COVID–19 – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 05 Jan 2023 04:06:17 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 IATA ประณามประเทศต่างๆ ที่ให้นักท่องเที่ยวจีนต้องตรวจโควิด ชี้สร้างผลเสียต่อภาคธุรกิจ https://positioningmag.com/1414593 Thu, 05 Jan 2023 03:58:59 +0000 https://positioningmag.com/?p=1414593 สมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ หรือ IATA ได้ออกแถลงการณ์ประณามประเทศต่างๆ ที่ให้นักท่องเที่ยวจีนต้องตรวจโควิดก่อนเดินทาง ชี้มาตรการดังกล่าวสร้างผลเสียทั้งในเรื่องการเชื่อมต่อการเดินทางระหว่างกัน ผลเสียต่อภาคธุรกิจ รวมถึงเรียกร้องให้จีนยกเลิกมาตรการดังกล่าวเช่นกัน

Willie Walsh ผู้อำนวยการทั่วไปของสมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ หรือ IATA ได้ออกแถลงการณ์ประณามประเทศต่างๆ ที่ให้นักท่องเที่ยวจีน ถ้าหากจะเข้าประเทศจะต้องมีผลตรวจโควิดเป็นลบเท่านั้น โดยชี้ว่ามาตรการดังกล่าวนี้ไม่อยู่บนเหตุผลของวิทยาศาสตร์ และเขายังชี้ว่ามาตรการดังกล่าวไม่ช่วยทำให้การแพร่ระบาดของโควิดนั้นลดลงอย่างใด

โดยในช่วงที่ผ่านมาหลายประเทศนั้นได้ออกมาตรการต่อนักท่องเที่ยวจีน ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น หรือหลายประเทศในยุโรปได้ให้นักท่องเที่ยวจีนนั้นต้องมีผลตรวจโควิดที่เป็นลบเท่านั้นสามารถที่จะออกมาจากประเทศได้ ซึ่งผู้อำนวยการทั่วไปของ IATA มองว่ามาตรการดังกล่าวเป็น “วิทยาศาสตร์การเมือง”

นอกจากนี้เขายังแนะนำให้ควรฟังแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ รวมถึงใช้มาตรการขององค์การอนามัยโลกที่ให้ข้อแนะนำในการเดินทางในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 เขายังชี้ว่าปัจจุบันโลกมีเครื่องมือในการจัดการโควิด-19 โดยที่ไม่ต้องหันไปใช้มาตรการที่อื่นๆ ไม่ได้ผล ซึ่งมาตรการของแต่ละประเทศที่ทำนั้นไม่ได้ทำให้การแพร่ระบาดลดลงจากจุดสูงสุดแต่อย่างใด แต่ช่วยให้การแพร่ระบาดลดลงช้าไปแค่ 2-3 วันเท่านั้น

ไม่เพียงเท่านี้ผู้อำนวยการทั่วไปของ IATA ยังเรียกร้องให้จีนยกเลิกมาตรการให้นักท่องเที่ยวที่ต้องการเข้าประเทศตรวจหาเชื้อโควิดและมีผลตรวจเป็นลบ เนื่องจากจีนมีมาตรการผ่อนคลายโควิดเช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ

ปัจจุบันสมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ มีสมาชิกสายการบินรวมกันราวๆ 300 สายการบิน คิดเป็นสัดส่วนมากถึง 83% ของปริมาณการบินทั่วโลก และมีบทบาทในการผลักดันนโยบายกี่ยวกับด้านการบินในช่วงต่างๆ รวมถึงในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ด้วย

]]>
1414593
รู้จัก UV Care254 Airflow เครื่องฆ่าเชื้อโรคในอากาศ แบรนด์ โซล-เอ็น นวัตกรรมคนไทยสู้โควิด-19 https://positioningmag.com/1332162 Fri, 23 Apr 2021 05:00:38 +0000 https://positioningmag.com/?p=1332162

เป็นเวลากว่า 1 ปีแล้วที่ทั่วโลกและประเทศไทยยังต้องเผชิญกับวิกฤต COVID-19 ดังนั้น แบรนด์ ‘โซล-เอ็น’ แบรนด์สัญชาติไทยจากฝีมือนักวิทยาศาสตร์ไทยได้พัฒนานวัตกรรมเครื่องฆ่าเชื้อโรคและไวรัสในอากาศ UV Care254 Airflow โดยผ่านการทดสอบมาตรฐาน ประสิทธิภาพ และความปลอดภัย จาก 5 หน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือของประเทศไทย และผลการทดสอบเป็นที่ยอมรับในระดับสากล โดยพร้อมลุยตลาด ออฟฟิศ โรงพยาบาล ร้านอาหาร ห้างสรรพสินค้า โรงเรียน ครอบคลุมทั้งประเทศภายในสิ้นปีนี้

บรนด์ ‘Sol-n (โซล-เอ็น)’ เกิดจาก คุณมัตติกา เอาแสงดีกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท โซล-เอ็น เทค จำกัด ที่เป็นผู้ผลิตและคิดค้นนวัตกรรมเครื่องฆ่าเชื้อโรคในอากาศของไทย โดยเครื่องฆ่าเชื้อโรคในอากาศ Sol-n มีแนวคิด “นวัตกรรมคนไทย ดูแลคนไทย” โดยมีเป้าหมายหลักในการทำธุรกิจพัฒนานวัตกรรมของคนไทย เพื่อคนไทย และหวังให้เครื่องนี้สามารถสนับสนุนด้านความปลอดภัยในอากาศ และลดความเสี่ยงในการติดเชื้อให้กับบุคลากรทางการแพทย์ และประชาชนคนไทยทุกคนให้ปลอดจากเชื้อโรคและเชื้อไวรัส ร่วมฝ่าวิกฤต COVID-19 ไปด้วยกัน

สำหรับ เครื่องฆ่าเชื้อโรคในอากาศ UV Care254 Airflow แบรนด์ “Sol-n (โซล-เอ็น) ของไทย เกิดจากการพัฒนาคิดค้นนวัตกรรมใหม่โดยทีมนักวิทยาศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญด้านจุลชีววิทยาของชาวไทย โดยเครื่องสามารถฆ่าเชื้อโรคในอากาศ เชื้อไวรัสต่าง ๆ รวมไปถึงเชื้อไวรัส COVID-19 โดยผ่านการทดสอบประสิทธิภาพการฆ่าเชื้อโรคจากไบโอเทค หรือศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ และศูนย์ทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (PTEC) ว่ามีอัตราการฆ่าเชื้อโรคได้มากกว่า 99.99% สามารถฆ่าเชื้อโรคได้สูงกว่าระดับมาตรฐานถึง 40 เท่า และผ่านการพิจารณาจาก สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความปลอดภัย และสามารถใช้งานโดยสัมผัสกับคนได้

อีกจุดเด่นของ Sol-n (โซล-เอ็น) ที่ผ่านการทดสอบเรื่องความปลอดภัยจาก 2 หน่วยงานระดับชาติ คือ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) และวัสดุที่ใช้ได้มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) ดังนั้น มั่นใจได้ถึงความปลอดภัยในการใช้งานร่วมกับคน และสัตว์เลี้ยง ซึ่งเป็นจุดแตกต่างที่สำคัญเมื่อเทียบกับสินค้าแบรนด์อื่นที่มีข้อจำกัดที่ห้ามสัมผัสโดยตรง และใช้งานในพื้นที่ที่มีคนและสัตว์เลี้ยงอยู่ร่วมด้วย

สำหรับการใช้งานของเครื่องฆ่าเชื้อโรคในอากาศ Sol-n (โซล-เอ็น) สามารถใช้งานได้สองรูปแบบ ได้แก่

1. เป็นแบบติดตั้งบนผนังที่ครอบคลุมพื้นที่อากาศในความสูงช่วงระยะหายใจของมนุษย์ และ

2. เป็นแบบเคลื่อนย้ายได้ มีคุณสมบัติในการลดความเสี่ยงการติดเชื้อในมุมอับของห้อง-เน้นเรื่องเครื่องฆ่าเชื้อในอากาศ

ที่ผ่านมา มีลูกค้าจำนวนมากให้ความเชื่อมั่น Sol-n (โซล-เอ็น) ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มแพทย์ โรงพยาบาล โรงแรม ร้านอาหาร ห้างสรรพสินค้า ผู้ประกอบการห้างร้าน และเอสเอ็มอี ล่าสุด ร้านมนต์นมสด สำนักงานทนายความอนันต์ชัยได้เลือกใช้ Sol-n (โซล-เอ็น) เพื่อสร้างความมั่นใจและปลอดภัยให้กับลูกค้าแล้ว

“ส่วนตัวรู้สึกดีใจที่ได้มีส่วนในการสร้างสรรค์นวัตกรรมและการผลิตให้เกิดขึ้นในประเทศไทย และมีนวัตกรรมที่มีประโยชน์และใช้งานได้จริงในภาวะวิกฤติโรคระบาดทางอากาศ คิดค้นเครื่องฆ่าเชื้อโรคในอากาศ และเชื้อไวรัสได้เป็นผลสำเร็จที่มาจากคนไทยครั้งแรก นอกจากจะสร้างประโยชน์ และคุณูปการให้กับคนไทยแล้ว ยังเชื่อว่าจะสร้างชื่อให้กับประเทศไทยให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากลด้วย” นางมัตติกา กล่าว

ทางบริษัท โซล-เอ็น เทคฯ ได้ลงนามแต่งตั้งให้ บริษัท กู๊ดเทค อินโนเวชั่น จำกัด เป็นผู้จัดจำหน่าย (Distributor) ทั้งระบบออฟไลน์ และออนไลน์ รวมถึงสร้างแบรนด์และทำการตลาด โดยล่าสุดกู๊ดเทคฯ ได้มีการแต่งตั้งผู้แทนจำหน่ายทั้งหมด 3 ปริษัท ได้แก่ บริษัท ไวส์ 32 มีเดีย แอนด์ คอนซัลแตนท์ จำกัด, บริษัท เจพีเจ แอนด์ แคร์ จำกัด และบริษัท กู้ดอินฟินิต จำกัด

นายฐิติวัฒน์ บรรจงกาลกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท กู๊ดเทค อินโนเวชั่น จำกัด ผู้จัดจำหน่าย (Distributor) ทั้งระบบออฟไลน์ – ออนไลน์ และเป็นผู้ทำการตลาดสร้างแบรนด์ ‘Sol-n(โซล-เอ็น)’ กล่าวว่า โซล-เอ็น เป็นผลิตภัณฑ์ที่มาจากงานวิจัยและพัฒนาจากคนไทยแท้ที่มีการยื่นจดสิทธิบัตรเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เชื่อมั่นว่าจะสร้างชื่อเสียงให้ประเทศไทยในอนาคตได้อย่างแน่นอน เพราะประสิทธิภาพสูงฆ่าเชื้อโรคและเชื้อไวรัสในอากาศได้ถึง 99.99% มีการใช้งานง่าย เสียบปลั๊ก (220v) ก็พร้อมใช้งานได้ทันที เป็นระบบปิดที่ปลอดภัยกับสิ่งมีชีวิตทั้งคนและสัตว์

ทั้งนี้ ธุรกิจร้านค้าที่ติดตั้งเครื่อง UV Care254 Airflow แบรนด์ “Sol-n (โซล-เอ็น) ทางบริษัทฯ จะมีการออกใบ Certificate พร้อมสติกเกอร์ติดหน้าร้าน หรือบริเวณร้านค้า เพื่อรับรองว่าอากาศในพื้นที่นี้ ฆ่าเชื้อโดย UV Care254 Airflow เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการในร้านอาหารนั้น ๆ ด้วย

สำหรับผู้ที่สนใจสามารถพบกับ เครื่องฆ่าเชื้อโรคในอากาศ UV Care254 Airflow แบรนด์ “Sol-n (โซล-เอ็น) ได้ที่  http://www.goodtech.com  หรือ Facebook: Goodtech Thailand และ Line: @goodtech

]]>
1332162
รัฐบาลอินโดฯ ห้าม “ชาวต่างชาติ” เข้าประเทศชั่วคราว สกัด COVID-19 กลายพันธุ์ https://positioningmag.com/1312411 Tue, 29 Dec 2020 07:21:50 +0000 https://positioningmag.com/?p=1312411 รัฐบาลอินโดนีเซีย ยกระดับคุมเข้มสกัดไวรัสโคโรนากลายพันธุ์สั่งห้ามชาวต่างชาติจากทุกประเทศ เดินทางเข้าเมือง เป็นเวลาอย่างน้อย 2 สัปดาห์ เริ่มตั้งเเต่วันปีใหม่นี้

อินโดนีเซีย เตรียมแบนผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศ นับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2021 เเละมีผลเรื่อยไป 14 วันเป็นอย่างน้อยเพื่อป้องกัน COVID-19 “สายพันธุ์ใหม่” ที่กลายพันธุ์มาจากอังกฤษเเละเเอฟริกาใต้ ที่มีการตรวจพบเเล้วในหลายประเทศ อย่าง สิงคโปร์ ญี่ปุ่น มาเลเซีย เเคนาดาเเละไนจีเรีย

ก่อนหน้านี้ มีการสั่งระงับการเข้าเมืองของนักเดินทางจากสหราชอาณาจักร เข้มงวดกับผู้ที่เดินทางมาจากยุโรปและออสเตรเลีย เพื่อจำกัดการแพร่กระจายของไวรัสดังกล่าว

เมื่อต้นปีที่ผ่านมา อินโดนีเซียห้ามนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติทุกคนเข้าประเทศ แต่มีการยกเว้นในบางกรณีสำหรับนักเดินทางเพื่อธุรกิจ เเต่กฎระเบียบใหม่นี้ มีผลบังคับใช้กับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติทุกคน ยกเว้นเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐ

มาตรการดังกล่าว จะยกเว้นสำหรับเจ้าหน้าที่การทูต เจ้าหน้าที่องค์กรระหว่างประเทศ พลเมืองอินโดนีเซียและชาวต่างชาติ ซึ่งมีใบอนุญาตพำนักถาวรในอินโดนีเซีย อย่างไรก็ตาม บุคคลกลุ่มนี้ต้องแสดงเอกสารตามที่กำหนดโดยสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองและเจ้าพนักงานควบคุมโรค ตลอดจนการต้องเข้าสู่กระบวนการกักตัวตามระยะเวลาที่รัฐกำหนด

ด้านญี่ปุ่นเตรียมแบนผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศ นับตั้งแต่วันที่ 28 .เป็นต้นไป จนถึงสิ้นเดือนมกราคม “เป็นอย่างน้อย” หลังพบผู้ติดเชื้อ COVID-19 “สายพันธุ์ใหม่” ที่กลายพันธุ์มาจากอังกฤษ ขณะที่ยอดผู้ติดเชื้อในประเทศก็เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ

การเเพร่ระบาดของ COVID-19 น่ากังวลขึ้นอีกครั้ง หลังมีการพบเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ “ชนิดกลายพันธุ์” ครั้งแรกที่ประเทศอังกฤษ เมื่อช่วงเดือนก.ที่ผ่านมา ซึ่งสามารถแพร่กระจายได้เร็วขึ้นอีก 70% โดยสายพันธุ์ใหม่ที่พบในสหราชอาณาจักรและแอฟริกาใต้ยังเป็นคนละชนิดกันด้วย

อินโดนีเซีย ซึ่งเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 4 ของโลก ต้องเผชิญกับการเเพร่ระบาดของ COVID-19 อย่างรุนเเรง โดยขณะนี้มีผู้ติดเชื้อสะสมที่ยืนยันแล้วเกือบ 720,000 รายและเสียชีวิต 21,500 รายนับว่ามีจำนวนสูงที่สุดในอาเซียน

ช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา สถานการณ์เริ่มตึงเครียดขึ้นอีก เมื่อมียอดผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้น จนมีปัญหาเตียงผู้ป่วยล้นโรงพยาบาลบนเกาะชวา

 

ที่มา : Reuters , Jakarta Post

]]>
1312411
สิงคโปร์ เปิดโครงการใหม่ ให้เงินหนุนผู้มีรายได้น้อย-ปานกลาง ที่ตกงานเเละสูญเสียรายได้ https://positioningmag.com/1311321 Sun, 20 Dec 2020 18:08:14 +0000 https://positioningmag.com/?p=1311321 รัฐบาลสิงคโปร์ เปิดตัวโครงการใหม่ ให้เงินสนับสนุนประชาชนเเละผู้อยู่อาศัยถาวรที่ต้องตกงานเเละรายได้หดหายไป อันเป็นผลกระทบมาจาก COVID-19

โดยโครงการนี้ มีชื่อว่า COVID-19 Recovery Grant มุ่งช่วยเหลือผู้ที่มีรายได้น้อยถึงปานกลางเเละผู้ประกอบอาชีพอิสระ

เเม้ก่อนหน้านี้ รัฐบาลสิงคโปร์จะมีมาตรการต่างๆ ที่ให้ความช่วยเหลือไปบ้างเเล้วก็ตาม เเต่ทางกระทรวงพัฒนาสังคมและครอบครัว ระบุว่า ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจนต้องสูญเสียงานเเละรายได้นั้น ยังต้องการความช่วยเหลืออีกมากกว่าจะก้าวพ้นวิกฤตนี้ไปได้

โครงการ COVID-19 Recovery Grant จะเปิดให้ชาวสิงคโปร์เเละผู้อยู่อาศัยถาวร ที่มีอายุ 21 ปีขึ้นไป ได้รับเงินสนับสนุนสูงถึง 700 ดอลลาร์สิงคโปร์ต่อเดือน (ราว 1.5 หมื่นบาท) เป็นเวลา 3 เดือน

ตามเงื่อนไข 2 ประการที่ว่า จะต้องเป็นผู้ถูกปลดจากงานโดยไม่สมัครใจ เนื่องจากบริษัทต้องการลดต้นทุนหรือได้รับผลกระทบหนักจากโรคระบาด หรือเป็นผู้ที่ต้องหยุดงานโดยไม่รับเงินค่าจ้าง ยาวนาน 3 เดือนติดต่อกัน

ส่วนผู้ที่จะได้รับเงินสนับสนุน 500 ดอลลาร์สิงคโปร์ต่อเดือน (ราว 1.1 หมื่นบาท) เป็นเวลา 3 เดือนนั้น จะต้องมีคุณสมบัติตามเงื่อนไขที่ว่า จะต้องเป็นพนักงานที่มีเงินเดือนหายไป 50% โดยเฉลี่ย 3 เดือนติดต่อกัน เเละผู้ประกอบอาชีพอิสระ ที่สูญเสียรายได้อย่างน้อย 50% เป็นเวลา 3 เดือนติดต่อกัน เมื่อเทียบกับรายได้ในปี 2019 หรือปี 2020

Photo : Shutterstock

ด้วยความที่โครงการ COVID-19 Recovery Grant มุ่งจะช่วยผู้มีรายได้น้อยเเละผู้ที่สูญเสียรายได้เป็นหลัก ดังนั้นจึงมีการกำหนดให้ ประชาชนมีรายได้ครัวเรือนอยู่ที่ 7,800 ดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 1.7 เเสนบาท) หรือน้อยกว่านั้น หรือมีรายได้ต่อหัวเฉลี่ยที่ 2,600 เหรียญสิงค์โปร์ (ราว 5.8 หมื่นบาท) หรือน้อยกว่านั้นในช่วงก่อนที่จะเกิดการเเพร่ระบาดของ COVID-19 สามารถลงทะเบียนรับความช่วยเหลือนี้ได้เช่นกัน

ทั้งนี้ ชาวสิงคโปร์สามารถลงทะเบียนเพื่อรับความช่วยเหลือดังกล่าวได้ตั้งเเต่วันที่ 18 มกราคม เป็นต้นไป เเละสิ้นสุด ณ 31 ธันวาคม ปี 2021 โดยคาดว่าจะมีผู้ประกอบอาชีพอิสระได้รับผลประโยชน์จากโครงการนี้กว่า 2 เเสนคน ใช้งบประมาณราว 1,800 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 4 หมื่นล้านบาท)

ด้านคนขับรถแท็กซี่และคนขับรถรับจ้างส่วนตัว ซึ่งได้รับผลกระทบจากภาคท่องเที่ยวที่หยุดชะงัก จะได้รับการสนับสนุนจากกองทุนสงเคราะห์ในช่วง COVID-19 ขององค์การขนส่งทางบกที่กำลังจะมีมาตรการใหม่ออกมาเพิ่มเติมในเร็ว ๆ นี้

 

ที่มา : CNA , The Straits Times

]]>
1311321
ฝืนไม่ไหว! Singapore Airlines ปลดพนักงาน 4,300 คน จำนวนมากที่สุดในประวัติศาสตร์บริษัท https://positioningmag.com/1296612 Fri, 11 Sep 2020 11:06:15 +0000 https://positioningmag.com/?p=1296612 พิษ COVID-19 สะเทือนสายการบินต่อเนื่อง ล่าสุดกลุ่ม Singapore Airlines ตัดสินใจปลดพนักงานกว่า 4,300 ตำแหน่ง หรือราว 20% ของพนักงานทั้งหมด ถือเป็นการปลดพนักงานจำนวนมากที่สุดในประวัติศาสตร์ของบริษัท

ก่อนหน้านี้ Singapore Airlines หรือ SIA Group อนุญาตให้พนักงานกว่า 6,000 คน จากทั้งหมด 2.7 หมื่นคน ตัดสินใจ “ลางานเเบบไม่รับเงิน” เพื่อช่วยเหลือบริษัทให้ก้าวผ่านวิกฤตนี้ไปให้ได้ ในจำนวนนี้กว่า 1,700 คน ทั้งนักบินเเละลูกเรือ ได้ลงทะเบียนเพื่อทำงานเป็นอาสาสมัครระยะสั้นและทำงานชั่วคราวในองค์กรอื่น

เเม้ช่วงเดือนที่ผ่านมา บริษัทยังคงอุ้มพนักงานทั้งหมดไว้ได้ เเต่มาถึงเดือนนี้ก็ฝืนยื้อต่อไปไม่ไหว เมื่ออุตสาหกรรมการบินยังไม่สามารถกลับมาทำการบินได้ตามปกติ โดยเฉพาะการบินระหว่างประเทศ ที่อาจจะต้องใช้เวลา 3-4 ปีกว่าจะฟื้นตัวกลับมาได้เท่าช่วงก่อนวิกฤต

โดยปัจจุบัน Singapore Airlines เปิดให้บริการได้เพียง 8% และคาดว่าเมื่อถึงสิ้นสุดปีงบการเงิน คือวันที่ 31 มี..ปีหน้า ก็จะยังให้บริการได้ไม่ถึง 50%

ขณะที่รายได้ส่วนใหญ่ของสายการบิน ต้องขึ้นอยู่กับเส้นทางต่างประเทศ ซึ่งเป็นเรื่องน่ากังวลเพราะ Singapore Airlines ไม่มีตลาดในประเทศ ซึ่งเป็นกลุ่มแรกที่มีเเนวโน้มฟื้นตัว

ด้วยปัจจัยลบทั้งหลาย ทำให้บริษัทจำเป็นต้องลดจำนวนพนักงาน 4,300 คน คิดเป็น 20% ของพนักงานที่มีอยู่ทั่วโลก ซึ่งเป็นการเลิกจ้างพนักงานในคราวเดียวจำนวนมากที่สุดในประวัติศาสตร์ของสายการบินนี้

Photo : Shutterstock

ก่อนหน้านี้ กลุ่ม SIA ได้ลดเงินเดือนพนักงานขั้นต่ำ 10% สำหรับพนักงานทั่วไป ส่วนตำเเหน่งผู้จัดการขึ้นไปมีการปรับลดตั้งแต่ 12-35% ขณะที่ประธานเจ้าหน้าที่บริหารปรับลด 35%

สายการบินระบุว่า ในเดือนเมษายนมิถุนายน จำนวนผู้โดยสารจะลดลงมากถึง 96% จากการระงับให้บริการของทั้ง Singapore Airlines เเละบริษัทลูกอย่าง Silk Air ส่วน Scoot ซึ่งเป็นสายการบินต้นทุนต่ำในเครือ ได้ลดการให้บริการลงถึง 98% ของเที่ยวบินทั้งหมด

ทั้งนี้ SIA Group เพิ่งรายงานผลประกอบการประจำไตรมาสสิ้นสุด ณ 30 มิถุนายน โดยขาดทุนสุทธิ 1.12 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 2.5 หมื่นล้านบาทมากที่สุดนับตั้งเเต่ก่อตั้งสายการบินนี้มาเเม้จะเคยมีผลประกอบการในระดับดีมาตลอดก็ตาม

 

ที่มา : CNA , Reuters

]]>
1296612
เคลียร์กันไม่ได้ Tiffany & Co. ยื่นฟ้อง LVMH ส่อ “ล้มดีล” ซื้อกิจการ หลังเเบรนด์หรูยอดขายร่วง https://positioningmag.com/1296386 Thu, 10 Sep 2020 12:25:25 +0000 https://positioningmag.com/?p=1296386 ดีลนี้จะล้มไม่ล้มเมื่อสถานการณ์เปลี่ยน เเบรนด์หรูยอดขายลดฮวบจากพิษไวรัส สะเทือนข้อตกลงทางธุรกิจ ล่าสุด Tiffany & Co. แบรนด์อัญมณีชื่อดัง เตรียมยื่นฟ้อง LVMH กลุ่มบริษัทแบรนด์เนมยักษ์ใหญ่ของโลก หลังส่อจะผิดนัดล้มดีลเข้าซื้อกิจการ มูลค่ากว่า 5 เเสนล้านบาท

ก่อนหน้านี้ LVMH ได้รับการร้องขอจากรัฐบาลฝรั่งเศส ให้ชะลอการเข้าถือครองกรรมสิทธิ์ของ Tiffany & Co. จากปัญหาอัตราภาษีศุลกากรจากสหรัฐฯ ทำให้ขั้นตอนพิจารณาถึงข้อตกลงในการซื้อกิจการมูลค่า 1.62 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 5 แสนล้านบาท) ในราคา 135 เหรียญต่อหุ้น ต้องหยุดชะงัก ก่อนจะเกิดวิกฤตการเเพร่ระบาดของ COVID-19

เเต่เมื่อเกิดโรคระบาดที่กระทบต่อธุรกิจทั่วโลก มีกระเเสข่าวว่า เบอร์นาร์ด อาร์โนลต์ ซีอีโอเครือ LVMH กำลังต่อรองกับ Tiffany & Co. ให้ยอมลดราคาต่อหุ้นลงมาจากเดิม เเต่ทาง LVMH ยืนยันว่าบริษัทไม่มีการพิจารณาซื้อหุ้นของ Tiffany ตามเเถลงการณ์ ณ วันที่ 4 มิ.. ที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม หลังจากนั้นก็ยังมีข่าวลือว่า LVMH จะกลับลำไม่เข้าเทกโอเวอร์กิจการออกมาต่อเนื่อง

จากความไม่เเน่นอนดังกล่าว ทำให้ Tiffany & Co. ตัดสินใจเตรียมที่จะยื่นฟ้องต่อ LVMH ว่ามีความจงใจหลีกเลี่ยงที่จะทำให้ข้อตกลงซื้อกิจการให้สำเร็จลุล่วง รวมถึงการตั้งคำถามเกี่ยวกับราคาที่เสนอขายกิจการ และความโปร่งใสในการดำเนินกิจการของ LVMH ที่มีปัญหาเกี่ยวกับภาษี

Roger Farah ประธานของ Tiffany & Co. กล่าวว่า LVMH พยายามหาวิธีหลีกเลี่ยงที่จะจัดทำข้อตกลงเพื่อถือครองกรรมสิทธิ์ ตามเงื่อนไขที่เคยตกลงกันไว้

เดิมที ความต้องการซื้อ Tiffany & Co. เกิดจากวิสัยทัศน์การขยายกิจการของ LVMH ที่ต้องการบุกตลาดสหรัฐฯ อย่างเต็มที่และเพิ่มแบรนด์เครื่องประดับเข้าพอร์ต มีการคาดการณ์ว่าจะปิดดีลได้เรียบร้อยภายในกลางปี 2020 แต่กลับมาเกิดวิกฤต COVID-19 เสียก่อน ทำให้บริษัทต้องหันมาบริหารความเสี่ยงและทำให้บริษัทอยู่รอดให้ได้

ด้านแถลงการณ์ของ LVMH ที่เป็นเจ้าของแบรนด์หรูกว่า 75 แบรนด์อย่าง Louis Vuitton , Christian Dior เเละ Dom Perignon ระบุว่า คณะกรรมการของบริษัทต้องทบทวนถึงสถานการณ์นี้ เพราะมีผลกระทบต่อการตัดสินใจกลุ่มลูกค้าสายแฟชั่นรุ่นใหม่

การแพร่ระบาดของ COVID-19 ส่งผลกระทบให้รายได้ในกลุ่มสินค้าแบรนด์เนม โดยผลประกอบการของ LVMH ในช่วงครึ่งปีแรกอยู่ที่ 18,393 ล้านยูโร ลดลง -27% เทียบช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่กำไรจากการทำธุรกิจอยู่ที่ 1,671 ล้านยูโร ลดลง -68% ส่วนยอดขายของ Tiffany & Co. ลดลงถึง 36% ในช่วงครึ่งปีแรกซึ่งอาจมีความเชื่อมโยงไปถึงปัญหาการเข้าซื้อกิจการครั้งนี้

โดยสถานการณ์ตลาดแฟชั่นหรูจนถึงสิ้นปี 2020 ทาง McKinsey บริษัทที่ปรึกษารายใหญ่ ประเมินไว้ว่าน่าจะหดตัว -35% ถึง -39% เพราะเหตุผลหลายประการทำให้ผู้บริโภคจะใช้จ่ายน้อยลงกับสินค้าลักชัวรี

 

ที่มา : BBC , Forbes

]]>
1296386
10 ประเทศที่ยังปลอด COVID-19 พวกเขาคือผู้ชนะท่ามกลางโรคระบาดหรือไม่? https://positioningmag.com/1294586 Sat, 29 Aug 2020 12:07:22 +0000 https://positioningmag.com/?p=1294586 COVID-19 แพร่ระบาดไปทั่วโลก ยกเว้น 10 ประเทศเหล่านี้ แต่พวกเขามีความเป็นอยู่อย่างไรบ้างในประเทศที่ “ปลอดเชื้อ” ไปฟังมุมมองที่ทั้งเหมือนและแตกต่างของกลุ่มประเทศหมู่เกาะแปซิฟิกอย่าง ประเทศปาเลา หมู่เกาะมาร์แชล และวานูอาตู

The Palau เป็นโรงแรมที่เปิดมาตั้งแต่ปี 1982 ก่อนที่ธุรกิจท่องเที่ยวของ ประเทศปาเลา จะได้รับความนิยม แต่ตั้งแต่นั้นมา ประเทศเล็กจิ๋วแต่แวดล้อมด้วยน้ำทะเลสีฟ้าใสของมหาสมุทรแปซิฟิกแห่งนี้ ก็กลายเป็นจุดหมายยอดฮิตของนักเดินทาง

ในปี 2019 ประเทศปาเลามีนักท่องเที่ยวมาเยือนทั้งหมด 90,000 คน ซึ่งมากกว่าจำนวนประชากรบนเกาะถึง 5 เท่า ข้อมูลจาก IMF ปี 2017 ยังพบว่า ภาคธุรกิจท่องเที่ยวคิดเป็นสัดส่วนถึง 40% ของจีดีพีประเทศปาเลา

แต่นั่นคือภาพก่อนเกิดโรคระบาด COVID-19 ขึ้น

ชายแดนประเทศปาเลาต้องปิดรับคนต่างชาติตั้งแต่ปลายเดือนมีนาคม และกลายเป็นหนึ่งใน 10 ประเทศของโลกที่ยังไม่มีรายงานผู้ติดเชื้อโรคระบาด COVID-19 (นับเฉพาะประเทศที่เป็นสมาชิก UN และไม่นับประเทศเกาหลีเหนือกับเติร์กเมนิสถาน)

“10 ประเทศที่ยังไม่มีรายงานผู้ติดเชื้อ COVID-19”
  • ปาเลา
  • ไมโครนีเซีย
  • หมู่เกาะมาร์แชล
  • นาอูรู
  • คิริบาตี
  • หมู่เกาะโซโลมอน
  • ตูวาลู
  • ซามัว
  • วานูอาตู
  • ตองกา

เศรษฐกิจ “ปาเลา” กำลังนับถอยหลัง

อย่างไรก็ดี แม้ว่าจะไม่มีผู้ติดเชื้อแม้แต่รายเดียว ไวรัสโคโรนาก็ยังทำลายประเทศนี้ในเชิงเศรษฐกิจ

โรงแรม The Palau ต้องปิดดำเนินการตั้งแต่เดือนมีนาคม และไม่ใช่แค่โรงแรมนี้โรงแรมเดียวที่ต้องปิดชั่วคราว บรรดาร้านอาหาร ร้านขายของที่ระลึก ก็ต้องปิดเช่นกัน ส่วนแขกที่เข้าพักในโรงแรมก็เหลือแต่ประชาชนของปาเลาที่ใช้โรงแรมเป็นสถานที่กักตัว

The Palau โรงแรมแห่งแรกของประเทศ กำลังตกอยู่ในภาวะวิกฤต

“มหาสมุทรของที่นี่สวยกว่าที่อื่นในโลกมาก” ไบรอัน ลี ผู้จัดการและเจ้าของร่วมโรงแรม The Palau กล่าว ก่อนที่จะเกิดการระบาด โรงแรมขนาด 54 ห้องของเขามีอัตราเข้าพัก 70-80% แต่เมื่อประเทศถูกปิด เขาก็ไม่มีเบาะรองรับอื่นในการทำธุรกิจ

“ที่นี่เป็นประเทศเล็กๆ ดังนั้นคนท้องถิ่นจะไม่มาพักที่ The Palau หรอกครับ” ไบรอันกล่าว

เขามีพนักงานประมาณ 20 คนในโรงแรม และเขายังคงจ้างงานทุกคนแม้ว่าจะต้องลดชั่วโมงทำงานลง “ผมพยายามหางานให้พวกเขาทำ อย่างเช่นการซ่อมบำรุง รีโนเวต และอื่นๆ”

แต่โรงแรมที่ว่างเปล่าคงไม่สามารถรีโนเวตหรือซ่อมบำรุงอย่างเดียวไปตลอดกาลได้ “ผมอยู่อย่างนี้ได้อีกครึ่งปีเท่านั้น” ไบรอันกล่าว “หลังจากนั้นผมอาจจะต้องปิดโรงแรม”

หาดทรายขาวของปาเลา ประเทศทางตะวันออกของฟิลิปปินส์ บัดนี้ร้างไร้ผู้คนเนื่องจาก COVID-19 (Photo : Shutterstock)

เขาไม่โทษรัฐบาลที่ทำให้เกิดสถานการณ์นี้ เพราะรัฐได้ให้เงินช่วยเหลือแก่ประชาชนทุกคน และสำคัญที่สุดก็คือ สามารถป้องกันไม่ให้ไวรัสโคโรนาแพร่ระบาดในประเทศได้

“ผมคิดว่าพวกเขาทำได้ดีแล้ว” เขากล่าว แต่ถ้าโรงแรมแห่งนี้จะรอดจากสถานการณ์วิกฤตไปได้ ก็คงต้องมีอะไรที่เปลี่ยนแปลงเร็วๆ นี้

รัฐบาลปาเลาเพิ่งประกาศว่า เที่ยวบิน “ที่จำเป็น” จะสามารถบินเข้าออกประเทศได้ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายนนี้ และมีข่าวลือว่ารัฐบาลกำลังหารือเปิด “ระเบียงทางอากาศ” กับไต้หวัน เพื่ออนุญาตให้นักท่องเที่ยวจากไต้หวันเข้ามาท่องเที่ยว

สำหรับไบรอัน เขามองว่าการเปิดรับนักท่องเที่ยวควรเกิดขึ้นให้เร็วกว่านี้ “ผมคิดว่ารัฐต้องเริ่มเปิดประเทศอีกครั้งได้แล้ว อาจจะเริ่มจากมี Travel Bubble กับนิวซีแลนด์ หรือประเทศอื่นๆ ใกล้เคียง” เขากล่าว “ไม่เช่นนั้น จะไม่มีใครรอดเลยในประเทศนี้”

 

ไม่ใช่แค่ท่องเที่ยว การประมงก็ซบเซา

ห่างออกไปทางตะวันออกอีก 4,000 กิโลเมตร หมู่เกาะมาร์แชล ที่ตั้งอยู่กลางมหาสมุทรแปซิฟิก ไม่เพียงแต่ไร้ผู้ติดเชื้อเหมือนปาเลา แต่ยังเจอสถานการณ์เศรษฐกิจคล้ายๆ กัน

โรงแรม Robert Reimers ที่ตั้งอยู่บนหาดทะเลแหวก Majuro ฝั่งหนึ่งของโรงแรมเป็นสระน้ำใส อีกฝั่งหนึ่งคือมหาสมุทรก่อนเกิดโรคระบาด โรงแรมขนาด 37 ห้องนี้มีอัตราเข้าพัก 75-88% รับนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่จากทวีปเอเชียแปซิฟิกและสหรัฐอเมริกา

แต่เมื่อต้องปิดพรมแดนในช่วงต้นเดือนมีนาคม อัตราเข้าพักก็ร่วงลงเหลือ 3-5% เท่านั้น “เรามีนักท่องเที่ยวบ้างจากเกาะรอบนอก แต่ก็ไม่มากนัก” โซเฟีย ฟาวเลอร์ ผู้บริหารเครือโรงแรมนี้กล่าว

มหาสมุทรสีเขียวสดของหมู่เกาะมาร์แชล แหล่งดำน้ำ ตกปลา (Photo : hotelrobertreimers.com)

ในระดับประเทศ หมู่เกาะมาร์แชลคาดการณ์ว่าจะมีคนตกงานเพิ่ม 700 คนจากโรคระบาด เป็นวิกฤตตลาดงานที่หนักที่สุดนับจากครั้งวิกฤตต้มยำกุ้งปี 1997 ในจำนวนดังกล่าว 258 คนอยู่ในธุรกิจโรงแรมและร้านอาหาร

สำหรับหมู่เกาะมาร์แชลนั้นพึ่งพิงนักท่องเที่ยวน้อยกว่าปาเลา ดังนั้นการปิดประเทศจะส่งผลมากกว่าแค่ธุรกิจท่องเที่ยว กลายเป็นว่าธุรกิจที่ได้รับผลกระทบยิ่งกว่าคืออุตสาหกรรมประมง

เนื่องจากรัฐต้องการทำให้ประเทศปลอดเชื้อ เรือลำใดที่เคยเดินทางไปยังประเทศที่มีผู้ติดเชื้อจะถูกแบนห้ามกลับเข้าท่าหมู่เกาะมาร์แชล คำสั่งนี้รวมถึงเรือน้ำมันและเรือคอนเทนเนอร์ด้วย ทุกลำจะต้องลอยลำกลางทะเลไป 14 วันก่อนจะได้กลับเข้าเทียบท่า

หมู่เกาะมาร์แชลนั้นโดดเด่นมากใน ตลาดปลาสวยงาม โดยมีปลายอดนิยมคือ “ปลาเปลวไฟสินสมุทร” แต่เมื่อมีคำสั่งแบนเรือเมื่อจะกลับเข้าท่า ทำให้ยอดส่งออกปลาสวยงามตกลง 50% นอกจากนี้ยังมีกลุ่มปลาทูน่าสำหรับทำปลาดิบ ยอดส่งออกตกลง 50% เช่นกัน ส่วนการประมงปลาประเภทอื่นๆ ตกลง 30%

โดยสรุปก็คือ ประเทศหนึ่งๆ อาจจะจำกัดไวรัสไม่ให้เข้าประเทศได้ แต่ถ้ายังเอาชนะไวรัสไม่ได้ ผลกระทบจาก COVID-19 จะส่งผลกระทบไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง

โซเฟียหวังว่าสิ่งต่างๆ จะกลับสู่วิถีชีวิตปกติภายในปีหน้า แต่ถ้าหากไม่เกิดขึ้นดังหวังล่ะ? “ถ้าเช่นนั้น ธุรกิจคงไม่คุ้มค่าการลงทุนสำหรับเรา” เธอกล่าว

 

ความปลอดภัยสำคัญกว่าเศรษฐกิจ

แม้ว่าการปิดชายแดนจะทำให้ประเทศยากจนลง แต่ก็ไม่ใช่ทุกคนที่ต้องการให้กลับมาเปิดประเทศ

ดร.เลน ตาริวอนดา ผู้อำนวยการด้านสาธารณสุขประเทศวานูอาตู ซึ่งมีประชากรทั้งหมด 300,000 คน โดยเขามีพื้นเพเป็นชาวเกาะอัมเบทางเหนือของประเทศ “ถ้าคุณคุยกับคนที่อัมเบ คนส่วนใหญ่จะบอกว่าให้ปิดประเทศไปนานที่สุดเท่าที่จะทำได้” เขากล่าว “พวกเขาจะบอกว่า ‘เราไม่ต้องการความเจ็บป่วย ถ้าไม่ทำอย่างนี้เราพังพินาศแน่'”

เนื่องจาก 80% ของประชากรวานูอาตูอาศัยอยู่นอกเมืองและห่างไกลจาก “ระบบเศรษฐกิจอย่างเป็นทางการ” นั่นเอง “จากการสังเกตของผมพบว่า พวกเขายังไม่รู้สึกถึงผลกระทบมาถึงตัว เพราะพวกเขาเป็นเกษตรกรพึ่งตนเอง พวกเขาผลิตอาหารเองได้ และยังพึ่งพิงระบบเศรษฐกิจแบบดั้งเดิมในท้องถิ่น” ดร.ตาริวอนดากล่าว

80% ของชาววานูอาตูยังมีระบบเศรษฐกิจแบบดั้งเดิม พึ่งพิงตนเอง (Photo : vanuatu.travel)

ถึงอย่างนั้นก็ตาม ประเทศก็ได้รับผลกระทบเหมือนกัน โดย ธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) คาดการณ์ว่าจีดีพีของวานูอาตูจะตกลงเกือบ 10% ในปีนี้ และเป็นการหดตัวที่รุนแรงที่สุดนับจากปี 1980 ปีที่ประเทศประกาศเอกราช ทั้งนี้ จีดีพีที่ตกต่ำของวานูอาตูไม่ได้เกิดจาก COVID-19 เท่านั้น เพราะเมื่อเดือนเมษายนเกิดพายุไซโคลนฮาโรลด์พัดผ่านประเทศ สร้างหายนะครั้งใหญ่ให้หมู่เกาะ มีผู้เสียชีวิต 3 ราย และประชากรมากกว่าครึ่งได้รับผลกระทบจากพายุ

ย้อนไปเมื่อเดือนกรกฎาคม รัฐบาลวานูอาตูประกาศแผนกลับมาเปิดชายแดนกับประเทศที่ปลอดภัย วันที่ 1 กันยายนนี้ แต่หลังจากทำแผน ประเทศใกล้เคียงอย่างออสเตรเลียและนิวซีแลนด์กลับมีผู้ติดเชื้อพุ่งขึ้นอีกครั้ง ทำให้แผนเปิดประเทศถูกเลื่อนไป

ดร.ตาริวอนดา หนึ่งในสมาชิกคณะทำงานด้านพรมแดนร่วมกับรัฐบาล การท่องเที่ยว และบริษัทสายการบินต่างๆ ยอมรับว่าการเลื่อนแผนทำให้ประเทศ “เกือบจะกลับไปเริ่มต้นนับหนึ่งใหม่” เพราะยังไม่มีกำหนดวันที่เปิดพรมแดนใหม่เลย

วานูอาตูพึ่งพิงการท่องเที่ยวเป็นสัดส่วน 35% ของเศรษฐกิจประเทศ (photo : vanuatu.travel)

อย่างไรก็ตาม วานูอาตูก็มีโครงการเดินทางข้ามประเทศเพื่อช่วยเศรษฐกิจ โดยรัฐเพิ่งอนุญาตให้แรงงาน 172 คนเดินทางไปยังเขตนอร์ธ เทอริทอรีของออสเตรเลียเป็นเวลา 6 เดือนเพื่อทำงานเก็บมะม่วงในสวน แรงงานเหล่านี้จะส่งเงินกลับบ้านเพื่อพยุงเศรษฐกิจประเทศไว้ แต่วานูอาตูที่พึ่งพิงเศรษฐกิจท่องเที่ยวประมาณ 35% ของจีดีพี เม็ดเงินจากแรงงานคงจะไม่เพียงพอ

แต่วานูอาตูก็ไม่คิดจะเร่งเปิดประเทศ โดยดร.ตาริวอนดาชี้ให้เห็นกรณีของประเทศปาปัวนิวกินีที่เกือบจะเป็นประเทศปลอดเชื้อ แต่กลับมีผู้ติดเชื้อพุ่งสูงในช่วงปลายเดือนกรกฎาคม ทำให้เกิดข้อกังวลกับการเปิดประเทศอีกครั้ง

“ถ้ามีไวรัสหลุดเข้ามา มันจะกลายเป็นเหมือนไฟไหม้ป่า” ดร.ตาริวอนดากล่าว “เนื่องจากเรามีข้อจำกัดด้านสาธารณสุข บริบทของเราเองที่ตั้งอยู่กลางมหาสมุทรแปซิฟิก ทางเลือกที่ดีที่สุดของเราคือการป้องกันไวรัสไม่ให้เข้าประเทศให้นานที่สุด”

 

Travel Bubble เป็นความหวังเดียว?

แล้วประเทศปลอดเชื้อเหล่านี้ทำอะไรอื่นไม่ได้เลยหรือ? จากสิ่งที่เกิดขึ้นขณะนี้ มีกลยุทธ์ระยะสั้นคือ จ่ายเงินอุดหนุนให้กับคนงานและธุรกิจ ส่วนกลยุทธ์ระยะยาวก็คือ…รอให้วัคซีนวิจัยสำเร็จ

จนกว่าจะมีวัคซีน ความหวังที่เป็นไปได้มากที่สุดคือ Travel Bubble “ข้อตกลงเหล่านี้ต้องมีการตกลงเงื่อนไขกันก่อน อย่างข้อตกลงชุดตรวจมาตรฐานร่วมกัน การติดตามตัวบุคคล และสถานที่กักกันโรค ถ้าหากเกิดการระบาดขึ้นอีก ข้อตกลงเหล่านี้กำลังมีการเจรจากัน แต่ก็เป็นไปอย่างช้าๆ อาจเป็นเพราะต้องสร้างขั้นตอนอย่างระมัดระวัง” รอมเมล ราบานาล จากธนาคาร ADB กล่าว

เมืองควีนส์ทาวน์ นิวซีแลนด์ (Photo : Pixabay)

แต่ในอีกมุมหนึ่ง โจนาธาน ไพรก์ ผู้อำนวยการโครงการหมู่เกาะแปซิฟิก สถาบัน Lowy ประเมินว่า Travel Bubble คงเป็นไปได้ยาก และถ้าเกิดขึ้นแล้วดีลยังล้มได้ง่ายมากด้วย

“ออสเตรเลียกับนิวซีแลนด์เป็นสองประเทศที่ระบุว่าจะทดลองโครงการนี้” ไพรก์กล่าว “แต่ก่อนจะมี Travel Bubble ได้ ทั้งสองประเทศต้องหยุดการติดเชื้อภายในประเทศให้ได้ก่อน ดังนั้น ผมมองว่าความหวังของการมี Travel Bubble เกิดขึ้นภายในปีนี้จะเกิดขึ้นได้ยาก” (หมายเหตุ – โครงการ Travel Bubble ของออสเตรเลียกับนิวซีแลนด์ถูกเลื่อนออกไปก่อนตั้งแต่วันที่ 13 สิงหาคม เพราะเกิดมีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นในออสเตรเลีย)

ไพรก์กล่าวว่า กลุ่มประเทศหมู่เกาะแปซิฟิกกำลังหลังพิงฝาเข้าไปทุกที แต่ทางเลือกเดียวที่พวกเขามีก็ยังคงเป็นการปิดประเทศ โดดเดี่ยวตัวเองจากสากลโลก “ต่อให้ประเทศหมู่เกาะเปิดพรมแดนอีกครั้ง ตลาดนักท่องเที่ยวหลักก็ยังเป็นชาวออสเตรเลียกับนิวซีแลนด์ และสองประเทศนี้ก็ยังล็อกพรมแดนตัวเองอยู่”

“ดังนั้นการเปิดประเทศอาจทำให้คุณต้องเผชิญสิ่งเลวร้ายที่สุดทั้งสองทาง คือทั้งวิกฤตสุขภาพและวิกฤตเศรษฐกิจ ในอนาคตเราคงจะได้ศึกษากันอีกยาวว่าการตัดสินใจที่ถูกต้องคืออะไร” ไพรก์กล่าว “แต่มองย้อนกลับไปตอนนี้ ไม่มีใครตั้งข้อสงสัยหรอกว่า การล็อกดาวน์ของกลุ่มประเทศหมู่เกาะแปซิฟิกเหล่านี้เป็นการตัดสินใจที่ผิด”

Source

]]>
1294586
“เทสโก้ โลตัส” ปรับโฉมแคมเปญแสตมป์ยุค New Normal ใช้แลกของกินแทนของพรีเมี่ยม https://positioningmag.com/1294433 Fri, 28 Aug 2020 11:00:29 +0000 https://positioningmag.com/?p=1294433

ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยได้เผชิญกับวิกฤตการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ที่ส่งผลต่อสุขภาพ และเศรษฐกิจอย่างหนักหน่วง ทำให้หลายคนต้องตกงาน หรือมีรายได้ลดลง ในขณะที่ค่าครองชีพก็ยังคงสูงเช่นเดิม

ด้วยเหตุนี้เอง ทำให้ “เทสโก้ โลตัส” ได้ปรับแผนของแคมเปญแสตมป์ครั้งยิ่งใหญ่ เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน และตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคมากขึ้น โดยที่ผู้บริโภคสามารถใช้แสตมป์ในการแลกของกิน อาหารสด และอาหารแห้ง แทนของพรีเมี่ยมแบบครั้งก่อนๆ เพื่อช่วยผู้บริโภคประหยัดค่าครองชีพ ท่ามกลางวิกฤต COVID-19

แสตมป์แคมเปญวิถีใหม่ยุค COVID-19 “แสตมป์โดนใจ ช้อปของใช้ ได้ของดี” ส่งอาหารสด และอาหารแห้งกว่า 40 รายการ แทนสินค้าพรีเมี่ยมเพิ่มความคุ้มค่าในการช้อปปิ้งตลอด 3 เดือน ที่เทสโก้ โลตัส เอ็กซ์เพรสกว่า 1,600 สาขาทั่วประเทศ

วรวรรณ เพียรลิขิตวงศ์ ประธานกรรมการฝ่ายการตลาด เทสโก้ โลตัส กล่าวว่า

“เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 สร้างผลกระทบเป็นวงกว้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลกระทบด้านเศรษฐกิจที่มีผลต่อปากท้องของประชาชน เทสโก้ โลตัส จึงได้ปรับกลยุทธ์สำหรับแคมเปญแสตมป์ในปีนี้ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน แคมเปญแสตมป์ที่ผ่านมาทุกๆ ปี ตั้งแต่ปี 2013 เราเน้นการใช้คาแรคเตอร์ที่เป็นที่ชื่นชอบของลูกค้ามาอยู่บนสินค้าพรีเมี่ยมหลากหลายรูปแบบเพื่อให้ลูกค้าแลกใช้และสะสม

แต่ในปีนี้ เราได้ตัดสินใจเปลี่ยนจากสินค้าพรีเมี่ยม เป็นอาหารสด และอาหารแห้งทั้งหมดกว่า 40 รายการ อาทิ ไข่ไก่ เนื้อสัตว์ น้ำมัน บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ข้าวสาร นมยูเอชทีที่ลูกค้าแลกได้ด้วยแสตมป์เริ่มต้นเพียงแค่ 10 ดวงเท่านั้น และสามารถนำกลับไปปรุงอาหารสำหรับตนเอง และครอบครัวได้”

โดยแคมเปญนี้เริ่มต้นพร้อมกันวันที่ 27 สิงหาคม 2563 ที่เทสโก้ โลตัส เอ็กซ์เพรสทั้งกว่า 1,600 สาขาทั่วประเทศ ไปจนถึงวันที่ 25 พฤศจิกายน 2563

ความน่าสนใจอยู่ที่ ก่อนที่เทสโก้ โลตัสจะทำการคัดเลือกสินค้ามาร่วมแคมเปญแสตมป์ เทสโก้ โลตัส ได้ทำการสำรวจความเห็นลูกค้าทั่วประเทศ และพบว่าลูกค้าส่วนมากอยากแลกสินค้าที่เป็นอาหารมากกว่าของใช้ ดังเช่นที่ผ่านมา จึงเป็นที่มาของการปรับกลยุทธ์สำหรับแคมเปญแสตมป์ในปีนี้ เรียกว่าเป็นการฟังเสียงของผู้บริโภคอย่างแท้จริง

สินค้าประเภทอาหารสด และอาหารแห้งที่นำมาให้ลูกค้าแลก แบ่งออกเป็น 3 ระดับ โดยใช้แสตมป์ 10, 25 และ 40 ดวงเพื่อแลกตามลำดับ โดยถ้าหากลูกค้าซื้อสินค้าที่ร่วมรายการให้แสตมป์พิเศษ ก็จะสามารถสะสมแสตมป์ครบได้ในการช้อปปิ้งครั้งเดียว และแลกสินค้าได้ทันทีเพื่อนำกลับไปประกอบอาหารที่บ้าน

วรวรรณได้กล่าวเสริมอีกว่า ตลอดระยะเวลาของแคมเปญ จะทำการประมวลผลเพื่อดูว่าสินค้ารายการใดที่ลูกค้านิยมแลก เพื่อพิจารณาปรับเปลี่ยนสินค้าอื่นๆ ที่จะร่วมรายการตลอด 3 เดือนเทสโก้ โลตัส หวังว่า แคมเปญแสตมป์นี้จะช่วยลูกค้า และประชาชนรัดเข็มขัด และประหยัดมากกว่าเดิม ท่ามกลางผลกระทบด้านรายได้ของประชาชนจากวิกฤติ COVID-19

นอกเหนือจากแคมเปญแสตมป์ในสาขาเอ็กซ์เพรสแล้ว เทสโก้ โลตัส ยังคงมีแคมเปญอื่นๆ รวมถึงแคมเปญราคามหาชน ที่ช่วยลูกค้าและประชาชนประหยัดค่าใช้จ่ายสำหรับสินค้าที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต รวมไปถึงอาหารพร้อมทานและเมนูมหาชนในศูนย์อาหารทั่วประเทศอีกด้วย

]]>
1294433
“แมริออท” เตรียมเข้าบริหาร “โรงแรมใหม่” 50 แห่งทั่วเอเชียท่ามกลาง COVID-19 https://positioningmag.com/1289035 Wed, 22 Jul 2020 11:55:35 +0000 https://positioningmag.com/?p=1289035 เชนโรงแรมจากสหรัฐฯ “แมริออท” วางแผนดำเนินการโรงแรมเพิ่มอีก 40-50 แห่งในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกภายในปีนี้ แม้ว่าการท่องเที่ยวจะยังซบเซาจากวิกฤตโรคระบาด COVID-19 โดยโรงแรมเครือแมริออท 20% ในภูมิภาค APAC (ยกเว้นจีน) ยังคงปิดทำการ สาเหตุที่มีโรงแรมเข้าพอร์ตเพิ่ม เพราะโรงแรมแบรนด์อิสระจำต้องหันเข้าหาเชนใหญ่ช่วยกู้วิกฤต

“ณ ชั่วขณะหนึ่ง ประมาณ 50% ของโรงแรมเราในเอเชียเคยปิดทำการ” เคร็ก สมิธ ประธานกลุ่มเอเชียแปซิฟิก แมริออท กล่าว “ขณะนี้เราไม่มีโรงแรมใดในจีนแผ่นดินใหญ่ที่ยังปิดทำการ แต่มีโรงแรมราว 20% ในเอเชียไม่นับประเทศจีนที่ยังปิดทำการอยู่”

สัดส่วนโรงแรมที่ยังต้องปิดทำการลดลงจาก 50% เหลือ 20% มองในแง่หนึ่งนั้นเป็นสัญญาณบวกว่าสถานการณ์เริ่มดีขึ้นแล้ว แต่อีกในมุมหนึ่งก็สะท้อนให้เห็นว่าการเดินทางข้ามโลกยังไม่กลับมาสมบูรณ์ และกำลังซื้อของผู้บริโภคลดลงเนื่องจากโรคระบาด

ถึงอย่างนั้นก็ตาม สถานการณ์นี้ก็ไม่ได้หยุดแผนการลงทุนของเครือแมริออท ยักษ์เชนโรงแรมระดับโลกผู้ถือครองแบรนด์ 30 แบรนด์ เช่น เซนต์ รีจิส, ริทซ์ คาร์ลตัน, เจดับบลิว แมริออท, เลอ เมอริเดียน ฯลฯ โดยบริษัทจะเปิดบริการโรงแรมใหม่ภายใต้การบริหารของเครือราว 40-50 แห่งในปีนี้ และอีก 100 แห่งในปีหน้า เริ่มต้นจากโรงแรมเจดับบลิว แมริออท นารา ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งจะเป็นโรงแรมแห่งที่ 800 ของเครือในภูมิภาค APAC และแห่งที่ 50 ในญี่ปุ่น

เจดับบลิว แมริออท นารา โรงแรมแห่งที่ 800 ในภูมิภาค APAC ของเครือแมริออท

 

“staycations” ของคนเจนวายช่วยฟื้นธุรกิจ

แมริออทมองว่า การฟื้นตัวของภาคธุรกิจโรงแรมจะเกิดขึ้นได้จากเทรนด์ “staycations” ของกลุ่มคนเจนวาย กลุ่มที่ชื่นชอบการท่องเที่ยวพักผ่อนภายในประเทศ แม้ว่าจะมีความเสี่ยงของไวรัสโคโรนาก็ตาม

“เรายังคงมั่นใจในการกลับคืนสู่สภาพเดิมของธุรกิจท่องเที่ยว มั่นใจในเจ้าของโรงแรม แฟรนไชซี แขกผู้เข้าพัก จนถึงผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และอนาคตของการบริการที่พักในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ตลาดที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของเครือแมริออท” สมิธกล่าว “เรามีความมั่นใจเนื่องจากได้เห็นเทรนด์ล่าสุดของการท่องเที่ยวโดยเฉพาะในประเทศจีน ซึ่งดีมานด์การท่องเที่ยวขับเคลื่อนได้จากนักท่องเที่ยวภายในประเทศ และเราจะยังคงมุ่งมั่นสร้างความแข็งแกร่งของการลงทุนในตลาดนี้ที่กำลังเติบโตและมีความสำคัญ”

JW Marriott Sanya Haitang Bay โรงแรมบนเกาะไห่หนาน จุดหมายยอดฮิตหลัง COVID-19 ของคนจีน

เดือนกรกฎาคมนี้ แมริออทพบว่าอัตราผู้เข้าพักของโรงแรมในจีนอยู่ที่ 55% และคาดว่าเดือนหน้าจะเพิ่มเป็น 60% ตัวอย่างทิศทางบวกเช่น โรงแรมจำนวน 25 แห่งของเครือบนเกาะไห่หนาน ประเทศจีน กลับทำรายได้ได้ดีกว่าปีที่แล้วเสียอีก จากดีมานด์นักท่องเที่ยวในประเทศ

แต่ในทางตรงกันข้าม บางประเทศที่จำนวนผู้ติดเชื้อยังสูงอยู่ เช่น อินเดีย อินโดนีเซีย เป็นไปได้ว่าการฟื้นตัวจะช้ากว่าประเทศอื่นในภูมิภาคเดียวกัน ทั้งนี้ แมริออทมีโรงแรม 120 แห่งในอินเดีย และมากกว่า 50 แห่งในอินโดนีเซีย

 

โรงแรมอิสระหันพึ่งเชนใหญ่ช่วยบริหาร

ช่วง 3 เดือนแรกของปี เมื่อโรค COVID-19 แพร่ระบาดถึงจุดสูงสุดในเอเชีย Colliers ที่ปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์ ประเมินว่า จะมีโรงแรมถึง 8 ใน 10 แห่งของภูมิภาคนี้ที่ต้องปิดตัวลง และภาคธุรกิจโรงแรมจะสูญเสียรายได้รวมกันไม่ต่ำกว่า 5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ช่วงครึ่งปีแรกปีนี้

สมิธกล่าวว่า ความเสี่ยงดังกล่าวทำให้โรงแรมแบรนด์อิสระในภูมิภาคจำนวนมากติดต่อมาที่แมริออทเพื่อขอเซ็นสัญญาให้แบรนด์เข้าไปบริหาร จนเครือได้รับข้อเสนอขอใช้แบรนด์เข้ามามากขึ้นจากปีที่แล้วถึง 30-40%

ความเสี่ยงที่สูงขึ้นของธุรกิจโรงแรมยังทำให้การซื้อขายโรงแรมปีนี้ลดลงมากอีกด้วย โดย Real Capital Analytics นักวิเคราะห์ซึ่งติดตามมูลค่าดีลการลงทุนอสังหาฯ พบว่า มูลค่าดีลซื้อขายโรงแรมช่วง 5 เดือนแรกปี 2020 ลดลงไปถึง 50% เทียบกับปีก่อน และเป็นกลุ่มอสังหาฯ ที่การขายฝืดที่สุดเมื่อเทียบกับกลุ่มที่อยู่อาศัย ออฟฟิศ และรีเทล ซึ่งซื้อขายลดลง 10-34% ปีนี้

Source

]]>
1289035
สิงห์ เอสเตท : COVID-19 ทุบรายได้ปี’63 ลง 50% ปรับกลยุทธ์ล่ากิจการในแผนระยะยาว https://positioningmag.com/1288620 Mon, 20 Jul 2020 09:44:13 +0000 https://positioningmag.com/?p=1288620 สิงห์ เอสเตท บริษัทอสังหาฯ ตระกูลภิรมย์ภักดีที่เติบโตรวดเร็วจากการไล่ล่าซื้อกิจการโรงแรมและออฟฟิศ เผชิญผลกระทบระยะสั้นจาก COVID-19 ยอมรับต้องลดเป้ารายได้ปี 2563 เหลือ 9,000 ล้านบาท ส่วนแผนระยะยาวของบริษัทที่จะลงทุนพัฒนาและซื้อกิจการอีก 6.8 หมื่นล้านช่วงปี 2563-67 บริษัทยังยืนยันตัวเลขเดิม เพียงแต่มีการปรับกลยุทธ์บางส่วนเพื่อลดความเสี่ยง

“นริศ เชยกลิ่น” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.สิงห์ เอสเตท นำทีมผู้บริหารชี้แจงผลกระทบจากวิกฤต COVID-19 และทิศทางของบริษัทต่อจากนี้ ทั้งช่วงปี 2563 และแผนระยะยาว

สำหรับผลกระทบระยะสั้น ปีนี้สิงห์ เอสเตทมีการปรับเป้าหมายรายได้ลงจากเดิม 2 หมื่นล้านบาท เหลือเพียง 9,000 ล้านบาท แบ่งเป็นรายได้จากธุรกิจที่อยู่อาศัยเพื่อขายและออฟฟิศบิลดิ้ง (ไม่รวมตึกซันทาวเวอร์สซึ่งขายเข้ากองรีทไปแล้ว) มูลค่ารวม 5,000 ล้านบาท และรายได้จากธุรกิจโรงแรม 4,000 ล้านบาท

หากย้อนกลับไปมองเป้าหมายเดิมเมื่อต้นปีของสิงห์ เอสเตท จะเห็นได้ว่า ธุรกิจโรงแรมได้รับผลกระทบหนัก จากเดิมตั้งเป้ารายได้ไว้ 6,500-7,000 ล้านบาท สะท้อนวิกฤต COVID-19 ทำให้รายได้กลุ่มนี้หายไปประมาณ 40% รวมถึงธุรกิจที่อยู่อาศัยเพื่อขาย เดิมตั้งเป้ารายได้ 9,000-12,000 ล้านบาท เป้าหมายใหม่มีการลดรายได้ส่วนนี้ไปกว่าครึ่งหนึ่ง

 

โรงแรมเผชิญวิกฤตหนัก

สถานการณ์โรคระบาด COVID-19 นั้นมีผลกับสิงห์ เอสเตทค่อนข้างหนักหน่วง เพราะรายได้ราว 35% ของบริษัทมาจากธุรกิจโรงแรมซึ่งได้รับผลกระทบทางตรง ต้องปิดดำเนินการโรงแรมเกือบทุกแห่งทุกประเทศคือ ไทย อังกฤษ มัลดีฟส์ ฟิจิ และมอริเชียส มาตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2563 ก่อนทยอยเปิดให้บริการในเดือนนี้ ทำให้อัตราเข้าพักช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ตกรุนแรงโดยลดไปถึง 50-80%

รีสอร์ท Crossroads ในหมู่เกาะมัลดีฟส์ หนึ่งในโครงการโรงแรมของสิงห์ เอสเตท

และแม้จะกลับมาดำเนินการได้ก็ยังยากลำบาก โดยเฉพาะโรงแรมในไทยและมัลดีฟส์ เพราะยังไม่ใช่ฤดูท่องเที่ยว ดังนั้น นริศจึงคาดว่า ธุรกิจโรงแรมจะฟื้นตัวได้อีกครั้งในไตรมาส 4 รวมถึงต้องปรับเป้าหมายลูกค้าเป็นนักท่องเที่ยวในภูมิภาคเดียวกันมากกว่าหวังนักท่องเที่ยวจากทวีปอื่น อย่างไรก็ตาม ในแง่การทำราคาแข่งขัน บริษัทมองว่าจะไม่ใช้โปรโมชันลดราคาดึงดูดแต่จะเน้นโปรฯ “แถม” มากกว่า เช่น พัก 2 คืนแถม 1 คืน

ส่วนภาพระยะยาว ซีอีโอสิงห์ เอสเตทมองว่าการท่องเที่ยวทั่วโลกจะฟื้นกลับมาได้เร็ว คาดว่าปี 2564 จะกลับมาเป็นปกติ เพราะลูกค้ายังมีดีมานด์ท่องเที่ยวเช่นเดิม เพียงแต่จะปรับวิธีการจอง อย่างที่เห็นช่วงนี้ลูกค้าจะไม่จองล่วงหน้านาน การวางแผนเที่ยวจะกระชั้นชิดมากขึ้น

 

เลื่อนคอนโดฯ ไปปีหน้า ออฟฟิศกระทบน้อยสุด

ด้านที่อยู่อาศัยเพื่อขาย นริศกล่าวว่าบริษัทตัดสินใจลดการเปิดโครงการใหม่จาก 6 โครงการเหลือ 3-4 โครงการ (รวมโครงการของเนอวานาไดอิ บริษัทในเครือแล้ว) โดยต้นปีเปิดตัวคอนโดฯ The Extro พญาไท-รางน้ำไปโครงการเดียว ส่วนที่เหลือจะเป็นโครงการแนวราบทั้งหมด คอนโดฯ ที่มีแผนอยู่เดิมจะถูกเลื่อนไปปีหน้า เนื่องจากขณะนี้ตลาดคอนโดฯ เริ่มขายยาก

The Esse สุขุมวิท 36 คอนโดฯ แห่งที่ 3 ของสิงห์ฯ มูลค่าโครงการ 6,500 ล้านบาท ปัจจุบันมียอดขายแล้ว 70% จะก่อสร้างเสร็จเริ่มโอนกรรมสิทธิ์ในไตรมาส 3/63

ธุรกิจคอนโดฯ เป็นอีกพอร์ตหนึ่งที่ COVID-19 มีผลกระทบ เพราะก่อนหน้านี้ ลูกค้าสำคัญของสิงห์ เอสเตทกลุ่มหนึ่งคือ นักลงทุนต่างชาติ เช่น สิงคโปร์ จีน ฮ่องกง เมื่อประเทศไทยปิดน่านฟ้า การบินเข้ามาชมโครงการ หรือมาตรวจรับห้องเพื่อโอนกรรมสิทธิ์ จึงทำไม่ได้โดยปริยาย

ขณะที่ธุรกิจออฟฟิศบิลดิ้งดูจะปาดเหงื่อน้อยที่สุดในชั่วโมงนี้ เดิมคาดว่าจะทำรายได้ให้บริษัท 1,000 ล้านบาท หลังเผชิญโรคระบาด นริศมองว่า รายได้ส่วนนี้จะลดไป 5-10% เท่านั้น เพราะผู้เช่าที่ได้รับผลกระทบจากโรคระบาดจนอาคารต้องลดค่าเช่าเพื่อช่วยเหลือลูกค้านั้นมีไม่มาก ได้แก่กลุ่มธุรกิจการบิน ท่องเที่ยว บริษัทที่ปรึกษา จนถึงผู้เช่าพื้นที่รีเทลของตึกที่ต้องหยุดกิจการระยะหนึ่ง อีกทั้งบางธุรกิจ เช่น อีคอมเมิร์ซ กลับมีโอกาสทำรายได้มากขึ้นจนขยายกิจการขอเช่าพื้นที่เพิ่มด้วย (ปัจจุบัน Shopee มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ตึกสิงห์ คอมเพล็กซ์)

 

ลงทุนแน่แต่ปรับกลยุทธ์ใหม่

สำหรับแผนระยะยาว 5 ปี (2563-67) ของสิงห์ เอสเตท ที่จะลงทุนมูลค่า 6.8 หมื่นล้านบาท รวมทั้งโครงการพัฒนาเองและเข้าซื้อกิจการ นริศยังยืนยันเม็ดเงินลงทุนแต่ละกลุ่มธุรกิจตามเดิม (อ่านแผนลงทุน 5 ปีของสิงห์ เอสเตทย้อนหลังได้ที่นี่) อย่างไรก็ตาม แต่ละธุรกิจจะมีการปรับในรายละเอียด เพื่อความเหมาะสมกับสถานการณ์ตลาดปัจจุบัน ดังนี้

ธุรกิจที่อยู่อาศัย – ยังคงเน้นพัฒนาโครงการระดับบนเป็นหลัก แต่จะเปลี่ยนมาเน้นโครงการแนวราบและมิกซ์ยูสมากขึ้น

ธุรกิจออฟฟิศบิลดิ้งมองหาโครงการ co-working space เพิ่มขึ้น ตอบรับความต้องการผู้บริโภคยุคนี้ รวมถึงอาจจะพิจารณาอาคารสำนักงานตามแนวรถไฟฟ้าแต่อยู่นอกเขตซีบีดีมากกว่าเดิม เนื่องจากวิกฤตโรคระบาดทำให้ไลฟ์สไตล์การทำงานเปลี่ยน อาจจะไม่ต้องเข้าออฟฟิศทุกวัน และออฟฟิศไม่จำเป็นต้องอยู่กลางเมืองแต่เดินทางสะดวกด้วยรถไฟฟ้าก็เพียงพอ

โครงการเอส โอเอซิส อาคารสำนักงานใน ซ.เฉยพ่วง อยู่ระหว่างก่อสร้าง คาดเปิดบริการปี 2564

ธุรกิจโรงแรม – บริษัทยังยืนยันการลงทุนโรงแรมในทำเลแหล่งท่องเที่ยวระดับโลก เพราะเชื่อว่าการท่องเที่ยวจะฟื้นอย่างรวดเร็ว

อย่างไรก็ตาม จะเปลี่ยนกลยุทธ์มาเน้น ‘Asset Light Model’ นั่นคือ การซื้อกิจการอาจไม่เข้าถือหุ้น 100% หรือเป็นหุ้นส่วนหลักของกิจการนั้นๆ แต่สามารถเป็นหุ้นส่วนรองได้โดยเป็นหุ้นส่วนรองที่ดีลได้สิทธิทำสัญญาบริหารโรงแรมพ่วงด้วย ดังนั้น บริษัทจะเข้าไปเป็นพาร์ตเนอร์กับเจ้าของโรงแรมเดิม ในลักษณะช่วยเติมกระแสเงินสดและประสบการณ์บริหาร โดยเจ้าของเดิมยังทำงานร่วมกันอยู่

นอกจากนี้ โรงแรมที่ศักยภาพไม่ดีพอในพอร์ตอาจมีการขายออก และโรงแรมที่ศักยภาพดีจะขายเข้ากองรีทเพื่อ Recycle Capital นำเงินทุนกลับมาหมุนเวียนลงทุนรอบใหม่

นริศมองว่าวิธีนี้จะช่วยลดความเสี่ยงของบริษัท มีโอกาสได้ผลกำไรคืนจากการลงทุนมากกว่า และเจ้าของเดิมมีโอกาสตอบตกลงมากขึ้น เพราะเขายังไม่เสียกิจการไป

“Keep on the right way คือสิ่งที่เราบอกกับทีมงาน วิกฤตนี้คืออุปสรรคการเดินทางที่ทำให้เราเซไปบ้าง ออกนอกเส้นทางบ้าง แต่เราก็ยังไปในทิศทางที่ถูก” นริศกล่าวปิดท้าย

]]>
1288620