จีดีพี – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 20 Nov 2023 05:38:22 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 GDP ไทยไตรมาส 3 โตแค่ 1.5% เท่านั้น ได้ภาคการบริโภค ท่องเที่ยว แบกเศรษฐกิจไทยไว้ https://positioningmag.com/1452402 Mon, 20 Nov 2023 02:53:21 +0000 https://positioningmag.com/?p=1452402 สภาพัฒน์รายงานตัวเลขเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 3 ของปี 2566 ที่ผ่านมานั้นเติบโตแค่ 1.5% เท่านั้น ซึ่งต่ำกว่านักวิเคราะห์คาดไว้ โดยปัจจัยหลักในไตรมาสนี้ที่ยังทำให้เศรษฐกิจไทยเติบโตได้คือ ภาคการบริโภค รวมถึงภาคการท่องเที่ยว อย่างไรก็ดีปัจจัยที่ฉุดรั้งเศรษฐกิจไทยไตรมาสนี้คือภาคการส่งออก

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) ได้รายงานตัวเลขการเติบโตเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 3 ของปี 2566 นั้น GDP เติบโตได้ 1.5% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ซึ่งตัวเลขดังกล่าวสื่อต่างประเทศมองว่าอาจทำให้รัฐบาลตัดสินใจออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจออกมา

ตัวเลขเศรษฐกิจไทยในไตมาสนี้ต่ำกว่าผลสำรวจของนักวิเคราะห์ของทั้ง Bloomberg มองว่าเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ผ่านมานั้นเติบโตอยู่ที่ 2.2% และมองว่าไทยอาจมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจออกมา ขณะที่สำนักข่าว Reuters มองว่าเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่ผ่านมาเติบโตได้ 2.4%

ถ้าหากมองตัวเลขการเติบโตต่อเนื่องจากไตรมาส 2 ของปีนี้ ไตรมาส 3 นี้เศรษฐกิจไทยเติบโตแค่ 0.8% เท่านั้น ขณะที่ 9 เดือนแรกของไทย GDP เติบโตที่ 1.9%

ปัจจัยสำคัญที่ถ่วงเศรษฐกิจไทยในไตรมาสนี้คือภาคการส่งออกที่ได้รับผลกระทบจากความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจทั่วโลก โดยเฉพาะปัจจัยจากประเทศจีน อย่างไรก็ดีปัจจัยบวกในไตรมาสนี้ก็คือการบริโภคภายในประเทศที่ยังเติบโต รวมถึงการลงทุนของภาคเอกชน

สำหรับตัวเลขที่น่าสนใจในไตรมาส 3 นี้

  • การบริโภคในประเทศเติบโต 8.1%
  • การส่งออกของไทยเติบโต 0.2% (ในสกุลดอลลาร์ -2%) ขณะที่การนำเข้าสินค้าถดถอย -10.2%
  • การลงทุนภาคเอกชนเติบโต 3.1%
  • การอุปโภคภาครัฐกลับถดถอยที่ -4.9%
  • อัตราการว่างงานอยู่ที่ 0.99% ต่ำที่สุดในรอบ 15 ไตรมาส

สภาพัฒน์คาดว่า GDP ไทยในปีนี้จะเติบโตได้ 2.5% และคาดว่าตัวเลขเงินเฟ้อของไทยอยู่ที่ 1.4% ขณะที่ปี 2567 คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะเติบโตในช่วง 2.7-3.7%

]]>
1452402
คลายล็อกดาวน์เร็ว KBANK ปรับจีดีพี ปี64 เป็น 0.2% ปีหน้าโต 3.7% ระวังราคาน้ำมัน-เงินเฟ้อ https://positioningmag.com/1358836 Wed, 27 Oct 2021 12:19:58 +0000 https://positioningmag.com/?p=1358836
Photo : Shutterstock
KBANK ปรับเป้าตัวเลขจีดีพีไทยปีนี้ ‘ดีขึ้น’ จากเดิมที่คาดว่าจะหดตัว -0.5% มาเป็นบวก 0.2% หลังรัฐคลายล็อกดาวน์และเปิดประเทศเร็วขึ้น ประเมินนักท่องเที่ยวต่างชาติมาไทยเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก 1.5 แสนคน เป็น 1.8 แสนคน จับตาความเสี่ยงจากราคาน้ำมัน-เงินเฟ้อ กระทบค่าครองชีพ 

ณัฐพร ตรีรัตน์ศิริกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด กล่าวว่า ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ต้องปรับประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ของไทยในปีนี้ให้ขยายตัวอยู่ที่ 0.2% จากเดิมที่ -0.5% หลักๆ มาจากอัตราการฉีดวัคซีนและการคลายล็อกดาวน์โควิด-19 ได้เร็วขึ้นกว่าที่ประเมินไว้ ส่วนการใช้จ่ายภาครัฐ ก็เห็นว่ายังมีการเบิกจ่ายเท่ากับปีงบประมาณปกติ

“การเปิดประเทศที่เร็วขึ้นนี้ ทำให้ปรับเพิ่มคาดการณ์จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก 1.5 แสนคน มาเป็น 1.8 แสนคน”

อย่างไรก็ตาม ผลกระทบจากน้ำท่วมและค่าครองชีพที่สูงขึ้นจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นอย่างมาก รวมไปถึงความเสี่ยงที่การแพร่เชื้ออาจจะกลับมาหลังเปิดประเทศ ยังคงเป็นปัจจัยที่ทำให้คาดการณ์จีดีพีของปี 2564 เป็นไปอย่างจำกัด ในกรณีเลวร้ายหากมีการระบาดระลอกใหม่อีก ก็อาจจะส่งผลกระทบต่ออัตราการเติบโตของปี 2565 ด้วย

ราคาน้ำมันพุ่ง เพิ่มต้นทุนธุรกิจ กระทบค่าครองชีพ

ด้านสถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นในช่วงเดือนก.ย.-ต.ค. 2564 กระทบต่อภาคเกษตรประมาณ 6-7 ล้านไร่ รวมถึงนอกภาคเกษตร อย่างภาคบริการและแรงงานรับจ้างรายวัน ที่ได้รับผลกระทบจากการที่ธุรกิจหยุดชะงักลงบางพื้นที่ในกว่า 30 จังหวัด

เกวลิน หวังพิชญสุข ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า น้ำท่วมรอบดังกล่าวสร้างเสียหายทางเศรษฐกิจประมาณ 2.5 หมื่นล้านบาท หรือ 0.16% ของ GDP น้อยกว่าเหตุการณ์น้ำท่วมในปี 2551, 2553 และ 2560 ที่ผ่านมา (รวมผลกระทบข้างต้นในประมาณการจีดีพีปี 2564 แล้ว)

ด้านผลกระทบต่อราคาน้ำมันสูงต่อธุรกิจในปี 2564 คาดว่า ในกรณีที่ราคาน้ำมันดีเซลในระยะที่เหลือของปีนี้ อยู่ในช่วง 25.0-29.2 บาทต่อลิตร จะมีผลให้ต้นทุนการผลิตของภาคธุรกิจ เพิ่มขึ้นประมาณ 0.55-0.73% และต้นทุนขนส่งเพิ่มขึ้นประมาณ 0.33-0.44% หรือรวมกันธุรกิจจะมีต้นทุนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นราว 1% โดยธุรกิจที่ได้รับผลกระทยโดยตรง ได้เเก่ เหมืองเเร่ ประมง โลจิสติกส์ ค้าปลีกเเละค่าส่ง เป็นต้น

ราคาพลังงาน ประเด็นคอขวดภาคการผลิต และการคาดการณ์เงินเฟ้อ เป็นปัจจัยสําคัญที่ทำให้เศรษฐกิจหลักเผชิญ แรงกดดันเงินเฟ้อที่สูงขึ้น

ท่ามกลางภาวะที่ราคาน้ำมันชนิดอื่นๆ ปรับขึ้นแรงกว่าน้ำมันดีเซลที่ยังมีกลไกการดูแลราคาจากภาครัฐ รวมถึงการที่ต้นทุนอื่นๆ โน้มเพิ่มขึ้นในภาวะที่ยอดขายยังไม่กลับมา ก็ย่อมจะเพิ่มโจทย์การฟื้นตัวให้กับภาคธุรกิจ เเละยังต้องติดตามสถานการณ์ราคาน้ำมันต่อในปีหน้าด้วย

ราคาสินค้าโภคภัณฑ์จะปรับสูงขึ้น จากต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ขณะที่กำลังซื้อในประเทศก็ยังไม่ฟื้นตัวกลับมาเต็มที่ ทำให้ผู้บริโภคมีภาระค่าครองชีพสูงตามไปด้วย

จากผลสำรวจครัวเรือนไตรมาส 3/64 พบว่า ครัวเรือนไทยประมาณ 73% รายได้ปรับลดลง และส่วนใหญ่มีรายจ่ายที่เพิ่มขึ้นสวนทางรายได้ที่ลดลง ต้องเเบกภาระหนี้บ้าน รถยนต์ และบัตรเครดิต ซึ่งราคาน้ำมันที่ปรับเพิ่มขึ้นได้กระทบต่อภาระค่าครองชีพของครัวเรือนหรือสถานการณ์ทางการเงินของครัวเรือนให้เปราะบางมากขึ้น

จับตาเงินเฟ้อ 

โดยรวมจีดีพีไตรมาสที่ 4 ของปี 2564 จะขยายตัวเป็นบวก 3.6% เทียบจากไตรมาส 3 แต่หดตัว -0.5% เมื่อเทียบช่วงเดียวกันปีก่อน ส่วนไตรมาสที่ 3 นับเป็นจุดต่ำสุด โดยเทียบไตรมาสก่อนหน้าจะหดตัว -3% และหดตัว -4.4% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน

สำหรับแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2565 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่ากลับมาฟื้นตัวได้ที่ 3.7% จากการที่ประชาชนได้รับวัคซีนเกินกว่า 70% ช่วยลดความจำเป็นที่จะต้องใช้มาตรการล็อกดาวน์ลงและการดำเนินธุรกิจไม่หยุดชะงัก นอกจากนี้ยังมีปัจจัยหนุนจากการส่งออก การใช้จ่ายครัวเรือนที่ฟื้นตัวจากฐานที่ต่ำ และการกลับมาบริโภคหลังจากอั้นไว้ในช่วงล็อกดาวน์ เเละคาดว่าจะมีจำนวนนักท่องเที่ยวอยู่ที่ 2 ล้านคนในปีหน้า ขณะที่ปัจจัยเสี่ยงจะอยู่ที่ราคาพลังงานที่พุ่งสูงและเงินเฟ้อ

“มองว่าเศรษฐกิจไทยยังไม่ได้เข้าสู่ภาวะ Stagflation โดยมองเงินเฟ้อในปี 2565 จะอยู่ที่ 1.6% บนเงื่อนไขที่ราคาน้ำมันโลกไม่ได้ยืนอยู่ในระดับสูงมากกว่า 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลเป็นระยะเวลายาวต่อเนื่อง”

โดยประเมินราคาน้ำมันน้ำมันดิบดูไบอยู่ที่ 82 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลในไตรมาส 4 ปีนี้ และในไตรมาส 1/2565 จะในกรณีเลวร้ายที่ OPEC และสหรัฐฯ เพิ่มกำลังการผลิตต่ำกว่าคาด ฤดูหนาวที่ยาวกว่าคาด และวิกฤตพลังงานในจีนยังไม่คลี่คลาย อาจปรับเพิ่มขึ้นไปอยู่ที่ระดับ 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

อัตราเงินเฟ้อของไทย น่าจะยังอยู่ในกรอบ 1-3% ส่วนภาวะ Stagflation นั้นที่ผ่านมาเงินเฟ้อจะต้องเพิ่มขึ้นไปเป็นดับเบิลดิจิต ซึ่งโอกาสที่จะเกิดขึ้นก็คงมีไม่มากนัก

ด้านค่าเงินบาท ส่วนที่เหลือของปีนี้ จะเริ่มเเข็งค่าขึ้นอยู่ในกรอบ 32.5-34 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ (ค่าเฉลี่ยที่ 32.75) ซึ่งปีหน้าคาดว่าค่าเงินบาทจะเเข็งค่าขึ้นเล็กน้อยจากปีนี้ เเต่ยังคงมีความไม่เเน่นอนสูง ซึ่งหากสถานการณ์โควิดยังไม่คลี่คลายลงก็จะมีเเนวโน้มออ่อนค่าได้อีกในปีหน้า

]]>
1358836
สภาพัฒน์ หั่นเป้าจีดีพีไทย ปี 64 เหลือ 0.7-1.2% ฟื้นตัว ‘อย่างช้าๆ’ ต้องเร่งคุมการระบาด https://positioningmag.com/1346823 Mon, 16 Aug 2021 05:33:27 +0000 https://positioningmag.com/?p=1346823 สภาพัฒน์ฯ เเถลงจีดีพีไตรมาส 2 ขยายตัว 7.5% จากฐานที่ต่ำเเละอานิสงส์ส่งออก มองเศรษฐฏิจไทยยังไม่ถดถอยในทางเทคนิค เเต่กำลังขยายตัวลดลงเรื่อยๆ เเละมีเเนวโน้มฟื้นตัว ‘อย่างช้าๆ’ ปรับลดประมาณการจีดีพีทั้งปีนี้ เหลือ 0.7 -1.2% เเนะรัฐฉีดวัคซีน-เยียวยาให้ทั่วถึง เร่งคุมการระบาดให้ได้ในไตรมาส 3 

สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เเถลงว่า เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 2 ของปี 2564 ขยายตัว 7.5% ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลง 2.6% ในไตรมาสก่อนหน้า (%YoY)

และเมื่อปรับผลของฤดูกาลออกแล้ว เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 2 ของปี 2564 ขยายตัวจากไตรมาสแรกของปี 2564 อยู่ที่ 0.4% (QoQ_SA) รวมครึ่งแรกของปี 2564 เศรษฐกิจไทย ขยายตัวที่ 2%

โดยได้รับแรงสนับสนุนจากการขยายตัวของการลงทุนรวม 8.1% ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการขยายตัว 27.5% สาขาอุตสาหกรรมขยายตัว 16.8% สาขาขนส่งขยายตัว 11.6% 

เศรษฐกิจไทยครึ่งปีแรกขยายตัวได้ 2% นั้นเป็นผลมาจากฐานที่ต่ำในปีที่แล้ว เเละส่วนใหญ่เป็นการขยายตัวในภาคการส่งออก มาตรการเยียวยา และกระตุ้นการใช้จ่ายของภาครัฐ

อย่างไรก็ตาม การแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกเดือนเมษายน ส่งผลให้ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวม ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 38.8 จากระดับ 42.5 ในไตรมาสก่อนหน้า

การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวเร่งขึ้น การบริโภคภาคเอกชน เริ่มกลับมาขยายตัว ขณะที่การใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐชะลอลง และการส่งออกบริการลดลง

ด้านการท่องเที่ยวยังไม่ฟื้นตัว โดยคาดว่าปีนี้จะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาในไทยประมาณ 1.5 แสนคน จากประมาณการเดิมที่ราว 5 แสนคน

โดยรวมครึ่งแรกของปี 2564 การผลิตสาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหารลดลง 17.2% ต่อเนื่องจากการลดลง 37.1% ในช่วง 4 ครึ่งหลังของปีที่ผ่านมา จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติลดลง 99.4% และอัตราการเข้าพักเฉลี่ยอยู่ที่  12.20%

เศรษฐกิจไทยยังขยายตัวได้ในระดับหนึ่ง ในทางเทคนิคถือว่ายังขยาย และไม่ได้เข้าสู่ภาวะถดถอย แต่มีโมเมนตัมที่ทำให้การขยายตัวลดลงจากการระบาดที่รุนเเรง ตั้งเเต่ช่วงเดือน เม..ที่ผ่านมา

ขณะที่อัตราการว่างงานง อยู่ที่ 1.9% ลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับ 2% ในไตรมาสก่อนหน้า และ 2%ในช่วงเดียวกันของปีก่อน

อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยอยู่ที่ 2.4% ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุล 5.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 16.4 หมื่นล้านบาท) เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2564 อยู่ที่ 2.47 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ และหนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2564 มีมูลค่าทั้งสิ้น 8,825,097.8 ล้านบาท คิดเป็น 56.1% ของ GDP

ลดเป้าจีดีพีปี 64 โตเฉลี่ย 1% ต้องเร่งคุมโควิดให้ได้ในไตรมาส

สำหรับเเนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2564 คาดว่าจะขยายตัวราว 0.7–1.2 (มีค่ากลางอยู่ที่ 1%) ฟื้นตัวอย่างช้า ๆ จากการลดลง 6.1% ในปี 2563 แต่เป็นการปรับลดจาก 1.5 – 2.5% ในการประมาณการครั้งก่อน

ทั้งนี้ การประเมินดังกล่าว มีขึ้นภายใต้สมมติฐานที่คาดว่า ตัวเลขการติดเชื้อโควิดรายใหม่ จะผ่านจุดสูงสุดได้ปลายเดือน ส..นี้ และจะลดลงช่วงปลายเดือนก.. 64 เเละอาจะมีการผ่อนคลายกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้ ในไตรมาสสุดท้ายของปี

ปัจจัยเสี่ยง : การขยายตัวในช่วงที่เหลือของปีนี้ยังมีข้อจำกัดสำคัญๆ ได้เเก่

1) การแพร่ระบาดระลอกใหม่ของโรคโควิด-19 ที่มีความรุนแรงและยังมีความไม่แน่นอนอยู่สูง

2) ข้อจำกัดด้านฐานะการเงินของภาคครัวเรือนและธุรกิจท่ามกลางการว่างงานที่ยังอยู่ในเกณฑ์สูงและได้รับผลกระทบเพิ่มเติมจากการระบาดระลอกใหม่

3) ภาคการส่งออกและการผลิตภาคอุตสาหกรรมยังมีความเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบจากการระบาดในพื้นที่การผลิตรวมทั้งปัญหาข้อจำกัดในห่วงโซ่การผลิตและโลจิสติกส์ระหว่างประเทศ

4) ความเสี่ยงจากความผันผวนของเศรษฐกิจและการเงินโลก

ปัจจัยบวก : เศรษฐกิจไทยทั้งปี 2564 ยังมีแนวโน้มกลับมาขยายตัวอย่างช้าๆโดยได้รับการสนับสนุนจาก

1) การฟื้นตัวของเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลก

2) แรงขับเคลื่อนจากการใช้จ่ายลงทุนและมาตรการเศรษฐกิจของภาครัฐ

3) การปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องของรายได้ภาคเกษตร

4) ฐานการขยายตัวในช่วงครึ่งหลังของปี 2563 ที่ยังอยู่ในระดับต่ำกว่าเกณฑ์ปกติ

คาดว่ามูลค่าการส่งออก สินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐ จะขยายตัว 16.3% การอุปโภคบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนขยายตัว 5% , 1.1% และ 4.7% ตามลำดับ ส่วนการลงทุนภาครัฐขยายตัว 8.7% อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยคาดว่าจะ อยู่ในช่วง 1.0 – 1.5% และดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุล 2.0% ของ GDP

Photo : Shutterstock

เเนะรัฐกระจายวัคซีน เยียวยาให้ทั่วถึง ออกมาตรการหนุนฟื้นตัว

ด้านข้อเสนอเเนะของสภาพัฒน์ ในการบริหารเศรษฐกิจช่วงที่เหลือของปี 2564 มี 7 ประเด็นที่ รัฐควรให้ความสำคัญ คือ

1) การควบคุมสถานการณ์การระบาดให้อยู่ในวงจำกัด ลดการแพร่เชื้อในครัวเรือนชุมชนและกลุ่มแรงงาน เร่งรัดจัดหาและการกระจายวัคซีนอย่างเพียงพอและทั่วถึง

2) การช่วยเหลือเยียวยา ประชาชน แรงงาน และภาคธุรกิจในช่วงที่การระบาดของโรคมีความรุนแรง ควบคู่ไปกับการพิจารณามาตรการสร้างงานใหม่ และมาตรการพัฒนาทักษะแรงงาน พร้อมออกมาตรการช่วยเหลือเพิ่มเติมในลักษณะเฉพาะเจาะจงให้กับผู้ประกอบการธุรกิจในสาขาที่ได้รับผลกระทบรุนแรง

3) การดำเนินมาตรการสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ เมื่อสถานการณ์การระบาดผ่อนคลายลงให้ความสำคัญกับมาตรการสนับสนุนการฟื้นตัวของการใช้จ่ายและการท่องเที่ยวภายในประเทศ

4) การขับเคลื่อนการส่งออกสินค้า ควบคุมการแพร่ระบาดในฐานการผลิตที่สำคัญ เร่งแก้ไขปัญหาขาดแรงงานต่างชาติในภาคการผลิต สร้างตลาดใหม่ให้กับสินค้าที่มีศักยภาพ

(5) การรักษาแรงขับเคลื่อนการขยายตัวทางเศรษฐกิจจากการใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ

6) การส่งเสริมการลงทุนภาคเอกชน เช่น สร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุนต่อแนวทางการควบคุมการระบาดภายในประเทศ ให้ผู้ประกอบการที่ได้รับอนุมัติและออกบัตรส่งเสริมการลงทุนให้เกิดการลงทุนจริง เน้นมาตรการส่งเสริมการลงทุนเชิงรุก อำนวยความสะดวกเพื่อดึงดูดนักลงทุน

7) การรักษาบรรยากาศทางการเมืองและเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ

 

อ่านรายละเอียดฉบับเต็ม : ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่ 2/2564 และแนวโน้มปี 2564

]]>
1346823
โควิด ‘เดลตา’ ทำการฟื้นตัว ‘เศรษฐกิจจีน’ สะดุด Goldman Sachs หั่นเป้าจีดีพี ปีนี้เหลือ 8.3% https://positioningmag.com/1345878 Mon, 09 Aug 2021 10:00:01 +0000 https://positioningmag.com/?p=1345878 Goldman Sachs วาณิชธนกิจรายใหญ่ ปรับลดเป้าจีดีพีจีนปีนี้เหลือ 8.6% หลังรัฐบาลต้องใช้มาตรการควบคุมโควิดสายพันธุ์เดลตาที่กำลังแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว

Bloomberg รายงานว่า นักวิเคราะห์จาก Goldman Sachs คาดการณ์ตัวเลขการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ปี 2021 ของจีน จะลดลงเหลือ 8.3% จากคาดการณ์เดิมที่ 8.6% โดยตั้งอยู่บนสมมติฐานที่ว่า รัฐบาลจีนจะสามารถควบคุมสถานการณ์โควิด-19 ระลอกนี้ได้ภายใน 1 เดือน

โดยปรับลดคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจจีน ในไตรมาส 3/2021 เหลือ 2.3% จากเดิม 5.8% เเละเพิ่มการคาดการณ์การเติบโตในไตรมาส 4/2021 เป็น 8.5% เนื่องจากประเมินว่าจะ ฟื้นตัวได้หลังจากผ่อนคลายมาตรการควบคุมโควิด ประกอบกับนโยบายการเงินและการคลัง ที่จะได้รับการสนับสนุนในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า รวมถึงการออกพันธบัตรรัฐบาลที่เร็วขึ้น และการลดอัตราส่วนสำรองขั้นต่ำอีกครั้ง

นอกจากนี้ ยอดส่งออกของจีนในเดือนก..ที่ผ่านมาที่ชะลอตัวลง’ ก็ทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับแรงกดดันต่อเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลัง โดยมีความเป็นไปได้ว่าตัวเลขจีดีพีจีน อาจชะลอตัวลงสู่ระดับ 6.3% และ 5% เมื่อเทียบรายปีในไตรมาส 3 เเละไตรมาส 4 ตามลำดับ เพราะการส่งออกและการลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์ที่อ่อนแรงลง

Photo : Shutterstock

ก่อนหน้านี้ นักวิเคราะห์จากอีกหลายสำนัก ต่างพากันปรับลดคาดการณ์จีดีพีของจีนลง เนื่องจากการแพร่ระบาดรอบใหม่จากสายพันธุ์เดลตากำลังส่งผลกระทบอย่างหนักต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยว และการใช้จ่ายของผู้บริโภคชาวจีนในช่วงวันหยุดยาวปีนี้

Nomura Holdings ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจจีนในไตรมาส 3/2021 เหลือ 5.1% จากเดิมที่ระดับ 6.4% และคาดว่าในไตรมาสสุดท้าย ซึ่งเป็นช่วงไฮซีซั่น จะขยายตัวเพียง 4.4% จากคาดการณ์เดิมที่ระดับ 5.3% โดยประเมินว่าเศรษฐกิจจีนตลอดปีนี้ จะอยู่ที่ 8.2% ลดลงจากระดับ 8.9% นอกจากนี้วิกฤตน้ำท่วมที่ผ่านมา ที่มีผลกระทบรุนเเรงกว่าที่คาด ก็มีส่วนทำให้จีดีพีในช่วงไตรมาส 3 ลดลงด้วย

ล่าสุด รัฐบาลจีนเพิ่งประกาศปิดสถานที่ท่องเที่ยวหลายแห่ง รวมถึงยกเลิกการจัดงานต่างๆ พร้อมยกเลิกเที่ยวบินจำนวนมาก หลังมีการระบาดของไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์เดลตาที่กระจายไปเกือบครึ่งหนึ่งของ 32 มณฑลในจีน ภายในเวลาเพียง 2 สัปดาห์ เเละตอนนี้มีพื้นที่อย่างน้อย 43 เมือง ได้แนะนำให้ประชาชนหลีกเลี่ยงการเดินทางโดยไม่จำเป็น

 

ที่มา : Bloomberg (1) , (2)

]]>
1345878
Goldman Sachs ลดเป้าจีดีพีไทย เหลือ 1.4% ‘สายพันธุ์เดลตา’ ทำอ่วมทั้งอาเซียน เเถมฉีดวัคซีนช้า https://positioningmag.com/1342841 Fri, 16 Jul 2021 14:02:49 +0000 https://positioningmag.com/?p=1342841 Goldman Sachs วาณิชธนกิจรายใหญ่ ปรับลดคาดการณ์จีดีพีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศอาเซียน รวมถึงไทย หลังเจอวิกฤตโรคระบาดครั้งใหม่ จากสายพันธุ์เดลตายอดติดพุ่งเเต่ฉีดวัคซีนได้ช้า

การแพร่ระบาดของไวรัสโควิดสายพันธุ์เดลตา ทำให้ยอดผู้ป่วยในอินโดนีเซียมาเลเซียและไทย พุ่งทำสถิติสูงสุดในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา นำไปสู่การยกระดับมาตรการล็อกดาวน์เเละข้อจำกัดต่างๆ ที่เข้มงวดยิ่งขึ้น

เเนวโน้มที่ฟิลิปปินส์จะผ่อนคลายมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม ในปีนี้ไม่น่าเป็นไปได้มากขึ้น

ไวรัสกลายพันธุ์ที่เกิดขึ้นใหม่เรื่อยๆ เเละกระจายได้อย่างอย่างรวดเร็ว พร้อมกับมาตรการควบคุมอย่างเข้มงวด มีผล
กระทบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจอาเซียนในช่วงครึ่งหลังของปี ‘มากกว่าที่เคยประเมินไว้

โดย Goldman Sachs  ปรับลดจีดีพีเศรษฐกิจไทยในปี 2021 ลงสู่ระดับ 1.4% จากคาดการณ์เดิมที่ระดับ 2.1% พร้อมกับปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจอินโดนีเซีย เป็น 3.4% จากระดับ 5%, มาเลเซียลงสู่ระดับ 4.9% จากระดับ 6.2% , ฟิลิปปินส์ลงสู่ระดับ 4.4% จากระดับ 5.8% เเละเศรษฐกิจสิงคโปร์ลงสู่ระดับ 6.8% จากเดิม 7.1%

ในอาเซียน จะมีเพียงสิงคโปร์และมาเลเซียเท่านั้น ที่จะสามารถผ่อนคลายมาตรการและฟื้นฟูเศรษฐกิจได้ในปีนี้ ส่วนประเทศอื่นๆ ที่เหลือ รวมถึงไทย ต้องรอถึงครึ่งแรกของปี 2022”

Photo : Shutterstock

โครงสร้างเศรษฐกิจของเเต่ละประเทศ เป็นส่วนสำคัญที่เชื่อมโยงกับการฟื้นตัว โดยเศรษฐกิจของสิงคโปร์และมาเลเซีย ที่อิงกับการค้าระหว่างประเทศ จะได้รับอานิสงส์จากการฟื้นตัวของตลากการค้าโลกมากกว่า ทำให้ฟื้นตัวได้เร็วกว่า นอกจากนี้ มาเลเซียยังจะได้ประโยชน์เเละทำกำไรจากการที่ราคาสินค้าโภคภัณฑ์เพิ่มสูงขึ้นอีกด้วย

ขณะที่เศรษฐกิจไทยและอินโดนีเซียนั้น พึ่งพาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจึงมีความเสี่ยงมากกว่าทั้งในด้านข้อจำกัดการเดินทางเเละการติดเชื้ออีกทั้งยังได้ประโยชน์จากการขยายตัวของการค้าโลกน้อยกว่า

ยอดติดพุ่ง เเต่ฉีดวัคซีนล่าช้า

Goldman Sachs ตั้งข้อสังเกตว่า เเม้การระบาดในอาเซียนจะพุ่งสูงไม่หยุด เเต่สัดส่วนการฉีดวัคซีนให้กับประชากรในภูมิภาคยังคงอยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับประเทศตะวันตก ยกเว้นเพียงสิงคโปร์

โดยสิงคโปร์ สามารถฉีดวัคซีนให้กับประชากรครบโดส (2 เข็ม) ไปแล้วกว่า 41% นับหนึ่งในประเทศที่มีอัตราการฉีดวัคซีนได้เร็วที่สุดในโลก

ส่วนมาเลเซีย กระจายวัคซีนให้ประชาชนครบโดสไปเพียง 12.4% ตามมาด้วยอินโดนีเซียที่ 5.7% ในขณะที่ฟิลิปปินส์และไทย ยังมีอัตรการการฉีดวัคซีนครบโดสไม่ถึง 5% ของประชากรทั้งหมด

 

ที่มา : CNBC

]]>
1342841
KBANK หั่นเป้าจีดีพีปีนี้ เหลือเเค่ 1% ‘ล็อกดาวน์’ สะเทือนธุรกิจ-จ้างงาน ฉุดกำลังซื้อ ความเชื่อมั่นผู้บริโภค https://positioningmag.com/1342512 Thu, 15 Jul 2021 08:27:33 +0000 https://positioningmag.com/?p=1342512 KBANK หั่นเป้าจีดีพีปี 2564 เหลือ 1.0% จากเดิมที่ 1.8% หลังการระบาดรุนเเรงกว่าที่คาดล็อกดาวน์กระทบธุรกิจจ้างงานต่อเนื่อง ฉุดกำลังซื้อความเชื่อมั่นผู้บริโภคประเมินนักท่องเที่ยวต่างชาติมีเเค่ 2.5-6.5 แสนคน เงินบาทอ่อนค่ายาว

“แม้มีมาตรการเยียวยา แต่ชดเชยผลกระทบเศรษฐกิจไม่ได้ ฉีดวัคซีนอาจต่ำกว่าเป้าหมาย” 

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2564 อยู่ที่ 1.0% จากประมาณการเดิมที่ 1.8% เนื่องจากการแพร่ระบาดโควิด-19 มีความรุนแรงกว่าที่เคยประเมินส่งผลกระทบให้ระบบสาธารณสุขของไทยเผชิญข้อจำกัด

ความจำเป็นที่ต้องมีมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดที่เข้มงวดขึ้น ส่งผลให้ผลกระทบต่อภาคธุรกิจและการจ้างงานมีมากขึ้น และผลกระทบต่อเนื่องไปยังกำลังซื้อและความเชื่อมั่นของผู้บริโภคให้ทรุดตัวไปกว่าเดิม

ขณะที่มาตรการเยียวยาจากทางภาครัฐ คาดว่าจะช่วยประคองการดำรงชีพที่จำเป็นของประชาชนแต่ไม่สามารถชดเชยผลกระทบทางเศรษฐกิจโดยรวม

ท่ามกลางการกลายพันธุ์ของไวรัสและจำนวนผู้ติดเชื้อที่กลับมาเพิ่มขึ้นในหลายประเทศ รวมถึงในประเทศไทย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จึงปรับลดกรอบประมาณการจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในปี 2564 ลงมาอยู่ที่ 2.5-6.5 แสนคน จากกรอบประมาณการเดิมที่ 2.5 แสน-1.2 ล้านคน

แม้ว่าจะมีการเริ่มเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติด้วยโครงการภูเก็ต แซนด์บ็อกซ์และโครงการสมุย พลัส โมเดล” ก็ตาม

ส่วนแผนการเปิดประเทศในพื้นที่อื่นๆ รวมถึงจำนวนนักท่องเที่ยวที่จะเข้ามาท่องเที่ยวในไทย จะขึ้นอยู่กับสถานการณ์การแพร่ระบาดและการเร่งฉีดวัคซีนเป็นหลัก ขณะที่ในต่างประเทศก็ยังเผชิญความเสี่ยงจากสถานการณ์โควิด-19 ที่ยังมีความไม่แน่นอนสูง

ด้าน ‘เศรษฐกิจโลก’ มีแนวโน้มฟื้นตัวดีกว่าที่คาด ส่งผลให้ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองการส่งออกไทยปี 2564 จะขยายตัวในอัตราที่เร่งขึ้นมาอยู่ที่ 11.5%

ทั้งนี้ ประมาณการส่งออกนี้ได้มีการคำนึงถึงปัจจัยเสี่ยงเชิงลบจากปัญหาการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ ค่าระวางเรือที่สูงขึ้น รวมถึงประเด็นที่เกี่ยวเนื่องกับการแพร่ระบาดในประเทศที่อาจจะส่งผลต่อการขาดแคลนแรงงานในภาคอุตสาหกรรม

ทิศทาง ‘เศรษฐกิจไทย’ ในช่วงที่เหลือของปี 2564 ยังขึ้นอยู่กับสถานการณ์การแพร่ระบาดในประเทศที่ยังคงเผชิญความเสี่ยงสูง ทั้งจากการแพร่ระบาดของสายพันธุ์ใหม่ ประสิทธิภาพของวัคซีน รวมถึงการเร่งฉีดวัคซีนที่อาจต่ำกว่าเป้าหมาย

หากสถานการณ์การแพร่ระบาดในประเทศยังไม่คลี่คลายลง คาดว่าภาครัฐอาจจำเป็นต้องมีมาตรการดูแลผลกระทบเพิ่มเติม

ขณะเดียวกัน หากสถานการณ์การแพร่ระบาดเริ่มคลี่คลายลง คาดว่าภาครัฐจะมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อช่วยให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจ มีแรงส่งมากขึ้น โดยใช้งบประมาณภายใต้ พ...กู้เงิน 5 แสนล้านบาท

ยังต้องติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดในต่างประเทศที่ยังคงมีความไม่แน่นอนอยู่ท่ามกลางการแพร่ระบาดของสายพันธุ์ใหม่ๆ เช่นกัน ซึ่งอาจเป็นปัจจัยกดดันภาคการท่องเที่ยวและการส่งออกของไทยในระยะข้างหน้าได้

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้คำนึงถึงปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ในการทบทวนประมาณการเศรษฐกิจไทยแล้ว และคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยปีนี้อาจขยายตัวได้ 1.0%”

บาทอ่อน รับความเสี่ยงการฟื้นตัวเศรษฐกิจไทย 

เงินบาทอ่อนค่าลงอย่างรวดเร็ว ท่ามกลางสัญญาณความเสี่ยงที่ชัดเจนมากขึ้นจากสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ระลอกสามที่มีแนวโน้มยากควบคุม เพราะต้องรับมือกับเชื้อกลายพันธุ์

โดยเงินบาททำสถิติอ่อนค่าสุดในรอบเกือบ 15 เดือน ที่ 32.73 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ระหว่างชั่วโมงการซื้อขายในวันที่ 9 ก.ค. 64 ความเสี่ยงจากสถานการณ์โควิด-19 ที่ยืดเยื้อยังเพิ่มแรงกดดันต่อสถานะดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยให้ขาดดุลมากขึ้น

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า เป็นสัญญาณที่ตอกย้ำว่า ปัจจัยพื้นฐานของค่าเงินบาทกำลังอ่อนแอลง พร้อมกับความเสี่ยงต่อแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในระยะที่เหลือของปี

โดยเงินบาท มีความเป็นไปได้ที่จะอ่อนค่าต่อเนื่องไปทดสอบระดับ 33.00 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งก่อนสิ้นปี 2564 หากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในประเทศยังไม่ลดระดับความเสี่ยงลงมา และเฟดสามารถเริ่มทยอยส่งสัญญาณเตรียมคุมเข้มนโยบายการเงินได้ในช่วงปลายไตรมาสที่ 3 ตามที่ตลาดประเมินไว้

อย่างไรก็ดี หากเศรษฐกิจสหรัฐฯ ฟื้นตัวได้ไม่แรง หรือเผชิญกับสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 อีกระลอก ก็อาจส่งผลทำให้ตลาดต้องกลับมาประเมินการคาดการณ์ในเรื่องจังหวะการปรับนโยบายการเงินของสหรัฐฯ ใหม่อีกครั้ง ซึ่งปัจจัยดังกล่าวจะทำให้เงินดอลลาร์อ่อนค่า และอาจช่วยหนุนให้เงินบาทกลับมาแข็งค่าได้ โดยเฉพาะหากสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศคลี่คลายลง

 

]]>
1342512
GDP สิงคโปร์ ขยายตัว 14.3% ในไตรมาส 2 โตสูงสุดในรอบ 11 ปี ‘ภาคบริการ-ก่อสร้าง’ คัมเเบ็ก https://positioningmag.com/1342303 Wed, 14 Jul 2021 09:58:05 +0000 https://positioningmag.com/?p=1342303 กระจายวัคซีนที่ได้ผลดี เป็นหนึ่งในปัจจัยที่ผลักดันให้ เศรษฐกิจสิงคโปร์กลับมาฟื้นตัวต่อเนื่องการผลิตบริการก่อสร้างคัมเเบ็ก โดยล่าสุดตัวเลข GDP ในไตรมาส 2/2021 ขยายตัวที่ 14.3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา หลังเผชิญวิกฤตโรคระบาดใหญ่

โดยเป็นการขยายตัวสูงสุดในรอบ 11 ปี นับตั้งแต่ไตรมาส 2 ของปี 2010 ช่วงหลังวิกฤตการเงินโลก ที่ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของสิงคโปร์ ณ ตอนนั้น ขยายตัวได้ถึง 18.6%

อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจของสิงคโปร์ ยังไม่กลับมาเท่าช่วงก่อนโควิด-19 เพราะเเม้จะเป็นฟื้นตัวระดับสูง เเต่ก็เป็นผลจากการมีฐานที่ต่ำในปีก่อน ซึ่งเมื่อเทียบกับตัวเลขในไตรมาสแรกของปีนี้ ก็จะพบว่า GDP สิงคโปร์ ยังคงหดตัวที่ 2% 

ท่ามกลางยอดติดเชื้อไวรัสโคโรนาที่เพิ่มขึ้น ทำให้รัฐต้องออกข้อจำกัดต่างๆ พร้อมมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคมที่เข้มงวดในช่วง 4 สัปดาห์ ตั้งแต่เดือนพ.ค.ถึงเดือนมิ.ย.ของปีนี้ รวมไปถึงการห้ามรับประทานอาหารในร้านอาหารด้วย

เเต่ทางอุตสาหกรรมใหญ่ๆ อย่างภาคการผลิต บริการเเละก่อสร้าง เริ่มกลับมาขยายตัวอย่างเห็นได้ชัด

โดยกระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมของสิงคโปร์ เเถลงว่า ในภาคการผลิต มีการเติบโตเพิ่มขึ้นถึง 18.5% จากปีก่อน ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์และวิศวกรรมพรีซิชั่น ที่ขยายตัวได้อย่างเเข็งเเกร่งจากอุปสงค์ความต้องการอุปกรณ์เซมิคอนดักเตอร์เพิ่มสูงขึ้น เมื่อเศรษฐกิจโลกกลับมาฟื้นตัว

ขณะที่ภาคบริการ กลับมาขยายตัวได้ 9.8% เเละภาคการก่อสร้าง ขยายตัวได้ถึง 98.8% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

Photo : Shutterstock

แม้ว่าภาคธุรกิจเหล่านี้ จะยังคงมีอุปสรรคจากข้อจำกัดด้านการเดินทางและการรวมตัวทางสังคม ไปจนถึงการขาดเเคลนเเรงงานต่างชาติเเต่ก็มีสัญญาณฟื้นตัวได้ดี โดยการเติบโตของภาคบริการนั้น ได้กลับมาเป็นบวกครั้งแรกในรอบ 6 ไตรมาส

Alex Holmes นักเศรษฐศาสตร์ของ Capital Economics มองว่าวัคซีนโควิด จะเป็นตัวช่วยสำคัญที่ทำให้สิงคโปร์กลับมาเปิดพรมแดนได้อีกครั้งอย่างค่อยเป็นค่อยไป’ เพื่อส่งเสริมภาคการท่องเที่ยว ให้มีการเติบโตจากปัจจัยภายใน พร้อมๆ กับการส่งออกเซมิคอนดักเตอร์และเวชภัณฑ์ที่กำลังไปได้ดีจากความต้องการที่เพิ่มขึ้น

สิงคโปร์ เป็นหนึ่งในประเทศที่มีอัตราการฉีดวัคซีนสูงสุดของโลก โดยกว่า 70% ของจำนวนประชากรในประเทศ 5.69 ล้านคน ได้รับวัคซีนโควิด-19 แล้วอย่างน้อย 1 โดส และกว่า 41% ได้รับวัคซีนครบ 2 โดส

ทั้งนี้ รัฐบาลสิงคโปร์คาดการณ์ว่าภาพรวมเศรษฐกิจทั้งปีนี้ จะเติบโต 4% ถึง 6% ส่วนประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคอาเซียน ตอนนี้ก็มีเวียดนามที่เพิ่งประกาศตัวเลข GDP ในไตรมาส 2/2021 ว่าเพิ่มขึ้นในระดับ 6.6%

 

ที่มา : Nikkei Asia , CNBC

 

]]>
1342303
IMF เพิ่มคาดการณ์ ‘จีดีพีสหรัฐฯ’ ปีนี้โต 7% ฟื้นตัวเร็ว บวกนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจขนานใหญ่ https://positioningmag.com/1340538 Fri, 02 Jul 2021 13:40:57 +0000 https://positioningmag.com/?p=1340538 IMF ปรับคาดการณ์จีดีพีสหรัฐฯ ในปีนี้ ขยายตัวสู่ระดับ 7% จากเดิมที่ 4.6% หลังกระจายวัคซีนได้ผลดี ฟื้นตัวได้อย่างเเข็งเเกร่ง พร้อมเเรงหนุนจากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจขนานใหญ่ของประธานาธิบดี ‘โจ ไบเดน’ 

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ประเมินว่า ในปี 2021 เศรษฐกิจสหรัฐจะขยายตัวได้ถึง 7% ซึ่งเป็นการเติบโตที่เร็วที่สุดนับตั้งเเต่ปี 1984 นอกจากนี้ ยังปรับเพิ่มคาดการณ์จีดีพีสหรัฐฯ ในปี 2022 สู่ระดับ 4.9% เพิ่มขึ้นจากตัวเลขคาดการณ์เดิมในเดือนเม..ที่ 3.5%

ตัวเลขคาดการณ์ล่าสุดของ IMF อยู่บนสมมติฐานที่ว่า สภาคองเกรสจะผ่านร่างกฎหมาย ‘American Jobs Plan’ วงเงิน 2.3 ล้านล้านเหรียญ เพื่อลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน สร้างงานหลายล้านตำแหน่ง และผ่านร่างกฎหมาย ‘American Families Plan’ วงเงิน 1.8 ล้านล้านเหรียญ เพื่อเยียวยาครัวเรือนสหรัฐฯ เเละฟื้นฟูเศรษฐกิจจากผลกระทบของโรคโควิด-19

โดยโครงการดังกล่าว จะรวมถึงการลงทุนเพื่อเพิ่มศักยภาพด้านการผลิต การศึกษา และเพิ่มโอกาสให้ผู้หญิงในตลาดแรงงานอเมริกันมากขึ้น

ร่างกฎหมายเหล่านี้ จะช่วยกระตุ้นอุปสงค์ในระยะสั้น ซึ่งจะมีส่วนช่วยหนุนจีจกีพีของประเทศได้ราว 5.25% ในช่วงปี 2022-2024 พร้อมเพิ่มรายได้เเละยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้นด้วย” Kristalina Georgieva ผู้อำนวยการ IMF ระบุ

ทั้งนี้ การคาดการณ์ของ IMF ครั้งนี้เกิดหลังจากสำนักงานงบประมาณรัฐสภาสหรัฐฯ ประเมินว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวอย่างแข็งแกร่งในปีนี้ แม้อัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯ จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

โดย IMF คาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯ จะเพิ่มขึ้นเข้าใกล้ระดับ 4% ภายในปีนี้พร้อมเเนะว่า รัฐบาลควรจัดลำดับความสำคัญในการใช้จ่ายไปยังโครงการภาคส่วนต่างๆ ให้ส่งผลดีต่อด้านหารผลิต เพิ่มการมีส่วนร่วมของแรงงาน ลดความยากจน และการปล่อยปริมาณก๊าซเรือนกระจก

 

ที่มา : Reuters (1) , (2)

]]>
1340538
คาดใช้เวลาคุมโควิดถึง 4 เดือน การบริโภคหาย 3 แสนล้าน ตกงานพุ่ง นักท่องเที่ยวเเค่ 4 เเสนคน https://positioningmag.com/1334760 Tue, 01 Jun 2021 11:26:03 +0000 https://positioningmag.com/?p=1334760 เศรษฐกิจไทยอ่วมหนัก ฟื้นตัวช้าลงอีก เจอโควิดระลอก 3 ลากยาว คาดใช้เวลาคุมการเเพร่ระบาดถึง 4 เดือน SCB EIC ปรับลดจีดีพีปีนี้โต 1.9% ยอดนักท่องเที่ยวต่างชาติเหลือเพียง 4 เเสนคน การบริโภคหาย 3.1 แสนล้านบาท ห่วงอัตราว่างงานพุ่ง SMEs เเบกภาระไม่ไหว หนี้ครัวเรือนจ่อ 91% คนหากู้เพิ่ม กระตุ้นรัฐเร่งฉีดวัคซีนหาทางออก 

ยรรยง ไทยเจริญ รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มงาน EIC ธนาคารไทยพาณิชย์ ประเมินภาพรวมเศรษฐกิจไทย ปี 2564 ว่า มีแนวโน้มขยายตัวที่ 1.9% ปรับลดจากประมาณการเดิมที่ 2% จากผลกระทบโควิด-19 ระลอกใหม่

คาดว่ายอดผู้ติดเชื้อจะพุ่งมากกว่า 100 รายต่อวันไปอีกหลายเดือน ในกรณีฐาน (base) อาจจะใช้ต้องเวลากว่า 4 เดือน (เมษายนกรกฎาคม) ในการควบคุม ซึ่งจะส่งผลให้การบริโภคภาคเอกชนลดลงกว่า 3.1 แสนล้านบาท หรือคิดเป็น 1.9% ของจีดีพี ทำให้แผลเป็นทางเศรษฐกิจลึกขึ้น

ภาคท่องเที่ยวอาการ ‘สาหัส’ 

EIC ปรับลดประมาณการจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในปี 2021 ลง จาก 1.5 ล้านคน เหลือเพียง ‘4 แสนคน เนื่องจากแนวนโยบายการเปิดประเทศของกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว ที่เข้มงวดมากกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้ หลายประเทศยังระวังการให้ประชาชนเดินทางไปต่างประเทศ เพราะกังวลโควิดสายพันธุ์ใหม่

เหล่านี้ซ้ำเติมภาคการท่องเที่ยวและธุรกิจที่เกี่ยวข้องมากขึ้น ประกอบกับอัตราการระบาดในประเทศที่มีต่อเนื่อง ก็ทำให้คนเดินทางน้อยลง กิจกรรมทางเศรษฐกิจในลักษณะ face to face ก็ลดลงมาก

“หลังจากการระบาดระลอกใหม่ คาดว่าจะมีอัตราการเข้าพักโรงแรมเเค่ 21% ประชาชนการเดินทางในประเทศทั้งปี 80.4 ล้านทริป ส่งผลให้เกิดความเสียหายราว 1 แสนล้านบาท

จับตาว่างงานพุ่ง รายได้ลดลงเรื่อยๆ 

อัตราว่างงานท้ังประเทศเพิ่มขึ้นอีกครั้งในไตรมาสแรกของปีนี้ โดยล่าสุดจำนวนคนว่างงานเพิ่มสูงกว่าช่วงล็อกดาวน์ปี 2020 แล้ว ชี้ให้เห็นถึงสัญญาณอ่อนเเอลงของตลาดแรงงาน ที่จะส่งผลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโดยรวม

สำหรับอัตราการว่างงาน ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2564 ขยายตัว 1.96% เป็นตัวเลขก่อนการระบาดระลอกใหม่ช่วงเดือนเมษายน ดังนั้น จึงคาดว่าในไตรมาส 2 ผลกระทบการว่างงานจะรุนแรงขึ้น

ประเด็นที่น่าจับตามองคือ พบว่าผู้ที่มีงานทำ มีอัตราการทำงานต่อชั่วโมงลดลง มีคนที่ยังทำงานเเต่ไม่ได้รายได้มากขึ้น และการทำโอทีก็มีสัญญาณลดลงเรื่อย ๆ โดยชั่วโมงการทำงานเฉลี่ยไตรมาส 1 ลดลงกว่า 1.8%”

ด้านการจ้างงานภาพรวม เเม้ในไตรมาสเเรกของปี จะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยที่ 0.4% จากเเรงหนุนภาคเกษตรและการก่อสร้าง ซึ่งเป็นภาคที่มีรายได้แรงงานต่ำกว่า ขณะที่สาขาธุรกิจอื่นๆ มีการจ้างงานลดลง

ส่วนรายได้รวมจากการทางานของลูกจ้างเอกชน ในไตรมาส 1/2564 หดตัวลงถึง -8.8% โดยเป็นการหดตัวในทุกสาขาธุรกิจสาคัญนอกภาคเกษตร ทั้งในส่วนที่เป็นค่าจ้างและรายได้จากการทาโอทีและโบนัส

สำหรับประกาศจ้างงานออนไลน์ใน Jobsdb ลดลงในทุกสาขาธุรกิจจากการระบาดระลอก 3 โดยลดลงมากในธุรกิจประเภท face-to-face อย่างไรก็ตาม เริ่มเห็นสัญญาณการฟื้นตัวกลับมาบ้างในเดือน พ.. แต่ภาพรวมยังไม่กลับไปเท่าช่วงก่อนโควิด-19

จำนวนประกาศหางานลดลงในทุกประเภทหลังระลอก 3 ต่างจากในระลอก 2 ที่งานในบางภาคบริการที่ไม่รวมท่องเที่ยวยังคงเติบโต

เเม้จะมีกิจการเปิดเพิ่มขึ้นบ้างในช่วงไตรมาสเเรกของปีนี้ เเต่ส่วนใหญ่เป็นภาคการเกษตร แต่กิจการโรงแรมและอสังหาฯ ยังหดตัวสูงต่อเนื่อง ขณะที่กิจการจำนวนมากยังประสบภาวะขาดรายได้ เสี่ยงต่อการเป็นบริษัท zombie 

หนี้ครัวเรือนจ่อ 91% เศรษฐกิจไม่ดี คนหากู้เพิ่ม 

สำหรับสถานการณ์หนี้ครัวเรือนคาดว่าไตรมาส 1 ของปี 2564 จะเพิ่มขึ้นเเตะถึง 91% จากไตรมาส 4 ของปี 2563 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 89.3%

โดยยังคงขยายตัวจากมาตรการพักชำระหนี้ จากนั้นจะทยอยลดลง แต่จะยังอยู่ในระดับสูง เสี่ยงต่อภาวะ ‘Debt Overhang’ เป็นอุปสรรคต่อการใช้จ่ายของภาคครัวเรือน

ข้อมูล Google Trends ระบุว่า ผู้บริโภคค้นหาคำที่เกี่ยวข้องกับ เงินกู้ สินเชื่อ การกู้เงิน ฯลฯ มากขึ้น ในช่วงที่ผ่านมา ความต้องการสินเชื่อของประชาชนยังมีอยู่มากในช่วงเศรษฐกิจซบเซา เพราะรายได้ฟื้นตัวช้าบางส่วนอาจจะหันไปกู้หนี้นอกระบบ

ด้านระดับหนี้สาธารณะของไทย มีโอกาสเกินเพดานหนี้สาธารณะที่ 60% ในปี 2564 หากรวมเงินกู้ภายใต้ พ.ร.ก. 5 แสนล้านบาท

EIC ประเมินว่า การกู้เพิ่ม มีความจำเป็นเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และหนี้สาธารณะยังคงอยู่ในระดับที่บริหารจัดการได้ ภายใต้เงื่อนไขการปรับ fiscal consolidation ในระยะข้างหน้า

ภาครัฐควรสื่อสารกับสาธารณะถึงความจำเป็น บริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ และควรมีแผนจัดการลดระดับหนี้สาธารณะที่ชัดเจนในระยะปานกลาง

ส่งออกยังช่วยพยุง 

เศรษฐกิจไทยในปีนี้ ยังมีปัจจัยสนับสนุนจากภาคการส่งออก ซึ่งเป็นผลจากแนวโน้มการส่งออกที่ขยายตัวอย่างแข็งแกร่งตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะเศรษฐกิจกลุ่มประเทศที่พพัฒนาแล้วที่ได้รับวัคซีนเร็ว

สำหรับการส่งออกของไทยที่ขยายตัวได้ดี เช่น สินค้าเกษตร และน้ำมันสำเร็จรูป คาดว่าในปีนี้การส่งออกจะขยายตัว 15% จากเดิมที่คาดไว้ 8.6%

นอกจากนี้ ยังมีมาตรการความช่วยเหลือจากภาครัฐ วงเงินกว่า 2.4 แสนล้านบาท ภายใต้พ.ร.ก.กู้เงิน 5 แสนล้านบาท ที่เพิ่งออกมาใหม่ ทำให้คาดว่าภายในปีนี้รัฐจะใช้เม็ดเงินบางส่วนลงในระบบเศรษฐกิจราว 1 แสนล้านบาท เพื่อพยุงเศรษฐกิจ

EIC มองว่า การลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มฟื้นตัวได้ดี โดยเฉพาะในส่วนของการลงทุน เครื่องมือเครื่องจักรที่จะฟื้นตัวตามภาคการส่งออก แต่การลงทุนภาคก่อสร้างยังมีแนวโน้มซบเซาต่อเนื่อง

คาดคงดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.5% ตลอดปี 

ด้านมุมมองภาวะการเงินไทยโดยรวม ยังคงผ่อนคลายสอดคล้องกับทิศทางภาวะการเงินโลก ปัจจัยหลักๆ มาจากการฟื้นตัวของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ อัตราดอกเบี้ยนโยบายที่อยู่ในระดับต่ำเป็นประวัติการณ์ และเงินบาทที่อ่อนค่า

EIC คาดเงินบาท ณ สิ้นปี 2021 มีแนวโน้มอ่อนค่า อยู่ในช่วง 31-32 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ

ส่วนเงินดอลลาร์สหรัฐมีแนวโน้มอ่อนค่า เนื่องจากการฟื้นตัวของประเทศเศรษฐกิจหลักอื่น (ยุโรป) จะทยอยเร่งตัวขึ้นในไตรมาสต่อไป ขณะที่การฟื้นตัวของสหรัฐฯ จะเริ่มชะลอลง

อย่างไรก็ดี ปัจจัยภายในประเทศไทยจะเป็นแรงกดดัน ด้านอ่อนค่าต่อเงินบาท ทั้งจากเศรษฐกิจไทยที่มีแนวโน้มฟื้นตัวช้า และดุลบัญชีเดินสะพัดที่มีแนวโน้มขาดดุลครั้งแรกในรอบ 8 ปี

EIC คาดว่า ธนาคารเเห่งประเทศไทย (ธปท.) จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 0.5% ตลอดปี 2564 ควบคู่กับการเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาล เพื่อดูแลดอกเบี้ยในตลาดการเงินให้อยู่ในระดับต่ำ

อาจมีการยืดระยะเวลาของมาตรการเดิม ไม่ว่าจะเป็นการปรับลดค่าธรรมเนียมของกองทุนฟื้นฟู FIDF และการผ่อนคลายการจัดชั้นคุณภาพสินเชื่อให้กับสถาบันการเงิน พร้อมติตดามประสิทธิผลของมาตรการสินเชื่อฟื้นฟูและมาตรการพักทรัพย์ พักหนี้ในการเพิ่มสภาพคล่องแก่ SMEs

สินเชื่อภาคธุรกิจชะลอลงในไตรมาสเเรก โดยเฉพาะสินเชื่อรายใหญ่ที่ชะลอลงจากฐานสูงปีที่แล้ว ขณะที่สินเชื่อที่วงเงินน้อยกว่า 500 ล้านบาทติดลบน้อยลง ด้านสินเชื่ออุปโภคบริโภคขยายตัว 5.3% โดยเฉพาะสินเชื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อส่วนบุคคล

ด้านอัตราเงินเฟ้อจะมีระดับสูงในช่วงไตรมาส 2 แต่จะปรับลดลงในช่วงครึ่งหลังของปี เมื่อฐานราคาน้ำมันเริ่มปรับเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ คาดว่าทั้งปีนี้ อัตราเงินเฟ้อจะอยู่ที่ 1.3% ซึ่งเป็นอัตราที่ไม่สูงนัก

เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มเกิด Permanent Output loss ขนาดใหญ่ เนื่องจากภาคท่องเที่ยวจะยังฟื้นตัวช้าและผลของแผลเป็นเศรษฐกิจ ดังนั้นการเร่งฉีดวัคซีนและการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจจะมีส่วนผลักดันเศรษฐกิจให้ฟื้นตัวเร็วขึ้น และมี output loss น้อยลง

จากผลกระทบจากการระบาดในประเทศที่นานกว่าคาด เเละแนวโน้มการฟื้นตัวช้า EIC คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะกลับไปสู่ระดับก่อนเกิดโควิด-19 ได้อีกครั้งในช่วงต้นปี 2566

 

]]>
1334760
วิจัยกรุงศรีเลื่อนคาดการณ์ “โควิดรอบสาม” จบเดือนสิงหาคม ปรับลดจีดีพีไทยเหลือ 2% https://positioningmag.com/1332716 Tue, 18 May 2021 10:36:05 +0000 https://positioningmag.com/?p=1332716 ระบาดรอบ 3 จะจบเมื่อไหร่? คือคำถามที่ทุกคนเฝ้ารอคำตอบ ล่าสุด “วิจัยกรุงศรี” พล็อตกราฟใหม่หลังการระบาดมีแนวโน้มรุนแรง คาดจุดพีคของยอดผู้ติดเชื้ออาจเป็นช่วงปลายเดือนพฤษภาคมนี้ และทำให้การคุมระบาดสำเร็จล่วงเลยไปถึงเดือนสิงหาคม จึงพิจารณาปรับลดคาดการณ์จีดีพีไทยปีนี้เหลือโต 2% โดยไตรมาส 1/64 ยังติดลบอยู่ -2.6% YoY

วิจัยกรุงศรีประเมินใหม่ หลังสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 รอบสามรุนแรงกว่าที่เคยคาดไว้เมื่อเดือนเมษายน คาดว่าระยะที่การระบาดจะกลับมาเป็นปกติ (มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ไม่เกิน 100 คนต่อวัน) จะเลื่อนจากต้นเดือนกรกฎาคมนี้ ไปเป็นเดือนสิงหาคม ทั้งนี้ ประเมินแยกเป็น 3 กรณี ดังนี้

  • กรณีแรก (เส้นสีเหลือง) สามารถคุมการระบาดของคลัสเตอร์ใหม่ได้ ทำให้จำนวนผู้ติดเชื้อสูงสุดยังอยู่ในเดือนพฤษภาคม คาดว่าจะทำให้ผู้ติดเชื้อค่อยๆ ลดลงจนเป็นปกติภายในปลายเดือนกรกฎาคม
  • กรณีที่สอง (เส้นสีส้ม) ยังไม่สามารถคุมการระบาดของคลัสเตอร์ใหม่ได้ ทำให้จำนวนผู้ติดเชื้อสูงสุดเกิดขึ้นช่วงปลายเดือนพฤษภาคม และทำให้การระบาดกลับเป็นปกติราวปลายเดือนสิงหาคม
  • กรณีที่เลวร้ายที่สุด (เส้นสีแดง) มีการระบาดของคลัสเตอร์ใหม่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้ติดเชื้อยังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ไปอีก 2-3 เดือน และผู้ติดเชื้อสะสมจะขึ้นไปแตะ 3 แสนรายได้ในช่วงสิ้นเดือนกรกฎาคม (จากปัจจุบันมีผู้ติดเชื้อกว่า 1 แสนราย) โดยวิจัยกรุงศรียังไม่ระบุช่วงที่การระบาดจะคลี่คลาย หากเกิดกรณีนี้ขึ้น
คาดการณ์กรณีความเป็นไปได้ต่างๆ ของการระบาดรอบ 3 โดยวิจัยกรุงศรี

อย่างไรก็ตาม วิจัยกรุงศรีเชื่อว่า สถานการณ์จริงน่าจะอยู่ในช่วงระหว่างเส้นสีเหลืองและเส้นสีส้ม นั่นหมายความว่าการระบาดอาจคลี่คลายช่วงต้นถึงกลางเดือนสิงหาคม

การระบาดที่คลี่คลายช้าลงไปอีกประมาณ 1 เดือน จะทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจและการใช้จ่ายภาคเอกชนถูกจำกัด รวมถึงจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติปีนี้น่าจะหดตัวลงเหลือ 3.3 แสนคนเท่านั้น วิจัยกรุงศรีจึงปรับคาดการณ์จีดีพีไทยเหลือ 2% (จากเดิม 2.2%)

ขณะที่ สภาพัฒน์ ก็ปรับลดคาดการณ์จีดีพีไทยเช่นกัน โดยลดเหลือกรอบ 1.5-2.5% จากเดิม 2.5-3.5%

สำหรับไตรมาสแรกปี 2564 เศรษฐกิจไทยติดลบต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ห้า โดยติดลบ -2.6% YoY แต่ถือว่าฟื้นตัวขึ้นมาแล้วจากไตรมาสที่สี่ปี 2563 เพราะเมื่อไตรมาสก่อนหน้าเศรษฐกิจติดลบ -4.2%

ส่วนเซ็กเตอร์ที่จะยังช่วยประคองเศรษฐกิจในปีนี้ได้ เป็นภาคการส่งออก การลงทุนภาคเอกชน การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของรัฐ และเงินอัดฉีด 2 แสนล้านบาทเพื่อเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจาก COVID-19

การควบคุมการระบาดยังขึ้นอยู่กับนโยบายการกระจายวัคซีนด้วย โดยล่าสุดคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติจัดประชุมเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม มีมติที่สำคัญ ดังนี้ 1.ปรับเพิ่มจำนวนจัดหาวัคซีนเป็น 150 ล้านโดสภายในปี 2565 2. ปรับแนวทางเป็นการฉีดวัคซีนเข็มแรกให้ประชาชนให้ได้มากที่สุด 3.เร่งจัดหาวัคซีนให้มากที่สุดและหลากหลายมากขึ้น

]]>
1332716