ลาออก – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 04 Sep 2024 13:48:26 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 กดดันเกินจะทำเอง! พนักงานในญี่ปุ่นหันมาพึ่ง “บริษัทรับจ้างลาออก” มากขึ้น หลังจากต้องกลับมาเข้าทำงานในออฟฟิศสุดเครียด https://positioningmag.com/1488749 Wed, 04 Sep 2024 10:13:58 +0000 https://positioningmag.com/?p=1488749 หากพูดถึงวัฒนธรรมการ ทำงานหนัก ชื่อของประเทศ ญี่ปุ่น ต้องติดอันดับต้น ๆ แน่นอน ยังไม่รวมถึงความกัดดันอื่น ๆ จากหัวหน้างาน และด้วยวัฒนธรรมดังกล่าวทำให้เกิดธุรกิจ รับจ้างลาออก ซึ่งพนักงานญี่ปุ่นหันมาใช้งานมากขึ้นเรื่อย ๆ

พนักงานออฟฟิศของญี่ปุ่นเปิดเผยว่า การทำงาน 12 ชั่วโมงต่อวัน ในออฟฟิศ หรือตั้งแต่ 9 โมงเช้าจนถึง 3 ทุ่ม ถือเป็น เวลาปกติในการทำงาน และถือเป็นเวลาเลิกงานที่เร็วที่สุดของวันทํางานด้วยซ้ำ อย่างไรก็ตาม การทำงานหนักไม่ใช่วัฒนธรรมในการทำงานที่ไม่ดีอย่างเดียวของญี่ปุ่น

โดยอีกวัฒนธรรมในการทำงานของญี่ปุ่นก็คือ การลาออก ที่ถือว่าเป็นการ ดูหมิ่นรุนแรง ต่อนายจ้างและหัวหน้า ในกรณีที่รุนแรงที่สุดคือ หัวหน้าบางคนจะ ฉีกจดหมายลาออกและก่อกวนพนักงานเพื่อบังคับให้พวกเขาอยู่ต่อ ส่งผลให้พนักงานหลายคนต้องทำงานกับบริษัทเดียวเป็นเวลาหลายสิบปี หรือไม่ก็ตลอดชีวิต 

ด้วยเหตุนี้ ทำให้ญี่ปุ่นมีธุรกิจใหม่ก็คือ รับจ้างลาออก เพื่อช่วยเหลือพนักงานที่ไม่กล้าลาออกเอง ทั้งจากนิสัยส่วนตัวที่ไม่กล้า หรือพนักงานที่กลัวเจ้านายตัวเอง ซึ่งบริษัทจะช่วยให้พนักงานเหล่านี้ลาออกโดยปราศจากความเครียด แม้ว่าอุตสาหกรรมนี้มีอยู่ก่อนโควิด แต่ความนิยมของมันเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ หลังจากการระบาดใหญ่คลี่คลายลง เพราะหลายคนเริ่มหันมาทบทวนถึงการทำงานที่ต้องกลับเข้าออฟฟิศ หลังจากที่เคยได้ Work from home

อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีตัวเลขอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับบริษัทรับจ้างลาออกมีอัตราการเติบโตมากน้อยแค่ไหน แต่เชื่อว่าบริษัทเหล่านี้มีโอกาสเพิ่มมากขึ้น ตราบใดที่ยังมีความต้องการ โดย Shiori Kawamata ผู้จัดการฝ่ายปฏิบัติการของ Momuri (โมมูริ) หนึ่งในบริษัทรับจ้างลาออก เปิดเผยว่า ในปีที่ผ่านมาเพียงปีเดียว บริษัทได้รับการสอบถามจากลูกค้ามากถึง 11,000 เคส

สำหรับ Momuri ก่อตั้งในปี 2022 โดยชื่อบริษัทแปลเป็นไทยได้ว่า ฉันทําสิ่งนี้ไม่ได้แล้ว ซึ่งสะท้อนถึงความในใจของลูกค้าที่ไม่สามารถ ทำงานกับที่เดิม ได้อีกต่อไป โดยตัวบริษัทตั้งอยู่ในมินาโตะ หนึ่งในย่านธุรกิจที่พลุกพล่านที่สุดของโตเกียว 

สำหรับค่าบริษัทจะอยู่ที่ประมาณ 22,000 เยน (ประมาณ 5,300 บาท) สำหรับพนักงานออฟฟิศทั่วไป และ 12,000 เยน (ประมาณ 2,900 บาท) สําหรับผู้ที่ทํางานพาร์ทไทม์ โดยบริษัทสัญญาว่าจะช่วยพนักงานยื่นใบลาออก เจรจากับบริษัทของตน และให้คําแนะนําแก่ทนายความหากมีข้อพิพาททางกฎหมายเกิดขึ้น

ทั้งนี้ เคสส่วนใหญ่ที่บริษัทเจอจะเป็น พนักงานที่ทำงานให้กับ ธุรกิจขนาดเล็กถึงขนาดกลาง และธุรกิจใน อุตสาหกรรมอาหารมีความเสี่ยงมากที่สุด รองลงมาคือ ธุรกิจด้านการดูแลสุขภาพและสวัสดิการ

“บางคนมาหาเราหลังจากถูกฉีกจดหมายลาออกสามครั้ง แต่นายจ้างก็ไม่ยอมให้พวกเขาลาออก แม้ว่าพวกเขาจะคุกเข่าลงกับพื้นเพื่อโค้งคํานับก็ตาม บางครั้งเราได้รับโทรศัพท์จากคนที่ร้องไห้ ถามเราว่าพวกเขาสามารถลาออกจากงานได้หรือไม่ เราบอกพวกเขาว่าไม่เป็นไร และการลาออกจากงานของพวกเขาคือ สิทธิแรงงาน” Kawamata กล่าว

อย่างไรก็ตาม มีพนักงานบางคนเจอปัญหา การก่อกวนจากหัวหน้า หากพวกเขาพยายามลาออก เช่น การไปกดกริ่งประตูที่บ้านหรืออพาร์ตเมนต์ของพวกเขาซ้ำ ๆ แถมยังไม่ยอมกลับ บางเคส มีพนักงานถูกเจ้านาย ลากไปวัด เพราะเชื่อว่า ถูกสาปแช่ง 

อย่างไรก็ตาม Shiori Kawamata ได้ทิ้งท้ายอย่างตรงไปตรงมาว่า บริการรับจ้างลาออก ควรหายไปจากสังคม เพราะมันคงจะดีที่สุดถ้าผู้คนสามารถ ลาออกกับเจ้านายของพวกเขาได้ด้วยตัวเอง แต่เมื่อได้ยินเรื่องราวน่าเศร้าของลูกค้าหลาย ๆ ราย ทำให้เชื่อว่า ธุรกิจรับจ้างลาออกจะไม่หายไปในเร็ว ๆ นี้

ทั้งนี้ ในปี 2022 ที่ผ่านมา ญี่ปุ่นมีผู้เสียชีวิตจากการทำงาน หรือที่เรียกว่า คาโรชิ ถึง 54 คน แม้จะถือว่าลดลงอย่างมากจากจำนวน 160 คน ที่บันทึกไว้เมื่อ 20 ทศวรรษก่อน แต่จํานวนคนที่ยื่นคําร้องเกี่ยวกับความเครียดทางจิตใจในที่ทํางานกําลังเพิ่มขึ้น จาก 341 คนในช่วง 20 ปีก่อน เป็น 2,683 คน ตามรายงานของกระทรวงสาธารณสุข แรงงาน และสวัสดิการ

Source

]]>
1488749
เกือบหมดบริษัท! พนักงาน 650 คนของ “OpenAI” ลงชื่อขู่ “ลาออก” ตามซีอีโอเก่าไปทำงานที่ “Microsoft” https://positioningmag.com/1452648 Tue, 21 Nov 2023 05:26:36 +0000 https://positioningmag.com/?p=1452648 พนักงานของ “OpenAI” ลงชื่อขู่ “ลาออก” ตามซีอีโอเก่าไปทำงานที่ “Microsoft” หลังจากบอร์ดบริหารสั่งปลดฟ้าฝ่าทั้งซีอีโอ “Sam Altman” และผู้ร่วมก่อตั้ง “Greg Brockman” ไปเมื่อสัปดาห์ก่อน ล่าสุดรายชื่อพนักงานที่พร้อมลาออกตามนายเก่าพุ่งขึ้นถึง 650 คน จากจำนวนพนักงานทั้งบริษัท 770 คน

เมื่อสัปดาห์ก่อนมีข่าวช็อกวงการเทค เมื่ออยู่ ๆ บอร์ดบริหาร “OpenAI” ประกาศปลดทั้งซีอีโอ “Sam Altman” และผู้ร่วมก่อตั้ง “Greg Brockman” ออกจากตำแหน่ง

แต่ทั้งคู่ก็ไม่ต้องเคว้งนาน เพราะ “Microsoft” เข้ามาเสนองานใหม่ทันที โดยให้ไปเป็นผู้นำ “ทีมงานวิจัย AI ขั้นสูง” ของบริษัทย่อยที่จะตั้งขึ้นใหม่

ไม่ใช่แค่ Altman และ Brockman เท่านั้น แต่ดูเหมือน Microsoft จะเปิดออฟฟิศพร้อมรับคนทั้งบริษัท OpenAI ให้ตามนายเก่าไปที่บริษัทย่อยแห่งใหม่ด้วย

ข้อมูลนี้อ้างอิงจากในเนื้อความ “จดหมายเปิดผนึก” ของพนักงาน OpenAI เอง ในจดหมายนี้ระบุถึงความไม่พอใจของพนักงานต่อบอร์ดบริหารที่สั่งปลด Altman และ Brockman พร้อมขู่ว่าถ้าบอร์ดไม่แต่งตั้งทั้งคู่กลับสู่ตำแหน่งเดิม พนักงานตามรายชื่อด้านล่างจดหมายนี้จะขอ “ลาออก” และจะไปร่วมงานกับ Microsoft ซึ่งให้ความมั่นใจมาแล้วว่าจะรับพนักงาน OpenAI ทั้งหมดเข้าทำงานในบริษัทย่อยใหม่ที่เปิดให้กับ Altman และ Brockman

ครั้งแรกที่จดหมายเปิดสู่สาธารณะ จากพนักงาน 770 คนของบริษัท OpenAI มีถึง 500 คนที่ลงชื่อขู่ลาออก จากนั้นจำนวนชื่อก็เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนล่าสุดสูงถึง 650 คน เรียกว่าแทบจะหมดบริษัท

OpenAI ลาออก
Sam Altman อดีตซีอีโอ OpenAI (Photo: Shutterstock)

อย่างไรก็ตาม แนวโน้มที่พนักงาน OpenAI จะได้ลาออกจริง ๆ นั้นมีสูงมาก เพราะบอร์ดบริหารได้ตัดสินใจเลือกไปแล้วและไม่มีท่าทีจะคืนคำ พร้อมทั้งตั้งซีอีโอคนใหม่ขึ้นมาบริหารแล้ว

ฝั่ง Microsoft นั้นกำลังอยู่ระหว่างตั้งบริษัทใหม่ขึ้นมาโดยจะยื่นตำแหน่ง “ซีอีโอ” ให้กับ Altman ด้วย ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องไม่ค่อยปกติของ Microsoft เพราะโดยทั่วไปแล้วบริษัทนี้จะให้ตำแหน่งระดับซีอีโอกับแผนกขนาดใหญ่ เช่น Microsoft Gaming หรือบริษัทขนาดใหญ่ที่เข้าไปเทกโอเวอร์มา เช่น LinkedIn, Github ดังนั้น การให้ตำแหน่งซีอีโอกับ Altman พร้อมกับดึงคนทั้งหมดของ OpenAI มาให้ด้วย เป็นเหมือนสัญญาณที่บอกว่าความเคลื่อนไหวครั้งนี้ไม่ใช่เรื่องเล็ก ๆ ของ Microsoft

การเปิดตัว Altman กับ Brockman ให้มารั้งตำแหน่งหัวหน้าทีม AI ขั้นสูงของ Microsoft เกิดขึ้นในเวลาเพียงสัปดาห์เดียวหลังบริษัทประกาศว่าบริษัทจะพัฒนา “ชิป AI” ของตนเอง เพื่อให้ชิปนี้สามารถใช้ฝึกโมเดลภาษาได้ และลดการพึ่งพิง Nvidia ลง โดยก่อนหน้านี้ Altman เองก็เริ่มเสนองาน TPU เพื่อแข่งกับ Nvidia ให้กับนักลงทุนต่าง ๆ มาแล้วสักพักหนึ่ง

สาเหตุที่บอร์ดบริหารสั่งปลด Altman กับ Brockman นั้นคาดว่ามาจากความไม่พอใจที่ทั้งคู่เร่งรีบผลักดันผลิตภัณฑ์ AI ออกสู่ตลาดเร็วเกินไป จนอาจจะควบคุมไม่ได้และเป็นอันตรายต่อสังคม โดยมีหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง OpenAI อย่าง “Ilya Sutskever” ที่เป็นคนผลักดันบอร์ดบริหารให้ปลดสองคนนี้ออกจากตำแหน่ง

ล่าสุด Sutskever กลับลำมา “ลงชื่อ” ในจดหมายขู่ลาออกของพนักงานกับเขาด้วย พร้อมบอกผ่าน X (ทวิตเตอร์) ว่าเขา “รู้สึกเสียใจอย่างมากที่มีส่วนร่วมในการกระทำของบอร์ดบริหาร” และ “ไม่ได้ตั้งใจที่จะทำร้ายบริษัท OpenAI เลย”

Source

]]>
1452648
“ลาออก” ดีไหม? ถ้าคุณอ่าน 7 คำถามนี้แล้วตอบ “ใช่” เป็นส่วนใหญ่ ก็ยื่นใบลาออกเลยดีกว่า https://positioningmag.com/1427953 Thu, 20 Apr 2023 05:35:10 +0000 https://positioningmag.com/?p=1427953 มีหลายครั้งที่เราสับสนว่าควร “ลาออก” จากที่ทำงานปัจจุบันหรือยัง มีเหตุผลพอไหมที่จะออก 7 คำถามเหล่านี้จะเป็นตัวช่วยกลั่นกรองการตัดสินใจลาออกของคุณ

แจ็ค เคลลี่ ผู้ก่อตั้งสตาร์ทอัพธุรกิจค้นหางาน WeCruitr เปิดตัวช่วยที่จะทำให้คนทำงานตัดสินใจง่ายขึ้นว่า ตอนนี้ควรหรือยังที่จะ “ลาออก” และหางานใหม่

เช็กสุขภาพจิตในการทำงานว่าคุณยังมีความสุขกับการงานอยู่หรือเปล่า ผ่านการถามตัวเองด้วย 7 คำถามเหล่านี้ หากพบว่าตัวเองตอบ “ใช่” กับคำถามส่วนใหญ่ ก็เป็นไปได้ว่าคุณควรจะยื่นใบลาออกได้แล้ว

1.คุณรู้สึกไม่พึงพอใจสุดๆ กับงานที่ทำอยู่หรือเปล่า?

ถ้าคุณรู้สึกไม่พอใจกับงานที่ทำอยู่ในปัจจุบัน อาจจะเป็นสัญญาณว่าได้เวลาต้องหางานใหม่แล้ว ถ้าคุณพบว่าตัวเองไม่สนุกกับงาน รู้สึกไม่ได้รับการเติมเต็ม หรืองานไม่ท้าทายพอ ต่อไปคุณจะเริ่มไม่กระตือรือร้นและทำงานไปวันๆ

การทำงานด้วยความรู้สึกแบบนี้จะดูดเอาแรงกระตุ้นในตัวคุณไปหมด ประสิทธิภาพการทำงานจะดิ่งลง จนกระทั่งผู้จัดการหรือหัวหน้าของคุณสังเกตเห็นและมองว่าคุณกำลัง ‘quiet quitting’ ทำงานเช้าชามเย็นชาม และอะไรๆ ก็จะแย่ลงไปอีก

2.คุณรู้สึกได้ว่าเส้นทางอาชีพมาถึงทางตันในบริษัทแล้วหรือเปล่า?

บางครั้งคุณอาจรู้สึกติดอยู่ในสภาพซึมๆ ในที่ทำงาน คือคุณไม่มีการเติบโต ได้เรียนรู้อะไรใหม่ หรือมีความท้าทายใหม่ในบริษัท แต่ละวันผ่านไปโดยไม่มีอะไรเปลี่ยน คุณรู้สึกหงุดหงิดที่ไม่ได้ใช้ทักษะของตนให้เป็นประโยชน์ ไม่ได้แสดงความสามารถเต็มศักยภาพ

3.งานนี้ไม่มี Work-Life Balance หรือเปล่า?

หากงานของคุณต้องการเวลาและพลังงานจากตัวคุณมากเหลือเกิน มากเสียจนคุณแทบไม่เหลือเวลาให้กับตัวเองหรือครอบครัวเลย นี่คือสัญญาณเตือนว่าคุณต้องไปหาโอกาสใหม่ได้แล้ว

หากยังอดทนอยู่ ในอนาคตคุณอาจจะหมดไฟ (burn out) ซึ่งจะมีผลกระทบต่อสุขภาพทั้งทางจิตใจและร่างกาย การไม่มีสมดุลชีวิตกับการงานที่ดีพอจะทำให้ความสัมพันธ์ในครอบครัวหรือกับเพื่อนๆ ตึงเครียด และคุณอาจจะเสียความสัมพันธ์ที่มีความหมายในชีวิตไปหมด

4.คุณติดอยู่ในสังคม “เป็นพิษ” ในที่ทำงานหรือเปล่า?

สังคม “เป็นพิษ” ในที่ทำงาน สามารถนิยามได้ว่า เป็นที่ทำงานที่เต็มไปด้วยความเครียด การสื่อสารระหว่างกันย่ำแย่ ไม่มีความเคารพนับถือและสนับสนุนซึ่งกันและกัน ทั้งระหว่างเพื่อนร่วมงานด้วยกันเองและระหว่างหัวหน้ากับลูกน้อง

หากคุณอยู่ในที่ทำงานที่รู้สึกว่าตัวเองโดดเดี่ยวไม่มีใครช่วย หรือถูกรังแกในที่ทำงาน ต่อไปอาจจะเกิดปัญหาสุขภาพจิตขึ้นได้ มีผลกระทบให้ทำงานได้แย่ลง สุดท้ายคุณก็จะต้องหางานใหม่อยู่ดี

5.คุณทำงานไปเท่าไหร่ก็ไม่มีใครเห็นค่าหรือเปล่า?

ถ้าคุณรู้สึกว่าการทำงานของคุณไม่มีใครเห็นค่าและใส่ใจ คุณน่าจะลาออกและหาที่ใหม่ที่คนเขาเห็นค่าคุณมากกว่านี้

แต่ก่อนที่จะทำเช่นนั้น คุณอาจจะลองขอนัดประชุมกับหัวหน้าดูก่อนว่าคุณรู้สึกอย่างไร โดยอธิบายถึงงานที่คุณได้สร้างประโยชน์มาทั้งหมด ยกตัวอย่างให้เห็นความสำเร็จที่ทำมา รวมถึงการทำงานมากกว่าหน้าที่ของตัวเอง เป็นการย้ำเตือนหัวหน้างานว่าคุณได้ทำมากกว่าที่บริษัทคาดหวังให้ทำแล้ว

6.คุณรู้สึกไม่สบายใจหรือไม่เห็นด้วยกับวัฒนธรรมองค์กรหรือเปล่า?

ถ้าคุณรู้สึกว่าตัวเองไม่เข้ากับวัฒนธรรมองค์กรที่นี่ หรือไม่เห็นด้วยกับภารกิจขององค์กรที่ตั้งไว้ อาจจะถึงเวลาแล้วที่คุณต้องหาที่ทำงานใหม่ที่เข้ากันได้มากกว่า

แต่อย่าเพิ่งผลีผลามลาออกไปโดยยังไม่พยายาม คุณอาจจะลองหาเพื่อนร่วมงานคนอื่นที่เข้ากันได้ดูก่อน เพราะกลุ่มเล็กๆ ที่มีความคิดคล้ายกันอาจจะสร้าง ‘subculture’ เป็นกลุ่มย่อยที่แตกต่างในบริษัท และสามารถสนับสนุนช่วยเหลือกันและกันได้ ทำให้บรรยากาศการไปทำงานของคุณดีขึ้น

7.คุณไม่เชื่อมั่นในหัวหน้างานและทีมผู้บริหารหรือเปล่า?

หากคุณไม่มั่นใจหรือไม่เคารพการตัดสินใจของทีมบริหาร นั่นอาจเป็นอีกหนึ่งสัญญาณลาออก เพราะคุณต้องการอยู่ในบริษัทที่คุณมั่นใจกับกลุ่มผู้นำองค์กรได้จริงๆ

ลองถามตัวเองดูก่อนด้วยว่า ทำไมคุณถึงมีความรู้สึกไม่เชื่อมั่นในหัวหน้าหรือผู้บริหาร มีเหตุผลที่ชัดเจนจากบางอย่างที่พวกเขาตัดสินใจทำหรือพูดออกมาหรือเปล่า หรือแค่เป็นสัญชาตญาณบางอย่างเท่านั้น

สรุปสุดท้ายคือ ก่อนที่คุณจะตัดสินใจอะไร ขอให้ลองปรึกษากับหัวหน้า เพื่อนร่วมงานที่ไว้ใจได้ รุ่นพี่ที่สอนงาน หรือคุยกับฝ่าย HR ถึงความกังวลใจของคุณเองดูก่อน เผื่อว่าจะมีอะไรที่แก้ไขให้สถานการณ์ของคุณดีขึ้นได้ ทำให้การ “ลาออก” ไม่ใช่ตัวเลือกหนึ่งเดียวที่คุณต้องทำ

Source

]]>
1427953
แห่ลาออก! พนักงาน Twitter หลายร้อยคนโบกมือลานายใหม่ ออฟฟิศปิดชั่วคราว 3 วัน https://positioningmag.com/1408926 Fri, 18 Nov 2022 04:56:31 +0000 https://positioningmag.com/?p=1408926 “อีลอน มัสก์” วางเดดไลน์ให้พนักงาน Twitter ตอบรับว่าจะอยู่หรือไปกับบริษัทภายใต้ ‘การปฏิวัติวัฒนธรรม’ ในยุคการปกครองของเขา และเมื่อเดดไลน์มาถึง ปรากฏว่าพนักงานหลายร้อยคนเลือกที่จะโบกมือลา พร้อมด้วยอีโมจิตะเบ๊ะ+หัวใจสีฟ้าเพื่อบอกให้รู้ว่าพนักงานคนนั้นจะไม่อยู่กับองค์กรอีกแล้ว

การลุกฮือของพนักงาน Twitter เกิดขึ้นหลังจาก “อีลอน มัสก์” ไล่พนักงานออกไปหลายสิบคน เพราะพนักงานเหล่านั้นวิพากษ์วิจารณ์หรือล้อเลียนเขา ไม่ว่าจะในทวีตที่เปิดเผยต่อสาธารณะหรือการพูดคุยเป็นการภายในองค์กร

หลังจากนั้นมัสก์ตัดสินใจวางเดดไลน์ให้พนักงานตอบรับว่าจะ “อยู่ต่อ” กับองค์กรหรือไม่บน Google form พนักงานที่ต้องการอยู่ต่อต้องตอบรับภายในเวลา 17:00 น. (ET Timezone) ของวันพฤหัสบดีที่ 17 พ.ย. 2022 โดยถ้าอยู่ต่อก็จะต้องอยู่ภายใต้ยุคแห่ง “Twitter 2.0” ตามคำเรียกของมัสก์เอง ถ้าหากใครไม่ตอบรับ เมื่อวานจะถือเป็นวันทำงานวันสุดท้ายโดยจะได้เงินชดเชยเมื่อออกจากงานตามกฎหมาย

เมื่อถึงเวลาเดดไลน์ พนักงานหลายร้อยคนเริ่มโพสต์ข้อความบอกลา พร้อมด้วยอีโมจิ “ตะเบ๊ะ+หัวใจสีฟ้า” บนแพลตฟอร์ม Slack ซึ่งพนักงานใช้ในการทำงานภายใน ประกาศว่าพวกเขาไม่ตอบรับคำขาดที่มัสก์ยื่นให้

หลังมัสก์เข้าซื้อกิจการ เขาไล่พนักงานออกไปแล้วประมาณครึ่งหนึ่งของบริษัท ทำให้มีพนักงานเหลืออยู่ประมาณ 2,900 คนก่อนจะเกิดการยื่นคำขาด เมื่อพนักงานหายไปอีกหลายร้อยคน พนักงานส่วนหนึ่งของ Twitter ทั้งที่ยังอยู่และที่ลาออก บอกกับสำนักข่าว The Verge ว่า ด้วยจำนวนการลาออกพร้อมกันมากขนาดนี้ แพลตฟอร์มอาจจะเกิดความขัดข้องได้เร็วๆ นี้ พนักงานรายหนึ่งบอกว่า “วิศวกรที่เป็นตำนาน” ของบริษัทกำลังจากไปทีละคนๆ

“เรารู้สึกราวกับว่า คนทั้งหมดที่ทำให้สถานที่แห่งนี้เป็นที่สุดกลับต้องจากไป” พนักงานรายหนึ่งของ Twitter กล่าว “ต่อไปจะยากอย่างยิ่งที่ Twitter จะฟื้นตัวกลับมาได้ ไม่ว่าคนที่ยังเหลืออยู่จะทำงานกันหนักแค่ไหนก็ตาม”

พนักงานรายหนึ่งกล่าวว่า ทีมวิศวกรที่เป็นส่วนสำคัญขององค์กรนั้นได้ลาออกหรือกำลังจะลาออกกันเกือบหมดแล้ว ซึ่งทีมงานเหล่านี้เป็นผู้ดูแลระบบแกนกลางของ Twitter

 

การปฏิวัติวัฒนธรรมของมัสก์

หนึ่งในเรื่องสำคัญที่อีลอน มัสก์ทำเป็นอย่างแรกในฐานะเจ้าของคนใหม่ คือ การปฏิวัติวัฒนธรรมการทำงานใน Twitter อีเมลที่ส่งหาพนักงานทุกคนในสัปดาห์นี้ระบุว่า “ต่อจากนี้ เพื่อที่จะเข้าสู่ยุค Twitter 2.0 และประสบความสำเร็จในโลกที่มีการแข่งขันสูงขึ้น เราต้องทำงานกันอยากหนักสุดขั้ว (extremely hardcore) หมายถึงเราจะต้องทำงานหลายชั่วโมงติดต่อกันและทำงานอย่างเข้มข้น เฉพาะประสิทธิภาพการทำงานได้อย่างโดดเด่นเท่านั้นถึงจะผ่านการประเมิน”

สไตล์การทำงานของมัสก์สะท้อนให้เห็นชัดเจนจากบริษัทที่เขาควบคุมอยู่ไม่ว่าจะเป็น Tesla หรือ SpaceX ก่อนหน้านี้มัสก์เคยวิจารณ์วิถีทำงานแบบ Remote Work หรือการทำงานจากที่ไหนก็ได้ ว่าเป็นวิธีทำงานที่ไม่มีประสิทธิภาพ ถ้าใครอยากจะทำแบบนั้น ควรจะมาทำงานให้ได้ 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ให้ได้ก่อน (หรือก็คือมาทำงานออฟฟิศเต็มเวลา ถ้าอยากจะทำงานล่วงเวลาค่อยไปทำงานจากที่ไหนก็ได้)

สำหรับโรงงาน Tesla ในจีน มัสก์ก็กำหนดให้พนักงานทำงานกะละ 12 ชั่วโมง 6 วันต่อสัปดาห์ บางครั้งพนักงานต้องนอนบนพื้นโรงงาน ซึ่งทำให้มัสก์ชื่นชมวัฒนธรรมจีนมาก เพราะพนักงานจีนพร้อมจะทำงานถึงตี 3 ขณะที่คนอเมริกันต้องการการหยุดพักผ่อนมากกว่า

คำว่าทำงานหนักของเขาจึงหนักจริงๆ อย่างช่วงสัปดาห์แรกที่เขาพยายามจะดันฟังก์ชัน Verified Badge แบบเก็บเงินออกมาให้เร็วที่สุด เขาตั้งเดดไลน์ขึ้นมาให้วิศวกรทำให้ได้ภายใน 10 วัน มิฉะนั้นจะถูกให้ออก

ตั้งแต่มัสก์เข้ามาคุม Twitter พนักงานหลายคนจึงวิจารณ์การบริหารแบบมัสก์ และมัสก์ก็เริ่มจะกังวลใจมากขึ้นเรื่อยๆ ว่าพวกเขาจะทำลายองค์กร

สำหรับคนที่ยังอยู่ ก่อนหน้านี้มัสก์ระบุว่าพนักงานที่โดดเด่นในการทำงานจะได้รับหุ้นในบริษัทเป็นรางวัล เหมือนกับที่เขาทำที่ SpaceX

ด้วยจำนวนพนักงานลาออกมากขนาดนี้ แผนกจัดหาพนักงานต้องทำงานกันอย่างหัวหมุนเพื่อหาวิศวกรมาร่วมงานกับยุค “Twitter 2.0”

ออฟฟิศของ Twitter จะปิดชั่วคราว 3 วัน พนักงานจะไม่สามารถเข้าตึกได้จนกว่าจะถึงวันที่ 21 พ.ย. 2022

The Verge รายงานว่าไม่สามารถติดต่อขอความคิดเห็นทางการจากทาง Twitter ได้ เพราะตอนนี้บริษัทไม่มีแผนกสื่อสารประชาสัมพันธ์แล้ว

Source

]]>
1408926
Work from Anywhere ทำให้คนแอบไป “สัมภาษณ์งานใหม่” และ “ย้ายงาน” ง่ายขึ้น https://positioningmag.com/1387706 Fri, 03 Jun 2022 12:45:33 +0000 https://positioningmag.com/?p=1387706 นี่อาจเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้บริษัทหลายแห่งไม่ต้องการให้พนักงาน Work from Anywhere เพราะการทำงานที่ไหนก็ได้ทำให้พนักงานแอบไป “สัมภาษณ์งานใหม่” ได้ง่ายกว่าเดิม โอกาสพนักงานลาออก “ย้ายงาน” มีสูงยิ่งขึ้น

นึกภาพชีวิตก่อนเกิด COVID-19 และทุกคนต้องเข้าออฟฟิศทุกวัน หากคนเราคิดอยากย้ายงานขึ้นมาและต้องนัดสัมภาษณ์งาน สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือการแอบรับโทรศัพท์จากฝ่ายบุคคล การขอลาป่วยหลายครั้งในระยะเวลาสั้นๆ เพื่อไปสัมภาษณ์งานหลายแห่ง

หรือถ้าจะแอบแวบออกจากออฟฟิศเพื่อไปสัมภาษณ์งาน ก็ต้องเป็นออฟฟิศที่ไม่ไกลกันมากเพื่อไม่ให้ผิดสังเกต แถมยังต้องกังวลว่าวันนี้แต่งตัวเป็นทางการเกินไป จะมีใครจับได้หรือเปล่าอีก

แต่เมื่อชีวิตหลัง COVID-19 มีหลายบริษัทอนุญาตให้พนักงาน Work from Anywhere ทำให้ปัญหาเหล่านี้หมดไปทันที ไม่ต้องกังวลว่าจะมีใครได้ยินการคุยโทรศัพท์ สามารถนัดสัมภาษณ์ออนไลน์ 30-60 นาทีได้สบายๆ หรือถ้าว่าที่ออฟฟิศใหม่ต้องการสัมภาษณ์แบบเจอตัว ก็สามารถเดินทางไปได้โดยไม่ต้องลาหยุด และไม่ต้องคิดถึงระยะเดินทาง

ปรากฏการณ์นี้ถูกยืนยันว่าเกิดขึ้นจริง จากงานวิจัยโดยนักเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดและ ITAM เม็กซิโก สัมภาษณ์พนักงานอเมริกัน 2,000 คน ซึ่งคนส่วนใหญ่เห็นว่า การทำงานจากบ้านทำให้เข้าสัมภาษณ์งานใหม่ง่ายกว่ามาก

Business situation, job interview concept. Job seeker present resume to managers.

ผู้ตอบแบบสอบถามมองว่า หากเจ้านายรู้ว่าคุณกำลังหางานใหม่อยู่ อาจจะเป็นผลเสียต่อตัวคุณได้ รวมถึงการหางานมักจะกระทบกับงานที่ทำปัจจุบัน เพราะต้องลางานบ่อยเพื่อเดินทางไปสัมภาษณ์

เมื่อการทำงานอยู่บ้านช่วยแก้ปัญหานี้ ทำให้พนักงานอเมริกันสมัครงานเยอะกว่าเดิม ข้อมูลจาก Monday Talent เอเจนซี่หางานในสหรัฐฯ ระบุ

ปัจจัยนี้อาจจะเป็นส่วนหนึ่งของ The Great Resignation ในสหรัฐฯ ด้วย ช่วงที่ผ่านมามีกระแสพนักงานลาออกและย้ายงานครั้งใหญ่จากความเปลี่ยนแปลงช่วงหลังโรคระบาดคลี่คลาย ซึ่งการสัมภาษณ์งานได้ง่ายเป็นตัวเร่งหนึ่งของเรื่องนี้

แอนโตนิโอ เนฟส์ โค้ชที่ปรึกษาการสมัครงาน ให้ความเห็นว่า ยิ่งเป็นพนักงานระดับกลางแล้วนั้น ทางเลือกการทำงานมีสูงมากจนตัวพนักงานเองสามารถสัมภาษณ์ว่าที่หัวหน้าใหม่ได้พอๆ กับที่ตัวเองถูกสัมภาษณ์

ดังนั้น อัตราการลาออกน่าจะสูงขึ้นอย่างถาวร เพราะความยืดหยุ่นในการหางานใหม่ที่มากขึ้น เหมือนกับการช้อปปิ้งออนไลน์ที่ทำให้คนซื้อสินค้ามากขึ้น

Source

]]>
1387706
นโยบาย ‘Zero-Covid’ บีบเหล่า Expat ทักษะสูง จำใจลาออก สะเทือนภาคการเงินฮ่องกง https://positioningmag.com/1371501 Tue, 25 Jan 2022 15:34:51 +0000 https://positioningmag.com/?p=1371501 เเนวทาง “Zero-Covid” ที่ฮ่องกงยึดปฏิบัติอย่างเข้มงวดตามรัฐบาลจีน กำลังบีบให้ผู้เชี่ยวชาญต่างชาติในเเวดวงการเงิน จำใจลาออก ทิ้งตำเเหน่งงานค่าตอบเเทนสูงเพื่อกลับประเทศ 

เมื่อปลายปีที่เเล้ว Tania Sibree ลาออกจากงานที่ได้รับค่าตอบเเทนสูง จากการเป็นทนายความของบริษัทการเงินแห่งหนึ่งในฮ่องกง กลับมาอยู่ใช้ชีวิตอยู่ที่บ้านเกิดอย่างออสเตรเลีย หลังต้องทนใช้ชีวิตอยู่ต่อภายใต้มาตรการควบคุมโควิด-19 อันเข้มงวดเเละไม่มีท่าทีจะผ่อนคลายลง 

เธอย้ายมาทำงานประจำที่ฮ่องกง เมื่อ 5 ปีก่อนเเละใช้ชีวิตอย่างสนุกสนาน จนกระทั่งเกิดวิกฤตโรคระบาดในช่วงปีที่ผ่านมา

โดย Sibree เป็นหนึ่งในในผู้เชี่ยวชาญชาวต่างชาติที่มีทักษะสูง หลายร้อยหรือหลายพันคนที่ต้องจำใจลาออกหรือกำลังวางแผนจะย้ายที่อยู่ ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจของฮ่องกง หนึ่งในศูนย์กลางทางการเงินของโลกได้

“การกักตัวในโรงแรมนานๆ เป็นเรื่องยากลำบากมากสำหรับคนที่ต้องอยู่ไกลจากครอบครัว นี่เป็นประเด็นสำคัญที่ฉันตัดสินใจกลับประเทศ” เธอกล่าว

เหล่า Expat หลายคนเคยคิดว่าเมื่อสถานการณ์ดีขึ้น ทางการฮ่องกงจะเริ่มผ่อนคลายจำกัด ผ่อนปรนมาตรการมากขึ้น และระเบียบที่เข้มงวดจะไม่ดำเนินต่อเนื่องเป็นเวลานาน แต่ทว่าฮ่องกงซึ่งอยู่ภายใต้อาณัติของจีน ได้ดำเนินนโยบาย “Zero-Covid” คุมยอดผู้ป่วยโควิดให้เป็นศูนย์ ตามรัฐบาลปักกิ่ง แทนที่จะปรับมาใช้ชีวิตร่วมกับโควิดเหมือนในหลายๆ ประเทศ

เเม้ว่าฮ่องกงจะมีพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 สะสมราว 13,000 รายจากประชากรทั้งหมด 7.4 ล้านคน ซึ่งถือว่าอยู่ในอัตราที่ต่ำเมื่อเทียบกับหลายประเทศทั่วโลก

ตลอดระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมาในช่วงวิกฤตโรคระบาด ฮ่องกงก็มีการบังคับใช้มาตรการกักตัวที่เข้มงวดอยู่แล้ว เเละยกระดับคุมเข้มยิ่งขึ้นไปอีกในช่วงปีที่เเล้ว โดยอนุญาตให้เฉพาะคนฮ่องกงและผู้มีถิ่นพำนักเดินทางกลับได้เท่านั้น และต้องกักตัวสูงสุดเป็นเวลา 3 สัปดาห์ ไม่ว่าจะฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 มาครบโดสแล้ว

อย่างไรก็ตาม นโยบาย “Zero-Covid” ที่เข้มงวด ก็ไม่ได้ทำให้ฮ่องกงใกล้จุดผู้ติดเชื้อโควิดเป็นศูนย์นัก โดยเมื่อวันอาทิตย์ (23 ม.ค.) ฮ่องกงยังพบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 140 ราย อีกทั้งไม่มีสัญญาณใดๆ ว่า ทางการจะเริ่มผ่อนคลายมาตรการลง

เหล่านี้ เป็นผลให้ชาวต่างชาติจำนวนมากคิดจะลาออกจากงานมากขึ้น โดยเฉพาะในเเวดวงการเงิน ทั้งพนักงานในธนาคารยักษ์ใหญ่ ผู้จัดการสินทรัพย์ ขณะที่สำนักงานกฎหมายต้องเผชิญกับการที่พนักงานจำนวนมากเลือกจะลาออกหลังได้รับโบนัสประจำปี

วาณิชธนากรรายหนึ่ง บอกกับ Reuters ว่า “ถ้าตอนนี้คุณอยู่ในสิงคโปร์จะดีกว่าฮ่องกงมาก เพราะคุณยังสามารถเดินทางได้ อย่างน้อยก็ปีละครั้งหรือสองครั้ง” โดยข้อจำกัดการเดินทางระหว่างประเทศนับเป็นปัจจัยสำคัญที่พนักงานชาวต่างชาติขอย้ายออกจากสาขาที่ฮ่องกง

 

ที่มา : Reuters 

 

]]>
1371501
อังกฤษ ‘Jobs Boom’ คนเเห่ลาออกเพื่อหางานใหม่ บริษัททุ่มเพิ่มค่าจ้าง เเย่งชิงพนักงาน https://positioningmag.com/1370309 Thu, 13 Jan 2022 14:57:49 +0000 https://positioningmag.com/?p=1370309 สหราชอาณาจักรกำลังอยู่ในช่วง ‘Jobs Boom’ เเรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ทยอยลาออกเพื่อ ‘หางานที่มีรายได้ดีกว่า’ ท่ามกลางความต้องการที่พุ่งสูง นายจ้างพร้อมทุ่มโบนัสเเละปรับเงินเดือน

Alan Bannatyne หัวหน้าฝ่ายการเงินของ Robert Walters บอกกับ BBC ว่า ผู้คนกำลังมองหาค่าเเรงขั้นต่ำที่เพิ่มขึ้นกว่า 15% เเละบางคนก็ต้องการเงินเดือนใหม่เพิ่มขึ้นถึง 50%

เขามองว่า ปี 2022 จะเป็นปีเเห่งโอกาสสำหรับลูกจ้าง โดยตำแหน่งว่างในสหราชอาณาจักร พุ่งแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ นับตั้งแต่เศรษฐกิจเริ่มกลับมาเปิดอีกครั้ง เเละบรรดาเหล่านายจ้างกำลังแย่งชิงเเรงงานที่ขาดเเคลนนี้

ด้าน Robert Walters จากบริษัทจัดหางานที่เน้นแรงงานระดับมืออาชีพ ระบุว่า บริษัทต่างๆ กำลังอยู่ในช่วงที่ต้องแข่งขันอย่างดุเดือด เพื่อเฟ้นหาบุคลากรที่มีความสามารถ และก็เป็นเรื่องยากที่จะหา ‘คนที่ใช่’

เเม้จะมีนายจ้างจำนวนมากที่ยอม ‘ขึ้นเงินเดือน’ เพื่อดึงดูดเเรงงาน เเต่ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 เมื่อมีผู้ชนะก็ต้องมีผู้แพ้ เเละไม่ใช่ทุกบริษัทจะทุ่มจ่ายเงินเช่นนี้ได้ “บริษัทค้าปลีกและสายการบิน ต่างเผชิญกับความยากลำบาก ดังนั้นก็อาจจะไม่จ่ายโบนัสหรือขึ้นค่าแรง”

สวนทางกับกลุ่มธุรกิจอย่างค้าปลีกออนไลน์ บริษัทที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีและดิจิทัล และผู้ผลิตสินค้าในครัวเรือน ที่มีการเติบโตสูง

ฝั่งบริษัทจัดหางาน Manpower กล่าวว่า นายจ้างกำลังพยายามมองหาพนักงานที่มี ‘ทักษะสูง’ มากขึ้น โดยผู้ที่มีทักษะตรงกับความต้องการ ก็จะมีอำนาจต่อรอง มีอิสระที่จะเลือกทำงานตามความคาดหวังของพวกเขา

ตามรายงานของ BCL Legal และบริษัทข้อมูล Vacancysoft ระบุว่า การขาดแรงงานทักษะสูง ส่งผลกระทบในหลายอุตสาหกรรม เช่น ด้านกฎหมาย ที่มีอัตราการประกาศหางานเพิ่มขึ้นถึง 131% เมื่อเทียบกันระหว่างตำแหน่งงานว่างเมื่อเดือนมกราคมและพฤศจิกายนปีก่อน

Photo : Shutterstock

ด้านข้อมูลของ Robert Waters ชี้ว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ ได้เกิดปัญหาการขาดแคลน ‘ทนายความ’ ที่มีคุณสมบัติเหมาะสม ท่ามกลางการลาออกของผู้ที่มีประสบการณ์

ทนายความที่ผ่านเกณฑ์เข้าทำงานใหม่ในบริษัทชื่อดัง สามารถได้ค่าจ้างมากถึง 147,000 ปอนด์ต่อปีหรือราว 6.68 ล้านบาท โดยไม่รวมโบนัส ที่คาดว่าจะเป็นเงินก้อนโต

เทียบกับปี 2018 ที่เงินเดือนเฉลี่ยของทนายความที่ทำงานเต็มเวลาอยู่ที่ 62,000 ปอนด์ต่อปี (เพิ่มขึ้นเป็น 88,000 ปอนด์หากทำงานในกรุงลอนดอน)

ส่วนงานที่ได้รับค่าจ้างต่ำ ก็พบว่ามีอัตราค่าจ้างที่เพิ่มสูงขึ้นเช่นกันเช่น ซูเปอร์มาร์เก็ต Sainsbury’s ที่ประกาศเพิ่มค่าแรงให้กับพนักงานเป็น 10 ปอนด์ หรือราว 450 บาท ต่อชั่วโมง

อีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะขาดเเคลนเเรงงานก็คือ การที่ผู้คนหันมา ‘ประเมินอาชีพตัวเองใหม่’ ในช่วงล็อกดาวน์ ทำให้มีการเปลี่ยนงานหรือออกจากตลาดแรงงานไปเลย ซึ่งสถานการณ์นี้ถูกเรียกว่า Great Resignation การลาออกจากงานครั้งใหญ่ ส่งผลให้ค่าจ้างแรงงานเฉลี่ยสูงขึ้น รวมถึงโบนัสที่เพิ่มสูงขึ้นด้วย

James Reed ประธานบริษัทจัดหางาน Reed Recruitment กล่าวว่า สหราชอาณาจักรอยู่ท่ามกลาง “jobs boom” ซึ่งเป็นเวลาที่ดีที่สุดในรอบ 50 ปีในการหางานใหม่

 

ที่มา : BBC

 

 

 

]]>
1370309
The Great Resignation: แรงงาน “อังกฤษ” เกือบ 1 ใน 4 วางแผนลาออกเพราะ “หมดไฟ” https://positioningmag.com/1359430 Mon, 01 Nov 2021 05:42:33 +0000 https://positioningmag.com/?p=1359430 ไม่ใช่แค่ในสหรัฐฯ ที่เกิดกระแส ‘The Great Resignation’ แรงงานลาออกเปลี่ยนงานจำนวนมาก ใน “อังกฤษ” เองก็เช่นกัน โดยผลสำรวจพบว่าแรงงานเกือบ 1 ใน 4 วางแผนลาออกภายในไม่กี่เดือนข้างหน้า สาเหตุจากตำแหน่งงานเพิ่มขึ้นแล้ว และพนักงานเกิดอาการ ‘หมดไฟ’ ระหว่างทนทำงานในช่วงโรคระบาดหนัก

Randstad UK บริษัทจัดหางานในสหราชอาณาจักร ทำการสำรวจแรงงานกว่า 6,000 คน พบว่า แรงงาน 69% มีความมั่นใจที่จะเปลี่ยนงานใหม่ในไม่กี่เดือนข้างหน้า โดยในจำนวนนี้มี 24% ที่วางแผนจะเปลี่ยนงานภายใน 3-6 เดือน

บริษัทกล่าวว่า ปกติแล้วบริษัทจะคาดการณ์การเปลี่ยนงานในแต่ละปีเฉลี่ยเพียง 11% ของแรงงานทั้งหมด ตัวเลขจากการสำรวจนี้จึงสูงกว่าปกติอย่างมาก

การลาออกของพนักงานและต้องหาพนักงานใหม่เป็นต้นทุนต่อผู้ประกอบการ โดยอ้างอิงข้อมูลวิจัยจาก Oxford Economics พบว่า กว่าที่แรงงานมีฝีมือที่จ้างมาใหม่จะทำงานได้ประสิทธิภาพสูงสุด ต้องใช้เวลาถึง 28 สัปดาห์ หากคิดเป็นต้นทุนที่เสียไปในช่วงเปลี่ยนพนักงาน เท่ากับต้นทุน 25,200 ปอนด์ต่อพนักงานหนึ่งคน

บริษัทจัดหางานจึงแนะนำลูกค้าว่า ควรจะเริ่มมองนโยบายการเพิ่มเงินเดือนหรือเงื่อนไขที่เป็นประโยชน์อื่นๆ เพื่อรั้งตัวพนักงานฝีมือดีให้อยู่กับองค์กรต่อไป

แรงงาน อังกฤษ
(Photo : Shutterstock)

วิคตอเรีย ชอร์ต ซีอีโอ Randstad UK กล่าวว่า พนักงานส่วนหนึ่งที่อยากหางานใหม่เป็นพนักงานที่ไม่มีความสุขกับตำแหน่งที่ทำระหว่างเกิดโรคระบาดขึ้น

ส่วนปัจจัยอื่นๆ คืออาการ “หมดไฟ” และโรคระบาดทำให้คนเราเริ่มเปลี่ยนความคิดเกี่ยวกับชีวิต การงาน และสิ่งที่ตัวเองต้องการจากทั้งสองอย่างนี้ ทำให้คนเริ่มถอยกลับไปคิดทบทวนถึงชีวิตตัวเองมากขึ้น COVID-19 ย้ำเตือนให้พวกเขารู้สึกว่า ชีวิตนั้นสั้นนัก

งานวิจัยนี้ยังพบด้วยว่า มีแรงงานเพียง 16% ที่กังวลกับการพยายามหางานใหม่ โดยเฉพาะแรงงานในภาคการผลิต ก่อสร้าง เทคโนโลยี และโลจิสติกส์ ซึ่งมั่นใจว่าพวกเขามีโอกาสหางานใหม่ได้แน่ๆ

ในบางอุตสาหกรรมของอังกฤษเริ่มจะขาดแคลนแรงงานแล้ว ทำให้บางบริษัทเริ่มมีสิทธิประโยชน์ใหม่ๆ ดึงดูดพนักงาน เช่น เซ็นสัญญารับโบนัส 10,000 ปอนด์เมื่อเข้าทำงาน แต่บางบริษัทก็ยังไม่ขยับตัว ยังไม่มีแผนเพิ่มเงินเดือนใดๆ

หลังสถานการณ์ COVID-19 คลี่คลาย ตำแหน่งงานเพิ่มขึ้นในอังกฤษจนพนักงานมั่นใจหากจะลาออกเปลี่ยนงาน บริษัทถึง 60% ประกาศว่าจะเริ่มดึงพนักงานที่เคยถูกจ้างออกในช่วงโรคระบาดกลับมาทำงานใหม่ทั้งหมด และมี 30% ที่จะดึงกลับมาเกินครึ่งหนึ่ง ซึ่งทำให้ตลาดแรงงานคึกคักมากในช่วงฤดูหนาวนี้ ข้อมูลจาก Lloyds Bank

Source

]]>
1359430
แรงงานสหรัฐฯ แห่ ‘ลาออก’ แม้ประกาศงานลดลง เพราะยังกลัว ‘โควิด’ https://positioningmag.com/1356380 Wed, 13 Oct 2021 08:03:11 +0000 https://positioningmag.com/?p=1356380 กรมแรงงานของสหรัฐฯ เปิดเผยว่า ในเดือนสิงหาคมพบอัตราการลาออกเพิ่มขึ้นเป็น 4.3 ล้านคน ซึ่งสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์นับตั้งแต่เดือนธันวาคม 2543 และเพิ่มขึ้นจาก 4 ล้านคนในเดือนกรกฎาคม ซึ่งเทียบเท่ากับเกือบ 3% ของแรงงาน และแม้จะมีการลาออกจำนวนมากขึ้น แต่จำนวนการจ้างงานยังชะลอตัวลง โดยจำนวนงานว่างลดลงเหลือ 10.4 ล้านตำแหน่ง จากระดับสูงสุดที่ 11.1 ล้านในเดือนก่อนหน้า

มีการคาดการณ์ว่า การลาออกที่เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าประชาชนมีความกลัวเชื้อไวรัส COVID-19 สายพันธุ์เดลตา ที่ส่งผลให้จำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างมากในเดือนสิงหาคม ทำให้เกิดการลาออกเพิ่มมากขึ้นในสายงานร้านอาหารและโรงแรม รวมถึงงานบริการอื่น ๆ อาทิ พนักงานร้านขายของและห้างสรรพสินค้า นอกจากนี้ คนจำนวนมากที่ตกงานก็ไม่กล้าที่จะหางานทำ

แรงงานเกือบ 900,000 คนออกจากงานในร้านอาหาร บาร์ และโรงแรมในเดือนสิงหาคม เพิ่มขึ้น 21% จากเดือนกรกฎาคม ส่วนแรงงานจากฝั่งค้าปลีกเพิ่มขึ้น 6% ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น การผลิต การก่อสร้าง การขนส่ง และคลังสินค้า มีการลาออกเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย ส่วนงานที่สามารถทำงานจากที่บ้านได้ อาทิ กฎหมาย วิศวกรรมศาสตร์ และสถาปัตยกรรม นั้นแทบไม่มีการลาออก

นอกจากปัจจัยด้านความกลัว COVID-19 แล้ว ยังมีปัจจัยอื่น ๆ อาทิ ค่าแรงที่สูงขึ้น ทำให้นายจ้างจำนวนมากไม่สามารถขึ้นเงินเดือนได้ตามที่เรียกร้อง ทำให้พนักงานเลือกจะย้ายงาน

อย่างไรก็ตาม รัฐบาลระบุเมื่อวันศุกร์ว่าการจ้างงานเพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่สองติดต่อกันในเดือนกันยายน แต่ก็มีการจ้างงานเพิ่มขึ้นเพียง 194,000 ตำแหน่ง แม้ว่าอัตราการว่างงานจะลดลงเหลือ 4.8% จาก 5.2% และจากรายงานจากการสำรวจการเปิดงานและการหมุนเวียนแรงงานหรือ JOLTS แสดงให้เห็นว่า การจ้างงานทั้งหมดในเดือนสิงหาคมลดลงอย่างรวดเร็วเป็น 6.3 ล้านจาก 6.8 ล้านในเดือนกรกฎาคม

แม้การที่คนงานลาออกจำนวนมากมักถูกมองว่าเป็นสัญญาณที่ดีสำหรับตลาดงาน เนื่องจากคนมักจะออกจากงานเมื่อมีตำแหน่งอื่นอยู่แล้วหรือมั่นใจว่าสามารถหางานได้ แต่ความจริงคือ การลาออกที่เพิ่มขึ้นนั้นกระจุกตัวอย่างหนักในภาคส่วนที่มีการติดต่อใกล้ชิดกับสาธารณชนเป็นสัญญาณว่าความกลัวต่อ COVID-19 ก็มีบทบาทสำคัญเช่นกัน หลายคนอาจจะลาออกแล้วทั้ง ๆ ที่ยังไม่มีงานทำ

ทั้งนี้ การลาออกก็เพิ่มขึ้นมากที่สุดในภาคใต้และมิดเวสต์ โดยรัฐบาลกล่าวว่า ทั้งสองภูมิภาคมีการระบาดของ COVID-19 รุนแรงที่สุดในเดือนสิงหาคม

Source

]]>
1356380
เมื่อ WFH ทำ ‘เส้นแบ่งชีวิต’ หาย ‘เวลาส่วนตัว’ ที่มากขึ้นคือทางออกก่อน ‘หมดไฟ’ https://positioningmag.com/1350721 Tue, 07 Sep 2021 11:04:51 +0000 https://positioningmag.com/?p=1350721 จากการระบาดของ COVID-19 ที่มาหลายระลอกจนหลายคนชินชาที่จะต้องทำทุกกิจกรรมภายในบ้านโดยเฉพาะ ‘การทำงาน’ หรือ ‘Work From Home’ และดูเหมือนว่าแม้ไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง แต่เวลาในการทำงานกลับเหมือนไม่มีสิ้นสุด นำไปสู่อาการหมดไฟ และต้องการเวลาส่วนตัวมากขึ้น

ทุกวันนี้ ผู้คนทั่วโลกรู้สึกกดดัน เครียด และเหนื่อยล้ามากขึ้น แม้ว่าการทำงานจากที่บ้านจะช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับวันทำงาน แต่ขณะเดียวกันองค์กรก็มีความคาดหวังเพิ่มสูงขึ้นว่าพนักงานจะต้อง พร้อมทำงานอยู่เสมอ และสำหรับหลาย ๆ คน เส้นแบ่งระหว่างชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัวได้ถูกหลอมรวมเป็นเส้นเดียวกันไปแล้ว ทำให้สิ่งที่หลาย ๆ คนต้องการมากที่สุดก็คือ ‘เวลาส่วนตัวที่มากขึ้น’

ก่อนที่โลกจะก้าวเข้าสู่โลกของการทำงานแบบไฮบริดในอนาคต อะโดบีได้สำรวจความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่าง 5,500 คน ซึ่งประกอบด้วยพนักงานบริษัท ผู้ประกอบการธุรกิจ SME ใน 7 ภูมิภาคทั่วโลก โดยมีการสอบถามเกี่ยวกับเวลาที่รู้สึกกดดันมากที่สุด และส่งผลกระทบกับชีวิตทำงานและชีวิตส่วนตัวอย่างไร ซึ่งคำตอบที่ได้รับชี้ให้เห็นว่าแนวคิดเรื่องเวลาได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก

WFH ทำให้เวลาส่วนตัวกลายเป็นเวลาทำงาน

หนึ่งในคำถามที่น่าสนใจที่สุดเกี่ยวกับการทำงานจากที่บ้านคือ “ก่อนนี้เราเคยใช้เวลาราวสองชั่วโมงต่อวันเดินทางไป-กลับที่ทำงาน แต่ตอนนี้เมื่อเราทำงานจากที่บ้าน เราใช้เวลาดังกล่าวไปกับเรื่องใดบ้าง?” คำตอบที่ได้คือ คนจำนวนมากใช้เวลาว่างที่เพิ่มขึ้นเป็นชั่วโมงทำงานที่เพิ่มขึ้น

จากผลการสำรวจของอะโดบี พบว่า 49% ของพนักงานบริษัท และ 56% ของผู้ประกอบการ SME ระบุว่า ทุกวันนี้พวกเขาใช้เวลาทำงานยาวนานกว่าเดิม กล่าวคือ พนักงานบริษัททำงานโดยเฉลี่ย 44.9 ชั่วโมง/สัปดาห์ ส่วนผู้ประกอบการ SME ทำงานโดยเฉลี่ย 45.1 ชั่วโมง/สัปดาห์ ซึ่งมากกว่าชั่วโมงทำงานปกติ

เวลาที่เพิ่มขึ้นย่อมหมายถึง แรงกดดันที่เพิ่มขึ้น ว่าพนักงานหรือผู้ประกอบการต้อง พร้อมติดต่อได้เสมอ แม้กระทั่ง หลังเวลาเลิกงาน ทั้งนี้ เกือบครึ่งหนึ่งของพนักงานบริษัท และ 3 ใน 5 ของผู้ประกอบการ SME รู้สึกกดดันที่จะต้องตอบกลับอีเมล และแก้ปัญหาให้กับลูกค้าหลังเวลางาน

ภาวะหมดไฟในการทำงาน

ภาวะหมดไฟในการทำงาน (Burnout) กลายเป็นปัญหาที่พบมากในช่วงปีที่ผ่านมา โดยผู้ประกอบการ SME กว่า 1 ใน 3 ประสบกับปัญหาที่พนักงานรู้สึกเหนื่อยล้า และหมดไฟในการทำงานเพราะความเครียดจากการทำงานในช่วงแพร่ระบาด

อย่างไรก็ตาม ภาวะหมดไฟในการทำงานไม่ได้เกิดขึ้นในระดับที่เท่าเทียมกันกับคนทุกกลุ่ม โดยผู้ประกอบการที่เป็นชนกลุ่มน้อยราว 67%, ผู้ประกอบการที่เป็นสตรี 49% ด้านผู้ประกอบการธุรกิจขนาดเล็กที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตของผู้คน (ร้านขายของชำ) ราว 67% มีความเครียดเกี่ยวกับเวลาในการทำงานมากกว่าผู้ประกอบการที่ไม่ใช่ชนกลุ่มน้อย 52%, ผู้ประกอบการที่เป็นผู้ชาย 38% และผู้ประกอบการธุรกิจขนาดเล็กบางประเภท 49%

ความเครียดดังกล่าวส่งผลกระทบไปถึงเรื่องชีวิตส่วนตัวด้วย โดยผู้ประกอบการที่เป็นชนกลุ่มน้อย 64%, ผู้ประกอบการที่เป็นสตรี 54% และผู้ประกอบการธุรกิจขนาดเล็กที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตของผู้คน 60% มีความเครียดในเรื่องชีวิตส่วนตัวมากขึ้น จากการที่ต้องคอยประคับประคองธุรกิจให้อยู่รอดในเวลาเดียวกัน

ผลการสำรวจพบว่า ผู้ประกอบการที่เป็นชนกลุ่มน้อย 55% และผู้ประกอบการธุรกิจขนาดเล็กที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตของผู้คน 51% ว่าตนเองรู้สึกหมดไฟในการทำงานและการประกอบธุรกิจ  นอกจากนี้ ผู้ประกอบการธุรกิจขนาดเล็กที่จำเป็นเกือบครึ่งหนึ่งระบุว่าตนเอง ยินดีที่จะขายธุรกิจในวันพรุ่งนี้ถ้าเป็นไปได้

กลุ่มคน Gen Z กว่าครึ่งพร้อมลาออก

ไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจที่มีพนักงานลาออกเพิ่มมากขึ้น โดยในช่วงเดือนเมษายนเพียงเดือนเดียว พนักงานในสหรัฐฯ กว่า 4 ล้านคนลาออกจากงาน ตามข้อมูลจากกระทรวงแรงงานของสหรัฐฯ ขณะที่พนักงานบริษัท 35% ระบุว่าตนเองมีแผนที่จะเปลี่ยนงานในปีหน้า และ 61% ของคนกลุ่มนี้ระบุถึงเหตุผลว่าเป็นเพราะ ต้องการที่จะออกแบบตารางเวลาชีวิตของตนเองได้อย่างอิสระมากขึ้น

ตัวเลขดังกล่าวอยู่ในระดับที่สูงยิ่งขึ้นสำหรับคนเพิ่งเริ่มทำงาน โดยถึงแม้ว่าคน Gen Z จะเพิ่งเข้าสู่ตลาดแรงงานเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา แต่ กว่าครึ่ง หนึ่งมีแผนที่จะหางานใหม่ในปีหน้า  นอกจากนี้ คนกลุ่มนี้ยังระบุว่าพวกเขามีความพึงพอใจน้อยที่สุดกับ work-life balance (56%) รวมถึงอาชีพการทำงานโดยรวม (59%) และคนกลุ่มนี้รู้สึกกดดันมากที่สุดที่จะต้องทำงานใน ช่วงเวลาทำงานตามปกติ (62%)

1 ใน 4 ระบุว่าตนเองทำงานได้ดีที่สุดในช่วงเวลาอื่นที่ไม่ใช่เวลาทำงาน 9 โมงเช้าถึง 5 โมงเย็น ซึ่งเกือบครึ่งหนึ่งของคนรุ่น Gen Z ระบุว่าตนเองมักจะทำงานบนเตียงนอนเป็นประจำ

เทคโนโลยี ตัวช่วยเสริมการทำงาน

จากการสำรวจพบว่า พนักงานมีความคาดหวังที่สูงขึ้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่จะช่วยให้พวกเขาทำงานได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับ งานง่าย ๆ อย่างเช่น การจัดการไฟล์ แบบฟอร์ม สัญญา การชำระเงิน และใบแจ้งหนี้

เนื่องจากพนักงานต้องใช้เวลาราว 1 ใน 3 ของชั่วโมงทำงานไปกับ งานธุรการที่ต้องทำซ้ำ ๆ โดย 86% ของพนักงานบริษัท และ 83% ของผู้ประกอบการ SME ระบุว่างานปลีกย่อยเหล่านี้เป็นอุปสรรคที่บั่นทอนประสิทธิภาพในการทำงาน 91% ของผู้ตอบแบบสอบถามมีความสนใจในเครื่องมือที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับงานหรือกระบวนการต่าง ๆ เช่น Adobe Acrobat และ Adobe Sign

ดังนั้น ในอนาคต พนักงานจะต้องทำงานร่วมกันกับคนที่อยู่ในออฟฟิศ และคนที่ทำงานจากที่บ้าน ด้วยเหตุนี้จึงต้องมีการปรับใช้เครื่องมือทางด้านเทคโนโลยีที่ใช้งานง่าย รวมไปถึงเทคโนโลยี AI และระบบอัตโนมัติ เพื่อรักษาและดึงดูดบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถให้ทำงานกับองค์กรไปนาน ๆ

โดยผลการศึกษาของอะโดบีชี้ว่า พนักงานบริษัทราวครึ่งหนึ่งพร้อมที่จะเปลี่ยนงานถ้าหากว่าที่ทำงานใหม่มีเครื่องมือที่ดีกว่า ซึ่งจะช่วยให้เขาทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และถ้าหากพนักงานมีเวลาว่างมากขึ้น ผู้ตอบแบบสอบถามกว่าครึ่งตอบว่า จะใช้เวลาว่างที่ไปกับเรื่องอื่น ๆ ที่ตนเองสนใจ รวมถึงการพัฒนาทักษะและความสามารถเพื่อการเติบโตในอนาคต

]]>
1350721