวข้ามไปทำบริการอื่นๆ ไม่ได้

สีหนาท ล่ำซำ เอ็มดีของ Robinhood กล่าวถึงการลงทุนในธุรกิจฟู้ดเดลิเวอรี่ของธนาคาร และบอกว่าข้อได้เปรียบของการเป็นธนาคารในตลาดนี้ คือฐานลูกค้าเเละความเสถียรของระบบเพย์เมนต์ รวมถึงข้อเสนอเรื่องสินเชื่อที่ผู้ประกอบการเข้าถึงได้ง่ายขึ้น

การลงทุนใน Eatable ของ KBank เน้นสร้าง Ecosystem เพื่อดึงลูกค้าให้อยู่ด้วยนานๆเเละต่อยอดไปบริการอื่น

เเม้ผู้บริหาร KBTG จะไม่เปิดเผยถึงงบประมาณในการลงทุน แต่บอกว่าเยอะทั้งในส่วนปฏิบัติการและการประสานงาน แต่ก็ถือว่าคุ้มเพราะ ถ้าลูกค้าแฮปปี้ เขาก็จะอยู่กับเรานาน” เเละต่อยอดไปให้บริการเเละผลิตภัณฑ์อื่นๆ ของธนาคารได้ 

เบื้องต้นไม่ได้ตั้งเป้าว่าจะมีร้านค้าใช้ Eatable จำนวนเท่าใด แต่หวังว่าจะดึงดูดให้ร้านอาหารมาเข้าร่วมให้มากที่สุด เพราะถือเป็นการลดต้นทุนด้านเทคโนโลยีให้กับผู้ประกอบการรายย่อยและร้านอาหารที่มีทุนน้อย ให้สามารถเปลี่ยนแปลง และปรับตัวสู่ยุคดิจิทัลได้ในระยะยาว ซึ่งจะเป็นการพลิกโฉมวงการร้านอาหารไทยเลยทีเดียว

อีกด้านหนึ่ง การพัฒนาไคไท่เตี่ยนไช่” (Kai Tai Dian Cai) บริการสั่งอาหารสำหรับนักท่องเที่ยวจีนผ่านแอปวีแชท (WeChat) ก็เป็นการต่อยอดการลงทุนฟินเทคในจีนของกสิกรไทย โดยก่อนหน้านี้ KBTG ได้เปิดตัว 2 บริษัท KX และ Kai Tai Tech ในเซินเจิ้น เพื่อดึงศักยภาพการทำงานรูปแบบสตาร์ทอัพ เเละสร้างการเติบโตให้ธนาคารไทย

สร้าง Engagement ใกล้ชิดกว่าเเบงก์เดิม ๆ 

เห็นได้ชัดว่าทั้ง SCB เเละ KBank ประกาศว่าจะเน้นการให้บริการด้านธุรกิจอาหาร โดยไม่หวังรายได้ “โดยตรง” กลับคืนมา เพราะจุดประสงค์ไม่ใช่การหารายได้ เเต่การสร้าง Engagement กับลูกค้าเเบบที่ไม่เคยมีธนาคารไหนทำมาก่อนซึ่งจะนำไปสู่การเปลี่ยนองค์กรครั้งใหญ่

โมเดลธุรกิจที่นอกเหนือจากการเสนอสินเชื่อเเละการเก็บข้อมูลเเล้ว อีกหนึ่งผลพลอยได้ คือ การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างร้านอาหารกับพนักงานสาขา

โดย SCB วางนโยบายใหม่ว่า พนักงานธนาคารจะต้องออกไปเจอร้านค้าที่อยู่ในรัศมี 5 กิโลเมตร ไปพูดคุย ทำความรู้จักเเละให้คำเเนะนำได้ เป็นการ Re-Skill และปรับการทำงานของสาขา SCB ใหม่ จึงเกิดเป็นการเทรนนิ่งพนักงานกว่า 800 คนทั่วประเทศขึ้น

จึงมาถึงยุคที่พนักงานธนาคารต้องปรับตัว ให้ถ่ายรูปสวย เพื่อเป็นผู้ช่วยให้กับร้านอาหาร เป็นการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าที่มากกว่าการฝากถอนซึ่งความสนิทสนมเหล่านี้ ทำให้มีโอกาสสูงที่จะต่อยอดไปสู่บริการอื่นๆ ของธนาคารได้ง่ายขึ้น

Photo : Shutterstock

ส่วน SCB เมื่อเข้าไปเป็นระบบหลังบ้านของร้านอาหารเเล้ว ก็ถือเป็นความใกล้ชิดเเบบสุดๆ เลยก็ว่าได้ เป็นการสร้างความเชื่อใจในระยะยาว เมื่อธุรกิจต้องการความช่วยเหลือด้านการเงิน ต้องการขยายสาขาหรือพัฒนาศักยภาพธุรกิจก็ต้องคิดถึงธนาคารที่ใกล้ตัวที่สุดอยู่เเล้ว

นอกจากนี้ ด้วยประโยชน์ของข้อมูล (Data) ซึ่งได้กลายมาเป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาธุรกิจยุคดิจิทัล เพื่อนำมาวางทิศทางกลยุทธ์การตลาด เเละคาดการณ์ว่าลูกค้าจะมีความต้องการอะไรทั้งในตอนนี้เเละอนาคตธนาคารจึงสามารถออกบริการใหม่ๆ มาตอบสนองความต้องการผู้บริโภคได้ตรงจุด นำไปสู่รายได้ทางอ้อม ที่คุ้มยิ่งกว่าต่างจากสมัยก่อนที่ธนาคารมักจะเสนอบริการแบบเดิมๆ ที่ไม่อาจรู้ได้ว่าลูกค้าอยากได้หรือไม่

ในช่วงนี้ธนาคารต่างๆ กำลังพัฒนาระบบวิเคราะห์สถานะทางการเงิน เพื่อรุกหนักด้านสินเชื่อออนไลน์ ให้สามารถยื่นกู้ผ่านแอปฯ ได้ทันทีก็เป็นอีกตัวอย่างที่อธิบายการต่อยอดธุรกิจนี้ได้ดี

นอกจากการเเข่งขันในประเทศเเล้ว ธนาคารใหญ่ในไทยกำลังหาบ่อเงินเเห่งใหม่ ด้วยการเข้าไปเจาะประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนที่เป็นตลาดเติบโตใหม่ เป็นโอกาสทองที่จะเข้าไปปูทางสร้างดิจิทัลเเบงกิ้งให้เข้าถึงประชากรจำนวนมาก ในยามที่คู่เเข่งยังไม่เยอะ

อ่านเพิ่มเติม : ธนาคารไทย ตามหา “ขุมทรัพย์ใหม่” เเย่งลงทุนอาเซียน ส่ง “ดิจิทัลเเบงกิ้ง” เข้าถึงท้องถิ่น

KBank เเละ SCB เลือกเจาะเพื่อนบ้านที่คุ้นเคยกันดีอย่างเมียนมาโดยธนาคารกสิกรไทย ได้รับการอนุมัติอย่างเป็นทางการโดยธนาคารกลางของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ในการเข้าร่วมลงทุนในสัดส่วน 35% ของ ธนาคารเอยาวดี ฟาร์มเมอร์ ดีเวลลอปเม้นท์แบงก์ หรือ เอแบงก์ (A bank) ส่วน SCB ได้รับอนุมัติจัดตั้งธนาคารลูกอย่างเป็นทางการ โดยตั้งเป้า 5 ปี ยอดสินเชื่อแตะ 7 พันล้านบาท เจาะลูกค้าทุกกลุ่มทั้งรายใหญ่ SMEs เเละรายย่อย

การงัดกลยุธ์เด็ดๆ มาประชันกันในศึกดิจิทัลเเบงกิ้งของเหล่าธนาคารยักษ์ใหญ่ในไทย เป็นประเด็นที่น่าจับตามองอย่างยิ่ง เมื่อเเบงก์กำลังจะไปอยู่ทุกที่ เเละเป็นมากกว่าผู้ให้บริการทางการเงิน ส่วนใครจะก้าวไปไกลเเละเร็วกว่านั้น ล้วนเป็นตัวขับเคลื่อนเทคโนโลยีของไทยทั้งสิ้น เเละหนึ่งในผู้ได้รับประโยชน์ก็คือ เราๆ ชาวผู้บริโภคนั่นเอง…

 

]]>
1286885
เจาะลึกทุกมุมของ Robinhood ไขข้อสงสัยปมค่าส่ง โมเดลธุรกิจเเละเเผนสู้ศึก “ฟู้ดเดลิเวอรี่” https://positioningmag.com/1283697 Thu, 18 Jun 2020 12:40:27 +0000 https://positioningmag.com/?p=1283697 ย้อนกลับไปเมื่อช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา ธนาคารใหญ่อย่าง SCB ตั้งใจจะเปิดตัว Robinhood เเอปฯ สั่งอาหารน้องใหม่สัญชาติไทยเเบบเบาๆเเต่กลับมีกระเเสตอบรับอย่างล้นหลาม จนทีมงานต้องตกใจ

การฉีกเเนวธุรกิจเเบงก์ มาลงทุนในศึกฟู้ดเดลิเวอรี่เมืองไทยของ SCB ครั้งนี้ สั่นสะเทือนวงการไม่น้อย เมื่อกำลังถูกพูดถึงอย่างกว้างขวาง ด้วยประเด็นจี้จุด Pain Point อย่างการไม่คิด GP ไม่คิดค่าสมัคร โอนเงินไวใน 1 ชั่วโมง

อ่านเพิ่มเติม : เปิดเบื้องหลัง SCB ฉีกเเนวธนาคาร เปิดตัว Robinhood ลงศึกฟู้ดเดลิเวอรี่เเบบไม่เก็บค่า GP”

หลายคนสงสัยในประเด็นค่าส่งว่าจะเเพงกว่าเจ้าอื่นหรือไม่ เมื่อไม่มีการอัดโปรโมชั่นหนักๆ รัวๆ เเล้วอะไรที่จะดึงดูดใจให้คนมาใช้ อะไรที่จะทำให้ Robinhood อยู่รอดในสมรภูมิที่มีการเเข่งขันอย่างดุเดือด กับคู่เเข่งเจ้าใหญ่ที่มีทุนหนาอย่าง Grab, LINE Man, GET เเละ Food Panda

และเมื่อเป็นการลงทุนเเบบไม่หวังกำไรดังที่ธนาคารได้ประกาศไว้ แต่การลงทุนปีละ 100 ล้านบาท คงต้องมีผลประโยชน์กลับมาไม่ว่าทางใดทางหนึ่งเเน่นอน โดยโมเดลธุรกิจ กลยุทธ์เเละเเผนต่อยอดของ Robinhood จะเป็นเช่นไร Positioning จะพามาเจาะลึกและไขข้อข้องใจนี้กัน

ถ้าจะพูดกันว่าเป็นการเผาเงินเล่น ก็คงเป็นการเผาเงินที่คุ้มค่ามากเราลงทุนปีละร้อยล้าน จะมองว่าเยอะก็เยอะ จะว่าน้อยก็น้อย เเต่เมื่อเทียบกับกำไรของธนาคารที่ได้ปีละ 4 หมื่นล้านเเล้ว ถือว่าน้อยมาก งบในส่วน CSR ของบริษัทเยอะกว่านี้อีก

นี่คือคำกล่าวของธนา เธียรอัจฉริยะผู้บริหาร SCB ที่จะมาเป็นหัวเรือใหญ่ของ Robinhood ผ่านการดำเนินงานภายใต้ บริษัท เพอร์เพิล เวนเจอร์ส จำกัด (บริษัทลูกของ scb 10x) โดยเขาจะนั่งเป็นประธานกรรมการบริหาร พร้อมผู้เชี่ยวชาญด้านเพย์เมนต์อย่างสีหนาท ล่ำซำที่จะมานำทัพบุกเบิกบริษัท ในตำเเหน่งกรรมการผู้จัดการ ซึ่งกำลังจะปั้นทีมใหม่ให้ได้ราว 40-50 คน

Robinhood เกิดขึ้นจากไอเดียของ อาทิตย์ นันทวิทยา ซีอีโอของ SCB ตอนที่เขาต้องกักตัวในช่วงการระบาดของ COVID-19 ต้องทำงานจากที่บ้าน ทำให้ต้องสั่งอาหารออนไลน์บ่อยครั้ง และมองเห็นโอกาสว่าธนาคารมีทรัพยากรเพียงพอที่จะทำได้ จึงต่อยอดด้วยการระดมทีมกว่า 80 คนพัฒนาแอปฯ นี้ขึ้น ภายในเวลาไม่ถึง 3 เดือนก่อนเปิดตัว

เเนวคิดหลักของ Robinhood เป็นไปตามเเบบฉบับของสตาร์ทอัพ คือมุ่งเเก้ Pain Point ในวงการฟู้ดเดลิเวอรี่ ทั้งประเด็นการเก็บค่าธรรมเนียม หรือ GP ที่สูงถึง 30-35% ที่ทำให้บางร้านอาหารเเทบไม่มีกำไร หรือผู้บริโภคที่ต้องเเบกรับค่าอาหารที่เเพงขึ้นจากปกติ ดังนั้น Robinhood จึงคว้าโอกาสชูจุดขายว่า ไม่เก็บค่า GP รวมถึงปัญหาเงินหมุนของทั้งร้านค้าเเละคนขับ จึงเป็นที่มาของการที่จะเคลียร์เงินเข้าบัญชีให้ได้ใน 1 ชั่วโมง

ทาง SCB ยืนยันว่าเป็นหนึ่งใน CSR ของบริษัทที่ “จะไม่มีการเก็บค่าธรรมเนียม GP ทั้งในช่วงนี้และต่อไป” เเละถ้าหากในอนาคตมีคนใช้จำนวนมาก แนวทางการหารายได้จะเป็นไปในทาง “เสนอสินเชื่อ” ให้ผู้ประกอบการมากกว่าที่จะหันมาหักค่า GP

โดย Robinhood จะเริ่มทดลองให้ใช้ในวงจำกัดก่อนในช่วงเดือน ก.ค. เพื่อทดสอบความเรียบร้อย ก่อนจะเปิดตัวอย่างเต็มรูปแบบในช่วงต้นเดือนส.ค. เริ่มในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ก่อนจะขยายไปทั่วประเทศในอนาคต

ถ้าการเข้ามาในตลาดนี้ของเรา ทำให้เจ้าอื่นๆ ตื่นตัวเเละทุ่มโปรโมชั่นเพื่อเเข่งขันกันมากขึ้น ก็ถือว่าเป็นผลประโยชน์ของผู้บริโภค”

ธนา เธียรอัจฉริยะ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เพอร์เพิล เวนเจอร์ส จำกัด (Purple Ventures)

สู้ค่าส่ง 10 บาทไม่ไหว…อะไรที่จะทำให้คนเลือกใช้ Robinhood ?

ด้วยความที่ SCB ลงทุนใน Robinhood ด้วยงบปีละร้อยล้านบาท ถือว่าน้อยเมื่อเทียบกับเจ้าตลาดในปัจจุบัน ที่มีการลงทุนกันระดับหลายพันล้านบาททั้งสิ้น

เเละในงบร้อยล้านนั้น ยังเป็นงบที่รวมทุกอย่างทั้งการจัดการ พนักงาน ระบบหลังบ้านและเครือข่าย ซึ่งจะมีงบด้านการตลาดเหลืออยู่ไม่ถึง 20 ล้านบาท พร้อมยืนยันว่าจะไม่มีการนำไปใช้เพื่ออัดโปรโมชั่น รวมถึงจะไม่มีการออกเงินค่าส่งต่อครั้งที่ให้เหล่าคนขับเหมือนเเอปฯเจ้าอื่นด้วย ปัจจัยเหล่านี้ทำให้ค่าส่งของ Robinhood ต้องเเพงกว่าเเน่นอน

“ถ้าผู้ให้บริการรายอื่นมีโปรฯ ค่าส่ง 10 บาท ก็ไปใช้กันเถอะครับ ทางเราไม่เเข่งด้วย สนับสนุนให้ใช้บริการของคู่แข่งได้เลย มันคุ้มมากจริงๆ ทำให้ผู้บริโภคได้ค่าส่งถูกๆ ถือเป็นเรื่องดี” ธนากล่าว

อย่างไรก็ตาม “ตลาดมีช่องว่างเสมอ” ยังพอหนทางที่จะทำให้พอจะสู้เรื่องค่าส่งได้ นั่นก็คือ “ถ้าซื้ออาหารจาก Robinhood จะคุ้มค่ากว่าเมื่อดูที่ราคารวม โดยเฉพาะการสั่งซื้อที่ยอด 300 บาท ขึ้นไป”

ผู้บริหาร SCB อธิบายต่อ โดยยกตัวอย่างกรณีที่ร้านอาหารจำเป็นต้องชาร์จราคาอาหารเพิ่ม เพื่อให้สอดคล้องกับค่า GP ที่ถูกเรียกเก็บ จากราคาหน้าร้านที่ถุงละ 50 บาท เป็นราคาในเเอปฯ 70 บาท สมมติลูกค้าสั่งโจ๊ก 5 ถุงเท่ากับราคา 350 บาท เเม้จะมีค่าส่งเพียง 10 บาทเเต่เมื่อรวมเเล้วจะต้องจ่ายรวมทั้งสิ้น 360 บาท ขณะที่ Robinhood จะมีการคิดราคาอาหารเท่าหน้าร้านที่ถุงละ 50 บาท เมื่อสั่ง 5 ถุงจะเท่ากับ 250 บาท เเม้จะบวกค่าส่งที่เเพงกว่าที่ 30-50 บาท เเต่โดยรวมเเล้วจะไม่เกิน 300 บาท เป็นต้น

นอกจากนี้ ทางแอปฯ กำลังพยายามการเจรจา “ดีลพิเศษ” กับร้านอาหารขนาดใหญ่เเละเชนร้านอาหารชื่อดังต่างๆ ที่สนใจจะมาร่วมให้บริการ เช่นทางร้านอาจจะเป็นฝ่ายทำโปรโมชั่นพิเศษ หรือเเจกส่วนลดค่าส่งให้ลูกค้าเองโดยตรง เพราะเมื่อร้านไม่ได้เสียค่า GP (หรืออาจเป็นดีลที่จ่ายน้อยกว่าแอปฯอื่น) เเล้ว ก็สามารถนำส่วนต่างนั้นไปทำเเคมเปญเรียกลูกค้าได้ เป็นอีกหนึ่งจุดเด่นที่จะมีใน Robinhood

ในส่วนของคนส่งอาหาร Robinhood จับมือกับ Skootar สตาร์ทอัพไทยที่ให้บริการส่งเอกสารในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล มีคนขับในสังกัดประมาณ 10,000 ราย และยังไม่มีบริการส่งอาหารมาก่อน ถือเป็นการเติบโตร่วมกัน และทางบริษัทกำลังมองหาพาร์ตเนอร์เจ้าอื่นๆ ด้วย

ทั้งนี้ ผู้สนใจที่จะร่วมงานกับ Robinhood ต้องสมัครเเละผ่านการอบรมกับทาง Skootar ก่อน ซึ่งสาเหตุที่ Robinhood ไม่ได้ลงทุนด้านขนส่งเอง ก็เพราะต้นทุนการบริหาร Rider Fleet สูงมากนั่นเอง

เเม้ตอนนี้ยังไม่ได้มีการเปิดเผย “ค่าส่ง” ที่เเน่ชัด เเต่ทาง Robinhood ระบุว่าจะมีการคิดค่าส่งตามระยะทางที่เหมาะสม เพื่อให้สามารถแข่งขันกับรายอื่นๆ ได้เเน่นอน 

ส่วนข้อสงสัยที่ว่า ก่อนหน้านี้ SCB ได้ร่วมมือกับ GET ผู้ให้บริการฟู้ดเดลิเวอรี่รายใหญ่ เป็นพันธมิตรด้าน Financial Business จะเป็นการเเย่งตลาดกับพาร์ตเนอร์หรือไม่นั้น ผู้บริหาร SCB ตอบว่ามีการพูดคุยกันเป็นที่เรียบร้อย โดยทางธนาคารไม่ได้จะทำธุรกิจเดลิเวอรี่เเข่งกับ GET แต่อย่างใด เพราะ GET ก็มีฐานลูกค้าที่เเข็งเเกร่ง มีประสบการณ์มากกว่า และในอนาคตก็สามารถร่วมมือกันได้

ต่อยอดสินเชื่อ – Data – เพิ่มผู้ใช้ SCB Easy 

“บริษัทใหญ่ของโลกที่ให้บริการทั้ง E-Marketplace , Ride Hailing เเละเดลิเวอรี่ สุดท้ายก็จะวนมาสู่บริการทางการเงิน เป็นคำถามว่าแล้ว SCB ที่เป็นธนาคารให้บริการทางการเงินอยู่แล้ว โดนดิสรัปต์มาโดยตลอด แล้วทำไมธนาคารจะก้าวข้ามไปทำบริการอื่นๆ ไม่ได้”

สีหนาท ล่ำซำ เอ็มดีของ Robinhood กล่าวถึงการลงทุนในธุรกิจฟู้ดเดลิเวอรี่ของธนาคาร และบอกว่าข้อได้เปรียบของการเป็นธนาคารในตลาดนี้ คือฐานลูกค้าเเละความเสถียรของระบบเพย์เมนต์ รวมถึงข้อเสนอเรื่องสินเชื่อที่ผู้ประกอบการเข้าถึงได้ง่ายขึ้น

สีหนาท ล่ำซำ ในฐานะกรรมการผู้จัดการ บริษัท เพอร์เพิล เวนเจอร์ส จำกัด (Purple Ventures)

โดยร้านอาหารที่จะเข้าร่วม Robinhood จะต้องใช้ระบบเพย์เมนต์ของ SCB ซึ่งมาจากฐานลูกค้าเดิมที่ทำ QR Code ของ “แม่มณี” เบื้องต้นคาดว่าจะมีร้านเข้าร่วมประมาณ 20,000 ร้านในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล โดยตอนนี้มีร้านที่สนใจติดต่อเข้ามาจำนวนมากกว่า 1,000 ร้านต่อวัน (ร้านอาหารที่สนใจสมัครได้ 3 ช่องทาง ได้แก่ สาขา SCB, onboard.robinhood.in.th หรือโทร. 02-777-7564)

ส่วนผู้บริโภคจะเป็นการจ่ายเเบบ “ไร้เงินสด” เพื่อให้เข้ากับพฤติกรรม New Normal โดยจะสามารถจ่ายเงินผ่าน SCB Easy ที่มีฐานผู้ใช้กว่า 11 ล้านราย และตัดบัตรเครดิตได้ทุกธนาคาร ซึ่งเฟสต่อไปจะมีการพัฒนาให้จ่ายผ่าน QR Code และ Mobile Banking เจ้าอื่นๆ ทั้งหมดภายในสิ้นปีนี้

เมื่อไม่ได้เน้นเรื่องรายได้ หลายคนจึงมองว่า Robinhood เป็นโอกาสของ SCB ที่จะเก็บข้อมูล (Data) จากการใช้บริการทั้งร้านอาหาร คนขับเเละผู้บริโภค โดยเฉพาะช่วงนี้ที่ธนาคารกำลังพัฒนาระบบวิเคราะห์สถานะทางการเงิน เพื่อรุกด้านสินเชื่ออนไลน์ ให้สามารถยื่นผ่านแอปฯ SCB Easy ได้ทันที

ผู้บริหาร Robinhood ตอบในกรณีนี้ว่า การเก็บข้อมูลจะต้องอยู่บนพื้นฐาน Privacy ความปลอดภัยของข้อมูลของผู้ใช้ ซึ่งเป็นเรื่องที่บริษัทจะให้ความสำคัญมากที่สุด “ทุกธนาคารมีข้อมูลเยอะอยู่เเล้ว ตอนนี้ข้อมูลใน Mobile Banking ก็ไม่ได้นำมาใช้มากมายนัก เมื่อเทียบกับการใช้ธุรกรรมต่างๆ” 

Photo : Shutterstock

พนักงานเเบงก์ต้องถ่ายรูปสวย เพื่อสร้าง Engagement 

โมเดลธุรกิจของ Robinhood ที่นอกเหนือจากการเสนอสินเชื่อเเละการเก็บข้อมูลเเล้ว ธนาบอกว่าสิ่งที่ตั้งความหวังไว้มากที่สุด คือการที่ Robinhood จะมาเป็นธุรกิจที่ช่วยสร้างความสัมพันธ์ระหว่างร้านอาหารกับพนักงานสาขา เป็นผลพลอยได้ที่จะนำไปสู่การปรับองค์กรครั้งใหญ่ที่ตั้งใจจะทำกันมานานมากเเล้ว

โดยพนักงานธนาคารจะต้องออกไปเจอร้านค้าที่อยู่ในรัศมี 5 กิโลเมตร ไปพูดคุย ทำความรู้จักเเละให้คำเเนะนำได้ เป็นการ Re-Skill และปรับการทำงานของสาขา SCB ใหม่ จึงเกิดเป็นการเทรนนิ่งพนักงานกว่า 800 คนทั่วประเทศขึ้น

สำหรับการ “เทรนนิ่งออนไลน์” จะใช้เวลาหลังเลิกงานประมาณ10 วัน มีการอบรมการถ่ายรูปด้วยมือถือ จากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ ทั้งการถ่ายรูปเมนูอาหารให้สวยงาม เรื่องแสงและเงา กฎการถ่ายภาพ 3 ส่วน 9 ส่วน การใช้แอปพลิเคชันเเต่งภาพ และจุดประกายความคิดสร้างสรรค์ต่างๆ

จึงมาถึงยุคที่พนักงานธนาคารต้องปรับตัว ให้ “ถ่ายรูปสวย” เพื่อเป็นผู้ช่วยให้กับร้านอาหาร เป็นการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าที่มากกว่าการ “ฝาก-ถอน” ซึ่งความสนิทสนมเหล่านี้ ทำให้มีโอกาสสูงที่จะต่อยอดไปสู่บริการอื่นๆ ของธนาคารได้ง่ายขึ้น

การได้ทรานส์ฟอร์มองค์กรเเละต่อยอดรายได้ของธนาคาร จึงถือเป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่ได้จากการ “เผาเงินเเบบคุ้มมากๆ” ของ Robinhood นั่นเอง

เเม้ Robinhood จะย้ำตลอดว่าต้องการเป็นเพียงเเอปฯ เล็กๆไม่เเข่งกับใคร ไม่อยากเป็นเบอร์หนึ่ง ขอเเค่เป็นทางเลือก เเต่หลายคนมองว่าอาจจะเป็นจุดเริ่มต้นของ Super App ของคนไทยก็เป็นได้ ขณะที่หลายคนก็มองว่าศึกฟู้ดเดลิเวอรี่ต้องสู้กันจนเลือดสาด การที่จะเเจ้งเกิดเเละอยู่รอดระยะยาวได้ไม่ง่ายนักก็ต้องจับตาดูกันต่อไปว่า Robinhood จะเข้ามาเขย่าวงการนี้ได้จริงๆ หรือไม่

 

]]>
1283697