กำลังซื้อ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 29 Feb 2024 12:32:18 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ปี 2567 คนมีแผน “ซื้อบ้าน” ลดลง สาเหตุจากเศรษฐกิจซบกระทบเงินเก็บ บ้านแพง ดอกเบี้ยสูง https://positioningmag.com/1464521 Thu, 29 Feb 2024 10:34:43 +0000 https://positioningmag.com/?p=1464521
  • DDproperty สำรวจความต้องการ “ซื้อบ้าน” ของคนไทย พบว่าปี 2567 คนไทยที่วางแผนซื้อบ้านภายใน 1 ปีข้างหน้าลดลงเหลือ 44% เท่านั้น จากปีก่อนที่มี 53%
  • 30% ของผู้ตอบแบบสอบถาม “เลื่อน” แผนการซื้อบ้านออกไปก่อน สาเหตุหลักจากภาวะเศรษฐกิจส่งผลต่อเงินเก็บที่จะใช้ซื้อบ้าน มองว่าราคาบ้านแพงเกินไป และอัตราดอกเบี้ยสูง
  • ผู้บริโภคคาดหวังว่ารัฐบาลจะมีมาตรการลดอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้านออกมา เพื่อช่วยเหลือทั้งผู้กู้เดิมและที่จะกู้ใหม่
  • DDproperty จัดทำสำรวจความคิดเห็นผู้บริโภคและเผยแพร่ผ่านรายงาน DDproperty Thailand Consumer Sentiment Study รอบล่าสุด ครึ่งปีแรกประจำปี 2567 พบว่าความเชื่อมั่นต่อภาคอสังหาริมทรัพย์ของผู้บริโภคไทยลดลงทุกด้าน ดังนี้

    คนอยาก “ซื้อบ้าน” ลดลงอย่างมีนัยยะ

    รายงานชิ้นนี้พบว่า 44% ของผู้บริโภคมีแผน “ซื้อบ้าน” ภายใน 1 ปีข้างหน้า ตัวเลขนี้ถือว่าลดลงอย่างมีนัยยะจากการสำรวจรอบก่อนหน้าช่วงครึ่งปีหลัง 2566 ที่เคยมีสัดส่วน 53% ตัวเลขคนอยากซื้อบ้านที่ลดลงต่ำกว่าครึ่งหนึ่งเป็นภาพสะท้อนว่ากำลังซื้อผู้บริโภคยังไม่ฟื้น และภาวะเศรษฐกิจกระทบมากต่อกลุ่มผู้ซื้อระดับกลางถึงล่างซึ่งมีความเปราะบางทางการเงินสูง

    สอดคล้องกับคำตอบของผู้บริโภคในอีกหัวข้อหนึ่งคือ 30% ของผู้บริโภคตอบว่าได้ตัดสินใจเลื่อนแผนซื้อบ้านออกไปก่อน เนื่องจากปัญหาทางการเงิน

    ซื้อบ้าน

     

    เงินเก็บไม่พอ บ้านแพง ดอกเบี้ยสูง

    ผู้บริโภคที่เลื่อนแผนซื้อบ้านออกไปหรือไม่มีแผนที่จะซื้อมาจากปัจจัยด้านการเข้าถึงที่อยู่อาศัย ดังนี้

    • “ดอกเบี้ยสูง”ผู้บริโภค 48% มองว่าดอกเบี้ยอยู่ในระดับสูง และ 29% มองว่าอยู่ในระดับสูงมาก มีเพียง 16% ที่มองว่าดอกเบี้ยอยู่ในระดับเหมาะสม
    • “เงินเก็บไม่พอ” – ในกลุ่มผู้บริโภคที่เลือกเช่าแทนการซื้อ 61% ให้เหตุผลว่าเป็นเพราะพวกเขายังไม่มีเงินเก็บพอที่จะซื้อที่อยู่อาศัย
    • “บ้านแพง” – ขณะที่คนที่เลือกเช่าแทนซื้อ 38% มองว่าบ้านมีราคาแพงเกินไป

    ซื้อบ้าน

    ปัจจัยเหล่านี้ส่งเสริมให้คนไทยเลือกจะเช่าบ้านเพิ่มขึ้น โดยมี 14% ของผู้ตอบแบบสอบถามที่มองว่าตนจะหาเช่าบ้านใน 1 ปีข้างหน้า เพิ่มจากสัดส่วน 9% เมื่อการสำรวจรอบก่อน

    อีกวิธีหนึ่งที่ผู้บริโภคใช้ในการแก้ปัญหาคือ “ลดช่วงราคาที่อยู่อาศัยที่จะซื้อลง” โดยมี 20% ของผู้ถูกสำรวจที่จะใช้แนวทางนี้ เพื่อลดความเสี่ยงในการก่อหนี้ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจซบเซา

     

    ขอสินเชื่อไม่ผ่านเพราะ “รายได้ไม่มั่นคง”

    อุปสรรคคนซื้อบ้านยุคนี้จึงเป็นเรื่องทางการเงินที่รุมเร้า นอกจากจะมีปัญหาจากเศรษฐกิจแล้ว ฝั่งแบงก์เองก็ระมัดระวังสูงในการอนุมัติสินเชื่อบ้าน มีการพิจารณาอย่างเข้มงวดจนทำให้อัตราลูกค้าที่ถูกปฏิเสธให้สินเชื่อสูงถึง 60-65% ของการยื่นขอกู้ทั้งหมด (ข้อมูลโดย LWS)

    เหตุที่ลูกค้าขอสินเชื่อบ้านไม่ผ่านนั้น 56% เกิดจากรายได้และอาชีพไม่มั่นคง 38% มีประวัติทางการเงินไม่ดี และ 31% มีเงินดาวน์ไม่พอ

    ขณะที่การช่วยเหลือจากภาครัฐผ่านมาตรการกระตุ้นอสังหาฯ นั้น ผู้บริโภค 58% ต้องการมาตรการลดดอกเบี้ยสินเชื่อบ้าน 51% ต้องการมาตรการลดดอกเบี้ยสินเชื่อบ้านทั้งที่มีอยู่แล้วและที่กู้ใหม่ และ 40% ต้องการมาตรการลดค่าธรรมเนียมโอนกรรมสิทธิ์และจดจำนอง

    ]]>
    1464521
    เศรษฐกิจไทยเริ่มฟื้น เเต่เปราะบาง ตลาดเเรงงาน-กำลังซื้ออ่อนเเอ ค่าจ้างต่ำกว่าก่อนโควิด https://positioningmag.com/1374184 Wed, 16 Feb 2022 07:49:54 +0000 https://positioningmag.com/?p=1374184 วิจัยกรุงศรี คาดกนง.ตรึงดอกเบี้ย 0.5% ตลอดทั้งปีนี้ มองเเนวโน้มเศรษฐกิจไทยเริ่มฟื้นตัว เเต่ยังเปราะบาง ตลาดเเรงงานอ่อนเเอ ค่าจ้างยังอยู่ในระดับต่ำกว่าช่วงก่อนโควิด เเละแตกต่างกันตามกลุ่มรายได้ ฉุดกำลังซื้อผู้บริโภค

    คาดกนง.ตรึงดอกเบี้ยทั้งปี 0.5%

    วิจัยกรุงศรี คาดการณ์ว่าคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะตรึงดอกเบี้ยไว้ที่ระดับ 0.50% ตลอดจนถึงสิ้นปีนี้ เนื่องจาก แม้อัตราเงินเฟ้อมีความเสี่ยงด้านสูงเพิ่มขึ้น แต่ กนง.คาดว่าอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยในปี 2565 และอัตราเงินเฟ้อคาดการณ์ในระยะปานกลางยังอยู่ในกรอบเป้าหมาย (ต่ำกว่า 3%) และยังไม่เห็นสัญญาณการปรับเพิ่มของราคาสินค้าและบริการเป็นวงกว้าง อีกทั้งแรงกดดันเงินเฟ้อด้านอุปสงค์ยังอยู่ในระดับต่ำ

    การฟื้นตัวของเศรษฐกิจยังมีความเปราะบางและแตกต่างกันอยู่มาก โดยเฉพาะภาคท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวล่าช้าและต่ำกว่าช่วงก่อนเกิดโควิด-19 อยู่มาก

    “เศรษฐกิจโดยรวม กว่าจะฟื้นกลับสู่ระดับก่อนวิกฤตการระบาดอาจเป็นช่วงปลายปีนี้หรือต้นปีหน้า และตลาดแรงงานยังอ่อนแอและค่าจ้างที่อาจยังอยู่ในระดับต่ำกว่าช่วงเกิดโควิด-19” 

    ค่าจ้างยังต่ำกว่าระดับก่อนโควิด 

    วิจัยกรุงศรี ประเมินค่าจ้างที่แท้จริงของครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำสุดในปีนี้ จะเพิ่มขึ้นเพียง 1% เมื่อเทียบรายปี ต่ำกว่าค่าจ้างที่แท้จริงของครัวเรือนรายได้สูงสุดที่จะเพิ่มขึ้น 3.2%

    ขณะที่ค่าจ้างที่แท้จริงของทุกกลุ่มครัวเรือนในปีนี้ จะยังอยู่ต่ำกว่าระดับก่อนเกิดโควิด-19 สะท้อนถึงกำลังซื้อที่ยังอ่อนแอและมีความแตกต่างกันตามกลุ่มรายได้ ซึ่งจะส่งผลให้ความสามารถในการใช้จ่ายไม่เท่าเทียมกัน และยังบ่งชี้ถึงความเปราะบางในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ

    Photo : Shutterstock

    เงินเฟ้อพุ่งช่วงต้นปี 

    ด้านความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนมกราคมปรับลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 5 เดือน สะท้อนความอ่อนแอของการใช้จ่ายในประเทศ แต่ยังพอมีแรงพยุงจากมาตรการรัฐ โดยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนมกราคมปรับลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 3 เดือนที่ 44.8 จาก 46.2 เดือนธันวาคม เช่นเดียวกับดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ (6 เดือนข้างหน้า) ปรับลดลงสู่ระดับ 52.5 จาก 53.8 เดือนธันวาคม

    ปัจจัยลบจากความกังวลการระบาดของไวรัสโอมิครอนที่แพร่ได้เร็ว ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ปรับสูงขึ้นกระทบต่อราคาวัตถุดิบและราคาสินค้า รวมถึงความกังวลเกี่ยวกับเสถียรภาพทางการเมืองในประเทศ

    ในช่วงต้นปีกำลังซื้ออาจได้รับแรงกดดันจากเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้น เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าในกลุ่มพลังงานตามราคาน้ำมันดิบในคลาดโลก นอกจากนี้ กำลังซื้อของผู้บริโภคยังมีความเปราะบางและแตกต่างกันตามกลุ่มรายได้อีกด้วย

    มาตรการรัฐกระตุ้นใช้จ่าย 

    อย่างไรก็ตาม ยังพอมีปัจจัยบวกที่จะช่วยประคับประคองการใช้จ่ายในประเทศได้บ้าง จากมาตรการควบคุมการระบาดที่ผ่อนคลายมากขึ้น มาตรการช้อปดีมีคืน รวมถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจล่าสุดวงเงินรวม 53.2 พันล้านบาท ผ่านโครงการสำคัญ ๆ ได้แก่

    • โครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 4 (วงเงิน 34.8 พันล้านบาท)
    • โครงการช่วยเหลือผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและกลุ่มเปราะบาง (วงเงิน 9.4 พันล้านบาท)
    • โครงการเราเที่ยวด้วยกัน ระยะที่ 4 (วงเงิน 9 พันล้านบาท)

    “คาดว่ามาตรการเหล่านี้จะช่วยให้มีเม็ดเงินหมุนเวียนเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจประมาณ 1-1.5 แสนล้านบาท” 

     

    ]]>
    1374184
    จับตา ‘ค้าปลีก’ โค้งสุดท้ายปี 64 กลับมาฟื้นตัวเป็นบวก เเต่ผู้บริโภคยังระวังใช้จ่าย https://positioningmag.com/1356736 Fri, 15 Oct 2021 05:51:35 +0000 https://positioningmag.com/?p=1356736 ‘ค้าปลีก’ ส่งสัญญาณฟื้นตัวช่วงโค้งสุดท้ายปลายปี รับคลายล็อกดาวน์ KBANK ประเมินเศรษฐกิจไทยผ่านจุดเเย่สุดของวิกฤตโควิดมาเเล้ว กลุ่มสินค้าจำเป็น ‘อาหาร-เครื่องดื่ม’ ฟื้นตัวได้เร็ว ส่วนกลุ่ม ‘เสื้อผ้า-รองเท้า’ ยังหดตัวต่อเนื่อง ประชาชนระมัดระวังการใช้จ่าย แนะเร่งทำโปรโมชันด้านราคาจับโอกาสตลาดหลังเปิดประเทศ ธุรกิจต้องปรับตัวรับกำลังซื้อที่ไม่เเน่นอน 

    เเนวโน้มค้าปลีก Q4 ฟื้นตัวเป็นบวก 

    ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ออกบทวิเคราะห์ถึง ‘ธุรกิจค้าปลีก’ ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 64 ว่าจะกลับมาฟื้นตัวเป็นบวกได้ จากสถานการณ์การระบาดของโควิดในประเทศที่ดีขึ้น เมื่อเทียบกับการระบาดในช่วงไตรมาส 3 ของปีนี้

    โดยสถานการณ์การระบาดของโควิด และการเข้าถึงวัคซีนของประชาชนที่เริ่มมีสัญญาณบวก จนทำให้ภาครัฐทยอยคลายมาตรการล็อกดาวน์กิจกรรมต่างๆ ทางเศรษฐกิจในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 64 ไม่ว่าจะเป็นแผนการเปิดประเทศเพื่อรองรับกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติโดยไม่ต้องกักตัว รวมทั้งสัญญาณความเป็นไปได้ในการกลับมาเปิดดำเนินกิจการของบางธุรกิจ เช่น สถานบันเทิง สะท้อนให้เห็น ถึงโอกาสในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่น่าจะผ่านจุดที่แย่ที่สุดจากการระบาดของโควิด-19 มาแล้ว

    เมื่อประกอบกับจังหวะการเร่งออกแคมเปญส่งเสริมการตลาดของภาคธุรกิจต่างๆ เพื่อกระตุ้นการใช้จ่าย ส่งผลให้ในเบื้องต้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า

    “ยอดขายของธุรกิจค้าปลีกในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 64 น่าจะมีแนวโน้มกลับมาฟื้นตัวที่ประมาณ 1.4% โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ที่ภาครัฐอาจออกมาตรการกระตุ้นการใช้จ่าย เช่น ช้อปดีมีคืน ในช่วงปลายปีไว้แล้วระดับหนึ่ง แต่หากภาครัฐมีการปรับหรือเพิ่มขนาดของมาตรการ ก็อาจจะทำให้ตัวเลขค้าปลีกในช่วงไตรมาสสุดท้ายขยับสูงขึ้นกว่าที่คาดเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันกับปีก่อนที่หดตัว -1.2%”

    การคลายมาตรการล็อกดาวน์ น่าจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นและบรรยากาศในการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภค โดยเฉพาะในช่วงเดือนธ.ค. ที่มีเทศกาลเฉลิมฉลองที่สำคัญอย่างเทศกาลปีใหม่ ซึ่งคาดว่าบรรยากาศของเทศกาลปีใหม่ในปีนี้ น่าจะฟื้นตัวดีขึ้นกว่าปีที่แล้วที่เกิดการระบาดคลัสเตอร์สมุทรสาคร

    ในส่วนของผู้ประกอบการค้าปลีก ที่เน้นจำหน่ายสินค้าจำเป็น อย่างอาหารและเครื่องดื่ม รวมถึงของใช้ส่วนตัว เช่น ธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-commerce) ห้างสรรพสินค้า (โดยเฉพาะในโซนร้านอาหารและเครื่องดื่ม) ซูเปอร์มาร์เก็ต รวมถึงไฮเปอร์มาร์เก็ต และร้านสะดวกซื้อ น่าจะทำยอดขายได้ต่อเนื่องในไตรมาสสุดท้ายของปี 64

    อาหาร-เครื่องดื่มยังขายดี เสื้อผ้า-รองเท้า หดตัวต่อเนื่อง 

    แม้ว่าสถานการณ์การระบาดของโควิดในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้จะมีแนวโน้มดีขึ้น แต่ผู้บริโภคยังคงกังวลกับความปลอดภัย และเผชิญกับกำลังซื้อที่ยังไม่ฟื้นตัวดี ส่งผลให้ยังคงเลือกใช้จ่ายอย่างระมัดระวัง โดยเฉพาะในหมวดสินค้าที่ยังมีความจำเป็นอย่างอาหารและเครื่องดื่ม รวมถึงของใช้ส่วนตัว

    ขณะที่กลุ่มสินค้าที่ไม่จำเป็นอย่างเสื้อผ้า รองเท้า น่าจะยังคงหดตัวต่อเนื่องในไตรมาสสุดท้ายของปี ส่วนกลุ่มสินค้าเฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้าน รวมถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แม้ว่ายอดขายอาจจะกลับมาฟื้นตัวเป็นบวกเล็กน้อยในไตรมาส 4 ปีนี้ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ยอดขายทั้งปี 64 น่าจะยังคงหดตัวต่อเนื่องเมื่อเทียบกับปีก่อน

    ดังนั้น ผู้ประกอบการที่เน้นจำหน่ายสินค้าจำเป็น ไม่ว่าจะเป็นแพลตฟอร์มออนไลน์ ห้างสรรพสินค้า (โดยเฉพาะโซนร้านอาหารและเครื่องดื่ม) ซูเปอร์มาร์เก็ต ไฮเปอร์มาร์เก็ต และร้านสะดวกซื้อ น่าจะทำยอดขายได้เพิ่มขึ้น หรือกลับมาฟื้นตัวได้เร็วกว่าผู้ประกอบการค้าปลีกกลุ่มห้างสรรพสินค้า (โซนจำหน่ายสินค้าไม่จำเป็นหรือสินค้าฟุ่มเฟือย เช่น เสื้อผ้า รองเท้า เครื่องใช้ไฟฟ้า) ร้านค้าเฉพาะอย่าง เช่น ร้านจำหน่ายสินค้าความงาม ร้านวัสดุก่อสร้าง และซ่อมแซมตกแต่งบ้าน (แม้ในบางพื้นที่อาจได้แรงหนุนบ้างจากการซ่อมแซมหลังผ่านอุทกภัย)

    เร่งทำโปรโมชัน สู้ตลาดด้านราคา 

    ภายใต้สถานการณ์ที่ผู้บริโภคยังคงกังวลกับรายได้ และกำลังซื้อที่ยังไม่ฟื้นตัวดี ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ประกอบการทุกกลุ่ม ยังคงต้องให้ความสำคัญกับการเร่งทำโปรโมชันการตลาดด้านราคาในช่วงเวลาดังกล่าว ที่เริ่มมีการเปิดประเทศภายหลังสถานการณ์โควิดส่งสัญญาณดีขึ้น

    ควบคู่ไปกับการให้บริการลูกค้าที่มีคุณภาพอย่างสม่ำเสมอในทุกแพลตฟอร์ม เพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายของผู้บริโภค และสร้างความประทับใจ รวมถึงผู้ประกอบการจะต้องมีการบริหารจัดการต้นทุน เพื่อให้ธุรกิจยังคงสามารถดำเนินการต่อไปได้

    Photo : Shutterstock

    ความไม่เเน่นอน กระทบค่าครองชีพ 

    ในช่วงที่เหลือของปีนี้ ต่อเนื่องถึงปี 65 ธุรกิจค้าปลีกยังต้องเผชิญกับปัจจัยท้าทายอีกหลายประการ ทำให้การดำเนินธุรกิจยังคงยากลำบากต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นสถานการณ์น้ำท่วมที่ครอบคลุมพื้นที่ในหลายจังหวัด ซึ่งสร้างความเสียหาย ต่อสินค้าเกษตรและส่งผลต่อราคาตามมา เช่น ผักสด เนื้อสัตว์ และการขนส่งที่อาจจะล่าช้า ราคาพลังงานที่มีแนวโน้มสูงขึ้น ซึ่งอาจจะกระทบกับค่าครองชีพของผู้บริโภค

    ขณะที่กลุ่มผู้บริโภคที่มีกำลังซื้อ หรือมีศักยภาพในการใช้จ่ายยังคงมีจำนวนจำกัด หรือแม้แต่แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภค หรือเทคโนโลยีในการทำธุรกิจค้าปลีกรูปแบบใหม่ๆ ที่อาจจะเข้ามาเปลี่ยนภาพการทำธุรกิจค้าปลีกในปัจจุบัน และเกิดผู้เล่นรายใหม่ หรือการปรับตัวของผู้เล่นรายเดิม

    ผู้ประกอบการที่สามารถปรับตัว หรือรับมือกับสถานการณ์และการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ได้เร็ว ก็น่าจะมีความได้เปรียบในการแข่งขัน ดังนั้นการเป็นผู้นำตลาดในธุรกิจค้าปลีกก็อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงไปอีกในระยะข้างหน้า

    “ความไม่แน่นอนของการระบาดของโควิดในประเทศในระยะข้างหน้า อาจจะมีผลต่อความเชื่อมั่นและการตัดสินใจกลับมาของกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ และการใช้จ่ายของคนในประเทศ รวมถึงภาวะการแข่งขันของธุรกิจที่จำนวนผู้เล่นยังคงทยอยเข้าสู่ตลาดเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะผู้เล่นที่อยู่ในแพลตฟอร์มออนไลน์” 

    ]]>
    1356736
    พิษเศรษฐกิจ ฉุดกำลังซื้อ เเนวโน้ม ‘ยอดขายรถยนต์’ ปี 64 ซบเซาต่อเนื่อง เหลือ 7.35 แสนคัน https://positioningmag.com/1345601 Fri, 06 Aug 2021 07:19:12 +0000 https://positioningmag.com/?p=1345601 ตลาดรถยนต์ในประเทศไทย ยังหดตัวต่อเนื่องจากพิษโรคระบาด คาดยอดขายตลอดปีนี้ ลดลงจากปีก่อน 7.1% เหลือ 7.35 แสนคัน กำลังซื้อของผู้บริโภคเปราะบางรถยนต์ส่วนบุคคลกระทบหนักสุด ลุ้นปี 65 กระจายวัคซีนทั่วถึง เศรษฐกิจดีขึ้นอาจกลับมาขายได้ 8.6 แสนคัน

    ด้วยสถานการณ์โควิด-19 ระลอก 3 ที่ลากยาวเเละรุนเเรงกว่าที่คาดทำให้จำนวนผู้ติดเชื้อสะสมรวมกว่าเเล้ว 6.64 แสนคน (ข้อมูล ณ วันที่ 5 สิงหาคม 2564) ส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศให้ชะลอตัวลง รวมไปถึงกำลังซื้อของประชาชนที่ลดลงเรื่อยๆ

    เเม้ว่ายอดขายรถยนต์ในประเทศ ช่วงครึ่งแรกของปีนี้ จะทำยอดขายได้กว่า 373,191 คัน เเละขยายตัว 13.6% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ก็เป็นการเพิ่มขึ้นที่มาจากฐานที่ต่ำในปี 2563 ที่หดตัวลงถึง 37.3% เป็นผลมาจากกำลังซื้อที่หายไปจากการล็อกดาวน์ติดต่อกัน 3 เดือน (เมษายน – มิถุนายน 2563) เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดโควิด-19 ในระลอกแรก

    ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี หรือ ttb analytics ประเมินยอดขายรถยนต์ในไทยจะอยู่ที่ 7.35 แสนคันในปี 2564 ลดลง 7.1% จากปีก่อน โดยมีปัจจัยฉุดรั้งต่างๆ เช่น การระบาดของโควิด-19 และกำลังซื้อที่เปราะบางแม้จะได้รับอานิสงส์จากการฟื้นตัวการส่งออกและราคาสินค้าเกษตรที่เพิ่มขึ้นมาช่วยก็ตาม

    โดยยอดขายจะลดลงอย่างมีนัยสำคัญในช่วงไตรมาส 3’ อันเป็นผลมาจากมาตรการล็อกดาวน์และกำลังซื้อในประเทศที่เปราะบาง

    จากนั้นคาดว่าในไตรมาสที่ 4’ ยอดขายจะเริ่มทยอยฟื้น จากอานิสงส์จากการฉีดวัคซีนที่ครอบคลุมกว่า 70% ของประชากรรวมในประเทศ หากเป็นไปตามแผนของภาครัฐ ผนวกกับได้แรงพยุงจากการส่งออกที่ฟื้นตัว และรายได้เกษตรกรที่ดีขึ้นจากราคาและผลผลิตที่ดีขึ้น

    ยอดขาย ‘รถยนต์นั่งส่วนบุคคล’ ลดฮวบ

    เมื่อเเบ่งเป็นประเภทรถยนต์ จะพบว่ารถยนต์นั่งส่วนบุคคลได้รับผลกระทบหนักกว่ารถยนต์เชิงพาณิชย์คาดว่าปีนี้ ยอดขายรถยนต์นั่งส่วนบุคคลจะหดตัว 11.1% ขณะที่รถยนต์เชิงพาณิชย์จะหดตัว 4.1% 

    สาเหตุหลักๆ มาจากโรคระบาดจะบั่นทอนกำลังซื้อและความเชื่อมั่นให้ลดลง โดยเฉพาะพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล และจังหวัดท่องเที่ยว ซึ่งมีความต้องการรถยนต์นั่งส่วนบุคคลสูงกว่ารถยนต์เชิงพาณิชย์

    จากสถิติกรมขนส่งทางบก ระบุว่า ในช่วงครึ่งแรกของปี 2564 ยอดจดทะเบียนรถยนต์ใหม่ป้ายแดงขยายตัว 4.2% จากช่วงเดียวกันของปี 2563 ที่หดตัว 24.1% โดยพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลยังหดตัวต่อเนื่องที่ 1.9%

    ขณะที่พื้นที่เศรษฐกิจที่พึ่งพาภาคธุรกิจการส่งออกและภาคเกษตร ได้แก่ ภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคใต้ เริ่มกลับมาขยายตัวได้ 12.2% 12.1% และ 11.8% ตามลำดับ

    หากการแพร่ระบาดบรรเทาลงในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ พื้นที่เศรษฐกิจที่พึ่งพิงภาคธุรกิจการส่งออกและภาคเกษตร คาดว่าจะสามารถกลับมาฟื้นตัวได้เร็วกว่า ซึ่งในพื้นที่ดังกล่าวผู้บริโภคส่วนใหญ่ มีความต้องการรถยนต์เชิงพาณิชย์มากกว่า ทำให้ยอดขายจะกลับมาฟื้นได้ก่อนรถยนต์นั่งส่วนบุคคล

    ปัจจัยเสี่ยง-ปัยจัยหนุน ตลาดรถยนต์ในไทย มีอะไรบ้าง ?

    สำหรับปัจจัยเสี่ยงที่ต้องติดตามในตลาดรถยนต์ในไทย หลักๆ มาจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งหากไม่คลี่คลายภายในไตรมาส 3 จะส่งผลต่อให้ยอดขายลดลงได้อีก

    ตามมาด้วยกำลังซื้อที่เปราะบางและความเชื่อมั่นด้านสถานะการเงินของผู้บริโภค นอกจาดนี้ยังมีความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงิน เเละหนี้ภาคครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูงกว่า 93% ต่อจีดีพี

    อีกหนึ่งประเด็นที่ต้องจับตามอง ก็คือปัญหาชิปขาดแคลนที่ส่งผลต่อการผลิตรถยนต์ ซึ่งคาดกว่าจะเริ่มผ่อนคลายลงในช่วงไตรมาส 2 ของปี 2565 ตามอัตราการฉีดวัคซีนทั่วโลกที่ครอบคลุมประชากรมากขึ้น ส่งผลให้ผู้ผลิตชิปทั่วโลกกลับมาผลิตได้ปกติอีกครั้ง ประกอบกับความต้องการชิปสำหรับอุปกรณ์การทำงานที่บ้าน (Work from home) ทั้งคอมพิวเตอร์ ระบบคลาวด์ลดลง ทำให้ผู้ผลิตรถยนต์มีชิปสำหรับผลิตรถยนต์ได้เพียงพอ

    ด้านปัจจัยบวกขั้นพื้นฐานที่ยังสนับสนุนเป็นแรงส่งให้ยอดขายรถยนต์กลับมาฟื้นตัวได้ในช่วงปลายปี ได้แก่
    การส่งออกฟื้นตัว รายได้เกษตรกรที่ดีขึ้น การทำโปรโมชันส่งเสริมการขายจากดีลเลอร์ เเละดอกเบี้ยยังอยู่ในระดับต่ำ

    Photo : Shutterstock

    ส่วนประเด็น ‘อายุรถยนต์’ เฉลี่ยบนท้องถนนที่มากขึ้น (รถยนต์นั่งส่วนบุคคลอายุเฉลี่ย 9.7 ปี รถยนต์เชิงพาณิชย์อายุเฉลี่ย 12.3 ปี) ก็ทำให้เกิดความต้องการเปลี่ยนรถใหม่ รวมไปถึงเทคโนโลยีใหม่ของรถยนต์ที่จูงใจผู้ซื้อด้วย

    โดยปัจจัยเหล่านี้จะช่วยประคองให้ยอดขายรถยนต์ฟื้นตัวได้ในไตรมาสที่ 4 ปี 2564 เป็นต้นไป

    ttb analytics เสนอเเนะว่า ภาครัฐและภาคเอกชนในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน ควรเตรียมพร้อมด้วยการเร่งฉีดวัคซีนให้แรงงาน และร่วมมือกันควบคุมการแพร่ระบาดด้วยการทำ ‘Bubble and Seal’ อย่างเป็นระบบ เพื่อรักษาซัพพลายเชนการผลิตไม่ให้หยุดชะงัก ซึ่งหากสามารถจัดการได้ ผนวกกับปัจจัยบวกพื้นฐานของกำลังซื้อรถยนต์ในประเทศ

    ถ้าทำได้ คาดว่ามีโอกาสที่ยอดขายรถยนต์จะสามารถกลับเข้าสู่ระดับปกติ 8.6 แสนคันได้ในปี 2565”

     

    ]]>
    1345601
    KBANK หั่นเป้าจีดีพีปีนี้ เหลือเเค่ 1% ‘ล็อกดาวน์’ สะเทือนธุรกิจ-จ้างงาน ฉุดกำลังซื้อ ความเชื่อมั่นผู้บริโภค https://positioningmag.com/1342512 Thu, 15 Jul 2021 08:27:33 +0000 https://positioningmag.com/?p=1342512 KBANK หั่นเป้าจีดีพีปี 2564 เหลือ 1.0% จากเดิมที่ 1.8% หลังการระบาดรุนเเรงกว่าที่คาดล็อกดาวน์กระทบธุรกิจจ้างงานต่อเนื่อง ฉุดกำลังซื้อความเชื่อมั่นผู้บริโภคประเมินนักท่องเที่ยวต่างชาติมีเเค่ 2.5-6.5 แสนคน เงินบาทอ่อนค่ายาว

    “แม้มีมาตรการเยียวยา แต่ชดเชยผลกระทบเศรษฐกิจไม่ได้ ฉีดวัคซีนอาจต่ำกว่าเป้าหมาย” 

    ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2564 อยู่ที่ 1.0% จากประมาณการเดิมที่ 1.8% เนื่องจากการแพร่ระบาดโควิด-19 มีความรุนแรงกว่าที่เคยประเมินส่งผลกระทบให้ระบบสาธารณสุขของไทยเผชิญข้อจำกัด

    ความจำเป็นที่ต้องมีมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดที่เข้มงวดขึ้น ส่งผลให้ผลกระทบต่อภาคธุรกิจและการจ้างงานมีมากขึ้น และผลกระทบต่อเนื่องไปยังกำลังซื้อและความเชื่อมั่นของผู้บริโภคให้ทรุดตัวไปกว่าเดิม

    ขณะที่มาตรการเยียวยาจากทางภาครัฐ คาดว่าจะช่วยประคองการดำรงชีพที่จำเป็นของประชาชนแต่ไม่สามารถชดเชยผลกระทบทางเศรษฐกิจโดยรวม

    ท่ามกลางการกลายพันธุ์ของไวรัสและจำนวนผู้ติดเชื้อที่กลับมาเพิ่มขึ้นในหลายประเทศ รวมถึงในประเทศไทย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จึงปรับลดกรอบประมาณการจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในปี 2564 ลงมาอยู่ที่ 2.5-6.5 แสนคน จากกรอบประมาณการเดิมที่ 2.5 แสน-1.2 ล้านคน

    แม้ว่าจะมีการเริ่มเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติด้วยโครงการภูเก็ต แซนด์บ็อกซ์และโครงการสมุย พลัส โมเดล” ก็ตาม

    ส่วนแผนการเปิดประเทศในพื้นที่อื่นๆ รวมถึงจำนวนนักท่องเที่ยวที่จะเข้ามาท่องเที่ยวในไทย จะขึ้นอยู่กับสถานการณ์การแพร่ระบาดและการเร่งฉีดวัคซีนเป็นหลัก ขณะที่ในต่างประเทศก็ยังเผชิญความเสี่ยงจากสถานการณ์โควิด-19 ที่ยังมีความไม่แน่นอนสูง

    ด้าน ‘เศรษฐกิจโลก’ มีแนวโน้มฟื้นตัวดีกว่าที่คาด ส่งผลให้ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองการส่งออกไทยปี 2564 จะขยายตัวในอัตราที่เร่งขึ้นมาอยู่ที่ 11.5%

    ทั้งนี้ ประมาณการส่งออกนี้ได้มีการคำนึงถึงปัจจัยเสี่ยงเชิงลบจากปัญหาการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ ค่าระวางเรือที่สูงขึ้น รวมถึงประเด็นที่เกี่ยวเนื่องกับการแพร่ระบาดในประเทศที่อาจจะส่งผลต่อการขาดแคลนแรงงานในภาคอุตสาหกรรม

    ทิศทาง ‘เศรษฐกิจไทย’ ในช่วงที่เหลือของปี 2564 ยังขึ้นอยู่กับสถานการณ์การแพร่ระบาดในประเทศที่ยังคงเผชิญความเสี่ยงสูง ทั้งจากการแพร่ระบาดของสายพันธุ์ใหม่ ประสิทธิภาพของวัคซีน รวมถึงการเร่งฉีดวัคซีนที่อาจต่ำกว่าเป้าหมาย

    หากสถานการณ์การแพร่ระบาดในประเทศยังไม่คลี่คลายลง คาดว่าภาครัฐอาจจำเป็นต้องมีมาตรการดูแลผลกระทบเพิ่มเติม

    ขณะเดียวกัน หากสถานการณ์การแพร่ระบาดเริ่มคลี่คลายลง คาดว่าภาครัฐจะมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อช่วยให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจ มีแรงส่งมากขึ้น โดยใช้งบประมาณภายใต้ พ...กู้เงิน 5 แสนล้านบาท

    ยังต้องติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดในต่างประเทศที่ยังคงมีความไม่แน่นอนอยู่ท่ามกลางการแพร่ระบาดของสายพันธุ์ใหม่ๆ เช่นกัน ซึ่งอาจเป็นปัจจัยกดดันภาคการท่องเที่ยวและการส่งออกของไทยในระยะข้างหน้าได้

    ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้คำนึงถึงปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ในการทบทวนประมาณการเศรษฐกิจไทยแล้ว และคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยปีนี้อาจขยายตัวได้ 1.0%”

    บาทอ่อน รับความเสี่ยงการฟื้นตัวเศรษฐกิจไทย 

    เงินบาทอ่อนค่าลงอย่างรวดเร็ว ท่ามกลางสัญญาณความเสี่ยงที่ชัดเจนมากขึ้นจากสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ระลอกสามที่มีแนวโน้มยากควบคุม เพราะต้องรับมือกับเชื้อกลายพันธุ์

    โดยเงินบาททำสถิติอ่อนค่าสุดในรอบเกือบ 15 เดือน ที่ 32.73 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ระหว่างชั่วโมงการซื้อขายในวันที่ 9 ก.ค. 64 ความเสี่ยงจากสถานการณ์โควิด-19 ที่ยืดเยื้อยังเพิ่มแรงกดดันต่อสถานะดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยให้ขาดดุลมากขึ้น

    ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า เป็นสัญญาณที่ตอกย้ำว่า ปัจจัยพื้นฐานของค่าเงินบาทกำลังอ่อนแอลง พร้อมกับความเสี่ยงต่อแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในระยะที่เหลือของปี

    โดยเงินบาท มีความเป็นไปได้ที่จะอ่อนค่าต่อเนื่องไปทดสอบระดับ 33.00 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งก่อนสิ้นปี 2564 หากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในประเทศยังไม่ลดระดับความเสี่ยงลงมา และเฟดสามารถเริ่มทยอยส่งสัญญาณเตรียมคุมเข้มนโยบายการเงินได้ในช่วงปลายไตรมาสที่ 3 ตามที่ตลาดประเมินไว้

    อย่างไรก็ดี หากเศรษฐกิจสหรัฐฯ ฟื้นตัวได้ไม่แรง หรือเผชิญกับสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 อีกระลอก ก็อาจส่งผลทำให้ตลาดต้องกลับมาประเมินการคาดการณ์ในเรื่องจังหวะการปรับนโยบายการเงินของสหรัฐฯ ใหม่อีกครั้ง ซึ่งปัจจัยดังกล่าวจะทำให้เงินดอลลาร์อ่อนค่า และอาจช่วยหนุนให้เงินบาทกลับมาแข็งค่าได้ โดยเฉพาะหากสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศคลี่คลายลง

     

    ]]>
    1342512
    ‘กรุงศรี คอนซูมเมอร์’ ยกเครื่องดิจิทัล หาลูกค้าบัตรเครดิตทางออนไลน์ คุม ‘หนี้เสีย’ พุ่ง https://positioningmag.com/1319604 Tue, 16 Feb 2021 11:06:55 +0000 https://positioningmag.com/?p=1319604 วิกฤต COVID-19 ส่งผลต่อยอดการใช้จ่าย กระทบธุรกิจบัตรเครดิตสินเชื่อส่วนบุคคลกรุงศรี คอนซูมเมอร์ประกาศเเผนกลยุทธ์ปี 2564 ยกเครื่องสู่ดิจิทัลเต็มสูบ หาลูกค้าทางออนไลน์ คุมหนี้เสียเข้มงวดออกบัตร จับมือพันธมิตรหารายได้ใหม่ ตั้งเป้าปีนี้ยอดใช้จ่ายผ่านบัตรเริ่มฟื้นตัวที่ 305,000 ล้านบาท

    โดยในปี 2563 ที่ผ่านมากรุงศรี คอนซูมเมอร์ ผู้ให้บริการบัตรเครดิตกรุงศรี บัตรกรุงศรีเฟิร์สช้อยส์ บัตรเครดิตเซ็นทรัล เดอะวัน และบัตรเครดิตเทสโก้ โลตัส วีซ่า มียอดใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตรวมทั้งสิ้น 280,000 ล้านบาท (-11% เทียบกับปี 2562) ยอดสินเชื่อใหม่ 79,000 ล้านบาท (-21%) ยอดสินเชื่อคงค้าง 144,000 ล้านบาท (-4%)

    ส่วนจำนวนบัญชีลูกค้าใหม่อยู่ที่ 488,000 ราย ลดลงถึง -51% จากปีก่อนซึ่งอยู่ที่ 9 เเสนบัญชี โดยมีปัจจัยหลักๆ มาจากพิษเศรษฐกิจที่ตกต่ำ พนักงานประจำซึ่งเป็นลูกค้ากลุ่มใหญ่ มีรายได้ลดลง หลายคนต้องอยู่ในภาวะตกงาน

    โดยหมวดการใช้จ่ายสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ ประกันภัย , ไฮเปอร์มาร์เก็ตเเละซูเปอร์มาเก็ต ,อุปกรณ์แต่งบ้านเครื่องใช้ในครัวเรือน , น้ำมัน , ช้อปปิ้งออนไลน์กระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ , ห้างสรรพสินค้า , โรงพยาบาล , สินค้าเเฟชั่น , อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เเละเครื่องใช้ไฟฟ้า , อาหารเเละเครื่องดื่ม

    ด้าน 5 หมวดใช้จ่ายผ่านบัตรที่เติบโตมากที่สุดในปี 2563 ได้เเก่ ช้อปปิ้งออนไลน์ , โทรศัพท์มือถือ WiFi เเละอินเทอร์เน็ต , ร้านสะดวกซื้อ , ร้านขายยา , ไฮเปอร์มาร์เก็ตเเละซูเปอร์มาเก็ต

    ยอดใช้จ่ายในหมวดช้อปปิ้งออนไลน์ ติดอันดับ 5 ที่ใช้จ่ายผ่านบัตรสูงสุด มีอัตราการเติบโตถึง 50% แซงหมวดห้างสรรพสินค้า ทำให้เห็นถึงเทรนด์ผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป

    กาง 4 กลยุทธ์ ยกเครื่องสู่ดิจิทัล 

    ณญาณี  เผือกขำ ประธานกรรมการ กรุงศรี คอนซูมเมอร์ เปิดเผยถึงแผนการกำเนินธุรกิจ ‘2021 Business Direction’ ว่า จากเเนวโน้มสภาวะตลาดโดยรวม ยังต้องเผชิญกับผลกระทบโรคระบาด ส่งผลต่อสภาพเศรษฐกิจ ภาวะการว่างงาน และทำให้กำลังซื้อลดลง รวมถึงอัตราส่วนสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ที่คาดว่าจะปรับตัวสูงขึ้น

    ตัวเลข NPL ของกรุงศรี คอนซูมเมอร์ ณ ไตรมาสที่ 4 ของปี 2563 สินเชื่อบัตรเครดิตอยู่ที่ 1.2% สินเชื่อส่วนบุคคลและสินเชื่อผ่อนชำระ อยู่ที่ 3.4% ใกล้เคียงกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และถือว่าต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในอุตสาหกรรม

    มองว่าจากมาตรการช่วยเหลือลูกค้าต่อเนื่องระยะที่ 1-2 ในปีที่ผ่านมา และต่อเนื่องไปจนถึงปลายปี 2564 จะทำให้ NPL ไม่ได้เร่งเพิ่มขึ้นรุนแรงมากนัก

    คาดว่าจะเห็นอัตรา NPL ของบัตรเครดิตปรับตัวขึ้นสูงสุดในช่วงเดือนมกราคมมีนาคมของปีนี้ เเละ NPL ของสินเชื่อส่วนบุคคล จะขยับไปอยู่ที่ระดับ 4%

    ณญาณี เผือกขำ ประธานกรรมการ กรุงศรี คอนซูมเมอร์

    ผู้บริหารกรุงศรี คอนซูมเมอร์ บอกว่า ท่ามกลางวิกฤตโรคระบาด ยังมีโอกาสใหม่ๆ ของธุรกิจจากพฤติกรรมของลูกค้าที่เปลี่ยนไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปิดรับนวัตกรรมและเทคโนโลยีของคนไทย

    โดยมองว่าจะเป็นตัวเร่งให้สังคมไทยก้าวสู่การเป็นสังคมไร้เงินสดได้แบบก้าวกระโดด จึงเป็นที่มาของการปรับเเผนธุรกิจครั้งใหญ่ ซึ่งจะเน้นไปที่การบริหารคุณภาพสินเชื่ออย่างรัดกุม พร้อมดูแลช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่อง ควบคู่ไปกับการบริหารค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน โดยได้วางกลยุทธ์หลักๆ 4 ประการ ดังนี้

    • พัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน เช่น การใช้ระบบดิจิทัลและการนำหุ่นยนต์มาใช้ในกระบวนการทำงานที่มีการทำซ้ำ (Robotic Process Automation-RPA) ซึ่งช่วยลดชั่วโมงการทำงานได้ 2,833 ชั่วโมงต่อเดือน พร้อมพัฒนา ‘AI มะนาว’ เเละบริการอื่นๆ บนแอปพลิเคชั่น UCHOOSE ที่ปัจจุบันมียอดใช้งานราว 6 ล้านคน
    • นำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกมาใช้ (Data Intelligence Capabilities) เพื่อให้เข้าใจความต้องการของลูกค้า และนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่ตรงใจลูกค้ายิ่งขึ้น
    • ร่วมมือกับบริษัทในเครือกรุงศรีฯ และพันธมิตรชั้นนำทางธุรกิจ เพื่อเพิ่มโอกาสการขยายฐานลูกค้า และแสวงหาแหล่งรายได้ใหม่
    • พัฒนาศักยภาพบุคลากร เพื่อก้าวให้ทันโลกธุรกิจยุคใหม่ มีการเทรนนิ่งผ่านระบบการเรียนออนไลน์ ส่งเสริมให้ใช้เครื่องมือดิจิทัล

    สำหรับเป้าหมายทางธุรกิจการเติบโตในปี 2564 กรุงศรี คอนซูมเมอร์ ตั้งเป้ายอดใช้จ่ายผ่านบัตร อยู่ที่ 305,000 ล้านบาท หรือเติบโต 9% ยอดสินเชื่อใหม่ 88,000 ล้านบาท เติบโต 11% ยอดสินเชื่อคงค้าง 148,000 ล้านบาท เติบโต 3% และจำนวนลูกค้าใหม่ 583,000 ราย เติบโต 19%

    “จะเน้นไปในกลุ่มลูกค้าใหม่ๆ ที่ยังไม่ได้ใช้สินเชื่อ เเละจะมีการหาลูกค้าผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น” 

    โดยเป้าจำนวนลูกค้าใหม่ของปี 2564 ที่ตั้งไว้ราว 5 เเสนรายนั้น ยังถือว่า ‘ต่ำกว่า’ ระดับก่อนหน้าที่จะเกิดวิกฤต COVID-19 ที่จะอยู่ประมาณ 900,000 ราย (ปีที่เเล้วอยู่ที่ 4.8 เเสนราย) ซึ่งหากมองดูจากสถานการณ์ เห็นว่า สภาพเศรษฐกิจเเละอัตราหนี้ครัวเรือนที่สูง ‘ไม่เอื้อต่อการเพิ่มบัตรใหม่มากนัก’

    ส่วนการเเข่งขันในตลาดบัตรเครดิตปีนี้ ผู้บริหารกรุงศรี คอนซูมเมอร์ มองว่าจะมีการเเข่งขันที่สูง มีการทุ่มออกโปรโมชั่นจูงใจต่างๆ เเต่ด้วยกำลังซื้อที่ลดลงตามสถานการณ์ ก็ต้องยอมรับว่าปีนี้ยังเป็นปีที่ท้าทาย บริษัทจึงจะเน้นไปที่การช่วยเหลือลูกค้าเก่าให้อยู่ได้ ยืดระยะเวลาการผ่อนชำระ และไม่สนับสนุนให้ลูกค้าใช้จ่ายเกินความจำเป็น

     

    ]]>
    1319604
    ปี 2563 ตลาดบ้าน-คอนโดหดแรง 35% ปี 2564 อึมครึม ลุ้นกำลังซื้อฟื้น-ราคายังปรับขึ้นยาก https://positioningmag.com/1311005 Thu, 17 Dec 2020 13:05:55 +0000 https://positioningmag.com/?p=1311005
  • LPN ประเมินโครงการบ้าน-คอนโดทั้งตลาดเปิดใหม่ 10 เดือนแรกของปี 2563 หดตัว 35% เทียบช่วงเดียวกันปีก่อน CBRE ประเมินเฉพาะตลาดคอนโดฯ มีการเปิดใหม่ลดลงถึง 57% และลดราคาหนัก สูงสุดที่พบคือ 20-25%
  • มองภาพปี 2564 การเปิดตัวโครงการใหม่น่าจะกลับมาเติบโตได้ราว 5% แต่ฝั่งกำลังซื้อยังน่าห่วง น่าจะยังทรงตัวหรือโตได้เพียงเล็กน้อย จากอัตราการว่างงานที่เสี่ยงเพิ่มขึ้น และธนาคารเข้มงวดการอนุมัติสินเชื่อบ้าน ลูกค้ากู้ไม่ผ่านสูงสุด 50-60%
  • ศุภาลัยมองต่างมุม ปี 2564 การเปิดตัวโครงการใหม่อาจไม่เติบโตเลย และผู้บริโภคจะยังต้องการโปรโมชันลดราคา
  • ประมวลทิศทางตลาดอสังหาริมทรัพย์ปี 2563 และคาดการณ์ตลาดปี 2564 “ประพันธ์ศักดิ์ รักษ์ไชยวรรณ” กรรมการผู้จัดการ บริษัท ลุมพินี วิสดอม แอนด์ โซลูชั่น จำกัด (LPN Wisdom) เปิดเผยผลวิจัยตลาดอสังหาฯ ในเขตกรุงเทพฯ – ปริมณฑล พบว่า ช่วง 10 เดือนแรกของปี 2563 มีโครงการเปิดตัวใหม่ 58,087 หน่วย ลดลง 36% เทียบช่วงเดียวกันปีก่อน หากคิดเป็นมูลค่าจะอยู่ที่ 2.31 แสนล้านบาท ลดลง 35% เทียบช่วงเดียวกันปีก่อน

    โดยถ้าแบ่งสัดส่วนตามประเภทสินค้า 65% ของที่เปิดขายจะเป็นกลุ่มโครงการแนวราบ บ้านเดี่ยว-บ้านแฝด-ทาวน์เฮาส์ ขณะที่อีก 35% เป็นคอนโดมิเนียม

    ปีนี้เป็นปีที่คอนโดฯ เปิดใหม่ลดน้อยลงมาก จากข้อมูลโดย “รัฐวัฒน์ คูวิจิตรสุวรรณ” หัวหน้าแผนกวิจัยและที่ปรึกษาการพัฒนาโครงการ ซีบีอาร์อี ประเทศไทย (CBRE) พบว่าตลาดคอนโดฯ ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2563 มีการเปิดตัวเพียง 18,630 ยูนิต ลดลงถึง 57% จากช่วงเดียวกันปีก่อน

    การหดตัวของตลาดนั้นเกิดจากเศรษฐกิจฝืดเนื่องจากโรคระบาด COVID-19 ทำให้ผู้ประกอบการต่างชะลอการเปิดโครงการ โดยเฉพาะกลุ่มคอนโดฯ นั้น CBRE วิเคราะห์ว่า COVID-19 ทำให้ผู้อยู่อาศัยเปลี่ยนพฤติกรรม หลายบริษัทอนุญาตให้ทำงานที่บ้านได้มากขึ้น คนจึงมีความต้องการคอนโดฯ ในเมืองน้อยลง ประกอบกับผู้ซื้อต่างชาติซึ่งเคยเป็นลูกค้าสำคัญ ก็ไม่สามารถบินเข้ามาซื้อห้องชุดได้ ทำให้ตลาดคอนโดฯ สะดุดแรง

     

    2564 โครงการเปิดใหม่อาจติดล็อก เพราะธนาคารเข้มการให้สินเชื่อ

    สำหรับปี 2564 ทางศูนย์วิจัย LPN Wisdom คาดการณ์ว่าจะมีโครงการเปิดใหม่ 72,000-80,000 หน่วย หรือเพิ่มขึ้น 10-20% เทียบกับปี 2563 แต่ถ้าหากคิดเป็นมูลค่าจะอยู่ที่ 3.0-3.15 แสนล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นราว 5% เทียบกับปี 2563

    สาเหตุที่มองว่าตลาดจะกลับมาโตได้ มาจากการคาดการณ์ของสภาพัฒน์ว่า จีดีพีไทยปี 2564 น่าจะฟื้นกลับมาโตที่ 3.5-4.5% เทียบกับปีนี้ที่ติดลบ 7-8% ทำให้เศรษฐกิจน่าจะดีขึ้น รวมถึงเห็นเทรนด์การเปิดโครงการใหม่ในตลาดช่วงไตรมาส 4/63 เริ่มกลับมาเพิ่มขึ้นแล้ว เนื่องจากผู้ประกอบการเริ่มระบายสต๊อกไปได้มาก และจำเป็นต้องเปิดตัวใหม่เพื่อให้มีแบ็กล็อกสำหรับทำรายได้ต่อเนื่อง

    ปี 2564 กรุงเทพฯ อาจมีโครงการเปิดใหม่เพิ่มขึ้นจากปี 2563 ไม่มากนัก (Photo : Phong Bùi Nam / Pixabay)

    อย่างไรก็ตาม “ไตรเตชะ ตั้งมติธรรม” กรรมการผู้จัดการ บมจ.ศุภาลัย มองต่างมุมว่า การเปิดตัวโครงการใหม่ปี 2564 น่าจะทรงตัวใกล้เคียงกับปี 2563 วัดจากการยื่นขออนุมัติการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ที่มีโครงการใหม่เข้ายื่นขอน้อยลง ทำให้โครงการที่จะเปิดตัวปีหน้าอาจจะไม่สูงอย่างที่คาดการณ์กัน โดยเฉพาะกลุ่มคอนโดมิเนียมที่น่าจะเปิดตัวน้อยกว่าปี 2563

    นอกจากเหตุผลดังกล่าว ไตรเตชะยังฉายภาพอุปสรรคด้านแหล่งเงินทุนด้วย โดยช่วงหลังจากเกิดการระบาดของ COVID-19 ธนาคารเริ่มเข้มงวดการให้สินเชื่อเพื่อพัฒนาโครงการอสังหาฯ (pre-finance) มีการปรับสัดส่วนลงจากเดิมให้กู้สูงสุดที่ 70% ของมูลค่าการลงทุน เหลือเพียง 40% ของมูลค่าการลงทุน ทำให้ผู้ประกอบการต้องมีเงินทุนในบริษัทเพียงพอเพื่อพัฒนาโครงการใหม่ อุปสรรคนี้เชื่อว่าจะทำให้ผู้ประกอบการที่พึ่งพิงเงินกู้ธนาคารเป็นหลักจะเปิดตัวโครงการใหม่ได้น้อยลง

     

    ขายยาก กู้ไม่ผ่าน ผู้ประกอบการลดราคาสู้

    นอกจากปี 2563 จะเปิดขายใหม่กันน้อยลงแล้ว การขายสต็อกเดิมก็ยากลำบากมากขึ้นด้วย โดย LPN Wisdom พบว่า จำนวนหน่วยเปิดขายทั้งหมดช่วง 10 เดือนแรกของปี 2563 มีอัตราการขายเพียง 19% เท่านั้น เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนที่มีอัตราการขาย 26%

    ตัวอย่างโปรโมชันอสังหาฯ 2563 ลดราคากระหน่ำ

    นอกจากนี้ ผู้ซื้อที่ตัดสินใจซื้อแล้วก็ยังมีสิทธิ “กู้ไม่ผ่าน” ซึ่งจะทำให้ยูนิตนั้นต้องวนกลับมาขายใหม่ โดยปี 2563 นั้น LPN Wisdom พบว่า ภาระหนี้ครัวเรือนสูงเกือบ 90% แล้ว และฝั่งธนาคารก็เข้มงวดการให้สินเชื่อบ้านมากขึ้นอีก ผลก็คือลูกค้าถูกปฏิเสธสินเชื่อมากขึ้น โดยแบ่งตามระดับราคา ดังนี้

    • กลุ่มที่อยู่อาศัยราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท อัตราปฏิเสธสินเชื่อ 50-60%
    • กลุ่มที่อยู่อาศัยราคา 3-7 ล้านบาท อัตราปฏิเสธสินเชื่อ 30-40%
    • กลุ่มที่อยู่อาศัยราคามากกว่า 7 ล้านบาท อัตราปฏิเสธสินเชื่อ 10-15%

    สภาวะ “ขายยาก” ทำให้ผู้ประกอบการต้องลดราคาทำโปรโมชัน โดย CBRE พบว่า คอนโดฯ มีการลดราคาสูงสุดที่ 20-25% เพราะผู้ประกอบการต้องการหมุนเงินสดเข้ามาให้เร็วที่สุดในช่วงเวลาที่ท้าทายของปีนี้ สอดคล้องกับข้อมูลจาก ไตรเตชะ เอ็มดีศุภาลัย กล่าวว่า สภาวะตลาดปีนี้เป็นตลาดของผู้ซื้ออย่างแท้จริง เนื่องจากผู้ประกอบการ แข่งขันกันทำโปรโมชันสูง ทำให้ลูกค้าคาดหวังการลดราคาอย่างน้อย 20-30% จากผู้ขาย

     

    ปีหน้า “กำลังซื้อ” จะเป็นอย่างไร?

    จากสถานการณ์ตลาดปีนี้ที่ “โหด” กับนักพัฒนาอสังหาฯ ปีหน้าจะดีขึ้นหรือยัง? LPN Wisdom มองว่า กำลังซื้อที่อยู่อาศัยปี 2564 น่าจะทรงตัวเท่ากับปี 2563 หรือสถานการณ์ที่ดีที่สุดคือเติบโต 3-5%

    โดยปัจจัยบวกที่มองเห็นคือการเติบโตทางเศรษฐกิจที่คาดว่าจะดีขึ้น เนื่องจากข่าวการวิจัย “วัคซีน” สำเร็จและน่าจะนำมาใช้ในไทยช่วงกลางปี 2564 ส่งผลให้กำลังซื้ออาจกลับมาฟื้นตัวได้ในช่วงครึ่งปีหลัง

    ประกอบกับ “การก่อสร้างรถไฟฟ้า” โดยสายสีเขียวเหนือส่วนต่อขยายหมอชิต-คูคตและรถไฟฟ้าสายสีทอง กรุงธนบุรี-คลองสาน เสร็จสิ้น เปิดใช้บริการเมื่อวันที่ 16 ธ.ค. 63 และอีกสองเส้นทางคือรถไฟฟ้าสายสีเหลือง สำโรง-ลาดพร้าว และสายสีชมพู แคราย-มีนบุรี ตามกำหนดการจะก่อสร้างเสร็จปี 2564 ทำให้น่าจะเป็นตัวเร่งให้เกิดความต้องการที่อยู่อาศัยตามแนวรถไฟฟ้าที่สร้างเสร็จสูงขึ้น

    รถไฟฟ้าสายสีทอง กรุงธนบุรี-คลองสาน

    อย่างไรก็ตาม ปัจจัยลบก็ยังคงเป็นเรื่อง “ภาระหนี้ครัวเรือน” และ “ความเสี่ยงจากการเลิกจ้าง” โดยสภาพัฒน์ประเมินว่าอัตราว่างงานของปี 2563 อยู่ที่ 1.9% หรือเท่ากับ 7.4 แสนคน อาจจะเพิ่มขึ้นเป็น 2-3% ในปี 2564 หรือเท่ากับ 2 ล้านคน ความเสี่ยงนี้จะทำให้กำลังซื้อในตลาดต่ำลง และทำให้ผู้ซื้อบางรายเลื่อนแผนการซื้ออสังหาฯ ออกไปก่อนเพราะไม่มั่นใจเรื่องความมั่นคงทางการงาน

    ไตรเตชะกล่าวสอดคล้องกันว่า กำลังซื้อของลูกค้าปี 2564 น่าจะดีขึ้นบ้างตามภาวะเศรษฐกิจที่น่าจะปรับตัวดีขึ้น แต่สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือ ลูกค้ายังคงคาดหวังกับโปรโมชันลดราคาหนักแบบเดียวกับปีนี้ ทำให้การพัฒนาอสังหาฯ ให้ได้ราคาตามต้องการ และทำตลาดให้ลูกค้ารู้สึกถึงความคุ้มค่า จะยังเป็นโจทย์ต่อเนื่อง

    ]]>
    1311005
    3 ปีกำลังซื้ออสังหาฯ หด 9 แสนล้าน! คนไทย 75% ชะลอซื้อบ้าน ความสามารถในการซื้อต่ำลง https://positioningmag.com/1309568 Tue, 08 Dec 2020 12:53:01 +0000 https://positioningmag.com/?p=1309568
  • TDRI ประเมินช่วง 3 ปี (2563-2565) กำลังซื้อในตลาดอสังหาฯ หดตัวรวมถึง 9 แสนล้านบาท จากพิษ COVID-19 ทำให้หนี้ครัวเรือนพุ่งสูง คาดการณ์ปี 2565 ตลาดอสังหาฯ จะกลับมามีมูลค่าเท่ากับปี 2562 หรือโตกว่าเล็กน้อย
  • ระยะยาวแนะนำเปิดโควตาให้ชาวต่างชาติซื้ออสังหาฯ ไทยได้มากขึ้น เพื่อเสริมกำลังซื้อที่หายไป เนื่องจากไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ทำให้ดีมานด์ที่อยู่อาศัยของคนไทยจะเริ่มลดลง
  • DDproperty พบข้อมูลสอดคล้องกัน ผู้บริโภค 75% ชะลอการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัย จากปกติมักจะตัดสินใจภายในเวลา 1 ปี เพิ่มขึ้นเป็น 1-2 ปี และประเมินตนเองมีความสามารถซื้อบ้านต่ำลงจาก 67% เหลือ 57%
  • Positioning รายงานจากเวทีเสวนา “ตีโจทย์ตลาดบ้าน 2020 และ DDproperty Thailand Market Outlook 2021” ฟังข้อมูลจาก ดร.นณริฏ พิศลยบุตร นักวิชาการอาวุโส สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ร่วมให้ข้อมูลบนเวทีในแง่ภาพรวมคาดการณ์ตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทย และข้อแนะนำต่อภาครัฐ

    TDRI คาดการณ์กำลังซื้อในตลาดอสังหาฯ รวม 3 ปีคือปี 2563-2565 จะหายไปจากตลาดรวมถึง 9 แสนล้านบาท โดยปี 2563 คือปีที่สาหัสที่สุดก่อนจะค่อยๆ ฟื้นตัวดีขึ้น จนถึงปี 2565 น่าจะกลับไปเท่ากับหรือมากกว่าปี 2562 ซึ่งเป็นช่วงก่อนเกิดวิกฤต COVID-19 หรือถ้าหากคิดเป็นจำนวนยูนิตที่ซื้อขายในตลาด คาดการณ์จำนวนยูนิตขาย ดังนี้

    • ปี 2562 : 3.93 แสนยูนิต
    • ปี 2563 : 3.35 แสนยูนิต
    • ปี 2564 : 3.73 แสนยูนิต
    • ปี 2565 : 4.03 แสนยูนิต

    โดยปี 2563 นั้นตลาดอสังหาฯ ได้รับผลกระทบจากวิกฤต COVID-19 ไม่ต่างจากธุรกิจอื่นๆ วิกฤตเศรษฐกิจครั้งนี้ส่งให้ตัวเลขหนี้ครัวเรือน 78.9% เมื่อปี 2562 เพิ่มเป็น 86% ในปีนี้ และทำให้คนตกงานเพิ่มจาก 6.3 แสนคนเมื่อเดือนเมษายน 2563 เป็น 8.1 แสนคนเมื่อเดือนตุลาคม 2563 โดยเฉพาะกลุ่มเด็กจบใหม่ซึ่งจะหางานทำได้ยาก

    อย่างไรก็ตาม หากมองในแง่บวกพบว่าภาพรวมเศรษฐกิจไทยอยู่ในช่วงฟื้นตัวจากจุดต่ำสุดแล้ว ไม่ว่าจะเป็นตลาดธุรกิจส่งออกหรือตลาดทุน แม้จะติดลบเมื่อเทียบกับปี 2562 แต่ดีขึ้นจากช่วงเดือนเมษายน 2563

    แต่มีเพียงธุรกิจเดียวที่ยังไม่สามารถฟื้นได้เลยคือ ธุรกิจท่องเที่ยวและธุรกิจเกี่ยวเนื่อง เช่น ร้านอาหารในแหล่งท่องเที่ยว ต้องรอจนกว่าวัคซีนป้องกัน COVID-19 จะฉีดให้กับประชาชนทั่วโลกอย่างแพร่หลายในปีหน้า และทำให้การเดินทางกลับมาเป็นปกติ ซึ่งสถานการณ์ที่ดีที่สุดที่เป็นไปได้ (best case scenario) คือช่วงครึ่งปีหลัง 2564 นักท่องเที่ยวต่างชาติอาจจะกลับเข้ามาประเทศไทยได้ราว 50% ของปกติ

    ดร.นณริฏกล่าวว่า กำลังซื้อสำคัญสำหรับอสังหาฯ ในช่วงนี้จึงเป็นกลุ่มข้าราชการ พนักงานของรัฐ และกลุ่มคนระดับบนซึ่งไม่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจหรือรับผลกระทบน้อย รองลงมาคือกลุ่มคนทำงานในอุตสาหกรรมที่ไม่เกี่ยวข้องกับภาคท่องเที่ยวกำลังทยอยฟื้นคืนกลับมา ส่วนผู้ที่ทำงานในธุรกิจท่องเที่ยว การบิน อาจจะต้องรอกำลังซื้อฟื้นในช่วงครึ่งปีหลัง 2564

     

    แนะนำดึงกำลังซื้อต่างชาติเข้าช่วย

    นอกจาก COVID-19 ที่เป็นปัญหาทุบเศรษฐกิจไทยเกือบทุกธุรกิจ ดร.นณริฏกล่าวว่า ภาคอสังหาฯ มีปัญหาพื้นฐานที่จะส่งผลอย่างชัดเจนในอีกสิบปีข้างหน้าคือ “การเข้าสู่ภาวะสังคมสูงวัย” โดยเริ่มที่ปี 2563 เป็นปีแรก เมื่อไทยเป็นสังคมสูงวัย เท่ากับว่ามีคนอยู่ในวัยทำงานน้อยลง ทำให้มีดีมานด์ซื้อที่อยู่อาศัยน้อยลง และจะทำให้ตลาดหดตัว

    ไทยกำลังเข้าสู่สังคมสูงวัย กำลังซื้ออสังหาฯ จะต่ำลง TDRI แนะดึงดีมานด์ชาวต่างชาติเข้ามาเสริม

    เพื่อแก้ปัญหาทั้งระยะสั้นและระยะยาว ดร.นณริฏแนะนำว่า ภาครัฐควรพิจารณาการเพิ่มโควตาและส่งเสริมให้ชาวต่างชาติซื้ออสังหาฯ ในไทยได้มากขึ้น แต่ต้องวางนโยบายอย่างระมัดระวังไม่ให้กระทบกับการเข้าถึงที่อยู่อาศัยของคนไทย เช่น เปิดโควตาให้ต่างชาติเป็นเจ้าของคอนโดฯ ได้ 60-70% ของโครงการ เฉพาะคอนโดฯ ราคามากกว่า 5 ล้านบาท ในเขตพื้นที่ที่ต้องการส่งเสริมให้มีชาวต่างชาติเข้ามาทำงานอย่างเขต EEC หรือเขตศูนย์กลางธุรกิจของกรุงเทพฯ

    ดร.นณริฏเห็นว่า วิธีนี้เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการเพิ่มกำลังซื้อ และแนะนำว่าภาครัฐไม่ควรลดความเข้มงวดของเกณฑ์ LTV (Loan-to-Value) ในการพิจารณาสินเชื่อบ้าน เพราะเสี่ยงต่อการเพิ่มหนี้เสียในระบบ รวมถึงไม่ควรอุดหนุนภาคอสังหาฯ ด้วยงบประมาณจากภาษี เพราะสถานะการคลังปัจจุบันอยู่ในโซน “สีแดง” แล้วจากนโยบายรัฐอื่นๆ ที่เคยอนุมัติ

     

    DDproperty พบผู้บริโภคดีเลย์ซื้อบ้าน ไม่มั่นใจศักยภาพ

    ด้านผลสำรวจจาก DDproperty ในหัวข้อผลกระทบจาก COVID-19 ต่อพฤติกรรมการซื้ออสังหาฯ พบว่า ผู้บริโภคที่ตอบแบบสอบถาม 75% เลือกที่จะชะลอการตัดสินใจซื้ออสังหาฯ ออกไปก่อน โดยเหตุผลหลักที่ตอบมากที่สุดคือ “ไม่มั่นใจในราคาอสังหาฯ ซึ่งมีความผันผวนมากขึ้น” และ “เชื่อว่าการกู้สินเชื่อบ้านจะยากขึ้น”

    เมื่อถามว่าผู้บริโภคจะตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยภายในระยะเวลาเท่าไหร่ ปรากฏว่ามีผู้ตอบว่าจะซื้อภายใน 1 ปีเพียง 20% และกลายเป็นว่าผู้บริโภคกลุ่มใหญ่ที่สุด 36% ตอบว่าจะตัดสินใจซื้อบ้านภายใน 1-2 ปี ตัวเลขเหล่านี้สะท้อนการ “ดีเลย์” การซื้อบ้าน เพราะเมื่อปี 2562 คนส่วนใหญ่จะตัดสินใจภายใน 1 ปี

    ผู้บริโภคประเมินตนเองว่ามีความสามารถที่จะซื้อบ้านต่ำลงในช่วงครึ่งปีหลัง 2563

    นอกจากนี้ ผู้บริโภคยังประเมินความสามารถในการซื้อบ้านของตนเองต่ำลง จากครึ่งปีแรก 2563 มีผู้ตอบว่าตนเองน่าจะซื้อบ้านได้/ซื้อบ้านได้อย่างแน่นอน รวมกันถึง 67% แต่ในช่วงครึ่งปีหลัง 2563 ตัวเลขนี้ลดลงเหลือ 57% จะเห็นได้ว่ามีกลุ่มที่ตอบว่าไม่แน่ใจ/ไม่น่าจะซื้อบ้านได้/ซื้อบ้านไม่ได้อย่างแน่นอน รวมกันมากขึ้นกว่าเดิม

     

    บ้านเดี่ยว-ทาวน์เฮาส์เขตชานเมืองมาแรง

    ส่วนความสนใจซื้อของผู้บริโภค ประเมินจากการค้นหาที่อยู่อาศัยบนแพลตฟอร์มของ DDproperty ตลอดปี 2563 พบว่าปีนี้เป็นปีทองของ “บ้านเดี่ยวชานเมือง” เพราะพบว่าบ้านเดี่ยวได้รับความสนใจเพิ่มขึ้นถึง 30% รองลงมาคือทาวน์เฮาส์เพิ่มขึ้น 10% ในทางกลับกัน คอนโดมิเนียมได้รับความสนใจลดลง -2%

    ความสนใจซื้อบ้านเพิ่มขึ้นในเขตชานเมือง

    ทำเลชานเมืองมีการหาซื้อบ้านเพิ่มขึ้นสูงมาก ภาพรวมเขตรอบนอกกรุงเทพฯ มีการค้นหาเพิ่มขึ้น 46% หากแบ่งตามเขตที่ได้รับความสนใจเพิ่มขึ้นสูงสุด ได้แก่

    • เขตมีนบุรี เพิ่มขึ้น 74%
    • เขตภาษีเจริญ เพิ่มขึ้น 61%
    • เขตสายไหม เพิ่มขึ้น 58%
    • เขตบางแค เพิ่มขึ้น 58%
    • เขตจตุจักร เพิ่มขึ้น 38%

    ในแง่ราคา กลุ่มที่ได้รับความสนใจสูงสุดคือราคา 1-3 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 16% รองลงมาคือกลุ่ม 3-5 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 12% และกลุ่ม 5-10 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3% อย่างไรก็ตาม ควรระมัดระวังกลุ่ม 1-3 ล้านบาท เพราะถึงแม้จะมีผู้สนใจซื้อมาก แต่ซัพพลายในตลาดนั้นเพิ่มขึ้นมากยิ่งกว่า!

    ]]>
    1309568
    บรรดาห้างใหญ่ในฮ่องกง งัดกลยุทธ์ทุ่ม “เเจกคูปองเงินสด-iPad” ดึงคนกลับมาช้อปปิ้ง https://positioningmag.com/1285462 Sat, 27 Jun 2020 10:56:46 +0000 https://positioningmag.com/?p=1285462 บรรดาห้างสรรพสินค้ารายใหญ่ในฮ่องกง งัดสารพัดกลยุทธ์ดึงดูดลูกค้าให้กลับมาช้อปปิ้งอีกครั้ง ทุ่มเเจกบัตรกำนัลคูปองเงินสด เเจก iPad เเละของขวัญต่างๆ 

    เศรษฐกิจฮ่องกงได้รับผลกระทบอย่างหนักจาก COVID-19 และการประท้วงที่ยืดเยื้อ ทำให้ห้างสรรพสินค้าขาดรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติ ขณะที่ชาวฮ่องกงเองก็ยังมีความกังวลเเละระมัดระวังในการออกจากบ้าน เพื่อเลี่ยงความเสี่ยงการติดโรคระบาด

    ก่อนหน้านี้ ทางรัฐบาลฮ่องกง พยายามกระตุ้นการใช้จ่าย ด้วยมาตรการแจกเงินให้แก่ผู้พำนักถาวรที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป คนละ 10,000 ดอลลาร์ฮ่องกง (ราว 40,000 บาท) ซึ่งคาดว่าจะเอื้อประโยชน์ให้ผู้ประชาชนราว 7 ล้านคน

    Sun Hung Kai บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ใหญ่ที่สุดในฮ่องกง ซึ่งมีห้างใหญ่ในเครือทั้งหมด 24 สาขา ประกาศแจกบัตรกำนัลเงินสดให้ลูกค้าที่มาเดินห้างในวันหยุดสุดสัปดาห์และวันหยุดราชการ ตลอดเดือนก.. โดยลูกค้าที่มียอดใช้จ่ายมากที่สุดในแต่ละวันของแต่ละสาขาจะได้รับบัตรกำนัลเงินสดมูลค่า 10,000 ดอลลาร์ฮ่องกง 

    พร้อมกันนั้นจะมีการจัดเทศกาลลดราคาตามห้างสรรพสินค้าหลัก 12 สาขา พร้อมแจกบัตรกำนัลเงินสด 30-80 ดอลลาร์ฮ่องกง (ราว 120-318 บาท) ให้แก่ลูกค้าที่มียอดใช้จ่ายไม่ต่ำกว่า 500 ดอลลาร์ฮ่องกง (ราว 1,990 บาท) ระหว่างวันที่ 29 มิ.. – 26 ..นี้ รวมมูลค่าการแจกทั้งหมด 7 ล้านดอลลาร์ฮ่องกง ( ราว 27 ล้านบาท)

    บริษัทคาดว่า กลยุทธ์เเจกโบนัสผู้บริโภคครั้งนี้จะสามารถกระตุ้นยอดขายได้เพิ่มขึ้น 10-15% ขณะที่มาตรการเเจกเงิน 10,000 ดอลลาร์ฮ่องกงของรัฐบาล ก็มีส่วนช่วยเพิ่มยอดขายในห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ได้ราว 10%

    Sun Hung Kai เริ่มทุ่มงบเพื่อเเจกรางวัลให้ลูกค้ามาตั้งเเต่ช่วงเดือน ก.. เช่น เเคมเปญจับสลากของขวัญที่มีขึ้นในช่วง 22 .. – 21 มิ.. สามารถดึงดูดลูกค้าได้เกือบ 200,000 คน ซึ่งมีการใช้จ่ายเฉลี่ย 1,200-1,500 ดอลลาร์ฮ่องกงต่อคน

    ด้านคู่เเข่งอย่าง Fortune Reit กลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่อีกเจ้าก็ทุ่มโปรโมชั่นเอาใจลูกค้าเช่นกัน โดยประกาศแจก iPad เเละบัตรกำนัลเงินสดซูเปอร์มาร์เก็ต 1,000 ดอลลาร์ฮ่องกง (ราว 3,980 บาท) ให้แก่ลูกค้าที่มียอดใช้จ่ายสูงตามห้างสรรพสินค้าในเครือ 16 สาขา 

    ขณะที่ร้านค้าขนาดเล็กเเละผู้ประกอบการรายย่อย ไม่มีเงินทุนมากพอที่จะเรียกลูกค้าด้วยการเเจกเงินโบนัสจำนวนมากเช่นนี้ได้ละยังคงหาทางประคองธุรกิจให้ผ่านพ้นวิกฤตไปให้ได้

    ตามข้อมูลของ Centaline Commercial ระบุว่า ย่านเซ็นทรัล (Central) บนเกาะฮ่องกงซึ่งเป็นศูนย์กลางธุรกิจ มีอัตราร้านค้าว่างสูงถึง 20.5% ในเดือนพ.. ส่วนย่านช้อปปิ้งชื่อดังอย่าง Causeway Bay มีอัตราร้านค้าว่างสูงถึง 11.1% รวมถึงย่านอื่น ๆ ที่มีผู้คนพลุกพล่าน ก็มีอัตราร้านค้าว่างอยู่ที่ตัวเลขสองหลัก อีกทั้งร้านค้าแบรนด์ต่างชาติก็มีการปิดสาขาไปหลายเจ้า แม้ว่าราคาซื้อและเช่าที่ร้านค้าลดลงมากถึงครึ่งหนึ่งเเล้วก็ตาม

     

    ที่มา : scmp

    ]]> 1285462