โรบินฮู้ด – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 27 Nov 2024 05:07:53 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 “Robinhood” บทใหม่ภายใต้ “ยิบอินซอย” ขอเก็บ GP 28%  https://positioningmag.com/1499156 Fri, 15 Nov 2024 01:42:03 +0000 https://positioningmag.com/?p=1499156 เมื่อช่วงเดือนมิถุนายนปี 2567 ที่ผ่านมา มีข่าวใหญ่ที่สร้างความตกใจไม่น้อยสำหรับการประกาศยุติการให้บริการของ “Robinhood” แอป Food Delivery ภายใต้การบริหารของบริษัท เพอร์เพิล เวนเจอร์ส จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทภายใต้กลุ่มเอสซีบี เอกซ์ (SCBX) ที่จะหยุดให้บริการตั้งแต่วันที่ 31 ก.ค. 2567 เวลา 20.00 น. เป็นต้นไป เนื่องจากบรรลุภารกิจช่วยเหลือร้านค้า ไรเดอร์ และคนตัวเล็กในช่วงวิกฤตโควิดได้ตามเป้าประสงค์ 

อีกทั้งตลาด Food Delivery ของไทยมีการแข่งขันสูงเนื่องจากมีผู้เล่นรายใหญ่ในตลาดที่ชิงส่วนแบ่งกันอย่างดุเดือด รวมถึงพฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากโดยเฉพาะในช่วงหลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งถือเป็นอุปสรรคใหญ่ที่ทำให้ผู้เล่นรายเล็กอย่าง Robinhood ทำผลงานได้ไม่ค่อยดีนัก และบริษัทฯ แบกรับภาวะการขาดทุนมาอย่างต่อเนื่อง โดย

  • ปี 2563 ขาดทุน 87 ล้านบาท
  • ปี 2564 ขาดทุน 1.3 พันล้านบาท
  • ปี 2565 ขาดทุน 1.9 พันล้านบาท 
  • ปี 2566 ตัวเลขการขาดทุนพุ่งสูงกว่า 2.1 พันล้านบาท 

รวม 4 ปีที่ดำเนินกิจการมาบริษัทฯขาดทุนไปแล้ว 5 พันกว่าล้านบาท 

กระทั่งเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2567 มีการรายงานว่า SCBX ออกมาการแจ้ง “เลื่อน” การยุติการให้บริการ Food Delivery บนแอปพลิเคชัน Robinhood แต่บริการอื่นๆ ในแอปอย่าง Travel, Ride, Mart และ Express ยังคงยุติการให้บริการตามกำหนดเดิมคือในวันที่ 31 กรกฎาคม 2567 เนื่องจากบริษัทฯ อยู่ในระหว่างการพิจารณาข้อเสนอเข้าซื้อกิจการทั้งหมดจากผู้ที่สนใจ ที่มีจำนวนมากกว่าที่คาดไว้ 

ซึ่งบริษัทฯ ที่ขี่ม้าขาวมา คือ “กลุ่มยิบอินซอย” ผู้ให้บริการด้านเทคโนโลยีรายใหญ่ของไทย ผู้อยู่เบื้องหลังและทำงานร่วมกับวงการธุรกิจไทยมาเกือบ 100 ปีแล้ว โดยมีการเซ็นสัญญาปิดดีลซื้อขาย Robinhood ด้วยมูลค่ารวมสูงสุด 2,000 ล้านบาท ไปเมื่อวันที่ 30 กันยายนที่ผ่านมา

“มรกต  ยิบอินซอย” กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ยิบอินซอย จำกัด และบริษัท เพอร์เพิล เวนเจอร์ส (Robinhood)

ภาคต่อ “Robinhood” ภายใต้การบริหารของ “กลุ่มยิบอินซอย

การที่ SCBX เปลี่ยนใจไม่ปิดบริการแล้ว หากมองดูแบบไม่ลงลึกอะไรมาก “การขายต่อ” ถือเป็นทางเลือกที่ดีทางหนึ่งเพราะอย่างน้อยยังได้เงินทุนกลับมาอยู่บ้าง แต่หากมองในอีกมุมหนึ่ง คนที่ทำธุรกิจก็ไม่อยากให้สิ่งที่สร้างมากับมือต้องขาดทุนจนล้มหายตายจากไป แต่มุ่งหวังให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่ง SCBX ได้ใช้เกณฑ์ในการพิจารณาผู้ที่สนใจซื้อกิจการ คือ ผู้ซื้อฯ ต้องเป็นกลุ่มธุรกิจสัญชาติไทย ที่มีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาให้ Robinhood เป็นแพลตฟอร์มของคนไทยเพื่อคนไทยต่อไป ซึ่ง “กลุ่มยิบอินซอย” จึงปิดดีลนี้ไปได้ 

เป็นเวลากว่า 1 เดือนแล้วที่ “Robinhood” เข้ามาอยู่ใต้การบริหารงานของ “กลุ่มยิบอินซอย” โดย “มรกต ยิบอินซอย” กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ยิบอินซอย จำกัด และบริษัท เพอร์เพิล เวนเจอร์ส (Robinhood) เผยว่า การเข้าซื้อ Robinhood มาบริหารต่อ ถือเป็นก้าวสำคัญในการทำให้บริษัทเป็นที่รู้จักและมีการเติบโตมากขึ้น เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่าในยุคนี้ “เทคโนโลยี” และ “แพลตฟอร์มออนไลน์” มีบทบาทสำคัญที่ทำให้การใช้ชีวิตมีความสะดวกสบายขึ้น 

การปิดดีลซื้อขาย Robinhood ในครั้งนี้ ยิบอินซอยเล็งเห็นถึงศักยภาพในการให้บริการส่งอาหารของ Robinhood ที่มีฐานลูกค้าที่มีคุณภาพ ไรเดอร์มีความสุภาพและรวดเร็ว อีกทั้งร้านค้าที่เปิดให้บริการมีหลากหลายทั้งร้านชื่อดังชั้นนำและร้านเล็กๆ ที่มีความเฉพาะตัว ทำให้บริษัทฯ มองว่า Robinhood เป็นแพลตฟอร์มไทยที่มีรากฐานที่ดีและสามารถต่อยอดให้มีความแข็งแกร่งยิ่งขึ้นได้ แม้จะมีการตั้งคำถามต่อการซื้อกิจการที่ขาดทุนเข้ามา บริหาร แต่ยิบอินซอยเชื่อว่า Robinhood ยังสามารถเติบโตต่อไปได้เพราะเป็นแอปที่มีจุดแข็งคือเป็นของคนไทย ที่พัฒนามาเพื่อการใช้ชีวิตของคนไทย สามารถสร้างการแข่งขัน สร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น ปูทางต่อยอดโปร เจกต์อื่นๆ ในอนาคตต่อไปได้ โดยปัจจุบันมีคำสั่งซื้อต่อวันเฉลี่ยเกือบ 40,000 คำสั่งซื้อ ส่งผลให้ตัวเลขผลประกอบการของ Robinhood มีการเติบโตที่ดีขึ้นเรื่อยๆ 

เก็บ GP 28% น้อยกว่าตลาด

เจ้าของยิบอินซอย กล่าวอีกว่า Robinhood สามารถออกนอกกรอบกฎเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ทำให้ขยับตัวได้มากขึ้นกว่าเดิม เช่นจากที่เมื่อก่อนอยู่ในกรอบของการดำเนินงานแบบ CSR เป็นหลักและไม่มีพันธมิตรไม่ยุ่งกับใคร แต่ปัจจุบันสามารถเข้าไปเป็นพันธมิตรกับ KTC ที่ถือเป็นแบงก์ที่มีโปรโมชันในการสะสมคะแนนค่อนข้างเยอะได้ แต่หลักสำคัญอย่างเรื่องความปลอดภัยเราก็ยังคงยึดเอาไว้ พร้อมกับการก้าวไปข้างหน้าเพื่อให้ธุรกิจมีกำไรเกิดเป็น Good Business Ecosystem

ปัจจุบันทีมงาน Robinhood ที่เป็นทีมงานเดิมมีทั้งหมด 50 คน ซึ่งยิบอินซอยได้ให้ทีมงานของบริษัทฯ เข้าไปช่วยซัพพอร์ตการดำเนินงานในด้านคอลเซ็นเตอร์ รวมถึงเทคโนโลยีหลังบ้าน เพื่อผลักดันให้ธุรกิจกลับมาเติบโต โดยบริษัทฯ มีการวางแผนในการพัฒนา Robinhood ให้เป็นมากกว่าแอป Food Delivery ซึ่งกลายเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตคนในปัจจุบันไปแล้ว ให้พัฒนาต่อยอดไปยังกลุ่มบริการ Mart หรือ บริการเรียกรถ 

แต่ขอเริ่มทำสิ่งที่มีอยู่แล้วอย่างการทำให้บริการ Food Delivery ให้มีรากฐานให้แข็งแกร่งขึ้น ผ่านการดำเนินการต่างๆ ทั้งพูดคุยกับพาร์ทเนอร์เพื่อขอการสนับสนุน หรือชักชวนให้ไรเดอร์ ร้านค้า รวมถึงยูสเซอร์ให้กลับเข้ามา Active ในแอป และได้ตั้งเป้าหมายภายในสิ้นปี 2567 จะสามารถทำยอดการสั่งซื้อให้ได้ 50,000 ออเดอร์ต่อวัน 

และบริษัทฯตั้งเป้าทำออเดอร์คำสั่งซื้ออาหารรายวันให้มากขึ้น เพื่อให้เกิดการทำรายได้จากการเก็บค่า GP จากร้านค้า 28% (GP 25% และค่าการตลาด 3%) โดยเมื่อก่อนร้านค้าอาจไม่ต้องเสียค่า GP เพราะวิกฤตโควิดแต่การดำเนินในปัจจุบันเป็นรูปแบบของธุรกิจมากขึ้นซึ่งต้องมีรายได้และกำไรทำให้ต้องเก็บค่า GP และ Robinhood ก็ให้ตัวเลือกผู้ประกอบการที่ไม่ต้องการจ่ายค่า GP แต่ต้องใช้วิธีการเก็บค่าส่งเต็มจำนวน ซึ่งอาจทำให้มีราคาที่แพงกว่าแอปอื่น

ซึ่งค่า GP ที่ Robinhood เก็บจากร้านค้า 28% นี้ ถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับผู้เล่นอื่นในตลาด ที่มีการเรียกเก็บค่า GP ตั้งแต่ 30% (ไม่รวม VAT 7%) ไปจนถึง 32% (ไม่รวม VAT 7%) และ 32.1% (รวม VAT 7% แล้ว) 

มรกต ยิบอินซอย กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ยิบอินซอย จำกัด และบริษัท เพอร์เพิล เวนเจอร์ส ผู้ให้บริการแอปพลิเคชัน โรบินฮู้ด (คนที่ 2 นับจากซ้ายมือ), อนุวัต บูรพชัยศรี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร แอปพลิเคชั่น Paypoint (คนตรงกลาง), ดร.จิรวัฒน์ ตั้งปณิธานนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ควอนตัม เทคโนโลยี ฟาวเดชั่น (คนทรี่ 3 นับจากขวามือ) และคณะพันธมิตร Paypoint

 

เข้าร่วม “Paypoint” ขยายฐานลูกค้า ตั้งเป้ากลับมาแข็งแกร่งใน 2 ปี

ล่าสุด ยิบอินซอย ได้นำเอา “Robinhood” เข้าไปจับมือเป็นพาร์ทเนอร์กับ “Paypoint” แอปพลิเคชันรวบรวมรับฝากและแลกคะแนนสะสม ภายใต้การบริหารของบริษัท ศูนย์รับฝากคะแนน (ประเทศไทย) จำกัด ในการต่อ ยอดธุรกิจ ให้ Robinhood สามารถรวบรวมและแลกคะแนนสะสมในการชำระค่าสินค้าและบริการของร้านค้าที่เป็นพาร์ทเนอร์ตัวแทนของพันธมิตรได้ทั้งในและต่างประเทศ

ผ่านการทำงานของ ควอนตัม เทคโนโลยี พัฒนาระบบร่วมกับ TPD โดยการสร้างกรอบการทำงานเชิงอัลกอริทึมสำหรับ Paypoint ภายใต้การพัฒนาของบริษัท ควอนตัม เทคโนโลยี ฟาวเดชั่น โดยจะคำนวณการรวมคะแนนสะสมเพื่อนำไปแลกเปลี่ยนคะแนนสะสมระหว่างพันธมิตรแบบเรียลไทม์ ป้องกันการทำ arbitrage (การซื้อของชนิดเดียวกันในราคาที่แตกต่างกัน แล้วนำไปขายทำกำไรต่อโดยปราศจากความเสี่ยง) เพราะผู้ใช้สามารถแลกเปลี่ยนคะแนนไปยังกลุ่มพันธมิตรได้โดยตรง มั่นใจได้ว่าทุกคนจะได้รับความเป็นธรรมด้วยอัตราแลกเปลี่ยนที่ขึ้นกับกลไกตลาด 

อาทิ ผู้ใช้ที่มีการสะสมคะแนนจากการใช้บริการของ Robinhood สามารถนำคะแนนสะสมไปแลกหรือใช้จ่ายในบริการที่ต้องการของพันธมิตรได้ เช่น ปั๊มน้ำมันบางจาก หรือ แอร์ เอเชีย ในขณะที่ผู้ใช้ของพาร์ทเนอร์อย่าง แอร์ เอเชีย หรือ บางจาก ก็สามารถรวบรวมคะแนนมาใช้จ่ายบริการของ Robinhood ได้เช่นกัน โดยจะมีการเริ่มใช้ Paypoint ได้ในต้นปี 2568 เป็นต้นไป

ซึ่งปัจจุบัน Paypoint มีพันธมิตรอยู่ 7 บริษัทด้วยกัน ประกอบด้วย 

  •  บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
  • บริษัท บิ๊กไลฟ์ (ประเทศไทย) จำกัด (Air Asia) 
  • บริษัท เพอร์เพิล เวนเจอร์ส จำกัด (แอปพลิเคชันโรบินฮู้ด)
  • บริษัท เฮลท์อัพ จำกัด
  • บริษัท อิมแพ็ค เอ็กซิบิชั่นแมเนจเม้นท์ จำกัด
  • บริษัท โกลด์เด้น99 จำกัด
  • MAAI BY KTC โดยบริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
  • บริษัท พริ้นซิเพิลเฮลท์แคร์ จำกัด 

และในอนาคตจะมีพาร์ทเนอร์เข้ามาร่วมงานกันมากขึ้น รวมถึงการขยายแพลตฟอร์มให้ครอบคลุมทั้งประเทศไทยและขยายออกไปยังต่างประเทศ เพื่อให้ผู้บริโภคมีอิสระในการในจ่ายคะแนนมากขึ้น พร้อมพาให้ธุรกิจกลับมาแข็งแกร่งกว่าเดิมให้ได้ภายใน 2 ปี

]]>
1499156
รู้จัก ‘ยิบอินซอย’ บริษัทอายุแตะ ‘ร้อยปี’ จากธุรกิจ ‘เหมืองแร่’ สู่ผู้บุกเบิกเทคโนโลยีในไทย และเป็นเจ้าของใหม่ ‘Robinhood’ https://positioningmag.com/1492341 Tue, 01 Oct 2024 04:57:51 +0000 https://positioningmag.com/?p=1492341 ถือว่าเป็นอะไรที่เข็มขัดสั้น หรือ คาดไม่ถึง เลยทีเดียว สำหรับดีล Robinhood แพลตฟอร์มฟู้ดเดลิเวอรี่ของ SCBX ที่ไม่ได้ถูกซื้อโดยบริษัทที่ทำธุรกิจเดียวกัน แต่กลับได้กลุ่มผู้ลงทุนที่นำโดย ยิบอินซอย (YIP IN TSOI) มาซื้อไปในมูลค่า 2,000 ล้านบาท โดย Positioning จะพาไปรู้จักกับกลุ่มยิบอินซอย บริษัทไทยอายุเกือบร้อยปี ว่าเป็นใคร เคยทำอะไรมาบ้าง

ผู้บุกเบิกเทคโนโลยีในไทย ที่เริ่มจากธุรกิจเหมืองแร่

แค่บริษัทที่ไม่ได้ทำธุรกิจเกี่ยวกับฟู้ดเดลิเวอรี่มาซื้อ Robinhood ก็ถือว่าน่าสนใจแล้ว แต่เมื่อมารู้จักกับ บริษัท ยิบอินซอย ยิ่งน่าสนใจกว่า โดยเฉพาะในแง่ของ การปรับตัวตามยุคสมัย จนปัจจุบันยิบอินซอยเป็นบริษัทไทยที่มีอายุแตะ ร้อยปี เข้าไปแล้ว

โดยจุดเริ่มต้นของบริษัท ต้องย้อนไปไกลถึงพ.ศ. 2469 ถือกำเนิดจากธุรกิจ เหมืองแร่ ที่กำลังเติบโต ทำให้ ยิบ (Yip) อินซอย (In Tsoi) ชายชาวจีนที่มีโอกาสเดินทางมาไทย ได้เห็นโอกาสในธุรกิจนี้ จึงได้เริ่มทำธุรกิจเหมืองแร่ พร้อมก่อตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลยิบอินซอยแอนด์โกขึ้นมาที่หาดใหญ่

หลังจากที่กิจการไปได้ดีจึงเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ยิบอินซอย จำกัด (Yip In Tsoi & Company Limited) ในปี พ.ศ.2473 ด้วยทุนจดทะเบียน 150,000 บาท และได้ขยับขยายจากสำนักงานที่เป็นห้องแถว 2 คูหาที่ชุมทางหาดใหญ่ ไปอยู่ที่บางรัก กรุงเทพฯ ในปีพ.ศ. 2481 และยังคงเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่จนถึงปัจจุบัน

มรกต ยิบอินซอย กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ยิบอินซอย จํากัด

แม้ว่าบริษัทจะเริ่มจากธุรกิจเหมืองแร่ แต่บริษัทก็ปรับตัวไปตามการเปลี่ยนแปลง ทำให้บริษัทได้ขยับขยายไปสู่ ธุรกิจนำเข้าผลิตภัณฑ์ระดับโลก อาทิ การนำเข้าน้ำมันและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม นำเข้ารถแทรกเตอร์ รถบรรทุก เครื่องจักรทอกระสอบ เครื่องปรับอากาศ สินค้าอุปโภคบริโภค โดยยิบอินซอยถือเป็นผู้บุกเบิกการค้าปุ๋ยเคมีเป็นรายแรกของไทย โดยนำเข้าปุ๋ยเคมีคุณภาพสูงจากประเทศเยอรมนี เข้ามาจำหน่าย ภายใต้เครื่องหมายการค้า “ตราใบไม้” เมื่อ พ.ศ.2489

หรือแม้แต่ใน ธุรกิจด้านการเงิน ยิบอินซอยก็ทำ โดยก่อตั้ง บริษัท ยิบอินซอยลงทุนและค้าหลักทรัพย์ จำกัด (YIT Invesment & Securities Ltd.- YISCO) บริษัท ยิบอินซอย เงินทุน (Yipintsoi Finance Limited. – YIPFIN) ทำธุรกิจด้านการเงินและหลักทรัพย์ โดยภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท เงินทุนเอกธนกิจ จำกัด

เริ่มเข้าสู่ธุรกิจเทคโนโลยีในเจนสอง

จนมาปีพ.ศ.2497 ที่ยิบอินซอยก็เริ่มเข้าสู่ ธุรกิจด้านเทคโนโลยี จากการเป็นตัวแทนจำหน่าย Burroughs Adding Machine เครื่องบวกเลขแบบจักรกลที่ถือเป็นอุปกรณ์เครื่องใช้สำนักงานระดับสูง จนมาปีพ.ศ. 2506 ทายาทเจนสองอย่าง ธวัช ยิบอินซอย ก็ได้ต่อยอดให้เครื่องคอมพิวเตอร์เบอร์โร่วส์ สามารถพิมพ์ภาษาไทยได้ และได้ขยายธุรกิจเข้าสู่งานจัดจำหน่ายและติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์เมนเฟรมในอีก 10 ปีต่อมา โดยมี เทียนชัย ลายเลิศ ร่วมเป็นกำลังสำคัญในการดำเนินธุรกิจนี้

จนมาถึงพ.ศ. 2540 ยุคที่ระบบเมนเฟรมกำลังถูกแทนที่ด้วย Open system ทำให้ผู้บริหารเจนสามอย่าง นางมรกต ยิบอินซอย และ นายสุภัค ลายเลิศ ก็ได้มุ่งสู่ธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างเต็มรูปแบบและครบวงจร โดยได้การนำเทคโนโลยีใหม่ประสิทธิภาพสูง เช่น เนทแอป (NetApp) และผลิตภัณฑ์ของ SUN microsystem เข้ามาสร้างตลาดกลุ่มใหม่ ๆ ทำให้ยิบอินซอย ถือเป็นหนึ่งในผู้นำด้านการนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาสู่ประเทศไทย เช่น คลาวด์คอมพิวติ้ง, ไซเบอร์ซีเคียวริตี้ และโซลูชั่นดิจิทัลสำหรับธุรกิจ

ปัจจุบัน บริษัทยิบอินซอย จำกัด อยู่ภายใต้ 3 ตระกูลใหญ่ ได้แก่ ตระกูลยิบอินซอย ตระกูลลายเลิศ และ ตระกูลจูตระกูล มีพนักงาน 1,900 คน มีบริษัทในเครือมีทั้งสิ้น 9 แห่ง ครอบคลุม 4 ธุรกิจ 1.ไอทีดิจิทัลโซลูชัน 2.เทคโนโลยีขั้นสูง 3.การค้าและการผลิต และ 4.ธุรกิจประกันและมีศูนย์บริการกว่า 32 แห่งทั่วประเทศไทยและในเขตประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

นอกจากนี้ บริษัทยังมีการลงทุนในธุรกิจสตาร์ทอัพด้าน Clean Energy & Smart Agri-Tech Solutions และ Nano Bio Technology อีกด้วย อาทิ จากเดิมที่มีอยู่ 3 บริษัท คือ บริษัท โมรีน่า โซลูชั่นส์ จำกัด (Morena) สตาร์ทอัพด้าน BIOTECHNOLOGY, บริษัท อีซีไรช์ ดิจิทัล เทคโนโลยี จำกัด สตาร์ทอัพใช้เทคโนโลยี AI ตรวจสอบพันธุ์ข้าว และ บริษัท โซลารินน์ จำกัด สตาร์ทอัพ ด้านพลังงานสะอาด (EASYRICE) ที่กำลังจะเริ่มผลิต จักรยานยนต์ไฟฟ้าสำหรับธุรกิจโลจิสติกส์

จับตาก้าวต่อไปหลังได้ Robinhood

ล่าสุด ยิบอินซอยก็ได้นำทีมเข้าซื้อหุ้นทั้งหมดของบริษัท เพอร์เพิล เวนเจอร์ส จำกัด ผู้ให้บริการแอปพลิเคชัน Robinhood โดยมูลค่าการซื้อขายคิดเป็นมูลค่ารวมสูงสุด 2,000 ล้านบาท ประกอบด้วยมูลค่าเบื้องต้นชำระทันที 400 ล้านบาท และส่วนเพิ่มตามผลประกอบการสูงสุดไม่เกิน 1,600 ล้านบาท

สำหรับกลุ่มผู้ลงทุนที่เหลือประกอบด้วยกลุ่ม Brooker Group ธุรกิจที่ปรึกษาด้านการเงินและการลงทุน, กลุ่ม SCT Rental Car ที่ดำเนินธุรกิจเช่าซื้อรถยนต์สำหรับใช้งานส่วนบุคคลและเชิงพาณิชย์ รวมถึงบริษัทย่อยของ Loxley คือ LOXBIT ซึ่งเป็นผู้ให้บริการไอทีโซลูชั่นของประเทศไทย

ต้องยอมรับว่าตลาดฟู้ดเดลิเวอรี่ก็ไม่ได้ง่าย เพราะตลอด 10 ปีมีผู้เล่นที่ม้วนเสื่อกลับบ้านก็ไม่น้อย ดังนั้น จากนี้คงต้องจับตาว่า ยิบอินซอยที่ได้ Robinhood จะนำไปต่อยอดกับธุรกิจในเครืออย่างไร เพราะยิบอินซอยมีความพร้อมทั้งด้านไอทีโซลูชั่น ประกัน หรือแม้แต่ธุรกิจมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า ก็คงต้องติดตามดูกัน ยาว ๆ ต่อไป

]]>
1492341
ย้อนรอยเส้นทาง Robinhood แอปฯ เพื่อคนตัวเล็ก พร้อมวิเคราะห์เหตุผลก่อนที่ SCBX ประกาศปิดตัวในท้ายที่สุด https://positioningmag.com/1479825 Thu, 27 Jun 2024 11:19:34 +0000 https://positioningmag.com/?p=1479825 พาไปย้อนรอยเส้นทางของแอปพลิเคชันส่งอาหารรวมถึงบริการอื่นๆ อย่าง Robinhood โดยชูจุดเด่นว่าเป็นแอปฯ เพื่อคนตัวเล็ก ก่อนในท้ายที่สุดบริษัทแม่เจ้าของแพลตฟอร์มอย่าง SCBX จะประกาศปิดตัวแอปฯ ในช่วงปลายเดือนกรกฎาคมที่จะถึงนี้

ถือเป็นข่าวที่สร้างความตกใจไม่น้อย เมื่อวันที่ 25 มิถุนายนที่ผ่านมา SCBX ได้แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่า ทางคณะกรรมการบริษัทได้แจ้งถึงการยุติการให้บริการแอปพลิเคชัน Robinhood ของบริษัท เพอร์เพิล เวนเจอร์ส จำกัด ซึ่งจะมีผลภายในวันที่ 31 กรกฎาคมที่จะถึงนี้

ซึ่งการปิดตัวแอปพลิเคชัน Robinhood ทำให้ผู้บริโภคหลายคนใจหายไม่น้อย เนื่องจากเป็นอีกแพลตฟอร์มที่สามารถสั่งอาหารหรือบริการอื่นๆ ได้

Positioning พาไปย้อนรอยแอปฯ ดังกล่าว และวิเคราะห์ถึงสาเหตุว่าทำไมถึงต้องปิดตัวลง

เปิดตัวแอปฯ เพื่อช่วยคนตัวเล็ก

ในช่วงปี 2020 บริษัท เพอร์เพิล เวนเจอร์ส จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทภายใต้กลุ่มเอสซีบี เอกซ์ ได้เปิดตัวแอปพลิเคชันโรบินฮู้ด (Robinhood) โดยในช่วงเวลาดังกล่าวนั้นทางกลุ่ม SCB มองว่าเป็นโครงการ CSR เพื่อคืนกำไรให้สังคม ให้ทั้งส่วนของ คนซื้อ คนขาย และคนส่งสินค้าได้ประโยชน์อย่างเต็มที่และเป็นธรรม

Robinhood เกิดขึ้นจากไอเดียของ อาทิตย์ นันทวิทยา ซีอีโอของ SCB ตอนที่ต้องกักตัวในช่วงการระบาดโควิด และต้องทำงานจากที่บ้าน ทำให้ต้องสั่งอาหารออนไลน์บ่อยครั้ง และมองเห็นโอกาสว่าธนาคารมีทรัพยากรเพียงพอที่จะทำได้ จึงต่อยอดด้วยการระดมทีมกว่า 80 คนพัฒนาแอปฯ นี้ขึ้น ภายในเวลาไม่ถึง 3 เดือนก่อนเปิดตัว

จุดเด่นสำคัญคือ Robinhood จึงไม่มีการเก็บค่าธรรมเนียมใดๆ เช่น ไม่มีค่าสมัคร ไม่คิดค่า GP (Gross Profit) ร้านอาหารจะได้เงินเต็มทุกบาททุกสตางค์ รวมถึงยังช่วยให้ร้านค้ามีโอกาสเข้าถึงสินเชื่อของธนาคารได้ง่ายและรวดเร็วขึ้นด้วย

และในช่วงเวลาดังกล่าวทางแอปฯ มองว่ามีช่องทางในการเจาะตลาดลูกค้า โดยมองว่าถ้าหากมีการสั่งอาหารที่ยอด 300 บาทขึ้นไป แอปฯ ดังกล่าวถือว่าตอบโจทย์มากกว่า

ขยายบริการ

นอกจากบริการส่งอาหารแล้ว ในปี 2022 ทาง Robinhood ได้เปิดบริการเพิ่มเติมไม่ว่าจะเป็นบริการ จองโรงแรม บริการการท่องเที่ยว บริการจัดส่งเอกสารและพัสดุ หรือแม้แต่บริการเรียกรถ ซึ่งบริษัทได้ขยายธุรกิจเพื่อที่จะหารายได้เพิ่มเติมให้กับแพลตฟอร์ม

ไม่เพียงเท่านี้ในช่วงเวลาดังกล่าว เพอร์เพิล เวนเจอร์ส มีแผนที่จะมีการระดมทุน Series A จากนักลงทุนภายนอกด้วย รวมถึงวางเป้าในการเป็น Super App ในอาเซียน

ขณะเดียวกันทาง Robinhood เองมองว่าในเมื่อทางแอปฯ เองไม่ได้ต้องการที่จะเก็บค่า GP จากทั้งร้านค้า หรือแม้แต่คนขับ ทำให้เกิดไอเดียในการหากำไรเพิ่มเติม เพื่อที่จะทำให้แอปฯ อยู่รอดได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการโฆษณาภายในแอปฯ หรือแม้แต่การปล่อยสินเชื่อ หรือการทำลีซซิ่ง มอเตอร์ไซค์และรถยนต์ไฟฟ้า

ถ้าหากแผนการดังกล่าวเป็นไปตามคาดจะทำให้ผลประกอบการของ Robinhood นั้นกลับมามีกำไรได้ภายในปี 2025 

Robinhood Ride

การแข่งขันสูง ภายใต้อุตสาหกรรมที่เติบโตช้าลง

อย่างไรก็ดีในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา การแข่งขันระหว่างบริการส่งอาหารภายในประเทศไทยนั้นมีความดุเดือดไม่น้อย แม้ว่าในช่วงของการแพร่ระบาดโควิดธุรกิจส่งอาหารจะได้รับความนิยมก็ตาม เนื่องจากพฤติกรรมของผู้บริโภคชาวไทยที่เปลี่ยนไป

ข้อมูลจาก Momentum Works ที่ได้ออกบทวิเคราะห์เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมาชี้ว่าในปี 2023 ผู้เล่นในตลาดบริการส่งอาหารมีผู้เล่นรายใหญ่อย่าง Grab ที่ครองส่วนแบ่งการตลาดมากถึง 47% และ LINE MAN ครองส่วนแบ่งทางการตลาด 36%

ขณะเดียวกันผู้เล่นรายรองลงมาอย่าง foodpanda ครองส่วนแบ่งทางการตลาด 8% และ Shopee Food ครองส่วนแบ่งการตลาดที่ 6% ที่เหลืออีก 3% เป็นของ Robinhood เท่านั้น

ถ้าหากเทียบส่วนแบ่งการตลาดในปี 2022 นั้น Robinhood มีส่วนแบ่งตลาด 6% แต่ปี 2023 กลับมีส่วนแบ่งตลาดเหลือแค่ 3% ในช่วงที่ผ่านมา ธุรกิจส่งอาหารในไทยยังมีผู้เล่นรายใหม่เข้ามาคือ Shopee Food ทำให้การแข่งขันนั้นเพิ่มมากขึ้น

ไม่เพียงเท่านี้ เมื่อเทียบตัวเลขของ Momentum Works จะเห็นว่าขนาดตลาด เมื่อใช้ตัวเลขยอดขายสินค้าออนไลน์รวมในแพลตฟอร์ม (GMV) ของไทยนั้นปี 2022 มีขนาด 3,600 ล้านเหรียญสหรัฐ และปี 2023 เติบโตเล็กน้อยมาอยู่ที่ 3,700 ล้านเหรียญสหรัฐ

จะเห็นได้ว่าตลาดในประเทศไทยนั้นการเติบโตเริ่มช้าลง แต่ผู้เล่นรายใหญ่นั้นยังมีการแข่งขันที่ดุเดือด ไม่เพียงเท่านี้สภาวะเศรษฐกิจไทยที่เติบโตช้า โดยบทวิเคราะห์ของ Bernstein ชี้ว่าอุตสาหกรรมส่งอาหารในอาเซียน อย่างเช่นในประเทศไทย (รวมถึงสิงคโปร์) นั้นเติบโตช้าลง

ปัจจัยข้างต้นยิ่งกระทบต่ออุตสาหกรรมแพลตฟอร์มส่งอาหาร ส่งผลทำให้ผู้เล่นระดับรองๆ นั้นอาจไปต่อไม่ได้ภายใต้สภาวะเช่นนี้

ผู้เล่นในตลาดส่งอาหารในไทยมีหลายราย ภายใต้การเติบโต GMV ที่เริ่มโตช้าลง – ภาพจาก Shutterstock

ประกาศปิดตัว

ถ้าหากไปย้อนดูผลประกอบการของบริษัทแม่เจ้าของแอปฯ Robinhood นี้ โดยปี 2022 บริษัทมีผลขาดทุนราวๆ 1,900 ล้านบาท และปี 2023 มีผลขาดทุนราวๆ 2,100 ล้านบาท  ปัจจัยดังกล่าวถือเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ทำให้  เพอร์เพิล เวนเจอร์ส ต้องปิดตัวแอปฯ ดังกล่าวลง

ในบทวิเคราะห์ของบริษัทหลักทรัพย์ทิสโก้ จำกัด ชี้ว่า ถ้าหาก SCBX ได้เลิกกิจการของแอปพลิเคชัน Robinhood จะช่วยทำให้บริษัทสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากถึง 800 ล้านบาทในปี 2024 นี้ และมองว่าเรื่องดังกล่าวเป็นการให้ความสำคัญกับผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นเป็นอันดับแรก

ขณะที่บทวิเคราะห์จาก UBS ยังชี้ว่าการยุติการให้บริการแอปพลิเคชัน Robinhood คาดว่าจะมีการตั้งด้อยค่าเพียง 1 ครั้งในช่วงไตรมาส 3 หรือไตรมาส 4 ของปี 2024 นี้และมองว่าการปิดตัวของแอปฯ ยังช่วยยุติการเผาเงินของบริษัท ช่วยให้สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของ SCBX ในปี 2025 ลงได้

UBS ยังมองว่าในปี 2023 นั้น เพอร์เพิล เวนเจอร์ส มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานถึง 2,900 ล้านบาท และเมื่อประหยัดค่าใช้จ่ายได้ ทำให้ SCBX สามารถนำเงินไปลงทุนในส่วนอื่น หรือแม้แต่ทำให้สามารถมีเงินจ่ายปันผลได้อย่างยั่งยืนขึ้น

และนี่ถือเป็นอีกหนึ่งการปิดฉากแอปฯ ส่งอาหารชื่อดังของไทย ภายใต้สภาวะอันท้าทายเช่นนี้

ที่มา – Tech In Asia, ข้อมูลจาก Momentum Works, บทวิเคราะห์จาก Bernstein, Tisco, UBS

]]>
1479825
“โรบินฮู้ด” เปิดโครงการ Robinhood Super Rider เสริมความรู้ เพิ่มทักษะขับขี่ให้ไรเดอร์ https://positioningmag.com/1390051 Fri, 24 Jun 2022 14:59:36 +0000 https://positioningmag.com/?p=1390051 “โรบินฮู้ด” ฟู้ดเดลิเวอรีสัญชาติไทย มุ่งมั่นพัฒนาคุณภาพการให้บริการของไรเดอร์ควบคู่ไปกับการสนับสนุนและส่งเสริมการขับขี่อย่างปลอดภัยบนท้องถนน ล่าสุดจับมือ 4 พันธมิตรสำคัญ ได้แก่ บริษัท ไทยยามาฮ่ามอเตอร์ จำกัด กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) บริษัท ไทยพาณิชย์ โพรเทค จำกัด (SCB Protect) และบริษัท ไทเกอร์ บี จำกัด ร่วมสร้างสุภาพบุรุษบนท้องถนน

ภายใต้โครงการ “Robinhood Super Rider” จัดอบรมให้ความรู้ เสริมสร้างทักษะที่จำเป็นในด้านต่างๆ เช่น การปฐมพยาบาลเบื้องต้น การช่วยชีวิตผู้ป่วยฉุกเฉิน เพื่อให้โรบินฮู้ดไรเดอร์สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริงกับการทำงานรับส่งอาหารในแต่ละวัน มุ่งส่งเสริมให้เกิดวัฒนธรรมที่ดีด้านความปลอดภัยบนท้องถนน เคารพและปฏิบัติตามกฎหมาย รวมถึงการปลูกจิตสำนึกในการช่วยเหลือและรับผิดชอบต่อสังคมให้เกิดขึ้นในกลุ่มไรเดอร์อีกด้วย

สีหนาท ล่ำซำ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เพอร์เพิล เวนเจอร์ส จำกัด กล่าวว่า

“นอกจากร้านอาหารแล้วอีกหนึ่งแกนสำคัญที่เป็นหัวใจหลักของธุรกิจฟู้ดเดลิเวอรี คือ “คนส่งอาหาร” หรือ “ไรเดอร์” ที่ไม่เพียงทำหน้าที่รับส่งอาหาร แต่ยังทำหน้าที่ส่งความสุขผ่านอาหารให้กับลูกค้าโรบินฮู้ดกว่า 3 ล้านคน และเพื่อให้แน่ใจว่าลูกค้าจะได้รับประสบการณ์ที่ดีในการสั่งอาหารผ่านโรบินฮู้ด เราจึงให้ความสำคัญกับการฝึกอบรมการให้บริการของไรเดอร์อย่างเข้มข้น ทั้งด้านมารยาท ความปลอดภัย และสุขอนามัย เพื่อรักษามาตรฐานในการให้บริการ ทำให้โรบินฮู้ดไรเดอร์ได้รับการตอบรับที่ดีและเสียงชื่นชมจากลูกค้าและร้านค้า จนกลายมาเป็นจุดแข็งที่สร้างความแตกต่างให้กับแพลตฟอร์มโรบินฮู้ด”

“นอกจากเรื่องมาตรฐานการให้บริการแล้ว โรบินฮู้ดยังให้ความสำคัญในเรื่องความปลอดภัยบนท้องถนนของไรเดอร์ เราจึงได้จัดทำโครงการ “Robinhood Super Rider” ขึ้น เพื่อมุ่งสร้างสุภาพบุรุษบนท้องถนน โดยได้ร่วมกับ 4 พันธมิตร ได้แก่ บริษัท ไทยยามาฮ่ามอเตอร์ จำกัด กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) บริษัท ไทยพาณิชย์ โพรเทค จำกัด (SCB Protect) และบริษัท ไทเกอร์ บี จำกัด ผู้จัดจำหน่ายหมวกกันน็อค KYT จัดกิจกรรมฝึกอบรมให้ความรู้ พร้อมเสริมทักษะที่จำเป็นบนท้องถนนในด้านต่างๆ โดยมุ่งหวังให้ไรเดอร์สามารถนำเอาความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน รวมทั้งมีจิตสำนึกในการช่วยเหลือเพื่อนร่วมทาง เคารพและปฏิบัติตามกฎหมาย เพื่อความปลอดภัยในการขับขี่บนท้องถนน” นายสีหนาท กล่าวเสริม

โครงการ “Robinhood Super Rider สร้างสุภาพบุรุษบนท้องถนน” ประกอบด้วย

1. กิจกรรมอบรมการขับขี่ปลอดภัย ร่วมกับ บริษัท ไทยยามาฮ่ามอเตอร์ จำกัด ภายใต้โครงการ Yamaha Learn to Ride หลักสูตรการขับขี่ปลอดภัย เพื่อเสริมทักษะการขับขี่ เรียนรู้การดูแลรักษารถจักรยานยนต์อย่างถูกวิธี และการเสริมสร้างทักษะเกี่ยวกับการขับขี่รถจักรยานยนต์ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัยบนท้องถนน เพื่อเป็นการปลูกฝังจิตสำนึกและเสริมสร้างวินัยจราจร รณรงค์ความปลอดภัยทางถนน การลดอุบัติเหตุของรถจักรยานยนต์ สามารถขับขี่บนท้องถนนได้อย่างปลอดภัยและถูกต้อง ปฏิบัติตามกฎหมาย

2. กิจกรรมสุภาพบุรุษกู้ชีพ ร่วมกับ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) อบรมเรื่องการปฐมพยาบาลเบื้องต้น เรียนรู้ทักษะ พร้อมฝึกปฏิบัติการช่วยเหลือตนเองและผู้อื่น เช่น ทักษะการปฐมพยาบาลเบื้องต้น การห้ามเลือด การช่วยฟื้นคืนชีพผู้ที่หยุดหายใจหรือหัวใจหยุดเต้น (CPR) และการใช้เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติ (AED) กรณีพบเจออุบัติเหตุบนท้องถนนที่ไม่คาดคิด สามารถเข้าช่วยเหลือเบื้องต้นผู้ประสบอุบัติเหตุได้ทันท่วงทีอย่างถูกต้องและปลอดภัย ช่วยบรรเทาอาการเจ็บของผู้ประสบภัย และช่วยลดความเสี่ยงในการสูญเสีย พร้อมปลูกฝังสร้างการมีจิตสาธารณะการเข้าไปมีส่วนร่วม การช่วยเหลือหรือมีน้ำใจซึ่งกันและกันในสังคมด้วยความเต็มใจโดยไม่หวังผลตอบแทน

3. สําหรับ “โรบินฮู้ด ไรเดอร์” ที่เข้าร่วมอบรมกับโครงการ Robinhood Super Rider สร้างสุภาพบุรุษบนท้องถนน ทั้ง 2 กิจกรรม บริษัท ไทยพาณิชย์ โพรเทค จำกัด (SCB Protect) มอบประกันอุบัติเหตุสุดคุ้ม คุ้มครองสูงสุด 90 วัน

4. สิทธิเศษสําหรับ “โรบินฮู้ด ไรเดอร์” ในระบบทั้งหมด บริษัท ไทเกอร์ บี จำกัด ผู้จัดจำหน่าย หมวกกันน็อค KYT มอบโค้ดส่วนลด เพื่อซื้อหมวกกันน็อคในราคาพิเศษ

]]>
1390051
ถอดรหัสความสำเร็จ ‘Robinhood’ พร้อมกางโรดแมป ‘4 บริการใหม่’ มุ่งสู่ ‘Alternative Super App’ https://positioningmag.com/1384690 Tue, 10 May 2022 11:56:15 +0000 https://positioningmag.com/?p=1384690 จากแพลตฟอร์มที่ใคร ๆ ก็มองว่า เจ๊งแน่ เพราะคู่แข่งในตลาดมีแต่ต่างชาติเงินถุง แต่กลับกลายเป็นขึ้นมาเป็นเบอร์ 2 ของตลาดได้ในระยะเวลาเพียง 20 เดือน และจากแค่โครงการ CSR ทำไปโดยไม่ได้หวังถึง กำไร แต่กลายเป็นตอนนี้กล้าที่จะเริ่มมองถึงโอกาสการเป็น ยูนิคอร์น! ธนา เธียรอัจฉริยะ ประธานกรรมการ บริษัท เพอร์เพิล เวนเจอร์ส จำกัด ได้มาเผยถึงแนวคิดที่ทำให้ Robinhood เป็นได้มากกว่าโครงการ CSR และพร้อมเป็น Alternative Super App ที่อยู่รอด

Robinhood ที่ก้าวข้าม CSR

หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า ซูเปอร์แอป เพราะแทบทุกแพลตฟอร์มปักหมุดที่จะไป และที่ผู้เล่นทุกคนต้องการจะเป็นซูเปอร์แอปก็เพื่อเป็นตัวกลาง ยึดบริการทุกอย่าง โดยในตอนแรกนั้น แพลตฟอร์มเหล่านี้จะยอม ขาดทุน เพื่อจะดึงคนให้มาใช้งาน ยิ่งดึงคนได้เยอะ ก่อนจะ ระดมทุน จากนั้นก็ต่อยอดสู่บริการอื่น ๆ ที่สามารถทำ กำไร

เช่นเดียวกับโรบินฮู้ดที่เริ่มเดินในทางนั้น แม้ตอนแรกจุดเริ่มต้นของแพลตฟอร์มโรบินฮู้ด เริ่มมาจากที่ ธนาคารไทยพาณิชย์ ได้ให้งบส่วนของ CSR มาพัฒนาแพลตฟอร์ม ฟู้ด เดลิเวอรี่ เพื่อช่วยเหลือร้านอาหารและผู้บริโภคในช่วง COVID-19 โดยแพลตฟอร์มจะ ไม่เก็บค่า GP จากร้านอาหาร รวมถึงค่าธรรมเนียมจากไรเดอร์

ธนา เธียรอัจฉริยะ ประธานกรรมการ บริษัท เพอร์เพิล เวนเจอร์ส จำกัด

แน่นอนว่าการที่โรบินฮู้ดจะไม่มีรายได้เลย แถมยังขาดทุนด้วยซ้ำ แต่นั่นก็มาจากงบ CSR อยู่ดี แต่กลายเป็นว่าในช่วง 20 เดือนที่ให้บริการผลตอบรับที่ได้กลับดีเกินคาด ซึ่ง ธนายอมรับว่า มันคงจะดีกว่าถ้า สามารถหารายได้จากแพลตฟอร์มได้ แทนที่จะเผาเงินทิ้งอย่างเดียว ก่อนจะนำไปสู่เป้าหมายการเป็นซูเปอร์แอป

จุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้โรบินฮู้ดสามารถเดินเกมการเป็นซูเปอร์แอปได้ มาจากการเติบโตที่รวดเร็ว ยิ่งในช่วงกลางปีที่มีการล็อกดาวน์รอบสอง ทำให้โรบินฮู้ดได้ออกมาตรการพิเศษ ส่งฟรีทุกออเดอร์ช่วงล็อกดาวน์ ซึ่งแคมเปญนี้ได้กลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ ที่ทำให้เเพลตฟอร์มเติบโตได้แบบก้าวกระโดดจนเป็นเบอร์ 2 ในตลาดกรุงเทพฯ และปริมณฑล ครองส่วนแบ่งตลาด 21%

  • มีลูกค้าลงทะเบียนใช้งานกว่า 8 ล้านคน
  • ร้านค้าบนแพลตฟอร์ม 225,000 ร้าน
  • ไรเดอร์ ให้บริการส่งอาหารกว่า 30,000 คน
  • ยอดสั่งอาหารเฉลี่ย 180,000 ออเดอร์ต่อวัน

มวยรองต้องเน้นฉีก

อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ผู้เล่นทุกรายที่สาดเงินแล้วจะสร้างฐานลูกค้าได้ แต่เพราะความเป็น มวยรอง แถมยัง มาทีหลัง ดังนั้น โรบินฮู้ดเลยต้องเน้นฉีก เริ่มจากแก้ปัญหาให้กับร้านอาหารและไรเดอร์ ซึ่งมีเพนพอยต์จากค่า GP ซึ่งพอไม่เก็บค่า GP ร้านค้าและไรเดอร์ก็อยากจะอยู่บนแพลตฟอร์ม โดยการแย่งชิงร้านค้าและไรเดอร์ถือเป็นส่วนที่มีการแข่งขันสูง เพียงแต่คนนอกมักมองไม่เห็น

นอกจากนี้ โรบินฮู้ดยังวางสังเวียนที่ตัวเองจะแข่งขันชัดเจน คือ ไม่ไป 77 จังหวัด เนื่องจาก ไม่คุ้มเงิน ดังนั้น จะเน้นที่กรุงเทพฯ ปริมณฑล และเมืองท่องเที่ยว รวมถึงโฟกัสที่ร้านอาหารรายย่อย ขณะที่รายใหญ่จะเน้นดีลกับร้านอาหารเชนใหญ่ ที่สามารถดึงผู้ใช้งานได้มากกว่า

สุดท้าย แพลตฟอร์มที่สร้างต้อง พร้อมใช้งาน ไม่มีเวลามาทดลอง แต่ถ้ามีปัญหาตรงไหนต้อง รีบแก้ไข และต้องอยู่ใกล้ชิดลูกค้าที่สุดเพื่อปรับแพลตฟอร์มให้ตรงใจ

Travel ก้าวที่สองสู่ Super Apps

หลังจากสร้างฐานลูกค้าได้ใหญ่จนเป็นที่พอใจแล้ว โรบินฮู้ดก็ปล่อยบริการต่อมาก็คือ Travel ที่ธนาระบุว่าจะเป็นบริการ เท่าทุน แม้ว่าจะไม่มีการเก็บค่า GP กับโรงแรมก็ตาม ต่างจากแพลตฟอร์มอื่น ๆ ในตลาดที่เก็บ GP ประมาณ 30% ซึ่งที่บริการ Travel จะไม่เน้นเผาเงินก็เพราะรายได้จากบริการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว เช่น บริการจองทัวร์, จองกิจกรรมต่าง ๆ, จองรถเช่า ที่จะเปิดให้บริการในเดือนมิถุนายน และ บริการจองตั๋วเครื่องบิน ที่จะเปิดให้บริการในเดือนกรกฎาคมปีนี้

เบื้องต้น โรบินฮู้ดจะเน้นดึงที่พักระดับ 3-5 ดาวเข้าสู่ระบบ และเน้นลูกค้า Food ให้มาลองใช้บริการ Travel ก่อนที่จะหาลูกค้าใหม่ เนื่องจากมองว่าลูกค้าเดิมมีความ คุ้นเคย ทำให้ ง่าย ต่อการดึงลูกค้า กับแพลตฟอร์ม อีกทั้ง ลูกค้าส่วนใหญ่ค่อนข้าง มีเงิน เพราะกลุ่มลูกค้าโรบินฮู้ดนั้นมีรายได้เฉลี่ย 30,000 บาทขึ้นไป มีอัตราการสั่งอาหารเฉลี่ยครั้งละ 200 กว่าบาทต่อออเดอร์ ขณะที่คู่แข่งที่เฉลี่ยราว 100 กว่าบาท

“เราชัดเจนมากลูกค้าเราคือใคร ซึ่งเราเห็นว่าเขาสั่งอาหารอยู่บ้านจนเบื่อ เขาอยากเที่ยว แล้วคนที่เที่ยวตอนนี้คือคนที่มีเงินทั้งนั้น”

ภายในปีแรกที่เปิดให้บริการ โรบินฮู้ดตั้งเป้าดึงพาร์ตเนอร์โรงแรม 30,000 แห่ง มียอดจองมากถึง 300,000 ทริป มีนักท่องเที่ยวมาใช้บริการผ่านแอปฯ กว่า 200,000 คน และเป็น Top 3 แพลตฟอร์มออนไลน์ทราเวล นอกจากนี้ ตั้งเป้าให้มีเงินหมุนเวียนในภาคการท่องเที่ยว 1 พันล้านบาท และช่วยเซฟค่าคอมมิชชั่นโรงแรม 200 ล้านบาท

“เราคงไม่ชนะคู่แข่งรายใหญ่จากต่างชาติแน่ เพราะเราคงเผาเงินแข่งไม่ได้ แต่เราหวังให้เกิดบาลานซ์ระหว่างแพลตฟอร์มและผู้ประกอบการและลูกค้า ซึ่งเราเห็นตัวอย่างจากตอนทำ Food เมื่อเราไม่เก็บค่า GP ร้านค้าก็เห็นอกเห็นใจลูกค้า ของแพงก็ไม่ขึ้นราคา ไม่ลดปริมาณอาหาร ทำให้คุ้มกว่าที่อื่น ลูกค้าก็จะดูแลไรเดอร์ดี มันจะเกิดเป็นวงจร”

ในสิ้นปีเปิดอีก 3 บริการ มุ่งปั้นรายได้

สำหรับบริการ Food เป็นบริการที่โรบินฮู้ดยอม ขาดทุน เพื่อสร้างฐานลูกค้า ส่วน Travel เป็นบริการที่ เท่าทุน แต่เป็นการต่อยอดจากฐานที่มี และอาจจะช่วยเพิ่มลูกค้าใหม่ ๆ เข้ามาในอนาคต แต่บริการที่จะทำเงินให้กับโรบินฮู้ดจริง ๆ รวมถึงพาโรบินฮู้ดก้าวเป็น ซูเปอร์แอป เต็มตัวก็คือ 3 บริการใหม่ที่จะเกิดจากนี้ ได้แก่

  • บริการซื้อสินค้าในซูเปอร์มาร์เก็ต (เดือนกรกฎาคม)
  • บริการรับส่งพัสดุ (ไตรมาส 3)
  • บริการไรด์ เฮลลิ่งหรือบริการส่งคน (ไตรมาส 4)

ไม่ใช่แค่สร้างรายได้จาก 3 บริการใหม่นี้ แต่โรบินฮู้ดยังวางบิสซิเนสโมเดลสร้างรายได้จากโฆษณา และบริการปล่อยเงินกู้อีกด้วย

“อีก 3 บริการนี้ ถือเป็นบริการที่สามารถทำกำไรได้มากที่สุด แต่ถ้าเราจะทำโดยไม่มีฐานลูกค้าเลยเราต้องใช้งบเป็นพันล้าน แต่ถ้าเรามีฐานลูกค้า เราใช้งบแค่หลักสิบล้านในการเพิ่มฟีเจอร์เข้าไป นี่เลยเป็นเหตุผลที่เราเพิ่มบริการใหม่รัว ๆ ภายในปีเดียว” สีหนาท ล่ำซำ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เพอร์เพิล เวนเจอร์ส จำกัด กล่าว

จากบริการใหม่ที่เพิ่มขึ้น โรบินฮู้ดมั่นใจว่าจะช่วยเพิ่มลูกค้า และความถี่ในการให้บริการมากขึ้น โดยภายในสิ้นปี โรบินฮู้ดตั้งเป้าขยายฐานลูกค้าเป็น 4 ล้านราย จากปัจจุบันที่มีอยู่ 2.8 ล้านราย และเพิ่มทราฟฟิกในการใช้บริการที่เพิ่มขึ้นจากปัจจุบันเฉลี่ย 1.7-1.8 แสนรายต่อวัน

ขอเป็น Alternative Super App ผู้อยู่รอด

แน่นอนว่าการแข่งขันของ ซูเปอร์แอป นั้นสูงมาก และมีแต่ผู้เล่นรายใหญ่ แต่ธนามองว่าสุดท้ายแล้วจะเหลือ ผู้เล่นรายหลักแค่ 2 ราย และผู้เล่น ทางเลือก (Alternative Super App) 1 ราย เท่านั้น ซึ่งโรบินฮู้ดของเป็น ซูเปอร์แอปทางเลือก เพราะไม่สามารถไปแข่งเผาเงินสู้ได้ เน้นโฟกัสที่ตลาดที่ถนัด

ทั้งนี้ ธนาเปิดเผยว่า มีธนาคารในอาเซียน สนใจที่จะ ลงทุน กับแพลตฟอร์ม คาดว่าจะเจรจาแล้วเสร็จภายในปีนี้ โดยปัจจุบัน โรบินฮู้ดมีมูลค่าราว 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ อย่างไรก็ตาม โรบินฮู้ดไม่ได้วางเป้าว่าจะต้องขึ้นเป็นยูนิคอร์น เพราะกลัวจะทำให้เสียตัวตน เนื่องจากต้องไปโฟกัสเพิ่มกำไร ต้องอัดแคมเปญเร่งการเติบโต

ต้องรอดูว่าหลังจากที่ต่อร่างบริการทุกอย่างครบแล้ว โรบินฮู้ด จะมีศักยภาพต่อสู้กับรายใหญ่จากต่างชาติมากน้อยแค่ไหน จะสามารถสร้างการเติบโตอย่างก้าวกระโดดได้เหมือนบริการ Food หรือไม่ หลังจากนี้มั่นใจได้เลยว่าตลาดแข่งเดือดกว่าเดิมแน่นอน!

]]>
1384690
วิถีมวยรองของ ‘Robinhood’ สู่เป้าหมายการลงทุน 5 พันล้าน เติบโตเป็น ‘ซูเปอร์เเอป’ อาเซียน https://positioningmag.com/1358288 Wed, 27 Oct 2021 12:50:11 +0000 https://positioningmag.com/?p=1358288 เดินทางมาได้ครบ 1 ปีเเล้วกับ Robinhood (โรบินฮู้ด) ฟู้ดเดลิเวอรี่สัญชาติไทย ที่มีจุดเริ่มต้นจากความต้องการช่วยเหลือคนตัวเล็กให้อยู่รอดผ่านวิกฤตโควิด สั่นสะเทือนวงการด้วยการประกาศไม่เก็บค่า GP’ ร้านอาหารเเม้เเต่บาทเดียว

เเละต่อจากนี้ไปคือการขยายบริการไปยังธุรกิจท่องเที่ยว จองโรงแรมตั๋วเครื่องบิน-ทัวร์ ซื้อของเเละส่งของ ตามเป้าหมายการเป็นซูเปอร์แอป’ เตรียมตัวระดมทุนใหญ่ ในปี 2565 เเละจะเพิ่มการลงทุน 4-5 พันล้านในปี 2566

หากคิดว่า Robinhood เป็นเด็กคนหนึ่ง ก็นับเป็นเด็กที่โตเร็วมากเพราะปัจจุบัน หลังทำมาเพียงปีเดียว ก็มีลูกค้าที่ลงทะเบียนใช้งานเเพลตฟอร์มไปเเล้วถึง 2.3 ล้านคน มีร้านอาหารเข้าร่วมกว่า 164,000 ร้าน และมีไรเดอร์ 26,000 คน ออเดอร์ต่อวันเฉลี่ยอยู่ที่ 150,000 ออเดอร์ โดยยอดสั่งออเดอร์มีการเติบโตเพิ่มขึ้นถึง 750% เมื่อเทียบกับเดือนก..ปีที่ผ่านมา

ยิ่งในช่วงกลางปีที่มีการล็อกดาวน์รอบสอง’ Robinhood ได้ออกมาตรการพิเศษส่งฟรีทุกออเดอร์ช่วงล็อกดาวน์เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของผู้คนในสังคม ซึ่งแคมเปญนี้ได้กลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้เเพลตฟอร์มเติบโตได้แบบก้าวกระโดด

โดย 5 อันดับเมนูอาหารที่ได้รับความนิยมมากที่สุดได้แก่ ก๋วยเตี๋ยว (ขายดีถึง 3.7 ล้านชาม) ชานมไข่มุก อาหารจานเดียว แซลมอน และกาแฟ ส่วนพื้นที่ที่มีการจัดส่งมากที่สุด ได้แก่ จตุจักร ห้วยขวาง บางกะปิ ลาดพร้าว สายไหม บางเขน สวนหลวง ดินแดง ประเวศ และวังทองหลาง

กลุ่มลูกค้าหลักของ Robinhood ขยายจากคนตัวเล็กสู่วงกว้างมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มชนชั้นกลางในเมืองที่มีกำลังซื้อสูง ซึ่งจะสามารถต่อยอดไปสู่การให้บริการอื่นๆ ได้ เช่น ชวนไปเที่ยว ชวนไปช้อป

วิถีมวยรองของ Platform of kindness

ธนา เธียรอัจฉริยะ ประธานกรรมการ บริษัท เพอร์เพิล เวนเจอร์ส จำกัด บริษัทลูกในเครือ SCBX ผู้พัฒนาและให้บริการแพลตฟอร์ม Robinhood เล่าให้ฟังถึง เส้นทางการเรียนรู้เเละลองผิดลองถูก ตลอดช่วง 1 ปีที่ผ่านมา สรุปได้เป็นบทเรียนสำคัญคือ

1.ฐานลูกค้า ที่ใช้บริการแพลตฟอร์มจะเป็นพลังสำคัญที่จะนำ Robinhood ก้าวสู่ความเป็นซูเปอร์แอป (super app) ในอนาคต 

2. Platform of kindness จุดเด่นของการแพลตฟอร์มที่ชูความช่วยเหลือและมีน้ำใจ” ต่อกัน มีแรงดึงดูดผู้คนไม่ว่าจะเป็นลูกค้า ร้านค้า และไรเดอร์ ช่วยเหลือกัน นับเป็นหัวใจสำคัญที่ทำให้แพลตฟอร์มสามารถเติบโตต่อไปได้ 

3.ความสนุกของการได้ลงมือทำสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ให้เกิดขึ้นได้ มีความอยากที่จะเรียนรู้พัฒนาไปเรื่อยๆ เเละมีโจทย์ใหม่ๆ มาให้ทดลองอยู่เสมอ

4.มาตรฐานโอลิมปิก คือ การที่เมื่อคิดจะลงมือทำอะไรให้คิดไปถึงมาตรฐานโอลิมปิก เพื่อให้ได้มาซึ่งผลลัพธ์ที่ได้มาตรฐานระดับสากลสู้กับคู่เเข่งยักษ์ใหญ่ที่มาจากต่างประเทศได้

5. วิถีมวยรอง เล่นเกมธุรกิจที่มีความเเตกต่าง ใช้เงินทุนน้อยกว่า จำนวนคนน้อยกว่า เเละไม่ได้มุ่งหวังจะไปแข่งชิงเบอร์ 1 กับเจ้าตลาดที่แข็งแกร่ง แต่ต้องพยายามหาตำแหน่งทางการตลาดของตัวเองให้ได้ เป็นมวยรองที่มีจุดยืนชัดเจน

-ธนา เธียรอัจฉริยะ ประธานกรรมการ บริษัท เพอร์เพิล เวนเจอร์ส จำกัด

ปรับไซซ์ใหญ่ สู่ ‘ซูเปอร์เเอป’ 

ก้าวต่อไปของ Robinhood จึงถึงเวลาที่จะขยายไปให้กว้างเเละใหญ่ขึ้น หลากหลายมิติมากขึ้น นอกจากธุรกิจฟู้ดเดลิเวอรี่ เเต่ก็ยังจะต้องคงคอนเซ็ปต์การช่วยเหลือผู้ประกอบการไทย ช่วยคนไทย

สีหนาท ล่ำซำ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เพอร์เพิล เวนเจอร์ส จำกัด บอกว่า Robinhood กำลังจะเดินเข้าสู่ 3 ธุรกิจใหม่ที่เป็น Non-Food  ได้แก่

บริการจองที่พัก ตั๋วเครื่องบิน กิจกรรมท่องเที่ยว รถเช่า ประกันภัย (Online Travel Agent) สร้างทางเลือกและช่วยผู้ประกอบการ SME ไทย ให้ไม่ต้องแบกรับต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากการใช้ตัวแทนในการขายห้องพักผ่านช่องทางออนไลน์

บริการสั่งซื้อสินค้าจากซูเปอร์มาร์เก็ตและร้านค้า (Mart Service) เพื่อช่วยเพิ่มช่องทางการขายและเป็นสะพานเชื่อมให้ผู้ประกอบการได้เจอกับลูกค้าโรบินฮู้ดซึ่งเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อและพร้อมซื้อสินค้าที่มีคุณภาพ 

บริการรับส่งของ (Express Service) แบบ on-demand เพื่อรองรับธุรกิจอีคอมเมิร์ซที่กำลังขยายตัวแบบก้าวกระโดด

ชำระเงินข้ามแพลตฟอร์ม เพิ่มฟีเจอร์เเชท-ให้ทิป 

สำหรับธุรกิจฟู้ดเดลิเวอรี่ที่เป็นธุรกิจเริ่มต้นของ Robinhood นั้นจะมีเเผนการให้บริการสู่ต่างจังหวัด หลังตีตลาดในกรุงเทพฯ เเละปริมณฑลได้สำเร็จเเล้ว

ในปี 2565 เตรียมปักหมุดนำร่องที่ 3 จังหวัดท่องเที่ยวยอดนิยม อย่างเชียงใหม่ ภูเก็ต และชลบุรี ก่อนขยายไปหัวเมืองใหญ่ทั่วประเทศต่อไป ซึ่งบริษัทจะมีการเพิ่มฟีเจอร์ใหม่เข้าไปเรื่อยๆ อย่างเช่น

การให้คะเเนนรีววกับร้านค้าและไรเดอร์

รีพอร์ตสำหรับร้านค้าที่จะได้เห็นข้อมูลสถิติการซื้อขายของตัวเอง

ให้ร้านค้าสามารถสร้างโปรโมชันได้เองในหน้า Landing Page ปรับเลือกหน้าเพจได้เอง

โปรเเกรม subscription ฟีเจอร์แชทกับไรเดอร์

ให้ทิปกับไรเดอร์

สำหรับการชำระเงินนั้น ผู้บริหาร Robinhood ยืนยันว่าจะเน้นการเป็น Cashless 100% เพื่อสนับสนุนสังคมไร้เงินสด เเละมีความปลอดภัยเนื่องจากผู้ซื้อเเละไรเดอร์ไม่ต้องจับเงินสดเลย อีกทั้งเงินยังโอนเข้าร้านค้าได้เร็วนำไปหมุนเวียนธุรกิจได้เร็วกว่า

เพื่อให้ผู้บริโภคชำระเงินอย่างสะดวก Robinhood จะจับมือกับผู้ให้บริการ Mobile Banking อีก 2 – 3 ราย รวมถึงกลุ่ม Non-Bank ให้ลูกค้าสามารถชำระเงินข้ามแพลตฟอร์มได้ โดยไม่ต้องใช้บัญชี SCB อย่างเดียว ซึ่งกำลังจะเปิดตัวในเร็วๆ นี้

นอกจากนี้ การมาของยานเเม่ SCBX ที่ปลดล็อกธนาคารร้อยปี เเละ Re-imagine ไทยพาณิชย์ให้เป็นบริษัทเทคยุคใหม่นั้น

Robinhood ก็จะมีผสานพลังความร่วมมือกับบริษัทอื่นๆ ในกลุ่ม SCBX เช่น Auto X, Card X, Data X, SCB Tech X เป็นต้น เพื่อหาลูกค้า (customer acquisition) พร้อมการนำเอาข้อมูลดาต้ามาต่อยอดด้านสินเชื่อและบริการทางการเงินอื่น ๆ รวมไปถึง การทำโฆษณา ทำโปรโมชันกับลูกค้า เพื่อประโยชน์สูงสุดของร้านค้า และลูกค้า 

เราวางแผนเตรียมระดมทุนเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของแพลตฟอร์มและมุ่งพัฒนาบริการ ปูทางสู่การเป็นซูเปอร์แอปสัญชาติไทยอย่างเต็มตัว ที่พร้อมรองรับบทบาทการเป็นผู้ให้บริการในระดับภูมิภาค (regional player)”

-สีหนาท ล่ำซำ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เพอร์เพิล เวนเจอร์ส จำกัด

ระดมทุนเพื่อการเติบโต 

จากเงินทุนตั้งต้น 150 ล้านบาทในช่วงเเรกของการเปิดตัว วันนี้ Robinhood เตรียมการระดมทุนกว่า 1,000 – 3,000 ล้านบาท ในช่วงกลางปี 2565 จากนั้นตั้งเป้าจะสู่ 4,000-5,000 ล้านบาท ภายในปี 2566 เพื่อเป้าหมายการเป็นซูเปอร์แอปให้ได้ในเร็ววัน พร้อมขยายไปในตลาดอาเซียน

ธนาบอกว่า ในช่วงกลางปี 2565 Robinhood จะเริ่มโรดโชว์กับเหล่านักลงทุนเพื่อระดมทุนต่อยอดแผนธุรกิจขยายจากธุรกิจอาหารไปยังบริการอื่นๆ เน้นการบริการที่มีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง

Robinhood ตั้งเป้าว่าปีหน้าธุรกิจต่าง ๆ ของบริษัทจะมีการเติบโตต่อเนื่อง เเบ่งเป็นธุรกิจฟู้ดเดลิเวอรี่ หลังขยายไปยังต่างจังหวัดจะต้องมีผู้ใช้งาน 4 ล้านบัญชี เพิ่มร้านค้าเป็น 3 แสนร้าน

ส่วนธุรกิจท่องเที่ยว ต้องมีโรงแรม ที่พัก และผู้ให้บริการทัวร์ต่าง ๆ ลงทะเบียนกับระบบ 45,000 ราย มีการจองมากกว่า 4.8 แสนครั้งโดยเฉพาะผู้ประกอบการรายย่อยในท้องถิ่น

บริการ Mart Service ต้องมีผู้ใช้งาน 1.5 ล้านราย และมี 8,000-10,000 ร้านค้าที่ไม่เคยเข้าร่วมกับแพลตฟอร์มใด ๆ อยากมาจำหน่ายสินค้ากับ Robinhood

ส่วนธุรกิจ Express เจากลุ่มอีคอมเมิร์ซ ต้องมีลูกค้าองค์กรมากกว่า 5,000 ราย และมีการใช้บริการอย่างน้อย 4,000 ครั้งต่อเดือน

สำหรับการบุกตลาด Online Travel Agent นั้น ผู้บริหาร Robinhood มองว่าเป็นธุรกิจที่มีความท้าทายสูง การเเข่งขันสูง เเละก็มีศักยภาพสูงเช่นกัน ยิ่งในประเทศไทยที่พึ่งพาธุรกิจท่องเที่ยวเป็นหัวใจหลัก

การผสานระหว่าง Food และ Travel น่าจะไปด้วยกันได้ดี เช่นอาจจะมีการจองโรงเเรมเเล้วเเถมโปรโมชันส่งอาหารจาก Robinhood ฟรี

ด้านรูปเเบบการการหารายด้ ยังยืนยันว่า จะมีไมีการเก็บค่า GP จากร้านอาหารโรงแรมที่เข้าร่วมบนแพลตฟอร์ม เเต่จะไปหารายได้ผ่านช่องทางอื่น อย่างการ รายได้จากค่าโฆษณา , รายได้จากการเก็บ GP ในธุรกิจ Mart Service, Express และ Non-Travel Services เเละการต่อยอดทำธุรกิจสินเชื่อ (Lending)

ยอมรับว่าปีหน้า เราก็ยังจะขาดทุนเหมือนเดิม เพราะเราไม่เก็บ GP ร้านอาหารและธุรกิจท่องเที่ยว เเต่จะมีรายได้เข้ามาจากธุรกิจ Mart – Express ซึ่งเราจะเก็บให้น้อยที่สุดในตลาด คิดว่าจะขาดทุนไปอีกสัก 1-2 ปี เเต่สิ่งสำคัญคือการขาดทุนจะลดน้อยลงเรื่อยๆ นักลงทุนจึงจะพิจารณาจากศักยภาพในการเติบโตในอนาคตมากกว่า

 

]]>
1358288
Robinhood โดนป่วน สั่งไข่ดาว 5 บาท ส่งข้ามจังหวัด ขอปรับเงื่อนไข ‘ส่งฟรี’ เหลือจำกัดระยะไม่เกิน 10 กิโลเมตร  https://positioningmag.com/1341918 Mon, 12 Jul 2021 10:13:54 +0000 https://positioningmag.com/?p=1341918
ขอโอกาส ‘ล้ม ลุก เรียน รู้’ Robinhood โดนป่วนสั่งไข่ดาว 5 บาท ส่งข้ามจังหวัด ประกาศเเจ้งลูกค้า ปรับเงื่อนไข ‘ส่งฟรีทุกออเดอร์’ เหลือจำกัดระยะไม่เกิน 10 กิโลเมตร 

หลังฟู้ดเดลิเวอรี่สัญชาติไทยอย่าง ‘Robinhood’ (โรบินฮู้ด) ในเครือ SCB ประกาศ ‘ส่งฟรีทุกออร์เดอร์‘ ในช่วงล็อกดาวน์ ตั้งแต่ 11-25 ก.ค. 64 เพื่อช่วยเหลือร้านอาหารเล็กๆ เเละเเบ่งเบาภาระผู้บริโภค จนได้รับเสียงตอบรับล้มหลาม คนเเห่กดสั่งกันเป็นจำนวนมาก ทำให้มีข้อผิดพลาดทางระบบ เเละมีไรเดอร์บริการไม่เพียงพอ

ในช่วงเวลาเดียวกันนั้น พบว่า มีผู้ใช้บางราย ใช้ช่องโหว่จากการ ‘ส่งฟรีทุกออเดอร์’ กดสั่งไข่ดาว ราคาเพียง 5 บาท เเต่ให้จัดส่งแบบ ‘ข้ามจังหวัด’ จากปทุมธานีไปสมุทรปราการ ต้องใช้เวลาถึงสองชั่วโมง หรือสั่งโรตีชาชักจาก ม.ราม 2 ไปสมุทรสาคร ฯลฯ ซึ่งเป็นกรณีที่ไม่ปกตินัก ส่งผลเสียต่อร้านค้า รวมไปถึงความปลอดภัยของไรเดอร์ที่ต้องเดินทางไกล

ล่าสุด Robinhood ประกาศแจ้งปรับเปลี่ยนเงื่อนไขการให้บริการ โดยระบุว่า

โรบินฮู้ด ใคร่ขออภัยในความไม่สะดวกจากความสนใจที่ล้นหลามจากมาตรการ ‘เราช่วยคุณ คุณช่วยร้าน’ และกำลังเร่งรับไรเดอร์เพิ่มเพื่อให้ทันกับความต้องการ ในช่วงที่มีความต้องการสูงเกินจำนวนไรเดอร์ ทางระบบอาจจะใช้งานไม่ได้ชั่วคราว

โดยทางโรบินฮู้ด จะขอให้คิวกับร้านเล็กใกล้บ้านคุณในรัศมี 10 กิโลเมตรก่อน เพื่อให้ได้ช่วยร้านเล็กตามเจตนารมณ์ของมาตรการ โรบินฮู้ดจะพยายามเร่งเพิ่มจำนวนไรเดอร์อย่างต่อเนื่องเพื่อที่จะให้คุณสามารถช่วยร้านเล็กได้มากขึ้นในสภาวะล็อกดาวน์

ด้าน ‘ธนา เธียรอัจฉริยะ’ ประธานกรรมการ บริษัท เพอร์เพิล เวนเจอร์ส จำกัด ผู้บริหารเเอปฯ Robinhood โพสต์ข้อความใน เฟซบุ๊กส่วนตัว ว่า “ต้องค่อยๆ หาทางแก้ครับ เพราะไม่งั้นถมไรเดอร์ยังไงก็ไม่พอ ร้านก็ไม่ได้อะไรเลย เมื่อวานมีแบบนี้เยอะมาก ขอความเห็นไจนะครับ ร้านเล็กเดือดร้อนเยอะมากแล้ว”

พร้อมขอโอกาส ‘ล้ม ลุก เรียน รู้’ โดยทางทีมโรบินฮู้ดได้ทราบถึงระดับความสนใจของมาตรการ “เราช่วยคุณ คุณช่วยร้าน” ผ่านทางโรบินฮู้ดอย่างล้นหลาม ทำให้ระบบมีปัญหาไปบางช่วงและไรเดอร์ไม่พอต่อความต้องการ

ธนา ชี้แจงว่า “มีหลายท่านอาจจะหงุดหงิด ไม่พอใจและขอให้เราหยุดแคมเปญนี้ไปก่อนถ้าหาไรเดอร์ได้ไม่เพียงพอ กระบวนการนี้เป็นกระบวนการที่เจ็บปวดและเราทราบดีว่าจะต้องถูกตำหนิในวงกว้างที่ตัดสินใจทำโดยไม่เตรียมตัวให้พร้อม

แต่อย่างที่ได้ชี้แจงไปก่อนหน้าว่าเรามีเวลาน้อยมากเพราะเพิ่งตัดสินใจกันเมื่อวานและอยากให้มีผลทันทีช่วงล็อกดาวน์ ถ้าเตรียมให้พร้อมเต็มที่จะใช้เวลาอีกเป็นอาทิตย์ และการคาดการณ์ถึงระดับความสนใจนั้นทำได้ยากมาก วิธีเดียวที่เราจะสามารถทำได้และมีผลทันทีก็คือลองทำแล้วแก้ไขปรับปรุงโดยด่วน

จากการเริ่มมาตรการในวันนี้ทำให้เราได้ข้อมูลถึงความต้องการเป็นโจทย์ได้ชัดเจน ปัจจุบันทาง IT ได้ขยาย capacity ที่จากเดิมเตรียมไว้หนึ่งเท่าเป็นห้าเท่าและพยายามแก้ไขในข้อต่อสำคัญอยู่อย่างต่อเนื่อง ทาง call center ของ SCB ได้เพิ่มจำนวนคู่สายและ agent อีกหนึ่งเท่า

ในส่วนของไรเดอร์ ได้เตรียมการรับสมัครและเทรนไรเดอร์ในสามวันที่จะถึงนี้ทางออนไลน์ โดยแบ่งเป็นหลายช่วงอีกวันละ 1,500 คน รวมทั้งสิ้น 4,500 คน และจะเพิ่มงบประมาณในการจ่าย incentive ให้ไรเดอร์เพื่อรับงานมากขึ้น เพื่อให้เกิดการปรับปรุงการบริการให้ดีขึ้น มีเรื่อง fraud เรื่องคน abuse ระบบ ที่มีผลต่อการให้บริการ ก็ต้องหาทางแก้ไขกันไป

เราตัดสินใจที่จะลองทำก่อนแล้วแก้ไขปัญหาอย่างเต็มที่ อาจจะเป็นวิธีการที่ไม่ถูกใจใครหลายคนที่อยากให้พร้อมก่อนทำ แต่เป็นวิธีที่เราได้เลือกแล้ว และไม่มีอะไรที่จะแก้ตัวนอกจากแสดงความพยายามอย่างสุดความสามารถที่จะแก้ไขปัญหาให้ลุล่วงและให้คุณได้ช่วยร้านเล็กให้มากที่สุด วันนี้ระบบอาจจะไม่เสถียร ไรเดอร์อาจจะไม่พอ แต่เราก็ช่วยร้านเล็กได้หลายหมื่นออเดอร์ไปแล้ว ขอให้อดทนกับเราและขอเวลาอีกสองสามวันนะครับ”

]]>
1341918
ฟู้ดเดลิเวอรี่ ‘โรบินฮู้ด’ ให้เช่า ‘มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า’ วันละ 120 บาท รวมประกัน-เปลี่ยนเเบตให้ (ไม่ต้องชาร์จเอง) https://positioningmag.com/1337594 Thu, 17 Jun 2021 08:53:38 +0000 https://positioningmag.com/?p=1337594
ฟู้ดเดลิเวอรี่ ‘โรบินฮู้ด’ ให้เช่า ‘มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า’ เพียงวันละ 120 บาท รวมทั้งค่าประกัน-เปลี่ยนเเบตฯ ให้ (ไม่ต้องชาร์จเอง) ประเดิม 200 คัน ตั้งเป้าสิ้นปีนี้ให้บริการ 1,500 คัน มีจุดเปลี่ยนเเบตฯ 100 เเห่ง ตามสาขาใกล้ชุมชนของธนาคารไทยพาณิชย์

พร้อมประกาศเพิ่มรายได้ให้ ‘ไรเดอร์’ ปรับอัตราค่ารอบใหม่ 2 กิโลเมตรแรกเพิ่มขึ้น 7.5% เริ่มต้นที่ 43 บาท (จากเดิม 40 บาท) ไม่หักเปอร์เซ็นต์

Robinhood EV Bike จะมีรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าสัญชาติไทย 2 เเบรนด์ให้เลือกตามความชอบ ได้เเก่ ETRAN และ H SEM ในราคาวันละ 120 บาท เบื้องต้นให้บริการ 200 คัน จุดเปลี่ยนแบตเตอรี่ 18 จุดทั่วกรุงเทพฯ กรณีรถมีปัญหาหรือเเบตฯ หมดกลางทาง ต้องการความช่วยเหลือ จะมีทีมลงพื้นที่ไปซ่อมให้

สำหรับรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า ETRAN รุ่น MYRA ออกเเบบมาเพื่อการขนส่งโดยเฉพาะ เป็นมิตรกับสิ่งเเวดล้อม เน้นขนาดเล็กเเต่วิ่งได้เร็ว โดยทำความเร็วสูงสุด 120 กิโลเมตร/ชั่วโมง ระยะทางสูงสุด 180 กิโลเมตร/การชาร์จ

รถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า ETRAN รุ่น MYRA

ส่วนรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า H SEM รุ่น MOBILA G มีการเพิ่มสมรรถนะการขับขี่ให้เหมาะกับไรเดอร์มากขึ้น ด้วยความเร็วสูงสุด 90 กิโลเมตร/ชั่วโมง ระยะทางสูงสุด 140 กิโลเมตร/การชาร์จ

โดยจุดเปลี่ยนเเบตเตอรี่นั้น จะกระจายตามสาขาของธนาคารไทยพาณิชย์ นำร่องเเล้วที่ SCB สำนักงานใหญ่ ซึ่งมีพื้นที่จอดรถ มีระบบรักษาความปลอดภัย ไรเดอร์ไม่ต้องรอชาร์จไฟเอง เพียงมาเปลี่ยนเเบตฯ ซึ่งใช้เวลาเพียง 3-5 นาที (ค่าเช่า 120 บาท เปลี่ยนเเบตฯ กี่ครั้งก็ได้ในหนึ่งวัน)

รถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า H SEM รุ่น MOBILA G

นอกจากนี้ ยังมีสิทธิพิเศษสำหรับผู้เช่า ’Robinhood EV Bike’ เกิน 1,000 วัน จะสามารถซื้อรถมาเป็น ‘ของตัวเอง’ ได้ในราคาหลักพันเท่านั้น (เงื่อนไขการเปลี่ยนเเบตฯ ขึ้นอยู่กับเเบรนด์ผู้ผลิต)

ปัจจุบัน ‘โรบินฮู้ด’ มีร้านค้าในเเพลตฟอร์ม 97,000 ร้าน ยอดผู้ใช้ 1 ล้านคน มีไรเดอร์ทั้งหมดประมาณ 15,000 คน เเอคทีฟวันละ 5,000-6,000 คน จากผลสำรวจพบว่า ไรเดอร์ที่มีรถเป็นของตัวเอง มีค่าใช้จ่ายด้านน้ำมันเเละค่าบำรุงรักษาต่างๆ เฉลี่ยประมาณเดือนละ 8,000 บาท ซึ่งบริษัทประเมินไว้ว่าหากเช่ารถ EV Bike ในราคาดังกล่าว จะทำให้ค่าใช้จ่ายลดลงราว 4,000 บาทต่อเดือน

โดยในปีนี้ ตั้งเป้าว่าไรเดอร์จะมาใช้บริการ Robinhood EV Bike ราว 1,500-2,000 คน ขึ้นอยู่กับความต้องการของตลาด เเละอัตราการผลิต โดยมุ่งเจาะกลุ่มผู้ที่สนใจทำอาชีพส่งอาหาร ทั้งที่มีหรือไม่มีรถจักรยานยนต์เป็นของตนเอง ช่วยสร้างงานในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ

พร้อมกันนั้น ได้เปิดตัว “โรบินฮู้ด ไรเดอร์ แอปพลิเคชัน” แพลตฟอร์มใหม่สำหรับคนส่งอาหารโดยเฉพาะ (Google Play เปิดให้ดาวน์โหลดเเล้ว – App Store รออีก 1-2 เดือน ) เพื่อเเก้ปัญหาการกระจายงานให้ทั่วถึง เพิ่มฟีเจอร์ ‘ให้ทิป’ เเละอื่นๆ เตรียมขยายบริการสู่ธุรกิจรับ-ส่งของ (Express Services) และบริการด้านสั่งซื้อสินค้าจากซูเปอร์มาร์เก็ต (Mart Service) เพิ่มรายได้ให้ไรเดอร์ในช่วงนอกเวลาขายดีของการรับส่งอาหาร

]]>
1337594
‘โรบินฮู้ด’ ขยับสู่ธุรกิจท่องเที่ยว เตรียมเปิดตัว ‘Zero GP OTA’ ต้นปีหน้า ไม่เก็บค่า GP โรงแรม https://positioningmag.com/1333561 Mon, 24 May 2021 06:58:53 +0000 https://positioningmag.com/?p=1333561 โรบินฮู้ดฉลองลูกค้าครบล้านคน ขยายต่อสู่ธุรกิจท่องเที่ยว เตรียมเปิดตัว ‘Zero GP OTA’  ต้นปีหน้า ไม่เก็บค่า GP โรงแรม เป็นโปรเจกต์ CSR เหมือนเเพลตฟอร์มฟู้ดเดลิเวอรี่

โรบินฮู้ด เเอปพลิเคชันสั่งอาหารในเครือธนาคารใหญ่อย่าง SCB ประกาศโมเดลธุรกิจเพื่อสังคม ผ่านโมเดล ‘Zero GP OTA’ ลุยธุรกิจท่องเที่ยว ขยายขอบเขตบริการสู่การเป็น OTA (Online Travel Agent) สัญชาติไทย

โดยมีจุดยืนเหมือนกับเเพลตฟอร์มฟู้ดเดลิเวอรี่ คือการไม่คิดค่า GP’ เพื่อเพิ่มทางเลือกและช่วยผู้ประกอบการ SME ในกลุ่มธุรกิจโรงแรม ให้ไม่ต้องแบกรับต้นทุนที่เพิ่มขึ้น จากการใช้ตัวแทนขายห้องพักผ่านช่องทางออนไลน์ 

ธนา เธียรอัจฉริยะ ประธานกรรมการ บริษัท เพอร์เพิล เวนเจอร์ส จำกัด บอกว่า ที่ผ่านมาโรบินฮู้ดได้เริ่มทำในส่วนของธุรกิจอาหารไปแล้ว แต่ยังมีอีกหนึ่งกลุ่มธุรกิจสำคัญที่จะเป็นกำลังหลักในการขับเคลื่อนประเทศหลัง
โควิด-19 นั่นก็คือ ภาคการท่องเที่ยว

โมเดลที่เรียกว่า “Zero GP OTA” ไม่เก็บ GP โรงแรม จะมุ่งช่วยผู้ประกอบการโรงแรมร่วมกับลูกค้าโรบินฮู้ดกว่าล้านคน คาดว่าจะเปิดตัวได้ภายในต้นปีหน้า

ธนามองว่า เป็นช่วงเวลาที่ค่อนข้างเหมาะสมการท่องเที่ยวน่าจะเริ่มกลับมาฟื้นตัวได้อีกครั้ง ซึ่งจะมีดำเนินการตามขั้นตอนของธนาคารแห่งประเทศไทยต่อไป เเละจะมีการอัปเดตให้ทราบเป็นระยะ

ด้านความคืบหน้าของเเอปพลิเคชันโรบินฮู้ด’ (Robinhood) ที่เปิดตัวมาได้ 7 เดือนเเล้ว ด้วยคอนเซ็ปต์ไม่เก็บค่า GP ร้านอาหารแม้แต่บาทเดียว และมีนโยบายที่จะไม่เก็บตลอดไป 

ปัจจุบันมีจำนวนลูกค้าที่ลงทะเบียนใช้งานกว่า 1 ล้านคน มีเฉพาะร้านเล็ก ๆ ในระบบ 90,000 ร้าน มีผู้ส่ง (ไรเดอร์) 15,000 คน ยอดการสั่งอาหารรวมกว่า 2.3 ล้านออเดอร์ คิดเป็นมูลค่ากว่า 500 ล้านบาท

ในปีนี้มีแผนที่จะขยายฟู้ดเดลิเวอรี่สู่ต่างจังหวัดโดยเตรียมปักหมุดนำร่องที่เชียงใหม่ และชลบุรี ซึ่งเป็นพื้นที่ศักยภาพและมีความต้องการบริการด้านฟู้ดเดลิเวอรี่สูง พร้อมโครงการเพิ่มโอกาสในการสร้างอาชีพเสริมรายได้ของคนส่งอาหารที่ไม่มีรถมอเตอร์ไซค์เป็นของตัวเอง

โรบินฮู้ดจะร่วมกับพันธมิตรเตรียมเปิดทดลองให้เช่ามอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า (EV) เป็นรายวันในช่วงประมาณเดือนมิถุนายน 2564”

ราคาเช่าเบื้องต้นคาดว่าจะอยู่ที่ราวร้อยกว่าบาท’ เพื่อให้คนขับมีรายได้เหลือในการทำงาน หรือชาร์จไฟเองที่บ้านได้

นอกจากนี้ ยังมีแผนที่จะขยายไปสู่ ธุรกิจรับส่งของ (Express Service) และบริการด้านสั่งซื้อสินค้าจากซูเปอร์มาร์เก็ต (Mart Service) เช่น ร้านค้าสามารถสั่งซื้อวัตถุดิบแบบขายส่ง (wholesale) ผ่านแพลตฟอร์ม ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนให้กับร้านค้าได้ เเละสนับสนุน ecosystem ที่เป็นประโยชน์กับร้านค้าและลูกค้า ซึ่งจะสามารถช่วยสร้างงานเพิ่มขึ้นให้กับไรเดอร์ในช่วง off-peak ที่ลูกค้าไม่ได้สั่งอาหาร

]]>
1333561
บทเรียนก้าวเเรกของ ‘Robinhood’ ได้ใจร้านเล็ก กับเส้นทางอนาคต เมื่อจะไม่เก็บค่า GP ‘ตลอดไป’ https://positioningmag.com/1319725 Fri, 19 Feb 2021 08:20:55 +0000 https://positioningmag.com/?p=1319725 เป็นเวลาร่วม 3 เดือนกว่าเเล้วที่ ‘Robinhood’ น้องใหม่ฟู้ดเดลิเวอรี่ฝีมือคนไทยจากค่ายเเบงก์ SCB เปิดให้บริการอย่างเต็มรูปแบบ ท่ามกลางความลุ้นระทึกว่าจะ ‘รอด’ หรือจะ ‘ร่วง’ 

จากเป้าหมายเล็กๆ พลิกวิกฤตเป็นโอกาส หวังจะช่วยร้านอาหารไทยที่กำลังประสบปัญหาอ่วมค่า GP’ ให้เหลือรายได้เพิ่มขึ้น จนมาถึงวันนี้ที่ Robinhood ‘สอบผ่าน’ มีกระเเสตอบรับอย่างดี เเละพร้อมประกาศจะไม่เก็บค่า GP ตลอดไป

อะไรคือสิ่งที่ ‘Robinhood’ ได้เรียนรู้ เป้าหมายที่เเท้จริงเเละเส้นทางธุรกิจต่อไปจะเป็นเช่นไร จะมีฟีเจอร์ใหม่ๆ เเบบไหนที่กำลังจะปล่อยออกมาลองของในตลาดอีกบ้าง Positioning จะพามาหาคำตอบกัน

อินไซต์น่าสนใจของ Robinhood

ปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมา มีการอัปเดตตัวเลขสถิติผู้ใช้เเอปพลิเคชัน Robinhood ออกมาให้เห็นถึงพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป โดยรวมถือว่าเกินคาดจากเป้าหมายที่ทีมงานวางไว้

  • มีลูกค้าทะเบียนในระบบกว่า 580,000 ราย
  • ร้านอาหารในระบบกว่า 55,000 ร้านค้า
  • ไรเดอร์ที่พร้อมให้บริการกว่า 11,500 ราย
  • ยอดสั่งอาหารออเดอร์เดียวสูงสุด 3,528 บาท
  • ลูกค้าสั่งอาหารไกลที่สุด 45 กิโลเมตร
  • มีลูกค้าคนเดิมสั่งอาหารสูงสุดถึง 18 ออเดอร์ใน 1 สัปดาห์
  • รายการอาหารทั้งหมดในระบบ 1.6 ล้านรายการ
  • มีร้านอาหารกว่า 8,200 ร้าน เข้าร่วม LS ที่ให้ส่วนลดกับลูกค้า
  • มีปลาแซลมอนรวมกว่า 5 ตันถูกสั่งจากเเอป Robinhood
  • ไรเดอร์คนหนึ่งเคยรับงานสูงสุดถึง 44 งานต่อวัน
  • 74% ของไรเดอร์ เลือกทำ Robinhood เป็นงานเสริม
10 ร้านอาหารยอดนิยมบน Robinhood 
  • มนต์นมสด (สาขา เสาชิงช้า)
  • รุ่งเรืองตั๋ง ก๋วยเตี๋ยวหมูสุขุมวิท 26 (เจ้าเก่า) ห้องหัวมุม
  • Oba San 168
  • หน่องริมคลอง
  • ไก่ทอดเจ๊กี (โปโล)
  • โจ๊กสามย่าน บรรทัดทอง
  • ข้าวหมูแดงสีมรกต
  • ประจักษ์เป็ดย่าง
  • ซ้งเป็ดพะโล้
  • ไข่หวานบ้านซูชิ จามจุรีแสควร์

คำค้นหายอดนิยมสูงสุด ได้เเก่ แซลมอน, โจ๊ก, ก๋วยเตี๋ยว, ข้าวมันไก่เเละส้มตำ

พื้นที่ที่มีการสั่งออเดอร์เยอะที่สุด ได้เเก่ จตุจักร, ห้วยขวาง คลองเตย

โดยไรเดอร์มีช่วงเวลาในการรับงานเฉลี่ย 12 วินาทีต่อการสั่ง เเละมีรายได้จากการให้บริการรับส่งอาหารเฉลี่ยรอบละ 40-50 บาท 

ธนา เธียรอัจฉริยะ ประธานกรรมการ บริษัท เพอร์เพิล เวนเจอร์ส จำกัด

‘ไม่มีคนชมว่าเราถูก เเต่ก็ไม่มีใครด่าว่าเราแพง’ 

คำกล่าวของ โจ้-ธนา เธียรอัจฉริยะ ประธานกรรมการ บริษัท เพอร์เพิล เวนเจอร์ส จำกัด บริษัทลูกของ SCB ที่พัฒนา Robinhood ขึ้นมาเป็นหนึ่ง CSR Project ของธนาคาร ที่ได้รับเงินทุนเพื่อช่วยสังคมราว 150 ล้านบาทต่อปี

การฉีกเเนวธุรกิจเเบงก์ มาลงทุนในศึกฟู้ดเดลิเวอรี่’ เมืองไทยของ SCB ครั้งนี้ สั่นสะเทือนวงการไม่น้อย จี้จุด Pain Point อย่างการไม่คิด GP ไม่คิดค่าสมัคร โอนเงินไวใน 1 ชั่วโมง

ท่ามกลางศึกฟู้ดเดลิเวอรี่ที่เเข่งขันกันดุเดือดเลือดพล่าน ‘เผาเงิน’ เเจกโปรโมชันกันเป็นว่าเล่น เเม้ตอนเเรก Robinhood บอกว่าจะไม่ทุ่มงบการตลาดเเบบเจ้าอื่น เพราะในงบร้อยกว่าล้านต่อปีนั้น เป็นงบที่รวมทุกอย่าง’ ทั้งการจัดการ พนักงาน ระบบหลังบ้านและเครือข่าย ซึ่งจะมีงบด้านการตลาดเหลืออยู่ไม่ถึง 20 ล้านบาท จึงเลือกจะไม่นำไปใช้เพื่ออัดโปรโมชัน

เเต่ตอนนี้หลังได้รับเสียงตอบรับที่ดีมากๆ ก็จำเป็นต้อง ‘ขอทุนเพิ่ม’ จากบอร์ดบริหารเพื่อให้สอดคล้องกับการเติบโต

ปัจจุบัน Robinhood รั้งอันดับ 4 ในตลาดฟู้ดเดลิเวอรี่เมืองไทย (ไม่ได้เป็นตัวเลขทางการ) เเต่ทางทีมประมาณการจากสถิติการสั่งออเดอร์ โดยอันดับ 1 เป็นของเจ้าใหญ่อย่าง GrabFood รองลงมาคือ FoodPanda ส่วนอันดับ 3 เป็นของ LINE MAN เเละตามมาด้วย Robinhood

LS is Key : เพราะไม่มีค่า GP จึงมีส่วนลดจาก ‘ร้านค้า’ 

กลยุทธ์การตลาดหลักๆ ที่ Robinhood จะนำมาทำโปรโมชันคือ LS ส่วนลดจากร้านค้าเอง ซึ่งเกิดจากการที่ทีมงานได้เข้าไปพูดคุยกับร้านค้าว่า เมื่อไม่เสียค่า GP ราว 30-35% (คอมมิชชันที่ต้องจ่ายให้เเพลตฟอร์ม) เเล้ว พอจะให้ ‘ส่วนลดเพิ่มเติม’ กับลูกค้าได้หรือไม่ ซึ่งร้านค้าจำนวนมากก็มีความสนใจเเละให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี

ปัจจุบันมีร้านค้าเลือกให้ส่วนลดกับผู้ใช้ราว 15% จากจำนวนร้านค้าทั้งหมด มีโปรโมชันส่วนลดเฉลี่ยราว 8-20% ต่อรายการ นอกจากนี้ยังถือเป็นการโปรโมตร้านขึ้นบนหน้าเเอปฯ ให้เห็นได้ง่ายไปในตัวด้วย

ก้าวเเรกเเละสิ่งที่ได้เรียนรู้ 

ธนา เล่าให้ฟังถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้หลังเปิดให้บริการ Robinhood มาได้ 3 เดือนกว่า ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องเเก้ไขเเละนำไปพัฒนาต่อไป หลักๆ ได้เเก่

  • ‘ออเดอร์หลอก’ ของร้านค้าและไรเดอร์ 

ในช่วงการเปิดตัวของ Robinhood บริษัทได้เเจก ‘โค้ดส่วนลดโดยไม่จำกัดการซื้อ’ ทำให้ร้านค้าและไรเดอร์ จำนวน 4 ร้านร่วมมือกับไรเดอร์ไม่กี่คน สั่งออเดอร์โดยใช้โค้ดส่วนลดผ่านระบบ และให้ไรเดอร์ที่ร่วมมือซึ่งอยู่ใกล้ร้านที่สุดเป็นคนกดรับออเดอร์ ร้านค้าจึงได้รับเงินจากโค้ดส่วนลด และไรเดอร์ได้รับค่าส่ง เเม้ไม่มีการซื้อขายจริงเกิดขึ้น ซึ่งทางทีมงานเห็นความเป็นไปที่เกิดขึ้น เพราะมีการมอนิเตอร์ข้อมูลตลอด

กรณีนี้ทำให้ Robinhood เสียหายราว 1 เเสนบาท จากนั้นทีมงานจึงเเก้ไขด้วยการมียอดซื้อขั้นต่ำก่อนใช้ส่วนลด

  • ต้องมัดใจร้านค้าเล็กๆ ให้ได้ก่อนเชนใหญ่

จากการประสานงานต่างๆ พบว่า ร้านค้าเชนใหญ่ เเม้จะเป็นเป้าหมายที่สร้างรายได้กว่าครึ่งหนึ่งบนฟู้ดเดลิเวอรี่ทั่วไป เเต่การติดต่อเพื่อให้เข้ามาในระบะมีความยากลำบากมาก เเละมี ‘ต้นทุน’ ที่ต้องเสียเยอะ จึงหันไปหา ‘ร้านเล็ก’ ให้ได้มากที่สุด เรียกได้ว่ามากกว่า 90% ของเเพลตฟอร์ม

เมื่อมีเสียงตอบรับดี กลายเป็นว่าร้านอาหารเชนใหญ่ มองเห็นโอกาสลูกค้าเเละเข้ามาร่วมเป็นพันธมิตรเองมากขึ้น ซึ่งตอนนี้ก็มีร้านดังในเครือไมเนอร์ , CRC , The Mall และสยามพิวรรธน์

  • เเอปพลิเคชั่น SCB ระบบล่ม

โดยเฉพาะในช่วงวันเงินเดือนออก ส่งผลให้การสั่งซื้ออาหารผ่าน Robinhood ก็ล่มตามไปด้วย เพราะมีช่องทางการชำระเงินผ่านระบบ SCB Easy และบัตรเครดิต ซึ่งจะมีการประสานงานระบบหลังบ้านกันต่อไป พร้อมขยายช่องทางชำระเงินอื่นๆ

  • มารยาทดี คือจุดขาย 

หลังจากเปิดตัวมาได้สักพัก ฟีดเเบ็กที่ได้รับมากที่สุดคือการบอกว่าไรเดอร์ ‘มารยาทดี’ ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้เรียนรู้ว่าลูกค้าให้ความสำคัญกับการบริการมาก อย่างการ ‘พูดเพราะ-ยกมือไหว้’ ก็เป็นสิ่งเล็กๆ ที่ลูกค้าประทับใจ โดยทางธนาคารไทยพาณิชย์เป็นผู้จัด ‘อบรมไรเดอร์’ เอง หลังจับมือกับ Skootar สตาร์ทอัพไทยที่ให้บริการส่งเอกสารในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล มีคนขับในสังกัดประมาณ 10,000 ราย

Robinhood จะทำอะไรต่อไป ?

สำหรับเเผนในปี 2564 ของ Robinhood ตั้งเป้ามีจำนวนผู้ใช้งาน 1 ล้านราย เพิ่มจำนวนร้านค้าให้ได้ 150,000 ร้าน มีไรเดอร์ 20,000 ราย จำนวนออเดอร์มากกว่า 25,000 รายการต่อวัน และมียอดธุรกรรมที่เกิดขึ้นราว 1.6 พันล้านบาท

พร้อมขยายบริการไป ‘ต่างจังหวัด’ เบื้องต้นที่วางไว้มี 5 จังหวัดคือ เชียงใหม่, ภูเก็ต, พัทยา, นครราชสีมา และขอนแก่น เเต่เนื่องจากการเเพร่ระบาดของ COVID-19 ระลอกใหม่ ทำให้ต้องเลื่อนเมืองท่องเที่ยวออกไป เเละเริ่มที่นครราชสีมา และ ขอนแก่น ก่อน

สีหนาท ล่ำซำ กรรมการผู้จัดการของ เพอร์เพิล เวนเจอร์ส บอกว่า กลยุทธืการเพิ่มจำนวนร้านอาหารในเเพลตฟอร์ม ทำควบคู่กันไปทั้ง ‘ออนไลน์-ออฟไลน์’ มีการโปรโมททางโซเชียลมีเดีย เเละให้พนักงานตามสาขาของธนาคารออกไปหาร้านค้าที่อยู่พื้นที่ใกล้เคียง เข้าไปช่วยทั้งการดาวน์โหลด ถ่ายรูปภาพอาหาร เเละให้คำเเนะนำต่างๆ รวมถึงนำเสนอเเอปฯ กับผู้ที่มาใช้บริการในสาขาด้วย

โดยปีนี้จะเริ่มเปิดรับร้านอาหาร ‘แบรนด์ดัง’ ต่างๆ เข้ามาเพื่อขยายฐานผู้ใช้ให้กว้างขึ้น มีเเคมเปญการตลาดกระตุ้นการใช้จ่าย ไปพร้อมๆ กับการออก ‘ฟีเจอร์’ ใหม่ พัฒนาเเอปพลิเคชั่นให้เท่าทันตลาด เช่น

  • มีระบบแผนที่ ติดตามตำแหน่งของไรเดอร์
  • ระบบการจ่ายเงินผ่านบริการเงินดิจิทัลอื่น ๆ นอกเหนือจาก SCB
  • สามารถสั่งอาหารหลายออเดอร์พร้อมกันได้
  • บันทึกร้านที่ลูกค้าชื่นชอบ
  • ระบบรีวิวร้านค้า-ไรเดอร์
  • นำแต้มบัตรเครดิตมาจ่ายโดยตรงได้
  • จัด ‘เพลย์ลิสต์’ ร้านอาหารตามสไตล์ของผู้ใช้ อารมณ์เหมือนเพลย์ลิสต์ในเเอปฯ ฟังเพลง
  • ส่วนร้านค้าจะมีระบบจัดการร้านเเละสาขาง่ายขึ้น ล็อกอินพร้อมกันได้หลายเครื่องเเละใช้งานร่วมกับ POS ได้

นอกจากนี้ Robinhood จะเปิดให้บริการ ‘ซื้อสินค้าในตลาดสด’ โดยจะนำร่องที่ตลาดเสนีย์ ฟู้ดมาร์เก็ต, ตลาดมีนบุรี , ตลาดถนอมมิตรเเละตลาดบางใหญ่ ก่อนจะขยายให้ครบ 9 ตลาด ตามข้อตกลงกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า

-สีหนาท ล่ำซำ กรรมการผู้จัดการของ เพอร์เพิล เวนเจอร์ส

เปิดให้เช่ารถมอเตอร์ไซค์ EV ร้อยกว่าบาทต่อวัน

ในส่วนของ ‘ไรเดอร์’ Robinhood โปรเจ็กต์ใหม่ที่น่าสนใจมาก นั่นก็คือการ ให้เช่ารถจักรยานยนต์ไฟฟ้ารายวัน เริ่มเเรกจะทดลองราว 200-400 คัน ส่วนราคานั้นประมาณไว้อยู่หลัก ‘ร้อยกว่าบาท’ เพื่อให้คนขับมีรายได้เหลือในการทำงาน หรือชาร์จไฟเองที่บ้านได้

โดยวางเเผนจะมีจุดชาร์จแบตเตอรี่ประมาณ 500 จุดทั่วกรุงเทพฯ เน้นใช้พื้นที่ใน ‘ตึกสาขา’ ของไทยพาณิชย์ที่มีการรักษาความปลอดภัยอย่างดี หรือจะชาร์จไฟเองที่บ้านก็ได้ คาดว่าจะเริ่มเปิดตัวได้ในช่วงปลายเดือนมี.ค.นี้ หลังจากทำข้อตกลงกับพาร์ทเนอร์เรียบร้อย

เป้าหมายรายได้ที่เเท้จริงคือ B2B

ธนา ย้ำว่าจุดมุ่งหมายของ Robinhood ยังคงเป็นการช่วยเหลือ ‘คนตัวเล็ก’ ฉะนั้นการไม่เรียกเก็บ ‘ค่า GP’ จะคงอยู่ตลอดไป

เเต่เมื่อลงมือทำธุรกิจก็ต้องมีรายได้เป็นธรรมดา ซึ่งในปี 2565 เเอปฯ จะเริ่มสร้างรายได้ด้วยการเป็น B2B Platform ที่มีข้อได้เปรียบจากการมีฐาน ‘ร้านอาหาร SMEs’ หลายเเสนร้านในระบบ 

“ฟู้ดเดลิเวอรี่ส่วนใหญ่อยากโตไปเป็นเเบงก์ อยากโตเเล้วปล่อยกู้ เเต่เรามีเเต้มต่อคือเป็นเราเเบงก์อยู่เเล้ว”

เเละการเข้ามาเเบบ Late Comer ยิ่งต้องกลับหัวตีลังกา กลยุทธ์ไม่เรียกเก็บค่า GP สวนทางกับเจ้าอื่น เป็นหัวใจหลักที่ทำให้ Robinhood ได้ใจร้านค้า พอ ‘ได้ใจ’ กันเเล้วก็ไปต่อยอดทำธุรกิจอื่นได้ง่าย

โดยสเต็ปต่อไปจะเป็นการเข้าไปช่วยจัดการ Financial Service ช่วยการจัดการต่าง ๆ ทั้งด้านการจัดหาวัตถุดิบ เป็นตัวกลางระหว่างร้านค้ากับซัพพลายเออร์ เเละจะเข้าไปช่วยในด้าน Business Service พร้อมๆ กับการช่วยทำมาร์เก็ตติ้ง จากข้อมูลดาต้าผู้ใช้ที่มีอยู่

นี่คือทิศทางการหารายได้ต่อไปของ Robinhood ที่นอกเหนือจากการปล่อยสินเชื่อ ให้ครอบคลุมทุกการทำธุรกิจ เเละจะทำให้ร้านค้าได้ประโยชน์มากขึ้น

เป็น ‘ก้าวเเรก’ ของฟู้ดเดลิเวอรี่ของคนไทย ที่ต้องติดตามกันต่อไป…

 

 

 

]]>
1319725