Tag: ธุรกิจร้านอาหาร
Pizza Express เชนร้านอาหารดังในอังกฤษ สั่งปิด 67 สาขา ปลดพนักงาน 1,100 คน เพื่อพยุงธุรกิจ
เชนร้านอาหารชื่อดังเเห่งเกาะอังกฤษ Pizza Express ประกาศจะปิดสาขาลงกว่า 67 เเห่งเเละปลดพนักงานอย่างน้อย 1,100 คน เพื่อต่อสู้กับความท้าทายที่ไม่เคยคาดคิดมาก่อน จากการเเพร่ระบาดหนักของ COVID-19
Pizza Express ถือหุ้นใหญ่โดย Hony Capital บริษัทจากประเทศจีน นับเป็นหนึ่งในเเบรนด์พิซซ่าที่ได้รับความนิยมในสหราชอาณาจักร มีการขยายสาขา 600 เเห่งทั่วโลก ในจำนวนนี้กว่า 449 เเห่งอยู่ในอังกฤษ
โดยการปลดพนักงานและปิดสาขาครั้งนี้...
ZEN เตรียมยุบ 3 แบรนด์ในเครือ จัดโครงสร้างองค์กรใหม่ลดต้นทุน เชื่อครึ่งปีหลังพลิกมากำไร
เซ็น คอร์ปอเรชั่น กรุ๊ป (ZEN) เปิดแผนครึ่งปีหลัง 2563 เตรียมยุบ 3 แบรนด์รองในเครือ คือ แจ่วฮ้อน, FOO Flavor และ Musha by ZEN มุ่งผลักดันเฉพาะ 7 แบรนด์หลักตลาดแมส และ 2 แบรนด์ในตลาดพรีเมียม // จัดโครงสร้างองค์กรใหม่ช่วยลดต้นทุน รวมศูนย์บริหารแยกเป็นเพียง 2 กลุ่มคือกลุ่มร้านอาหารญี่ปุ่นกับร้านอาหารไทย จากเดิมที่มีทีมแยกบริหารของแต่ละแบรนด์ และยังคงรัดเข็มขัด ตัดงบลงทุนลงครึ่งหนึ่งเหลือ 100 ล้านบาท // หลังรัฐบาลยกเลิกเคอร์ฟิว ZEN พบว่าลูกค้ากลับมาทานอาหารที่ร้าน 80-85% ของปกติ เชื่อธุรกิจนี้จะฟื้นแบบ V-shape ครึ่งปีหลังกลับมาทำกำไร ชดเชยช่วงครึ่งปีแรกที่ขาดทุน
KBank มาเเล้ว! เปิดตัว “Eatable” แพลตฟอร์มฟรีช่วยร้านอาหาร ระบบสั่งทานที่ร้าน-ส่งเดลิเวอรี่
ในช่วงการแพร่ระบาดของ COVID-19 ส่งผลกระทบโดยตรงกับ "ธุรกิจร้านอาหาร" ทั้งเรื่องรายได้ การดำเนินการ พนักงานและการปรับปรุงร้านใหม่ รวมไปถึงการที่ร้านค้าต้องหันมาพึ่งพาบริการฟู้ดเดลิเวอรี่ ตามพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป แต่อย่างไรก็ตามบรรยากาศการสังสรรค์ "ทานอาหารนอกบ้าน" ยังคงเป็นเสน่ห์สำคัญของร้านอาหาร
สิ่งเหล่านี้เป็นโจทย์ท้าทายของเหล่าร้านอาหาร ที่ต้องมีการ "ทรานส์ฟอร์เมชั่น" ไปสู่การเป็นร้านอาหารยุค New Normal แบบ "ครบวงจร" ที่ตอบรับลูกค้าทั้งการทานที่ร้านและเดลิเวอรี่
นี่เป็นที่มาของ "Eatable" (อีทเทเบิล) แพลตฟอร์มตัวช่วยจัดการ "ร้านอาหาร"...
ZEN ขาดทุน 44 ล้านบาท เหตุวิกฤต COVID-19 ปิดร้านอาหาร เดลิเวอรี่ช่วยไม่ได้ทั้งหมด
ZEN รายงานผลประกอบการต่อตลาดหลักทรัพย์ พบรายได้ไตรมาส 1/63 อยู่ที่ 644 ล้านบาท ลดลง -11.9% ขาดทุน -44 ล้านบาท พลิกกลับด้านจากปีก่อนที่ยังทำกำไร เหตุจากการระบาดของไวรัส COVID-19 ทำพิษต้องปิดร้านอาหาร แม้พยายามตัดค่าใช้จ่ายและหันมาส่งเดลิเวอรี่ก็ยังอยู่ยาก
กลยุทธ์ “ฟรีหม้อ” ยอมเจ็บเเต่ขอมีรายได้ การตลาดสู้ COVID-19 ของธุรกิจร้านปิ้งย่าง-ชาบู
เเข่งกันดุเดือดไม่เเพ้ความร้อนระอุของน้ำซุปกันเลยทีเดียว เมื่อไวรัส COVID-19 สั่นสะเทือนวงการร้านอาหาร ต้องถูกสั่งให้หยุดบริการตามมาตรการล็อกดาวน์ควบคุมการเเพร่ระบาด ลูกค้าต้องสั่งกลับบ้านเท่านั้น
เเม้ฟู้ดเดลิเวอรี่จะเป็นทางออกในยามนี้ เเต่สำหรับร้านอาหารเเนว DIY ปิ้งย่าง-ชาบูทั้งหลายที่ลูกค้าต้องปรุงสุกเอง เคยมีบรรยากาศครื้นเครงภายในร้านเเละความสนุกสนานเมื่อได้สนทนากับคนสนิทที่เป็นเหมือน "เสน่ห์" ของร้านอาหารประเภทนี้ ก็ได้จางหายตามการเว้นระยะห่างทางสังคม (social distancing) ไปด้วย
ในขณะที่ร้านอาหารต้องพึ่งพารายได้จากเดลิเวอรี่ ส่วนใหญ่จะปรับตัวด้วยการทำเเพ็กเกจ "อาหารจานเดียว" กินง่ายจ่ายสะดวก หรือเปลี่ยนไปขายขายวัตถุดิบ เเต่กับร้านปิ้งย่าง-ชาบู ต้อง "ทำมากกว่านั้น"
เพราะอาหารประเภทนี้เมื่อนำไปกินที่บ้านจะมีราคาเเพงกว่าอาหารจานเดียว ต้องใช้อุปกรณ์เยอะหรือเเม้กระทั่งต้องมีเพื่อนกิน...จึงเป็นโจทย์ที่ท้าทายว่าทำอย่างไรให้ผู้บริโภคที่มีกำลังซื้อลดลง...
เราจะรอดไปด้วยกัน! “หมูทอดเจ๊จง” เปิดรับ “พี่วิน-ลุงแท็กซี่” ขนข้าวกล่องขายตามหมู่บ้าน
ร้านอาหารก็ห้ามนั่ง คนก็ไม่ออกจากบ้าน พี่วิน-ลุงแท็กซี่ก็ขาดรายได้ ทำให้โครงการ Chefs for Chance ชวน "หมูทอดเจ๊จง" ร่วมสร้างอาชีพยามวิกฤต COVID-19 เปิดรับวินมอเตอร์ไซค์และคนขับแท็กซี่ขนข้าวกล่องไปขายตามหมู่บ้าน กำไรกล่องละ 7 บาท แถมวิธีสมัครแบบ "ใจแลกใจ" รับไปขายก่อน มาจ่ายทีหลัง!
ขายแบบ Big Size เอาใจชาวกักตัว! ไอเดียทางรอดของร้านเครื่องดื่ม-ของหวานยุคไวรัส
ชาไข่มุก กาแฟ ไอศกรีม บรรดาเครื่องดื่มและของหวานที่ปกติมีลูกค้าไปต่อคิวกันทุกวัน แต่เมื่อลูกค้าต้องทำงานอยู่บ้านอาจทำให้ร้านเริ่มขาดรายได้ เพราะลูกค้าไม่สู้ค่าจัดส่ง เลือกที่จะอดทนไม่ทาน หรือหันไปหัดทำเอง หลายร้านจึงต้องคิดเมนูแบบ Big Size มาดึงดูดลูกค้าที่ใจยังโหยหา สั่งไปเก็บไว้กินยาวๆ ทั้งสัปดาห์หรือทั้งเดือนได้เลย!
“ZEN” ขอพลิกเกม! ปรับร้านที่ยอดขายตกเป็น “ครัวกลาง” ส่งเดลิเวอรี่แทนชั่วคราว
เซ็นฯ กรุ๊ป ได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัส COVID-19 ลูกค้าเข้าร้านเดือนกุมภาพันธ์ลดลงเฉลี่ย 20% หนักที่สุดในสาขาตามแหล่งท่องเที่ยวลดลงเกิน 50% // แบรนด์ที่กระทบมากที่สุดคือร้านอาหารญี่ปุ่นที่ขายอาหารดิบ ได้แก่ ร้าน ZEN และ Sushi CYU ขณะที่ร้านเขียงขายดีขึ้นเนื่องจากลูกค้าหันมาสั่งเดลิเวอรี่และประหยัดมากขึ้น
// ทำระบบครัวกลางเพื่อส่งเดลิเวอรี่ชดเชยรายได้หน้าร้าน โดยร้านตำมั่วจะส่งอาหารในนามร้านเขียงด้วย และครัวร้าน ZEN จะส่งอาหารให้กับแบรนด์ Musha ในเครือ
// เปลี่ยนแผนเร่งรับมือ โดยชะลอการเปิดสาขาใหม่ไปครึ่งหนึ่ง ปีนี้จะเปิดเพียง 40 สาขา เน้นหนักที่แบรนด์ เขียง AKA และ Din's โดยรวมมองว่าหากสถานการณ์เริ่มดีขึ้นภายในเดือนมิถุนายน ปีนี้บริษัทจะเติบโต 5-10%
สรุป 5 เทรนด์ “ยุคดิจิทัล” ปี 2020 ที่คน “รีเทล” และร้านอาหารควรรู้!
ยุคดิจิทัล ทำให้ทุกวงการต้องปรับตัวอย่างรวดเร็ว ไม่ใช่แค่การปรับรายสามเดือนแต่อาจต้องขยับมาเป็นรายเดือนจนถึงรายวันเลยทีเดียว!
ไม่ส่งคงไม่ได้แล้ว! วิจัยเผย มากกว่าครึ่งของร้านอาหารที่เปิด ‘บริการเดลิเวอรี่’ สร้างยอดขายสูงขึ้น
กระแสการบริโภคผ่าน บริการเดลิเวอรี่ ทำให้มากกว่าครึ่งของร้านอาหารในยุโรปที่มีบริการเดลิเวอรี่รายงานว่าร้านของตนมียอดขายสูงขึ้น ยกตัวอย่าง ภาคธุรกิจร้านอาหารในลอนดอนมียอดขายและกำไรเพิ่มขึ้นท่ามกลางสนามแข่งขันของบรรดาแพลตฟอร์มเดลิเวอรี่หลายรายในตลาด