NPL – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 22 Feb 2021 10:20:42 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 กำไร ‘เเบงก์พาณิชย์’ ปี 2563 ลดลง 46% เเต่สินเชื่อโต 5.1% ‘หนี้เสีย’ ทั้งระบบขยับเพิ่มขึ้น https://positioningmag.com/1320360 Mon, 22 Feb 2021 09:23:49 +0000 https://positioningmag.com/?p=1320360 เเบงก์ชาติเผยปี 2563 ธนาคารพาณิชย์ในไทย ทำกำไรลดลง 46% อยู่ที่ 1.46 เเสนล้านบาท ผลจากการกันสำรองเพิ่มขึ้นช่วง COVID-19 ภาพรวมสินเชื่อโต 5.1% ด้าน NPL เพิ่มขึ้นที่ 3.12% ลูกหนี้กลุ่มธุรกิจท่องเที่ยวโรงเเรมน่าเป็นห่วงสุด 

สุวรรณี เจษฎาศักดิ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงผลการดำเนินงานของระบบธนาคารพาณิชย์ไทยใน ปี 2563 ว่า มีกำไรสุทธิราว 146,200 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนซึ่งอยู่ที่ราว  271,000 ล้านบาท หรือลดลง 46% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน 

ปัจจัยหลักๆ มาจากการกันสำรองในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง เพื่อองรับผลกระทบจาก COVID-19 ต่อคุณภาพหนี้ในระยะต่อไป ประกอบกับผลของฐานสูงจากรายได้จากเงินลงทุนซึ่งเป็นปัจจัยพิเศษในปีก่อน 

โดยระบบธนาคารพาณิชย์ มีเงินกองทุนทั้งสิ้น 2,994.3 พันล้านบาท คิดเป็นอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (BIS ratio) ที่ 20.1% เงินสำรองอยู่ในระดับสูงที่ 799.1 พันล้านบาท โดยอัตราส่วนเงินสำรองที่มีต่อสินเชื่อด้อยคุณภาพ (NPL coverage ratio) อยู่ที่ 149.2% และอัตราส่วนสินทรัพย์สภาพคล่องเพื่อรองรับกระแสเงินสดที่อาจไหลออกในภาวะวิกฤต (Liquidity Coverage Ratio: LCR) อยู่ที่ 179.6%

สำหรับผลตอบแทนต่อสินทรัพย์เฉลี่ย (Return on Assets: ROA) ลดลงมาอยู่ที่ 0.65% จากปีก่อนที่ 1.39% และอัตราส่วนรายได้ดอกเบี้ยสุทธิต่อสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้ดอกเบี้ยเฉลี่ย (NIM) ลดลงมาอยู่ที่ 2.51% จากปีก่อนที่อยู่ที่ 2.73%

ด้านภาพรวมการเติบโตของสินเชื่อในระบบธนาคารพาณิชย์ในปีที่ผ่านมา ยังขยายตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 5.1% จากปีก่อนที่ขยายตัว 2%

สินเชื่อธุรกิจ ขยายตัว 5.4% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่หดตัว 0.8% ปัจจัยหลักจากการเติบโตของสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ที่ส่วนหนึ่งกลับมาใช้สินเชื่อแทนการออกตราสารหนี้ในช่วงไตรมาส 2/63

สินเชื่อ SMEs หดตัวในอัตราที่ลดลงจากผลของมาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft loan)

สินเชื่อที่อยู่อาศัย ขยายตัวเพิ่มขึ้น ตามอุปสงค์ในตลาดที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะแนวราบที่ปรับดีขึ้นและแคมเปญการตลาดของผู้ประกอบการ

สินเชื่ออุปโภคบริโภค ขยายตัว 4.6% ลดลงจากปีก่อนที่ขยายตัว 7.5% สอดคล้องกับกำลังซื้อของภาคครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบจากโรคระบาด

คาดว่าจะทยอยปรับดีขึ้นในทุกพอร์ตสินเชื่อ ในช่วงครึ่งหลังของปี 2563 ตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ปรับดีขึ้น หลังการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์

ด้านคุณภาพสินเชื่อลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ได้รับความช่วยเหลือจากธนาคารพาณิชย์ ทำให้ยอดคงค้างสินเชื่อด้อยคุณภาพ (NPL หรือ Stage3) เพิ่มขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ที่ 5.233 เเสนล้านบาท คิดเป็น 3.12%

ขณะที่สัดส่วนสินเชื่อที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญของความเสี่ยงด้านเครดิตต่อสินเชื่อรวม อยู่ที่ 6.62% ส่วนแนวโน้ม NPL นั้นคาดว่าจะทยอยเพิ่มขึ้น จากกลุ่มที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ หรือมีหนี้ที่มีปัญหาที่หลากหลาย

กลุ่มลูกหนี้ที่น่าเป็นห่วงมากที่สุดคือ ลูกหนี้ในกลุ่มธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 อย่างหนัก เช่นกลุ่มธุรกิจท่องเที่ยวเเละโรงเเรม เเม้จะเริ่มฟื้นตัวจากการท่องเที่ยวในประเทศ เเต่เมื่อมีการระบาดระลอกใหม่ก็ทำให้คนไทยท่องเที่ยวน้อยลง โดยโรงเเรมหรือธุรกิจที่พึ่งพานักท่องเที่ยวต่างชาติเกือบ 100% ก็ยังต้องรอความคืบหน้าในเรื่องวัคซีน

ทั้งนี้ พอร์ตลูกหนี้กลุ่มธุรกิจโรงแรม มีอยู่ประมาณ 4 แสนล้านบาทในระบบธนาคารพาณิชย์ไทย

 

]]>
1320360
KBank ห่วงไทย ‘ฟื้นตัวช้าสุด’ ตามหลังเพื่อนบ้านในอาเซียน โรงแรม 40% เสี่ยงหายจากตลาด https://positioningmag.com/1320011 Thu, 18 Feb 2021 13:11:04 +0000 https://positioningmag.com/?p=1320011 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ห่วงเศรษฐกิจไทย ‘ฟื้นตัวช้าสุด’ ตามหลังเพื่อนบ้านในอาเซียน เหตุพึ่งพานักท่องเที่ยวต่างชาติสูง จับตาเร่งกระจายวัคซีน วิกฤตยื้อยาวอาจทำโรงเเรม 30-40% ‘ไม่รอด’ หายออกจากตลาด หนี้ครัวเรือนพุ่ง ฉุดเศรษฐกิจ SMEs อ่วมสารพัดปัญหาไม่สามารถจ่ายหนี้ได้

‘วัคซีน’ คือตัวเเปรสำคัญของเศรษฐกิจไทย 

ณัฐพร ตรีรัตน์ศิริกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด ให้ข้อมูลว่า KBank ยังคงคาดการณ์เป้าการเติบโตของเศรษฐกิจไทยไว้ที่ 2.6%

มีหลายประเด็นที่ทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย ‘ฟื้นตัวช้า’ ตามหลังประเทศอื่นๆ ในอาเซียน โดยเฉพาะโครงสร้างเศรษฐกิจไทยที่พึ่งพิงการท่องเที่ยวคิดเป็นกว่า 10% ของ GDP

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ปรับลดการคาดการณ์นักท่องเที่ยวต่างชาติเที่ยวไทยในปี 2564 มาอยู่ที่ประมาณ 2-4.5 ล้านคน จากเดิมที่คาดไว้ 4.5-7 ล้านคน

ตัวเเปรหลักของเศรษฐกิจไทยคือ ‘วัคซีน’ ต้องติดตามการควบคุมการแพร่ระบาดของโรค ตลอดจนการ
กระจายวัคซีนในประชากรหมู่มากจนสามารถสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ได้ ซึ่งจะมีผลต่อการกำหนดแนวทางการเริ่มเปิดรับนักท่องเที่ยว ณ ขณะนี้มองไว้ว่าน่าจะเป็นช่วงปลายปี 2564

Photo : Shutterstock

ณัฐพร คาดว่า กว่าที่เศรษฐกิจไทยจะกลับไปเท่าที่ระดับก่อนโรคระบาดได้คงใช้เวลาจนถึงปี 2565-2566 เพราะปัญหาจาก COVID-19 ในรอบนี้ กระทบภาคธุรกิจจริงตรงๆ ต่างจากปี 2540 ที่มีจุดกำเนิดจากธุรกิจการเงิน

“การฟื้นตัวของธุรกิจหลังผ่านพ้นช่วง COVID-19 คงไม่ทั่วถึง และยังมีโจทย์เชิงโครงสร้างที่รออยู่ อีกทั้งสังคมสูงอายุ ตลาดผู้บริโภคเล็กลง ปัญหาหนี้ครัวเรือน และปัญหาความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ”

โรงแรม 40% เสี่ยงหายออกจากตลาด

ด้าน เกวลิน หวังพิชญสุข ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด เสริมว่า ภาคท่องเที่ยวในไทยเป็นอุตสาหกรรมที่ ‘เปราะบางที่สุด’ ในภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ โดยเฉพาะกลุ่มโรงแรมในจังหวัดที่พึ่งพิงนักท่องเที่ยวต่างชาติมาก เช่นใน 6 จังหวัดอย่าง ภูเก็ต, กระบี่, พังงา, สุราษฎร์ธานี, ชลบุรี เเละกรุงเทพฯ ที่ต้องติดตามเป็นพิเศษ ขณะที่ธุรกิจค้าปลีกได้รับผลกระทบจากกำลังซื้อที่ลดลง และการปิดพื้นที่ชั่วคราว

“ปัญหาโควิดในครั้งนี้คงทำให้โรงแรม 30-40% อาจต้องออกจากตลาดไป เน้นไปที่โรงแรมในกลุ่มราคาประหยัด (Budget) หรือราคาระดับกลาง (Midscale) รวมไปถึงธุรกิจค้าปลีก อย่างร้านค้า SMEs ในห้างที่มีสัดส่วนกว่า 30% ของผู้ประกอบการรายย่อยไทยในภาคการค้าทั่วประเทศ” 

เเม้ช่วงที่ผ่านมา คนไทยจะหันมา ‘เที่ยวในประเทศ’ กันมากขึ้น โดยคาดว่า ปี 2564 จะอยู่ที่ราว 90-120 ล้านคนต่อครั้ง แต่ยังไม่สามารถทดแทนการหายไปของรายได้ที่พึ่งพิงจากนักท่องเที่ยวต่างชาติ ที่เคยสร้างรายได้ให้ธุรกิจในภาคโรงเเรมไทยถึง 5 แสนล้านบาท หรือคิดเป็นกว่า 70%

Photo : Shutterstock

สำหรับประเด็นเรื่อง ‘Vaccine Passport’ มองว่า ยังไม่อาจคาดหวังได้มากในขณะนี้ เพราะยังไม่มีหลักฐานการศึกษาว่าคนที่ฉีดวัคซีนแล้ว จะไม่ติดเชื้อหรือแพร่เชื้ออีกครั้ง ประโยชน์ในเรื่องนี้คงเกิดกับเฉพาะบางประเทศที่รับความเสี่ยงได้ มากกว่าจะเป็นประโยชน์ในระดับโลก

ธัญญลักษณ์ วัชระชัยสุรพล รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด มองว่า ‘โจทย์เฉพาะหน้าคือ การดูแลปัญหาสภาพคล่องทางธุรกิจและครัวเรือน’

“ภาคการเงินต้องติดตามสภาพคล่องภาคธุรกิจ SMEs มีปัญหาไม่สามารถจ่ายหนี้ได้ แม้ว่าตอนนี้ตัวเลขหนี้เสีย (NPL) จะยังไม่สะท้อนมาก เพราะยังอยู่ในช่วงมาตรการผ่อนปรนการจัดชั้นหนี้ของธปท.ก็ตาม” 

อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงดังกล่าว เห็นได้จากตัวเลขจำนวนผู้ขอรับความช่วยเหลือทางการเงินที่คงไต่ระดับขึ้นจากปลายปี 2563 ที่ 27.6% และ 14.7% ของสินเชื่อสำหรับกลุ่มเอสเอ็มอีและลูกค้าบุคคลรายย่อยตามลำดับ

สำหรับกลุ่มธุรกิจที่เปราะบางนั้น คาดว่าภาครัฐจะมีมาตรการช่วยเหลือเพิ่มเติม เช่น Asset Warehousing แต่อาจไม่เร็วพอ เพราะยังต้องรอรายละเอียดในหลายประเด็น ด้านลูกค้าหากมีสัญญาณปัญหาการชำระหนี้ ก็แนะนำให้รีบคุยกับสถาบันการเงิน โดยไม่ต้องรอให้เป็น NPL ก่อน

“ธุรกิจจะต้องมีการปรับตัวให้ทันกับโลกที่เปลี่ยนไป เเต่คาดว่าตลาดจะเล็กลง จากหนี้ครัวเรือนที่เพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง จากปีก่อนที่ 86% ปีนี้น่าจะแตะ 90-91% ซึ่งจะทำให้กำลังซื้อลดลง เเละการเข้าสู่สังคมสูงอายุของไทยที่กำลังใกล้เข้ามา ก็เป็นปัญหาใหญ่ที่มองข้ามไม่ได้”

 

 

]]>
1320011
เเบงก์กรุงเทพ ลุยกลยุทธ์ “ทำบุญ” กระตุ้นรูดบัตร จ่อปรับฐานรายได้กู้บัตรเครดิตเป็น 2.5-3 หมื่นบาท https://positioningmag.com/1307341 Tue, 24 Nov 2020 10:43:13 +0000 https://positioningmag.com/?p=1307341 โรคระบาดทำเศรษฐกิจซบเซา คนระวังใช้จ่าย ประหยัดมากขึ้น รูดบัตรเครดิตน้อยลงเเบงก์กรุงเทพขยับเจาะลูกค้าจ่ายตามไลฟ์สไตล์ เน้นดีลซูเปอร์มาร์เก็ตสินค้าในชีวิตประจำวัน ลุยต่อกลยุทธ์กระตุ้นรูดบัตรได้ร่วมทำบุญจ่อปรับเพิ่มรายได้ขั้นต่ำสมัครบัตรเครดิตเป็น 25,000-30,000 บาทต่อเดือน ห่วงกลุ่มหนี้ครัวเรือนสูง 

โชค ณ ระนอง ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ผู้จัดการสายบัตรเครดิต ธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า ภาวะเศรษฐกิจไทยในช่วงโค้งสุดท้ายของปีนี้ ยังไม่ฟื้นตัวมากนัก เพราะภาคการท่องเที่ยวยังไม่กลับมา เเละคาดว่าจะใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 12 เดือนจึงจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติซึ่งต้องจับตาดูการพัฒนาวัคซีนด้วย

การที่เศรษฐกิจซบเซานั้น ส่งผลกระทบต่อธุรกิจบัตรเครดิตเเละการจับจ่ายใช้สอยของผู้ถือบัตรของธนาคารโดยตรง

ล่าสุด ยอดใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตกรุงเทพ ลดลง 11-12% เมื่อเทียบจากปีก่อนดีขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงล็อกดาวน์ ในเดือนเม..-.. ที่ยอดใช้จ่ายผ่านบัตรลดลงไปต่ำสุดที่ 16-17% เนื่องจากการใช้จ่ายเพื่อการท่องเที่ยวหายไป

สำหรับเป้าหมายบัตรเครดิตใหม่ของปีนี้ ผู้บริหารเเบงก์กรุงเทพ ยอมรับว่า ไม่ได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ที่ 2.8 แสนบัตร เพราะปัจจุบันทำได้เพียง 1.8 แสนบัตรเท่านั้น หลักๆ มาผลกระทบจากการระบาดของ COVID-19 และคาดว่าสิ้นปีนี้จะทำได้ 2 แสนบัตร ทั้งนี้ ธนาคารกรุงเทพมีฐานลูกค้าบัตรเครดิตทั้งหมดราว 2.5 ล้านราย

ปีหน้าถ้าได้ยอดบัตรใหม่ 2 แสนบัตร เท่ากับปีนี้ก็เก่งแล้ว ส่วนยอดใช้จ่ายมองว่าจะทรงตัวจากปีนี้

โชค ณ ระนอง ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ผู้จัดการสายบัตรเครดิต ธนาคารกรุงเทพ

ขยับหาลูกค้า ซื้อของอุปโภค-บริโภค

เมื่อผู้คนต้องประหยัดเเละระมัดระวังการใช้เงินมากขึ้น ทำให้การใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตลดน้อยลงไปด้วย ประกอบกับการใช้จ่ายเพื่อท่องเที่ยวต่างประเทศที่เคยเป็นหมวดที่มีการใช้จ่ายสูงหายไป

ปัจจัยเหล่านี้ ทำให้เเบงก์กรุงเทพต้องขยับหันมามุ่งไปส่งเสริมการใช้จ่ายเน้นด้านอุปโภคบริโภครูดบัตรเพื่อซื้อสินค้าเเละการเดินทางในชีวิตประจำวัน

ธนาคารกรุงเทพ จะทำโปรโมชันกับกลุ่มซูเปอร์มาร์เก็ต เติมน้ำมัน การรักษาพยาบาล เเละการท่องเที่ยวในประเทศเพิ่มมากขึ้น

เรียกได้ว่า เป็นไปตามเทรนด์ของผู้ให้บริการบัตรเครดิตหลายราย ที่เริ่มหันมาเปิดบัตรใหม่ตามไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคมากขึ้น อย่าง บัตรเครดิตช้อปปิ้งออนไลน์ บัตรเครดิตเพื่อตรวจสุขภาพ ฯลฯ

ผู้บริหารเเบงก์กรุงเทพ มองว่า เป็นโอกาสที่ดีในการจะเข้าถึงลูกค้าใหม่เเละตอบโจทย์ลูกค้าเก่ามากขึ้น เพราะพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไป ใช้จ่ายเฉพาะส่วนตามจุดประสงค์มากขึ้น ไม่รูดบัตรเกินเพื่อเผื่อใช้ เเต่คิดว่าจะใช้อย่างไรให้ได้ประโยชน์สูงสุด ซึ่งยังมีอีกหลายเซกชั่นการใช้ชีวิตที่ธุรกิจบัตรเครดิตจะขยายไปหาลูกค้าได้อีก

“ทำบุญ” กระตุ้นรูดบัตร 

อีกหนึ่งบัตรเครดิตของธนาคารกรุงเทพที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ในปัจจุบัน ทั้งเรื่องสุขภาพเเละการชอบทำบุญของคนไทย ก็คือการ Co- Brand กับโรงพยาบาลศิริราช ที่ทำมาเเล้ว 5 ปี เเละเพิ่งมีการอัพเกรดสิทธิประโยชน์ต่อไปอีก 5 ปี เนื่องจากมีกระเเสตอบรับที่ดี สูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 

สำหรับ “บัตรบีเฟิสต์ สมาร์ท ทีพีเอ็น แรบบิท ศิริราชจะให้ฟรีประกันอุบัติเหตุ พร้อมค่ารักษาพยาบาล แตะจ่ายได้เหมือนบัตรแรบบิท ขณะที่บัตรเครดิตวีซ่า แพลทินัม ศิริราชให้ผ่อนจ่ายค่ารักษาค่ารักษา 0% นาน 3 เดือนพร้อมส่วนลดคะแนนสะสมเเละตรวจสุขภาพฟรี

โดยทุกยอดการใช้จ่ายผ่านบัตรดังกล่าว ธนาคารกรุงเทพจะสมทบให้ศิริราช 0.2% ของยอดใช้จ่าย

ปัจจุบัน บัตรร่วมศิริราช มีผู้ถือบัตรรวมกว่า 1.4 ล้านราย มียอดบริจาคของลูกค้าและเงินสมทบธนาคารแก่คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล รวมกว่า 275 ล้านบาทในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา

การที่เราทำให้ผู้ถือบัตรสามารถเป็นทั้งผู้ให้และผู้รับในคราวเดียวกัน ทุกครั้งที่มีการใช้จ่ายผ่านบัตร เป็นการสร้างความแตกต่างจากบัตรอื่น ๆ ในตลาด ตอบโจทย์ผู้บริโภคคนรุ่นใหม่ ที่ให้ความสำคัญกับการได้มีส่วนช่วยดูแลสังคม หรือการทำดีในแบบที่สามารถจับต้องได้จริง รู้สึกดีเมื่อรู้ว่าทุกการใช้จ่ายของลูกค้า ได้ทำประโยชน์ให้ผู้อื่นด้วย

ผู้บริหารเเบงก์กรุงเทพ บอกอีกว่า บัตรเครดิตที่เเบ่งยอดการใช้จ่ายไปทำบุญเเละช่วยเหลือสังคมนั้น กระตุ้นผู้บริโภคให้ตัดสินใจเลือกหยิบบัตรมาใช้จ่ายง่ายขึ้น เป็นอีกหนึ่งเเนวทางในการเพิ่มยอดใช้จ่ายผ่านบัตรได้ดี โดยเฉพาะในยามเศรษฐกิจไม่เเน่นอน

โชค ณ ระนอง ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ผู้จัดการสายบัตรเครดิต ธนาคารกรุงเทพ (ซ้าย) ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล (ขวา)

ทั้งนี้ ที่ผ่านมา ธนาคารกรุงเทพมีบัตรเครดิตที่ทำโปรโมชันร่วมทำบุญกับหลายโรงพยาบาล เเต่เป็นไปในลักษณะการเเลกพอยท์ ไม่ได้เป็น Co- Brand เหมือนกับศิริราช โดยคาดหวังว่าจะมีลูกค้าผู้ถือบัตรร่วมศิริราชทั้ง 2 แบบเพิ่มขึ้นเป็น 2 ล้านราย ภายในระยะเวลา 5 ปีข้างหน้า

ต่อไปก็อาจจะมีการพิจารณาร่วมกับโรงพยาบาลอื่นๆ เเต่ยังไม่ถึงขั้นที่จะออกบัตร Co- Brand ในช่วงเร็วๆ นี้

ปรับรายได้ขั้นต่ำของลูกค้าเป็น 2.5-3 หมื่นต่อเดือน

ส่วนภาพรวมแผนธุรกิจปี 2564 ในเบื้องต้นธนาคารกรุงเทพ จะปรับฐานคุณสมบัติของลูกค้าใหม่เป็นผู้มีรายได้ 25,000 -30,000 บาทต่อเดือน จากเดิมที่มีการพิจารณาปล่อยกู้ บัตรเครดิตอยู่ที่รายได้ราว 20,000 บาทต่อเดือน เพื่อหวังชะลอหนี้ครัวเรือนที่ปัจจุบันคนกลุ่มนี้อยู่ระดับสูง และไม่อยากส่งเสริมให้คนใช้จ่ายเกินตัว

เราจะเน้นไปที่การกระตุ้นการใช้จ่ายบัตรเครดิตกับลูกค้าเดิมเป็นหลัก

จากสถานการณ์ COVID-19 ส่งผลกระทบต่อลูกค้าของธนาคาร โดยเฉพาะผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับภาคท่องเที่ยว โรงแรม สายการบิน โดยล่าสุด มีลูกค้าที่เข้าโครงการพักชำระหนี้ราว 35,000 ราย ส่วนใหญ่สามารถกลับมาชำระหนี้ได้ มีลูกค้าราว 20-25% ที่ยังต้องการความช่วยเหลือต่อ

โดยธนาคารกรุงเทพ มีมาตรการให้ความช่วยเหลือต่างๆ เช่น ด้วยการพักชำระหนี้ 3 เดือน , คิดดอกเบี้ย 12% จาก 16% และแปลงหนี้บัตรเครดิตเป็นสินเชื่อที่มีระยะเวลา ซึ่งจะมีการประเมินทุกๆ 3 เดือนหากลูกค้ายังไม่สามารถกลับมาชำระได้ก็จะมีการช่วยเหลือต่อไป

ส่วนแนวโน้มหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ภาพรวมมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นตามสภาพที่เป็นไป โดยขณะนี้อยู่ที่ 2.6% จากสิ้นปี 2019 อยู่ที่ 2.15% 

 

]]>
1307341
ปีหน้าฟื้นยาก! KKP หั่นเป้า GDP ปี 2021 โตแค่ 3.4% ท่องเที่ยวซบยาว ธุรกิจกลาง-เล็ก จ่อปิดกิจการ https://positioningmag.com/1298164 Tue, 22 Sep 2020 08:21:07 +0000 https://positioningmag.com/?p=1298164 KKP Research ปรับลดคาดการณ์ GDP ปี 2564 จาก 5.2% เหลือ 3.4% กรณีเลวร้ายสุดอาจโตเเค่ ระดับ 0%-1% เท่านั้น มองภาคท่องเที่ยวฟื้นตัวช้ากว่าเดิม คาดนักท่องเที่ยวลดเหลือเเค่ 6.4 ล้านคน เเละมีความเสี่ยงจะต่ำกว่านี้ หากไม่สามารถเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติได้จริง แม้ว่าตัวเลขเศรษฐกิจน่าจะผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว แต่ผลกระทบต่อภาคธุรกิจ การว่างงาน ความเสี่ยงปิดกิจการ ยังน่าเป็นห่วง

ไทยจะฟื้นตัวช้ากว่าประเทศอื่น หากยังไม่เปิดรับนักท่องเที่ยว

KKP Research โดยเกียรตินาคินภัทร ออกบทวิเคราะห์ฉบับล่าสุด แสดงความกังวลถึงเศรษฐกิจไทยในปีหน้า ระบุว่า เเม้ไทยประสบความสำเร็จในการควบคุมการติดเชื้อในประเทศ และกิจกรรมทางเศรษฐกิจเริ่มกลับมาอีกครั้ง 

เเต่เมื่อพิจารณาโครงสร้างของเศรษฐกิจไทย พบว่ามีการพึ่งพาการท่องเที่ยวเป็นสัดส่วนมากถึง 12% ของ GDP ประกอบกับเศรษฐกิจไทยที่อ่อนแออยู่แล้วตั้งแต่ก่อนวิกฤต COVID-19 จะทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้ยากและช้ากว่าประเทศอื่นๆ มากในภาวะที่การท่องเที่ยวยังไม่กลับมา

หนึ่งในสัญญาณที่อาจสามารถสะท้อนให้เห็นทิศทางของเศรษฐกิจไทยในระยะต่อไปได้บ้าง คือ แนวโน้มการฟื้นตัวของตลาดหุ้นไทยซึ่งเปรียบเทียบแล้วตลาดหุ้นไทยแทบไม่ฟื้นตัวในขณะที่หุ้นในหลายประเทศฟื้นตัวกลับไปใกล้เคียงกับจุดก่อนเกิดการระบาดของ COVID-19 แล้ว

สำหรับในปี 2020 นี้คาดว่าจะไม่มีนักท่องเที่ยวต่างประเทศเข้ามาในประเทศอย่างมีนัยสำคัญ จากเดิมที่คาดว่าจะเริ่มมีนักท่องเที่ยวเข้ามาได้บางส่วนในช่วงปลายปีนี้ 

โดยมองไปในปี 2021 ไทยจะยังคงเผชิญกับโจทย์อันท้าทายในการเปิดรับนักท่องเที่ยวในวงกว้าง เนื่องจากข้อจำกัดทั้งทางด้านความสามารถในการกักตัวและติดตามนักท่องเที่ยว ประกอบกับพัฒนาการของวัคซีนที่มีแนวโน้มจะยังไม่สามารถใช้ได้ทันในช่วงครึ่งปีแรก ทำให้ต้องเปลี่ยนการคาดการณ์จำนวนนักท่องเที่ยวในปี 2021 จาก 17 ล้านคน เหลือเพียง 6.4 ล้านคน

คาดว่านักท่องเที่ยวจะเริ่มกลับเข้ามาได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยมากขึ้น ในช่วงไตรมาส 3 และ 4 ของปี 2021 แต่ยังอยู่ในระดับต่ำกว่าระดับปกติก่อน COVID-19 ที่มีจำนวนมากถึง 40 ล้านคน

KKP Research จึงปรับการคาดการณ์การเติบโตของ GDP ปี 2021 เหลือเพียง 3.4% เมื่อเทียบกับการหดตัวถึง 9% ในปีนี้ จะทำให้เศรษฐกิจไทยอาจต้องใช้เวลานานถึงประมาณ 3-4 ปีกว่าที่จะกลับเข้าสู่ระดับปกติ 

อย่างไรก็ตาม สมมติฐานในการประมาณการเศรษฐกิจยังมีความไม่แน่นอนอยู่ค่อนข้างมาก ในกรณีเลวร้ายที่ประเทศไทยอาจไม่สามารถเปิดประเทศเพื่อรับนักท่องเที่ยวได้เลยในช่วงปี 2021 จะส่งผลกระทบรุนแรงต่อทั้งการจ้างงานและการเลิกกิจการของบริษัทในวงกว้าง การเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญของหนี้เสีย (NPL) ที่จะฉุดรั้งการบริโภคและการลงทุนในประเทศ เป็นความเสี่ยงที่ทำให้เศรษฐกิจจะหดตัวลึกไปกว่าเดิม และอาจโตได้ในระดับ 0%-1% เท่านั้น

เราเที่ยวด้วยกัน ยังกระตุ้นไม่พอ

ผลกระทบจากการไม่มีนักท่องเที่ยวทำให้หลายพื้นที่ยังไม่สามารถฟื้นตัวได้ โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีการพึ่งพารายได้จากการท่องเที่ยวในระดับสูง โดยจังหวัดที่มีรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด (Gross Domestic Product: GPP) อยู่ในระดับสูง (มากกว่า 50% ของ GPP) คือ ภูเก็ต และพังงา ยังคงมีอัตราการเข้าพักอยู่ในระดับต่ำภายหลังสิ้นสุดมาตรการปิดเมือง เฉลี่ยไม่ถึง 10% ในเดือนกรกฎาคม จากระดับปกติที่เกือบ 80% ในปี 2019

ถึงแม้จะมีมาตรการรัฐอย่าง “เราเที่ยวด้วยกัน” ก็ยังไม่สามารถกระตุ้นการท่องเที่ยวได้ตามที่คาดหวังไว้ เเต่จากการใช้มาตรการมากว่า 2 เดือน ยังมีการใช้สิทธิ์จองที่พัก เพียง 1 ล้านจาก 5 ล้านสิทธิ์ หรือ 20% เท่านั้น

โดยพื้นที่ที่ได้ประโยชน์จากมาตรการรัฐยังคงเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่อยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ และสามารถเดินทางไปด้วยรถยนต์ได้ อาทิ หัวหิน พัทยา เนื่องจากความกังวลต่อ COVID-19 ยังคงมีอยู่ทำให้คนส่วนใหญ่ยังคงเลือกเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัวมากกว่าเครื่องบิน อีกทั้งคนที่ยังมีกำลังซื้อส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ในกรุงเทพ ฯ จึงทำให้หลายพื้นที่ยังไม่ได้รับผลประโยชน์จากมาตรการนี้

ถึงแม้ว่าหลายพื้นที่จะได้รับประโยชน์จากมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวในประเทศ แต่รายได้จากนักท่องเที่ยวไทยยังคงไม่เพียงพอที่จะชดเชยรายได้ที่สูญไปจากการขาดนักท่องเที่ยวต่างชาติ

โดยในปีที่ผ่านมารายได้จากนักท่องเที่ยวไทยคิดเป็นเพียง 1 ใน 3 ของรายได้จากนักท่องเที่ยวในประเทศทั้งหมด ส่งผลให้รายได้ของโรงแรมลดลงและหลายโรงแรมต้องปิดตัวไป โดยปัจจุบันโรงแรมกว่า 40% ของโรงแรมทั้งหมดยังคงปิดบริการชั่วคราวอยู่ 

ข้อมูลจากการขอใช้สิทธิ์เราเที่ยวด้วยกัน ยังแสดงให้เห็นความแตกต่างของการฟื้นตัวในกลุ่มโรงแรมที่พักด้วยกันเอง โดยคนใช้สิทธิ์จองที่พักมีราคาเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 2,900 บาทต่อคืน หรือกล่าวได้ว่าโรงแรมที่ได้รับประโยชน์จากมาตรการส่วนใหญ่เป็นกลุ่มโรงแรมระดับ 3 ดาวขึ้นไป

ขนส่ง-ค้าปลีก เริ่มฟื้นครึ่งปีหลัง 

ธุรกิจแต่ละประเภทได้รับผลกระทบแตกต่างกันจากการหดตัวของนักท่องเที่ยว เมื่อย้อนดูข้อมูล GDP ไตรมาส 2 ปี 2020 ที่หดตัว 12.2% มากที่สุดตั้งแต่วิกฤตต้มยำกุ้งปี 1997 และเมื่อมองในระดับธุรกิจเราจะเห็นผลกระทบที่ต่างกันไป โดยธุรกิจที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด ได้เเก่

  • ธุรกิจที่พักอาศัยและอาหาร -50.2%
  • การเดินทาง -38.9%
  • การผลิต -14.4%
  • ค้าปลีก -9.8%

ส่วนธุรกิจที่ยังพอขยายตัวได้ คือ การก่อสร้าง +7.3% บริการทางการเงิน +1.7% และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร +1.6%

นอกจากนี้ ผลกระทบจากการปิดเมือง เป็นอีกหนึ่งเหตุผลสำคัญที่ทำให้ธุรกิจหดตัวลงในช่วงไตรมาส 2 โดยผลกระทบที่ใหญ่ที่สุดเกิดขึ้นใน ธุรกิจการเดินทางและการขนส่ง การค้าปลีก และที่พักและอาหาร ซึ่งผลจากการปิดเมืองทำให้รายได้ของธุรกิจกลุ่มนี้หายไปประมาณ 10% 

อย่างไรก็ดี ในช่วงไตรมาส 3 และ ไตรมาส 4 ของปีนี้ธุรกิจในกลุ่มนี้อาจปรับตัวดีขึ้นบ้างหลังการเปิดเมือง แต่ยังคงอยู่ในแดนติดลบจากนักท่องเที่ยวที่ยังไม่กลับมาเป็นปกติ

“ในปี 2021 การฟื้นตัวจะแตกต่างกันในแต่ละธุรกิจ จากการฟื้นตัวของอุปสงค์ในแต่ละกลุ่มที่ไม่พร้อมกัน กลุ่มธุรกิจที่พึ่งพานักท่องเที่ยวสูงจะยังไม่สามารถฟื้นตัวได้มากนัก ขณะที่กลุ่มที่พึ่งพาการบริโภคในประเทศและการส่งออกเป็นหลัก เช่น การค้าปลีก ค้าส่ง เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และภาคการผลิต จะสามารถกลับมาขยายตัวได้บ้างตามการฟื้นตัวของการบริโภค ในขณะที่ภาคการก่อสร้างอาจฟื้นตัวจากโครงการลงทุนของภาครัฐ”

แม้ตัวเลขเศรษฐกิจน่าจะผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว เศรษฐกิจในประเทศค่อย ๆ ฟื้นตัว แต่ยังมีความท้าทายจากอีก 3 ปัจจัยสำคัญ ดังนี้

ธุรกิจขนาดกลาง-เล็ก เสี่ยงเลิกกิจการ 

หากสถานการณ์การปิดประเทศยังคงลากยาว แต่ผลกระทบต่อฐานะทางการเงินของธุรกิจอาจเลวร้ายลง โดยเฉพาะในกลุ่มที่มีการพึ่งพาการท่องเที่ยวเป็นหลัก โรงแรมจะยังประสบปัญหาอัตราการเข้าพักที่ยังไม่กลับมาจนถึงระดับที่คุ้มทุนในการดำเนินกิจการ

เมื่อดูตัวเลขกำไรจากการดำเนินงานในรูปเงินสด (EBITDA) ของบริษัทในกลุ่มโรงแรมที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) พบว่ากระแสเงินสดเปลี่ยนจากตัวเลขบวก เป็นติดลบในไตรมาส 2 ของปีนี้ ซึ่งจะกระทบต่อความสามารถในการดำเนินธุรกิจและการชำระหนี้ของบริษัท

“สถานการณ์มีแนวโน้มจะรุนแรงมากกว่า สำหรับโรงแรมขนาดกลางและขนาดเล็กที่ไม่ได้อยู่ในตลาดหลักทรัพย์” 

นอกจากนี้ ธุรกิจอีกหลายกลุ่มยังมีความเสี่ยงที่ผิดนัดชำระหนี้เพิ่มขึ้นในช่วงที่ผ่านมา เเละหากเศรษฐกิจยังฟื้นตัวอย่างเปราะบาง ธุรกิจยังคงมีกระแสเงินสดที่ติดลบต่อเนื่อง อาจทำให้ธุรกิจต้องปิดกิจการซึ่งจะเป็นความเสี่ยงที่สำคัญต่อการจ้างงานในระยะต่อไป

“ว่างงาน” อาจรุนแรงขึ้นอีก

ความเสี่ยงด้านกระแสเงินสดอาจส่งผลต่อเนื่องมายังการจ้างงาน แม้ว่าตัวเลขเศรษฐกิจจะปรับตัวดีขึ้นบ้างจากการผ่อนคลายการปิดเมือง แต่เรายังคาดว่าผลที่จะเกิดขึ้นกับการจ้างงานยังไม่ถึงจุดต่ำสุด จากความเสี่ยงในการเลิกกิจการในธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวที่จะยิ่งสูงขึ้นหากสถานการณ์ลากยาวต่อไป

ตัวเลขชั่วโมงการทำงานในเดือนมิถุนายนปรับตัวลดลงถึง 12% เมื่อเทียบกับปีก่อนและหดตัวลงในแทบทุกกลุ่มอาชีพ สะท้อนให้เห็นว่าลำพังเฉพาะตัวเลขสำรวจการจ้างงานในไตรมาส 2 ที่ระบุว่ามีการว่างงานประมาณ 7 แสนคน หรือ 1.9% อาจไม่ใช่ปัจจัยที่สะท้อนสถานการณ์ในตลาดแรงงานได้ทั้งหมด

หากนับรวมกลุ่มคนที่ถูกพักงานไม่ได้รับเงินเดือน หรือคนที่ถูกลดจำนวนชั่วโมงทำงานลง จะทำให้ตัวเลขนี้รวมกับคนว่างงานในปัจจุบันสูงถึงกว่า 3 ล้านคน KKP Research คาดว่าจำนวนการว่างงานอาจสูงถึง 5 ล้านคน หรือมากกว่านั้นได้หากเศรษฐกิจเข้าสู่กรณีเลวร้ายที่นักท่องเที่ยวไม่สามารถกลับมาได้ในปีหน้า

ปัญหาการขาดรายได้และการว่างงานเป็นวงกว้างเช่นนี้ไม่เพียงแต่จะกระทบต่อชีวิตผู้คน ซ้ำเติมปัญหาหนี้ครัวเรือนและปัญหาทางสังคมอื่นๆ เท่านั้น แต่ยังส่งผลทางอ้อมต่อเศรษฐกิจอีกรอบหนึ่งอีกด้วยผ่านการชะลอลงของการบริโภค โดยเฉพาะการบริโภคในกลุ่มสินค้าคงทน เช่น บ้าน รถยนต์ ซึ่งคิดเป็นประมาณ 18% ของการบริโภคทั้งหมด ทำให้การบริโภคในปี 2021 อาจฟื้นตัวช้ากว่าที่คาดได้

พักชำระหนี้…กำลังจะหมดลง

หลังจากที่มีการระบาดของ COVID-19 ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ออกมาตรการช่วยเหลือภาคธุรกิจผ่านธนาคารพาณิชย์ในหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็นการลดอัตราดอกเบี้ย การพักและเลื่อนการชำระหนี้ออกไป 3-6 เดือน การเพิ่มระยะเวลาในการคืนหนี้ ซึ่งแตกต่างกันไปตามประเภทของหนี้และสถาบันการเงิน

“จำนวนลูกหนี้ที่เข้าร่วมมาตรการพักชำระหนี้ของธนาคารแห่งประเทศไทย ณ เดือนกรกฎาคม โดยรวมมีถึง 12.5 ล้านบัญชี รวมมูลค่า 7.2 ล้านล้านบาท ซึ่งคิดเป็นประมาณ 1 ใน 3 ของหนี้ทั้งระบบ” 

เมื่อธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ประกาศว่าหลังจากเดือนตุลาคมเป็นต้นไปจะไม่มีการต่อโครงการพักชำระหนี้แบบทั่วไปเช่นในปัจจุบันอีก เพื่อป้องกันปัญหาการเข้าร่วมโครงการทั้งที่อาจจะไม่ได้รับผลกระทบจริง (Moral Hazard) และป้องกันความเคยชินจากการไม่จ่ายหนี้ของลูกหนี้ ธนาคารแต่ละแห่งอาจจะต้องปรับโครงสร้างหนี้กับลูกค้าเป็นราย ๆ ไป ทำให้เรายังต้องจับตาดูว่าหลังจากนี้จะมีลูกหนี้สัดส่วนมากน้อยเพียงใดที่จะไม่สามารถกลับมาจ่ายหนี้ได้ และหนี้จำนวนมากแค่ไหนที่จะกลายเป็นหนี้เสีย (NPL)

สถานการณ์ที่ยังมีความไม่แน่นอนสูงจะทำให้ธนาคารไม่ปล่อยกู้เพิ่มเติม จะเป็นอีกหนึ่งสาเหตุสำคัญที่จะกดดันการบริโภคสินค้าคงทน เช่น บ้าน รถยนต์ รวมถึงการลงทุนที่ต้องพึ่งพาการกู้ยืมเงินจากธนาคาร

เศรษฐกิจยังอ่อนเเอ เเนะรัฐออก “มาตรการเพิ่มเติม” 

จากมุมมองต่อเศรษฐกิจในระยะข้างหน้าที่ยังอ่อนแอและมีความไม่แน่นอนสูง ภาครัฐยังจำเป็นต้องมีมาตรการเพิ่มเติมเพื่อช่วยประคับประคองเศรษฐกิจให้เดินหน้าและรองรับแรงงานที่ตกงานจำนวนมหาศาล แม้ว่ารัฐบาลจะมีการออกชุดมาตรการในการกระตุ้นเศรษฐกิจมาแล้วในจำนวน 1 ล้านล้านบาท (6% ของ GDP) แต่การใช้จริงยังทำได้น้อยมาก

“ในจำนวน 6 แสนล้านบาทที่เป็นมาตรการเยียวยามีการใช้เงินไปเพียง 390,000 ล้านบาท ผ่านโครงการแจกเงิน 5,000 บาทให้กับชาวนาและแรงงานนอกระบบจำนวน 24 ล้านคน และที่เหลืออีก 4 แสนล้านบาทที่จะใช้เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ ก็มีเพียง 42,000 ล้านบาทที่ใช้ไปเพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายและการท่องเที่ยวในประเทศ” 

KKP Research ประเมินว่า รัฐยังมีความสารถในการทำนโยบายการคลังเพิ่มเติมหลังจากนี้ แม้ว่าจะมีความกังวลมากขึ้นเกี่ยวกับหนี้สาธารณะที่มีแนวโน้มจะแตะระดับ 60% ซึ่งเป็นเพดานตามกฎหมายในปัจจุบัน แต่จากต้นทุนในการกู้ยืมเงินของรัฐที่ต่ำลงมากเมื่อเทียบกับอดีต (อัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรรัฐบาล 10 ปี อยู่ที่ 1.5% เทียบกับ 3.5% ในช่วง 6-7 ปีที่ผ่านมา) ทำให้ประเมินว่าประเด็นเรื่องความสามารถในการจ่ายหนี้และความมั่นคงทางการคลังจะไม่เป็นปัญหามากนักบนเงื่อนไข 3 ข้อ ได้เเก่

(1) หนี้ที่กู้ยืมมาต้องถูกใช้ไปอย่างเหมาะสมเพื่อสร้างการเติบโตของ GDP ในอนาคต

(2) ตลาดยังมีความเชื่อมั่นในความมั่นคงทางการคลังและอัตราดอกเบี้ยยังอยู่ในระดับต่ำต่อเนื่อง

(3) รัฐมีการวางแผนในการลดการขาดดุลการคลังในอนาคตที่ชัดเจนเช่นการปฏิรูปภาครัฐเพื่อลดรายจ่าย และเพิ่มรายได้ภาครัฐในอนาคต

“ภายใต้สถานการณ์ที่มีความไม่แน่นอนสูงเช่นนี้รัฐจำเป็นต้องเร่งออกมาตรการอื่น ๆ เพิ่มเติม และคิดถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตเพื่อเตรียมเครื่องมือให้พร้อมหากสถานการณ์ไม่ได้เป็นไปตามคาด”

 

อ่านบทวิเคราะห์ฉบับเต็ม (ที่นี่)

 

]]>
1298164
เร่งเครื่อง “สินเชื่อบุคคล” โตหลังวิกฤต KTC ลุยบัตรกดเงินสด เสริมรายได้เเทนดอกเบี้ยลด https://positioningmag.com/1293308 Wed, 19 Aug 2020 10:25:35 +0000 https://positioningmag.com/?p=1293308 ในปี 2563 แม้เศรษฐกิจจะชะลอตัวจาก COVID-19 ส่งผลกระทบต่อประชาชนให้ระมัดระวังการใช้จ่าย ต้องประหยัด เเละเน้นเก็บเงินไว้เป็นสภาพคล่องมากขึ้น 

หลังมาตรการคลายล็อกดาวน์ ผู้คนเริ่มกลับมาใช้ชีวิตตามปกติ ห้างร้านเเละภาคธุรกิจ ทยอยกลับมาให้บริการอีกครั้ง มีเเววจะเห็นสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งปีหลัง จากความหวังว่าได้ผ่านจุดต่ำสุดในไตรมาส 2 มาเเล้ว เป็นอีกหนึ่งโอกาสของกลุ่มธุรกิจ Non-Bank ที่จะเร่งเครื่องธุรกิจ “สินเชื่อบุคคล” มากขึ้น

ช่วงเดือนเม.. ถึงพ..ที่ผ่านมา เราได้เห็นสัญญาณการผิดนัดชำระหนี้สินเชื่อส่วนบุคคลเพิ่มสูงขึ้น จนในเดือนมิ..ถึงเดือนก.. ตัวเลขการผิดนัดชำระกลับมาสู่ระดับปกติแล้วพิชามน จิตรเป็นธรรม ผู้ช่วยประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธุรกิจสินเชื่อบุคคล บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด หรือ KTC กล่าว

ในช่วงที่วิกฤต COVID-19 ทวีความรุนเเรงขึ้น KTC ได้ออกมาตรการช่วยเหลือลูกค้า เช่น การลดขั้นต่ำการผ่อนชำระ ลดอัตราดอกเบี้ย เป็นต้น ขณะที่การปรับลดเพดานดอกเบี้ยของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่กำหนดให้สินเชื่อบัตรเครดิตที่ลดจาก 18% เหลือ 16% สินเชื่อบุคคลลดจาก 28% เหลือ 25% ส่งผลกระทบต่อรายได้ธุรกิจ Non-Bank โดยตรง

โดย KTC ประเมินว่า การปรับเพดานดอกเบี้ยดังกล่าว จะทำให้รายได้ดอกเบี้ยหายไปราว 100 ล้านบาทต่อเดือน ซึ่งจะต้องเข้มงวดในการอนุมัติสินเชื่อมากขึ้น อย่างการควบคุมความเสี่ยงเเละปรับเกณฑ์ด้านสายงานลูกค้าในการพิจารณาสินเชื่อ เช่น สายงานลูกค้าที่ได้รับผลกระทบโดยตรง อย่างสายการบิน โรงแรม ทัวร์เเละการท่องเที่ยว

ปัจจุบันยอดปฏิเสธบัตรใหม่เพิ่มขึ้นเป็น 75% จากช่วงก่อน COVID-19 จะอยู่ที่ราว 70%”

ผู้บริหาร KTC มองว่า เเม้ช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา เเม้สถานการณ์เริ่มปรับตัวดีขึ้น แต่ก็ยังมีความเสี่ยง เพราะถ้าเศรษฐกิจยังฟื้นตัวช้า อย่างไรผู้คนก็จะระมัดระวังการใช้จ่ายและรักษาสภาพคล่องเงินสดมากขึ้น อีกทั้งต้องรอดูว่าภาครัฐทุ่มงบประมาณเพื่ออัดฉีดเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นหรือไม่ ดังนั้นภาพรวมในช่วงต่อไปจึงต้องมีการประเมินอีกที

ทั้งนี้ ณ วันที่ 30 มิ.. 2563 ทาง KTC มีโครงสร้างลูกหนี้ เเบ่งเป็นบัตรเครดิต 63.8% เเละสินเชื่อส่วนบุคคล 36.2% เงินให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้สินเชื่อบุคคลและดอกเบี้ยค้างรับรวม (ยอดลูกหนี้สินเชื่อส่วนบุคคล) อยู่ที่ 30,244 ล้านบาท ส่วนหนี้เสีย (NPL) ในหมวดของสินเชื่อบุคคลที่ถูกคำนวณตามมาตรฐานใหม่ TFRS9 อยู่ที่ 8.5% ต่างจากในมาตรฐานเดิม ณ ปี 2562 NPL อยู่ที่ 0.8% เท่านั้น 

ด้วยสภาพเศรษฐกิจในยามนี้ เราจึงจะได้เห็นบรรดาบัตรเครดิต มีการออกแคมเปญ “ผ่อน 0%” กันมากขึ้น เพื่อกระตุ้นการใช้จ่าย โดยเฉพาะในสินค้าที่มีวงเงินค่อนข้างสูง เช่น โรงพยาบาล ความงาม และรถยนต์ นับเป็นกลยุทธ์ในการแข่งขันของธุรกิจบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลในช่วงนี้

ตั้งแต่ช่วงมาตรการล็อกดาวน์จนถึงปัจจุบัน พบว่ายอดการกดเงินลดลงประมาณ 1-2% จากการระมัดระวังการใช้จ่ายของลูกค้า เเละปกติมียอดใช้จ่ายเฉลี่ยทั้งหมดคนละ 1 หมื่นบาทต่อเดือน

ด้านการกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจช่วงครึ่งปีหลังของ KTC จะมุ่งไปที่การทำให้รายได้ดอกเบี้ยที่ลดลงสามารถทยอยกลับคืนมาได้ ซึ่งมีกลยุทธ์หลักๆ อย่างการขายบริการสู่ธุรกิจสินเชื่อมีหลักประกัน เช่น สินเชื่อจำนำทะเบียนรถพี่เบิ้ม” เเละล่าสุดกับการเปิดตัวบัตรกดเงินสด KTC PROUD-UNIONPAY โดยตั้งเป้าผู้ใช้ถึงแสนใบ ภายในสิ้นปีนี้

โดย KTC PROUD-UNIONPAY จะมี 4 ฟังก์ชันหลัก กดโอนรูดผ่อน ซึ่งในเดือนก..นี้ จะสามารถโอนเงินเข้าบัญชีทุกธนาคารแบบเรียลไทม์ผ่านแอปฯ KTC Mobile ได้ทันที ขณะที่กลุ่มลูกค้าหลักที่ต้องการจะเจาะยังเป็นกลุ่มมนุษย์เงินเดือนที่มีรับฐานเงินเดือนตั้งเเต่ 12,000 บาทในส่วนของผู้ที่มีรายได้ประจำ แต่หากเป็นเจ้าของธุรกิจเริ่ม 20,000 บาทต่อเดือน

เราหันมาขยายฐานบัตรสินเชื่อกดเงินสด เพราะสามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าในสถานการณ์เศรษฐกิจเช่นนี้ได้มากกว่า

โดยในปีนี้ KTC ตั้งเป้าสินเชื่อใหม่ว่าจะเติบโตราว 10% และคาดว่าจะมีสมาชิกมีบัตรใหม่เพิ่มขึ้น 1.6-1.8 แสนคน จากปัจจุบันที่มีอยู่ราว 891,875 บัญชี และมีส่วนแบ่งทางการตลาด 5.4% ของสินเชื่อส่วนบุคคลทั้งตลาด

 

]]>
1293308
มาตรฐานบัญชี TFRS9 ใช้จริงเเล้ว…มีอะไรเปลี่ยนแปลงบ้าง ? https://positioningmag.com/1268897 Fri, 20 Mar 2020 14:00:06 +0000 https://positioningmag.com/?p=1268897 มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 9 หรือ Thai Financial Reporting Standards : TFRS 9  เริ่มบังคับใช้เเล้ว เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2563 ที่ผ่านมา หลังเตรียมการมาตั้งเเต่ปี 2558 ก่อนหน้านี้หลายคนคิดว่าการนำ TFRS 9 มาใช้จะส่งผลกระทบต่อฐานะทางการเงิน ผลการดำเนินงาน และระบบสถาบันการเงินเป็นอย่างมาก 

ตอนนี้นับเป็นเวลากว่า 3 เดือนเเล้ว หลังการบังคับใช้ TFRS 9 อย่างเป็นทางการ การรับมือของสถาบันการเงินไทย ความเปลี่ยนแปลง ความเสี่ยงและผลกระทบที่เกี่ยวข้อง…เป็นอย่างไรกันบ้าง

รู้จัก TFRS 9 

ดร.ศุภมิตร เตชะมนตรีกุล หุ้นส่วนสำนักงานด้านการสอบบัญชี บริษัท ดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ ไชยยศ สอบบัญชี จำกัด อธิบายถึง TFRS 9 ว่ามาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 9 คือเครื่องมือทางการเงินที่ใช้ลงบัญชีของกิจการที่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (PAEs: Publicly Accountable Entities) ได้แก่ บริษัทมหาชน กิจการที่ต้องระดมเงินในวงกว้างโดยการออกตราสารหนี้ ตราสาร ทุน หรือเอกสารแสดงสิทธิ เช่น สถาบันการเงิน บริษัทหลักทรัพย์และกองทุนรวม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต รวมถึงกิจการที่กำลังขอจดทะเบียนออกตราสารในตลาดหลักทรัพย์ ส่วนบริษัททั่วไป หรือธุรกิจ SMEs ไม่ต้องใช้มาตรฐานกลุ่มนี้ 

มาตรฐาน TFRS9 ได้ปรับเปลี่ยนหลักการเกี่ยวกับการจัดประเภทและการวัดมูลค่าของเครื่องมือทางการเงิน และการด้อยค่าของเครื่องมือทางการเงิน มีส่วนที่สำคัญคือ การกันเงินสำรองเพื่อรองรับผลเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นจากสินทรัพย์และภาระผูกพัน เช่น เงินให้สินเชื่อ เงินลงทุนในตราสารหนี้ สัญญาค้ำประกันทางการเงิน วงเงินที่ยังไม่ได้เบิกใช้ จากแนวคิดเดิมที่กันเงินสำรองจากความเสียหายที่เกิดขึ้นแล้ว (Incurred Loss) มาเป็นการกันสำรองเพื่อรองรับความเสียหายที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต (Expected Loss: EL) เพื่อให้เงินสำรองสะท้อนความเสี่ยงด้านเครดิตตลอดอายุของลูกหนี้ 

โดยกำหนดให้พิจารณาจากข้อมูลทั้งในอดีต ปัจจุบัน และเหตุการณ์ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต (Forward-looking Information)  พิจารณากันเงินสำรองต่างกันตามสถานะหรือชั้น (Stage) ของลูกหนี้

สำหรับสถานะหรือชั้นของลูกหนี้ ตาม TFRS9 เเบ่งได้ ดังนี้ 

ลูกหนี้ Stage 1 กลุ่มที่มีความเสี่ยงด้านเครดิตไม่เปลี่ยนแปลงจากวันแรกของการให้สินเชื่อ ให้กันเงินสำรองเพื่อรองรับความเสียหายที่คาดว่าจะเกิดขึ้นภายใน 1 ปีข้างหน้า (1-year EL)

ลูกหนี้ Stage 2 กลุ่มที่มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

ลูกหนี้ Stage 3 กลุ่มหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Non-performing loan: NPL) ให้กันเงินสำรองรองรับความเสียหายที่คาดว่าจะเกิดขึ้นตลอดอายุของลูกหนี้ (Lifetime EL) ทำให้สถาบันการเงินรับรู้เงินสำรองเร็วขึ้นตามสถานะของลูกหนี้ที่เปลี่ยนแปลงไปและงบการเงินสะท้อนฐานะที่แท้จริงอย่างเป็นปัจจุบัน

ดร.ศุภมิตร กล่าวว่า งบการเงินจะเปลี่ยนแปลงการแสดงรายการแบบใหม่ ตามแนวทางการจัดประเภทและการวัดมูลค่าที่เปลี่ยนแปลง จะเพิ่มบางรายการ เช่น สินทรัพย์ หนี้สินทางการเงินที่วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกำไรขาดทุน (Fair value through PL: FVTPL) และงบกำไรขาดทุนจะมีการเปลี่ยนแปลงบางรายการ เช่น กำไร (ขาดทุน) จากการวัดมูลค่าเครื่องมือทางการเงินประเภทต่างๆ ผ่านกำไรขาดทุน (FVTPL) หรือกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น (Fair Value through Other Comprehensive Income: FVOCI) และผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น

“การเปลี่ยนแปลงนี้ จะช่วยให้ผู้ใช้งบการเงินทราบถึงรูปแบบการประกอบธุรกิจ และวัตถุประสงค์ในการถือครองสินทรัพย์ของกิจการ หากมีวัตถุประสงค์ในการถือครองสินทรัพย์เพื่อมุ่งหวังกำไรระยะสั้น จะรับรู้กำไรหรือขาดทุนจากการเปลี่ยนแปลงมูลค่าเข้างบกำไรขาดทุน (FVTPL) แต่หากถือเพื่อมุ่งหวังกระแสเงินสดและขายในอนาคต จะรับรู้กำไรหรือขาดทุนจากการเปลี่ยนแปลงมูลค่าเข้างบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น (FVOCI) แต่หากถือเพื่อมุ่งหวังเพียงกระแสเงินสดตามสัญญา จะวัดมูลค่าด้วยวิธีราคาทุนตัดจำหน่ายและมีการกันสำรอง” 

ทั้งนี้ อัตราส่วนทางการเงินบางรายการก็จะมีการเปลี่ยนแปลงเช่นกัน เช่น เงินให้สินเชื่อใน Stage 2 ratio อาจมากกว่า Special Mention (SM) ratio เดิม เนื่องจากขอบเขตการนับลูกหนี้ที่กว้างกว่า ในขณะที่ Net Interest Margin (NIM) อาจกว้างขึ้นแต่ไม่มาก เนื่องจากการรับรู้รายได้ดอกเบี้ยจากส่วนที่คาดว่าจะได้รับคืนของลูกหนี้ NPL

KTC ใช้ TSRF9 ตั้งสำรองลด รายได้ดอกเบี้ยเพิ่ม

ด้าน ชุติเดช ชยุติ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารอาวุโส – คอร์ปอเรท ไฟแนนซ์ บริษัท บัตรกรุงไทย (KTC) ให้ความเห็นว่า ตามที่บริษัทได้นำมาตรฐานบัญชีใหม่ TFRS9 มาใช้สำหรับงบการเงินของ KTC ที่มีรอบระยะบัญชีตั้งเเต่วันที่ 1 ม.ค. เป็นต้นมา นั้น “จะเป็นการเปลี่ยนแปลงในการรายงานตัวเลขทางการเงินมากกว่าที่จะเป็นผลกระทบต่อการปฏิบัติงานจริง”

ชุติเดช ชยุติ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารอาวุโส – คอร์ปอเรท ไฟแนนซ์ บริษัท บัตรกรุงไทย (KTC)

โดยสิ่งที่เปลี่ยนแปลงมากที่สุดจะมาจากแนวทางการตัดหนี้สูญที่เข้มข้นกว่ามาตรฐานเดิม ส่วนใหญ่แล้วจะกระทบต่อตัวเลขสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) จากการเปลี่ยนแปลงการตัดหนี้สูญ (Write off) ที่จะมีจำนวนลดลงกว่าเดิมมาก จึงทำให้มีจำนวน NPL เพิ่มขึ้น 

คาดว่า NPL ตามมาตรฐานทางบัญชีใหม่ ณ สิ้นปีนี้จะอยู่ที่ 7-9% จากปัจจุบันที่ประมาณ 1.06% โดยตอนนี้ KTC เรียกเก็บหนี้ได้แล้ว 400-500 ล้านบาท จากปีก่อนมีการ Write-off จำนวน 6,000 ล้านบาท

“TFRS9 จะทำให้ค่าใช้จ่ายในการตั้งสำรองลดลง การตัดจำหน่ายหนี้สูญที่ช้าลงกว่าเดิม และการรับรู้รายได้ดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น ส่งผลดีต่อกำไรปีนี้”

ด้วยตามมาตรฐานบัญชีใหม่นี้ KTCจะไม่ต้องตั้งสำรองเต็ม 100% สำหรับหนี้ Stage 3 เหมือนเดิม ดังนั้นค่าใช้จ่ายในการตั้งสำรองจึงลดลง ส่งผลดีต่อผลการดำเนินงานของบริษัท ส่วนในกรณีที่ NPLเพิ่มขึ้น การตั้งสำรองส่วนเกินที่มีอยู่ก็สามารถรองรับได้

ผู้บริหาร KTC สรุปว่ารายงานตัวเลขทางการเงินตาม TFRS9 จะแตกต่างไปจากเดิม ดังนี้ 

  • การเปลี่ยนแปลงการตัดหนี้สูญ (Write off) กับการบันทึกหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) หรือลูกหนี้ที่ผิดนัดชำระเกินกว่า 90 วัน 

การตัดหนี้สูญจะทำได้ช้าลง เนื่องจากหนี้สูญที่ตัดออกเพื่อการใช้สิทธิทางภาษี จะยังไม่ถูกตัดออกจากรายงานจนกว่าจะพิสูจน์ได้ว่าไม่สามารถเรียกเก็บหนี้ได้อีกต่อไป ดังนั้นหนี้ NPL บนมาตรฐานใหม่ TFRS9 จะเทียบเคียงได้กับ Write off + NPL ตามมาตรฐานเดิม เช่น เดิมบริษัท A ตัดหนี้สูญปีละประมาณ 7-8% คงเหลือ NPL ประมาณ 1% แต่ภายใต้ TFRS9 จะรายงานประมาณ 8-9% ทำให้เห็นว่าตัวเลข NPL ตามมาตรฐานใหม่ดูสูงขึ้น

  • การเปลี่ยนแปลงการบันทึก NPL กับตัวชี้วัดสำคัญทางการเงิน

ด้วย NPL ที่รายงานภายใต้ TFRS9 มีจำนวนเพิ่มขึ้น ทำให้อัตราส่วนที่เกี่ยวข้องมีการเปลี่ยนแปลงไปด้วย เช่น ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญต่อลูกหนี้รวม (Allowance/Port) ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญต่อลูกหนี้ที่อายุเกิน 90 วัน (NPL Coverage)  เช่น ภายใต้มาตรฐานใหม่อัตราส่วนของ Allowance/Port ตามตัวเลขฐานใหม่อาจจะอยู่ประมาณ 9%-11% และ NPL Coverage อาจจะเป็นประมาณ 100%-200% ทั้งนี้ เมื่อมีการนำ TFRS9 มาใช้เต็มรูปแบบ จะทำให้สามารถประมาณการอัตราส่วนดังกล่าวได้ชัดเจนขึ้น 

  • การเปลี่ยนแปลงการบันทึกรายได้

ภายใต้มาตรฐานใหม่ TFRS9 ที่กำหนดให้บริษัทยังคงต้องรับรู้รายได้ดอกเบี้ยจาก NPL ไปจนกว่า NPL ดังกล่าวจะถูกตัดเป็นหนี้สูญ แม้ว่าจะอยู่ใน Stage 3 แล้วก็ตาม

  • การบันทึกกำไรทางบัญชีเพิ่มขึ้น

มาตรฐาน TFRS9 กำหนดให้บริษัทต้องตั้งสำรองสำหรับ NPL ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย ตามจำนวนที่ได้จากการคำนวณตาม ECL Model (Expected Credit Loss Model) ซึ่งจะไม่ใช่การตั้งสำรองเต็ม 100% เหมือนเดิม และด้วยมาตรฐาน TFRS9 ที่กำหนดไว้ ในกรณีที่มีส่วนต่างของรายได้ดอกเบี้ยและสำรองในส่วนของดอกเบี้ยที่น้อยกว่า 100% ให้รับรู้ผลต่างนั้นในงบกำไรขาดทุนด้วย ซึ่งมีผลให้กำไรทางบัญชีเพิ่มขึ้น

KTC มั่นใจยอดใช้จ่ายผ่านบัตรตามเป้า 15% เตรียมออกหุ้นกู้ครึ่งปีหลัง 

ชุติเดช เปิดเผยว่า ในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา ทั้งยอดใช้จ่ายผ่านบัตร ยอดสินเชื่อ และบัตรใหม่ถือว่ายังเป็นไปตามเป้าหมายเดิมที่ตั้งไว้ เเต่ยังต้องติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจใกล้ชิด  โดย KTC ตั้งเป้ายอดใช้จ่ายผ่านบัตรปีนี้เติบโตไว้ที่ 15% สินเชื่อบุคคลเติบโต 10% หรือประมาณ 200,000 ล้านบาท และยอดบัตรใหม่ 300,000 บัตร 

“กลุ่มลูกค้าที่มีรายได้สูงเเละพนักงานออฟฟิศซึ่งเป็นกลุ่มหลักของ KTC ยังมีการจับจ่ายใช้สอยกัน และลูกค้าในกลุ่มอื่นๆ มีความต้องการใช้เงินเพิ่มขึ้นในภาวะที่เศรษฐกิจชะลอตัว ทำให้มีการรูดบัตรใช้จ่ายไปก่อน ส่งผลให้ยอดใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตตอนนี้ยังเติบโต”

ขณะเดียวกันในช่วงภาวะเศรษฐกิจยังมีความเสี่ยง KTC ได้มีการเพิ่มการบริหารจัดการคุณภาพของพอร์ต์สินเชื่อให้มีคุณภาพเเละเข้มงดการปลอยสินเชื่อมากขึ้น 

“นับตั้งเเต่ช่วงต้นปี ราว 2 เดือนที่ผ่านมา อัตราการอนุมัติบัตรเครดิตยังทรงตัวจากปีก่อนที่ 49% และอัตราการอนุมัติสินเชื่อส่วนบุคคลอยู่ที่ 29% ซึ่งในปีนี้บริษัทยังคงมั่นใจว่าพอร์ตสินเชื่อจะเป็นไปตามเป้า”

สำหรับการออกหุ้นกู้ในช่วงครึ่งปีหลัง ต้องดูสถานการณ์อัตราดอกเบี้ย นโยบายจากคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ก่อน  โดยน่าจะอยู่ในระดับประมาณ 5-6 พันล้านบาท จากในช่วงเดือนสิงหาคมที่จะมีหุ้นกู้ครบกำหนดประมาณ 7,000 ล้านบาท

ทั้งนี้ KTC มีผลประกอบการ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 มีกำไรสุทธิ 5,524 ล้านบาท พอร์ตลูกหนี้การค้ารวมเท่ากับ 85,834 ล้านบาท ฐานสมาชิกรวม 3.4 ล้านบัญชี แบ่งเป็นธุรกิจบัตรเครดิต 2,510,914 บัตร พอร์ตลูกหนี้บัตรเครดิตรวม 56,653 ล้านบาท NPL รวม 1.06% NPL บัตรเครดิตอยู่ที่ 0.93% ธุรกิจสินเชื่อบุคคลมีจำนวนทั้งสิ้น 888,342 บัญชี ยอดลูกหนี้สินเชื่อบุคคลรวม 28,933 ล้านบาท NPL ของสินเชื่อบุคคลอยู่ที่ 0.92%

 

]]>
1268897
“กรุงศรีเฟิร์สช้อยส์” รีแบรนด์ใหญ่รอบ 11 ปี เอาใจขาช้อป Gen Y งัดกลยุทธ์สกัด “หนี้เสีย” พุ่ง https://positioningmag.com/1266928 Thu, 05 Mar 2020 15:15:01 +0000 https://positioningmag.com/?p=1266928 กรุงศรีเฟิร์สช้อยส์ ปรับโฉมใหม่ในรอบทศวรรษ เอาใจ Gen Y – Z งัดกลยุทธ์ดึง DSR 70% กรองลูกค้าใหม่ พักหนี้ช่วยลูกค้าเก่า รับผลกระทบเศรษฐกิจชะลอตัว หวั่นหนี้เสียพุ่งต่อเนื่อง ด้านไวรัส Covid-19 ทำยอดใช้จ่ายผ่านบัตร 2 เดือนเเรกต่ำกว่าเป้า ส่งสัญญาณลูกค้าเริ่มผ่อนชำระหนี้ล่าช้า หวังขยายตลาดใหม่เจาะกลุ่มช่างอิสระ เตรียมลงทุนในฟิลิปปินส์ 

พลิกโฉมแบรนด์-สาขาในรอบ 11 ปี ห่วงคนรุ่นใหม่หนี้ล้น

ในครั้งนี้ถือเป็นการรีแบรนด์ครั้งใหญ่ มีการปรับโลโก้ และการสื่อสารใหม่ให้ทันสมัยขึ้น ภายใต้แนวคิด “จุดเริ่มต้น คนมีเครดิต” เพื่อเติมความสดใสให้แบรนด์ดูทันสมัย สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ โดยที่กรุงศรีเฟิร์สช้อยส์ได้ทำตลาดมามากกว่า 20 ปี เคยมีการปรับโฉมใหญ่เพียง ครั้งในปี 2009 ภายใต้คอนเซปต์ ‘First Choice เติมเต็มความสุขให้ครอบครัว

เหตุผลที่เลือก “รีเเบรนดิ้ง” ในช่วงนี้ เนื่องจากสภาพปัญหาสังคมในปัจจุบัน ที่มีแนวโน้มคนไทยเริ่มเป็นหนี้ใหม่เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มวัย Gen Y ซึ่งเป็นลูกค้าส่วนใหญ่ของกรุงศรีเฟิร์สช้อยส์ ทางแบรนด์จึงตัดสินใจพลิกโฉมแบรนด์ครั้งใหญ่ในช่วงนี้

จากข้อมูลเเนวโน้มการเป็นหนี้ของคนไทย ชี้ว่าในไตรมาสที่ 3 ของปี 2562 สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ของไทยสูงถึง 79.1% และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ทั้งนี้กลุ่มที่น่ากังวล คือ กลุ่มคนรุ่นใหม่ที่มีแนวโน้มก่อหนี้สูง

โดยข้อมูลสถิติสินเชื่อบุคคลของบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด ณ สิ้นปี 2561 พบว่า แนวโน้มคนไทยเริ่มเป็นหนี้ใหม่เพิ่มมากขึ้น และอายุน้อยลงโดยเฉพาะกลุ่มคนช่วงอายุ 21 – 24 ปี เพิ่มขึ้นในอัตราเร็วกว่ากลุ่มคนในช่วงอายุอื่น

ข้อมูลนี้สอดคล้องกับข้อมูลพฤติกรรมการใช้จ่ายของกลุ่มคนรุ่นใหม่ของสมาชิกบัตรกรุงศรีเฟิร์สช้อยส์ ชี้ให้เห็นว่า ลูกค้ากลุ่มคนรุ่นใหม่ (Gen Y & Z) ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนถึง 68% มีไลฟ์สไตล์การใช้จ่ายในหมวดกิน ช้อปออนไลน์ ท่องเที่ยวค่อนข้างสูง โดยยอดใช้จ่ายผ่านบัตรในหมวดท่องเที่ยวทั้งในประเทศและต่างประเทศสูงเป็นอันดับต้น ๆ เมื่อเทียบกับหมวดใช้จ่ายอื่น

ณญาณี เผือกขำ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อยุธยา แคปปิตอล เซอร์วิสเซส จำกัด เล่าว่า

“จากประสบการณ์กว่า 20 ปีในภาคการเงินไทย เรามองเห็นความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นมากมาย โดยเฉพาะปัญหาหนี้ครัวเรือนไทยที่สูงขึ้นต่อเนื่องในกลุ่มคนรุ่นใหม่ จึงเป็นที่มาของการตัดสินใจพลิกโฉมแบรนด์ครั้งยิ่งใหญ่ในปีนี้” 

เน้นสไตล์มินิมอล ดึงดูดคนรุ่นใหม่ 

ด้าน อธิป ศิลป์พจีการ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่สายงานบริหารธุรกิจกรุงศรีเฟิร์สช้อยส์ กล่าวว่า การพลิกโฉมแบรนด์ครั้งนี้ มีคอนเซ็ปต์ “จุดเริ่มต้น คนมีเครดิต” ปรับให้ดูทันสมัยขึ้นตามไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ เเละต้องการยกระดับภาพลักษณ์ใหม่จากการเป็น “ผู้ให้บริการสินเชื่อ” ไปเป็น “ผู้ช่วยสร้างเครดิต” เพื่ออนาคตทางการเงินที่ดีของลูกค้า โดยจะมีการเปลี่ยนเเปลงเเบรนด์ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ หน้าบัตร สาขาเเละยูนิฟอร์มพนักงาน 

“การปรับชุดยูนิฟอร์ม จะเปลี่ยนจากเดิมที่ดูเป็นทางการและเข้าถึงยาก ให้ดูลำลอง ทันสมัย เข้าถึงได้ง่ายขึ้น สวมใส่สบายทั้งสำหรับพนักงานหญิงชาย ส่วนสาขากรุงศรีเฟิร์สช้อยส์ปรับให้ดูสว่าง มินิมอล ทันสมัย และดึงดูดกลุ่มลูกค้าที่เป็นคนรุ่นใหม่ โดยทั้งชุดพนักงานและสาขาเริ่มมีการทยอยปรับเปลี่ยนตั้งแต่เดือน ก.. และจะแล้วเสร็จในไตรมาสที่ ปีนี้”

ไฮไลต์สำคัญอีกอย่าง คือการจับมือกับ “ซันเต๋อ ยศนันท์ วุฒิกรสมบัติกุล” นักวาดภาพประกอบชื่อดังให้มาดีไซน์ของสมนาคุณพิเศษเพื่อลูกค้าบัตรกรุงศรีเฟิร์สช้อยส์โดยเฉพาะ

“เป็นครั้งแรกของเฟิร์สช้อยส์ที่จับมือกับนักออกแบบในการออกสินค้าพรีเมียมให้เป็นลิมิเต็ดอิดิชั่น เพื่อให้ตอบสนองต่อไลฟ์สไตล์ของกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งคุณซันเต๋อ เป็นเจ้าของลายเส้นที่มีเอกลักษณ์สะท้อนชีวิตของคนยุคนี้ โดดเด่นเรื่องความมินิมอล มีผลงานเป็นที่นิยมเเละเป็นเเรงบันดาลใจในกลุ่มคนรุ่นใหม่ จึงตอบโจทย์รสนิยมของลูกค้าของเราได้เป็นอย่างดี”  

“โลโก้รูปแบบใหม่ของกรุงศรีเฟิร์สช้อยส์ที่เป็นสัญลักษณ์บูมเมอแรงนั้น สะท้อนความเชื่อของแบรนด์ที่ว่า คนที่มีเครดิตทางการเงินที่ดีควรจะได้รับโอกาสและสิ่งดี ๆ กลับคืน”

นอกจากนี้ จะมีการออกบริการใหม่ผ่านแอปพลิเคชัน UCHOOSE เพื่อแจ้งสถานะสุขภาพทางการเงินของลูกค้า และบริการแจ้งเตือนเมื่อมีการใช้จ่ายสูง (Spending Alert) ซึ่งนับครั้งแรกที่มีในบรรดาสถาบันการเงิน หวังช่วยให้ลูกค้าระวังการใช้จ่ายของตนเองได้เเละเห็นความสำคัญของการมีสุขภาพทางการเงินที่ดี

ปรับวิธีอมุมัติสินเชื่อใหม่

ณญาณี เสริมว่า ตั้งเเต่ต้นปี 2563 เป็นต้นมา เศรษฐกิจไทยต้องเผชิญปัจจัยลบหลายด้าน ทั้งการระบาดของไวรัส Covid-19 ปัญหาฝุ่น PM2.5 ภัยเเล้งเเละภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ผู้คนใช้จ่ายน้อยลงกำลังซื้อในประเทศลด

“ฐานลูกค้าเราส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบ บริษัทจึงต้องวางกลยุทธ์เเผนธุรกิจใหม่ ทั้งการปรับภาพลักษณ์ของเเบรนด์ เข้าหาลูกค้าช่องทางอื่น เเละมีนโยบายดูแลลูกค้าไม่ให้มีการสร้างภาระค่าใช้จ่ายเกินความจำเป็น”

โดยกรุงศรีเฟิร์สช้อยส์ จะมีได้ปรับวิธีการอนุมัติสินเชื่อใหม่ (Approve) โดยเพิ่มเกณฑ์การพิจารณาตามสัดส่วนภาระหนี้ต่อรายได้ (DSR) อยู่ที่ 70% ซึ่งจะส่งผลให้ยอดอนุมัติบัตรใหม่ลดลง -10% เหลืออยู่ที่ 3.35 แสนบัญชี (ลดลงครั้งเเรกในรอบ 10 ปี) เพื่อคัดสรรลูกค้าที่มีศักยภาพเเละจะไม่ก่อเป็นหนี้เสียในอนาคต รวมถึงเป็นการลดค่าใช้จ่ายที่ใช้ในกระบวนการอนุมัติสินเชื่อด้วย

การชะลอตัวทางเศรษฐกิจ สร้างความกังวลเรื่อง “สินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้” (NPL) ที่มีเเนวโน้มจะเพิ่มขึ้น จากปัจจุบันอยู่ที่ 2.8% เพิ่มขึ้นจากปลายปีก่อน 0.14% และยังมีโอกาสที่จะเพิ่มขึ้นได้อีก จากปัจจัยลบต่างๆ

“ช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้เราเห็นแนวโน้มว่า มียอดค้างชำระสินเชื่อเพิ่มขึ้น ผลต่อเนื่องจากปีก่อนที่เศรษฐกิจที่ชะลอตัว โรงงานหรือบริษัทหลายเเห่งปิดตัวทำให้ลูกค้าได้รับผลกระทบ โดยคาดว่าจะเป็นเช่นนี้ไปถึงเดือน มี.ค. เเละ เม.ย. จากผลกระทบของ COVID-19 ด้วย”

โดยบริษัทได้ออกมาตรการช่วยเหลือทั้งการพักชำระหนี้ ลดภาระการชำระหนี้ เช่น การพักชำระหนี้ 3 เดือน และลดการผ่อนขั้นต่ำเหลือ 3% ให้ผ่านช่วงนี้ไปได้ “เราเริ่มเห็นสัญญาณว่าลูกค้าบางกลุ่มที่ทำงานในภาคท่องเที่ยว โรงเเรม เริ่มมีการผ่อนชำระลดลง ขณะที่ส่การใช้จ่ายผ่านบัตรหมวดห้างสรรพสินค้าอาจจะปรับลดลงบ้าง เเต่ยอดออนไล์ยังเหมือนเดิม”

สำหรับปี 2563 บริษัทยังตั้งเป้าหมายยอดใช้จ่ายผ่านบัตรอยู่ที่ 1.02 แสนล้านบาท คิดเป็นการเติบโตในอัตรา 11% แบ่งเป็นบัตรเครดิต 20% สินเชื่อผ่อนชำระและกดเงินสดเติบ 8% ส่วนยอดสินเชื่อคงค้างอยู่ที่ 6.3 หมื่นล้านบาท เติบโต 5% ซึ่งลดลงจากปี 2562 อยู่ที่ 6.04 หมื่นล้านบาท หรือเติบโตที่ 12%

“การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส ส่งผลต่อการท่องเที่ยวและการใช้จ่ายของประชาชน ถ้ายังต่อเนื่องไปถึงเดือน เม.ย. คาดว่า ยอดการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตของเราคงเติบโตชะลอลงอยู่ที่ 5% ต่ำกว่าเป้าที่วางไว้ ซึ่งตอนนี้ก็เริ่มเห็นสัญญาณเเล้วในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมาว่าเติบโตเพียง 8% จากเป้า 11%” 

ขณะที่ภาพรวมธุรกิจและการดำเนินงานในปี 2562 ที่ผ่านมา กรุงศรีเฟิร์สช้อยส์ มียอดสินเชื่อและยอดใช้จ่ายผ่านบัตร 91,600 ล้านบาท เติบโต 13% เมื่อเทียบกับปี 2561 มียอดสินเชื่อคงค้าง 60,400 ล้านบาท เติบโต 12% เทียบกับปีก่อน มีสินเชื่อตามแผนผ่อนชำระ 63,800 ล้านบาท เติบโต 10% มีจำนวนบัตรใหม่ 396,000 ล้านบัตร มียอดบัตรรวม 2.34 ล้านบัตร ส่วนยอดการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต 27,800 ล้านบาท เติบโต 23% โดยกลุ่มที่มีการเติบโตสูงคือ “กลุ่มท่องเที่ยวเเละช้อปปิ้งออนไลน์”

ขยายเจาะกลุ่มช่างอิสระ-ตลาดสินเชื่อส่วนบุคคลโต 

เมื่อถามถึงการลงทุนในอาเซียน ผู้บริหารกรุงศรีเฟิร์สช้อยส์ตอบว่าเป็นตลาดใหม่ที่มีศักยภาพมาก เพราะตลาดในไทยเริ่มอิ่มตัว โดยตอนนี้กำลังอยู่ในช่วงเจรจากับพาร์ตเนอร์ที่ฟิลิปปินส์ ซึ่งมีความคืบหน้าไปมาก โดยจะเป็นการลงทุนเเบบกิจการร่วมค้า (Joint Venture)

ส่วนการขยายกลุ่มลูกค้านั้น ทางกรุงศรีเฟิร์สช้อยส์กำลังเล็งจะเจาะตลาด “กลุ่มช่าง” ที่ประกอบธุรกิจส่วนตัว ไม่ใช่พนักงานเงินเดือน โดยมีการร่วมมือกับ “เมกาโฮม” ศูนย์วัสดุก่อสร้างเเละของใช้ในบ้าน เพื่อหาลูกค้าใหม่ที่มียอดมาใช้จ่ายซื้อสินค้าอย่างสม่ำเสมอ ข้อมูลการซื้อของเพื่อนำมาพิจารณาการให้สินเชื่อได้ โดยจะเริ่มกลางเดือน มี.ค.นี้ ตั้งเป้าหาลูกค้าใหม่ได้ 2 หมื่นคน จากยอดรวม 2 เเสนคน

ด้านภาพรวมตลาด “สินเชื่อส่วนบุคคล” มียอดเติบโต 8% เทียบกับปีที่แล้ว ส่วนยอดเติบโตของกรุงศรีเฟิร์สช้อยส์มียอดเติบโตกว่า 12% ถือว่าอัตราการเติบโตสูงกว่าตลาดกว่า 50%

]]>
1266928