ซื้อของออนไลน์ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 15 Mar 2022 12:58:09 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ถอดบทเรียน 3 แบรนด์ดัง กับการใช้ Smart Channel Ads พื้นที่โฆษณาทำเลทองบน LINE https://positioningmag.com/1375974 Wed, 16 Mar 2022 04:00:41 +0000 https://positioningmag.com/?p=1375974

ในยุคที่ดิจิทัลเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันอย่างมาก ส่งผลให้พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา การเข้าถึงสื่อโฆษณาย่อมมีการเปลี่ยนไป โฆษณาในรูปแบบเดิมๆ ที่เคยประสบผลสำเร็จอาจจะใช้ไม่ได้ในยุคนี้แล้วก็ได้ แน่นอนว่ายุคดิจิทัลนำพามาด้วยแพลตฟอร์ม และเครื่องมือที่หลากหลาย ตอบโจทย์ทั้งออนไลน์ และออฟไลน์ 


ตำแหน่งโฆษณาที่ดี มีชัยมากกว่าครึ่ง

ขึ้นชื่อว่าการทำโฆษณาแล้ว โจทย์ของนักการตลาดส่วนใหญ่ก็ต้องการ Awareness หรือการรับรู้ในจำนวนมาก หรือมากไปกว่านั้นก็ต้องการเทิร์นการรับรู้เหล่านั้น มาเป็น Conversion หรือสามารถเชื่อมต่อไปยังเว็บไซต์ หรือช่องทางการขาย เพื่อที่สามารถปิดการขายได้

นอกจากการสร้างการรับรู้แล้ว โลเคชั่น หรือจุดที่วางตำแหน่งโฆษณาสำคัญมากๆ ส่งผลต่อการมองเห็น และการตัดสินใจของผู้บริโภคเลยก็ว่าได้ ถึงแม้ว่าแคมเปญนั้นจะต๊าชมากแค่ไหน แต่ถ้าอยู่ในจุดที่ไม่เหมาะสม จุดที่คนไม่มองเห็น ก็เปล่าประโยชน์ แคมเปญอาจจะพังไม่เป็นท่าเลยก็ได้ สมัยนี้แค่คอนเทนต์ถูกใจ หรือภาพถูกตาก็ยังไม่พอ ต้องเลือกแพลตฟอร์มให้ถูกที่และวางให้ถูกเวลาอีกด้วย จึงจะได้ผลลัพธ์คุ้มค่า โดนใจ มีประสิทธิภาพสูงสุด

แต่เมื่อเครื่องมือการตลาด หรือแพลตฟอร์มมากมายเต็มไปหมด หลายเจ้าต่างชูจุดเด่นที่แตกต่างกันออกไป แต่ถ้าดูในรายละเอียดแล้ว ต้องบอกว่าเครื่องมือการตลาดในยุคนี้คงไม่มีอะไรที่น่าสนใจไปกว่า LINE อีกแล้ว เป็นแพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้มากถึง 50 ล้านคน/เดือน มียอดแอคทีฟยูเซอร์ในระดับที่สูงมากๆ เมื่อเทียบกับแพลตฟอร์มอื่นๆ

ที่สำคัญก็คือ กลุ่มผู้ใช้หลากหลาย ตั้งแต่เด็ก นักเรียน นักศึกษา คนทำงาน ไปจนถึงผู้สูงอายุ ทุกคนใช้ LINE ในการพูดคุยในชีวิตประจำวัน อีกทั้งในแต่ละวันคนไทยยังอยู่บน LINE โดยเฉลี่ยรวมเกิน 1 ชั่วโมงต่อวัน เรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในแอปฯ ที่คนไทยเปิดกันบ่อยตั้งแต่ตื่นนอนจนถึงก่อนเข้านอนกันเลยทีเดียว

วันนี้ทาง Positioning จะมาเล่าให้ฟังว่าทำไมการลงโฆษณาบน LINE ถึงมีประสิทธิภาพ แล้วตำแหน่งไหนที่จะทำให้ Ads มีประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งก็คือโฆษณาตรงตำแหน่งที่เรียกว่า Smart Channel หรือ Smart Channel Ads นั่นเอง


ทำไม Smart Channel ถึงเวิร์ก?

Smart Channel เป็นตำแหน่งโฆษณาที่ขึ้นอยู่ด้านบนหน้ารายการ Chat ของ LINE เรียกได้ว่าเป็นหน้าที่มีการเข้าใช้งานสูงที่สุดบน LINE เพราะผู้ใช้จะเห็นห้องแชทของเพื่อนๆ หรือ กลุ่มโดยรวม ก่อนที่จะกดเข้าไปแชทนั่นเอง โดยรูปแบบโฆษณาที่แบรนด์สามารถนำมาขึ้นบนตำแหน่ง Smart Channel นี้แบ่งได้ 2 ประเภทคือ

  1. VDO Expandable Ads แบรนด์สามารถจัดทำชิ้นงานโฆษณาในรูปแบบ VDO เพื่อให้ลูกค้าคลิกขยาย และดูวิดีโอโฆษณาได้ทันที เสริมประสบการณ์ของลูกค้าในการรับข้อมูลสินค้าและบริการได้อย่างน่าสนใจ ก่อนที่จะสามารถคลิกเพิ่มเติมไปยังหน้าปลายทางที่แบรนด์ต้องการต่อได้
  2. Static Banner แบนเนอร์โฆษณาในรูปแบบภาพนิ่งที่สามารถนำลูกค้าไปสู่หน้าเว็บไซต์หรือหน้าปลายทางที่ต้องการได้ในคลิกเดียว ถือเป็นเครื่องมีทรงประสิทธิภาพในการสร้างทราฟฟิกให้กับเว็บไซต์อย่างมาก

คำถามที่ตามมาก็ได้ ทำไมการทำโฆษณาบนตำแหน่ง Smart Channel ถึงประสบผลสำเร็จ การทำโฆษณาในยุคปัจจุบัน เป็นยุคของการทำ Personalized ads โดย LINE มีเครื่องมือที่พร้อมที่จะทำให้แบรนด์สามารถเข้าถึงลูกค้าได้ถูกที่ ถูกเวลา ตามความสนใจและพฤติกรรมของลูกค้า โดยลูกค้าจะมองเห็นคอนเทนต์และโฆษณาในตำแหน่ง Smart Channel นี้ ตามความสนใจของแต่ละบุคคล ด้วยการทำงานของ AI / Machine learning จากพฤติกรรมในอดีต 

เช่น ลูกค้าจะเห็นเพียง 3-6 คอนเทนต์ต่อวันเท่านั้น ซึ่งเป็นจำนวนที่ทำให้จดจำโฆษณาได้ดีกว่า แต่ละคอนเทนต์ จะปรากฎอยู่เพียง 30 นาทีเท่านั้น และในบางคอนเทนต์จะไม่มาให้เห็นอีก ภายในเวลา 2 ชั่วโมง ที่สำคัญคือ จุดที่วางโฆษณาค่อนข้างจะเป็นธรรมชาติมากๆ เพราะอยู่ในตำแหน่งบนสุดของรายการแชท ส่วนถ้าเวอร์ชั่นเดสท์ท็อปจะอยู่แถบล่างสุด เรียกว่าไม่รบกวนสายตาจนเกินไป ไม่ทำให้ผู้ใช้รู้สึกรำคาญ หรือคิดว่าถูกยัดเยียดให้ดูโฆษณา ผู้ใช้สามารถกดปิดได้ด้วย

การทำงานของ AI และ Machine Learning ของ LINE มีประสิทธิภาพสูง เพราะเป็นการเก็บข้อมูลจาก Ecosystem ทั้งหมด อาทิ พฤติกรรมการซื้อของออนไลน์ การเข้าดูข้อมูลต่างๆ บน LINE สิ่งที่สนใจหรือชอบ พฤติกรรมการตอบรับต่อข้อมูลของลูกค้าในรูปแบบ Real Time (เวลาเห็นข้อมูล มีการ React  อย่างไร)

ด้วยคุณสมบัติเหล่านี้ ทำให้ Smart Channel เป็นพื้นที่และเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ เพราะ ไม่เป็นการให้ข้อมูล หรือโฆษณาแบบถาโถมที่ทำให้ลูกค้ารู้สึกรำคาญ หรือถูกรบกวนจนเกินไป อยู่บนตำแหน่งที่โดดเด่น ส่งผลให้การมองเห็นโฆษณาของกลุ่มเป้าหมาย ในแต่ละครั้งมีความหมาย น่าจดจำ และมีแนวโน้มในการนำไปสู่ความสนใจในสินค้าและบริการ ด้วยตัวเลขพิสูจน์ประสิทธิภาพของโฆษณาในแต่ละประเภทบน Smart Channel เมื่อเทียบกับการลงโฆษณาแบบทั่วไปในตลาด ซึ่งถือว่าสูงมาก ไม่ว่าจะเป็น


ทำเลทอง สร้างการจดจำได้มากกว่า

ถ้าให้เจาะถึงสถิติของรูปแบบโฆษณาแต่ละประเภทบน Smart Channel ต้องบอกว่ามีตัวเลขที่ค่อนข้างน่าประทับใจ เป็นสถิติที่ค่อนข้างสูง และวัดผลได้ เมื่อเทียบกับแพลตฟอร์มอื่นๆ โดยเฉพาะยอดการเข้าถึงของผู้ใช้งานหรือ Reach จากโฆษณาในตำแหน่งนี้ ที่สูงสุดถึง 31 ล้านคนต่อวัน จนกลายเป็นพื้นที่โฆษณาทำเลทอง พร้อมผลสถิติการใช้งานที่น่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็น

โฆษณาประเภท VDO Expandable Ads

  • เรตการคลิกเข้าชม VDO เฉลี่ย 8%
  • เรตการเข้าชม VDO จนจบ เฉลี่ย 15%
  • เรตการคลิกเข้าสู่เว็บไซต์ เฉลี่ย3%

โฆษณาประเภท Static Banner

  • เรตการคลิกเข้าสู่เว็บไซต์ เฉลี่ย  0.7%

นอกจากรูปแบบของชิ้นงานโฆษณาที่แบรนด์สามารถเลือกทำเป็นวิดีโอหรือภาพนิ่งได้แล้ว นักการตลาดยังสามารถวางแผนการทำการตลาดได้ล่วงหน้า เลือกอัตราการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายหรือ target reach ของโฆษณาบนตำแหน่ง Smart Channel ไม่ว่าจะเป็น 25%, 50%, 75% หรือ 100% เต็มเพื่อให้สอดคล้องกับงบประมาณที่วางไว้ด้วยได้เช่นกัน


กรณีศึกษา 3 แบรนด์ใหญ่ กับผลลัพธ์สุดปัง

ถ้ามาเล่าถึงรูปแบบการโฆษณาอย่างเดียวคงจะไม่เห็นภาพว่ามันทรงพลังอย่างไร จึงขอเล่าถึงกรณีศึกษาของแบรนด์ที่ลงโฆษณาในรูปแบบนี้แล้วประสบผลสำเร็จ ได้ผลลัพธ์สุดปัง

LINE BK กับผลงานโฆษณาสินเชื่อออนไลน์ โดยได้สร้างสรรค์งานครีเอทีฟในรูปแบบ Static Banner ได้ตรงใจ key message ชัดเจน เข้าใจง่ายและเข้ากับช่วงเวลา พร้อมเลขโปรโมชั่นที่จัดวางได้อย่างน่าดึงดูดใจ เมื่อวางในตำแหน่ง Smart Channel ที่เข้าถึงคนจำนวนมาก จึงสามารถสร้างคลิกเรต (CTR) ได้กว่า 1.53% ซึ่งถือเป็น Best Practice ของโฆษณาบนช่องทางนี้ทีเดียว

 

โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ได้นำเสนอโฆษณาในรูปแบบภาพนิ่งหรือ Static Banner บนตำแหน่ง Smart Channel เช่นกัน โดยนำเสนอแคมเปญวัคซีนโมเดอน่าให้กับคนไทย โดยเลือกกลุ่มเป้าหมายไว้อย่างครอบคลุม คือกลุ่มคนที่สนใจเรื่องวัคซีน สุขภาพ การแพทย์ และเมื่อคอนเท้น งานครีเอทีฟสื่อสารได้ชัดเจน วางในตำแหน่งที่ถูกต้อง แคมเปญจึงประสบความสำเร็จได้ไม่ยาก สร้างคลิกเรต (CTR) ได้มากถึง 1.41%

KFC เป็นอีกหนึ่งเคสที่น่าสนใจ ทำโฆษณาในรูปแบบ VDO Expandable Ads เพื่อโปรโมทโปรไก่ทอดเซ็ตพิเศษ เฉพาะวันอังคาร เพื่อตอกย้ำให้คนจดจำโปรได้มากขึ้น ด้วยงานครีเอทีฟ ภาพเคลื่อนไหวที่แค่เห็นก็อดน้ำลายไหลไม่ได้ พร้อมกลยุทธ์การเลือกช่วงเวลาในการนำเสนอโฆษณาบน Smart Channel อย่างต่อเนื่อง ไม่เพียงประสบความสำเร็จด้านการรับรู้เท่านั้น แต่ยังสร้างการจดจำได้ดีต่อลูกค้า ด้วยตัวเลขอัตราการคลิก (CTR) ที่มากกว่า Avg. CTR ใน Smart Channel ถึง 64% นำไปสู่ยอดขายที่เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน

จะเห็นได้ว่าการแข่งขันด้านโฆษณาที่สูงมากในทุกวันนี้ ทุกแบรนด์แข่งกันให้ลูกค้าเห็น ให้ลูกค้าจดจำได้ แบรนด์จึงต้องอัพเดท และมองหาช่องทางที่ดีที่สุด ที่ตอบโจทย์ที่สุดอยู่ตลอดเวลา Smart Channel บนแพลตฟอร์ม LINE ไม่เพียงตอบโจทย์ในเรื่องการเข้าถึงคนจำนวนมาก ถูกที่ ถูกเวลา แต่ยังสามารถเปิดโอกาสให้แบรนด์สามารถ Personalized คอนเท้น ให้ถูกใจลูกค้าได้มากขึ้นอีกด้วย

ธุรกิจองค์กรที่สนใจ สามารถติดต่อพันธมิตรเอเจนซี่ของ LINE ที่ท่านร่วมงานอยู่ หรือตรวจสอบพันธมิตรเอเจนซี่ของ LINE ได้ที่ https://lineforbusiness.com/th/partner เพื่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ 

 

]]>
1375974
ETDA เผยยอดร้องเรียนโกงออนไลน์ทะลุ 2,000 ครั้ง/เดือน พร้อมอัปเดต 6 กลโกงยอดฮิตปี 64 https://positioningmag.com/1355445 Thu, 07 Oct 2021 08:09:44 +0000 https://positioningmag.com/?p=1355445 สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือเอ็ตด้า (Electronic Transactions Development Agency : ETDA) เปิดเผยว่าในยุคดิจิทัลที่คนไทยมีพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตเพิ่มสูงขึ้น 150% และสิ่งที่ตามมาคือ การโกง เพราะจากสถานการณ์ COVID-19 ทำให้คนไทยหันมาจับจ่ายผ่านออนไลน์สูงขึ้น ขณะเดียวกันร้านค้าต่าง ๆ ก็หันมาเปิดขายบนออนไลน์เช่นกัน

โดยจากการรับเรื่องร้องเรียนผ่านศูนย์รับเรื่องร้องเรียนปัญหาออนไลน์ (1212 Online Complaint Center หรือ 1212 OCC) พบว่า ตั้งแต่เดือนมกราคม-สิงหาคม 2564 มีผู้ร้องเรียนเฉพาะเรื่องซื้อขายออนไลน์เพิ่มสูงขึ้น โดยเฉลี่ย 2,221 ครั้งต่อเดือน เมื่อเทียบกับปี 2563 ที่เฉลี่ย 1,718 ครั้งต่อเดือน ซึ่งถือเป็นสถิติเฉลี่ยต่อเดือนสูงสุดตั้งแต่เปิดดำเนินการศูนย์ฯ มาตั้งแต่ปี 2558 ดังนั้นเพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อ เอ็ตด้า จึงชี้ให้เห็น 6 กลโกงซื้อขายออนไลน์ เพื่อเตือนทุกคนจะไม่โดนหลอกลวงแบบนี้

ชวดหนี ไม่มีสินค้าส่งจริง

จากกระแสข่าวแก๊งแม่ค้าวัยทีน #phonebymint หลอกขายมือถือทางออนไลน์ โพสต์ภาพมือถือสวย ๆ ขายบนอินสตาแกรม โดยตั้งราคาถูก พร้อมสร้างข้อมูลรีวิวจากผู้ใช้งานเสมือนจริงเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ ทำให้เด็กนักเรียนวัย 14 ปี หลงกลโอนเงินสั่งซื้อสินค้า สุดท้าย แม่ค้าไม่ส่งสินค้าตามที่แจ้ง ส่งผลให้เด็กเครียดเส้นเลือดสมองแตกเสียชีวิต

ก่อนจะพบว่ามีผู้เสียหายจากแม่ค้าดังกล่าวปรากฏเพิ่มขึ้นนับร้อย ๆ ราย ซึ่งจากสถิติร้องเรียนมายังศูนย์ฯ 1212 เอง ปัญหาการสั่งซื้อสินค้าแล้วไม่ได้รับสินค้าก็มาเป็นอันดับ 1 ถึง 45% ดังนั้นก่อนตัดสินใจซื้อ แนะนำให้ตั้งข้อสังเกตในเรื่องการตั้งราคาที่ถูกเกินจริง เช็กข้อมูลชื่อผู้ขาย เบอร์โทรศัพท์ บัญชีธนาคารของผู้ขายจากเว็บไซต์ https://www.blacklistseller.com/ ว่าอยู่ในบัญชีดำคนโกงหรือไม่ รวมถึงลองนำชื่อร้านไปค้นหาบนแพลตฟอร์ม e-Commerce เช่น ช้อปปี้ (Shopee) ลาซาด้า (Lazada) ฯลฯ

สินค้าไม่ตรงปก

ปัญหานี้ศูนย์ฯ 1212 พบการร้องเรียนถึง 29% ในระยะ 8 เดือนแรกของปี 2564 อย่างไรก็ตาม เมื่อได้รับสินค้า แนะนำให้ถ่ายรูปและถ่ายวิดีโอเก็บไว้เป็นหลักฐานสำหรับร้องเรียนได้ ล่าสุด วงการพระเครื่อง และวงการต้นไม้ที่กำลังร้อนแรงก็มีการโกงบ่อยครั้ง แนะนำในส่วนการพิจารณาขนาดความสูงต้นไม้นั้น อาจให้ทางร้านช่วยถ่ายรูปต้นไม้โดยวางไว้ข้าง ๆ ขวดน้ำ หรือขอวิดีโอคอลเพื่อตรวจสอบต้นไม้และให้ได้รับสินค้าตรงปก

และก่อนโอนชำระเงินแนะให้เจ้าของร้านถ่ายรูปคู่กับสินค้า โดยถือบัตรประชาชนหรือกระดาษที่เขียนเลขที่บัญชีธนาคารมาให้ดูอีกครั้งเพื่อยืนยัน อย่างไรก็ตาม แนะนำให้ซื้อขายแบบนัดรับกับทางร้านจะดีกว่า และเลี่ยงการโอนเงินมัดจำก่อน

จ่ายซื้อแบรนด์เนมแท้ แต่ได้ของก๊อบ AAA

แม่ค้าหัวใสบนโลกออนไลน์ได้ โดยมักจะโพสต์รูปสินค้าแบรนด์เนมแท้ขายบนช่องทางออนไลน์ หลอกให้ลูกค้าหลงกล มั่นใจว่า ฉันซื้อของแท้จริง ๆ แต่สุดท้ายกลับได้สินค้าผิดกฎหมาย หรือสินค้าปลอมมาส่งที่บ้าน ดังนั้นแนะนำให้พิจารณาข้อมูลร้านค้าอย่างถี่ถ้วน ตรวจสอบรหัสสินค้า ใบรับประกันสินค้า ตรวจสอบบัญชีธนาคารก่อนโอน หรือติดต่อซื้อขายที่ร้านค้าทางการ (Official) ดีกว่า

หลอกให้เซ็นรับพัสดุผิดกฎหมาย

บางครั้งเหล่ามิจฉาชีพก็มากันเป็นทีม และใช้ความฮิตเรื่องการซื้อของออนไลน์ที่กลายเป็นวิถีปกติของคนยุค COVID-19 ไปเสียแล้ว มาลวงเหยื่อถึงหน้าบ้าน ล่าสุดทางไปรษณีย์ไทย ออกจดหมายแจ้งเตือน ระวังมิจฉาชีพตีเนียนเป็นผู้คนส่งของ หลอกให้เซ็นรับพัสดุที่อาจเป็นสิ่งของผิดกฎหมาย พร้อมจัดฉากเป็นตำรวจปลอมเข้าตรวจ ดังนั้นเมื่อเจอเหตุการณ์เช่นนี้ แนะให้ตั้งสติก่อน แล้วตรวจสอบให้มั่นใจว่าไม่ได้สั่งของ และห้ามรับสิ่งของที่ไม่ได้สั่งเด็ดขาด

รับหิ้วของ

การรับหิ้วของ หรือการมองหาคนมารับหิ้ว โดยยอมเสียเงินจ้างเพิ่มเล็กน้อยทดแทนการเสียค่ารถออกจากบ้านและความเสี่ยงเข้าไปในย่านชุมชนในยุคโควิด-19 ต้องระวัง ซึ่งก็ทำให้เกิดอาชีพใหม่ๆ นี้ขึ้นมา แต่ทั้งนี้เราจะเชื่อใจผู้มาสวมบทรับหิ้วได้อย่างไร ดังนั้นควรตรวจสอบประวัติผู้รับหิ้วให้ดี เลี่ยงการจ้างวานผู้ที่ไม่ได้รู้จักเป็นการส่วนตัวมารับหิ้วให้ หรือสั่งจากร้านโดยตรงจะดีกว่า

ตุ๋นขายแบบผ่อนชำระ

การซื้อขายแบบผ่อนชำระทางออนไลน์ โดยเฉพาะการซื้อสินค้าขนาดใหญ่ หรือราคาสูง เช่น ผ่อนโทรศัพท์มือถือ ผ่อนเครื่องใช้ไฟฟ้า ผ่อนเครื่องเพชรหรือทอง ผ่านบัตรเครดิต ก็ยังเป็นหนึ่งในตัวเลือกของผู้ซื้อสินค้าที่อาจต้องการรัดเข็มขัด ประหยัดเงิน หรือมีค่าใช้จ่ายเยอะในช่วงนั้น ๆ รวมถึงร้านค้าก็สามารถเพิ่มยอดขายได้เร็ว แต่ส่วนใหญ่จะต้องผ่อนให้ครบงวดแล้วร้านค้าจะดำเนินการจัดส่งสินค้ามาให้ผู้ซื้อ

ซึ่งจะรู้ได้อย่างไรว่าเราจะไม่โดนเชิดเงิน ชวดได้รับสินค้า ซึ่งกรณีเหล่านี้เกิดขึ้นบ่อยเช่นกัน ดังนั้นก่อนตัดสินใจซื้อขายแบบผ่อนชำระทางออนไลน์ ควรพิจารณาเอกสารสัญญาซื้อขายที่แจ้งรายละเอียดชัดเจน หรือถ้าซื้อขายผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ต่าง ๆ ควรเลือกร้านที่เป็นทางการ (Official) ดูรีวิวผู้ซื้อต่าง ๆ พร้อมตรวจสอบข้อมูลร้านและบัญชีผู้ขายอย่างรอบคอบ

]]>
1355445
ส่อง Top 10 ประเทศที่มีตลาดอีคอมเมิร์ซใหญ่ที่สุดในโลก https://positioningmag.com/1338424 Wed, 23 Jun 2021 09:16:17 +0000 https://positioningmag.com/?p=1338424 หากพูดถึงอุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซในไทยจะเห็นว่ามีการเติบโตอย่างมาก โดยเฉพาะในปี 2563 ที่การระบาดของ COVID-19 ทำให้ต้องล็อกดาวน์ และแน่นอนว่าไม่ใช่แค่ไทย แต่ตลาดอีคอมเมิร์ซก็เติบโตขึ้นทั่วโลกเช่นกัน ดังนั้น ไปส่อง 10 ตลาดอีคอมเมิร์ซที่ใหญ่ที่สุดในโลกกันว่ามีประเทศไหนบ้าง

จีน

ไม่น่าแปลกใจเท่าไหร่สำหรับเบอร์ 1 เพราะจีนมีจำนวนประชากรเกือบ 1.4 พันล้านคน ประกอบกับประเทศที่ใหญ่ แน่นอนว่าการซื้อสินค้าที่สะดวกที่สุดคงหนีไม่พ้นออนไลน์ ส่งผลให้มีอีคอมเมิร์ซจีนมีมูลค่าสูงถึง 672 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็น 15.9% ของตลาดค้าปลีกในประเทศ

โดยเจ้าตลาดของจีนนั้นก็คือ Alibaba group เจ้าของแพลตฟอร์ม Alibaba, Tmall รวมถึง Lazada ในไทยด้วย นอกจากนี้ก็มี JD.COM เบอร์ 2 ของจีน ยังไม่รวมแพลตฟอร์มอื่น ๆ อาทิ Kuaishou แพลตฟอร์มวิดีโอสั้นที่คนนิยมทำ ไลฟ์คอมเมิร์ซ ปัจจุบันอีคอมเมิร์ซจีนมีอัตราการเติบโตสูงถึงปีละ 35% ถือเป็นประเทศที่มีการเติบโตของตลาดอีคอมเมิร์ซที่เร็วที่สุดในโลกอีกด้วย

สหรัฐอเมริกา

อดีตเบอร์ 1 ที่ครองโลกอีคอมเมิร์ซมานานกว่า 10 ปี ปัจจุบันสหรัฐอเมริกาเป็นตลาดอีคอมเมิร์ซที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก โดยมีเจ้าตลาดอย่าง Amazon และ eBay ซึ่งเชื่อว่าหลายคนต้องเคยสั่งของสักครั้งแน่นอน ปัจจุบัน ตบาดอีคอมเมิร์ซในสหรัฐฯ มีมูลค่าตลาดที่ 340 พันล้านดอลลาร์ คิดเป็น 7.5% ของมูลค่าค้าปลีกทั้งหมด

(Photo by Sean Gallup/Getty Images)

สหราชอาณาจักร

แม้สหราชอาณาจักรจะไม่ได้เป็นประเทศใหญ่เหมือนกับจีนและสหรัฐฯ แต่สหราชอาณาจักรก็เป็นผู้เล่นอีคอมเมิร์ซรายใหญ่และครองตำแหน่งที่ 3 โดยมีเจ้าตลาดที่คุ้นเคยเป็นอย่างดีก็คือ Amazon U.K. นอกจากนี้ก็มี Argos และ Play.com ปัจจุบันมูลค่าตลาดอีคอมเมิร์ซอยู่ที่ 99 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็น 14.5% ของมูลค่าค้าปลีกทั้งหมด

ญี่ปุ่น

เป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีความโดดเด่นด้านอีคอมเมิร์ซ เพราะถือเป็นหนึ่งในประเทศที่บุกเบิกตลาดและเป็นผู้นำเทรนด์ m-commerce หรือการช้อปปิ้งออนไลน์บนมือถือของโลก โดย Rakuten ถือเป็นแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซชั้นนำของญี่ปุ่น ซึ่งในช่วงหลายปีที่ผ่านมาได้เข้าซื้อกิจการเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซหลายแห่งทั่วโลก ปัจจุบัน ตลาดอีคอมเมิร์ซญี่ปุ่นมีมูลค่า 79 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็น 5.4% ของตลาดค้าปลีกในประเทศ

Photo : Shutterstock

เยอรมนี

เยอรมนีเป็นตลาดอีคอมเมิร์ซที่ใหญ่เป็นอันดับสองของยุโรป รองจากสหราชอาณาจักร โดยมี Amazon (อีกแล้ว) ครองตลาดในเยอรมนี ตามด้วย Otto แพลตฟอร์มสัญชาติเยอรมัน และ eBay โดยปัจจุบัน อีคอมเมิร์ซมีในเยอรมันมีมูลค่า 73 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็น 8.4% ของตลาดค้าปลีกทั้งหมด

ฝรั่งเศส

ถือว่ามาแปลกเพราะผู้นำในตลาดอีคอมเมิร์ซของฝรั่งเศสนำโดยผู้เล่นในท้องถิ่น เช่น Odigeo และ Cdiscount แม้ว่าจะมี Amazon เบอร์ 1 ในสหรัฐฯ และในหลายประเทศในยุโรปเป็นคู่แข่งก็ตาม แต่ถึงแม้ Amazon จะไม่สามารถเป็นผู้นำในตลาดอีคอมเมิร์ซฝรั่งเศสได้ แต่ก็ถือเป็นผู้เล่นที่อยู่ในลำดับต้น ๆ อยู่ดี ปัจจุบัน ตลาดอีคอมเมิร์ซของฝรั่งเศสมีมูลค่า 43 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็น 5.1% ของตลาดค้าปลีกทั้งหมด

เกาหลีใต้

เกาหลีใต้ถือเป็นประเทศที่ประสบความสำเร็จด้านอีคอมเมิร์ซประเทศหนึ่ง และหากจำกันได้ ‘11Street’ ผู้เล่นในเกาหลีใต้เคยมาบุกประเทศไทยด้วย (แม้ปัจจุบันจะม้วนเสื่อกลับไปแล้วก็ตาม) ทั้งนี้ เกาหลีใต้เป็นประเทศที่มีความเร็วอินเทอร์เน็ตไร้สายที่เร็วที่สุด และถือเป็นประเทศที่มีตลาด M Commerce หรือ Mobile Commerce ชั้นนำอีกด้วย โดยผู้เล่นอีคอมเมิร์ซที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ ได้แก่ Gmarket และ Coupang ปัจจุบันตลาดอีคอมเมิร์ซเกาหลีมีมูลค่า 37 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็น 9.8% ของตลาดค้าปลีกทั้งหมด

แคนาดา

ผู้นำในตลาดของแคนาดาคือ Amazon ตามด้วย Costco โดยที่น่าแปลกใจคือ แคนาดาเป็นตลาดอีคอมเมิร์ซขนาดใหญ่ แต่กลับมีการแข่งขันต่ำ ด้วยโอกาสดังกล่าวทำให้แบรนด์ต่างประเทศอื่น ๆ ก็พยายามจะแย่งส่วนแบ่งตรงนี้ ปัจจุบัน มูลค่าตลาดอีคอมเมิร์ซแคนาดาอยู่ที่ 30 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็น 5.7% ของตลาดค้าปลีกทั้งหมด

รัสเซีย

หลายคนอาจจะแปลกใจว่ารัสเซียเป็นหนึ่งในประเทศที่ใหญ่ แต่ทำไมมาอยู่อันดับที่ 9 คำตอบคือ ตลาดอีคอมเมิร์ซของรัสเซียยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นแม้ประเทศนี้มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป แต่ยอดขายออนไลน์นั้นมีเพียง 2% ของยอดค่าปลีกทั้งหมดเท่านั้น ปัจจุบันมีมูลค่า 20 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยผู้นำในตลาดอีคอมเมิร์ซ ได้แก่ Ulmart, Citilink และ Ozon

บราซิล

หนึ่งเดียวจากทวีปอเมริกาใต้นี้มีการเติบโตของอีคอมเมิร์ซที่ประมาณ 22% ต่อปี ด้วยอัตราการเติบโตดังกล่าว ทำให้บราซิลถือเป็นประเทศที่ผู้เล่นในอเมริกาเหนือจับตามองที่จะมาสร้างอาณาจักร อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันตลาดอีคอมเมิร์ซของบราซิลยังมีผู้เล่นท้องถิ่นเป็นผู้นำตลาด อาทิ MercadoLibre และ B2W ปัจจุบัน อีคอมเมิร์ซบราซิลมีมูลค่า 19 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็น 2.8% ของตลาดค้าปลีกทั้งหมด

สำหรับตลาดอีคอมเมิร์ซใน ไทย ถือว่ามีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยข้อมูลจากไพรซ์ซ่า (Priceza) ระบุว่าในปี 2563 ตลาดอีคอมเมิร์ซไทยมีมูลค่ากว่า 220,000 ล้านบาท เติบโตราว 35% อย่างไรก็ตาม 3 อันดับแรกของผู้นำในตลาดไทยล้วนแล้วแต่เป็นผู้เล่นจากจีนไม่ว่าจะเป็น Lazada (เจ้าของคือ อาลีบาบา) Shopee (เจ้าของคือ Sea แต่มี Tencent ถือหุ้นใน Sea 40%) และ JD.CENTRAL บริษัทร่วมทุนของ JD.COM และ Central

Source

]]>
1338424
ยักษ์อีคอมเมิร์ซ ‘Amazon’ เตรียมจ้างพนักงานเพิ่ม 10,000 ตำเเหน่งใน UK รับเศรษฐกิจฟื้น https://positioningmag.com/1332375 Sun, 16 May 2021 08:48:23 +0000 https://positioningmag.com/?p=1332375 ยักษ์ใหญ่อีคอมเมิร์ซอย่าง ‘Amazon’ วางเเผนจะจ้างพนักงานเพิ่ม 10,000 ตำเเหน่งในสหราชอาณาจักร หลังประกาศจ้างพนักงานส่งของและพนักงานคลังสินค้ากว่า 75,000 คนในสหรัฐฯ และแคนาดา เชื่อมั่นลงทุนหลังเศรษฐกิจเริ่มฟื้น

โดยตำแหน่งงานใหม่ของ Amazon ที่จะเปิดรับสมัครในสหราชอาณาจักรนั้น จะรวมถึงพนักงานประจำคลังสินค้า 4 แห่งใหม่และพนักงานประจำสำนักงานใหญ่ในกรุงลอนดอน, แมนเชสเตอร์, เอดินเบอระ และแคมบริดจ์ รวมไปตำแหน่งงานไอทีใน Amazon Web Services ซึ่งเป็นส่วนธุรกิจคลาวด์คอมพิวติ้งของ Amazon ด้วย

อย่างไรก็ตาม Amazon ปฏิเสธที่จะระบุถึงจำนวนการเพิ่มตำแหน่งใหม่ ในส่วนพนักงานขับรถจัดส่งและพนักงานคลังสินค้า หลังมีการประท้วงเรื่องค่าเเรงต่ำและคุณภาพชีวิตในการทำงานที่ไม่ดีนัก

สำหรับค่าเเรงในการทำงานของ Amazon ในสหราชอาณาจักร จะเริ่มต้นที่ 10.80 ปอนด์ ต่อชั่วโมง (ราว 477 บาท) ในพื้นที่กรุงลอนดอน และ 9.70 ปอนด์ต่อชั่วโมงในส่วนอื่นๆ

โดยตั้งเป้าว่าพนักงานทั้งหมดในสหราชอาณาจักรจะเพิ่มขึ้นเป็นมากกว่า 5.5 หมื่นราย ได้ภายในสิ้นปี 2021 ซึ่งจะทำให้ Amazon บริษัทกลายเป็นหนึ่งเป็นในบริษัทข้ามชาติที่มีพนักงานมากที่สุดในอังกฤษ เหมือนยักษ์ใหญ่เทคโนโลยีอื่น ๆ ของสหรัฐฯ อย่าง Google, Microsoft, Facebook และ Apple

นอกจากนี้ Amazon วางเเผนจะทุ่มงบประมาณราว 10 ล้านปอนด์ในระยะเวลา 3 ปีข้างหน้า เพื่อใช้ฝึกอบรมทักษะใหม่ๆ ให้พนักงานในสหราชอาณาจักรราว 5,000 คน เพื่อเสริมความสามารถในการประกอบอาชีพทั้งในเเละนอกองค์กร พร้อมร่วมงานกับหอการค้าอังกฤษและธุรกิจในท้องถิ่น เพื่อเเก้ปัญหาการขาดแคลนทักษะในส่วนภูมิภาค

เรามีความเชื่อมั่นอย่างมากว่าเศรษฐกิจของสหราชอาณาจักรจะดีขึ้นเรื่อยๆ หลังการระบาดใหญ่ ถือเป็นการลงทุนที่สำคัญในภาคการค้าปลีกของเรา

เเม้ว่า Amazon จะเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ที่สร้างงานมากมายในสหราชอาณาจักร แต่บริษัทก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์ถึงภาษีที่จ่ายโดยบริษัทจ่ายจ่ายภาษีเเค่ 293 ล้านปอนด์ในปี 2019 จากยอดขายมีมากถึง 1.37 หมื่นล้านปอนด์

 

 

ที่มา : CNBC , BBC

]]>
1332375
J&T Express บิ๊กขนส่งอินโด เตรียมขาย IPO ในตลาดหุ้นสหรัฐฯ คาดระดมทุน 1 พันล้านดอลลาร์ https://positioningmag.com/1326898 Wed, 07 Apr 2021 10:53:21 +0000 https://positioningmag.com/?p=1326898 ‘J&T Express’ บริษัทโลจิสติกส์ยักษ์ใหญ่ของอินโดนีเซีย เร่งการเติบโตไปอีกขั้น เตรียมเสนอขายหุ้นแก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) ในตลาดหุ้นสหรัฐฯ คาดเกิดขึ้นช่วงไตรมาส 4 ปีนี้ ประเมินระดมทุนได้ถึง 1,000 ล้านดอลลาร์

Bloomberg รายงานโดยอ้างเเหล่งข่าวว่า J&T Express กำลังทำงานร่วมกับที่ปรึกษาทางการเงิน เพื่อยื่นเสนอขายหุ้น IPO ในตลาดสหรัฐฯ โดยคาดว่าจะได้ข้อสรุปภายในไตรมาส 4 ของปีนี้

เบื้องต้นมีการประเมินว่า การขาย IPO ครั้งนี้ จะระดมทุนได้ถึง 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 3.1 หมื่นล้านบาท) ซึ่งจะทำให้มูลค่าบริษัทของ J&T Express เพิ่มขึ้นไปเเตะ 5,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.56 เเสนล้านบาท)

แหล่งข่าวเปิดเผยอีกว่า J&T Express กำลังจะมีการระดมทุนรอบใหม่หลังเพิ่งระดมทุนได้ 300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 9.4 พันล้านบาท) ไปเมื่อไม่นานมานี้

โดยการเสนอขายหุ้น IPO ของ J&T Express ในตลาดนิวยอร์กครั้งนี้ ถือเป็นการท้าชิงตำแหน่งเเชมป์ของบริษัทอินโดนีเซียที่สามารถระดุมทุนได้มากที่สุดในตลาดหุ้นสหรัฐฯ กับ ‘PT Indosat’ โทรคมนาคมรายใหญ่ ที่เคยขาย IPO ได้ราว 1.05 พันล้านดอลลาร์ มาตั้งเเต่ปี 1994

อย่างไรก็ตาม รายละเอียดและไทม์ไลน์ของการเสนอขายหุ้น IPO ของ J&T Express อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ ซึ่งทางบริษัทยังปฎิเสธที่จะให้ความคิดเห็นต่อข่าวนี้

สำหรับ J&T Express ก่อตั้งในปี 2015 โดยสองผู้บริหารอย่าง Jet Lee เเละ Tony Chen ให้บริการธุรกิจโลจิสติกส์ในอินโดนีเซีย ต่อมาขยายไปในประเทศเเถบอาเซียนอย่าง มาเลเซีย เวียดนาม ไทย สิงคโปร์ กัมพูชา และจีน มีพนักงานมากกว่า 350,000 คน เเละมีผู้ใช้บริการมากกว่า 2 พันล้านคนทั่วโลก

ที่ผ่านมา บริษัทมีการถึงร่วมมือเป็นพันธมิตรกับอีคอมเมิร์ซเจ้าใหญ่ๆ ของอินโดนีเซียอย่าง PT Tokopedia และ Bukalapak.com รวมถึง Shopee ของสิงคโปร์

ดีมานด์ของธุรกิจโลจิสติกส์และคลังสินค้า เพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงการเเพร่ระบาดของ COVID-19 เมื่อผู้บริโภคหันมาช้อปปิ้งออนไลน์มากขึ้น ส่งผลให้บริการขนส่งเติบโตตามไปด้วย

สำหรับในประเทศไทยนั้น J&T Express เข้ามาเปิดให้บริการตั้งแต่ปี 2019 โปรโมตด้วย ‘Entertainment Marketing’ โดยเลือกนักเเสดงชื่อดังอย่างมาริโอ้ เมาเร่อเป็นพรีเซ็นเตอร์คนแรกพร้อมกลยุทธ์การขึ้นป้ายหน้าร้านสาขา

โดยบริษัทได้ลงทุนในไทยไปแล้วราว 6,000 ล้านบาท เเละในปี 2564 มีเเผนจะลงทุนเพิ่มอีกราว 3,000 ล้านบาท ในด้านเทคโนโลยีการคัดแยก ยานพาหนะ และพนักงาน

 

ที่มา : Bloomberg

 

 

]]>
1326898
‘ป้อม ภาวุธ’ ฟัน 10 เทรนด์ ‘อีคอมเมิร์ซ’ ปี 2021 ยุคของ ‘ออนไลน์’ กลายเป็นช่องทาง ‘หลัก’ https://positioningmag.com/1312830 Mon, 04 Jan 2021 12:11:03 +0000 https://positioningmag.com/?p=1312830 ปี 2564 จะเป็นปีที่ออนไลน์จะมีบทบาทอย่างมากกับเศรษฐกิจของไทย เพราะ COVID-19 ได้เปลี่ยนพฤติกรรมการซื้อของคนไทยทั้งประเทศไปอย่างสิ้นเชิง และในปี 2564 จะเกิดพฤติกรรมการช้อปรูปแบบใหม่ ๆ ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ซึ่งกูรูในวงการอีคอมเมิร์ซไทยอย่าง ‘ป้อม ภาวุธ พงษ์วิทยภานุ’ ได้ฟันธง 10 เทรนด์อีคอมเมิร์ซที่จะเกิดขึ้นในปีนี้

shopping online

1. ออนไลน์ คือ ‘ช่องทางหลัก’

คนไทยจะซื้อออนไลน์เพิ่มมากขึ้น ด้วยโครงการของรัฐ (เราไม่ทิ้งกัน, คนละครึ่ง, เราเที่ยวด้วยกัน ฯลฯ) กระตุ้นให้คนไทยกระโดดเข้าสู่ออนไลน์แบบไม่เคยมีมาก่อน และด้วยงบประมาณมหาศาลของกลุ่ม JSL (JD, Shopee, Lazada) ที่กระตุ้นคนไทยทั้งประเทศให้หันมาซื้อออนไลน์ ฐานคนซื้อออนไลน์ กลุ่มใหญ่จะเป็นคนต่างจังหวัด มากกว่าคนในเมือง กลุ่มคนรุ่นใหม่จะคุ้นเคยกับการซื้อออนไลน์เป็นหลัก และใช้เป็นประจำ

2. 3 มาร์เก็ตเพลสหลักจะคุมตลาดแบบ ‘เบ็ดเสร็จ’

JSL (JD, Shopee, Lazada) จะคุมตลาดค้าปลีกออนไลน์ ในหลายกลุ่มสินค้าแบบ ‘เบ็ดเสร็จ’ และจะคุมกำลังซื้อของคนไทยในช่วงวัน Double Day ได้ เช่น 11.11, 12.12 เม็ดเงินที่เคยสะพัดในท้องถิ่นจะถูกดึงเข้าสู่โลกออนไลน์ ร้านค้าตามชุมชนจะได้รับผลกระทบอย่างหนัก เพราะคนในชุมชน จะหันมาซื้อออนไลน์มากกว่าซื้อร้านใกล้ ๆ บ้าน เพราะด้วยราคาถูกกว่า และตัวเลือกมากกว่า

3. บริษัทขนส่งจะกระตุ้นให้โตแบบก้าวกระโดด

การแข่งขันของเหล่าบริษัทขนส่งจะเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการดันให้ตลาดอีคอมเมิร์ซยิ่งเติบโต โดยที่ผ่านมา ‘Kerry’ ก็เพิ่งเข้าตลาดหลักทรัพย์, Flash Express ระดมเงินได้หลายหมื่นล้าน ทั้งหมดนี้จะทำให้เกิดการแข่งขันการขนส่งแบบดุเดือด ราคาค่าส่งสินค้าจะถูกลง แต่ส่งได้เร็วขึ้น มีคุณภาพมากขึ้น

4. การชำระเงินค่าสินค้าจะง่ายขึ้น

การชำระเงินจากนี้จะยิ่งง่ายและมีความหลากหลายมากขึ้น เช่น โอนเงินผ่าน Mobile Banking, บัตรเครดิต, พร้อมเพย์, เงินผ่อนทางออนไลน์, E-Wallet ซึ่งแต่ละช่องทางจะแตกต่างไปตามพฤติกรรมของผู้ซื้อแต่ละกลุ่ม มีช่องทางชำระเงินที่หลากหลายจะช่วยขายได้ง่ายมากขึ้น

5. โรงงานผลิตสินค้าและแบรนด์รุก ‘ขายตรง’

เข้าสู่ยุคที่ผู้ผลิตจะขายของตรงถึงผู้บริโภคผ่านทางออนไลน์ ‘D2C – Direct to Consumer’ ซึ่ง ‘ข้ามหัว’ ค้าปลีกแบบเดิม ๆ การรุกของ JSL ในการบุกตลาดสินค้าแบรนด์ มาสู่ Mall ของตัวเอง (Shopee Mall, Laz Mall) ทำให้หลาย ๆ สินค้าเห็นโอกาสการขายตรงสู่ผู้บริโภคมากขึ้น

6. Food Delivery กระจายทั่วประเทศ

การสั่งอาหารออนไลน์ หรือ Food Delivery จะโตแบบก้าวกระโดด และกระจายตัวไปทั่วประเทศ ระบบนิเวศของการขายอาหารออนไลน์ (Cloud Kitchen, Food Platform) จะขยายตัวโตมากขึ้น นำไปสู่การซื้อสินค้ารูปแบบใหม่ ๆ

(Photo by Lauren DeCicca/Getty Images)

7. Social รุก E-Commerce เต็มสูบ

Facebook, LINE, Google, JSL บุกการค้าออนไลน์เต็มรูปแบบทั้ง การสร้างร้านค้า (Shop), การจ่ายเงิน (Pay), การทำโฆษณา (Ads) แบบครบวงจรในระบบนิเวศของตัวเอง จะช่วยกระตุ้นให้พ่อค้าแม่ค้าหันมาใช้บริการมากขึ้น ดังนั้นการจะขายให้ดีขึ้น จะต้องไปทุก ๆ ช่องทาง การขาย (Multi-Channel Sale & Marketing)

8. โฆษณาออนไลน์เป็นสิ่งสามัญที่ใคร ๆ ก็ทำ

ราคาโฆษณาจะสูงมากขึ้น การแข่งขัน ทำให้การปรับแต่งโฆษณาให้เก่งขึ้น แม่นยำขึ้น ในราคาที่สมเหตุสมผล จึงเป็นสิ่งที่จำเป็น จะมีเครื่องมือมากมายที่มาช่วยทำให้การทำโฆษณาสะดวกขึ้น แม่นยำขึ้น และการทำ Marketing Automation จะเริ่มมีให้เห็นกันมากขึ้น

Computer screen showing the website for social networking site, Facebook (Photo by In Pictures Ltd./Corbis via Getty Images)

9. กลุ่มลูกค้าจะแตกเป็นชิ้นเล็ก ๆ

จากนี้ไปกลุ่มลูกค้าจะเป็น ‘Fragmented Market’ ตามพฤติกรรมและสินค้า จากนี้แต่ละประเภทการขายสินค้าจะไม่ได้แบ่งตามกลุ่มอายุ เพศ อีกต่อไป (Demographic) แต่จะถูกแบ่งด้วย พฤติกรรมและความชอบ (Behavior & Lifestyle) ไปตามเนื้อหา (Content) สินค้า (Product) ทำให้เกิดการรวมกลุ่มของคนที่มีลักษณะและความชอบคล้าย ๆ กันอยู่รวมกัน (Community)

10. Influencer Commerce

จากนี้ผู้มีอิทธิพล หรือ Influencer จะมีผลต่อการซื้อสินค้ามากขึ้นอย่างมาก เจ้าของสินค้าต่าง ๆ จะเริ่มพึ่งพาผู้มีอิทธิพล (Influencer & KOL) มากขึ้น โลกของ Influencer จะแตกออกเป็นกลุ่มเล็ก ๆ จนเจ้าของสินค้าต้องหาให้เจอ ว่าคนไหนที่เหมาะกับสินค้าของเรา และจะเกิดเอเจนซี่ที่มาช่วยบริหารจัดการ Influencer มากมาย

“บอกได้เลยว่าปี 2021 จะเป็นปีที่ธุรกิจไทย หากใครไม่ได้เข้าสู่ออนไลน์ คุณจะตกขบวน และพ่ายแพ้ต่อคู่แข่งที่ลุยออนไลน์อย่างเต็มที่แน่นอน” ภาวุธ พงษ์วิทยภานุ กล่าว

]]>
1312830
วันหยุดดันยอดค้าปลีกสหรัฐฯ พุ่ง 3% ของตกแต่งและเฟอร์นิเจอร์ขายดีสุด https://positioningmag.com/1312359 Mon, 28 Dec 2020 11:45:15 +0000 https://positioningmag.com/?p=1312359 เป็นธรรมดาที่เมื่อเราต้องติดอยู่ที่บ้านเป็นเวลาหนึ่งปี เราอาจจะเบื่อที่จะจ้องมองโซฟาตัวเดิม ๆ และเฟอร์นิเจอร์เดิม ๆ ดังนั้นไม่ต้องแปลกใจว่าทำไมช่วงคลายล็อกดาวน์ของไทย จึงมีคนแห่ไป ‘อิเกีย’ กัน เช่นเดียวกับสหรัฐฯ ในช่วงวันหยุดปลายปีนี้ที่ทำให้เฟอร์นิเจอร์และสินค้าปรับปรุงบ้านเป็นสินค้าขายดีจนช่วยดันยอดค้าปลีกสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 3%

เทศกาลช้อปปิ้งช่วงวันหยุดที่ขยายตัวในปีนี้ตามรายงานของ Mastercard (MA) SpendingPulse โดยระบุว่ายอดขายสินค้าออนไลน์เพิ่มขึ้นถึง 49% ระหว่างวันที่ 11 ตุลาคมถึง 24 ธันวาคม ซึ่งเป็นการตอกย้ำว่าการระบาดของโรค COVID-19 ได้เปลี่ยนพฤติกรรมการซื้อไปแล้ว

ภาพจาก : https://www.theguardian.com/business/2014/sep/02/online-shopping-mobiles-overtakes-desktop

โดยในช่วงเทศกาลวันหยุดที่ยาวนาน ซึ่งเริ่มต้นด้วย Amazon Prime Day ที่มาช้ากว่าเดิม ทำให้มีผู้ค้าปลีกหลายรายเสนอข้อเสนอพิเศษและโปรโมชันเพื่อจูงใจให้ลูกค้าทำการซื้อเพื่อรับประกันว่าสินค้าจะถึงตรงเวลาในช่วงวันหยุด อย่างไรก็ตาม การเพิ่มขึ้นของโปรโมชันในการช้อปปิ้งและการจัดส่งของร้านค้าทำให้ผู้ซื้อในนาทีสุดท้ายลดลงจากปีก่อน รายงานพบว่ายอดขายการช้อปปิ้งออนไลน์คิดเป็น 19.7% ของยอดค้าปลีกทั้งหมด และ Black Friday ถือเป็นวันที่มีการใช้จ่ายสูงสุดของฤดูกาล

“ยอดขายที่เพิ่มขึ้นเป็นข้อพิสูจน์ถึงช่วงเทศกาลวันหยุดและความแข็งแกร่งของร้านค้าปลีกและผู้บริโภค” Steve Sadove ที่ปรึกษาอาวุโสของ Mastercard และอดีตซีอีโอและประธานของ Saks Incorporated กล่าว

ยอดขายอีคอมเมิร์ซเติบโตขึ้น โดยยอดขายเครื่องแต่งกายพุ่งขึ้น 15.7% ยอดขายเฟอร์นิเจอร์และเครื่องตกแต่งเพิ่มขึ้น 6.2% ในขณะที่การใช้จ่ายในการปรับปรุงบ้านเพิ่มขึ้น 14.1% ยอดขายเครื่องใช้ไฟฟ้าและเครื่องใช้ไฟฟ้าตามมาด้วย โดยเพิ่มขึ้น 6% ในขณะเดียวกันห้างสรรพสินค้าและแบรนด์เครื่องแต่งกายมียอดขายลดลง 10.2% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา เนื่องจากการจับจ่ายที่เปลี่ยนไปจากการระบาดของโรค ซึ่งทำให้ร้านค้าจำนวนมากมีหนี้สินจำนวนมาก

การจับจ่ายในช่วงวันหยุดเน้นย้ำว่าผลกระทบของการระบาดของ COVID-19 ได้ส่งต่อผลกิจกรรมภายนอก โดยได้ผลักดันให้ผู้ซื้อตัดสินใจซื้อสินค้าที่เหมาะสมกับภายในและใช้เวลาที่บ้านมากขึ้นอย่างไรบ้าง

Source

]]>
1312359
อ่าน 5 ข้อ ทำความเข้าใจธุรกิจ “เคอรี่ เอ็กซ์เพรส” ก่อนตัดสินใจซื้อหุ้น KEX https://positioningmag.com/1310803 Thu, 17 Dec 2020 09:28:01 +0000 https://positioningmag.com/?p=1310803 ตัวท็อปวงการขนส่งพัสดุเมืองไทยอย่างเคอรี่ เอ็กซ์เพรส” (KEX) เตรียมระดมทุนสูงสุด 8.4 พันล้านในตลาดหลักทรัพย์ฯ  24 ..นี้ เคาะราคาขาย IPO จำนวน 300 ล้านหุ้นที่ราคา 28.00 บาทต่อหุ้น ถือว่าเป็นหุ้นที่น่าจับตามองส่งท้ายปีนี้ ท่ามกลางการเเข่งขันในสงครามโลจิสติกส์อันดุเดือด หลังธุรกิจอีคอมเมิร์ซเติบโตพุ่งพรวดจากวิกฤต COVID-19

Positioning ขอสรุปพื้นฐานธุรกิจ เเผนเเละกลยุทธ์การเติบโต รายละเอียดไทม์ไลน์ของหุ้น IPO เเละภาพรวมธุรกิจอีคอมเมิร์ซ จากการแถลงของทีมผู้บริหาร เคอรี่ เอ็กซ์เพรส ประเทศไทย เบื้องต้นไว้ดังนี้

ส่องธุรกิจ Kerry Express

เคอรี่ เอ็กซ์เพรส” (Kerry Express) ข้ามน้ำข้ามทะเลจากฮ่องกง มาบุกธุรกิจในไทยตั้งแต่ปี 2549 เริ่มให้บริการจัดส่งพัสดุภาคเอกชนรายเเรกในประเทศไทย ให้บริการจัดส่งพัสดุแบบครบวงจร เจาะกลุ่มลูกค้าทุกประเภท

ก่อนที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญเมื่อ 2561 หลังบริษัท วีจีไอ จำกัด (มหาชน) หรือ VGI ธุรกิจสื่อโฆษณานอกบ้านยักษ์ใหญ่ในเครือบีทีเอส กรุ๊ป ทุ่มเงินเกือบ 6 พันล้านบาท เข้าซื้อหุ้น “เคอรี่ เอ็กซ์เพรส” ในสัดส่วน 23% ก้าวขึ้นมาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับ 2 (ปัจจุบันเหลือ 19%)

เรามาย้อนการเติบโตของธุรกิจ “ส่งพัสดุ” ของเคอรี่ ดังนี้

ปี 2554 จัดส่งพัสดุ 8,000 ชิ้นต่อวัน ในวันที่ความต้องการการบริการจัดส่งพัสดุสูง (peak day)

ปี 2556 เปิดร้านรับส่งพัสดุแห่งแรก เพื่อให้บริการด้านการจัดส่งพัสดุผ่านเคาน์เตอร์ของร้าน ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณถนนอโศก กรุงเทพมหานคร

ปี 2558 เริ่มให้บริการจัดส่งพัสดุภายในวันเดียวกัน (Bangkok Sameday : BSD) และได้เปิดตัวศูนย์บริการ
โลจิสติกส์บางนา ซึ่งเป็นศูนย์คัดแยกพัสดุแห่งแรกของบริษัท

ปี 2559 เร่ิมให้บริการการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ ที่ร้านรับส่งพัสดุและจุดรับ-ส่งพัสดุ

ปี 2560 จัดส่งพัสดุรวมทั้งหมดได้ 71 ล้านชิ้น เริ่มใช้ระบบ EasyShip แพลตฟอร์มออนไลน์ช่วยลูกค้าที่ใช้บริการการจัดส่งพัสดุแบบ C2C

ปี 2561 จัดส่งพัสดุรวมทั้งหมดได้ 173 ล้านชิ้น โดยจัดส่งพัสดุในประเทศไทย กว่า 1 ล้านชิ้นต่อวันที่มีความต้องการการบริการจัดส่งพัสดุสูงสุด

ปี 2562 ส่งพัสดุรวมทั้งหมดได้ 274 ล้านชิ้น เร่ิมให้บริการการจัดส่งพัสดุ แบบรับถึงบ้าน (D2D) และขยายเครือข่ายไปตามต่างจังหวัด มีพนักงานในสังกัดราว 2 หมื่นคน

ปี 2563 (ช่วง 9 เดือนเเรก) จัดส่งพัสดุรวมทั้งหมด 223.9 ล้านชิ้น ท่ามกลางการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ผู้บริโภคปรับพฤติกรรมมาซื้อของออนไลน์ สามารถจัดส่งพัสดุจำนวนทั้งสิ้นกว่า 1.2 ล้านชิ้นต่อวันทำการ

ปัจจุบัน Kerry Express มีเครือข่ายให้บริการครอบคลุมทั้ง 77 จังหวัด จุดให้บริการ 15,000 แห่ง พร้อมศูนย์กระจายพัสดุกว่า 1,200 แห่ง จำนวนรถรับส่งพัสดุ 25,000 คัน มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยสะสมต่อปี (2557-2562) ราว 134.9%

นอกจากนี้ ยังเป็นบริษัทภาคเอกชนที่ให้บริการเก็บเงินปลายทาง รายใหญ่ที่สุดในประเทศไทย โดยเฉลี่ย 6,500 ล้านบาทต่อเดือน มีอัตราพัสดุตีกลับราว 1.5% โดยรายได้ของบริษัท 9 เดือนแรกของปีนี้ มีรายได้กว่า 14,689 ล้านบาท กำไร 1,030 ล้านบาท

ขณะที่รายได้ และกำไรย้อนหลัง 3 ปีมีดังนี้

ปี 2560 รายได้ 6,626.41 ล้านบาท กำไรสุทธิ  730.26 ล้านบาท

ปี 2561 รายได้ 13,565.35 ล้านบาท กำไรสุทธิ  1,185.10 ล้านบาท

ปี 2562 รายได้ 19,781.93 ล้านบาท กำไรสุทธิ  1,328.55 ล้านบาท

ด้านสัดส่วนลูกค้าของเคอรี่กว่า 53% เป็นลูกค้าในกลุ่ม C2C หรือแบบบุคคลส่งถึงบุคคล เเละอีก 44% เป็นลูกค้ากลุ่ม B2C หรือแบบธุรกิจส่งถึงบุคคล และ 1.7% เป็นกลุ่มลูกค้าแบบ B2B หรือธุรกิจส่งถึงธุรกิจ

เมื่อเจาะลึกลงไปในสัดส่วนรายได้ จะเห็นว่าในปี 2563 (9 เดือนเเรก) เคอรี่มีรายได้ส่วนใหญ่ 53.9% จากกลุ่ม C2C รองลงมาคือ 44.3% จากกลุ่ม B2C เเละ 1.7% จากกลุ่ม B2B ส่วนที่เหลือ 0.1% มาจากรายได้โฆษณา

อเล็กซ์ อึ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บอกว่า เคอรี่ชอบทำอะไรเป็น “เจ้าเเรก” อย่างการเป็นผู้บุกเบิกการจัดส่งแบบ Next Day ในไทย เป็นเจ้าแรกที่ให้บริการรับชำระเงินปลายทาง และตอนนี้กำลังเป็น “เจ้าแรก” ของบริษัทส่งพัสดุด่วนของไทยที่จะนำหุ้นเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ

“การเติบโตของกลุ่ม C2C ลูกค้าส่งถึงลูกค้านั้นมีความสำคัญมากกับธุรกิจของเรา ทิศทางที่มุ่งต่อไปคือการขยายพื้นที่ให้บริการมากขึ้น เจาะพื้นที่ใหม่ ลูกค้าใหม่ เเละธุรกิจใหม่ๆ”

โตตาม “อีคอมเมิร์ซ” 

ตามที่ทราบกันว่า การเติบโตของธุรกิจขนส่งนั้นยึดโยงกับธุรกิจ “อีคอมเมิร์ซ” และ “โซเชียลมีเดีย” โดยยอดค้าปลีกออนไลน์ในไทยนั้น มีการเติบโตเฉลี่ย 22.2% (ปี 2557-2562) เเละคาดว่าอีก 5 ปีข้างหน้าจะเติบโตขึ้น 26.7%

ในปี 2563 ตลาดอีคอมเมิร์ซมีมูลค่ารวมอยู่ที่ 2,285 ล้านบาท และคาดว่าจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเป็นกว่า 5,406 ล้านบาทในปี 2567

ส่วนการพัฒนาของระบบ “โมบายเเบงกิ้ง” ก็ช่วยเร่งการเติบโตของรายได้ในตลาดอีคอมเมิร์ซ โดยมีมูลค่าธุรกรรมเติบโตเฉลี่ย 53.1% (ปี 2557-2562) เเละคาดว่าอีก 5 ปีข้างหน้าจะเติบโตขึ้น 22.1%

ทาง “เคอรี่” ตั้งเป้าว่าบริษัทจะขยายไปพร้อมๆ กับอุตสาหกรรมซื้อของออนไลน์ที่เฟื่องฟู โดยหวังจะมีอัตราเติบโตเฉลี่ยราว 20% ภายในอีก 5 ปี รั้งตำเเหน่งเบอร์ 1 ขนส่งเอกชนเมืองไทย 

กลยุทธ์สู้เเข่งดุ : เข้าหาลูกค้าตาม “ซอกซอย” 

KEX คาดว่าหลัง IPO ในตลาดหุ้น จะระดมทุนได้ราว 8,400 ล้านบาท โดยจะนำเงินไปใช้ขยายธุรกิจ ปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงาน ชำระคืนเงินกู้ และเป็นเงินทุนหมุนเวียนในกิจการ

ผู้บริหารเคอรี่ เน้นย้ำว่า จะยังคงใช้เเนวคิด “Kerry Express Everywhere” เพื่อเเข่งขันในตลาด ซึ่งจะมีการปรับตัวเข้ากับพฤติกรรมผู้บริโภคให้มากขึ้น เพิ่มช่องทางการชำระเงิน ลงทุนในเทคโนโลยีดิจิทัล อย่างการพัฒนาระบบจัดเก็บเเละกู้คืนข้อมูลในกรณีฉุกเฉิน การวิเคราะห์ข้อมูล เเละหาพันธมิตรใหม่ๆ

รวมไปถึงการพิจารณา “ควบรวมกิจการ” ในธุรกิจที่น่าสนใจเเละนำมาต่อยอดเพิ่มมูลค่าได้ ซึ่งตอนนี้ “เล็งไว้” หลายเจ้า เเต่ยังไม่สามารถเปิดเผยได้ในขณะนี้ 

วราวุธ นาถประดิษฐ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานปฏิบัติการ บอกว่า สิ่งที่ให้ความสำคัญมากที่สุดคือ การขยายธุรกิจ ขยายจุดส่งพัสดุให้เข้าถึงผู้บริโภคมากที่สุด จากตอนนี้ที่มีจุดให้บริการตาม “ถนนสายหลัก” ต่อไปจะเข้าไปหาลูกค้าตาม “ซอกซอย” ให้ได้

ทั้งนี้ จุดให้บริการ 15,000 แห่งนั้น ปัจจุบันเป็นสาขาที่เคอรี่ดำเนินการเองราว 2,000 เเห่ง เป็นการจับมือกับพันธมิตรอีก 3,000 เเห่ง เเละที่เหลืออีกกว่า 1 หมื่นเเห่งเป็นสาขาของ SME รายย่อย

เมื่อถามถึงการเเข่งขันด้าน “ราคา” ที่หลายคนมองว่าเคอรี่อาจจะมีค่าบริการที่สูงกว่าเจ้าอื่นในตลาดนั้น วราวุธ ตอบว่า บริษัทมีการดูเเลเรื่องนี้โดยตลอด เช่นการจัดเรตราคาตามหมวดหมู่ของสินค้า โดยอยากให้ผู้บริโภคเห็นถึง “คุณภาพ” ในการจัดส่งว่ามีความชัวร์เเละคุ้มค่า ในราคาที่ไม่เเพงไปกว่ากันมากนัก 

ทั้งนี้ คู่เเข่งรายสำคัญที่เพิ่งเข้ามาตีตลาดใหม่อย่าง “แฟลช เอ็กซ์เพรส” ก็เพิ่งได้รับการระดมทุน Series D มูลค่า 3,000 ล้านบาท ซึ่งจะทำให้เกิดการลงทุน “เเย่งลูกค้า” กันขึ้นในเร็วๆ นี้อย่างเเน่นอน

Photo : Shutterstock

เคาะราคา 28 บาทต่อหุ้น 

KEX เคาะราคาขายหุ้น IPO จำนวน 300 ล้านหุ้น ที่ราคา 28.00 บาทต่อหุ้น จากช่วงราคา 24-28 บาทต่อหุ้น มีอัตราส่วนราคาหุ้นต่อกำไรสุทธิ (P/E) ที่ 33 เท่า ใกล้เคียงกับธุรกิจขนส่งพัสดุในระดับภูมิภาคที่มีค่า P/E ที่ 20-30 เท่า

พร้อมเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย วันแรก 24 ธ.ค. 2563 เปิดให้จองซื้อตั้งแต่ 8-18 ธ.ค. นี้ โดยมีธนาคารไทยพาณิชย์ เเละบริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน เเละเป็นผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่ายร่วม

ในราคาที่ 28 บาทต่อหุ้นนั้น ถือเป็นราคาสูงสุดของช่วงราคาเสนอขายเบื้องต้น หลังนักลงทุนสถาบันแสดงความต้องการจองซื้อท่วมท้น มากกว่า 23 เท่า จากจำนวนหุ้นที่จัดสรรไว้ โดยมีกองทุนให้ความสนใจมากกว่า 100 กองทุน

การดำเนินการเสนอขายหุ้น IPO ไม่เกิน 300 ล้านหุ้นครั้งนี้ คิดเป็น 17.24% ของหุ้นทั้งหมด เเบ่งให้รายย่อยจำนวน 100 ล้านหุ้น (ครึ่งหนึ่งเป็นรายย่อยผู้มีอุปการคุณ) เเละที่เหลืออีก 200 ล้านหุ้น เป็นกลุ่มนักลงทุนสถาบัน โดยมุ่งเน้นไปยังกองทุนที่มีกลยุทธ์การ “ลงทุนระยะยาว” เป็นหลัก

ลุ้นเข้า SET50 กลางปีหน้า 

วีณา เลิศนิมิตร กรรมการบริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ จำกัด ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงินของ KEX มองว่า หลังการระดมทุนของเคอรี่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ ในวันที่ 24 ธ.ค. นั้น มีโอกาสที่บริษัทจะเข้าไปคำนวณในดัชนี SET 50 ได้ในช่วงกลางปี 2564 เพราะมองว่าเป็นหุ้นที่มีการเติบโตสูง ตามเทรนด์ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ซึ่งมีนักลงทุนให้ความสนใจเป็นอย่างมาก อาจทำให้มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดแตะระดับแสนล้านบาทได้ ทั้งนี้ หากประเมินตามราคา IPO ที่ 28 บาทนั้น เคอรี่จะมีมาร์เก็ตแคปราว 4.87 หมื่นล้านบาท

การก้าวเข้าสู่ปีที่ 15 ของ เคอรี่ เอ็กซ์เพรส ประเทศไทย หลังระดมทุน 8.6 พันล้านนั้น ต้องจับตาความเคลื่อนไหวกันต่อไป โดยเฉพาะผู้บริโภคอย่างเราๆ ที่เป็นหนึ่งในลูกค้าผู้ที่จะได้ประโยชน์จากสงครามธุรกิจนี้ 

 

 

]]>
1310803
Alibaba รุกหนัก “ค้าปลีกออฟไลน์” ทุ่มเเสนล้าน ถือหุ้นใหญ่ Sun Art เบอร์หนึ่งไฮเปอร์มาร์เก็ตจีน https://positioningmag.com/1302406 Tue, 20 Oct 2020 09:35:17 +0000 https://positioningmag.com/?p=1302406 Alibaba ยักษ์ใหญ่อีคอมเมิร์ซ รุกคืบค้าปลีกออฟไลน์ทุ่มเงินกว่า 3.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.12 แสนล้านบาท) ผงาดขึ้นถือหุ้นใหญ่ใน Sun Art เจ้าของไฮเปอร์มาร์เก็ตใหญ่ที่สุดในจีน

ตลาดค้าปลีกเเดนมังกรกำลังเฟื่องฟูในปัจจุบัน เเม้จะเจอวิกฤต COVID-19 เเต่ก็กลับมาฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว โดย IMF คาดว่าจีนจะเป็นเศรษฐกิจใหญ่ของโลกเพียงแห่งเดียวที่ GDP เป็นบวกได้ในปีนี้ 

ก่อนหน้านี้ Alibaba ถือหุ้นใน Sun Art อยู่ราว 36% เเต่ตอนนี้ได้กลายเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุดที่ 72% ตามกลยุทธ์ผสมออนไลน์ออฟไลน์เพื่อรับกระเเสผู้บริโภคเปลี่ยนไป

Daniel Zhang ประธานและซีอีโอของ Alibaba ระบุในเเถลงการณ์ว่า การเเพร่ระบาดของ COVID-19 เป็นปัจจัยเร่งทำให้ไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคเปลี่ยนไป เเละการดำเนินธุรกิจก็ต้องปรับตัวด้วย โดยมองว่าการร่วมมือกันของฝ่ายออนไลน์อย่าง Alibaba เเละไฮเปอร์มาร์เก็ตออฟไลน์อย่าง Sun Art จะตอบโจทย์ค้าปลีกในยุค New Normal ของลูกค้าได้อย่างดี

เหอหม่า ซูเปอร์มาร์เก็ตที่หลอมรวมออนไลน์และออฟไลน์ของ Alibaba

โดยในช่วงที่ผ่านมา ผู้คนเริ่มหันมาซื้อกลุ่มอาหารสด ของใช้ในซูเปอร์มาร์เก็ต และผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ ผ่านทางช่องทางอีคอมเมิร์ซกันมากขึ้น จากเดิมที่ต้องเดินทางไปช้อปปิ้งตามร้านค้าปลีก จึงเป็นโอกาสของ Alibaba ที่จะดึงดูดลูกค้าใหม่ ๆ

บริษัทวางเเผนจะพัฒนา SunArt จากไฮเปอร์มาร์เก็ตดั้งเดิม สู่ร้านค้าปลีกที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี พร้อมขายหมวดสินค้าอีคอมเมิร์ซให้กว้างขึ้น จะเริ่มจากการเปิดให้บริการเดลิเวอรี่ของชำภายใน 30-60 นาทีหลังจากได้รับคำสั่งซื้อผ่านแพลตฟอร์ม Tmall ของ Alibaba 

นักวิเคราะห์จาก Bloomberg มองว่า การเข้าไปถือหุ้นใหญ่ใน Sun Art ของ Alibaba ครั้งนี้เป็นความเคลื่อนไหวเพื่อต่อสู้กับคู่เเข่งในวงการอีคอมเมิร์ซจีนที่กำลังฟาดฟันกันอย่างดุเดือด ทั้ง JD.com หรือ Meituan ที่มีจุดเด่นด้านการจัดส่งเดลิเวอรี่ รวมไปถึงคู่ปรับตลอดกาลอย่าง Tencent ที่หันมาลงศึกจัดส่งสินค้าสดเช่นกัน

 

ที่มา : AFP , Bloomberg

]]>
1302406
เจาะพฤติกรรม “จ่ายเงินเเบบไร้สัมผัส” ของคนไทย หลังโควิด ดัน Mobile Banking เเละ e-Wallet โต https://positioningmag.com/1295694 Sun, 06 Sep 2020 09:23:24 +0000 https://positioningmag.com/?p=1295694 เจาะพฤติกรรมจ่ายเงินแบบไร้สัมผัสของคนไทย หลังช่วงวิกฤต COVID-19 คลี่คลายลง พบว่ายังมีผู้บริโภคที่ใช้งาน Mobile Banking และ e-Wallet มากขึ้น ขณะที่มีผู้บริโภคกลุ่มใหม่เข้ามาใช้งานเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน พร้อมดันการแข่งขันในตลาดดุเดือดขึ้น

จากการสำรวจของศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุว่า ผู้บริโภคในช่วงวัย 35-44 ปี เป็นกลุ่มที่เข้ามาใช้ Mobile Banking และ e-Wallet เพิ่มขึ้น จากเดิมที่การใช้งานกระจุกตัวอยู่ที่ช่วงวัย 25-34 ปี สะท้อนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภค ซึ่งเป็นปัจจัยผลักดันต่อการใช้งาน Mobile Banking และ e-Wallet ให้เพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง

โดยคาดว่า ทั้งปี 2563 ธุรกรรมโอนเงินและชำระค่าสินค้าและบริการผ่าน Mobile Banking และ e-Money น่าจะยังมีการเติบโตต่อเนื่อง และแม้ว่าจะได้รับแรงผลักดันจากพฤติกรรม Contactless Payment ที่เป็น New Normal แต่อัตราการเติบโตก็ชะลอลง เนื่องจากมูลค่าธุรกรรมต่อครั้งลดต่ำลง ประกอบกับผู้บริโภคมีอำนาจซื้อลดลงจากผลของภาวะเศรษฐกิจหดตัว

Photo by Lauren DeCicca/Getty Images

คาดว่าปีนี้ จะมีปริมาณธุรกรรมโอนเงินและชำระค่าสินค้าและบริการผ่าน Mobile Banking ราว 7,758.0-7,927.5 ล้านรายการ ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 57.5-61.0 ส่วนมูลค่าธุรกรรมจะอยู่ที่ประมาณ 28,910.4 – 29,707.2 พันล้านบาท ขยายตัวราวร้อยละ 18.4-21.7 จากปี 2562

ขณะที่ปริมาณธุรกรรมการโอนเงินและชำระค่าสินค้าและบริการด้วย e-Money น่าจะอยู่ที่ประมาณ 1,990.1-2,038.0 ล้านรายการ ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 1.2-3.7 ส่วนในด้านมูลค่าจะอยู่ที่ประมาณ 286.3-291.1 พันล้านบาท ขยายตัวราวร้อยละ 1.5-3.2

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า น่าจะเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญต่อพฤติกรรมการโอนเงินและชำระค่าสินค้าและบริการของผู้บริโภคไทยโดยรวม อันจะส่งผลต่อความต้องการใช้งาน Mobile Banking และ e-Wallet ในไทย รวมไปถึงสภาวะการแข่งขันในตลาดของผู้ให้บริการ Mobile Banking และ e-Wallet ซึ่งมีข้อสังเกตอยู่สองประการหลัก ดังนี้

1. สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 เป็นปัจจัยเร่งสำคัญที่ทำให้พฤติกรรมการโอนเงินและชำระค่าสินค้าและบริการของผู้บริโภคไทยอีกส่วนหนึ่งเปลี่ยนไป

โดยทำให้เกิด New Normal ที่มุ่งสู่การโอนเงินและชำระค่าสินค้าและบริการแบบไร้การสัมผัส หรือ Contactless Payment ส่งผลให้การทำธุรกรรมโอนเงินและชำระค่าสินค้าและบริการผ่าน Mobile Banking และ e-Wallet เพิ่มขึ้น โดยผู้บริโภคกลุ่มเดิมที่มีความคุ้นชินในการใช้งานอยู่แล้วก็จะมีการใช้งานมากขึ้น อาทิ ผู้บริโภคในกลุ่มนักศึกษาและวัยทำงานตอนต้น ขณะเดียวกันผู้บริโภคกลุ่มใหม่โดยเฉพาะกลุ่มวัยทำงานตอนกลาง ก็จะเข้ามาใช้งาน Mobile Banking และ e-Wallet เพื่อการโอนเงินและชำระค่าสินค้าและบริการมากขึ้น

ดังจะเห็นได้ว่า ในช่วงเดือนพฤษภาคม 2563 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นช่วงหลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ในไทยคลี่คลายลง ปริมาณธุรกรรมโอนเงินและชำระเงินผ่าน Mobile Banking และ e-Money ขยายตัวในอัตราสูงราวร้อยละ 19.4 (MoM) และร้อยละ 14.7 (MoM) ตามลำดับ สะท้อนให้เห็นถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภคไทยโดยรวม สอดคล้องกับผลสำรวจของศูนย์วิจัยกสิกรไทย พบว่า ภายหลังการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ในไทยคลี่คลายลง ยังมีผู้บริโภคที่ใช้งาน Mobile Banking และ e-Wallet มากขึ้น ขณะที่มีผู้บริโภคกลุ่มใหม่เข้ามาใช้งานเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน

2. ในช่วงระหว่างที่มีการแพร่ระบาดของ COVID-19 ผู้บริโภคไทยราวร้อยละ 73.0 มีการโอนเงินและชำระค่าสินค้าและบริการผ่าน Mobile Banking และ e-Wallet เพิ่มขึ้น

จากเดิมที่มีการโอนเงินและชำระค่าสินค้าและบริการผ่าน Mobile Banking และ e-Wallet ประมาณ 9 ครั้งต่อสัปดาห์ และเมื่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ในไทยคลี่คลายลง ผู้บริโภคราวร้อยละ 39.8 ยังคงมีการใช้งาน Mobile Banking และ e-Wallet เพื่อโอนเงินและชำระค่าสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น

3.ผู้บริโภคราวร้อยละ 49.7 ได้กลับมาใช้งาน Mobile Banking และ e-Wallet เพื่อโอนเงินและชำระค่าสินค้าและบริการในปริมาณที่เท่าเดิม 

เมื่อเทียบกับช่วงก่อนการแพร่ระบาด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้บริโภคกลุ่มเดิมที่ใช้งานในปริมาณมากอยู่แล้ว ทั้งนี้ มีข้อสังเกตที่น่าสนใจคือ ในช่วงระหว่างการแพร่ระบาดไปจนถึงช่วงหลังการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ในไทย มีกลุ่มผู้บริโภคในช่วงวัย 3544 ปี เข้ามาใช้ Mobile Banking และ e-Wallet ในการโอนเงินและชำระค่าสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น จากเดิมที่กระจุกตัวอยู่ที่ช่วงวัย 25-34 ปี สะท้อนให้เห็นถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ไม่ต้องการสัมผัสกับเงินสดเพื่อลดความเสี่ยงของการแพร่ระบาดของโรค นับว่าเป็นพฤติกรรม New Normal ที่เป็นปัจจัยผลักดันต่อการใช้งานแพลตฟอร์ม Mobile Banking และ e-Wallet ให้เพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง

นอกจากนี้ การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ก็เป็นปัจจัยผลักดันให้ร้านค้าต่างๆ โดยเฉพาะร้านค้าขนาดเล็ก เริ่มมีการรับชำระค่าสินค้าและบริการด้วย QR Code มากขึ้น ซึ่งน่าจะส่งผลให้การใช้งาน Mobile Banking และ e-Wallet เพิ่มสูงขึ้นไปอีกในระยะข้างหน้า และเป็นเหตุสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้มูลค่าการโอนเงินและชำระค่าสินค้าและบริการต่อครั้งมีแนวโน้มลดต่ำลงอย่างต่อเนื่อง

“ผู้ให้บริการ Mobile Banking และ e-Wallet ก็ยังจะต้องเผชิญกับความท้าทายในด้านสภาวะการแข่งขันที่เข้มข้นจากการเข้ามาของผู้ประกอบการรายใหม่ที่หลากหลาย โดยเฉพาะการเข้ามาของผู้ให้บริการแพลตฟอร์มโซเชียลเน็ตเวิร์ก e-Market Place Food Delivery รวมถึงผู้ประกอบการห้างสรรพสินค้าและซูเปอร์มาร์เก็ต ที่มีฐานลูกค้าหรือผู้ใช้งานในชีวิตประจำวันเป็นจำนวนมาก อีกทั้งยังต้องเผชิญกับความคาดหวังของผู้บริโภคที่เพิ่มสูงขึ้น ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว” 

จากการสำรวจของศูนย์วิจัยกสิกรไทย พบว่า ลักษณะแอปพลิเคชัน Mobile Banking และ e-Wallet 3 อันดับแรก ที่จะสามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคได้ในปัจจุบัน ได้แก่

  • แอปพลิเคชันที่สามารถอำนวยความสะดวกในการใช้งานด้วยการรวมทุกบัญชีออนไลน์ไว้ในแอปพลิเคชันเดียว
  • แอปพลิเคชันที่สามารถตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ในชีวิตประจำวัน เช่น การเป็นแพลตฟอร์ม Food Delivery หรือ e-Market place ในตัวเอง 
  • แอปพลิเคชันที่มี Feature การใช้บัตรเครดิต

ซึ่งลักษณะทั้ง 3 ประการดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงความท้าทายที่ผู้ให้บริการ Mobile Banking และ e-Wallet จะต้องเผชิญในการพัฒนา Feature การใช้งานให้สามารถอำนวยความสะดวกและสามารถตอบโจทย์การใช้ชีวิตประจำวันของผู้บริโภคให้ได้มากที่สุด เพื่อให้เป็นแอปพลิเคชันที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่เลือกเป็นอันดับแรก

นอกเหนือจากการเผชิญกับความท้าทายด้านการแข่งขันที่เข้มข้นในตลาด และความคาดหวังของผู้บริโภค ตามที่กล่าวมาข้างต้น ผู้ให้บริการ Mobile Banking และ e-Wallet อาจจะต้องเผชิญกับความท้าท้ายด้านการพัฒนาระบบภายใน โดยเฉพาะระบบที่สร้างความมั่นคงและปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cyber Securities) เพื่อป้องกันข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลทางการเงินของลูกค้า รวมถึงเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ลูกค้าในการใช้งาน นอกจากนี้ ผู้ให้บริการจำเป็นจะต้องคำนึงถึงกฎระเบียบในการทำธุรกรรมของหน่วยงานที่กำกับดูแล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล โดยการทำธุรกรรมหรือกระบวนการต่างๆ ที่จะทำการตลาดในระยะข้างหน้า จะต้องไม่ขัดกับ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลด้วย

โดยสรุป ผู้ให้บริการโอนเงินและชำระค่าสินค้าและบริการผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์อย่าง Mobile Banking และ e-Wallet ในไทยยังมีโอกาสเติบโตในระยะข้างหน้า ภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 คลี่คลาย แต่ก็ยังต้องเผชิญกับการแข่งขันในตลาดที่เข้มข้นจากการเข้ามาของกลุ่มผู้ประกอบการรายใหม่ในตลาด โดยเฉพาะกลุ่มผู้ให้บริการ e-Wallet

“ในระยะข้างหน้า จะยังเห็นบรรยากาศการแข่งขันในการทำกลยุทธ์ด้านราคาและโปรโมชันของกลุ่มผู้ประกอบการที่เข้มข้นยิ่งขึ้น โดยน่าจะเป็นการทำการตลาดเพื่อกระตุ้นการเปิดใช้บริการของทั้งทางฝั่งของกลุ่มผู้บริโภคและกลุ่มผู้ประกอบการร้านค้าและร้านอาหารต่างๆ ที่หลากหลายมากขึ้น อาทิ การให้ส่วนลดสำหรับการชำระค่าสินค้าและบริการในร้านค้าที่ร่วมรายการ การให้คูปองเงินสดสำหรับการเปิดใช้บัญชี การสะสมคะแนนเพื่อแลกของรางวัล เป็นต้น” 

 

 

]]>
1295694