ธุรกิจขนส่งพัสดุ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 23 Dec 2022 09:42:53 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ถาม-ตอบ “ดร.ดนันท์” แม่ทัพ “ไปรษณีย์ไทย” กับน่านน้ำใหม่ที่จะใช้เครือข่าย “พี่ไปรฯ” ทำธุรกิจ https://positioningmag.com/1413815 Fri, 23 Dec 2022 08:58:34 +0000 https://positioningmag.com/?p=1413815 ปี 2564 ที่ผ่านมาถือว่าโหดร้ายกับ “ไปรษณีย์ไทย” เป็นอย่างมาก จากผลประกอบการที่ขาดทุน ขณะที่ปี 2565 นี้ “ดร.ดนันท์ สุภัทรพันธุ์” แย้มๆ ว่าผลรวมทั้งปียัง ‘หนัก’ แต่เห็นสัญญาณที่ดีขึ้นในช่วง 2 เดือนสุดท้ายนี้หลังไปรษณีย์ไทยมีการปรับตัวชิงส่วนแบ่งตลาดสำเร็จ และองค์กรจะลุยต่อในปี 2566 เริ่มหา “น่านน้ำใหม่” ธุรกิจใหม่ที่ต่อยอดได้จากเครือข่าย “บุรุษไปรษณีย์” ที่เข้มแข็ง

สมรภูมิขนส่งพัสดุนั้นเป็นพื้นที่ที่ดุเดือดอย่างยิ่ง มองไปในตลาดมีทั้งสีเหลือง ส้ม แดง แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซก็มีบริษัทขนส่งของตนเอง ยังไม่นับฟลีทของบริษัทกระจายสินค้าต่างๆ ที่หันมาเปิดรับขนส่งให้รายย่อยเพิ่มอีก ตลาดแบบสุดยอด ‘เรดโอเชียน’ ท้าทายการดำเนินงานของ “ไปรษณีย์ไทย” มาตลอด จนปี 2564 เป็นปีที่องค์กรเห็นผลขาดทุน

ขณะที่ปี 2565 นั้น “ดร.ดนันท์ สุภัทรพันธุ์” กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด คาดว่าปีนี้ไปรษณีย์ไทยน่าจะมีการนำจ่ายพัสดุเฉลี่ย 4.5-5 ล้านชิ้นต่อวัน หรือคิดเป็นรายได้ประมาณ 20,000 ล้านบาทต่อปี เทียบกับในอดีตแล้ว ไปรษณีย์ไทยเคยนำส่งพัสดุได้ถึง 8 ล้านชิ้นต่อวันเมื่อปี 2562

เหตุที่ปีนี้จะค่อนข้างหนักเพราะนอกจากคู่แข่งเยอะมากแล้ว ยังเป็นปีที่กำลังซื้อในตลาดลดลง ผู้บริโภคสั่งสินค้าน้อยลงก็ทำให้ ‘เค้ก’ ของจำนวนชิ้นพัสดุลดลงตาม

ไปรษณีย์ไทย
“ดร.ดนันท์ สุภัทรพันธุ์” กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด

อย่างไรก็ตาม ไปรษณีย์ไทยไม่ได้นิ่งนอนใจ แต่มีการปรับตัวสู้ไปหลายด้านในช่วงปี 2564-65 เช่น

  • ขยายบริการ “Pick-up Service” รับพัสดุถึงบ้านครอบคลุม “ทั่วประเทศ” นัดหมายได้ผ่านช่องทาง LINE
  • ปรับให้ ปณ. ทุกแห่งในกรุงเทพฯ และ ปณ. จังหวัดทุกจังหวัด ทำงานทุกวัน “ไม่มีวันหยุด” และ ปณ. ทั่วประเทศมีการ “ขยายเวลาปิดทำการ” ปิดเร็วที่สุดคือ 19:00 น. และบางแห่งขยายไปถึง 24:00 น.
  • ปรับมาตัดรอบขนส่งรอบสุดท้ายเวลา 20:00 น. เพื่อตอบโจทย์พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ซึ่งมักจะขายและแพ็กสินค้าในช่วงเย็น ให้สามารถมาส่งพัสดุทันตัดรอบในวันเดียวกัน

ไปรษณีย์ไทย

หากไม่นับเรื่องราคา ที่ผ่านมาไปรษณีย์ไทยมีจุดอ่อนคือเรื่องวันหยุดและเวลาทำการที่ปิดเร็วตามเวลาราชการ รวมถึงคู่แข่งรุกหนักด้วยบริการรับพัสดุถึงบ้าน/หน้าร้าน ทำให้การปรับของไปรษณีย์ไทยมาสู้ในจุดที่เคยเสียเปรียบ จึงทำให้ดึงลูกค้ากลุ่มอีคอมเมิร์ซได้ดีขึ้น

เมื่อประกอบกับชื่อเสียงของไปรษณีย์ไทยที่ยังมีคุณภาพดีกว่าในแง่ของการบริการ ส่งจริงไม่ทิ้งงาน ไม่ค้างจ่าย และรู้จักชุมชนอย่างละเอียด ส่งได้ถึงมือผู้รับตัวจริง ทำให้ลูกค้ากลับมาใช้งาน โดยดร.ดนันท์ระบุว่าปีนี้ไปรษณีย์ไทยสามารถดึง ‘ลูกค้าเก่า’ กลับมาได้ถึง 40%

“ไตรมาส 4 น่าจะเป็นช่วงที่ดีที่สุดของเราในปีนี้ โดยเฉพาะเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคมเราดีขึ้นชัดเจน จะเป็นไตรมาสที่ขาดทุนน้อยลงแน่นอน” ดร.ดนันท์กล่าว “เชื่อว่าเป็นเพราะบริการของเราดีขึ้น ขณะที่คู่แข่งอาจจะเพลี่ยงพล้ำด้านคุณภาพงาน”

 

2566 เสริมแกร่งธุรกิจหลัก และ สำรวจน่านน้ำใหม่

สำหรับปี 2566 จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง? ดร.ดนันท์กล่าวว่า ไปรษณีย์ไทย วางกลยุทธ์การทำงานออกเป็น 2 แกนคือ Fit the Core Business & Explore New Ocean นั่นคือจะมีทั้งการเสริมแกร่งธุรกิจหลัก และ การสำรวจหาน่านน้ำธุรกิจใหม่

ธุรกิจหลักของไปรษณีย์ไทยหมายถึงงานขนส่งไปรษณียภัณฑ์ทั้งหลาย ซึ่งปัจจุบันรายได้นั้นแบ่งครึ่งๆ มาจาก B2B 50% และ B2C 50%

การจะหารายได้เพิ่ม ชิงส่วนแบ่งมาให้ได้ เท่ากับไปรษณีย์ไทยต้องปรับปรุง “งานบริการ” ให้ดียิ่งขึ้นไปอีก และปรับระบบ “งานขาย” ให้สอดคล้องกับตลาดปัจจุบัน

ในด้านการบริการ After Sales Service ไปรษณีย์ไทยมุ่งเป้าจะเป็น “Zero Complain Company” เน้นด้านคุณภาพการบริการ ให้มีข้อร้องเรียนน้อยที่สุด ลดพัสดุค้างจ่าย ลดจำนวนการเคลมพัสดุเสียหายลงอีก จากปัจจุบันมียอดเคลมราว 6,000 ชิ้นต่อปี

“เป้าหมายนี้ไม่ใช่ไม่ให้มีใครบ่นเลย แต่ถ้ามีการบ่นเกิดขึ้น เราต้องเข้าไปแก้ปัญหาได้ทันที ไม่ทิ้งลูกค้า โทรฯ มาต้องรับสาย มอนิเตอร์การบ่นทุกช่องทาง และต้องไปแก้ไขให้” ดร.ดนันท์กล่าว

ไปรษณีย์ไทย

ด้านงานขายนั้น “เซลส์” ไปรษณีย์ไทยทั้งประเทศจะถูกปรับโยกย้ายตามพอร์ตโฟลิโอที่เหมาะกับตลาด เพราะงานปัจจุบันมีทั้งกลุ่มองค์กรขนาดใหญ่ (Enterprise) จนถึงลูกค้าอีคอมเมิร์ซรายใหญ่-รายย่อย รวมถึงเซลส์จะต้องใช้ดาต้าให้เป็นประโยชน์ในการติดต่อหาลูกค้าเก่ามากขึ้น ทำความเข้าใจว่าทำไมลูกค้าจึงไม่เลือก และทำอย่างไรให้ลูกค้ากลับมา

 

ธุรกิจใหม่จากเครือข่าย ‘พี่ไปรฯ’

แกนที่สองคือการหาน่านน้ำใหม่นั้น จะเห็นว่าไปรษณีย์ไทยเริ่มต้นมาแล้วระยะหนึ่ง กับการเปิดธุรกิจค้าปลีก thailandpostmart.com ขายสินค้าของดีท้องถิ่น หรือการสร้างบริการ Post Next บริการด้านดิจิทัล เช่น บริการ e-Timestamp รับรองเวลาอิเล็กทรอนิกส์

ดร.ดนันท์มองว่า การหาน่านน้ำใหม่เป็นสิ่งที่ต้องเดินต่อ โดยต่อยอดมาจากจุดแข็งที่ไปรษณีย์ไทยมีนั่นคือ “บุรุษไปรษณีย์” ที่มีอยู่กว่า 20,000 คนทั่วประเทศ และมีการเดินทางนำจ่ายพัสดุรวมวันละกว่า 1 ล้านหลังคาเรือน

เครือข่ายเจ้าหน้าที่ที่ลงลึกถึงรากฝอยชุมชนขนาดนี้ ในปีหน้าจะได้เห็นไปรษณีย์ไทยนำมาใช้ให้บริการใหม่ในด้าน ‘Market Research’ ทำวิจัยด้านการตลาด รวมถึงจะเริ่มเปิดให้แบรนด์เป็นพันธมิตรในการขายสินค้าผ่านเครือข่ายบุรุษไปรษณีย์

“ยกตัวอย่าง สมมติว่าสินค้านั้นเป็นอาหารสุนัข บุรุษไปรษณีย์เรารู้อยู่แล้วว่าบ้านไหนในชุมชนที่เลี้ยงสุนัข และดูแลสัตว์เลี้ยงอย่างดีด้วย น่าจะสนใจซื้ออาหารสุนัข บุรุษไปรษณีย์ก็สามารถนำเสนอได้ตรงเป้าหมาย” ดร.ดนันท์กล่าว

จะไปคาดหวังให้จำนวนงานกลับไปถึง 8 ล้านชิ้นต่อวันเหมือนเดิมไม่ได้ ไม่ควรคาดหวังอย่างนั้น เราควรมาหาทางทำตลาดที่เป็นของเราเองให้ได้มากกว่า อย่างบุรุษไปรษณีย์นี้จะเป็นกุญแจหลักในการต่อสู้ของเรา

การหาน่านน้ำใหม่นี้จะทำให้สถานการณ์ทำรายได้และกำไรของไปรษณีย์ไทยมั่นคงขึ้นในอนาคต “จะไปคาดหวังให้จำนวนงานกลับไปถึง 8 ล้านชิ้นต่อวันเหมือนเดิมไม่ได้ ไม่ควรคาดหวังอย่างนั้น เราควรมาหาทางทำตลาดที่เป็นของเราเองให้ได้มากกว่า อย่างบุรุษไปรษณีย์นี้จะเป็นกุญแจหลักในการต่อสู้ของเรา”

ที่น่าสนใจอีกส่วนคือ เมื่อเป้าหมายขององค์กรขยับ “โครงสร้างบุคลากร” ก็ขยับเช่นกัน โดยปีหน้าเจ้าหน้าที่ประจำ ปณ. จะได้ทำงานตำแหน่งอื่นที่เป็นการพัฒนาองค์กร เช่น เจ้าหน้าที่ Pick-up Service, เจ้าหน้าที่ดูแลบริการหลังการขาย และพนักงานไปรษณีย์ไทยรุ่นใหม่ที่รับเข้ามาก็จะทำหน้าที่ที่ช่วยขับเคลื่อนไปตามเป้าเช่นกัน เช่น งานด้านดิจิทัล จะเปิดรับมากขึ้นในช่วง 5 ปีข้างหน้า

]]>
1413815
ขนส่งสินค้าออนไลน์สะดุด ‘โควิด’ ชั่วคราว ตลาดยังโตได้ ต้องสู้ตัดราคา-เเบกต้นทุนมากขึ้น  https://positioningmag.com/1345391 Thu, 05 Aug 2021 10:00:43 +0000 https://positioningmag.com/?p=1345391 โควิดระบาดรุนเเรงบวกมาตรการล็อกดาวน์ต่อเนื่อง กระทบภาคขนส่งสะเทือนธุรกิจขายของออนไลน์ KBANK มองเป็นปัญหาชั่วคราวต่อการจัดส่งสินค้า เเต่ภาพรวมตลาดปีนี้ ยังเติบโตได้ 7.1 หมื่นล้านเเต่จะโตน้อยลง ต้องสู้เเข่งตัดราคา-เเบกต้นทุนมากขึ้น 

ธุรกิจขนส่งสินค้าออนไลน์ หรือ Last-mile delivery เป็นหนึ่งในธุรกิจที่ขยายตัวตามการเติบโตของอีคอมเมิร์ซ ยิ่งในช่วงวิกฤตโควิด-19 ทำให้ผู้บริโภคกังวลในเรื่องของความปลอดภัยและงดทำกิจกรรมนอกบ้าน มีการปรับพฤติกรรมการใช้จ่ายและหันมาซื้อสินค้าบนแพลตฟอร์มออนไลน์มากขึ้น จึงหนุนให้ธุรกิจขนส่งสินค้าออนไลน์มีแนวโน้มเติบโตตามไปด้วย

สะดุด เจอพนักงานติดโควิด 

เเต่จากการระบาดของโควิดที่รุนแรงขึ้น จนทำให้ปัจจุบันมีพนักงานขนส่งสินค้าออนไลน์ของหลายบริษัทและในหลายพื้นที่ติดเชื้อโควิด โดยเฉพาะในเขตพื้นที่สีแดงเข้ม เช่น กรุงเทพฯ นนทบุรี อยุธยา ชลบุรี ประกอบกับการขยายมาตรการล็อกดาวน์ออกไปอีกอย่างน้อย 14 วันในเดือนสิงหาคม 2564 (อาจมีการทบทวนและปรับเปลี่ยนมาตรการอีกครั้ง) จนส่งผลให้ศูนย์กระจายสินค้าที่สำคัญในบางพื้นที่ รวมถึงสาขาที่รับ-ส่งสินค้าบางแห่ง ทั้งที่อยู่ในห้างสรรพสินค้าและนอกห้างสรรพสินค้าต้องปิดทำการชั่วคราว

“บางสาขาที่ยังคงเปิดให้บริการได้นั้น ก็ได้รับผลกระทบเนื่องจากต้องใช้ระยะเวลาในการขนส่งสินค้าไปยังพื้นที่ปลายทางที่นานขึ้นกว่าช่วงปกติ” 

เหล่านี้ ส่งผลให้ธุรกิจขนส่งสินค้าออนไลน์อาจได้รับผลกระทบและทำให้การจัดส่งสินค้าออนไลน์ติดขัดเป็นการชั่วคราว ประกอบกับการแข่งขันของธุรกิจที่รุนแรงขึ้น โดยเฉพาะการแข่งขันเรื่องราคาค่าขนส่งสินค้า

“ธุรกิจขนส่งในภาพรวมปีนี้ แม้คาดว่ารายได้จะยังคงเติบโต แต่ก็เผชิญความยากลำบากในการดำเนินธุรกิจ” 

shopping online

สินค้าอาหาร-ของสด กระทบหนักสุด

การจัดส่งสินค้าออนไลน์ในกลุ่มอาหาร (Food) น่าจะได้รับผลกระทบมากกว่าสินค้าในกลุ่มที่ไม่ใช่อาหาร (Non-food) เนื่องจากเป็นกลุ่มสินค้าที่เน่าเสียง่าย ไม่ว่าจะเป็นอาหารสด อาหารแห้ง ผัก ผลไม้ ซึ่งถือเป็นกลุ่มสินค้าจำเป็นที่คาดว่าผู้บริโภคน่าจะยังคงมีการวางแผนใช้จ่ายผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้นในช่วงที่โควิดระบาด

แต่เมื่อขนส่งไม่สามารถจัดส่งสินค้าได้ หรือใช้ระยะเวลานานกว่าปกติ รวมถึงยานพาหนะที่ใช้ในการจัดส่งสินค้ากลุ่มนี้ ส่วนใหญ่ไม่ได้เอื้อต่อการจัดเก็บหรือควบคุมคุณภาพได้นาน สินค้ามีความเน่าเสียได้ง่าย จึงทำให้ได้รับผลกระทบที่ค่อนข้างมาก จนผู้ประกอบการบางราย บางพื้นที่ต้องงดรับการจัดส่งสินค้าในกลุ่มนี้เป็นการชั่วคราว

ขณะที่กลุ่มสินค้าที่ไม่ใช่อาหาร (Non-food) หรือสินค้าฟุ่มเฟือย เช่น สินค้าแฟชั่น เครื่องสำอาง ของตกแต่งบ้าน เนื่องจากยอดขายได้รับผลกระทบจากกำลังซื้อของผู้บริโภคที่หดตัว และใช้จ่ายอย่างระมัดระวังมาอย่างต่อเนื่องก่อนหน้านี้

ดังนั้น สถานการณ์ดังกล่าว ก็อาจจะกระทบต่อการจัดส่งสินค้ากลุ่มนี้ในระดับที่น้อยกว่า หรือหากมีคำสั่งซื้อมองว่าผู้บริโภคบางรายก็อาจจะรอสินค้าได้

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า เหตุการณ์ดังกล่าว น่าจะเป็นปัญหาชั่วคราว และจากการเร่งแก้ปัญหาและการปรับตัวของผู้ประกอบการ ส่งผลให้สาขาในบางพื้นที่ที่ปิดทำการชั่วคราวเริ่มกลับมาเปิดทำการได้บ้าง แต่ยังคงต้องรอสินค้าที่นานกว่าช่วงปกติ

ขนส่งต้องสู้เเข่งตัดราคา-เเบกต้นทุนมากขึ้น 

ส่วนรายได้ของธุรกิจจัดส่งสินค้าออนไลน์ ในภาพรวมปี 2564 ยังคงขยายตัวได้จากการระบาดของโควิดที่ยังคงหนุนให้ผู้บริโภคหันมาซื้อสินค้าออนไลน์มากขึ้น แต่การเติบโตคาดว่าจะชะลอตัวลงจากปีก่อนหน้า ปัจจัยหลักๆ มาจากการแข่งขันด้านราคาค่าส่งสินค้า อีกทั้งยังต้องเผชิญกับต้นทุนในการดำเนินธุรกิจที่สูงขึ้น

แม้ว่าการระบาดของโควิดที่รุนแรงขึ้น จนส่งผลกระทบต่อระบบการขนส่งสินค้าให้หยุดชะงักลงเป็นการชั่วคราวในบางพื้นที่ แต่เนื่องจากผู้บริโภคยังคงกังวลกับการออกไปใช้จ่ายหรือทำกิจกรรมนอกบ้าน การประกาศล็อกดาวน์ของภาครัฐ อีกทั้งผู้ประกอบการอีคอมเมิร์ซ มีการอัดโปรโมชันกันอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้ผู้บริโภคยังคงใช้จ่ายผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงต่างๆ 

“ธุรกิจขนส่งสินค้าออนไลน์ในปัจจุบันที่แข่งขันกันรุนแรงจากจำนวนผู้เล่นในตลาดมากราย โดยเฉพาะการแข่งขันด้านราคาค่าขนส่งของผู้ประกอบการรายใหญ่ ซึ่งส่งผลให้ผู้ประกอบการรายอื่นๆ ต้องปรับตัวตาม และท้ายที่สุดหากผู้ประกอบการรายใดไม่สามารถแบกรับหรือบริหารจัดการต้นทุนได้ ก็อาจจะเผชิญการแข่งขันที่ยากลำบากขึ้น” 

ดังนั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า แม้ว่ารายได้ของธุรกิจจัดส่งสินค้าออนไลน์ (Last-mile delivery) ในปี 2564 จะอยู่ที่ประมาณ 71,800 ล้านบาท ขยายตัว 19.0% ซึ่งเป็นการเติบโตที่ชะลอตัวลงจากปีก่อนหน้าที่ขยายตัวถึง 31.3%

แต่หากพิจารณาในส่วนของต้นทุนในการบริหารจัดการคาดว่าน่าจะปรับเพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน โดยเฉพาะต้นทุนที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการโควิดเพื่อสร้างความปลอดภัยและความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคและพนักงาน ต้นทุนจากการจ้างพนักงานเพิ่มขึ้น (ทดแทนพนักงานที่ติดโควิด และรองรับกับคำสั่งซื้อออนไลน์ที่เพิ่มขึ้น) 

รวมถึงต้นทุนในการบริหารจัดการเส้นทางการส่งสินค้าใหม่ เพื่อหลีกเลี่ยงเส้นทางเดิมที่มีปัญหา ในขณะที่ต้องลดราคาค่าขนส่งให้ถูกลง เพื่อให้ธุรกิจแข่งขันได้ จึงมีความเป็นไปได้ว่าผลประกอบการของผู้ประกอบการบางรายยังคงประสบภาวะขาดทุน

เเนะลงทุนเพื่อความปลอดภัย ให้ลูกค้ามั่นใจสั่งของ 

การเติบโตของรายได้ธุรกิจขนส่งสินค้าออนไลน์ในภาพรวมที่อัตรา 2 หลัก อาจจะไม่ได้สะท้อนถึงผลประกอบการสุทธิที่ดีขึ้นของผู้ประกอบการได้ทุกราย และเมื่อมองไปข้างหน้า ด้วยสถานการณ์การระบาดที่ยังไม่คลี่คลาย ความเสี่ยงต่างๆ ยังคงเกิดขึ้นได้ ก็น่าจะทำให้ต้นทุนในการบริหารจัดการโควิดของผู้ประกอบการยังคงมีอยู่ ไม่ว่าจะเป็นการจัดการด้านสุขอนามัยและความปลอดภัยจากโรค การกระจายศูนย์กระจายสินค้าไปยังพื้นที่ศักยภาพใหม่ ๆ เพื่อกระจายความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น การนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน รวมถึงการให้บริการเรื่องของสินค้าที่ครบวงจร 

หากผู้บริโภคมีความกังวลและไม่มั่นใจในเรื่องของความปลอดภัยจนทำให้มีการสำรองสินค้ามากขึ้นเพื่อลดจำนวนครั้งในการสั่งซื้อ ก็อาจจะส่งผลกระทบต่อปริมาณการจัดส่งที่น้อยลงและส่งผลต่อผลประกอบการของธุรกิจตามมา

โดยเฉพาะผู้ประกอบการที่มีข้อจำกัดในเรื่องของการบริหารจัดการต้นทุน เงินทุน และการปรับตัวที่ไม่สามารถตอบสนองต่อสถานการณ์และพฤติกรรมของผู้บริโภคได้ทัน ซึ่งน่าจะยังคงเผชิญความยากลำบากในการแข่งขัน

 

 

 

]]>
1345391
เฮือกสุดท้าย ‘เเม่ค้าออนไลน์’ ขายไม่ได้ สินค้าตีกลับ ผลกระทบขนส่งพัสดุ ล่าช้า-อ่วมโควิด https://positioningmag.com/1344529 Thu, 29 Jul 2021 13:05:15 +0000 https://positioningmag.com/?p=1344529 หลังเจอวิกฤตโควิดจนล้มลุกคลุกคลานมาหลายรอบ บรรดาแบรนด์ต่างๆ ทั้งค้าปลีก ร้านอาหาร สินค้าเกษตร พ่อค้าเเม่ค้ารายย่อย คนตกงานหารายได้เสริม กระโจนเข้าสู่โลกช้อปปิ้งออนไลน์เพื่อดิ้นรนหาทางรอด ปรับตัวพยุงธุรกิจ

ฝั่งผู้บริโภคเอง ด้วยความกังวลเสี่ยงติดโรคเเละมาตรการล็อกดาวน์ ก็หันมาสั่งซื้อสินค้าทางออนไลน์ เเทบจะกลายเป็นส่วนหนึ่งในวิถีชีวิตไปเเล้ว

ธุรกิจอีคอมเมิร์ซในไทย กำลังจะไปได้สวย จนกระทั่งวันนี้ การระบาดใหญ่รอบล่าสุด ที่มียอดผู้ติดเชื้อพุ่งสูงเเตะระดับ 17,000 คนต่อวัน ได้ขยายวงกว้างไปสู่พนักงานขนส่งพัสดุซึ่งเป็นอีกหนึ่งหัวใจสำคัญของธุรกิจขายออนไลน์เลยก็ว่าได้

บริษัทขนส่งยักษ์ในไทย กำลังประสบปัญหาเรื่องการรับ-ส่งสินค้าบางรายอาการหนักจนต้องปิดศูนย์กระจายสินค้า พนักงานจำนวนมากต้องกักตัว บางเจ้าต้องปิดสาขาตามห้างสรรพสินค้าตามคำสั่งล็อกดาวน์ ทำให้ช่วงนี้มีพัสดุตกค้างเเละล่าช้า จำนวนมาก อีกทั้งยังเปิดให้บริการได้ไม่เต็มที่

นอกจากความเดือดร้อนของบริษัทขนส่งเเละพ่อค้าเเม่ค้าออนไลน์ ที่ต้องเจอศึกหนัก ตามหาของที่ยังส่งไม่ถึงเเล้ว อีกมุมหนึ่งปัญหาเหล่านี้ ก็ส่งผลให้เหล่าผู้บริโภคไม่กล้าสั่งซื้อของออนไลน์ ในช่วงนี้ ซ้ำเติมยอดขายเเละรายได้ที่ลงลดอยู่เเล้ว จากการหดหายของกำลังซื้อให้ยิ่งลดลงไปอีก

บิ๊กขนส่งพัสดุในไทย ‘อ่วมโควิด’ 

ล่าสุดของบริษัทขนส่งต่างๆ ยังสามารถเปิดให้บริการตามปกติ’ ได้ทุกเจ้า แต่มีการกำหนดเกณฑ์การรับพัสดุใหม่ เเละบางส่วนอาจส่งของล่าช้า 1-2 วัน

ย้อนกลับไปไปรษณีย์ไทยเป็นผู้ให้บริการขนส่งพัสดุรายเเรกที่ออกมายอมรับว่า มีพนักงานติดเชื้อโควิด-19 เเม้จะฉีดวัคซีนเข็มแรกไปเเล้วกว่า 12,000 คน และเข็มสองอีกกว่า 4,200 คนก็ตาม

ปกติเเล้ว ไปรษณีย์ไทย มีปริมาณไปรษณียภัณฑ์และพัสดุด่วน เฉลี่ยอยู่ที่ 8 ล้านชิ้นต่อวัน เป็นเบอร์หนึ่งในตลาด จากสถานการณ์ดังกล่าว “อาจมีการจัดส่งสิ่งของล่าช้าในบางพื้นที่

โดยได้ระงับการฝากส่ง ผลไม้สด ต้นไม้ กล้าพันธุ์ไม้ และของเน่าเสียง่าย เป็นการชั่วคราวถึงวันที่ 31 .. 2564 เพื่อป้องกันผลไม้และต้นไม้เสียหาย 

ไปรษณีย์ไทย มีปรับแผนบริหารความเสี่ยงเคลียร์พัสดุตกค้าง เช่น แบ่งเจ้าหน้าที่นำจ่ายออกเป็น 2 กลุ่ม กำหนดให้ทำงานเหลื่อมเวลากัน นำเจ้าหน้าที่จากไปรษณีย์ที่อยู่ใกล้เคียงมาปฏิบัติหน้าที่ในการนำจ่ายแทนเจ้าหน้าที่ของไปรษณีย์ที่ต้องปิดให้บริการชั่วคราว

รวมไปถึง ปรับเปลี่ยนเวลาการทำงานของเจ้าหน้าที่ กำชับให้เว้นระยะห่างเพื่อลดความเสี่ยง ขยายพื้นที่ปฏิบัติงานสำรอง พร้อมย้ำว่าจะไม่ปกปิดข้อมูล’ กับลูกค้า 

ด้าน ‘Flash Express’ สตาร์ทอัพยูนิคอร์นรายเเรกของไทย ที่มีมูลค่ากิจการเกิน 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 31,000 ล้านบาท) เมื่อเดือนมิ..ที่ผ่านมา ก็เกิดปัญหาใหญ่ พนักงานติดโควิด-19 เช่นเดียวกัน จนถึงขั้นต้องปิดศูนย์กระจายสินค้าที่วังน้อยชั่วคราว ส่งผลกระทบต่อลูกค้าจำนวนมาก

คมสันต์ ลีประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Flash Express เทคเเอกชั่นด้วยการส่งจดหมายเเสดงความเสียใจเเละขอโทษลูกค้าทุกคน พร้อมตั้งงบชดเชยความเสียหายกว่า 200 ล้านบาท

โดยมีมาตรการเยียวยาอย่าง การคืนเงินค่าขนส่ง 100% มอบคูปองมูลค่ารวม 50 บาท เเละชดเชยความเสียหายของพัสดุเต็มจำนวนภายใต้กฎเกณฑ์ของบริษัท เป็นต้น

-คมสันต์ ลี ประธานกรรมการบริหาร กลุ่มธุรกิจแฟลช (Flash Group)

นอกจากนี้ ยังต้องงดรับของสด และ ผลไม้ทุกชนิดเเละงดพัสดุที่มีน้ำหนักเกินกว่า 10 กิโลกรัม และขนาดความกว้าง ความยาว และความสูงแต่ละด้านเกินกว่า 100 เซนติเมตร และสามด้านรวมกันเกินกว่า 150 เซนติเมตรเป็นการชั่วคราวด้วย

ทั้งนี้ ในปี 2563 Flash Express มียอดส่งมากกว่า 300 ล้านชิ้น ส่วนในปี 2564 บริษัทมีจำนวนพัสดุเฉลี่ยต่อวันประมาณ 2 ล้านชิ้น เติบโตจากเดิมที่มียอดส่งพัสดุเฉลี่ยอยู่ 1.3 ล้านชิ้นต่อวัน

ขณะที่เจ้าใหญ่ฝั่งเอกชนอย่าง Kerry Express เเม้ตอนนี้ปัญหาเรื่องพนักงานติดโควิดจะไม่รุนเเรงเท่ารายอื่น เเต่ก็ได้รับผลกระทบจากมาตรการล็อกดาวน์ของภาครัฐ 

ทำให้ต้องปิดบางสาขาในห้างฯ เเละบางสาขามีพนักงานติดโควิด ดังนั้นการขนส่งไปยังปลายทาง จึงต้องใช้เวลามากกว่าปกติราว 1-2 วัน โดยเฉพาะในพื้นที่ 13 จังหวัดสีแดงเข้ม โดยเเนะนำให้ลูกค้าวางแผนก่อนส่ง หลีกเลี่ยงพัสดุที่มีวันหมดอายุและเน่าเสียง่าย

ประกอบกับช่วงนี้จำนวนพัสดุเพิ่มขึ้นมากขึ้น 2.2 ล้านชิ้น จากช่วงปกติจำนวนพัสดุอยู่ที่ประมาณ 2 ล้านชิ้น ในขณะที่พนักงานเคอร์รี่ทั่วประเทศมีประมาณ 20,000 คน จึงมีความล่าช้ากว่าปกติด้วย

ด้านขนส่งรายอื่นๆ อย่าง J&T Express , SCG Express , BEST Express เเละ NIM Express ก็ยังไม่สามารถให้บริการพ่อค้าเเม่ค้าออนไลน์ได้เต็มที่ เพราะมีข้อจำกัดเช่นเดียวกัน

โดย SCG Express งดจัดส่งบางพื้นที่ และงดบริการเข้ารับพัสดุที่บ้านชั่วคราว ส่วนพัสดุแบบควบคุมอุณหภูมิ แช่เย็นแช่แข็งยังจัดส่งได้ตามปกติ

NIM Express แจ้งการส่งสินค้าล่าช้ากว่ากำหนด เเละของดรับสินค้าปลายทางในพื้นที่สาขาพุทธมณฑล สาย 2 ในระหว่างวันที่ 27-30 .. 2564 โดยยังคงดำเนินการจัดส่งสินค้าตามปกติ 

BEST Express ประกาศ จัดส่งพัสดุเกิดความล่าช้ากว่าปกติ ในพื้นที่สาขาเขตพระนคร กรุงเทพฯ ในช่วงตั้งแต่วันที่ 23 กรกฎาคม – 5 สิงหาคม 2564

J&T Express จำเป็นที่จะต้องปรับเปลี่ยนวิธีการคำนวณน้ำหนักและขนาดปริมาตรใหม่ โดยด้านใดด้านหนึ่งไม่เกิน 100 ซม. ทั้งสามด้านรวมกันไม่เกิน 180 ซม. และน้ำหนักจริงไม่เกิน 50 กิโลกรัม ข้อกำหนดนี้ใช้กับพัสดุทุกประเภท ยกเว้นพัสดุจาก Shopee เริ่มตั้งแต่วันที่ 27 กรกฎาคม 2564 เป็นต้นไป

ท่ามกลางความปั่นป่วนของธุรกิจขนส่งในไทยนั้นทีวี ไดเร็คเห็นโอกาสธุรกิจ รีบเปิดรับฝากส่งพัสดุ อุดช่องว่างขนส่งขาด ราคาเริ่มต้น 32 บาท โดยมีจุดรับฝากส่งพัสดุ ณ ศูนย์กระจายสินค้าของบริษัท จำนวน 58 แห่งทั่วประเทศ

ประกาศรับสินค้าขนาดใหญ่น้ำหนักไม่เกิน 150 กก. สามารถจัดส่งสินค้าได้ทุกประเภท รวมถึงกล้าพันธุ์ไม้ ระยะเวลาจัดส่ง ภายในกรุงเทพฯปริมณฑลใช้เวลา 2 วันทำการ ส่งต่างจังหวัดประมาณ 3 วัน สามารถรองรับการขนส่งพัสดุได้ 10,000 ชิ้นต่อวัน

ช้อปปิ้งออนไลน์ สะดุด ขายไม่ได้-ส่งของยาก-สินค้าตีกลับ 

เเม่ค้าออนไลน์รายหนึ่ง บอกกับ Positioningmag ว่า เริ่มปรับตัวมาขายออนไลน์อย่างจริงจัง มาตั้งเเต่ช่วงปีก่อน หลังยอดขายหน้าร้านลดลงมาก จึงได้ส่วนขายออนไลน์ ช่วยพยุงธุรกิจให้อยู่รอดในช่วงโรคระบาด

โดยช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา หลังมีปัญหาในระบบขนส่ง บางสินค้าส่งไปถึงปลายทางเเต่เกิดความเสียหาย ต้องรับผิดชอบด้วยการส่งของใหม่ไปให้ลูกค้า ทำให้ต้องเเบกรับต้นทุนสูงขึ้น รวมถึงมีสินค้าโดน ‘ตีกลับจำนวนมาก มองว่า เเม้จะมีการชดเชยค่าส่ง 100% เเต่ก็ไม่คุ้มกับความเสียหายของสินค้า เเละความเชื่อใจของลูกค้าที่หายไป 

ส่วนยอดขายที่มีอยู่ในปัจจุบัน ก็ลดลงอย่างเห็นได้ชัด เหมือนคนไม่ค่อยกล้าสั่งของออนไลน์กัน เพราะกลัวเสี่ยงติดเชื้อเเละกังวลจะได้รับของช้าหรืออาจเสียหาย

โดยหวังว่าสถานการณ์ของธุรกิจขนส่งจะคลี่คลายโดยเร็ว เบื้องต้นในช่วงนี้ก็ต้องปรับตัว เช่น เปลี่ยนบริษัทที่ส่งให้เหมาะสมกับจังหวัดปลายทาง เเม้จะมีค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น ก็พยายามให้ของไปถึงลูกค้าอย่างสมบูรณ์เเละรวดเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้พร้อมต้องติดตามสินค้าให้ด้วย

ด้านพ่อค้าเเม่ค้าออนไลน์ที่จำหน่าย ผลไม้สด ต้นไม้ กล้าพันธุ์ไม้ และของเน่าเสียง่าย ที่บริษัทขนส่งหลายราย ‘งดรับบริการชั่วคราวนั้น เรียกได้ว่าซวยเเล้วซวยอีก จากราคาผลผลิตทางการเกษตรที่ตกต่ำอยู่เเล้ว

โดยผู้ใช้ทวิตเตอร์รายหนึ่ง โพสต์ข้อความถึงความเสียหายจากอุทกภัย ทำให้มังคุดที่มีอยู่ขายไม่ได้ เเม้จะลดราคาลงเหลือกิโลกรัมละ 5 บาทเเล้วก็ตาม อีกทั้งส่งขายทางออนไลน์ไม่ได้อีก

ระวังพิษเศรษฐกิจ ฉุด ‘กำลังซื้อลด’ 

จากข้อมูลของ We are Social เปิดเผยในรายงาน Global Digital Stat 2021 ระบุว่า วิกฤตโควิดเป็นปัจจัยสำคัญทำให้การเติบโตของอีคอมเมิร์ซไทย ทั้งอีโคซิสเต็มส์ขยายตัวเพิ่มขึ้นมากอย่างมีนัยสำคัญ

คนไทยนิยมช้อปปิ้งออนไลน์สูงสุดเป็นอันดับ 3 ของโลก หรือราว 83.6% สูงกว่าหลายประเทศพัฒนาแล้ว เช่นเดียวกับการช้อปปิ้งออนไลน์ผ่านมือถือ คนไทยก็ครองอันดับ 2 ของโลก ด้วยสัดส่วนถึง 74.2% โดยหมวดอาหาร ของใช้ส่วนตัว ของใช้ภายในบ้านเพิ่มขึ้นอย่างมาก อันเป็นผลมาจากมาตรการล็อกดาวน์

ขณะเดียวกัน ด้วยภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซา ก็ทำให้กำลังซื้อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคลดลงตามไปด้วย เพราะคนต้องประหยัดมากขึ้น ระวังการจับจ่ายใช้สอย

ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจธนาคารไทยพาณิชย์ หรือ EIC ประเมินว่า โควิด-19 ระลอกที่ 3 มีแนวโน้มสร้างความเสียหายต่อการบริโภคภาคเอกชนกว่า 7.7 แสนล้านบาท หรือราว 4.8% ของ GDP จากผลของมาตรการล็อกดาวน์ ความกังวลของประชาชนต่อการติดเชื้อและความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจที่สูงขึ้นมาก ตลอดจนรายได้ของผู้ประกอบการและแรงงานในหลายภาคธุรกิจที่จะปรับลดลงมาก

แม้ภาคธุรกิจและผู้บริโภคบางส่วนจะหันไปใช้ธุรกรรมออนไลน์มากขึ้น ซึ่งจะช่วยบรรเทาผลกระทบได้บางส่วนเท่านั้น ทำให้เกิด ‘แผลเป็นเศรษฐกิจที่ลึกขึ้น’ ขณะที่เม็ดเงินช่วยเหลือจากภาครัฐที่ออกมายังไม่เพียงพอ โดยรัฐต้องเร่งกระจายวัคซีนให้ทั่วถึงอย่างเร็วที่สุด

ผลกระทบต่อธุรกิจขายออนไลน์ครั้งนี้ จึงเป็นการซ้ำเติมความลำบากของประชาชนรายย่อยให้ร้าวลึกลงไปอีก โดยฝั่งธุรกิจขนส่งพัสดุด่วนเองก็ต้องปรับตัวรับมือครั้งใหญ่ เมื่อโรคระบาดยังไม่หายไปโดยเร็ว เเต่พนักงานยังต้องลงพื้นที่เสี่ยงในทุกๆ วัน

 

]]>
1344529
เทียบฟอร์ม Flash VS Kerry ยูนิคอร์นไฟเเรงกับเเบรนด์หุ้น IPO ในสงครามขนส่ง ‘ตัดราคา’ https://positioningmag.com/1335409 Fri, 04 Jun 2021 14:34:49 +0000 https://positioningmag.com/?p=1335409 ธุรกิจขนส่งพัสดุ’ ในไทย เติบโตตามอีคอมเมิร์ซที่พุ่งพรวดในวิกฤตโรคระบาด เเบรนด์เล็กเเบรนด์ใหญ่ งัดสารพัดวิธีครองใจลูกค้า ทั้งทุบราคา ยกระดับบริการ ขยายสาขา เเย่งชิงพนักงาน อัดโฆษณาโหมพรีเซ็นเตอร์

ไม่กี่วันที่ผ่านมา สงครามของธุรกิจนี้ก็ดุเดือดขึ้นมาอีกครั้ง เมื่อน้องใหม่ค่ายสีเหลืองที่เพิ่งเปิดมาได้เพียง 3 ปีกว่าๆ อย่าง ‘Flash Express’ (แฟลช เอ็กซ์เพรส) เขย่าบัลลังก์เจ้าตลาด ด้วยการปิดระดมทุนได้ 4,700 ล้านบาท ขึ้นเเท่นสตาร์ทอัพยูนิคอร์นรายแรกของคนไทย

ดีลนี้เป็นหมัดหนักที่สะเทือนคู่เเข่งค่ายสีส้มอย่าง ‘Kerry Express’ (เคอรี่ เอ็กซ์เพรส) ได้ไม่น้อย หลังโดนตีตื้นจนอยู่ไม่สุขมานาน ไปจนถึงสร้างความกังวลใจให้พี่บิ๊กเบอร์หนึ่งอย่างไปรษณีย์ไทย ที่ต่อไปนี้ต้องดิ้นรนหาอะไรมาสู้บ้างเพื่อไม่ให้โดนเเซงไปได้ในที่สุด

เเบรนด์เก๋าติดตลาด ปะทะ ยูนิคอร์นไฟเเรงเฟร่อ 

Kerry ดำเนินกิจการในประเทศไทยมาตั้งเเต่ปี 2549 เพิ่งระดมทุนหุ้น IPO ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อช่วงปลายปี 2563 ภายใต้ชื่อ KEX มีมูลค่าบริษัทล่าสุดอยู่ที่ราว 75,000 ล้านบาท

ปี 2561 รายได้ 13,565.35 ล้านบาท กำไรสุทธิ  1,185.10 ล้านบาท
ปี 2562 รายได้ 19,894.60 ล้านบาท กำไรสุทธิ  1,328.55 ล้านบาท
ปี 2563 รายได้ 19,010.05  ล้านบาท กำไรสุทธิ  1,405.02 ล้านบาท

ส่วน Flash เป็นบริษัทสตาร์ทอัพที่ยังไม่ได้เข้าจดทะเบียนในตลาด ก่อตั้งเมื่อปี 2560 เพิ่งระดมทุนซีรีส์ D และ E ได้สำเร็จ เป็นยูนิคอร์นที่มีมูลค่ากิจการเกิน 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 31,000 ล้านบาท

ปี 2561 รายได้ 47 ล้านบาท ขาดทุน 183 ล้านบาท
ปี 2562 รายได้ 2,123 ล้านบาท ขาดทุน 1,666 ล้านบาท
ปี 2563 ยังไม่ได้เปิดเผยข้อมูลบนเว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เเต่จากข่าวประชาสัมพันธ์ ระบุว่า บริษัทมียอดส่งรวมทั้งปี 2563 มากกว่า 300 ล้านชิ้น หรือเติบโตขึ้นกว่า 500% ทำให้คาดว่าจะมีรายได้รวมจะเยอะขึ้นหลายเท่าตัว

ดังนั้น Kerry จึงมีมูลค่าบริษัทมากกว่า Flash กว่าสองเท่า เเต่ตอนนี้กำลังประสบภาวะราคาหุ้นขาลง(วันที่ 4 มิ.ย. อยู่ที่ราว 40 บาท) ผลประกอบการยังทำกำไรสุทธิในช่วงโควิด-19 ได้เพิ่มขึ้น เเต่ในส่วนรายได้ลดลง จากการปรับราคาต่อพัสดุเชิงรุกและการเจาะกลุ่มตลาดจัดส่งราคาประหยัด ชี้ให้เห็นสัญญาณการเเข่งขันในตลาดที่คู่เเข่งกำลังไล่เบียดมาติดๆ

ส่วน Flash กำลังอยู่ในช่วงขาขึ้น’ รายได้พุ่งสูงเเต่ยังขาดทุน ตามเเบบฉบับของสตาร์ทอัพที่ต้องเผาเงินเพื่อเอาฐานลูกค้า โดยมีจุดเเข็งคือการเป็น ‘ดาวรุ่งเนื้อหอม’ ที่มีผู้สนับสนุนเป็นบริษัทระดับท็อปของไทย ต่างมุ่งหวังผลักดัน ยูนิคอร์นตัวนี้ให้มีอนาคตไกล

ชิงเเต้มต่อ ‘เเบ็กอัพใหญ่’ 

คมสันต์ แซ่ลีซีอีโอและผู้ก่อตั้ง Flash Express ยืนยันว่า ธุรกิจของเขาเป็นสตาร์ทอัพที่ก่อตั้งและดำเนินงานโดยคนไทยไม่ใช่กลุ่มทุนต่างชาติเเม้ช่วงเเรกๆ จะมีกลุ่มทุนจากจีนเข้ามาร่วมลงทุนด้วย เเต่ในการระดมทุนซีรีส์ D และ E เป็นนักลงทุนจากไทยมากขึ้น

เมื่อพูดถึงเเบ็กอัพของ Flash ก็ต้องบอกว่าเป็นบริษัททุนหนาที่มีเงินลงทุนในมือหลายหมื่นล้าน มุ่งหา New Business เพื่อขยายเครือข่ายธุรกิจเดิม หลีกหนีการถูกดิสรัปต์ในยุคใหม่

เริ่มจาก SCB 10X บริษัทลูกของธนาคารไทยพาณิชย์ ที่ปลุกปั้นขึ้นมาเพื่อพัฒนานวัตกรรม เทคโนโลยีเเละลงทุนในธุรกิจใหม่ มีเป้าหมายลงทุนในสตาร์ทอัพทั่วโลก การมีส่วนสร้างยูนิคอร์นในไทยคือหนึ่งในภารกิจหลัก ซึ่งการได้ Flash มาเป็นลูกรัก ก็คงจะได้เห็นการต่อยอดร่วมกันอีกหลายอย่าง โดยเฉพาะบริการทางการเงิน 

ถัดมาคือบิ๊กพลังงานอย่าง OR บริษัทลูกของ ปตท. ที่เพิ่งขายหุ้น IPO สูงสุดเป็นประวัติการณ์ การจับมือกับ Flash จะช่วยขยายอีโคซีสเต็มได้ดี ทำให้ปั๊มน้ำมันที่มีอยู่ทั่วประเทศมาเป็นศูนย์กระจายสินค้าเเละจุดรับส่งพัสดุภายในร้าน Café Amazon เป็นการเพิ่มทราฟฟิกลูกค้าไปในตัว รวมไปถึงการบริการน้ำมันให้กับรถขนส่งของ Flash ที่มีมากกว่าหมื่นคัน

นอกจากนี้ยังมีกรุงศรีฟินโนเวตในเครือธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) อีกเเบงก์ที่มอบทุนก้อนใหญ่ให้สตาร์ทอัพ โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้าง E-commerce Ecosystem ที่สมบูรณ์ในเมืองไทยร่วมกัน เเละ Durbell ธุรกิจกระจายสินค้าในเครือกลุ่ม TCP เจ้าของเครื่องดื่มกระทิงแดง สปอนเซอร์ ฯลฯ ที่มาช่วยเสริมเเกร่งกันในด้านโลจิสติกส์ให้พร้อมขยายต่อไปในอาเซียน

ส่วน Kerry Express มีบริษัท เคแอลเอ็น โลจิสติคส์ (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทแม่ซื้อขายอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง ถือหุ้นใหญ่ ตามมาด้วย บมจ. วีจีไอ (บริษัทที่แยกออกมาจาก BTS) เเละกัลฟ์ โฮลดิ้งส์ โดย Kerry ถือเป็นหนึ่งในธุรกิจสำคัญที่ทำกำไรให้กับเครือ BTS 

สงคราม ‘ตัดราคา’ เปิดสาขาที่ไหน…ไปด้วย 

Kerry Express บุกเบิกตลาดขนส่งพัสดุโดยเอกชนรายเเรก เป็นช่วงโอกาสธุรกิจที่ไปรษณีย์ไทย ณ ขณะนั้น ยังไม่ทรานส์ฟอร์มองค์กร ประเดิมด้วยการจัดส่งแบบ ‘Next Day’ เเละเป็นเจ้าแรกที่ให้บริการรับชำระเงินปลายทาง 

ผู้บริหาร Kerry เคยให้สัมภาษณ์กับ Positioning ว่าต้องการขยายจุดส่งพัสดุให้เข้าถึงผู้บริโภคมากที่สุด จากตอนนี้ที่มีจุดให้บริการตามถนนสายหลักต่อไปจะเข้าไปหาลูกค้าตามซอกซอยให้ได้

ทั้งนี้ จุดให้บริการราว 15,000 ใน 77 จังหวัดทั่วประเทศนั้น เป็นสาขาที่เคอรี่ดำเนินการเองราว 2,000 เเห่ง เป็นการจับมือกับพันธมิตรอีก 3,000 เเห่ง เเละที่เหลืออีกกว่า 1 หมื่นเเห่งเป็นสาขาของ SME รายย่อย มีจำนวนรถรับส่งพัสดุราว 25,000 คัน มียอดจัดส่งราว 1.9 ล้านชิ้นต่อวันทำการ ส่วนในไตรมาส 1/64 ปริมาณพัสดุเพิ่มสูงขึ้น 13% (หากเทียบกับไตรมาส 1/63)

เมื่อถามถึงการเเข่งขันด้านราคาที่หลายคนมองว่า Kerry อาจจะมีค่าบริการที่สูงกว่าเจ้าอื่นในตลาดนั้น ผู้บริหารตอบว่า บริษัทมีการดูเเลเรื่องนี้โดยตลอด เช่นการจัดเรตราคาตามหมวดหมู่ของสินค้า โดยอยากให้ผู้บริโภคเห็นถึงคุณภาพในการจัดส่งว่ามีความชัวร์เเละคุ้มค่า ในราคาที่ไม่เเพงไปกว่ากันมากนัก 

ท่ามกลางคู่แข่งที่เต็มไปหมด การบริการขยับมาอยู่ในระดับใกล้เคียงกัน ทำให้ Kerry ไม่อาจดำเนินกลยุทธ์เเบบที่เคยทำสมัยบุกเบิกตลาดได้ จึงต้องหาลูกเล่นใหม่ๆ มาทดลองตลาด อย่างการสร้างแบรนด์ให้เป็น Lifestyle & Creative Logistics ขณะที่บริษัทหน้าใหม่ๆ เน้นใช้การ ‘ตัดราคาเป็นตัวนำในการเจาะธุรกิจนี้

Flash Express ก็ใช้กลยุทธ์เรื่องราคา มาจับพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ที่ต้องการลดต้นทุนการส่ง ด้วยการเป็นเจ้าเเรกที่ ‘รับพัสดุฟรีถึงที่ตั้งแต่ชิ้นแรก ให้บริการ 365 วันไม่หยุด’ ไม่ว่าลูกค้าจะส่งที่ช็อป หรือเรียกให้ไปรับ ค่าบริการไม่บวกเพิ่ม โดยในปี 2564 บริษัทมีจำนวนพัสดุเฉลี่ยต่อวันประมาณ 2 ล้านชิ้น เติบโตจากเดิมที่มียอดส่งพัสดุเฉลี่ยอยู่ 1.3 ล้านชิ้นต่อวัน

ตลาดขนส่งพัสดุในปีนี้ยังจะมีการแข่งขันกันใน 3 เรื่องหลัก คือ ราคา คุณภาพ และความคุ้มค่าในการให้บริการ ซึ่งน่าจะเป็น 3 เรื่องหลักที่ผู้เล่นทุกรายในตลาดยังคงต้องโฟกัส รวมไปถึงเรื่องความรวดเร็วในการจัดส่งสินค้าซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้ใช้บริการต้องการที่สุด

เเละตอนนี้ไม่ใช่เเค่คู่ปรับอย่าง Kerry เเละ Flash เท่านั้น ขนส่งเอกชนยังต้องสู้กับ J&T Express , Nim Express , SCG Express , Ninja Van เเละเจ้าอื่นๆ ที่พร้อมตัดราคากันเพื่อเเย่งลูกค้า ไม่เว้นเเม้เเต่ไปรษณีย์ไทย โดยมีราคาเริ่มต้นที่ราว 18-30 บาท

ส่วนใครขยายสาขาไปที่ไหน ก็พร้อมเฮตามกันไปที่นั่น เราจึงได้เห็นร้านข้างๆ กันที่มีทั้งค่ายสีส้ม สีเหลือง สีเเดง ฯลฯ โดยเริ่มขยายเป็นโมเดลแฟรนไชส์ ธุรกิจ Drop-Off มากขึ้น เพราะบริษัทเจ้าของเเบรนด์ไม่ต้องใช้เงินทุนมากนัก

ขณะเดียวกัน Lazada เเละ Shopee ก็เป็นสองคู่เเข่งที่น่ากลัว เมื่อเจ้าของอีมาร์เก็ตเพลส ลงสนามมาเล่นธุรกิจขนส่งด้วยตัวเอง ดังนั้นก็มีเเนวโน้มที่จะ ‘จัดสรรพัสดุ’ ที่สั่งในเเพลตฟอร์มตัวเองมา ‘ส่งเอง’ ได้ด้วย

สตอรี่ ‘นักสู้’ กลายมาเป็นอีกหนึ่งจุดขาย 

ที่ผ่านมาธุรกิจโลจิสติกส์มักเลือกใช้พรีเซ็นเตอร์มาเพื่อสื่อสารเเบรนด์ เน้นเป็นพระเอกดังที่ผู้คนรู้จักกันดี มีคาเเร็กเตอร์เป็นสายลุย น่าเชื่อถือ อย่าง Kerry Express ที่เลือกเวียร์ศุกลวัฒน์ คณารศ , Flash Express ที่เลือก ติ๊กเจษฎาภรณ์ ผลดี , BEST Express ขนส่งสัญชาติจีนที่เลือก ณเดชน์ คูกิมิยะ หรือ J&T Express ที่เลือกมาริโอ้ เมาเร่อ มาเป็นพรีเซ็นเตอร์

ตอนนี้มีกิมมิกเล็กๆ เเต่น่าสนใจคือชีวิตของซีอีโอก็มาเป็นจุดขายของเเบรนด์ได้เหมือนกัน อย่างเรื่องราวการสู้ชีวิตของคมสันต์ แซ่ลีนักธุรกิจหนุ่มวัย 29 ปี จากดอยวาวี จังหวัดเชียงราย ผู้ก่อตั้ง Flash Express ด้วยคาเเร็กเตอร์ ‘กล้าคิด กล้าทำ มุ่งมั่น’

การเป็นคนรุ่นใหม่ที่สามารถปั้นธุรกิจ 3 ปีกว่าๆ ให้โตไปถึงระดับเป็นยูนิคอร์น กลายเป็นเเรงบันดาลใจให้ใครหลายคน สร้างการรับรู้เเละภาพจำให้คนรู้จักเเบรนด์มากขึ้น นอกจากนี้ ทักษะการนำเสนอที่ดี ความฉลาดเเละการสู้ไม่ถอย ก็มีส่วนที่ทำให้ผู้ลงทุนเชื่อมั่นและยอมให้เงินลงทุนด้วย

เเต่สงครามธุรกิจขนส่งพัสดุยังต้องสู้กันอีกยาวไกล นี่จึงเป็นเเค่การเเข่งขันยกใหม่ พร้อมเงินทุนก้อนใหม่เท่านั้น…ผู้บริโภคอย่างเราๆ ก็ต้องติดตามกันต่อไป

 

 

 

]]>
1335409
อ่าน 5 ข้อ ทำความเข้าใจธุรกิจ “เคอรี่ เอ็กซ์เพรส” ก่อนตัดสินใจซื้อหุ้น KEX https://positioningmag.com/1310803 Thu, 17 Dec 2020 09:28:01 +0000 https://positioningmag.com/?p=1310803 ตัวท็อปวงการขนส่งพัสดุเมืองไทยอย่างเคอรี่ เอ็กซ์เพรส” (KEX) เตรียมระดมทุนสูงสุด 8.4 พันล้านในตลาดหลักทรัพย์ฯ  24 ..นี้ เคาะราคาขาย IPO จำนวน 300 ล้านหุ้นที่ราคา 28.00 บาทต่อหุ้น ถือว่าเป็นหุ้นที่น่าจับตามองส่งท้ายปีนี้ ท่ามกลางการเเข่งขันในสงครามโลจิสติกส์อันดุเดือด หลังธุรกิจอีคอมเมิร์ซเติบโตพุ่งพรวดจากวิกฤต COVID-19

Positioning ขอสรุปพื้นฐานธุรกิจ เเผนเเละกลยุทธ์การเติบโต รายละเอียดไทม์ไลน์ของหุ้น IPO เเละภาพรวมธุรกิจอีคอมเมิร์ซ จากการแถลงของทีมผู้บริหาร เคอรี่ เอ็กซ์เพรส ประเทศไทย เบื้องต้นไว้ดังนี้

ส่องธุรกิจ Kerry Express

เคอรี่ เอ็กซ์เพรส” (Kerry Express) ข้ามน้ำข้ามทะเลจากฮ่องกง มาบุกธุรกิจในไทยตั้งแต่ปี 2549 เริ่มให้บริการจัดส่งพัสดุภาคเอกชนรายเเรกในประเทศไทย ให้บริการจัดส่งพัสดุแบบครบวงจร เจาะกลุ่มลูกค้าทุกประเภท

ก่อนที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญเมื่อ 2561 หลังบริษัท วีจีไอ จำกัด (มหาชน) หรือ VGI ธุรกิจสื่อโฆษณานอกบ้านยักษ์ใหญ่ในเครือบีทีเอส กรุ๊ป ทุ่มเงินเกือบ 6 พันล้านบาท เข้าซื้อหุ้น “เคอรี่ เอ็กซ์เพรส” ในสัดส่วน 23% ก้าวขึ้นมาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับ 2 (ปัจจุบันเหลือ 19%)

เรามาย้อนการเติบโตของธุรกิจ “ส่งพัสดุ” ของเคอรี่ ดังนี้

ปี 2554 จัดส่งพัสดุ 8,000 ชิ้นต่อวัน ในวันที่ความต้องการการบริการจัดส่งพัสดุสูง (peak day)

ปี 2556 เปิดร้านรับส่งพัสดุแห่งแรก เพื่อให้บริการด้านการจัดส่งพัสดุผ่านเคาน์เตอร์ของร้าน ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณถนนอโศก กรุงเทพมหานคร

ปี 2558 เริ่มให้บริการจัดส่งพัสดุภายในวันเดียวกัน (Bangkok Sameday : BSD) และได้เปิดตัวศูนย์บริการ
โลจิสติกส์บางนา ซึ่งเป็นศูนย์คัดแยกพัสดุแห่งแรกของบริษัท

ปี 2559 เร่ิมให้บริการการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ ที่ร้านรับส่งพัสดุและจุดรับ-ส่งพัสดุ

ปี 2560 จัดส่งพัสดุรวมทั้งหมดได้ 71 ล้านชิ้น เริ่มใช้ระบบ EasyShip แพลตฟอร์มออนไลน์ช่วยลูกค้าที่ใช้บริการการจัดส่งพัสดุแบบ C2C

ปี 2561 จัดส่งพัสดุรวมทั้งหมดได้ 173 ล้านชิ้น โดยจัดส่งพัสดุในประเทศไทย กว่า 1 ล้านชิ้นต่อวันที่มีความต้องการการบริการจัดส่งพัสดุสูงสุด

ปี 2562 ส่งพัสดุรวมทั้งหมดได้ 274 ล้านชิ้น เร่ิมให้บริการการจัดส่งพัสดุ แบบรับถึงบ้าน (D2D) และขยายเครือข่ายไปตามต่างจังหวัด มีพนักงานในสังกัดราว 2 หมื่นคน

ปี 2563 (ช่วง 9 เดือนเเรก) จัดส่งพัสดุรวมทั้งหมด 223.9 ล้านชิ้น ท่ามกลางการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ผู้บริโภคปรับพฤติกรรมมาซื้อของออนไลน์ สามารถจัดส่งพัสดุจำนวนทั้งสิ้นกว่า 1.2 ล้านชิ้นต่อวันทำการ

ปัจจุบัน Kerry Express มีเครือข่ายให้บริการครอบคลุมทั้ง 77 จังหวัด จุดให้บริการ 15,000 แห่ง พร้อมศูนย์กระจายพัสดุกว่า 1,200 แห่ง จำนวนรถรับส่งพัสดุ 25,000 คัน มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยสะสมต่อปี (2557-2562) ราว 134.9%

นอกจากนี้ ยังเป็นบริษัทภาคเอกชนที่ให้บริการเก็บเงินปลายทาง รายใหญ่ที่สุดในประเทศไทย โดยเฉลี่ย 6,500 ล้านบาทต่อเดือน มีอัตราพัสดุตีกลับราว 1.5% โดยรายได้ของบริษัท 9 เดือนแรกของปีนี้ มีรายได้กว่า 14,689 ล้านบาท กำไร 1,030 ล้านบาท

ขณะที่รายได้ และกำไรย้อนหลัง 3 ปีมีดังนี้

ปี 2560 รายได้ 6,626.41 ล้านบาท กำไรสุทธิ  730.26 ล้านบาท

ปี 2561 รายได้ 13,565.35 ล้านบาท กำไรสุทธิ  1,185.10 ล้านบาท

ปี 2562 รายได้ 19,781.93 ล้านบาท กำไรสุทธิ  1,328.55 ล้านบาท

ด้านสัดส่วนลูกค้าของเคอรี่กว่า 53% เป็นลูกค้าในกลุ่ม C2C หรือแบบบุคคลส่งถึงบุคคล เเละอีก 44% เป็นลูกค้ากลุ่ม B2C หรือแบบธุรกิจส่งถึงบุคคล และ 1.7% เป็นกลุ่มลูกค้าแบบ B2B หรือธุรกิจส่งถึงธุรกิจ

เมื่อเจาะลึกลงไปในสัดส่วนรายได้ จะเห็นว่าในปี 2563 (9 เดือนเเรก) เคอรี่มีรายได้ส่วนใหญ่ 53.9% จากกลุ่ม C2C รองลงมาคือ 44.3% จากกลุ่ม B2C เเละ 1.7% จากกลุ่ม B2B ส่วนที่เหลือ 0.1% มาจากรายได้โฆษณา

อเล็กซ์ อึ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บอกว่า เคอรี่ชอบทำอะไรเป็น “เจ้าเเรก” อย่างการเป็นผู้บุกเบิกการจัดส่งแบบ Next Day ในไทย เป็นเจ้าแรกที่ให้บริการรับชำระเงินปลายทาง และตอนนี้กำลังเป็น “เจ้าแรก” ของบริษัทส่งพัสดุด่วนของไทยที่จะนำหุ้นเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ

“การเติบโตของกลุ่ม C2C ลูกค้าส่งถึงลูกค้านั้นมีความสำคัญมากกับธุรกิจของเรา ทิศทางที่มุ่งต่อไปคือการขยายพื้นที่ให้บริการมากขึ้น เจาะพื้นที่ใหม่ ลูกค้าใหม่ เเละธุรกิจใหม่ๆ”

โตตาม “อีคอมเมิร์ซ” 

ตามที่ทราบกันว่า การเติบโตของธุรกิจขนส่งนั้นยึดโยงกับธุรกิจ “อีคอมเมิร์ซ” และ “โซเชียลมีเดีย” โดยยอดค้าปลีกออนไลน์ในไทยนั้น มีการเติบโตเฉลี่ย 22.2% (ปี 2557-2562) เเละคาดว่าอีก 5 ปีข้างหน้าจะเติบโตขึ้น 26.7%

ในปี 2563 ตลาดอีคอมเมิร์ซมีมูลค่ารวมอยู่ที่ 2,285 ล้านบาท และคาดว่าจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเป็นกว่า 5,406 ล้านบาทในปี 2567

ส่วนการพัฒนาของระบบ “โมบายเเบงกิ้ง” ก็ช่วยเร่งการเติบโตของรายได้ในตลาดอีคอมเมิร์ซ โดยมีมูลค่าธุรกรรมเติบโตเฉลี่ย 53.1% (ปี 2557-2562) เเละคาดว่าอีก 5 ปีข้างหน้าจะเติบโตขึ้น 22.1%

ทาง “เคอรี่” ตั้งเป้าว่าบริษัทจะขยายไปพร้อมๆ กับอุตสาหกรรมซื้อของออนไลน์ที่เฟื่องฟู โดยหวังจะมีอัตราเติบโตเฉลี่ยราว 20% ภายในอีก 5 ปี รั้งตำเเหน่งเบอร์ 1 ขนส่งเอกชนเมืองไทย 

กลยุทธ์สู้เเข่งดุ : เข้าหาลูกค้าตาม “ซอกซอย” 

KEX คาดว่าหลัง IPO ในตลาดหุ้น จะระดมทุนได้ราว 8,400 ล้านบาท โดยจะนำเงินไปใช้ขยายธุรกิจ ปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงาน ชำระคืนเงินกู้ และเป็นเงินทุนหมุนเวียนในกิจการ

ผู้บริหารเคอรี่ เน้นย้ำว่า จะยังคงใช้เเนวคิด “Kerry Express Everywhere” เพื่อเเข่งขันในตลาด ซึ่งจะมีการปรับตัวเข้ากับพฤติกรรมผู้บริโภคให้มากขึ้น เพิ่มช่องทางการชำระเงิน ลงทุนในเทคโนโลยีดิจิทัล อย่างการพัฒนาระบบจัดเก็บเเละกู้คืนข้อมูลในกรณีฉุกเฉิน การวิเคราะห์ข้อมูล เเละหาพันธมิตรใหม่ๆ

รวมไปถึงการพิจารณา “ควบรวมกิจการ” ในธุรกิจที่น่าสนใจเเละนำมาต่อยอดเพิ่มมูลค่าได้ ซึ่งตอนนี้ “เล็งไว้” หลายเจ้า เเต่ยังไม่สามารถเปิดเผยได้ในขณะนี้ 

วราวุธ นาถประดิษฐ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานปฏิบัติการ บอกว่า สิ่งที่ให้ความสำคัญมากที่สุดคือ การขยายธุรกิจ ขยายจุดส่งพัสดุให้เข้าถึงผู้บริโภคมากที่สุด จากตอนนี้ที่มีจุดให้บริการตาม “ถนนสายหลัก” ต่อไปจะเข้าไปหาลูกค้าตาม “ซอกซอย” ให้ได้

ทั้งนี้ จุดให้บริการ 15,000 แห่งนั้น ปัจจุบันเป็นสาขาที่เคอรี่ดำเนินการเองราว 2,000 เเห่ง เป็นการจับมือกับพันธมิตรอีก 3,000 เเห่ง เเละที่เหลืออีกกว่า 1 หมื่นเเห่งเป็นสาขาของ SME รายย่อย

เมื่อถามถึงการเเข่งขันด้าน “ราคา” ที่หลายคนมองว่าเคอรี่อาจจะมีค่าบริการที่สูงกว่าเจ้าอื่นในตลาดนั้น วราวุธ ตอบว่า บริษัทมีการดูเเลเรื่องนี้โดยตลอด เช่นการจัดเรตราคาตามหมวดหมู่ของสินค้า โดยอยากให้ผู้บริโภคเห็นถึง “คุณภาพ” ในการจัดส่งว่ามีความชัวร์เเละคุ้มค่า ในราคาที่ไม่เเพงไปกว่ากันมากนัก 

ทั้งนี้ คู่เเข่งรายสำคัญที่เพิ่งเข้ามาตีตลาดใหม่อย่าง “แฟลช เอ็กซ์เพรส” ก็เพิ่งได้รับการระดมทุน Series D มูลค่า 3,000 ล้านบาท ซึ่งจะทำให้เกิดการลงทุน “เเย่งลูกค้า” กันขึ้นในเร็วๆ นี้อย่างเเน่นอน

Photo : Shutterstock

เคาะราคา 28 บาทต่อหุ้น 

KEX เคาะราคาขายหุ้น IPO จำนวน 300 ล้านหุ้น ที่ราคา 28.00 บาทต่อหุ้น จากช่วงราคา 24-28 บาทต่อหุ้น มีอัตราส่วนราคาหุ้นต่อกำไรสุทธิ (P/E) ที่ 33 เท่า ใกล้เคียงกับธุรกิจขนส่งพัสดุในระดับภูมิภาคที่มีค่า P/E ที่ 20-30 เท่า

พร้อมเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย วันแรก 24 ธ.ค. 2563 เปิดให้จองซื้อตั้งแต่ 8-18 ธ.ค. นี้ โดยมีธนาคารไทยพาณิชย์ เเละบริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน เเละเป็นผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่ายร่วม

ในราคาที่ 28 บาทต่อหุ้นนั้น ถือเป็นราคาสูงสุดของช่วงราคาเสนอขายเบื้องต้น หลังนักลงทุนสถาบันแสดงความต้องการจองซื้อท่วมท้น มากกว่า 23 เท่า จากจำนวนหุ้นที่จัดสรรไว้ โดยมีกองทุนให้ความสนใจมากกว่า 100 กองทุน

การดำเนินการเสนอขายหุ้น IPO ไม่เกิน 300 ล้านหุ้นครั้งนี้ คิดเป็น 17.24% ของหุ้นทั้งหมด เเบ่งให้รายย่อยจำนวน 100 ล้านหุ้น (ครึ่งหนึ่งเป็นรายย่อยผู้มีอุปการคุณ) เเละที่เหลืออีก 200 ล้านหุ้น เป็นกลุ่มนักลงทุนสถาบัน โดยมุ่งเน้นไปยังกองทุนที่มีกลยุทธ์การ “ลงทุนระยะยาว” เป็นหลัก

ลุ้นเข้า SET50 กลางปีหน้า 

วีณา เลิศนิมิตร กรรมการบริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ จำกัด ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงินของ KEX มองว่า หลังการระดมทุนของเคอรี่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ ในวันที่ 24 ธ.ค. นั้น มีโอกาสที่บริษัทจะเข้าไปคำนวณในดัชนี SET 50 ได้ในช่วงกลางปี 2564 เพราะมองว่าเป็นหุ้นที่มีการเติบโตสูง ตามเทรนด์ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ซึ่งมีนักลงทุนให้ความสนใจเป็นอย่างมาก อาจทำให้มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดแตะระดับแสนล้านบาทได้ ทั้งนี้ หากประเมินตามราคา IPO ที่ 28 บาทนั้น เคอรี่จะมีมาร์เก็ตแคปราว 4.87 หมื่นล้านบาท

การก้าวเข้าสู่ปีที่ 15 ของ เคอรี่ เอ็กซ์เพรส ประเทศไทย หลังระดมทุน 8.6 พันล้านนั้น ต้องจับตาความเคลื่อนไหวกันต่อไป โดยเฉพาะผู้บริโภคอย่างเราๆ ที่เป็นหนึ่งในลูกค้าผู้ที่จะได้ประโยชน์จากสงครามธุรกิจนี้ 

 

 

]]>
1310803
ธุรกิจดาวรุ่ง! SCB ประเมิน “ขนส่งพัสดุ” ปี 2020 โตพุ่ง 35% แข่งขันหนัก-ค่าบริการลดลง https://positioningmag.com/1261690 Thu, 23 Jan 2020 13:27:28 +0000 https://positioningmag.com/?p=1261690
  • ธุรกิจบริการ “ขนส่งพัสดุ” คือธุรกิจดาวรุ่งแห่งปีนี้ โดย SCB EIC ประเมินมูลค่าทั้งตลาดอยู่ที่ 6.6 หมื่นล้านบาท เติบโต 35% จากปีก่อน ควบคู่ไปกับการเติบโตของอี-คอมเมิร์ซ
  • 2 เจ้าใหญ่ได้แก่ ไปรษณีย์ไทย และ Kerry ครองส่วนแบ่งตลาดรวม 80% แต่มีผู้เล่นใหม่เข้ามาเรื่อยๆ ทำให้การแข่งขันดุเดือด ค่าบริการลดลงเหลือเริ่มต้น 27 บาท เพื่อชิงลูกค้า
  • บริษัทจะยั่งยืนได้ต้องเป็นพาร์ตเนอร์กับแพลตฟอร์มอี-คอมเมิร์ซ เจาะลูกค้าเฉพาะกลุ่ม มีโมเดลธุรกิจที่ลดต้นทุน
  • อี-คอมเมิร์ซโต ขนส่งพัสดุก็โตตาม! SCB EIC เปิดรายงานวิเคราะห์อุตสาหกรรมขนส่งพัสดุของไทย พบว่าภาคธุรกิจนี้มีโอกาสเติบโต 35% YoY ในปี 2020 ทำให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้นเป็น 6.6 หมื่นล้านบาท เนื่องจากธุรกิจอี-คอมเมิร์ซซึ่งเป็นแรงผลักดันสำคัญยังคงเติบโต โดยมองว่าปีนี้อี-คอมเมิร์ซจะโตขึ้นอีก 17% YoY ทำให้มีมูลค่าแตะ 1 แสนล้านบาท

    ภาพรวมตลาดมีการแข่งขันกันดุเดือดขึ้น เพราะนอกจากผู้เล่นหน้าเก่าที่เราคุ้นเคยอย่าง “ไปรษณีย์ไทย” และ “Kerry Express” ยังมีผู้เล่นหน้าใหม่เข้ามาห้ำหั่นเพิ่มขึ้นอีก สภาวะตลาดเป็นอย่างไร และ SCB EIC มองเทรนด์อนาคตจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป ติดตามต่อได้ด้านล่าง

     

    ไปรษณีย์ไทย-Kerry ยังเป็นเจ้าตลาด

    ข้อมูลจากปี 2018 ระบุส่วนแบ่งตลาดธุรกิจขนส่งพัสดุ มีเจ้าตลาด 2 รายที่ครองส่วนแบ่งรวมกัน 80% ได้แก่ ไปรษณีย์ไทย มาร์เก็ตแชร์ 41% Kerry Express ตามมาแบบหายใจรดต้นคอที่ 39% ส่วน Lazada Express ซึ่งรับขนส่งให้แพลตฟอร์มของตัวเองมีส่วนแบ่งที่ 8% นอกเหนือจากนี้เป็นบริษัทรายอื่นๆ เช่น Nim Express ส่วนแบ่ง 3% DHL ส่วนแบ่ง 2%

    อย่างไรก็ตาม แค่เพียงในรอบ 2 ปีที่ผ่านมา (2018-2019) มีผู้เล่นใหม่ที่เป็นทุนใหญ่จากต่างชาติเข้าตลาดมาถึง 3 ราย ได้แก่ Best Logistics ซึ่งมี Alibaba เป็นหุ้นส่วน, J&T Express ทุนจีนที่ขณะนี้เป็นเบอร์ 1 ธุรกิจขนส่งพัสดุในอินโดนีเซีย และ CJ Logistics บริษัทในเครือธุรกิจขนาดใหญ่ของเกาหลีใต้ และยังมีบริการเดลิเวอรีส่งด่วน เช่น Lalamove, Grab Express, Lineman เข้ามาชิงตลาดในเขตกรุงเทพฯ-ปริมณฑลอีกด้วย

     

    กดค่าบริการเริ่มต้นเหลือเฉลี่ย 27 บาท

    สภาวะการแข่งขันที่สูงขึ้นทำให้ผู้ประกอบการเลือกใช้กลยุทธ์ด้านราคา โดย SCB พบว่าค่าบริการเริ่มต้นเฉลี่ยทั้งตลาดลดลงเหลือ 27 บาทในปี 2019 เทียบกับช่วงปี 2016-2018 ซึ่งเฉลี่ยเริ่มต้น 34 บาท หากเจาะลึกไปรายบริษัท จะพบว่าผู้เล่นหน้าใหม่อย่าง J&T Express คือผู้ดัมพ์ราคาลงมาเริ่มต้นเพียง 19 บาท หรือผู้เล่นดั้งเดิมอย่าง ไปรษณีย์ไทย ก็กดราคาลงมาเริ่มต้นที่ 25 บาท และปีนี้ตลาดอาจจะลดราคาลงอีกเพื่อดึงดูดลูกค้า

    การกดราคาลงเกิดขึ้นได้ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการขนส่งเฟื่องฟูทำให้ต้นทุนถูกลงเพราะเกิดการประหยัดต่อขนาด (economy of scale) สิ่งนี้เป็นประโยชน์กับผู้บริโภค

    นอกจากนี้ ผู้ประกอบการยังแข่งขันกันให้การจัดส่งรวดเร็วและปลอดภัยขึ้น โดยขณะนี้การจัดส่งพัสดุทำได้เร็วที่สุดคือภายในวันเดียวสำหรับพื้นที่กรุงเทพฯ-ปริมณฑล และภายในวันรุ่งขึ้นสำหรับต่างจังหวัด เทียบกับในอดีตต้องใช้เวลาจัดส่ง 5-7 วัน

    ส่วนความปลอดภัยนั้นเป็นเรื่องที่ผู้บริโภคพิจารณามากขึ้น เพราะสินค้าที่ส่งมีมูลค่าสูงขึ้น อ้างอิงจากสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA) มูลค่าเฉลี่ยของสินค้าที่ส่งเพิ่มจาก 1,300 บาทต่อชิ้นในปี 2017 มาเป็น 1,700 บาทต่อชิ้นในปี 2018

     

    จะเกิดอะไรขึ้นในโลกแห่งการขนส่งพัสดุ

    SCB มองว่า เทคโนโลยีจะมีส่วนสำคัญมากขึ้นในธุรกิจนี้ เช่น รถขนส่งมี GPS ติดตั้ง คลังสินค้าระบบอัจฉริยะ ใช้หุ่นยนต์แพ็กสินค้า กระทั่งใช้ยานยนต์ไร้คนขับหรือการใช้โดรนส่งในพื้นที่ห่างไกล

    อย่างไรก็ตาม ในระยะใกล้ 2-3 ปีนี้ อาชีพ “คนขับรถ” จะมีความต้องการสูงขึ้น ประเมินจากทั้งบริษัทขนส่งพัสดุข้ามจังหวัดและบริษัทเดลิเวอรี่ส่งด่วน คาดว่าจะต้องการคนขับรถเพิ่มอีก 50,000 คน

    รวมถึงศูนย์กระจายสินค้าและร้านบริการรับพัสดุจะเพิ่มจำนวนขึ้น ซึ่ง SCB ให้คำแนะนำสำหรับผู้ประกอบการรายย่อยที่ต้องการเปิดร้านแฟรนไชส์ พึงคำนึงถึงทุกปัจจัยให้รอบด้าน เช่น ดีมานด์ผู้ใช้ในพื้นที่ ส่วนแบ่งรายได้จากแบรนด์ ฐานลูกค้าของแบรนด์นั้นๆ การทับซ้อนจากร้านบริการพัสดุที่มีอยู่แล้วในพื้นที่ทั้งแบรนด์เดียวกันและคู่แข่ง

     

    แข่งขันหนัก ใครกันที่จะรอด

    สำหรับผู้ประกอบการรายใหญ่หรืออผู้ให้บริการขนส่งพัสดุที่กำลังต่อสู้กันในตลาด SCB มองว่าผู้ที่จะอยู่รอดได้ควรจะใช้กลยุทธ์เหล่านี้

    1.เป็นพันธมิตรกับแพลตฟอร์มอี-คอมเมิร์ซ เพราะกลุ่มนี้เป็นตัวกลางที่ทำให้เกิดการจัดส่งพัสดุจำนวนมาก แม้ว่าจะถูกหักค่าคอมมิชชั่นจากเจ้าของแพลตฟอร์มแต่จะทำให้ได้ลูกค้ามากขึ้น ปัจจุบันมีบริษัทที่เป็นพาร์ทเนอร์กับทั้ง Lazada, Shopee และ JD Central คือ Kerry และ DHL

    2.สร้างความแตกต่าง เจาะกลุ่มเฉพาะ ยกตัวอย่างเช่น SCG Express เป็นเจ้าแรกที่จัดส่งพัสดุควบคุมอุณหภูมิได้ หรือ Lalamove กับ Deliveree มีบริการเรียกรถขนส่งได้ 24 ชม. และจองล่วงหน้าได้

    3.โมเดลความร่วมมือ เป็นการหาทางบริหารต้นทุน ตัวอย่างเช่น Best Express ใช้วิธีปล่อยสิทธิแฟรนไชส์ในการบริหารจัดส่งพัสดุช่วง Last-mile (การส่งขั้นสุดท้ายที่จะส่งให้บ้านลูกค้า) ให้กับผู้ประกอบการท้องถิ่น ตัวบริษัทจะดูแลเฉพาะศูนย์กระจายสินค้า การขนส่งระหว่างศูนย์ฯ และซอฟต์แวร์ระบบ ทำให้ประหยัดต้นทุนมากกว่า

    ต้องติดตามกันต่อว่าใครจะอยู่หรือไปในปี 2020!!

    ]]>
    1261690
    ธุรกิจขนส่งพัสดุระอุ! Ship Smile รวมทุกแบรนด์ปั้นศูนย์บริการ ปูพรม 2,000 สาขา เขย่าบัลลังก์ “เคอรี่” https://positioningmag.com/1245394 Thu, 05 Sep 2019 12:05:36 +0000 https://positioningmag.com/?p=1245394 การเติบโตของตลาดอีคอมเมิร์ซ จากข้อมูลของ ETDA ปี 2561 มูลค่าอยู่ที่ 3.05 ล้านล้านบาท เติบโต 9-10% คาดการณ์ถึงปี 2565 อีคอมเมิร์ซไทยยังร้อนแรง น่าจะเติบโตเฉลี่ย 22% ถือเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิด “ผู้เล่น” หน้าใหม่ในธุรกิจขนส่งพัสดุทั้งไทยและต่างชาติ ดาหน้าเข้ามาขยายธุรกิจ หวังชิงเม็ดเงินกว่า 28,000 ล้านบาท 

    ปัจจุบัน “ผู้นำ” ในตลาดขนส่งพัสดุ ฝั่งภาครัฐเบอร์หนึ่ง คือ ไปรษณีย์ไทย และส่วนเบอร์ 2 ของตลาดในฟากเอกชน คือ Kerry Express โดยเบอร์ 1 และ 2 ครองส่วนแบ่งตลาดร่วมกันกว่า 80% แต่ทุกแบรนด์ก็มีโอกาสเข้ามาแย่งเค้กก้อนนี้ได้เช่นกัน ในวันที่อีคอมเมิร์ซยังโตไม่หยุด

    Ship Smile ปั้นศูนย์บริการรวมทุกแบรนด์

    สฐีรณัฐ ลาภไกวัล ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ชิปป์สไมล์ เซอร์วิส จำกัด (Ship Smile Services) ผู้ให้บริการร้านสารพัดงานบริการ ทั้งจุดรับส่งพัสดุ จ่ายบิลค่าบริการต่างๆ กล่าวว่า ธุรกิจอีคอมเมิร์ซในประเทศไทย ยังขยายตัวได้อีก เพราะปัจจุบันมีสัดส่วนเพียง 3% ของธุรกิจค้าปลีก หากไปได้ถึง 10% นั่นเท่ากับธุรกิจขนส่งจะขยายตัวได้มหาศาลเช่นกัน

    สฐีรณัฐ ลาภไกวัล

    บริษัทจึงเห็นโอกาสในการสร้างธุรกิจและเปิดให้บริการ Ship Smile Services ศูนย์รวมบริการขนส่งจากพันธมิตรหลายแบรนด์ ไม่ว่าจะเป็น ไปรษณีย์ไทย, แฟลช เอ็กซ์เพรส, อัลฟ่า, ดีเอชแอล เป็นต้น ปัจจุบันเปิดให้บริการแล้ว 600 สาขาทั่วประเทศ

    ลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการในร้าน Ship Smile สามารถเลือกได้ว่าจะใช้บริการของบริษัทขนส่งรายใด โดยอัตราค่าส่งเท่ากับราคาที่ทุกแบรนด์ให้บริการในสาขาของตัวเอง โดย “ไม่คิดค่าบริการเพิ่ม” ราคาเริ่มต้นที่ 25 บาท และให้บริการเก็บเงินปลายทาง (COD) รูปแบบการหารายได้มาจากแบ่งกำไรจากยอดส่งพัสดุร่วมกับธุรกิจขนส่งที่เป็นพันธมิตร

    นอกจากนี้ในร้านยังให้บริการพื้นฐานด้านอื่นๆ เช่น การชำระเงินออนไลน์ต่างๆ การทำเรื่องพรบ. การต่อภาษีรถ โดยจะเพิ่มเติมเซอร์วิสใหม่ๆ เข้ามาต่อเนื่อง เช่น จ่ายเงินจองตั๋วโดยสาร จุดรับเอกสารการขอสินเชื่อของธุรกิจเช่าซื้อ ลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการปัจจุบันในขณะนี้เกือบ 100% ยังเป็นบริการส่งพัสดุ โดยเป็นกลุ่มพ่อค้าแม้ค้าออนไลน์ส่งปริมาณมากและลูกค้าทั่วไป

    ปั้นโมเดลแฟรนไชส์ 2,000 แห่งปี 2563

    บิสสิเนส โมเดล ของ Ship Smile เป็นการขยายสาขาแฟรนไชส์ทั้งหมด ช่วงแรกเป็นร้านเต็มรูปแบบ หรือพื้นที่อาคารพาณิชย์ 1 คูหา คิดค่าแฟรนไชส์ครั้งเดียว ราคา 2.9 แสนบาท ซึ่งจะได้รับการตกแต่งร้านและติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ ให้ครบ อีกรูปแบบคือ Drop Off เป็นจุดรับบริการขนาดเล็ก ค่าแฟรนไชส์ 29,000 บาท ซึ่งจะได้รับการตกแต่งและอุปกรณ์เช่นเดียวกัน

    สิ้นปีนี้คาดว่าจะมีสาขา Ship Smile ราว 1,000 แห่ง โฟกัสสาขาไซส์เล็ก Drop Off เป็นหลักสัดส่วน 80% เน้นแฟรนไซส์ที่มีหน้าร้านทำธุรกิจอื่นอยู่แล้ว และเปิดแฟรนไชส์ Ship Smile เป็นอีกจุดบริการในพื้นที่เดิม เพื่อเพิ่มโอกาสหารายได้ เช่น ร้านกาแฟ หน้าร้านของพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์

    หลังเปิดบริการมาแล้ว 2 ปี มีสาขาทั่วไทยกว่า 600 สาขา คาดว่าสิ้นปีนี้ที่จะครบ 1,000 สาขา จะทำรายได้รวมกว่า 80 ล้านบาท เติบโตกว่า 1,000% ปัจจุบันมียอดรับส่งพัสดุ 4 แสนชิ้นต่อเดือน สิ้นปีนี้คาดเพิ่มเป็น 1 ล้านชิ้นต่อเดือน

    “เราวางเป้าหมายปี 2563 จะมีสาขาครบ 2,000 แห่ง ครอบคลุมในทุกตำบลเล็กๆ ไปจนถึงอำเภอ และเพิ่มบริการส่งสินค้าไปยังต่างประเทศอีกด้วย”

    ประกบทำเล “เคอรี่” ชี้ดีมานด์ยังมี

    จากแนวโน้มการเติบโตของตลาดอีคอมเมิร์ซในไทย ทำให้มีพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์หน้าใหม่เกิดขึ้นตลอดเวลา รวมทั้งมีการพัฒนาแพลตฟอร์มการขายสินค้าใหม่ๆ จึงมองว่าตลาดอยู่ในสภาวะ Supply น้อยกว่า Demand ก็คือสินค้าในตลาดออนไลน์มากกว่าขนส่งที่ให้บริการ จึงเป็นโอกาสของธุรกิจขนส่งพัสดุที่ยังเปิดสาขาได้อีก

    กลยุทธ์การเลือกทำเลเปิดสาขาของ Ship Smile จะเปิดประกบในพื้นที่ที่มีสาขาของ “เคอรี่ เอ็กซ์เพรส” เปิดให้บริการอยู่ เพราะเชื่อว่ายังมีดีมานด์ จากการที่ลูกค้าต้องรอต่อคิวใช้บริการ ซึ่งเป็นโอกาสที่จะมาใช้เซอร์วิสของ Ship Smile ที่มีให้เลือกหลายแบรนด์ขนส่งในร้านเดียว

    “ผู้นำอันดับหนึ่งในตลาดขนส่งพัสดุขณะนี้ยังเป็นไปรษณีย์ไทย ด้วยจำนวนสาขาคิดว่าคงแซงได้ยาก ส่วนอันดับ 2 เคอรี่ เป็นผู้เล่นที่ยังมีโอกาสเข้าไปแข่งขันชิงลูกค้าได้ จากกลยุทธ์รวมทุกแบรนด์ขนส่งไว้ในร้านเดียว ก็มีโอกาสที่ลูกค้าจะไหลมาที่เราได้เช่นกัน”

    ]]>
    1245394
    “ทุนจีน” ธุรกิจขนส่งพัสดุดาหน้าบุกไทย J&T Express ขอยืนหนึ่งตลาดอีคอมเมิร์ซ ชูจุดขาย “ไม่มีวันหยุด” https://positioningmag.com/1244891 Mon, 02 Sep 2019 11:59:12 +0000 https://positioningmag.com/?p=1244891 ธุรกิจอีคอมเมิร์ซไทย เป็นหนึ่งในตลาดเติบโตสูงมาต่อเนื่อง ปีที่ผ่านมาทุกประเภทมีมูลค่ารวม 3.2 ล้านล้านบาท เทรนด์ดังกล่าวส่งผลให้ธุรกิจโลจิสติกส์และการจัดส่งสินค้าเป็นอีกตลาดที่มีผู้เล่นหน้าใหม่เข้ามาชิงเค้กธุรกิจโลจิสติกส์ทางบกมูลค่ากว่า 1.45 แสนล้านบาทอย่างดุเดือด

    แต่หากโฟกัสเฉพาะ “ธุรกิจขนส่งพัสดุ” ปีก่อนมีมูลค่ากว่า 28,000 ล้านบาท ยังเติบโตได้ปีละ 10 – 20% “ผู้นำ” ในตลาดนี้ ต้องยกให้ ไปรษณีย์ไทย และ Kerry Express ครองตลาดร่วมกันกว่า 80%

    “ทุนจีน” ธุรกิจขนส่งพัสดุรุกหนักตลาดไทย  

    ความเคลื่อนไหวที่ผ่านมาพบผู้ประกอบการหน้าใหม่ โดยเฉพาะ “ทุนจีน” เข้ามารุกธุรกิจขนส่งพัสดุในไทยอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็น Flash Express ที่มีทุนจีนร่วมกับผู้บริหารไทย คาดสิ้นปี 2562 มี 1,700 สาขา เป็นการลงทุนเองทั้งหมด วางเป้าหมายสิ้นปีนี้จัดส่งสินค้ารวม 40 ล้านชิ้น

    กลุ่มทุนจีน อีกรายที่เปิดตัวช่วงต้นปีนี้ คือ Best Express ในเครือ BEST INC หนึ่งในยักษ์ใหญ่ด้านโลจิสติกส์ของจีน และมี “อาลีบาบา” ร่วมถือหุ้น โดยเข้ามาร่วมทุนกับผู้ประกอบการไทย ลงทุนโลจิสติกส์ และธุรกิจขนส่งพัสดุ ด้วยโมเดลขยายสาขาแฟรนไชส์ 100% ภายในสิ้นปีนี้ ตั้งเป้าขยายจุดให้บริการไว้ที่ 2,200 สาขาทั่วประเทศ

    ล่าสุด J&T Express ทุนจีนอีกรายในธุรกิจขนส่ง ได้เข้ามาลงทุนขยายสาขาตั้งแต่เดือน มี.ค. 2562 ปัจจุบันให้บริการครอบคลุม “ทุกอำเภอ” ทั่วประเทศ สิ้นปีนี้จะเปิดครบ 1,000 สาขา โดยเป็นการลงทุนเองทั้งหมดไม่มีแฟรนไชส์ รวมทั้งเปิดศูนย์กระจายสินค้า 15 แห่ง ปีแรกในเงินลงทุนรวม 2,500 ล้านบาท

    เจาะอีคอมเมิร์ซเปิด 365 วัน

    บรูซ หลิว ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เจแอนด์ที เอ็กซ์เพรส ประเทศไทย กล่าวว่า ธุรกิจของ J&T Express เป็นทุนจีนที่จดทะเบียนบริษัทที่ฮ่องกง เริ่มขยายธุรกิจขนส่งพัสดุแห่งแรกที่อินโดนีเซีย ปัจจุบันครอบคลุม 7 ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ อินโดนีเซีย เวียดนาม มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ กัมพูชา และไทย เพื่อรองรับธุรกิจอีคอมเมิร์ซเติบโต

    โดย J&T Express วางตำแหน่งเป็นผู้ให้บริการจัดส่งพัสดุในธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ซึ่งเป็นเทรนด์เติบโตสูงในไทย สะท้อนได้จากปีที่ผ่านมาตลาดโซเซียล คอมเมิร์ซ เติบโต 80% ลูกค้าหลักของ เจแอนด์ที จะเป็นผู้ประกอบการ โซเชียล คอมเมิร์ซ ทั้งเอสเอ็มอี พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์และบุคคลทั่วไป รวมทั้งลูกค้าผู้ประกอบการอีคอมเมิร์ซ ในกลุ่มมาร์เก็ตเพลส เริ่มต้นที่ ช้อปปี้ (Shopee) และมีแผนจะขยายพันธมิตรเพิ่ม

    จุดขายที่แตกต่างของ เจแอนด์ที คือการให้บริการ 365 วัน ไม่มีวันหยุด ซึ่งในประเทศไทยยังไม่มีรายใดให้บริการทุกวัน ทุกสาขา เหมือนเจแอนด์ที กลยุทธ์ให้บริการทุกวันเพื่อตอบโจทย์ผู้ประกอบการอีคอมเมิร์ซ ที่ต้องการส่งสินค้าทุกวัน เพราะผู้บริโภคเองก็มีพฤติกรรมซื้อสินค้าทุกวันไม่เว้นวันหยุด หากผู้ประกอบการออนไลน์ สามารถส่งสินค้าได้ทุกวัน ก็จะสร้างรายได้มากขึ้นและลูกค้าพอใจในการใช้บริการ ซึ่งจะทำให้ธุรกิจขนส่งสินค้าเติบโตตามไปด้วย

    นอกจากนี้ยังมีเซอร์วิสระบบติดตามพัสดุ ที่สามารถตรวจสอบสถานะพัสดุและราคาค่าจัดส่งพัสดุแบบเรียลไทม์ ผ่าน 3 ช่องทาง ได้แก่ แอปพลิเคชั่น เว็บไซต์ ศูนย์บริการลูกค้า Call Center 24 ชั่วโมง ปัจจุบันมียอดส่งพัสดุวันละ 1 แสนชิ้น สิ้นปีนี้วางเป้าหมาย 3 แสนชิ้น ราคาเริ่มต้นค่าบริการ 35 บาท

    “เจแอนด์ที วางเป้าหมายเป็นผู้นำธุรกิจขนส่งสินค้ากลุ่มอีคอมเมิร์ซในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งประเทศไทย ภายใน 4 ปี”

    สำหรับการเปิดตัวอย่างเป็นทางการในประเทศไทย เจแอนด์ที เลือก มาริโอ้ เมาเร่อ เป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์สื่อสารแบรนด์และสร้างการรับรู้เซอร์วิสต่างๆ ในธุรกิจขนส่งพัสดุ.

    ]]>
    1244891
    “แฟลช เอ็กซ์เพรส” ดึงรายย่อยเปิดจุดรับส่งพัสดุ Flash Home สิ้นปีทะลุ 2,000 สาขาทั่วประเทศ https://positioningmag.com/1241466 Tue, 06 Aug 2019 03:00:30 +0000 https://positioningmag.com/?p=1241466 ธุรกิจอีคอมเมิร์ซไทยยังอยู่ในเทรนด์เติบโตสูงเช่นเดียวกับทั่วโลก ปีที่ผ่านมามีมูลค่ากว่า 3.2 ล้านล้านบาท เซ็กเมนต์ B2C (Business to Consumer) ขยายตัวสูงเป็นอันดับ 1 ของอาเซียน จากการพัฒนาเทคโนโลยีและระบบอีเพย์เมนต์ที่สะดวก ส่งผลให้เกิดผู้ซื้อผู้ขายในธุรกิจออนไลน์เพิ่มขึ้น ช่วยหนุนธุรกิจขนส่งเติบโตตามไปด้วย

    คมสันต์ ลี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจแฟลช (FLASH GROUP) ผู้ให้บริการอีคอมเมิร์ซครบวงจร กล่าวว่าแนวโน้มตลาดอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยยังคงอยู่ในช่วง “ขาขึ้น” แฟลช กรุ๊ป ยังเห็นโอกาสการขยายตัวในธุรกิจนี้ โดยเฉพาะกลุ่ม B2C

    โดยได้เปิดตัวธุรกิจ Flash Home รูปแบบ “จุดรับส่งพัสดุ” ให้ผู้สนใจทำธุรกิจสมัครเป็นสมาชิก Flash Home โดยใช้สถานที่ บ้าน ร้านค้า อาคารพาณิชย์ ปรับเปลี่ยนเป็นจุดให้บริการ ถือเป็นการสร้างโอกาสทางธุรกิจและสร้างรายได้ให้กับตัวแทน และเป็นอีกช่องทางส่งสินค้าในชุมชน Flash Home

    เปิดตัวเมื่อต้นปี 2562 เริ่มต้นที่ 100 สาขา เน้นคนทั่วไป ผู้ประกอบการรายย่อย และพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ที่สนใจ ต้องการเป็นเจ้าของธุรกิจเข้ามาสมัครเป็นสมาชิก เพื่อเป็นตัวแทนบริการจุดรับส่งพัสดุ ซึ่งเป็นธุรกิจที่ลงทุนไม่สูง เพราะใช้สถานที่ที่ผู้สมัครมีอยู่แล้วในปัจจุบัน ส่วนผลตอบแทน จะมาจากรายได้จากค่าขนส่ง รายได้จากการขายบรรจุภัณฑ์ Flash express และค่าธรรมเนียมธุรกิจ COD

    ช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา Flash Home เปิดสาขากว่า 1,100 สาขาทั่วประเทศ คาดว่าสิ้นปีนี้จะมีสาขารวม 2,000 สาขาทั่วประเทศ

    ตั้งแต่เดือนมกราคม 2562 ถึงปัจจุบันมียอดจัดส่งพัสดุไปแล้วกว่า 1.4 ล้านชิ้น สร้างกำไรให้แก่สมาชิกโครงการราว 8.5 ล้านบาท การจัดงานแนะนำธุรกิจ Flash Home ให้ผู้สนใจล่าสุดมีผู้เข้าร่วมกว่า 700 คน เชื่อว่าธุรกิจอีคอมเมิร์ซไทยยังคงเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง เป็นโอกาสของธุรกิจขนส่งและ Flash Home ในการขยายสาขาและสมาชิก

    ]]>
    1241466
    “ไปรษณีย์ไทย” สู้อย่างไร ท่ามกลางคู่แข่งรุมเร้า https://positioningmag.com/1232609 Mon, 03 Jun 2019 00:55:02 +0000 https://positioningmag.com/?p=1232609 ในขณะที่ต้องผจญศึกรอบด้าน บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด (ปณท) ยังคงมีอัตราการเติบโตได้ต่อเนื่อง แม้ว่าการเติบโตในปีนี้จะน้อยกว่า 2 – 3 ปีที่ผ่านมา ส่งผลให้การตั้งเป้าหมายอัตราเติบโตปี 62 เป็นเลขหลักเดียวไม่เกิน 10%

    ไม้ตายที่ ปณท วางไว้รับมือกับภาวะยอดขายโตยาก คือการมองหาธุรกิจใหม่แบบค่อยเป็นค่อยไป ภายใต้จุดยืนของไปรษณีย์ไทย ที่ยังคงมุ่งเน้นการเป็นบริษัทขนส่ง ขึ้นอยู่กับว่าจะเป็นผู้ขนส่งอะไร สินค้า บริการ หรือแม้แต่เงิน ทุกอย่างที่ขนส่งได้จึงถูกมองเป็นโอกาสของ ปณท ทั้งหมด

    ภาพใหญ่ของธุรกิจ ปณท จึงขยายจากการส่งจดหมาย มาสู่การส่งไปรษณียภัณฑ์ที่เป็นกล่องใหญ่ขึ้น ล่าสุด ปณท เริ่มยุคอีวอลเล็ตและให้บริการ COD เก็บเงินปลายทาง ซึ่งอนาคต ปณท อาจต่อยอดไปสู่ธุรกิจสินเชื่อรายย่อย โดยที่ยังคงบริการธนาณัติไว้ต่อไปเพราะยังมีคนใช้งานสม่ำเสมอ

    พัสดุน้อยลงหรือคู่แข่งเยอะขึ้น?

    สมร เทิดธรรมพิบูล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด (ปณท) บอกปัดว่ายังไม่แน่ใจถึงสาเหตุที่ทำให้ ปณท เติบโตน้อยลงกว่า 3 ปีก่อน แต่เลือกยกตัวอย่างว่าอาจเป็นเพราะคนไทยเริ่มสั่งของน้อยลงก็ได้ ซึ่งเริ่มเห็นมากขึ้นในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา จุดนี้สมรยืนยันว่า ปณท ไม่กลัวคู่แข่งที่รุมเร้าเพราะความเชี่ยวชาญที่ ปณท สั่งสมมานาน จนมั่นใจในศักยภาพที่แข่งขันได้

    ปัจจุบัน คู่แข่งของไปรษณีย์ไทยมีหลากหลายมาก ตั้งแต่ DHL, Kerry, SCG Express, นิ่มซี่เส็ง ยังไม่นับเลือดใหม่อย่าง Alpha, Flash, Ninja Van รวมถึงสตาร์ทอัพสายแอปอย่าง Lineman ที่จับมือกับ La la move เช่นเดียวกับ Grab และ Get ที่จัดบริการส่งพัสดุเอกสารแบบทันใจเพื่อตอบตลาด

    ท่ามกลางคู่แข่งเหล่านี้ ปณท ยืนยันว่ายืนหยัดได้ สถิติปี 2561 ไปรษณีย์ไทยโชว์ว่าครองส่วนแบ่งในธุรกิจจัดส่งสินค้าอีคอมเมิร์ซ 54 – 55% ของทั้งตลาด จำนวนพัสดุที่จัดส่งอยู่ที่ประมาณ 310 ล้านชิ้น จากปริมาณรวม 580 ล้านชิ้น คิดเป็นมาร์เก็ตแชร์อันดับ 1 ของตาราง รองลงมาเป็น Kerry ที่มีส่วนแบ่งไม่ต่ำกว่า 30% เรียกว่า 2 เจ้ารวมกันก็กินสัดส่วนเกิน 80% ของตลาด

    เราทำธุรกิจด้านการขนส่งมาก่อน แต่เปลี่ยนจากจดหมายเป็นสิ่งของ เชื่อว่าแข่งขันได้แน่นอนเพราะเชี่ยวชาญ จ่าหน้าผิดก็ยังส่งได้ สมรระบุเรามีจุดบริการ 7,000 – 8,000 จุด บุรุษไปรษณีย์หลักหมื่นคน ครอบคลุมพื้นที่ห่างไกล สามารถให้บริการประชาชนทุกระดับหลายราคา บนความเร็วที่มีการยกระดับเป็นการจัดส่งวันเดียวถึง คือส่งก่อน 11.00 .จะได้รับของช่วงบ่าย ส่วนการส่งช่วงบ่ายจะได้รับวันรุ่งขึ้น ซึ่งเราทำได้ 100% แล้ว

    ความมั่นใจของ ปณท ส่วนหนึ่งมาจากความรุ่งเรืองที่เริ่มทอแสงชัดเจนในปี 2559 กลายเป็นประวัติศาสตร์สำคัญหลังจากแยกหน่วยงานออกมาเป็นบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด (ปณท) เมื่อ 16 ปีก่อน ผลประกอบการ ปณท ร้อนแรงขึ้นอีกในปี 60 สดใสมากจากที่เคยขาดทุนเพราะมีรายได้หลักมาจากการขายแสตมป์เท่านั้น แต่แล้วก็กลับมาวูบลงเพราะรายได้ปี 61 ไม่เข้าเป้า

    ผลประกอบการ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด (ปณท)

    • ปี 2559 รายได้ 25,600 ล้านบาท กำไร 3,570 ล้านบาท
    • ปี 2560 รายได้ 27,880 ล้านบาท กำไร 4,220 ล้านบาท (เพิ่มขึ้นจากปี 2559 ประมาณ 8% เพิ่มขึ้นจากปี 2559 ประมาณ 18%)
    • ปี 2561 รายได้ราว 28,000 ล้านบาท ต่ำกว่าเป้าที่เคยประกาศไว้ 30,000 ล้านบาท
    • ปี 2562 ปณท จึงตั้งเป้าหมายเดิมคือ 30,000 ล้านบาท

    วันนี้ ปณท ทำเงินหลักจาก 4 ธุรกิจ ส่วนที่ใหญ่ที่สุดคือธุรกิจขนส่งพัสดุแบบกล่อง (40% ของทั้งพอร์ต) รองลงมาคือธุรกิจส่งจดหมายซอง อันดับ 3 คือค้าปลีก และอันดับ 4 คือบริการการเงิน

    สินเชื่อหรือประกัน?

    สมรมองว่าการทำให้ ปณท มีอัตราการเติบโตแบบเท่าตัวอีกครั้งนั้นทำได้ยากขึ้น จึงต้องการมองหาธุรกิจใหม่ แล้วเริ่มดำเนินการแบบค่อยเป็นค่อยไป หนึ่งในนั้นคืออาจจะให้บริการสินเชื่อส่วนบุคคล หรือบริการด้านประกันภัยซึ่งยังไม่มีการสรุปแผนดำเนินงานในเร็ววัน

    ไปรษณีย์คือขนส่ง ขึ้นอยู่กับว่าเป็นผู้ขนส่งอะไร สินค้า? พัสดุ? คือทุกอย่างที่ต้องขนส่งเป็นโอกาสเราหมด อย่างเช่นการรับส่งเงิน จากภาพใหญ่ที่เราขยับจากบริการส่งจดหมาย มาเป็นกล่องที่ใหญ่ขึ้น วันนี้เราทำอีวอลเล็ตแล้ว มีบริการ COD เก็บเงินปลายทาง ต่อไปนี้ใครช็อตเงินก็อาจจะใช้บริการกับเราได้ รวมถึงประกันภัยด้วย

    ในขณะที่ ปณท ลุยอีวอลเล็ตแล้ว แต่สมรยืนยันว่าจะไม่ทิ้งบริการดั้งเดิมอย่างธนาณัติไป เพราะยังมีคนใช้งาน เช่นเดียวกับการปรับราคาค่าบริการ จุดนี้สมรมองว่าราคาที่ ปณท กำหนดนั้นต่ำอยู่แล้ว ซึ่งแม้จะไม่ใช่ราคาต่ำที่สุดเพราะคู่แข่งเล่นสงครามราคา แต่ ปณท ก็ยังยืนราคาเหมือนเดิมมา 10 ปีแล้ว โดยมอบส่วนลดเล็กน้อยให้ลูกค้ารายใหญ่เท่านั้น

    สำหรับภาพลักษณ์แบรนด์ ปณท ในนาทีนี้ สมรระบุว่า ปณท ได้รับคะแนนความเชื่อมั่นจากผู้บริโภคเพิ่มขึ้น จากที่เคยตกต่ำที่สุด 80% คะแนนกลับเพิ่มขึ้นเป็น 85% ในปีนี้ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการปรับคุณภาพบุคลากรและภาพลักษณ์ทันสมัยขององค์กรให้เหนือกว่าช่วงที่ ปณท ถูกล้อเลียนเรื่องเจ้าหนูรับนะ

    เมื่อ 5 ปีที่แล้วเราโดนต่อว่าเรื่องโยนของ ซึ่งต้องยอมรับว่าพนักงานเราก็โยนจริง และโยนมานาน 136 ปีแล้ว ก่อนหน้านี้การโยนเป็นเรื่องธรรมดาในยุคเก่าซึ่งเน้นการส่งจดหมายและซองเอกสาร แต่ภาพที่มีการเผยแพร่ในอินเทอร์เน็ตกระทบความรู้สึกของผู้ใช้ส่วนใหญ่ ซึ่งหากสังเกตให้ดี จะเห็นว่าห่อกระสอบพัสดุในภาพที่ส่งต่อกันนั้นเป็นสีเขียว แปลว่าเป็นกระสอบจดหมายเอกสารที่โยนแล้วเสียหายน้อย ไม่ใช่พัสดุกล่องอย่างที่หลายคนกังวล

    ว่าแล้วก็ติดตามชีวิตไปรษณีย์ไทยกันไปยาวๆ ว่าจะลุยบริการใหม่ได้สมใจที่ตั้งไว้หรือไม่.

    ]]>
    1232609