บริษัทเทคโนโลยี – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 18 Aug 2023 07:46:19 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 บริษัทเทคโนโลยีปลดพนักงานมีจำนวนลดลงแล้ว แต่ยังไม่กลับมาจ้างงานมากเท่าเดิม แม้ AI จะกำลังบูมก็ตาม https://positioningmag.com/1441462 Fri, 18 Aug 2023 01:49:57 +0000 https://positioningmag.com/?p=1441462 บทวิเคราะห์ของ Jefferies วาณิชธนกิจในสหรัฐอเมริกา ที่ได้อ้างอิงข้อมูลจากแพลตฟอร์มหางานในสหรัฐอเมริกา ชี้ว่า สถานการณ์ของบริษัทเทคโนโลยีที่ได้มีมาตรการปลดพนักงานจำนวนมาก จากปัญหาสภาวะเศรษฐกิจนั้นล่าสุดมีจำนวนลดลงอย่างเห็นได้ชัดแล้ว แต่ตัวเลขตำแหน่งการจ้างงานกลับมายังไม่เท่าเดิม

บทวิเคราะห์จาก Jefferies ได้อ้างอิงข้อมูลจาก TrueUp ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มสำหรับหางาน นั้นล่าสุดเดือนมิถุนายนที่ผ่านมามีการปลดพนักงานจำนวน 14,700 ตำแหน่ง ขณะที่เดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาอยู่ที่ 14,600 ตำแหน่ง ขณะเดียวกันคาดการณ์ว่าตัวเลขในการปลดพนักงานในเดือนสิงหาคมจะเหลือแค่ 5,600 ตำแหน่งเท่านั้น

สำหรับการปลดพนักงานในช่วงที่ผ่านมานั้นหลายบริษัทเทคโนโลยีได้ชี้ว่าสาเหตุสำคัญมาจากยอดขายบริษัทลดลง ต้นทุนของบริษัทเพิ่มสูงขึ้นจากสภาวะเงินเฟ้อ การขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ยังรวมถึงจากความมั่นใจในสภาพเศรษฐกิจสหรัฐฯ ลดลงจากความกังวลว่าเศรษฐกิจจะเข้าสู่สภาวะถดถอย

จำนวนการปลดพนักงานของบริษัทเทคโนโลยีในช่วงที่ผ่านมานั้น บริษัทที่ปลดพนักงานจำนวนมากสุดคือ Accenture บริษัทที่ปรึกษาด้านไอทีที่ 19,000 ราย รองลงมาคือ Amazon ที่ 18,000 ราย และ Google ที่ 12,000 ราย หรือแม้แต่ Meta รวมถึงผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือย่าง Vodafone ที่ปลดพนักงานไปมากถึง 11,000 ราย

ซึ่งการปลดพนักงานเหล่านี้ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมานั้นมีจำนวนไม่น้อยกว่า 300,000 รายเลยทีเดียว

ข้อมูลจาก TrueUp

ขณะที่ตำแหน่งการจ้างงานนั้นข้อมูลล่าสุดในวันที่ 11 สิงหาคมที่ผ่านมาอยู่ที่ 176,819 ตำแหน่ง กำลังฟื้นตัวจากจุดต่ำสุดในเดือนมีนาคมซึ่งมีตำแหน่งงานเปิดราวๆ 163,014 ตำแหน่งเท่านั้น อย่างไรก็ดีตำแหน่งงานที่เปิดล่าสุดยังต่ำว่าจุดสูงสุดที่ตำแหน่งงานเปิดมากถึง 63% จากจุดสูงสุด

อย่างไรก็ดีตำแหน่งงานที่เปิดรับสมัครในเวลานี้กลับไม่ได้เพิ่มสูงขึ้น แม้ว่าจะมีเทคโนโลยี AI โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเข้ามาของ ChatGPT ที่ทำให้บริษัทเทคโนโลยีหลายแห่งต้องรีบพัฒนาเทคโนโลยีดังกล่าว

Brent Thill นักวิเคราะห์ของ Jefferies ยังได้กล่าวว่าในบทวิเคราะห์ว่า การเปลี่ยนแปลงของแรงงานที่มีทักษะต่ำกว่าจะถูกบีบจากการเข้ามาของ AI ยิ่งทำให้แรงงานเหล่านี้จะต้องเพิ่มหรือเสริมทักษะสำหรับโอกาสในการหางานใหม่หลังจากนี้

]]>
1441462
ส่องเหล่า “บิ๊กเทคอาเซียน” ปีนี้ “ปลดพนักงาน” ไปมากน้อยแค่ไหนหลังเจอพิษเศรษฐกิจ https://positioningmag.com/1411739 Fri, 09 Dec 2022 05:13:30 +0000 https://positioningmag.com/?p=1411739 หากนับเฉพาะบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ของโลก จะเห็นการปลดพนักงานครั้งใหญ่ โดยเฉพาะ Meta บริษัทแม่ของ Facebook ที่ปลดพนักงานราว 11,000 คน หรืออย่าง Microsoft ก็มีรายงานว่าปลดพนักงานน้อยกว่า 1,000 คน เนื่องจากการชะลอตัวของการเติบโต ดังนั้น มาดูในฝั่งของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้บ้านเรากัน ว่าเหล่าสตาร์ทอัพปลดพนักงานกันไปมากน้อยแค่ไหนในปีนี้

ในปีนี้ มีเหล่าสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จำนวนหลายรายที่ เลิกจ้างพนักงาน เนื่องจากความผันผวนของเศรษฐกิจ อย่างเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว คารูเซลล์ (Carousell) แพลตฟอร์มซื้อขายสินค้ามือสองออนไลน์สัญชาติ สิงคโปร์ ประกาศว่าจะปลดพนักงานประมาณ 10% ของจำนวนพนักงาน หรือประมาณ 110 ตำแหน่ง

หรือในเดือนพฤศจิกายน โกทู กรุ๊ป (GoTo Group) แพลตฟอร์มธุรกิจส่งอาหารและธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ที่เกิดจากการควบรวมของ โกเจ็ก (Gojek) และ Tokopedia สองยูนิคอร์นของอินโดนีเซีย ก็ได้ลดพนักงานลง 1,300 ตำแหน่ง หรือประมาณ 12% ของจำนวนพนักงาน เนื่องจากนับตั้งแต่เดือยมกราคม-กันยายน บริษัทยังคงขาดทุนเพิ่มขึ้น

ส่วนบริษัทที่มีการลดพนักงานมากที่สุดก็คือ ซี กรุ๊ป (Sea Group) เจ้าของธุรกิจเกม Garena อีคอมเมิร์ซ Shopee และอีเพย์เมนต์ โดยได้ลดขนาดพนักงานกว่า 7,000 คน ในช่วงหกเดือนที่ผ่านมา เพื่อลดภาวะขาดทุนเป็นการปรับโครงสร้างธุรกิจให้มีศักยภาพมากขึ้น

สำหรับ Carousell ตัวซีอีโออย่าง Quek Siu Rui ได้ออกมายอมรับกับพนักงานว่า เขา “มองโลกในแง่ดีเกินไป” เกี่ยวกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจหลักโควิด และประเมินผลกระทบของการเติบโตของทีมอย่างรวดเร็วนั้นผิดไป ทั้งนี้ รายได้ของ Carousell ในปี 2021 แม้จะยังเติบโต แต่ก็ช้าลงถึง 21% เมื่อเทียบกับรายได้ที่เพิ่มขึ้นสามเท่าในปี 2020

นอกจากนี้ ยังมีบริษัทสตาร์ทอัพอื่น ๆ ที่ลดจำนวนพนักงาน อาทิ

  • Foodpanda แพลตฟอร์มฟู้ดเดลิเวอรี่ ลด 60 ตำแหน่ง
  • Zenius แพลตฟอร์มด้านการศึกษาเบอร์ 2 ของอินโดนีเซีย ลดกว่า 200 ตำแหน่ง
  • Carsome แพลตฟอร์มซื้อ-ขายรถยนต์มือสองออนไลน์ ลด 10%
  • Glints แพลตฟอร์มค้นหางานของสิงคโปร์ ลด 18%

รัดเข็มขัด โฟกัสความยั่งยืน

Jia Jih Chai ผู้ร่วมก่อตั้งและซีอีโอของ Rainforest ผู้รวบรวมแบรนด์อีคอมเมิร์ซในสิงคโปร์ กล่าวว่า หนึ่งในสาเหตุที่เหล่าสตาร์ทอัพต้องลดจำนวนพนักงานเป็นเพราะ ต้องระมัดระวังในการจัดการต้นทุนในสภาพแวดล้อมนี้ เพื่อให้แน่ใจว่าจะสามารถวิ่งได้ไกลถึงปี 2567

“มีสัญญาณว่าเรากำลังเข้าสู่ภาวะถดถอย ดังนั้น ความต้องการของลูกค้าจึงมีแนวโน้มชะลอตัวลงในปี 2566 และความจริงก็คือ เราเพิ่มค่าใช้จ่ายและจ้างงานได้อย่างรวดเร็ว แต่เราใช้เวลาในการหารายได้นานกว่าที่คิดไว้

เควกยังกล่าวอีกว่า เป็นเรื่องรอบคอบเท่านั้นที่บริษัทจะสามารถทำกำไรเป็นกลุ่มได้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เนื่องจากยังไม่ชัดเจนว่าสภาวะตลาดจะดีขึ้นหรือไม่

ด้าน เจฟรีย์ โจ ผู้ร่วมก่อตั้งและหุ้นส่วนผู้จัดการของ Alpha JWC Ventures ในอินโดนีเซีย กล่าวว่า ก่อนหน้านี้เหล่าสตาร์ทอัพถูกออกแบบมาให้ เร่งการเติบโต อาทิ Sea Group และ Grab ที่ขาดทุนสะสมมาหลายปี แต่ปัจจุบันบริษัทจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนเพื่อเปลี่ยนจากการเติบโตอย่างรวดเร็วไปสู่ การเติบโตอย่างยั่งยืนแทน ขณะที่เหล่านักลงทุนในปัจจุบันก็กำลังเน้นให้เหล่าสตาร์ทอัพโฟกัสการทำตลาดในระยะยาวมากกว่า

Source

]]>
1411739
ฉีกแนวธุรกิจ! ByteDance ซื้อกิจการ “โรงพยาบาล” ในจีน เข้าสู่วงการ HealthTech เต็มตัว https://positioningmag.com/1395714 Wed, 10 Aug 2022 04:04:22 +0000 https://positioningmag.com/?p=1395714 ByteDance บริษัทแม่ของ TikTok ฉีกแนวการขยายธุรกิจ เข้าซื้อ “โรงพยาบาล” ระดับไฮเอนด์ของจีน คาดเป็นการลุยธุรกิจ HealthTech ที่บริษัทเริ่มลงทุนมาแล้ว 2 ปี การซื้อกิจการครั้งนี้ถือว่าเป็น “ดีลใหญ่” ครั้งแรกที่ได้รับอนุมัตินับตั้งแต่จีนเริ่มกวาดล้างอิทธิพลเทคคัมปะนีเมื่อปลายปี 2020

บริษัทแม่ของ TikTok เข้าลงทุน 100% ใน Amcare เชนโรงพยาบาลแม่และเด็กระดับไฮเอนด์ และถือเป็นหนึ่งในโรงพยาบาลรายใหญ่ของจีนที่มีเครือข่ายทั่วประเทศ โดยใช้เงินลงทุนไป 10,000 ล้านหยวน (ประมาณ 52,000 ล้านบาท) โดยข้อมูลได้รับการยืนยันจากโฆษกของ Xiaohe Health ในเครือ ByteDance ว่ามีการเข้าซื้อจริง แต่ขอสงวนความเห็นต่อมูลค่าดีลดังกล่าว

การลงทุนครั้งนี้ทำให้คนในวงการเทคโนโลยีประหลาดใจพอสมควร ประการแรกเป็นเพราะจีนมีนโยบายควบคุมการขยายกิจการของเทคคัมปะนีมานาน 2 ปี โดยจะห้ามไม่ให้บริษัทเทคซื้อกิจการที่นับเป็นดีลขนาดใหญ่ เพราะต้องการไม่ให้เกิดการกินรวบของเทคคัมปะนีรายใหญ่เหล่านี้ โดยเฉพาะการข้ามสายอุตสาหกรรมไปยังธุรกิจใหม่ผ่านการควบรวมกิจการ ดีลนี้จึงนับเป็นครั้งแรกในรอบ 2 ปีที่อนุญาตให้เทคคัมปะนีซื้อกิจการขนาดใหญ่ในประเทศ

อีกประการหนึ่งคือ ความเชี่ยวชาญของ Amcare ซึ่งก็คือธุรกิจโรงพยาบาล ดูเหมือนจะไม่อยู่ในวงโคจรธุรกิจของ ByteDance สักเท่าไหร่ ดังที่ทราบกันว่าธุรกิจหลักของ ByteDance คือแพลตฟอร์มคอนเทนต์ และมีการลงทุนในธุรกิจเกม รวมถึงแอปพลิเคชันต่างๆ ทำให้การฉีกแนวมาลงทุนกับธุรกิจสุขภาพเป็นเรื่องน่าแปลกใจในระดับหนึ่ง

โรงพยาบาล Amcare ในจีน เป็นโรงพยาบาลแม่และเด็กระดับบน

อย่างไรก็ตาม ความพยายามเข้าสู่ธุรกิจสุขภาพของบริษัทเทคขนาดใหญ่ไม่ว่าจะเป็นฝั่งจีนหรือสหรัฐฯ ก็ไม่ใช่เรื่องที่ไม่เคยมี เพราะมักจะอยู่ในแผนการสร้างความหลากหลายทางธุรกิจ เนื่องจากบริษัทเหล่านี้มีแกนหลักสำคัญคือ “ฐานลูกค้า” จากการใช้แอปฯ ในจีนเอง Tencent พยายามจะเปิดคลินิกตรวจโรคแบบมีหน้าสาขาออฟไลน์ ส่วน Alibaba และ JD.com ก็มีร้านขายยาออนไลน์

สำหรับ ByteDance นั้น เท่าที่มีข้อมูลสาธารณะ บริษัทนี้เริ่มเข้าสู่วงการ HealthTech ในปี 2020 จากการเข้าซื้อบริษัทผู้ให้บริการข้อมูลด้านสุขภาพแก่คนทั่วไป ซึ่งต่อมาถูกตั้งชื่อว่า Xiaohe Health และจริงๆ แล้วบริษัทมีการลงทุนในบริษัทด้านไบโอเทคอื่นๆ ด้วย

สำนักข่าว Techcrunch คาดการณ์ว่าบริษัทจะไม่ไปเกี่ยวข้องกับการบริหารเดิมของ Amcare ซึ่งเป็นโรงพยาบาลเอกชนที่มีชื่อเสียงในกลุ่มอีลีทและคนระดับบนของจีน แต่น่าจะหาทางหาจุดร่วมระหว่างแพลตฟอร์มความบันเทิงที่เป็นธุรกิจหลัก กับธุรกิจสุขภาพและไบโอเทคเหล่านี้

ธุรกิจสุขภาพนั้นเป็นเรื่องที่ต้องระมัดระวังในการทำงานมากเพราะเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ครั้งหนึ่งบริษัท Baidu เสิร์ชเอ็นจิ้นยักษ์ใหญ่ของจีนก็เคยพลาดมาแล้วกับเรื่องนี้ เมื่อปี 2016 บริษัทถูกโจมตีจากประชาชนจีน เพราะพบว่าเด็กนักเรียนคนหนึ่งที่เป็นมะเร็งไปเห็นโฆษณารักษามะเร็งบน Baidu จากนั้นจึงไปกู้หนี้ยืมสินมาเพื่อรักษาโรคแต่ก็ไม่หายและเสียชีวิตไปในที่สุด

Source: Techcrunch, The Standard HK

]]>
1395714
การมาของยานเเม่ SCBX ปลดล็อกธนาคารร้อยปี Re-imagine เป็น ‘บริษัทเทค’ ยุคใหม่ https://positioningmag.com/1353082 Thu, 23 Sep 2021 13:17:12 +0000 https://positioningmag.com/?p=1353082 ยานเเม่ SCBX สร้างเเรงกระเพื่อมให้วงการธุรกิจไทยไม่น้อย เมื่อธนาคารเก่าเเก่นับร้อยปีอย่างไทยพาณิชย์กำลังจะปรับโครงสร้างครั้งใหญ่ พลิกภาพจำเก่าๆ ไปอย่างสิ้นเชิง

“SCB จะไม่เท่ากับธนาคารในความหมายเดิมอีกเป็นคำประกาศที่ทำให้หลายคนตื่นเต้นว่าอะไรจะเกิดขึ้นต่อไป เเม้ว่าการเเปลงสภาพมุ่งสู่การเป็นบริษัทเทคยักษ์ใหญ่ ไม่ใช่เรื่องง่าย เเต่ถ้าไม่ทำตอนนี้ ก็อาจจะสายเกินไป

ขั้นเเรกต้องไม่จำกัดตัวเอง

อาทิตย์ นันทวิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และประธานกรรมการบริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ เล่าว่า พฤติกรรมของผู้บริโภคหลังวิกฤตโควิด รวมถึงกฎระเบียบข้อบังคับที่เปลี่ยนไปอย่างมาก ทำให้รูปแบบการทำธุรกิจ (business model) ในแบบ intermediaries หรือการเป็นตัวกลางเก็บค่าธรรมเนียมของธนาคารแบบดั้งเดิมจะลดบทบาทลง

เนื่องจากจะไม่สามารถตอบสนองความต้องการและความคาดหวังใหม่ของผู้บริโภคได้ ความสำคัญของธนาคารต่อผู้บริโภคจะลดลงตามไปด้วยส่งผลลบต่อการให้มูลค่าอนาคตของนักลงทุนต่อธุรกิจธนาคารแบบดั้งเดิมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ดังนั้น SCB จะต้องไม่จำกัดตัวเอง อยู่ที่การเป็นธุรกิจธนาคารแบบดั้งเดิมอีกต่อไป หากแต่ต้องใช้ความเข้มแข็งทางการเงินของธุรกิจธนาคารในปัจจุบันให้เป็นประโยชน์ เติบโตเเละอยู่รอดปลอดภัยในอีก 3-5 ปีข้างหน้านี้ เป็นการ Re-imagine จินตนาการใหม่ว่า 

“SCB จะไม่เท่ากับธนาคารในความหมายเดิมอีก แต่จะแปลงสภาพกลายเป็นกลุ่มธุรกิจเทคโนโลยีทางการเงิน ที่มีธุรกิจธนาคารที่แข็งแรงขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม และจะขยายเข้าสู่ธุรกิจการเงินส่วนบุคคล ที่มีการเติบโตสูงที่ธนาคารไม่สามารถตอบสนองได้” 

นี่เป็นจุดสำคัญของการจัดตั้งบริษัทเเม่ขึ้นมาใหม่ในชื่อว่า SCBX (เอสซีบี เอกซ์) เพื่อเพิ่มความคล่องตัวเเละขยายธุรกิจเชิงรุกเข้าสู่ธุรกิจการเงินประเภทอื่นที่ตลาดต้องการ สร้างเเพลตฟอร์มเทคโลยีขนาดใหญ่ให้ทัดเทียมกับคู่แข่งระดับโลก

โดยวางเป้าหมายในอีก 5 ปีว่า SCBX จะมีฐานลูกค้ารวมกัน 200 ล้านคน ในระดับภูมิภาค เป็นบริษัทที่มีมาร์เก็ตเเคปเเตะ 1 ล้านล้านบาท (ปัจจุบันอยู่ที่ราว 3.7 เเสนล้านบาท)

การเเตกย่อยบริษัทไปยังธุรกิจต่างๆ ทั้งฟินเทค สตาร์ทอัพเเละสินทรัพย์ดิจิทัลของ SCB ครั้งนี้ ถือเป็นการปลดล็อก’ ข้อจำกัดและดำเนินกิจการภายใต้โครงสร้างของแบงก์ที่เเต่เดิมจะทำได้ไม่เต็มที่นัก

ทำความรู้จักยานเเม่’ SCBX

การที่ทีมงานได้เรียกว่ายานเเม่นั้น ทำให้คนทั่วไปเห็นภาพได้ชัดเจนมากขึ้น สื่อให้เห็นถึงการโอนย้ายธุรกิจต่างๆ ในเครือเข้ามาอยู่ภายใต้ SCBX 

ส่วนที่มาที่ชื่อ SCBX นั้น ซีอีโอของไทยพาณิชย์ บอกว่ามาจากเครื่องหมายยกกำลัง (x) ที่สื่อถึงการเติบโตเเบบยกกำลังเเละขยาย (expansion) ออกไปเรื่อยๆ ไม่ได้มีแค่ธนาคารเหมือนเเต่ก่อน

โดยโครงสร้างใหม่ที่จะขยายจากธุรกิจเเบงก์ เพิ่มขาธุรกิจเทคโนโลยี และการลงทุน เพื่อหารายได้อื่นนั้น แบ่งได้เป็น 2 ส่วนหลัก ๆ คือ

  • ธุรกิจ Cash Cow กลุ่มที่มีส่วนแบ่งตลาดสูงเเต่อัตราการเติบโตต่ำอย่างธนาคารธุรกิจประกัน ฯลฯ
  • ธุรกิจ New Growth จับตลาด Blue ocean ของใหม่ที่มีโอกาสเติบโตได้สูงอย่างสินเชื่อดิจิทัลดาต้าสินค้าเเละบริการด้านเทคโนโลยีต่างๆ

สิ่งที่น่าจับตา คือการพัฒนากลุ่ม New Growth ที่ทาง SCB ได้เเตกไลน์เป็นบริษัทย่อยที่มีทีมบริหารเเยกออกจากกัน เเต่ยังประสานงานกันได้ดี เพราะส่วนใหญ่มักจะเป็นลูกหม้อที่ทำงานกับอยู่เเบงก์มานานหลายปี 

อย่าง ดร.อารักษ์ สุธีวงศ์ มือเก๋าของไทยพาณิชย์ ที่ตอนนี้ดูแล SCB 10X ก็จะเข้าไปดูเเล SCB-CP Group JV เเละสารัชต์ รัตนาภรณ์ ที่ทำงานกับ SCB มานานกว่า 20 ปี ก็จะมาดูแลบริษัทที่ตั้งใหม่อย่าง Card X ด้วย 

SCBX จะยังอยู่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย (แต่ในส่วนของใบอนุญาตต่างๆ บริษัทในเครือจะเป็นผู้ขอใบอนุญาตในการดำเนินกิจการ) ซึ่งจะเข้าไปถือหุ้นใหญ่ในหลากหลายธุรกิจ ซึ่งตอนนี้มีอยู่ถึง 15 บริษัท เเละยังมีอีกหลายบริษัทที่กำลังจะเปิดตัว ยกตัวอย่างเช่น

Robinhood – เเพลตฟอร์มฟู้ดเดลิเวอรีที่จะขยายไปเป็นซูเปอร์เเอปฯ

Alpha X – ธุรกิจปล่อยสินเชื่อสำหรับรถหรู ที่ร่วมมือกับ Millennium Group

Auto X – ธุรกิจปล่อยสินเชื่อลีซซิ่ง จับกลุ่มคนรายได้น้อยปานกลาง

Card X – ธุรกิจบัตรเครดิตที่จะโอนออกจากแบงก์

Data X – ธุรกิจข้อมูลดิจิทัล

Tech X – ธุรกิจเทคโนโลยี หาพันธมิตรเป็นบริษัทเทคระดับโลก

TokenX – ธุรกิจโทเคนดิจิทัลแบบครบวงจร

AISCB – ธุรกิจสินเชื่อดิจิทัล ร่วมมือกับโทรคมนาคมรายใหญ่อย่าง AIS

ในส่วนของสินทรัพย์ดิจิทัลนั้น SCB จะขยายเข้าสู่ digital asset business ผ่าน SCB 10X และบริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ จำกัด หรือ SCBS โดยการร่วมลงทุนและเป็นพันธมิตรกองทุนระดับโลก และการพัฒนาธุรกิจ digital asset ด้านต่างๆ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับกลุ่มในระยะยาว

โดยกลุ่มไทยพาณิชย์ เพิ่งจับมือกับเครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือ CP ร่วมกันก่อตั้งกองทุน Venture Capital ขนาด 600-800 ล้านเหรียญสหรัฐ (18,000-24,000 ล้านบาท) มุ่งเน้นการลงทุนใน Disruptive Technology ด้านบล็อกเชน สินทรัพย์ดิจิทัล เทคโนโลยีด้านการเงินและเทคโนโลยีอื่นๆ ที่มีศักยภาพในการเติบโตสูงทั่วโลก ซึ่ง SCB 10X ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้เข้าร่วมบริหารจัดการกองทุนดังกล่าวนี้

เหล่านี้ ถือเป็นบ่อทองเเห่งใหม่ที่ SCB จะต้องขุดขึ้นมา เเละปลุกปั้นให้สำเร็จ ตามเป้าหมายที่วางไว้ว่าบริษัทย่อยต่างๆ จะต้องสามารถเติบโตได้ตามตลาดยุคใหม่ และเข้า IPO ในตลาดหลักทรัพย์ได้ในที่สุด

ถอนหุ้น SCB ออกจากตลาดฯ เเทนด้วย SCBX

ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) ได้เเจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์เเห่งประเทศไทย (ตลท.) เตรียมเสนอที่ประชุมผู้ถือหุ้นในวันที่ 15 .. 2564 เพื่ออนุมัติขอ ‘Share Swap’ โอนย้ายผู้ถือหุ้น SCB ไปบริษัทเเม่อย่าง SCBX เเละนำ SCB ออกจากตลาดหลักทรัพย์ฯ เพื่อปรับโครงสร้างธุรกิจ

ในกรณีผ่านการอนุมัติเเล้ว SCBX จะทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของธนาคารไทยพาณิชย์จากผู้ถือหุ้น โดยการออกและเสนอขายหุ้นเพิ่มทุน เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนกับหุ้นของ SCB ในอัตรา 1:1 ซึ่งคาดว่าการเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นในช่วงกลางปี 2565

โดยกระบวนการนี้ จะมีการโอนหุ้นที่ SCB ถือในบริษัทย่อยทั้งหลาย รวมทั้งธุรกิจบัตรเครดิตเเละสินเชื่อส่วนบุคคลไปให้ยานเเม่อย่าง SCBX

พร้อมได้เสนอให้มีการจ่ายเงินปันผลระหว่างกาล เป็นกรณีพิเศษ มูลค่า 70,000 ล้านบาท ซึ่งในส่วนนี้กว่า 70% จะถูกนำไปใช้ในเพื่อการถ่ายโอนธุรกิจ ตั้งบริษัทใหม่ และลงทุนอย่างต่อเนื่อง ส่วนอีก 30% จะเป็นเงินทุนหมุนเวียนเเละเก็บไว้จ่ายปันผลรอบปี 2565

ทั้งนี้ ธนาคารได้ดำเนินการแต่งตั้ง บล.เกียรตินาคินภัทร เป็นที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ (IFA) เพื่อทำหน้าที่ให้ความเห็นแก่ผู้ถือหุ้นของธนาคาร โดยได้พิจารณากำหนดรายชื่อผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิเข้าร่วมประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2564 ในวันที่ 6 ..64

ด้านกระเเสตอบรับในตลาดฯ วันเเรกหลังการเเถลงข่าว พบว่า (23 ..64) ราคาหุ้น SCB ปิดที่ 130.00 บาท เพิ่มขึ้น 20.50 บาท หรือ 18.72% ด้วยมูลค่าซื้อขาย 20,295.52 ล้านบาท สูงสุดเป็นอันดับ 1 ซึ่งระหว่างวันราคาปรับขึ้นไปสูงสุดที่ 137.00 บาท และต่ำสุดที่ 124.50 บาท

“แบงก์ SCB ยังไม่หายไปไหน ยังคงเป็นธนาคารที่ให้บริการลูกค้าเหมือนเดิม โลโก้เดิม บริการต่างๆ ลูกค้าทำก็ยังคงใช้บริการได้ปกติ”

-ไทม์ไลน์การเพิกถอนหุ้น SCB เเละนำ SCBX เข้าจดทะเบียนตลาดหลักทรัพย์ฯแทน

ลูกค้า 200 ล้านคน ไม่ไกลเกินเอื้อม 

สรุปเป้าหมายสำคัญของไทยพาณิชย์ในปี 2568 ก็คือ การสร้างมูลค่าของบริษัทจากธุรกิจใหม่ ที่นอกเหนือจากผลกำไรพื้นฐานและความมั่นคงของธุรกิจธนาคารหลัก 

รวมไปถึงการสร้างฐานลูกค้าในระบบให้ได้ถึง 200 ล้านคน (ปัจจุบันอยู่ที่ 16 ล้านคน) และการเป็นเจ้าของแพลตฟอร์มทางเทคโนโลยีขนาดใหญ่ที่มีผู้ใช้งานจำนวนมาก

เเน่ชัดว่าถ้าอยากได้ลูกค้าหลายร้อยล้านคน เเค่ในตลาดไทยคงไม่เพียงพอ จะต้องมีการขยายธุรกิจใหม่ออกสู่ต่างประเทศ ซึ่งช่วง 2-3 ปีนี้ ก็จะมีการขยับรุกไปยังกลุ่มประเทศในอาเซียน ที่มีเเนวโน้มการเติบโตสูง อย่างอินโดนีเซียเวียดนามเเละฟิลิปปินส์

เราจะไม่เน้นขยาย Commercial Bank ในต่างประเทศเเล้ว เเต่จะเน้นไปที่ธุรกิจการเงินดิจิทัล การลงทุนเเละเทคโนโลยีอื่นๆ มองการเติบโตทั้งเเบบกว้างเเละลึก

เป็นอีกภารกิจเชื่อมต่อ ecosystem ทั้งในและต่างประเทศที่ต้องรอดูว่าจะมีอะไรออกมาเซอร์ไพร์สกันอีกบ้าง

ความเคลื่อนไหวใหญ่ที่สร้างปรากฏการณ์ของธนาคารเก่าเเก่อายุ 116 ปีครั้งนี้ จึงไม่ใช่เเค่เป็นการขยายธุรกิจธรรมดาๆ เเต่เป็นการ Re-imagine สถาบันการเงิน พร้อมขึ้นยานรุ่นใหม่ที่ใหญ่กว่าเดิม

งานนี้ ฟากเเบงก์คู่เเข่งเจ้าอื่น คงไม่ยอมกันง่ายๆ ต้องเตรียมงัดสารพัดของเด็ด ออกมาสู้กันในสมรภูมิการเงินยุคใหม่เเบบดุเดือดยิ่งกว่าเดิมเเน่ๆ

 

]]>
1353082
‘Shopee’ รุกธุรกิจ ‘เเบงก์’ เข้าซื้อธนาคาร Bank BKE ในอินโดนีเซีย ปรับเป็น Digital Banking  https://positioningmag.com/1320256 Fri, 19 Feb 2021 10:22:12 +0000 https://positioningmag.com/?p=1320256 มูฟใหม่ของบรรดาบริษัทเทคโนโลยี ขยับเข้าหาธุรกิจเเบงก์ล่าสุด ‘Shopee’  อีคอมเมิร์ซเจ้าใหญ่ในเครือ Sea Group เข้าซื้อกิจการธนาคารท้องถิ่นในอินโดนีเซียอย่าง Kesejahteraan Ekonomi หรือ Bank BKE วางเป้าหมายเปลี่ยนให้เป็นธนาคารดิจิทัล

หลังมีกระเเสข่าวมาตั้งเเต่ต้นปี ตอนนี้ก็ได้รับการยืนยันจากหน่วยงานกำกับดูแลบริการทางการเงินของอินโดนีเซีย (OJK) เป็นที่เรียบร้อย

Bank BKE เป็นธนาคารท้องถิ่นที่ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 1992 มีเป้าหมายหลักในการสนับสนุนด้านสวัสดิการของข้าราชการ

รายงานระบุว่า Shopee มีแผนจะปรับปรุงให้ Bank BKE เป็นธนาคารดิจิทัลรูปแบบใหม่ที่มีบริหารทางการเงินที่ทันสมัยเชื่อมต่อกับอีคอมเมิร์ซ

โดยหน่วยงานกำกับฯ จะเร่งจัดทำข้อบังคับเเละเตรียมโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับ ธนาคารดิจิทัลใหม่ ซึ่งคาดว่าจะออกมาได้ในช่วงกลางปี ​​2021 เเละ Bank BKE อาจจะต้องเตรียมเงินทุนไว้ราว 3 ล้านล้านรูเปียห์ (ราว 6.4 พันล้านบาท)

สำหรับดีลนี้ Sea Group จะได้รับสิทธิ์ในการบริหารธนาคารเต็มรูปแบบ หลังเข้าซื้อกิจการจากผู้ถือหุ้นเดิมอย่าง PT Danadipa Artha Indonesia และ PT Koin Investama Nusantara ผ่านทางบริษัทในเครือของ Turbo Cash Hongkong

การเข้าซื้อกิจการ Bank BKE ในครั้งนี้ เป็นความเคลื่อนไหวใหม่ของ Sea Group ซึ่งเป็นบริษัทเทคโนโลยีที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ต้องการคว้าส่วนแบ่งในธุรกิจ Digital Banking ที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว

คาดว่าจะเป็นการเเข่งขันกับซูเปอร์เเอปฯ อย่าง Gojek ที่เข้าถือหุ้น 22% ใน Jago ธนาคารดิจิทัลรายใหญ่ของอินโดนีเซีย

บริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ กำลังรุกเข้าซื้อธุรกิจธนาคารในอาเซียนมากขึ้น ท่ามกลางการดิ้นรนของเเบงก์ดั้งเดิมที่พยายามจะเปลี่ยนตัวเองให้เป็น Digital Banking 

โดยก่อนหน้านี้ เมื่อช่วงปลายเดือน ธ.. 2020 ที่ผ่านมา Sea Group เพิ่งได้รับการจดทะเบียนอนุญาตประกอบธุรกิจธนาคารดิจิทัล (Digital Banking Licenses) จากธนาคารกลางของสิงคโปร์ เพื่อให้สามารถเปิดบริการด้านการเงินได้อย่างเต็มที่ พร้อมกับอีก 3 บริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Grab-Singtel , Ant Group และ และ Greenland Financial Holdings ของจีน

 

ที่มา : Reuters , techinasia 

 

 

]]>
1320256
Google ขู่ระงับบริการใน ‘ออสเตรเลีย’ หากบังคับใช้กฎหมาย จ่ายค่า ‘คอนเทนต์’ ให้สื่อท้องถิ่น https://positioningmag.com/1315935 Fri, 22 Jan 2021 14:47:38 +0000 https://positioningmag.com/?p=1315935 ยักษ์ใหญ่เทคโนโลยีอย่าง ‘Google’ ขู่จะระงับการให้บริการ ‘เสิร์ชเอนจิน’ ในออสเตรเลีย หากรัฐบาลออกกฎหมายให้บรรดาบริษัทแพลตฟอร์มทั้งหลาย ต้องจ่ายค่าจ่ายค่าลิขสิทธิ์ให้กับสำนักข่าวท้องถิ่น

รัฐบาลออสเตรเลีย เตรียมออกกฎหมายให้บริษัทเทครายใหญ่ เช่น Google เเละ Facebook ต้องแบ่งรายได้ให้กับสื่อท้องถิ่น กรณีนำเนื้อหาข่าวไปใช้ ไม่ว่าจะโดยการสืบค้นข้อมูลหรือทาง News Feed ก็ตาม และหากตกลงกันไม่ได้รัฐบาลก็จะแต่งตั้งผู้เจรจาไกล่เกลี่ยเพื่อกำหนดราคาเอง

กฎหมายนี้ ยังกำหนดให้เจ้าของแพลตฟอร์มต้องแจ้งต่อบริษัทสื่ออย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนจะทำการเปลี่ยนแปลงอัลกอริทึม ซึ่งจะมีผลต่อการแพร่กระจายเนื้อหาข่าว และยังมีบทลงโทษในกรณีที่บริษัทเทคเหล่านี้ “บล็อก” ปิดกั้นเนื้อหาเพื่อหลีกเลี่ยงการจ่ายเงิน

Mel Silva ผู้อำนวยการ Google ประจำออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ แจ้งต่อคณะกรรมการวุฒิสภา ว่า หากร่างกฎหมายฉบับนี้ถูกผ่านและบังคับใช้จริง ก็คง ‘ไม่มีทางเลือกอื่น’ ให้บริษัท นอกจากจะต้องยุติให้บริการ Google Searchในออสเตรเลีย

เธอยังให้สัมภาษณ์เพิ่มกับ The Sydney Morning Herald อีกว่า มีความจำเป็นที่ต้องสรุปผลต่างๆ หลังจากที่ได้ตรวจสอบรายละเอียดของกฎหมายฉบับนี้อย่างจริงจัง เรามองไม่เห็นหนทางอื่นๆ เมื่อต้องคำนึงถึงปัจจัยเสี่ยงทางด้านการเงิน รวมถึงการที่เราจะให้บริการในออสเตรเลียต่อไป

โดย Google วิจารณ์ร่างกฎหมายของออสเตรเลียฉบับนี้ว่า ‘มีเนื้อหากว้างเกินไป’ และหากไม่มีการปรับแก้ใหม่ ก็จะก่อความเสี่ยงแก่ผู้ให้บริการสืบค้นข้อมูล

ด้าน Scott Morrison นายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย ตอกกลับคำขู่นี้ทันที โดยบอกว่า เขาไม่ได้สนใจท่าทีหรือปฏิกิริยาตอบโต้ของ Google แต่อย่างใด พร้อมยืนยันว่าจะต้องดำเนินการต่างๆ ต่อไปตามแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้อง

ที่มาของรูป : Pixabay/LoboStudioHamburg

การตัดสินใจของรัฐบาลออสเตรเลียครั้งนี้ คาดว่าได้รับปัจจัยจากสถานการณ์ COVID-19 ที่ทำให้เม็ดเงินโฆษณาหดหาย มีการกดดันให้รัฐต้องปกป้องธุรกิจสื่อในประเทศ

รัฐบาลออสเตรเลียตระหนักได้ว่าระเบียบโดยสมัครใจไม่อาจเกิดขึ้นได้ เมื่ออำนาจการต่อรองไม่เท่าเทียมกัน” ประธานสหพันธ์สื่อบันเทิงและศิลปะกล่าว โดยสหพันธ์นี้เป็นตัวแทนกลุ่มธุรกิจสื่ออาชีพซึ่งเรียกร้องการจัดเก็บค่าคอนเทนต์ดังกล่าวมาตั้งแต่ 3 ปีก่อน

บางส่วนของ Google และ Facebook เติบโตขึ้นมาได้จากคอนเทนต์ข่าวที่ปรากฏในแพลตฟอร์ม แต่ผู้สร้างคอนเทนต์ตัวจริงคือธุรกิจสื่อข่าวทั้งหลายกลับต้องตกที่นั่งลำบาก ระหว่างที่ยังเป็นคนผลิตข่าวที่สำคัญยิ่งต่อสาธารณะ

บริษัทเทคโนโลยีจะต้องเจรจากับบริษัทสื่อด้วยความรับผิดชอบแล้ว และเริ่มจ่ายค่าคอนเทนต์หลังจากที่ใช้ประโยชน์ฟรีๆ มาตลอด

อ่านเพิ่มเติม : สงครามรีดค่าลิขสิทธิ์ออสเตรเลียสั่ง Google-Facebook จ่ายค่า “คอนเทนต์” ให้สื่อดั้งเดิม

ด้านทางการสหรัฐฯ เรียกร้องให้ออสเตรเลียระงับแผนการออกกฎหมายดังกล่าว และขอให้หันไปใช้หลักปฏิบัติที่เน้นความสมัครใจ (voluntary code) แทน

กฎหมายที่บังคับ Facebook และ Google แบ่งรายได้ให้สื่อท้องถิ่น ถูกเสนอขึ้นมาตั้งเเต่ปีที่แล้ว ถือเป็นมาตรการบังคับขั้นรุนแรงต่อบริษัทเทครายใหญ่จากสหรัฐฯ ที่ในปัจจุบันมีอิทธิพลต่ออุตสาหกรรมสื่อเป็นอย่างมาก และออสเตรเลียมองว่าอาจเป็นการบั่นทอนกลไกที่ดีของระบอบประชาธิปไตย

อย่างไรก็ตาม ฝั่งบริษัทเทคกลับมองว่า การบังคับใช้กฎหมายฉบับนี้จะไม่ส่งผลดีกับอุตสาหกรรมสื่อในประเทศตามที่รัฐบาลคิดไว้ โดยที่ผ่านมา Google ยืนยันที่จะปฏิเสธข้อเรียกร้องของรัฐ เเละอ้างว่าสร้างรายได้เพียง 10 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปีจากโฆษณาที่เชื่อมโยงข่าวในออสเตรเลียเท่านั้น

 

ที่มา : AP , SMH , AFP , BBC

]]>
1315935
Twitter อนุญาตพนักงาน Work from Home ได้ “ตลอดไป” เเม้ผ่านพ้น COVID-19 https://positioningmag.com/1278323 Wed, 13 May 2020 11:12:16 +0000 https://positioningmag.com/?p=1278323 COVID-19 กำลังทำให้วัฒนธรรมการทำงานเปลี่ยนไป ล่าสุด Twitter บริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ของโลก อนุญาตให้พนักงานทำงานที่บ้าน หรือ Work from Home ได้ “ตลอดไป” ตามความสมัครใจ เเม้จะผ่านพ้นการเเพร่ระบาดของไวรัสไปแล้วก็ตาม

การตัดสินใจของ Twitter ครั้งนี้ เกิดขึ้นหลังจากที่ให้พนักงานทำงานที่บ้านในช่วงมาตรการล็อกดาวน์ เเล้วประสบความสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ

โดยในแถลงการณ์ระบุว่า “ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมาได้พิสูจน์ให้เห็นว่า เราสามารถทำงานได้ผลดี ดังนั้นหากพนักงานคนไหนที่ตำแหน่งงานสามารถทำงานจากที่บ้านได้ เเละพวกเขาต้องการที่จะทำงานเช่นนี้ตลอดไป เราก็พร้อมจะทำให้มันเกิดขึ้นจริง”

สำหรับพนักงานที่อยากจะเข้าทำงานในออฟฟิศ ทางบริษัทก็พร้อมจะอำนวยความสะดวกให้เช่นเดิม โดยสำนักงานจะยังคงเป็นสถานที่อบอุ่นและเป็นกันเอง แต่จะมีคำแนะนำและข้อควรปฏิบัติสำหรับป้องกันตนเองเพิ่มเติม

Twitter เเพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียชื่อดัง มีสำนักงานใหญ่ในนครซานฟรานซิสโก สหรัฐอเมริกา มีจำนวนพนักงานกว่า 4,000 คนทั่วโลก ได้อนุญาตให้พนักงานทำงานจากบ้านได้ ตั้งแต่เดือน มี.ค.เป็นต้นมา เเละคาดว่าจะกลับมาเปิดสำนักงานได้อีกครั้งในช่วงก่อนเดือน ก.ย.

ก่อนหน้านี้ Jack Dorsey ผู้ก่อตั้ง Twitter และ Square บริษัทระบบจ่ายเงินผ่านอุปกรณ์พกพา ได้บริจาคหุ้นของตัวในที่มีใน Square คิดเป็นมูลค่ากว่า 1 พันล้านเหรียญเพื่อสู้กับภัย COVID-19 โดยการบริจาคครั้งนี้คิดเป็นเกือบ 30% ของมูลค่าทรัพย์สินทั้งหมดของเขาที่มีอยู่ราว 4.6 พันล้านเหรียญ

ด้าน Sree Sreenivasan ศาสตราจารย์ด้านนวัตกรรมดิจิทัล มหาวิทยาลัย Stony Brook ให้ความเห็นต่อกรณีว่า เราสามารถเรียนรู้การทำงานเเบบยืดหยุ่นได้จาก Silicon Valley หลายคนมีทัศนคติว่าการทำงานที่บ้านเป็นหลบหน้าจากเจ้านาย และการเจอหน้ากันที่สำนักงานเป็นเรื่องสำคัญ เเต่ตอนนี้ผู้คนกำลังพิสูจน์ว่าพวกเขาสามารถทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและทำงานสำเร็จได้จากที่บ้าน

ขณะเดียวกันก็มีหลายคนบอกว่าพวกเขารู้สึกว่า “ทำงานหนักขึ้นเเละเหนื่อยจนหมดเเรง” เมื่อต้องทำงานเเบบ Work from Home

ตอนนี้ในหลายประเทศ เริ่มดำเนินการคลายล็อกดาวน์เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจเเละการใช้ชีวิตของผู้คน พร้อมมาตรการทางสังคมเเบบใหม่ เพื่อป้องกันการระบาดของ COVID-19 หลายบริษัททั่วโลกได้เริ่มกลับมาเปิดทำการที่สำนักงานอีกครั้ง เเต่ขณะที่ยักษ์ใหญ่ไอทีเจ้าอื่นอย่าง Google และ Facebook ยังคงอนุญาตให้พนักงานที่ทำงานที่บ้านจนถึงสิ้นปีนี้

 

ที่มา : BBC / Twitter allows staff to work from home ‘forever’

]]>
1278323
จับชีพจรบริษัทยักษ์ใหญ่ของโลกกลางวิกฤต COVID-19 มีทั้งคนที่ “รอด” และคนที่ “ร่วง” https://positioningmag.com/1278275 Wed, 13 May 2020 07:58:12 +0000 https://positioningmag.com/?p=1278275 วิกฤตโรคระบาดไวรัส COVID-19 สำแดงฤทธิ์ในรายงานผลประกอบการบริษัทไตรมาสแรก โดยบริษัทระดับโลกถูกแยกออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่คือ กลุ่มที่ยังดำเนินงานต่อได้แถมยังทำรายได้พุ่งทะยาน กับกลุ่มบริษัทที่ต้องกัดฟันสู้

สำนักข่าว CNN รายงานสถานการณ์บริษัทในตลาดหุ้น หลังทยอยแจ้งผลประกอบการไตรมาสแรกของปี 2020 พบว่าธุรกิจบางประเภท ได้แก่ ธุรกิจยาและเวชภัณฑ์ ธุรกิจจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภค และธุรกิจเทคโนโลยี สามารถทำรายได้พุ่งทะยานแม้จะมีคำสั่งให้ประชาชนอยู่กับบ้าน

ธุรกิจคลาวด์ของ Microsoft เติบโตติดจรวดจนมีผู้ใช้เฉลี่ย 75 ล้านคนต่อวัน ขณะที่บริษัทยา Eli Lilly ได้อานิสงส์เมื่อองค์การอาหารและยาสหรัฐฯ อนุญาตขึ้นทะเบียนยารักษามะเร็งตัวใหม่ของบริษัท

แต่ทว่า กลุ่มที่ใหญ่กว่าคือ บริษัทที่ไม่มีลูกค้าจากมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม หรือดีมานด์สินค้าหดตัวอย่างรุนแรง ตัวอย่างเช่น Disney ยักษ์ใหญ่ในอุตสาหกรรมบันเทิง และ Marriott เชนโรงแรมที่ใหญ่ที่สุดในโลก ทั้งคู่ต่างรายงานผลกำไรดิ่งเหว หลังจากสวนสนุกและโรงภาพยนตร์ถูกปิดทำการ รวมถึงการท่องเที่ยวถูกจำกัด แถมยังประเมินว่าอนาคตจะยังมีความท้าทายต่อไป

Hua Hin Marriott Resort and Spa
เชนโรงแรมที่ใหญ่ที่สุดในโลก Marriott รายงานผลกำไรสุทธิไตรมาส 1/63 หดตัวรุนแรงถึง 92% จากโรคระบาดไวรัส COVID-19 หยุดการท่องเที่ยว

“การฟื้นตัว (ทางเศรษฐกิจ) จะไม่เกิดขึ้นพร้อมกันทุกภูมิภาค และไม่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วชั่วข้ามคืน” อาร์น โซเรนสัน ซีอีโอแห่ง Marriott กล่าวกับนักวิเคราะห์เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา “มันอาจจะต้องใช้เวลายาวนานกว่าที่พวกเราต้องการ”

หนทางข้างหน้ายังคงไม่มีอะไรแน่นอนสำหรับทั้ง 2 กลุ่มบริษัท เพราะการระบาดของไวรัส COVID-19 ทำให้ยากที่จะวางแผนอนาคต แต่สำหรับบริษัทที่ไม่สามารถทำธุรกิจอะไรได้ในวิกฤตครั้งนี้ เส้นทางไม่กี่เดือนข้างหน้าคือการเสี่ยงดวงว่าจะออกหัวหรือก้อย

 

บริษัทที่ยังยิ้มได้

กลุ่มบริษัทที่เห็นได้ชัดว่ารอดพ้นจากวิกฤตครั้งนี้คือ บริษัทเทคโนโลยี แน่นอนว่าพวกเขาเผชิญความท้าทายบางประการเช่นกัน เช่น การขาดแคลนซัพพลายเชน แต่ส่วนใหญ่แล้วธุรกิจกลุ่มนี้ได้อานิสงส์จากการทำงานทางไกลที่พุ่งสูงขึ้น ทำให้การใช้งานออนไลน์สูงขึ้นตาม เข้าทางกลุ่มบริษัทเทคฯ ที่พัฒนาสินค้าและบริการตอบโจทย์เหล่านี้อยู่แล้ว

Google และ Facebook ต่างทำยอดขายโฆษณาออนไลน์ได้ตามเป้าในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา Google รายงานรายได้ Q1/20 อยู่ที่ 4.12 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ และ Facebook รายงานรายได้ 1.77 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ

ฝั่ง Netflix มีสมาชิกเพิ่มขึ้นอีก 16 ล้านคนในไตรมาสแรกของปี และทำกำไรเพิ่มมากกว่าเท่าตัวเทียบช่วงเดียวกันของปี 2019 ฟากบริษัทเกม Nintendo ทำกำไรในรอบบัญชีที่ปิดเมื่อเดือนมีนาคม 2020 สูงขึ้น 41% จากความสำเร็จล้นหลามของเกม Animal Crossing และการขายเครื่อง Nintendo Switch

Netflix คือหนึ่งในไม่กี่บริษัทที่มีผลการดำเนินงานดีขึ้นในวิกฤต COVID-19 โดยมียอดสมัครสมาชิกเพิ่ม 16 ล้านรายภายในไตรมาสเดียว

กระนั้นเอง สถานการณ์ไวรัส COVID-19 จะเริ่มกระทบบริษัทที่ยังยิ้มได้เหล่านี้ในไม่ช้า ตัวอย่างเช่น Netflix แม้จะถ่ายทำคอนเทนต์สำหรับฉายในปี 2020 ไปเกือบหมดแล้ว แต่สำหรับการถ่ายทำคอนเทนต์ที่จะฉายปี 2021 นั้นเป็นหนังคนละม้วนเลยทีเดียว

Amazon ที่มียอดเดลิเวอรี่สูงขึ้นมาก บริษัทกล่าวว่า หากบริษัททำยอดขายได้เท่านี้ในช่วงเวลาปกติ Amazon จะมีกำไร 4 พันล้านเหรียญภายในไตรมาสแรก แต่ เจฟฟ์ เบโซ ซีอีโอบริษัทกล่าวว่า กำไรทั้งหมดนั้นหรืออาจจะมากกว่านั้นจะต้องถูกนำกลับไปลงทุนเพื่อรับมือกับสถานการณ์เกี่ยวเนื่องไวรัส COVID-19 เช่น อุปกรณ์ป้องกันเชื้อไวรัสให้กับพนักงาน กระบวนการทำความสะอาดคลังสินค้า

ในทำนองเดียวกัน Tesco เชนซูเปอร์มาร์เก็ตที่ใหญ่ที่สุดในอังกฤษ กล่าวว่า ค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมเพื่อรับมือไวรัสอาจพุ่งไปแตะ 650 ล้านปอนด์หากการล็อกดาวน์เกิดขึ้นระยะยาวถึง 12 สัปดาห์ เพราะบริษัทต้องจ่ายเงินเดือนพนักงานเพิ่ม บริหารการกระจายสินค้า ค่าใช้จ่ายการทำความสะอาดและซ่อมบำรุง

แต่อย่างน้อยๆ บริษัทเหล่านี้ก็มีรายได้เข้ามาให้บริหาร…

 

บริษัทที่ต้องเอาตัวรอด

ตัดภาพมาอีกกลุ่มบริษัทหนึ่งอย่าง สายการบิน โรงแรม เสื้อผ้าแฟชั่น ฯลฯ ช่องทางหารายได้ของพวกเขาถ้าไม่ถูกปิดโดยสมบูรณ์ก็มีมาตรการจำกัดอย่างรุนแรง บริษัทเหล่านี้ก้าวเข้าสู่โหมดเอาตัวรอดไปแล้วและกำลังทำทุกวิถีทางเพื่อรักษากระแสเงินสด

“ตั้งแต่กลางเดือนมีนาคม เราก็ถูกหยุดทุกอย่าง” ไมเคิล ราปิโน ซีอีโอบริษัท Live Nation ผู้จัดอีเวนต์ กล่าวกับนักวิเคราะห์เมื่อสัปดาห์ก่อน “เราไม่ได้จัดคอนเสิร์ตแม้แต่ครั้งเดียวมาเกือบสองเดือนแล้ว”

Disney ต้องปิดทำการสวนสนุกทั่วโลก และต้องเลื่อนการฉายภาพยนตร์ Mulan ออกไป (photo: Disney World)

Disney บริษัทยักษ์ใหญ่เผชิญปัญหากำไรดิ่งลงถึง 91% ในไตรมาสแรกของปี เนื่องจากบริษัทถูกบังคับปิดทำการสวนสนุกและรีสอร์ต รวมถึงต้องดีเลย์การเปิดฉายภาพยนตร์ฟอร์มยักษ์ Mulan ออกไปก่อน

บ๊อบ ไอเกอร์ ประธานบริหาร Disney ยังมองในแง่บวกว่าถ้าหากวิกฤตจบลงเมื่อไหร่ เขามั่นใจว่าผู้บริโภค “จะกลับมาทำกิจกรรมที่คุ้นเคย” แต่สำหรับตอนนี้ บริษัทยังอยู่ในช่วงที่บีบคั้น

Marriott มีสถานการณ์ไม่ต่างกันนักด้วยกำไรที่ลดลง 92% รายได้เฉลี่ยต่อห้องลดลงไป 90% ในเดือนเมษายน โดยที่ 1 ใน 4 ของโรงแรมในเครือทั่วโลกยังคงปิดทำการ

สำหรับธุรกิจแฟชั่นได้รับผลกระทบตั้งแต่ก่อนมีการล็อกดาวน์ทั่วโลก เพราะผู้บริโภคเริ่มระมัดระวัง ใช้จ่ายเฉพาะสินค้าจำเป็นทำให้ดีมานด์ลดลงอยู่แล้ว จนกระทั่งการทยอยเว้นระยะห่างทางสังคมก็เริ่มที่การปิดศูนย์การค้าก่อน บางบริษัทในสหรัฐฯ ที่ไม่แข็งแรงพอ เช่น J.Crew และ Neiman Marcus นั้นยื่นขอล้มละลายไปแล้วเมื่อสัปดาห์ก่อน

 

“ดาวร่วง” มีมากกว่า “ดาวรุ่ง”

สรุปรวมแล้ว ผลประกอบการไตรมาสแรกชี้ชัดว่าบริษัทส่วนใหญ่อยู่ในภาวะยากลำบากมากกว่ากลุ่มบริษัทที่กำลังเติบโต โดยกลุ่มบริษัทใน S&P 500 มีการรายงานผลประกอบการแล้ว 430 บริษัท ในจำนวนนี้มีเพียง 10% ที่ปรับคาดการณ์ผลกำไรในไตรมาสสองขึ้นอีก ถือเป็นสัดส่วนที่น้อยที่สุดที่เคยเกิดขึ้นนับตั้งแต่วิกฤตเศรษฐกิจปี 2008

“ทุกคนได้รับผลกระทบเชิงลบจากสิ่งที่เกิดขึ้น คำถามมีเพียงว่า ‘หนักแค่ไหน?'” ปีเตอร์ บุ๊กวาร์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการลงทุนจาก Bleakley Advisory Group กล่าว

สายการบิน : กลุ่มธุรกิจที่เผชิญวิกฤตหนักที่สุดจากโรคระบาดครั้งนี้ (Photo by Paula Bronstein/Getty Images)

บริษัทส่วนมากพยายามอยู่กับความเป็นจริง หลายบริษัทส่งสัญญาณประเมินสถานการณ์แล้วว่า ธุรกิจของตนคงไม่ฟื้นตัวเร็วนัก

อย่างไรก็ตาม กลุ่มธุรกิจที่ถูกตัดช่องทางหารายได้แทบจะสิ้นเชิง เช่น สายการบิน จำเป็นต้องกลับมาดำเนินธุรกิจให้ได้ในเร็วๆ นี้ มิฉะนั้นการปลดพนักงานจะยิ่งพุ่งสูงและการลดขนาดองค์กรในช่วงที่ผ่านมาจะกลายเป็นสิ่งถาวร แต่จะยังไม่ใช่การเปิดธุรกิจอย่างเต็มที่ เพราะหลายบริษัทยังคงระมัดระวังเรื่องการระบาดซ้ำ ซึ่งจะสร้างบาดแผลให้ธุรกิจเป็นระลอกที่สองและอาจจะมากเกินกว่าที่บริษัทรับได้ไหว

เมื่อการคลายล็อกดาวน์เริ่มบังคับใช้ สถานที่ต่างๆ อย่างศูนย์การค้า โรงแรม ร้านค้า จะมีบรรยากาศที่ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป แผงพลาสติกจะกั้นกลางระหว่างลูกค้ากับพนักงานร้าน และทุกประตูจะมีเครื่องตรวจวัดอุณหภูมิรออยู่ แต่นั่นคงเป็นสถานการณ์ที่ดีที่สุดแล้วสำหรับหลายๆ บริษัท

Source

]]>
1278275
ชี้ยุคทองของซิลิคอนวัลเลย์ “จบลงแล้ว” https://positioningmag.com/1144494 Fri, 27 Oct 2017 05:45:41 +0000 https://positioningmag.com/?p=1144494 ท่ามกลางการประกาศตัวเลขผลประกอบการที่อู้ฟู่ของบริษัทเทคโนโลยีของสหรัฐอเมริกาในไตรมาสล่าสุด มหาเศรษฐีชื่อดังในแวดวงซิลิคอนวัลเลย์ “ปีเตอร์ ธีล” (Peter Thiel) ได้ออกมาวิเคราะห์สวนทางการเติบโตของตัวเลขเหล่านี้ด้วยการบอกว่า ฐานะการเป็นศูนย์กลางของวงการเทคโนโลยีของซิลิคอนวัลเลย์นั้น “กำลังจะจบลงแล้ว”

คำกล่าวของปีเตอร์ ธีลเกิดขึ้นในงาน The Future Investment Initative ที่จัดขึ้นในเมืองริยาด ประเทศซาอุดิอาระเบีย โดยเขามองว่าในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา มีการลงทุนในซิลิคอนวัลเลย์เกิดขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะในด้านเทคโนโลยีและไอที ทำให้ในช่วง 10 – 15 ปีนี้ซิลิคอนวัลเลย์เป็นศูนย์กลางของการจับตามองจากทั่วโลก รวมถึงทำให้มีกิจการใหม่ ๆ เกิดขึ้นในซิลิคอนวัลเลย์อย่างต่อเนื่อง

ในฐานะผู้ประกอบการ การเดินทางเข้าไปขุดทองที่ซิลิคอนวัลเลย์อาจไม่ใช่เรื่องผิด แต่ในแง่ของนักลงทุน ความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ทำให้พวกเขาต้องมองหาสถานที่ใหม่ที่จะเป็นโอกาสครั้งต่อไปแล้ว

นั่นนำมาซึ่งคำถามของนักลงทุนต่อเหตุการณ์ดังกล่าวว่า “ใครจะเป็นสถานที่ใหม่ในการเป็นศูนย์กลางของโลกในยุคต่อไป” ซึ่งอาจเป็นอีก 10 ปีข้างหน้า โดยปีเตอร์ ธีลมองว่าคงมีอีกหลายพื้นที่ของโลกที่จะผุดขึ้นมา ไม่ใช่ซิลิคอนวัลเลย์กุมอำนาจทั้งหมดเอาไว้ได้ฝ่ายเดียวอีกต่อไป

หรือในกรณีของซิลิคอน วัลเลย์เอง สุดท้ายบริษัทที่เติบโตขึ้นมานั้นก็ต่างก้าวไปสู่การสเกลให้เป็นบริษัทระดับโลก ซึ่งบริษัทเหล่านี้เองก็ตระหนักดีว่าการสร้างบริษัทในลักษณะนี้สามารถเกิดขึ้นที่ใดก็ได้ ขอแค่มีคนเก่ง มีเงินทุน มีการสนับสนุนที่เหมาะสมจากภาครัฐ นั่นจึงทำให้ทุกที่ของโลกมีโอกาสเป็นศูนย์กลางทางด้านเทคโนโลยี ไม่ต้องจำกัดเฉพาะในพื้นที่ ๆ เดียว

โดยสถานที่ที่ปีเตอร์ ธีลคาดว่าจะเป็นหนึ่งในศูนย์กลางโลกเทคโนโลยีแห่งใหม่ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้านี้ก็คือ “จีน” เนื่องจากมีบริษัทที่น่าสนใจหลายแห่งถือกำเนิดขึ้นมา แต่เขาก็ไม่ได้มีการระบุเป็นชื่อเมืองหรือชื่อมณฑลในจีนที่ชัดเจน ซึ่งเขากล่าวโดยสั้น ๆ ว่า ยังไม่อาจระบุได้ และนี่เป็นเพียงการคาดการณ์ในมุมของนักลงทุนที่มองว่า ยังมีโอกาสอีกมากรออยู่นอกสหรัฐอเมริกานั่นเอง.

ที่มา : mgronline.com/cyberbiz/detail/9600000108959

]]>
1144494