ออนไลน์ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Sat, 25 Sep 2021 13:03:52 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ‘เเม็คกรุ๊ป’ ปรับเกมปั้นเเบรนด์เเฟชั่นไลฟ์สไตล์ ทุ่มออนไลน์ ผสมขยายสาขาใน ‘ปั๊มน้ำมัน’ https://positioningmag.com/1353380 Fri, 24 Sep 2021 15:38:36 +0000 https://positioningmag.com/?p=1353380 แม็คกรุ๊ปปรับกลยุทธ์มุ่งสู่ รีเทลเต็มรูปแบบ ผสมออฟไลน์-ออนไลน์ ปั้นเเบรนด์เเฟชั่นไลฟ์สไตล์ ให้เป็นมากกว่ายีนส์ตุนเงินสด 1.8 พันล้านในมือ ต่อยอดธุรกิจ

วงการเเฟชั่นได้รับผลกระทบไม่น้อยจากวิกฤตโควิด-19 เมื่อผู้คนออกมาทำกิจกรรมนอกบ้านน้อยลง สาขาหน้าร้านต้องปิดชั่วคราวจากมาตรการล็อกดาวน์ เเละผู้บริโภคจำใจต้องประหยัด เพื่อเก็บเงินไว้ซื้อของที่จำเป็นกว่า

เเต่หลังจากสถานการณ์เริ่มคลี่คลาย การกระจายวัคซีนคืบหน้า เหล่าลูกค้าก็เริ่มออกมาจับจ่ายใช้สอยกันมากขึ้น บางคนจ่ายหนักยิ่งกว่าเดิม เพื่อชดเชยการอดช้อปในช่วงที่ผ่านมา

แม็คกรุ๊ป เป็นอีกบริษัทที่มีการปรับกลยุทธ์รับมือโรคระบาดได้อย่างน่าสนใจ ด้วยผลงานการปิดงวดปีบัญชี 2564 กำไรสุทธิเติบโตเกือบ 10% แตะ 446 ล้านบาท กวาดรายได้จากการขาย 3,220 ล้านบาท จากการเดินเกมการตลาดเชิงรุก อัดแคมเปญโปรโมชันกระตุ้นยอดขายทั้งออนไลน์เเละออฟไลน์

หลังเข้ามารับตำเเหน่งได้ 4 เดือน ‘เจมส์ ริชาร์ด อมตวิวัฒน์รักษาการประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แม็คกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ MC ต้องเข้ามารับมือความท้าทายในการขับเคลื่อนองค์กรครั้งใหญ่

โดยก่อนที่จะมาร่วมงานกับ MC เขาเคยบริหารงานเป็นซีอีโอที่ไมเนอร์ ไลฟ์สไตล์มาถึง 6 ปี เเละอยู่ในวงการ FMCG มายาวนาน ประสบการณ์การทำงานกว่า 30 ปีที่ผ่านมา จึงได้ถูกนำมาใช้ในการวางเเผนกลยุทธ์ต่างๆ ในยามวิกฤต

การดำเนินการลดต้นทุนอย่างจริงจังในทุกๆ ส่วนงาน และมุ่งเพิ่มยอดขายให้เติบโตผ่านช่องทางออนไลน์ ขณะที่ยังคงรักษารายได้ และความสามารถในการทำกำไรของช่องทางออฟไลน์ รวมไปถึงให้ความสำคัญในเรื่องสุขภาพและความปลอดภัยของพนักงานที่ได้มีการจัดให้พนักงานได้รับวัคซีนอย่างทั่วถึงด้วย

ขยายสาขาในปั๊มน้ำมัน รับเปิดเมือง 

ริชาร์ด ยอมรับว่าภาพรวมของตลาดรวมในประเทศไทยนั้นได้รับผลกระทบพอสมควร หลักๆ มาจากการที่ต้องปิดช่องทางการขายทางออฟไลน์ไปกว่า 50% ในช่วงล็อกดาวน์เเต่หลังจากที่มีสัญญาณจะเริ่มเปิดเมือง ยอดขายหน้าร้านในเดือนก.. ก็กระเตื้องขึ้นมาอย่างมีนัยสำคัญ

บริษัทกำลังวางแผนจับมือกับพันธมิตรกลุ่มปตท.’ ในการขยายสาขา Mc Outlet ไปยังสถานีบริการน้ำมันต่างๆ ของบริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR ซึ่งจะมีการเปิดตัว Mc Outlet สาขาใหม่ที่วังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพิ่มอีก 1 แห่ง ในวันที่ 1 ..นี้

กลุ่มเป้าหมายเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวที่จะออกเดินทางกันมากขึ้นในช่วงปลายปี และรองรับกำลังซื้อหลังเปิดเมือง

ทั้งนี้ ปัจจุบัน Mc Outlet มีสาขาอยู่ 55 แห่งในปตท. และมีร้านออฟไลน์ 279 แห่ง ร้านชอปอินชอป 143 แห่ง อื่นๆ 45 แห่ง รวมทั้งสิ้น 522 แห่ง โดยเเบ่งเป็นสัดส่วนนอกกรุงเทพฯเเละปริมณฑลถึง 60%

โดยพฤติกรรมของลูกค้าเปลี่ยนไปบ้าง อาจจะซื้อเสื้อผ้าน้อยลงในช่วงที่ต้องอยู่เเต่บ้าน เเต่ความต้องการยังมีอยู่เเละเริ่มมีสัญญาณความอยากช้อปปิ้ง อยากกลับมาเเต่งตัวเเละอยากใช้ชีวิตปกติมากขึ้นเรื่อยๆ

โลกเเห่งการ Omni Channel 

เมื่อเตรียมขยายฝั่งออฟไลน์เเล้ว ก็ต้องสานต่อฝั่งออนไลน์ให้เติบโตขึ้นไปอีก โดย MC จะเน้นไปที่การสร้างปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าทางออนไลน์ หรือ Online Engagement จากฐานลูกค้าที่เป็นสมาชิก MC CLUB กว่า 1.6 ล้านคนเเละนำดาต้าที่มีอยู่มาประยุกต์ใช้

โดยล่าสุดได้เปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ของ MC CLUB ที่สามารถใช้งานได้สะดวกสบายผ่าน LINE OA สำหรับช่องทางโซเชียลมีเดียของบริษัท เช่น Facebook Page Mc Jeans มีผู้ติดตามประมาณ 1 ล้านคน

ในอนาคต เราคาดหวังว่ายอดขายจากช่องทางออนไลน์จะเป็นไปตามเป้าหมายที่ 15% ของยอดขายรวมทั้งหมดของบริษัท จากปีก่อนอยู่ที่ 389 ล้านบาท คิดเป็น 12%”

สำหรับในปีบัญชี 2564/2565 Mc คาดว่าจะใช้งบลงทุน 80 ล้านบาท ขยายทั้งธุรกิจออนไลน์และธุรกิจออฟไลน์ ซึ่งปัจจุบันสัดส่วนยอดขายของธุรกิจออนไลน์ก็เริ่มใกล้เคียง 15% ตามเป้าที่วางไว้

ควบคู่ไปกับแผนเปิดสาขาใหม่ รวม 22 สาขา ประกอบด้วย Mc Outlet 15 แห่ง SHOP 4 แห่งและเคาน์เตอร์ในห้างสรรพสินค้า 3 เคาน์เตอร์

จะมีการปรับรูปแบบการจัดร้าน เน้นหาสินค้าได้ง่าย เห็นได้ทั่วถึงเเละดูทันสมัย รวมไปถึงการดีไซน์สินค้าใหม่ๆ ที่จะมีการนำเสนอนวัตกรรมมาพร้อมกับเเฟชั่น อย่างการป้องกันเชื้อโรค สวมใส่สบาย ฯลฯ

เปรียบเทียบ ก่อน-หลัง การจัดวางรูปเเบบร้านใหม่

ขณะที่ในอนาคตอีก 2 ปีข้างหน้า บริษัทวางแผนจะใช้เงินประมาณ 400 ล้านบาทในการสร้างศูนย์กระจายสินค้าที่จะรวมทั้งออนไลน์และออฟไลน์ไว้ในที่เดียวกัน

บริษัทจะใช้กลยุทธ์ทั้งออฟไลน์และออนไลน์ เพื่อสนับสนุนการเติบโตโดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ให้ความสำคัญกับลูกค้าเป็นหลัก ในส่วนของออนไลน์ นอกจาก mcshop.com ก็ยังมีช่องทางมาร์เก็ตเพลซและพันธมิตรออนไลน์ ทั้ง Shopee, Lazada, และ JD CENTRAL”

ขอมุ่งโฟกัสตลาดไทย 

ด้านเป้าหมายการดำเนินธุรกิจในปีบัญชี 2564/2565 ทางแม็คกรุ๊ป ประกาศว่า จะส่งแม็คยีนส์ไปเป็นบริษัทค้าปลีกประเภทสินค้าแฟชั่นและไลฟ์สไตล์ชั้นนำให้ได้ เเละคาดหวังว่ารายได้เติบโตจากปีก่อน

โดยบริษัทจะเน้นไปที่การจัดการต้นทุนสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผ่านกลยุทธ์การตลาดแบบเฉพาะเจาะตรงกลุ่มเป้าหมาย สัดส่วนการขายสินค้า การบริหารช่องทางจัดจำหน่ายที่เหมาะสม 

ในช่วงปีสองปีนี้ MC จะโฟกัสธุรกิจในตลาดไทยเป็นหลัก จึงจะต้องใช้กลยุทธ์ Localization เข้าถึงท้องถิ่นให้มากขึ้น ขณะที่ก็ยังมี 4-5 ประเทศที่ดูๆ อยู่ เเต่จะไม่ได้ไปเน้นมากนัก

สำหรับเเนวทางการดำเนินธุรกิจจะมีอยู่ 5 ประเด็นหลักๆ ได้เเก่

1. เพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจทั้งด้านการเงิน การพัฒนาศักยภาพทางการผลิตสินค้าและบริการ 

2. ขยายฐานการรับรู้แบรนด์และชื่อเสียงของผลิตภัณฑ์และขยายกลุ่มลูกค้า

3. พัฒนาแพลตฟอร์มค้าปลีกช่องทางออนไลน์ออฟไลน์และการเชื่อมต่อกันอย่างมีศักยภาพ

4. การปรับเปลี่ยนการดำเนินงานในองค์กร

5. เพิ่มศักยภาพของเทคโนโลยีและกระบวนการต่างๆ เพื่อสนับสนุนการดำเนินธุรกิจทั้งห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain)

ตุนเงินสด 1.8 พันล้านในมือ ต่อยอดธุรกิจ

เมื่อถามถึงความสนใจในธุรกิจอื่นที่นอกเหนือจากเเหชั่นเเละไลฟ์สไตล์ ซีอีโอ MC ตอบว่ามีการมองหาโอกาสธุรกิจใหม่ๆ อยู่เสมอเเต่เเตกต่างไปจากเดิม

อย่างเมื่อต้นเดือนก..ที่ผ่านมา เพิ่งเปิดขายแคปซูล ‘สารสกัดกระชายขาว‘ แบรนด์พีเอ็มเอชจากผลงานวิจัยของ ม.มหิดล และศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ผ่านช่องทางออนไลน์บนเว็บไซต์ mcshop.com ให้คนไทยเข้าถึงได้ง่ายขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการกระชายขาวที่เพิ่มสูงขึ้นในตลาดช่วงโควิด

การที่ Mc เป็นบริษัทที่ไม่มีหนี้สินเเละงวดสิ้นปีบัญชีที่ผ่านมา บริษัทมีเงินสดในมือกว่า 1,864 ล้านบาท ช่วยหนุนให้บริษัทหาโอกาสในการเติบโตได้เพิ่มขึ้น อย่างการเข้าซื้อกิจการ (M&A) เเละอื่นๆ รวมถึงยังสามารถจ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้นได้ต่อเนื่อง

ส่วนแนวโน้มผลประกอบการงวดปี 64/65 บริษัทคาดว่ารายได้จะเติบโตราว 7-8% ลดลงจากเดิมที่คาดจะเติบมากกว่า 10% จากปีก่อน เนื่องจากในช่วง 2 เดือนแรกที่ผ่านมา ได้รับผลกระทบจากมาตรการล็อกดาวน์ แต่ล่าสุดได้กลับมาเปิดอีกครั้งแล้ว

แม้ว่าในรอบปีบัญชี 2564 จะต้องเผชิญกับวิกฤตโควิดระลอกแล้วระลอกเล่า แต่เมื่อสถานการณ์การระบาดลดลงและการฉีดวัคซีนมีอัตราเพิ่มขึ้น จนรัฐบาลเตรียมประกาศเปิดเมือง ก็ทำให้มั่นใจว่าปีนี้บริษัทจะสามารถเติบโตได้ตามเป้าหมายที่วางไว้

สำหรับเป้าหมายในช่วง 3 ปีข้างหน้า Mc หวังว่าการเติบโตของรายได้จะทำได้ในระดับดับเบิลดิจิต’ 

 

]]>
1353380
‘โควิด’ ดันยอดใช้เน็ตคนไทยพุ่ง 10 ชม./วัน พร้อมเปิดใจใช้อีคอมเมิร์ซสูง 76.6% https://positioningmag.com/1350293 Sun, 05 Sep 2021 04:05:24 +0000 https://positioningmag.com/?p=1350293 เพราะการระบาดของ COVID-19 ที่ทำให้การใช้ชีวิตประจำวันส่วนใหญ่ของคนไม่ว่าจะทำงาน, เรียน หรือทำกิจกรรมผ่อนคลายต่าง ๆ ต้องทำผ่านออนไลน์ ทาง สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สดช.) ได้ทำการสำรวจใน 77 จังหวัด จากกลุ่มตัวอย่างกว่า 39,145 ตัวอย่าง เพื่อสำรวจถึงพฤติกรรมการใช้งานอินเทอร์เน็ตของคนไทยในช่วง COVID-19

วรรณพร เทพหัสดิน ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เปิดเผยผลสำรวจว่า ประชากรทั้งประเทศมีพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตเฉลี่ยถึงวันละ 6-10 ชั่วโมง และในสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอีก โดยแบ่งเป็น

  • ใช้ประชุมออนไลน์ หรือ ทำงานจากที่บ้าน 75.2%
  • ใช้สำหรับเรียนออนไลน์ 71.1%
  • ซื้อสินค้าออนไลน์ 67.4%
  • ใช้เพื่อการติดต่อเล่นโซเชียล 65.1%
  • ทำธุรกรรมการเงิน 54.7%

และจากการสำรวจพบว่า ประชาชนยอมรับและเชื่อถือการใช้อีคอมเมิร์ซมากขึ้น ประชาชนที่มีการซื้อ สินค้าบริการออนไลน์สูงขึ้นทําให้เติบโตเร็วจาก 37.7% เป็น 76.6% ในปีที่ผ่านมา สอดคล้องกับที่ สุริพงษ์ ตันติยานนท์ ผู้จัดการวีซ่า ประจำประเทศไทย ได้เปิดเผยว่า ผู้บริโภคชาวไทยซื้อสินค้าออนไลน์บนสมาร์ทโฟนทุก ๆ สองวัน หรือเฉลี่ย 14 ครั้งในหนึ่งเดือน นอกจากนี้ 82% ได้ลองใช้ชีวิตแบบไร้เงินสดในช่วงการระบาด และ 71% ใช้อิเล็กทรอนิกส์เพย์เมนต์

อีกทั้งจากการสำรวจยังพบว่าธุรกิจที่มีการใช้ช่องทางออนไลน์เพิ่มขึ้น ประกอบด้วย ธุรกิจการเกษตรเพิ่มขึ้น 54.6% อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้น 27.4% ขนส่งและโลจสิติกส์เพิ่มขึ้น 27.9%

โดยผู้ประกอบการเอกชนมีการใช้งานเทคโนโลยียุคใหม่ ทั้ง คลาวด์ และ ดาต้า อนาไลติกส์ ในสัดส่วนที่สูงขึ้น แบ่งเป็นคลาวด์ 70.3% ดาต้า อนาไลติกส์ 61.5% และ เอไอ 41%

ส่วนธุรกิจที่มีการใช้ช่องทางออนไลน์ลดลงในช่วง COVID-19 คือ การท่องเที่ยวและสันทนาการลดลง -76.4% แฟชั่นลดลง -44.8% วัสดุอุตสาหกรรมและเครื่องจักร -36.8%

]]>
1350293
เทรนด์ฮิตที่คาดไม่ถึง พลิกธุรกิจ ‘กล่องสุ่มอาหารทะเล’ จับใจคนชอบลุ้น เเต่ต้องคุ้มค่า https://positioningmag.com/1347219 Wed, 18 Aug 2021 12:40:50 +0000 https://positioningmag.com/?p=1347219 มิติใหม่ของการขายสินค้าที่กำลังฮือฮาในโลกโซเซียลในยามวิกฤตโควิด ณ ตอนนี้ คงหนีไม่พ้นกล่องสุ่มที่มีสารพัดรูปเเบบทั้งสินค้าอุปโภคบริโภค เครื่องสำอางไปจนถึงแกดเจ็ตไอที เเต่ที่ฮิตสุดๆ ถึงขั้นต้องเเย่งชิงกันเลยก็คือ ‘กล่องสุ่มอาหารทะเล

การประกาศขายสินค้าโดยที่ลูกค้าไม่รู้ว่าจะได้รับอะไรบ้าง และสุ่มให้ลูกค้าผู้โชคดีเท่านั้น เป็นกลยุทธ์ความไม่เเน่นอนที่ดึงดูดความสนใจให้ลองได้ดีทีเดียว

เทรนด์การตลาดที่มาเเรงนี้ ทำให้ศึกขาย ‘อาหารทะเลต้องเเข่งขันกันดุเดือดมากขึ้นไปอีก โดยเฉพาะเหล่าพ่อค้าเเม่ค้าที่เคยมีหน้าร้านในตลาดสด ไปจนถึงบรรดาฟาร์มประมง ที่วันนี้ต้องปรับตัวมาขายออนไลน์เกือบ 100%

กล่องสุ่มอาหารทะเล ส่วนใหญ่จะมีราคาเริ่มต้นที่กล่องละ 500 บาทขึ้นไป ผสมรวมทั้งปลา กุ้ง กั้ง ปลาหมึกเเละหอยชนิดต่างๆ

‘เเจ็ค – ปิยะ จงพิริยะไพบูลย์เจ้าของร้าน ทะเลมือถือปลาทะเลออนไลน์ ที่มีคนติดตามในเฟซบุ๊กกว่า 1.8 หมื่นราย ภายในเวลาไม่ถึงเดือน ให้สัมภาษณ์กับ Positioning โดยเล่าย้อนไปถึงที่มาของไอเดียกล่องสุ่มนี้ว่า…

ก่อนหน้านี้ ครอบครัวทำธุรกิจขายอาหารทะเลมานานกว่า 10 ปี เเต่เปิดขายเฉพาะที่หน้าร้านเเบบ ‘ออฟไลน์’ ที่ตลาดบางกะปิ ไม่เคยขายทางออนไลน์มาก่อน เเต่เนื่องจากมาตรการล็อกดาวน์เเละสถานการณ์โควิด-19 ทำให้มีช่วงที่ตลาดต้องปิดให้บริการชั่วคราว จากนั้นเเม้จะกลับมาเปิดทำการ ผู้คนก็ออกมาซื้อของที่ตลาดสดลดลงมาก

เมื่อต้องหยุดขายไปเป็นเดือนๆ ทำให้ต้องดิ้นรนหาช่องทางรายได้ใหม่เพื่อพยุงธุรกิจให้อยู่รอด เขาปิ๊งไอเดียการตลาดด้วย ‘กล่องสุ่ม’ จากการดูยูทูบ ทั้งของต่างประเทศเเละในไทย เเต่ตอนนั้นยังจำกัดอยู่ในกลุ่มสินค้าไอที เสื้อผ้าเเละความงาม

จึงคิดว่าน่าจะนำมาประยุกต์กับ ‘อาหารทะเล’ เพราะคนไทยชื่นชอบเเนวซีฟู้ดอยู่เเล้ว ยิ่งมีของหลายอย่างรวมกันในราคาไม่สูง ยิ่งน่าจะโดนใจผู้บริโภค นอกจากนี้ ยังเป็นการอุดช่องโหว่การเข้าถึงอาหารทะเลของคนต่างจังหวัดด้วย

ภาพรีวิวจากลูกค้า เพจ ทะเลมือถือ – ปลาทะเลออนไลน์

เทรนด์ฮิต ‘ชั่วข้ามคืน’ 

ในวันเเรก หลังจากเปิดเพจเฟซบุ๊กที่มีผู้ติดตามหลักสิบคน เขาคาดว่าจะขายได้เพียง 4 กล่องต่อวันเท่านั้น เเต่ทว่ากระเเสตอบรับดีเกินคาด ทางร้านสามารถขายได้ถึง 20 กล่อง

หลังขายกล่องสุ่มอาหารทะเลผ่านออนไลน์ ได้แค่เพียง 1 สัปดาห์ ทางร้านก็มียอดขายเพิ่มขึ้น ‘หลายเท่าตัว’ จากเดิมที่เคยขายในตลาด โดยมีออเดอร์สูงสุดต่อวันถึง 500 กล่องต่อวัน ด้วยคอนเซ็ปต์ ‘เช้าวันนี้มาวัดดวงกับกล่องสุ่มอาหารทะเลไหมล่ะ’ 

“จริงๆ ความต้องการของลูกค้า ณ ตอนนี้ มีมากถึง 800 กล่องต่อวันทั้งในกรุงเทพฯ เเละต่างจังหวัด เเต่ด้วยระบบของเราที่ยังไม่เสถียร มีกำลังคนน้อย เเละเพิ่งเปิดมาได้ไม่กี่วัน ทำให้เราต้องจำกัดออเดอร์ไว้ที่ไม่เกิน 500 กล่องต่อวัน เพื่อให้ลูกค้าได้รับสินค้าที่มีคุณภาพเท่าๆ กัน ไม่เน้นว่าต้องขายเอาปริมาณอย่างเดียว ต่อไปถ้าขยายระบบร้านได้ ก็ตั้งเป้าที่จะให้บริการได้ถึง 1,000 กล่องต่อวัน”

เขามองว่า ปัจจัยหลักๆ ที่ทำให้ธุรกิจนี้มีความนิยมขึ้นมาอย่างมาก เนื่องจากในช่วงล็อกดาวน์คนอยู่เเต่บ้าน ไม่สามารถไปกินที่ร้านได้ จึงทำอาหารกินกันเองมากขึ้น เเละภายในกล่องสุ่มก็มีสินค้าที่หลากหลาย ทำให้รู้สึกคุ้มค่าเเละคุ้มราคา กินได้หลายคน บางครอบครัวสั่งหนึ่งกล่อง เเต่สามารถเเบ่งทำอาหารได้อีกหลายมื้อ

การที่ทางร้านปรับตัวเเละจับกระเเสธุรกิจได้ทันเวลา ก็ทำให้มีลูกค้าเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ 

โดยกลวิธีการรับออเดอร์นั้น ทางร้านจะมีการเเจ้งผ่านเพจเฟซบุ๊ก เป็นรอบๆ ในเเต่ละวัน เช่น ประกาศขายกล่องสุ่มอาหารทะเล กล่องละ 500 บาท เเต่จำกัดเพียง 50 กล่อง

พร้อมระบุเงื่อนไขการตัดยอด ค่าขนส่งเเละรหัสจอง’ (เช่น MO16) ที่ลูกค้าต้องพิมพ์ตอบใต้โพสต์เพื่อลุ้นเป็นผู้โชคดีจากการสุ่มซื้อจากนั้นจะใช้ระบบของเฟซบุ๊กสุ่มหาลูกค้าเเบบอัตโนมัติเพื่อจะได้รับสินค้าในรอบนั้นๆ ไป

นับเป็นการเปิดให้ลูกค้าได้ร่วมสนุกเหมือนเล่นเกมชิงโชค (เเต่ต้องจ่ายเงินซื้อ) ที่สามารถกระตุ้นการขายเเละได้ผลลัพธ์ที่ดีเป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจไม่น้อย

เเข่งกันที่ ‘คุณภาพ’ โปรโมตออนไลน์กระตุ้นยอดขาย 

ปิยะ บอกว่า จุดเด่นของร้านทะเลมือถือปลาทะเลออนไลน์ ที่มัดใจลูกค้าได้ สิ่งที่สำคัญที่สุด ก็คือ การเลือกวัตดุดิบที่มีคุณภาพเเละคุ้มค่าทำให้ลูกค้าชื่นชอบติดใจเเละแชร์ต่อในโซเชียลมีเดีย ซึ่งการรีวิวเป็นส่วนสำคัญมาก

รองลงมา คือกลยุทธ์การโปรโมต โดยจะเน้นไปที่การจัดโปรโมชันลดเเลกเเจกเเถมไลฟ์สดแจกฟรีเป็นเกมสนุกๆ ให้ลูกค้าได้มีส่วนร่วม เป็นทั้งการเพิ่มยอดขายเเละ Engagement ของเพจได้อีกทางหนึ่ง

ยกตัวอย่างเช่น การเเจก ‘กล่องสุ่มพิเศษ’ (ในกล่องจะมีสินค้าไม่เหมือนกล่องที่ขายทั่วไป เช่น กุ้งมังกร ฟรีค่ากล่องค่าขนส่ง) ให้ลูกค้าที่ทำการสั่งซื้อไปเเล้ว มีสิทธิ์ลุ้นชิงของรางวัลทุกคน

อย่างไรก็ตาม เเม้ยอดขายจะพุ่งพรวดตามกระเเส เเต่ช่วงนี้ก็ต้องเจอปัญหาการล่าช้าของธุรกิจขนส่งในไทย ที่สะดุดเพราะมีพนักงานติดโควิดหลายเจ้า กระทบต่อเนื่องมาถึงร้านค้าออนไลน์ที่ต้องพึ่งพาเครือข่ายโลจิสติกส์นี้

โดยเมื่อมีบางรายการที่ส่งถึงช้ากว่ากำหนด ซึ่งเป็นปัจจัยภายนอกที่ทางร้านไม่สามารถควบคุมได้ ก็จะมีการเเจ้งอย่างตรงไปตรงมา เเละเเก้เกมด้วยการชดเชยให้ลูกค้าอย่างการเเถมให้ในปริมาณที่มากขึ้น พร้อมกระจายความเสี่ยงด้วยการจัดส่งกับขนส่งหลายๆ เจ้า ดูว่าโซนไหนบริษัทอะไรให้บริการได้เร็วที่สุด

ภาพจากเพจ ทะเลมือถือ – ปลาทะเลออนไลน์

คว้าโอกาสก่อนหมดกระเเส พัฒนาต่อ ไม่หยุดนิ่ง 

ท่ามกลางการเเข่งขันในตลาด ตอนนี้มีทั้งเจ้าเล็กเจ้าใหญ่ กระโจนลงสนาม ‘กล่องสุ่มอาหารทะเล’ ในราคาหลักร้อย ลักษณะเดียวกันนี้จำนวนมาก อย่าง แพเจริญทรัพย์ กล่องสุ่มอาหารทะเล by Kalawin , มาตรัง ปูไข่ดองน้ำปลาหอมเจ้าแรก , ทะเลไทย อาหารทะเลสด , Seafood ป่ะล่ะ , กั้งกระดานสด M&T , กล่องสุ่มอาหารทะเล by napat ฯลฯ

เจ้าของร้านทะเลมือถือ มองว่าเป็นเรื่องธรรมดาตามกระเเสตลาด เทรนด์นี้อาจจะอยู่ไม่นาน ต้องรีบคว้าโอกาสนี้ไว้ ซึ่งทางร้านจะเตรียมรับมือเเละพัฒนาอยู่เสมอ ควบคุมคุณภาพให้ดีเเละไม่หยุดนิ่ง ขยายช่องทางการรับรู้ของเเบรนด์ ขยายทีมงาน-สถานที่ พยายามสรรหาของใหม่ๆ มาให้ผู้บริโภค เเตกไลน์สินค้าไปจับกลุ่มพรีเมียมมากขึ้น

“ในทุกสถานการณ์ที่เลวร้าย จะมีโอกาสอยู่เสมอ ต้องจับจังหวะความต้องการของตลาด ค้นหาจุดเด่นของตัวเองให้เจอเเละทำออกมาให้ดีที่สุด ไม่ต้องกลัวล้มเหลว”

จากตอนเเรกที่ไม่คาดคิดว่าจะสร้างรายได้มากมาย กลายเป็น ‘ปรากฏการณ์’ ใหม่ในวงการตลาดเมืองไทย เมื่อความต้องการของผู้บริโภคมาบรรจบเข้ากับการปรับตัวของธุรกิจในยุคโควิด ต่อไป ‘กล่องสุ่มอาหารทะเล’ จะฮอตฮิตอีกนานเเค่ไหน เเละจะปรับเปลี่ยนไปในรูปแบบใดบ้าง ต้องติดตาม…

 

]]> 1347219 ‘ฟู้ดดีฮับ’ อาหารเเช่เเข็งออนไลน์ การเเก้เกมของ ‘สยาม คานาเดี่ยน’ จากขายส่งสู่รายย่อย https://positioningmag.com/1333791 Wed, 02 Jun 2021 12:15:12 +0000 https://positioningmag.com/?p=1333791 อาหารเเช่เเข็งได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามวิถีชีวิตคนยุคใหม่ เเม้ว่าธุรกิจร้านอาหารเเละโรงแรม ต้องเจอวิกฤตหนักจากพิษโควิด เเต่ตลาดอาหารพร้อมปรุงพร้อมทานส่งตรงถึงบ้านกลับเติบโตได้ดี

พฤติกรรมการบริโภคเปลี่ยนไป ผู้คนมองหาวัตถุดิบที่สั่งได้ทันทีจากออนไลน์ ไม่ต้องไปซื้อของตามตลาดหรือห้างร้านที่แออัด

เป็นโอกาสธุรกิจที่สยาม คานาเดี่ยน กรุ๊ปบริษัทดำเนินธุรกิจอาหารแช่แข็งเเบบพรีเมียมมากว่า 34 ปี ที่เคยเน้นขายบิ๊กล็อต’ ส่งออกหลายพันตู้คอนเทนเนอร์ ตัดสินใจขยายสู่ตลาดขายตรงสู่ผู้บริโภค’ ในราคาหลักร้อย แก้โจทย์ยอดขายฝั่งลูกค้าฟู้ดเซอร์วิสที่หดหายไป

อย่างไรก็ตาม ทิศทางตลาดอาหารแช่แข็งทั่วโลก ยังคงเติบโตสูงมีมูลค่าถึง 3.06 แสนล้านเหรียญสหรัฐในปีที่ผ่านมา เเละมีการเติบโตเฉลี่ยราว 4.1% ในช่วงระหว่างปี 2015-2020 ขณะที่ตลาดอาหารแช่แข็งในไทย คาดว่าจะมีการเติบโตเฉลี่ยราว 6% ในช่วงระหว่างปี 2017-2022 ซึ่งถือว่าโตสูงกว่าระดับตลาดโลก

พลิกเกมโควิด จาก B2B สู่ B2C 

สำหรับ ‘สยาม คานาเดี่ยน กรุ๊ปเป็นผู้นำเข้าและส่งออกอาหารแช่แข็ง เช่น เนื้อสัตว์ ผักและผลไม้แช่แข็ง มีตลาดส่งออกหลักอยู่ที่สหรัฐฯ แคนาดา ยุโรปและเอเชีย มีการส่งออกสินค้าถึง 3,000 ตู้คอนเทนเนอร์ต่อปีไปยัง 70 ประเทศ

ส่วนในตลาดเมืองไทย จะเน้นเป็นผู้นำเข้าสินค้าอาหารแช่แข็งจากแหล่งผลิตทั่วโลก เพื่อส่งต่อให้คู่ค้าเเบบ B2B หลักๆ เป็นเชนค้าปลีก โรงแรม ร้านอาหาร โรงพยาบาล เเละสายการบิน

ชัยพัฒน์ คุณาภิวัฒน์กุล ผู้อำนวยการฝ่ายขายประจำประเทศไทยของฟู้ดดีฮับในกลุ่มสยาม คานาเดี่ยน กรุ๊ป จำกัด เล่าให้ฟังว่า การแพร่ระบาดของโควิด-19 ก็ส่งผลต่อธุรกิจอาหารเเช่เเข็งเช่นกัน โดยเฉพาะลูกค้ากลุ่ม ‘ฟู้ดเซอร์วิส’ ทั้งในเเละต่างประเทศที่ยอดขายลดลงกว่า 40% เเต่ก็มีได้รายได้จากส่วนอื่นมาทดเเทน อย่างกลุ่มค้าปลีกที่เจาะลูกค้ารายย่อย

ปีนี้คาดว่ารายได้ในไทย อาจจะลดลงประมาณ 10% มาอยู่ที่ราว 380 ล้านบาท ซึ่งก็ถือว่าเราทำได้ดีแล้ว ท่ามกลางโควิดที่ยังระบาดหนัก ส่วนภาพรวมของทั้งกลุ่มนั้นมีรายได้ราว 300 ล้านเหรียญ ซึ่งถือว่าค่อนข้างทรงตัว

เมื่อผู้คนต้องอยู่บ้าน ทำให้ความต้องการซื้ออาหารไปทานที่บ้านก็เพิ่มขึ้นตามไปด้วย ถือเป็นจังหวะดี ที่จะปลุกปั้นฟู้ดดีฮับเพื่อมาขายอาหารแช่แข็งผ่านเเพลตฟอร์มออนไลน์อย่างเต็มรูปแบบ โดยมุ่งเจาะผู้บริโภคทั่วไปโดยตรง ตอบสนองตลาดความต้องการในตลาดที่เติบโตต่อเนื่อง คาดว่าปีนี้จะทำรายได้ราว 3 ล้านบาท และเพิ่มขึ้นเท่าตัวในปี 2022 และปี 2023 คาดว่าจะมีรายได้ 10-12 ล้านบาท

ทั้งนี้ จากข้อมูลของกระทรวงอุตสาหกรรม ในปี 2020 ระบุว่า กลุ่มอาหารพร้อมรับประทานและอาหารพร้อมปรุง มีมูลค่าตลาดรวมประมาณ 21,000 ล้านบาท และมีอัตราการขยายตัวเฉลี่ย 3-5% ต่อปี

เเต่สนามออนไลน์ก็ไม่ง่ายนัก ผู้บริหารฟู้ดดีฮับยอมรับว่าวงการนี้มีการเเข่งขันสูงทั้งจากรายย่อยเเละรายใหญ่ เพื่อสร้างความเเตกต่างในตลาด บริษัทตั้งใจจะชูจุดเด่นเรื่องความชำนาญและประสบการณ์ที่สั่งสมมา เป็น ‘Core business’ ที่ได้รับการยอมรับจากลูกค้าต่างประเทศ ทั้งเรื่องจัดหาวัตถุดิบ ควบคุมคุณภาพเเละระบบโลจิสติกส์ มาใช้ในการทำตลาด B2C ในประเทศไทย โดยสินค้าที่จำหน่ายบนแพลตฟอร์มของ ฟู้ดดีฮับ มี 5 กลุ่ม ได้แก่

1.อาหารทะเลสดแช่แข็ง แบรนด์  Natural Coast

2.เบเกอรี่แช่แข็ง แบรนด์ Club Gourmet

3.อาหารทะเลและเนื้อสัตว์ทำจากพืช หรือ (Frozen plant-based food)

4.อาหารทานเล่น เช่น ซาลาเปา ขนมจีบ ฮะเก๋า ฯลฯ

5.เนื้อสัตว์ที่ได้รับความนิยม เช่น เนื้อวัว เนื้อแกะนำเข้า ฯลฯ

เบื้องต้นตอนนี้เรามีสินค้า 50 รายการ (SKU) และใน 1 ปีครึ่งจะเพิ่มเป็น 100-120 รายการ ส่วนเบเกอรี่มีเเผนจะขยายไปจำหน่ายตามร้านค้าปลีกในเร็วๆ นี้

จับเทรนด์ Plant-Based พร้อมลุยส่งออก 

ยุคนี้ใครๆ ก็ลงสนามอาหารเเห่งอนาคตอย่าง Plant-Based ที่มีการเติบโตสูง คาดว่าในตลาดโลกมีมูลค่าราว 2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ เติบโตเฉลี่ย 12-14% ไปจนถึงปี 2027 เป็นอย่างต่ำ

สำหรับในประเทศไทย พบว่ากลุ่มผู้บริโภคมีความตื่นตัวสูงเเละหันมาเลือกซื้ออาหาร Plant-Based มากขึ้นจากเทรนด์รักษ์โลก รักสุขภาพ โดยปัจจุบันมีมูลค่าประมาณ 2.8 หมื่นล้านบาท และคาดว่าในอีก 3 ปีข้างหน้าจะมีมูลค่าเเตะ 4.5 หมื่นล้านบาท หรือเติบโตถึง 60% เลยทีเดียว

ตลาด Plant-Based กำลังอยู่ในช่วงขาขึ้น เราอยากจะเป็นซัพพลายเออร์ของผลิตภัณฑ์ที่เหมาะกับคนเอเชียเเละยุโรป โดยจะไม่เน้นตลาดในประเทศเพียงอย่างเดียว เเต่จะมุ่งส่งออกควบคู่กันไปด้วย

เบื้องต้นสินค้า Plant-Based ของฟู้ดดีฮับ ภายใต้แบรนด์ Meatoo เเบ่งเป็น 2 ประเภทคือ อาหารพร้อมปรุง (Ready to Cook) 5 รายการ ได้เเก่ หมูกรอบ (ไร้หมู) ซี่โครงหมู (ไร้หมู) ปลาเค็ม (ไร้ปลา) ทอดมันปลา (ไร้ปลา) ลูกชิ้นกุ้ง (ไร้กุ้ง) และสินค้าพร้อมรับประทาน (Ready to Eat) อาทิ เมนูข้าวกะเพราหมู (ไร้หมู) และ กะเพราไก่ (ไร้ไก่) ไรซ์เบอร์รี่ ซึ่งมีแผนวางจำหน่ายในเดือนกรกฎาคมนี้

อัดโปรขยายฐาน ‘ออนไลน์’ ส่งทั่วไทย 

ด้านกลยุทธ์การตลาด ดุษฎีลักษณ์ อัครสกุลเกียรติ ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายปฏิบัติการและผลิตภัณฑ์ ฟู้ดดีฮับ กล่าวว่า บริษัทมุ่งแผนการตลาดแบบ 360 องศา โดยตอนนี้เน้นไปที่ออนไลน์ถึง 85-90% ผสมด้วยออฟไลน์เพื่อเพิ่มช่องทางการเข้าถึง

โดยล่าสุดมีช่องทางขายผ่านช้อปปี้ ลาซาด้า ไลน์และเฟซบุ๊ก และเตรียมขยายไปยังเจดีเซ็นทรัล พร้อมมีแผนที่จะทำเเพลตฟอร์มของตัวเองด้วยการพัฒนาเว็บไซต์ให้สามารถซื้อขายได้

“สถานการณ์โรคระบาดในปัจจุบัน การทำตลาดแบบออนไลน์ช่วยกระจายและขยายสินค้าได้ครอบคลุมมากกว่า ส่วนช่องทางค้าปลีกออฟไลน์ก็ยังคงต้องมีอยู่ ซึ่งคาดว่าจะมีวางจำหน่ายผลิตภัณฑ์ใน 37 สาขา โดยฟู้ดดีฮับ ถือว่าเป็นผู้เล่นหน้าใหม่ในตลาดอีคอมเมิร์ซ จึงต้องมีการอัดโปรโมชันเเจกเเถมเเละส่วนลดต่างๆ โปรโมตผ่านอินฟลูเอนเซอร์ สร้างเเบรนด์ให้เป็นที่รู้จัก สร้างคอนเทนต์ให้ความรู้เเละกระตุ้นยอดขายไปในตัว”

โดย 3 สินค้าขายดีที่สุดในช่วงโควิด-19 ของฟู้ดดีฮับ ได้เเก่ ปลาเเซลมอน หอยเชลล์เเละกลุ่มเบเกอรี่

สำหรับการสั่งซื้ออาหารเเช่เเข็ง ส่วนใหญ่ลูกค้าจะกังวลเรื่อง ‘ระยะทางเเละค่าจัดส่ง’ ฟู้ดดีฮับจึงเลือกใช้ระบบขนส่งควบคุมอุณหภูมิที่ได้มาตรฐานสำหรับสินค้าทุกตัว แม้ค่าบริการในการขนส่งจะสูงกว่าการขนส่งด้วยรถร้อน ซึ่งบริษัทก็ได้ออกโปรโมชั่นดึงดูดลูกค้า โดยการ ‘ออกค่าขนส่งให้มากกว่าครึ่ง’ คิดค่าขนส่งทั่วไทยเพียงแค่ 99 บาทต่อออเดอร์ในขณะนี้

นอกจากนี้ ยังเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่ทำจากวัสดุที่สามารถนำมารีไซเคิลได้ (Recyclable packaging) ออกแบบถุงให้มีผนึกซิปล็อก (Resealable zip-lock bags) ให้ลูกค้าสามารถนำถุงไปใช้ซ้ำภายในครัวเรือนได้

นับเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของผู้บริโภคยุค New Normal ที่ต้องติดตามต่อไปว่า ‘ฟู้ดดีฮับ’ จะคว้าโอกาสอาหารเเช่เเข็งออนไลน์นี้ไว้อยู่หมัดหรือไม่ …

 

 

]]>
1333791
‘เอไอเอส’ เผยสถิติธุรกิจไทยปรับตัวเร็วขึ้น ’40 เท่า’ เพราะได้ ‘โควิด’ เป็นตัวเร่ง https://positioningmag.com/1333190 Thu, 20 May 2021 10:03:45 +0000 https://positioningmag.com/?p=1333190 หากพูดถึงเรื่องการทรานส์ฟอร์มองค์กรไปสู่ดิจิทัล แน่นอนว่าไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่มีการพูดกันมานานหลายปี อย่างไรก็ตาม บางองค์กรอาจจะยังชะล่าใจ หรือยังไม่รู้จะเริ่มตรงไหนทำให้การปรับองค์กรไปสู่ดิจิทัลจึงยังไม่ได้เริ่ม จนกระทั่งการมาของ COVID-19 ที่เป็นการบังคับให้ต้องปรับตัว เพราะพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป รวมถึงข้อจำกัดต่าง ๆ ทำให้องค์กรไม่สามารถหลีกเลี่ยงที่จะทรานส์ฟอร์มได้อีกต่อไป

มีแค่ 5% ที่ไม่คิดปรับตัว

ธนพงษ์ อิทธิสกุลชัย หัวหน้าคณะผู้บริหาร กลุ่มลูกค้าองค์กร AIS Business กล่าวว่า COVID-19 ได้กลายเป็นตัวเร่งให้ทุกองค์กรปรับตัวเร็วขึ้น โดยพบว่าไม่ว่าองค์กรขนาดเล็กหรือใหญ่มีการปรับตัวมากถึง 18-40 เท่า จากการทำงานแบบเดิม ขณะที่บริษัทระดับ Top 10 ของไทยสามารถใช้ดิจิทัลสร้างการเจริญเติบโตของรายได้มากถึง 5 เท่า และทำกำไรได้กว่า 2 เท่า เมื่อเทียบกับบริษัทที่ไม่มีแผนที่จะทรานส์ฟอร์มสู่ดิจิทัล

อย่างไรก็ตาม ภาพรวมของประเทศไทยในการทรานส์ฟอร์มไปสู่ดิจิทัลนั้นพบว่ามี Digital Leader เพียง 3% ขณะที่ค่าเฉลี่ยทั่วโลกอยู่ที่ 5% ส่วนDigital Adopters (ที่เริ่มเปิดรับดิจิทัล) มี 22% ขณะที่ทั่วโลกเฉลี่ย 23% แม้จะน้อยกว่าแต่หากดูภาพรวมแล้ว บริษัทในประเทศไทยที่ ไม่มีแผนการนำดิจิทัลมาทรานส์ฟอร์มองค์กร มีเพียง 5% เท่านั้น เมื่อเทียบกับทั่วโลกที่มีสัดส่วนถึง 9%

Go Online สิ่งแรกที่ SME ทำ

จากการสำรวจพบว่า องค์กรส่วนใหญ่ที่นำดิจิทัลเข้ามาใช้ 38.6% เป็นการสร้างช่องทางการขายออนไลน์ 79.3% เปิดรับชำระเงินทางออนไลน์ และในช่วงสถานการณ์ล็อกดาวน์เนื่องจากการระบาดของ COVID-19 องค์กรต่าง ๆ ได้สร้าง Online Channel มากขึ้นเป็นอันดับ 1 ถึง 57.1% ส่วนผู้ประกอบการรายย่อยหรือ SME มีการปรับตัวชัดเจนขึ้น 4 ด้าน คือ เพิ่มการส่งเสริมการขายในตลาดออนไลน์, เพิ่มนวัตกรรมในองค์กร, เพิ่มความยืดหยุ่นเพื่อรับมือกับความเปลี่ยนแปลง และนำเทคโนโลยีเข้ามาเป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการ เพื่อปรับโครงสร้างต้นทุน

COVID-19 ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของโลกไปแล้ว ทำให้โลกออนไลน์และดิจิทัลกลายเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิต องค์กรธุรกิจก็ต้องทรานส์ฟอร์มไปสู่ดิจิทัล เพื่อให้การทำงานเร็วขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดต้นทุนมากขึ้น รวมถึงสร้าง New Business Model เพื่อตอบสนอง Lifestyle ใหม่เพื่อที่จะอยู่รอดท่ามกลางการระบาด

4 รู้ ก่อนนำเทคโนโลยีมาใช้

แนวทางที่ของแนะคือหลัก 4 รู้ ได้แก่ รู้ตนเอง, รู้ลูกค้า, รู้เทคโนโลยี, รู้ partner ต้องประกอบไปด้วย 4 อย่างนี้เข้าด้วยกัน จึงจะนำไปสู่กระบวนการในการหาทางออกด้วยการนำเทคโนโลยีมาใช้ได้

รู้ตนเอง คือ รู้เป้าหมายที่จะไป หรือรู้ว่าปัญหาที่ประสบอยู่คืออะไร รวมถึงรู้ความสามารถขององค์กรและบุคลากรว่าจะนำเทคโนโลยีมาใช้ได้เพียงได้

รู้ลูกค้า คือ รู้ว่าลูกค้าต้องการอะไร หรือประสบปัญหาอะไร เราจะไป capture value เหล่านั้นในสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปได้อย่างไร

รู้เทคโนโลยี คือ รู้ว่าเทคโนโลยีจะไปตอบโจทย์จากการรู้ตนเองและรู้ลูกค้าได้อย่างไร เลือกเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง รวมถึงเรียนรู้จากประสบการณ์ของผู้อื่น

รู้ partner คือ รู้ว่า partner รายใดที่น่าจะช่วยนำ technology กับ business expertise มาประกอบกันให้สามารถปฏิบัติได้จริง ซึ่ง partner นั้นต้องไว้ใจได้ เพราะมีประสบการณ์, มีความสามารถ, และมี partners อีกมากมายที่จะร่วมกันทำให้เกิดความสำเร็จ

นพงษ์ อิทธิสกุลชัย หัวหน้าคณะผู้บริหาร กลุ่มลูกค้าองค์กร  AIS Business

ทั้งนี้ 10 เทคโนโลยีที่ทุกองค์กรต้องให้ความสำคัญและพร้อมนำไปใช้ในทุกกระบวนการ ได้แก่ 5G, IoT, Cloud&EDGE Computing, Extended Reality, AI/Machine Learning, Robotics, Big Data & Analytics, Cyber Security, Robotic Process Automation และ Blockchain ซึ่ง AIS Business มีความพร้อมอย่างยิ่งในการทำงานร่วมกับทุกองค์กร เพื่อให้เราสามารถเดินหน้าฝ่าวิกฤตจากสถานการณ์การแพร่ระบาดนี้ไปด้วยกันให้ได้ และก้าวสู่โลกของการทำ Digital Business ได้อย่างสมบูรณ์แบบ

]]>
1333190
เปิดผลสำรวจ บริษัทยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่น ยังกังวล COVID-19 มีเเผนปรับลด ‘จ้างงานใหม่’ ในปีหน้า https://positioningmag.com/1328153 Mon, 19 Apr 2021 06:43:30 +0000 https://positioningmag.com/?p=1328153 ผลสำรวจเผย บริษัทเอกชนยักษ์ใหญ่ในญี่ปุ่นกว่า 22% มีเเผนจะปรับลดอัตราการจ้างพนักงานใหม่ ในปีงบประมาณ 2022 เนื่องจากมีความกังวลเรื่องการเเพร่ระบาดของ COVID-19 เเละยังต้องระมัดระวังการใช้จ่าย พร้อมยืดหยุ่นให้ทำงานทางไกล-ใช้เทคโนโลยีออนไลน์มากขึ้น เเละให้ทำงานเสริมได้ เเม้ผ่านพ้นวิกฤตไปเเล้ว 

Kyodo News ทำการสำรวจบริษัทในญี่ปุ่นกว่า 110 เเห่ง พบว่า ส่วนใหญ่บริษัทที่มีเเผนจะปรับลดการจ้างงานใหม่นั้น อยู่ในภาคส่วนที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากโรคระบาด เช่น ธุรกิจภาคบริการ การขนส่งและการท่องเที่ยว

อย่างไรก็ตาม จากเเรงหนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ เเละจีน ทำให้บริษัทในภาคการผลิตมีเเผนจะขยายธุรกิจ เเละต้องการจะจ้างงานผู้ที่เพิ่งจบการศึกษาเพิ่มมากขึ้น

ตามปกติเเล้ว บริษัทขนาดใหญ่ในญี่ปุ่นจะมีการจ้างงานบัณฑิตจบใหม่ในช่วงเริ่มปีงบประมาณของแต่ละปี เเละมักจะเริ่มกระบวนการสรรหาล่วงหน้าประมาณหนึ่งปี

ผลสำรวจของ Kyodo News ระบุว่า เอกชน 24 แห่งที่อยู่ในอุตสาหกรรมผลิตวัสดุไปจนถึงพลังงาน มีแผนที่จะลดการจ้างงานในปีงบการเงิน 2022 ขณะที่บริษัทอีก 37 แห่ง คิดเป็น 34% ของบริษัทที่ได้รับการสำรวจ จะยังมีการจ้างงงานในอัตราเท่าเดิมกับปีงบการเงิน 2021

โดยมีเพียงบริษัท 19 แห่ง หรือคิดเป็น 17% ที่มีเเผนจะเพิ่มการจ้างพนักงานใหม่ ส่วนอีก 25 แห่ง หรือคิดเป็น 23% ยังไม่ได้มีการตัดสินใจในเรื่องนี้

นอกจากนี้ ยังมีบริษัทบางเเห่งที่ไม่ได้ปรับเปลี่ยนแผนการจ้างงานในปีงบการเงิน 2022 มากนัก แต่ได้ปรับลดการจ้างพนักงานใหม่ลงในปีงบการเงิน 2021 ไปจนถึงเดือนมี..ปีหน้า

Photo : Shutterstock

สำหรับปีงบการเงิน 2021 บริษัทเอกชนราว 46% ได้ปรับลดการจ้างพนักงานใหม่ลงจากปีก่อนหน้า ขณะที่ 12% เพิ่มการจ้างพนักงานใหม่ ส่วนอีก 37% ยังคงมีการจ้างงานในระดับที่ใกล้เคียงกับปีงบการเงิน 2020

ทั้งนี้ Kyodo News ได้สำรวจข้อมูลดังกล่าวในช่วงต้นเดือนมี.. ถึงกลางเดือนเม.. โดยมีบริษัทยักษ์ใหญ่เข้าร่วมอย่าง Toyota Motor , Nissan Motor , Sony Group , Japan Airlines , Nintendo และ Mizuho Financial Group เป็นต้น

การระบาดของ COVID-19 ยังทำให้วัฒนธรรมองค์กรที่เข้มงวดของญี่ปุ่นเปลี่ยนแปลงไป เเละเริ่มมีรูปแบบการทำงานที่ยืดหยุ่นมากขึ้น

บริษัทส่วนใหญ่ยืนยันว่า พวกเขาจะจัดงานแสดงสินค้าหรือสัมภาษณ์งานทางออนไลน์เพิ่มขึ้น เเละกว่า 52% จะใช้เทคโนโลยีเพื่อทำงานออนไลน์ต่อไป เเม้วิกฤตโรคระบาดจะสิ้นลงก็ตาม

เมื่อถามถึงความท้าทายในการทำงานทางไกล พบว่ากว่า 83% ชี้ให้เห็นถึงการขาดการสื่อสารกันระหว่างพนักงาน ขณะที่ 61% เห็นว่ามีผลกระทบต่อการฝึกอบรมพนักงานด้วย

เเต่อย่างไรก็ตาม เมื่อถามถึงผลกระทบต่อผลิตภาพของแรงงาน พบว่ากว่า 55% เห็นว่าไม่เปลี่ยนเเปลงยังสามารถทำงานได้ดี ขณะที่อีก 31% ระบุว่ามีประสิทธิภาพการทำงานดีขึ้น

เราต้องการช่วยให้พนักงานของเรามีความสมดุลระหว่างการทำงานและชีวิตส่วนตัวบริษัทพลังงานแห่งหนึ่งกล่าว

ส่วนบริษัทในอุตสาหกรรมบริการกล่าวว่ามีงานหลายประเภทที่ไม่เหมาะกับทำงานทางไกล ดังนั้นเราจึงต้องดูว่าเหมาะสมหรือไม่

ในจำนวนนี้ กว่า 81 % อนุญาตหรือจะพิจารณาให้พนักงานสามารถทำงานเสริมได้ โดยมองว่าเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาอาชีพในระยะยาว แต่บางบริษัทต้องเพิ่มความระมัดระวังมากขึ้น เนื่องจากพนักงานอาจต้องทำงานนานเกินไปหรืออาจไปรับงานบริษัทคู่แข่งได้

 

 

]]>
1328153
PayPal ประกาศหยุดให้บริการ ‘รับ-จ่ายเงิน’ ในอินเดีย ท่ามกลางศึก ‘อีเพย์เมนต์’ เเข่งดุ https://positioningmag.com/1318308 Sun, 07 Feb 2021 08:39:29 +0000 https://positioningmag.com/?p=1318308 PayPal ผู้ให้บริการทางการเงินอิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่ของโลก ประกาศหยุดให้บริการรับจ่ายเงินสำหรับลูกค้าและร้านค้าในประเทศอินเดีย ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2021 เป็นต้นไป ท่ามกลาง
สงครามการเเข่งขันที่ดุเดือด

อินเดีย เป็นประเทศที่มีตลาดอินเทอร์เน็ตใหญ่เป็นอันดับสองของโลก มีประชากรจำนวนมาก เเละมีโอกาสเติบโตสูง ทำให้เหล่าบรรดาบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่เข้ามาลงทุนกันคึกคัก

การปรับเเผนธุรกิจในอินเดียครั้งนี้ PayPal เเถลงว่า เเม้จะระงับบริการชำระเงินภายในประเทศ เเต่จะยังคงให้บริการสำหรับการจ่ายเงินออนไลน์ข้ามประเทศต่อไป ส่วนพนักงานในอินเดียจะถูกโยกย้ายให้ไปทำงานในธุรกิจอื่นของ
บริษัทเเทน อย่างไรก็ตาม ไม่ได้ระบุเเน่ชัดถึงสาเหตุการหยุดให้บริการดังกล่าว

ที่ผ่านมา PayPal พยายามจะบุกตลากอินเดีย โดยหาร้านค้าที่เป็นพันธมิตรได้มากกว่า 3.6 เเสนราย โดยร่วมมือกับธุรกิจยอดนิยมในอินเดีย ที่บริการออนไลน์อย่าง BookMyShow, MakeMyTrip และ
แอปพลิเคชันสั่งอาหาร Swiggy ซึ่งมีการจ่ายเงินผ่านแพลตฟอร์มในปีที่ผ่านมามากกว่า 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

อินเดียกลายเป็นหนึ่งขุมทรัพย์ใหม่ในในสมรภูมิเทคโนโลยีโลก โดยเฉพาะธุรกิจชำระเงินผ่านมือถือที่เเข่งขันกันดุเดือดมากขึ้น ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ซึ่งมีผู้เล่นเข้ามาลงทุน เเย่งส่วนเเบ่งการตลาดอย่าง Paytm, PhonePe เเละเจ้าใหญ่จากอเมริกาอย่าง Google, Amazon และ Facebook

คาดว่ามูลค่าตลาดการชำระเงินออนไลน์ในอินเดีย จะมีมูลค่ามากถึง 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ได้ภายในปี 2023 ทำให้บริษัทเทคโนโลยีทั้งหลาย เร่งกลยุทธ์ใหม่เพื่อเสนอการชำระเงินแบบต่างๆ ให้ร้านค้ามากขึ้น เพื่อชิงตลาดที่มีการเติบโตนี้ 

 

 

ที่มา : techcrunch , indiatoday

]]>
1318308
Alibaba รุกหนัก “ค้าปลีกออฟไลน์” ทุ่มเเสนล้าน ถือหุ้นใหญ่ Sun Art เบอร์หนึ่งไฮเปอร์มาร์เก็ตจีน https://positioningmag.com/1302406 Tue, 20 Oct 2020 09:35:17 +0000 https://positioningmag.com/?p=1302406 Alibaba ยักษ์ใหญ่อีคอมเมิร์ซ รุกคืบค้าปลีกออฟไลน์ทุ่มเงินกว่า 3.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.12 แสนล้านบาท) ผงาดขึ้นถือหุ้นใหญ่ใน Sun Art เจ้าของไฮเปอร์มาร์เก็ตใหญ่ที่สุดในจีน

ตลาดค้าปลีกเเดนมังกรกำลังเฟื่องฟูในปัจจุบัน เเม้จะเจอวิกฤต COVID-19 เเต่ก็กลับมาฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว โดย IMF คาดว่าจีนจะเป็นเศรษฐกิจใหญ่ของโลกเพียงแห่งเดียวที่ GDP เป็นบวกได้ในปีนี้ 

ก่อนหน้านี้ Alibaba ถือหุ้นใน Sun Art อยู่ราว 36% เเต่ตอนนี้ได้กลายเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุดที่ 72% ตามกลยุทธ์ผสมออนไลน์ออฟไลน์เพื่อรับกระเเสผู้บริโภคเปลี่ยนไป

Daniel Zhang ประธานและซีอีโอของ Alibaba ระบุในเเถลงการณ์ว่า การเเพร่ระบาดของ COVID-19 เป็นปัจจัยเร่งทำให้ไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคเปลี่ยนไป เเละการดำเนินธุรกิจก็ต้องปรับตัวด้วย โดยมองว่าการร่วมมือกันของฝ่ายออนไลน์อย่าง Alibaba เเละไฮเปอร์มาร์เก็ตออฟไลน์อย่าง Sun Art จะตอบโจทย์ค้าปลีกในยุค New Normal ของลูกค้าได้อย่างดี

เหอหม่า ซูเปอร์มาร์เก็ตที่หลอมรวมออนไลน์และออฟไลน์ของ Alibaba

โดยในช่วงที่ผ่านมา ผู้คนเริ่มหันมาซื้อกลุ่มอาหารสด ของใช้ในซูเปอร์มาร์เก็ต และผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ ผ่านทางช่องทางอีคอมเมิร์ซกันมากขึ้น จากเดิมที่ต้องเดินทางไปช้อปปิ้งตามร้านค้าปลีก จึงเป็นโอกาสของ Alibaba ที่จะดึงดูดลูกค้าใหม่ ๆ

บริษัทวางเเผนจะพัฒนา SunArt จากไฮเปอร์มาร์เก็ตดั้งเดิม สู่ร้านค้าปลีกที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี พร้อมขายหมวดสินค้าอีคอมเมิร์ซให้กว้างขึ้น จะเริ่มจากการเปิดให้บริการเดลิเวอรี่ของชำภายใน 30-60 นาทีหลังจากได้รับคำสั่งซื้อผ่านแพลตฟอร์ม Tmall ของ Alibaba 

นักวิเคราะห์จาก Bloomberg มองว่า การเข้าไปถือหุ้นใหญ่ใน Sun Art ของ Alibaba ครั้งนี้เป็นความเคลื่อนไหวเพื่อต่อสู้กับคู่เเข่งในวงการอีคอมเมิร์ซจีนที่กำลังฟาดฟันกันอย่างดุเดือด ทั้ง JD.com หรือ Meituan ที่มีจุดเด่นด้านการจัดส่งเดลิเวอรี่ รวมไปถึงคู่ปรับตลอดกาลอย่าง Tencent ที่หันมาลงศึกจัดส่งสินค้าสดเช่นกัน

 

ที่มา : AFP , Bloomberg

]]>
1302406
ปรับรับลูกค้าเปลี่ยน “ช้อปเสื้อผ้าออนไลน์” มาเเรง H&M ตัดสินใจปิดสาขา 250 แห่งทั่วโลก https://positioningmag.com/1299764 Fri, 02 Oct 2020 09:14:25 +0000 https://positioningmag.com/?p=1299764 กระเเสผู้บริโภคหันมาซื้อเสื้อผ้าออนไลน์กันมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในช่วง COVID-19 เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ H&M ยักษ์ฟาสต์เเฟชั่นอันดับ 2 ของโลกจากสวีเดน ตัดสินใจปิดร้าน 250 สาขาทั่วโลก คิดเป็นกว่า 5% ของจำนวนร้านสาขาทั้งหมด 5,000 แห่ง

H&M เริ่มกลยุทธ์ปิดร้านเพิ่มขึ้นเปิดน้อยลงในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากต้องปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภคที่หันมาซื้อออนไลน์ ท่ามกลางการเเข่งขันของวงการค้าปลีกเสื้อผ้าเเฟชั่นที่ดุเดือด เเละยิ่งประสบปัญหาใหญ่ เพราะผลกำไรของปีนี้ต้องลดลงอย่างมาก จากการเเพร่ระบาดของ COVID-19

H&M ระบุในเเถลงการณ์ว่าลูกค้าเริ่มช้อปปิ้งทางออนไลน์มากขึ้นเรื่อยๆโดยในช่วงที่แบรนด์ต้องปิดสาขาชั่วคราวตามมาตรการล็อกดาวน์ในหลายประเทศ ปรากฏว่า ยอดการสั่งซื้อสินค้าผ่านออนไลน์ กลับพุ่งสูงขึ้นกว่า 80% เมื่อเทียบกับยอดขายของหน้าร้านตามปกติ

ยอดขายของบริษัทในไตรมาส 3 ตั้งแต่เดือนมิ..ถึงเดือนส.. เริ่มมีสัญญาณฟื้นตัวขึ้น หลังผ่านช่วงวิกฤต จากการที่สามารถเปิดร้านได้อีกครั้ง และการช้อปปิ้งออนไลน์ที่เติบโตและทำกำไรอย่างไรก็ตาม ยอดขายเดือนก.. ลดลง 5% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว

ผลประกอบการในช่วง 9 เดือนจนถึงวันที่ 31 .. ของ H&M มีกำไรก่อนหักภาษีลดลงเหลือ 2.37 พันล้านโครนาสวีเดน (ราว 8.3 พันล้านบาท) ถือว่าดีกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้

แม้ความท้าทายต่างๆ จะยังไม่สิ้นสุด แต่เราเชื่อว่าบริษัทได้ผ่านพ้นจุดเลวร้ายที่สุดไปแล้ว และเราจะฟื้นตัวจากวิกฤตได้อย่างแข็งแกร่ง” Helena Helmersson ซีอีโอของ H&M กล่าว

H&M สาขาแมนฮัตตัน นิวยอร์ก (photo: Shutterstock)

โดยเเผนต่อไป H&M จะเพิ่มการลงทุนในส่วนดิจิทัลเพื่อรองรับผู้บริโภคทางออนไลน์ที่เพิ่มขึ้น ตลอดจนจะมีการปรับเเผนการดำเนินงานใหม่ ทั้งการลงทุน ค่าเช่า การจัดหาพนักงาน และการจัดหาเงินทุน 

กลุ่มสินค้าเเฟชั่น เริ่มมีการฟื้นตัวต่อเนื่อง โดยผู้นำฟาสต์เเฟชั่นอย่าง Inditex เจ้าของเเบรนด์ดังอย่าง Zara ก็สามารถพลิกกลับมาทำกำไรได้อีกครั้ง ในช่วงไตรมาส 2 โดยมียอดขายออนไลน์” ที่พุ่งกระฉุดกว่า 74% เป็นพระเอก บ่งชี้ว่าการปรับกลยุทธ์ของธุรกิจฟาสต์เเฟชั่น ที่ผสมทั้งออนไลน์เเละสาขาเข้าด้วยกันนั้นประสบความสำเร็จ

ช่วงที่ผ่านมา Inditex มีการ “ลดต้นทุน” ปรับลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานได้ถึง 21% รวมถึงการจัดการสินค้าคงคลัง เน้นการผลิตในสเปนเเละประเทศใกล้เคียง อีกทั้งยังตั้งเป้าจะปิดร้านค้าขนาดเล็กประมาณ 1,000-1,200 สาขาทั่วโลก ภายในช่วง 2 ปีนี้เพื่อโฟกัสเฉพาะสาขาใหญ่เท่านั้น เเละหันมาบุกออนไลน์อย่างเต็มสูบ

โดย Inditex ตั้งเป้าว่าจะทำยอดขายออนไลน์ให้เพิ่มขึ้นมากกว่า 25% ของยอดรวมภายในปี 2022 เมื่อเทียบกับ 14% ที่สามารถทำได้ในปี 2019

ไม่ใช่เเค่เจ้าใหญ่อย่าง H&M และ Inditex เท่านั้น ตอนนี้ค้าปลีกเเฟชั่นอย่าง American Eagle Outfitter (AEO) และ GameStop (GME) ก็เพิ่งประกาศแผนการปิดสาขาไปหลายร้อยแห่ง เนื่องจากกระเเสช้อปปิ้งออนไลน์เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง กระตุ้นให้เเบรนด์ต่างๆ ต้องรีบมาทุ่มลงทุนด้านดิจิทัลเเทนนั่นเอง

]]>
1299764
“ฟาสต์เเฟชั่น” พลิกเกมบุก “ออนไลน์” ดันยอดขาย Zara พุ่ง กลับมามีกำไรในไตรมาส 2 https://positioningmag.com/1297624 Fri, 18 Sep 2020 08:46:43 +0000 https://positioningmag.com/?p=1297624 วิกฤต COVID-19 ทำให้วงการฟาสต์เเฟชั่นต้องปรับปรับกลยุทธ์ขนานใหญ่ จากที่เคยบุกขยายสาขา ต้องเปลี่ยนมามุ่งออนไลน์เต็มสูบ เเละในที่สุดก็เริ่มเห็นผล เมื่อ Inditex บริษัทแม่ของเเบรนด์ดังอย่าง Zara พลิกกลับมาทำกำไรอีกครั้งในไตรมาส 2 โดยมียอดขายออนไลน์เป็นพระเอก

ย้อนกลับไปในช่วงที่มีการระบาดรุนเเรง ทำให้ผลประกอบการของ Inditex ขาดทุนรายไตรมาสเป็นครั้งแรกในช่วงต้นปีนี้ เนื่องจากต้องปิดร้านค้าชั่วคราวตั้งเเต่เดือน ก.. ถึง เม.. เกือบ 90% ของสาขาทั่วโลกมาตรการล็อกดาวน์ในหลายประเทศ

หนึ่งทศวรรษที่ผ่านมา Zara มีการเติบโตอย่างรวดเร็วเเละมีสาขากว่า 7,500 แห่งทั่วโลกใน 96 ประเทศ แต่การเเพร่ระบาดของไวรัส ทำให้มีเพียง 965 สาขาเท่านั้นที่สามารถเปิดได้ในไตรมาสแรกของปีนี้

ในไตรมาส 1/2020 Inditex มียอดขายลดลง 44% คิดเป็นมูลค่าราว 3.3 พันล้านยูโร (ราว 1.1 แสนล้านบาท) นับตั้งเเต่ 1 ก.พ. ถึง 30 เม.ย. ส่งผลให้มีผลขาดทุนสุทธิ 409 ล้านยูโร (ราว 1.4 หมื่นล้านบาท)

แม้ยอดขายจะลดลง 31% ในช่วงไตรมาส 2 ระหว่างเดือนพ... เพราะผู้คนยังหลีกเลี่ยงการอยู่ในย่านช้อปปิ้ง เเต่ผลกำไรของ Inditex ในไตรมาสนี้ กลับสามารถทำกำไรได้ที่ 214 ล้านยูโร (ราว 7.9 พันล้านบาท) สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ถึง 96 ล้านยูโร

ปัจจัยหลักๆ ที่ทำให้ Inditex ฟื้นมามีกำไรได้อีกครั้ง คือยอดขายออนไลน์ที่พุ่งกระฉุดกว่า 74% บ่งชี้ว่าการปรับกลยุทธ์ของธุรกิจฟาสต์เเฟชั่น ที่ผสมทั้งออนไลน์เเละสาขาเข้าด้วยกันนั้นประสบความสำเร็จ

โดยบริษัทเพิ่งมียอดสั่งซื้อทะลุ 1 ล้านรายการในวันเดียวเป็นครั้งแรก เเละนอกจากเเบรนด์ชูโรงอย่าง Zara เเล้ว เเบรนด์อื่นๆ ในเครืออย่าง Massimo Dutti, Bershka และ Stradivarius ก็มีผู้เข้าชมออนไลน์เกือบ 3,000 ล้านครั้ง เเละล่าสุดมีผู้ติดตามรวมกว่า 190 ล้านคนบนโซเชียลมีเดีย

Photo : Shutterstock

ก่อนหน้านี้ Inditex ประกาศว่า ในช่วง 3 ปีนี้บริษัทวางเเผนจะทุ่มงบ 1 พันล้านยูโร (ราว 3.5 หมื่นล้านบาท) ในการพัฒนาด้านการขายออนไลน์ และอีก 1.7 พันล้านยูโร (ราว 6 หมื่นล้านบาท) พัฒนาร้านค้าเพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่ในการช้อปปิ้ง เเละเพิ่มเทคโนโลยีเชื่อมต่อกันทั้งออฟไลน์เเละออนไลน์ โดยจะให้สาขาใหญ่เป็นศูนย์จัดส่งสินค้าเพื่อสนับสนุนการขายออนไลน์

Inditex ตั้งเป้าว่าจะทำยอดขายออนไลน์ให้เพิ่มขึ้นมากกว่า 25% ของยอดรวมภายในปี 2022 เมื่อเทียบกับ 14% ที่สามารถทำได้ในปี 2019

ด้านสถานการณ์ของสาขาในเครือ Inditex ตอนนี้กว่า 98% ได้กลับมาเปิดให้บริการอีกครั้งโดยยอดขายในร้านเริ่มฟื้นตัวขึ้น โดยเฉพาะร้านค้าในเอเชีย เช่น จีนและเกาหลีใต้ ที่กลับมาเกือบเท่าช่วงก่อน COVID-19 แล้ว

นอกจากนี้ การลดต้นทุนของบริษัทในช่วงที่ผ่านมา ก็เป็นอีกปัจจัยที่ทำให้บริษัทฟื้นกลับมาทำกำไรอีกครั้งได้เร็วขึ้น โดยครึ่งปีนี้บริษัทปรับลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานได้ถึง 21% รวมถึงการจัดการสินค้าคงคลัง เน้นการผลิตในสเปนเเละประเทศใกล้เคียง อีกทั้งยังตั้งเป้าจะปิดร้านค้าขนาดเล็กประมาณ 1,000-1,200 สาขาทั่วโลก ภายในช่วง 2 ปีนี้ เพื่อโฟกัสเฉพาะสาขาใหญ่เท่านั้น

เหล่านักช้อปเริ่มกลับมาซื้อสินค้าแฟชั่นอีกครั้งหลังร้านต่างๆ กลับมาเปิดอีกครั้งตามปกติ โดย JP Morgan ระบุว่ายอดขายเสื้อผ้าแฟชั่นในยุโรปลดลงราว 15% ในเดือนก.. ฟื้นตัวขึ้นจากเดือนพ.. ที่ลดลงถึง 42%

ขณะเดียวกัน ผู้บริโภคก็มีการเลือกซื้อเสื้อผ้าที่เปลี่ยนไปเช่นกัน เช่นมีการสั่งซื้อเสื้อผ้าที่สวมใส่สบายและไม่เป็นทางการมากขึ้น เมื่อต้องทำงาน Work from Home เเละงานสังสรรค์ปาร์ตี้ต่างๆถูกยกเลิกไปในช่วงที่ผ่านมา

 

ที่มา : Reuters , Business Insider

]]>
1297624