ผลสำรวจ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 30 Apr 2024 07:12:47 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ผลสำรวจเผยชาวจีนอยากท่องเที่ยวต่างประเทศแต่ยังไม่ได้จองตั๋วในปีนี้มากถึง 40% มองประเทศไทยทำแคมเปญการตลาดได้ดี https://positioningmag.com/1471162 Thu, 25 Apr 2024 10:55:09 +0000 https://positioningmag.com/?p=1471162 Dragon Trail Research ได้เปิดเผยผลสำรวจชาวจีนเกี่ยวกับมุมมองการท่องเที่ยวในเดือนเมษายนว่า ชาวจีนมากถึง 40% มีแผนที่จะท่องเที่ยวต่างประเทศ แต่ยังไม่มีการจองตั๋วแต่อย่างใด ขณะที่ผู้จองตั๋วและมีการเดินทางท่องเที่ยวในต่างประเทศมีเพียงแค่ 5% เท่านั้น ขณะเดียวกันก็มองว่าประเทศไทยนั้นทำการตลาดแคมเปญได้ประทับใจ

Dragon Trail Research สำรวจชาวจีนมากถึง 1,015 ราย เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นทั้งเมืองใหญ่และเมืองรองทั่วประเทศ และสอบถามโดยตั้งคำถามว่ามีแผนที่จะท่องเที่ยวต่างประเทศในปี 2024 นี้หรือไม่ พบว่า 40% มีแผนที่จะท่องเที่ยวต่างประเทศ แต่ยังไม่มีการจองตั๋วแต่อย่างใด รองลงมาคือไม่แน่ใจว่าปีนี้จะได้ท่องเที่ยวต่างประเทศหรือไม่ 27% ขณะที่ 18% ได้มีการจองตั๋วทริปต่างประเทศแล้ว 10% นั้นไม่มีแผนออกนอกประเทศจีน ที่เหลืออีก 5% ได้เดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศเรียบร้อยแล้ว

ในเรื่องของความปลอดภัยในแต่ละประเทศ สำหรับประเทศไทย ชาวจีนที่ได้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ 39% ไม่แน่ใจในเรื่องความปลอดภัยของประเทศไทย 34% มองว่าไม่ปลอดภัย ที่เหลืออีก 24% เชื่อมั่นว่าปลอดภัย

ประเทศไทยในมุมมองของชาวจีนที่ตอบแบบสอบถามของบริษัทที่ปรึกษาดังกล่าวถือว่าปลอดภัยต่ำกว่าหลายประเทศ เช่น อียิปต์ เม็กซิโก ด้วยซ้ำ แม้ว่าผลสำรวจในเดือนเมษานี้แสดงให้เห็นว่าชาวจีนเชื่อมั่นเพิ่มขึ้นในความปลอดภัยของประเทศไทยก็ตาม

ขณะที่แผนการเดินทางนอกเหนือจากทวีปเอเชียของชาวจีนที่ตอบแบบสอบถามดังกล่าวนั้นลดลงเหลือ 60% จากเดิมมากถึง 75% ในปี 2023 ที่ผ่านมา โดยทวีปยุโรปยังเป็นเป้าหมายหลักของชาวจีน

ข้อมูลจาก Dragon Trail Research

สิ่งที่ดึงดูดให้ชาวจีนเดินทางออกนอกประเทศนั้น ในแบบสอบถามมีคำตอบ เช่น วิวทิวทัศน์ที่หลากหลาย วัฒนธรรมที่แตกต่าง ผู้คนของแต่ละท้องถิ่น และอาหารแปลกใหม่ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนช่วยเปิดโลกทัศน์ให้กับชาวจีนนั้นกว้างไกลมากขึ้น

ค่าใช้จ่ายในการใช้จ่ายประเทศนั้น ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ราวๆ 10,000 ถึง 30,000 หยวนต่อทริป ชาวจีนส่วนใหญ่ที่ตอบแบบสอบถาม 73% มองถึงค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับอาหารการกินในต่างแดนเป็นหลัก รองลงมาคือสินค้าของประเทศนั้นๆ ขณะที่สินค้าประเภทเครื่องสำอางหรือเสื้อผ้า เครื่องประดับ เป็นสัดส่วนรองลงมา

แพลตฟอร์มที่ชาวจีนไว้หาข้อมูลสำหรับการท่องเที่ยวส่วนใหญ่คือ Xiaohongshu โดย Dragon Trail Research แนะนำให้แบรนด์ที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวทำแคมเปญการตลาดผ่านแพลตฟอร์มดังกล่าวเป็นหลักในปี 2024 นี้

นอกจากนี้ในผลสำรวจของ Dragon Trail Research ยังชี้ว่าการทำการตลาดของประเทศไทย ที่เกี่ยวกับด้านท่องเที่ยวนั้นสามารถสร้างความประทับใจให้กับชาวจีนได้ โดยประเทศมีอันดับรองลงมาคือ สิงคโปร์ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ มัลดีฟ เป็นต้น

]]>
1471162
ผลสำรวจ Ipsos เผยคนไทย 72% มองเศรษฐกิจถดถอยแล้ว กังวลปัญหาเงินเฟ้อ-ดอกเบี้ยที่อาจเพิ่มขึ้น https://positioningmag.com/1438934 Tue, 25 Jul 2023 08:12:51 +0000 https://positioningmag.com/?p=1438934 ผลสำรวจจากอิปซอสส์ (Ipsos) ได้สำรวจผู้บริโภคของไทยพบว่ามุมมองต่อเศรษฐกิจนั้น 79% มองว่าเศรษฐกิจนั้นกำลังอยู่ในสภาวะถดถอย ซึ่งมากกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลก ขณะเดียวกันก็กังวลในปัจจัยอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นการเมือง ปัญหาเงินเฟ้อ หรือแม้แต่ดอกเบี้ยที่เพิ่มสูงมากขึ้น

อุษณา จันทร์กล่ำ กรรมการผู้จัดการ อิปซอสส์ (ประเทศไทย) จำกัด (Ipsos) ได้เปิดเผยถึงผลรายงานการวิจัย “What wories the world and Wories Thailand” ซึ่งสำรวจมุมมองผู้บริโภคโดยตรง 23,039 คนจาก 29 ประเทศทั่วโลก รวมถึงในประเทศไทยที่ได้สำรวจผู้บริโภคจำนวน 1,000 คนที่มีอายุ 18 ปีถึง 65 ปี

กรรมการผู้จัดการของ Ipsos ประเทศไทยได้กล่าวถึงผลสำรวจล่าสุดว่าผู้บริโภคยังกังวลเรื่องของเงินเฟ้อ จากผลของรัสเซียบุกยูเครน ซึ่งมีความขัดแย้งกันจนถึงปัจจุบัน ขณะที่ประเด็นรองลงมาคือเรื่องความยากจน-ความไม่เท่าเทียม ขณะที่เรื่องของโควิดลดลงไปแล้ว

สำหรับผลสำรวจในประเทศไทย ผู้บริโภคยังคงกังวลเรื่องสังคมการเมืองเป็นอันดับ 1 ขณะที่อันดับ 2 คือเรื่องความเหลื่อมล้ำทางสังคม อันดับ 3 การจับจ่ายใช้สอยจากปัญหาเงินเฟ้อ อันดับ 4 คือเรื่องของการว่างงานซึ่งกลับมาเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา อุษณาได้ให้เหตุผลว่าข่าวการเข้ามาของเทคโนโลยี AI นั้นส่งผลในผลสำรวจนี้อย่างมาก

ขณะที่เรื่องของอาชญากรรมปัญหาความรุนแรงถือว่าต่ำสุดในผลสำรวจล่าสุดนี้ โดยผู้บริหารของ Ipsos มองจากผลสำรวจว่าถ้าหากรัฐใช้กลไกกฎหมายที่ดี และเรื่องของปัจจัยเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ก็อาจทำให้ปัจจัยดังกล่าวนี้ดีขึ้นกว่านี้ได้

นอกจากนี้ในผลสำรวจได้กล่าวถึงความไม่เท่าเทียมด้านโอกาสถือเป็นเรื่องที่คนไทยเริ่มพูดถึงอย่างมากในช่วงที่ผ่านมา โดยหลักๆ มาจากเรื่องของความพิการ หรือแม้แต่เรื่องอื่นๆ อย่างเช่น ความผิดปกติทางสมอง คนที่มีปัญหาเรื่องสภาวะจิตใจ หรือแม้แต่เรื่องของชนกลุ่มน้อยที่ไม่ได้รับโอกาส

ในผลการวิจัยของ Ipsos ชี้ว่าปัญหาสังคมที่ควรแก้นั้นผู้ที่ควรรับผิดชอบคือรัฐบาล รองลงมาคือสื่อสารมวลชน หรือแม้แต่การเริ่มแก้ปัญหาในองค์กรก็สามารถทำได้เช่นกัน ไม่เพียงเท่านี้ผลสำรวจคนไทย 61% ชี้ว่าต้องสร้างงานหรือแม้แต่เพิ่มการเติบโตทางเศรษฐกิจ หรือการเข้ามาดูแลในเรื่องสุขภาพจิตสุขภาพกาย เป็นต้น

ข้อมูลจาก Ipsos

เรื่องเศรษฐกิจไทย

ผลการวิจัยล่าสุดของ Ipsos ยังชี้ว่า 72% ของผลสำรวจมองว่าเศรษฐกิจไทยเข้าสู่สภาวะถดถอย ซึ่งตัวเลขดังกล่าวถือว่าสูงสุดในอาเซียน ในขณะที่ประเทศอื่นอย่างสิงคโปร์อยู่ที่ 37% อินโดนีเซียอยู่ที่ 47% เท่านั้น ขณะค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่บริษัทได้ทำการสำรวจผู้บริโภคใน 29 ประเทศนั้นอยู่ที่ 49% เท่านั้น

ขณะเดียวกัน 25% ของผู้สำรวจยังมีปัญหาเรื่องการบริหารจัดการเงินในกระเป๋า ซึ่งเรื่องใหญ่นั้นมาจากเรื่องของค่าใช้จ่าย เช่นค่าไฟฟ้า ค่าน้ำมัน รวมถึงค่าอาหาร ซึ่งผลสำรวจนั้นใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยทั่วโลกราวๆ 60-70% และมุมมองของคนไทยมองว่า 6 เดือนหลังจากนี้มากกว่า 64% มองว่าค่าใช้จ่ายข้างต้นจะเพิ่มขึ้น

สำหรับมุมมองปัญหาด้านค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นนั้นผลสำรวจชาวไทยนั้นให้มุมมองว่าเกิดจากสภาวะเศรษฐกิจทั่วโลกถึง 81% รองลงมาคือนโยบายของรัฐบาล และผลของอัตราดอกเบี้ย ตามลำดับ

ไม่เพียงเท่านี้ผลสำรวจของคนไทยยังมองว่าเงินเฟ้อจะเพิ่มขึ้นหลังจากนี้มากถึง 56% แม้ว่าสัญญาณเงินเฟ้อจะลดลงในช่วงที่ผ่านมาก็ตาม ขณะที่อัตราดอกเบี้ยของไทยนั้นผลสำรวจชี้ว่า 54% มีโอกาสน่าจะขึ้น แต่ยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลก

อย่างไรก็ดีมุมมองของคนไทย 61% ที่ทำแบบสำรวจมองว่า 6 เดือนหลังจากนี้ทุกอย่างจะดีขึ้นกว่านี้ เพิ่มขึ้นจาก 56% จากผลวิจัยล่าสุดในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา นอกจากนี้ 67% ยังมองว่าประเทศไทยนั้นเดินมาถูกทางแล้ว ตัวเลขดังกล่าวนี้มากที่สุดในรอบ 6 เดือนของผลสำรวจ

ขณะที่ภาพรวมอื่นๆ ผลสำรวจมองว่าเรื่องของอัตราว่างงานของไทย การใช้เงินภาษีของรัฐบาลน่าจะดีขึ้นหลังจากนี้ แต่เรื่องของรายได้ที่เพิ่มขึ้นยังถือเป็นเรื่องท้ายๆ โดย 19% มองว่าดีขึ้น แต่ยังมากกว่าผลวิจัยในเดือนพฤศจิกายนของปี 2022 ที่ผ่านมาซึ่งอยู่ที่ 12% เท่านั้น

กรรมการผู้จัดการของ Ipsos ประเทศไทย ยังได้ทิ้งท้ายว่า ในช่วงเวลาเช่นนี้แบรนด์ที่เกี่ยวข้องกับผู้บริโภคต่างๆ ควรจะดูแลลูกค้าที่มีความ Loyalty เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ เนื่องจากลูกค้าจะไม่ค่อยเปลี่ยนการใช้สินค้าในช่วงเวลานี้มากเท่าไหร่นัก

]]>
1438934
ผลสำรวจเผย ผู้ครอบครอง ‘คริปโต’ เกือบครึ่ง เพิ่งเข้าซื้อ ‘ครั้งแรก’ ในปี 2021 https://positioningmag.com/1380358 Mon, 04 Apr 2022 11:42:07 +0000 https://positioningmag.com/?p=1380358 ผลสำรวจพบว่า สัดส่วนผู้ครอบครองคริปโตเคอร์เรนซีเกือบครึ่งหนึ่งในสหรัฐฯ ลาตินอเมริกาเเละเอเชียเเปซิฟิก เพิ่งจะเข้าซื้อสินทรัพย์ดิจิทัลเหล่านี้เป็นครั้งเเรกในช่วงปี 2021 ที่ผ่านมา

Gemini บริษัทแลกเปลี่ยนคริปโตฯ ในสหรัฐอเมริกา ทำการสำรวจผู้คนเกือบ 30,000 คนใน 20 ประเทศ ระหว่างเดือนพ.. 2021 ถึงเดือนก.. 2022

พบว่า ในช่วงปี 2021 ซึ่งถือเป็นปีทองของสินทรัพย์ดิจิทัล หลังมีการเติบโตอย่างก้าวกระโดด เเละเป็นที่รู้จักในวงกว้างภาวะเงินเฟ้อทำให้หลายประเทศที่ค่าเงินอ่อนค่า หันมายอมรับสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทนี้มากขึ้น

เจ้าของคริปโตฯ กว่า 79% ยอมรับว่า พวกเขาเพิ่งจะเข้ามาในตลาดนี้เมื่อปีที่แล้ว เเละเลือกซื้อสินทรัพย์ดิจิทัลเพื่อศักยภาพในการลงทุนระยะยาว

โดยประชาชนใน บราซิลและอินโดนีเซีย มีอัตราถือครองคริปโตฯ มากที่สุด คิดเป็นกว่า 41% ของผู้ตอบแบบสำรวจในแต่ละประเทศ ตามมาด้วยสหรัฐฯ ที่ 20% และสหราชอาณาจักรที่ 18%

ส่วนผู้ที่ยังไม่ได้ถือครองคริปโตฯ และอยู่ในประเทศที่ค่าเงินอ่อนมาก เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ก็มีเเนวโน้มที่จะวางเเผนซื้อสินทรัพย์ดิจิทัล เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากภาวะเงินเฟ้อมากกว่าคนในประเทศที่ไม่มีปัญหาเรื่องค่าเงินถึง 5 เท่า

ยกตัวอย่างเช่นอินโดนีเซียที่เงินรูเปียห์อ่อนค่าลงกว่า 50% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ระหว่างปี 2011-2020

ส่วนเงินรูปีของอินเดียก็อ่อนค่าลง 17.5% ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ทำให้ผู้คนในอินโดนีเซียเเละอินเดียมีความต้องการอยากจะซื้อคริปโตฯ เป็นครั้งแรกถึง 64% เทียบกับคนในสหรัฐฯ และยุโรปที่คิดเช่นนี้เพียง 16% และ 15% ตามลำดับ

จากผลสำรวจ มีชาวยุโรปเพียง 17% เท่านั้นที่ระบุว่าพวกเขาเข้าซื้อเจ้าของสินทรัพย์ดิจิทัลครั้งเเรกในปี 2021 และมีเพียง 7% ของผู้ที่ไม่ได้เป็นเจ้าของคริปโตฯ ในปัจจุบันที่กล่าวว่าพวกเขาต้องการลองซื้อสินทรัพย์ดิจิทัลบ้าง

อย่างไรก็ตาม ปีนี้ยังคงต้องจับตาดูว่าตลาดจะขยายตัวเเละจะมีผลตอบเเทนที่ดึงดูดนักลงทุนหน้าใหม่ให้เข้ามาในตลาดนี้ได้เเค่ไหน

ทั้งนี้ ‘Bitcoin’ (บิตคอยน์) สกุลเงินดิจิทัลที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เคยทำสถิติสูงสุดมีมูลค่ามากกว่าเหรียญละ 68,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 2.28 ล้านบาท) ได้ในเดือนพ.. 2021 ดันมูลค่าตลาดรวมเเตะถึง 3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (ตามข้อมูลของ CoinGecko) ก่อนที่จะปรับตัวลงมาอยู่ในกรอบเฉลี่ยเหรียญละ 34,000-46,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.14-1.54 ล้านบาท) ในตอนนี้

 

ที่มา : Reuters 

]]>
1380358
เปิดผลสำรวจคนไทย รับผลกระทบ ‘น้ำมันเเพง’ เงินเหลือเก็บลดลง กังวลราคาสินค้าพุ่ง https://positioningmag.com/1378242 Sun, 20 Mar 2022 12:04:09 +0000 https://positioningmag.com/?p=1378242 เปิดผลสำรวจเรื่อง ‘น้ำมันแพง’ กระทบประชาชนกว่า 84.1% ค่าเดินทางเพิ่มขึ้น เงินเหลือเก็บลดลง ส่วนใหญ่ใช้วิธีงดเดินทาง-งดเที่ยววันหยุด เเละต้องประหยัดมากขึ้น 

กรุงเทพโพลล์ โดยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ สำรวจความเห็นประชาชนเรื่อง “น้ำมันแพงกับผลกระทบที่ประชาชนได้รับ” โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 1,123 คน เมื่อวันที่ 14-16 มีนาคม ที่ผ่านมาพบว่า

ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 84.1 ได้รับผลกระทบจากน้ำมันแพง โดยระบุว่า ทำให้ต้องจ่ายค่าน้ำมันเพิ่มขึ้น มีค่าเดินทางเพิ่มขึ้น เงินเหลือเก็บลดลง ขณะที่ร้อยละ 15.9 ระบุว่าไม่ได้รับผลกระทบ เพราะไม่ค่อยได้เดินทาง บริษัทจ่ายค่าน้ำมันให้ ส่วนใหญ่ใช้บริการรถสาธารณะ

เมื่อถามถึงวิธีปรับตัวหรือรับมือกับปัญหาน้ำมันแพง พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 57.1 ใช้วิธีงดเดินทาง งดเที่ยวช่วงวันหยุด รองลงมาร้อยละ 44.9 ใช้วิธีวางแผนก่อนเดินทางเพื่อเลี่ยงรถติด และร้อยละ 40.4 ใช้วิธีประหยัดค่าใช้จ่ายอื่นๆ เพื่อเก็บเงินไว้จ่ายค่าน้ำมัน

สำหรับเรื่องที่ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 76.7 มีความกังวลหากราคาน้ำมันยังแพงอยู่คือ ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคในท้องตลาดอาจแพงขึ้นอีก รองลงมาร้อยละ 11.1 คือเกิดการกู้หนี้ยืมสินเพิ่มขึ้น และร้อยละ 5.5 คือ เกิดการก่ออาชญากรรม ขโมยน้ำมัน การลักลอบขนน้ำมันเถื่อน

ด้านความเชื่อมั่นที่มีต่อรัฐบาลว่า จะสามารถจัดการกับปัญหาราคาน้ำมันแพงได้นั้น ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 85.7 ระบุว่าไม่ค่อยเชื่อมั่นถึงไม่เชื่อมั่นเลย ขณะที่ร้อยละ 14.3 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อมั่นถึงเชื่อมั่นมาก

เรื่องที่ประชาชนเห็นว่ารัฐบาลควรทำเพื่อช่วยเหลือประชาชนลดภาระค่าใช้จ่ายน้ำมันและค่าเดินทางมากที่สุดร้อยละ 32.2 คือ ควรขายน้ำมันราคาถูกให้กับบางกลุ่ม เช่น ธุรกิจขนส่งสินค้าและอาหาร มอเตอร์ไซค์วิน แท็กซี่ ขนส่งมวลชน ฯลฯ

รองลงมาร้อยละ 15.3 คือ ควรปรับปรุงระบบขนส่งมวลชนให้มีประสิทธิภาพ ปลอดภัยจากโควิด เพื่อให้คนหันมาใช้แทนรถส่วนตัว และร้อยละ 14.4 คือ ลดภาษีน้ำมัน ลดจำนวนเงินเข้ากองทุนน้ำมัน เพื่อไม่ให้น้ำมันในประเทศขึ้นราคา

]]>
1378242
Fjord Trends 2022 : ส่อง 5 เทรนด์โลกธุรกิจ ปรับวิธีคิดใหม่รับความสัมพันธ์ที่เปลี่ยนไป https://positioningmag.com/1374718 Mon, 21 Feb 2022 10:12:26 +0000 https://positioningmag.com/?p=1374718 ส่อง 5 เทรนด์เเห่งปี 2022 ที่จะส่งผลต่อสังคม วัฒนธรรมและธุรกิจ ปรับวิธีคิดใหม่เรื่องกลยุทธ์การเติบโต 
เมื่อผู้คนทบทวนความสัมพันธ์ที่มีกับงาน เทคโนโลยี แบรนด์ และโลกของตัวเองมากขึ้น 

จากรายงาน Fjord Trends 2022 ของบริษัทที่ปรึกษาระดับโลกอย่าง ‘เอคเซนเชอร์’ ที่ได้สำรวจพฤติกรรมผู้บริโภคมาต่อเนื่องกว่า 15 ปี พบว่าในช่วงวิกฤตโควิด-19 เกือบ 2 ปีที่ผ่านมา สังคมมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ตั้งเเต่ระดับโครงสร้าง ความสัมพันธ์ระหว่างผู้คนกับงาน วัฒนธรรมการบริโภค เทคโนโลยีและโลก

เหล่าพนักงานมีความคาดหวัง แนวคิด และมุมมองที่เปลี่ยนไป ทำให้บริษัทหรือองค์กรต่างๆ จึงต้องปรับตัวและออกแบบแนวการทำธุรกิจรูปแบบใหม่เพื่อหาแนวทางการออกแบบ การสร้างนวัตกรรม และการเติบโตให้กับธุรกิจในอนาคต

ดาวิน สมานนท์ กรรมการผู้จัดการ กลุ่มงานบริการทางการเงิน เอคเซนเชอร์ ประเทศไทย กล่าวว่า เราไม่ควรมองข้ามเรื่องระดับของความสัมพันธ์ที่เปลี่ยนไป หรือบทบาทของธุรกิจที่ต้องปรับตัวตาม การตัดสินใจต่างๆ ของธุรกิจที่จะเกิดขึ้นนับจากนี้ อาจจะส่งผลต่อโลกและโครงสร้างในหลายด้านมากเกินกว่าที่จะจินตนาการได้ และทุกสิ่งจะมุ่งไปในทิศทางเดียวกัน นั่นคือเรื่องความสัมพันธ์ที่เปลี่ยนไปของคน ไม่ว่าจะกับเพื่อนร่วมงาน แบรนด์ สังคม สถานที่ และสิ่งต่างๆ

“จากการสำรวจพบว่า ในช่วงต้นปีที่ผ่านมามีพนักงานแค่ 15% เท่านั้น ที่อยากกลับไปทำงานที่ออฟฟิศ 100% เหมือนเดิม”

โดย Fjord Trends 2022 เก็บข้อมูลจากนักออกแบบ และนวัตกรกว่า 2,000 คน จาก 40 แห่งทั่วโลกที่อยู่ในเครือข่าย Accenture Interactive ได้คาดการณ์พฤติกรรมมนุษย์ และ 5 เทรนด์ที่จะส่งผลต่อสังคม วัฒนธรรม และธุรกิจ ประกอบด้วย

1. Come as you are : เป็นอย่างที่ตัวเองเป็น

การที่ผู้คนรู้สึกควบคุมชีวิตตนเอง หรือ sense of agency มีมากขึ้นในช่วง 2 ปีของโควิด ส่งผลกระทบต่อวิธีการทำงาน การมีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน และการบริโภคทั้งสิ้น

ผู้คนเริ่มตั้งคำถามถึงความสำนึกถึงตัวตน สิ่งที่สำคัญกับชีวิต และความเป็นปัจเจกนิยมมากขึ้นในมุมมองที่เรียกว่า me over we ซึ่งสำคัญต่อองค์กรในแง่ของการบริหาร และการสร้างแรงจูงใจพนักงาน รวมถึงการเสริมสร้างค่านิยมให้พนักงานใหม่ และแนวทางการสานสัมพันธ์ระหว่างองค์กรกับลูกค้าให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น

โดยพนักงานเลือกที่จะทำงานเเบบ Work From Home เเละมีช่วงเวลาที่ยืดหยุ่น ประเมินจากผลลัพธ์ของผลงาน บริษัทจึงต้องคำนึงถึงความสมดุลระหว่างสิ่งที่พนักงาน ลูกค้าเเละบริษัทต้องการ

(Photo : Shutterstock)

2. The end of abundance thinking : หมดยุคเหลือเฟือ

ช่วงปีที่ผ่านมา การขาดแคลนของปัจจัยหลายอย่าง แม้จะเป็นปัญหาระยะสั้น แต่ส่งผลต่อเนื่อง นำไปสู่การเปลี่ยนแนวคิด จากการคิดเผื่อที่อยู่บนฐานของการที่ทุกอย่างมีให้ใช้อย่างเหลือเฟือ สะดวก และรวดเร็ว เปลี่ยนไปเป็นถึงความตระหนักเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ซึ่งธุรกิจต้องรับมือกับความกังวลถึงปัจจัยต่างๆ ว่าจะมีพอหรือไม่อย่างที่หลายคนประสบทั่วโลก

3. The next frontier : พรมแดนใหม่

การแตกตัวทางวัฒนธรรมขนานใหญ่กำลังรอเวลาที่จะเกิดขึ้น โดย ‘Metaverse’ จะกลายเป็นพรมแดนใหม่ของอินเทอร์เน็ตที่หลอมรวมเลเยอร์ต่าง ๆ ของข้อมูล อินเทอร์เฟซ และพื้นที่ที่ผู้คนสื่อสารหรือมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันเข้าไว้ด้วยกัน กลายเป็นพื้นที่ใหม่ในการสร้างรายได้ สร้างงาน และสร้างโอกาสที่ไม่สิ้นสุดให้แบรนด์ต่าง ๆ ด้วย

“ผู้คนคาดหวังให้ธุรกิจสร้างสรรค์ และนำพวกเขาไปสู่สิ่งใหม่ โลกจะไม่หยุดที่หน้าจอ และหูฟังเท่านั้น แต่เปิดประตูไปสู่ประสบการณ์ และสถานที่ต่าง ๆ ในโลกจริงที่มีปฏิสัมพันธ์กับโลกดิจิทัล”

4. This much is true : ตอบเร็ว ตอบจริง (This much is true)

ผู้คนคาดหวังที่จะได้รับคำตอบจากการกดปุ่มแค่ครั้งเดียว หรือการสั่งงานด้วยเสียงผ่านระบบ voice assistant ก็ได้คำตอบในทันที หมายความว่าผู้คนจะถามมากขึ้น
“สำหรับแบรนด์สินค้าหมายถึงขอบเขตของคำถามจากลูกค้า และช่องทางการสอบถามจะเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ดังนั้นการออกแบบวิธีการตอบคำถามจึงเป็นความท้าทาย และเป็นส่วนสำคัญในการทำให้เกิดความเชื่อมั่นที่พร้อมเสริมสร้างความได้เปรียบเชิงการแข่งขันในอนาคตด้วย”

5. Handle with care : ใส่ใจมากขึ้น

การดูแลใส่ใจทุกด้านเป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างเด่นชัดในปีที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นการดูแลตัวเอง ดูแลผู้อื่น การบริการดูแลสุขภาพ และช่องทางที่ให้บริการทั้งทางดิจิทัลและโลกออฟไลน์ จึงเป็นทั้งโอกาส และความท้าทายสำหรับนายจ้าง และแบรนด์ ไม่ว่าจะเป็นองค์กรที่เชี่ยวชาญทางการแพทย์ หรือการดูแลสุขภาพ

อย่างไรก็ตาม ความรับผิดชอบในการดูแลตนเอง และผู้อื่นยังคงเป็นเรื่องสำคัญอันดับต้น ๆ ในชีวิต นักออกแบบ และองค์กรธุรกิจจึงต้องคำนึงเหมือนกันว่าจะการสร้างพื้นที่สำหรับฝึกการดูแลเรื่องต่าง ๆ ในภาคปฏิบัติได้อย่างไร

“แบรนด์จะเผชิญกับความรับผิดชอบสำคัญ 2 เรื่อง คือ การใส่ใจดูแลโลกวันนี้ และต้องคำนึงถึงเรื่องการสร้างอนาคตในทางที่ดีต่อโลก ธุรกิจ และสังคมด้วย”

]]>
1374718
คนไทยมองบวก ‘พร้อมเที่ยว’ ในประเทศ เน้นสถานที่ใหม่ หนุนธุรกิจท้องถิ่น ชอบเเพ็กเกจรวม https://positioningmag.com/1358033 Sun, 24 Oct 2021 12:34:57 +0000 https://positioningmag.com/?p=1358033 ส่องเทรนด์การท่องเที่ยวหลังโควิด คนไทย ‘มองบวก’ พร้อมออกเดินทางเที่ยวในประเทศ กว่า 1 ใน 3 มีแผนออกเที่ยวภายใน 2 เดือนแรกหลังปลดล็อก เน้นตามหาสถานที่ใหม่ๆ สนับสนุนธุรกิจท้องถิ่น ชอบเเพ็กเกจรวมหลายกิจกรรมสุดคุ้ม 

Agoda (อโกด้า) แพลตฟอร์มดิจิทัลด้านการท่องเที่ยว เปิดเผยถึงผลการสำรวจในหัวข้อ เทรนด์การท่องเที่ยวเมื่อการเดินทางกลับมาอีกครั้ง ปี 2021

โดยทำการสำรวจใน 4 ประเทศคือ กลุ่มคนไทย 2,072 คน ระหว่าง 26-30 สิงหาคม 2564 คน ประเทศฟิลิปปินส์ 1,102 คน ระหว่าง 10-14 มิถุนายน 2564 คนมาเลเซีย 1,107 คน ระหว่าง 20-24 พฤษภาคม 2564 และเวียดนาม 1,103 คน ระหว่าง 15-19 กรกฎาคม 2564 ในรูปแบบออนไลน์

คนไทยพร้อมเที่ยว 

ผลสำรวจ ระบุว่า คนไทยส่วนใหญ่ (20%) พร้อมที่จะไปท่องเที่ยวในประเทศอีกครั้ง เมื่อข้อจำกัดด้านการท่องเที่ยวถูกยกเลิก และเมื่อปลอดภัยที่จะเดินทาง รองลงมา คือ คนมาเลเซีย (12%) คนฟิลิปปินส์ (8%) และคนเวียดนาม (5%)

“คนไทยเพศชาย (50%) มีแนวโน้มที่จะท่องเที่ยวภายในประเทศภายใน 6 เดือนข้างหน้า มากกว่าคนไทยเพศหญิง (45%) เล็กน้อย” 

โดยผู้ตอบแบบสำรวจเพศชาย (22%) มีความคิดอยากออกเดินทางทันทีเมื่อข้อจำกัดด้านการท่องเที่ยวถูกยกเลิก มากกว่าผู้ตอบแบบสำรวจเพศหญิง (19%)

Gen X อยากเที่ยวมากสุด 

ภายในกรอบระยะเวลาเดียวกัน พบว่า คนไทย Gen X (1965-1980) มีความอยากท่องเที่ยวมากที่สุด 51% ตามมาด้วย millennial หรือ Gen Y (1981-1996) มีสัดส่วน 49%, baby boomer (1946-1964) สัดส่วน 47% และ Gen Z (1997-2009) สัดส่วน 41%

คนไทยส่วนใหญ่ มองว่า สถานการณ์การท่องเที่ยวภายในประเทศในอีก 6 เดือนข้างหน้าจะเป็นไปในแง่ดี โดย 3 ใน 5 คาดหวังว่าจะสามารถท่องเที่ยวได้อีกครั้ง ซึ่ง 38% ของคนกลุ่มนี้คาดหวังว่าจะท่องเที่ยวแบบไม่มีข้อจำกัดได้

ส่วนอีก 23% คาดหวังว่าจะท่องเที่ยวได้ แต่คงยังมีข้อจำกัด หรือต้องท่องเที่ยวผ่านแทรเวลบับเบิล (travel bubble) หรือแทรเวลคอริดอร์ (travel corridor) เท่านั้น

Happy female traveling on boat, Krabi Thailand

ตามหาสถานที่ใหม่ ๆ เช่าโรงเเรมท้องถิ่น 

ด้านพฤติกรรมนั้นพบว่า ตั้งแต่เกิดสถานการณ์โควิด-19 คนไทยไปท่องเที่ยวสถานที่ที่ยังไม่ค่อยมีคนรู้จักมากขึ้น โดยผู้ตอบแบบสำรวจส่วนใหญ่ บอกว่า การไปเที่ยวสถานที่ใหม่ ๆ รองลงมาคือ การไปเที่ยวสถานที่ที่ยังไม่ค่อยมีคนรู้จักแทนสถานที่ท่องเที่ยวหลัก และการไปเที่ยวสถานที่ที่เคยไปแล้ว โดยมองในมุมใหม่

นอกจากประสบการณ์การเดินทางท่องเที่ยวใหม่ ๆ แล้ว ยังมองเรื่องการสนับสนุนโรงแรมอิสระ รวมถึงธุรกิจในท้องถิ่น และการจองแพ็กเกจท่องเที่ยวพิเศษ ที่มีอาหารและเครื่องดื่ม โปรโมชันสปา หรือการอัพเกรดห้องพักรวมอยู่ด้วย

ผลการสำรวจดังกล่าว ยังแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงด้านประเภทของสถานที่ท่องเที่ยวด้วย โดยอาการเบื่อบ้าน รวมถึงการต้องเว้นระยะห่างทางสังคม ทำให้คนไทยหันไปสนใจการไปท่องเที่ยวชมทิวทัศน์ป่าไม้/ภูเขาและชนบท มากกว่าการไปท่องเที่ยวในเมือง/ชานเมือง

 

]]>
1358033
ความเห็น ‘ซีอีโอ’ 45 กลุ่มอุตฯ หนุนรัฐเปิดประเทศปลายปี พักหนี้-หยุดดอกธุรกิจท่องเที่ยว https://positioningmag.com/1354224 Thu, 30 Sep 2021 07:45:22 +0000 https://positioningmag.com/?p=1354224 เปิดผลสำรวจความเห็นซีอีโอกว่า 150 คนจาก 45 กลุ่มอุตสาหกรรม และ 76 ...จังหวัด ส่วนใหญ่กว่า 78% หนุนรัฐผ่อนคลายล็อกดาวน์เเละเปิดประเทศ .. – ..นี้ รับต่างชาติเเบบให้อยู่ในพื้นที่ Sandbox 14 วัน หากไม่พบเชื้อหลังจากนั้น สามารถเดินทางไปทั่วประเทศได้ โดยต้องเร่งฉีดวัคซีน 2 เข็มให้ประชาชนไม่ต่ำกว่า 70%

วันนี้ (30 ..64 )สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือ ส... เผยผลการสำรวจ FTI Poll ครั้งที่ 10 ในหัวข้อภาคอุตสาหกรรมพร้อมเปิดประเทศแล้วหรือยัง?”

พบว่าผู้บริหาร ส... ส่วนใหญ่ เห็นด้วยกับแผนการเปิดประเทศและการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ ในช่วงเดือนตุลาคมพฤศจิกายนนี้ โดยขอให้ภาครัฐดำเนินนโยบายที่มีการผ่อนคลายกิจกรรมทางธุรกิจมากขึ้น และบังคับใช้มาตรการควบคุมโรคเท่าที่จำเป็น เพื่อให้เศรษฐกิจเดินต่อไปได้

สำหรับข้อเสนอสำคัญ คือ ภาครัฐต้องช่วยเหลือผู้ประกอบการพักชำระหนี้และหยุดคิดดอกเบี้ยสำหรับธุรกิจท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องเป็นระยะเวลา 6 เดือน เพื่อเสริมสภาพคล่องให้แก่ภาคเอกชน ขยายระยะเวลาเคอร์ฟิวเพื่อให้ธุรกิจร้านอาหาร และธุรกิจบันเทิงเปิดให้บริการได้ 

พร้อมแนะภาคเอกชนเร่งปรับ Business Model ให้เข้ากับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงหลังโควิด-19

จากการสำรวจผู้บริหาร ส... (CEO Survey) จำนวน 150 ท่าน ครอบคลุมผู้บริหารจาก 45 กลุ่มอุตสาหกรรม และ 76 สภาอุตสาหกรรมจังหวัด สรุปผลการสำรวจ FTI Poll ครั้งที่ 10 จำนวน 7 คำถาม ได้ดังนี้

ท่านเห็นด้วยกับแผนการเปิดประเทศและผ่อนคลายมาตรการ Lockdown ในช่วงเดือนตุลาคมพฤศจิกายนนี้หรือไม่

เห็นด้วย 78.0%
ไม่เห็นด้วย 22.0%

ปัจจัยใดที่ต้องนำมาพิจารณาในการเปิดประเทศ

อันดับที่ 1 : อัตราการฉีดวัคซีน 2 เข็มให้แก่ประชาชนไม่ต่ำกว่า 70% 86.0%
อันดับที่ 2 : มาตรการคัดกรอง ตรวจติดตามผู้เดินทางเข้าประเทศ 66.7%
อันดับที่ 3 : ผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ และความเป็นอยู่ของประชาชน 62.7%
อันดับที่ 4 : ความพร้อมด้านระบบสาธารณสุขในการรองรับผู้ติดเชื้อในแต่ละพื้นที่ 59.3%

Photo : Shutterstock

ภาครัฐควรดำเนินนโยบายการบริหารจัดการสถานการณ์โควิด-19 และดูแลเศรษฐกิจอย่างไร

อันดับที่ 1 : ผ่อนคลายภาคธุรกิจและบังคับใช้มาตรการควบคุมโรคเท่าที่จำเป็น 73.3%
อันดับที่ 2 : เข้มงวดในการบังคับใช้มาตรการควบคุมโรคทุกช่องทาง 14.0%
อันดับที่ 3 : เร่งเปิดประเทศ โดยให้ความสำคัญด้านการฟื้นฟูเศรษฐกิจเป็นสำคัญ 12.7%

แนวทางการเปิดประเทศแบบใดที่มีความเหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบัน

อันดับที่ 1 : เปิดให้อยู่ในพื้นที่ Sandbox 14 วัน หากไม่พบเชื้อหลัง 14 วันสามารถเดินทางได้ทั่วประเทศ 44.7%
อันดับที่ 2 : เปิดให้เดินทางได้ทั่วประเทศในรูปแบบการจับคู่ระหว่างประเทศ (Travel Bubble) โดยไม่ต้องกักตัว 26.0%
อันดับที่ 3 : เปิดเฉพาะพื้นที่ Sandbox เท่านั้น ห้ามออกนอกพื้นที่ 16.7%
อันดับที่ 4 : เปิดให้เดินทางได้ทั่วประเทศ แต่ต้องผ่านการกักตัวในสถานที่กักตัว 14 วัน 12.6%

การเตรียมความพร้อมเปิดประเทศรัฐควรให้ความสำคัญในเรื่องใด

อันดับที่ 1 : การเร่งฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชนในพื้นที่ Sandbox 70.0%
อันดับที่ 2 : การสร้างความรู้ความเข้าใจกับประชาชน 69.3%
อันดับที่ 3 : ระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีในการติดตามและเฝ้าระวังผู้เดินทางเข้าประเทศ 67.3%
อันดับที่ 4 : ความพร้อมในการตรวจเชื้อแบบ RT-PCR และการจัดหาชุดตรวจ Antigen Test Kit 63.3%

หลังเปิดประเทศรัฐควรมีการส่งเสริมอย่างไร

อันดับที่ 1 : พักชำระหนี้และหยุดคิดดอกเบี้ย สำหรับธุรกิจท่องเที่ยว และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่อง เป็นระยะเวลา 6 เดือน 76.0%
อันดับที่ 2 : ขยายระยะเวลาเคอร์ฟิว และผ่อนผันให้ธุรกิจร้านอาหาร และธุรกิจบันเทิงเปิดให้บริการได้ 74.0% อันดับที่ 3 : ออกมาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยว และสนับสนุนการจัดงาน Exhibition และการประชุมในประเทศ 54.0%
อันดับที่ 4 : ลดค่าน้ำ ค่าไฟ อุดหนุนค่าเช่า ให้แก่ผู้ประกอบการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่อง 50.7%

ภาคอุตสาหกรรมควรเตรียมความพร้อมในการเปิดประเทศอย่างไร

อันดับที่ 1 : ปรับ Business Model ให้เข้ากับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลง 73.3%
อันดับที่ 2 : นำเทคโนโลยีและดิจิทัลมาปรับใช้ในการดำเนินธุรกิจ 71.3%
อันดับที่ 3 : พัฒนาสินค้าและบริการที่ให้ความสำคัญด้านสุขอนามัย และการรับรองมาตรฐานด้านสุขอนามัย เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภค 66.0%
อันดับที่ 4 : ปฏิบัติตามมาตรการ Bubble and Seal ในโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อลดความเสี่ยง 57.3%

 

]]>
1354224
เปิดเหตุผล คนไทยสนใจลงทุน ‘คริปโต’ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เน้นเก็งกำไร ทำใจรับความเสี่ยงได้ https://positioningmag.com/1350690 Tue, 07 Sep 2021 10:00:40 +0000 https://positioningmag.com/?p=1350690 ส่องตลาดคริปโตเคอร์เรนซี’ ในไทย คนสนใจลงทุนมากขึ้นเรื่อยๆ เเตะ 1.37 ล้านบัญชี ขยายตัวที่ 27.6% ต่อเดือน โตเร็วกว่าตลาดหุ้น เเต่ยังกระจุกตัวอยู่ในกลุ่มคนเมืองที่มีรายได้และเงินออมสูง ส่วนใหญ่มุ่งเน้นเก็งกำไร ยอมรับความเสี่ยงได้ เเนะหาข้อมูล-เพิ่มทักษะต่อเนื่อง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องให้ความรู้เพื่อพัฒนาตลาด 

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เปิดบทวิเคราะห์การลงทุนในตลาดคริปโตเคอร์เรนซีหรือสกุลเงินดิจิทัลในไทย รวมถึงความเห็นของเหล่านักลงทุน ซึ่งเป็นประเด็นที่น่าจับตามองไม่น้อย

ด้วยความที่คริปโตเคอร์เรนซีหรือเรียกสั้นๆ ว่าคริปโตยังคงมีความผันผวนสูง เเละเป็นสินทรัพย์ใหม่ที่อาจยังมีมูลค่าไม่ชัดเจน เมื่อเทียบกับสินทรัพย์อื่น แต่ในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา ตลาดคริปโตกลับมีการเติบโตเป็นอย่างมาก

ปัจจัยอะไรที่ทำให้ตลาดคริปโตพุ่ง ? 

จากกระเเสข่าวเชิงบวกเเละความต้องการลงทุนของนักลงทุนรายใหญ่ ทำให้คริปโตให้ผลตอบแทนสูง เมื่อเทียบกับสินทรัพย์อื่นๆ เเต่ก็ต้องเเลกมาด้วยความเสี่ยงสูงเช่นกัน

คริปโตเคอร์เรนซี ได้กลายเป็นสินทรัพย์ทางเลือกใหม่ในหมู่นักลงทุน โดยเฉพาะนักลงทุนที่พยายามแสวงหาสินทรัพย์ใหม่ๆ เพื่อให้ได้รับผลตอบแทนที่สูงขึ้น หรือ Search for Yield จากภาวะอัตราดอกเบี้ยในตลาดที่ยังอยู่ในระดับต่ำ

รวมถึงในกลุ่มนักลงทุนที่ชื่นชอบความเสี่ยง และต้องการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนไปยังสินทรัพย์ใหม่ๆ ท่ามกลางภาวะความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ

ความน่าสนใจของตลาดคริปโตเคอร์เรนซีที่ให้อัตราผลตอบแทนสูง ทำให้เป็นที่ดึงดูดกลุ่มนักลงทุนรายใหม่เข้ามาในตลาดอย่างต่อเนื่อง

เเนวโน้มคนไทยลงทุนคริปโต เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ 

สำหรับประเทศไทยนั้นก็มีนักลงทุนรายย่อยรายใหม่ๆเข้ามาในตลาดเพิ่มขึ้นแต่ยังอยู่ในวงจำกัด ปัจจุบันมีจำนวนบัญชีซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลในไทยทั้งหมด 1,379,373 บัญชี ซึ่งน้อยกว่าบัญชีซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ ราว 2.1 เท่า

แต่มีอัตราการขยายตัวสูงอยู่ที่ 27.6% ต่อเดือน ขณะที่บัญชีซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ มีอัตราการเติบโตเพียง 2.9% ต่อเดือน สะท้อนให้เห็นถึงความนิยมลงทุนในตลาดคริปโตเคอร์เรนซีในไทย

ในช่วงที่ผ่านมา ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้ดำเนินการสำรวจการลงทุนในตลาดคริปโตเคอร์เรนซีกับกลุ่มตัวอย่างโฟกัสกรุ๊ปซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มพนักงานบริษัทเอกชนที่มีรายได้สูง อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ที่น่าจะเป็นกลุ่มที่มีความเข้าใจด้านนี้ ขณะเดียวกัน เนื่องด้วยสถานการณ์โควิดทำให้มีจำนวนตัวอย่างที่จำกัด

ทั้งนี้ จำเป็นต้องใช้ความระมัดระวังในการตีความเชิงสถิติเนื่องจากผลทางสถิติ อาจจะเปลี่ยนแปลงตามขนาดของกลุ่มตัวอย่างได้

เเม้ผลทางสถิติอาจไม่ได้สะท้อนถึงประชากรทั้งประเทศ และจากผลสำรวจดังกล่าวได้มีผลทางสถิติที่น่าสนใจหลายประการที่น่าจะสามารถบ่งชี้ลักษณะ มุมมอง และความคาดหวังของนักลงทุนไทยในเบื้องต้นได้ ดังนี้

ผลการสำรวจของศูนย์วิจัยกสิกรไทย ชี้ว่า กลุ่มตัวอย่างโฟกัสกรุ๊ปรู้จักคริปโตเคอร์เรนซีสูงถึง 69.4% มีคนสนใจลงทุนในคริปโตเคอร์เรนซีมากถึง 52.0% และลงทุนจริงในปัจจุบันอยู่ที่ 24.3%

กลุ่มนักลงทุนในคริปโตเคอร์เรนซียังอยู่ในวงจำกัด โดยมักเป็นกลุ่มคนเมืองที่มีรายได้ และเงินออมอยู่ในระดับสูง

โดยกลุ่มตัวอย่างที่ยังไม่ได้ลงทุนจริงในปัจจุบัน เเต่มีความสนใจที่จะลงทุนคริปโตเคอร์เรนซีในอีก 1 ปีข้างหน้า มีถึง 42.0% สะท้อนว่าจะมีนักลงทุนรายใหม่ๆ เข้ามาในตลาดคริปในไทยจำนวนมากในระยะข้างหน้า

Photo : Shutterstock

ส่วนใหญ่เน้น ‘เก็งกำไร’ ทำใจรับความเสี่ยงได้

ปัจจุบันคนไทยที่ลงทุนในคริปโทเคอร์เรนซี มักเน้นมิติการเก็งกำไรเป็นหลัก

อย่างไรก็ดี กลุ่มตัวอย่างโฟกัสกรุ๊ปส่วนใหญ่ ค่อนข้างเข้าใจในภาวะเสี่ยงจากการลงทุนในตลาด แต่ขณะเดียวกัน ก็มีนักลงทุนบางส่วนที่อาจจะยังไม่เข้าใจถึงสภาวะเสี่ยงนั้น เพราะมีความคาดหวังและมีความเชื่อมั่นว่าจะได้รับผลตอบแทนในระดับสูงต่อเนื่อง

ภาพรวมกลุ่มตัวอย่างโฟกัสกรุ๊ปที่รู้จักคริปโตเคอร์เรนซี ส่วนใหญ่ราว 26.6% คาดหวังว่าคริปโตเคอร์เรนซีจะสามารถนำมาเก็งกำไรระยะสั้นได้

โดยนักลงทุนคริปโตเคอร์เรนซีในกลุ่มตัวอย่างโฟกัสกรุ๊ปกว่า 76.3% สามารถรับได้ หากเงินลงทุนจะหายไปมากกว่า 50% ภายใน 1 วัน สะท้อนถึงความมั่นใจอีกมุมหนึ่งว่าราคาคริปโตจะสามารถผันตัวกลับมาได้โดยเร็ว

ขณะเดียวกัน มีนักลงทุนบางส่วนที่คาดว่าคริปโตจะสามารถสร้างผลตอบแทนในระยะยาวได้ราว 18.6% เเละสามารถทดแทนการลงทุนในสินทรัพย์ทางการเงินแบบดั้งเดิม อย่าง หุ้น ตราสารหนี้ได้ 16% 

พร้อมกันนั้น กลุ่มตัวอย่างโฟกัสกรุ๊ปที่ลงทุนในคคริปโตเคอร์เรนซีส่วนใหญ่ราว 56.7% เปรียบการลงทุนในคริปโตเหมือนเช่นเดียวกับการลงทุนในหุ้น

เหตุผลที่เลือกลงทุนในคริปโต ?

นักลงทุนไทยในกลุ่มสำรวจ กว่า 21% บอกว่าพวกเขาเข้ามาลงทุนในตลาดคริปโตเคอร์เรนซี เพราะมีความเชื่อมั่นว่าราคาจะขึ้นไปอีกเรื่อยๆ และคาดหวังที่จะได้ผลตอบแทนสูง

ส่วนอีก 11.5% เห็นเพื่อนหรือคนรอบข้างลงทุนและได้ผลตอบแทนสูง 11.5% หรือเพื่อนหรือคนรอบข้างชักชวนลงทุน 9.0%

จากเหตุผลต่างๆ ดังกล่าวสะท้อนถึงความเสี่ยงที่อาจจะเกิดความเสียหายจากการลงทุนในตลาดสูง เนื่องจากความไม่เข้าใจในทิศทางตลาดที่อยู่ในภาวะความผันผวนสูง และอาจเป็นเป้าหมายต่อการถูกชักชวนให้เข้าร่วมลงทุนแบบผิดกฎหมาย

Photo : Shutterstock

เงินลงทุนมาจากไหน ?

การลงทุนส่วนใหญ่ใช้เงินลงทุนจริงในตลาดคริปโตเคอร์เรนซีไม่มาก จากผลสำรวจของศูนย์วิจัยกสิกรไทย พบว่า กลุ่มตัวอย่างโฟกัสกรุ๊ปที่ลงทุนในคริปโต ส่วนใหญ่ราว 48.5% ใช้เงินลงทุนในสัดส่วนไม่เกิน 10% ของเงินออม นับว่าเป็นสัญญาณที่ดีที่จะป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดจากการลงทุนในคริปโตเคอร์เรนซีได้ในระดับหนึ่ง หากตลาดเกิดความผันผวนรุนแรงในช่วงระยะเวลาสั้นๆ

ให้ความรู้ ทำความเข้าใจ เพื่อพัฒนาตลาด 

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า การจะลดความเสี่ยงจากภาวะความผันผวนในตลาด หรือสร้างโอกาสจากการลงทุนในคริปโตเคอร์เรนซี จำเป็นต้องอาศัยทักษะความรู้ทางการเงินและความรู้เท่าทันต่อเทคโนโลยีดิจิทัลด้วย นับว่าเป็นโจทย์สำคัญต่อทั้งกลุ่มนักลงทุนและทางการ

โดยนักลงทุนที่สนใจจะเข้ามาลงทุนในตลาดคริปโตเคอร์เรนซี ก็ควรต้องเร่งเสริมสร้างทักษะความรู้และความเข้าใจในเรื่องสกุลเงินดิจิทัลอย่างคริปโตเคอร์เรนซีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะเทรนด์เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และมีสกุลเงินคริปโตเคอร์เรนซีใหม่ๆ เข้ามาในตลาดอย่างต่อเนื่อง

ส่วนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็อาจต้องเพิ่มแหล่งการเรียนรู้ที่จะเป็นสื่อกลางในการให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องต่อนักลงทุนกลุ่มเป้าหมายให้มากขึ้น เพื่อลดความสูญเสียอันจะเกิดกับนักลงทุนในตลาด โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่หรือนักลงทุนมือใหม่ที่มุ่งหวังผลตอบแทนจากการลงทุนในระดับสูง ท่ามกลางอัตราผลดอกเบี้ยและอัตราผลตอบแทนในตลาดตราสารหนี้ที่จะยังอยู่ในระดับต่ำอย่างน้อยในอีก 1-2 ปีข้างหน้าตามทิศทางดอกเบี้ยนโยบาย

“ความรู้ความเข้าใจในสินทรัพย์ดิจิทัล ควบคู่กับความรู้ทางการเงินที่ดีขึ้น ยังน่าจะช่วยปูทางไปสู่การใช้เงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลาง และนวัตกรรมทางการเงินที่จะตามมาอีกมากในอนาคตด้วย”

 

 

]]>
1350690
ผลสำรวจ บริษัทใหญ่ของญี่ปุ่น กว่า 90% มองเชิงบวก เศรษฐกิจ ‘ฟื้นตัว-เติบโตได้’ ในปี 2022 https://positioningmag.com/1346568 Fri, 13 Aug 2021 06:31:38 +0000 https://positioningmag.com/?p=1346568 บริษัทยักษ์ใหญ่ในญี่ปุ่นกว่า 90% มองเชิงบวกว่า เศรษฐกิจของประเทศจะกลับมาขยายตัวได้ในปี 2022 เเละหวังว่าการระบาดของโควิด-19 จะบรรเทาลง เเต่ยังมีความเสี่ยงด้านการกระจายวัคซีนเเละไวรัสกลายพันธ์ุ

Kyodo News ทำการสำรวจความคิดเห็นของบริษัทรายใหญ่ของญี่ปุ่น 111 เเห่ง ซึ่งรวมไปถึง Toyota Motor และ Sony Group ในช่วงเดือนก..- ต้นเดือนส.. โดยญี่ปุ่นนับเป็นเเหล่งเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลกรองจากสหรัฐฯ เเละจีน

จากผลสำรวจ พบว่า บริษัทต่างๆ ทั่วโลก มีเเนวโน้มที่จะร่วมมือกันมากขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และการสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ท่ามกลางการแข่งขันที่ดุเดือดในสงครามการค้า ระหว่างสหรัฐฯและจีน โดยมุ่งเน้นไปที่ซัพพลายเชนสำหรับชิปและแหล่งพลังงาน

บริษัทญี่ปุ่นกว่า 75% ประเมินว่าประเทศจะมีการเติบโตทางเศรษฐกิจได้ในระดับปานกลางในช่วงปีหน้า ตามมาด้วย 15% ที่มองว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวในปี 2022

ส่วนบริษัทอีก 5% คาดว่าสภาวะเศรษฐกิจของญี่ปุ่นจะยังคงไม่เปลี่ยนแปลงอย่างไรก็ตาม ไม่มีบริษัทใดเลยที่คาดว่าเศรษฐกิจจะปรับตัวลงหรือหดตัวลง

เมื่อการสำรวจเปิดให้สามารถเลือกตอบได้หลายข้อ พบว่า บริษัทญี่ปุ่นกว่า 93% คาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวได้ จากมีความคืบหน้าในการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 

ขณะที่ 83% มองว่าการฟื้นตัวจะมาจากบริโภคภาคเอกชน และ 72% มีความหวังจากการผ่อนคลายข้อจำกัดของมาตรการล็อกดาวน์ สำหรับกิจกรรมทางเศรษฐกิจ

Photo : Shutterstock

เมื่อถามถึงสภาพเศรษฐกิจของญี่ปุ่นในปัจจุบัน พบว่า บริษัท 26% ประเมินว่า ยอดขายรายไตรมาสจะกลับสู่ระดับปกติ ก่อนเกิดโรคระบาดได้ ในปี 2022 และอีก 16% คาดว่าการฟื้นตัวจะเกิดขึ้นในปี 2023 หรือหลังจากนั้น

เเม้หลายบริษัทจะได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจทั่วโลก แต่บางบริษัทก็ดำเนินธุรกิจไปได้ด้วยดีโดย 16% ระบุว่า ยอดขายของพวกเขาฟื้นตัวแล้วกลับมาอยู่ระดับก่อนเกิดโรคระบาด และอีก 5% บอกว่ายอดขายไม่ได้ลดลง

ด้านนักวิเคราะห์ มองว่า แม้ว่าบริษัทต่างๆ ในญี่ปุ่นจะมีมุมมองเชิงบวกแต่ก็ยังมีข้อกังวลเกี่ยวกับการระบาดของโควิด-19 ในอนาคต เนื่องจากการฉีดวัคซีนของรัฐบาลญี่ปุ่นยังดำเนินการอย่างล่าช้า รวมถึงความเสี่ยงของเชื้อไวรัสกลายพันธ์ุอย่างเดลตาที่สามารถแพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็ว ทำให้มียอดผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มสูงขึ้นทั่วประเทศ

โดยผู้ตอบแบบสำรวจ ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า หากสถานการณ์โรคระบาดไม่ดีขึ้นตามที่คาดการณ์ไว้ การฟื้นตัวของการบริโภคในภาคเอกชนอาจล่าช้า และห่วงโซ่อุปทานอาจหยุดชะงักได้

 

ที่มา : Kyodo News

]]>
1346568
อินไซต์ ‘บอลยูโร 2020’ ไม่คึกคัก คนไทยใช้จ่ายลด เงินสะพัดต่ำสุดรอบ 10 ปี ความเชื่อมั่นฟื้นช้า https://positioningmag.com/1338309 Tue, 22 Jun 2021 12:15:39 +0000 https://positioningmag.com/?p=1338309 บอลยูโร 2020ไม่คึกคัก เจอพิษโควิดซัด คนไทยใช้จ่ายลด เงินสะพัดต่ำสุดในรอบ 10 ปี กว่า 50% ติดตามน้อยถึงไม่สนใจ

จากผลสำรวจของ ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ถึงพฤติกรรมและการใช้จ่ายของผู้บริโภค ในช่วงมหกรรมฟุตบอลยูโร ปี 2020” จากกลุ่มตัวอย่าง 1,200 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 15-18 มิถุนายน 2564 พบว่า

ประชาชนส่วนใหญ่ใช้จ่ายน้อยลงทั้งในส่วนของการใช้จ่ายในระบบและนอกระบบ ผลกระทบหลักๆ มาจากการระบาดของโควิด-19 ทำให้เงินสะพัดโดยรวมในช่วงการเเข่งขันฟุตบอลยูโร 2020 ลดลงถึง 20.3% ต่ำสุดในรอบ 10 ปี มูลค่าอยู่ที่ 62,440 ล้านบาท โดยเลือกใช้จ่าย 5 อันดับสูงสุดได้เเก่

  • ซื้ออาหาร เครื่องดื่ม 98.1 %
  • ซื้ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ /อุปกรณ์รับสัญญาณ 64%
  • ซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า 60.5%
  • ซื้ออุปกรณ์กีฬา 38.9 %
  • เล่นการพนัน 27.5%

เเยกเป็นเงินสะพัดในระบบอย่างการซื้อสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์การดูฟุตบอล และอาหารจัดเลี้ยง อยู่ที่ราว 15,200 ล้านบาท ลดลง 15.1%

ส่วนเงินสะพัดนอกระบบ จากการพนันฟุตบอล อยู่ที่ราว 45,800 ล้านบาท ลดลง 22.3% มีเป้าหมายเพื่อต้องการเงินรางวัล มากกว่าแฟชั่นหรือความสนุกสนาน ส่วนใหญ่เลือกเล่นผ่านช่องทางออนไลน์มากที่สุด ตามด้วยคนรู้จักแนะนำ

มีการใช้เงินในแต่ละนัดเฉลี่ย 1,000-5,000 บาท โดยที่มาของเงินมาจากเงินออมและรายได้ปกติ

อย่างไรก็ตาม คาดว่าเม็ดเงินที่สะพัดในช่วงฟุตบอลยูโร จะมีผลต่อเศรษฐกิจโดยรวมในปีนี้ขยายตัวเพิ่มขึ้น 0.1% ซึ่งหากดูการขยายตัวเฉพาะไตรมาส 3 จะกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่ม 0.3% ส่วนการขยายตัวทั้งปีของเศรษฐกิจไทย คาดว่าจะอยู่ในกรอบ 2-2.5%  

จากการสำรวจ ยังพบว่า ประชาชน 50% ติดตามน้อยถึงไม่สนใจ เเละอีก 50% ติดตามเหมือนเดิมและสนใจมากขึ้น

ด้านการติดตามนั้น จะเป็นจากญาติหรือเพื่อน 53.5% โทรทัศน์ 49.8% ตามมาด้วยสื่อโซเชียล 47% เว็บไซต์ 41% หนังสือพิมพ์เเละนิตยสาร 8.3% วิทยุ 1.8% ส่วนใหญ่ติดตามรอบแรกและรอบชิง

โดยทีมที่คนไทยเชียร์มากที่สุด 5 อันดับแรก ได้เเก่ อังกฤษ โปรตุเกส ฝรั่งเศส อิตาลี เบลเยียม

ส่วนทีมที่คาดจะได้คว้าแชมป์ยูโร 2020 คือ ฝรั่งเศส โปรตุเกส อิตาลี เยอรมัน และเบลเยียม เเละคาดว่าคู่ชิงอันดับแรกคือ อิตาลีฝรั่งเศส อันดับ 2 คือ เบลเยียมฝรั่งเศส อันดับ 3 คือ อิตาลีโปรตุเกส

ธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยและประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มองว่า สถานการณ์โควิด-19 ที่มียอดการติดเชื้อ และสายพันธุ์เดลต้ายังกระจายอยู่ จะทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้ช้า และมีผลต่อจิตวิทยาของผู้บริโภค 

หากรัฐกระจายวัคซีนได้ดีขึ้น อาจจะทำให้ผู้บริโภคมีความหวังเเละกลับมากล้าใช้จ่ายอีกครั้ง

ส่วนมาตรการภาครัฐที่เยียวยาประชาชน อย่าง โครงการคนละครึ่งที่ให้วงเงินคนละ 3,000 บาท ยังน้อยไปที่เข้ามากระตุ้นเศรษฐกิจ ส่วนมาตรการยิ่งใช้ยิ่งได้ก็ยังค่อนข้างอืด

โดยหากเปิดประเทศได้ คาดว่าในช่วงไตรมาส 4 จะมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติราว 1 ล้านคน เม็ดเงินสะพัดราว 5-6 หมื่นล้านบาท กระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มได้ประมาณ 0.2-0.3% ซึ่งหากโมเดลภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ได้ผลดีเชื่อว่าจะสร้างความเชื่อมั่นได้

 

]]>
1338309