ลักชัวรี่ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 07 Aug 2023 12:53:49 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 8 ไอเทมลักชัวรีแนวใหม่ เครื่องบอกสถานะ “ชีวิตคนรวย” ของเจนวายที่ไม่เหมือนยุคเดิม https://positioningmag.com/1440112 Mon, 07 Aug 2023 12:34:44 +0000 https://positioningmag.com/?p=1440112 “เจนวาย” กำลังเข้าสู่ช่วงวัยสร้างครอบครัว ซื้อบ้าน เริ่มมีลูก ทำให้เจนวายที่มีกำลังซื้อสูงเริ่มเปลี่ยนความสนใจไอเทมบ่งบอกสถานะ “ชีวิตคนรวย” จากเสื้อผ้าเครื่องประดับแนวสตรีทที่ฮิตก่อนหน้านี้ มาเป็นไอเทมอื่นๆ ที่เกี่ยวกับบ้านและชีวิตความเป็นอยู่มากขึ้น

ก่อนหน้านี้พฤติกรรมผู้บริโภค “เจนวาย” ที่มีกำลังซื้อมักจะนิยมซื้อสินค้าลักชัวรีกลุ่มที่สื่อถึงค่านิยมหรือประสบการณ์ส่วนตัว ส่วนใหญ่มักจะเป็นเสื้อผ้าแฟชั่นต่างๆ

แต่เมื่อพวกเขาเข้าสู่ช่วงวัยประมาณ 40 ปี ชีวิตในวัยนี้มักจะมีครอบครัว มีบ้าน มีลูก ทำให้ไอเทมที่เป็นเครื่องบ่งบอกสถานะจึงเปลี่ยนแปลงไป

ไปพบกับ 8 ไอเทมลักชัวรีของคน “เจนวาย” ที่ต่างไปจากยุคเดิม ดังนี้

 

1.สินค้าสำหรับสัตว์เลี้ยง

Mintel บริษัทวิจัยทางการตลาดระบุว่า เจนวายมองว่าสัตว์เลี้ยงเป็นสมาชิกคนหนึ่งในครอบครัว บางครอบครัวอาจจะเลือกมีสัตว์เลี้ยงแทนการมีลูกไปก่อน ทำให้พวกเขาจะใช้จ่ายกับสินค้าสัตว์เลี้ยงสูงเหมือนกับเลี้ยงเด็กคนหนึ่ง

ดังนั้น แบรนด์อาหารสำหรับสัตว์เลี้ยงจะไม่ใช้แค่เกรดทั่วไป เช่น Pedigree หรือ Purina แต่ต้องเป็นแบรนด์ระดับพรีเมียมมากขึ้น เช่น Rachael Ray’s Nutrish หรือ Simpsons Premium ซึ่งมีสินค้ากลุ่มอาหารสัตว์เลี้ยงแบบออร์แกนิกหรือไร้กลูเตนให้เลือกด้วย

ต่อด้วยอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงทั้งหมด เช่น ที่นอน พื้นที่เล่นของสัตว์ ของเล่น เสื้อผ้า ชามอาหารและน้ำ ฯลฯ จะใช้ไอเทมที่มีราคาในระดับลักชัวรีเพื่อปรนเปรอสัตว์เลี้ยงแสนรัก เป็นการใช้จ่ายทางอารมณ์ความรู้สึกมากขึ้นกว่าการซื้อสินค้าเพื่อฟังก์ชันการใช้งานเท่านั้น

 

2.เลือกใช้รถอีวี
Tesla Roadster 2020

J.D.Power บริษัทวิจัยอินไซต์ผู้บริโภค พบว่า คนที่สนใจซื้อรถอีวีส่วนใหญ่เป็นผู้ชาย โดย ณ สิ้นปี 2022 กลุ่มผู้ซื้อรถอีวี 72.5% เป็นเพศชาย เทียบกับค่าเฉลี่ยทั้งตลาดผู้ซื้อรถ 60% เป็นเพศชาย เห็นได้ว่าผู้ชายมีแนวโน้มจะซื้อรถยนต์ไฟฟ้ามากกว่า

ที่น่าสนใจอีกอย่างคือ ผู้ซื้อรถอีวีมักจะเป็นคนที่มีรายได้สูงกว่าค่าเฉลี่ยตลาดผู้ซื้อรถทั้งหมดด้วย ทำให้ปัจจุบันกลุ่มโปรไฟล์หลักที่จะซื้อรถอีวีคือ “ผู้ชายที่มีฐานะ”

นั่นทำให้รถยนต์ไฟฟ้าในขณะนี้เป็นเหมือนเครื่องแสดงสถานะกลายๆ ว่าคนขับเป็นผู้ที่มีฐานะ ด้วยโปรไฟล์ผู้ซื้อที่เป็นภาพจำในตลาด

 

3.บ้านหรู

เพราะเจนวายอยู่ในช่วงวัยที่เริ่มมีบ้านเป็นของตนเองแล้ว ทำให้ยุคนี้การ ‘อวดบ้าน’ ผ่านโซเชียลมีเดียคือการแสดงฐานะที่ดีที่สุด บ้านจะต้องดูมีระดับ มีดีไซน์ มีรสนิยม

มุมที่ผู้มีฐานะเจนวายสนใจตกแต่งมากขึ้นคือ “ห้องครัว” ที่ดูลักชัวรี ไปจนถึงอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวอย่าง “ตู้เย็น” ที่ออกแบบมาอย่างดีให้กลมกลืนกับภายในครัว ในตู้เย็นก็จะต้องจัดเรียงวัตถุดิบอาหารและเครื่องดื่มในตู้ไว้อย่างสะอาด สวยงามเรียบร้อย

Samsung Bespoke

นอกจากนี้ ในโลกตะวันตกยังมีเทรนด์การอวดบ้านอีกอย่างหนึ่งที่นิยมกันคือการอวด “ห้องซักผ้า” เนื่องจากปกติห้องซักผ้าจะมีประโยชน์เรื่องการทำงานบ้านเท่านั้น ไม่ได้เป็นมุมไว้พักผ่อนใช้ชีวิตของคนในบ้าน ทำให้บ้านส่วนใหญ่ไม่ได้ตกแต่งห้องซักผ้าให้สวยงาม

ดังนั้น เมื่อบ้านหลังไหนเนรมิตห้องซักผ้าไว้อย่างสวยงาม จึงเป็นการสื่อว่าเจ้าของบ้านไม่ได้สนใจแค่ฟังก์ชัน แต่ต้องมีความงามในทุกๆ มุมของบ้านจริงๆ

 

4.เครื่องชงกาแฟ
(Photo: Marta Dzedyshko / Pexels)

ไฮไลต์อุปกรณ์ครัวมาแรงอีกชิ้นหนึ่งคือ “เครื่องชงกาแฟ” เพราะยุคนี้กาแฟเป็นเครื่องดื่มที่มีสุนทรียะ ไม่ใช่แค่ไป Starbucks เท่านั้น แต่หลายคนนิยมสร้างสถานะด้วยความรู้ความเข้าใจเรื่องกาแฟ…ซึ่งรวมไปถึงการครอบครองเครื่องชงกาแฟราคาแพงด้วย

ราคาเครื่องชงกาแฟทั่วไปมักจะมีราคาราวเครื่องละ 14,000 บาท แต่ถ้าต้องการเครื่องชงกาแฟที่มีระดับมากขึ้นอาจจะต้องเตรียมเงินไว้มากกว่า 200,000 บาท เมื่อราคาต่างกันมากทำให้เครื่องชงกาแฟมีสถานะคล้ายๆ กับนาฬิกาข้อมือหรือกระเป๋าถือ คือเป็นเครื่องบ่งบอกกำลังซื้อของเจ้าของ

 

5.สปาในบ้าน
(Photo: Ksenia Chernaya / Pexels)

อีกหนึ่งห้องในบ้าน “ชีวิตคนรวย” เจนวาย คือการสร้างห้องน้ำในรูปแบบ “สปา” ไว้ในบ้าน เพื่อหลบลี้จากความเครียดและความวุ่นวาย

สปาในบ้าน จึงเป็นห้องสำหรับผ่อนคลายด้วยโทนการตกแต่งสบายๆ มีเก้าอี้โซฟา พรมสวยๆ ต้นไม้ประดับ และแน่นอนว่าต้องมีอ่างแช่ตัว ให้อารมณ์สปาแบบเซ็น

การมีห้องลักษณะนี้ในบ้านคือการสร้างความพิเศษส่วนตัวได้ทันที จะเข้าสปาตอนเช้าก่อนไปทำงานหรือหลังเลิกงานก็ได้ทั้งนั้น

 

6.สบู่ล้างมือ

แม้แต่รายละเอียดที่เล็กที่สุดอย่าง “สบู่ล้างมือ” ก็ต้องเป๊ะสำหรับคนเจนวาย โดยเป็นรายละเอียดของการใช้ชีวิตเหมือนกับการการไปพักโรงแรมหรือเข้าห้องน้ำในร้านอาหารสุดหรู

แบรนด์ที่กำลังมาแรงในเทรนด์นี้คือ “Aesop” แบรนด์สกินแคร์จากออสเตรเลียที่ขายสบู่ล้างมือขวดละ 1,400 บาท การมี Aesop อยู่ในบ้านทำให้ดูมีรสนิยมที่ใส่ใจในทุกๆ ส่วนของชีวิต

 

7.เอเย่นต์และทัวร์ท่องเที่ยว (แบบลักชัวรี)

การจองที่พักและตั๋วเครื่องบินออนไลน์ได้ด้วยตนเองน่าจะทำให้ธุรกิจจัดทัวร์ท่องเที่ยวและบริการเอเย่นต์ต่างๆ ซบเซาลง แต่ไม่ใช่กับคนมีฐานะเจนวาย

Flywire มีการสำรวจคนเจนวายและเจนซีวัย 18-44 ปี ที่ระบุว่าตนเองเป็นนักท่องเที่ยวระดับลักชัวรี พบว่า 90% ของคนกลุ่มนี้มองว่าทัวร์ เอเย่นต์ท่องเที่ยว และที่ปรึกษาเท่านั้นที่จะทำให้เกิดประสบการณ์การท่องเที่ยวแบบลักชัวรีอย่างแท้จริงได้

กลุ่มคนเหล่านี้จะใช้ที่บริการบริษัทท่องเที่ยวระดับลักชัวรี ซึ่งหลายบริษัทจะต้องจ่ายค่าสมาชิกเป็นค่าแรกเข้าก่อนและมีค่าสมาชิกรายปีสำหรับเป็นเครดิตไว้ใช้จ่ายค่าทัวร์และบริการต่างๆ

Black Tomato บริษัทท่องเที่ยวลักชัวรี บอกว่า ปัจจุบันลูกค้าส่วนใหญ่เป็นคนเจนวายที่ไปเที่ยวกับครอบครัว และอีกกลุ่มเป็นเจนวายที่ต้องการเที่ยวคนเดียวในทริปที่ได้ผจญภัยมากขึ้น ไปที่แปลกใหม่กว่าคนอื่น

 

8.โบท็อกซ์

สุดท้ายแล้วคือเรื่องความงาม โดยเฉพาะเมื่อเจนวายอยู่ในวัยประมาณ 40 ปี ทำให้พวกเขาสนใจการทำโบท็อกซ์และการเสริมความงามในคลินิกมากขึ้น

สมาคมศัลยแพทย์พลาสติกอเมริกัน รายงานว่าตั้งแต่หลังโรคระบาดคลี่คลาย 30% ของแพทย์เสริมความงามในสหรัฐฯ พบว่าตนมีคนไข้เพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว ส่วนใหญ่ที่เพิ่มขึ้นคือผู้หญิงวัย 31-45 ปี ซึ่งต้องการบริการเสริมความงาม เช่น โบท็อกซ์ ฟิลเลอร์ ลดไขมัน ยกกระชับผิว

เดิมคนเจนวายมีความสนใจเรื่อง “เวลเนส” มีชีวิตที่สุขภาพดีทั้งกายใจอยู่แล้ว พวกเขาใส่ใจกับอาหาร การออกกำลังกาย ทำให้การทำศัลยกรรมเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของวงจร “การดูแลตัวเอง”

]]>
1440112
ถอดสูตรความสำเร็จ “PMT The Hour Glass” ปั้นตลาด “นาฬิกาหรู” เมืองไทย https://positioningmag.com/1435161 Thu, 22 Jun 2023 10:06:09 +0000 https://positioningmag.com/?p=1435161 ย้อนกลับไปเมื่อปี 2550 “ณรัณ ธรรมาวรานุคุปต์” ในฐานะทายาทรับช่วงต่อกิจการนำเข้านาฬิกา “พรีม่า ไทมส์” ได้เดินทางไปร่วมงานมหกรรมแสดงสินค้านาฬิกา “Baselworld” ที่สวิตเซอร์แลนด์ และบังเอิญได้พบกับ “ไมเคิล เทย์” ในห้องอาหารเช้าของโรงแรมที่พัก

ไมเคิล เทย์นั้นเป็นทายาทและผู้บริหารของ “The Hour Glass” ผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายนาฬิกาหรูในสิงคโปร์ แม้ทั้งคู่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อน แต่ด้วยประวัติครอบครัวและการศึกษาที่คล้ายกัน รวมถึงความหลงใหลในนาฬิกา วิสัยทัศน์ทางธุรกิจที่คิดเห็นไปในทางเดียวกัน ทำให้ในปี 2551 พวกเขาทั้งคู่ตกลงจัดตั้งบริษัทร่วมทุน “PMT The Hour Glass” ขึ้นเพื่อขยายธุรกิจในประเทศไทย

ณรัณ เล่าถึงการพบปะในครั้งนั้นว่าเป็นเหมือน “พรหมลิขิต” ที่ทำให้ PMT The Hour Glass เริ่มต้นก่อตั้งร้าน 2 สาขาแรกสำเร็จ

PMT The Hour Glass
“ไมเคิล เทย์” Group Managing Director, The Hour Glass และ “ณรัณ ธรรมาวรานุคุปต์” กรรมการผู้จัดการ PMT The Hour Glass

การเดินทางต่อเนื่องมา 15 ปี วันนี้ PMT The Hour Glass ขยายตัวครบ 15 สาขา แบ่งเป็น 10 สาขาในไทย และ 5 สาขาในเวียดนาม เติบโตจากทีมงาน 20 คน มาเป็น 250 คน และเป็นตัวแทนจำหน่ายแบรนด์นาฬิกาจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มแบรนด์ใหญ่ เช่น Rolex, Patek Philippe, Hublot, Tudor และกลุ่มแบรนด์ช่างฝีมือระดับสูง (Artisanal Brand) เช่น F.P.Journe, MB&F, URWERK, Akrivia

นับได้ว่าบริษัทเป็นผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายนาฬิกาหรูรายใหญ่ในไทย ทำรายได้รอบปีบัญชีล่าสุด 6,000 ล้านบาท

 

“Watch Nerd” สูตรความสำเร็จการจำหน่ายงานศิลป์บนข้อมือ

ณรัณมองว่าความสำเร็จของบริษัทเกิดจาก “แพสชัน” ของทีมงานทุกคนที่ต่างเป็น “Watch Nerd” ผู้ที่หลงใหลในรายละเอียดงานศิลป์ของนาฬิกา และใช้แพสชันนี้เป็นจุดตั้งต้นในการเผยแพร่ “วัฒนธรรมนาฬิกา” ให้กับสังคมผ่านการจัดงานอีเวนต์ ประชาสัมพันธ์ ทำการตลาดให้ความรู้เกี่ยวกับนาฬิกามาตลอด 15 ปี จนตลาดไทยปัจจุบันเรียกได้ว่ามีนักสะสมที่มีความรู้สูงเป็นจำนวนมาก อาจจะเป็นรองเพียงแค่สิงคโปร์เท่านั้นในตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

PMT The Hour Glass
HUBLOT Spirit of Big Bang Tourbillon 5-Day Power Reserve Carbon Green Camo ผลิตเพียง 30 เรือน ฉลองครบรอบ 15 ปี PMT The Hour Glass ราคา 3.6 ล้านบาท

อีกผลลัพธ์หนึ่งที่ได้จากการเป็น Watch Nerd คือ ความใส่ใจในรายละเอียดของการออกแบบ การผลิต ทีมงานเบื้องหลังนาฬิการะดับสูง ทำให้ PMT The Hour Glass เล็งเห็นได้ว่าแบรนด์นาฬิกาใดที่มีศักยภาพในอนาคต กำลังจะเป็น ‘Potential Winner’ และมีมูลค่าสินค้าสูงขึ้น

“ลูกค้าเชื่อมั่นว่าเรามีศักยภาพในการคัดเลือกเหล่าผู้ชนะเข้ามาและสร้าง value ให้เขาได้ในระยะยาว” ณรัณกล่าว

ลูกค้าเชื่อมั่นว่าเรามีศักยภาพในการคัดเลือกเหล่าผู้ชนะเข้ามาและสร้าง value ให้เขาได้ในระยะยาว

เขายกตัวอย่างแบรนด์ Hublot ที่บริษัทเป็นผู้ริเริ่มนำเข้ามาเมื่อ 15 ปีก่อนพร้อมๆ กับการก่อตั้ง PMT The Hour Glass ในวันนั้นแบรนด์ Hublot ยังเป็นแบรนด์ระดับกลางและไม่เป็นที่รู้จักมากนัก แต่บริษัทเล็งเห็นศักยภาพของแบรนด์ว่ากำลังจะเติบโต ซึ่งวันนี้ Hublot เติบโตได้จริง โดยขึ้นมาเป็นนาฬิกาไฮเอนด์ในระดับ Top 20 ของโลก และเป็นนาฬิกาชั้นนำที่ขายดีอันดับ 5 ในไทย

ประเด็นนี้ทำให้พาร์ทเนอร์แบรนด์ผู้ผลิตนาฬิกาเองก็พึงพอใจใน PMT The Hour Glass เช่นกัน เพราะบริษัทไม่เพียงแต่นำเข้ามาจัดจำหน่าย แต่ยังช่วยสร้างแบรนด์ของผู้ผลิตให้แข็งแรงในตลาดไทยด้วย

 

ครบรอบ 15 ปี ก้าวสู่ 20 สาขา

การเติบโตของ PMT The Hour Glass จะมีการขยายตัวต่อเนื่องในปีนี้ โดยเตรียมจะเปิดเพิ่มอีก 5 สาขา แบ่งเป็น 2 สาขาในไทย และ 3 สาขาในเวียดนาม

ในไทยจะมีไฮไลต์คือการเปิดบูติกของ “F.P.Journe” ถือเป็นบูติกแห่งแรกของแบรนด์นี้ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นการเปิดบูติกให้กับแบรนด์นาฬิกาในกลุ่มช่างฝีมือระดับสูง (Artisanl Brand) ครั้งแรกของบริษัทด้วยเช่นกัน

F.P.Journe นาฬิกากลุ่ม Artisanal Brand ที่จะเปิดบูติกในไทยปีนี้

ณรัณกล่าวว่า นาฬิกาเซ็กเมนต์ Artisanl Brand นั้นได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งในระดับโลกและในไทย ด้วยเทรนด์ของนักสะสมมีความรู้และใส่ใจในงานศิลปะ กลไก ความละเอียดประณีตบนนาฬิกาสูงขึ้น ทำให้นิยมศึกษางานจากช่างฝีมือในเซ็กเมนต์นี้ซึ่งถือเป็นสินค้าที่มีจำกัดมาก บางแบรนด์อาจผลิตได้เพียงหลักสิบหรือหลักร้อยชิ้นต่อปีเท่านั้น

ส่วนในเวียดนามนั้น ไฮไลต์จะเป็นการเปิดบูติก “Rolex” เป็นแห่งแรกของเวียดนาม และจะเร่งผลักดันตลาดเวียดนามซึ่งมีศักยภาพสูงต่อเนื่อง

“เวียดนามนั้นเป็นตลาดใหม่คล้ายกับประเทศไทยเมื่อ 15 ปีก่อนที่ยังต้องส่งเสริมเรื่องวัฒนธรรมนาฬิกาและให้ความรู้” ณรัณกล่าว “แต่เวียดนามมีศักยภาพมากเพราะประเทศกำลังเติบโต นักสะสมยังมีอายุเฉลี่ยที่ 30 ปี และลักษณะประเทศมีหลายหัวเมือง ทำให้เรามีโอกาสขยายสาขามาก”

 

ดีมานด์พุ่งสูง แต่ซัพพลายเร่งไม่ได้

ในแง่ความต้องการในตลาด ณรัณอ้างอิงข้อมูลจากกรมศุลกากรพบว่า การนำเข้านาฬิกาแบรนด์ชั้นนำของไทยเมื่อปี 2565 นั้นมีมูลค่าสูงถึง 12,955 ล้านบาท ตัวเลขนี้เติบโตขึ้นถึง 36% เมื่อเทียบกับปี 2562 (ก่อนเกิดโรคระบาด) ซึ่งมีการนำเข้านาฬิกาหรูมูลค่ารวม 9,550 ล้านบาท

Girard-Perregaux Laureato Chronograph 42mm รุ่นจำนวนจำกัด 50 เรือน ฉลองครบรอบ 15 ปี PMT The Hour Glass ราคา 2.408 ล้านบาท

ณรัณคาดว่า ตลาดที่โตสูงมากหลังผ่านโควิด-19 เป็นเพราะในช่วงเกิดโรคระบาดทำให้พฤติกรรมคนเปลี่ยน เริ่มมีเวลาว่างในการศึกษาหางานอดิเรกใหม่ๆ ที่ทำได้ที่บ้าน ซึ่งส่วนหนึ่งเลือกหันมาศึกษากลไกและงานศิลปะของนาฬิกาไฮเอนด์ จนเกิดนักสะสมหน้าใหม่เพิ่มขึ้น

สำหรับปี 2566 ณรัณคาดว่าตลาดนาฬิกาหรูก็ยังจะเติบโตต่ออีก 10-15% ด้วยดีมานด์ที่ยังร้อนแรง

อย่างไรก็ตาม ปัญหาสำคัญคือฝั่งซัพพลายที่ไม่สามารถเร่งตามดีมานด์ได้ เนื่องจากการผลิตนาฬิกาไฮเอนด์จะใช้ช่างฝีมือ ไม่ได้ใช้เครื่องจักรกลหรือใช้น้อย และช่างฝีมือเหล่านี้ต้องใช้เวลาฝึกฝนนานนับสิบปี ทำให้ไม่สามารถจะเร่งซัพพลายได้ตามต้องการ

“ช่วงก่อนโควิด-19 เรามีดีมานด์จากลูกค้ามากกว่าโควตานำเข้านาฬิกาจากแบรนด์ประมาณ 3 เท่า ปัจจุบันตัวเลขนี้พุ่งขึ้นมาเป็น 9 เท่า” ณรัณกล่าว

ทางออกที่บริษัทนำเข้าจะสามารถทำได้คือการเจรจาการจัดสรรโควตานำเข้าเพิ่มเติมจากแบรนด์ จะทำได้หรือไม่นั้น ต้องย้อนกลับไปที่ความเชื่อมั่นของแบรนด์ที่มีต่อบริษัทและตลาดประเทศไทย รวมถึงสายสัมพันธ์อันดีระหว่างแบรนด์กับบริษัท ซึ่งทาง PMT The Hour Glass เองมีความเชื่อมั่นว่า “แพสชัน” ของบริษัทที่ดำเนินมาตลอด 15 ปีจะทำให้พาร์ทเนอร์ไว้วางใจได้

]]>
1435161
นักวิเคราะห์มั่นใจ ‘สินค้าลักชัวรี่’ จะยิ่งเติบโตหลัง ‘จีน’ เปิดประเทศ https://positioningmag.com/1416732 Thu, 26 Jan 2023 04:22:15 +0000 https://positioningmag.com/?p=1416732 ตลาดสินค้าลักชัวรี่ ของยุโรปกำลังยิ้มต้อนรับ ‘นักท่องเที่ยวจีน’ หลังจากที่รัฐบาลยกเลิกข้อจำกัดมาตรการควบคุม COVID-19 ซึ่งการกลับมาของนักท่องเที่ยวชาวจีนนั้น จะช่วยให้ตลาดลักชัวรี่เติบโตได้มากขึ้น

Joelle de Montgolfier หัวหน้าแผนกสินค้าหรูหราของบริษัทที่ปรึกษาด้านการจัดการ Bain and Company เปิดเผยว่า ก่อนเกิดโรคระบาด นักท่องเที่ยวจีนที่มาเที่ยวยุโรปเนื่องจากเป็นแหล่งกำเนิดแบรนด์สินค้าลักชัวรี่ โดย ชาวจีนคิดเป็น 1 ใน 3 ของการยอดขายสินค้าลักชัวรี่ในโลก และ ยอดขาย 2 ใน 3 เกิดขึ้นนอกประเทศจีน

โดยการกลับมาของนักท่องเที่ยวจีน ทำให้ธนาคาร RBC ปรับคาดการณ์การเติบโตของตลาดลักชัวรี่โลกในปี 2023 ว่าจะเพิ่มขึ้นจาก 7% เป็น 11%

“การเปิดประเทศอีกครั้งของจีนเป็นหนึ่งในปัจจัยหลักที่สำคัญสำหรับตลาดสินค้าลักชัวรี่ในปี 2023″ ธนาคาร RBC กล่าว

อย่างไรก็ตาม Arnaud Cadart ผู้จัดการพอร์ตโฟลิโอของผู้จัดการสินทรัพย์ Flornoy คาดว่า นักท่องเที่ยวจีนจะกลับมาจำนวนมาก แต่จะมีแนวโน้มมากขึ้นในไตรมาสที่ 2 เพราะปัจจุบันโควิดยังคงแพร่ระบาดอย่างมากในจีน และยังส่งผลกระทบต่อผู้คนจำนวนมาก

ย้อนไปปี 2020 ตลาดลักชัวรี่นั้นไม่เติบโต เนื่องจากช็อกจากการระบาดของ COVID-19 แต่ผ่านไปเพียงปีเดียว ตลาดก็สามารถฟื้นตัวกลับมาได้มากกว่าก่อนที่เกิดการระบาด โดยการเติบโตดังกล่าวได้รับแรงหนุนจาก นักท่องเที่ยวสหรัฐฯ เนื่องจากค่าเงินดอลลาร์แข็ง นอกจากนี้ ยังได้แรงหนุนจาก นักท่องเที่ยวชาวเกาหลีและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งนักท่องเที่ยวจีนจะมีความสำคัญอย่างมากต่อตลาดลักชัวรี่ หากกระแสนักท่องเที่ยวสหรัฐฯ ชะลอตัวลง

Source

]]>
1416732
5 ร้านอาหาร-คาเฟ่ “แบรนด์เนม” ในเอเชีย สายกิน+หรูไม่ควรพลาด! https://positioningmag.com/1414296 Thu, 29 Dec 2022 16:39:06 +0000 https://positioningmag.com/?p=1414296 “แฟชั่นไม่ใช่สิ่งที่มีแค่ในเสื้อผ้าเท่านั้น” โคโค่ ชาแนล ผู้ก่อตั้งแบรนด์ Chanel เคยกล่าวไว้ “แฟชั่นนั้นอยู่ในท้องฟ้า ในท้องถนน แฟชั่นคือเรื่องของไอเดีย วีถีการใช้ชีวิต และอะไรที่กำลังมาแรง”

เมื่อแฟชั่นไม่ใช่แค่เสื้อผ้า ทำให้แบรนด์ลักชัวรีหลายรายไม่ได้มีแค่ไลน์เสื้อผ้า เครื่องประดับ หรือเครื่องสำอาง แต่ยังขยายไปเปิด “ร้านอาหาร” ด้วยเช่นกัน เพื่อใช้เป็นอีกช่องทางหนึ่งในการสะท้อนนิยามหรือวิถีของแบรนด์

Positioning รวบรวม 5 ร้านอาหาร “แบรนด์เนม” ที่น่าสนใจ และเปิดอยู่ในภูมิภาคเอเชีย เพื่อเสนอเป็นอีกหนึ่งจุดหมายปลายทางระหว่างการท่องเที่ยวในปีหน้า

 

1.BULGARI’s Ristorante Luca Fantin ,โตเกียว, ญี่ปุ่น

ร้านอาหาร แบรนด์เนม
BULGARI’s Ristorante Luca Fantin

เริ่มกันที่ประเทศยอดนิยมของคนไทย “ญี่ปุ่น” มีร้านอาหารแบรนด์ BULGARI เครื่องเพชรชื่อดังจากอิตาลีถึง 2 ร้าน การตกแต่งภายในร้านออกแบบโดย Antonio Citterio สถาปนิกชาวอิตาเลียน และเชฟประจำร้าน Luca Fantin คือเชฟมิชลินสตาร์ 1 ดาว 11 ปีซ้อน

อาหารที่เสิร์ฟจะเป็นอาหารสไตล์อิตาเลียน แต่เน้นการใช้วัตถุดิบท้องถิ่นของญี่ปุ่น เมนูเด็ดแนะนำโดยมิชลินไกด์คือ “ตัลโยลีนีที่ทำจากอูนิกับน้ำแครอต”

ร้านในโตเกียวตั้งอยู่ที่ กินซ่า ทาวเวอร์ นอกจากร้านอาหารแล้วจะมี BULGARI Ginza Bar และ Il Cioccolato ร้านช็อกโกแลตแฮนเมด อยู่ในตึกเดียวกันด้วย

 

2.Le Café V and Sugalabo V, โอซาก้า, ญี่ปุ่น

Le Café V and Sugalabo V

ร้านอาหารและคาเฟ่ของแบรนด์ Louis Vuitton ตั้งอยู่ในชั้น 4 และรูฟท็อปของอาคารแฟลกชิปสโตร์ของแบรนด์ที่โอซาก้า เชฟผู้รับผิดชอบคือ โยสุเกะ ซูงะ อดีตลูกศิษย์ของ Joel Robuchon เชฟมิชลินสตาร์ 32 สมัย

ภายในร้านมีทั้งโซนคาเฟ่ และโซนร้านอาหารไฟน์ไดนิ่งที่เปิดเฉพาะมื้อเย็น แนะนำควรจองก่อนเข้าไปทานอาหาร เนื่องจากที่นั่งมีจำกัด

 

3.Café Dior by Pierre Herme, โซล, เกาหลีใต้

คาเฟ่บนตึก Dior สีขาวสุดโดดเด่นที่ย่านกังนัม กรุงโซล ให้บริการโดย Pierre Herme เชฟขนมชาวฝรั่งเศสชื่อดัง ตกแต่งในธีมที่สื่อถึงแบรนด์ Dior ทั้งร้าน รวมถึงในขนม-เครื่องดื่มบางชิ้นด้วย เช่น ลาเต้อาร์ต ช็อกโกแลต แน่นอนว่าร้านนี้ต้องเสิร์ฟมาการอง ขนมขึ้นชื่อของ Pierre Herme และอีกเมนูไม่ควรพลาดคือครัวซองต์

 

4.Hermes Café Madang, โซล, เกาหลีใต้

Cafe Madang

อีกหนึ่งคาเฟ่แบรนด์เนมในย่านกังนัม กรุงโซล ตั้งอยู่ชั้นล่างในตึก Hermes แฟลกชิปสโตร์ ภายในคาเฟ่จะใช้เครื่องจานชามจาก Hermes ทุกชิ้น ขนมในร้านมาจากฝีมือทีมงานเชฟชาวเกาหลี มีซิกเนเจอร์เมนูคือช็อกโกแลตรูปร่างโลโก้ตัว H ของแบรนด์

 

5.Vivienne Westwood Café, ฮ่องกง

คาเฟ่ในธีมของ Vivienne Westwood แบบจัดเต็ม! การตกแต่งแบบผสมผสานสไตล์วินเทจเข้ากับโลกโมเดิร์น และผสมทั้งแฟชั่น ดีไซน์ และอาหารเข้าด้วยกัน ที่นี่เสิร์ฟทั้งอาหารคาวและอาหารหวาน โดยเน้นอาหารอังกฤษต้นกำเนิดของแบรนด์นี้ คาเฟ่ตั้งอยู่ในย่านจิมซาจุ่ย ฮ่องกง

]]>
1414296
หมดช่วงขาขึ้นของสินค้า “แบรนด์เนม” เศรษฐกิจฝืดเริ่มกระทบยอดขาย ลูกค้า Gen Z หางานทำยาก https://positioningmag.com/1397010 Mon, 22 Aug 2022 05:07:01 +0000 https://positioningmag.com/?p=1397010 สินค้า “แบรนด์เนม” ถือเป็นหนึ่งในสินค้าไม่กี่อย่างที่ไม่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ใน 3 ปีที่ผ่านมา จนกระทั่งภาวะเศรษฐกิจฝืดเกิดขึ้นทั่วโลก โดยเฉพาะใน “จีน” ซึ่งเป็นฐานลูกค้าสำคัญ ทำให้ยอดขายสินค้าลักชัวรีเริ่มลดลง สาเหตุหลักมาจากกลุ่ม Gen Z จนถึง Gen Y ที่เคยเป็นผู้บริโภคกลุ่มใหม่ช่วยขับเคลื่อนยอดขาย บัดนี้กลับหางานทำได้ยากขึ้นจนต้องลดการใช้จ่ายฟุ่มเฟือย

ค่าเฉลี่ยอายุผู้ซื้อสินค้าไฮเอนด์ทั่วโลกนั้นอยู่ที่ 38 ปี ขณะที่ใน “จีน” นั้นอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 28 ปีเท่านั้น สะท้อนให้เห็นว่ากลุ่มผู้ใหญ่ตอนต้นเป็นกำลังซื้อสำคัญของสินค้า “แบรนด์เนม” โดยเฉพาะจีนที่ผู้ซื้อหลักคือกลุ่มวัยเริ่มทำงาน

“กลุ่มผู้ใหญ่ตอนต้นทั่วโลกนั้นเป็นปัจจัยสำคัญมากต่อการเติบโตของสินค้าลักชัวรีในรอบทศวรรษที่ผ่านมา” Gregory Boutte ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายดิจิทัลและลูกค้า บริษัท Kering เจ้าของแบรนด์ Gucci กล่าว

เศรษฐกิจจีนในช่วงที่ผ่านมาเกิดการชะลอการเติบโตอย่างไม่คาดคิด และทำให้หนุ่มสาวคนรุ่นใหม่ “ว่างงาน” ขณะที่ในทวีปอเมริกาเหนือและทวีปยุโรป ปัญหาเงินเฟ้อและค่าครองชีพพุ่งสูงก็กำลังกระทบผู้บริโภควัยหนุ่มสาวเข้าอย่างแรง

Photo : Shutterstock

ดาต้าจากรัฐบาลจีนในช่วงเดือนกรกฎาคม 2022 พบว่า อัตราการว่างงานของคนวัย 16-24 ปีในเขตเมืองของจีนนั้นอยู่ที่ 19.9% ซึ่งสูงเป็นประวัติการณ์ สาเหตุมาจากการล็อกดาวน์อย่างต่อเนื่อง และการกวาดล้างอิทธิพลบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ ซึ่งปกติบริษัทเหล่านี้คือผู้จ้างงานหลักของเด็กจบใหม่

“นี่น่าจะเป็นครั้งแรกที่คนหนุ่มสาวในจีนจะต้องเผชิญกับผลกระทบจากเศรษฐกิจ ดังนั้น ครั้งนี้จะเป็นบททดสอบว่าผู้บริโภคจะใช้จ่ายกับสินค้าลักชัวรีอย่างไรเมื่อเผชิญปัจจัยเศรษฐกิจ” Kenneth Chow ผู้อำนวยการบริษัทที่ปรึกษา Oliver Wyman กล่าว

 

แนวโน้มลูกค้าคนรุ่นใหม่จะซื้อ “แบรนด์เนม” น้อยลง

ฟังเสียงจากอินฟลูเอนเซอร์ที่มีอิทธิพลกับความคิดคนรุ่นใหม่ ตัวอย่างเช่น Jeffrey Huang วัย 28 ปี ซึ่งเป็นดาว TikTok สหรัฐฯ เน้นไลฟ์สไตล์ลักชัวรีและการท่องเที่ยว เขาอัดคลิปบอกกับผู้ติดตามกว่า 150,000 คนว่า “ถ้าหากเศรษฐกิจถดถอยเกิดขึ้นจริง ผมจะลดการซื้อแบรนด์เนมแน่นอน 100% หรืออาจจะหยุดซื้อไปเลยก็ได้”

กระเป๋า Gucci Dionysus (Photo : Christian Vierig/Getty Images)

Sara Yogi ผู้อาศัยในซานฟรานซิสโก วัย 26 ปี บอกว่าตนเองเริ่มจะระวังการใช้จ่ายเพราะรู้สึกว่าปีที่แล้วใช้เงินไปเยอะมาก และเป็นไปได้ว่าอาจจะพับแผนการซื้อกระเป๋า Prada และ Bottega Veneta ไว้ก่อน โดยกระเป๋าสองใบนั้นมีราคาอยู่ระหว่าง 100,000-110,000 บาทต่อใบ

Oliver Wyman เองสะท้อนผลสำรวจความคิดเห็นผู้บริหารบริษัทลักชัวรี พบว่าบางส่วนเริ่มลดเป้าหมายยอดขายในจีนลงอย่างมีนัยยะสำคัญ และ 80% ของผู้บริหารมองว่าการฟื้นตัวของตลาดลักชัวรีคงไม่เป็นรูปแบบ V-Shape ภายในปีนี้

 

ลักชัวรีแบรนด์แก้เกม “ขึ้นราคา” เน้นลูกค้า VIP

เมื่อเทรนด์ตลาดคนรุ่นใหม่เริ่มสั่นคลอน แบรนด์เนมหลายเจ้าจึงแก้เกมด้วยการหันไปหาลูกค้าระดับ VIP เป็นหลัก โดยเน้นยอดขายสินค้า ‘ตัวท็อป’ ของบริษัททดแทน เช่น กระเป๋าถือราคา 350,000 บาท หรือ เสื้อโค้ตราคา 175,000 บาท

รวมถึงมีการขึ้นราคาเพื่อทดแทนยอดขายที่หายไป ไม่ว่าจะเป็น Chanel, Louis Vuitton หรือ Dior ต่างมีการขึ้นราคาสินค้าเครื่องหนังหลายครั้งในช่วงปีที่ผ่านมา ขณะที่ Chanel มีแผนจะเปิดสโตร์สำหรับลูกค้า VIP เท่านั้นอีกด้วย

ส่วนสินค้าประเภทที่มักจะดึงดูด Gen Z เป็นพิเศษตามสไตล์การแต่งตัวของวัยรุ่น และมักจะเป็น ‘ไอเทม’ แบรนด์เนมชิ้นแรกในตู้เสื้อผ้า เช่น หมวกทรงบัคเก็ตราคา 10,500 บาท เสื้อยืดราคา 24,500 บาท รองเท้าสนีกเกอร์ราคา 31,500 บาท สินค้ากลุ่มนี้น่าจะได้รับผลกระทบ โดยบางแบรนด์ เช่น Burberry รายงานการหดตัวของสินค้ากลุ่มสนีกเกอร์และรองเท้าแตะแล้ว

 

จะดึงเงินจาก Gen Z ได้ต้องทำไอเทมชิ้นเล็กลง

แม้ว่า Gen Z จะมีกำลังซื้อลดลง แต่ใช่ว่าความหอมหวานและแรงบันดาลใจในการครอบครองแบรนด์เนมสักชิ้นจะหมดไป

เคสมือถือ Bottega Veneta ราคา 8,080 บาท

Yi Kejie ผู้จัดการด้านคอนเทนต์การตลาดวัย 26 ปีในจีนมองว่า การผลิตสินค้าชิ้นเล็กราคาไม่สูงมาก แต่สามารถใช้ได้บ่อยๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น เคสมือถือ ต่างหู ที่หนีบผม น้ำหอม สินค้าพวกนี้จะยังดึงดูด Gen Z ในจีนเพราะ “เป็นสินค้าราคาถูกที่สุดที่จะทำให้พวกเขาได้มีโลโก้ มีไอคอนที่ตัวเองชอบไว้ในครอบครอง”

บางแบรนด์อาจจะเลือกเจาะเข้าไปในตลาดเมตาเวิร์ส เช่น Balenciaga, Dior, Gucci ที่มีขายสินค้าเสมือนจริงในเกม Roblox เพื่อตอบสนองการมีแบรนด์เนมในชีวิต ตัวอย่างสินค้ารองเท้าสนีกเกอร์ Gucci เสมือนจริง มีขายในราคาเพียง 630 บาท

“คนรุ่นใหม่ในจีนยังคงอยากได้สินค้าแบรนด์เนมอยู่” Yi กล่าว “การล็อกดาวน์หรือการไม่มีงานทำชั่วคราว ไม่สามารถเปลี่ยนความต้องการในระยะยาวของพวกเขาได้เลย”

Source

]]>
1397010
เปิดตัว ‘ALPHA X’ ยานลูกในเครือ SCBX จับตลาดลักชัวรี ทำลีสซิ่งเช่าซื้อ ‘รถหรู’ เรือยอทช์ ริเวอร์โบ๊ท https://positioningmag.com/1355493 Thu, 07 Oct 2021 09:25:54 +0000 https://positioningmag.com/?p=1355493
เปิดตัว ‘ALPHA X’ ลีสซิ่งเช่าซื้อรถหรู บิ๊กไบค์ เรือยอทช์ และริเวอร์โบ๊ท จากค่ายไทยพาณิชย์เเละมิลเลนเนียม กรุ๊ป เห็นโอกาสตลาดยังเป็น Blue Ocean มีผู้เล่นน้อย ตั้งเป้าเพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 300 ล้านบาท ใน 1 ปี 

ธนาคารไทยพาณิชย์ และกลุ่มธุรกิจ มิลเลนเนียม กรุ๊ป คอร์ปอเรชั่น (เอเชีย) หรือ เอ็มจีซี-เอเชีย บรรลุข้อตกลง และลงนามในสัญญาร่วมทุนจัดตั้ง ‘บริษัท อัลฟา เอกซ์ จำกัด’ (ALPHA X Co., Ld.) เพื่อรองรับลูกค้ากลุ่มพรีเมียม-ลักชัวรี โดยมีบริการต่างๆ เช่น สินเชื่อเช่าซื้อ (Hire Purchase) ลีสซิ่ง (Leasing) สินเชื่อรีไฟแนนซ์ (Refinance)

งานนี้ได้ ‘วศิน ไสยวรรณ’ รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ มานั่งเเท่นเป็นซีอีโอของ ALPHA X นับเป็นหนึ่งในกลยุทธ์เชิงรุกรูปเเบบใหม่ ตามแผนการปรับโครงสร้างครั้งใหญ่ของกลุ่มธนาคารไทยพาณิชย์ ที่เพิ่งประกาศตั้ง SCBX ยานเเม่ใหม่ ปลดล็อกข้อจำกัดเเบงก์ เพื่อมารุกธุรกิจต่างๆ มุ่งสู่ฟินเทคเต็มรูปแบบ ไปเมื่อเร็วๆ นี้

วศิน บอกว่า ALPHA X เกิดขึ้นจากการรวมศักยภาพของไทยพาณิชย์ ในด้านนวัตกรรมทางการเงินและบริการทางการเงินครบวงจร เเละประสบการณ์ในการดูแลลูกค้ากลุ่มพรีเมียม-ลักชัวรี มาอย่างยาวนาน ทำให้เข้าใจไลฟ์สไตล์ของลูกค้ากลุ่มดังกล่าว กับประสบการณ์ของ มิลเลนเนียม กรุ๊ป คอร์ปอเรชั่น (เอเชีย) หนึ่งในผู้นำด้านธุรกิจค้าปลีกยานยนต์ครบวงจรของเมืองไทย รวมถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่งผลให้เกิดแนวทางในการให้บริการรูปแบบใหม่ ที่จะสร้างประสบการณ์ที่แตกต่างให้แก่ลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย

นอกจากนี้ ยังมีแนวคิดในการใช้ศักยภาพทางด้านดิจิทัล (Digital Capabilities) มารองรับการดำเนินธุรกิจ ด้วยการนำเทคโนโลยี AI และระบบฐานข้อมูลแบบ Big Data รวมถึงความเชี่ยวชาญในอุตสาหกรรม และความเข้าใจในความต้องการของลูกค้า มาให้บริการจัดหา และแนะนำยานยนต์ให้ลูกค้าที่ต้องการได้จากทุกแบรนด์ เพื่อตอบสนองไลฟ์สไตล์ของลูกค้า

โดยบริษัทจะเริ่มใช้ศักยภาพจากฐานลูกค้ากลุ่ม Affluent ของ SCB และ MGC-ASIA และจะขยายไปยังลูกค้าในกลุ่มพรีเมียม-ลักชัวรีเพิ่มขึ้นต่อไป

สำหรับ ALPHA X จะดำเนินธุรกิจบริการสินเชื่อเช่าซื้อ ลีสซิ่ง และสินเชื่อรีไฟแนนซ์ สำหรับยานยนต์กลุ่มพรีเมียม-ลักชัวรี ครอบคลุมรถยนต์ , บิ๊กไบค์ , เรือยอทช์ และริเวอร์โบ๊ท ซึ่งเป็นตลาด Blue Ocean ที่มีจำนวนผู้เล่นน้อยราย มีแนวทางการให้บริการที่มีลักษณะเฉพาะ ซึ่งจะสามารถเริ่มให้บริการลูกค้าได้ภายในปี 2564

บริษัท อัลฟา เอกซ์ จำกัด มีแผนจะเพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 300 ล้านบาท ภายใน 1 ปี โดยเป็นบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินของธนาคาร ซึ่งธนาคารไทยพาณิชย์ถือหุ้นในสัดส่วน 50% และเอ็มจีซี-เอเชีย ถือหุ้นในสัดส่วน 50% ของหุ้นทั้งหมดของบริษัท

]]>
1355493
สารพัดบริษัทกำลังแตกไลน์มารุมชิงเค้กตลาด “เครื่องสำอาง” ระดับ “ลักชัวรี” https://positioningmag.com/1348489 Wed, 25 Aug 2021 06:53:32 +0000 https://positioningmag.com/?p=1348489 ไม่ใช่แค่แบรนด์ดั้งเดิมเท่านั้นที่อยู่ในตลาดนี้ บรรดาบริษัทอุปโภคบริโภค เสื้อผ้าแฟชั่น ไปจนถึงกลุ่มค้าปลีก ต่างแตกไลน์มาชิงส่วนแบ่งตลาด “เครื่องสำอาง” และ “สกินแคร์” ระดับลักชัวรี จากการเติบโตที่ทำได้ดีสวนกระแสเศรษฐกิจ

WWD รายงานการคาดการณ์ตลาดบิวตี้ปี 2021 น่าจะเติบโต 8.5% โดยเกิดจากแรงซื้อในตลาดลักชัวรีเป็นหลักมากกว่าเซ็กเมนต์อื่นๆ กลุ่มตลาดที่กำลังมาแรงนี้ ทำให้สารพัดบริษัทหันมาจับเทรนด์ ขยายสินค้าจากที่ตัวเองมีอยู่เดิม

บริษัทใหญ่รายหนึ่งที่เห็นผลสำเร็จไปแล้วคือ Unilever โดยทั้งเครือทำรายได้ครึ่งปีแรก 2021 เติบโต 5.4% อย่างไรก็ตาม กลุ่มสินค้าที่เติบโตได้ดีในเครือคือ Unilever Prestige Beauty ซึ่งเป็นแบรนด์สินค้าสกินแคร์ เครื่องสำอาง ดูแลเส้นผม ระดับลักชัวรี สามารถเติบโตได้แบบ “ดับเบิล ดิจิต”

สกินแคร์ Paula’s Choice แบรนด์ที่ Unilever เพิ่งเทกโอเวอร์เข้าพอร์ต

แบรนด์ที่อยู่ในกลุ่ม Unilever Prestige ได้แก่ Dermalogica, Living Proof, Hourglass, Murad, Kate Somerville, REN skincare และล่าสุดบริษัทเพิ่งปิดดีลซื้อสกินแคร์แบรนด์ดัง “Paula’s Choice” มาไว้ในพอร์ตสำเร็จเมื่อวันที่ 2 ส.ค. 2021 โดยแบรนด์นี้มีความแข็งแรงมากในแง่การตลาดดิจิทัล เข้ากับยุคปัจจุบัน

 

แบรนด์แฟชั่นตบเท้าเข้าวงการ

ฝั่งสินค้าที่อยู่ในเซ็กเมนต์ระดับไฮเอนด์อยู่แล้วอย่างเสื้อผ้าแฟชั่น แต่เดิมมีแบรนด์ดังครองตลาดเครื่องสำอางและน้ำหอมอยู่แล้ว เช่น Dior, Chanel, YSL

แต่เมื่อตลาดเครื่องสำอางลักชัวรีหอมหวาน แบรนด์อื่นๆ ก็เริ่มเคลื่อนไหว นับจากต้นปี 2020 ที่แบรนด์ Hermes เปิดตัวเครื่องสำอางชิ้นแรกในเครือเป็นลิปสติก 24 เฉดสี ตามด้วยปีนี้ Valentino บุกตลาดแบบเต็มตัว ด้วยการเปิดตัวเซตเครื่องสำอางแบบครบทั้งใบหน้า ไม่ว่าจะเป็นรองพื้น ไฮไลต์ ลิปสติก บลัชออน ฯลฯ แบบมาทีเดียวกว่า 100 SKUs

 

ค้าปลีกออฟไลน์-ออนไลน์ร่วมวง

อีกหนึ่งแบรนด์ที่มีชื่อในตลาดไฮเอนด์ ห้างสรรพสินค้าสุดหรู “Harrods” ในอังกฤษ เร่งเครื่องในตลาดบิวตี้ ส่งร้าน “H Beauty” เปิดตัวแยกออกจากห้างฯ ใน 3 เมือง คือ บริสตอล, เอดินเบิร์ก และเกทส์เฮด (เมืองทางใต้ของนิวคาสเซิล) เตรียมให้บริการปีหน้า ตามแผนการกระจาย “บริการระดับลักชัวรี” ไปตามหัวเมืองท้องถิ่น

H Beauty

นอกจากมีสินค้าบิวตี้ให้ทดลองและจำหน่ายแล้ว ประเด็นสำคัญคือร้าน H Beauty จะให้ “ประสบการณ์” ในการมาช้อปปิ้งด้วย เพราะมีห้องทำทรีทเมนต์ใบหน้า ทำผม และบาร์เสิร์ฟแชมเปญไว้รับรอง

ขณะที่แพลตฟอร์มอี-คอมเมิร์ซก็เข้ามาจับตลาดด้วย โดยอาศัยการคอลแลปกับแบรนด์อื่น ตัวอย่างเช่น Zalando ซึ่งเป็นอี-คอมเมิร์ซยุโรปเน้นจำหน่ายสินค้าแฟชั่นไฮเอนด์อยู่แล้ว เมื่อต้องการเจาะตลาดบิวตี้จึงเข้าไปจับมือกับ Sephora นำสินค้าเครื่องอางระดับบนกว่า 300 แบรนด์จำหน่ายบนแพลตฟอร์ม

น่าสนใจว่าตลาดบิวตี้จะเข้มข้นขึ้นแค่ไหน จากเดิมที่มีผู้นำตลาดบิ๊กเนมอยู่แล้วหลายเจ้า ไม่ว่าจะเป็น Nars, Lancôme, Dior Beauty, Chanel, Laura Mercier, Charlotte Tilbury, Estée Lauder, La Prairie, La Mer ฯลฯ

Source: WundermanThompson, Yahoo Finance

]]>
1348489
10 เมืองที่แพงที่สุดสำหรับ “ชีวิตคนรวย” ปี 2021 “เซี่ยงไฮ้” ขึ้นครองแชมป์ https://positioningmag.com/1342413 Wed, 14 Jul 2021 14:16:21 +0000 https://positioningmag.com/?p=1342413 Julius Baer จัดทำรายงาน “เมือง” ที่แพงที่สุดในโลกสำหรับการใช้ “ชีวิตคนรวย” โดยวัดจากราคาไลฟ์สไตล์หลายด้าน ตั้งแต่ที่อยู่อาศัยไปจนถึงชุดสูท หลังผ่านปีแห่งโรคระบาดและอัตราเงินเฟ้อ “เซี่ยงไฮ้” ก้าวขึ้นมาครองแชมป์แทนที่ฮ่องกง ส่วนกรุงเทพฯ อยู่ในอันดับ 11 จากทั้งหมด 25 เมือง

ปี 2021 เป็นปีที่สองที่ Julius Baer จัดทำรายงาน Global Wealth and Lifestyle Report 2021 โดยปีนี้รายงานถูกจัดทำหลังผ่านปีแห่งโรคระบาด COVID-19 มีการเก็บสถิติสองรอบ คือ รอบวันที่ 13-19 กรกฎาคม 2020 และ รอบวันที่ 16-22 พฤศจิกายน 2020

ภาพรวมของปีนี้เห็นได้ว่าเม็ดเงินที่จะต้องใช้เพื่อดำรง “ชีวิตคนรวย” ที่สะดวกสบายดังเดิมนั้นปรับตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากเกิดภาวะเงินเฟ้อ ความผันผวนของค่าเงิน การปรับเพิ่มข้อกำหนดและกำแพงภาษีของหลายประเทศ

ปีนี้มีการสำรวจทั้งหมด 25 เมืองทั่วโลก (ลดลงจากปีก่อนที่มี 28 เมือง) 10 อันดับแรก เมืองที่แพงที่สุดสำหรับ “ชีวิตคนรวย” ปี 2021 มีดังนี้

อันดับ 1 – เซี่ยงไฮ้
อันดับ 2 – โตเกียว
อันดับ 3 – ฮ่องกง
อันดับ 4 – โมนาโก
อันดับ 5 – ไทเป
อันดับ 6 – ซูริค
อันดับ 7 – ปารีส
อันดับ 8 – ลอนดอน
อันดับ 9 – สิงคโปร์
อันดับ 10 – นิวยอร์ก

แชมป์เก่าอย่าง “ฮ่องกง” นั้นอันดับลดลงไปอยู่อันดับ 3 และมี “เซี่ยงไฮ้” ขยับขึ้นมาแทนที่บัลลังก์แชมป์ชีวิตหรูหราที่แพงที่สุด ส่วนเมืองที่หลุดออกจาก Top 10 ไปในปีนี้คือ “ลอสแอนเจลิส”

ฮ่องกงนั้นมีปัจจัยที่ทำให้ราคาไลฟ์สไตล์คนรวยลดลงคือ “ค่าห้องพักสวีทในโรงแรม” ซึ่งปรับลดจากโรคระบาดที่ทำให้การท่องเที่ยวหยุดชะงัก

เซี่ยงไฮ้
เซี่ยงไฮ้ เมืองที่แพงที่สุดสำหรับไลฟ์สไตล์คนรวย ปี 2021

ขณะที่เซี่ยงไฮ้กลายเป็นเมืองสุดแพงของคนรวย ค่าเฉลี่ยเม็ดเงินที่ต้องใช้เพื่อคงไลฟ์สไตล์เดิมเพิ่มขึ้น 5% ในรอบปี ปัจจัยที่ปรับขึ้นสูงมาก เช่น เที่ยวบินธุรกิจ ราคาตั๋วขึ้น 82% มื้ออาหารเย็นรสเลิศ ปรับขึ้น 12% รวมไปถึงที่อยู่อาศัยที่มีดีมานด์สูงมากจนรัฐบาลจีนต้องจัดระบบ ‘social scoring’ และลอตเตอรี่สุ่มผู้ซื้อ เพื่อลดความร้อนแรงในตลาดลง

การสำรวจของ Julius Baer ครอบคลุมราคาสินค้าและบริการทั้งหมด 18 อย่าง ได้แก่ มอเตอร์ไซค์ รถยนต์ เครื่องประดับ กระเป๋าถือผู้หญิง รองเท้าสตรี ชุดสูทผู้ชาย ที่อยู่อาศัย แพ็กเกจเทคโนโลยี ลู่วิ่งสายพาน นาฬิกาข้อมือ วิสกี้ ไวน์ ตั๋วเครื่องบินชั้นธุรกิจ มื้ออาหารค่ำเลิศรส ประกันสุขภาพ ห้องพักสวีทในโรงแรม การทำเลสิก และค่าจ้างทนายความ

3 เมืองที่ “แพง” ที่สุดของไลฟ์สไตล์ “ชีวิตคนรวย” แต่ละภูมิภาค : เซี่ยงไฮ้ อันดับ 1 ของเอเชียแปซิฟิก, นิวยอร์ก อันดับ 1 ของทวีปอเมริกา และ โมนาโก อันดับ 1 ของ EMEA

สำหรับกรุงเทพฯ อยู่ในอันดับที่ 11 เท่ากับปีก่อน ราคาสินค้าที่จัดว่า “แพง” ของกรุงเทพฯ เมื่อเทียบกับเมืองอื่นในโลกคือกลุ่มเสื้อผ้า โดยเฉพาะ “ชุดสูทผู้ชาย” ที่ราคาแพงกว่าค่าเฉลี่ยโลกถึง 20% ด้านบริการนั้น “ประกันสุขภาพ” ของกรุงเทพฯ จัดว่าแพงอันดับ 1 ของโลกร่วมกับเซี่ยงไฮ้

แต่สินค้าที่ “ถูกกว่า” ของกรุงเทพฯ คือ เครื่องประดับ กระเป๋าถือสตรี นาฬิกาข้อมือ เมื่อรวมกับ ค่าตั๋วเครื่องบินชั้นธุรกิจและค่าห้องพักสวีทที่ถูกกว่าเช่นกัน ทำให้กรุงเทพฯ ยังเป็นเมืองที่น่าสนใจในการมา “ช้อปปิ้ง” ของชาวต่างชาติ หากประเทศไทยสามารถเปิดการท่องเที่ยวได้

กรุงเทพ สีลม สาทร ภาพมุมสูง
ราคาที่อยู่อาศัยไฮเอนด์ของกรุงเทพฯ ยังถูกกว่าค่าเฉลี่ยโลกครึ่งหนึ่ง ทำให้เศรษฐีสนใจซื้อ

นอกจากนี้ กรุงเทพฯ ยังมีราคาที่อยู่อาศัยระดับไฮเอนด์ที่ถูกกว่าค่าเฉลี่ยโลกเกือบครึ่งหนึ่ง แถมปีนี้ยังเป็นปีของผู้ซื้อ ผู้ซื้อมีอำนาจต่อรองมากขึ้น ทำให้เศรษฐีที่ยังมีกำลังซื้อช้อนชื้อที่อยู่อาศัยหลังที่สองกันจำนวนมาก

แล้วถ้าคุณเป็นเศรษฐีที่อยากใช้เม็ดเงินให้คุ้มค่า ควรจะไปอยู่ที่ไหน? 5 อันดับที่ไลฟ์สไตล์คนรวยถูกที่สุด ได้แก่ อันดับ 21 – เซาเปาโล อันดับ 22 – มุมไบ อันดับ 23 – เม็กซิโก ซิตี้ อันดับ 24 – แวนคูเวอร์ และอันดับ 25 – โจฮันเนสเบิร์ก

Source – Global Wealth and Lifestyle Report 2021

อ่านข่าวอื่นๆ ที่น่าสนใจ

]]>
1342413
เพียง 3 เดือนเเรกของปีนี้ ยอดขาย ‘Hermes’ พุ่งเกือบ 44% คนรวยเอเชียทุ่มช้อปเเบรนด์หรู https://positioningmag.com/1329060 Fri, 23 Apr 2021 11:45:04 +0000 https://positioningmag.com/?p=1329060 ‘Hermes’ เเบรนด์เเฟชั่นหรูจากฝรั่งเศส เจ้าของกระเป๋า Birkin สุดโด่งดัง ทำยอดขายในไตรมาสแรกของปี 2021 เพิ่มขึ้นสูงถึงเกือบ 44% จากพลังช้อปของเหล่าคนรวยในเอเชีย โดยมีรายได้เพิ่มขึ้นถึงสองเท่าเมื่อเทียบกับปีก่อน หลังมีการผ่อนคลายมาตรการสกัดโรคระบาดเเละกลับมาเปิดร้านค้าได้อีกครั้ง

ความนิยมซื้อของหรูของกลุ่มคนมั่งคั่ง ไม่เเผ่วลงในช่วงวิกฤต COVID-19 โดยผลประกอบการของ Hermes ประจำไตรมาส 1/2021 เพิ่มขึ้น 43.7% ในอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่จากปี 2020 โดยสามารถรายได้รวมถึง 2,083 ล้านยูโร (ราว 7.8 หมื่นล้านบาท) ในช่วงเเค่ 3 เดือนแรกของปีนี้เท่านั้น เหนือความคาดหมายของนักวิเคราะห์ว่าคาดจะเพิ่มขึ้น 24%

ปัจจัยที่ส่งเสริมรายได้ของ Hermes ในช่วงนี้ก็คือยอดขายในเอเชีย(ไม่รวมญี่ปุ่น) ที่เติบโตขึ้นอย่างเห็นได้ชัดถึงถึง 93.6% เมื่อเทียบกับจากไตรมาสแรกของปี 2020 โดยเฉพาะยอดขายในจีน ที่เศรษฐกิจกลับมาฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว บวกกับยอดขายที่ทรงตัวในเกาหลีใต้ ไทย สิงคโปร์ และออสเตรเลีย 

ญี่ปุ่นยังเป็นตลาดสำคัญที่เติบโตได้ดีของ Hermes โดยมียอดขายเพิ่มขึ้น 20% ส่วนยอดขายฝั่งอเมริกาก็เพิ่มขึ้นกว่า 24% ช่วยชดเชยยอดขายที่ลดลงในตลาดยุโรป ที่เพิ่มขึ้นเพียงแค่ 4.4% เพราะยังต้องเผชิญกับการเเพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาระลอกใหม่

โดยสินค้าขายดีที่สุดของเเบรนด์ Hermes เป็นกลุ่มเครื่องหนัง , เสื้อผ้า Ready-to-Wear และผ้าไหม 

Eric du Halgouët ผู้บริหารระดับสูงของ Hermes ยืนยันว่า การเติบโตของยอดขายในไตรมาสดังกล่าวไม่ใช่แรงหนุนจาก ‘ราคาที่เเพงขึ้นเพราะบริษัทมีการปรับราคาขึ้นเพียง 1.4%ในปีนี้

ยอดขายออนไลน์เพิ่มขึ้น 100% หรือมากกว่านั้นในทุกภูมิภาค และมีแนวโน้มที่จะเกิน 1 พันล้านยูโรในไม่ช้า

ยอดขายที่เพิ่มขึ้นของแบรนด์แฟชั่นไฮเอนด์ต่างๆ ชี้ให้เห็นถึงสัญญาณการกลับมาเฟื่องฟูอีกครั้งของกลุ่มสินค้าลักชัวรี โดยคู่แข่งอย่าง LVMH และ Kering ก็มีรายได้เพิ่มขึ้นเช่นกัน อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องจับตามองปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ในวิกฤตนี้ เช่นในญี่ปุ่นที่ COVID-19 กำลังกลับมาระบาดรุนเเรงอีกครั้ง

 

 

ที่มา : Reuters , wwd 

]]>
1329060
ยอดขายกลุ่ม ‘LVMH’ ไตรมาสแรกโต 30% ได้อานิสงส์ตลาด ‘จีน-อเมริกา’ ช่วยดัน https://positioningmag.com/1327837 Thu, 15 Apr 2021 06:01:17 +0000 https://positioningmag.com/?p=1327837 ยอดขายสินค้าของกลุ่ม ‘LVMH’ แบรนด์สินค้าลักชัวรี่กลับมาเร็วกว่าที่คาดไว้ จากที่ปี 2020 ต้องติดลบ -16% เนื่องจากพิษการระบาดของไวรัส COVID-19 โดยกลุ่มที่เป็นตัวสร้างการเติบโตจะเป็นกระเป๋า ‘Louis Vuitton’ และสินค้าจากแบรนด์ ‘Dior’ โดยมีผู้ซื้อชาวจีนและสหรัฐฯ เป็นตัวช่วยดัน

การหยุดชะงักของการท่องเที่ยวระหว่างประเทศที่เกิดขึ้นจากการระบาดของไวรัส COVID-19 ทำให้ร้านสินค้าลักชัวรี่ต่าง ๆ ต้องปิดลงชั่วคราว รวมถึงสภาวะเศรษฐกิจที่ทำให้เกิดความกังวลถึงกำลังซื้อของผู้บริโภคว่าจะลดลงจนผู้บริโภคอาจไม่อยากใช้จ่ายซื้อสินค้าระดับไฮเอนด์

แน่นอนว่ากลุ่ม ‘LVMH’ ซึ่งเป็นบริษัทที่ใหญ่ที่สุดในด้านสินค้าลักชัวรี่โดยเป็นเจ้าของแบรนด์มากกว่า 70 แบรนด์ได้รับผลกระทบ โดยในปี 2020 ยอดขายของกลุ่มลดลง -16% แต่ช่วงไตรมาสแรกปี 2021 LVMH มียอดขาย 14 พันล้านยูโร (16.70 พันล้านดอลลาร์) เติบโต 30% สูงกว่าเกือบสองเท่าจากที่นักวิเคราะห์คาดไว้ว่าจะเติบโตเพียง 17% และเมื่อเทียบกับไตรมาสแรกของปี 2019 ที่ยังไม่มีการระบาด LVMH เติบโตเพียง 8%

ยอดขายในเอเชียยกเว้นญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น 86% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว และในสหรัฐอเมริกาซึ่งกำลังออกโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหญ่ก็ทำให้รายได้เพิ่มขึ้น 23% แต่ตรงกันข้ามกับฝั่งยุโรปที่ยังลดลง -9% เนื่องจากบางประเทศ อาทิ ฝรั่งเศสและอิตาลีได้ออกมาตรการล็อกดาวน์ครั้งใหม่เพื่อควบคุมอัตราการติดเชื้อที่เพิ่มขึ้น

ที่น่าสนใจคือ ร้านค้าทั่วเอเชียเปิดให้บริการตั้งแต่ฤดูใบไม้ผลิที่ผ่านมา แต่ลูกค้ากลุ่มหรูเริ่มซื้อสินค้าราคาแพงทางออนไลน์มากขึ้นเช่นกันแม้จะยังมีสัดส่วนเล็กน้อยก็ตาม โดยล่าสุด Louis Vuitton ได้เริ่มขายผ่านอีมาร์เก็ตเพลสของ JD.com ในประเทศจีน นอกเหนือจากการขายบนเว็บไซต์ของตัวเอง

“ไม่มีอะไรมาแทนที่การเข้าชมร้านค้า แต่เราสามารถเพิ่มโอกาสโดยให้ลูกค้ามาดูสินค้าก่อนในออนไลน์” หัวหน้าฝ่ายการเงิน Jean-Jacques Guiony กล่าว

voguebusiness / reuters

]]>
1327837