หนี้สิน – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 26 Nov 2021 02:28:52 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ถอดรหัส ‘ผู้บริโภค’ ช่วงวิกฤต รายได้ลด มีปัญหาหนี้ หวังปีหน้าฟื้นตัว เเต่ยัง ‘รัดเข็มขัด’ https://positioningmag.com/1363998 Thu, 25 Nov 2021 10:03:17 +0000 https://positioningmag.com/?p=1363998 สรุปประเด็นน่าสนใจจาก EIC Consumer Survey 2564 ถอดรหัสผู้บริโภคยุคโควิด-19 การเงินวิกฤต การใช้ชีวิตไม่เหมือนเดิม กลุ่มรายได้น้อยรับผลกระทบหนักสุด คนส่วนใหญ่หวังปีหน้ารายได้เริ่มกลับมา เเต่ยัง ‘รัดเข็มขัด’ ระมัดระวังใช้จ่าย แม้สถานการณ์โควิดจะคลี่คลายก็ตาม เเนะผู้ประกอบการหาโอกาสจากแนวโน้มการใช้จ่ายในหมวดที่จะเร่งตัวจาก pent-up demand ของผู้มีกำลังซื้อ-รายได้สูง เทรนด์ออนไลน์อยู่ยาว 

โดย EIC ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของผู้บริโภคไทยจำนวน 3,205 คน ระหว่างวันที่ 27 สิงหาคม ถึง 27 กันยายน 2564 เกี่ยวกับ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและพฤติกรรมในช่วงโควิด-19 และแนวโน้มหลังวิกฤตคลี่คลาย

ผู้บริโภค รายได้ไม่พอรายจ่าย เเบกภาระหนี้ 

วิกฤตโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อรายได้ของผู้บริโภคไทยจำนวนมาก นำไปสู่ 3 ปัญหาทางเศรษฐกิจ ที่สำคัญในช่วงปีที่ผ่านมา ได้แก่ ปัญหารายได้ไม่พอใช้จ่าย ปัญหาภาระการชำระหนี้ ปัญหาสภาพคล่องทางการเงิน โดยปัญหาจะมีความรุนแรงเป็นพิเศษในกลุ่มผู้มีรายได้น้อย

การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลทำให้ผู้บริโภคเกือบครึ่ง หรือ 48% ของผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด
มีรายได้ลดลง เมื่อเทียบกับช่วงก่อน COVID-19

โดยมีสัดส่วนถึง 30% ของผู้บริโภคที่มีรายได้ที่ลดลงมากกว่า 10% ขึ้นไปเมื่อเทียบกับระดับรายได้ก่อนโควิด-19 ขณะที่มีผู้บริโภคเพียง 24% เท่านั้น ที่มีรายได้เพิ่มขึ้นในช่วงเดียวกัน

Photo : Shutterstock

คนกลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะเป็นคนทำงานเป็นลูกจ้างบริษัทเอกชนที่มีระดับรายได้ค่อนข้างสูง ด้วยสถานการณ์ด้านรายได้ที่ซบเซา ส่งผลทำให้เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจทั้งในด้านการใช้จ่าย การจัดการภาระหนี้ และปัญหาสภาพคล่อง

โดยผลสำรวจพบว่ามีถึง 63% ของผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด ที่กำลังเผชิญปัญหารายได้ ไม่พอรายจ่ายไม่มากก็น้อย

นอกจากนี้ เกินครึ่ง (56%) ของผู้ตอบแบบสอบถามที่มีหนี้กำลังเผชิญปัญหาในการชำระหนี้ และ 52% ของผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมดยังมีสภาพคล่องทางการเงินไม่เกิน 6 เดือน

ทั้งนี้ EIC พบว่า มีคนจำนวนถึง 31% ของผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมดที่กำลังเผชิญ 3 ปัญหาดังกล่าวพร้อมกัน

คนรายได้น้อย รับผลกระทบหนักสุด

เมื่อพิจารณาแยกตามระดับรายได้ EIC พบว่า กลุ่มผู้บริโภครายได้น้อย หรือคนที่มีรายได้ไม่เกิน 1.5 หมื่นบาทต่อเดือน มีสัดส่วนคนที่มีปัญหาทางเศรษฐกิจมากที่สุดในทุกประเด็นปัญหาที่กล่าวมา โดยสัดส่วนของจำนวนคนที่มีปัญหาจะลดน้อยลงในกลุ่มระดับรายได้ที่สูงขึ้น

“สะท้อนให้เห็นว่า วิกฤตโควิด-19 เป็นวิกฤตที่กระทบผู้มีรายได้น้อยรุนแรงกว่า ตอกย้ำปัญหาความเหลื่อมล้ำอันเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างของสังคมไทย”

โดยกลุ่มคนรายได้น้อย มีสัดส่วนของคนที่ระบุว่ารายได้ลดลงในช่วงปีที่ผ่านมาสูงถึง 63% จากจำนวนคนรายได้น้อยทั้งหมด ซึ่งถือว่ามากที่สุดเมื่อเทียบกับกลุ่มคนที่มีรายได้สูงกว่า

ในทำนองเดียวกัน ทั้งสัดส่วนการมีปัญหารายได้ไม่พอรายจ่ายของคนรายได้น้อย (87%) สัดส่วนคนมีปัญหาภาระหนี้ (78%) และสัดส่วนคนมีปัญหาสภาพคล่อง (71%) หรือสัดส่วนของคนที่เผชิญทั้ง 3 ปัญหา (49%) ก็ล้วนแล้วแต่สะท้อนถึงผลกระทบที่มีต่อคนรายได้น้อยส่วนใหญ่และระดับปัญหาที่มากกว่าคนรายได้สูงกว่าทั้งสิ้น

หวัง ‘ปีหน้า’ รายได้เริ่มกลับมา

ผู้บริโภคส่วนใหญ่ มองว่ารายได้จะฟื้นตัวกลับมาเท่ากับที่เคยได้ในช่วงก่อนโควิด ตั้งแต่ปีหน้าเป็นต้นไป แต่ยังค่อนข้างมีความระมัดระวังกับแผนการใช้จ่ายในระยะข้างหน้า

“อย่างไรก็ตาม การใช้จ่ายสำหรับบริการในประเทศบางประเภทมีแนวโน้มได้รับประโยชน์จากแรงส่งของอุปสงค์คงค้าง (pent-up demand) โดยเฉพาะจากกลุ่มผู้มีรายได้สูง”

เมื่อมองไปข้างหน้า ผู้บริโภคครึ่งหนึ่ง คาดว่ารายได้ของตนเองจะฟื้นกลับมาเท่ากับช่วงก่อนโควิด-19 ตั้งแต่ปีหน้าเป็นต้นไป

โดยมีผู้บริโภคถึง 16% ที่เชื่อว่ารายได้ตนเองไม่มีทางกลับมาเท่ากับก่อนโควิด-19 ซึ่งคนกลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็นคนรายได้น้อย และเป็นคนทำงานในภาคการท่องเที่ยว และค้าส่ง-ค้าปลีก สะท้อนถึงผลกระทบต่อกลุ่มธุรกิจดังกล่าวที่รุนแรงมากและมีแนวโน้มฟื้นตัวได้ยาก

ผู้บริโภคส่วนใหญ่ ยัง ‘รัดเข็มขัด’ เเม้สถานการณ์จะดีขึ้น 

การคาดการณ์ว่ารายได้จะฟื้นตัวช้า มีส่วนกดดันแผนการใช้จ่ายในระยะข้างหน้า โดยผู้บริโภคส่วนใหญ่ราว 72% ระบุว่าจะยังคงไม่เพิ่มการใช้จ่ายแม้สถานการณ์โควิด จะคลี่คลายก็ตาม ราว 43% ของผู้บริโภคระบุว่าจะลดค่าใช้จ่ายลงจากปัจจุบันอีกด้วย โดยคนกลุ่มที่เลือกจะรัดเข็มขัดเพิ่มเติมนี้ ส่วนใหญ่เป็นคนที่มีมุมมองว่ารายได้ตนเองจะยังไม่เพิ่มขึ้นในเร็ววัน

อย่างไรก็ตาม การใช้จ่ายบางหมวดมีแนวโน้มฟื้นตัวได้ดีจากอุปสงค์คงค้าง (pent-up demand) ผู้บริโภคส่วนใหญ่มีแนวโน้มกลับไปใช้จ่ายในหมวดที่เกี่ยวกับกิจกรรมนอกบ้าน หลังสถานการณ์คลี่คลาย เช่น การท่องเที่ยวภายในประเทศ และบริการด้านสุขภาพและความงาม เป็นต้น โดยเฉพาะกลุ่มรายได้สูง (รายได้มากกว่า 1 แสนบาทต่อเดือน) ที่มีสัดส่วนคนที่จะกลับไปใช้จ่ายในหมวดดังกล่าวภายในระยะเวลา 6 เดือนข้างหน้าสูงกว่ากลุ่มอื่น ๆ

คาดว่ามาจากความต้องการที่คงค้างมาจากช่วงปิดเมือง และยังเป็นช่วงเวลาของฤดูกาลท่องเที่ยว ประกอบกับยังมีมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายของภาครัฐเป็นอีกแรงสนับสนุนด้วย

อย่างไรก็ดี สำหรับสินค้าที่มีมูลค่าสูง ได้แก่ บ้าน รถยนต์ มีผู้บริโภคเพียงส่วนน้อย (5-6%) ที่มีแผนจะใช้จ่ายในช่วง 6 เดือนข้างหน้า สะท้อนถึงผลจากทั้งรายได้และความเชื่อมั่นที่ซบเซา เช่นเดียวกันกับแผนในการท่องเที่ยวต่างประเทศที่ยังมีไม่มากนักในหมู่ผู้บริโภคไทย ตามภาวะรายได้ รวมถึงข้อจำกัดและความเชื่อมั่นในการเดินทางระหว่างประเทศ

พฤติกรรม New Normal เทรนด์ออนไลน์อยู่ยาว 

ในช่วง COVID-19 ผู้บริโภคไทยมีการเปลี่ยนพฤติกรรมทั้งด้านการใช้เทคโนโลยี และการใช้เวลาที่บ้านมากขึ้น ซึ่งพฤติกรรม 2 กลุ่มนี้มีแนวโน้มกลายเป็น New Normal

ในช่วงปีที่ผ่านมา ผู้บริโภคได้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจากผลกระทบของวิกฤต COVID-19 ทั้งในด้านการใช้เทคโนโลยีและการใช้เวลาที่บ้าน โดย ผู้บริโภค 41% ระบุว่ามีการซื้อสินค้าผ่านทางออนไลน์เพิ่มขึ้นหรือซื้อเป็นครั้งแรกเมื่อเทียบกับช่วงก่อน COVID-19

ขณะที่มีเพียง 17% ของผู้บริโภคเท่านั้นที่เพิ่มการใช้จ่ายโดยทั่วไปในช่วงเดียวกัน สะท้อนถึงการเพิ่มสัดส่วนการใช้ช่องทางออนไลน์ในการซื้อสินค้ามากขึ้นในช่วงที่การจับจ่ายใช้สอยในช่องทางออฟไลน์มีข้อจำกัด

นอกจากนี้ ผู้บริโภคส่วนใหญ่ (57%) ยังมีการใช้เวลาทำกิจกรรมที่บ้าน เช่น การปลูกต้นไม้ ทำอาหาร เพิ่มขึ้น หรือทำเป็นครั้งแรกด้วยเช่นกัน จากการที่วิกฤต COVID-19 ทำให้ผู้บริโภคต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานมาเป็นการทำงานที่บ้านและมีเวลาอยู่บ้านมากขึ้น ซึ่งการเปลี่ยนพฤติกรรมดังกล่าวส่งผลต่อเนื่องทำให้การปรับปรุงและตกแต่งบ้าน และการซื้อของออนไลน์ในหมวดสินค้าเกี่ยวกับบ้านเพิ่มขึ้นตามไปด้วย

สำหรับแนวโน้มหลังโควิดคลี่คลายนั้น พฤติกรรมที่ผู้บริโภคปรับเปลี่ยนในช่วงที่ผ่านมา มีแนวโน้มที่จะยังคงอยู่ต่อเนื่อง หรือกลายเป็น New Normal แม้จะลดน้อยลงบ้างจากที่เคยทำในช่วง COVID-19 ไม่ว่าจะเป็นการซื้อสินค้าออนไลน์ที่กว่า 86% ของผู้บริโภคระบุว่าจะยังทำต่อไปแม้สถานการณ์ COVID-19 คลี่คลาย ซึ่งอาจเป็นเพราะความสะดวกจากการใช้บริการ

(Photo by Carl Court/Getty Images)

พฤติกรรมผู้บริโภคที่มีแนวโน้มจะกลายเป็น New Normal ได้แก่ การใช้เวลาทำกิจกรรมที่บ้านที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่ (91%) ระบุว่าจะยังคงทำต่อไป เช่นเดียวกันกับการปรับปรุง-ตกแต่งบ้าน (67%) และการใช้บริการ food delivery (67%) ซึ่งคาดว่าพฤติกรรมกลุ่มนี้ได้รับแรงสนับสนุนจากเทรนด์การทำงานที่บ้านที่หลายองค์กรมีแนวโน้มปรับใช้แบบระยะยาว ทำให้การใช้เวลาที่บ้านของผู้บริโภคจะเพิ่มขึ้นตามมา

อย่างไรก็ตาม กลุ่มพฤติกรรมดังกล่าวมีแนวโน้มลดลงบ้างเมื่อสถานการณ์คลี่คลาย เพราะอาจถูกทดแทนด้วยทางเลือกนอกบ้าน โดยเฉลี่ยประมาณ 25-30% ของผู้บริโภคระบุว่าจะยังคงพฤติกรรมการซื้อของออนไลน์และการใช้เวลาที่บ้าน แต่จะลดน้อยลงจากที่เคยทำในช่วง COVID-19 ทั้งนี้ สาเหตุอาจมาจากการมีทางเลือกมากขึ้นเมื่อบริการที่ทดแทนกันได้แบบออฟไลน์ เช่น ห้างสรรพสินค้า ร้านอาหาร กลับมาเปิดให้บริการได้มากขึ้น

สรุป : 

ข้อค้นพบจากผลสำรวจความคิดเห็นผู้บริโภคของ EIC ได้บ่งชี้ให้เห็นถึงผลกระทบจากวิกฤต COVID-19 ต่อผู้บริโภคไทยที่ค่อนข้างรุนแรงและจะยังมีผลต่อเนื่องไปในระยะข้างหน้า ผ่านความเชื่อมั่นต่อการฟื้นตัวของรายได้ที่ยังซบเซา กดดันแนวโน้มการใช้จ่ายภาพรวมในอนาคต โดยเฉพาะสำหรับกลุ่มผู้มีรายได้น้อย

“ผู้ประกอบการที่เจาะกลุ่มผู้บริโภคยังสามารถหาโอกาสได้จากแนวโน้มการใช้จ่ายในหมวดที่จะเร่งตัวจาก pent-up demand ของผู้มีกำลังซื้อ รวมถึงโอกาสจากพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปทั้งในด้านการซื้อของออนไลน์และการใช้เวลาอยู่บ้านซึ่งมีแนวโน้มกลายเป็น New Normal ที่ดำเนินต่อไปแม้สถานการณ์โควิด-19 เริ่มคลี่คลายลง”

 

]]>
1363998
“เอเวอร์แกรนด์” ยักษ์ใหญ่อสังหาจีน เสี่ยงล้มพร้อมหนี้ 10 ล้านล้าน ลามวิกฤตซับไพรม์เอเชีย https://positioningmag.com/1352027 Thu, 16 Sep 2021 07:25:22 +0000 https://positioningmag.com/?p=1352027 เมื่อวันที่ 13 กันยายน ที่ผ่านมา ประชาชนจีนกว่าร้อยคน ได้บุกเข้าไปยังอาคารสำนักงานใหญ่ของกลุ่มบริษัทเหิงต้า หรือ ไชน่าเอเวอร์แกรนด์ พร้อมเรียกร้องให้บริษัทคืนเงินลงทุน หุ้นกู้ และเงินดาวน์โครงการพัฒนาต่างๆ หลังมีข่าวแพร่สะพัดว่า บริษัทกำลังประสบปัญหาทางการเงิน มีหนี้สินสูงถึง 1.97 ล้านล้านหยวน (ราว 10 ล้านล้านบาท หรือราว 3.56 แสนล้านดอลลาร์) ถือเป็นธุรกิจเอกชนที่มีหนี้มากที่สุดในโลก

เอเวอร์แกรนด์ เป็นหนึ่งในกลุ่มบริษัทเอกชนที่ใหญ่ที่สุดของจีนและเป็นหนี้สินมากที่สุดในโลก กำลังเผชิญกับภาวะล้มละลายหลังจากการขยายตัวอย่างรวดเร็ว และการไล่ซื้อกิจการต่างๆ หลายปีที่ผ่านมา

ขณะที่วิกฤติสภาพคล่องที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องของเอเวอร์แกรนด์ ทำให้เกิดความกลัวว่า จะผิดนัดชำระหนี้ก่อให้เกิดความเสี่ยงในวงกว้างต่อระบบการเงินของจีน

เอเวอร์แกรนด์นั้น ใหญ่แกรนด์แค่ไหน ว่ากันว่าก็คงขนาดที่ว่าหากล้มละลาย นับเป็นผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อเศรษฐกิจของประเทศ และอาจรวมถึงโลกด้วย

เป็นเหตุให้หลายฝ่ายจับตาว่ารัฐบาลจีนยื่นมือเข้าอุ้มหรือไม่ เพราะการล้มของเอเวอร์แกรนด์มีนัยสำคัญกับเศรษฐกิจจีนและเชื่อมโยงกับตลาดโลก

1. เอเวอร์แกรนด์ (Evergrande) คือใคร?

เอเวอร์แกรนด์ หรือไชน่าเอเวอร์แกรนด์ เป็นหนึ่งในบริษัทเอกชนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศจีน และเป็นหนึ่งในผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำของบริษัท มีการดำเนินธุรกิจโครงการมากกว่า 1,300 โครงการ ในกว่า 280 เมือง เป็นผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่เป็นอันดับสองในประเทศจีน และติดอันดับหนึ่งใน 150 บริษัทชั้นนำของโลก เมื่อพิจารณาจากรายได้ จากข้อมูลของ Fortune 500 บริษัทมีพนักงานมากกว่า 123,000 คน และมีรายได้รวม 7.35 หมื่นล้านดอลลาร์ในปี 2020

การปฏิรูปของจีนได้เปิดเศรษฐกิจการพัฒนาที่ดิน บริษัทได้สร้างและสะสมความมั่งคั่งในช่วงหลายทศวรรษของการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์อย่างรวดเร็ว

Xu Jiayin, boss of Evergrande (Photo credit should read Feature China/Barcroft Media via Getty Images)

บริษัทไชน่าเอเวอร์แกรนด์ ก่อตั้งขึ้นในปี 1996 โดยนักธุรกิจมหาเศรษฐี สีว์จยาอิ้น ปัจจุบันเขาได้รับการจัดอันดับจากฟอร์บส์ ให้เป็นบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดอันดับสามในประเทศจีนและเป็นคนที่ร่ำรวยที่สุดอันดับที่ 31 ของโลก อีกทั้งได้รับการจัดอันดับในรายงานความมั่งคั่งล่าสุดจากรายงานของหูรุ่น ยกให้เป็นบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดอันดับ 5 ของประเทศ

สีว์จยาอิ้น วัย 62 ปี มหาเศรษฐีที่สร้างฐานะตัวเอง เติบโตจากความยากจนในชนบท มาเป็นเจ้าของอาณาจักรอสังหาริมทรัพย์ กำลังต่อสู้เพื่อกอบกู้กลุ่มบริษัทของเขาจากหนี้มหาศาล และอาจเป็นต้นเหตุแห่งการล่มสลายที่ใกล้เข้ามาแล้ว ของชาติเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลก

การประกาศลาออกจากตำแหน่งประธาน เอเวอร์แกรนด์เรียลเอสเตทกรุ๊ป (Evergrande Real Estate Group) เมื่อวันอังคารที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2564 ก็ยิ่งย้ำให้เห็นภาพของต้นหนที่สละเรือซึ่งกำลังใกล้จะจม

2. เอเวอร์แกรนด์ ทำอะไร-ที่ไหน?

ในขณะที่กิจการส่วนใหญ่ของเอเวอร์แกรนด์เป็นบริษัทอสังหาริมทรัพย์ แต่ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา กลุ่มบริษัทได้เริ่มดำเนินการกระจายความเสี่ยงทั้งหมดไปยังกิจการนอกกลุ่ม

โดยนอกเหนือจากธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ตอนนี้เอเวอร์แกรนด์ยังซื้อสโมสรฟุตบอลกว่างโจว เอฟซี (เดิมคือกวางโจว เอเวอร์แกรนด์)

Photo : Shutterstock

เอเวอร์แกรนด์ ยังเข้าไปในอุตสาหกรรมอาหารเครื่องดื่ม มีทั้งกิจการน้ำแร่และอาหารที่กำลังเฟื่องฟูด้วยแบรนด์ Evergrande Spring

นอกจากนี้ ยังสร้างสวนสนุกสำหรับเด็ก ซึ่ง “มโหฬาร” กว่าของค่ายดิสนีย์ คู่แข่ง

เอเวอร์แกรนด์ ยังได้ลงทุนในภาคการท่องเที่ยว ดิจิทัล อินเทอร์เน็ต ธุรกิจด้านการดูแลสุขภาพ และกิจการประกันภัย รวมทั้งลงทุนกิจการรถยนต์ไฟฟ้า (Evergrande Auto) ในปี 2019 (ทั้งที่ไม่ได้เคยทำการตลาดยานพาหนะใดๆ เลย)

3. เอเวอร์แกรนด์ มีปัญหาอะไร?

ปัญหาในระยะสั้นของเอเวอร์แกรนด์ คือ หนี้สิน ซึ่งกลุ่มบริษัทกล่าวว่าในสัปดาห์นี้ หนี้สินรวมของบริษัทเพิ่มขึ้นเป็น 1.97 ล้านล้านหยวน (ราว 10 ล้านล้านบาท หรือราว 3.56 แสนล้านดอลลาร์) และเตือนถึง “ความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น หากบริษัทผิดนัดไม่สามารถชำระหนี้”

หนึ่งปีที่ผ่านมา มูลค่าหุ้นเอเวอร์แกรนด์ ตกมากกว่า 70% ขณะที่ผู้รับเหมาและซัพพลายเออร์หลายรายบ่นว่าไม่ได้รับเงินตรงเวลา มีข่าวเจ้าหนี้ต่าง ๆ ของยักษ์ใหญ่รายนี้ พากันฟ้องเรียกร้องหนี้ตลอดมา

ปีที่แล้ว มีจดหมายภายในรั่วไหลจาก สวี่ เจียหยิ่น ประธานฯ ว่าขออนุญาตจากหน่วยงานกำกับดูแลในการปรับโครงสร้างใหม่ จนตลาดตื่นตระหนก แม้ว่าภายหลัง บริษัทฯ จะบอกว่าเป็นข่าวเท็จก็ตาม

4. การล่มสลายของเอเวอร์แกรนด์ จะก่อให้เกิดวิกฤตในเอเชียหรือไม่?

ปักกิ่ง ได้ตั้งฉายาเรียกกลุ่มบริษัทขนาดใหญ่ที่มีหนี้สิน และความเสี่ยงทางการเงินมหาศาล แต่ผู้รับผิดชอบมองไม่เห็นสัญญาณ หรือเห็นแต่คิดว่าไม่สำคัญ ว่าเป็น “แรดสีเทา” และ “ไชน่า เอเวอร์แกรนด์” เคยถูกพูดถึงหลายครั้งว่าเป็น “แรดสีเทาตัวยักษ์ของจีน”

ผู้เชี่ยวชาญ เคยเตือนกังวลเรื่องหนี้ของบริษัทอสังหาริมทรัพย์ที่มีหนี้สินมากที่สุดในโลกรายนี้เสมอ และถกเถียงคาดการณ์กันว่าจะเกิดวิกฤตเศรษฐกิจในภูมิภาคหรือไม่หากบริษัทนี้ล่มสลาย นักวิเคราะห์เอเชีย บางคนชวนคิดถึงสถานการณ์เช่นเดียวกับความล้มคว่ำ เรื่องอื้อฉาวของฮันโบ (Hanbo Steel) ในเกาหลีใต้ เดือนมกราคม 1997 ชนวนหนึ่งของวิกฤตเศรษฐกิจเอเชีย

Photo : Shutterstock

 

วิกฤตหนี้สินทั่วโลกของ เอเวอร์แกรนด์ ที่มีมากกว่า 3.56 แสนล้านดอลลาร์ แม้จะเป็นผู้ออกพันธบัตรในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐรายใหญ่ที่สุด แต่ก็กลายเป็นพันธบัตรขยะที่นักลงทุนเพียงไม่กี่รายต้องการถือในตอนนี้

ฮิลลาร์ด แม็คเบธ ผู้เขียน When the Bubble Bursts ได้โพสต์ไว้ในบล็อกของ Richardson Wealth ว่า “พันธบัตรเอเวอร์แกรนด์ ที่จะครบกำหนดในปี 2568 ปัจจุบันราคาซื้อขายต่ำกว่า 40 เซนต์ ซึ่งหมายความว่าตลาดเชื่อว่ามีโอกาสน้อยที่เอเวอร์แกรนด์จะสามารถชำระหนี้นี้ได้”

เอเวอร์แกรนด์ถูกฟ้องร้องชำระหนี้มาต่อเนื่อง ล่าสุดเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ธนาคาร ไชน่ากวงฝ่า (China Guangfa Bank Co) ชนะคดีอายัดเงินฝากของเอเวอร์แกรนด์ได้ราว 20 ล้านดอลลาร์ แต่นั่นเป็นเพียงหยดน้ำในมหาสมุทรหนี้สินของเอเวอร์แกรนด์

ไม่กี่วันต่อมา ซัพพลายเออร์ของเอเวอร์แกรนด์ พากันเริ่มฟ้องร้องคดีเบี้ยวหนี้ ซึ่งรวมถึง Huaibei Mining Holdings Co ที่ฟ้องเรียกหนี้ค้างชำระจากเอเวอร์แกรนด์ 84 ล้านดอลลาร์ ฯลฯ

นอกจากนี้ สำนักงานที่ดิน เมืองหลานโจว ยังได้เปิดเผยต่อสาธารณชนว่าเอเวอร์แกรนด์ก็ค้างหนี้เช่นกัน

ปัญหาหนี้ที่พอกพูนมหาศาลทำให้หน่วยงานจัดอันดับเครดิต ลดความน่าเชื่อถือเอเวอร์แกรนด์ S&P ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของบริษัทจาก B- เป็น CCC (สองระดับ) ในวันที่ 5 สิงหาคม ขณะเดียวกันก็ลดอันดับความน่าเชื่อถือระยะยาวของธนบัตรดอลลาร์สหรัฐที่ออกโดยเอเวอร์แกรนด์ จาก CCC+ เป็น CC-

S&P กล่าวว่า สถานะสภาพคล่องของเอเวอร์แกรนด์ลดลงอย่างรวดเร็วและมากกว่าที่เราคาดไว้ก่อนหน้านี้

“ความเสี่ยงจากการไม่ชำระเงินของบริษัทกำลังทวีความรุนแรงขึ้น ไม่เพียงแต่สำหรับพันธบัตรสาธารณะที่จะถึงครบกำหนดในปี 2565 เท่านั้น แต่ยังรวมถึงสินเชื่อธนาคารและทรัสต์ และหนี้สินอื่นๆ ในอีก 12 เดือนข้างหน้าด้วย”

เช่นเดียวกับ หน่วยงานจัดอันดับเครดิตรายใหญ่อื่นๆ รวมถึง Moodys และ Fitch ได้ประกาศการปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือที่คล้ายกัน

ก่อนหน้านี้ นักลงทุนได้เคยพูดเรื่องฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์ของจีนมานานแล้ว และหากเอเวอร์แกรนด์ล่มสลายจริง … ตลาดโลกก็ย่อมตกต่ำเช่นกัน

Photo : Shutterstock

แม้ว่าปักกิ่งจะต้องการพยายามบรรเทาภัยพิบัติอย่างดีที่สุด แต่ฝ่ายบริหารก็ยังไม่ชัดเจนว่าจะทำอย่างไร นอกจากนี้ยังดูจะมีแนวทางนโยบายที่ระมัดระวังมากขึ้นในการจัดการปัญหาหนี้สินในหลายปีที่ผ่านมา

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 19 สิงหาคม ธนาคารประชาชนแห่งประเทศจีนและคณะกรรมการกำกับดูแลการธนาคารและการประกันภัยแห่งประเทศจีนได้ดำเนินการตามขั้นตอนที่ไม่ปกติ ในการกระตุ้นให้เอเวอร์แกรนด์ ดำเนินการเพื่อลดความเสี่ยงด้านหนี้สิน

ภายหลังการประชุมร่วมกับผู้บริหารของบริษัท ได้ออกแถลงการณ์สาธารณะว่า “เอเวอร์แกรนด์ ในฐานะบริษัทอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำ ต้องใช้การจัดการเชิงกลยุทธ์ที่จัดทำโดยรัฐบาลกลางอย่างจริงจัง เพื่อให้แน่ใจว่าการพัฒนาตลาดอสังหาริมทรัพย์จะมีเสถียรภาพ และมุ่งมั่นที่จะทำให้การดำเนินงานมีความมั่นคง”

Photo : Shutterstock

แถลงการณ์ดังกล่าวยังกระตุ้นให้เอเวอร์แกรนด์ “กระจายความเสี่ยงด้านหนี้สินอย่างแข็งขัน และรักษาเสถียรภาพของอสังหาริมทรัพย์และตลาดการเงิน”

ฝ่ายบริหารของเอเวอร์แกรนด์ ตอบว่าจะ “ดำเนินการอย่างเต็มที่” ตามข้อกำหนดของปักกิ่ง รวมถึงการลดความเสี่ยงด้านหนี้สินและรักษาเสถียรภาพของตลาด

มีความคืบหน้าบางอย่างในช่วงเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาว่า ไชน่าเอเวอร์แกรนด์ กำลังเจรจากับผู้ผลิตสมาร์ทโฟนเสี่ยวหมี่ เพื่อขายหุ้นในธุรกิจรถยนต์ไฟฟ้า ในขณะที่ประสบผลสำเร็จกับการเจรจากับเจ้าหนี้รายใหญ่เพื่อขยายสินเชื่อ แต่ขนาดของหนี้สินมีมากขึ้นเรื่อยๆ จึงต้องดำเนินการอีกมากเพื่อหลีกเลี่ยงสิ่งที่หลายคนกลัวว่าเป็นภัยคุกคามที่ยิ่งใหญ่ที่สุดต่อตลาดโลก

5. เลห์แมน บราเธอร์ส ของจีน?

ตำนานวิปโยค เลห์แมน บราเธอร์ส (Lehman Brother) วาณิชธนกิจระดับโลก ที่ประกาศล้มละลายที่ใหญ่หลวงที่สุดในประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกา ก่อวิกฤตซับไพรม์ 15 กันยายน ปี 2008 ส่งผลกระทบไปทั่วโลก หลังขาดทุนมหาศาลจากการลงทุนในสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ กำลังจะเกิดประวัติศาสตร์ซ้ำรอยกับประเทศจีนหรือไม่

นักวิเคราะห์มองว่า มีสาเหตุที่คล้าย ๆ กันเกิดขึ้นกับ เอเวอร์แกรนด์ คือ การกู้มาลงทุน เติบโตด้วยหนี้ล้วน ๆ นี่คือต้นเหตุที่นำพาไปสู่หายนะอย่างแท้จริง ทุกอย่างเริ่มต้นในช่วงเวลาตลาดขาขึ้น ความโลภเริ่มเข้าครอบงำ

Xu Jiayin, chairman of Guangzhou’s Evergrande (Photo by Visual China Group via Getty Images/Visual China Group via Getty Images)

นอกจากนี้ ยังก่อหนี้ท่วม จนสภาพคล่องต่ำ โดยเฉพาะเงินทุนหมุนเวียนระยะสั้น ซึ่งมักได้มาจากการกู้ยืมโดยใช้เครดิต ความน่าเชื่อถือ

การขาดความระมัดระวังต่อแผนการลงทุน ประมาทไปว่าช่วงแรกคือช่วงที่อะไรๆ ก็ดูดีไปหมด จนเมื่อขาดทุน ขาดสภาพคล่อง เงินสดยังแทบไม่มี

การขยายตัวอย่างรวดเร็ว การเติบโตอย่างบ้าคลั่งด้วยหนี้จำนวนมาก เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เอเวอร์แกรนด์อยู่ในสถานะอันตรายเช่นนี้ในปัจจุบัน

การล่มสลายของไชน่า เอเวอร์แกรนด์ ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นหนี้มากที่สุดในโลกอาจส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อตลาดการลงทุนทั่วโลก จะซ้ำรอย กลายเป็น เลห์แมน บราเธอร์ส ของจีน หรือไม่?

Photo : Shutterstock

เดวิด ลิลเวล-สมิธ ผู้เขียนร่วมของ The Great Crash of 2008 ที่กำลังจับตาดูบริษัทจีนรายนี้ กล่าวว่า

“เอเวอร์แกรนด์เคยเป็นผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ที่สุดของจีน ตอนนี้เป็นอาคารที่โยกเยกอย่างไม่น่าเชื่อ และมีพันธมิตรธุรกิจน้อยลง”

ลิลเวล-สมิธ ยังเน้นย้ำถึงบางสิ่งที่คนวงในในอุตสาหกรรมหลายคนสงสัยมานาน กล่าวเป็นนัยว่า

“หนี้ 3 แสนล้านเหรียญนี้ อาจทำให้ เอเวอร์แกรนด์ เป็นวิปโยค เลห์แมน บราเธอร์สของจีน เป็นหนี้ขยะใต้ดินให้กับคู่สัญญาจีน (และทั่วโลก) (ซึ่งอาจรวมถึงตลาดคริปโตเคอร์เรนซี) หนี้มหาศาลเช่นนี้ มีแต่รัฐบาลจีนเท่านั้นที่สามารถอุ้มทนความเจ็บปวดนี้ได้”

Source

]]>
1352027
‘หนี้ครัวเรือน’ พุ่งไม่หยุด 14.13 ล้านล้าน แตะ 90.5% โควิดลากยาว รายได้หาย ซ้ำคนไทยจมกองหนี้ https://positioningmag.com/1340409 Fri, 02 Jul 2021 08:06:16 +0000 https://positioningmag.com/?p=1340409 หนี้ครัวเรือนไทย ไตรมาส 1/2564 แตะ 90.5% ต่อจีดีพี ขยับขึ้นมาอยู่ที่ 14.13 ล้านล้านบาท สูงสุดในรอบ 18 ปี โควิดลากยาวซ้ำเติมคนไทยติดบ่วง ‘วังวนหนี้สิน’ รายได้ไม่พอรายจ่าย ดิ้นรนหางานเสริม 

โดยสถานการณ์หนี้สินของประชาชน ยังคงมีอัตราการเติบโต ‘เร็วกว่า’ เศรษฐกิจไทยในภาพรวม…

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เปิดเผยข้อมูลเงินให้กู้ยืมแก่ภาคครัวเรือนล่าสุดในไตรมาส 1/2564 ระบุว่า ยอดคงค้างหนี้ครัวเรือนไทย ขยับขึ้นมาอยู่ที่ 14.13 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 90.5% ต่อจีดีพี นับว่าสูงสุดในรอบ 18 ปี ตามสถิติที่มีการเก็บรวบรวมของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และสูงขึ้นต่อเนื่องจากระดับ 89.4% ต่อจีดีพี ในไตรมาสที่ 4/2563

วิกฤตโควิด-19 ที่ลากยาวเข้าสู่ช่วงครึ่งหลังของปี จะเพิ่มความเสี่ยงต่อเส้นทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ พร้อมๆ ตอกย้ำวังวนปัญหาหนี้สินของภาคครัวเรือน โดยเฉพาะครัวเรือนที่มีรายได้ไม่สม่ำเสมอ หรือมีรายได้ลดลงจนมีผลกระทบต่อความสามารถในการชำระคืนหนี้

สำหรับแนวโน้มในปี 2564 นั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้ปรับทบทวน ตัวเลขประมาณการหนี้ครัวเรือนไทยขึ้นมาอยู่ที่กรอบ 90-92% ต่อจีดีพี (กรอบเดิมคาดที่ 89-91% ต่อจีดีพี)

Photo : Shutterstock

เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า หนี้ครัวเรือนในไตรมาส 1/2564 มียอดคงค้างเพิ่มขึ้นประมาณ 88,138 ล้านบาท 

สาเหตุหลักๆ เป็นผลมาจากการเร่งขึ้นของหนี้รายย่อย’ 3 กลุ่ม ได้แก่ หนี้บ้าน หนี้ประกอบอาชีพ และหนี้เพื่อใช้จ่ายชีวิตประจำวัน

1) หนี้บ้าน (ยอดคงค้างหนี้บ้านเพิ่ม 55,300 ล้านบาทจากไตรมาสก่อน) สอดคล้องกับแคมเปญกระตุ้นยอดขายของผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะกลุ่มที่อยู่อาศัยแนวราบราคาประมาณ1-3 ล้านบาท และ 3-5 ล้านบาท ซึ่งผู้กู้หรือครัวเรือนยังคงเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อ รายได้ปานกลางค่อนไปทางสูง (ไม่ถูกกระทบมากนักจากสถานการณ์โควิด) ซึ่งทำให้ยังคงมีความสามารถในการผ่อนชำระหนี้ได้

2) หนี้เพื่อประกอบอาชีพ (ยอดคงค้างหนี้ประกอบอาชีพเพิ่ม 40,100 ล้านบาทจากไตรมาสก่อน) ก่อหนี้เพิ่มเพื่อหนุนสภาพคล่อง และใช้เป็นทุนหมุนเวียนในการประคับประคองกิจการในช่วงที่โควิด-19 ยืดเยื้อซึ่งมีผลกระทบต่อเนื่องต่อรายได้และยอดขาย

3) หนี้เพื่อการอุปโภคบริโภคทั่วไป (ยอดคงค้างหนี้อุปโภคบริโภคทั่วไป เพิ่ม 33,500 ล้านบาทจากไตรมาสก่อน) ซึ่งเป็นกลุ่มครัวเรือนที่มีปัญหารายได้ฝืดเคือง รายได้ไม่สมดุลกับภาระค่าใช้จ่าย จนทำให้ต้องกู้หนี้ยืมสินมาใช้จ่ายในชีวิตประวัน

โควิดระลอกสาม : กลุ่มเปราะบางเพิ่มขึ้น กังวลเรื่องใช้หนี้

จากการเปรียบเทียบผลสำรวจภาวะหนี้สินและการออมของประชาชนในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล พบว่า สถานการณ์รายได้และหนี้สินของประชาชนรายย่อย ‘ถดถอย’ ลงมากจากผลของโควิด-19 ระลอกที่สาม

ในผลสำรวจเดือนมิ.. 2564 ผู้ตอบแบบสอบถามที่มีรายได้ไม่ปกติมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 59.6% สูงกว่าสัดส่วน 56.2% ในผลสำรวจเดือนมี.. 2564 (ก่อนโควิดรอบสาม)

โดยเฉลี่ยแล้ว ผู้ตอบแบบสอบถามในรอบเดือนมิ.. 2564 มีจำนวนบัญชีสินเชื่อและสัดส่วนภาระหนี้ต่อรายได้ หรือ DSR” เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 46.9% เทียบกับ DSR ที่ 42.8% ตอกย้ำปัญหาหนี้สินของประชาชนที่มีสัญญาณน่ากังวลมากขึ้นในระดับครัวเรือน

สำหรับมุมมองต่อสถานการณ์หนี้สินของตัวเองนั้นลูกหนี้เป็นห่วงปัญหาหนี้สินของตัวเองมากขึ้น

ผู้ตอบแบบสอบถาม 79.5% ประเมินว่า ปัญหาหนี้ของตัวเองยังไม่น่าจะดีขึ้น ในช่วงครึ่งหลังของปี2564 โดยสัดส่วนของผู้ที่มองว่าปัญหาหนี้จะแย่ลงเพิ่มขึ้นมาที่ 26.6% เทียบกับสัดส่วนเพียง 7.8% ในรอบมี..

โควิดระลอกที่สาม มีผลกระทบต่อสถานะทางการเงินของครัวเรือนหลายส่วนให้อ่อนแอและเปราะบางมากขึ้น และเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ผู้ที่มีภาระหนี้สมัครเข้ามาตรการช่วยเหลือของสถาบันการเงินมากขึ้น

ขณะที่ภาพสะท้อนจากมุมของประชาชนครัวเรือน บ่งชี้ว่า สินเชื่อที่ต้องการรับความช่วยเหลือส่วนใหญ่ เป็นสินเชื่อบัตรเครดิต+สินเชื่อส่วนบุคคล (45.3%) สินเชื่อเช่าซื้อ (25.3%) และสินเชื่อบ้าน (14.3%) ตามลำดับ

รายได้ไม่พอ ต้องดิ้นหางานเสริม

ด้านแนวโน้มในปี 2564 จากสถานการณ์โควิด 19 ที่ลากยาวเข้าสู่ช่วงครึ่งหลังของปี 2564 มีผลกระทบทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจมีความไม่แน่นอน

ประชาชนครัวเรือน มีความกังวลมากขึ้นเกี่ยวกับสถานะรายได้จากการทำงานของตัวเอง ส่วนหนึ่งสะท้อนจากการค้นหาช่องทางเพื่อหารายได้เสริม ใน Google Trends ที่กลับมาปรับเพิ่มขึ้นในช่วงที่โควิดระบาดรอบสาม ซึ่งเป็นภาพที่คล้ายกับการระบาดของโควิดในรอบแรก

สำหรับข้อมูลลูกหนี้รายย่อยที่เข้ารับความช่วยเหลือจากธนาคารพาณิชย์และนอนแบงก์นั้น ขยับขึ้นมาที่ 1.69 ล้านบัญชีในเดือนเม.. 2564 (จาก 1.68 ล้านบัญชีในเดือนมี..) คิดเป็นยอดภาระหนี้ที่ได้รับความช่วยเหลือ 12.4% ของลูกหนี้รายย่อย

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า ผลกระทบที่หนักและชัดเจนมากขึ้นของโควิดรอบสาม อาจทำให้จำนวนบัญชีลูกหนี้รายย่อยเข้ามาตรการช่วยเหลือฯ มีโอกาสขยับขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะในเดือนมิ.. ถึงต้นไตรมาส 3/2564 นี้

คาดว่า ยอดคงค้างหนี้ครัวเรือนในปี 2564 น่าจะเติบโตในระดับที่สูงกว่า หรือใกล้เคียงกับอัตรา 4.1%  ในปี 2563 ตอกย้ำภาพหนี้สินครัวเรือนที่โตกว่าทิศทางเศรษฐกิจต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 และศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้ปรับทบทวนสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีในปี 2564 ขึ้นมาอยู่ในกรอบประมาณ 90-92% ต่อจีดีพี (กรอบคาดการณ์เดิมที่ 89-91% ต่อจีดีพี)

ปัญหาหนี้ครัวเรือนโตสวนทิศทางเศรษฐกิจ เป็นภาวะที่เกิดขึ้นกับหลายๆ ประเทศ ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะกับประเทศไทย

เเต่แม้ว่าจะไม่มีปัญหาโควิด-19 หนี้ครัวเรือน ก็เป็นปัญหาเชิงโครงสร้างลำดับต้น ๆ ของไทย ที่รอให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องร่วมกันวางแนวทางแก้ไข

สำหรับในปีนี้ น่าจะเห็นการเดินหน้ามาตรการเร่งด่วนเพื่อช่วยหล่อเลี้ยงสภาพคล่อง ปรับโครงสร้างหนี้เพื่อประคองไม่ให้ลูกหนี้กลายเป็นหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) และ/หรือทบทวนเพดานดอกเบี้ยผลิตภัณฑ์สินเชื่อรายย่อย (เพื่อช่วยลดภาระให้กับลูกหนี้ในช่วงที่โควิด 19 ยังไม่สิ้นสุด) ตลอดจนการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบ

รวมไปถึง การวางแนวทางในระยะยาวเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและหนี้สินของภาคครัวเรือนอย่างจริงจังเมื่อวิกฤตโควิด-19 สิ้นสุดลง โดยเฉพาะการเพิ่มศักยภาพในการหารายได้ และดูแลให้การก่อหนี้ของภาคประชาชน สอดคล้องกับรายได้และความสามารถในการชำระหนี้ของตนเองมากขึ้น

 

 

]]>
1340409
ว่างงานพุ่งไม่หยุด เด็กจบใหม่ 5 แสนคนเคว้ง ‘ไม่มีงานทำ’ หนี้ครัวเรือนสูง จำใจกู้นอกระบบ https://positioningmag.com/1333573 Mon, 24 May 2021 07:50:39 +0000 https://positioningmag.com/?p=1333573 โควิด-19 สั่นคลอนเศรษฐกิจไทย ไตรมาสเเรกของปี 2564 ว่างงานพุ่ง 7.6 เเสนราย นักศึกษาจบใหม่เกือบแสนคน ‘สุดเคว้ง’ ตำแหน่งงานไม่เพียงพอ เสี่ยงตกงานยาว ด้านหนี้ครัวเรือนสูงไม่หยุด ทะลุ 14 ล้านล้านบาท ประชาชนต้องควักเงินออมมาใช้ ก่อหนี้บัตรเครดิตเสี่ยงกู้นอกระบบเพิ่ม

สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือ สภาพัฒน์ เปิดเผยว่า ในช่วง 3 เดือนเเรกของปีนี้ คนไทยว่างงานเพิ่มขึ้นเป็น 7.6 แสนคน คิดเป็น 1.96% เป็นผลกระทบต่อเนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 หลายระลอก นับตั้งแต่เดือน ม..เป็นต้นมา

โดยอัตราการว่างงานของแรงงานในระบบ พบว่า ผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานของผู้ประกันตนมาตรา 33 มีจำนวน 3.46 แสนคน คิดเป็นสัดส่วน 3.1% สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่การระบาดยังไม่รุนแรงแต่ปรับตัวลดลงจากครึ่งปีหลัง

เเบ่งเป็นผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานรายใหม่ประมาณ 8 หมื่นคน ในเดือน มี.. ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับสูง และลูกจ้างของสถานประกอบการที่ขอใช้มาตรา 75 ตาม พ...คุ้มครองแรงงานฯ มีจำนวนทั้งสิ้น 82,346 คน ลดลงเป็นไตรมาสที่ 3 ติดต่อกัน

Photo : Shutterstock

ส่วนชั่วโมงการทำงานรวมอยู่ที่ 40.1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ลดลง 1.8% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และลดลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 6 การทำงานต่ำระดับเพิ่มขึ้นถึง 129.1% เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 4

จากภาพรวมที่ผู้มีงานทำเพิ่มขึ้นแต่ชั่วโมงการทำงานลดลง สะท้อนการจ้างงานและการทำงานที่ไม่เต็มเวลา ทำให้แรงงานมีรายได้ลดลง โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพอิสระซึ่งเป็นกลุ่มที่มีรายได้ไม่แน่นอน

โดยกำลังแรงงานมีจำนวนทั้งสิ้น 38.8 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 1.5% จากการเข้าสู่ตลาดแรงงานของผู้อยู่นอกกำลังแรงงานอย่างต่อเนื่อง

เเละมียอดผู้มีงานทำในไทยทั้งสิ้น 37.6 ล้านคน เพิ่มขึ้น 0.4% จากการขยายตัวของการจ้างงานในภาคเกษตรกรรมที่ดูดซับแรงงานบางส่วนที่ถูกเลิกจ้างจากภาคเศรษฐกิจอื่นมาตั้งแต่ปี 2563 ประกอบกับราคาสินค้าเกษตรมีการปรับตัวสูงขึ้น รวม 11.07 ล้านคน เพิ่มขึ้น 2.8% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

ขณะที่นอกภาคเกษตรกรรม การจ้างงานปรับตัวลดลงเล็กน้อยที่ 0.6% โดยสาขาการผลิตอุตสาหกรรมมีการจ้างงานลดลง 2.2%

ปริมาณนักท่องเที่ยวที่ลดลงเเละมาตรการควบคุมโควิด-19 ทำให้ภาคบริการ จ้างงานลดลง 0.7% สาขาการขายส่ง/ขายปลีกลดลง 1.0% และสาขาการขนส่ง/เก็บสินค้า ลดลง 0.4% และสาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหารลดลง 0.2%

เเต่บางอุตสาหกรรมที่ยังสามารถขยายตัวได้ เช่น ยานยนต์ ผลิตภัณฑ์ยางและพลาสติก อุปกรณ์ที่ใช้ในทางการแพทย์ และการผลิตเครื่องอุปกรณ์การขนส่งอื่น ๆ

เด็กจบใหม่ เสี่ยงไร้งานยาว 

ดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการ สศช. ระบุว่า ผลกระทบของโควิด-19 ระลอกใหม่ต่อเศรษฐกิจและการจ้างงาน ในปี 2564 ที่ต้องติดตามเเละเเก้ไขอย่างเร่งด่วน ได้เเก่

1) แรงงานในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (MSMEs) อาจตกงานมากขึ้นหรือถูกลดชั่วโมงการทำงาน

โดยธุรกิจ MSMEs ได้รับผลกระทบตั้งแต่ปี 2563 ทำให้ GDP ของ MSMEs ปรับตัวลดลงสูงถึง 9.1% หากไม่สามารถควบคุมการระบาดได้อย่างรวดเร็ว ธุรกิจเหล่านี้อาจไม่สามารถประคองตัวต่อไปได้ รวมถึงการเลิกจ้างแรงงาน และโอกาสการกลับมาฟื้นตัวอาจใช้เวลานานมากขึ้น 

2) แรงงานในภาคท่องเที่ยวอาจถูกเลิกจ้างมากขึ้น และต้องหาอาชีพใหม่

ปัญหานี้จะส่งผลกระทบต่อแรงงานในภาคการท่องเที่ยวที่มีอยู่กว่า 7 ล้านคน โดยหากแรงงานถูกเลิกจ้างจะไม่สามารถกลับเข้ามาทำงานในสาขาเดิมได้ในระยะเวลาอันใกล้ และอาจต้องเปลี่ยนอาชีพ ซึ่งรัฐบาลจะพิจารณาว่าจะสามารถช่วยเหลือได้อย่างไร

3) ตำแหน่งงานอาจไม่เพียงพอจะ รองรับนักศึกษาจบใหม่

กระทบกับการหางานของ นักศึกษาจบใหม่ในปี 2564 ประมาณ 4.9 แสนคน ขณะที่โครงการจ้างงานกลุ่มผู้จบการศึกษาใหม่และแรงงานคืนถิ่นภายใต้ พ...เงินกู้ฯ ในปี 2563 ซึ่งมีระยะเวลาการจ้างงานประมาณ 12 เดือนกำลังจะสิ้นสุดลง อาจส่งผลกระทบต่อแรงงานภายใต้โครงการประมาณ 1.4 แสนตำแหน่ง

4) เเรงงานรายได้ลดต่อเนื่อง เสี่ยงตกงานยาว

ผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของแรงงาน เศรษฐกิจที่ฟื้นตัวช้า ชั่วโมงการทำงานที่ลดลง 6 ไตรมาสติดต่อกันและการว่างงานเพิ่มขึ้นสะท้อนว่าแรงงานมีรายได้ลดลงอย่างต่อเนื่อง

ผู้ว่างงานจากผลกระทบของ COVID-19 มีแนวโน้มเป็นผู้ว่างงานระยะยาวมากขึ้น

นอกจากนี้ยังต้องเตรียมพร้อมรับมือกับสภาวะการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ ที่จะมีผลต่อการประกอบอาชีพของเกษตรกรไทยด้วย

Photo : Shutterstock

หนี้ครัวเรือนทะลุ 14 ล้านล้าน คนจำใจก่อหนี้บัตรเครดิตกู้นอกระบบเพิ่ม

หนี้ครัวเรือนไทยในไตรมาส 4 ของปี 2563 มีมูลค่า 14.02 ล้านล้านบาท ขยาย 3.9% จาก 4% ในไตรมาสก่อน หรือคิดเป็นสัดส่วน 89.3% ต่อจีดีพีเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่หดตัว

เเม้ความสามารถในการชำระหนี้ของครัวเรือนปรับตัวดีขึ้น แต่ยังต้องเฝ้าระวัง เนื่องจากสัดส่วนสินเชื่อค้างชำระไม่เกิน 3 เดือน (สินเชื่อกล่าวถึงพิเศษ) ยังอยู่ในระดับสูง

โดยในไตรมาส 4 ปี 2563 สัดส่วน NPLs ของสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคต่อสินเชื่อรวมอยู่ที่ 2.84% ลดลงจาก 2.91% ในไตรมาสก่อน เป็นผลจากการดำเนินมาตรการปรับโครงสร้างหนี้ในช่วงที่ผ่านมาของสถาบันการเงิน

เเต่จากปัญหาตลาดแรงงานที่ได้รับผลกระทบที่รุนแรงขึ้น จะทำให้รายได้ของแรงงานลดลง และทำให้ครัวเรือนประสบปัญหาการขาดสภาพคล่องมากขึ้น

คาดว่าแนวโน้มการก่อหนี้ของครัวเรือนในปี 2564 สัดส่วนหนี้สินครัวเรือนต่อจีดีพี จะยังคงอยู่ในระดับสูง จากภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัวกลับไปในระดับก่อนโควิด-19”

ครัวเรือนจะระมัดระวังการใช้จ่าย โดยเฉพาะการชะลอการซื้อสินค้าในกลุ่มสินค้าคงทน ทำให้ความต้องการสินเชื่อที่อยู่อาศัยและรถยนต์ชะลอตัวลง

ด้านความต้องการสินเชื่อบัตรเครดิต และสินเชื่อเพื่อการบริโภคส่วนบุคคลอาจปรับตัวเพิ่มขึ้นจากปัญหาการขาดสภาพคล่องรวมทั้งมาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำสำหรับประชาชนของสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐจึงจำเป็นต้องมีมาตรการปรับโครงสร้างหนี้อย่างเหมาะสม

นอกจากนี้ ยังต้องเฝ้าระวังการก่อหนี้นอกระบบโดยเฉพาะกับครัวเรือนผู้มีรายได้น้อย ควบคู่ไปกับการส่งเสริมการจ้างงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ครัวเรือนมีรายได้ และสามารถรักษาระดับการบริโภคไว้ในระดับเดิม

สิ่งที่น่าสนใจอีกประการคือ ตอนนี้ประชาชนเริ่มนำเงินออมออกมาใช้จ่ายในชีวิตประจำวันมากขึ้น จึงต้องมีมาตรการปรับโครงสร้างหนี้ เช่น เวลาชำระหนี้ ลดอัตราดอกเบี้ย มาไว้รองรับในระยะถัดไป

 

 

]]>
1333573
หนี้เพิ่มเร็วกว่ารายได้ ซ้ำคนไทยไร้เงินออม ‘หนี้ครัวเรือน’ ทะลุ 14 ล้านล้าน คาดปีนี้เเตะ 91% ต่อจีดีพี https://positioningmag.com/1326143 Thu, 01 Apr 2021 13:28:21 +0000 https://positioningmag.com/?p=1326143 หนี้ครัวเรือน ณ สิ้นปี 2563 ทะลุ 14 ล้านล้านบาท ทำจุดสูงสุดใหม่ในรอบ 18 ปี คิดเป็นกว่า 89.3% ต่อจีดีพี KBANK คาดปีนี้พุ่งต่อ เเตะ 89-91% คนไทยมีเงินออมน้อย อยู่ได้ไม่เกิน 3 เดือน ห่วงกังวลหาใช้หนี้คืนไม่ทัน

จากผลกระทบทางเศรษฐกิจจากวิกฤต COVID-19 ทำให้กระแสรายได้ และสถานะทางการเงินของครัวเรือนบางกลุ่มย่ำแย่ลง ตอกย้ำวังวนปัญหาหนี้เพิ่มเร็วกว่ารายได้

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย รายงานข้อมูลเงินให้กู้ยืมแก่ภาคครัวเรือนล่าสุดในไตรมาส 4/2563 ระบุว่า หนี้ครัวเรือนของไทยปิดสิ้นปี 2563 ที่ผ่านมา ด้วยภาพของระดับหนี้ครัวเรือนที่ทะลุ 14 ล้านล้านบาท นับเป็นจุดสูงสุดใหม่ในรอบ 18 ปี ตามสถิติที่มีการเก็บรวบรวมของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)

หนี้เพิ่ม’ 3 ปีติด สวนทางเศรษฐกิจหดตัว

โดยหนี้ครัวเรือนดังกล่าวคิดเป็นสัดส่วน 89.3% เมื่อเทียบกับ GDP ในปี 2563 เร่งตัวขึ้นเป็นปีที่ 3 เทียบกับ 78.4% ต่อจีดีพี และ 79.8% ต่อจีดีพีในปี 2561 และปี 2562 ตามลำดับ

อย่างไรก็ตาม หากมองในมิติอัตราการเติบโตของหนี้ พบว่า ยอดคงค้างหนี้ครัวเรือนปี 2563 เพิ่มขึ้นเพียง 3.9% ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตที่ต่ำที่สุดในรอบ 4 ปี

สะท้อนว่าทั้งผู้กู้และผู้ปล่อยกู้ ต่างก็เพิ่มความระมัดระวังมากขึ้นในช่วงที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจหยุดชะงักลงจากผลกระทบของโรคระบาด

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ตั้งข้อสังเกตว่า สินเชื่อภาคครัวเรือนที่ยังเติบโตสวนกระแสเศรษฐกิจได้นั้น ชี้ให้เห็นถึงสถานะของผู้กู้และวัตถุประสงค์ของการกู้ยืมที่แตกต่างกันระหว่างผู้กู้สองกลุ่ม 

กลุ่มแรก เป็นการกู้ยืมของครัวเรือนเพื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์ ที่อยู่อาศัย และรถยนต์ ซึ่งน่าจะเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อปานกลางค่อนไปทางสูง และรายได้ไม่ได้ถูกกระทบมากจาก COVID-19

กลุ่มที่สอง เป็นกลุ่มครัวเรือนที่มีความจำเป็นต้องก่อหนี้หรือกู้ยืมเพิ่มขึ้นเพื่อใช้เสริมสภาพคล่อง หรือเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนในการประกอบธุรกิจ ซึ่งผู้กู้หรือครัวเรือนกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่มีรายได้ไม่แน่นอน และสถานะทางการเงินอ่อนแอลงตามทิศทางเศรษฐกิจ

ความสามารถในการชำระคืนหนี้ของลูกหนี้หลายกลุ่ม ถดถอยลง โดยเฉพาะผู้กู้รายย่อยที่ประกอบธุรกิจ และผู้กู้รายย่อยที่มีปัญหาด้านรายได้

Photo : Shutterstock

สำหรับภาระหนี้หรือ Debt Service Ratio (DSR) ของผู้กู้รายย่อยที่ประกอบธุรกิจอยู่ที่ 44.1% ของรายได้ต่อเดือนในช่วงต้นปี 2564 

ส่วน DSR ของผู้กู้รายย่อยที่มีปัญหาด้านรายได้อยู่ที่ 43.8% ซึ่งภาระหนี้ของผู้กู้ทั้งสองกลุ่มดังกล่าวอยู่สูงกว่าค่าเฉลี่ย DSR ภาพรวมของผู้ตอบแบบสอบถามในผลสำรวจรอบนี้ซึ่งอยู่ที่ 42.8% ของรายได้ต่อเดือน

ขณะที่หนี้ครัวเรือนในส่วนอื่นๆ ซึ่งเกิดขึ้นเพื่อการอุปโภคบริโภคหรือใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ก็มีทิศทางขยับขึ้นท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่ซบเซาของเศรษฐกิจ ซึ่งส่งผลทำให้ครัวเรือนหลายส่วนต้องรัดเข็มขัด และบริหารกระแสรายรับรายจ่ายของครัวเรือนให้มีความสมดุล

สถานะทางการเงินของประชาชนค่อนข้างตึงตัวมากขึ้น และสถานการณ์รายได้ของประชาชนหลายกลุ่ม เริ่มจะไม่สัมพันธ์กับหนี้สินที่ต้องแบกรับภาระ

 

คนไทยไร้เงินออม กังวลใช้หนี้ไม่ทัน

เมื่อสอบถามถึงความสามารถในการผ่อนชำระคืนหนี้ในอนาคตนั้น ประชาชนส่วนใหญ่กว่า 3 ใน 4 ของผลสำรวจ แสดงความกังวล เนื่องจากยังคงมีประเด็นรายได้ที่ไม่แน่นอน (45.3% ของผู้ตอบ) และค่าครองชีพและภาระหนี้เพิ่มขึ้นเร็วกว่ารายได้ (41.4%) รวมถึงการที่ภาระผ่อนหลังมาตรการเยอะและนานขึ้น (12.7%)

ตอกย้ำว่า ปัญหาหนี้ครัวเรือนสูง น่าจะยังเป็นข้อจำกัดสำคัญในการฟื้นตัวของการใช้จ่ายภาคครัวเรือนในระยะที่เหลือของปี

ส่วนระดับการออมของภาคครัวเรือนลดต่ำลง หากเปรียบเทียบมุมการออมภาคครัวเรือนต่อรายได้จากผลสำรวจฯ ปี 2564 กับการออมภาคครัวเรือนในปี 2562 โดยเฉลี่ยแล้ว สัดส่วนเงินออมต่อรายได้ของครัวเรือนลดลงประมาณ 3.6% จากที่มีสัดส่วนเงินออมประมาณ 16.1% ของรายได้ต่อเดือนในปี 2562 ลดลงมาอยู่ที่ 12.5% ของรายได้ต่อเดือนในปี 2564

และเมื่อเจาะลงไปในกลุ่มผู้กู้รายย่อยที่ประกอบธุรกิจและกลุ่มที่มีปัญหาด้านรายได้ จะพบว่า สถานการณ์เงินออมเฉลี่ยของ 2 กลุ่มนี้แย่กว่าภาพรวมค่อนข้างชัด โดยมีเงินออมเพียง 11.7% และ 10.8% ของรายได้ต่อเดือนตามลำดับ

นอกจากนี้ หากพิจารณาเฉพาะประชาชนที่มีเงินออมในผลสำรวจฯ ในปี 2564 จะพบว่า มีประชาชนเพียง 38.9% จากประชาชนผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมดเป็นผู้ที่มีเงินออม แต่ในจำนวนนี้ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่มีเงินออมไม่สูงมาก

หากพิจารณาเฉพาะกลุ่มผู้ที่มีเงินออมในผลสำรวจฯ พบว่า มีเพียง 46.2% เท่านั้นที่มีเงินออมสะสมเพียงพอสามารถรองรับค่าใช้จ่ายได้มากกว่า 3 เดือน (ในกรณีที่ขาดรายได้ หรือตกงาน)

สถานการณ์เงินออมจากผลสำรวจฯ รอบนี้ แย่ลงกว่าผลสำรวจเมื่อปี 2562 อย่างชัดเจน โดยผลสำรวจฯ เมื่อปี 2562 สัดส่วนผู้มีเงินออมสะสมที่สามารถรองรับค่าใช้จ่ายได้มากกว่า 3 เดือน สูงถึง 75% ของผู้มีเงินออมทั้งหมด

คาดปีนี้หนี้ครัวเรือนพุ่งต่อ เเตะ 89-91%

สำหรับแนวโน้มในปี 2564 ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ทยอยฟื้นตัวขึ้นจากวิกฤตโควิด-19 น่าจะทำให้เงินกู้ยืมของภาคครัวเรือนปี 2564 มีโอกาสเติบโตขึ้นสูงกว่าปี 2563 ที่เติบโตเพียง 3.9%

ภาพดังกล่าวอาจส่งผลต่อเนื่องให้สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ขยับสูงขึ้นมาอยู่ในกรอบประมาณ 89.0-91.0% ต่อ GDP ในปี 2564 เทียบกับระดับ 89.3% ต่อ GDP ในปี 2563 

ทางการไทยคงหันกลับมาดูแลปัญหาหนี้ครัวเรือนอย่างจริงจัง เมื่อหลังวิกฤตโรคระบาดสิ้นสุดลง โดยอาจกลับมาสานต่อมาตรการดูแลให้การก่อหนี้ของครัวเรือนสอดคล้องกับความสามารถในการชำระหนี้ (Affordability)”

]]>
1326143
จับตา ‘หนี้ครัวเรือน’ ปี 2564 จ่อทะลุ 91% ต่อจีดี​พี​ คนไทยติดวังวน ‘เเบกหนี้เพิ่ม’ เเต่รายได้ลด https://positioningmag.com/1312956 Tue, 05 Jan 2021 07:07:40 +0000 https://positioningmag.com/?p=1312956 ปัญหาหนี้ครัวเรือนพุ่งสูงไม่หยุด จะส่งผลอันใหญ่หลวงต่อเศรษฐกิจเเละสังคมในช่วงต่อไป เมื่อหนี้สินเพิ่มพูนเเต่รายได้กลับลดลง ทำให้คนไทยต้องติดอยู่ในวังวนเเบกหนี้ไม่มีวันจบสิ้น

โดยหนี้ครัวเรือนของไทยยังคงอยู่ในระดับสูงและมีทิศทางเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง สวนทางสัญญาณอ่อนแอของภาวะเศรษฐกิจในช่วงวิกฤต

จากข้อมูลเงินให้กู้ยืมแก่ภาคครัวเรือน (หนี้ครัวเรือน) ในไตรมาส 3 ปี 2563 ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุว่า หนี้ครัวเรือนไทยทำสถิติสูงสุดในรอบ 18 ปีครั้งใหม่ที่ 86.6% ต่อจีดีพี (จากระดับ 83.8% ต่อจีดีพีในไตรมาส 2/2563) โดยเฉพาะสินเชื่อบ้าน สินเชื่อรถยนต์และบัตรเครดิต

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ในปี 2564 หนี้ครัวเรือนไทยอาจพุ่งไป 91% ต่อจีดีพี หรืออาจสูงกว่านั้น หากเศรษฐกิจได้รับผลกระทบจากการเเพร่ระบาดของ COVID-19 ระลอกใหม่หนักกว่าที่ประเมินไว้ เเละฟื้นตัวได้ล่าช้ากว่าเดิม ทำให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ในปี 2564 จะเติบโตน้อยกว่ากรณีพื้นฐานที่ 2.6%

นอกจากนี้ ยังพบว่ามีสัญญาณการเร่งตัวขึ้นของการก่อหนี้ก้อนใหม่ในภาคครัวเรือนในไตรมาสที่ 3/2563 โดยเฉพาะหนี้เพื่อที่อยู่อาศัย ซึ่งสินเชื่อบ้านปล่อยใหม่ ยังคงขยับขึ้นอีกประมาณ 1.60 แสนล้านบาท คิดเป็น 88% ของการเพิ่มขึ้นของยอดคงค้างหนี้ครัวเรือน ซึ่งในไตรมาส 3/2563 หนี้ครัวเรือนมียอดคงค้างเพิ่มขึ้นราว 1.82 แสนล้านบาท มาอยู่ที่ระดับ 13.77 ล้านล้านบาท

ส่วนสัญญาณการก่อหนี้ในส่วนอื่นๆ ทั้งหนี้ก้อนใหญ่ อย่างหนี้เพื่อการประกอบอาชีพและหนี้เช่าซื้อรถยนต์ และหนี้เพื่ออุปโภคบริโภค เช่น บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล ก็กลับมาเร่งสูงขึ้นในไตรมาสที่ 3/2563 อีกครั้ง จากที่มีทิศทางชะลอลงในไตรมาส 2/2563 ซึ่งมีการระบาดของ COVID-19 รอบแรก

คนรายได้น้อยไม่ถึง 5 พัน/เดือน เเบกหนี้สูง 84% ต่อรายได้

ผลกระทบจากเศรษฐกิจที่ทรุดตัวรุนแรงจาก COVID-19 และหนี้สินที่เพิ่มขึ้นอีกในปี 2563 ได้เพิ่มความเปราะบางทางการเงินให้กับครัวเรือนหลายกลุ่มโดยเฉพาะกลุ่มครัวเรือนที่มีสถานะทางการเงินที่ค่อนข้างตึงตัวอยู่แล้วก่อนจะเกิดโรคระบาด

เมื่อเจาะลึกลงไปจะพบว่า ภาระหนี้ต่อรายได้ (DSR) โดยเฉลี่ยของครัวเรือนไทยทั้งประเทศอยู่ที่ 27% เเต่ครัวเรือนที่มีรายได้น้อย หรือมีรายได้เฉลี่ยไม่เกิน 10,000 บาทต่อเดือนกลับมี DSR อยู่ในระดับสูงกว่าค่าเฉลี่ยหลายเท่า

โดยเฉพาะครัวเรือนในกลุ่มที่มีรายได้ต่ำกว่า 5,000 บาทต่อเดือน มีภาระหนี้ต่อรายได้ สูงถึง 84% ขณะที่ครัวเรือนในกลุ่มที่มีรายได้ระหว่าง 5,000-10,000 บาทต่อเดือน มีภาระหนี้ต่อรายได้  40%

สะท้อนให้เห็นว่า ความเปราะบางทางการเงินในภาคครัวเรือนของไทย ปรากฏชัดเจนมากขึ้นตามสัญญาณอ่อนแอของเศรษฐกิจไทยในช่วงหลายปีที่ผ่านมา

โดยภาพรวมครัวเรือนทั้งประเทศมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนลดลงในอัตราที่มากกว่าการลดลงของค่าใช้จ่ายต่อเดือน สวนทางกับภาระหนี้ที่ยังอยู่ในระดับสูง ขณะที่ระดับการออมของครัวเรือนไทยอยู่ในสถานการณ์ที่อ่อนแอลง มาตั้งแต่ก่อนวิกฤต COVID-19

โควิดรอบใหม่ต้องมีมาตรการช่วยลูกหนี้

ความเสี่ยงการระบาดของ COVID-19 ระลอกใหม่ในประเทศ ได้ส่งผลกระทบต่อจังหวะการฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในปี 2564 และน่าจะมีผลกระทบต่อสถานะทางการเงินของกลุ่มลูกหนี้รายย่อยที่เคยได้รับความช่วยเหลือจากสถาบันการเงิน ทั้งในส่วนของธนาคารพาณิชย์ นอนแบงก์ และสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ที่รวมๆ แล้วมีอยู่ประมาณ 10.68 ล้านบัญชี คิดเป็นภาระหนี้ประมาณ 3.5 ล้านล้านบาท (ข้อมูลจาก ธปท. ณ เดือน ต.. 2563)

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า แม้ข้อมูลเบื้องต้นก่อน COVID-19 ระลอกใหม่จะสะท้อนว่าลูกหนี้รายย่อยส่วนใหญ่ของธนาคารพาณิชย์น่าจะสามารถกลับมาชำระหนี้ได้ตามปกติหลังหมดมาตรการฯ และลูกหนี้บางส่วนได้รับการช่วยเหลือโดยการปรับโครงสร้างหนี้ไปแล้ว

แต่ต้องติดตามสถานการณ์ความเสี่ยงของเศรษฐกิจไทยในช่วงต้นปี 2564 อย่างใกล้ชิด เพราะจะมีนัยโดยตรงต่อกระแสรายได้และความสามารถในการชำระหนี้ของครัวเรือน

ภาพรวมของหนี้ครัวเรือนที่ทรงตัวสูงต่อเนื่อง เป็นหนึ่งในเครื่องชี้ที่ตอกย้ำปัญหาเชิงโครงสร้างของเศรษฐกิจไทย และความเปราะบางของฐานะทางการเงินในภาคครัวเรือนที่เป็นโจทย์รอการแก้ไข ต่อเนื่องจากการควบคุมการระบาดของ COVID-19 และการพลิกฟื้นเศรษฐกิจไทยกลับเข้าสู่ภาวะปกติ 

โดยโจทย์เฉพาะหน้าที่สำคัญกว่า คือ การเตรียมมาตรการช่วยเหลือทางการเงินให้กับลูกหนี้ทั้งธุรกิจและครัวเรือน ให้ผ่านช่วงเวลาแห่งความยากลำบากนี้ไปให้ได้

 

]]>
1312956
เปิดตำนาน 3 ทศวรรษ “ศักดิ์สยามลิสซิ่ง” จากครูสู่นักธุรกิจพันล้าน ปั้นสินเชื่อภูธร ครองใจชาวบ้าน https://positioningmag.com/1306305 Tue, 08 Dec 2020 10:15:09 +0000 https://positioningmag.com/?p=1306305 ศักดิ์สยามลิสซิ่งเจ้าของสมญานาม “สินเชื่อภูธรประเดิมเป็นบริษัทมหาชนที่เข้าระดมทุนหุ้น IPO เเห่งเเรกของจังหวัดอุตรดิตถ์ หลังคลุกคลีในวงการ “หนี้ชาวบ้าน” มานานกว่า 3 ทศวรรษ

ท่ามกลางการเเข่งขันในสมรภูมิ “ลิสซิ่ง” ที่ดุเดือด ทั้งคู่เเข่งจากกลุ่มเเบงก์เเละนอนเเบงก์ ศักดิ์สยามฯ ก้าวสู่ยุคใหม่ด้วยการวางเป้าเติบโต “เท่าตัว” ทั้งพอร์ตสินเชื่อเเละสาขาให้ได้ภายใน 3 ปี ชูจุดเด่นฐานลูกค้าเกษตรกรต่างจังหวัดที่มีความสัมพันธ์เเน่นเเฟ้น

Positioning เปิดตำนาน “ศักดิ์สยามลิสซิ่ง” เเบบเอ็กซ์คลูซีฟกับ “ผศ.ดร.พูนศักดิ์ บุญสาลี” ผู้ปั้นสินเชื่อขวัญใจชาวบ้าน นำพาธุรกิจจากศูนย์สู่ระดับพันล้าน

จุดพลิกผัน : จากครูสู่นักธุรกิจ 

พูนศักดิ์ เล่าว่า พื้นเพเดิมเป็นคนนครนายก มีฐานะค่อนข้างยากจน ร่ำเรียนในโรงเรียนรัฐทั่วไป จากนั้นได้ศึกษาต่อในวิทยาลัยครู เมื่อจบการศึกษาเเล้ว สามารถสอบบรรจุได้ที่วิทยาลัยครูจังหวัดอุตรดิตถ์” ในปี 2514

โดยในช่วงเวลานั้นเขาได้พบรักกับ “อ.จินตนา” ซึ่งเป็นรุ่นน้องที่รู้จักกันในหมู่เพื่อนฝูง เมื่อดูใจกันมานานหลังเรียนจบได้ประมาณ 3 ปี จึงตัดสินใจเเต่งงานกัน เเละตกลงกันว่าจะตั้งรกรากเเละอยู่อาศัยในอุตรดิตถ์จากนั้นเรื่อยมา

ชีวิตเริ่มต้นด้วยการเป็น “ครู” ที่ไม่มีมรดกเเละทรัพย์สมบัติจากครอบครัว เหล่านี้ทำให้ “พูนศักดิ์เข้าใจถึงความยากจนเเละชีวิตของคนในชนบท ประกอบกับตอนทำงานก็ได้ออกไปลงพื้นที่ตามชุมชน เยี่ยมเยือนนักศึกษา จึงได้เห็นว่าชาวบ้านมีความเป็นอยู่ที่ลำบาก เเละ “หาเเหล่งเงินทุนยาก”

พูนศักดิ์ ยังคงทำงานเป็นอาจารย์ต่อไป พร้อมกันนั้นได้ทำหน้าที่เเนะเเนวให้นักศึกษาที่ต้องการความช่วยเหลือต่างๆ จนกระทั่งมาปี 2529 ช่วงนั้นธุรกิจขายตรงในไทย เริ่มเฟื่องฟูขึ้นอย่างมาก ผ่านการรุกตลาดโดยการขายสินค้าถึงหน้าบ้าน

มีพนักงานขาย (เซลส์) ของบริษัทหนึ่ง ขยายตลาดมาถึงอุตรดิตถ์ เป็นโอกาสที่ได้พูดคุยกัน เซลส์คนนั้นเกิดไอเดียขึ้นว่า “เป็นไปได้หรือไม่…ที่ผมจะขายเเล้วไม่ต้องอยู่รอเก็บเงิน”

ตอนนั้นพูนศักดิ์คิดขึ้นมาได้ว่าอยากหารายได้พิเศษให้นักศึกษา จึงเสนอว่าจะตั้งทีมจัดเก็บหนี้ให้ตามบิลที่ให้ไว้โดยมีเเบ่งค่าเเรงเเละหักค่าใช้จ่ายต่างๆ

ตอนนั้นผมคิดเเค่ว่าวินวิน ทั้งสองฝ่าย เราหางานให้เด็กทำได้ ส่วนเขาก็ทำยอดขายตามจังหวัดต่างๆ ได้เรื่อยๆ ไม่ต้องพะวงเรื่องบริหารหนี้….ไม่เคยคิดว่าจุดเริ่มต้นนั้น จะทำให้เรามีศักดิ์สยามในวันนี้ได้

ตั้งเเต่วันนั้น กลุ่มลูกศิษย์ก็ไปชักชวนคนในหมู่บ้านมาทำงานติดตามหนี้ด้วย ช่วยกันกระจายรายได้ ขยายไปได้หลายจังหวัดทั้งในอุตรดิตถ์ เเพร่ น่าน เชียงราย เชียงใหม่ เเละลงมายังภาคกลางเเละภาคอีสาน

สำนักงานเครดิตเเห่งเเรก เมื่อปี 2530

กำเนิด “ศักดิ์สยาม” 

ในปี 2536 บริษัทเริ่มมีการเติบโตเเละมี “เงินทุน” ในระดับหนึ่ง เเต่ธุรกิจขายตรงตอนนั้นกลับเริ่มซบเซา เพราะห้างจากกรุงเทพฯ เริ่มขยายสาขามาที่ต่างจังหวัดมากขึ้น ซึ่งตอนนั้นมีทีมงานในสังกัดราว 80 คน ก็รู้สึกว่าต้องหาอาชีพใหม่ให้พวกเขา

“ผมได้อ่านหนังสือเรื่อง “สินเชื่อเพื่อสังคม” ที่ปล่อยเงินทุนให้คนที่ทำอาชีพต่างๆ จึงเกิดไอเดียนี้ขึ้นมา เเม้ตอนนั้นจะทำไม่ได้ถึงขั้นนั้น เเต่ก็ควรจะเริ่มทำ สมัยนั้นเห็นชาวบ้านมีรถเป็นทรัพย์สินของบ้าน จึงคิดว่าจะทำการจำนำทะเบียนรถ เอาเเค่ทะเบียนมาเป็นหลักประกัน ช่วงเเรกๆ ที่ทำชาวบ้านส่วนใหญ่ก็ไม่เบี้ยวหนี้เลย”

นี่จึงเป็นที่มาของการก่อตั้ง “ศักดิ์สยามลิสซิ่ง” โดยชื่อดังกล่าวมาจากคำว่า “ศักดิ์จากชื่อเต็มของพูนศักดิ์ เเละคำว่าสยามมาจากการความต้องการที่จะเติบโตไปทั่วประเทศ

จากสาขาเเรก เริ่มต้นด้วยเงินทุนราว 2 ล้านบาท มีพนักงานในบริษัทเพียง 3 คน เปิดตัวด้วยบริการสินเชื่อทะเบียนรถ ต่อมาเมื่อปี 2548 ธนาคารเเห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้อนุญาตให้ออกสินเชื่อโดยไม่ต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน จึงเป็นสินเชื่อส่วนบุคคล ต่อมาด้วยนานาไฟเเนนซ์

สาขาแห่งแรกในอุตรดิตถ์ ปี 2538

ปัจจุบันศักดิ์สยามฯ มีสาขาหลักๆ กระจายอยู่ทั่วภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เเละภาคตะวันตก รวมทั้งสิ้นกว่า 519 สาขาในพื้นที่ 38 จังหวัด มีพนักงาน 1,600 คน เน้นตั้งในทำเลใกล้หมู่บ้าน ห่างกันราวๆ สาขาละ 3 ตำบล

ส่วนผลการดำเนินงานในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา (ปี 2560-2562) บริษัทมีอัตราการเติบโตของรายได้จากดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียมและบริการ เฉลี่ย 31.6% ต่อปี จาก 924 ล้านบาท มาอยู่ที่ 1,600 ล้านบาท ขณะที่งวดครึ่งเดือนแรกของปีนี้รายได้สินเชื่ออยู่ที่ 816 ล้านบาท เติบโต 10.4% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

ตอนนี้มีขนาดพอร์ตสินเชื่อรวมอยู่ที่ 6,067 ล้านบาท มีลูกหนี้ราว 2.3 เเสนสัญญา เเบ่งเป็นลูกหนี้มีหลักประกัน 88% และลูกหนี้ไม่มีหลักประกัน 12% ของพอร์ตสินเชื่อรวมผ่านผลิตภัณฑ์ 4 ประเภท ได้เเก่

  • สินเชื่อทะเบียนรถ (Vehicle Title Loan)
  • สินเชื่อส่วนบุคคล (Personal Loan)
  • สินเชื่อรายย่อยเพื่อการประกอบอาชีพ (Nano Finance)
  • สินเชื่อเช่าซื้อและสินเชื่อรถแลกเงิน (Hire-Purchase and Car for Cash)

ปัจจุบันปล่อยสินเชื่อเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 30,000-35,000 บาทต่อราย ฐานลูกค้าส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกร รองลงมาคือ พ่อค้าเเม่ค้าในท้องถิ่นเเละพนักงานประจำ โดยช่วงที่มีลูกค้ามาขอสินเชื่อมากที่สุด คือไตรมาส 2-3 เพราะเป็นช่วงเปิดภาคเรียน มีอายุเฉลี่ยของพอร์ตสินเชื่อรถจักรยานยนต์ที่ 18-24 เดือน และสินเชื่อเกษตรกรที่ 4 เดือน

ลูกค้าเราต้องการความจริงใจมาก ไม่อยากเบี้ยวหนี้ ต้องจำเป็นจริงๆ ค่อยมาขอความช่วยเหลือ เราจึงต้องเข้าถึงพวกเขาด้วยการเข้าไปอยู่ใกล้ๆ ชุมชน ให้เกียรติชาวบ้าน สร้างความคุ้นเคย ทำให้พวกเขาสบายใจที่จะมาหาเรา เเละนำไปบอกต่อเพื่อนบ้าน

ตอนนี้เงินกู้นอกระบบยังเป็นตลาดที่ใหญ่มาก สิ่งที่เราทำได้คือการมุ่งขยายเข้าไปในชุมชนให้ได้มากที่สุด เจาะตามตำบลหมู่บ้าน สร้างการรับรู้ว่าเราเป็นเงินกู้ในระบบที่ ธปท. ควบคุมได้ มีดอกเบี้ยที่เป็นธรรม”

บรรยากาศภายในสาขาของศักดิ์สยามลิสซิ่ง

ยุคใหม่ในมือทายาทรุ่น 2 หวังโต “สองเท่า” 

บมจ.ศักดิ์สยามลิสซิ่ง หรือ SAK เข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ SET วันนี้ (8 ธ.ค. 2563) เป็นวันแรก โดยราคาหุ้นปรับขึ้น 90.54% มาอยู่ที่ 7.05 บาท จากราคาจองซื้อ IPO ที่ 3.70 บาท

หลังระดมทุน IPO บริษัทมีเป้าหมายขยายธุรกิจเติบโตให้ได้ภายในอีก 3 ปีข้างหน้า (ปี 2566) ทั้งจำนวนสาขาที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 1,119 สาขา ในทำเลพื้นที่ภูมิภาคเดิม รวมถึงขยายพอร์ตสินเชื่อจาก 6,067 ล้านบาท เพิ่มเป็น 12,000 ล้านบาท

เมื่อถามว่า ทำไมศักดิ์สยามลิสซิ่ง ยังไม่มีเเผนจะลงไป “ภาคใต้” นั้น พูนศักดิ์ ตอบว่า ต้องสร้างความเเข็งแกร่งในจุดที่เราชำนาญก่อน โดยภาคเหนือ ภาคกลางเเละภาคอีสาน ยังมีอีกหลายชุมชนที่ยังเข้าไม่ถึง ถือเป็นโอกาสอีกมาก ซึ่งอนาคตก็ต้องดูกันต่อไป

เราไม่ได้มุ่งเเข่งขันกับเจ้าใหญ่ มองว่า คำว่าตลาดเต็ม” จริงๆ นั้นไม่มี เพราะตลาดสินเชื่อยังใหญ่มาก ขึ้นอยู่กับว่าจะเข้าไปเเล้วจะได้ลูกค้ามาอย่างไร

ปัจจุบันบริษัทมีหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) อยู่ที่ระดับ 2.2-2.5% ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากครึ่งปีแรกจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว

อย่างไรก็ตาม ผลกระทบที่เกิดจากเศรษฐกิจ ส่งผลต่อภาวะหนี้ครัวเรือนเพิ่มขึ้นนั้น บริษัทได้รับผลกระทบไม่มากนัก เนื่องจากมีลูกค้าเป็นกลุ่มเกษตรกร และพ่อค้าแม่ค้าที่ยังมีรายได้เข้ามาอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งการชำระค่างวดของ
บริษัทจะเป็นลักษณะ 4 เดือน/ครั้ง เพื่อช่วยเหลือกลุ่มลูกค้าดังกล่าว รวมถึงยังคิดอัตราดอกเบี้ยในระดับปานกลาง

สำนักงานใหญ่ในปัจจุบันของศักดิ์สยามลิสซิ่ง ที่จังหวัดอุตรดิตถ์

ศักดิ์สยามลิสซิ่ง จะก้าวสู่ยุคใหม่หลังระดมทุน IPO ภายใต้การนำของ “ทายาทรุ่น 2” อย่าง “ศิวพงศ์ บุญสาลี” ลูกชายคนโตที่มีดีกรีจบวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT) ที่จะสานต่อกิจการด้วยทิศทางดิจิทัล

“เราตั้งเป้าสินเชื่อต่อจากนี้เติบโตอย่างน้อย 25% ต่อปี โดยจะนำเงินที่ได้จากการระดมทุนไปขยายสาขาในพื้นที่เดิมและพื้นที่ใหม่ๆ รวมถึงลงทุนด้านเทคโนโลยีการวิเคราะห์ความเสี่ยง ทำแอปพลิเคชัน การตลาดออนไลน์เเละวางระบบดิจิทัลอื่นๆ” ศิวพงศ์ กล่าว

ทั้งนี้ มูลค่าตลาดของสินเชื่อทะเบียนรถในไทยอยู่ที่ราว 2 เเสนล้าน โดยศักดิ์สยามลิสซิ่งครองส่วนเเบ่งตลาดราว 2.5-3% ท่ามกลางการเเข่งขันที่ดุเดือด ทั้งในเครือแบงก์และนอนแบงก์ กว่า 20-30 ราย เเละยังมีอีกหลายบริษัทที่มีเเผนจะระดมทุน IPO ในเร็วๆ นี้ด้วย 

สร้างพนักงานด้วยหลัก “เก้าอี้ 4 ขา” 

ย้อนกลับไปถึงการเทรนนิ่งพนักงาน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญของธุรกิจสินเชื่อ ผู้บริหารศักดิ์สยามลิสซิ่ง เล่าให้ฟังว่า ด้วยความที่เป็นอาจารย์มาก่อน จึงมีความเชี่ยวชาญด้านการทำหลักสูตร โดยมีหลักการสอนพนักงานในการปล่อยสินเชื่อเเบบ เก้าอี้ 4 ขาได้เเก่ 

  • ต้องรู้จักการตลาด
  • วิเคราะห์สินเชื่อเป็น
  • รู้เรื่องระบบการเงินการบัญชี
  • บริหารจัดการหนี้ให้เป็น

พนักงานของเรา ขายหนี้เเล้ว ต้องจัดเก็บหนี้ได้ด้วย ต้องปล่อยสินเชื่อด้วยความระมัดระวัง

เมื่อถามว่า หลังผ่านร้อนผ่านหนาวมาหลายมรสุมเศรษฐกิจ มองว่าช่วงไหนสถานการณ์ วิกฤตที่สุด” ?

ผมว่าหนักที่สุดคือวิกฤต COVID-19 เพราะช่วงต้มยำกุ้ง เมื่อปี 2540 นั้น บริษัทเเทบจะไม่ได้รับผลกระทบอะไรเลย ตอนนั้นเป็นเรื่องในตัวเมือง เเต่ชาวบ้านที่อยู่นอกเมืองไม่ได้รับผลกระทบมากนัก ยังทำมาหากินได้ เเต่ครั้งนี้ที่เป็นโรคระบาดทั่วโลก ประเทศต้องล็อกดาวน์ ประชาชนรายได้ลดลง ยอดตกงานพุ่งสูงก็มีผลต่อการบริหารหนี้สิน

โดยสิ่งสำคัญในการพยุงธุรกิจในช่วงวิกฤต คือต้องรักษาเงินสดในมือไว้ให้ได้ อีกทั้งยังต้องหาวิธีทำงานรูปแบบใหม่เเละต้องเพิ่มความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อใหม่มากขึ้น เพื่อสกัดปัญหาหนี้เสีย

ชีวิตต้องมีความมุ่งมั่นเเละอดทน ให้ความสำคัญกับทรัพยากรบุคคล พัฒนาการศึกษา ต้องมีหลักการที่ยึดมั่น มีเป้าหมาย ทำงานเเบบเคารพกันเเละกัน

ลูกหนี้เมื่อ 30 ปีก่อนกับปัจจุบัน เเตกต่างกันอย่างไร 

ผมว่าสมัยก่อนเก็บหนี้ได้ง่ายกว่าสมัยนี้มาก เบี้ยวหนี้มีน้อยมาก เพราะทำการเกษตรได้ผลดี คนที่ลำบากมากๆ ก็จะมาบอกตรงๆ ว่าขอผ่อนผันหน่อย พอหาเงินมาได้หรือส่งลูกเรียนจบก็จ่ายหมดเลย คนไม่อยากเป็นหนี้ โจทย์ใหญ่ของเราคือการสร้างความคุ้นเคยกับคนในพื้นที่ ให้รู้สึกเป็นกันเอง เมื่อเดือดร้อนจะได้คิดถึงเราเป็นที่เเรก เเละบอกต่อกัน

พูนศักดิ์ ขยายความว่า ประเด็นที่ว่าสมัยนี้เก็บหนี้ยากกว่าเเต่ก่อน หลักๆ มาจากเรื่องสภาพอากาศที่เปลี่ยนเเปลงไปซึ่งมีผลต่อชีวิตคนมาก เพราะลูกค้าส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรที่พึ่งพาฟ้าฝน เมื่อผลผลิตไม่ได้ตามปกติเเละไม่ตรงเวลา ก็ทำให้มีรายได้ที่ลดลง จึงเกิดหนี้สินพอกพูนขึ้นจากการหมุนเงินไม่ทัน 

หลังอยู่ในวงการสินเชื่อมากว่า 3 ทศวรรษ มองว่าควรทำอย่างไรให้เกษตรกรไทยหลุดจาก วังวนเเห่งการเป็นหนี้ ?

สิ่งสำคัญคือต้องพัฒนาให้ชาวบ้านเข้าถึงเเหล่งเงินทุนที่ถูกกฎหมาย รัฐบาลต้องส่งเสริมโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ โดยเฉพาะอย่างเรื่องน้ำก็จะพัฒนาไปได้อีกไกล เพราะชาวไร่ชาวนาเป็นคนขยัน ไม่ได้ขี้เกียจ เเต่พวกเขาไม่รู้จะยกระดับอาชีพเเละเกษตรกรรมได้อย่างไร เหล่านี้เป็นปัญหาพื้นฐานที่ฉุดรั้งชีวิตเเละรายได้ของชาวบ้านมายาวนานมาก เเละยิ่งทรุดลงไปอีกเมื่อเจอเศรษฐกิจย่ำเเย่

]]> 1306305 จับอินไซต์พฤติกรรมรูดบัตรเครดิต “กรุงศรี” หลัง COVID-19 กำลังซื้อลด ระวังหนี้เสีย “เรื้อรัง”  https://positioningmag.com/1305637 Sun, 15 Nov 2020 07:31:15 +0000 https://positioningmag.com/?p=1305637 ธุรกิจบัตรเครดิตสินเชื่อเจองานหินจากผลกระทบของ COVID-19 ฉุดยอดใช้จ่ายผ่านบัตรร่วง ตลาดรวมฟื้นบ้างเเต่ยังติดลบผู้คนระมัดระวังการใช้จ่าย มนุษย์เงินเดือนรู้สึกไม่มั่นคงต้องจับตาหนี้เสียที่อาจเกิดขึ้น

เรามาดูกันว่า พฤติกรรมของผู้ใช้บัตรเครดิต หลังวิกฤต COVID-19 ได้เปลี่ยนเเปลงไปอย่างไร

กรุงศรี คอนซูมเมอร์’ ผู้ให้บริการบัตรเครดิตเเละสินเชื่อส่วนบุคคลรายใหญ่ ที่มีฐานลูกค้าทั่วไทยกว่า 8-9 ล้านคน ยอมรับว่า ปี 2563 ลูกค้าสมัครบัตรใหม่จะลดลงถึง 44% 

ณญาณี เผือกขำ ประธานกรรมการ กรุงศรี คอนซูมเมอร์ บอกว่า จากผลกระทบโรคระบาดเเละมาตรการล็อกดาวน์ ส่งผลกระทบ ‘โดยตรง’ กับยอดใช้จ่ายผ่านบัตรเเละธุรกิจสินเชื่อ อย่างต่อเนื่องเเละในปี 2564 ก็ยังหนักหนาอยู่

ภาพรวมการใช้จ่ายผ่านบัตรจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุว่า 8 เดือนแรกของปีนี้ ตลาดรวมหดตัวที่ -12%

สำหรับไตรมาส 3/63 ยอดการใช้จ่ายผ่านบัตรของกรุงศรี คอนซูมเมอร์ อยู่ที่ 196,000 ล้านบาท ขณะที่ยอดสินเชื่อปล่อยใหม่อยู่ที่ 58,000 ล้านบาท สินเชื่อคงค้างอยู่ที่ 133,000 ล้านบาทติดลบเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และไตรมาสก่อนหน้า

โดยไตรมาส 4/63 คาดว่า ภาพรวมของธุรกิจบัตรเครดิตและสินเชื่อบัตรจะปรับตัวดีขึ้นราว 25% จากไตรมาส 3/63 ถ้าเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จะติดลบราว 7-8% เพราะผลกระทบทางเศรษฐกิจยังเรื้อรัง

ส่วนคาดการณ์ยอดใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตของกรุงศรี คอนซูมเมอร์ ในไตรมาสที่ 4 มองว่าจะเติบโต 20% เทียบกับในไตรมาสที่ 3 และคาดว่าตลอดทั้งปี 2563 จะมียอดใช้จ่ายผ่านบัตร 280,000 ล้านบาท ยอดสินเชื่อใหม่ 83,000 ล้านบาท และยอดสินเชื่อคงค้าง 144,000 ล้านบาท…เเม้จะปรับตัวดีขึ้น เเต่ยังต้องระวังในปัจจัยหลายประการ 

คนไทยใช้บัตรเครดิตอย่างไร หลังวิกฤต COVID-19 ?

การใช้จ่ายของผู้บริโภค จะยังไม่กลับมาในระดับเทียบเท่ากับปีที่แล้ว แต่ก็เริ่มเห็นสัญญาณที่ดีขึ้น

จากข้อมูลการวิเคราะห์พฤติกรรมใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตและบัตรสินเชื่อในเครือกรุงศรี คอนซูมเมอร์ ตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงกันยายน 2563 ชี้ให้เห็นว่า วิกฤต COVID-19 ที่เกิดขึ้นส่งผลให้พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนไป ทุกวัยเริ่มคุ้นชินกับความสะดวกสบายที่ได้จากบริการออนไลน์ แม้คลายล็อกดาวน์แล้ว บริการเหล่านี้ก็ยังเป็นที่นิยม เช่น หมวดช้อปออนไลน์, สินค้าตกแต่งบ้าน, บริการสั่งอาหาร, สตรีมมิ่งและบันเทิงออนไลน์

ขณะที่บางหมวดหลังคลายล็อกดาวน์ ก็เริ่มมีการใช้จ่ายเพิ่มขึ้น เช่น หมวดโรงแรมในประเทศ, หมวดร้านอาหาร, ห้างสรรพสินค้า, แฟชั่น, ความงามและเครื่องสำอาง

“หมวดที่ไม่ได้รับผลกระทบมากนัก ยังมียอดใช้จ่ายผ่านบัตรใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา คือ หมวดประกันภัย และซูเปอร์มาร์เก็ต ที่ยังคงเป็นหมวดใช้จ่ายผ่านบัตรที่สูงที่สุดเป็นอันดับ 1 และ 2 ตามลำดับ”

โดยมีพฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้ถือบัตรเครดิต ที่น่าสนใจ ดังนี้

ยอดใช้จ่ายในหมวดช้อปปิ้งออนไลน์ยังคงเติบโตต่อเนื่อง แต่เริ่มมีแนวโน้มช้าลง

ตั้งแต่เดือนเมษายนถึงพฤษภาคม ยอดใช้จ่ายออนไลน์เติบโตกว่าปีที่แล้วกว่า 150% แต่หลังเดือนพฤษภาคม เติบโตเพียง 75% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยลูกค้าทุกวัย ยังคงมีแนวโน้มใช้จ่ายในหมวดช้อปปิ้งออนไลน์เพิ่มขึ้น

  • หมวดสินค้าตกแต่งบ้าน ช่วงล็อกดาวน์ ลูกค้าซื้อสินค้าหมวดสินค้าตกแต่งบ้าน ผ่านช่องทางออนไลน์เพิ่มขึ้นถึง 6 เท่าตัว และหลังปลดล็อก ยอดขายหน้าร้านก็เพิ่มสูงขึ้นมาก แสดงถึงความสนใจในการตกแต่งบ้านที่เพิ่มขึ้น
  • ยอดใช้จ่ายในหมวดบริการสั่งอาหาร (Food Delivery) ยังคงเติบโตต่อเนื่อง เติบโตขึ้นกว่าในช่วงเดียวกันของปีที่แล้วถึง 3 เท่าตัว
  • หมวดบริการสตรีมมิ่งและความบันเทิงออนไลน์ เติบโตสูง แม้หลังช่วงคลายล็อกดาวน์ โดยเฉพาะกลุ่ม Gen Y 
  • หมวดความบันเทิง เช่น ธุรกิจโรงหนัง ยังคงซบเซา แสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคเริ่มหันมาใช้บริการสตรีมมิ่งและความบันเทิงออนไลน์มากขึ้น

shopping online

หมวดโรงแรมในประเทศ  ร้านอาหาร ห้างสรรพสินค้า แฟชั่น ความงามและเครื่องสำอาง มีสัญญาณที่ดีขึ้นหลังคลายล็อกดาวน์

  • ท่องเที่ยวในประเทศ “เริ่มฟื้น”

ยอดจองโรงแรมในเดือนสิงหาคมถึงกันยายน มีแนวโน้มสูงขึ้น คาดว่าเป็นผลจากความเชื่อมั่นที่เพิ่มขึ้นของผู้บริโภค รวมถึงมาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวจากภาครัฐ

“ยอดจองตั๋วเครื่องบิน ยอดใช้จ่ายในหมวดตัวแทนท่องเที่ยว โดยรวมส่วนใหญ่ยังซบเซา ยกเว้นตัวแทนท่องเที่ยวที่เป็นพันธมิตรหลักในโครงการเราเที่ยวด้วยกันของรัฐ และยอดจองตรงกับโรงแรม ซึ่งมียอดสูงขึ้น” 

นอกจากนี้ ยอดใช้จ่ายในหมวด “บริการเช่ารถ” ยังเติบโตขึ้น แสดงถึงความนิยมในการเดินทางท่องเที่ยวแบบส่วนตัวมากขึ้น

  • คนเริ่มกลับมารับประทานอาหาร “ที่ร้าน” มากขึ้น

แม้ว่ายอดใช้จ่ายในหมวดร้านอาหาร จะยังไม่กลับมาในระดับที่เทียบเท่ากับปีที่แล้ว แต่ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ยอดใช้จ่ายในแต่ละครั้ง สูงขึ้นกว่าช่วงล็อกดาวน์ ถึง 64% ยอดใช้จ่ายในหมวดนี้ในช่วงหลัง 2 ทุ่ม ก็กลับมาคึกคักอีกครั้ง โดยเฉพาะในคืนวันศุกร์ แสดงให้เห็นว่า คนเริ่มกลับมารับประทานอาหารที่ร้านมากขึ้น

  • หลังคลายล็อคดาวน์ คนเริ่มกลับเข้าห้าง ในเดือนสิงหาคม 2563 ยอดใช้จ่ายในหมวดห้างสรรพสินค้าสูงกว่ายอดในเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา 3% ก่อนจะลดลงในช่วงเดือนกันยายน
  • ยอดใช้จ่ายสินค้าแฟชั่น เริ่มกลับมากระเตื้องขึ้น ที่น่าสนใจคือ ยอดใช้จ่ายในการซื้อสินค้าแบรนด์หรูเติบโตสูงกว่าแบรนด์ระดับกลาง แสดงว่าผู้บริโภคส่วนหนึ่งยังคงมีกำลังซื้อ และใช้จ่ายต่อเนื่อง
  • หมวดความงามและเครื่องสำอาง กลับมากระเตื้องขึ้นหลังคลายล็อกดาวน์ โดยยอดใช้จ่ายในหมวดสินค้าประเภทสกินแคร์ เติบโตสูงกว่าสินค้าประเภทเครื่องสำอาง
ท่องเที่ยว ประเทศไทย
Photo : Shutterstock

ลูกค้าบัตรใหม่จะหายไปถึง 44% 

อีกประเด็นที่น่าสนใจคือ ยอดการใช้จ่ายผ่านบัตร “เฉลี่ยต่อคน” ยังไม่แตกต่างจากเดิมมากนัก แต่จำนวนคนที่ใช้จ่ายกลับลดลง ความเสี่ยงหนี้เสียยังไม่เเน่นอน ทำให้บริษัทต้องระมัดระวังการปล่อยสินเชื่อใหม่ โดยคาดว่าปีนี้จำนวนลูกค้าสมัครใหม่จะอยู่ที่ 500,000 ใบ ลดลงถึง 44% จากปีก่อน

“โดยรวมทุกบัตรเครดิตของกรุงศรีฯ ลูกค้ายังเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้ออยู่ เเต่บัตรกรุงศรีเฟิร์สช้อยส์ (Krungsri First Choice) จะได้รับผลกระทบหนักที่สุด เพราะลูกค้าส่วนใหญ่เป็นกลุ่มฐานราก กลุ่มพนักงานที่อาจะโดนลดเงินเดือน หรือลูกค้าผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19”

เมื่อมีความเสี่ยงหนี้เสียเพิ่มขึ้นจากภาวะเศรษฐกิจ เเละลูกค้าบัตรใหม่ “ลดลง” กลยุทธ์จึงเน้นไปที่กลุ่มลูกค้าที่มีความสามารถในการใช้จ่ายและชำระหนี้ มีการคัดกรองที่เข้มงวดมากขึ้น เเละพัฒนาการเข้าถึงผ่านช่องทางออนไลน์ เเละหากลุ่มลูกค้าใหม่ อย่างล่าสุดกรุงศรี คอนซูมเมอร์ ได้จับมือกับ Grab เพื่อปล่อยสินเชื่อให้กับไรเดอร์ (คนขับ) บนเเพลตฟอร์ม ฯลฯ

ด้านแอปพลิเคชัน UChoose ของกรุงศรี คอนซูมเมอร์ ปัจจุบันมีผู้ใช้งาน 5.3 ล้านบัญชี จากฐานลูกค้าทั้งหมดที่มีอยู่ 8-9 ล้านบัญชี พร้อมมีการพัฒนา “AI มะนาว” เพื่อให้บริการตอบคำถามเบื้องต้นกับลูกค้า

ต้นปี 64 จับตาหนี้เสีย “เรื้อรัง” 

สำหรับสถานการณ์หนี้เสีย หรือ NPL ของกรุงศรี คอนซูมเมอร์ ในช่วงไตรมาส 3/63 อยู่ที่ 2.25% เพิ่มขึ้นจากช่วงต้นปีที่เพิ่งมีการเเพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ 2.14% ซึ่งคาดว่าทั้งปี 2563 คงจะไม่เกิน 2.25% โดยอัตราหนี้เสียของบัตรต่างๆ จะเผยยอดให้เห็นชัดในไตรมาส 1/64

ที่ผ่านมา มีลูกค้ากรุงศรี คอนซูมเมอร์ ใช้มาตรการพักชำระหนี้จากวิกฤต COVID-19 อยู่ราว 1 ล้านคน ซึ่งบริษัทได้มีมาตรการช่วยเหลืออย่าง การลดอัตราดอกเบี้ย โดยโครงการรีไฟแนนซ์เพื่อยืดการผ่อนชำระ มีลูกค้าเข้าร่วม ราว 93,000 บัญชี มูลค่ารวม 4 พันล้านบาท

ลูกค้ากลุ่มดังกล่าว ยังมีความไม่เเน่นอนที่ต้องจับตา เพราะหากช่วงปลายปียังไม่สามารถชำระหนี้ได้ ก็สามารถเข้าสู่กระบวนการขอปรับโครงสร้างหนี้ (TDR) ได้ โดยจะให้ระยะเวลาในการผ่อนชำระหนี้สูงสุด 96 เดือน (8 ปี) ปรับเพิ่มขึ้นจากเดิมที่อยู่ราว 48 เดือน ทั้งนี้ ปัจจุบันกรุงศรี คอนซูมเมอร์มีมีลูกค้าเข้าโครงการ TDR จำนวน 32,400 ราย คิดเป็นยอดสินเชื่อคงค้าง 2,500 ล้านบาท

เเม่ทัพคนใหม่ ในบ้านหลังเดิม

ณญาณี ให้สัมภาษณ์ถึงความรู้สึกเเละก้าวต่อไป หลังขึ้นมารับตำเเหน่งคุมบังเหียนใหญ่ในกรุงศรี คอนซูมเมอร์ เเทน “ฐากร ปิยะพันธ์” ที่กระโดดไปนั่งเก้าอี้ CEO บมจ.เครือไทย โฮลดิ้งส์ เมื่อช่วงที่ผ่านมาว่า “เป็นความท้าทายที่อบอุ่น” ด้วยความที่เติบโตในบ้านกรุงศรีฯ มานาน เเม้จะมารับตำเเหน่งในช่วงวิกฤต COVID-19 ที่สะเทือนธุรกิจ เเต่การมีทีมงานที่เข้าใจกันเเละเชื่อใจกัน รู้จักกันมานานทำให้มีกำลังใจฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆ

“มั่นใจว่าเราจะเติบโตไปได้อีก อยู่ในครอบครัวเดิม เป็นคนเดิม เเต่ต้องทำหน้าที่เพิ่มขึ้น”

ณญาณี เผือกขำ ประธานกรรมการ กรุงศรี คอนซูมเมอร์

ส่วนการเข้ามาในช่วงวิกฤต COVID-19 ก็มีส่วนช่วยให้ต้องมีการปรับองค์กรเร็วขึ้น ปรับกลยุทธ์การทำงานให้เป็นดิจิทัลมากขึ้น ซึ่งตอนนี้กำลังวางเเผนอยู่ ปีหน้าคงจะมีการปรับการทำงานของพนักงานเเบบเต็มสูบ เรียกว่าเป็นการ “ปรับรูปแบบการทำงานใหม่” ให้เข้ากับสถานการณ์โลกต่อไป…

 

 

]]>
1305637
กำไร “แบงก์ไทย” ลดฮวบ คาดไตรมาส 3 หดตัวลึก -66.5% หาย 6 หมื่นล้าน สิ้นปี “ทรุดกว่า” https://positioningmag.com/1300840 Fri, 09 Oct 2020 09:48:25 +0000 https://positioningmag.com/?p=1300840 ธนาคารพาณิชย์ในไทย เจอพิษ COVID-19 ไตรมาส 3 ปีนี้ คาดกำไรสุทธิหดตัวลึก -66.5% หรือลดฮวบลงกว่า 6 หมื่นล้านบาท มองไตรมาสสุดท้าย “ทรุดหนักกว่า” จากเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัว คุณภาพหนี้แย่ลง หาทางรับมือหลังหมดมาตรการ “พักหนี้”

จากสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจไทยที่ยังไม่กลับสู่ภาวะปกติ ยังคงกดดันความสามารถในการ “ทำกำไร” ของธนาคารพาณิชย์ในไตรมาส 3/2563 โดยรายได้ดอกเบี้ยและรายได้ค่าธรรมเนียม มีแนวโน้มลดลงตามการหดตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องในหลายๆ ภาคส่วน นอกจากนี้ รายได้ดอกเบี้ยของทั้งระบบธนาคารพาณิชย์ไทย ยังได้รับผลกระทบมากขึ้น จากทิศทางขาลงของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ตั้งแต่ช่วงปลายปี 2562 ด้วย

กำไร “เเบงก์ไทย” ลดฮวบ 

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ออกบทวิเคราะห์ ถึงผลประกอบการระบบธนาคารพาณิชย์ไทย ในไตรมาส 3 /2563 โดยคาดว่า กำไรสุทธิของระบบธนาคารพาณิชย์จดทะเบียนในประเทศ จะยังเผชิญแรงกดดันต่อเนื่อง แม้ระดับกำไรสุทธิอาจจะขยับขึ้นเล็กน้อย เมื่อเทียบกับไตรมาส 2/2563

โดยคาดว่า กำไรสุทธิของธนาคารพาณิชย์ไทย ในไตรมาส 3/2563 จะลดลงมาอยู่ที่ระดับประมาณ 3.08 หมื่นล้านบาท หรือ -66.5% YoY เมื่อเทียบกับที่มีกำไรสุทธิสูงถึง 9.16 หมื่นล้านบาทในไตรมาส 3/2562 ซึ่งเป็นช่วงที่ธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่ง มีกำไรพิเศษจากการขายหุ้นในบริษัทประกันซึ่งธนาคารถือหุ้นอยู่

อย่างไรก็ดี กำไรสุทธิที่ระดับดังกล่าวขยับขึ้นเล็กน้อยประมาณ 3.7% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการกันสำรองฯ ในไตรมาส 3/2563 ของธนาคารพาณิชย์หลายแห่งอาจชะลอลงบางส่วน หลังจากที่มี
นโยบายการตั้งสำรองฯ เชิงรุกในระดับที่สูงมากในไตรมาส 2/2563 ที่ผ่านมา

ขณะที่ “รายได้จากธุรกิจหลัก” ยังคงไม่ฟื้นตัวขึ้นท่ามกลางสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ ที่โดนกระทบหนักจากวิกฤต COVID-19

สำหรับแนวโน้มในไตรมาสที่ 4/2563 คาดว่า การประคองทิศทางรายได้และกำไรสุทธิ จะเป็นโจทย์ที่ท้าทายมากขึ้น เนื่องจากต้องรับมือกับการจัดการปัญหาหนี้เสีย การดูแลปรับโครงสร้างลูกหนี้ ค่าใช้จ่ายในการตั้งสำรองฯ และอื่นๆ ที่เพิ่มสูงขึ้นไปพร้อมกัน

Photo : Shutterstock

สินเชื่อ ชะลอตัว – NIM ปรับลด – คุณภาพหนี้แย่ลง

KBANK มองว่า “สินเชื่อ” ของธนาคารพาณิชย์ไทย อาจเติบโตในอัตราที่ชะลอลงมาที่ 4.5-4.8% YoY ในไตรมาส 3/2563 จาก 5.1% YoY ในไตรมาส 2/2563 เนื่องจากยังต้องประเมินความเสี่ยงด้านเครดิตของลูกค้าที่มาขอสินเชื่อใหม่อย่างระมัดระวัง ประกอบกับมีการทยอยชำระคืนสินเชื่อของภาคธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจขนาดใหญ่บางราย

ขณะที่ข้อมูลจากธนาคารเเห่งประเทศไทย (ธปท.) สะท้อนว่าหลังจากมาตรการช่วยเหลือของสถาบันการเงินทยอยครบกำหนดลง มีลูกหนี้ธุรกิจและรายย่อยบางส่วนเริ่มกลับมาชำระคืนหนี้ในช่วงไตรมาส 3/2563 นี้ด้วยเช่นกัน

โดย NIM ไตรมาส 3/2563 ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับประมาณ 2.65-2.70% จาก 2.73% ในไตรมาส 2/2563 เป็นผลต่อเนื่องจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ในช่วงก่อนหน้านี้ ประกอบกับสินเชื่อปล่อยใหม่ส่วนใหญ่ รวมถึงสินเชื่อรีไฟแนนซ์ในระยะนี้ เป็นสินเชื่อที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำลง นอกจากนี้ เพดานใหม่สำหรับดอกเบี้ยสินเชื่อบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล ก็เริ่มมีผลบังคับแล้ว ตั้งแต่เดือนส.ค. 2563 ที่ผ่านมา

ด้าน “คุณภาพสินเชื่อ” ในพอร์ตถดถอยลง ตามสัญญาณอ่อนแอของเศรษฐกิจ คาดว่า สัดส่วน NPLs ของระบบธนาคารไทยในไตรมาส 3/2563 จะขยับขึ้นไปที่กรอบประมาณ 3.25-3.35% จากระดับ 3.21% ในไตรมาส 2/2563 เนื่องจากยังอยู่ในช่วงของมาตรการพักชำระหนี้ของภาคธุรกิจ ประกอบกับคาดว่า ธนาคารพาณิชย์ทุกแห่งจะเร่งจัดการปัญหาหนี้เสียในเชิงรุกมากขึ้น ทั้งด้วยวิธีการตัดขายหนี้ด้อยคุณภาพ และเร่งปรับโครงสร้างหนี้

อย่างไรก็ตาม ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า การตั้งสำรองฯ จะยังอยู่ในระดับสูงในไตรมาส 3/2563 แม้จะมีการตั้งสำรองฯ ก้อนใหญ่ไปแล้วในไตรมาส 2/2563 ดังนั้นสัดส่วนค่าใช้จ่ายในการตั้งสำรองฯ ต่อสินเชื่อ (Credit Cost) อาจชะลอลงเล็กน้อยมาอยู่ในกรอบประมาณ 1.80-1.95% ในไตรมาส 3/2563 เทียบกับ 2.15% ในไตรมาส 2/2563

“ธนาคารพาณิชย์ต่างๆ คงเตรียมความพร้อมในส่วนนี้ไว้เพื่อรองรับปัญหาคุณภาพหนี้ ซึ่งจะเห็นได้อย่างชัดเจนมากขึ้นหลังมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ ทยอยสิ้นสุดลงหลังในเดือนตุลาคมนี้” 

โจทย์ยาก เมื่อ SMEs หมดมาตรการ “พักหนี้”

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า เมื่อจบไตรมาส 3/2563 สินเชื่อที่ได้รับความช่วยเหลือจากธนาคารพาณิชย์จะมีสัดส่วนประมาณ 28.5% ต่อสินเชื่อรวม ลดลงเล็กน้อยจากสัดส่วนประมาณ 31.0% ต่อสินเชื่อรวมในไตรมาส 2/2563 เนื่องจากลูกหนี้บางส่วนกลับมาชำระคืนหนี้ได้ตามปกติหลังมาตรการช่วยเหลือรอบแรกทยอยสิ้นสุดลง

“การประเมินความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้บุคคลและลูกหนี้ธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจ SMEs หลังจากมาตรการพักหนี้สิ้นสุดลง ยังคงเป็นโจทย์ยากและมีความท้าทายสำหรับธนาคารพาณิชย์ เนื่องจากลูกหนี้กลุ่มนี้ส่วนใหญ่ยังมีสถานะทางการเงินที่เปราะบาง ขณะที่สัญญาณอ่อนแอทางเศรษฐกิจที่ลากยาวต่อเนื่องอาจส่งผลกระทบต่อรายได้ และความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้กลุ่มนี้ได้อีกในอนาคต” 

ดังนั้น แม้มาตรการพักชำระหนี้ธุรกิจเป็นการทั่วไปจะทยอยสิ้นสุดลง แต่ธนาคารพาณิชย์แต่ละแห่งจะยังคงให้ความช่วยเหลือกับลูกหนี้ทั้งลูกหนี้ธุรกิจและลูกหนี้รายย่อยในรูปแบบอื่นต่อไป ควบคู่ไปกับการเร่งปรับโครงสร้างหนี้ตามแนวทางของธนาคาร หรือผ่านโครงการ DR BIZ มาตรการรวมหนี้ ตลอดจนมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยระยะที่ 2 ซึ่งยังสามารถเข้าโครงการได้จนถึงสิ้นปี 2563

โดยหลักเกณฑ์ในการให้ความช่วยเหลือจะตั้งอยู่บนพื้นฐานของการพิจารณาความสอดคล้องกันระหว่างกระแสรายได้-ภาระหนี้ ซึ่งแยกตามลักษณะของลูกหนี้แต่ละกลุ่มที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจและมีจังหวะและโอกาสในการฟื้นธุรกิจแตกต่างกัน

Photo : Shutterstock

ไตรมาสสุดท้าย “ทรุดหนักกว่า” 

การประคองความสามารถในการทำกำไรของธนาคารพาณิชย์ในไตรมาสสุดท้ายของปี 2563 ยังคงมีความท้าทายไม่น้อยไปกว่าหลายๆ ไตรมาสที่ผ่านมา เพราะแม้กิจกรรมทางเศรษฐกิจจะทยอยกลับมาหลังการคลายล็อกดาวน์ แต่ก็เป็นการฟื้นตัวที่เปราะบางมากเพราะแรงขับเคลื่อนพื้นฐานของเศรษฐกิจ โดยเฉพาะภาคการส่งออกและท่องเที่ยว ยังไม่สามารถฟื้นกลไกการทำงานกลับมาได้อย่างเต็มที่

“ในไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ คาดว่าจะยังเป็นช่วงที่ธนาคารมีค่าใช้จ่ายรวมสูงกว่าไตรมาสอื่นๆ เพราะมีทั้งค่าใช้จ่ายในการตั้งสำรองฯ ที่น่าจะยังอยู่ในระดับสูง ค่าแคมเปญการตลาด ค่าอุปกรณ์และสถานที่ และรายจ่ายค่าธรรมเนียม ซึ่งท้ายที่สุด คาดว่าจะมีผลกดดันให้กำไรสุทธิของระบบธนาคารพาณิชย์ไทยติดลบ YoY ต่อเนื่องในไตรมาสสุดท้ายของปี 2563 โดยระดับกำไรสุทธิมีแนวโน้มลดต่ำลงกว่ากำไรสุทธิในไตรมาส 3/2563 ซึ่งคาดไว้ที่ประมาณ 3.08 หมื่นล้านบาท”

 

]]>
1300840
คนไทยหนี้ท่วม! เปิด “หนี้ครัวเรือน” ไตรมาส 2 ทะลุ 83.8% สูงสุดรอบ 18 ปี ห่วงคนตกงานพุ่ง https://positioningmag.com/1299501 Thu, 01 Oct 2020 06:33:51 +0000 https://positioningmag.com/?p=1299501 หนี้ครัวเรือนไทยพุ่งต่อเนื่อง สวนเศรษฐกิจซบเซา Q2/63 กระฉูด 83.8% ต่อ GDP แตะระดับสูงสุดรอบ 18 ปี ห่วงคนตกงานพุ่ง ประชาชนขาดรายได้ ฉุดคุณภาพหนี้

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยข้อมูลสถิติ เกี่ยวกับเงินให้กู้ยืมแก่ภาคครัวเรือน หรือ “หนี้ครัวเรือน” ในไตรมาส 2/2563 พบว่า ปรับตัวมาอยู่ที่ 83.8% ต่อ GDP สูงขึ้นต่อเนื่องจากในไตรมาส 1/2563 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 80.1% ต่อ GDP 

โดยยอดคงค้างหนี้ครัวเรือนเพิ่มขึ้น 92,182 ล้านบาท ในไตรมาส 2/2563 มาอยู่ที่ 13,587,996 ล้านบาท นำโดยหนี้กับสถาบันการเงินเฉพาะกิจและธนาคารพาณิชย์ ที่มีจำนวน 3.84 ล้านล้านบาท และ 5.79 ล้านล้านบาท ตามลำดับ

การที่ระดับหนี้ครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นสวนทางเศรษฐกิจไทยที่หดตัว เป็นภาพตอกย้ำวังวนของภาระหนี้สูง ซึ่งมาพร้อมกับฐานะทางการเงินของประชาชนและครัวเรือนที่อ่อนแอลงในวงกว้าง โดยเฉพาะในกลุ่มที่มีความเสี่ยงด้านรายได้และเสี่ยงตกงาน 

Photo : Shutterstock

หนี้ครัวเรือน มีเเนวโน้มพุ่งเเตะ 88-90% ในสิ้นปีนี้ 

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ออกบทวิเคราะห์ต่อกรณีนี้ว่า ทิศทางหนี้ครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นสะท้อนให้เห็นภาพ 2 ด้านที่แตกต่างกัน เพราะในขณะที่ประชาชนและครัวเรือนบางกลุ่มก่อหนี้เพิ่มขึ้น เช่น สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย แต่ก็ยังมีประชาชนและครัวเรือนอีกหลายกลุ่มที่ต้องรับมือกับปัญหาขาดสภาพคล่องและต้องการมาตรการช่วยเหลือจากสถาบันการเงิน

โดยหนี้ครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นในไตรมาสที่ 2/2563 สะท้อนสถานการณ์ของกลุ่มลูกหนี้รายย่อย 2 กลุ่ม ดังนี้

กลุ่มแรก คือ กลุ่มครัวเรือนที่ยังพอมีกำลังซื้อ (รายได้ไม่ได้รับผลกระทบมากนักจากปัญหาเศรษฐกิจในปัจจุบัน และยังมีความสามารถในการชำระหนี้สอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐานการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงิน) มีการก่อหนี้ก้อนใหญ่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะสินเชื่อที่อยู่อาศัย สะท้อนจากสินเชื่อบ้านปล่อยใหม่ที่เพิ่มขึ้นราว 1.42 แสนล้านบาทในไตรมาสที่ 2/2563 (สูงกว่ายอดปล่อยใหม่ในไตรมาสแรกที่ 1.38 แสนล้านบาท) ซึ่งเป็นช่วงที่ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ผลักดันแคมเปญออกมาเพื่อจูงใจการตัดสินใจของลูกค้า

กลุ่มที่สอง คือ กลุ่มครัวเรือนที่เผชิญปัญหาการขาดสภาพคล่องจากผลกระทบของปัญหาเศรษฐกิจ ส่วนหนึ่งสะท้อนผ่านข้อมูลลูกหนี้รายย่อยที่รับความช่วยเหลือจากสถาบันการเงิน โดยเฉพาะมาตรการระยะแรกที่มีการพักชำระหนี้และลดภาระผ่อนต่อเดือน ซึ่งจำนวนบัญชีลูกหนี้รายย่อยที่เข้าโครงการระยะแรกมีถึง 11.5 ล้านบัญชี (33% ของบัญชีลูกหนี้รายย่อยทั้งหมด) คิดเป็นภาระหนี้ประมาณ 3.8 ล้านล้านบาท (28% ของยอดคงค้างหนี้ครัวเรือน) นอกจากนี้ ปัญหาการขาดสภาพคล่องยังทำให้ครัวเรือนบางส่วนจำเป็นต้องก่อหนี้เพิ่มขึ้น เพื่อการดำรงชีพและสำหรับรองรับรายจ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคในชีวิตประจำวันด้วยเช่นกัน

“ปัญหาหนี้ครัวเรือนจะยังเป็นหนึ่งในมาตรวัดที่สะท้อนความเปราะบางเชิงโครงสร้างของเศรษฐกิจไทย โดยหนี้ครัวเรือนมีแนวโน้มขยับขึ้นมาอยู่ที่กรอบ 88-90% ต่อ GDP ภายในสิ้นปี 2563 จากระดับ 83.8% ต่อจีดีพีในไตรมาส 2/2563” 

คนตกงาน-ขาดรายได้ ฉุดคุณภาพหนี้

จากสถานการณ์เศรษฐกิจไทย ที่มีแนวโน้มหดตัวลงในครึ่งปีหลัง ขณะที่สินเชื่อรายย่อย โดยเฉพาะในกลุ่มสินเชื่อบ้านและสินเชื่อรถยนต์ ที่คาดว่าจะยังเติบโตในกลุ่มครัวเรือนที่มีกำลังซื้อและมีความสามารถในการชำระคืนหนี้ อาจทำให้ระดับหนี้ครัวเรือนยังเติบโตต่อเนื่อง แม้จะเป็นอัตราที่ชะลอลงเมื่อเทียบกับที่เติบโต 5.1% ในปี 2562

“ผลกระทบจากเศรษฐกิจทำให้ความสามารถในการชำระคืนหนี้ของครัวเรือนหลายกลุ่มด้อยลง ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญที่ต้องติดตามอย่างต่อเนื่อง” 

อย่างไรก็ดี มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อย (ทั้งมาตรการเฟสสอง และมาตรการรวมหนี้) รวมถึงมาตรการเฉพาะของสถาบันการเงินแต่ละแห่งที่จะดำเนินการเพิ่มเติม และการเร่งปรับโครงสร้างหนี้ อาจช่วยบรรเทาภาระให้แก่ครัวเรือนในหลายๆ ส่วน ในช่วงที่ยังต้องรอเวลาให้เศรษฐกิจทยอยฟื้นกลับสู่ภาวะปกติ

นอกจากนี้ อัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำลง (ทั้งอัตราดอกเบี้ยรายย่อยชั้นดี หรือ MRR ตลอดจนการลดเพดานอัตราดอกเบี้ยบัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล และสินเชื่อรายย่อยเพื่อการประกอบอาชีพ) ยังช่วยให้ภาระทางการเงินของลูกหนี้เบาตัวลงด้วยเช่นกัน แต่ในท้ายที่สุดแล้ว ประเด็นการมีงานทำและรายได้ของครัวเรือนจะยังคงเป็นปัจจัยสำคัญที่จะกำหนดคุณภาพของหนี้ครัวเรือน โดยเฉพาะความสามารถในการชำระหนี้

 

]]>
1299501