Restaurant – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 06 Jan 2022 08:23:53 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ทิศทางธุรกิจร้านอาหาร มีหวัง ‘ฟื้นตัว’ ปี 65 เเต่ต้องระวังโอมิครอน-ต้นทุนวัตถุดิบพุ่งสูง https://positioningmag.com/1369606 Thu, 06 Jan 2022 06:22:18 +0000 https://positioningmag.com/?p=1369606 ธุรกิจอาหารเมืองไทย มีหวังพลิกกลับมาฟื้นตัว 5.0% – 9.9% ในปีนี้ เเต่ยังโตกระจุกเฉพาะประเภท ร้านมีชื่อเสียง ขายในห้างฯ จะเริ่มฟื้นตัวก่อน สตรีทฟู้ดเเข่งดุ เจ้าใหญ่กระโจนลงตลาดเพียบ การระบาดของโอมิครอน-ราคาต้นทุนวัตถุดิบที่เเพงขึ้น ยังคงเป็นความท้าทายสำคัญ

แนวโน้มธุรกิจร้านอาหารในปี 2565 ยังเป็นปีที่ต้องระมัดระวัง เนื่องจากตลาดยังมีปัจจัยเสี่ยงของโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน และสายพันธุ์อื่นที่อาจเกิดขึ้นได้ รวมถึงกำลังซื้อของผู้บริโภคที่ยังไม่กลับมาฟื้นตัวดี

เเต่ก็ยังคงมีปัจจัยบวกจากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐที่จะเข้ามาช่วยกระตุ้นการใช้จ่ายและเพิ่มกำลังซื้อของผู้บริโภค อย่างมาตรการคนละครึ่งเฟส 4” ที่คาดว่าจะเริ่มในเดือนมีนาคมเมษายนนี้

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า ในปี 2565 ธุรกิจร้านอาหารน่าจะกลับมาเติบโตประมาณ 5.0% – 9.9% (ส่วนหนึ่งเป็นผลของราคาอาหารที่ปรับตัวสูงขึ้นและเงินเฟ้อ) คิดเป็นมูลค่า 3.78-3.96 แสนล้านบาท จากที่ปี 2564 หดตัวถึง 11% อย่างไรก็ตาม จะยังคงเป็นการขยายตัวเฉพาะกลุ่มหรือประเภทร้านอาหาร

ร้านดัง – ร้านในห้าง เริ่มฟื้นตัวก่อน 

ร้านอาหารที่ให้บริการเต็มรูปแบบ (Full Service Restaurants) น่าจะเห็นการเติบโตที่เร่งตัวขึ้นจากฐานที่ต่ำในปีก่อน โดยกลุ่มร้านอาหารที่จะทยอยกลับมาฟื้นตัวก่อน จะเป็นกลุ่มร้านอาหารที่อยู่ในห้างสรรพสินค้าและร้านอาหารที่มีชื่อเสียงรวมถึงในพื้นที่ท่องเที่ยวจังหวัดที่เป็นจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวชาวไทยในฤดูท่องเที่ยว เช่น อยุธยา บางแสน พัทยา หัวหิน นครปฐม ฯลฯ

ส่วนร้านอาหารที่ตั้งอยู่ในบริเวณอาคารสำนักงานน่าจะฟื้นตัวจำกัด เนื่องสถานที่ทำงานหลายแห่งยังคงการทำงานแบบ Hybrid Working และ Work from home ทำให้ร้านอาหารกลุ่มนี้จึงยังคงต้องพึ่งช่องทางการจัดส่งอาหารไปยังที่พักเพื่อสร้างรายได้

ประเมินว่าจะมีมูลค่ายอดขายอยู่ที่ประมาณ 1.31 – 1.42 แสนล้านบาท หรือคิดเป็นการขยายตัว 10.0% – 19.5% โดยเป็นการฟื้นตัวจากฐานที่หดตัวรุนแรงในปีก่อน

ร้านจานด่วน กระตุ้นด้วยเดลิเวอรี่ 

ร้านอาหารที่ให้บริการจำกัด (Limited Service Restaurants) การขยายตัวจะมาจากการขยายสาขาในกลุ่มอาหารจานด่วน และร้านอาหารขนาดเล็กที่คาดว่าจะเปิดตัวมากขึ้นกว่าปี 2564 อาทิ กลุ่มร้านอาหารที่ไม่มีหน้าร้านรวมถึงร้านอาหารรูปแบบใหม่ๆ ที่มีความคล่องตัวสูง โดยมีพื้นที่เป้าหมายเป็นบริเวณที่อยู่อาศัยและปั๊มน้ำมันทั้งในกรุงเทพฯ รอบนอก ปริมณฑลและหัวเมืองหลัก

“ในปี 2565 คาดว่าผู้ประกอบการร้านอาหารในกลุ่มนี้น่าจะทำตลาดเพื่อกระตุ้นยอดขายมากขึ้น โดยเฉพาะการร่วมมือกับผู้ให้บริการแอปพลิเคชันจัดส่งอาหาร ซึ่งโดยปกติแล้วช่องทางการจัดส่งอาหารไปยังที่พักจะเป็นช่องทางรายได้ที่สำคัญของร้านอาหารประเภทนี้” 

คาดว่าจะมีมูลค่ายอดขายอยู่ที่ประมาณ 6.4 -6.8 หมื่นล้านบาท หรือขยายตัว 4.6% – 11.8%

อย่างไรก็ดี ร้านอาหารกลุ่มนี้ยังมีความท้าทายในด้านการบริหารจัดการ ‘ช่วงเวลาเร่งด่วน’ ที่มีคำสั่งซื้อเข้ามาเป็นจำนวนมากในหลายช่องทาง เนื่องจากทรัพยากรแรงงานและพื้นที่ที่มีจำกัด ทำให้อาจเกิดภาวะคอขวดในกระบวนการต่างๆ ภายในร้านขึ้นได้

สตรีทฟู้ดเเข่งดุ 

ร้านอาหารข้างทาง (Street Food) ที่มีหน้าร้าน ยังขยายตัวได้ต่อเนื่องและกลุ่มร้านอาหารข้างทางยังได้รับปัจจัยหนุนจากโครงการคนละครึ่งของภาครัฐ มีเมนูพื้นฐานที่เข้าถึงได้ง่าย และราคาไม่สูง

“ร้านอาหารในกลุ่มนี้ มีความหนาแน่นของผู้เล่นเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้เกิดการแข่งขันที่รุนแรง และมีการหมุนเวียนเข้าออกของผู้เล่นสูง ประกอบกับผู้ประกอบการรายใหญ่เข้ามาขยายฐานการตลาดในเซ็กเมนต์นี้อย่างต่อเนื่อง” 

โดยคาดว่าตลาด Street Food จะมีมูลค่าอยู่ที่ประมาณ 1.84 -1.86 แสนล้านบาท หรือขยายตัว 2.0% – 3.0%

ระวังการปรับเพิ่มราคา เเบกต้นทุนพุ่ง 

ในปี 2565 ทิศทางธุรกิจร้านอาหาร ต้องคำนึงเรื่อง ‘ต้นทุนธุรกิจที่คาดว่าจะทรงตัวสูงต่อเนื่องทั้งปี ขณะที่การปรับเพิ่มราคาขายยังทำได้จำกัด’ สร้างแรงกดดันต่อกำไรสุทธิของผู้ประกอบการร้านอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้นทุนวัตถุดิบอาหารและต้นทุนพลังงาน ส่งผลให้ผู้ประกอบการบางรายจำเป็นต้องปรับราคาอาหารเพิ่มขึ้น การปรับตัวของผู้ประกอบการมาใช้โมเดลร้านอาหารขนาดเล็กเพื่อลดต้นทุนและความเสี่ยง รวมถึงนำเทคโนโลยีเข้ามาผสานเป็นหัวใจสำคัญในห่วงโซ่ธุรกิจร้านอาหาร

“ผู้ประกอบการธุรกิจรายใหญ่ทั้งในและนอกอุตสาหกรรมขยายการลงทุนในธุรกิจร้านอาหารมากยิ่งขึ้น ทั้งในพื้นที่กรุงเทพฯ รอบนอกและปริมณฑล รวมถึงในพื้นที่ต่างจังหวัด โดยเฉพาะพื้นที่ทื่มีการกระจุกตัวของที่อยู่อาศัย ขณะเดียวกัน ความเสี่ยงของโควิดที่ยังมี ส่งผลให้ผู้ประกอบการร้านอาหารจำเป็นต้องรักษาสมดุลของช่องทางการขายและเพิ่มช่องทางการสร้างรายได้ ไปยังสินค้าอื่นๆ มากยิ่งขึ้น”

โดยแม้ภาพรวมทิศทางธุรกิจร้านอาหารในปี 2565 จะกลับมาฟื้นตัว หลังจากที่หดตัวต่อเนื่องในช่วง 2 ปีก่อนหน้า แต่ผู้ประกอบการร้านอาหารยังคงต้องดำเนินธุรกิจอย่างระมัดระวัง เพื่อลดผลกระทบจากทั้งปัจจัยท้าทายในธุรกิจ

]]>
1369606
Wendy’s เชนเบอร์เกอร์ยักษ์ใหญ่ หวนชิงตลาด ‘อังกฤษ’ ในรอบ 20 ปี รับเทรนด์ Takeaway บูม https://positioningmag.com/1331299 Mon, 10 May 2021 08:30:42 +0000 https://positioningmag.com/?p=1331299 ‘Wendy’s’ เชนเบอร์เกอร์ยักษ์ใหญ่เบอร์ 2 จากสหรัฐฯ ตัดสินใจคืนสังเวียนสู้ในตลาดอังกฤษอีกครั้งในรอบ 20 ปี พร้อมชิงส่วนเเบ่งจากคู่เเข่งอย่าง McDonald’s และ Burger King หลังอานิสงส์เทรนด์ซื้อกลับบ้านเเบบ ’Takeaway’ บูมขึ้นช่วงโควิด-19 ตั้งเป้าขยายสาขาทั่วโลกให้ได้ 8,000 เเห่งภายในปี 2025

โดย Wendy’s วางเเผนจะเปิดสาขากว่า 400 เเห่งทั่วสหราชอาณาจักร และตั้งเป้าว่าจะสร้างงานให้ได้อย่างน้อย 12,000 ตำแหน่ง แม้ว่าต้องใช้เวลาหลายปีก็ตาม

ย้อนกลับไปเมื่อปี 2001 Wendy’s ประกาศออกจากตลาดสหราชอาณาจักรไป โดยให้เหตุผลเรื่องต้นทุนที่ทำให้บริษัทเติบโตได้ไม่เต็มที่ เเต่การกลับมาครั้งนี้ก็ต้องเจอกับงานหิน เมื่อเเบรนด์ McDonald’s ขยายตลาดไปในสหราชอาณาจักรไปกว่า 1,300 แล้ว

Abigail Pringle ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายพัฒนาธุรกิจของ Wendy’s ให้สัมภาษณ์ว่า ตลาดเบอร์เกอร์และเทรนด์การซื้อกลับบ้านเเบบ ‘Takeaway’ ในสหราชอาณาจักรที่เติบโตขึ้นอย่างมากในช่วงการเเพร่ระบาด นับเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมในการกลับมาของ Wendy’s

Wendy’s จะวางให้สหราชอาณาจักรเป็นสปริงบอร์ดเพื่อขยายการเติบโตไปยังประเทศอื่นๆ ในยุโรปต่อไป โดยเมื่อปีที่เเล้ว เเบรนด์เพิ่งจะเเซงคู่เเข่งอย่าง Burger King ขึ้นเป็นผู้เล่นอันดับ 2 ในตลาดเเฮมเบอร์เกอร์ของสหรัฐฯ

สำหรับสาขาแรกของ Wendy’s ในอังกฤษจะเริ่มเปิดในเมือง Reading ช่วงเดือนหน้า จากนั้นจะขยายไปยังเมือง Stratford เเละ Oxford ซึ่งทางร้านระบุว่า จะมีเมนูใหม่ที่เหมาะกับตลาดอังกฤษเเละถูกใจคนในพื้นที่ รวมถึงเมนูที่เป็นมังสวิรัติด้วย 

จากสถานการณ์เศรษฐกิจที่ไม่เอื้ออำนวย Wendy’s มองว่าเเม้จะตลาดในสหราชอาณาจักรจะไม่ขยายตัวเร็วอย่างที่คาดการณ์ไว้ เเต่ก็เชื่อว่าจะสามารถชิงส่วนเเบ่งการตลาดจากคู่แข่งได้ โดยเน้นไปที่คุณภาพและบริการพร้อมส่งเสริมการใช้ผลิตภัณฑ์จากท้องถิ่นและเนื้อสดที่ไม่ได้แช่แข็ง

Wendy’s เป็นเชนเบอร์เกอร์เก่าเเก่ที่ก่อตั้งมาตั้งเเต่ปี 1969 ปัจจุบันมีสาขาราว 6,800 เเห่งทั่วโลก อยู่ในตลาดหุ้นสหรัฐฯ ด้วยมูลค่า 5,000 ล้านดอลลาร์ (ราว 1.56 แสนล้านบาท)

โดยมีเป้าหมายจะขยายสาขาให้ได้ 8,000 เเห่งภายในปี 2025 เน้นไปที่แคนาดาและสหราชอาณาจักร หลังมองเห็นการเติบโตของธุรกิจในช่วงการระบาดของโควิด-19 ที่ผู้คนหันมาสั่งอาหารผ่านแอปฯ หรือซื้อเเบบ drive-thru

ทั้งนี้ Wendy’s รายงานผลประกอบการเมื่อวันที่ 2 มีนาคมที่ผ่านมา พบว่ายอดขายของร้านอาหารในสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 6% ขณะที่ยอดขายร้านอาหารทั่วโลกเพิ่มขึ้น 5%

 

ที่มา : BBC , Yahoo Finance 

]]>
1331299
ธุรกิจ ‘ร้านอาหาร’ ในญี่ปุ่น เจ็บหนักเพราะพิษโควิด ต้อง ‘ล้มละลาย’ ไปมากกว่า 700 ร้าน https://positioningmag.com/1327658 Sun, 11 Apr 2021 10:07:10 +0000 https://positioningmag.com/?p=1327658 ธุรกิจร้านอาหารรับผลกระทบหนักจากพิษ COVID-19 โดยอัตราการล้มละลายของร้านอาหารในประเทศญี่ปุ่น ปี 2020 มีมากถึง 715 แห่ง มากที่สุดเป็นอันดับ 3 ในรอบ 20 ปี

ในจำนวนนี้ ร้านประเภทผับ บาร์ และโรงเบียร์ ล้มละลายถึง 183 ร้าน สูงสุดนับตั้งแต่ปี 2000

รายงานของ Teikoku Databank ระบุว่า กิจการร้านอาหารเหล่านี้ล้มละลาย พร้อมการเเบกหนี้ 10 ล้านเยนขึ้นไป

โดยสาเหตุที่ร้านอาหารต้องปิดกิจการนั้น หลักๆ มาจากผลกระทบของโรคระบาด ที่ทำให้ร้านต่างๆ ต้องปิดชั่วคราว เเละเมื่อได้กลับมาเปิดอีกครั้งก็ต้องให้บริการในเวลาที่สั้นลง ตามมาตรการควบคุมโรคของรัฐ รวมไปถึงปัญหาขาดแคลนแรงงานและการเก็บภาษีเพื่อการบริโภค (Consumption Tax) ที่เพิ่มขึ้นจาก 8% เป็น 10%

ล่าสุด ญี่ปุ่นยังมีผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทั้งในเมืองใหญ่อย่างโอซาก้าและจังหวัดอื่นๆ ทางการจึงให้ร้านอาหารลดระยะเวลาเปิดทำการลง โดยขอให้ปิดภายใน 20.00 .

อย่างไรก็ตาม มีการประเมินว่าธุรกิจร้านอาหารในญี่ปุ่น จะเริ่มฟื้นตัวไปในทิศทางที่ดีขึ้น จากความคืบหน้าของการกระจายวัคซีน เเละการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก

Photo : Shutterstock

โดยจำนวนร้านอาหารที่ล้มละลายในญี่ปุ่นเริ่มลดลง 36% ในเดือนมกราคม เเละดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในเดือนกุมภาพันธ์ ที่ลดลง 56.3% เเละในเดือนมีนาคม ที่มีร้านอาหารล้มละลายลดลง 2.6%

ด้านธุรกิจ ‘โรงเเรม’ ก็เผชิญวิกฤตขั้นสาหัสจากผลกระทบของ COVID-19 เช่นกัน โดยศูนย์วิจัย Tokyo Shoko ระบุว่า ในปี 2020 ผู้ประกอบการธุรกิจโรงเเรมในญี่ปุ่นล้มละลายมากถึง 118 แห่ง เพิ่มขึ้น 57.35% เมื่อเทียบกับปี 2019 โดยเป็นครั้งเเรกที่โรงแรมในประเทศต้องยื่นล้มละลายเกิน 100 แห่ง นับตั้งแต่ปี 2013

จากความไม่เเน่นอนของเศรษฐกิจเหล่านี้ ทำให้บริษัทขนาดกลางและขนาดใหญ่มีเเนวโน้มจะล้มละลายเพิ่มขึ้นด้วย โดยเฉพาะธุรกิจที่อยู่ในอุตสาหกรรมโรงแรม ซึ่งอัตราการล้มละลายของภาคธุรกิจในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นจาก 4% เป็น 26% เลยทีเดียว

 

ที่มา : Japantimes

]]>
1327658
รวมกันเราอยู่! CRG รุกโมเดล Shop in Shop ขายพ่วงแบรนด์ในเครือ อัพเซลส์-ไขว้ฐานลูกค้า https://positioningmag.com/1325415 Tue, 30 Mar 2021 04:13:09 +0000 https://positioningmag.com/?p=1325415 ธุรกิจร้านอาหารพลิกเกมใหม่ หลังวิกฤต COVID-19 ยักษ์ใหญ่อย่าง CRG เปิดกลยุทธ์ทรานส์ฟอร์มสู่ร้านอาหารดิจิทัล  ตั้งเป้าขยายสาขาโมเดลใหม่ กระจาย ‘คลาวด์คิทเช่น’ ให้ได้ 50 แห่งภายใน 2 ปี เน้นส่งเดลิเวอรี่ ดัน Mobile Box Model บุกปั๊มน้ำมัน 

โดยจะเชื่อมเครือข่ายร้านอาหาร 16 แบรนด์ทำ Shop in Shop & Cross Sale ไปพร้อมๆ กับการมองหาพาร์ตเนอร์สตรีทฟู้ด-SMEs’ ทุ่มพันล้านขยายสาขา-รีโนเวตระบบหลังบ้าน ลุ้นเปิดร้านอาหารใหม่เพิ่มอีก 2-3 แบรนด์ พร้อมลงสนาม ‘กัญชา-กัญชง’

ณัฐ วงศ์พานิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป จำกัด (CRG) เล่าว่า เเม้ธุรกิจอาหารจะปรับตัวโดยการส่งเดลิเวอรี่ เเต่วิกฤตโรคระบาดกระทบธุรกิจไม่น้อย เพราะต้องขาดนักท่องเที่ยวเเละต้องปิดร้านชั่วคราวตามมาตรการรัฐ เมื่อสถานการณ์เปลี่ยนไปวิธีคิดเเละเเผนธุรกิจต่างๆ ก็เปลี่ยนไปด้วย

ในปี 2020 CRG ทำยอดขายรวมได้ราว 10,100 ล้านบาท ลดลง 17% เมื่อเทียบกับปีที่เเล้ว ส่วนยอดขายออนไลน์อยู่ที่ 2,000 ล้านบาท เติบโตขึ้นถึง 150%

โดยมองธุรกิจอาหารในไทยจะกลับมาฟื้นได้ในปีนี้ เเละหวังจะทำยอดขายให้ทะลุ 1.2 หมื่นล้านบาท เติบโต 18-20% เพิ่มจำนวนสาขาอีก 200 เเห่งเป็น 1,300 สาขา เน้นเปิดสาขาเล็กๆเเละโปรโมตผ่านออนไลน์มาร์เก็ตติ้ง

ในช่วงวิกฤตที่ผ่านมา CRG ปรับกลยุทธ์ในการขยายโมเดลร้านค้ารูปแบบใหม่ๆ หาช่องทางการขายอื่นๆ นอกเหนือหน้าร้าน กลายเป็นโมเดลร้านนอกห้างเพื่อกระจายความเสี่ยง ลดการพึ่งพิงศูนย์การค้า

สำหรับมูลค่าตลาดธุรกิจร้านอาหารในไทย ล่าสุดอยู่ที่ประมาณ 3.7 เเสนล้านบาท ลดลงราว 10% จากระดับ 4 เเสนล้านบาทในช่วงก่อนโรคระบาด โดยตลาดใหญ่ยังคงเป็นกลุ่มร้านคาเฟ่ที่ราว 3 หมื่นล้านบาท รองลงมาเป็นกลุ่มร้านอาหารญี่ปุ่นราว 2.5 หมื่นล้านบาท เเละร้าน Hot-Pot ปิ้งย่างที่ราว 2 หมื่นล้านบาท 

รวมกันเราอยู่ชูโมเดล Shop in Shop & Cross Sale

กลยุทธ์หลักๆ ของ CRG ในปีนี้ ยังเดินหน้าไปที่การขยายสาขาเช่นเคย เเต่จะใช้รูปแบบร้านแนวใหม่ ‘Shop in Shop’ นำร่องเปิดเคาน์เตอร์อาริกาโตะร่วมกับร้านมิสเตอร์ โดนัท และใช้กลยุทธ์ Cross Sales ของทุกแบรนด์ในเครือ

ยกตัวอย่างเช่น การนำเมนูจาก บราวน์ คาเฟ่ (Brown Café) มาขายในร้านคัตสึยะ เพื่อเพิ่มทางเลือกใหม่และตอบโจทย์ลูกค้ามากขึ้น ซึ่งคาดว่าจะขยายสาขาที่มีบริการเเบบ Cross Sales เช่นนี้ได้มากกว่า 400 สาขา

ปัจจุบัน CRG มีเครือข่ายร้านอาหารทั้ง 16 แบรนด์ จำนวนสาขามากกว่า 1,100 สาขา พนักงานมากกว่า 10,000 คน และเมนูที่มีมากกว่า 800 เมนู เจาะลูกค้าทุกกลุ่มอายุ ทุกไลฟ์สไตล์

ลงสนามกัญชากัญชง

ภาคธุรกิจกระโดดลงมาชิงเค้กตลาดกัญชากัญชงกันคึกคัก CRG เองก็ขานรับนโยบายปลดล็อกกัญชาเช่นกัน เปิดตัวอาหารไทย 10 เมนู ที่ปรุงจากใบกัญชาออร์แกนิกโดยสั่งซื้อมาจากวิสาหกิจชุมชนผัก พืชสมุนไพรและพืชพลังงาน ตำบลพนมรอก จ.นครสวรรค์

ประเดิมวางขายในร้านของแบรนด์ไทยเทอเรส และ อร่อยดี ด้วยคอนเซ็ปต์ต้มยำทำเเกงเเบบเมนูรื่นรมย์มีเมนูที่น่าสนใจอย่าง ยำเชิญยิ้มวุ้นเส้น เเกงรัญจวนชวนยิ้ม ซุปไก่ซดเพลิน เเกงเลียงกุ้งสดอารมณ์ดี ฯลฯ

ตอนนี้เราไม่ได้โปรโมตมากนัก เพราะห่วงกลุ่มลูกค้าที่ยังเป็นเยาวชน โดยถือเป็นตลาดที่น่าสนใจเเละคาดว่าจะได้รับความนิยมอย่างดีในระยะสั้น เเต่อย่างไรก็ต้องจับตาดูในระยะยาว ซึ่งจะมีการวางแผนขยายไปยังแบรนด์อื่นๆ ในเครือ CRG ต่อไป

Mobile Box Model : เล็กๆ เเต่คล่องตัว

CRG จะรุกเข้าหาลูกค้าผ่านพื้นที่ชุมชนต่างๆ โดยปีนี้เตรียมเปิดตัว ‘Mobile Box Model’ ในสถานีบริการน้ำมันและมินิคีออส (Mini Kiosk) ต่อจากโมเดลร้านเดลโก้ (Delco) ที่เปิดตัวก่อนหน้านี้และขยายสาขาได้คล่องตัว

นอกจากนี้ จะต่อยอดโมเดล ‘แฟรนไชส์ที่เริ่มทำมาเเล้วกับแบรนด์อร่อยดี’ ที่มีทำเลเป้าหมาย คือ Non Mall, Residential Area, Stand alone

โดยในปีแรก มีจำนวนสาขาของบริษัท 25 สาขา และจำนวนสาขาแฟรนไชส์ 1 สาขา รวม 26 สาขา หลังจากนี้ปีที่ 2- 5 ตั้งเป้าหมายจำนวนสาขาของบริษัทต้องมีปีละ 10 สาขา

ส่วนจำนวนสาขาแฟรนไชส์ที่เปิดให้ผู้สนใจมาร่วมธุรกิจอร่อยดีปีแรกตั้งเป้าที่ 35 สาขา ปีที่ 2-4 จำนวน 45 สาขา และปีที่ 5 จำนวน 54 สาขา รวมทั้งหมดจะเปิดให้ได้ 300 สาขาทั่วประเทศ แบ่งเป็น CRG 75 สาขาแฟรนไชส์ 225 สาขา ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล

สำหรับกลุ่มลูกค้าหลักของอร่อยดีนั้น กว่า 60% เป็นพนักงานออฟฟิศและทำธุรกิจส่วนตัว อายุระหว่าง 25 – 45 ปี

ยุคเเห่งเดลิเวอรี่เเละ ‘คลาวด์คิทเช่น’

เเม้สงครามเดลิเวอรี่จะเเข่งขันดุเดือด เเต่ก็คุ้มค่า CRG วางเป้าหมายจะขยายจุดบริการให้ครอบคลุมมากที่สุดพร้อมกับการจับมือกับพาร์ตเนอร์รายใหม่ๆ โดยชูจุดเด่นเรื่องความสะอาด บริการเร็วเเละตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า ตั้งเป้ายอดขายผ่านเดลิเวอรี่ปีนี้ อย่างน้อย 3,000 ล้านบาท (จากปี 2020 อยู่ที่ 2,000 ล้านบาท)

ส่วนเป้าหมายของคลาวด์คิทเช่น’ (Cloud Kitchen) นั้น คาดว่าปีนี้จะขยายครบ 15 แห่งเเละกระจายไปทั่วประเทศให้ได้อย่างน้อย 50 แห่ง ภายในปี 2023

นอกจากนี้ จะลุยกลยุทธ์รุกช่องทางออนไลน์ ผ่านกลยุทธ์ดิจิทัลมาร์เก็ตติ้งมากขึ้น เน้นไปที่ O2O หรือ Online to Offline ผสานให้เป็น Omnichannel รวมไปถึงเพิ่มช่องทางการจำหน่ายผ่านอีคอมเมิร์ซต่าง ๆ เช่น JD Central, Shopee และ LAZADA 

New Brand & New Business

CRG จะมีแบรนด์ร้านอาหารใหม่เพิ่มขึ้นอย่างน้อย 2-3 แบรนด์ เเต่ยังไม่เปิดเผยว่าจะเป็นประเภทไหน โดยบอกเพียงว่า “เปิดกว้างเพื่อพาร์ตเนอร์รายใหม่ โดยเฉพาะ SMEs ที่หาโอกาสจะขยายธุรกิจให้ win-win ทั้งสองฝ่าย” ซึ่งมองว่าตอนนี้ ร้านอาหารเเนวสุขภาพก็มีเเนวโน้มเติบโตไปดี

ในปีที่ผ่านมา CRG เริ่มจับมือกับ ‘สลัดแฟคทอรี่’ (Salad Factory) เเละสามารถทำยอดขายผ่านช่องทางเดลิเวอรี่เติบโตถึง 400% เเละปีนี้ ตั้งเป้าผลักดันยอดขายรวมเติบโต 2 เท่า

ขณะเดียวกันก็จับมือกับโออาร์’ (OR) ขยายเครือข่ายร้านกาแฟ ‘คาเฟ่อะเมซอน’ ในประเทศเวียดนาม ล่าสุดเปิดสาขาแล้ว 5 แห่ง ภายในระยะเวลาเพียง 3 เดือน นับจากสาขาแรกเมื่อเดือนตุลาคม 2020 

CRG วางเเผนจะปรับพอร์ตธุรกิจ New Business ให้เพิ่มขึ้น จากสัดส่วน 7% ในปี 2019 ขยับมาที่ 22% ในปี 2020 จากอานิสงส์ COVID-19 เเละหวังว่าจะขยายให้เป็น 30% ได้ในปี 2030 

ทุ่มลงทุน 1 พันล้าน พร้อมปรับหลังบ้านใหม่ 

สำหรับเเผนการลงทุนในปีนี้ CRG วางงบประมาณไว้ทั้งสิ้น 1,000 ล้านบาท เเบ่งเป็นราว 600-700 ล้านบาทเพื่อใช้ในการขยายสาขา เเละอีกราว 300 ล้านบาทเพื่อปรับปรุงเเละรีโนเวตระบบหลังบ้านใหม่ ส่วนอีกราว 3-4% จะเป็นงบการตลาด 

ทั้งนี้ ในปีที่ผ่านมา CRG วางงบลงทุนไว้ที่ 1,300 ล้านบาท เเต่ด้วยวิกฤต COVID-19 ทำให้บริษัทใช้งบฯ ไปเพียง 470 ล้านบาทเท่านั้น ด้วยปีนี้มองว่าธุรกิจร้านอาหารในไทยจะกลับมาได้อีกครั้ง จึงตัดสินใจเพิ่มการลงทุน 

สำหรับทิศทางการเเข่งขันใน ‘ธุรกิจร้านอาหาร’ คาดว่าจะรุนแรงมากขึ้น ต่อสู้กันด้วยเดลิเวอรี่เเละขายออนไลน์ นอกจากเชนร้านอาหารรายใหญ่ เเละผู้ประกอบการรายย่อยเเล้ว ตอนนี้ยังมีกลุ่มบริษัทยักษ์ใหญ่ ‘นอกธุรกิจอาหาร’ เข้ามาเเจมสมรภูมินี้ด้วย ถือเป็นการดิสรัปต์วงการที่ทุกเจ้าต้องปรับตัว ‘ตามให้ทัน’ 

 

]]>
1325415
สหรัฐฯ คาดเชนร้านอาหารกว่า 30% จะ ‘ล้มละลาย’ จากพิษ COVID-19 https://positioningmag.com/1288707 Mon, 20 Jul 2020 13:19:57 +0000 https://positioningmag.com/?p=1288707 เป็นที่รู้กันว่าร้านอาหารเป็นหนึ่งในธุรกิจที่เสียหายหนักมากในช่วง Covid-19 นี้ โดยในไทยเองก็มีร้านอาหารหลายแบรนด์ที่ต้องปิดตัวลงไปจากวิกฤตินี้ ขณะที่สถานการณ์การระบาดของ Covid-19 ในสหรัฐอเมริกายังไม่มีทีท่าที่จะเบาบางลง โดยเฉพาะหลังจากที่มีการคลายมาตรการในบางรัฐที่ส่งผลให้การระบาดหนักขึ้นกว่าเดิมจนต้องพิจารณาการล็อกดาวน์อีกรอบ ส่งผลให้ร้านอาหารต้องเผชิญกับความท้าทายอีกครั้ง

การระบาดของ Covid-19 ทำให้เชนร้านอาหารบางรายประสบปัญหาด้านการเงินต้องล้มละลาย โดยกลุ่มการค้าประมาณการว่าร้านอาหารมากถึง 30% อาจปิดอย่างถาวรเนื่องจากการระบาดใหญ่ ในขณะที่ร้านอาหารอิสระมีความเสี่ยงมากขึ้นจากการที่ต้องปิดหน้าร้าน ขณะที่การจัดส่งแบบ Delivery ก็มีเครือข่ายที่จำกัด

โดยรายงานจาก S&P Global Ratings เมื่อวันศุกร์ระบุว่า กลุ่มร้านอาหารที่มีชื่อเสียงที่ยื่นล้มละลายแล้ว ได้แก่ CEC Entertainment บริษัท แม่ของ Chuck E. Cheese, Le Pan Quotidien, FoodFirst Global Restaurants, Vapiano และ Garden Fresh Restaurants

ส่วน 15 เครือข่ายร้านอาหารที่มีการซื้อขายสาธารณะซึ่งส่วนใหญ่มีแนวโน้มที่จะผิดนัดชำระ อาทิ Kisses จากอิตาลีมีโอกาส 41.2% ที่จะผิดนัดในอีก 12 เดือนข้างหน้า Muscle Maker มีโอกาส 36.9% และ Giggles N’ Hugs มีโอกาส 34.3% ส่วน Starbucks, Denny’s และ Yum Brands มีโอกาสไม่ถึง 10%

ขณะที่แฟรนไชส์ฟาสต์ฟู๊ดขนาดใหญ่ก็กำลังดิ้นรนเช่นกัน อย่าง Pizza Hut ได้ออกมายื่นขอล้มละลายภายใต้บทที่ 11 เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคมหลังจากต่อสู้กับภาระหนี้สิน หรืออย่าง McDonald’s, Tendong Wendy และ Yum Brands’s Taco Bell ต่างก็เพิ่งได้รับเงินกู้ PPP หลายล้านรายการเพื่อพยุงตัวเอง

Source

]]>
1288707
ทำความรู้จัก ‘Hive Ventures’ ตัวช่วย ‘ร้านอาหาร’ ยุค COVID-19 ที่ตอบโจทย์ตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ https://positioningmag.com/1282274 Fri, 05 Jun 2020 11:05:42 +0000 https://positioningmag.com/?p=1282274 แม้ว่าจะคลายมาตรการล็อกดาวน์แล้ว แต่ธุรกิจ ‘ร้านอาหาร’ ก็ยังต้องเจ็บตัวอยู่ เนื่องจากต้องจัดที่เพื่อเว้นระยะห่าง ดังนั้นพื้นที่ใช้สอยจาก 100% อาจต้องลดลงกว่า 50% ในบางร้าน ดังนั้น ร้านจึงจำเป็นต้องหาทางลดต้นทุนต่าง ๆ ให้มากที่สุด เพื่อให้ธุรกิจดำเนินต่อไปได้ในช่วงนี้ ดังนั้น Positioning จะพาไปรู้จักกับ ‘ไฮฟ์ เวนเจอร์ส’ (Hive Ventures) แพลตฟอร์มการร้านอาหารที่ไม่ได้เพียงแค่ช่วยร้านอาหาร แต่รวมถึงซัพพลายเชนและลูกค้าอีกด้วย

(ซ้าย) นายณปภัช พิทักษ์ศิริพรรณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (ขวา) นายไพโรจน์ วงศ์สินหิรัญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ บริษัท ไฮฟ์ เวนเจอร์ส จำกัด

คุณณปภัช พิทักษ์ศิริพรรณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) ไฮฟ์ เวนเจอร์ส เล่าว่า เพราะเคยเป็นเจ้าของร้านอาหารมาก่อน เลยรับรู้ถึงปัญหาของทั้งเจ้าของร้าน ซัพพลายเออร์ และลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการบริหารจัดการต้นทุน การบริหารจัดการคน การบริหารจัดการระบบหลังบ้าน และการทำการตลาด ซึ่งการจะทำทุกอย่างให้ครบนั้นจำเป็นต้องมีหลายแพลตฟอร์ม ซึ่งเกิดความยุ่งยาก ส่งผลให้ร้านอาหาร 9 ใน 10 ปิดลง เพราะว่าต้นทุนสูง ด้วยเหตุนี้จึงก่อตั้ง ไฮฟ์ เวนเจอร์ส และใช้เวลากว่า 3 ปีในการพัฒนาแพลตฟอร์ม ‘Hive Restaurant Intelligence’ หรือ Hive RI โดยเตรียมให้บริกาในไตรมาส 2 นี้

“ข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้าระบุว่าธุรกิจร้านอาหารเป็นประเภทธุรกิจที่เลิกประกอบกิจการสูงสุด 3 อันดับแรก (รองจากธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป และธุรกิจอสังหาริมทรัพย์) โดยเฉพาะในปี 2563 นี้ที่ธุรกิจร้านอาหารยิ่งต้องเผชิญกับความท้าทายครั้งใหญ่ที่มาจาก COVID-19”

สำหรับ Hive RI มีฟีเจอร์ที่ตอบโจทย์ความต้องการของร้านอาหารทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นร้านอาหารประเภท Fine Dining ร้านอาหารประเภท Buffet ร้านอาหารประเภทผับ บาร์ ร้านอาหารประเภทคาเฟ่ ไปจนถึงร้านอาหารประเภท Streetfood / Truckfood หรือร้านอาหารประเภท Online Delivery โดยจะมี 3 ฟังก์ชันที่จะช่วยให้การบริหารจัดการร้านง่ายขึ้น และทุกฟังก์ชันเปิดให้ใช้งาน ฟรี ได้แก่

1.ฟังก์ชันการขาย ช่วยให้ผู้ประกอบการทำการตลาดกับกลุ่มเป้าหมายได้ตรงกลุ่ม ให้เหมาะสมกับประเภทธุรกิจร้านอาหาร

2.ฟังก์ชันการบริหารจัดการ ที่ช่วยอำนวยความสะดวกในเรื่องการบริหารจัดการระบบขายหน้าร้าน (POS) และระบบหลังบ้านได้อย่างรวดเร็ว ไม่เสียเวลา

3.ฟังก์ชันการบริหารเงินทุน ทั้งต้นทุนคน และต้นทุนอาหาร โดยบริษัทได้ตั้งเป้าว่าจะมีร้านค้าในระบบกว่า 13,500 ร้านค้า ซัพพลายเออร์จัดส่งวัตถุดิบไม่เกิน 700 ราย

“เราช่วยให้เกษตรกรเข้าถึงผู้ซื้อได้โดยตรงโดยไม่ผ่านคนกลางด้วย HIVE Market Launch โดยเราเชื่อว่าจะเพิ่มรายได้ให้ผู้ผลิต ผู้ซื้อก็ได้ราคาที่ดี และอย่างการจัดการ POS เราจึงจับทุกอย่างมามัดรวมกันในที่เดียว ส่วนร้านอาหารรายเล็ก เข้าถึงเงินกู้ยาก ดังนั้นถ้าใช้ของเรา เขาจะมีข้อมูลทุกอย่าง เราเป็นตัวช่วยในการรวบรวมข้อมูลเพื่อขอสินเชื่อ”

นอกจากนี้ บริษัทยังสร้างแอปพลิเคชัน ‘Spoon walk’ สำหรับส่วนของคอนซูมเมอร์ไว้ใช้สั่งซื้ออาหารและจองโต๊ะได้ในแอปเดียว โดยจุดเด่นของแอปคือ รองรับหลายภาษา โดยเฉพาะภาษาจีน เพื่อรอรับนักท่องเที่ยวจีนในอนาคต ซึ่งในส่วนนนี้บริษัทตั้งเป้าผู้ใช้ 133,000 รายในสิ้นปีนี้

“COVID-19 นั้นส่งผลกระทบอย่างหนัก แต่เชื่อว่าตลาดเป็นแบบนี้ เขายิ่งต้องการการช่วยเหลือ ดังนั้น แพลตฟอร์มของเราจะช่วยเรื่องคอส เพราะให้ใช้ฟรี ซึ่งช่วยลดต้นทุนการใช้งานแอปในการบริหารจัดการร้านอาหารที่อย่างน้อยต้องมี 2-3 แอป เช่น pos, delivery”

เพราะแพลตฟอร์มให้ใช้ฟรี ดังนั้นรายได้ของบริษัทจะมาจากคอมมิชชัน โดยจะทำให้น้อยกว่าตลาด เพื่อดึงดูดให้ลูกค้ามาใช้งาน อย่างไรก็ตาม ความท้าทายในการทำตลาดนี้ คือ การเปลี่ยนให้ร้านมาใช้งานแพลตฟอร์มของเรา เพราะแน่นอนว่าจะต้องมีต้นทุนในการย้าย เพราะไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะให้คนที่เคยใช้ของเดิมมาเปลี่ยน และอีกเรื่องที่มองว่าท้าทายคือ การทำตลาด เนื่องจากสถานการณ์ COVID-19 ดังนั้นแผนที่จะร่วมดับงานเฟสติวัล อีเวนต์ต่าง ๆ อาจต้องรอปีหน้า ระหว่างนี้จึงเน้นทำออนไลน์ไปก่อน

“เราไม่ได้มองว่าใครเป็นคู่แข่ง เพราะไม่มีใครที่ทำครบเหมือนเรา และเราเป็นรายแรกที่ทำเรื่องซัพพลายเชน”

]]>
1282274
ร้านชาบู แข่งขันกันที่อะไร https://positioningmag.com/1096851 Fri, 08 Jul 2016 07:45:13 +0000 http://positioningmag.com/?p=1096851 1096851 แผน “ชาบูชิ” ปรับกลยุทธ์รอบ 16 ปี สู้ศึกชาบู https://positioningmag.com/1096845 Fri, 08 Jul 2016 06:32:32 +0000 http://positioningmag.com/?p=1096845 1096845 “ชาบูชิ” จัดทัพใหม่รอบ 16 ปี สู้ศึกชาบู https://positioningmag.com/1096523 Wed, 06 Jul 2016 03:56:47 +0000 http://positioningmag.com/?p=1096523 ตลาดร้านอาหารญี่ปุ่นเรียกว่าเป็นอีกหนึ่งตลาดปราบเซียนในประเทศไทย เพราะด้วยความนิยมของอาหารญี่ปุ่นของคนไทย ทำให้ร้านอาหารญี่ปุ่นเกิดขึ้นมากมาย ซึ่งข้อมูลล่าสุดในเดือนมิถุนายน 2558 มีจำนวนร้านอาหารญีปุ่นทั่วประเทศถึง 2,346 ร้าน เป็นรองแค่อาหารไทยเท่านั้น และมีมูลค่าตลาด 23,500 ล้านบาท เติบโต 15%

ประเภทของร้านแบบ Alacarte หรืออาหารเป็นเซตยังคงเป็นกลุ่มใหญ่อยู่ ด้วยมูลค่า 11,000 ล้านบาท รองลงมาคือชาบู มีมูลค่า 4,300 ล้านบาท

ในกลุ่มของธุรกิจอาหารโออิชิก็มีหลายแบรนด์ที่เกือบครบทุกเซ็กเมนต์ในตลาดแล้ว ทั้งชาบูชิ, โออิชิ บุฟเฟ่ต์, นิคุยะ, โออิชิราเมน และคาคาชิ ซึ่งชาบูชิเป็นแบรนด์ที่สามารถสร้างรายได้อันดับ 1 ให้กลุ่มโออิชิ แต่ในช่วงครึ่งปีที่ผ่านมาไม่มีความเคลื่อนไหวใดๆ มากนัก เพราะได้ทำการจัดทัพใหม่ด้วยการปรับเมนู เพื่อตอบรับกับการแข่งขันในตลาดที่ปัจจุบันมีร้านชาบูเกิดขึ้นกันแบบเกลื่อนเมือง

1shabushi

การจัดทัพครั้งนี้ถือว่าเป็นครั้งใหญ่ในรอบ 16 ปีตั้งแต่ชาบูชิทำตลาดมา โดยเป็นในเรื่องของการปรับเมนูอาหาร ปรับสัดส่วนของอาหารให้ถูกตามโภชนาการ ใช้วัตถุดิบพรีเมี่ยมขึ้น และตัดเมนูที่ไม่มีประโยชน์มากนักอย่างพวกลูกชิ้นออกไป พร้อมทั้งทำซูชิหน้าใหม่ๆ

ไพศาล อ่าวสถาพร รองกรรมการผู้จัดการ สายงานธุรกิจอาหาร บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวว่าตอนนี้คนไทยได้เรียนรู้วัฒนธรรมของญี่ปุ่นมากขึ้น ธุรกิจร้านอาหารญี่ปุ่นก็มีการปรับตัวให้เข้ากับทิศทางพฤติกรรมของผู้บริโภค ร้านมีการแยกเซ็กเมนต์ชัดเจน ชาบู ซูชิ ราเมน เราก็ต้องปรับตัวเพื่อให้ทันกับตลาดและผู้บริโภคเหมือนกัน ตอนนี้ก็มีร้านชาบูเปิดเต็มไปหมด ต้องทำให้ชาบูชิอยู่ในใจผู้บริโภคต่อไปให้ได้ ต้องศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคว่าชอบทานหรือไม่ชอบอะไร และจัดเมนูให้ดีต่อสุขภาพ เพราะเทรนด์เรื่องสุขภาพก็มาแรง

แต่สิ่งที่มาพร้อมกับเมนูใหม่ๆ ก็คือเรื่องของราคา ชาบูชิมีการปรับราคาขึ้นอีก 40 บาท จากราคาหัวละ 359 บาท เป็นราคา 399 บาท หลังจากที่มีการปรับราคาครั้งล่าสุดเมื่อปี 2557 ในกรณีนี้ไพศาลได้อธิบายว่า การเพิ่มราคาอาจจะส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคในช่วงระยะแรกแน่นอน แต่ทุกอย่างเป็นไปตามกลไกของตลาด เชื่อว่าผู้บริโภคก็ยังทานอยู่

ชาบูชิในตอนนี้มีทั้งหมด 123 สาขา แบ่งเป็นสาขาในประเทศ 98% หรือ 120 สาขา และต่างประเทศที่พม่าอีก 3 สาขา ในปีนี้กำลังเจรจากับประเทศลาวและกัมพูชาอยู่ อาจจะเป็นในรูปแบบของการหาพาร์ตเนอร์ในการทำธุรกิจ

ในปีนี้ตั้งเป้าขยายสาขาอีก 30 สาขา ในครึ่งปีแรกเปิดไปแล้ว 13 สาขา แต่ว่าจนถึงสิ้นปีอาจจะไม่ได้ตามเป้า 30 สาขา เพราะมีข้อจำกัดเรื่องทำเล โดยใช้งบลงทุนรวม 600 ล้านบาท และใช้งบการตลาดรวม 300-400 ล้านบาท

ภาพรวมรายได้ของโออิชิ กรุ๊ปในธุรกิจอาหารช่วงไตรมาส 1 มีรายได้แบ่งเป็น ร้านอาหาร 1,425 ล้านบาท คิดเป็น 94% และอาหารพร้อมทาน 91 ล้านบาท คิดเป็น 6%

3 แบรนด์ร้านอาหารที่ทำรายได้สูงสุดให้โออิชิ (ช่วงไตรมาส 1)

  • ชาบูชิ 941 ล้านบาท คิดเป็น 66%
  • โออิชิ บุฟเฟ่ต์ 255 ล้านบาท คิดเป็น 17%
  • โออิชิ ราเมน 148 ล้านบาท คิดเป็น 10%

จำนวนสาขาของชาบูชิ 123 สาขา

  • 98% หรือ 120 สาขาในประเทศไทย
  • 2% หรือ 3 สาขาในประเทศพม่า

สัดส่วนสาขาแบ่งตามภูมิภาค

  • กทม. 57%
  • ตะวันออกเฉียงเหนือ 13%
  • ตะวันออก 11%
  • ใต้ 10%
  • เหนือ 9%

4 ที่ทำรายได้ดีที่สุดของชาบูชิ

  • เดอะมอลล์บางกะปิ
  • เซ็นทรัลลาดพร้าว
  • เซ็นทรัลเวิลด์
  • เดอะมอลล์งามวงศ์วาน

ที่มา : บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)

info_shabu1

info_shabu2

]]>
1096523
เปิดแผน “สุคิยะ” แตกไลน์ “สุคิฉะ” รับการแข่งขันตลาดร้านอาหารญี่ปุ่น https://positioningmag.com/1095406 Thu, 23 Jun 2016 07:45:39 +0000 http://positioningmag.com/?p=1095406 1095406