การบิน – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 10 Mar 2022 12:00:12 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ‘บางกอกแอร์เวย์ส’ ลุยฟื้นธุรกิจ เพิ่มเส้นทางบิน-หารายได้เสริม น้ำมันเเพงยังไม่ขึ้นค่าตั๋ว  https://positioningmag.com/1376937 Thu, 10 Mar 2022 09:14:34 +0000 https://positioningmag.com/?p=1376937 ธุรกิจสายการบินเริ่มฟื้นตัว ข้อจำกัดการเดินทางเริ่มลดลง ดันดีมานด์นักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มขึ้น เเต่ยังมีความเสี่ยงจากวิกฤตรัสเซียยูเครน ที่ผลกระทบต่อราคาน้ำมันให้ปรับตัวสูงขึ้น

บางกอกแอร์เวย์ส’ (Bangkok Airways) หนึ่งในสายการบินรายใหญ่ของไทย ประเมินว่า ในปี 2565 ภาพรวมธุรกิจของบริษัทจะฟื้นตัวได้ 40% เมื่อเทียบกับปี 2562 จากอัตราการฉีดวัคซีนเพิ่มขึ้น เเละการผ่อนคลายมาตรการควบคุมโรคระบาด เเละหวังว่าในปี 2566 จะพลิกกลับมาทำกำไรได้ จากการฟื้นตัว 80-90% เเละในปี 2567 จะฟื้นตัว 100% เเละกลับมามียอดผู้โดยสารเกือบเเตะ 6 ล้านคนเท่าช่วงก่อนโควิด-19

ทยอยเปิดเส้นทางบิน ดึงผู้โดยสาร 2.6 ล้านคน 

พุฒิพงศ์ ปราสาททองโอสถ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BA เปิดเผยว่า แนวโน้มการเดินทางของผู้โดยสารสายการบินบางกอกแอร์เวย์สในช่วงเดือนพ.. 2564 ที่มีการระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์เดลตา ส่งผลให้ภาพรวมการเดินทางลดลงอย่างเห็นได้ชัด

เเละต่อมาเมื่อมีนโยบายเปิดประเทศของรัฐอย่างภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์และสมุยพลัสายการบินฯ ได้เปิดให้บริการเส้นทาง sealed route ซึ่งจำนวนผู้โดยสารได้ทยอยเพิ่มขึ้นมาในเดือนพ.

เส้นทางสมุยยังคงเป็นเส้นทางที่ได้รับความนิยมมากที่สุด โดยมีสัดส่วนรายได้ผู้โดยสารอยู่ที่ 63% ของรายได้ผู้โดยสารทั้งหมด

ส่วนเส้นทางภายในประเทศอื่นๆ มีสัดส่วนรายได้ผู้โดยสารอยู่ที่ราว 35% และกลุ่มประเทศ CLMV ได้เเก่ กรุงเทพฯพนมเปญ ที่ได้เปิดปฏิบัติการบินเมื่อเดือนธ.. มีสัดส่วนรายได้ผู้โดยสารอยู่ที่ 2% ของรายได้ผู้โดยสารทั้งหมดในปี 2564

สำหรับในปี 2565 จะมีเส้นทางบินที่จะเปิดเพิ่มเติมเพื่อรองรับการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมการบิน อย่างกรุงเทพฯกระบี่ ซึ่งจะเปิดให้บริการในวันที่ 27 มี..2565 

ส่วนในไตรมาสที่ 3 มีเเผนจะเปิดเส้นทางการบินสมุยเชียงใหม่ สมุยฮ่องกง กรุงเทพฯเสียมราฐ เเละไตรมาสที่ 4 จะเปิดเส้นทางบิน เชียงใหม่กระบี่ (เที่ยวเดียว) เชียงใหม่ภูเก็ต (เที่ยวเดียว) สมุยกระบี่ กรุงเทพฯดานัง กรุงเทพฯหลวงพระบาง กรุงเทพฯย่างกุ้ง และ กรุงเทพฯมัลดีฟส์

ทั้งนี้ การกลับมาเปิดให้บริการเส้นทางบินต่างๆ ขึ้นอยู่กับความต้องการเดินทางของนักท่องเที่ยว มาตรการการเดินทางของแต่ละประเทศ และการควบคุมสถานการณ์โควิด-19 ที่อาจยังไม่คลี่คลาย

ในปีนี้เราตั้งเป้าจำนวนผู้โดยสารอยู่ที่ 2.6 ล้านคน แบ่งเป็นผู้โดยสารเส้นทางระหว่างประเทศ 30-40% และเส้นทางในประเทศ 60-70% ตั้งเป้ารายได้ผู้โดยสาร ราว 8,175 ล้านบาท รวมเที่ยวบิน 3.4 หมื่นเที่ยวบิน มีอัตราการขนส่งผู้โดยสารอยู่ที่ 65% และราคาบัตรโดยสารเฉลี่ยต่อเที่ยวคาดว่าจะอยู่ที่ 3,100 บาทต่อเที่ยว

ลดจำนวนฝูงบิน คุมค่าใช้จ่าย 

ปัจจุบัน บางกอกแอร์เวย์ส มีเครื่องบินจำนวน 37 ลำ โดยมีแผนการจะลดจำนวนฝูงบินลง เหลือ 30 ลำภายในสิ้นปีนี้ เพื่อควบคุมต้นทุนเเละบางเส้นทางยังไม่สามารถบินได้อย่างเต็มที่

โดยจะทยอยคืน Airbus A320 จำนวน 5 ลำ ซึ่งครบกำหนดสัญญาแล้ว รวมถึงจำหน่ายเครื่องบิน ATR72-500 อีกจำนวน 2 ลำ

นอกจากนี้ จะมีการนำเครื่องบินที่ไม่ได้ใช้งานมารุกตลาดบริการเช่าเหมาลำ’ มากขึ้นด้วย เเละจะปรับเส้นทางบินให้ตรงกับความต้องการในการเดินทาง โดยเน้นเส้นทางบินที่เชื่อมต่อสนามบินสมุย

พร้อมปรับลดค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับสนามบิน การจัดการด้านบุคลากรให้เหมาะสมการรักษาสภาพคล่องทางการเงินการรักษาประสิทธิภาพยานพาหนะ เพื่อลดค่าใช้จ่ายเช่นการบำรุงรักษา ตลอดจนการได้รับมาตรการช่วยเหลือจากภาครัฐ อาทิ ในด้านภาษี

ทั้งนี้ ในปี 2564 บริษัทฯ มีรายได้รวมเท่ากับ 5,668.5 ล้านบาท ลดลง 44.5% เมื่อเทียบกับปี 2563 ค่าใช้จ่ายรวมอยู่ที่ 8,145.1 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อน 45.4% ผลขาดทุนสุทธิของบริษัทฯ ในปี 2564 เท่ากับ 8,599.8 ล้านบาท โดยมีรายการขาดทุนสุทธิจากการยกเลิกสัญญาเช่ากองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์สนามบินสมุย จำนวน 5,434,7 ล้านบาท

ขณะที่ผลขาดทุนจากการดำเนินงานในปี 2564 เท่ากับ 2,532.5 ล้านบาท ขาดทุนลดลง 22.2% เมื่อเทียบกับปี 2563

ส่วนธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสนามบิน ในปี 2564 บริษัท ครัวการบินกรุงเทพ มีรายได้อยู่ที่ 119.5 ล้านบาท ลดลง 61% เนื่องจากมีจำนวนเที่ยวบินที่สนามบินสุวรรรณภูมิและสนามบินภูเก็ตลดลง เเละบริษัท ภาคพื้นการบินกรุงเทพเวิลด์ไลด์ไฟล์ทเซอร์วิส จำกัด มีรายได้ 1,122.1 ล้านบาท ลดลง 18%  เเต่จากการบริหารจัดการค่าใช้จ่าย ทำให้มีกำไรอยู่ที่ 237 ล้านบาท

สำหรับบริษัท ดับบลิวเอฟเอสพีจี คาร์โก้ จำกัด มีรายได้ในปี 2564 อยู่ที่ 2,140.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 18% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563 โดยได้รับอานิสงส์จากการใช้บริการคลังสินค้าที่เพิ่มสูงขึ้นในช่วงโควิด-19

มุ่งปั้นรายได้เสริม เข้าถึงลูกค้าผ่านซูเปอร์เเอปฯ

ด้านกลยุทธ์การตลาดของบางกอกแอร์เวย์สในปีนี้ จะเน้นไปที่ ตลาดต่างประเทศควบคู่กับการให้ความสำคัญกับตลาดในประเทศ การบริหารช่องทางการจัดจำหน่าย และออกกลยุทธ์ด้านราคา การพัฒนาระบบต่างๆ รวมถึงความสำคัญของระบบการจ่ายเงิน การบริการ การสื่อสารการตลาดและการมีส่วนรวมของลูกค้า

โดยจะให้ความสำคัญด้าน ‘รายได้เสริม’ อย่างบัตรสมาชิกโดยสารแบบพิเศษ อย่าง Flyer Pass เเละ Elite Card ที่เจาะกลุ่มลูกค้ากำลังซื้อสูง

ช่องทางการจัดจำหน่ายในประเทศ ยังคงเป็นช่องทางหลักที่ลูกค้าในประเทศใช้ คือ website/mobile และ Customer Care Centre 1771 ส่วนตลาดต่างประเทศจะจัดจำหน่ายผ่าน Billing and Settlement Plan Agents หรือ BSP agents ในตลาดหลัก เช่น ยุโรป อเมริกา ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น จีน แอฟริกาใต้ และอีกกว่า 20 ตลาดทั่วโลก รวมถึงการขายผ่านเครือข่ายสายการบินพันธมิตรทั่วโลก เเละเชื่อมต่อกับเเพลตฟอร์ม OTA ยอดนิยม

พร้อมมุ่งเน้นช่องทาง API ผ่านโครงข่าย NDC และ metasearch เป็นหลัก ขยายไปยังแอปพลิเคชัน เเละซูเปอร์เเอปฯ ต่างๆ ซึ่งตอนนี้กำลังเชื่อมต่อกับเเอปพลิเคชัน ‘Robinhood’ เพื่อให้เข้าถึงผู้บริโภคในชีวิตประจำวันมากขึ้น

ต้นทุนน้ำมัน ยังไม่กระทบค่าตั๋ว (ณ ตอนนี้)

ขณะที่ความกังวลเรื่อง ‘ราคาน้ำมัน’ ที่ปรับตัวสูงขึ้นจากวิกฤตความขัดเเย้งในรัสเซียเเละยูเครน ซึ่งได้กดดันการฟื้นตัวของของธุรกิจสายการบินต่างๆ นั้น ในช่วงนี้โดยทั่วไปต้นทุนน้ำมันปรับสูงขึ้นราว 40-50% จากปีที่แล้วที่ราคาน้ำมันอยู่ระดับ 70-80 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล และมีแนวโน้มพุ่งสูงกว่าระดับ 100 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล หากสงครามยังยืดเยื้อ

ในส่วนของ ‘บางกอกแอร์เวย์ส’ พบว่า ราคาน้ำมันยังไม่มีผลกับต้นทุนบริการการบินมากนัก โดยตอนนี้ต้นทุนน้ำมัน ยังอยู่ที่ราว 15% ของต้นทุนทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่มีสัดส่วนเพียง 10% น้อยกว่าช่วงก่อนโควิดที่จะอยู่ที่ 30-35% ขณะที่ปีที่เเล้ว ‘ต้นทุนเครื่องบิน’ จะสูงกว่าด้วยสัดส่วนถึง 25% ของต้นทุนทั้งหมด จากภาระค่าเช่าเเละการที่ต้องหยุดบินในหลายเส้นทาง อีกทั้งยังใช้เครื่องบินได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ

โดยผู้บริหาร บมจ. การบินกรุงเทพ ยืนยันว่า ราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นในตอนนี้ ยังไม่ใช่ปัจจัยในการปรับขึ้นราคาตั๋วเครื่องบิน 

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 9 มื.ค. สมาคมสายการบินในประเทศ ซึ่งมีนายพุฒิพงศ์ ปราสาทมองโอสถ เป็นนายกสมาคมฯ ได้ยื่นหนังสือต่อสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (CAAT) เพื่อขอหารือในการพิจารณาให้สายการบินกลับมาเรียกเก็บค่าธรรมเนียมน้ำมัน หรือ Fuel Surcharge ในการคิดค่าโดยสาร เหมือนกับที่เคยใช้มาในอดีต เนื่องจากราคาน้ำมันตลาดโลกปรับสูงขึ้นอย่างมาก

]]>
1376937
‘แอร์เอเชีย’ เตรียมเปิดให้บริการ ‘Air Ridesharing’ เเท็กซี่อากาศในอาเซียน ปี 2025   https://positioningmag.com/1374614 Fri, 18 Feb 2022 12:50:20 +0000 https://positioningmag.com/?p=1374614 ธุรกิจการบินล้ำไปอีกขั้น หลังสายการบินใหญ่อย่าง ‘เเอร์เอเชีย’ ประกาศแผนให้บริการแท็กซี่อากาศราคาประหยัด หรือ air ridesharing  จองผ่านแอปพลิเคชัน เริ่มภายในปี 2025 นี้

แอร์เอเชีย (AirAsia) ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจกับ ‘Avolon’ ผู้ให้เช่าเครื่องบินรายใหญ่เบอร์ 2 ของโลก เพื่อเช่าอากาศยานไฟฟ้า ‘eVTOL’ รุ่น VX4 จำนวนอย่างน้อย 100 คัน

Tony Fernandes ผู้บริหารระดับสูงของ Capital A บริษัทแม่ของแอร์เอเชีย ระบุว่า เที่ยวบินดังกล่าวจะเริ่มเปิดให้บริการในภูมิภาคอาเซียน ภายในปี 2025

โดยหน่วยงานกำกับดูแลในมาเลเซียและสิงคโปร์ มีแนวโน้มที่จะอนุมัติการดำเนินงานได้เร็วกว่าในอินโดนีเซีย ไทย และฟิลิปปินส์

เขาเน้นย้ำว่า “บริการ air ridesharing จะสามารถจองได้ผ่านแอปฯ ของแอร์เอเชีย และจะมีการเสนอราคาที่เข้าถึงได้ เช่นเดียวกับที่สายการบินราคาประหยัดทำกับเที่ยวบินปกติ”

“เราไม่ต้องการให้สิ่งนี้เป็นบริการที่พิเศษ เเต่เราต้องการให้ทุกคนสามารถใช้บริการนี้ได้” Fernandes กล่าวกับผู้สื่อข่าว

สำหรับอากาศยานไฟฟ้า ‘eVTOL’ รุ่น VX4 รองรับผู้โดยสารได้ 4 คน (คนขับอีก 1 คน) ทำการบินได้ในระยะทางประมาณ 161 กิโลเมตร ด้วยความเร็วสูงสุดราว 322 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

โดย Domhnal Slattery ซีอีโอของ Avolon เเละประธานของ Vertical Aerospace เปิดเผยว่าการทดสอบเที่ยวบิน VX4 ครั้งแรก จะเริ่มต้นขึ้นในเดือนเมษายนที่จะถึงนี้

Avolon สั่งซื้อเครื่องบิน VX4 จำนวน 500 ลำจาก Vertical Aerospace มาเมื่อปีที่แล้ว และหลังจากนั้นก็มีการจับมือกับพันธมิตรอย่าง AirAsia, Japan Airlines , Gol และ Grupo Comporte ของบราซิล

แอร์เอเชีย กำลังเดินหน้าขยายเข้าสู่ธุรกิจใหม่อย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มความหลากหลายทางธุรกิจเเละช่องทางรายได้ วางโพสิชันเป็น ‘ซูเปอร์แอป’ ที่ครอบคลุมทั้งบริการส่งอาหารและพัสดุ จองโรงแรม ค้าปลีก เรียกรถรับ-ส่งและอื่น ๆ โดยได้เปลี่ยนคู่เเข่งหลักจากบรรดาสายการบิน มาเป็นบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ในภูมิภาคอย่าง Grab , GoTo เเละ Sea Group

 

ที่มา : newsroom.airasia , Reuters 

 

]]>
1374614
Singapore Airlines เปิดรับสมัคร ‘ลูกเรือ’ อีกครั้ง หลังหยุดจ้างงานใหม่ไปนาน 2 ปี https://positioningmag.com/1373845 Mon, 14 Feb 2022 08:29:43 +0000 https://positioningmag.com/?p=1373845 ส่งสัญญาณธุรกิจการบินเริ่มฟื้น Singapore Airlines สายการบินประจำชาติสิงคโปร์ กลับมาเปิดรับสมัครลูกเรืออีกครั้ง หลังระงับการจ้างงานใหม่ไปนานกว่า 2 ปี

วิกฤตโรคระบาดโควิด-19 ทำให้การเดินทางหยุดชะงักทั่วโลก เหล่าสายการบินต้องเจอมรสุมหนัก ทั้งต้องปลดพนักงาน ลดค่าใช้จ่าย รวมไปถึงบางเเห่งต้องยื่นล้มละลาย

การกลับมาจ้างลูกเรือครั้งใหม่เเละเที่ยวบินที่เพิ่มขึ้น สะท้อนให้เห็นถึงการฟื้นตัวของอุตสาหกรรม หลังประเทศต่างๆเริ่มผ่อนคลายข้อจำกัดการเดินทาง ตามอัตราการฉีดวัคซีนที่ทั่วถึงมากขึ้น

นักบินและลูกเรือส่วนใหญ่ของเรากลับมาปฏิบัติหน้าที่กับ Singapore Airlines แล้ว

โดยบริษัทมีเเผนจะเพิ่มความจุเที่ยวบิน ขยายบริการ เพื่อรองรับความต้องการการเดินทางเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังติดต่อและเชิญลูกเรือเก่าที่ลาออกไปให้กลับมาสมัครงานอีกครั้งด้วย

รัฐบาลสิงคโปร์ได้ปรับนโยบายมาเป็น ‘อยู่ร่วมกับโควิด’ เเละเปิดช่องทางการเดินทางของผู้ที่ฉีดวัคซีนแล้ว ให้สามารถเข้าสิงคโปร์โดยไม่ต้องกักตัว หรือเรียกว่า Vaccinated Travel Lane  (VTL) กับหลายสิบประเทศ

เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้อัตราส่วนการขนส่งผู้โดยสาร (Load Factor) โดยรวมของ Singapore Airlines เเละบริษัทในเครือย่าง SilkAir เเละ Scoot เพิ่มขึ้นเป็น 46.5% ในเดือนธันวาคม ปี 2021 จาก 13.7% ในปีก่อนหน้า

โดยในเดือนกันยายน ปี 2020 บริษัทต้องปลดพนักงานไปกว่า 4,300 ตำแหน่ง หรือคิดเป็น 20% ของจำนวนพนักงานทั้งหมด พร้อมลดต้นทุนเเละเสนอให้ลูกเรือเกษียณอายุก่อนกำหนด เนื่องจากการระบาดของโควิด-19 ได้ทำลายอุตสาหกรรมการบิน

จากนั้น Singapore Airlines ได้ระดมสภาพคล่องเพิ่มเติมมูลค่า 2.16 หมื่นล้านดอลลาร์สิงคโปร์ ตั้งแต่เดือนเมษายน ปี 2020 เพื่อประคองธุรกิจและเอาตัวรอดจากการระบาดใหญ่ โดยปัจจุบันได้เริ่มกลับมาเดินหน้าลงทุนด้านบุคลากรและธุรกิจต่างๆ เพื่อรองรับการเดินทางระหว่างประเทศที่กำลังฟื้นตัว

 

ที่มา : CNA , Bloomberg 

]]>
1373845
‘AirAsia’ ฟัน ‘โอมิครอน’ ก็หยุดการเดินทางไม่ได้ คาดตลาดกลับสู่ก่อนการระบาดภายใน 6 เดือนหลังพรมแดนเปิด https://positioningmag.com/1370003 Tue, 11 Jan 2022 07:05:16 +0000 https://positioningmag.com/?p=1370003 ตั้งเเต่มีวัคซีนป้องกัน COVID-19 อุตสาหกรรมการบินก็เหมือนจะกลับมาสดใสอีกครั้ง แต่ก็สดใสได้ไม่นานโลกก็เจอกับ COVID-19 สายพันธุ์ โอมิครอน (Omicron) ที่ปัจจุบันแทบจะแทนที่สายพันธุ์เดลตา (Delta) ที่เคยเป็นสายพันธุ์หลักไปก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม CEO ของ AirAsia (แอร์เอเชีย) ก็มองว่าอุตสาหกรรมการบินจะยังไปได้ แม้โอมิครอนจะระบาดก็ตาม

โทนี่ เฟอร์นันเดส ผู้บริหารระดับสูงของแอร์เอเชีย กล่าวว่า การเดินทางระหว่างประเทศมีแนวโน้มที่จะฟื้นตัวในไม่ช้า แม้ว่าจะมีการระบาดของ โอมิครอน ที่มาชะลอตัวก็ตาม โดยเขาคาดว่าการเปิดพรมแดนจะกลับมาอีกครั้งในช่วงเดือนมีนาคมนี้ และเชื่อว่า ปริมาณการเดินทางจะกลับสู่ระดับก่อนที่ COVID-19 ระบาดภายใน 6 เดือนหลังเปิดพรมแดน

“ผมเชื่อว่าเราอยู่ที่จุดเริ่มต้นของจุดจบ ผมสังเกตว่าการฟื้นตัวได้เริ่มอย่างจริงจังเเล้ว โดยสิ่งที่ปีที่เเล้วไม่มีคือ เราไม่มีเครื่องบินบิน แต่ตอนนี้เรามีฝูงบินจำนวนมากในประเทศมาเลเซีย, ไทย และอินโดนีเซีย ซึ่งเราเห็นความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้นมาก” โทนี่ เฟอร์นันเดส กล่าวกับ Squawk Box Asia

หลังจากที่มีการประกาศเกี่ยวกับการเดินทางปลอดการกักกันในเอเชียเมื่อปีที่แล้ว หลายประเทศรวมถึงไทยและอินเดียได้ยกเลิกสถานะการจำกัดการเดินทางมาถึงบางประเทศ เนื่องจากการมาของสายพันธุ์โอมิครอน ทำให้หลายประเทศต้องเพิ่มมาตรการป้องกัน ส่วนประเทศ ‘จีน’ เฟอร์นันเดส มองว่ายังคงเป็นคำถามใหญ่ เพราะจีนยังคงดำเนินนโยบาย Zero COVID มีการปิดประเทศ

โทนี่ เฟอร์นันเดส ผู้บริหารระดับสูงของแอร์เอเชีย

ในส่วนของบริการ airasia super apps ของแอร์เอเชียที่ให้บริการส่งคน, ส่งของ, ส่งอาหาร เฟอร์นันเดส กล่าวว่า ธุรกิจบริการของบริษัททำได้ดีอย่างเหลือเชื่อและเหนือความคาดหมายอย่างมากนับตั้งแต่เปิดตัวในเดือนสิงหาคม 2021 โดยกลยุทธ์ที่แอร์เอเชียใช้กับแพลตฟอร์มดังกล่าวนั้น “เหมือนกันทุกประการ” กับกลยุทธ์ที่ใช้เมื่อตอนที่บริษัทเข้าสู่ตลาดสายการบินราคาประหยัดเมื่อหลายปีก่อน ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงส่งผลให้ราคาผู้บริโภคถูกลง

โดยในฐานะผู้เข้าแข่งขันรายล่าสุด AirAsia Ride สามารถสังเกตได้ว่าโมเดลใดที่ประสบความสำเร็จ และไม่ต้องใช้เงินจำนวนมากในการวิจัย หรือการพัฒนาเทคโนโลยี นอกจากนี้ยังได้เข้าซื้อกิจการส่วนหนึ่งของบริษัทสตาร์ทอัพ Gojek ในประเทศไทยอีกด้วย

Source

]]>
1370003
ผ่าตลาดแรงงานครึ่งปีแรก “ท่องเที่ยว-โรงแรม-การบิน” ยังเคว้งอีกยาว “อาหาร” ยังต้องการสูง https://positioningmag.com/1344486 Thu, 12 Aug 2021 14:12:43 +0000 https://positioningmag.com/?p=1344486 ผ่าตลาดแรงงานในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2564 คนไทยยังมีความต้องการสมัครงานสูง การแข่งขันสูงขึ้น กลุ่มอาหาร ยานยนต์ และบริการ ยังมีความต้องการสูงที่สุด ส่วนกลุ่ม “ท่องเที่ยว-โรงแรม-การบิน” ยังเคว้งอีกยาว หลายองค์กรเริ่มเปิดรับการทำงานแบบ Work from Home มากขึ้น

โลกการทำงานในช่วงหลายปีที่ผ่านมามีการเปลี่ยนแปลงหลายด้าน โดยมีหลายปัจจัยที่ส่งผลกระทบกับตลาดแรงงาน ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาของเทคโนโลยีที่ก้าวกระโดดทำให้เกิดนวัตกรรม เกิดอาชีพใหม่ๆ ตลอดจนปัญหาระบบการศึกษาที่ไม่สามารถผลิตคนได้ตอบโจทย์ความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบกับตลาดแรงงานเป็นวงกว้าง

แสงเดือน ตั้งธรรมสถิตย์ ผู้ร่วมก่อตั้งและหัวหน้าผู้บริหารด้านปฏิบัติการของจ๊อบไทย (JobThai) เปิดเผยถึงข้อมูลการหางาน สมัครงาน จากการรวบรวมข้อมูลในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2564 พร้อมวิเคราะห์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบกับตลาดแรงงานไทย พบว่า ในเดือนมกราคม – มิถุนายน 2564 มีผู้ต้องการหางาน สมัครงาน เพิ่มขึ้นกว่าปี 2563

Photo : Shuttetstock
  • มีผู้ใช้งานสะสมมากกว่า 13 ล้านคน เติบโตขึ้น 17%
  • มีการสมัครงาน 9.6 ล้านครั้ง เติบโตขึ้น 8%
  • องค์กรมีการเปิดรับพนักงานรวมทั้งหมด 772,145 อัตรา เพิ่มขึ้น 13.70%
  • ในช่วงที่ผ่านมาหลายองค์กรมีการเปิดรับบุคลากรโดยสามารถทำงานจากที่บ้าน (Work from Home) หรือทำงานทางไกล (Remote Working) 11,036 อัตรา เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 3-4 ปี 2563 18.70%
  • องค์กรยังเปลี่ยนมาสัมภาษณ์งานทางออนไลน์มากถึง 78,101 อัตรา เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 3-4 ปี 2563 ถึง 208.10%

สำหรับข้อมูลความต้องการแรงงาน และความต้องการของผู้สมัครงานทั่วประเทศ ในช่วงเดือนมกราคม-มิถุนายน 2564 มีดังนี้

5 ประเภทธุรกิจมีความต้องการแรงงานมากที่สุด

  1. ธุรกิจอาหาร เครื่องดื่ม 66,977 อัตรา

องค์กรที่มีความต้องการแรงงานมากในธุรกิจนี้ เช่น บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตเครื่องดื่มในประเทศไทย และในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, บริษัท ไทย อกริ ฟู้ดส์ จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตอาหาร เครื่องดื่ม อาหารสำเร็จรูป อาทิ อาหารกระป๋อง และอาหารแช่แข็งเพื่อการส่งออก, บริษัท ไทยน้ำทิพย์ จำกัด ผู้ผลิต และจำหน่ายผลิตภัณฑ์โคคา-โคล่า และผลิตภัณฑ์อื่นๆ

2. ธุรกิจยานยนต์/ชิ้นส่วนยานยนต์ 57,390 อัตรา

องค์กรที่มีความต้องการแรงงานมากในธุรกิจนี้ เช่น บริษัท ท็อปเบส์ท จำกัด ผู้ผลิตชิ้นส่วนโครงสร้าง ตัวถัง ประกอบรถโดยสาร และตัวถังรถบรรทุก และจัดจำหน่ายรถโดยสารและรถบรรรทุกเพื่อการพาณิชย์, MAXXIS INTERNATIONAL (THAILAND) CO.,LTD. ผู้ผลิตและจำหน่ายยางรถยนต์, บริษัท สยามกลการอุตสาหกรรม จำกัด ผู้นำเข้า จัดจำหน่ายและบริการซ่อม และอะไหล่ รถ Forklift ในแบรนด์ของ Unicarrier ประเทศไทย

3. ธุรกิจบริการ 51,822 อัตรา

องค์กรที่มีความต้องการแรงงานมากในธุรกิจนี้ เช่น บริษัท เอ็มโอแค็ป จำกัด ซึ่งทำธุรกิจด้าน Outsourcing Contact Center, บริษัท วันทูวัน คอนแทคส์ จำกัด (มหาชน) ธุรกิจด้าน Customer Service Management, Thailand YellowPages ผู้บุกเบิกธุรกิจการให้บริการค้นหาข้อมูล รายชื่อ และหมายเลขโทรศัพท์ขององค์กรธุรกิจ การค้นหาสินค้า และบริการต่างๆ เป็นรายแรกของประเทศไทย

4. ธุรกิจวัสดุก่อสร้าง – รับเหมาก่อสร้าง 50,132 อัตรา

องค์กรที่มีความต้องการแรงงานมากในธุรกิจนี้ เช่น บริษัทดูโฮม จำกัด (มหาชน) ผู้จำหน่ายวัสดุก่อสร้างครบวงจร, บริษัท เจ ดับบลิว เอส คอนสตรัคชั่น จำกัด ผู้ดำเนินธุรกิจด้านรับเหมาก่อสร้างด้วยเทคโนโลยีก่อสร้างชั้นสูง, บริษัท ซีอาร์ซี ไทวัสดุ จำกัด แหล่งรวมสินค้า และวัสดุอุปกรณ์เพื่อการตกแต่งซ่อมแซมที่อยู่อาศัยอย่างครบวงจร

5. ธุรกิจขายปลีก 47,956 อัตรา

องค์กรที่มีความต้องการแรงงานมากในธุรกิจนี้ เช่น บริษัท เอก-ชัย ดีสทริบิวชั่น ซิสเทม จำกัด หรือโลตัส ประเทศไทย, บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) ผู้จัดจำหน่ายสินค้าอุปโภค บริโภค, วัตสัน ประเทศไทย ร้านเพื่อสุขภาพ และความงาม

5 สายงานที่มีการเปิดรับมากที่สุด

สายงานที่มีการเปิดรับมากที่สุด ได้แก่

  1. งานขาย 158,753 อัตรา
  2. งานผลิต/ควบคุมคุณภาพ 89,279 อัตรา
  3. งานช่างเทคนิค/อิเล็กทรอนิกส์ 83,440 อัตรา
  4. งานธุรการ/จัดซื้อ 43,574 อัตรา
  5. งานวิศวกร 40,697 อัตรา
Photo : Shutterstock

5 สายงานไอทีที่มีการเปิดรับมากที่สุด

  1. โปรแกรมเมอร์ (Programmer) 12,296 อัตรา

ทำหน้าที่พัฒนาระบบซอฟต์แวร์รวมถึงดูแลระบบ ให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ

ทักษะที่จำเป็น : ทักษะการเขียนโปรแกรมและความรู้ด้านภาษาคอมพิวเตอร์ โดยมีความรู้ด้านการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาที่นิยมใช้ เช่น JavaScript, C#, Python และ PHP

2. ไอทีแอดมิน/เน็ตเวิร์กแอดมิน (IT Admin/Network Admin) 5,629 อัตรา

ทำหน้าที่ดูแลระบบคอมพิวเตอร์หรือระบบเน็ตเวิร์ก ทั้งด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์เพื่อให้พนักงานแผนกต่าง ๆ สามารถทำงานได้อย่างราบรื่น

ทักษะที่จำเป็น : มีความรู้ความสามารถในเรื่องของระบบปฏิบัติการของคอมพิวเตอร์ และระบบเน็ตเวิร์ก

3. เทคนิคซัพพอร์ต (Technical Support/Help Desk) 3,598 อัตรา

ทำหน้าที่ดูแลการใช้งานโปรแกรมและอุปกรณ์ต่างๆ ของพนักงานภายในบริษัท และช่วยเหลือให้คำแนะนำเรื่องการใช้โปรแกรมกับลูกค้าหากเกิดปัญหาขึ้น

ทักษะที่จำเป็น : มีความรู้ความสามารถในเรื่องการใช้งานและแก้ปัญหาโปรแกรมต่าง ๆ

Bearded IT Technician in Glasses with Laptop Computer and Black Male Engineer Colleague are Using Laptop in Data Center while Working Next to Server Racks. Running Diagnostics or Doing Maintenance Work

4. วิศวกรคอมพิวเตอร์ (Computer Engineering) 2,354 อัตรา

ทำหน้าที่ออกแบบและพัฒนาระบบและสถาปัตยกรรมทางด้านคอมพิวเตอร์ครอบคลุมทั้งในส่วนฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ของระบบ

ทักษะที่จำเป็น : มีความรู้ด้านระบบ การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ และการออกแบบสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์

5. นักทดสอบซอฟต์แวร์ (Software Tester) 1,961 อัตรา

ทำหน้าที่ทดสอบซอฟต์แวร์เพื่อค้นหาข้อผิดพลาด ตรวจสอบคุณภาพของระบบซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้น เพื่อให้คนใช้งานสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ทักษะที่จำเป็น : ความรู้พื้นฐานทางด้าน Software Testing, การวิเคราะห์ ออกแบบการ Test

นอกจากสายงานที่กล่าวไปข้างต้นแล้วยังมีอาชีพงานไอทีที่น่าจับตามองอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น วิศวกรความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cyber Security), นักพัฒนาบล็อกเชน (Blockchain Developer), นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Scientist), นักพัฒนาด้านปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence Engineer)

กระทบการจ้างงานนักศึกษาจบใหม่

ในแต่ละปีจะมีนักศึกษาจบใหม่เข้ามาในตลาดแรงงาน ซึ่งในปีนี้นักศึกษาจบใหม่ต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจและผลกระทบจากโควิด-19 โดยในจ๊อบไทยมีบัญชีผู้ใช้งานที่เป็นนักศึกษาจบใหม่ 178,399 คน คิดเป็น 17.14% ของจำนวนผู้สมัครงานทั้งหมดในแพลตฟอร์ม ซึ่งมีข้อมูลที่น่าสนใจ ดังนี้

  • สายงานที่เปิดรับนักศึกษาจบใหม่มากที่สุด 5 อันดับ ได้แก่ 1.งานขาย 35,031 อัตรา 2.งานช่างเทคนิค/อิเล็กทรอนิกส์ 14,074 อัตรา 3.งานผลิต/ควบคุมคุณภาพ 11,332 อัตรา 4.งานบริการ 8,777 อัตรา และ 5.งานวิศวกร 7,677 อัตรา
  • สายงานที่มีนักศึกษาจบใหม่สมัครมากที่สุด 5 อันดับ ได้แก่ 1.งานธุรการ/จัดซื้อ 60,780 คน 2.งานผลิต/ควบคุมคุณภาพ 47,137 คน 3.งานขาย 36,980 คน 4.งานวิศวกร 30,565 คน และ 5.งานขนส่ง-คลังสินค้า 28,344 คน

นักศึกษาจบใหม่ท่องเที่ยว / โรงแรม / การบินเคว้ง

ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว ไม่ว่าจะเป็น โรงแรม หรือการบิน ได้รับผลกระทบจากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยตรง ทำให้องค์กรต่างๆ ไม่มีการจ้างงานในสายนี้เพิ่มมากนัก นักศึกษาจบใหม่ในสาขานี้จึงได้รับผลกระทบไปด้วย

โดยข้อมูลจาก กลุ่มบนเฟซบุ๊ก “JobThai Official Group เพื่อการหางาน หาคน และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการทำงาน” ซึ่งมีสมาชิกภายในกลุ่มกว่า 200,000 คน พบว่าประเด็นในการพูดคุยแลกเปลี่ยนปัญหาของเด็กจบใหม่ในสาขาดังกล่าว มีดังนี้

  • การหางานด้านท่องเที่ยว โรงแรมยาก ทำให้ว่างงานนานขึ้น
  • คนที่ทำงานด้านท่องเที่ยว โรงแรม เช่น ไกด์ พนักงานในโรงแรม พนักงานบริษัททัวร์ ถูกลดเงินเดือน ให้ลาไม่รับค่าจ้าง ตลอดจนถูกปลด เนื่องจากบริษัทต้องหยุดดำเนินกิจการชั่วคราวหรือถาวร
  • ต้องหางานข้ามสายซึ่งต้องแข่งขันกับคนที่จบมาตรงสาย

ด้านข้อมูลในจ๊อบไทยพบว่า 5 สายงานที่นักศึกษาจบใหม่ด้านท่องเที่ยว/โรงแรมสมัครมากที่สุด ได้แก่ 1.งานธุรการ/จัดซื้อ 11,590 ครั้ง 2.งานบริการ 5,998 ครั้ง 3.งานขาย 5,682 ครั้ง 4.งานบุคคล/ฝึกอบรม 3,127 ครั้ง และ 5.งานการตลาด 2,633 ครั้ง

ในสถานการณ์นี้ปฏิเสธไม่ได้ว่านักศึกษาจบใหม่ในธุรกิจท่องเที่ยว/โรงแรม/การบิน ต้องเพิ่มโอกาสในการหางานจนกว่าสถานการณ์เศรษฐกิจและการท่องเที่ยวไทยจะฟื้นตัว โดยต้องนำทักษะที่มีไปต่อยอดใช้กับสายงานอื่น (Transferable Skills) อย่างคนที่มีทักษะความสามารถทางภาษาอาจมองหาโอกาสในสายงานดูแลลูกค้าหรือบริการในธุรกิจอื่น ๆ  ที่ไม่ได้รับผลกระทบมาก หรือ งาน Account Executive ในเอเจนซี่ ซึ่งเป็นการใช้จุดแข็งทางด้านภาษาและการสื่อสารที่มีอยู่แล้ว และเพิ่มคอร์สเรียนเกี่ยวกับการตลาดออนไลน์ รวมทั้งการใช้ Social Media ก็จะทำให้โปรไฟล์เข้าตา HR มากขึ้นได้ หรืออาชีพเสริมอื่น ๆ เช่น ติวเตอร์สอนภาษา เนื่องจากช่วงนี้นักเรียนต้องเรียนออนไลน์ก็อาจเป็นโอกาสในการทำงานของเราได้

]]>
1344486
‘Airbus’ คัมเเบ็ก ลุยเพิ่มกำลังผลิต ‘เครื่องบิน’ รุ่นเล็ก A320 รับธุรกิจการบินฟื้นตัวหลังวิกฤต https://positioningmag.com/1334458 Sun, 30 May 2021 09:21:01 +0000 https://positioningmag.com/?p=1334458 ผู้ผลิตเครื่องบินรายใหญ่ของโลกอย่าง ‘Airbus’ (แอร์บัส) ส่งสัญญาณเพิ่มการผลิต เรียกความเชื่อมั่นในธุรกิจการบิน คาดกลับมาฟื้นตัวได้เท่าระดับก่อนโควิด-19 ภายในปี 2023-2025

โดยประกาศแผนการผลิตให้กับเหล่าซัพพลายเออร์ เพื่อให้เตรียมความพร้อมเพิ่มอัตราการเพิ่มในระยะยาวเพื่อให้สอดคล้องกับการฟื้นตัวที่คาดไว้

Airbus จะเพิ่มกำลังการผลิตเครื่องบินรุ่น A320 แบบมีช่องทางเดินเดียว (Single-aisle) ที่มักใช้ในการเดินทางระยะสั้น ให้สูงกว่าระดับก่อนการระบาดภายในช่วง 2 ปีนี้ เนื่องจากการเดินทางภายในประเทศฟื้นตัวดีได้ โดยเฉพาะในสหรัฐฯ และจีน

ธุรกิจการบินกำลังเริ่มฟื้นตัวจากวิกฤตโควิด -19” Guillaume Faury ซีอีโอของ Airbus กล่าว

ปัจจุบัน Airbus สามารถผลิตเครื่องบิน A320 ได้ 40 ลำต่อเดือน เเละมีเเผนจะเพิ่มเป็น 45 ลำต่อเดือนในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้

จากนั้น เหล่าซัพพลายเออร์ ต้องเตรียมตัวรับการเพิ่มอัตราการผลิตเครื่องบิน A320 เป็นระดับ 64 ลำต่อเดือนภายในไตรมาส 2/2023 ขยับไปสู่ระดับ 70 ลำต่อเดือนให้ได้ภายในปี 2024 และสู่ระดับ 75 ลำต่อเดือนให้ได้ภายในปี 2025

นับว่าเป็นเเผนการกลับมาผลิตเครื่องบินครั้งใหญ่ของ Airbus ที่มีอัตราการผลิตมากกว่าช่วงก่อนการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่สามารถผลิตเครื่องบินได้เเค่ 60 ลำต่อเดือน

บริษัท มองว่า หากสถานการณ์โรคระบาดดีขึ้นเรื่อยๆ ประเทศต่างๆ เริ่มเปิดพรมเเดนได้ ก็จะเริ่มขยายการผลิตเครื่องบินรุ่น A350 ที่มีขนาดใหญ่กว่ารุ่น A320 เเละเหมาะกับการเดินทางระยะไกล เพิ่มเป็นอัตรา 6 ลำต่อเดือนภายในช่วงฤดูใบไม้ร่วงปี 2022

เป้าหมายการผลิตเครื่องบินของ Airbus ครั้งนี้ เป็นเหมือนการเรียกความเชื่อมั่นในการฟื้นตัวของการเดินทางระหว่างประเทศ ท่ามกลางการกระจายวัคซีนที่มีความคืบหน้า

สมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ คาดว่าจำนวนผู้โดยสารทั่วโลกจะฟื้นตัวขึ้นมาสู่ระดับ 52% ในปีนี้ และจะเกินระดับดังกล่าวในช่วง 2 ปีหลังจากที่พรมแดนกลับมาเปิดได้อีกครั้ง

 

ที่มา : aviationpros , theengineer , financial times 

]]>
1334458
ธุรกิจการบินฟื้นยาก Lufthansa เตรียมปลดพนักงาน 29,000 คน ภายในสิ้นปีนี้ https://positioningmag.com/1309304 Sun, 06 Dec 2020 11:21:08 +0000 https://positioningmag.com/?p=1309304 สายการบินใหญ่ที่สุดของเยอรมนีอย่าง “Lufthansa” (ลุฟท์ฮันซ่า) ฝ่ามรสุม COVID-19 เตรียมปลดพนักงานกว่า 29,000 คนภายในปีนี้ สะท้อนความยากลำบากของอุตสาหกรรมการบินที่ไม่มีทางจะฟื้นตัวง่ายๆ

หนังสือพิมพ์ Bild am Sonntag รายงานโดยอ้างเเหล่งข่าวว่า สายการบินมีเเผนจะปลดพนักงานครั้งใหญ่ 29,000 คน ภายในสิ้นปี 2020 นี้ เเละจะปลดพนักงานในเยอรมนีอีกกว่า 10,000 คน ในปี 2021

แผนดังกล่าวจะทำให้บริษัทมีพนักงานเหลือราว 1.09 แสนคน จากเดิมในปี 2019 มีพนักงานอยู่ราว 1.39 แสนคน

การตัดสินใจลนต้นทุนครั้งนี้ มีขึ้นหลังมีการประเมินว่า การเดินทางทางอากาศจะยังไม่ฟื้นตัวกลับมาเท่าช่วงก่อนการเเพร่ระบาดของ COVID-19 เเละจะกระทบยาวไปจนถึงปี 2025

สายการบิน Lufthansa และบริษัทในเครือ เช่น Eurowings, Swiss, Austrian และ Brussels Airlines ได้ทยอยลดตารางเที่ยวบินและลดจำนวนพนักงานลง พร้อมกับการเตรียมขายธุรกิจ Catering บริการจัดเลี้ยงอย่าง LSG ที่มีพนักงานกว่า 7,500 คนออกไปด้วย โดยสายการบินยังใช้เงินสนับสนุน 3,000 ล้านยูโรที่รัฐบาลเยอรมนีช่วยเหลือในวิกฤต COVID-19 หมดไปแล้ว

Carsten Spohr ซีอีโอของ Lufthansa เปิดเผยเมื่อเดือนที่ผ่านมาว่า บริษัทให้คำมั่นกับสหภาพแรงงานว่าจะพยายามไม่ลดค่าใช้จ่ายที่ซับซ้อนกว่าเดิม เพื่อเเลกกับการลดโบนัส และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่กำลังดำเนินการอย่างต่อเนื่อง 

ทั้งนี้ การประกาศปรับโครงสร้างพนักงานครั้งนี้ คาดว่าจะมีการเปิดเผยรายละเอียดอย่างเป็นทางการในวันที่ 7 .นี้

 

ที่มา : Reuters 

]]>
1309304
Travel Bubble ความหวังใหม่กระตุ้นท่องเที่ยว “ฮ่องกง-สิงคโปร์” สะดุด ต้องเลื่อนยาวไป “ปีหน้า” https://positioningmag.com/1308536 Tue, 01 Dec 2020 13:31:57 +0000 https://positioningmag.com/?p=1308536 ไวรัสโคโรนา “คัมเเบ็ก” ระบาดรอบใหม่ ทำให้โครงการ Travel Bubble ที่เป็นเหมือนความหวังใหม่ของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวต้องโดนชะลอเเผนไปด้วย

ล่าสุดทางสำนักงานการบินพลเรือนสิงคโปร์ CAAS เเถลงว่า โครงการ Travel Bubble ระหว่างสิงคโปร์เเละฮ่องกงนั้น ต้องเลื่อนออกไปล่าช้ากว่าเดือนธันวาคมซึ่งหมายความว่า เหล่านักเดินทางต้องรอคอยถึงปีหน้าเป็นอย่างน้อย

โดยทั้งสองประเทศจะมีการประเมินสถานการณ์ความรุนเเรงของ COVID-19 อีกครั้งในช่วงปลายเดือนนี้ เพื่อประกาศกำหนดการใหม่

Travel Bubble ของฮ่องกงสิงคโปร์ มีอันต้องสะดุด เมื่อ COVID-19 กลับมาเเพร่ระบาดรุนเเรงอีกครั้ง หลังมีกำหนดเดิมที่จะเปิดตัวในวันที่ 22 ..ที่ผ่านมา จากนั้นตกลงเลื่อนกำหนดการออกไปอย่างน้อย 14 วันเเละประกาศเลื่อนไปถึงปีหน้าในครั้งนี้

หนึ่งในข้อตกลงที่สำคัญ คือหากฮ่องกงหรือสิงคโปร์ มีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างน่ากังวลในช่วง 7 วัน ทั้งสองฝ่ายสามารถ “ยกเลิก” โครงการ Travel Bubble ระหว่างกันได้ทันที โดยผู้เดินทางจะต้องมีผลตรวจ COVID-19 เป็นลบ ก่อนเดินทางทั้งขาไปเเละกลับ ผ่านเที่ยวบินโดยสารที่จำกัดจำนวนต่อวันของสายการบินเเห่งชาติอย่าง Singapore Airlines และ Cathay Pacific

โดยก่อนหน้านี้ ยอดจองตั๋วของ Cathay Pacific ไฟลท์ระหว่างฮ่องกงสิงคโปร์ เกือบเต็มทุกที่นั่งไปอีก 2-3 สัปดาห์ เเต่ต้องเผชิญข่าวร้ายเมื่อภาครัฐตัดสินใจเลื่อนใช้มาตรการ เนื่องจากผู้ติดเชื้อในฮ่องกงพุ่งสูงขึ้น

Bloomberg Intelligence ระบุในรายงานวิจัยว่า เส้นทาง Travel Bubble สองประเทศจะสร้างรายได้ให้ Cathay ประมาณ 93 ล้านเหรียญฮ่องกง (ประมาณ 364 ล้านบาท) และจะช่วยลดการขาดทุนลงได้สูงสุดราว 6% เมื่อมาตรการต้องเลื่อนออกไปเช่นนี้ ทำให้สายการบินน่าจะยังขาดทุนอย่างรุนแรงต่อไป

ส่วนสถานการณ์การเเพร่ระบาดของ COVID-19 ในฮ่องกง ยังไม่มีแนวโน้มคลี่คลายในเร็วๆ นี้ โดยในช่วง 7 วันที่ผ่านมา พบผู้ป่วยใหม่มากกว่า 500 คน ส่งผลให้สถิติผู้ป่วยสะสมเเล้วอย่างน้อย 6 พันราย เสียชีวิตสะสมอย่างน้อย 109 คน

รัฐบาลสิงคโปร์กำลังศึกษาเกี่ยวกับการให้นักท่องเที่ยวฮ่องกงและอีกหลายประเทศ ให้สามารถเดินทางเข้าสู่สิงคโปร์ได้โดยไม่ต้องกักตัว 14 วัน เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจโดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยว ขณะที่ฮ่องกงมีการเจรจา Travel Bubble กับอีก 10 ประเทศในขณะนี้ ซึ่งอาจจะเริ่มใช้มาตรการได้ปีหน้า

ต้องจับตาว่าโครงการ Travel Bubble ครั้งนี้จะลุล่วงเเละเป็นความหวังของธุรกิจท่องเที่ยวระหว่างประเทศ หลังวิกฤต COVID-19 ได้จริงหรือไม่

 

ที่มา : traveldailymedia , SCMP 

 

]]>
1308536
Korean Air ซื้อกิจการคู่เเข่ง Asiana Airlines เสริมเเกร่งการบินเกาหลีใต้ ดิ้นรนฝ่า COVID-19 https://positioningmag.com/1306289 Mon, 16 Nov 2020 12:26:24 +0000 https://positioningmag.com/?p=1306289 Korean Air สายการบินเเห่งชาติของเกาหลีใต้ เตรียมเข้าเทกโอเวอร์ Asiana Airlines สายการบินคู่เเข่งที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 เสริมเสถียรภาพธุรกิจการบินของประเทศ หลังประสบปัญหาการเงินต่อเนื่อง เเละทรุดหนักเมื่อเจอพิษ COVID-19

โดยข้อตกลงเพื่อเข้าถือหุ้นใหญ่ดังกล่าว มีมูลค่า 1.8 ล้านล้านวอน (ราว 4.8 หมื่นล้านบาท) ครอบคลุมสายการบินต้นทุนต่ำในเครือของ Asiana อย่าง Air Busan เเละ Air Seoul ด้วย ซึ่งต่อไปจะมีการระดมทุนจากตลาดตราสารหนี้ โดยได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล ด้วยเป้าหมายที่ต้องการช่วยเหลือทั้ง 2 สายการบินใหญ่ให้รอดพ้นจากวิกฤต COVID-19

ก่อนหน้านี้ รัฐบาลเกาหลีใต้ ได้ทุ่มงบประมาณฉุกเฉินกว่า 2.9 ล้านล้านวอน (ราว 7.1 หมื่นล้านบาทเพื่อรักษาสภาพคล่องให้ทั้ง Korean Air เเละ Asiana เมื่อเดือน เม.. ที่ผ่านมา

Korean Air ระบุในเเถลงการณ์ว่า ข้อตกลงนี้จะทำให้สายการบินขยับขึ้นมาติด TOP 10 สายการบินที่ใหญ่ที่สุดในโลก เป็นการเพิ่มเสถียรภาพให้ธุรกิจการบินเกาหลีใต้ เเละเพิ่มศักยภาพการเเข่งขันในวงการสายการบินพาณิชย์โลกพร้อมรับมือกับผลกระทบจากโรคระบาด หากยืดเยื้อไปนานกว่าที่คาด

รายงานข่าวของ Reuters ระบุว่า การควบรวมของ 2 สายการบินที่ใหญ่ที่สุดในเกาหลีใต้ครั้งนี้ จะทำให้ Korean Air ขึ้นเป็นสายการบินที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 15 ของโลก ตามข้อมูลปี 2019 ของสมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ เพิ่มขึ้นจากปัจจุบันที่ Korean Air อยู่อันดับ 28 เเละ Asiana อยู่อันดับ 42

Photo : Mario Tama/Getty Images

Korean Air และ Asiana ต่างกำลังดิ้นรนให้อยู่รอดในวิกฤต COVID-19 จากรายได้ที่ย่ำแย่และหนี้สินจำนวนมาก ก่อนที่จะเกิดโรคระบาด โดย Korean Air ขาดทุนสุทธิ 6.19 เเสนล้านวอนในครึ่งปีแรกของปีนี้ เพิ่มขึ้นจาก 4.82 เเสนล้านวอนในปีที่แล้ว ขณะที่ผลขาดทุนของ Asiana อยู่ที่ 6.3 เเสนล้านวอนในช่วงเดือน ม.ค. – มิ.ย. เพิ่มขึ้นจาก 3.78 เเสนล้านวอนในช่วงเวลาเดียวกันกับปีที่เเล้ว

จากการที่ Asiana Airlines ประสบปัญหาการเงินเรื้อรังมาตั้งเเต่ก่อน COVID-19 เเละยิ่งรุนเเรงขึ้นจากมาตรการจำกัดการเดินทางทั่วโลก ทำให้ Kumho Industrial บริษัทแม่ของ Asiana ต้องประกาศขายหุ้น 31%

มีกระเเสข่าวว่า บริษัทได้เจรจากับยักษ์ใหญ่อย่าง Hyundai เเต่ไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากช่วงไตรมาส 2 การระบาดของไวรัสสะเทือนอุตสาหกรรมการบินรุนเเรงมาก จึงถอนใจไป ทำให้ Kumho จึงต้องดิ้นรนหา “เเผนสำรอง” เเละได้กลุ่ม Hanjin ซึ่งเป็นเจ้าของ Korean Air เสนอตัวเข้ามาซื้อหุ้นใหญ่เเละดีลกันสำเร็จในที่สุด

ดีลการซื้อกิจการครั้งนี้ ส่งผลให้ราคาหุ้นของ Asiana เพิ่มขึ้นถึง 28.7% ในการซื้อขายวันจันทร์ (16 ..) ขณะที่หุ้นของ Korean Air เพิ่มขึ้น 8.4% และกลุ่ม Hanjin เพิ่มขึ้น 3%

 

 

ที่มา : Reuters, Nikkei

]]>
1306289
ฝืนไม่ไหว! Singapore Airlines ปลดพนักงาน 4,300 คน จำนวนมากที่สุดในประวัติศาสตร์บริษัท https://positioningmag.com/1296612 Fri, 11 Sep 2020 11:06:15 +0000 https://positioningmag.com/?p=1296612 พิษ COVID-19 สะเทือนสายการบินต่อเนื่อง ล่าสุดกลุ่ม Singapore Airlines ตัดสินใจปลดพนักงานกว่า 4,300 ตำแหน่ง หรือราว 20% ของพนักงานทั้งหมด ถือเป็นการปลดพนักงานจำนวนมากที่สุดในประวัติศาสตร์ของบริษัท

ก่อนหน้านี้ Singapore Airlines หรือ SIA Group อนุญาตให้พนักงานกว่า 6,000 คน จากทั้งหมด 2.7 หมื่นคน ตัดสินใจ “ลางานเเบบไม่รับเงิน” เพื่อช่วยเหลือบริษัทให้ก้าวผ่านวิกฤตนี้ไปให้ได้ ในจำนวนนี้กว่า 1,700 คน ทั้งนักบินเเละลูกเรือ ได้ลงทะเบียนเพื่อทำงานเป็นอาสาสมัครระยะสั้นและทำงานชั่วคราวในองค์กรอื่น

เเม้ช่วงเดือนที่ผ่านมา บริษัทยังคงอุ้มพนักงานทั้งหมดไว้ได้ เเต่มาถึงเดือนนี้ก็ฝืนยื้อต่อไปไม่ไหว เมื่ออุตสาหกรรมการบินยังไม่สามารถกลับมาทำการบินได้ตามปกติ โดยเฉพาะการบินระหว่างประเทศ ที่อาจจะต้องใช้เวลา 3-4 ปีกว่าจะฟื้นตัวกลับมาได้เท่าช่วงก่อนวิกฤต

โดยปัจจุบัน Singapore Airlines เปิดให้บริการได้เพียง 8% และคาดว่าเมื่อถึงสิ้นสุดปีงบการเงิน คือวันที่ 31 มี..ปีหน้า ก็จะยังให้บริการได้ไม่ถึง 50%

ขณะที่รายได้ส่วนใหญ่ของสายการบิน ต้องขึ้นอยู่กับเส้นทางต่างประเทศ ซึ่งเป็นเรื่องน่ากังวลเพราะ Singapore Airlines ไม่มีตลาดในประเทศ ซึ่งเป็นกลุ่มแรกที่มีเเนวโน้มฟื้นตัว

ด้วยปัจจัยลบทั้งหลาย ทำให้บริษัทจำเป็นต้องลดจำนวนพนักงาน 4,300 คน คิดเป็น 20% ของพนักงานที่มีอยู่ทั่วโลก ซึ่งเป็นการเลิกจ้างพนักงานในคราวเดียวจำนวนมากที่สุดในประวัติศาสตร์ของสายการบินนี้

Photo : Shutterstock

ก่อนหน้านี้ กลุ่ม SIA ได้ลดเงินเดือนพนักงานขั้นต่ำ 10% สำหรับพนักงานทั่วไป ส่วนตำเเหน่งผู้จัดการขึ้นไปมีการปรับลดตั้งแต่ 12-35% ขณะที่ประธานเจ้าหน้าที่บริหารปรับลด 35%

สายการบินระบุว่า ในเดือนเมษายนมิถุนายน จำนวนผู้โดยสารจะลดลงมากถึง 96% จากการระงับให้บริการของทั้ง Singapore Airlines เเละบริษัทลูกอย่าง Silk Air ส่วน Scoot ซึ่งเป็นสายการบินต้นทุนต่ำในเครือ ได้ลดการให้บริการลงถึง 98% ของเที่ยวบินทั้งหมด

ทั้งนี้ SIA Group เพิ่งรายงานผลประกอบการประจำไตรมาสสิ้นสุด ณ 30 มิถุนายน โดยขาดทุนสุทธิ 1.12 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 2.5 หมื่นล้านบาทมากที่สุดนับตั้งเเต่ก่อตั้งสายการบินนี้มาเเม้จะเคยมีผลประกอบการในระดับดีมาตลอดก็ตาม

 

ที่มา : CNA , Reuters

]]>
1296612