คาดการณ์เศรษฐกิจไทย – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 03 Jan 2024 13:11:17 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 Citi ชี้ 4 ประเด็นสำคัญเศรษฐกิจไทยปี 2024 ที่ต้องจับตามอง คาด GDP ปีนี้ยังโตได้ถึง 3.6% https://positioningmag.com/1457563 Wed, 03 Jan 2024 10:01:01 +0000 https://positioningmag.com/?p=1457563 Positioning สรุปประเด็นสำคัญจากบทวิเคราะห์จากซิตี้ (Citi) ที่ได้วิเคราะห์เศรษฐกิจไทยในปี 2024 ที่น่าจับตามองในด้านต่างๆ ขณะเดียวกันสถาบันการเงินรายดังกล่าวยังคาดการณ์ว่า GDP ไทยในปีนี้จะเติบโตราวๆ 3.6%

Citi ได้ออกบทวิเคราะห์เกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยเมื่อวันที่ 2 มกราคมที่ผ่านมา คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2024 นี้เป็นการฟื้นตัวต่อเนื่องจากปี 2023 อย่างค่อยเป็นค่อยไป และคาดว่าในปีนี้ GDP ของเศรษฐกิจไทยจะเติบโต 3.6%

ประเด็นเศรษฐกิจสำคัญๆ ที่ Citi มองไว้ในปีนี้

  1. การบริโภคภาคเอกชนคาดว่าจะยังคงเป็นปัจจัยขับเคลื่อนหลักในปี 2024 โดยได้รับแรงหนุนจากรายได้แรงงานที่เพิ่มขึ้น และมาตรการกระตุ้นทางการคลัง อย่างไรก็ดีหนี้ครัวเรือนของไทยที่อยู่ในระดับสูงยังเป็นความท้าทายในเชิงโครงสร้าง
  2. จำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เข้ามาในประเทศไทยในปี 2024 ทาง Citi คาดการณ์ว่านักท่องเที่ยวชาวต่างชาติจะเข้ามาไทยในปีนี้มากถึง 35.2 ล้านคน และอาจเพิ่มขึ้นมากกว่านี้ได้ถ้าหากจำนวนนักท่องเที่ยวจีนมีจำนวนเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังรวมถึงมาตรการเปิดฟรีวีซ่าให้กับนักท่องเที่ยวอินเดีย ไต้หวัน หรือแม้แต่รัสเซีย
  3. การใช้จ่ายงบประมาณของภาครัฐจะฟื้นตัวในปี 2024 นี้ สถาบันการเงินรายดังกล่าวมองว่าการใช้จ่ายภาครัฐจะฟื้นตัวอย่างมากในปีนี้ หลังจากในปี 2023 ที่ผ่านมานั้นค่อนข้างล่าช้า และยังคาดว่าไทยจะใช้นโยบายขาดดุลงบประมาณราวๆ 3% ในช่วง 3-4 ปีข้างหน้า แต่หนี้สาธารณะของไทยยังถือว่าต่ำกว่าเพดานหนี้สาธารณะที่กำหนดไว้ที่ 70% อยู่
  4. เม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศ เม็ดเงินการลงทุนจากต่างประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงทุนในรถยนต์ไฟฟ้า (EV) หรือแม้แต่อุตสาหกรรม Smart Electronics เนื่องจากมีการกระจายในในเรื่องของ Supply Chain เมื่อดูเม็ดเงินจากการขอสนับสนุนด้านการลงทุนจาก BOI

ขณะเดียวกัน Citi ยังมองว่าเศรษฐกิจไทยยังคงเผชิญกับสภาวะเศรษฐกิจโลกที่ท้าทาย และยังจับตารอถึงการเจรจาข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) ที่กระตือรือร้นมากขึ้นของรัฐบาลนี้ ในส่วนภาคการส่งออกไทย Citi คาดว่าจะเติบโตได้มากถึง 6.2% ในปีนี้

Citi ยังมองว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทยในปี 2024 นี้จะยังอยู่ในกรอบเป้าหมายของธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งตัวเลขดังกล่าวคาดว่าจะอยู่ราวๆ 1.7% ในส่วนความเสี่ยงของอัตราเงินเฟ้อจะเพิ่มมากขึ้นนั้นมาจากผลของเอลนีโญ ความผันผวนของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ (น้ำมัน ฯลฯ) หรือแม้แต่นโยบายอุดหนุนราคาพลังงานของรัฐบาล

นอกจากนี้ Citi ยังมองว่านโยบายการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทยนั้นจะคงอัตราดอกเบี้ยที่ 2.5% ตลอดปี 2024 นี้ ขณะที่คาดการณ์ค่าเงินบาทของไทยในช่วงสิ้นปีนั้นสถาบันการเงินรายดังกล่าวคาดว่าค่าเงินบาทไทยจะอยู่ที่ 36 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ

]]>
1457563
‘โอมิครอน-เงินเฟ้อ’ ปัจจัยเสี่ยงฉุดการฟื้นตัว เศรษฐกิจไทยยังเปราะบาง https://positioningmag.com/1366051 Wed, 08 Dec 2021 13:32:05 +0000 https://positioningmag.com/?p=1366051
‘โอมิครอน’ สร้างความไม่แน่นอนต่อการฟื้นตัว เศรษฐกิจไทยยังเปราะบาง เงินเฟ้ออาจเร่งขึ้นแตะ 3% ในช่วงต้นปีหน้าชั่วคราว คาด กนง.คงดอกเบี้ยต่ำจนถึงสิ้นปี 65 ด้านเฟดอาจเร่งปรับลด QE ให้เสร็จก่อนกลางปีหน้า เพื่อปูทางปรับขึ้นดอกเบี้ยช่วงครึ่งปีหลัง

วิจัยกรุงศรี ธนาคารกรุงศรีอยุธยา เผยบทวิเคราะห์เกี่ยวกับสถานการณ์เศรษฐกิจไทย ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ว่า มีแนวโน้มฟื้นตัว ปัจจัยหนุนจากสถานการณ์การระบาดในประเทศที่บรรเทาลง การฉีดวัคซีนมีมากขึ้น กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ปรับดีขึ้น ตามการผ่อนคลายมาตรการควบคุม ประกอบกับผลเชิงบวกจากการเปิดประเทศ

โดยมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในเดือนพฤศจิกายน รวมทั้งสิ้น 133,061 คน เร่งขึ้นจากเดือนตุลาคม ที่ 20,272 คน เเละความต่อเนื่องของมาตรการรัฐก็ยังช่วยสนับสนุนการใช้จ่ายและการท่องเที่ยวในประเทศช่วงปลายปี

อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยยังคงเผชิญกับความไม่แน่นอนสูงขึ้น หลังจากมีการแพร่ระบาดของไวรัสกลายพันธุ์ ‘โอมิครอน’ เกิดขึ้นในประเทศทางแอฟริกา และเริ่มตรวจพบในหลายประเทศมากขึ้น รวมถึงไทย

ขณะที่ปัจจุบันยังต้องติดตามรายละเอียดที่ชัดเจน ถึงความรุนแรงของสายพันธุ์ดังกล่าวอย่างใกล้ชิด เพราะอาจเป็นปัจจัยเสี่ยงสร้างแรงกดดันต่อการฟื้นตัวในระยะข้างหน้าได้

(Photo: Shutterstock)

เงินเฟ้อไทย อาจเเตะ 3% ต้นปีหน้า 

ด้านอัตราเงินเฟ้อทั่วไป เดือนพฤศจิกายนเพิ่มขึ้นต่อเนื่องสู่ระดับสูงสุดในรอบ 7 เดือน ประเมินว่า กนง.จะคงดอกเบี้ยอย่างน้อยจนถึงสิ้นปี 2565 โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือนพฤศจิกายนอยู่ที่ 2.71% YoY จาก 2.38% เดือนตุลาคม

สาเหตุสำคัญจากการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงขายปลีกในประเทศ (+37.2%) ตามสถานการณ์ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก และการเพิ่มขึ้นของราคาในหมวดอาหาร โดยเฉพาะผักสด (+12.7%) ซึ่งยังคงได้รับผลกระทบจากอุทกภัยจากช่วงที่ผ่านมา รวมถึงการปรับขึ้นของราคาเครื่องประกอบอาหาร (+6.2%) เนื่องจากความต้องการและต้นทุนขนส่งที่ปรับเพิ่ม

ด้านอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (หักราคาหมวดอาหารสดและพลังงาน) อยู่ที่ 0.29% เพิ่มขึ้นจาก 0.21% เดือนตุลาคม สำหรับในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2564 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเฉลี่ยอยู่ที่ 1.15% และ 0.23% ตามลำดับ

“แม้อัตราเงินเฟ้อของไทยจะเร่งขึ้นในช่วงปลายปีนี้ และมีแนวโน้มอาจแตะระดับสูงใกล้ 3% ในช่วงไตรมาส 1/2565 เนื่องจากผลของฐานที่ต่ำและการส่งผ่านของต้นทุน แต่คาดว่าจะชะลอลงและกลับมาแตะระดับใกล้ขอบล่างของกรอบเงินเฟ้อเป้าหมายของทางการที่ 1% ได้ในช่วงครึ่งหลังของปี 2565”

สอดคล้องกับทิศทางราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่มีแนวโน้มชะลอลง ประกอบกับอุปสงค์ในประเทศที่ฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป จึงเอื้อให้ กนง.ยังคงดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ต่อเนื่อง เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ยังมีความเปราะบางและเติบโตในอัตราที่ต่ำกว่าระดับศักยภาพ

โอมิครอน ปัจจัยเสี่ยง ฉุดการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก 

สำหรับเศรษฐกิจโลก วิจัยกรุงศรีระบุว่า เครื่องชี้เศรษฐกิจโลกเดือนพฤศจิกายนปรับตัวดีขึ้น แต่ไวรัสโอมิครอนเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญในระยะต่อไป

ในเดือนพฤศจิกายนดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) รวมภาคการผลิตและบริการของโลกแตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2564 ที่ 54.8 โดยดัชนีของกลุ่มประเทศแกนหลัก เช่น ยูโรโซน ญี่ปุ่น ปรับดีขึ้นสู่ระดับ 55.8 และ 53.3 ตามลำดับ สะท้อนการขยายตัวต่อเนื่อง (ค่าดัชนี > 50) ของกิจกรรมในภาคการผลิตและภาคบริการ

โดยองค์ประกอบของดัชนี PMI ของโลกปรับตัวดีขึ้นทั้งด้านผลผลิต ยอดสั่งซื้อใหม่ ยอดสั่งซื้อเพื่อการส่งออก และการจ้างงาน อย่างไรก็ตาม องค์ประกอบทางด้านราคาบ่งชี้ว่าแรงกดดันเงินเฟ้อยังเพิ่มสูงขึ้นจากปัจจัยด้านต้นทุนการผลิตที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาข้อจำกัดด้านอุปทานและราคาสินค้าโภคภัณฑ์โดยเฉพาะน้ำมันที่พุ่งขึ้น

ข้อมูลดังกล่าวสอดคล้องกับรายงานขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ที่ประเมินว่าภาวะเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูงอาจยาวนานกว่าที่คาดและถือเป็นความเสี่ยงสำคัญ ซึ่งอาจส่งผลให้ธนาคารกลางของประเทศแกนหลักปรับนโยบายการเงินเร็วและแรงกว่าคาดการณ์เดิม จนสร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศอื่นๆ ทั้งนี้ OECD ปรับลดตัวเลขคาดการณ์อัตราการเติบโตของ GDP โลกในปีนี้ลงเล็กน้อยสู่ 5.6% จากเดิมคาด 5.7%

ส่วนในปีหน้าคาดว่าเศรษฐกิจโลกจะขยายตัว 4.5% นอกจากนี้ OECD ยังระบุถึงความเสี่ยงจากไวรัสกลายพันธุ์ที่อาจกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก

ล่าสุด องค์การอนามัยโลก (WHO) รายงานการตรวจพบผู้ติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์โอมิครอนกว่า 50 ประเทศทั่วโลก รวมทั้งเตือนว่าไวรัสกลายพันธุ์ดังกล่าวสามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็วและคาดว่าตัวเลขผู้ติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ดังกล่าวจะเพิ่มสูงขึ้น ขณะที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ระบุเตรียมปรับลดประมาณการเศรษฐกิจโลกจากปัญหาไวรัสสายพันธุ์ใหม่

วิจัยกรุงศรีประเมินว่า ไวรัสสายพันธุ์โอมิครอนถือเป็นปัจจัยที่สร้างความไม่แน่นอนต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก โดยการใช้มาตรการเข้มงวดเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดอาจส่งผลกระทบต่อการเดินทาง การขนส่ง และกิจกรรมทางเศรษฐกิจอื่นๆ ซึ่งอาจกระทบต่อการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวและอาจซ้ำเติมภาวะชะงักงันด้านอุปทาน

“ส่วนความกังวลด้านเงินเฟ้อแม้อาจเผชิญแรงกดดันจากข้อจำกัดด้านอุปทานและปัญหาการขาดแคลนแรงงาน แต่ราคาพลังงานที่ปรับลดลงอาจช่วยบรรเทาแรงกดดันต่อเงินเฟ้อในระยะต่อไป”

(Photo by Epics/Getty Images)

เฟดเร่งปรับลด QE

เศรษฐกิจสหรัฐฯ มีแนวโน้มเติบโตแข็งแกร่ง คาดเฟดอาจเร่งปรับลด QE ให้เสร็จก่อนกลางปีหน้าเพื่อปูทางปรับขึ้นดอกเบี้ยช่วงครึ่งปีหลัง ในเดือนพฤศจิกายนดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ปรับตัวดีขึ้นทั้งภาคการผลิตที่เพิ่มสู่ระดับ 61.1 สูงกว่าตลาดคาด และนอกภาคการผลิตซึ่งแตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่เริ่มจัดทำข้อมูลในปี 2540 ที่ 69.1

ด้านการจ้างงานภาคเอกชนเพิ่มขึ้น 5.34 แสนตำแหน่ง สูงกว่าการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ ขณะที่อัตราการว่างงานแตะระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2563 ที่ 4.2% ส่วนจำนวนผู้ยื่นขอรับสิทธิสวัสดิการว่างงานต่อเนื่องในสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 20 พฤศจิกายน ลดลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 18 เดือนที่ 1.95 ล้านคนตลาดแรงงานของสหรัฐฯ มีแนวโน้มทยอยปรับตัวดีขึ้น ล่าสุด อัตราการว่างงานแตะระดับต่ำสุดนับตั้งแต่การแพร่ระบาด

ขณะที่ ประธานเฟด ส่งสัญญาณเร่งการปรับลดแรงกระตุ้นทางการเงิน โดยกล่าวต่อสภาคองเกรสว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ มีความแข็งแกร่งมากขณะที่แรงกดดันด้านเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้น ทั้งยังประเมินว่าความเสี่ยงจากปัญหาไวรัสกลายพันธุ์โอมิครอนอาจเพิ่มแรงกดดันต่อภาวะเงินเฟ้อจากปัญหาการชะงักงันด้านอุปทานและการขาดแคลนแรงงานจากความวิตกกังวลต่อการระบาด จากปัจจัยดังกล่าวเฟดจึงเห็นควรว่าจะหารือเรื่องการยุติโครงการเข้าซื้อพันธบัตรให้เร็วขึ้นกว่าเดิมในการประชุมวันที่ 14-15 ธันวาคมนี้

“วิจัยกรุงศรีประเมินว่า เฟดจะประกาศเร่งปรับลดวงเงินการเข้าซื้อสินทรัพย์ตามมาตรการ QE ให้เสร็จสิ้นก่อนกลางปีหน้าเพื่อปูทางให้สามารถปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายได้อย่างน้อย 25 bps ในช่วงครึ่งหลังของปี 2565”

]]>
1366051
คลายล็อกดาวน์เร็ว KBANK ปรับจีดีพี ปี64 เป็น 0.2% ปีหน้าโต 3.7% ระวังราคาน้ำมัน-เงินเฟ้อ https://positioningmag.com/1358836 Wed, 27 Oct 2021 12:19:58 +0000 https://positioningmag.com/?p=1358836
Photo : Shutterstock
KBANK ปรับเป้าตัวเลขจีดีพีไทยปีนี้ ‘ดีขึ้น’ จากเดิมที่คาดว่าจะหดตัว -0.5% มาเป็นบวก 0.2% หลังรัฐคลายล็อกดาวน์และเปิดประเทศเร็วขึ้น ประเมินนักท่องเที่ยวต่างชาติมาไทยเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก 1.5 แสนคน เป็น 1.8 แสนคน จับตาความเสี่ยงจากราคาน้ำมัน-เงินเฟ้อ กระทบค่าครองชีพ 

ณัฐพร ตรีรัตน์ศิริกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด กล่าวว่า ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ต้องปรับประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ของไทยในปีนี้ให้ขยายตัวอยู่ที่ 0.2% จากเดิมที่ -0.5% หลักๆ มาจากอัตราการฉีดวัคซีนและการคลายล็อกดาวน์โควิด-19 ได้เร็วขึ้นกว่าที่ประเมินไว้ ส่วนการใช้จ่ายภาครัฐ ก็เห็นว่ายังมีการเบิกจ่ายเท่ากับปีงบประมาณปกติ

“การเปิดประเทศที่เร็วขึ้นนี้ ทำให้ปรับเพิ่มคาดการณ์จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก 1.5 แสนคน มาเป็น 1.8 แสนคน”

อย่างไรก็ตาม ผลกระทบจากน้ำท่วมและค่าครองชีพที่สูงขึ้นจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นอย่างมาก รวมไปถึงความเสี่ยงที่การแพร่เชื้ออาจจะกลับมาหลังเปิดประเทศ ยังคงเป็นปัจจัยที่ทำให้คาดการณ์จีดีพีของปี 2564 เป็นไปอย่างจำกัด ในกรณีเลวร้ายหากมีการระบาดระลอกใหม่อีก ก็อาจจะส่งผลกระทบต่ออัตราการเติบโตของปี 2565 ด้วย

ราคาน้ำมันพุ่ง เพิ่มต้นทุนธุรกิจ กระทบค่าครองชีพ

ด้านสถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นในช่วงเดือนก.ย.-ต.ค. 2564 กระทบต่อภาคเกษตรประมาณ 6-7 ล้านไร่ รวมถึงนอกภาคเกษตร อย่างภาคบริการและแรงงานรับจ้างรายวัน ที่ได้รับผลกระทบจากการที่ธุรกิจหยุดชะงักลงบางพื้นที่ในกว่า 30 จังหวัด

เกวลิน หวังพิชญสุข ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า น้ำท่วมรอบดังกล่าวสร้างเสียหายทางเศรษฐกิจประมาณ 2.5 หมื่นล้านบาท หรือ 0.16% ของ GDP น้อยกว่าเหตุการณ์น้ำท่วมในปี 2551, 2553 และ 2560 ที่ผ่านมา (รวมผลกระทบข้างต้นในประมาณการจีดีพีปี 2564 แล้ว)

ด้านผลกระทบต่อราคาน้ำมันสูงต่อธุรกิจในปี 2564 คาดว่า ในกรณีที่ราคาน้ำมันดีเซลในระยะที่เหลือของปีนี้ อยู่ในช่วง 25.0-29.2 บาทต่อลิตร จะมีผลให้ต้นทุนการผลิตของภาคธุรกิจ เพิ่มขึ้นประมาณ 0.55-0.73% และต้นทุนขนส่งเพิ่มขึ้นประมาณ 0.33-0.44% หรือรวมกันธุรกิจจะมีต้นทุนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นราว 1% โดยธุรกิจที่ได้รับผลกระทยโดยตรง ได้เเก่ เหมืองเเร่ ประมง โลจิสติกส์ ค้าปลีกเเละค่าส่ง เป็นต้น

ราคาพลังงาน ประเด็นคอขวดภาคการผลิต และการคาดการณ์เงินเฟ้อ เป็นปัจจัยสําคัญที่ทำให้เศรษฐกิจหลักเผชิญ แรงกดดันเงินเฟ้อที่สูงขึ้น

ท่ามกลางภาวะที่ราคาน้ำมันชนิดอื่นๆ ปรับขึ้นแรงกว่าน้ำมันดีเซลที่ยังมีกลไกการดูแลราคาจากภาครัฐ รวมถึงการที่ต้นทุนอื่นๆ โน้มเพิ่มขึ้นในภาวะที่ยอดขายยังไม่กลับมา ก็ย่อมจะเพิ่มโจทย์การฟื้นตัวให้กับภาคธุรกิจ เเละยังต้องติดตามสถานการณ์ราคาน้ำมันต่อในปีหน้าด้วย

ราคาสินค้าโภคภัณฑ์จะปรับสูงขึ้น จากต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ขณะที่กำลังซื้อในประเทศก็ยังไม่ฟื้นตัวกลับมาเต็มที่ ทำให้ผู้บริโภคมีภาระค่าครองชีพสูงตามไปด้วย

จากผลสำรวจครัวเรือนไตรมาส 3/64 พบว่า ครัวเรือนไทยประมาณ 73% รายได้ปรับลดลง และส่วนใหญ่มีรายจ่ายที่เพิ่มขึ้นสวนทางรายได้ที่ลดลง ต้องเเบกภาระหนี้บ้าน รถยนต์ และบัตรเครดิต ซึ่งราคาน้ำมันที่ปรับเพิ่มขึ้นได้กระทบต่อภาระค่าครองชีพของครัวเรือนหรือสถานการณ์ทางการเงินของครัวเรือนให้เปราะบางมากขึ้น

จับตาเงินเฟ้อ 

โดยรวมจีดีพีไตรมาสที่ 4 ของปี 2564 จะขยายตัวเป็นบวก 3.6% เทียบจากไตรมาส 3 แต่หดตัว -0.5% เมื่อเทียบช่วงเดียวกันปีก่อน ส่วนไตรมาสที่ 3 นับเป็นจุดต่ำสุด โดยเทียบไตรมาสก่อนหน้าจะหดตัว -3% และหดตัว -4.4% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน

สำหรับแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2565 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่ากลับมาฟื้นตัวได้ที่ 3.7% จากการที่ประชาชนได้รับวัคซีนเกินกว่า 70% ช่วยลดความจำเป็นที่จะต้องใช้มาตรการล็อกดาวน์ลงและการดำเนินธุรกิจไม่หยุดชะงัก นอกจากนี้ยังมีปัจจัยหนุนจากการส่งออก การใช้จ่ายครัวเรือนที่ฟื้นตัวจากฐานที่ต่ำ และการกลับมาบริโภคหลังจากอั้นไว้ในช่วงล็อกดาวน์ เเละคาดว่าจะมีจำนวนนักท่องเที่ยวอยู่ที่ 2 ล้านคนในปีหน้า ขณะที่ปัจจัยเสี่ยงจะอยู่ที่ราคาพลังงานที่พุ่งสูงและเงินเฟ้อ

“มองว่าเศรษฐกิจไทยยังไม่ได้เข้าสู่ภาวะ Stagflation โดยมองเงินเฟ้อในปี 2565 จะอยู่ที่ 1.6% บนเงื่อนไขที่ราคาน้ำมันโลกไม่ได้ยืนอยู่ในระดับสูงมากกว่า 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลเป็นระยะเวลายาวต่อเนื่อง”

โดยประเมินราคาน้ำมันน้ำมันดิบดูไบอยู่ที่ 82 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลในไตรมาส 4 ปีนี้ และในไตรมาส 1/2565 จะในกรณีเลวร้ายที่ OPEC และสหรัฐฯ เพิ่มกำลังการผลิตต่ำกว่าคาด ฤดูหนาวที่ยาวกว่าคาด และวิกฤตพลังงานในจีนยังไม่คลี่คลาย อาจปรับเพิ่มขึ้นไปอยู่ที่ระดับ 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

อัตราเงินเฟ้อของไทย น่าจะยังอยู่ในกรอบ 1-3% ส่วนภาวะ Stagflation นั้นที่ผ่านมาเงินเฟ้อจะต้องเพิ่มขึ้นไปเป็นดับเบิลดิจิต ซึ่งโอกาสที่จะเกิดขึ้นก็คงมีไม่มากนัก

ด้านค่าเงินบาท ส่วนที่เหลือของปีนี้ จะเริ่มเเข็งค่าขึ้นอยู่ในกรอบ 32.5-34 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ (ค่าเฉลี่ยที่ 32.75) ซึ่งปีหน้าคาดว่าค่าเงินบาทจะเเข็งค่าขึ้นเล็กน้อยจากปีนี้ เเต่ยังคงมีความไม่เเน่นอนสูง ซึ่งหากสถานการณ์โควิดยังไม่คลี่คลายลงก็จะมีเเนวโน้มออ่อนค่าได้อีกในปีหน้า

]]>
1358836
จุดเปลี่ยน เมื่อโลก ‘ไม่สนใจ’ ไทย นักลงทุนหาย ส่งออก-ผลิตเทคฯ ล้าหลัง ติดหล่มคอร์รัปชัน https://positioningmag.com/1343221 Tue, 20 Jul 2021 12:32:11 +0000 https://positioningmag.com/?p=1343221 เมื่อไทยไม่น่าดึงดูดส่งสัญญาณต่างชาติเทขายหุ้นต่อเนื่อง นักลงทุนไทยหนีไปต่างประเทศกว่า 3 แสนล้าน การลงทุน FDI ลดลงเรื่อยๆ ติดหล่มคอร์รัปชัน สูญเสียความสามารถในการแข่งขันด้านส่งออกผลิตเทคโนโลยีล้าหลัง-ตกยุค ทำเเค่รับจ้างผลิต เวียดนามเเซงขึ้นมาชิงส่วนเเบ่งตลาด เเนะรัฐต้องเร่งส่งเสริม 4 ด้าน เพราะ ‘ถึงเวลาต้องเปลี่ยน’ 

KKP Research กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร ออกบทวิเคราะห์ จุดเปลี่ยนการส่งออก เมื่อโลกเริ่มไม่สนใจไทยอีกต่อไป โดยจับสัญญาณความสนใจการลงทุนที่ลดลงในหลายมิติ ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจ ดังต่อไปนี้

มิติแรก คือ การลงทุนในสินทรัพย์ทางการเงิน เช่น ตลาดหุ้น ที่นักลงทุนต่างชาติมีสัญญาณขายสุทธิอย่างต่อเนื่อง ในขณะเดียวกันนักลงทุนในไทยก็เริ่มออกไปลงทุนต่างประเทศมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะในปี 2021 ที่ในไตรมาส 1 นักลงทุนไทยออกไปลงทุนในต่างชาติแล้วกว่า 3 แสนล้านบาท

มิติที่สอง คือ การลงทุนทางตรงจากต่างประเทศ (FDI) พบว่าในปัจจุบันต่างชาติเข้ามาลงทุนในไทยลดลงเรื่อย ๆ เมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่งในภูมิภาค ในขณะที่บริษัทไทยก็เริ่มออกไปลงทุนในต่างประเทศมากขึ้นเช่นกัน

มิติที่สาม เป็นหนึ่งในส่วนสำคัญ คือ การสูญเสียความสามารถในการแข่งขันด้านการส่งออก โดยในปี 2021 การส่งออกทั่วภูมิภาคขยายตัวอย่างแข็งแกร่งตามเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวได้เร็ว แต่สัญญาณที่เราเห็น คือ การส่งออกของไทยฟื้นตัวได้ช้ากว่าหลายประเทศในโลก

“โดยเฉพาะอย่างยิ่งไทย มีสัดส่วนของสินค้าส่งออกที่ใช้เทคโนโลยีต่ำกว่าประเทศคู่แข่ง ซึ่งสะท้อนว่าไทยมีคู่แข่งที่น่ากลัวเพิ่มขึ้น และต่างชาติกำลังมีความต้องการสินค้าไทยลดน้อยลง” 

สินค้าส่งออกไทย กำลังจะ ‘ตกยุค’ 

สำหรับปัจจัยที่ทำให้ความสามารถในการแข่งขันที่ ‘ลดลง’ มาจากปัญหาเชิงโครงสร้างของเศรษฐกิจไทยที่ซ้อนกันอยู่เป็นชั้นๆ ดังต่อไปนี้

สาเหตุในชั้นแรก เกิดจากสินค้าส่งออกหลักของไทยปัจจุบันกำลังเผชิญความท้าทายใหม่ ๆ โดย สินค้าใน 5 กลุ่มหลัก คือ อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า รถยนต์ สินค้าเกษตร และปิโตรเคมี มีสัญญาณชะลอตัวลงหรือไม่สามารถขยายตัวได้ดีเท่ากับในอดีต

เมื่อพิจารณาความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ (Revealed Comparative Advantage) พบว่าสินค้าเกษตร โดยเฉพาะข้าว มีความสามารถในการแข่งขันที่ลดลงชัดเจนที่สุด

[เวียดนามชิงส่วนเเบ่งตลาดโลก เเซงไทย]

ส่วนแบ่งตลาดโลกในกลุ่มสินค้าหลักทั้งหมดเริ่มคงที่ในระยะหลัง ในขณะที่ประเทศคู่แข่งอย่าง ‘เวียดนาม’ มีส่วนแบ่งตลาดโลกที่เพิ่มขึ้นและแซงไทยในกลุ่มสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งประเทศไทยมีส่วนแบ่งตลาดของสินค้ากลุ่มนี้ค่อนข้างคงที่ คือ 1.42% ในปี 1995 และเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเป็น 1.45% ในปี 2018

“ขณะที่เวียดนาม เริ่มจากไม่มีสินค้าส่งออกกลุ่มนี้เลยในปี 1995 กลับมีส่วนมีส่วนแบ่งตลาดถึง 4.1% ในปี 2018 สอดคล้องกับโครงสร้างการส่งออกของเวียดนามที่มีการพัฒนาต่อเนื่อง”

และในปัจจุบันมีการส่งออกสินค้าในกลุ่มโทรศัพท์แบบเครื่องและพกพาถึงประมาณ 20% ของการส่งออกทั้งหมด นอกจากนี้ส่วนแบ่งตลาดโลกในสินค้าเกษตรของเวียดนามเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง จนอยู่ที่ระดับ 1.48% ในระดับใกล้เคียงกับไทยที่ 1.99% ในปี 2018

[ผลิตเทคฯ ล้าหลัง ]

ยิ่งไปกว่านั้นสินค้าส่งออกของไทยหลายอย่างกำลังเผชิญความท้าทายจากเทคโนโลยีใหม่ ๆ และปัจจัยสนับสนุนทั้งจากในประเทศและต่างประเทศที่เริ่มแย่ลงเรื่อย ๆ เช่น

1) สินค้าอิเลกทรอกนิกส์ ที่ไทย ‘ไม่มีการส่งออก’ ใหม่ ๆ เช่น เช่น ชิปหรือเซมิคอนดักเตอร์ (Semiconductor) ที่กำลังเป็นที่ต้องการทั่วโลก และไทยยังเป็นฐานการผลิต Hard Disk Drive เป็นหลักซึ่งมีความเสี่ยงสูงที่จะถูกแทนที่ด้วยเทคโนโลยีใหม่ เช่น Solid State Drive

2) ‘เครื่องใช้ไฟฟ้า’ ที่ได้รับอานิสงส์จากการลงทุนทางตรงจากญี่ปุ่น เริ่มมีสัญญาณชะลอตัวลงที่ชัดเจนขึ้น และบริษัทญี่ปุ่นเริ่มมีกำไร

3) ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางผลิตรถยนต์เครื่องยนต์สันดาปภายในแบบเก่า ที่มีความเสี่ยงสูงที่จะถูกแทนที่ด้วยรถยนต์ไฟฟ้า

4) สินค้าเกษตรกำลังเผชิญหน้ากับคู่แข่งที่มากขึ้น ในขณะที่ผลิตภาพการผลิตของไทยยังอยู่ในระดับต่ำ

5) อุตสาหกรรมปิโตรเคมี มีความเสี่ยงจากต้นทุนที่อาจสูงขึ้นในอนาคต ในขณะที่ก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยที่เริ่มมีปริมาณการผลิตลดลงเรื่อยๆ

ไม่ได้เป็นเจ้าของ ไม่มีเทคขั้นสูง ทำแค่ ‘รับจ้างผลิต’ 

สาเหตุในชั้นที่สอง ไทยไม่มีสินค้าเทคโนโลยีขั้นสูง และทำหน้าที่เพียงรับจ้างผลิต เมื่อพิจารณาโครงสร้างการเติบโตของสินค้าส่งออกไทยในช่วงกว่า 25 ปีที่ผ่านมา พบว่า มีการเติบโตในกลุ่มสินค้าเทคโนโลยีขั้นกลางเฉพาะรถยนต์

“ไม่มีทิศทางการพัฒนาไปสู่การส่งออกในกลุ่มสินค้าเทคโนโลยีขั้นสูงที่ชัดเจน เมื่อเทียบกับต่างประเทศเเล้ว ไทยมีสัดส่วนการส่งออกสินค้าเทคโนโลยีขั้นสูงที่น้อยกว่าภูมิภาค คือ 19%” 

เมื่อเทียบกับการส่งออกทั้งหมดเท่านั้นในปี 2019 เทียบกับเวียดนามที่ 28% และเอเชียที่ 26% ยิ่งไปกว่านั้นยังมีการเติบโตเฉลี่ยในช่วงปี 2010-2019 ในกลุ่มสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ เพียง 2.2% ขณะที่เอเชียโตเฉลี่ยถึง 6.6% โครงสร้างการส่งออกที่ยังเป็นสินค้าแบบเก่าทำให้ในช่วงที่ผ่านมา การส่งออกไทยฟื้นตัวได้ช้ากว่าหลายประเทศในภูมิภาค

อีกประเด็นที่น่ากังวล คือ ประเทศไทยทำหน้าที่เป็นเพียงผู้รับจ้างผลิตสินค้าและไม่ได้เป็นเจ้าของเทคโนโลยี เมื่อพิจารณามูลค่าเพิ่มจากการผลิต (Value added) ที่บริษัทไทยสร้างได้ พบว่าอยู่ในสัดส่วนคงที่มาโดยตลอด สะท้อนว่าในช่วงที่ผ่านมายังไม่เกิดกระบวนการถ่ายโอนเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาสู่ประเทศไทย

นอกจากนี้ ปัจจัยเชิงโครงสร้างอื่น ๆ โดยเฉพาะประเด็นการเข้าสู่ สังคมสูงอายุ’ ที่เลี่ยงไม่ได้ จะเป็นอีกปัจจัยลบต่อการเติบโตระยะยาวของเศรษฐกิจ ทั้งมิติขนาดของตลาดและความพร้อมของแรงงาน ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น การขาดการลงทุนเพื่อวิจัยและพัฒนาใหม่ ๆ ทำให้ความน่าสนใจในการลงทุนในไทยลดน้อยลงไป

ผูกขาดสินค้า ติดหล่มคอร์รัปชัน

สาเหตุในชั้นสุดท้าย คือ นโยบายของรัฐยังไม่สนับสนุนให้เกิดการพัฒนาระยะยาว เมื่อพิจารณาจากดัชนีความสามารถในการแข่งขันที่จัดทำโดย IMD (World Competitiveness Index) ไทยอยู่ในลำดับที่ 40 ในปี 2019 ซึ่งแม้ไทยไม่อยู่ในลำดับที่แย่มาก แต่มีอุปสรรคใหญ่ที่ไม่สามารถแก้ไขได้ในระยะเวลาสั้น ๆ และส่งผลไปถึงโครงสร้างเศรษฐกิจที่ไม่สามารถพัฒนาไปตามเทรนด์โลก ทั้งในช่วงที่ผ่านมาและต่อเนื่องถึงอนาคต

ไม่ว่าจะเป็นการผูกขาดของตลาดสินค้าในประเทศจาก ‘ปัญหาการคอร์รัปชัน’ การเอื้อประโยชน์พวกพ้องทำให้ไม่เกิดการลงทุนในสินค้ากลุ่มใหม่ ๆ เพราะไม่คุ้มค่าสำหรับบริษัท ปัญหาด้านคุณภาพแรงงาน ที่แรงงานยังไม่ถูกพัฒนาไปเป็นแรงงานที่มีทักษะสูง และไม่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดและท้าทายของเศรษฐกิจระยะยาว ปัญหาด้านโครงสร้างพื้นฐานภาครัฐในไทยยังไม่ให้ความสำคัญในการมีโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัล และการปฏิรูปกฎระเบียบที่เหมาะสมพร้อมดึงดูดการลงทุน

Photo : Shutterstock

พึ่งพาท่องเที่ยวไม่ได้อีกต่อไป

จากปัญหาความสามารถในการแข่งขันเหล่านี้ อาจกำลังผลักให้เศรษฐกิจไทยก้าวเข้าสู่ ‘จุดเปลี่ยน’ ในอย่างน้อยใน 2 ประเด็นสำคัญ คือ

เศรษฐกิจไทยในอดีตที่พึ่งพาการส่งออกและการท่องเที่ยวอาจไม่ได้ผลอีกต่อไปในอนาคต

หากประเทศไทยยังไม่มีการปรับปรุงโครงสร้างการส่งออกที่ชัดเจนอาจทำให้สินค้าส่งออกไทยไม่สามารถเติบโตได้ดีเท่าเดิม หรืออาจหดตัวลงในบางกรณี เช่น หากทั่วโลกหันไปใช้รถยนต์ไฟฟ้าแทน จะกระทบภาพการส่งออกรถยนต์และการจ้างงานในประเทศอย่างมหาศาล

ดุลการค้าของไทยอาจจะเกินดุลลดลงและสร้างความเสี่ยงกับฐานะการเงินระหว่างในระยะยาว

ในวันนี้หลายฝ่ายยังเชื่อว่าดุลบุญชีเดินสะพัดที่ขาดดุลอยู่จะกลับมาเกินดุลจากนักท่องเที่ยวที่จะทยอยกลับมาในปี 2564 และ 2565

KKP Research ต้องการชี้ให้เห็นว่ายังมีความเสี่ยงใน ‘กรณีเลวร้าย’ ที่ความสามารถในการแข่งขันของไทยแย่ลงไปเรื่อย ๆ และไทยเสียส่วนแบ่งตลาดในสินค้าส่งออกหลักของไทย ทำให้รายได้ของคนในประเทศลดลงและไทยต้องหันมานำเข้าสินค้าที่เคยส่งออก เป็นไปได้ที่จะทำให้ดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยเปลี่ยนจากเกินดุลเป็นขาดดุล สร้างความเสี่ยงให้เงินบาทเปลี่ยนทิศทางจากแข็งค่าเป็นอ่อนค่าลงได้

อย่างไรก็ตาม สินค้าส่งออกไทยยังมีข้อได้เปรียบในแง่ความซับซ้อนของสินค้าที่อยู่ในระดับค่อนข้างดีและสามารถต่อยอดสู่สินค้าใหม่ ๆ ได้ แนวทางการพัฒนาสินค้าของไทยยังสามารถต่อยอดจากสินค้ากลุ่มเดิมทั้งจากการเร่งให้เกิดการถ่ายโอนเทคโนโลยีมาสู่ผู้ประกอบการไทย และการขยายการผลิตสินค้าไปในกลุ่มที่ใช้เทคโนโลยีใกล้เคียงเดิม โดยเฉพาะในกลุ่มสินค้ายานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง เครื่องจักร และเคมีภัณฑ์

เเนะรัฐส่งเสริม 4 ด้าน 

KKP Research เเนะนำว่าเพื่อให้ประเทศไทยสามารถพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีได้ ภาคเอกชนต้องมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาความสามารถในการแข่งขัน และรัฐก็มีบทบาทสำคัญในการกำหนดทิศทาง ส่งเสริม และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญใน 4 ด้าน คือ

1) การพัฒนาคุณภาพปัจจัยการผลิต ลดกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการทำธุรกิจ พัฒนาการศึกษาและคุณภาพแรงงานให้มีทักษะที่ภาคอุตสาหกรรมต้องการ

2) การเข้าถึงตลาดและเพิ่มขนาดของตลาด เพื่อขายสินค้าผ่านการทำข้อตกลงการค้าเสรี อย่างไรก็ตาม ไทยยังต้องพัฒนาเศรษฐกิจและสินค้าในประเทศให้ตรงกับความต้องการของตลาดโลก

3) โครงสร้างพื้นฐานและปัจจัยทางภูมิศาสตร์ที่ทันสมัย เช่น การขนส่ง การปรับปรุงกฎระเบียบด้านภาษีและการใช้สิทธิทางภาษีให้วางแผนและเข้าใจง่าย การเตรียมความพร้อมด้าน ICT และ High Speed Broadband

4) สถาบันเศรษฐกิจที่มีคุณภาพ โดยเฉพาะการส่งเสริมการแข่งขันที่เสรี ปราศจากการคอร์รัปชัน ซึ่งจะเป็นแรงจูงใจให้เกิดการลงทุนในสินค้ากลุ่มใหม่ ๆ ได้

KKP Research ระบุว่า ในระยะต่อไปรัฐจำเป็นต้องดำเนินโยบายเชิงรุกมากขึ้นเพื่อพูดคุยและทำความเข้าใจความต้องการของนักลงทุน ออกนโยบายเพื่อดึงดูดการลงทุนต่างชาติรายใหม่ ๆ ที่ตรงจุดเพื่อสร้างจุดเริ่มต้นให้ไทยเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่อุปทานในอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ ๆ ได้

“แม้ว่าการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างอาจใช้เวลายาวนานกว่าจะเห็นผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นตามมา การไม่เปลี่ยนแปลงนโยบายเศรษฐกิจและหวังพึ่งพาเครื่องยนต์ทางเศรษฐกิจเดิม ๆ อาจไม่ใช่คำตอบสำหรับวันนี้” 

 

 

 

 

]]>
1343221
COVID-19 ระลอกสามป่วนเศรษฐกิจปี’64 นักวิเคราะห์ “ปรับลด” จีดีพีไทยถ้วนหน้า https://positioningmag.com/1328555 Wed, 21 Apr 2021 09:12:10 +0000 https://positioningmag.com/?p=1328555 รวมข้อมูลจาก 4 สถาบันวิเคราะห์การเงินการลงทุน คาดการณ์ใหม่ “ปรับลด” จีดีพีไทยปี 2564 ถ้วนหน้า “กรุงไทย” ปรับลดฮวบเหลือโต 1.5% ขณะที่ “เอเซีย พลัส” ยังมองบวก คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะเติบโต 2.46% มาตรการรัฐรอบใหม่ไม่รุนแรงเท่าปีก่อน

Positioning รวบรวมข้อมูลจาก 4 สถาบันวิเคราะห์การเงินการลงทุน ตบเท้ากันออกคาดการณ์ใหม่เศรษฐกิจไทยปี 2564 ปรับลดจีดีพีลงทั้งหมด ดังนี้

– ศูนย์วิจัยกรุงไทย COMPASS : ปรับลดเหลือ 1.5% จากเดิม 2.5%
– ศูนย์วิจัยกสิกรไทย : ปรับลดเหลือ 1.8% จากเดิม 2.6%
– ศูนย์วิจัยกรุงศรี : ปรับลดเหลือ 2.2% จากเดิม 2.5%
– เอเซีย พลัส : ปรับลดเหลือ 2.46% จากเดิม 2.6%

การปรับลดจีดีพีไทย 2564 เกิดขึ้นจากการระบาดของ COVID-19 ระลอกที่สาม ซึ่งทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจของคนไทยลดลง โดยขณะนี้ยังไม่สามารถระบุได้ว่าการแพร่ระบาดรอบนี้จะผ่อนแรงลงเมื่อใด

 

“กรุงไทย” : รอบสามกระทบหนักการบริโภค

ศูนย์วิจัยกรุงไทย COMPASS ปรับลดหนักที่สุด โดยมองว่าผลกระทบ COVID-19 รอบสามจะทำให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวต่ำ เหลือ 1.5% จากเดิม 2.5% เพราะกระทบโดยตรงกับการบริโภคภายในประเทศ กระทบการท่องเที่ยว และภาครัฐออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจได้จำกัด ทำให้เม็ดเงินจะเข้าสู่ระบบได้น้อย

คาดว่าการฟื้นตัวอาจจะต้องใช้เวลา 3 เดือน เข้าสู่ช่วงไตรมาส 3 กว่าที่จะเห็นการฟื้นตัวได้ มีเพียงปัจจัยภาคส่งออกที่ยังเติบโตได้ดี ช่วยชดเชยจีดีพีได้ แต่ก็ยังไม่มากพอที่จะพยุงจีดีพีให้เติบโตได้เท่าที่เคยคาดการณ์ไว้

 

“กสิกรไทย” : กังวลการคุมการระบาด-วัคซีน

ด้าน ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เป็นอีกหนึ่งสถาบันที่มองค่อนข้างเป็นลบกับสถานการณ์ระบาดรอบสาม โดยปรับลดคาดการณ์จีดีพีไทยเหลือ 1.8% จากเดิม 2.6%

กสิกรไทยมองว่า ผลของมาตรการของรัฐ แม้จะไม่ได้เข้มงวดมาก แต่จะมีผลต่อความกังวลและทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภค รวมถึงอาจมีผลต่อจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดิมคาดว่าจะเข้ามา 2 ล้านคน อาจจะต่ำกว่าที่คาดไว้

ที่มา: ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

อีกประเด็นหนึ่งที่กสิกรไทยชี้ให้เห็นคือ “วัคซีน” เป็นตัวแปรสำคัญต่อเศรษฐกิจไทย เพราะหากการฉีดวัคซีนล่าช้า อาจทำให้การระบาดรอบสามยืดเยื้อ หรือเกิดการระบาดรอบใหม่ได้อีกในไตรมาส 3/64 ซึ่งจะมีผลซ้ำอีกกับการบริโภคภายในประเทศและการท่องเที่ยว

รวมถึงหากจำนวนผู้ติดเชื้อสูงต่อเนื่อง อาจมีผลทำให้ระบบสาธารณสุขล่ม ซึ่งส่งผลกับเศรษฐกิจอย่างประเมินค่ามิได้

 

“กรุงศรี” : จีดีพีลดลงเล็กน้อย 0.3%

ฟากสถาบันที่ยังมองไม่รุนแรงมากคือ ศูนย์วิจัยกรุงศรี มองว่าจีดีพีไทยปีนี้จะลดลงเหลือ 2.2% จากเดิม 2.5% ถือว่าลดลงไม่แรงเทียบกับสถาบันอื่นๆ ที่ปรับคาดการณ์

จุดที่กรุงศรีมองว่าจะปรับลดลงคือ “การลงทุนภาครัฐ” และ “นักท่องเที่ยว” คาดว่าจะลดจากเดิม 4 ล้านคน เหลือ 3 ล้านคน แต่เนื่องจากการนำเข้า-ส่งออกเติบโตดี และการบริโภคภาคเอกชนน่าจะดีขึ้น ทำให้การปรับลดไม่สูงมาก

อย่างไรก็ตาม การประเมินข้างต้นตั้งอยู่บนสมมติฐานว่ารัฐจะใช้มาตรการล็อกดาวน์แบบอ่อนๆ ไม่เกิน 2 เดือน คือสถานการณ์เริ่มดีขึ้นในเดือนกรกฎาคม ไทยกลับมามีผู้ติดเชื้อไม่เกิน 100 รายต่อวัน และทำให้นักท่องเที่ยวเข้าประเทศได้ หากการล็อกดาวน์บางส่วนยิงยาวไปถึง 3 เดือน จะทำให้จีดีพีประเทศลดลง 0.75%

 

“เอเซีย พลัส” : มองบวก กระทบจีดีพีเพียงเล็กน้อย

สำหรับ บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จำกัด ประเมินว่าจีดีพีไทยน่าจะลดลงจากเดิมที่คาดว่าโต 2.6% เหลือกรณีที่ดีที่สุดเติบโตได้ 2.46%

ที่มา: เอเซีย พลัส

เหตุที่มองว่าจะลดลงไม่มาก เพราะมาตรการรัฐคุมระบาดรอบสามไม่รุนแรงเท่ากับเมื่อปีก่อน โดยไม่ได้มีการเคอร์ฟิวห้ามออกนอกเคหสถาน และร้านอาหารกับศูนย์การค้าไม่ถูกปิดชั่วคราวแต่ใช้วิธีควบคุมเวลาเปิดปิดแทน จึงมองว่าจะไม่กระทบการใช้จ่ายมากนัก

นอกจากนี้ การส่งออกนำเข้าก็ยังเติบโตได้ดี และไม่ได้รับผลกระทบจากการระบาด อย่างไรก็ตาม หากการระบาดยืดเยื้อยาวนาน กรณีที่แย่ที่สุด เชื่อว่าจีดีพีไทยจะโตเพียง 2.04%

]]>
1328555
โควิดรอบใหม่ ซัดเศรษฐกิจไทย สูญอย่างน้อย 1.6 เเสนล้าน ท่องเที่ยวซึมยาว สะเทือนจ้างงานหลายล้านคน https://positioningmag.com/1314167 Thu, 14 Jan 2021 16:41:39 +0000 https://positioningmag.com/?p=1314167 เศรษฐกิจไทยในปี 2021 ยังเต็มไปด้วยความไม่เเน่นอน หลังเจอ COVID-19 ระลอกใหม่ฉุดการฟื้นตัว รายได้วูบอย่างน้อย 1.6 แสนล้าน ธุรกิจท่องเที่ยวซึมยาว สะเทือนการจ้างงานหลายล้านคน 

ดร.พชรพจน์ นันทรามาศ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS ธนาคารกรุงไทย ประเมินว่า เศรษฐกิจไทยในปีนี้จะขยายตัวที่ระดับ 2.5% ลดลงจากเดิมที่คาดการณ์ไว้ที่ 3.5%

เเม้ว่าจะทำให้ไทยพ้นจากภาวะถดถอยในปี 2020 ที่เศรษฐกิจติดลบไปถึง 6.5% เเต่การเเพร่ระบาดระลอกใหม่ที่เกิดขึ้นตั้งเเต่ช่วงต้นปี ได้กระทบการใช้จ่ายของภาคเอกชน การบริโภค การลงทุนและการท่องเที่ยวในประเทศค่อนข้างมาก 

“COVID-19 รอบใหม่ (เดือนม.ค.-ก.พ.) จะทำให้เกิดค่าเสียโอกาส ไม่ต่ำกว่า 1.6 เเสนล้านบาท จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยที่ต้องล่าช้าออกไป ท่ามกลางความไม่เเน่นอน

ส่วนมาตรการการเยียวยาของภาครัฐครั้งล่าสุด คาดว่าจะต้องใช้งบราว 1.7 – 2 แสนล้านบาท เพื่อพยุงให้เศรษฐกิจไทยในปีนี้ไม่ให้ปรับลดลงมากนัก

อย่างไรก็ตาม หากสถานการณ์โรคระบาดยืดเยื้อ ลากยาวถึง 3 เดือน (ม.ค.-มี.ค.) คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศกว่า 2.39 แสนล้านบาท ซึ่งจะฉุดจีดีพีปีนี้ให้เติบโตได้เพียงระดับ 2% เท่านั้น เเละหากสถานการณ์ยาวนานกว่านี้ เชื่อว่าผลกระทบที่มีต่อเศรษฐกิจก็จะเพิ่มสูงขึ้นตามไปเรื่อยๆ 

เมื่อเจาลึกลงไปในภาคการท่องเที่ยว พบว่า หากมาตรการที่รัฐบาลใช้อยู่ ณ ปัจจุบัน สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ภายใน 2-3 เดือน จำนวนนักท่องเที่ยวในประเทศในปีนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ 109.6 ล้านคนต่อครั้ง ต่ำลงกว่าประมาณการเดิมที่ 131.8 ล้านคนต่อครั้ง แต่ก็ยังสูงกว่าปีก่อนหน้าที่ 91.2  ล้านคนต่อครั้ง
ส่วนจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในปี 2021 คาดว่าจะมีเพียง 4.4 ล้านคนเท่านั้น

โดยมาตรการของรัฐที่คุมเข้มในช่วง 2 เดือน (ม.ค.- ก.พ.) คาดว่าจะส่งผลกระทบทำให้เม็ดเงินในธุรกิจท่องเที่ยวหายไปราว 1.1 แสนล้านบาท

ในกรณีที่ต้องคุมเข้มยาวถึง 3 เดือน จะทำให้นักท่องเที่ยวในประเทศลดเหลือ 100 ล้านครั้ง เม็ดเงินในธุรกิจท่องเที่ยวจะหายไปถึง 1.5 แสนล้านบาท จึงต้องหวังว่าไทยจะสามารถคุมสถานการณ์ COVID-19 รอบใหม่ให้ได้ภายใน 2 เดือนนี้

สำหรับปัญหาการว่างงาน ยังอยู่ในระดับที่น่าเป็นห่วง โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยวที่เกี่ยวเนื่องกับการจ้างงานหลายล้านคน เเม้ช่วงไตรมาส 3-4 ในปีที่ผ่านมา เศรษฐกิจไทยจะเริ่มฟื้นตัวบ้าง เเต่อัตราการว่างงานเเละการมีชั่วโมงการทำงานน้อยกว่าปกติยังไม่ฟื้นตัวเท่าที่ควร ซึ่งจะเป็นปัญหาระยะยาวของโครงสร้างเศรษฐกิจไทย

TMB Analytics ธนาคารทหารไทย มองว่า จากการที่ไทยมีสัดส่วนพึ่งพาภาคการค้าและการท่องเที่ยวถึง 22% ต่อจีดีพี มีการจ้างงานสูงรวมกันที่ 6.9 ล้านคน ดังนั้นคาดว่าผลกระทบจาก COVID-19 รอบใหม่ จะทำให้รายได้ภาคการค้าและการท่องเที่ยวลดลงรวมกันกว่า 1.4 แสนล้านบาท

ด้าน ‘ค่าเงินบาท’ มีเเนวโน้มว่าจะ ‘แข็งค่า’ ตลอดทั้งปี 2021 โดยมีโอกาสที่จะหลุดจาก 30 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ เเละอาจแข็งค่าไปเเตะระดับ 28.50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ จากปัจจัยหลักๆ เช่น ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่า เม็ดเงินลงทุนที่ไหลออกจากประเทศไทยไปต่างประเทศยังน้อย รวมถึงการไหลเข้าของเม็ดเงินในตลาดกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา เเละความท้าทายด้านการส่งออก ปัญหาการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ที่ทำให้ค่าขนส่งที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง

Krungthai COMPASS ประเมินว่า หากการเเพร่ระบาดรุนแรงกว่าที่ประเมินไว้ ก็มีโอกาสที่จะเห็นคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลงจากปัจจุบันอยู่ที่ 0.50% เพื่อช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ

ปัจจัยบวก

  • นโยบายเยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจ
  • การลงทุนในเทคโนโลยีท่ีสอดรับกับยุค 5G และกระแส Green Economy
  • โอกาสจากการเปลี่ยนแปลงสู่ New Normal

ปัจจัยลบ

  • COVID-19 ระลอกใหม่
  • ภัยแล้งรุนแรงและยาวนาน
  • ปัญหาขาดแคลนต้คูอนเทนเนอร์
  • ราคาน้ำมันอยู่ในระดับต่ำ

จับตา ‘The Great Reset’ 

มานะ นิมิตรวานิช ผู้อำนวยการฝ่าย ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS กล่าวว่า ภาคธุรกิจไทยต้องเตรียมตัวรับการเปลี่ยนแปลงที่เป็น Megatrend ของโลก หลังวิกฤตโรคระบาด อย่างกระแสการปรับเปลี่ยนรูปแบบเศรษฐกิจครั้งใหญ่ หรือ The Great Reset ที่ให้ความสำคัญกับการสร้างสมดุลของเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ที่มีความ Greener, Smarter และ Fairer

ภาคธุรกิจไทยต้องปรับตัว เพราะประเทศมหาอำนาจของโลกให้น้ำหนักกับประเด็นนี้มากขึ้น และอาจนำมาใช้เป็นข้ออ้างในการกีดกันทางการค้าได้ “

นอกจากนี้ ยังต้องจับตาท่าทีความร่วมมือระหว่างประเทศที่จะกลายเป็นจุดเปลี่ยนทางการค้ารอบใหม่ เช่น แนวนโยบายภายใต้ ‘โจ ไบเดน’ ผู้นำสหรัฐฯ คนใหม่ รวมไปถึง ‘แผนยุทธศาสตร์ 5 ปีของจีน’ ที่มุ่งเน้นการพึ่งพาตนเองด้านเทคโนโลยีมากขึ้น

ตลอดจนความตกลง RCEP ซึ่งเป็นเขตการค้าเสรีที่ใหญ่ที่สุดโลก ซึ่งมองว่าความตกลง RCEP ที่จะส่งผลดีต่อไทยในการส่งออกสินค้า จากสิทธิประโยชน์ทางด้านภาษีที่เพิ่มขึ้น และอานิสงส์จากการค้าระหว่างคู่เจรจาที่จะคึกคักขึ้น

“ไทยจะได้ผลดีจากการเข้า RCEP เเละมองว่าเวียดนามจะกลายเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวของไทย”

 

]]>
1314167
ทิศทาง “กรุงไทย” หลังพ้นรัฐวิสาหกิจ วางจุดยืน “แบงก์พาณิชย์ของรัฐ” https://positioningmag.com/1309417 Mon, 07 Dec 2020 12:03:08 +0000 https://positioningmag.com/?p=1309417 กรุงไทย (KTB) กำลังเดินสู่ก้าวใหม่ หลังคณะกรรมการกฤษฎีกา ตีความสถานะของธนาคารว่าพ้นจากความเป็นรัฐวิสาหกิจ ในช่วงเวลาเดียวกัน ต้องเผชิญกับความท้าทายของธุรกิจเเบงก์” ในยุคดิจิทัล ฝ่าฟันวิกฤตเศรษฐกิจจากพิษ COVID-19 

การประกาศจะเป็น “เเบงก์ของคนต่างจังหวัด” เข้าถึงชุมชนในไทย เเละรองรับมาตรการช่วยเหลือต่างๆ ของรัฐ ก็เป็นอีกหนึ่ง “งานหิน” ที่ต้องพัฒนาต่อไปเช่นกัน วันนี้เรามาฟังทิศทางต่อไปของกรุงไทยชัดๆ จากเอ็มดี KTB กัน 

ชูจุดเด่น “เเบงก์พาณิชย์ของรัฐ” 

ประเด็นการพ้นสภาพรัฐวิสาหกิจผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย ยืนยันว่า การเปลี่ยนเเปลงดังกล่าวเป็นเป็นการเปลี่ยนที่รูปแบบ เเต่ไม่ได้เป็นสารสำคัญ 

เรื่องนี้ไม่ได้มีผลกระทบต่อการดำเนินงานของกรุงไทยเเต่อย่างใด เพราะเราวางตัวเป็นธนาคารพาณิชย์ของรัฐมาโดยตลอด เเละจะไม่มีการปลดพนักงานออก

โดยผยงอธิบายเพิ่มว่า เเม้ธนาคารกรุงไทยจะพ้นจากการเป็นรัฐวิสาหกิจเเล้ว ตามการตีความด้วยสถานะ เเต่ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงในภาคปฏิบัติยังคงเป็นธนาคารพาณิชย์ของกระทรวงการคลังของรัฐบาล ที่มีกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FIDF) และกระทรวงการคลัง ถือหุ้นใหญ่กว่า 55% มานานกว่า 30 ปีเเล้ว ซึ่งทุกอย่างก็ยังอยู่เหมือนเดิม 

ด้านเงินฝากของหน่วยงานรัฐรัฐวิสาหกิจนั้น ทางกระทรวงการคลังได้เสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบให้หน่วยงานรัฐและรัฐวิสาหกิจฝากเงินกับธนาคารกรุงไทยต่อไปได้ ส่วนผลกระทบด้านอื่นๆ ก็ทยอยความชัดเจนออกมาต่อเนื่อง

ผู้บริหารกรุงไทยเน้นว่าการปฏิบัติงานต่างๆ เหมือนเดิม ไม่ได้มีอะไรที่แตกต่างไปจากเดิม

ตอนนี้เราค้นพบตัวเอง หาทางเดินที่เหมาะสม โดยการเป็นธนาคารพาณิชย์ของรัฐเเห่งเดียวของประเทศไทยที่วางสถานะให้เเข่งขันกับเเบงก์ใหญ่เจ้าอื่นๆ ได้ อยากให้ความมั่นใจเเละไม่ต้องกังวล

-ผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย

ส่วนกระเเสข่าวที่ว่าจะเป็นการฉวยโอกาสเพื่อเอาพนักงานออกนั้นไม่ใช่เรื่องจริง

โดยการพ้นจากการเป็นรัฐวิสาหกิจ ในด้านสวัสดิการพนักงาน มีเพียงเรื่องเดียวที่จะเปลี่ยนคือ เรื่องการรักษาพยาบาล เนื่องจากพนักงานรัฐวิสาหกิจนั้นจะอยู่ภายใต้ พ... งบประมาณฯ ไม่ต้องเข้า พ... ประกันสังคมเหมือนเอกชน

เเต่เมื่อพ้นสภาพมาเเล้ว ผยงกล่าวว่าเรื่องนี้ไม่ใช่ปัญหาใหญ่เพราะเเต่เดิมกรุงไทยก็ไม่ได้ใช้เงินจากงบประมาณแผ่นดินในการดำเนินงาน ดังนั้นธนาคารจะแก้ไขระเบียบภายในให้สามารถปรับการรักษาพยาบาลของพนักงานให้คงสิทธิ์เช่นเดิมได้ โดยได้หารือกับสหภาพเเรงงานถึงการเปลี่ยนเเปลงดังกล่าวเเล้ว เเละเป็นไปด้วยดี

เราจะยืนอยู่บนตัวตนของเรา เป็นพันธมิตรกับรัฐบาล จับมือกับพาร์ตเนอร์อื่นๆ ที่เข้าใจเราเเละเราเข้าใจเขา ทุ่มลงทุนเทคโนโลยี เเละศึกษาทางเลือกอยู่เสมอ

Photo : Shutterstock

เปลี่ยนบริการให้เป็นเซลส์ 

ช่วงที่ผ่านมา กรุงไทยเริ่มปรับตัวครั้งใหญ่ ด้วยการขยับไปสู่การเป็น Personal Life Banking เข้าไปอยู่ในการใช้ชีวิตของผู้คน ผ่านการยึดโยงทางดิจิทัล เป็น One Stop Service เเละเป็น Omni-Channel 

เราจะเเบงก์ของคนต่างจังหวัด ใกล้ชิดชุมชน เเละจะต่อยอดให้เข้าถึงคนไทยให้ได้มากที่สุดต่อไป

ส่วนความท้าทายในการขับเคลื่อนองค์กรที่อยู่มานานนั้น ผยงตอบว่า คือการ ReskillUpskill เพิ่มทักษะยุคใหม่ให้พนักงาน รวมไปถึงการใช้ Data ที่ธนาคารมีอยู่มหาศาลให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

โดยต่อไป กรุงไทย มีวิสัยทัศน์ธุรกิจ 5 เเนวทางหลักๆ ได้เเก่

  • ประคองธุรกิจหลัก ให้ก้าวผ่านช่วงวิกฤตโลก
  • สร้างธุรกิจใหม่ ที่ไม่ใช่เเค่ธุรกรรมธนาคารเเต่ขยายในน่านน้ำอื่นๆ
  • ใช้กระดาษน้อยลง ประหยัดพลังงาน ดำเนินงานสาขาอย่างเป็นมิตรกับสิ่งเเวดล้อม
  • หาพันธมิตรใหม่ๆ ร่วมมือกันสร้างนวัตกรรม เเละลงทุนในเทคโนโลยี
  • ยึดถือสโลเเกนกรุงไทยเคียงข้างไทย สู่ความยั่งยืน  ช่วยเหลือชุมชน SME เพิ่มทักษะให้พนักงาน

เรามีการเปลี่ยนบริการให้เป็นเซลส์ (การขาย) เช่น การเพิ่มบริการคอลเซ็นเตอร์ ด้านการทวงหนี้ ติดตามหนี้ ประเมินหลักทรัพย์ต่างๆ ไปให้บริการกับบริษัทอื่นเพื่อเป็นรายได้อีกช่องทางหนึ่ง

นอกจากนี้ เเต่เดิมกรุงไทยตั้งการใช้งบฯ การลงทุนไว้ที่ 1.4 หมื่นล้าน เเต่ปีนี้ใช้ไปได้เเค่ 7-8 พันล้านจากสถานการณ์โรคระบาด จึงคาดได้ว่าปีหน้าจะมีการทุ่มลงทุนมากขึ้นอย่างเเน่นอน โดยเฉพาะในส่วนดิจิทัล เพื่อรองรับมาตรการต่างๆ ของรัฐ อย่าง เเอปฯ เป๋าตัง เว็บไซต์ลงทะเบียนคนละครึ่ง เที่ยวด้วยกัน ฯลฯ เเละขยายฐานลูกค้าผู้ใช้เเอปพลิเคชัน Krungthai NEXT จากผู้ใช้ตอนนี้ 9.95 ล้านรายให้ได้ 12 ล้านรายในปีหน้า

ธนาคารกรุงไทย ได้แต่งตั้งให้ไปรษณีย์ไทยเป็น Banking Agent อย่างเป็นทางการ เพื่อเพิ่มช่องทางการเข้าถึงบริการทางการเงินให้สะดวกยิ่งขึ้น

ปี 2564 : ประคองธุรกิจ ดูแลสินเชื่อเก่าให้ดีและรอด

ธนาคารพาณิชย์ได้รับผลกระทบหนักจาก COVID-19 ทั้งด้านผลกำไรที่ลดลงเเละราคาหุ้นที่ตกต่ำ เเม้จะผ่านช่วงวิ
กฤตไปเเล้ว เเต่ปีหน้ายังมีความท้าทายสูง จากความเสี่ยงหนี้เสียเเละคนตกงาน

ไม่ใช่ปีเเห่งกำไร หรือปีเเห่งการเติบโต เเต่เป็นปีเเห่งการรักษาความเเสถียร เน้นดูแลสินเชื่อเก่าให้ดีและรอด ผยง ศรีวณิช กล่าวถึงทิศทางธุรกิจในปี 2564

โดยมองว่า แผนดำเนินงานในปีหน้าจะยังไม่เน้นการเติบโตของสินเชื่อใหม่มากนัก ตั้งเป้าการเติบโตไว้ที่ 2-3% ใกล้เคียงกับการขยายตัวของจีดีพีไทย

ผยง คาดว่าเศรษฐกิจไทยในปีนี้ จะหดตัวในกรอบ -6% ถึง -7 % ขณะที่ปี 2564 เศรษฐกิจไทยต้องเผชิญกับความไม่แน่นอน จะขยายตัวได้ในกรอบ 2.0% ถึง 4.0%

เเม้เศรษฐกิจโลกจะฟื้นตัวบ้างเเล้ว เเต่ประเทศไทยยังมีปัจจัยเสี่ยงหลายด้าน โดยเฉพาะการพึ่งพาการท่องเที่ยวที่มีสัดส่วนกว่า 10% ของจีดีพี เเต่ยังฟื้นตัวจำกัด ยังไม่สามารถว่าจะมีนักท่องเที่ยวกลับมาได้เท่าใดเเละเมื่อไหร่ ขึ้นอยู่กับการพัฒนาเเละกระจายจายวัคซีน

ดังนั้น ธนาคารจึงต้องเน้นไปที่การประคองเศรษฐกิจ นำเสนอบริการที่เเยกตามกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น ระวังตลาด
เเรงงานที่ยังเปราบาง อัตราว่างงานสูง ระวังความเสี่ยงจากหนี้เสีย (NPL) ซึ่งตอนนี้ของ KTB อยู่ที่ราว 4% นิดๆรวมไปถึงความเสี่ยงจากหนี้ครัวเรือนด้วย

ประเทศไทยจะลดหนี้ครัวเรือนไม่ได้ หากไม่เพิ่มรายได้ให้ประชาชน…”

ช่วงที่ผ่านมา ลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบขาก COVID-19 ที่เข้าร่วมมาตรการช่วยเหลือของกรุงไทย คิดเป็น 18% ของสินเชื่อรวมที่ระดับ 1.8 ล้านล้านบาท ถือว่าไม่มากนัก เมื่อเทียบกับธนาคารอื่นจะอยู่ที่ราว 30-40% ปัจจัยหลักๆ มาจากลูกค้าเป็นกลุ่มข้าราชการ รัฐวิสาหกิจ ที่ไม่ได้รับผลกระทบเรื่องรายได้ ส่วนสินเชื่อรายย่อยส่วนใหญ่ก็ไม่ได้เชื่อมโยงไปยังซัพพลายเชนธุรกิจอื่นๆ มากนัก

ภาครัฐยังเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในปีหน้า ต้องกระตุ้นกำลังซื้อภาคครัวเรือนให้ความต่อเนื่อง ทั้งโครงการคนละครึ่ง เที่ยวด้วยกัน ช้อปดีมีคืน

ผยง บอกอีกว่า การเบิกจ่ายงบประมาณและการลงทุนของภาครัฐในโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ จะเป็นแรงสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจ และสร้างความเชื่อมั่นของนักลงทุน รวมถึงยกระดับความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจไทยในระยะยาว

@ลุยต่อคนละครึ่งคาดเเห่ลงเฟส 2 ถึง 10 ล้านคน

หนึ่งในมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่กำลังได้รับความนิยมอยู่ ณ ขณะนี้ คงหนีไม่พ้น โครงการคนละครึ่ง ที่ส่งเสริมให้พ่อค้าเเม่ค้ารายย่อยมีรายได้มากขึ้น โดยภาครัฐจะช่วยออกค่าใช้จ่ายให้ครึ่งหนึ่ง แต่ไม่เกิน 150 บาทต่อคนต่อวัน หรือไม่เกิน 3,000 บาท ตลอดระยะเวลาโครงการ ภายใต้วงเงินอุดหนุน 30,000 ล้านบาท ตั้งแต่วันที่ 23 ..-31 .. (เฟสเเรก)

ล่าสุดเฟส 2” จะเริ่มให้ใช้สิทธิในวันที่ 1 .. – 31 มี.. 2564 ขยายวงเงิน 3,500 บาทต่อคน และเพิ่มวงเงินให้แก่ผู้ได้รับสิทธิในเฟสแรกอีก 500 บาทต่อคน เปิดให้ลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ www.คนละครึ่ง.com ตั้งแต่วันที่ 16 ..นี้ เป็นต้นไป

เรากำลังเร่งฝ่ายไอทีให้ตรวจสอบเสถียรภาพ ไม่ให้เกิดปัญหาคอขวด แม้ว่าจะเปิดรับลงทะเบียนเพียง 5 ล้านคน แต่เชื่อว่าจะมีผู้สนใจมาลงทะเบียนสูงถึง 10 ล้านคน

โดยมีการปรับปรุงระบบการลงทะเบียนหน้าเว็บไซต์ ให้สามารถรองรับผู้ใช้งานได้มากขึ้นจาก 200,000 คน ต่อการเข้าใช้งาน 1 ครั้ง เป็น 500,000-1,000,000 คน ต่อการใช้งานในแต่ละครั้ง พร้อมประสานกับผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ ในการเพิ่มประสิทธิภาพและความรวดเร็วของระบบการส่งข้อความยืนยัน โอทีพี (OTP) ผ่าน SMS

ส่วนผู้เข้าร่วมโครงการในเฟสเเรก แล้วต้องการต่อสิทธิ์อัตโนมัติรัฐบาลจะมีการเพิ่มปุ่มหรือส่งข้อความให้ผู้ลงทะเบียนเฟส 1 ยืนยันว่าจะเข้าร่วมมาตรการต่อในเฟส 2 หรือไม่ ขณะที่ผู้ที่ถูกตัดสิทธิ์จากโครงการคนละครึ่ง เฟสเเรก เนื่องจากไม่ได้ใช้จ่ายภายใต้โครงการภายในวันที่กำหนดไว้ สามารถลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการเฟส 2 ได้ 

สำหรับโครงการคนละครึ่ง วันที่ 2 ธันวาคม 2563 มีร้านค้าลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการแล้วกว่า 8.9 แสนร้านค้า และมีผู้ใช้สิทธิแล้วจำนวน 9.5 ล้านคน มียอดการใช้จ่ายสะสม 33,754 ล้านบาท แบ่งเป็นเงินที่ประชาชนจ่าย 17,236 ล้านบาท และภาครัฐร่วมจ่ายอีก 16,518 ล้านบาท ยอดใช้จ่ายเฉลี่ย 181 บาทต่อครั้ง 

ส่วนจังหวัดที่มีการใช้จ่ายสะสมมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สงขลา นครศรีธรรมราช ชลบุรี และเชียงใหม่ โดยผู้ประกอบการร้านค้ายังคงสมัครเข้าร่วมโครงการได้อย่างต่อเนื่อง

 

 

 

]]>
1309417
เศรษฐกิจไทยมีหวัง! กรุงศรี คาด GDP ปี 64 โต 3.3% ส่งออกดี-ท่องเที่ยวซบยาว การเมืองกระทบ “ลงทุน” https://positioningmag.com/1307537 Wed, 25 Nov 2020 09:30:26 +0000 https://positioningmag.com/?p=1307537 ปีหน้ายังมีหวัง เศรษฐกิจไทยจะฟิ้นตัว เเต่ไม่หวือหวามากนักเเบงก์กรุงศรีปรับจีดีพี ปี 2564 ดีขึ้นเป็น 3.3% จากเดิมคาดไว้ที่ 2.9% จากเเรงหนุนส่งออก ลงทุนภาครัฐ บวกอานิสงส์ต่างประเทศเริ่มฟื้น ส่วนธุรกิจท่องเที่ยวยังต้องรอชาวต่างชาตินานถึงปลายปีหน้า

ปัญหาการเมืองยืดเยื้อ กระทบจีดีพี 0.6-1.1% มีผลต่อการลงทุนเเละความเชื่อมั่น มองไทยเข้าร่วม RCEP เปิดตลาดเสรี คือโอกาสหนุนเศรษฐกิจโตในระยะยาว 

สมประวิณ มันประเสริฐ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงานวิจัยและหัวหน้าทีมวิจัยเศรษฐกิจ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) เปิดเผยว่า ธนาคารได้คาดการณ์อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย (จีดีพี) ในปี 2564 อยู่ที่ 3.3% จากเดิมที่คาดไว้ที่ 2.9%

พร้อมๆ กับการปรับจีดีพี ปี 2563 จาก -10.3% มาอยู่ที่ -6.4% เนื่องจากเห็นสัญญาณที่ดีของเศรษฐกิจไทยที่เริ่มฟื้นตัวมาตั้งเเต่ช่วงไตรมาสที่ 3 จากการใช้จ่ายของภาครัฐที่มีการเร่งตัวขึ้น และการส่งออกที่ดีเกินคาดโดยล่าสุดการส่งออกสินค้าปรับดีขึ้นทุกหมวดสินค้า

คาดว่าเศรษฐกิจไทย จะกลับมาเป็นบวกได้ ตั้งแต่ไตรมาส 2/2564 จากฐานที่ต่ำในปีก่อนหน้า การเร่งใช้จ่ายภาครัฐ และการฟื้นตัวของอุปสงค์ภายนอกประเทศ

การลงทุนภาครัฐที่คาดว่าจะขยายตัว 10.5% ในปีหน้า จะเป็นตัวผลักดันภาคการบริโภคขยายตัว 2.5% จากปีนี้ -1.1% และการลงทุนในประเทศโต 3.2% จาก -11% ในปีนี้

ส่วนความท้าทายที่รออยู่นั้น วิจัยกรุงศรีฯ มองว่า หลักๆ คือปัจจัยลบจากสถานการณ์ในประเทศ การฟื้นตัวของภาคท่องเที่ยวจะช้ากว่าภาคอื่นๆ เนื่องจากเศรษฐกิจไทยมีการพึ่งพาการท่องเที่ยวสูงมาก ซึ่งส่งผลกระทบต่อธุรกิจ ทำให้เกิดการว่างงาน ส่งต่อเป็นปัญหารายได้และการใช้จ่ายของผู้บริโภค

“คาดว่าเศรษฐกิจไทย จะกลับเข้าสู่ระดับเดียวกับช่วงก่อนเกิด COVID-19 ได้ในไตรมาส 3 ปี 2565” 

ท่องเที่ยวฟื้นช้า รอต่างชาติยาวถึงปลายปี 64

ผู้บริหารกรุงศรี มองว่า ภาคการท่องเที่ยว เป็นดัชนีชี้วัดเดียวที่ยังไม่มีหวังที่จะกลับมาในเร็วๆ นี้ โดยคาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวในปี 2564 จะอยู่ที่ 4 ล้านคน จากปีนี้อยู่ที่ 6.7 ล้านคน ซึ่งตอนนั้นยังพอมีนักท่องเที่ยวต่างชาติบ้างในช่วงไตรมาส 1

คาดว่าวัคซีน COVID-19 จะถูกนำมาใช้จริงในช่วงกลางปีหน้า เเต่ยังต้องใช้เวลาในการเเจกจ่ายให้ทั่วถึง ขึ้นอยู่กับนโยบายของเเต่ละประเทศ ทำให้การเปิดพรมเเดนรับนักท่องเที่ยวต้องใช้เวลานานยิ่งขึ้นไปอีก โดยความคืบหน้าด้านวัคซีน อาจเร่งให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มขึ้นได้ในช่วงไตรมาส 4/2564”

ขณะที่การเติบโตของการบริโภคภาคเอกชน ปี 2563 มีการปรับคาดการณ์จาก -4.2% เป็น -1.1% และคาดว่าจะเติบโตที่ 2.5% ในปี 2564 โดยการใช้จ่ายภาคครัวเรือนจะค่อยๆ ฟื้นตัว แต่การใช้จ่ายในเกือบทุกหมวดสินค้าจะยังต่ำกว่าระดับก่อนวิกฤต

“การใช้จ่ายของผู้บริโภคในปีนี้ จะหดตัวน้อยกว่าที่คาดไว้ จากมาตรการให้เงินช่วยเหลือวงเงินมากกว่า 4 แสนล้านบาท ในช่วงไตรมาส 2 และ 3 และมาตรการส่งเสริมการใช้จ่ายในประเทศวงเงินประมาณ 1 แสนล้านบาท ในไตรมาส 4/2563”

ส่วนในปี 2564 กรุงศรีฯ มองว่า มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม (งบประมาณพิเศษของรัฐบาลวงเงิน 2 แสนล้านบาท) กำลังซื้อจากกลุ่มชั้นกลาง และกลุ่มที่มีรายได้สูง จะเป็นปัจจัยหนุนการบริโภคภาคเอกชนเติบโตต่อเนื่อง

การเมืองกระทบ “ลงทุน” 

สมประวิณ กล่าวว่า สถานการณ์ความไม่แน่นอนทางการเมืองในประเทศนั้น อาจจะส่งผลให้จีดีพีของปี 2564 ลดลงราว 0.6% ถึง 1.1% และมีผลกระทบระยะยาว (ธนาคารได้รวมปัจจัยนี้ไว้ในการคาดการณ์จีดีพีที่ 3.3% ในกรณีที่ไม่เกิดเหตุรุนเเรง)

โดยมีการประเมินจาก เหตุการณ์ความวุ่นวายทางการเมืองที่ผ่านมา พบว่าส่วนใหญ่จะกระทบต่อภาคการท่องเที่ยว และการลงทุน ซึ่งมีผลโดยตรงกับความเชื่อมั่น เเละการตัดสินใจในการเข้ามาทำธุรกิจ

มอง RCEP เปิดตลาดเสรี คือโอกาส

เศรษฐกิจไทยในปีหน้าจะ “เป็นบวก” ได้มาจาก “การส่งออก” ที่จะพลิกกลับมาขยายตัวได้ 4.5% จากปี 2563 ที่ -7.5% จากอุปสงค์ที่เพิ่มสูงขึ้นสำหรับผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการป้องกัน COVID-19 อุปกรณ์ทางการแพทย์และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานที่บ้าน (work from home)

องค์การการค้าโลก (WTO) คาดการณ์ว่าการเติบโตของยอดส่งออกโลกจะเพิ่มขึ้น 7.2% ในปี 2564 จากคาดการณ์ที่ติดลบในปีนี้ -9.2% มีโอกาสการเติบโตในระยะปานกลาง จากภูมิภาคอาเซียนที่กำลังขยายความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและแนวโน้มการพึ่งพากันภายในภูมิภาคมากขึ้น (Regionalization)

“การเข้าร่วมในความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ของไทย ถือว่าเป็นปัจจัยหนุนต่อการช่วยผลักดันเศรษฐกิจไทยในระยะต่อไป” 

สมประวิณ มันประเสริฐ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงานวิจัยและหัวหน้าทีมวิจัยเศรษฐกิจ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา

ผู้บริหารกรุงศรี มองว่า ประเทศอาเซียนส่วนใหญ่อยู่ในตำแหน่งที่แตกต่างกันบนซัพพลายเชนโลก แสดงถึงโอกาสที่จะเอื้อประโยชน์ต่อกันและกัน ดังนั้นความร่วมมือ RCEP ที่เชื่อมโยงทั้งการค้าและห่วงโซ่อุปทานการผลิต จะเป็นโอกาสในการที่ประเทศไทย จะได้ขยายฐานการส่งออกไปสู่ประเทศที่มีแนวโน้มขยายตัวมากขึ้น และเป็นกลุ่มประเทศที่ประชากรเริ่มมีกำลังซื้อสูงขึ้น ทำให้ช่วยผลักดันเศรษฐกิจไทยได้

ทีมวิจัยเศรษฐกิจ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา สรุปข้อเสนอเเนะเกี่ยวกับ “มาตรการช่วยเหลือ” ใน 4 ประเด็น ได้เเก่ 

  • การปรับโครงสร้างหนี้ เพราะจะช่วยให้ระบบการเงินขับเคลื่อนไปได้
  • สร้างสภาพคล่องในระบบ เเม้ว่าธุรกิจต่างๆ จะกลับมาเปิดให้บริการตามปกติเเล้ว
  • สนับสนุนให้เกิดการจ้างงาน กระตุ้นให้กลุ่มคนที่ “มีกำลังซื้อ” ออกมาจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น
  • ช่วยเหลือภาคท่องเที่ยว เช่นการลดภาษี กระตุ้นให้ผู้คนท่องเที่ยวในประเทศ

“ควรดำเนินการทันทีและทำให้เหมาะสม ขึ้นอยู่กับระดับของปัญหาสภาพคล่อง ซึ่งมาตรการช่วยเหลือที่ออกมาส่วนใหญ่ยังคงไม่เพียงพอ เเละยังขาดมาตรการที่ส่งเสริมการให้สินเชื่อใหม่”

 

]]>
1307537
ปีหน้าฟื้นยาก! KKP หั่นเป้า GDP ปี 2021 โตแค่ 3.4% ท่องเที่ยวซบยาว ธุรกิจกลาง-เล็ก จ่อปิดกิจการ https://positioningmag.com/1298164 Tue, 22 Sep 2020 08:21:07 +0000 https://positioningmag.com/?p=1298164 KKP Research ปรับลดคาดการณ์ GDP ปี 2564 จาก 5.2% เหลือ 3.4% กรณีเลวร้ายสุดอาจโตเเค่ ระดับ 0%-1% เท่านั้น มองภาคท่องเที่ยวฟื้นตัวช้ากว่าเดิม คาดนักท่องเที่ยวลดเหลือเเค่ 6.4 ล้านคน เเละมีความเสี่ยงจะต่ำกว่านี้ หากไม่สามารถเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติได้จริง แม้ว่าตัวเลขเศรษฐกิจน่าจะผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว แต่ผลกระทบต่อภาคธุรกิจ การว่างงาน ความเสี่ยงปิดกิจการ ยังน่าเป็นห่วง

ไทยจะฟื้นตัวช้ากว่าประเทศอื่น หากยังไม่เปิดรับนักท่องเที่ยว

KKP Research โดยเกียรตินาคินภัทร ออกบทวิเคราะห์ฉบับล่าสุด แสดงความกังวลถึงเศรษฐกิจไทยในปีหน้า ระบุว่า เเม้ไทยประสบความสำเร็จในการควบคุมการติดเชื้อในประเทศ และกิจกรรมทางเศรษฐกิจเริ่มกลับมาอีกครั้ง 

เเต่เมื่อพิจารณาโครงสร้างของเศรษฐกิจไทย พบว่ามีการพึ่งพาการท่องเที่ยวเป็นสัดส่วนมากถึง 12% ของ GDP ประกอบกับเศรษฐกิจไทยที่อ่อนแออยู่แล้วตั้งแต่ก่อนวิกฤต COVID-19 จะทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้ยากและช้ากว่าประเทศอื่นๆ มากในภาวะที่การท่องเที่ยวยังไม่กลับมา

หนึ่งในสัญญาณที่อาจสามารถสะท้อนให้เห็นทิศทางของเศรษฐกิจไทยในระยะต่อไปได้บ้าง คือ แนวโน้มการฟื้นตัวของตลาดหุ้นไทยซึ่งเปรียบเทียบแล้วตลาดหุ้นไทยแทบไม่ฟื้นตัวในขณะที่หุ้นในหลายประเทศฟื้นตัวกลับไปใกล้เคียงกับจุดก่อนเกิดการระบาดของ COVID-19 แล้ว

สำหรับในปี 2020 นี้คาดว่าจะไม่มีนักท่องเที่ยวต่างประเทศเข้ามาในประเทศอย่างมีนัยสำคัญ จากเดิมที่คาดว่าจะเริ่มมีนักท่องเที่ยวเข้ามาได้บางส่วนในช่วงปลายปีนี้ 

โดยมองไปในปี 2021 ไทยจะยังคงเผชิญกับโจทย์อันท้าทายในการเปิดรับนักท่องเที่ยวในวงกว้าง เนื่องจากข้อจำกัดทั้งทางด้านความสามารถในการกักตัวและติดตามนักท่องเที่ยว ประกอบกับพัฒนาการของวัคซีนที่มีแนวโน้มจะยังไม่สามารถใช้ได้ทันในช่วงครึ่งปีแรก ทำให้ต้องเปลี่ยนการคาดการณ์จำนวนนักท่องเที่ยวในปี 2021 จาก 17 ล้านคน เหลือเพียง 6.4 ล้านคน

คาดว่านักท่องเที่ยวจะเริ่มกลับเข้ามาได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยมากขึ้น ในช่วงไตรมาส 3 และ 4 ของปี 2021 แต่ยังอยู่ในระดับต่ำกว่าระดับปกติก่อน COVID-19 ที่มีจำนวนมากถึง 40 ล้านคน

KKP Research จึงปรับการคาดการณ์การเติบโตของ GDP ปี 2021 เหลือเพียง 3.4% เมื่อเทียบกับการหดตัวถึง 9% ในปีนี้ จะทำให้เศรษฐกิจไทยอาจต้องใช้เวลานานถึงประมาณ 3-4 ปีกว่าที่จะกลับเข้าสู่ระดับปกติ 

อย่างไรก็ตาม สมมติฐานในการประมาณการเศรษฐกิจยังมีความไม่แน่นอนอยู่ค่อนข้างมาก ในกรณีเลวร้ายที่ประเทศไทยอาจไม่สามารถเปิดประเทศเพื่อรับนักท่องเที่ยวได้เลยในช่วงปี 2021 จะส่งผลกระทบรุนแรงต่อทั้งการจ้างงานและการเลิกกิจการของบริษัทในวงกว้าง การเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญของหนี้เสีย (NPL) ที่จะฉุดรั้งการบริโภคและการลงทุนในประเทศ เป็นความเสี่ยงที่ทำให้เศรษฐกิจจะหดตัวลึกไปกว่าเดิม และอาจโตได้ในระดับ 0%-1% เท่านั้น

เราเที่ยวด้วยกัน ยังกระตุ้นไม่พอ

ผลกระทบจากการไม่มีนักท่องเที่ยวทำให้หลายพื้นที่ยังไม่สามารถฟื้นตัวได้ โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีการพึ่งพารายได้จากการท่องเที่ยวในระดับสูง โดยจังหวัดที่มีรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด (Gross Domestic Product: GPP) อยู่ในระดับสูง (มากกว่า 50% ของ GPP) คือ ภูเก็ต และพังงา ยังคงมีอัตราการเข้าพักอยู่ในระดับต่ำภายหลังสิ้นสุดมาตรการปิดเมือง เฉลี่ยไม่ถึง 10% ในเดือนกรกฎาคม จากระดับปกติที่เกือบ 80% ในปี 2019

ถึงแม้จะมีมาตรการรัฐอย่าง “เราเที่ยวด้วยกัน” ก็ยังไม่สามารถกระตุ้นการท่องเที่ยวได้ตามที่คาดหวังไว้ เเต่จากการใช้มาตรการมากว่า 2 เดือน ยังมีการใช้สิทธิ์จองที่พัก เพียง 1 ล้านจาก 5 ล้านสิทธิ์ หรือ 20% เท่านั้น

โดยพื้นที่ที่ได้ประโยชน์จากมาตรการรัฐยังคงเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่อยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ และสามารถเดินทางไปด้วยรถยนต์ได้ อาทิ หัวหิน พัทยา เนื่องจากความกังวลต่อ COVID-19 ยังคงมีอยู่ทำให้คนส่วนใหญ่ยังคงเลือกเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัวมากกว่าเครื่องบิน อีกทั้งคนที่ยังมีกำลังซื้อส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ในกรุงเทพ ฯ จึงทำให้หลายพื้นที่ยังไม่ได้รับผลประโยชน์จากมาตรการนี้

ถึงแม้ว่าหลายพื้นที่จะได้รับประโยชน์จากมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวในประเทศ แต่รายได้จากนักท่องเที่ยวไทยยังคงไม่เพียงพอที่จะชดเชยรายได้ที่สูญไปจากการขาดนักท่องเที่ยวต่างชาติ

โดยในปีที่ผ่านมารายได้จากนักท่องเที่ยวไทยคิดเป็นเพียง 1 ใน 3 ของรายได้จากนักท่องเที่ยวในประเทศทั้งหมด ส่งผลให้รายได้ของโรงแรมลดลงและหลายโรงแรมต้องปิดตัวไป โดยปัจจุบันโรงแรมกว่า 40% ของโรงแรมทั้งหมดยังคงปิดบริการชั่วคราวอยู่ 

ข้อมูลจากการขอใช้สิทธิ์เราเที่ยวด้วยกัน ยังแสดงให้เห็นความแตกต่างของการฟื้นตัวในกลุ่มโรงแรมที่พักด้วยกันเอง โดยคนใช้สิทธิ์จองที่พักมีราคาเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 2,900 บาทต่อคืน หรือกล่าวได้ว่าโรงแรมที่ได้รับประโยชน์จากมาตรการส่วนใหญ่เป็นกลุ่มโรงแรมระดับ 3 ดาวขึ้นไป

ขนส่ง-ค้าปลีก เริ่มฟื้นครึ่งปีหลัง 

ธุรกิจแต่ละประเภทได้รับผลกระทบแตกต่างกันจากการหดตัวของนักท่องเที่ยว เมื่อย้อนดูข้อมูล GDP ไตรมาส 2 ปี 2020 ที่หดตัว 12.2% มากที่สุดตั้งแต่วิกฤตต้มยำกุ้งปี 1997 และเมื่อมองในระดับธุรกิจเราจะเห็นผลกระทบที่ต่างกันไป โดยธุรกิจที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด ได้เเก่

  • ธุรกิจที่พักอาศัยและอาหาร -50.2%
  • การเดินทาง -38.9%
  • การผลิต -14.4%
  • ค้าปลีก -9.8%

ส่วนธุรกิจที่ยังพอขยายตัวได้ คือ การก่อสร้าง +7.3% บริการทางการเงิน +1.7% และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร +1.6%

นอกจากนี้ ผลกระทบจากการปิดเมือง เป็นอีกหนึ่งเหตุผลสำคัญที่ทำให้ธุรกิจหดตัวลงในช่วงไตรมาส 2 โดยผลกระทบที่ใหญ่ที่สุดเกิดขึ้นใน ธุรกิจการเดินทางและการขนส่ง การค้าปลีก และที่พักและอาหาร ซึ่งผลจากการปิดเมืองทำให้รายได้ของธุรกิจกลุ่มนี้หายไปประมาณ 10% 

อย่างไรก็ดี ในช่วงไตรมาส 3 และ ไตรมาส 4 ของปีนี้ธุรกิจในกลุ่มนี้อาจปรับตัวดีขึ้นบ้างหลังการเปิดเมือง แต่ยังคงอยู่ในแดนติดลบจากนักท่องเที่ยวที่ยังไม่กลับมาเป็นปกติ

“ในปี 2021 การฟื้นตัวจะแตกต่างกันในแต่ละธุรกิจ จากการฟื้นตัวของอุปสงค์ในแต่ละกลุ่มที่ไม่พร้อมกัน กลุ่มธุรกิจที่พึ่งพานักท่องเที่ยวสูงจะยังไม่สามารถฟื้นตัวได้มากนัก ขณะที่กลุ่มที่พึ่งพาการบริโภคในประเทศและการส่งออกเป็นหลัก เช่น การค้าปลีก ค้าส่ง เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และภาคการผลิต จะสามารถกลับมาขยายตัวได้บ้างตามการฟื้นตัวของการบริโภค ในขณะที่ภาคการก่อสร้างอาจฟื้นตัวจากโครงการลงทุนของภาครัฐ”

แม้ตัวเลขเศรษฐกิจน่าจะผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว เศรษฐกิจในประเทศค่อย ๆ ฟื้นตัว แต่ยังมีความท้าทายจากอีก 3 ปัจจัยสำคัญ ดังนี้

ธุรกิจขนาดกลาง-เล็ก เสี่ยงเลิกกิจการ 

หากสถานการณ์การปิดประเทศยังคงลากยาว แต่ผลกระทบต่อฐานะทางการเงินของธุรกิจอาจเลวร้ายลง โดยเฉพาะในกลุ่มที่มีการพึ่งพาการท่องเที่ยวเป็นหลัก โรงแรมจะยังประสบปัญหาอัตราการเข้าพักที่ยังไม่กลับมาจนถึงระดับที่คุ้มทุนในการดำเนินกิจการ

เมื่อดูตัวเลขกำไรจากการดำเนินงานในรูปเงินสด (EBITDA) ของบริษัทในกลุ่มโรงแรมที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) พบว่ากระแสเงินสดเปลี่ยนจากตัวเลขบวก เป็นติดลบในไตรมาส 2 ของปีนี้ ซึ่งจะกระทบต่อความสามารถในการดำเนินธุรกิจและการชำระหนี้ของบริษัท

“สถานการณ์มีแนวโน้มจะรุนแรงมากกว่า สำหรับโรงแรมขนาดกลางและขนาดเล็กที่ไม่ได้อยู่ในตลาดหลักทรัพย์” 

นอกจากนี้ ธุรกิจอีกหลายกลุ่มยังมีความเสี่ยงที่ผิดนัดชำระหนี้เพิ่มขึ้นในช่วงที่ผ่านมา เเละหากเศรษฐกิจยังฟื้นตัวอย่างเปราะบาง ธุรกิจยังคงมีกระแสเงินสดที่ติดลบต่อเนื่อง อาจทำให้ธุรกิจต้องปิดกิจการซึ่งจะเป็นความเสี่ยงที่สำคัญต่อการจ้างงานในระยะต่อไป

“ว่างงาน” อาจรุนแรงขึ้นอีก

ความเสี่ยงด้านกระแสเงินสดอาจส่งผลต่อเนื่องมายังการจ้างงาน แม้ว่าตัวเลขเศรษฐกิจจะปรับตัวดีขึ้นบ้างจากการผ่อนคลายการปิดเมือง แต่เรายังคาดว่าผลที่จะเกิดขึ้นกับการจ้างงานยังไม่ถึงจุดต่ำสุด จากความเสี่ยงในการเลิกกิจการในธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวที่จะยิ่งสูงขึ้นหากสถานการณ์ลากยาวต่อไป

ตัวเลขชั่วโมงการทำงานในเดือนมิถุนายนปรับตัวลดลงถึง 12% เมื่อเทียบกับปีก่อนและหดตัวลงในแทบทุกกลุ่มอาชีพ สะท้อนให้เห็นว่าลำพังเฉพาะตัวเลขสำรวจการจ้างงานในไตรมาส 2 ที่ระบุว่ามีการว่างงานประมาณ 7 แสนคน หรือ 1.9% อาจไม่ใช่ปัจจัยที่สะท้อนสถานการณ์ในตลาดแรงงานได้ทั้งหมด

หากนับรวมกลุ่มคนที่ถูกพักงานไม่ได้รับเงินเดือน หรือคนที่ถูกลดจำนวนชั่วโมงทำงานลง จะทำให้ตัวเลขนี้รวมกับคนว่างงานในปัจจุบันสูงถึงกว่า 3 ล้านคน KKP Research คาดว่าจำนวนการว่างงานอาจสูงถึง 5 ล้านคน หรือมากกว่านั้นได้หากเศรษฐกิจเข้าสู่กรณีเลวร้ายที่นักท่องเที่ยวไม่สามารถกลับมาได้ในปีหน้า

ปัญหาการขาดรายได้และการว่างงานเป็นวงกว้างเช่นนี้ไม่เพียงแต่จะกระทบต่อชีวิตผู้คน ซ้ำเติมปัญหาหนี้ครัวเรือนและปัญหาทางสังคมอื่นๆ เท่านั้น แต่ยังส่งผลทางอ้อมต่อเศรษฐกิจอีกรอบหนึ่งอีกด้วยผ่านการชะลอลงของการบริโภค โดยเฉพาะการบริโภคในกลุ่มสินค้าคงทน เช่น บ้าน รถยนต์ ซึ่งคิดเป็นประมาณ 18% ของการบริโภคทั้งหมด ทำให้การบริโภคในปี 2021 อาจฟื้นตัวช้ากว่าที่คาดได้

พักชำระหนี้…กำลังจะหมดลง

หลังจากที่มีการระบาดของ COVID-19 ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ออกมาตรการช่วยเหลือภาคธุรกิจผ่านธนาคารพาณิชย์ในหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็นการลดอัตราดอกเบี้ย การพักและเลื่อนการชำระหนี้ออกไป 3-6 เดือน การเพิ่มระยะเวลาในการคืนหนี้ ซึ่งแตกต่างกันไปตามประเภทของหนี้และสถาบันการเงิน

“จำนวนลูกหนี้ที่เข้าร่วมมาตรการพักชำระหนี้ของธนาคารแห่งประเทศไทย ณ เดือนกรกฎาคม โดยรวมมีถึง 12.5 ล้านบัญชี รวมมูลค่า 7.2 ล้านล้านบาท ซึ่งคิดเป็นประมาณ 1 ใน 3 ของหนี้ทั้งระบบ” 

เมื่อธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ประกาศว่าหลังจากเดือนตุลาคมเป็นต้นไปจะไม่มีการต่อโครงการพักชำระหนี้แบบทั่วไปเช่นในปัจจุบันอีก เพื่อป้องกันปัญหาการเข้าร่วมโครงการทั้งที่อาจจะไม่ได้รับผลกระทบจริง (Moral Hazard) และป้องกันความเคยชินจากการไม่จ่ายหนี้ของลูกหนี้ ธนาคารแต่ละแห่งอาจจะต้องปรับโครงสร้างหนี้กับลูกค้าเป็นราย ๆ ไป ทำให้เรายังต้องจับตาดูว่าหลังจากนี้จะมีลูกหนี้สัดส่วนมากน้อยเพียงใดที่จะไม่สามารถกลับมาจ่ายหนี้ได้ และหนี้จำนวนมากแค่ไหนที่จะกลายเป็นหนี้เสีย (NPL)

สถานการณ์ที่ยังมีความไม่แน่นอนสูงจะทำให้ธนาคารไม่ปล่อยกู้เพิ่มเติม จะเป็นอีกหนึ่งสาเหตุสำคัญที่จะกดดันการบริโภคสินค้าคงทน เช่น บ้าน รถยนต์ รวมถึงการลงทุนที่ต้องพึ่งพาการกู้ยืมเงินจากธนาคาร

เศรษฐกิจยังอ่อนเเอ เเนะรัฐออก “มาตรการเพิ่มเติม” 

จากมุมมองต่อเศรษฐกิจในระยะข้างหน้าที่ยังอ่อนแอและมีความไม่แน่นอนสูง ภาครัฐยังจำเป็นต้องมีมาตรการเพิ่มเติมเพื่อช่วยประคับประคองเศรษฐกิจให้เดินหน้าและรองรับแรงงานที่ตกงานจำนวนมหาศาล แม้ว่ารัฐบาลจะมีการออกชุดมาตรการในการกระตุ้นเศรษฐกิจมาแล้วในจำนวน 1 ล้านล้านบาท (6% ของ GDP) แต่การใช้จริงยังทำได้น้อยมาก

“ในจำนวน 6 แสนล้านบาทที่เป็นมาตรการเยียวยามีการใช้เงินไปเพียง 390,000 ล้านบาท ผ่านโครงการแจกเงิน 5,000 บาทให้กับชาวนาและแรงงานนอกระบบจำนวน 24 ล้านคน และที่เหลืออีก 4 แสนล้านบาทที่จะใช้เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ ก็มีเพียง 42,000 ล้านบาทที่ใช้ไปเพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายและการท่องเที่ยวในประเทศ” 

KKP Research ประเมินว่า รัฐยังมีความสารถในการทำนโยบายการคลังเพิ่มเติมหลังจากนี้ แม้ว่าจะมีความกังวลมากขึ้นเกี่ยวกับหนี้สาธารณะที่มีแนวโน้มจะแตะระดับ 60% ซึ่งเป็นเพดานตามกฎหมายในปัจจุบัน แต่จากต้นทุนในการกู้ยืมเงินของรัฐที่ต่ำลงมากเมื่อเทียบกับอดีต (อัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรรัฐบาล 10 ปี อยู่ที่ 1.5% เทียบกับ 3.5% ในช่วง 6-7 ปีที่ผ่านมา) ทำให้ประเมินว่าประเด็นเรื่องความสามารถในการจ่ายหนี้และความมั่นคงทางการคลังจะไม่เป็นปัญหามากนักบนเงื่อนไข 3 ข้อ ได้เเก่

(1) หนี้ที่กู้ยืมมาต้องถูกใช้ไปอย่างเหมาะสมเพื่อสร้างการเติบโตของ GDP ในอนาคต

(2) ตลาดยังมีความเชื่อมั่นในความมั่นคงทางการคลังและอัตราดอกเบี้ยยังอยู่ในระดับต่ำต่อเนื่อง

(3) รัฐมีการวางแผนในการลดการขาดดุลการคลังในอนาคตที่ชัดเจนเช่นการปฏิรูปภาครัฐเพื่อลดรายจ่าย และเพิ่มรายได้ภาครัฐในอนาคต

“ภายใต้สถานการณ์ที่มีความไม่แน่นอนสูงเช่นนี้รัฐจำเป็นต้องเร่งออกมาตรการอื่น ๆ เพิ่มเติม และคิดถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตเพื่อเตรียมเครื่องมือให้พร้อมหากสถานการณ์ไม่ได้เป็นไปตามคาด”

 

อ่านบทวิเคราะห์ฉบับเต็ม (ที่นี่)

 

]]>
1298164
COVID-19 ทุบเศรษฐกิจไทย “คลัง” คาดจีดีพีปีนี้ -8.5% ผ่านจุดต่ำสุดในไตรมาส 2 มาแล้ว https://positioningmag.com/1290116 Thu, 30 Jul 2020 08:22:26 +0000 https://positioningmag.com/?p=1290116 สศค.คาดการณ์จีดีพีปีนี้ -8.5% จากพิษ COVID-19 ก่อนจะกลับมาขยายตัวในระดับ 4-5% ในปีหน้า เริ่มเห็นสัญญาณการฟื้นตัว หลังผ่านจุดต่ำสุดในช่วงไตรมาส 2/63 ที่คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะติดลบเกินกว่า 10% เเละคาดว่าในไตรมาส 3/63 ยังติดลบเเต่ไม่มากเท่าไตรมาสก่อน

ลวรณ แสงสนิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เผยประมาณการเศรษฐกิจไทยในปี 2563 คาดว่าจะจีดีพีหดตัวที่ร้อยละ -8.5 ต่อปี (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ -9.0 ถึง -8.0) จากปีก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 2.4 ต่อปี โดยมีสาเหตุหลักมาจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ขยายตัวเป็นวงกว้าง ส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติและเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าหลักหดตัวลง

โดยคาดว่ามูลค่าการส่งออกสินค้าปีนี้ จะหดตัวที่ร้อยละ -11 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ -11.5 ถึง -10.5) ขณะที่จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามายังประเทศไทยจะหดตัวที่ร้อยละ -82.9 นอกจากนี้การบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน คาดว่าจะหดตัวที่ร้อยละ -2.6 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ -3.1 ถึง -2.1) และ -12.6 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ -13.1 ถึง -12.1) ตามลำดับ สอดคล้องกับทิศทางภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง

อย่างไรก็ตาม การใช้จ่ายของภาครัฐคาดว่าจะขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งในส่วนของการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณ การโอนงบประมาณ ตามพระราชบัญญัติโอนงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. 2563 และพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน เพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของ COVID-19 พ.ศ. 2563 โดยมีกรอบวงเงินกู้ไม่เกิน 1 ล้านล้านบาท โดยคาดว่าการบริโภคภาครัฐจะขยายตัวที่ร้อยละ 4.3 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 3.8 ถึง 4.8) และการลงทุนภาครัฐจะขยายตัวที่ร้อยละ 9.7 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 9.2 ถึง 10.2)

กระทรวงการคลัง คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะเริ่มฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปหลังภาคธุรกิจเริ่มกลับมาดำเนินกิจการ ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจมีมากขึ้น ประกอบกับผลของมาตรการดูแลและเยียวยาผลกระทบจากไวรัสโคโรนาของรัฐบาล ระยะที่ 1-3 และมาตรการ “เราเที่ยวด้วยกัน” เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบธุรกิจ ท่องเที่ยว และธุรกิจเกี่ยวเนื่อง จะช่วยสนับสนุนการบริโภคภาคเอกชน รักษาระดับการจ้างงาน และสนับสนุนเศรษฐกิจชุมชนให้เกิดการหมุนเวียนกิจกรรม เศรษฐกิจภายในประเทศต่อไป ทำให้คาดว่าเศรษฐกิจไทยได้ผ่านจุดต่ำสุดมาแล้วในช่วงไตรมาส 2 ปี 2563 และจะเห็นตัวเลขเศรษฐกิจที่ติดลบน้อยลงในช่วงครึ่งหลังของปี 2563 โดยประเมินว่าเศรษฐกิจไทยจะสามารถกลับมาขยายตัวได้ที่ร้อยละ 4.0 ถึง 5.0 ในปี 2564 

สำหรับเสถียรภาพเศรษฐกิจไทยภายในประเทศ คาดว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2563 จะอยู่ที่ร้อยละ -1.3 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ -1.8 ถึง -0.8) ปรับตัวลดลงจากปีก่อน ตามแนวโน้มราคาน้ามันดิบในตลาดโลก ที่ปรับตัวลดลงและอุปสงค์ภายในประเทศที่ชะลอตัวลง

ขณะที่เสถียรภาพเศรษฐกิจภายนอกประเทศ คาดว่าดุลบัญชีเดินสะพัดจะเกินดุล 1.33 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็น ร้อยละ 2.7 ของจีดีพี (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 2.2 ถึง 3.2 ของจีดีพี)

Photo : Shutterstock

ส่วนปัจจัยที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิดในระยะต่อไป ได้เเก่ สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 การพัฒนาวัคซีน และการผ่อนคลายมาตรการการเดินทางระหว่างประเทศของประเทศต่าง ๆ หลังสถานการณ์คลี่คลายลง ซึ่งจะมีผลต่อจานวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาประเทศในช่วงที่เหลือของปี 2563 และอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปี 2563

โดยกระทรวงการคลัง คาดว่าธุรกิจที่จะฟื้นตัวได้เร็ว ได้แก่ สินค้าอุปโภคบริโภค อาหารและเครื่องดื่ม และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับดิจิทัล รวมถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของประชาชนสู่วิถีชีวิตใหม่ (New Normal) จะช่วยสนับสนุนธุรกิจบริการดิจิทัล และธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce) ให้ขยายตัวได้ดี

 

]]>
1290116