ขายหุ้น IPO – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 06 Sep 2022 09:56:39 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 กลยุทธ์ “พรีโม” รวบงานบริการอสังหาฯ ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ดันรายได้ 1,000 ล้านใน 3-5 ปี https://positioningmag.com/1399102 Tue, 06 Sep 2022 09:43:50 +0000 https://positioningmag.com/?p=1399102 “พรีโม” บริษัทในเครือออริจิ้น กำลังจะสปินออฟเปิด IPO บริษัทนี้เป็นผู้ให้บริการอสังหาฯ ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ มีบริษัทลูกที่บริการตั้งแต่ออกแบบก่อสร้าง นิติบุคคล แม่บ้าน จนถึงรับจ้างบริหารสินทรัพย์ โดยไฮไลต์อยู่ที่การต่อสู้กับเรดโอเชียนในธุรกิจนิติบุคคล และการจับตลาดบลูโอเชียนของธุรกิจรับบริหารเซอร์วิสอพาร์ทเมนต์ รวมถึงการเข้าสู่วงการอินทีเรีย พร้อมปักเป้ารายได้แตะ 1,000 ล้านบาทภายใน 3 ปีข้างหน้า

บริษัท พรีโม เซอร์วิส โซลูชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ PRI (อ่านว่า พี-ริ) เป็นบริษัทลูกในเครือออริจิ้น แรกเริ่มเดิมทีเป็นบริษัทเอเย่นต์ขายและแม่บ้านทำความสะอาดที่ช่วยสนับสนุนโครงการบริษัทแม่

กระทั่งเห็นลู่ทางว่าสามารถขยายเป็นธุรกิจเฉพาะตัวรับงานโครงการอื่นนอกจากออริจิ้นได้ ทำให้พรีโมขยายมาเรื่อยๆ จนปัจจุบันมีบริษัทลูก 8 แห่งที่รับงานบริการตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ เรียกว่า ‘ครอบจักรวาล’ อสังหาริมทรัพย์ (อ่านรายละเอียดบริษัทลูกทั้ง 8 แห่งว่ามีอะไรบ้างได้ที่นี่)

พรีโม
บริษัทลูก 8 แห่งภายใต้ PRI

ต้นน้ำถึงปลายน้ำของ PRI แบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1.Pre-Living Services ได้แก่ ธุรกิจตัวแทนขาย, ธุรกิจออกแบบอาคาร, ธุรกิจบริหารการก่อสร้าง และธุรกิจออกแบบตกแต่งภายใน 2.Living Services ได้แก่ ธุรกิจบริหารอาคาร(นิติบุคคล) และธุรกิจแม่บ้านทำความสะอาด 3.Living & Earning Services ได้แก่ ธุรกิจบริหารเซอร์วิสอพาร์ทเมนต์ และธุรกิจอบรมด้านอสังหาฯ

 

ธุรกิจ “นิติบุคคล” สู้ด้วย “ไอที” และหารายได้เสริม

ธุรกิจหลักของ PRI นั้นยังคงเป็น “นิติบุคคล” โดย “จตุพร วิไลแก้ว” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร PRI กล่าวว่า มี 2 บริษัทย่อยที่ดำเนินธุรกิจนี้ คือ บริษัท พรีโม แมเนจเม้นท์ จำกัด (PMM) บริหารโครงการระดับกลางถึงกลางบน ถ้าเป็นคอนโดมิเนียมจะอยู่ในกลุ่มราคาไม่เกิน 150,000 บาทต่อตร.ม. และอีกบริษัทคือ บริษัท คราวน์ เรสซิเดนซ์ จำกัด บริหารโครงการไฮเอนด์ ในกลุ่มราคามากกว่า 150,000 บาทต่อตร.ม. เพราะจะมีบุคลากรพิเศษ เช่น กงเซียจ 24 ชม. หรือพนักงานที่พูดได้ 3 ภาษา

พรีโม
“จตุพร วิไลแก้ว” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร PRI

ธุรกิจนิติบุคคลถือว่าเป็น “เรดโอเชียน” ทีเดียว เพราะบริษัทอสังหาฯ หลายแห่งมีบริษัทนิติบุคคลของตนเอง และมีอีกหลายบริษัทที่รับจ้างอยู่ในตลาด ดังนั้น ถ้า PMM และคราวน์จะเติบโตได้ ต้องแข่งด้วยคุณภาพและต้นทุนที่ถูกกว่า

จตุพรกล่าวในประเด็นนี้ว่า บริษัทจะมีการลงทุนด้านไอทีอีก 500-1,000 ล้านบาท เพื่อสร้างแพลตฟอร์มอำนวยความสะดวกด้วยเทคโนโลยีในโครงการ เช่น ทำระบบสร้าง QR Code ล่วงหน้าให้กับผู้มาติดต่อ (visitor) ของลูกบ้าน ทำให้เข้าออกสะดวก ไม่ต้องแลกบัตร ลูกบ้านไม่ต้องมารับที่หน้าล็อบบี้

ขณะที่การลดต้นทุนคือจะต้องใช้คนจำนวนน้อยแต่ทำงานได้มากกว่า ดังนั้น พนักงานของพรีโมจะต้อง ‘multitasking’ ทำงานได้หลายอย่าง ล่าสุดบริษัทมีการเปิดบริการใหม่ภายในโครงการ Co-Nannies รับเลี้ยงเด็ก และ Co-Trainer เทรนเนอร์ออกกำลังกาย บริการใหม่เหล่านี้เกิดจากการส่งเสริมพนักงานภายในให้ไปอบรม มีใบรับรอง และมาบริการลูกค้า โดยพนักงานจะได้รายได้พิเศษเพิ่ม บริษัทก็มีรายได้เพิ่มจากการต่อยอดบริการใหม่ๆ เช่นกัน หรือแม้แต่การใช้ “หุ่นยนต์” ช่วยทำความสะอาด ก็จะทดแทนแรงงานมนุษย์ได้มาก

 

“แฮมป์ตัน” เจรจาดีลเข้าบริหารนอกเครือ

อีกส่วนที่เป็นไฮไลต์ จตุพรกล่าวถึง บริษัท แฮมป์ตัน โฮเทล แอนด์ เรสซิเดนซ์ แมเนจเมนท์ จำกัด หรือ HHR เป็นผู้รับบริหารยูนิตในที่พักอาศัยหรือโรงแรมให้เป็นไปในลักษณะเซอร์วิสอพาร์ทเมนต์ มีมาตรฐานแบบห้องพัก เครื่องนอน และบริการ

แฮมป์ตัน เรสซิเดนซ์ พญาไท

ที่ผ่านมา HHR ยังทำงานเฉพาะกับโครงการในเครือออริจิ้น แต่ปัจจุบันกำลังเจรจากับโรงแรมและที่พักอาศัยนอกเครือเพื่อมาอยู่ในพอร์ตเพิ่ม

จตุพรมองว่าธุรกิจของ HHR ถือเป็นบลูโอเชียนเพราะบริษัทจะรับจ้างบริหาร “บิ๊กลอต” ในโครงการหนึ่งๆ เช่น 50-150 ห้องในโครงการ ไม่จำเป็นต้องได้ดีลทั้งอาคารเหมือนเชนโรงแรม และไม่เหมือนกับบริษัทเอเย่นต์ทั่วไปที่รับดูแลเป็นห้องๆ ไปซึ่งไม่ได้ดูแลลูกค้าแบบฟูลฟังก์ชัน ทำให้บริการแบบ HHR จะตอบโจทย์กลุ่ม ‘expat’ ได้ดีกว่า

 

“อินทีเรีย” Wyde จับตลาดโรงแรมและรีเทล

ด้านธุรกิจที่กำลังเป็นเทรนด์ มีโอกาสสร้างรายได้สูง จตุพรมองว่าเป็น บริษัท วายด์ อินทีเรีย จำกัด (Wyde) เพราะบริษัทเริ่มเข้าไปจับตลาด B2B ได้ จากการรีโนเวทโรงแรมที่มีมากขึ้น และกลุ่ม “รีเทล” ร้านค้าแบรนด์ต่างๆ ที่มีการขยายสาขาไปทั่วประเทศ และต้องการการออกแบบสาขาจาก Wyde

จตุพรกล่าวต่อว่า ปัจจุบันบริษัทมีสัดส่วนรายได้จากกลุ่ม Pre-Living 25% กลุ่ม Living 55% และกลุ่ม Living & Earning 20% โดยทำรายได้เมื่อปี 2564 ไปที่ 490 ล้านบาท บริษัทตั้งเป้าจะทำรายได้ขึ้นเป็น 1,000 ล้านบาทภายใน 3 ปีข้างหน้า ด้านการเปิด IPO นั้น ขณะนี้บริษัทได้ยื่นไฟลิ่งเรียบร้อยแล้ว เชื่อว่าจะได้เริ่มเทรดในตลาดภายในสิ้นปีนี้

]]>
1399102
ไทยประกันชีวิต ระดมทุน 3.44 หมื่นล้านบาท เตรียมขึ้นแท่น IPO ใหญ่สุดของไทยในปี 2022 https://positioningmag.com/1390195 Mon, 27 Jun 2022 11:10:44 +0000 https://positioningmag.com/?p=1390195 บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) หรือ TLI เดินหน้าแผนการเสนอขายหุ้นสามัญต่อประชาชนเป็นครั้งแรก (IPO) โดยจะระดมทุนมูลค่า 34,400 ล้านบาท โดยเม็ดเงินที่ได้จากการระดมทุนนั้นจะนำไปเป็นเงินทุนหมุนเวียน เสริมความแข็งแกร่งช่องทางการจัดจำหน่ายผ่านพันธมิตร รวมถึงการนำเม็ดเงินดังกล่าวไปใช้ในการลงทุนด้านเทคโนโลยีอีกด้วย

สำหรับการเข้าระดมทุนในตลาดหุ้นนั้นชย ไชยวรรณ กรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “วันนี้ไทยประกันชีวิตจึงพร้อมเดินหน้าขับเคลื่อนธุรกิจด้วยวิสัยทัศน์การเป็นบริษัทประกันชีวิตแห่งความยั่งยืน ผ่านการปรับกระบวนทัศน์ในการดำเนินธุรกิจทุกด้าน โดยยกระดับสู่การเป็น Data Driven Company ดำเนินธุรกิจผ่านการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงกลยุทธ์ เพื่อปรับปรุงกระบวนการทำงานแบบครบวงจรและสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าในลักษณะเฉพาะบุคคลได้อย่างแท้จริงการเสนอขายหุ้น IPO ของไทยประกันชีวิตในครั้งนี้จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่จะส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านองค์กรสู่มิติใหม่ รองรับการเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน”

นอกจากนี้เขาเองยังได้กล่าวเสริมว่า “คู่แข่งที่น่ากลัวที่สุดไม่ใช่คู่แข่งบริษัทในอุตสาหกรรมเดียวกัน แต่เป็นคู่แข่งที่ไม่ได้ทำธุรกิจแบบเดียวกัน แต่สามารถขายผลิตภัณฑ์ได้บนแพลตฟอร์มใหม่ๆ”

บริษัทได้ชี้ถึงจุดเด่นของบริษัทดังนี้

  • บริษัทประกันชีวิตรายแรกและรายใหญ่ที่สุดของประเทศไทยที่มีเจ้าของเป็นคนไทย
  • ผลิตภัณฑ์ของบริษัทเน้นไปที่กลุ่มผลิตภัณที่มีมูลค่าสูง เน้นกรมธรรม์ที่ไม่อ่อนไหวกับอัตราดอกเบี้ย ซึ่งมีมาร์จิ้นดีกว่า
  • บริษัทมีตัวแทนประกันมากถึง 64,000 ราย ซึ่งรายได้จากช่องทางนี้สูงถึงเกือบ 50%
  • มีงบการเงินที่แข็งแกร่ง ทำกำไรต่อเนื่อง 15 ปีติดต่อกัน รวมถึงมีพันธมิตรสำคัญนั่นก็คือ Meiji Yasuda Life Insurance ซึ่งเป็นบริษัทประกันชีวิตรายใหญ่ของประเทศญี่ปุ่น

สำหรับไทยประกันชีวิตนั้นมีผลการดำเนินงานในปี 2021 บริษัทมีรายได้รวม 109,246 ล้านบาท กำไรสุทธิอยู่ที่ 8,394 ล้านบาท ขณะที่ในไตรมาส 1 ปี 2565 บริษัทมีรายได้รวม 25,955 ล้านบาท มีกำไรสุทธิ 3,793 ล้านบาท

หุ้น TLI ที่นำมา IPO ครั้งนี้จะมีสัดส่วนไม่เกิน 18.8% ของจำนวนหุ้นทั้งหมด ซึ่งมีทั้งหุ้นสามัญเพิ่มทุน รวมถึงกลุ่มไชยวรรณซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่สุดของไทยประกันชีวิตได้ขายหุ้นออกมาบางส่วนด้วย

ราคาหุ้นของ TLI ที่เสนอขายให้กับนักลงทุนนั้นราคาอยู่ที่ 16 บาทต่อหุ้น ซึ่งจะทำให้มูลค่าบริษัทของไทยประกันชีวิตนั้นอยู่ที่ประมาณ 183,200 ล้านบาท และจะทำให้บริษัทประกันภัยรายนี้มีโอกาสสูงมากที่จะติดดัชนี SET50 ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยด้วยขนาดมูลค่าของบริษัท

นอกจากนี้เม็ดเงินในการระดมทุน 34,400 ล้านบาท ยังคาดว่าจะเป็นการระดมทุนที่ใหญ่สุดของปี 2022 ผ่านตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยอีกด้วย และเป็น IPO บริษัทประกันที่ใหญ่ที่สุดในตลาดหุ้นไทยอีกด้วย รวมถึงมีสิทธิ์ลุ้นเป็น 1 ใน IPO ของธุรกิจประกันที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียนในปี 2022 อีกด้วย

]]>
1390195
อ่าน 7 ข้อ ทำความเข้าใจ ‘หุ้น OR’ ไขข้อสงสัย ‘ไม่มีพอร์ตหุ้น’ ก็ลงทุนได้ https://positioningmag.com/1315923 Fri, 22 Jan 2021 12:51:44 +0000 https://positioningmag.com/?p=1315923 ข่าวใหญ่ในวงการหุ้นไทยที่ได้รับความสนใจ คึกคักมาตั้งเเต่ต้นปี 2021 หลังบริษัท ปตท.น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ ‘OR’ (โออาร์) เตรียมเสนอขายหุ้นต่อประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก ในช่วงราคา 16-18 บาทต่อหุ้น

โดย OR นับเป็นหุ้น IPO ขนาดใหญ่ เป็นกิจการในเครือยักษ์พลังงานอย่าง ปตท. ที่คนไทยรู้จักกันดีผ่านการใช้บริการสถานีบริการน้ำมันที่มีสาขาอยู่ทั่วประเทศ รวมถึงธุรกิจร้านค้าปลีก ร้านสะดวกซื้อ ร้านนกาเเฟที่มีเเบรนด์ติดตลาดอย่าง ‘Café Amazon’

ความน่าสนใจในการเปิดจองซื้อ หุ้น PTTOR’ ในครั้งนี้ คือการเปิดให้คนทั่วไปเข้าซื้อได้ในจำนวน 300 หุ้นต่อคน จัดสรรด้วยวิธี Small Lot First เปิดโอกาสให้ประชาชนได้รับการกระจายหุ้นอย่างทั่วถึง ได้ทั้งคนที่มีพอร์ตหุ้นอยู่เเล้ว เเละแม้ ไม่มีพอร์ตหุ้นก็ซื้อได้

เเต่ทุกการลงทุนมีความเสี่ยง ดังนั้นผู้ลงทุนควรศึกษาธุรกิจนั้นๆ ให้รอบคอบ วันนี้ Positioning รวบรวมขอสรุปพื้นฐานธุรกิจ ความท้าทาย กลยุทธ์การเติบโต เเผนลงทุนในอีก 5 ข้างหน้า เเละรายละเอียดในการจองซื้อหุ้นของ ‘OR’ ไว้ดังนี้

ส่องธุรกิจ OR

บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR แยกออกมาจากบริษัทเเม่อย่าง ปตทมาตั้งเเต่ปี 2561 ประกอบธุรกิจตามเเนวคิด ‘Retailing Beyond Fuel’ ผสมผสานระหว่างธุรกิจน้ำมันและธุรกิจค้าปลีกสินค้าและบริการอื่น ๆ (Non-Oil) ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

ประกอบด้วย การจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมและผลิตภัณฑ์อื่นๆ ตลาดค้าปลีกและตลาดพาณิชย์ธุรกิจร้านกาแฟ ร้านอาหารและเครื่องดื่ม ร้านสะดวกซื้อและการบริหารจัดการพื้นที่เช่า ฯลฯ

มีแบรนด์สถานีบริการน้ำมัน ติดตลาดอย่าง “PTT Station” ที่มีสาขา 1,968 แห่งในประเทศไทย และ 329 แห่งในต่างประเทศ ครองเบอร์หนึ่งมาร์เก็ตเเชร์ผู้ค้าน้ำมันในไทยที่ 38.9%

  • แบรนด์ร้านกาแฟ Café Amazon ที่มีจำนวน 3,168 ร้านในประเทศไทย และ 272 ร้านในต่างประเทศ
  • ศูนย์บริการยานยนต์ FIT Auto จำนวน 56 แห่งในประเทศไทย และ 4 แห่งในต่างประเทศ
  • ร้านสะดวกซื้อภายใต้แบรนด์ 7-Eleven ในสถานีบริการ และแบรนด์ Jiffy จำนวนรวมกัน 1,960 ร้านในประเทศไทย และ 86 ร้านในต่างประเทศ อย่างฟิลิปปินส์กัมพูชา และเมียนมา ฯลฯ (ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2563)
Photo : Shutterstock

รายได้และกำไรของ OR

ปี 2560 รายได้ 543,275 ล้านบาท กำไร 9,768 ล้านบาท

ปี 2561 รายได้ 592,072 ล้านบาท กำไร 7,851 ล้านบาท

ปี 2562 รายได้ 577,134 ล้านบาท กำไร 10,895 ล้านบาท

ปี 2563 (..-..) รายได้ 319,308 ล้านบาท กำไร 5,868.5 ล้านบาท

หากมองอัตรากำไรสุทธิปี 2560-2562 จะอยู่ที่ 2.3% 1.6% และ 1.9% ตามลำดับ ส่วนงวด 9 เดือนแรกของปีนี้มีอัตรากำไรสุทธิ 1.8%

ด้านสัดส่วนรายได้ เเบ่งเป็น ธุรกิจน้ำมัน 91.38% ธุรกิจค้าปลีกและบริการอื่นๆ 3.66% สัดส่วน EBITDA เเบ่งเป็น ธุรกิจน้ำมัน 68.67% ธุรกิจค้าปลีกและบริการอื่นๆ 25.04%

กางเเผนลงทุน 5 ปี 

หลังการระดมทุน IPO บริษัทมีแผนการลงทุนใน 5 ปีข้างหน้า (2564-2568) ตั้งงบไว้ราว 74,600 ล้านบาท ทั้งการขยายปั้มน้ำมัน เพิ่มสาขา Café Amazon ตั้งโรงงานเบเกอรีโรงงานผงผสมเครื่องดื่มศูนย์กระจายสินค้า ลุยธุรกิจ EV รองรับเทรนด์รถยนตืไฟฟ้า พร้อมร่วมทุนเเละเข้าซื้อกิจการธุรกิจใหม่ๆ

สำหรับแผนใช้เงินลงทุนทั้งหมด 74,600 ล้านบาท เเบ่งเป็น สัดส่วน 34.6% หรือราว 25,811.6 ล้านบาท จะลงทุนในกลุ่มธุรกิจน้ำมัน เพราะเป็นส่วนสำคัญที่จะสร้างเเละต่อยอดธุรกิจอื่นให้เติบโตไปด้วย รวมถึงเป็นการรักษาความเป็น ‘เบอร์หนึ่ง’ ในตลาดการเเข่งขันไทย

ธุรกิจน้ำมัน วางเป้าในปี 2568 สถานีบริการน้ำมัน PTT เป็น 3,100 แห่ง จากปัจจุบัน 1,968 แห่ง โดยใช้กลยุทธ์ ‘ลงทุนต่ำ’ ด้วยการให้ดีลเลอร์ที่ต้องการขยายสถานีบริการ เป็นผู้ลงทุนหลักสัดส่วน 80% และ OR ลงทุน 20% ภายใต้การกำกับดูแลตามมาตรฐานของบริษัท

ptt station ปั๊มปตท.

ต่อมาจะลงทุน สัดส่วน 28.6% หรือราว 21,335.6 ล้านบาท ในกลุ่มธุรกิจค้าปลีกและบริการ Non-Oil เพราะเป็นธุรกิจที่มีอัตราผลตอบแทนสูงกว่าการจำหน่ายน้ำมัน

ธุรกิจ Non-Oil วางเป้าปี 2568 ขยายสาขาร้านกาแฟ Café Amazon เพิ่มเป็น 5,800 สาขา จากปัจจุบันมี 3,168 สาขา รวมทั้งขยายฐานรายได้และขีดความสามารถการทำกำไรจากธุรกิจ Non oil ด้วยการเพิ่มความหลากหลายของบริการอาหารและเครื่องดื่มในปั๊ม โดยเฉพาะการซื้อแบรนด์ใหม่มาเพิ่มพร้อมกับขยายร้านเดิมที่มีอยู่

รวมถึงสร้างโรงงานเบเกอรี่ โรงงานผงผสมเครื่องดื่ม และศูนย์กระจายสินค้าอัตโนมัติ และขยายร้านไก่ทอด Texas Chicken ให้ได้อีก 20 สาขาต่อปี

ด้าน ลงทุนในต่างประเทศ เเบ่งเป็น สัดส่วน 21.8% หรือราว 16,262.8 ล้านบาท จะเน้นขยายลงทุนกลุ่มอาเซียน เช่น ฟิลิปปินส์กัมพูชาสปป.ลาว โดยการเพิ่มสถานีบริการน้ำมันอีก 350 แห่ง และร้าน Café Amazon อีก 310 แห่ง พร้อมรุกตลาด LPG ควบคู่ไปกับการสร้างคลังปิโตรเลียม ขยายธุรกิจน้ำมันหล่อลื่น PTT Lubricants

หลังจากเปลี่ยนรูปแบบลงทุนมาเป็นแฟรนไชส์ทำให้ Café Amazon ยายสาขาได้เร็ว โดยในเวียดนามร่วมทุนกับกลุ่มเซ็นทรัล ขยายสาขาทำเลหลัก ปัจจุบันมีขยายธุรกิจไปต่างประเทศ 10 ประเทศแล้ว หากนับ Café Amazon ในแง่จำนวนสาขาจะอยู่ที่อันดับ 6 ของโลก และแง่รายได้เป็นอันดับ 12 ของโลก 

ร้านกาเเฟ Café Amazon ในลาว

แผนในประเทศเมียนมา ปัจจุบัน OR อยู่ระหว่างลงทุนก่อสร้างคลังเก็บน้ำมันและคลัง LPG ทั้งใช้เพื่อสนับสนุนการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมแบบ B2B ในเมียนมา ควบคู่ไปกับการขยาย PTT Station และคาเฟ่ Café Amazon

สำหรับเเผนการลงทุนใน จีน’ ซึ่งเป็นตลาดใหญ่ จะมีการขยายสาขา Café Amazon และธุรกิจน้ำมันหล่อลื่น PTT Lubricants อย่างต่อเนื่อง ส่วนในประเทศโอมาน ปัจจุบัน OR ให้สิทธิ์ในการเป็นมาสเตอร์แฟรนไชส์กับบริษัทน้ำมันแห่งชาติของโอมาน เพื่อขยาย PTT Station ทั้งในและนอกสถานีบริการ

ขณะที่ เงินลงทุนอีก 15% หรือราว 11,190 ล้านบาท จะลงทุน ‘ธุรกิจอื่นๆ ที่ไม่ใช่ 3 ธุรกิจหลักดังกล่าว เพื่อมองหาโอกาสใหม่ และต่อยอดธุรกิจเดิมในรูปแบบของพันธมิตร จากการทำดีลร่วมทุน (JV) หรือซื้อเข้ากิจการ (M&A)

จัดงบลงทุน รับเทรนด์ ‘รถยนต์ไฟฟ้า’

หากเจาะลึกลงไปในงบการลงทุน 15% ของส่วน ‘ธุรกิจอื่นๆ’ พบว่าจะมีการนำไปลงทุนพัฒนา Mobility Ecosystem ทำธุรกิจเกี่ยวกับสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ซึ่งขณะนี้ทดลองให้บริการชาร์จไฟฟ้ากับรถยนต์ EV แล้วที่ PTT Station จำนวน 25 แห่ง และมีแผนเพิ่มจุดให้บริการชาร์จไฟฟ้าใน PTT Station ให้ครอบคลุมเส้นทางหลักทั่วประเทศ

เมื่อถามว่า เทรนด์รถยนต์ EV อาจเป็นความเสี่ยงต่อ OR หรือไม่ ทีมผู้บริหารตอบว่า มองว่าเป็นโอกาสของธุรกิจมากกว่า บริษัทต้องเตรียมตัวให้พร้อมเเละพัฒนาไปข้างหน้า เราจะเข้าไปตามความต้องการของผู้บริโภค นำมาศึกษาความเป็นไปได้เพื่อต่อยอดต่อไป

ปัจจุบันอัตราการใช้รถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยยัง น้อยมากจดทะเบียนคิดเป็นสัดส่วนน้อยกว่า 2% ของจำนวนรถจดทะเบียนใหม่

โดย OR จะมีแอปพลิเคชั่นเพื่ออำนวยความสะดวกและเก็บข้อมูล ออกแบบ EV Ecosystem เพื่อสร้างโมเดลธุรกิจใหม่ ไม่เพียงการชาร์จไฟฟ้าเท่านั้น แต่จะครอบคลุมทั้งห่วงโซ่อุปทาน ตั้งแต่การผลิตแบตเตอรี่ผลิตรถยนต์ การจำหน่ายรถยนต์ การผลิตเครื่องชาร์จ การจำหน่ายเครื่องชาร์จ การให้บริการชาร์จไฟฟ้าฯลฯ

ทั้งนี้ เมื่อปี 2563 ที่ผ่านมา OR ได้ลงทุนบริษัทโลจิสติกส์อย่าง แฟลช เอ็กซ์เพรส’  Flash Express) และได้ร่วมทุนกับพีเบอร์รี่ไทย(Peaberry) ขยายธุรกิจกาแฟให้ครอบคลุมถึงต้นน้ำ และกลางน้ำ โดยเฉพาะเครื่องชงอุปกรณ์ การบำรุงรักษาอุปกรณ์ เพื่อบริหารต้นทุน

คุยต่อสัญญา เซเว่นอีเลฟเว่น’ 

ปัจจุบันสัญญาการให้สิทธิแบรนด์ร้านสะดวกซื้อ เซเว่นอีเลฟเว่น (7-11) ของ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ในปั๊มน้ำมัน PTT Station ใกล้หมดสัญญาใน 2 ปีข้างหน้า จากอายุสัญญาทั้งหมด 10 ปี 

ผู้บริหาร OR กล่าวถึงกรณีนี้ว่า กำลังพิจารณาการต่อสัญญากับซีพีออลล์ เเละมีการพูดคุยกันบ้างเเล้ว โดยมองว่าทั้ง 2 ฝ่าย เป็นคู่พันธมิตรธุรกิจที่ดีต่อกัน สร้างผลประโยชน์ร่วมกัน ร้านสะดวกซื้อก็มีรายได้สูงขึ้น ขณะที่ปั๊มน้ำมันก็มีผู้คนเเวะมามีผู้ใช้บริการมากขึ้นด้วย 

จองซื้อหุ้น PTTOR ต้องทำอย่างไร?

OR ประกาศเสนอขายหุ้น IPO จำนวนไม่เกิน 2,610 ล้านหุ้น สัดส่วนไม่เกิน 22.5% ของจำนวนหุ้นสามัญทั้งหมดที่ออกและจำหน่ายได้แล้ว ในจำนวนนี้ จัดสรรให้นักลงทุนสถาบัน 65-70% (สถาบันต่างชาติ 17% และนักลงทุนสถาบันในไทย 83%) รายย่อยราว 30-35% 

  • จำนวน 1,860 ล้านหุ้น เสนอขายผู้ลงทุนที่จองซื้อในประเทศ (รวมรายย่อย 595.7 ล้านหุ้น )
  • จำนวน 450 ล้านหุ้น เสนอผู้ลงทุนสถาบันที่จองซื้อในต่างประเทศ
  • จำนวน 300 ล้านหุ้น เสนอขายให้แก่ประชาชน เฉพาะกลุ่มซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นเดิมของ ปตทเท่านั้น

วันปิดการเสนอขายหุ้นทั้งหมด หากมีผู้จองซื้อหุ้นเป็นจำนวนมากกว่าหุ้นทั้งหมดที่เสนอขาย อาจมีการจัดสรรหุ้นส่วนเกิน (กรีนชูให้แก่ผู้ลงทุนจำนวน 390 ล้านหุ้น

โดยกำหนดช่วงราคาหุ้น IPO ที่ 16-18 บาทต่อหุ้น โดยการจองซื้อหุ้นดังกล่าว จะต้องจ่ายเงินที่ราคาหุ้นละ 18 บาทก่อน หากประกาศราคาเสนอขายจริงในวันที่ 3 .. 2564 เวลา 9.00 เเล้วราคาต่ำกว่า 18 บาทจะคืนเงินส่วนต่างค่าจองซื้อหุ้นให้

ระบบเซ็ตเทรดจะประกาศผลการจัดสรรหุ้น IPO ประมาณวันที่ 6 ก.พ. 2564 ผ่านเว็บไซต์ settrade.com หากกรณีท่านไม่ได้รับการจัดสรรหุ้นในครั้งนี้ ระบบจะทำการคืนเงินให้อย่างช้าที่สุดภายในวันที่ 17 .. 2564 (กรณีรับเงินเข้าบัญชี) และวันที่ 22 .. 2564 (กรณีรับเป็นเช็ค)

จองซื้อขั้นต่ำจำนวน 300 หุ้น และจะต้องเพิ่มเป็นจำนวนขั้นต่ำครั้งละ 100 หุ้น โดยไม่จำกัดจำนวนจองซื้อสูงสุด เท่ากับว่าผู้ที่ต้องการจองซื้อจะต้องมีเงินขั้นต่ำ 5,400 บาท สำหรับหุ้นขั้นต่ำ 300 หุ้น ในราคา 18 บาทต่อหุ้น

โดยจะเปิดให้จองได้ในระยะ 10 วัน ตั้งแต่วันที่ 24 .. 2564 ถึง วันที่ 2 .. 2564 (เวลา 12.00 .) ต้องจ่ายค่าจองหุ้นที่ราคา 18 บาทก่อน ผ่าน 3 ธนาคาร ทุกสาขาทั่วประเทศ คือ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกสิกรไทย เเละกรุงไทย โดยวันเสาร์อาทิตย์ จองซื้อได้ที่สาขาในห้าง

กรณีจองที่ธนาคารตัวแทนจำหน่าย จะต้องกรอกเอกสาร ดังนี้ 

  1. ใบจองซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุน
  2. แบบสอบถามเพื่อหาข้อบ่งชี้การเป็นบุคคลสหรัฐฯ (กรณีฝากหุ้นในบัญชีของบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ สมาชิกเลขที่ 600)
  3. แบบประเมินความเหมาะสมในการลงทุน (Suitability Test) (กรณีไม่เคยทำมาก่อน)
  4. บัตรประชาชนตัวจริงหรือสำเนา (ขึ้นอยู่กับธนาคาร)
  5. สมุดบัญชีเงินฝากหรือสำเนา (ขึ้นอยู่กับธนาคารใช้เพื่อรับคืนเงินค่าจองซื้อ
  6. ควรทราบเลขที่บัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ และเลขที่สมาชิกของโบรกเกอร์ที่ใช้บริการ 

กรณีจองซื้อผ่านออนไลน์จะสามารถจองได้ตลอด 24 ชั่วโมง (ตั้งแต่เวลา 9.00 ของวันที่ 24 .. 2564 ถึง 12.00 . (เที่ยงวันของวันที่ 2 .. 2564)

  • กสิกรไทย ผ่านเว็บไซต์ K-My Invest และจ่ายผ่านแอปฯ KPLUS
  • กรุงเทพ ผ่านเว็บไซต์ และแอปฯ Bualuang Mobile Banking
  • กรุงไทย ผ่านเว็บไซต์ โดยเปิดใช้ KTB Netbank และแอปฯ KrungThai Next

ไม่มี พอร์ตหุ้นก็ซื้อได้

ประชาชนที่ “ไม่มีพอร์ตหุ้น” ก็สามารถจองซื้อหุ้นได้กับธนาคาร ผ่านการฝากหุ้นสามัญเพิ่มทุนตามจำนวนที่ได้รับการจัดสรรไว้ในชื่อ บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทยจำกัดหรือ “TSD” และนำหุ้นเข้าฝากไว้กับ TSD นำเข้าบัญชีของบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์สมาชิกเลขที่ 600

อย่างไรก็ตาม การมีพอร์ตหุ้นอยู่แล้วจะช่วยในเรื่อง ‘ความสะดวก’ ด้านการลงทุนแก่ผู้จองซื้อ เพราะสามารถขายหุ้นออกจากพอร์ตได้ตามความต้องการ

ทั้งนี้ ภายหลังเข้าตลาด ปตท. ยังถือหุ้น 77.5% (ภายใต้สมมติฐานว่าจะไม่มีการใช้สิทธิ์ซื้อหุ้นส่วนเกินทั้งจำนวน) และ 75% (ภายใต้สมมติฐานว่าจะมีการใช้สิทธิ์ซื้อหุ้นส่วนเกินทั้งจำนวน

จากการเสนอขายหุ้น IPO บริษัทกำหนดกรอบราคาเสนอขาย 16-18 บาทต่อหุ้น มีอัตราส่วนราคาต่อกำไรต่อหุ้น (P/E) 23.9-26.9 เท่า ขณะที่ค่าเฉลี่ยของบริษัทที่ทำธุรกิจใกล้เคียงกันทั้งในและต่างประเทศอยู่ที่ 31.7 เท่า

ผู้ถือหุ้น จะได้รับผลตอบแทนอะไรบ้าง

  • ได้เป็นหนึ่งในเจ้าของกิจการตามสัดส่วนการถือหุ้น
  • ได้รับเงินปันผล โดย OR มีนโยบายปันผลไม่น้อยกว่า 30% ของกำไรสุทธิหลังหักสำรองต่างๆ ทุกประเภทตามที่กฎหมายและบริษัทกำหนด
  • ได้รับกำไรจากส่วนต่างราคา หากสามารถขายหุ้นได้ราคาสูงกว่าราคาซื้อ เเต่ก็ไม่ได้รับประกันว่าราคาหุ้นจะปรับตัวขึ้นเกินราคาจองซื้อหรือไม่

ล่าสุด ณ วันที่ 11 ก.พ.2564 บมจ. ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก (OR) เข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ‘วันแรก’ จากราคาที่เสนอขายให้ประชาชนทั่วไปครั้งแรก (IPO) ที่ 18 บาทต่อหุ้น ซึ่งการจัดสรรหุ้น IPO ให้ผู้ลงทุนทั่วไปจองซื้อเข้ามามีสูงถึง 5.3 แสนรายการ และได้รับการจัดสรรต่อรายสูงสุดไม่เกินคนละ 4,500 หุ้นนั้น

ราคาซื้อขายเปิดตลาดครั้งเเรก เวลา 10.00 น. พบว่า มีราคาเปิดที่ 26.5 บาท ต่อหุ้น เพิ่มขึ้น 47% จากราคา IPO ที่หุ้นละ 18 บาท จากนั้นราคาปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 27 บาท ก่อนมีแรงขายทำกำไรออกมาอยู่ที่ต่ำสุดราว 23 บาท

ก่อนหน้านี้ บล.เอเซีย พลัส ประเมินว่าราคาที่เหมาะสมจะอยู่ที่ราว 24 บาท ส่วนบล.แลนด์แอนด์เฮ้าส์ คาดว่าราคาจะอยู่ระหว่าง 19.30-23.10 บาท

การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจลงทุน

]]>
1315923
อ่าน 5 ข้อ ทำความเข้าใจธุรกิจ “เคอรี่ เอ็กซ์เพรส” ก่อนตัดสินใจซื้อหุ้น KEX https://positioningmag.com/1310803 Thu, 17 Dec 2020 09:28:01 +0000 https://positioningmag.com/?p=1310803 ตัวท็อปวงการขนส่งพัสดุเมืองไทยอย่างเคอรี่ เอ็กซ์เพรส” (KEX) เตรียมระดมทุนสูงสุด 8.4 พันล้านในตลาดหลักทรัพย์ฯ  24 ..นี้ เคาะราคาขาย IPO จำนวน 300 ล้านหุ้นที่ราคา 28.00 บาทต่อหุ้น ถือว่าเป็นหุ้นที่น่าจับตามองส่งท้ายปีนี้ ท่ามกลางการเเข่งขันในสงครามโลจิสติกส์อันดุเดือด หลังธุรกิจอีคอมเมิร์ซเติบโตพุ่งพรวดจากวิกฤต COVID-19

Positioning ขอสรุปพื้นฐานธุรกิจ เเผนเเละกลยุทธ์การเติบโต รายละเอียดไทม์ไลน์ของหุ้น IPO เเละภาพรวมธุรกิจอีคอมเมิร์ซ จากการแถลงของทีมผู้บริหาร เคอรี่ เอ็กซ์เพรส ประเทศไทย เบื้องต้นไว้ดังนี้

ส่องธุรกิจ Kerry Express

เคอรี่ เอ็กซ์เพรส” (Kerry Express) ข้ามน้ำข้ามทะเลจากฮ่องกง มาบุกธุรกิจในไทยตั้งแต่ปี 2549 เริ่มให้บริการจัดส่งพัสดุภาคเอกชนรายเเรกในประเทศไทย ให้บริการจัดส่งพัสดุแบบครบวงจร เจาะกลุ่มลูกค้าทุกประเภท

ก่อนที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญเมื่อ 2561 หลังบริษัท วีจีไอ จำกัด (มหาชน) หรือ VGI ธุรกิจสื่อโฆษณานอกบ้านยักษ์ใหญ่ในเครือบีทีเอส กรุ๊ป ทุ่มเงินเกือบ 6 พันล้านบาท เข้าซื้อหุ้น “เคอรี่ เอ็กซ์เพรส” ในสัดส่วน 23% ก้าวขึ้นมาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับ 2 (ปัจจุบันเหลือ 19%)

เรามาย้อนการเติบโตของธุรกิจ “ส่งพัสดุ” ของเคอรี่ ดังนี้

ปี 2554 จัดส่งพัสดุ 8,000 ชิ้นต่อวัน ในวันที่ความต้องการการบริการจัดส่งพัสดุสูง (peak day)

ปี 2556 เปิดร้านรับส่งพัสดุแห่งแรก เพื่อให้บริการด้านการจัดส่งพัสดุผ่านเคาน์เตอร์ของร้าน ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณถนนอโศก กรุงเทพมหานคร

ปี 2558 เริ่มให้บริการจัดส่งพัสดุภายในวันเดียวกัน (Bangkok Sameday : BSD) และได้เปิดตัวศูนย์บริการ
โลจิสติกส์บางนา ซึ่งเป็นศูนย์คัดแยกพัสดุแห่งแรกของบริษัท

ปี 2559 เร่ิมให้บริการการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ ที่ร้านรับส่งพัสดุและจุดรับ-ส่งพัสดุ

ปี 2560 จัดส่งพัสดุรวมทั้งหมดได้ 71 ล้านชิ้น เริ่มใช้ระบบ EasyShip แพลตฟอร์มออนไลน์ช่วยลูกค้าที่ใช้บริการการจัดส่งพัสดุแบบ C2C

ปี 2561 จัดส่งพัสดุรวมทั้งหมดได้ 173 ล้านชิ้น โดยจัดส่งพัสดุในประเทศไทย กว่า 1 ล้านชิ้นต่อวันที่มีความต้องการการบริการจัดส่งพัสดุสูงสุด

ปี 2562 ส่งพัสดุรวมทั้งหมดได้ 274 ล้านชิ้น เร่ิมให้บริการการจัดส่งพัสดุ แบบรับถึงบ้าน (D2D) และขยายเครือข่ายไปตามต่างจังหวัด มีพนักงานในสังกัดราว 2 หมื่นคน

ปี 2563 (ช่วง 9 เดือนเเรก) จัดส่งพัสดุรวมทั้งหมด 223.9 ล้านชิ้น ท่ามกลางการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ผู้บริโภคปรับพฤติกรรมมาซื้อของออนไลน์ สามารถจัดส่งพัสดุจำนวนทั้งสิ้นกว่า 1.2 ล้านชิ้นต่อวันทำการ

ปัจจุบัน Kerry Express มีเครือข่ายให้บริการครอบคลุมทั้ง 77 จังหวัด จุดให้บริการ 15,000 แห่ง พร้อมศูนย์กระจายพัสดุกว่า 1,200 แห่ง จำนวนรถรับส่งพัสดุ 25,000 คัน มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยสะสมต่อปี (2557-2562) ราว 134.9%

นอกจากนี้ ยังเป็นบริษัทภาคเอกชนที่ให้บริการเก็บเงินปลายทาง รายใหญ่ที่สุดในประเทศไทย โดยเฉลี่ย 6,500 ล้านบาทต่อเดือน มีอัตราพัสดุตีกลับราว 1.5% โดยรายได้ของบริษัท 9 เดือนแรกของปีนี้ มีรายได้กว่า 14,689 ล้านบาท กำไร 1,030 ล้านบาท

ขณะที่รายได้ และกำไรย้อนหลัง 3 ปีมีดังนี้

ปี 2560 รายได้ 6,626.41 ล้านบาท กำไรสุทธิ  730.26 ล้านบาท

ปี 2561 รายได้ 13,565.35 ล้านบาท กำไรสุทธิ  1,185.10 ล้านบาท

ปี 2562 รายได้ 19,781.93 ล้านบาท กำไรสุทธิ  1,328.55 ล้านบาท

ด้านสัดส่วนลูกค้าของเคอรี่กว่า 53% เป็นลูกค้าในกลุ่ม C2C หรือแบบบุคคลส่งถึงบุคคล เเละอีก 44% เป็นลูกค้ากลุ่ม B2C หรือแบบธุรกิจส่งถึงบุคคล และ 1.7% เป็นกลุ่มลูกค้าแบบ B2B หรือธุรกิจส่งถึงธุรกิจ

เมื่อเจาะลึกลงไปในสัดส่วนรายได้ จะเห็นว่าในปี 2563 (9 เดือนเเรก) เคอรี่มีรายได้ส่วนใหญ่ 53.9% จากกลุ่ม C2C รองลงมาคือ 44.3% จากกลุ่ม B2C เเละ 1.7% จากกลุ่ม B2B ส่วนที่เหลือ 0.1% มาจากรายได้โฆษณา

อเล็กซ์ อึ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บอกว่า เคอรี่ชอบทำอะไรเป็น “เจ้าเเรก” อย่างการเป็นผู้บุกเบิกการจัดส่งแบบ Next Day ในไทย เป็นเจ้าแรกที่ให้บริการรับชำระเงินปลายทาง และตอนนี้กำลังเป็น “เจ้าแรก” ของบริษัทส่งพัสดุด่วนของไทยที่จะนำหุ้นเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ

“การเติบโตของกลุ่ม C2C ลูกค้าส่งถึงลูกค้านั้นมีความสำคัญมากกับธุรกิจของเรา ทิศทางที่มุ่งต่อไปคือการขยายพื้นที่ให้บริการมากขึ้น เจาะพื้นที่ใหม่ ลูกค้าใหม่ เเละธุรกิจใหม่ๆ”

โตตาม “อีคอมเมิร์ซ” 

ตามที่ทราบกันว่า การเติบโตของธุรกิจขนส่งนั้นยึดโยงกับธุรกิจ “อีคอมเมิร์ซ” และ “โซเชียลมีเดีย” โดยยอดค้าปลีกออนไลน์ในไทยนั้น มีการเติบโตเฉลี่ย 22.2% (ปี 2557-2562) เเละคาดว่าอีก 5 ปีข้างหน้าจะเติบโตขึ้น 26.7%

ในปี 2563 ตลาดอีคอมเมิร์ซมีมูลค่ารวมอยู่ที่ 2,285 ล้านบาท และคาดว่าจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเป็นกว่า 5,406 ล้านบาทในปี 2567

ส่วนการพัฒนาของระบบ “โมบายเเบงกิ้ง” ก็ช่วยเร่งการเติบโตของรายได้ในตลาดอีคอมเมิร์ซ โดยมีมูลค่าธุรกรรมเติบโตเฉลี่ย 53.1% (ปี 2557-2562) เเละคาดว่าอีก 5 ปีข้างหน้าจะเติบโตขึ้น 22.1%

ทาง “เคอรี่” ตั้งเป้าว่าบริษัทจะขยายไปพร้อมๆ กับอุตสาหกรรมซื้อของออนไลน์ที่เฟื่องฟู โดยหวังจะมีอัตราเติบโตเฉลี่ยราว 20% ภายในอีก 5 ปี รั้งตำเเหน่งเบอร์ 1 ขนส่งเอกชนเมืองไทย 

กลยุทธ์สู้เเข่งดุ : เข้าหาลูกค้าตาม “ซอกซอย” 

KEX คาดว่าหลัง IPO ในตลาดหุ้น จะระดมทุนได้ราว 8,400 ล้านบาท โดยจะนำเงินไปใช้ขยายธุรกิจ ปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงาน ชำระคืนเงินกู้ และเป็นเงินทุนหมุนเวียนในกิจการ

ผู้บริหารเคอรี่ เน้นย้ำว่า จะยังคงใช้เเนวคิด “Kerry Express Everywhere” เพื่อเเข่งขันในตลาด ซึ่งจะมีการปรับตัวเข้ากับพฤติกรรมผู้บริโภคให้มากขึ้น เพิ่มช่องทางการชำระเงิน ลงทุนในเทคโนโลยีดิจิทัล อย่างการพัฒนาระบบจัดเก็บเเละกู้คืนข้อมูลในกรณีฉุกเฉิน การวิเคราะห์ข้อมูล เเละหาพันธมิตรใหม่ๆ

รวมไปถึงการพิจารณา “ควบรวมกิจการ” ในธุรกิจที่น่าสนใจเเละนำมาต่อยอดเพิ่มมูลค่าได้ ซึ่งตอนนี้ “เล็งไว้” หลายเจ้า เเต่ยังไม่สามารถเปิดเผยได้ในขณะนี้ 

วราวุธ นาถประดิษฐ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานปฏิบัติการ บอกว่า สิ่งที่ให้ความสำคัญมากที่สุดคือ การขยายธุรกิจ ขยายจุดส่งพัสดุให้เข้าถึงผู้บริโภคมากที่สุด จากตอนนี้ที่มีจุดให้บริการตาม “ถนนสายหลัก” ต่อไปจะเข้าไปหาลูกค้าตาม “ซอกซอย” ให้ได้

ทั้งนี้ จุดให้บริการ 15,000 แห่งนั้น ปัจจุบันเป็นสาขาที่เคอรี่ดำเนินการเองราว 2,000 เเห่ง เป็นการจับมือกับพันธมิตรอีก 3,000 เเห่ง เเละที่เหลืออีกกว่า 1 หมื่นเเห่งเป็นสาขาของ SME รายย่อย

เมื่อถามถึงการเเข่งขันด้าน “ราคา” ที่หลายคนมองว่าเคอรี่อาจจะมีค่าบริการที่สูงกว่าเจ้าอื่นในตลาดนั้น วราวุธ ตอบว่า บริษัทมีการดูเเลเรื่องนี้โดยตลอด เช่นการจัดเรตราคาตามหมวดหมู่ของสินค้า โดยอยากให้ผู้บริโภคเห็นถึง “คุณภาพ” ในการจัดส่งว่ามีความชัวร์เเละคุ้มค่า ในราคาที่ไม่เเพงไปกว่ากันมากนัก 

ทั้งนี้ คู่เเข่งรายสำคัญที่เพิ่งเข้ามาตีตลาดใหม่อย่าง “แฟลช เอ็กซ์เพรส” ก็เพิ่งได้รับการระดมทุน Series D มูลค่า 3,000 ล้านบาท ซึ่งจะทำให้เกิดการลงทุน “เเย่งลูกค้า” กันขึ้นในเร็วๆ นี้อย่างเเน่นอน

Photo : Shutterstock

เคาะราคา 28 บาทต่อหุ้น 

KEX เคาะราคาขายหุ้น IPO จำนวน 300 ล้านหุ้น ที่ราคา 28.00 บาทต่อหุ้น จากช่วงราคา 24-28 บาทต่อหุ้น มีอัตราส่วนราคาหุ้นต่อกำไรสุทธิ (P/E) ที่ 33 เท่า ใกล้เคียงกับธุรกิจขนส่งพัสดุในระดับภูมิภาคที่มีค่า P/E ที่ 20-30 เท่า

พร้อมเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย วันแรก 24 ธ.ค. 2563 เปิดให้จองซื้อตั้งแต่ 8-18 ธ.ค. นี้ โดยมีธนาคารไทยพาณิชย์ เเละบริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน เเละเป็นผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่ายร่วม

ในราคาที่ 28 บาทต่อหุ้นนั้น ถือเป็นราคาสูงสุดของช่วงราคาเสนอขายเบื้องต้น หลังนักลงทุนสถาบันแสดงความต้องการจองซื้อท่วมท้น มากกว่า 23 เท่า จากจำนวนหุ้นที่จัดสรรไว้ โดยมีกองทุนให้ความสนใจมากกว่า 100 กองทุน

การดำเนินการเสนอขายหุ้น IPO ไม่เกิน 300 ล้านหุ้นครั้งนี้ คิดเป็น 17.24% ของหุ้นทั้งหมด เเบ่งให้รายย่อยจำนวน 100 ล้านหุ้น (ครึ่งหนึ่งเป็นรายย่อยผู้มีอุปการคุณ) เเละที่เหลืออีก 200 ล้านหุ้น เป็นกลุ่มนักลงทุนสถาบัน โดยมุ่งเน้นไปยังกองทุนที่มีกลยุทธ์การ “ลงทุนระยะยาว” เป็นหลัก

ลุ้นเข้า SET50 กลางปีหน้า 

วีณา เลิศนิมิตร กรรมการบริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ จำกัด ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงินของ KEX มองว่า หลังการระดมทุนของเคอรี่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ ในวันที่ 24 ธ.ค. นั้น มีโอกาสที่บริษัทจะเข้าไปคำนวณในดัชนี SET 50 ได้ในช่วงกลางปี 2564 เพราะมองว่าเป็นหุ้นที่มีการเติบโตสูง ตามเทรนด์ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ซึ่งมีนักลงทุนให้ความสนใจเป็นอย่างมาก อาจทำให้มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดแตะระดับแสนล้านบาทได้ ทั้งนี้ หากประเมินตามราคา IPO ที่ 28 บาทนั้น เคอรี่จะมีมาร์เก็ตแคปราว 4.87 หมื่นล้านบาท

การก้าวเข้าสู่ปีที่ 15 ของ เคอรี่ เอ็กซ์เพรส ประเทศไทย หลังระดมทุน 8.6 พันล้านนั้น ต้องจับตาความเคลื่อนไหวกันต่อไป โดยเฉพาะผู้บริโภคอย่างเราๆ ที่เป็นหนึ่งในลูกค้าผู้ที่จะได้ประโยชน์จากสงครามธุรกิจนี้ 

 

 

]]>
1310803
Airbnb เปิด IPO วันแรก ราคาหุ้นพุ่งเท่าตัว! มูลค่าบริษัททะยานเหนือเชนยักษ์ Marriott https://positioningmag.com/1310107 Sat, 12 Dec 2020 10:19:52 +0000 https://positioningmag.com/?p=1310107 Airbnb สตาร์ทอัพระดับยูนิคอร์น เปิด IPO วันแรกราคาหุ้นพุ่งจากเปิดขายครั้งแรก 68 เหรียญสหรัฐต่อหุ้น ไปปิดตลาดที่ 144 เหรียญสหรัฐต่อหุ้น หรือเพิ่มขึ้นมากกว่าเท่าตัว! ส่งมูลค่าบริษัททะยานไปถึง 1 แสนล้านเหรียญสหรัฐ สูงยิ่งกว่ามูลค่าบริษัทของ 3 เชนโรงแรมดังระดับโลก Marriott, Hilton และ Hyatt รวมกัน

Airbnb เปิดขายหุ้น IPO ในตลาดหุ้น Nasdaq เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2020 โดยเปิดขายครั้งแรกในราคา 68 เหรียญสหรัฐต่อหุ้น จำนวนทั้งหมด 51.5 ล้านหุ้น ทันทีที่เปิดขายในตลาดหลักทรัพย์ ราคาหุ้นของบริษัทพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว จนไปสิ้นสุดที่ราคา 144.71 เหรียญสหรัฐเมื่อปิดตลาด ทำให้มูลค่าบริษัททะยานไปอยู่ที่กว่า 1 แสนล้านเหรียญสหรัฐ!

สถานการณ์ของบริษัทถือว่ากลับตาลปัตรกับช่วงครึ่งปีแรก เนื่องจากโรคระบาด COVID-19 ทำให้ Airbnb มียอดจองลดฮวบไปถึง 80% ในช่วงเวลาเพียงแค่ 6 วันแรกที่ข่าวโรคระบาดเริ่มลามไปทั่วโลก และส่งผลให้มูลค่าบริษัทลดลงเกือบครึ่งหนึ่งจาก 3.1 หมื่นล้านเหรียญ เหลือเพียง 1.8 หมื่นล้านเหรียญ ในช่วงเดือนเมษายนปีนี้ และเมื่อหนี้พอกพูนหนัก บริษัทจำต้องเลย์ออฟพนักงาน 25% ของบริษัทออกในเดือนพฤษภาคม

บริษัทกลับมาเดินตามตารางการเปิด IPO เมื่อสถานการณ์ตลาดท่องเที่ยวภายในประเทศเริ่มฟื้นตัวทั่วโลก ในช่วงปลายเดือนพฤษภาคมถึงต้นเดือนมิถุนายน นำมาสู่การระดมทุนที่แข็งแรงในครั้งนี้ โดยมูลค่าบริษัทที่สูงถึง 1 แสนล้านเหรียญนั้นสูงยิ่งกว่า 3 บริษัทใหญ่ในธุรกิจโรงแรมระดับโลกรวมกัน คือ Marriott International (มูลค่าบริษัท 4.23 หมื่นล้านเหรียญ) Hilton Worldwide (มูลค่าบริษัท 2.96 หมื่นล้านเหรียญ) และ Hyatt (มูลค่าบริษัท 7.47 พันล้านเหรียญ)

ทีมผู้ร่วมก่อตั้ง Airbnb: (จากซ้าย) “ไบรอัน เชสกี้” ซีอีโอ “โจ เจบเบีย” ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายผลิตภัณฑ์ และ “นาธาน เบลชาร์ชซิค” ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายกลยุทธ์ (Photo by Mike Windle/Getty Images for Airbnb)

ราคาหุ้นที่สูงจนแม้แต่ “ไบรอัน เชสกี้” ซีอีโอ Airbnb ยังตกตะลึงนั้นมีเหตุผลรองรับมากแค่ไหน? จีน่า ซานเชส ซีอีโอ Chantigo Global นักวิเคราะห์หุ้น มองว่าการประเมินมูลค่าในตลาดดังกล่าวถือว่าสมเหตุสมผล เพราะ
Airbnb มีเครือข่ายโรงแรมขนาดใหญ่ไปทั่วโลก และยังมีประเด็นการให้วัคซีนกับประชากรโลก ซึ่งจะทำให้ธุรกิจท่องเที่ยวฟื้นตัวกลับมา

Airbnb จึงไม่ใช่บริษัทเดียวที่กำลังกลับมาเป็นขาขึ้นหลังข่าวการวิจัยวัคซีนสำเร็จ บริษัทด้านการท่องเที่ยวอย่าง Booking ราคาหุ้นเติบโตขึ้นมา 90% และบริษัท Expedia ก็โตขึ้น 220% เทียบกับช่วงที่หุ้นท่องเที่ยวลงไปต่ำสุดเมื่อเดือนมีนาคม 2020

การระดมทุนครั้งนี้ทำให้บริษัทได้เงินทุนถึง 3.5 พันล้านเหรียญ และทำให้ผู้ร่วมก่อตั้งทั้งสามร่ำรวยขึ้นในชั่วข้ามวัน Forbes รายงานว่า “ไบรอัน เชสกี้” ซีอีโอบริษัท ยังมีหุ้นอยู่ 11% ในบริษัท ซึ่งทำให้เขามีทรัพย์สินสุทธิ 1.14 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ด้าน “นาธาน เบลชาร์ชซิค” ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายกลยุทธ์ และ “โจ เจบเบีย” ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายผลิตภัณฑ์ ต่างมีหุ้นอยู่คนละ 10% ทำให้ทั้งคู่มีทรัพย์สินสุทธิคนละ 1.03 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ จากการถือครองหุ้น Airbnb

ด้วยทรัพย์สินสุทธิมากขนาดนี้ทำให้ทั้งสามคนมีลุ้นติด 50 อันดับแรกเศรษฐีที่รวยที่สุดของสหรัฐอเมริกาปี 2021 หากราคาหุ้นยังไม่ผันผวนลดน้อยลงกว่านี้ โดยจะไปเบียดสู้กับเศรษฐีใหม่อีกรายหนึ่งอย่าง “อีริค หยวน” เจ้าของบริษัท Zoom ซึ่งปัจจุบันมีทรัพย์สินสุทธิ 1.1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ และอยู่ในอันดับที่ 43 เศรษฐีที่รวยที่สุดของสหรัฐอเมริกาปี 2020

Source: ETtech, Forbes, CNBC

]]>
1310107
อ่าน 8 ข้อ ทำความเข้าใจธุรกิจ “เอสซีจี แพคเกจจิ้ง” ก่อนตัดสินใจซื้อหุ้น SCGP https://positioningmag.com/1298532 Thu, 24 Sep 2020 11:16:38 +0000 https://positioningmag.com/?p=1298532 บิ๊กธุรกิจบรรจุภัณฑ์อย่าง บมจ.เอสซีจี แพคเกจจิ้ง (SCGP) เตรียมระดมทุนในตลาดหุ้นไทยวันแรกเดือน ต..นี้ เพื่อขยายธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ เคาะราคาเปิดขายหุ้น IPO ออกมาแล้วเบื้องต้นที่ 33.50-35.00 บาทต่อหุ้น เปิดให้จองซื้อในวันที่ 28 .. – 7 .. (ขึ้นอยู่กับประเภทของผู้จองซื้อ) คาดระดมทุนได้ 4.3-4.5 หมื่นล้านบาท ถือว่าเป็นหุ้นที่น่าจับตามองของปีนี้ ท่ามกลางตลาดที่กำลังซบเซา 

ช่วงนี้ธุรกิจบรรจุภัณฑ์ หรือเเพ็กเกจจิ้งเติบโตขึ้นอย่างมากในช่วงที่ผ่านมา เมื่อเดลิเวอรี่เฟื่องฟูจากอานิสงส์การเเพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้ผู้บริโภคปรับเปลี่ยนพฤติกรรมใหม่ อีกทั้งเทรนด์รักษ์โลกเเละการลดใช้พลาสติกที่กำลังเเพร่หลาย ก็สร้างความท้าทายให้เหล่าผู้ผลิตต้องปรับตัวขนานใหญ่ โดย SCGP ถือเป็นเจ้าใหญ่ที่ครองตลาดอาเซียนถึง 36%

Positioning ขอสรุปพื้นฐานธุรกิจ เเผนเเละกลยุทธ์การเติบโต รายละเอียดไทม์ไลน์ของหุ้น IPO เเละภาพรวมอุตฯ บรรจุภัณฑ์ในอาเซียน จากการแถลงของวิชาญ จิตร์ภักดี” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.เอสซีจี แพคเกจจิ้งเเละทีมผู้บริหาร เบื้องต้นไว้ดังนี้

อนาคต เเพ็กเกจจิ้ง “อาเซียน” 

ภาพรวมธุรกิจบรรจุภัณฑ์ทุกประเภทในภูมิภาคอาเซียน มีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยมีมูลค่ารวมกว่า 51,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2561 ซึ่งคาดว่าในช่วง 6 ปี (ปี 2561-2567) จะมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ 6.1% หรือมีมูลค่าตลาดบรรจุภัณฑ์รวมอยู่ที่ 72,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2567

อาเซียน ถือเป็นตลาดใหญ่ที่มีศักยภาพในการเติบโตสูง โดยประเทศไทย เวียดนาม อินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ มีประชากรรวมกันกว่า 500 ล้านคนและมี 4 เมกะเทรนด์ที่จะส่งผลดีต่อปริมาณการใช้บรรจุภัณฑ์ อย่าง

  • อัตราการบริโภคบรรจุภัณฑ์กระดาษและบรรจุภัณฑ์จากพอลิเมอร์ที่เพิ่มขึ้น
  • การเปลี่ยนแปลงของจำนวนประชากรและไลฟ์สไตล์
  • ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ที่กำลังเติบโตเฉลี่ย 26% ต่อปี และการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม
  • การเติบโตของธุรกิจเดลิเวอรี่

ขณะเดียวกัน ปัจจัยหนุนของการเพิ่มขึ้นของประชากร “วัยหนุ่มสาวรายได้ปานกลาง” ในอาเซียน เช่น เวียดนาม ก็เป็นโอกาสสำคัญที่จะสร้างเเพ็กเกจจิ้งที่มีความเเตกต่างเเละเป็นมิตรกับสิ่งเเวดล้อมมากขึ้น

ส่องธุรกิจ SCGP

เอสซีจี เริ่มต้นธุรกิจเยื่อและกระดาษในปี 2518 ภายใต้บริษัท The Siam Pulp and Paper ช่วง 30 ปีแรก ทำกระดาษบรรจุภัณฑ์ เยื่อกระดาษ บรรจุภัณฑ์กล่องลูกฟูก กระดาษพิมพ์เขียน เริ่มขยายธุรกิจกระดาษบรรจุภัณฑ์ไปในอาเซียน โดยประเทศเเรก ฟิลิปปินส์ จากนั้นช่วงปี 2549-2557 ขยายไปยังเวียดนามและอินโดนีเซีย ก่อนจะลงทุนลงทุนบรรจุภัณฑ์วัตถุดิบ Polymer เเละรีแบรนด์เป็น SCG Paper ในปี 2557

จากนั้นตั้งเเต่ปี 2558 ถึงปัจจุบันมีการรีแบรนด์อีกครั้ง จาก SCG Paper เป็น SCG Packaging ครองส่วนแบ่งในตลาดอาเซียน 36% มีบรรจุภัณฑ์ทั้งหมดราว 120,000 รายการ มีลูกค้าราว 4,000 ราย ผลิตตั้งแต่กล่องกระดาษลูกฟูก กล่องพิมพ์เพื่อแสดงสินค้า ไปจนถึงบรรจุภัณฑ์แบบอ่อนตัว บรรจุภัณฑ์แบบคงรูป

โดยสินค้ายอดนิยมตอนนี้ คือ “กระดาษบรรจุภัณฑ์” (Packaging Paper) เเละ “ถุงกระดาษรีไซเคิล” สําหรับสินค้าอุปโภคบริโภค และถุงอุตสาหกรรม

ผลการดำเนินงานครึ่งปีแรก 2563 มีรายได้จากการขายรวม 45,903 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 11% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน จากอานิสงส์การเติบโตของอีคอมเมิร์ซ ฟู้ดเดลิเวอรี่ อาหารส่งออก สินค้าอุปโภคบริโภคที่ต้องใช้ในชีวิตประจำวัน กลุ่มสินค้าเพื่อสุขภาพและสุขอนามัย

ขณะที่ช่วง 4 ปีที่ผ่านมา (ปี 2559-62) มีรายได้จากการขายเติบโตเฉลี่ยปีละ 6.1% และมีกำไรสุทธิเติบโตเฉลี่ยปีละ 15.2% ในปี 62 มีรายได้จากการขาย 8.9 หมื่นล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 5.89 พันล้านบาท ขณะที่ในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ มีรายได้จากการขาย 4.59 หมื่นล้านบาท เติบโต 10.5% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และมีกำไรสุทธิ 4.2 พันล้านบาท เติบโต 45.6% จากงวดปีก่อน

ด้านสัดส่วนรายได้จากยอดขายทั้งหมดของ SCGP จากข้อมูลครี่งปีเเรก 2563 เเบ่งเป็นตามประเทศ ได้เเก่ ไทย 52% ประเทศอื่นในอาเซียน (อินโดนีเซีย เวียดนาม ฟิลิปปินส์) 28% เเละประเทศอื่นๆ 20% หากเเบ่งตามสายผลิตภัณฑ์ ได้เเก่ กระดาษบรรจุภัณฑ์ 51% ผลิตภัณฑ์ขั้นปลายน้ำ 33% เเละสายธุรกิจเยื่อกระดาษ 16% 

ขณะที่หากเเบ่งเป็นตามประเภทธุรกิจของบรรจุภัณฑ์ ได้เเก่ อาหารเเละเครื่องดื่ม 42% ธุรกิจอื่นๆ 31% สินค้าอุปโภคบริโภคที่มีการจำหน่ายเร็ว (FMCG) อุปกรณ์เเละอิเลกทรอนิกส์ 13%

SCGP มีหน่วยงาน Inspired Studio ออกแบบบรรจุภัณฑ์ โดยมีนักออกแบบ 36 คน มีนักวิจัยและพัฒนา 90 คน  นักค้นคว้าและวิจัย 12 คนเเละพนักงานขายและบริการลูกค้า 500 คน ปัจจุบันได้จดทะเบียนสิทธิบัตรกับกระทรวงพาณิชย์ 66 รายการ

บุกอาเซียนเต็มสูบ 

กลยุทธ์ต่อไปของ SCGP หลักๆ จะเน้นไปที่การ “ขยายลงทุนอาเซียน” โดยในปี 2563 บริษัทได้ทำการเจรจาและลงนามในสัญญาซื้อหุ้นกับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของ Bien Hoa Packaging Joint Stock Company (SOVI) ผู้ผลิตและจำหน่ายบรรจุภัณฑ์กล่องลูกฟูกรายใหญ่ในเวียดนาม เเละกำลังอยู่ระหว่างขยายกำลังผลิตอีก 4 โครงการใช้งบลงทุนรวมกว่า 8,200 ล้านบาท ซึ่งจะทยอยแล้วเสร็จในปี 2563–2564 ทั้งนี้ SCGP มีโรงงานอยู่เเล้ว 40 แห่งใน 5 ประเทศอาเซียน คือ ไทย เวียดนาม อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์เเละมาเลเซีย 

โดยเเบ่งงบลงทุนอย่างละเอียด ได้เเก่

  • เวียดนาม – ขยายกำลังผลิตบรรจุภัณฑ์เเบบอ่อนตัว เงินลงทุน 543 ล้านบาท คาดเเล้วเสร็จไตรมาส 3/2563
  • อินโดนีเซีย – ขยายกำลังผลิตกระดาษบรรจุภัณฑ์ เงินลงทุน 1,735 ล้านบาท คาดเเล้วเสร็จไตรมาส 1/2564
  • ฟิลิปปินส์ – ขยายกำลังผลิตกระดาษบรรจุภัณฑ์ เงินลงทุน 5,388 ล้านบาท คาดเเล้วเสร็จไตรมาส 2/2564
  • ไทย – ขยายกำลังการผลิตบรรจุภัณฑ์เเบบอ่อนตัว เงินลงทุน 600 ล้านบาท คาดเเล้วเสร็จไตรมาส 3/2564

ที่ผ่านมา SCGP มีการปรับโมเดลธุรกิจของ SCGP จากอุตสาหกรรมการผลิตสู่การเป็น Packaging Solutions Provider มีรูปแบบการดำเนินธุรกิจแบบ B2B B2B2C และ B2C เน้นเร่งขยายไลน์บรรจุภัณฑ์ให้ครบวงจรมากขึ้นตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่หลากหลาย ด้วยโมเดลเศรษฐกิจหมุนเวียน นำทรัพยากรธรรมชาติกลับมาใช้ใหม่ให้มากที่สุด เป็นวัสดุที่รีไซเคิลได้กว่า 95%

ผู้บริหาร SCGP มองตลาดบรรจุภัณฑ์ในประเทศไทยช่วงครึ่งปีหลังว่า จะยังคงมีการเติบโตท่ามกลางความท้าทายของภาวะเศรษฐกิจ โดยภาคธุรกิจต่างๆ เริ่มทยอยกลับมาดำเนินธุรกิจได้อีกครั้ง

“คาดว่าจะส่งผลดีต่อการอุปโภคและบริโภค โดยเฉพาะสินค้าอาหารกระป๋อง อาหารแช่แข็ง สินค้าอุปโภคบริโภค สินค้าเพื่อการดูแลสุขภาพ เเต่กลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุตสาหกรรมยานยนต์ จะยังคงมีแนวโน้มชะลอตัวเนื่องจากเป็นสินค้าคงทนและมีมูลค่าสูง” 

เตรียมขึ้นเป็น SET50

ผู้บริหาร SCGP ระบุว่า การระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ครั้งนี้จะนำเงินเพื่อขยายธุรกิจ ทั้งในรูปแบบการขยายกำลังการผลิต การร่วมทุน การเข้าซื้อกิจการ การชำระคืนเงินกู้ยืม และสำหรับเป็นเงินทุนหมุนเวียนในธุรกิจ

“ประมาณการเบื้องต้นของมูลค่าตลาดของบริษัทจะอยู่ที่ราว 1.4 แสนล้านบาท มีความเป็นไปได้สูงที่จะเข้าไปอยู่ใน SET50 ตั้งแต่วันแรกๆ ที่จะเข้าเทรดตามกฎตลาดหลักทรัพย์” 

SCGP จะเป็นหุ้น IPO ที่จะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ภายในเดือนต.ค.2563 ซึ่งจะมีการกำหนดราคาซื้อขายวันสุดท้าย วันที่ 8 ต.ค.ที่จะถึงนี้ โดยมีธนาคารไทยพาณิชย์ เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน และมีบล.ไทยพาณิชย์ บล.บัวหลวง เป็นผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่าย

เคาะ 33.50-35.00 บาท/หุ้น รายย่อยขั้นต่ำ 1,000 หุ้น 

โดยหุ้น SCGP จะจัดอยู่ในกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรม หมวด “บรรจุภัณฑ์” ซึ่งจะมีการเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนใหม่ไม่เกิน 1,296.68 ล้านหุ้น แบ่งเป็นหุ้นที่เสนอขายให้กับประชาชนทั่วไป (IPO) จำนวนไม่เกิน 1,127.55 ล้านหุ้น คิดเป็น 26.5% ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและชำระแล้วทั้งหมด ส่วนที่เหลือไม่เกิน 169.1 ล้านหุ้น จะเป็นการขายหุ้นส่วนเกิน (Green Shore)

วีณา เลิศนิมิตร ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงาน Investment Banking ธนาคารไทยพาณิชย์ ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงินและผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่ายร่วม กล่าวว่า ช่วงราคาเสนอขายหุ้นให้กับประชาชนทั่วไปครั้งแรก (IPO) ของ SCGP ที่กำหนดไว้ 33.50-35.00 บาท/หุ้น นับว่าเป็นระดับที่น่าพอใจ มี P/E ที่ราว 22-23 เท่า เชื่อว่าผลประกอบการของ SCGP ยังมีโอกาสที่จะเติบโตขึ้นต่อไปในอนาคต

สำหรับช่วงราคาเสนอขายเบื้องต้นสำหรับหุ้น IPO ของ SCGP กำหนดที่ 33.50 -35.00 บาทต่อหุ้นนี้ “นักลงทุนรายย่อย” ต้องจองซื้อที่ 35.00 บาทต่อหุ้น ขั้นต่ำที่ 1,000 หุ้น มูลค่า 35,000 บาท และหากช่วงกำหนดราคาซื้อขายวันสุดท้ายวันที่ 8 ต.ค. ต่ำกว่าราคา 35 บาท หรืออาจมีคนเข้ามาจองซื้อมากจนล้นก็จะไม่สามารถจัดสรรให้ได้เต็มจำนวน ซึ่งส่วนเกินดังกล่าวบริษัทจะมีการคืนเงินให้กับผู้จองซื้อหลังจากปิดการจำหน่ายแล้ว

นักลงทุนสถาบัน เซ็นสัญญาซื้อเเล้ว 60% 

การเสนอขายหุ้นของ SCGP ครั้งนี้ ได้รับความสนใจจาก “นักลงทุนสถาบัน” โดยมีกลุ่มนักลงทุนหลักแบบเฉพาะเจาะจง (Cornerstone Investors) จำนวน 18 ราย ได้ลงนามในสัญญา Cornerstone Placing Agreement รวมทั้งสิ้น 676.53 ล้านหุ้น หรือ ประมาณ 60% ของจำนวนหุ้นสามัญเพิ่มทุนที่เสนอ IPO

ประกอบด้วย นักลงทุนสถาบันในประเทศ 14 รายรวมทั้งสิ้น 600 ล้านหุ้น ได้เเก่ 1.บลจ.บัวหลวง จำนวน 135 ล้านหุ้น 2.บลจ.กสิกรไทย จำนวน 135 ล้านหุ้น 3.บลจ.ไทยพาณิชย์ จำนวน 81 ล้านหุ้น 4.บลจ.เอ็มเอฟซี จำนวน 63 ล้านหุ้น 5.บลจ.ทิสโก้ จำนวน 42 ล้านหุ้น 6.บลจ.กรุงไทย จำนวน 37 ล้านหุ้น

7.บลจ.ยูโอบี(ประเทศไทย) จำนวน 26 ล้านหุ้น 8.บลจ.ธนชาต จำนวน 25 ล้านหุ้น 9.บมจ.ไทยประกันชีวิต จำนวน 13 ล้านหุ้น 10.บลจ.อเบอร์ดีน สแตนดาร์ด (ประเทศไทย) จำนวน 11 ล้านหุ้น 11.บมจ.เมืองไทยประกันชีวิต จำนวน 8 ล้านหุ้น 12.บลจ.พรินซิเพิล จำนวน 8 ล้านหุ้น 13.บลจ.ภัทร จำนวน 8 ล้านหุ้น 14.บลจ.วรรณ จำนวน 8 ล้านหุ้น

ส่วนที่เหลือ 4 รายเป็นนักลงทุนสถาบันต่างประเทศรวม 76.53 ล้านหุ้น คือ 1.Avanda Investment Management Pte Ltd จำนวน 27 ล้านหุ้น 2.NTAsian Discovery Master Fund จำนวน 23 ล้านหุ้น 3.Ghisallo Master Fund LP จำนวน 13.265 ล้านหุ้น 4. Tydor Systematic Tactical Trading LP จำนวน 13.265 ล้านหุ้น

เเละที่เหลืออีก 15% จัดสรรให้ผู้ถือหุ้นของบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) หรือ SCC ที่มีสิทธิได้รับการจัดสรรหุ้น 15% และอีก 25% จัดสรรให้ผู้มีอุปการคุณของ SCGP และผู้ถือหุ้นกู้ของ SCC และลูกค้าของผู้จัดการจำหน่ายและการรับประกันรวมทั้งหมด 11 แห่ง

ระยะเวลาจองซื้อ

สำหรับกำหนดระยะเวลาจองซื้อของผู้จองซื้อแต่ละประเภท มีดังนี้

  • ผู้ถือหุ้น SCC, ผู้ถือหุ้น SCGP, ผู้มีอุปการคุณของ SCGP รวมถึงผู้ถือหุ้นกู้ SCC สามารถจองซื้อได้ในวันที่ 28 ก.ย.- 2 ต.ค.2563 (เฉพาะวันทำการ)
  • ผู้จองซื้อรายย่อย สามารถจองซื้อได้ในวันที่ 1,2 และ 5 ต.ค.2563 โดยจองซื้อขั้นต่ำที่ 1,000 หุ้น มูลค่า 35,000 บาท วิธีการจัดสรรจะเป็นลักษณะ Small Lot First ทุกคนจะได้หุ้นเพียงแต่จะแจกเป็นรอบๆ จนกระทั่งหุ้นหมด
  • บุคคลตามดุลพินิจของผู้จัดจำหน่ายหลักทรัพย์ สามารถจองซื้อได้ในวันที่ 5-7 ต.ค. 2563

คาดระดมทุนได้ 4.3-4.5 หมื่นล้าน

กุลเชฏฐ์ ธาราจันทร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายการเงิน SCGP กล่าวว่า การระดมทุนครั้งนี้ จะได้เงินมาประมาณ 4.3-4.5 หมื่นล้านบาท (รวมหุ้นส่วนเกิน) โดยจำนวนเงิน 27,000 ล้านบาท หรือราว 60% ที่จะใช้ในการขยายการเติบโตของธุรกิจ

อย่างไรก็ตาม บริษัทมีการเติบโตแบบ Organic ซึ่งได้ลงทุนรวมไปกว่า 8,200 ล้านบาท ในการขยาย 4 โครงการในประเทศอาเซียน ตามที่กล่าวไว้ข้างต้น ด้านความแข็งแกร่งทางการเงิน มีหนี้สินต่อทุน (D/E) อยู่ที่ 0.9 เท่า เมื่อได้เงินจากการระดมทุนครั้งนี้ จะใช้เงินบางส่วนในการลดอัตราส่วนหนี้สินต่อทุน เพื่อให้งบการเงินมีความแข็งแกร่งที่จะเติบโตต่อไป ซึ่งบริษัทมีนโยบายจ่ายเงินปันผลขั้นต่ำ 20% ของกำไรสุทธิ

ในเมื่อธุรกิจเเพ็กเกจจิ้งมีเเนวโน้มจะเติบโตต่อเนื่อง เเต่อะไรคือความท้าทายของ SCGP กุลเชฏฐ์  ตอบว่า “ความท้าทายของธุรกิจเรา คือการหาสิ่งใหม่ๆ เพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคที่เปลี่ยนเร็ว ดังนั้นการปรับตัวขององค์กร ผู้บริหารเเละทีมงานให้ทัน จึงเป็นสิ่งที่ต้องทำให้ได้ ” 

 

]]>
1298532