อุตสาหกรรมการบิน – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 28 Nov 2023 09:21:37 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 “Virgin Atlantic” สายการบินแรกที่จะบินข้ามแอตแลนติกด้วย “น้ำมัน SAF” 100% https://positioningmag.com/1453619 Tue, 28 Nov 2023 04:36:48 +0000 https://positioningmag.com/?p=1453619 “Virgin Atlantic” เตรียมตัวเป็นสายการบินแรกของโลกที่จะบินข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกโดยใช้ “น้ำมัน SAF” เป็นตัวขับเคลื่อนเครื่องยนต์ 100%

เที่ยวบินนี้จะออกจากสนามบินฮีทโธรว์ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ไปยังสนามบิน JFK นครนิวยอร์ก สหรัฐฯ เวลา 11:30 GMT ของวันที่ 28 พฤศจิกายน 2023 (ตรงกับเวลา 18:30 น. ในไทย)

น้ำมัน “SAF” หรือ Sustainable Aviation Fuels เป็นนวัตกรรมเชื้อเพลิงอากาศยานแบบยั่งยืน มีเป้าหมายเพื่อหาสิ่งทดแทนเชื้อเพลิงจากฟอสซิลซึ่งปล่อยคาร์บอนสูง น้ำมัน SAF จะผลิตจากสิ่งเหลือใช้ เช่น น้ำมันทำอาหารใช้แล้ว เศษอาหาร เศษพืช ทำให้ลดการปล่อยคาร์บอนลงได้ 80% จากน้ำมันฟอสซิลปกติในขั้นตอนการผลิตน้ำมัน

สำหรับไฟลท์ทดลองนี้จะบินโดยเครื่องบิน Boeing 787 บรรทุกน้ำมัน SAF 50 ตัน โดยส่วนผสมที่ใช้ 88% มาจากขยะไขมัน อีก 12% มาจากเศษข้าวโพดที่เหลือทิ้งในภาคการผลิตของสหรัฐฯ

โครงการทดลองนี้มีอีกหลายฝ่ายเข้ามาร่วมสนับสนุน ได้แก่ “Rolls-Royce” ผู้ผลิตเครื่องยนต์เครื่องบิน และ “BP” ยักษ์ใหญ่ด้านพลังงาน ซึ่งจากการทดสอบและวิเคราะห์หลายครั้ง ในที่สุด Virgin Atlantic ก็ได้รับอนุญาตจากสำนักงานการบินพลเรือนแห่งสหราชอาณาจักรให้ขึ้นบินได้เมื่อต้นเดือนนี้เอง

ที่ผ่านมาน้ำมัน SAF เริ่มมีการใช้งานในเครื่องบินต่างๆ บ้างแล้ว แต่มักจะเป็นการผสมปริมาณน้อยเข้ากับน้ำมันฟอสซิลปกติมากกว่า ทำให้เมื่อเทียบเป็นสัดส่วนแล้ว วงการการบินยังใช้น้ำมัน SAF แค่เพียง 1% ของการใช้เชื้อเพลิงทั้งหมด

เหตุที่ยังมีการใช้น้อยเพราะ “ราคา” ยังสูงกว่าน้ำมันฟอสซิลมากเนื่องจากผลิตได้น้อย และองค์กรกำกับการบินทั่วโลกมักจะอนุญาตให้ผสมเข้ากับน้ำมันฟอสซิลในสัดส่วนไม่เกิน 50% ด้วยเหตุนี้เราคงยังไม่ได้เห็นการเปลี่ยนมาใช้ SAF แทนน้ำมันปกติได้เร็วนัก

ในประเทศไทยเองก็มีความเคลื่อนไหวด้านน้ำมัน SAF โดยบริษัท ปตท.น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR เพิ่งจะลงนามเอ็มโอยูกับ “การบินไทย” เพื่อนำน้ำมัน SAF ไปใช้ในเที่ยวบินนำร่องของการบินไทยด้วย

Source

อ่านเรื่องอื่นๆ เพิ่มเติม

]]>
1453619
CEO ของ Boeing เผย “ปัญหาใหญ่เวลานี้คือเรื่อง Supply Chain ทำให้การผลิตเครื่องบินไม่ทันความต้องการ” https://positioningmag.com/1446194 Fri, 29 Sep 2023 07:21:17 +0000 https://positioningmag.com/?p=1446194 ผู้บริหารสูงสุดของ Boeing ได้ให้มุมมองเกี่ยวกับสถานการณ์ของบริษัทว่าความต้องการเครื่องบินยังมีสูงมากจากความต้องการที่อัดอั้นมานาน ไม่ว่าจะเป็น การท่องเที่ยว การเดินทาง ที่ยังเติบโต แต่บริษัทเองก็พบปัญหาเรื่อง Supply Chain ที่ทำให้การผลิตเครื่องบินไม่ทันด้วย

Dave Calhoun CEO ของ Boeing ได้ให้สัมภาษณ์พิเศษกับ CNBC ว่า โดยมองถึงความต้องการของเครื่องบินนั้นกลับมา จากอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่ยังกลับมาเติบโตได้ อย่างไรก็ดีเขาพบว่าปัญหาที่ทุกคนต้องเจอคือเรื่อง ห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ที่ยังไม่กลับมาเป็นปกติ ส่งผลต่อการผลิตกับบริษัท

เขาชี้ว่ายอดการสั่งซื้อรวมถึงความต้องการเครื่องบินของบริษัทนั้นแข็งแกร่งเท่าที่เคยเห็นมาในชีวิตการทำงานของเขาขณะเดียวกันเขาก็ยังกล่าวว่าความต้องการที่อัดอั้นมานาน (Pent Up Demand) นั้นกำลังกลับมาอีกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการเดินทาง การท่องเที่ยว

หัวเรือใหญ่ของ Boeing ได้กล่าวว่า “ปัญหาที่เราทุกคนกำลังต่อสู้อยู่คือ Supply Chain จะฟื้นคืนความยืดหยุ่นที่เคยมีมาก่อนการแพร่ระบาดของโควิดได้อย่างไร เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการเหล่านี้ได้”

ตัวเลขในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา Boeing สามารถส่งมอบเครื่องบินได้เพียง 35 ลำ ลดลงจากเดือนกรกฎาคมซึ่งอยู่ที่ 43 ลำ โดยบริษัทได้ให้เหตุผลถึงเรื่อง Supply Chain ทำให้บริษัทไม่สามารถเพิ่มกำลังการผลิตได้มากไปกว่านี้

สอดคล้องกับมุมมองของ CEO บริษัทให้เช่าเครื่องบินรายใหญ่อย่าง Aercap ที่กล่าวในเดือนสิงหาคมโดยมองว่าความต้องการเครื่องบินยังสูง แต่ปัญหาคือผู้ผลิตเครื่องบินซึ่งรวมถึง Boeing ไม่สามารถส่งมอบเครื่องบินได้ทันกับความต้องการ และสายการบินอาจต้องใช้เครื่องบินรุ่นเก่าไปอีกสักระยะ

ความกังวลเรื่องของเครื่องบินที่ประกอบในประเทศจีนอย่าง Comac C919 ที่อาจกลายเป็นคู่แข่ง CEO ของ Boeing มองว่าเครื่องบินรุ่นดังกล่าวต้องใช้เวลาอีกยาวนานกว่าจะกลายเป็นคู่แข่งสำคัญของบริษัท และถ้ามองว่าเครื่องบินจากจีนขึ้นมาเป็นคู่แข่งจริงๆ เขาก็มองว่าไม่ใช่เรื่องเลวร้ายด้วยซ้ำ เนื่องจากความต้องการท่องเที่ยวยังสูงไปจนถึงปี 2050

เมื่อ CEO ของ Boeing ได้ถูกถามเกี่ยวกับความกลัวที่จะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย เขากล่าวว่าความกังวลเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นจริงในอุตสาหกรรมการบิน ขณะที่เรื่องความกังวลด้านภูมิรัฐศาสตร์รอบๆ ประเทศจีน เขาหวังว่าเรื่องดังกล่าวจะเริ่มคลี่คลายลงเล็กน้อย และมองว่าอุตสาหกรรมการบินในจีนจะกลับมาได้

]]>
1446194
บริษัทให้เช่าเครื่องบินรายใหญ่สุดของโลก ชี้ “สายการบินยังต้องการเครื่องบินจำนวนมาก แต่ปัญหาคือผลิตได้ไม่ทัน” https://positioningmag.com/1439686 Thu, 03 Aug 2023 05:39:56 +0000 https://positioningmag.com/?p=1439686 Aercap บริษัทให้เช่าเครื่องบินโดยสารรายใหญ่ที่สุดในโลก ชี้ว่า ปริมาณการเช่าเครื่องบินจากสายการบินยังแข็งแกร่ง อย่างไรก็ดีปัญหาจากการผลิตเครื่องยนต์รวมถึงการผลิตเครื่องบินล่าช้า ทำให้ปัญหาเหล่านี้จะยังมีอยู่ต่อไปอีกสักพัก และเราจะใช้เครื่องบินรุ่นเก่าที่นานขึ้น

Aengus Kelly ซึ่งเป็น CEO ของ Aercap ได้กล่าวว่า บริษัทเห็นความต้องการอันแข็งแกร่งจากสายการบิน ขณะเดียวกันเขาคาดว่าการขาดแคลนเครื่องบินใหม่ของสายการบินหรือแม้แต่บริษัทให้เช่าเครื่องบินจะคงอยู่ไปอีกหลายปี และนั่นหมายความว่าสายการบินต่างๆ จะใช้เครื่องบินรุ่นเก่านานขึ้น

เขายังกล่าวเสริมว่าบริษัทมีความกังวลถึงการส่งมอบเครื่องบิน ซึ่งปัญหาดังกล่าวเริ่มต้นขึ้นในปี 2019 ที่ผ่านมา หลังจากที่ Boeing ต้องจอดเครื่องบินรุ่น 737 MAX จากปัญหาด้านความปลอดภัย ขณะเดียวกันหลังจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 บริษัทผลิตเครื่องบินได้ลดจำนวนการผลิตเครื่องบินลง

นอกจากนี้ CEO ของ Aercap ยังได้กล่าวถึงปัญหาอื่นๆ ในช่วงนี้คือวัสดุที่ผลิตเครื่องยนต์ของ Pratt & Whitney มีปัญหาเรื่องคุณภาพ ยิ่งทำให้การผลิตเครื่องบินนั้นส่งมอบได้ล่าช้ามากกว่าเดิม ขณะเดียวกันด้านการบำรุงรักษาและซ่อมแซมก็เผชิญกับปัญหาไม่ว่าจะเป็นการขาดแคลนแรงงานและงานค้างยาว ซึ่งปัญหาเหล่านี้ยิ่งทำให้เครื่องที่พร้อมบินได้มีจำนวนไม่ได้เพิ่มมากนัก

เขาได้กล่าวว่า “สายการบินรู้ว่าปัญหาด้านอุปทานจะยังคงมีอยู่ต่อไป” ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าเราอาจต้องนั่งเครื่องบินรุ่นเดิม หรือแม้แต่ปัญหาค่าโดยสารของเครื่องบินที่แพงแล้ว อาจยังไม่เห็นราคาลดลงมาในเร็วๆ นี้ด้วยซ้ำ

ปัจจุบัน Aercap มูลค่าบริษัท 14,727 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นเงินไทยราวๆ 508,361 ล้านบาท มีเครื่องบินรวมถึงเฮลิคอปเตอร์ให้เช่ามากถึง 3,500 ลำ ขณะเดียวกันบริษัทยังให้บริการเช่าเครื่องยนต์ของเครื่องบินโดยสารอีกด้วย เครื่องบินที่มีสัดส่วนมากที่สุดในบริษัทคือ Airbus A320 รองลงมาคือ Boeing 787

ลูกค้ารายสำคัญของ Aercap มีทั้งสายการบินในสหรัฐอเมริกาอย่าง American Airlines สายการบินในเอเชียไม่ว่าจะเป็น AirAsia หรือแม้แต่สายการบินในประเทศไทยเองอย่าง Nok Air หรือแม้แต่การบินไทย ก็เป็นลูกค้าที่เช่าเครื่องบินจากบริษัทนี้ทั้งนั้น

]]>
1439686
‘AirAsia’ ฟัน ‘โอมิครอน’ ก็หยุดการเดินทางไม่ได้ คาดตลาดกลับสู่ก่อนการระบาดภายใน 6 เดือนหลังพรมแดนเปิด https://positioningmag.com/1370003 Tue, 11 Jan 2022 07:05:16 +0000 https://positioningmag.com/?p=1370003 ตั้งเเต่มีวัคซีนป้องกัน COVID-19 อุตสาหกรรมการบินก็เหมือนจะกลับมาสดใสอีกครั้ง แต่ก็สดใสได้ไม่นานโลกก็เจอกับ COVID-19 สายพันธุ์ โอมิครอน (Omicron) ที่ปัจจุบันแทบจะแทนที่สายพันธุ์เดลตา (Delta) ที่เคยเป็นสายพันธุ์หลักไปก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม CEO ของ AirAsia (แอร์เอเชีย) ก็มองว่าอุตสาหกรรมการบินจะยังไปได้ แม้โอมิครอนจะระบาดก็ตาม

โทนี่ เฟอร์นันเดส ผู้บริหารระดับสูงของแอร์เอเชีย กล่าวว่า การเดินทางระหว่างประเทศมีแนวโน้มที่จะฟื้นตัวในไม่ช้า แม้ว่าจะมีการระบาดของ โอมิครอน ที่มาชะลอตัวก็ตาม โดยเขาคาดว่าการเปิดพรมแดนจะกลับมาอีกครั้งในช่วงเดือนมีนาคมนี้ และเชื่อว่า ปริมาณการเดินทางจะกลับสู่ระดับก่อนที่ COVID-19 ระบาดภายใน 6 เดือนหลังเปิดพรมแดน

“ผมเชื่อว่าเราอยู่ที่จุดเริ่มต้นของจุดจบ ผมสังเกตว่าการฟื้นตัวได้เริ่มอย่างจริงจังเเล้ว โดยสิ่งที่ปีที่เเล้วไม่มีคือ เราไม่มีเครื่องบินบิน แต่ตอนนี้เรามีฝูงบินจำนวนมากในประเทศมาเลเซีย, ไทย และอินโดนีเซีย ซึ่งเราเห็นความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้นมาก” โทนี่ เฟอร์นันเดส กล่าวกับ Squawk Box Asia

หลังจากที่มีการประกาศเกี่ยวกับการเดินทางปลอดการกักกันในเอเชียเมื่อปีที่แล้ว หลายประเทศรวมถึงไทยและอินเดียได้ยกเลิกสถานะการจำกัดการเดินทางมาถึงบางประเทศ เนื่องจากการมาของสายพันธุ์โอมิครอน ทำให้หลายประเทศต้องเพิ่มมาตรการป้องกัน ส่วนประเทศ ‘จีน’ เฟอร์นันเดส มองว่ายังคงเป็นคำถามใหญ่ เพราะจีนยังคงดำเนินนโยบาย Zero COVID มีการปิดประเทศ

โทนี่ เฟอร์นันเดส ผู้บริหารระดับสูงของแอร์เอเชีย

ในส่วนของบริการ airasia super apps ของแอร์เอเชียที่ให้บริการส่งคน, ส่งของ, ส่งอาหาร เฟอร์นันเดส กล่าวว่า ธุรกิจบริการของบริษัททำได้ดีอย่างเหลือเชื่อและเหนือความคาดหมายอย่างมากนับตั้งแต่เปิดตัวในเดือนสิงหาคม 2021 โดยกลยุทธ์ที่แอร์เอเชียใช้กับแพลตฟอร์มดังกล่าวนั้น “เหมือนกันทุกประการ” กับกลยุทธ์ที่ใช้เมื่อตอนที่บริษัทเข้าสู่ตลาดสายการบินราคาประหยัดเมื่อหลายปีก่อน ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงส่งผลให้ราคาผู้บริโภคถูกลง

โดยในฐานะผู้เข้าแข่งขันรายล่าสุด AirAsia Ride สามารถสังเกตได้ว่าโมเดลใดที่ประสบความสำเร็จ และไม่ต้องใช้เงินจำนวนมากในการวิจัย หรือการพัฒนาเทคโนโลยี นอกจากนี้ยังได้เข้าซื้อกิจการส่วนหนึ่งของบริษัทสตาร์ทอัพ Gojek ในประเทศไทยอีกด้วย

Source

]]>
1370003
สนามบินที่ดีที่สุดในโลก 2021 : “ฮามัด” กรุงโดฮา ครองอันดับ 1 โค่นแชมป์เก่า “ชางงี” สิงคโปร์ https://positioningmag.com/1345898 Mon, 09 Aug 2021 12:32:46 +0000 https://positioningmag.com/?p=1345898 Skytrax จัดอันดับ “สนามบิน” ที่ดีที่สุดในโลกเป็นประจำทุกปี โดยปี 2021 สนามบิน “ฮามัด” กรุงโดฮา ประเทศกาตาร์ ขึ้นมาเป็นอันดับ 1 โค่นแชมป์เก่าที่ครองบัลลังก์มานานเกือบทศวรรษอย่าง “ชางงี” สิงคโปร์ สำเร็จ

การสำรวจนี้จะเก็บข้อมูลจากนักเดินทางทั่วโลกระหว่างเดือนสิงหาคม 2020 – กรกฎาคม 2021 โดยความเป็นสนามบิน “ที่ดีที่สุด” วัดจากประสบการณ์ในสนามบินหลายด้าน เช่น ความสะดวกในการเช็กอินถึงเข้าเกท การเดินทางขาเข้า การเปลี่ยนเครื่อง ช้อปปิ้ง รักษาความปลอดภัย ตรวจคนเข้าเมือง ความสะอาด ร้านอาหาร ไวไฟ ฯลฯ และปีนี้เพิ่มประเด็นการจัดการกับ COVID-19 ไว้ด้วย

สำหรับ 10 สนามบินที่ดีที่สุดในโลกปี 2021 ได้แก่

  1. สนามบินฮามัด กาตาร์ (HIA)
  2. สนามบินฮาเนดะ ญี่ปุ่น (HND)
  3. สนามบินชางงี สิงคโปร์ (SIN)
  4. สนามบินอินชอน เกาหลีใต้ (ICN)
  5. สนามบินนาริตะ ญี่ปุ่น (NRT)
  6. สนามบินมิวนิค เยอรมนี (MUC)
  7. สนามบินซูริค สวิตเซอร์แลนด์ (ZRH)
  8. สนามบินฮีทโธรว์ อังกฤษ (LHR)
  9. สนามบินคันไซ ญี่ปุ่น (KIX)
  10. สนามบินฮ่องกง ฮ่องกง (HKG)
สนามบิน ชางงี
สนามบินชางงี (Photo : Shutterstock)

ปีที่ผ่านมาโลกต้องเผชิญกับโรคระบาด COVID-19 อย่างต่อเนื่อง การเดินทางโดยเครื่องบินลดลงอย่างมาก ทำให้ทาง Skytrax มีการจัดเซอร์เวย์พิเศษภายใต้หัวข้อเดียวควบคู่ไปด้วย คือ สนามบินที่มีระเบียบบริหารจัดการด้านสุขภาพและสุขอนามัยที่ดี ซึ่งไม่ได้มีการจัดอันดับ แต่ประกาศชื่อสนามบิน 39 แห่งที่ดูแลด้านสุขอนามัยได้ดี เช่น สนามบินดูไบ สนามบินชางงี สนามบินจาการ์ตาซีเคจี สนามบินซิดนีย์ ฯลฯ (สนามบินสุวรรณภูมิไม่ติดลิสต์การสำรวจนี้)

Skytrax ยังมีรางวัลย่อยด้านอื่นๆ ด้วย เช่น สนามบินที่พัฒนามากที่สุดตกเป็นของสนามบินอิสตันบูล ตุรกี, สนามบินที่รักษาความปลอดภัยดีที่สุดคือสนามบินอินชอน หรือสนามบินระดับภาคที่ดีที่สุดคือสนามบินเซ็นแทรร์ นาโกย่า ญี่ปุ่น

Source

]]>
1345898
AAV ดึงทุนใหม่ 3,150 ล้าน เเลกปรับโครงสร้างกิจการ นำ ‘ไทยเเอร์เอเชีย’ ขายหุ้น IPO ระดมทุน https://positioningmag.com/1329569 Tue, 27 Apr 2021 10:36:10 +0000 https://positioningmag.com/?p=1329569 AAV เเก้เกมพิษโควิดสะเทือนการบิน หลังโดนรัฐ-เเบงก์เมินให้เงินกู้ เตรียมดึงทุนใหม่ให้สินเชื่อ 3,150 ล้านบาท เเลกกับการปรับโครงสร้างกิจการ จ่อนำไทยเเอร์เอเชียเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ ขาย IPO ระดมทุน 135.20 ล้านหุ้น 

บริษัท เอเชีย เอวิชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ AAV รายงานตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทเมื่อวันที่ 26 เม.. 2564 มีมติอนุมัติแผนการปรับโครงสร้างกิจการและทุนของบริษัท และบริษัทย่อย (บริษัท ไทยแอร์เอเชีย จำกัด)

โดยที่ผ่านมา บริษัทมีการปรับแผนธุรกิจหลายอย่าง ทั้งการลดเวลาการทำงานของพนักงาน ปรับโครงสร้างจำนวนพนักงานให้เหมาะสม รวมถึงการลดต้นทุนและค่าใช้จ่าย 

อย่างไรก็ตาม การดำเนินการดังกล่าว ยังไม่สามารถทำให้บริษัทหลุดพ้นจากผลกระทบของโควิด-19 เนื่องจากรายได้จากค่าโดยสารนั้น ลดลงอย่างมากตั้งแต่ต้นปี 2563 เเละสถานการณ์ตอนนี้ก็ยังไม่คลี่คลาย มีการระบาดหนักกว่าครั้งที่ผ่านมา

ประกอบกับ บริษัทยังไม่ได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากสถาบันการเงิน เเละยังไม่ได้รับการช่วยเหลือจากมาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan) จากภาครัฐแต่อย่างใด 

Photo : Shutterstock

ช่วงต้นปีที่ผ่านมา AAV ได้ติดต่อนักลงทุน เพื่อขอรับการสนับสนุนทางการเงิน เพิ่มสภาพคล่องให้แก่บริษัททั้งในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว เพื่อใช้ในการดำเนินธุรกิจต่อไป เเต่การดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งการสนับสนุนทางการเงินนั้น บริษัทต้องดำเนินการปรับโครงสร้างกิจการ เพื่อทำให้กิจการมีความน่าสนใจต่อการลงทุนของนักลงทุน สรุปขั้นตอนได้ดังนี้

ออกหุ้นกู้แปลงสภาพ ดึงทุนใหม่

การให้สินเชื่อโดยนักลงทุนใหม่ (ซึ่งไม่ใช่บุคคลที่เกี่ยวโยงกันของบริษัทฯ และไทยแอร์เอเชีย) จะให้สินเชื่อแก่ ไทยแอร์เอเชีย สูงสุดไม่เกิน 3,150 ล้านบาท โดยไม่คิดดอกเบี้ย ทั้งนี้การให้สินเชื่อจะอยู่ในรูปของสัญญาเงินกู้แปลงสภาพ หรือหุ้นกู้แปลงสภาพ โดยไม่มีส่วนลด (Zero Coupon issued at 100% Nominal Value) แล้วแต่กรณี

โดยนักลงทุนสามารถใช้สิทธิแปลงสภาพสัญญาเงินกู้ หรือหุ้นกู้ เป็นหุ้นสามัญของไทยแอร์เอเชียได้ภายในระยะเวลา และตามราคาที่ตกลงกัน ซึ่งในเบื้องต้นสัญญาเงินกู้แปลงสภาพ หรือหุ้นกู้แปลงสภาพ แล้วแต่กรณี

คาดว่าจะมีระยะเวลาประมาณ 3 ปี นับจากวันได้รับเงินกู้ ระยะเวลาแปลงสภาพ คาดว่าจะเป็นภายหลังจากที่ไทยแอร์เอเชียได้รับอนุมัติให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อประชาชนเป็นครั้งแรก (IPO) และราคาแปลงสภาพคาดว่าจะมีมูลค่าเงินต้นประมาณ 3,150 ล้านบาท สามารถแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญของไทยแอร์เอเชียได้ที่ราคา 20.3925 บาทต่อหุ้น (มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 0.5 บาท)

“เมื่อเงื่อนไขการแปลงสภาพเกิดขึ้นสถานะของนักลงทุนใหม่ จะเปลี่ยนจากเจ้าหนี้เป็นผู้ถือหุ้นของไทยแอร์เอเชีย” 

อย่างไรก็ดี หากเงื่อนไขการแปลงสภาพไม่เกิดขึ้น ไม่ว่าด้วยเหตุอันใดนักลงทุนใหม่ก็จะถือสัญญาเงินกู้แปลงสภาพ หรือหุ้นกู้แปลงสภาพต่อไปในฐานะเจ้าหนี้ และรับคืนเงินไถ่ถอนสัญญาเงินกู้แปลงสภาพ หรือหุ้นกู้แปลงสภาพ ซึ่งประกอบด้วยเงินต้นบวกดอกเบี้ยสะสมประมาณ 3% ต่อปี นับแต่วันได้รับเงินต้น ณ วันครบกำหนดสัญญาเงินกู้แปลงสภาพ หรือหุ้นกู้แปลงสภาพ แล้วแต่กรณี

โดยนักลงทุนใหม่อยู่ในระหว่างขั้นตอนการตรวจสอบกิจการของไทยแอร์เอเชีย (Due Diligence) คาดว่าจะแล้วเสร็จไม่เกินกลางเดือนพฤษภาคม 2564 

(Photo by Ezra Acayan/Getty Images)

นำ ‘ไทยแอร์เอเชีย’ เข้าตลาดหุ้นแทน AAV 

จากการหารือกับนักลงทุนในหลายๆ โอกาส บริษัทเห็นว่า นักลงทุนประสงค์จะลงทุนในไทยแอร์เอเชียมากกว่าการลงทุนผ่านการถือหุ้นใน AAV เนื่องจากไทยแอร์เอเชียเป็นบริษัทที่มีการประกอบธุรกิจ (Operating Company) และได้รับใบอนุญาตต่างๆ ในการให้บริการสายการบินโดยตรง

เเละเพื่อให้ผู้ถือหุ้นของ AAV สามารถเป็นผู้ถือหุ้นของไทยแอร์เอเชียได้โดยตรง บริษัทเห็นว่าที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทสมควรมีมติให้เลิกกิจการและชำระบัญชีของบริษัท เพื่อที่บริษัทจะได้สามารถนำทรัพย์สินของบริษัท กล่าวคือ หุ้นไทยแอร์เอเชีย ซึ่งบริษัทถืออยู่ในปัจจุบันจำนวนทั้งสิ้น 23,955,553 หุ้น (มูลค่าที่ตราไว้ ณ ปัจจุบันเท่ากับ 10 บาทต่อหุ้น) หรือ คิดเป็นร้อยละ 55 ของทุนชำระแล้วในปัจจุบันของไทยแอร์เอเชีย มาจัดสรรให้แก่ผู้ถือหุ้นของบริษัทตามสัดส่วนการถือหุ้น

เมื่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทมีมติอนุมัติแผนการปรับโครงสร้างกิจการในครั้งนี้ ไทยแอร์เอเชียจะรีบดำเนินการหารือกับสำนักงาน ก.ล.ต., ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เกี่ยวกับแผนการปรับโครงสร้างกิจการ และจัดเตรียมเอกสารการขออนุญาต แบบแสดงรายการข้อมูล หลักทรัพย์ และร่างหนังสือชี้ชวน เพื่อยื่นขออนุญาตเสนอขายหุ้นไทยแอร์เอเชียต่อประชาชนเป็นครั้งแรกต่อสำนักงาน ก.ล.ต. ต่อไป คาดใช้เวลาทั้งสิ้นประมาณ 6 เดือน 

สำหรับการแปลงหนี้สินของไทยแอร์เอเชียบางส่วนเพื่อลดภาระหนี้สินของไทยแอร์เอเชีย หากแผนการนำไทยแอร์เอเชียเข้าจดทะเบียนเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ สำเร็จ

เจ้าหนี้รายใหญ่ของไทยแอร์เอเชีย กล่าวคือ บริษัท แอร์เอเชีย อินเวสเมนท์ ลิมิเต็ด ซึ่งปัจจุบันถือหุ้นอยู่ในไทยแอร์เอเชียจำนวนประมาณ 19,600,000 หุ้น (มูลค่าที่ตราไว้ ณ ปัจจุบันเท่ากับ 10 บาทต่อหุ้น) หรือเท่ากับจำนวน 392,000,000 หุ้น (มูลค่าที่ตราไว้ที่จะเปลี่ยนแปลงไปเป็นเท่ากับ 0.5 บาทต่อหุ้น) หรือคิดเป็นร้อยละ 45 ของทุนชำระแล้วในปัจจุบันของไทยแอร์เอเชีย จะต้องแปลงหนี้สินทั้งหมดซึ่งเป็นหนี้เงินกู้ที่จะใช้ชำระหนี้ จำนวนไม่เกิน 3,900 ล้านบาท เป็นทุน และสามารถแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญของไทยแอร์เอเชียได้ที่ราคา 20.3925 บาทต่อหุ้น

โดยการจัดสรรหุ้นใหม่ทั้งหมดของไทยแอร์เอเชีย และการคืนทรัพย์สินของบริษัทฯ (หุ้นในไทยแอร์เอเชียให้แก่ผู้ถือหุ้นของบริษัท) ในช่วงเวลา IPO หรือใกล้เคียงกับช่วงเวลา IPO คาดว่าจะเป็นดังนี้

  • หุ้นซึ่งบริษัทถืออยู่ในไทยแอร์เอเชียมาแจกจ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ ตามสัดส่วนการถือหุ้น (ซึ่งเป็นขั้นตอนของการชำระบัญชีเพื่อเลิกกิจการของบริษัทฯ จำนวน 479,111,060 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 0.50 บาท คิดเป็น 55% ของทุนชำระแล้วในปัจจุบันของไทยแอร์เอเชีย ในอัตราการ คืน หุ้นเท่ากับ 1 หุ้นของบริษัท ต่อ 0.098785 หุ้นของไทยแอร์เอเชีย ซึ่งเป็นขั้นตอนของการชำระบัญชีเพื่อเลิกกิจการของบริษัท
  • การออกหุ้นใหม่ของไทยแอร์เอเชียให้แก่นักลงทุนใหม่ตามสัญญาเงินกู้แปลงสภาพ หรือหุ้นกู้แปลงสภาพ แล้วแต่กรณี ตามเงื่อนไขการแปลงสภาพ เมื่อเงื่อนไขการแปลงสภาพเกิดขึ้น บริษัทฯ จะจัดสรรหุ้นจำนวนทั้งสิ้นไม่เกิน 154,468,555 หุ้น คิดเป็น 11.4% ของหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของไทยแอร์เอเชีย (หลังเพิ่มทุน) ให้แก่นักลงทุนใหม่ (หุ้นที่ออกใหม่ทั้งหมดจำนวน 480,918,287หุ้น)
  • การแปลงหนี้สินของเจ้าหนี้รายใหญ่ของไทยแอร์เอเชียเป็นทุน ซึ่งอาจอยู่ในรูปแบบของ 1.การจัดสรรหุ้นให้แก่เจ้าหนี้รายใหญ่ตามสัญญาเงินกู้แปลงสภาพ หรือหุ้นกู้แปลงสภาพ แล้วแต่กรณี ตามเงื่อนไขการแปลงสภาพ

โดยการออกหุ้นใหม่เพื่อชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้รายใหญ่ตามโครงการแปลงหนี้เป็นทุนตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ. บริษัทมหาชน จำกัด พ.ศ. 2535 จำนวนทั้งสิ้นไม่เกิน 191,246,782 หุ้น (คิดเป็น 14.1% ของหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของไทยแอร์เอเชีย (หลังเพิ่มทุน) ที่ราคาแปลงหนี้สิน 20.3925 บาทต่อหุ้น ซึ่งเป็นราคาเดียวกันกับราคาของการทำาธุรกรรมอื่นในแผนการปรับโครงสร้างกิจกาจในครั้งนี้

ทั้งนี้ รูปแบบการแปลงหนี้สินของเจ้าหนี้รายใหญ่ของไทยแอร์เอเชียเป็นทุนยังอยู่ในระหว่างการเจรจากับเจ้าหนี้รายใหญ่ และอาจต้องหารือกับสำนักงาน ก.ล.ต. เพิ่มเติม รวมทั้งอาจต้องขอผ่อนผันหลักเกณฑ์การอนุญาตที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ไทยแอร์เอเชียสามารถดำเนินกิจการต่อไปได้

ระดมทุน IPO ไม่เกิน 135.20 ล้านหุ้น

ด้านเสนอขายและจัดสรรหุ้นที่ออกใหม่ของไทยแอร์เอเชียต่อประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) จำนวนทั้งสิ้นไม่เกิน 135,202,950 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 0.50 บาท (คิดเป็น 10.0% ของหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของไทยแอร์เอเชีย (หลังเพิ่มทุน) ที่ราคาหุ้นออกใหม่ 20.3925 บาทต่อหุ้น

ภายใต้กรอบและหลักเกณฑ์ของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

1.หุ้นจำนวนทั้งสิ้นไม่เกิน 68,354,472 หุ้น (คิดเป็น 5.1% ของหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของไทยแอร์เอเชีย (หลังเพิ่มทุน) ให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมของบริษัทฯ (Pre-Emption Offering) ตามสัดส่วนการถือหุ้น และเป็นผู้ถือหุ้นที่มีรายชื่อปรากฏอยู่ในสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ ณ วันกำหนดรายชื่อผู้ถือหุ้น (Record Date) ตามที่คณะกรรมการของบริษัทฯ หรือบุคคลที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการของบริษัทฯ จะเป็นผู้กำหนดต่อไป

2.หุ้นจำนวนทั้งสิ้นไม่เกิน 25,166,487หุ้น (คิดเป็น 1.9% ของหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของไทยแอร์เอเชีย (หลังเพิ่มทุน) ให้แก่บริษัท แอร์เอเชีย อินเวสเมนท์ ลิมิเต็ด

3.หุ้นจำนวนทั้งสิ้นไม่เกิน 41,681,991หุ้น และหุ้นในส่วนที่เหลือจากการจัดสรร (หากมี) จะเสนอขายและจัดสรรให้แก่บุคคลตามดุลยพินิจของผู้จัดจำหน่ายหลักทรัพย์

โดยรายละเอียดทั้งหมด อ่านได้ที่ https://www.set.or.th/set/pdfnews.do?newsId=16194806111421&sequence=0

 

]]>
1329569
“เซี่ยงไฮ้” เเซง “ลอนดอน” ขึ้นเป็นเมืองที่มีการ “เชื่อมต่อ” มากที่สุดในโลก กรุงเทพฯ ร่วง -81% หลุด TOP10  https://positioningmag.com/1308052 Fri, 27 Nov 2020 10:37:59 +0000 https://positioningmag.com/?p=1308052 เซี่ยงไฮ้เเซงหน้าลอนดอนผงาดขึ้นอันดับ 1 เมืองที่มีการเชื่อมต่อทางอากาศมากที่สุดในโลก หลัง COVID-19 สั่นสะเทือนธุรกิจการบิน ส่วนกรุงเทพฯ เเละฮ่องกง มีการเชื่อมต่อลดลงถึง -81% หลุดโผ TOP 10 

เผยดัชนีการเชื่อมต่อทางอากาศระหว่างเมืองทั่วโลก ประจำปี 2020 ซึ่งมีความสำคัญทั้งด้านเศรษฐกิจการค้าท่องเที่ยวเเละการลงทุน

โดยพบว่า การจัดอันดับของปีนี้มีการเปลี่ยนเเปลงอย่างมาก อันเป็นผลจากการปิดพรมเเดรระหว่างประเทศ เพื่อสกัดการเเพร่ระบาดของ COVID-19 ขณะเดียวกันก็ทำให้เกิดการเชื่อมต่อระหว่างเมืองภายในประเทศมากขึ้น

กรุงลอนดอนของอังกฤษ เคยเป็นเมืองที่มีการเชื่อมต่อมากที่สุดอันดับหนึ่งของโลก ในเดือนกันยายน ปี 2019 ล่าสุดมีการเชื่อมต่อลดลงถึง 67% ในเดือนกันยายนปี 2020 ร่วงลงไปอยู่อันดับ 8

ส่วนจีน ได้ขึ้นมาเป็นประเทศตัวท็อปเเทน เมื่อส่ง เซี่ยงไฮ้ ขึ้นเป็นที่ 1 เเละยังมีเมืองใหญ่ๆ ติดอันดับอีกอย่าง ปักกิ่ง กวางโจว และเฉิงตู

โดยการเดินทางเเละเศรษฐกิจของจีน “ฟื้นตัว” อย่างรวดเร็ว หลังเป็นชาติเเรกที่มีการติดเชื้อ COVID-19 เมื่อช่วงปลายปี 2019 ที่ผ่านมาจากมาตรการควบคุมโรคที่เข้มงวด

นครนิวยอร์กของสหรัฐฯ ที่เคยอยู่อันดับ 3 มีการเชื่อมต่อทางอากาศลดลง -66% หลุดตำเเหน่งจาก 10 อันดับแรก รวมไปถึงกรุงโตเกียวของญี่ปุ่นที่เคยอยู่อันดับ 5 มีการเชื่อมต่อลดลง -65%

ด้านกรุงเทพฯ เมืองหลวงของไทย ที่เคยอยู่อันดับ 7 มีการเชื่อมต่อลดลง -81%  ส่วนฮ่องกงที่เคยอยู่อันดับ 8 มีการเชื่อมต่อลดลง -81%  และกรุงโซลของเกาหลีใต้ที่เคยอยู่อันดับ 9 มีการเชื่อมต่อลดลง 69%  ทั้งหมดนี้ต่างหลุดจาก TOP 10 เช่นเดียวกัน ขณะที่ ทวีปแอฟริกา ประสบปัญหาการเชื่อมต่อทางอากาศลดลงรุนเเรงที่สุด คือ -93%

(Photo by Anusak Laowilas/NurPhoto via Getty Images)

IATA ระบุว่า การจัดอันดับ The World’s Most Connected City ในปีนี้ไม่มีผู้ชนะที่เเท้จริง มีเเต่ผู้ที่เจ็บน้อยกว่าเท่านั้น  เนื่องจากอันดับไม่ได้เปลี่ยนไปเพราะมีการเชื่อมต่อที่ดีขึ้น เเต่ดัชนีเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาของธุรกิจการบินทั่วโลกที่กำลังอยู่ในขั้นสาหัส

หากการเดินทางระหว่างประเทศกลับมาเหมือนเดิม เมืองใหญ่ที่เคยติด TOP 10 เหล่านี้ ส่วนใหญ่ก็กลับมาติดอันดับได้อีกในช่วงกี่ปีข้างหน้า

ปัญหาสำคัญอีกประการ คือในเครือข่ายอุตสาหกรรมสายการบิน ยังมีเเรงงานที่อยู่บนความเสี่ยงจะสูญเสียตำเเหน่งอีกหลายสิบล้านคน” โดยขณะนี้สนามบินหลายแห่ง ยังคงมีปริมาณผู้โดยสารลดลงกว่า 90% เเละยังต้องความหวังจากการพัฒนาวัคซีนที่จะเข้ามาช่วยภาคการท่องเที่ยวเเละเดินทาง

 

 

ที่มา : SimpleFlying , IOL Travel

]]> 1308052 Boeing ช้ำหนัก ปลดพนักงานรวม 3 หมื่นคน ภายในสิ้นปี 2021 รอธุรกิจการบินฟื้นตัวอีก 3 ปี https://positioningmag.com/1303572 Thu, 29 Oct 2020 07:18:13 +0000 https://positioningmag.com/?p=1303572 COVID-19 ทำให้การเดินทางทางอากาศทั่วโลกแทบจะหยุดนิ่ง สายการบินมีปัญหาทางการเงินล้มละละลายไปหลายเจ้า ต้องปลดพนักงาน ลดค่าใช้จ่าย รวมไปถึงชะลอยกเลิกคำสั่งซื้อเครื่องบินลำใหม่ด้วย

Boeing (โบอิ้ง) ผู้ผลิตเครื่องบินรายใหญ่ของโลกของสหรัฐฯ เผยผลประกอบการขาดทุนติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 4 จากผลกระทบการเเพร่ระบาดของ COVID-19 เเละคำสั่งห้ามนำเครื่องรุ่น 737 Max ขึ้นบินที่ทำให้ยอดขายทรุดหนักต่อเนื่อง

ย้อนไปเมื่อช่วงต้นปี 2020 ทาง Boeing ประกาศว่าจะปลดพนักงานล็อตใหญ่ 19,000 คน เเต่มาถึงตอนนี้ที่แนวโน้มยอดขายเครื่องบินยังไม่เเน่นอน ล่าสุดบริษัทต้องประกาศปลดพนักงาน รอบ 2” เพิ่มอีก 7,000 คน รวมกับพนักงานที่ลดลงตามปกติ จะลดลงทั้งสิ้น 30,000 คน คิดเป็น 19% ของจำนวนพนักงานที่มีก่อน COVID-19 โดยภายในสิ้นปี 2021 Boeing จะเหลือพนักงานราว 1.3 เเสนคน จากจำนวน 1.6 เเสนคน

เราจำเป็นที่จะต้องปรับให้เข้ากับความเป็นจริงของตลาดใหม่ และเปลี่ยนธุรกิจให้ยืดหยุ่นมากขึ้นในระยะยาว” Dave Calhoun ซีอีโอของ Boeing กล่าว เเละคาดว่า การเดินทางทางอากาศในปีนี้ จะอยู่ที่ประมาณ 30-35% เเละน่าจะกลับสู่ระดับก่อนโรคระบาด ในอีกประมาณ 3 ปีข้างหน้า

Boeing ขาดทุนต่อเนื่องมา 4 ไตรมาสแล้ว โดยล่าสุดไตรมาส 3 ของปีนี้ บริษัทขาดทุน 466 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนที่กำไรถึง 1,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนรายได้ใน 9 เดือนแรกของปี 2020 บริษัททำได้ 42,000 ล้านดอลลาร์ ลดลงกว่า 30%

Boeing

ซีอีโอ Boeing หวังว่า บริษัทจะได้รับการอนุมัติให้นำส่งเครื่องรุ่น 737 Max ภายในไตรมาส 4 ของปีนี้ หลังเกิดอุบัติเหตุที่เครื่องรุ่นดังกล่าวตกที่เอธิโอเปียและอินโดนีเซีย และทำให้มีการระงับการบินเครื่องรุ่นนี้มาตั้งแต่เดือนมีนาคมของปีที่แล้ว

เขาบอกกับนักวิเคราะห์ว่า ครึ่งหนึ่งของเครื่องบินในกลุ่ม MAX จำนวน 450 ลำที่ผลิตเสร็จแล้ว น่าจะมีการส่งมอบให้กับสายการบินที่เป็นลูกค้าได้ภายในสิ้นปีหน้า และส่วนที่เหลือราว 225 จะเริ่มทยอยนำส่งในปี 2022

 

ที่มา : BBC , Reuters

]]>
1303572
ฝืนไม่ไหว! Singapore Airlines ปลดพนักงาน 4,300 คน จำนวนมากที่สุดในประวัติศาสตร์บริษัท https://positioningmag.com/1296612 Fri, 11 Sep 2020 11:06:15 +0000 https://positioningmag.com/?p=1296612 พิษ COVID-19 สะเทือนสายการบินต่อเนื่อง ล่าสุดกลุ่ม Singapore Airlines ตัดสินใจปลดพนักงานกว่า 4,300 ตำแหน่ง หรือราว 20% ของพนักงานทั้งหมด ถือเป็นการปลดพนักงานจำนวนมากที่สุดในประวัติศาสตร์ของบริษัท

ก่อนหน้านี้ Singapore Airlines หรือ SIA Group อนุญาตให้พนักงานกว่า 6,000 คน จากทั้งหมด 2.7 หมื่นคน ตัดสินใจ “ลางานเเบบไม่รับเงิน” เพื่อช่วยเหลือบริษัทให้ก้าวผ่านวิกฤตนี้ไปให้ได้ ในจำนวนนี้กว่า 1,700 คน ทั้งนักบินเเละลูกเรือ ได้ลงทะเบียนเพื่อทำงานเป็นอาสาสมัครระยะสั้นและทำงานชั่วคราวในองค์กรอื่น

เเม้ช่วงเดือนที่ผ่านมา บริษัทยังคงอุ้มพนักงานทั้งหมดไว้ได้ เเต่มาถึงเดือนนี้ก็ฝืนยื้อต่อไปไม่ไหว เมื่ออุตสาหกรรมการบินยังไม่สามารถกลับมาทำการบินได้ตามปกติ โดยเฉพาะการบินระหว่างประเทศ ที่อาจจะต้องใช้เวลา 3-4 ปีกว่าจะฟื้นตัวกลับมาได้เท่าช่วงก่อนวิกฤต

โดยปัจจุบัน Singapore Airlines เปิดให้บริการได้เพียง 8% และคาดว่าเมื่อถึงสิ้นสุดปีงบการเงิน คือวันที่ 31 มี..ปีหน้า ก็จะยังให้บริการได้ไม่ถึง 50%

ขณะที่รายได้ส่วนใหญ่ของสายการบิน ต้องขึ้นอยู่กับเส้นทางต่างประเทศ ซึ่งเป็นเรื่องน่ากังวลเพราะ Singapore Airlines ไม่มีตลาดในประเทศ ซึ่งเป็นกลุ่มแรกที่มีเเนวโน้มฟื้นตัว

ด้วยปัจจัยลบทั้งหลาย ทำให้บริษัทจำเป็นต้องลดจำนวนพนักงาน 4,300 คน คิดเป็น 20% ของพนักงานที่มีอยู่ทั่วโลก ซึ่งเป็นการเลิกจ้างพนักงานในคราวเดียวจำนวนมากที่สุดในประวัติศาสตร์ของสายการบินนี้

Photo : Shutterstock

ก่อนหน้านี้ กลุ่ม SIA ได้ลดเงินเดือนพนักงานขั้นต่ำ 10% สำหรับพนักงานทั่วไป ส่วนตำเเหน่งผู้จัดการขึ้นไปมีการปรับลดตั้งแต่ 12-35% ขณะที่ประธานเจ้าหน้าที่บริหารปรับลด 35%

สายการบินระบุว่า ในเดือนเมษายนมิถุนายน จำนวนผู้โดยสารจะลดลงมากถึง 96% จากการระงับให้บริการของทั้ง Singapore Airlines เเละบริษัทลูกอย่าง Silk Air ส่วน Scoot ซึ่งเป็นสายการบินต้นทุนต่ำในเครือ ได้ลดการให้บริการลงถึง 98% ของเที่ยวบินทั้งหมด

ทั้งนี้ SIA Group เพิ่งรายงานผลประกอบการประจำไตรมาสสิ้นสุด ณ 30 มิถุนายน โดยขาดทุนสุทธิ 1.12 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 2.5 หมื่นล้านบาทมากที่สุดนับตั้งเเต่ก่อตั้งสายการบินนี้มาเเม้จะเคยมีผลประกอบการในระดับดีมาตลอดก็ตาม

 

ที่มา : CNA , Reuters

]]>
1296612
American Airlines เตรียมปลดพนักงานเพิ่มอีก 19,000 คน ตั้งเเต่ 1 ต.ค. หากรัฐบาลไม่ช่วยอุ้มต่อ https://positioningmag.com/1294225 Wed, 26 Aug 2020 09:53:52 +0000 https://positioningmag.com/?p=1294225 ข่าวร้ายเรื่องการปลดพนักงานในอุตสาหกรรมการบินยังคงมีต่อเนื่อง ไม่เว้นเเม้เเต่สายการบินที่ใหญ่ที่สุดในโลกอย่าง American Airlines ล่าสุดออกมาประกาศว่า เตรียมจะเลิกจ้างพนักงานกว่า 19,000 คนโดยไม่สมัครใจในวันที่ 1 ..นี้ หากรัฐบาลสหรัฐฯ ไม่ขยายโครงการช่วยเหลือต่อ

ก่อนหน้านี้ American Airlines บอกว่า จำเป็นต้องปรับลดจำนวนพนักงานลงอย่างน้อย 40,000 คน จากจำนวนทั้งหมด 133,700 คนทั่วโลก เพื่อประคองธุรกิจที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากวิกฤต COVID-19 โดยในจำนวนนี้ 12,500 คน ตกลงที่จะออกจากบริษัทด้วยการเกษียณอายุก่อนกำหนด ตั้งเเต่เดือนมี..ที่ผ่านมา เเละยังมีอีก 11,000 คน ตกลงที่จะลาออกโดยสมัครใจในเดือนต..นี้

แม้จะมีการเสียสละของสมาชิกในทีมไปแล้วก็ตาม แต่ยังจะมีพนักงานอีก 19,000 คนที่จะถูกปลดออกจากตำแหน่งโดยไม่สมัครใจ ในวันที่ 1 ..ที่จะถึงนี้ เว้นแต่จะมีการขยายความช่วยเหลือจากรัฐบาลกลาง Doug Parker ซีอีโอของ American Airlines  ระบุในจดหมายที่ส่งถึงพนักงาน

สำหรับโครงการช่วยเหลือของภาครัฐ ภายใต้เงื่อนไขของกฎหมาย CARES Act ได้ให้ความช่วยเหลือแก่อุตสาหกรรมการบินของสหรัฐฯ มากถึง 50,000 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 1.5 ล้านล้านบาท) โดยมีข้อกำหนดว่า สายการบินไม่สามารถปลดพนักงานโดยไม่สมัครใจ ซึ่งกำลังจะหมดอายุในวันที่ 30 ..นี้

American Airlines เคยประกาศเตือนพนักงานราว 25,000 คน เมื่อเดือนก..ที่ผ่านมา ว่ากำลังตกอยู่ในภาวะเสี่ยงที่อาจจะต้องสูญเสียตำเเหน่งงานในช่วงเดือนต.. พร้อมกับการปรับเเผนลดเที่ยวบินในช่วงไตรมาส 4 ที่จะลดเที่ยวบินภายในประเทศให้เหลือไม่ถึง 50% และลดบริการเที่ยวบินระหว่างประเทศให้เหลือเพียง 25% เท่านั้น

ขณะที่กลุ่มสายการบินขนาดใหญ่ในสหรัฐฯ ได้เรียกร้องให้มีการเจรจาความช่วยเหลือเพิ่มเติมกับรัฐบาลกลาง แต่ปัจจุบันยังไม่ได้ข้อตกลงที่เเน่ชัด

ฝั่งสายการบินยักษ์ใหญ่อีกเจ้าอย่าง United Airlines ประกาศเตรียมเลิกจ้างงาน 36,000 ตำเเหน่ง นับเป็นเกือบครึ่งหนึ่งของพนักงานทั้งหมดในสหรัฐฯ พร้อมกับเงินช่วยเหลือจากรัฐบาล 5,000 ล้านเหรียญที่นำมาจ่ายค่าจ้างภายใต้กฎหมาย CARES Act ก็กำลังจะหมดลงเช่นกัน

ด้านความต้องการเดินทางโดยเครื่องบินในสหรัฐฯ ยังชะลอตัวเเละจำนวนผู้โดยสารเครื่องบินลดฮวบลงถึง 75% เมื่อเทียบกับเดือนก..ปีที่เเล้ว อันเป็นผลกระทบจากมาตรการล็อกดาวน์

การแพร่ระบาดของ COVID-19 ส่งผลให้ช่วงต้นปีที่ผ่านมา ทำให้การเดินทางทางอากาศลดลงถึง 95% สายการบินทั่วโลก รวมถึงบริษัทผู้ผลิตเครื่องบิน ทยอยปลดพนักงานเพื่อลดภาระค่าใช้จ่าย หลายสายการบินถึงขั้นยื่นล้มละลายเพื่อขอฟื้นฟูกิจการในช่วงนี้

 

ที่มา : CNBC , CNN

 

]]>
1294225