รัฐบาลอินโดนีเซีย – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Sun, 19 Sep 2021 13:08:17 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ‘ฮุนได-เเอลจี’ ปักหลักสร้างโรงงานผลิต ‘เเบตเตอรี่’ ในอินโดนีเซีย ป้อนตลาด EV โลก https://positioningmag.com/1352514 Sun, 19 Sep 2021 12:03:00 +0000 https://positioningmag.com/?p=1352514 สองเทคยักษ์ใหญ่เกาหลีฮุนไดเเอลจีทุ่มทุน 1.1 ล้านดอลลาร์ ปักหลักสร้างโรงงานผลิตเเบตเตอรี่สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าในอินโดนีเซีย

ประธานาธิบดีโจโก วิโดโด กล่าวยกย่องว่านี่เป็นก้าวสำคัญของการเปลี่ยนไปสู่การเป็นประเทศเเห่งเทคโนโลยี

โดย ‘แอลจี เอเนอร์จี โซลูชั่นประกาศร่วมทุนกับผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่อย่างฮุนได มอเตอร์ กรุ๊ปเริ่มเริ่มก่อสร้างโรงงานผลิตแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า (EV) บนพื้นที่ทางตะวันตกของเกาะชวา อินโดนีเซีย

คิม จงฮยอน ซีอีโอของแอลจี เอเนอร์จี กล่าวว่า โรงงานที่อินโดนีเซียแห่งนี้ จะเป็นฐานการผลิตหลักในการตีตลาดรถยนต์ไฟฟ้าทั่วโลก ไม่ใช่เเค่ในอาเซียนเท่านั้น

โดยจะจะผลิตแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน สำหรับรถยนต์ไฟฟ้า ด้วยเทคโนโลยี NCMA ซึ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่พัฒนาขึ้นโดยแอลจี ใช้นิกเกิลเป็นองค์ประกอบหลักในการผลิตแบตเตอรี่ถึง 90% คาดว่าจะเริ่มผลิตได้ในปี 2024 เเละจะนำไปใช้ในรถยนต์รุ่นใหม่ของฮุนไดเเละ Kia

กำลังการผลิตเซลล์แบตเตอรี่เบื้องต้นจะอยู่ที่ 10 GWh หรือเพียงพอสำหรับรถยนต์ไฟฟ้ากว่า 150,000 คันต่อปีขณะเดียวกัน ฮุนไดก็กำลังสร้างโรงงานผลิตรถยนต์ในบริเวณใกล้เคียง โดยจะเริ่มผลิตในปีหน้า

อินโดนีเซียกำลังเป็นที่ดึงดูดของบรรดาบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ เนื่องจากเป็นประเทศผู้ผลิตเเร่นิกเกิลรายใหญ่ที่สุดของโลก เเละมีกำลังผลิตเพิ่มขึ้นกว่า 46% เป็น 550,000 ตันต่อปี (ข้อมูลปี 2020) เเละต้องการเป็นส่วนสำคัญในห่วงโซ่อุปทานของวงการรถยนต์ไฟฟ้าระดับโลก

ทั้งนี้ โรงงานแบตเตอรี่เเห่งนี้ เป็นเพียงส่วนหนึ่งของแผนการลงทุนกว่า 9,800 ล้านดอลลาร์ ที่รัฐบาลอินโดนีเซียร่วมลงนามกับแอลจี เมื่อเดือน ธ.. 2020 เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมแบตเตอรี่ในประเทศแบบครบวงจรตั้งเเต่โรงถลุงนิกเกิล โรงงานผลิตสารตั้งต้นในการผลิตแบตเตอรี่ และโรงงานรีไซเคิล

ประธานาธิบดีอินโดนีเซีย ระบุว่า การก่อสร้างโรงงานผลิตแบตเตอรี่แห่งใหม่นี้ ชี้ให้เห็นถึงความพยายามของรัฐบาล ในการพัฒนาอุตสาหกรรมเหมืองแร่ของประเทศ เพื่อให้หลุดพ้นกับดักการเป็นเพียงผู้ผลิตวัตถุดิบ

หมดยุคทองของสินค้าโภคภัณฑ์แล้ว เราต้องเปลี่ยนโครงสร้างทางเศรษฐกิจ จากการผลิตวัตถุดิบ ไปสู่อุตสาหกรรมขั้นปลาย โดยอาศัยการพัฒนาเทคโนโลยีเเละนวัตกรรมต่างๆ

โดยผู้นำอินโดนีเซีย มองว่า การพัฒนาอุตสาหกรรมแบตเตอรี่ในประเทศจะดึงดูดการลงทุนของต่างชาติ เพื่อสนับสนุนการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าในท้องถิ่น รวมถึงรถจักรยานยนต์และรถประจำทางด้วย

 

 

ที่มา : Nikkei Asia , hyundai

]]>
1352514
อินโดนีเซีย เปิดทางเอกชนซื้อ ‘วัคซีนโควิด’ ให้พนักงานและครอบครัว ช่วยกระจายฉีด ‘เร็วขึ้น’ https://positioningmag.com/1332766 Tue, 18 May 2021 11:38:04 +0000 https://positioningmag.com/?p=1332766 ตอนนี้บริษัทต่างๆ ในอินโดนีเซีย กำลังเร่งฉีดวัคซีนต้านโควิด-19 ให้กับพนักงานเเละครอบครัวของพวกเขา…

รัฐบาลอินโดนีเซีย ได้เปิดตัวโครงการกระจายวัคซีนช่องทางใหม่เปิดโอกาสให้ธุรกิจภาคเอกชน สามารถจัดซื้อวัคซีนโควิด-19 ให้กับพนักงานและสมาชิกในครอบครัวได้ เพื่อเป็นกำลังเสริมช่วยกระจายวัคซีนไปทั่วประเทศ เร่งให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่ให้เร็วที่สุด

อินโดนีเซีย เป็นประเทศขนาดใหญ่ที่มีประชากรถึง 270 ล้านคน มียอดมีผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาไปเเล้วมากกว่า 1.7 ล้านคน มากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

เเรงงานในบริษัทที่ต้องใช้แรงงานจำนวนมาก อย่างอุตสาหกรรมอาหารและปิโตรเคมี จะเป็นกลุ่มแรกที่ได้รับการฉีดวัคซีนของภาคเอกชน เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ

ประธานาธิบดีโจโก วิโดโด ประกาศว่าเราหวังว่าโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมทั้งหมด จะได้รับการปกป้องจากโควิด -19 เพราะพวกเขามีบทบาทสำคัญในการเติบโตของเศรษฐกิจ

ก่อนหน้านี้ รัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการฉีดวัคซีนกับบุคลากรทางการแพทย์เเละผู้สูงอายุ มาตั้งแต่ช่วงเดือนมกราคม เเละตั้งเป้าว่าประชาชนราว 70 ล้านคน จะต้องได้รับการฉีดวัคซีนภายในเดือนสิงหาคม หรือเดือนกันยายนเป็นอย่างช้า

ล่าสุดบริษัทกว่า 22,000 แห่ง ซึ่งมีพนักงานและสมาชิกในครอบครัวรวมกันหลายล้านคน ได้ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการจัดซื้อวัคซีนภาคเอกชนแล้ว และคาดว่าจะมีบริษัทจำนวนมากที่จะทยอยเข้ามา

โดยมีบริษัทที่เข้าร่วมโครงการ เช่น Unilever Indonesia ยักษ์ใหญ่ด้านสินค้าอุปโภคบริโภค ฝั่งธุรกิจปิโตรเคมีอย่าง Chandra Asri และ Sinar Mas Agribusiness and Food ซึ่งเเต่ละบริษัทจะมีการจัดซื้อวัคซีนเพื่อฉีดให้พนักงานของตัวเองประมาณ 2,000- 4,000 โดส

ทั้งนี้ พนักงานในบริษัทผู้ผลิตกระดาษที่ตั้งอยู่นอกกรุงจาการ์ตา ประมาณ 4,000 คนได้รับการฉีดวัคซีนเเล้ว

โครงการฉีดวัคซีนภาคเอกชนนั้น จะช่วยเสริมโครงการวัคซีนฟรีของภาครัฐที่กำลังจะขยายสู่สาธารณชนอย่างเป็นทางการในเดือนกรกฎาคมนี้

อย่างไรก็ตาม ประธานาธิบดีวิโดโด ยอมรับว่าอินโดนีเซียก็ตกอยู่ในสถานการณ์เดียวกันกับประเทศอื่น ๆ ที่กำลังเผชิญกับความท้าทายในการหาวัคซีนเพิ่ม

โดยอินโดนีเซียใช้วัคซีนทั้งหมด 3 ยี่ห้อ ได้แก่ แอสตราเซเนกา ซิโนแวค และซิโนฟาร์ม ซึ่งได้ทำการกระจายวัคซีนไปแล้ว 23 ล้านโดส จากเป้าหมาย 380 ล้านโดส เเละคาดว่าจะฉีดวัคซีนรวม 181 ล้านคนหรือราว 67% จากประชากร 270 ล้านคนภายในปี 2022 

เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคมที่ผ่านมา รัฐบาลอินโดนีเซีย มีคำสั่งระงับการฉีดวัคซีนแอสตราเซเนกาจำนวน 448,480 โดสเป็นการชั่วคราว เพื่อเร่งสืบสวนหาสาเหตุ หลังเกิดกรณีชายวัย 22 ปี เสียชีวิต เมื่อฉีดวัคซีนแอสตราเซเนกาไปเพียง 1 วัน

ตามข้อมูลของ ourworldindata.org และ SDG-Tracker ระบุว่า สัดส่วนของประชากรทั้งหมดของอินโดนีเซียที่ได้รับวัคซีนอย่างน้อยหนึ่งโดส ณ วันที่ 4 พฤษภาคม 2021 อยู่ที่ 4.64% ทำให้ตอนนี้ อินโดนีเซียมีอัตราการฉีดวัคซีนสูงที่สุดในอาเซียน

สำหรับการเติบโตทางเศรษฐกิจของอินโดนีเซีย ในไตรมาสแรกของปีนี้ ติดลบที่ 0.74% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และคาดว่าไตรมาสที่ 2 จะพลิกกลับมาโตเป็นบวกได้เนื่องจากภาคการผลิตในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เริ่มจะดำเนินไปตามปกติหลังกระจายวัคซีนได้ทั่วถึง

 

ที่มา : Straitstimes , NHK 

 

 

 

]]>
1332766
อินโดนีเซีย เตรียมเก็บภาษี ‘คริปโตเคอร์เรนซี’ หวังโกยรายได้เข้ารัฐ https://positioningmag.com/1331660 Wed, 12 May 2021 04:37:06 +0000 https://positioningmag.com/?p=1331660 อินโดนีเซีย กำลังวางเเผนเก็บภาษีจากการซื้อขายสกุลเงินดิจิทัล หรือคริปโตเคอร์เรนซี’ หลังได้รับความนิยมอย่างมากจากนักลงทุนในประเทศ เป็นอีกหนึ่งความพยายามหาเงินเข้ารัฐท่ามกลางการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ยังลุกลามต่อเนื่อง

Neilmaldrin Noor โฆษกของสำนักงานสรรพากรอินโดนีเซีย เปิดเผยว่า ตอนนี้กำลังอยู่ในระหว่างการหารือในเรื่องการเรียกเก็บภาษีจากนักลงทุนที่ทำกำไร จากการซื้อและขายคริปโตเคอร์เรนซี (cryptocurrency)

โดยส่วนต่างราคาที่เพิ่มขึ้นจากการทำธุรกรรมดังกล่าว ต้องคิดเป็นภาษีเงินได้

อินโดนีเซียเป็นประเทศเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่สั่งห้ามใช้คริปโตเคอร์เรนซี สำหรับการชำระเงินแทนเงินสด แต่ยังเปิดให้ทำการซื้อขายสกุลเงินดิจิทัลต่าง ๆ ได้

Indodax แพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนคริปโตฯ ที่อ้างว่าใหญ่ที่สุดในอินโดนีเซีย ระบุว่า จำนวนสมาชิกในเดือนเมษายนที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นแตะสามล้านคนหลังตลาดเติบโตขึ้นอย่างมาก เเละมูลค่าของเหรียญดิจิทัลชื่อดังอย่าง Bitcoin , Ethereum เเละสินทรัพย์คริปโตฯ อื่น ๆ พุ่งสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ โดยเมื่อเดือนที่เเล้ว Dogecoin ก็มีมูลค่าเพิ่มขึ้นมากกว่า 700%

ช่วงที่ผ่านมา ทางการอินโดนีเซียเเละอีกหลายประเทศ ได้เเจ้งเตือนนักลงทุนเกี่ยวกับความเสี่ยง’ ของการลงทุนในสกุลเงินดิจิทัล เนื่องจากไม่มีมูลค่าพื้นฐานและราคามีความผันผวนสูง

สำหรับการจัดเก็บภาษีการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลของไทย ภายใต้ พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร ฉบับที่ 19 ..2561 ซึ่งมีผลใช้บังคับมาตั้งแต่ 14 พฤษภาคม 2561 ระบุว่า กรณีมีการถือหรือครอบครองโทเคนดิจิทัล โดยนักลงทุนผู้ถือหรือผู้ครอบครองมีสิทธิ์ได้รับส่วนแบ่งกำไรหรือผลประโยชน์อื่นใดในลักษณะเดียวกัน เงินได้ดังกล่าวจะถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ 15% จากผลประโยชน์นั้นก่อนที่จะมีการจ่ายให้กับนักลงทุนที่เป็นผู้ถือหรือผู้ครอบครอง กรณีเป็นการซื้อขายในประเทศไทย

คือ หากขายเหรียญดิจิทัลแล้วได้กำไรราคาขายมากกว่าต้นทุนที่ซื้อมา ก่อนที่นักลงทุนจะได้รับเงิน ผู้ขายจะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตรา 15% จากกำไร ก่อนจะจ่ายเงินให้ลูกค้าที่เป็นนักลงทุน จากนั้นแม้ว่าจะถูกหัก ณ ที่จ่ายไปแล้ว 15% แต่ยังต้องนำเงินได้ดังกล่าวมาคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสิ้นปีด้วย

 

 

ที่มา : Reuters , Yahoo Finance 

]]>
1331660
เปิดเหตุผล ทำไม ‘อินโดนีเซีย’ เลือกฉีดวัคซีน COVID-19 ให้คนวัยทำงาน ก่อนผู้สูงอายุ? https://positioningmag.com/1313072 Wed, 06 Jan 2021 10:39:42 +0000 https://positioningmag.com/?p=1313072 ประเทศที่มีจำนวนประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 4 ของโลกอย่างอินโดนีเซียวางเเผนจะเริ่มเเจกจ่ายวัคซีนป้องกัน COVID-19 ให้กับประชาชนกว่าร้อยล้านคนภายในเดือนมีนาคมนี้

ในขณะที่หลายชาติ ทั้งสหรัฐฯ เเละยุโรป เลือกฉีดวัคซีนให้กับผู้สูงอายุ’ ก่อนเนื่องจากเป็นกลุ่มเปราะบางที่มีความเสี่ยงต่อโรคทางเดินหายใจเเละโรคเเทรกซ้อนมากกว่า

เเต่อินโดนีเซียกลับมีเเนวทางที่เเตกต่างออกไป โดยมีแผนจะฉีดให้กับประชากรวัยทำงาน เป็นกลุ่มแรกๆ ถัดจากกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์เเละเจ้าหน้าที่ทางการ โดยหวังว่าช่วยขับเคลื่อนการฟื้นฟูเศรษฐกิจ 

เเละนี่คือมุมมองของผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับข้อดีและความเสี่ยงที่อินโดนีเซียเลือกใช้แนวทางนี้ 

ทำไมต้องฉีดวัคซีนให้กลุ่มอายุ 18-59 ปี ก่อน?

อินโดนีเซีย เตรียมแจกจ่ายให้ประชาชนในเฟสแรก ด้วยวัคซีนของบริษัท Sinovac Biotech ของจีน โดยรัฐบาลได้ทำข้อตกลงซื้อวัคซีน 125.5 ล้านโดส ซึ่งตอนนี้วัคซีนล็อตแรก 3 ล้านโดสได้มาถึงอินโดนีเซียแล้ว

ขณะที่วัคซีนของ Pfizer คาดว่าจะส่งถึงอินโดนีเซียในช่วงไตรมาส 3 เป็นต้นไป ส่วนวัคซีนที่พัฒนาโดย AstraZeneca-Oxford จะเริ่มแจกจ่ายในช่วงไตรมาส 2

การฉีดวัคซีนของอินโดนีเซีย จะเริ่มจากบุคลากรทางการแพทย์และเจ้าหน้าที่ทางการก่อน จากนั้นจะแจกจ่ายให้คนวัยทำงาน ที่มีอายุระหว่าง 18-59 ปี ซึ่งเป็นลำดับการเข้าถึงวัคซีนที่เเตกต่างจากสหรัฐฯ เเละสหราชอาณาจักร ที่ให้ความสำคัญกับผู้สูงวัยก่อน ทำให้การเเจกจ่ายวัคซีนครั้งนี้ จึงถูกจับตามองจากนานาประเทศเป็นพิเศษ 

โดยวัคซีน Sinovac ของจีนนั้นได้ทำการทดลองทางคลินิกกับกลุ่มคนในช่วงวัย 18-59 ปี แตกต่างจากวัคซีนของประเทศตะวันตกอย่าง Pfizer และ Moderna ที่มีผลการทดลองออกมาแล้วว่า ใช้ได้ผลดีกับคนทุกช่วงอายุ

Peter Collignon ศาสตราจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคระบาด จากมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย ให้ความเห็นว่า ไม่มีใครฟันธงได้ว่าวิธี (เเจกจ่ายวัคซีน) เเบบไหนเป็นวิธีที่ถูกต้อง เเละยังไม่เเน่ชัดว่ากลยุทธ์ของอินโดนีเซียอาจช่วยชะลอการเเพร่ระบาดของโรคได้จริง 

เเต่การที่รัฐบาลอินโดฯ ใช้วิธีที่เเตกต่างจากสหรัฐฯ และยุโรป ถือว่าเป็นประโยชน์เชิงข้อมูล เพราะเราจะได้เห็นผลลัพธ์ที่แตกต่าง ส่วนจะได้เป็นคำตอบที่ถูกต้องหรือไม่ ก็ต้องรอดูต่อไป

Photo : Shutterstock

ด้านศาสตราจารย์ Dale Fisher จาก Yong Loo Lin School of Medicine มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ บอกว่า เขาเข้าใจถึงเหตุผลที่อินโดนีเซียเลือกวิธีนี้ เพราะคนวัยทำงานมีกิจกรรมมากกว่า เข้าสังคมมากกว่า และเดินทางบ่อยกว่า ดังนั้นยุทธศาสตร์นี้ น่าจะช่วยลดการแพร่ระบาดในชุมชนได้เร็วกว่าการมุ่งฉีดวัคซีนให้ผู้สูงวัย

แน่นอนว่าคนแก่ ก็ย่อมมีความเสี่ยงที่จะมีอาการของโรคและเสียชีวิตได้มากกว่า ดังนั้นการฉีดวัคซีนให้ผู้สูงอายุก็เป็นเรื่องที่สมเหตุสมผล ซึ่งผมมองเห็นข้อดีของทั้งสองกลยุทธ์” Fisher ระบุ

 ‘ภูมิคุ้มกันหมู่’ กับการฟื้นฟูเศรษฐกิจ

เป้าหมายหลักๆ ของอินโดนีเซียคือการทำให้เกิด ‘herd immunity’ หรือการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ โดยการทำให้สัดส่วนของประชากรผู้มีภูมิคุ้มกันแล้วมีจำนวนมากพอ จนเชื้อไวรัสไม่สามารถแพร่กระจายหรือถูกส่งผ่านไปยังคนอื่นได้ ซึ่งจะนำไปสู่การฟื้นตัวของเศรษฐกิจเเละสังคมอย่างรวดเร็ว

Budi Gunadi Sadikin รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขอินโดนีเซีย กล่าวว่า อินโดนีเซียจำเป็นต้องฉีดวัคซีนให้ประชากร 181.5 ล้านคน หรือประมาณ 67% ของประชากรทั้งหมด เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ และต้องการวัคซีนเกือบ 427 ล้านโดส กรณีที่ต้องฉีดวัคซีนให้ประชากรคนละ 2 ครั้ง เพื่อลดอัตราการสูญเสีย 15%

อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญบางคนยังสงสัยเกี่ยวกับการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ เนื่องจากจำเป็นต้องมีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติม เพื่อค้นคว้าว่าผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนเเล้วจะยังสามารถแพร่กระจายเชื้อไวรัสได้อีกหรือไม่

Photo : Getty Images

นักเศรษฐศาสตร์ มองอีกมุมว่า โครงการฉีดวัคซีนให้เกิด ‘herd immunity’ ที่จะประสบความสำเร็จนั้น จะต้องครอบคลุมประชากรประมาณ 100 ล้านคนจึงจะช่วยให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างก้าวกระโดด เนื่องจากทำให้ประชากรเหล่านี้จะกลับมาทำกิจกรรมทางเศรษฐกิจเช่นการใช้จ่ายและการผลิต

Faisal Rachman นักเศรษฐศาสตร์ของธนาคาร Mandiri บอกว่า ประชาชนวัยทำงาน อายุ 18-59 ปี เป็นกลุ่มที่มีความต้องการบริโภคสูงกว่ากลุ่มอื่น ๆ

พวกเขาจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจให้ฟื้นตัวเร็วขึ้น เพราะการบริโภคในครัวเรือนมีส่วนช่วยเศรษฐกิจของอินโดนีเซียมากกว่า 50% ซึ่งจำนวนผู้ติดเชื้อ COVID-19 ที่เพิ่มขึ้นในประเทศนั้น เป็นการลดความเชื่อมั่นของประชาชน

อินโดนีเซียมีขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เเต่การเเพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ปะทุขึ้นเมื่อปีที่แล้ว ส่งผลให้เศรษฐกิจต้องเข้าสู่ภาวะถดถอยเป็นครั้งแรกในรอบกว่า 20 ปี โดยรัฐบาลคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจจะหดตัวถึง 2.2%  

 

 

ที่มา : Reuters , Jakartapost

]]>
1313072
รัฐบาลอินโดฯ ห้าม “ชาวต่างชาติ” เข้าประเทศชั่วคราว สกัด COVID-19 กลายพันธุ์ https://positioningmag.com/1312411 Tue, 29 Dec 2020 07:21:50 +0000 https://positioningmag.com/?p=1312411 รัฐบาลอินโดนีเซีย ยกระดับคุมเข้มสกัดไวรัสโคโรนากลายพันธุ์สั่งห้ามชาวต่างชาติจากทุกประเทศ เดินทางเข้าเมือง เป็นเวลาอย่างน้อย 2 สัปดาห์ เริ่มตั้งเเต่วันปีใหม่นี้

อินโดนีเซีย เตรียมแบนผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศ นับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2021 เเละมีผลเรื่อยไป 14 วันเป็นอย่างน้อยเพื่อป้องกัน COVID-19 “สายพันธุ์ใหม่” ที่กลายพันธุ์มาจากอังกฤษเเละเเอฟริกาใต้ ที่มีการตรวจพบเเล้วในหลายประเทศ อย่าง สิงคโปร์ ญี่ปุ่น มาเลเซีย เเคนาดาเเละไนจีเรีย

ก่อนหน้านี้ มีการสั่งระงับการเข้าเมืองของนักเดินทางจากสหราชอาณาจักร เข้มงวดกับผู้ที่เดินทางมาจากยุโรปและออสเตรเลีย เพื่อจำกัดการแพร่กระจายของไวรัสดังกล่าว

เมื่อต้นปีที่ผ่านมา อินโดนีเซียห้ามนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติทุกคนเข้าประเทศ แต่มีการยกเว้นในบางกรณีสำหรับนักเดินทางเพื่อธุรกิจ เเต่กฎระเบียบใหม่นี้ มีผลบังคับใช้กับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติทุกคน ยกเว้นเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐ

มาตรการดังกล่าว จะยกเว้นสำหรับเจ้าหน้าที่การทูต เจ้าหน้าที่องค์กรระหว่างประเทศ พลเมืองอินโดนีเซียและชาวต่างชาติ ซึ่งมีใบอนุญาตพำนักถาวรในอินโดนีเซีย อย่างไรก็ตาม บุคคลกลุ่มนี้ต้องแสดงเอกสารตามที่กำหนดโดยสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองและเจ้าพนักงานควบคุมโรค ตลอดจนการต้องเข้าสู่กระบวนการกักตัวตามระยะเวลาที่รัฐกำหนด

ด้านญี่ปุ่นเตรียมแบนผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศ นับตั้งแต่วันที่ 28 .เป็นต้นไป จนถึงสิ้นเดือนมกราคม “เป็นอย่างน้อย” หลังพบผู้ติดเชื้อ COVID-19 “สายพันธุ์ใหม่” ที่กลายพันธุ์มาจากอังกฤษ ขณะที่ยอดผู้ติดเชื้อในประเทศก็เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ

การเเพร่ระบาดของ COVID-19 น่ากังวลขึ้นอีกครั้ง หลังมีการพบเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ “ชนิดกลายพันธุ์” ครั้งแรกที่ประเทศอังกฤษ เมื่อช่วงเดือนก.ที่ผ่านมา ซึ่งสามารถแพร่กระจายได้เร็วขึ้นอีก 70% โดยสายพันธุ์ใหม่ที่พบในสหราชอาณาจักรและแอฟริกาใต้ยังเป็นคนละชนิดกันด้วย

อินโดนีเซีย ซึ่งเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 4 ของโลก ต้องเผชิญกับการเเพร่ระบาดของ COVID-19 อย่างรุนเเรง โดยขณะนี้มีผู้ติดเชื้อสะสมที่ยืนยันแล้วเกือบ 720,000 รายและเสียชีวิต 21,500 รายนับว่ามีจำนวนสูงที่สุดในอาเซียน

ช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา สถานการณ์เริ่มตึงเครียดขึ้นอีก เมื่อมียอดผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้น จนมีปัญหาเตียงผู้ป่วยล้นโรงพยาบาลบนเกาะชวา

 

ที่มา : Reuters , Jakarta Post

]]>
1312411
รถยนต์ไฟฟ้า “ตามจีบ” อินโดนีเซีย ขุมทรัพย์เเร่นิกเกิล Tesla เจรจาขอลงทุน “เเบตเตอรี่” https://positioningmag.com/1300217 Tue, 06 Oct 2020 11:49:08 +0000 https://positioningmag.com/?p=1300217 ดาวรุ่งเเห่งรถยนต์ไฟฟ้าอย่าง Tesla กำลังตามหาเเหล่งขุมทรัพย์เเบตเตอรี่โดยเริ่มเจรจาลงทุนกับรัฐบาลอินโดนีเซีย ประเทศผู้ผลิตแร่นิกเกิลมากที่สุดในโลก

มีกระเเสข่าวก่อนหน้านี้ว่า Tesla กำลังเจรจากับบริษัท Giga Metals และ Vale ในแคนาดาเพื่อจัดหาเเร่นิกเกิล วัตถุดิบสำคัญของการผลิตแบตเตอรี่สำหรับรถยนต์ไฟฟ้า เเละคราวนี้ก็มาถึงการเจรจาลงทุนกับรัฐบาลอินโดนีเซีย

เจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาล บอกกับ Reuters ว่าเป็นการหารือในช่วงแรก และตอนนี้ยังไม่มีรายละเอียด จะต้องมีการคุยกับ Tesla เพิ่มเติมต่อไป โดยอินโดนีเซียมีสิ่งจูงใจหลายอย่างสำหรับการลงทุนของธุรกิจรถยนต์ไฟฟ้า

อินโดนีเซีย เป็นผู้ผลิตเเร่นิกเกิลรายใหญ่ที่สุดของโลก เเละมีกำลังผลิตเพิ่มขึ้นกว่า 46% เป็น 550,000 ตันต่อปี

ไม่นานมานี้ รัฐบาลมีคำสั่งห้ามส่งออกแร่นิกเกิลเพื่อหันมาส่งเสริมให้อุตสาหกรรมในประเทศ ดังนั้นหาก Tesla ต้องการจะได้เเร่นิกเกิลของอินโดนีเซีย ก็ต้องมีการลงทุนเพื่อแปรรูปในประเทศนั่นเอง

ที่ผ่านมา Tesla ว่าจ้างให้บริษัทผู้ผลิตหลายรายทำแบตเตอรี่ให้ ทั้ง Panasonic ของญี่ปุ่น เเละ Contemporary Amperex Technology (CATL) ของจีน เเต่เเผนต่อไปของ Tesla ว่าคือการหันมาผลิตแบตเตอรี่เอง เพราะมองว่าจะเป็นผลประโยชน์ของบริษัทในระยะยาวมากกว่า เเละจะทำให้ราคาของรถยนต์ไฟฟ้าถูกลงในอนาคต

การร่วมลงทุนกับรัฐบาลอินโดนีเซีย จึงเป็นเหมือนการจองวัตถุดิบเพื่อผลิตแบตเตอรี่ของรถยนต์ไฟฟ้าจำนวนมหาศาล

ในขณะที่ยานยนต์ไฟฟ้าจะช่วยลดการปล่อยคาร์บอนทั่วโลก แต่นักเคลื่อนไหวบางกลุ่มกังวลว่า การผลิตชิ้นส่วนและการขุดเเร่ต่างๆ ที่เพิ่มขึ้นนั้นอาจทำลายสิ่งแวดล้อม

เมื่อเร็ว ๆ นี้ รัฐบาลอินโดนีเซียได้บรรลุข้อตกลงกับ LG Chem ของกาหลีใต้ และ CATL ของจีนเพื่อสร้างโรงงานแบตเตอรี่ในประเทศ ทำให้อุตสาหกรรมนี้ของอินโดนีเซียเริ่ม เนื้อหอมขึ้นมาทันที ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างระบบนิเวศของการผลิตแบตเตอรี่ ที่จะดึงดูดบรรดาบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่อีกหลายเจ้าเข้ามาลงทุนต่อไป

 

ที่มา : Reuters , Electrek

]]>
1300217