กรมศุลกากรของจีน ได้ออกแถลงการณ์ว่า เพื่อป้องกันความเสี่ยงด้านความปลอดภัยทางอาหาร จากการปนเปื้อนของกัมมันตภาพรังสี และเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคชาวจีน ทำให้จีนระงับการนำเข้าอาหารทะเลจากญี่ปุ่นเริ่มตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม เป็นต้นไป
มาตรการดังกล่าวตามหลังมาจาก Tepco ซึ่งเป็นเจ้าของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ เริ่มปล่อยน้ำเสียจากโรงไฟฟ้าดังกล่าวลงสู่ทะเลเป็นครั้งแรกถึง 1.3 ล้านตัน เมื่อตอนบ่ายของวันนี้ (24 สิงหาคม)
สำหรับน้ำเสียจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะมาจากการนำน้ำเข้าไปหล่อเย็นเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ ซึ่งได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวในปี 2011 ซึ่งพื้นที่ในการจัดเก็บน้ำเสียดังกล่าวลดลงเรื่อยๆ ทำให้ญี่ปุ่นตัดสินใจต้องทิ้งน้ำเสียดังกล่าว แม้ว่าจะมีการบำบัดน้ำเสียเพื่อขจัดสารกัมมันตภาพรังสีส่วนใหญ่แล้วก็ตาม และมีการเจือจางด้วยน้ำทะเลอีกรอบ
การปล่อยน้ำเสียของญี่ปุ่นครั้งนี้ ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศยืนยันถึงความปลอดภัย รวมถึง UN ก็ออกมาไฟเขียวในเรื่องดังกล่าวเป็นที่เรียบร้อย คาดว่าน้ำเสียปริมาณทั้งหมดจะต้องใช้เวลาปล่อยลงสู่ทะเลยาวนานถึง 30 ปีด้วยกัน
เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา จีนได้จำกัดการนำเข้าอาหารทะเลจาก 10 จังหวัดของญี่ปุ่น ซึ่งรวมถึงฟุกุชิมะและโตเกียว ก่อนที่ประกาศใช้มาตรการดังกล่าวข้างต้น ในปี 2022 ที่ผ่านมาจีนนำเข้าอาหารทะเลจากญี่ปุ่นคิดเป็นเงินไทยมากกว่า 20,000 ล้านบาท
แถลงการณ์จากกระทรวงการต่างประเทศของจีน ได้กล่าวว่าเรื่องดังกล่าวเป็นพฤติกรรมที่เห็นแก่ตัวของประเทศญี่ปุ่น เนื่องจากมหาสมุทรเป็นทรัพย์สินส่วนรวมของมนุษยชาติ การกระทำของญี่ปุ่นถือว่าขาดความรับผิดชอบ และไม่สนใจผลประโยชน์สาธารณะระหว่างประเทศ
แผนการปล่อยน้ำเสียจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะได้รับแรงต่อต้านอย่างหนักจากทั้งประชาชนของประเทศเพื่อนบ้านญี่ปุ่น ไม่ว่าจะเป็นจีน เกาหลีใต้ ไปจนถึงกลุ่มรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อม เนื่องจากกังวลถึงความปลอดภัยจากกัมมันตภาพรังสี ที่อาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในทะเล รวมถึงอาหารทะเลที่มีผู้บริโภคทั่วโลกรวมอยู่ด้วย
]]>ดิลลิป ราชากาเรีย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บริษัท ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) ได้กล่าวถึงภาพรวมของบริษัทว่า การฟื้นตัวของบริษัทหลังจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ถือว่าแข็งแกร่งมาก จากปัจจัยหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นหลายประเทศมีการฉีดวัคซีน รวมถึงเขามองว่าความรุนแรงของโควิดลดลง หลายพื้นที่ไม่มีการใส่หน้ากากอนามัยแล้ว
แม้ว่าจะพบกับอุปสรรคจากเงินเฟ้อ การขึ้นดอกเบี้ยในยุโรป แต่ตัวเลขต่างๆ ของบริษัทดีกว่านักวิเคราะห์คาดไว้ ตลาดหลายที่บริษัทดำเนินการนั้นแข็งแกร่ง แน่นอนว่าไทยเป็นประเทศปลายทาง 1 ใน 5 นักท่องเที่ยวสนใจเข้ามา แม้ว่านักท่องเที่ยวจีนยังไม่เข้ามา
ขณะเดียวกันสายการบินตอนนี้เที่ยวบินเต็ม แถมมีจำนวนจำกัด ซึ่งเป็นผลต่อเนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19
สำหรับผลประกอบการ Q3 ของปี 2022 ที่ผ่านไปนั้น เขามองว่าจะเป็นมาตรฐานของไตรมาส 4 และหลังจากนี้ ขณะเดียวกันบริษัทก็จะเพิ่มราคาห้องพักขึ้นมาเพื่อรับมือกับต้นทุนที่เพิ่มขึ้น และเรตค่าห้องพักของโรงแรมนั้นเพิ่มขึ้นมากว่าช่วงก่อนโควิดไปแล้วกว่า 20% ในหลายๆ ที่ เช่น มัลดีฟ ออสเตรเลีย ฯลฯ หรือแม้แต่ประเทศไทย
โดย Positioning จะพาไปดูถึงภาพรวมในปี 2022 ที่ผ่านมา รวมถึงกลยุทธ์บริษัทในปี 2023 ว่ามีอะไรบ้าง
กลุ่มโรงแรม
หัวเรือใหญ่ของกลุ่ม Minor ได้กล่าวว่าในปี 2022 ที่ผ่านมาบริษัทนั้นถือเป็นผู้เล่นในกลุ่มโรงแรมทั่วโลกใหญ่ติด 1 ใน 10 และบริษัทในตอนนี้ได้มีการกระจายการลงทุนทั่วโลก ขณะเดียวกันหลายคนสงสัยการฟื้นตัวของยุโรป จากสภาวะเศรษฐกิจต่างๆ แต่เขาชี้ว่าธุรกิจโรงแรมในยุโรปฟื้นตัวแรงแข็งแกร่ง
ขณะที่ธุรกิจที่อื่นๆ อย่าง มัลดีฟ ตะวันออกกลางก็ฟื้นตัวได้แข็งแกร่งเช่นกัน ซึ่งโรงแรมในตะวันออกกลางนั้นได้ประโยชน์จากสายการบิน ไม่ว่าจะเป็นนักท่องเที่ยวอินเดีย รัสเซีย ส่วนที่ออสเตรเลียก็แข็งแกร่งมาก เขาชี้ว่าดีที่สุดนับตั้งแต่การซื้อกิจการ
สำหรับในประเทศไทย โรงแรมที่ภูเก็ตเติบโตแข็งแกร่งมาก เพราะนักท่องเที่ยวอินเดีย รัสเซีย และชาวยุโรปมาเที่ยว เขาชี้ว่าเวลานี้ภูเก็ตนั้นเหมือนเป็นฮับการท่องเที่ยว ขณะที่ภาพรวมนั้นภูเก็ตถือว่ามีความต้องการสูงจากนักท่องเที่ยวมาก เป็นผลส่วนหนึ่งมาจากนโยบายภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์
แม้ว่าก่อนหน้านี้ประเทศจีนจะยังไม่เปิดประเทศ แต่เขาชี้ว่าธุรกิจโรงแรมก็ฟื้นตัวได้อย่างแข็งแกร่งแล้ว หลายประเทศเปิดมากขึ้น สายการบินก็จะเปิดเที่ยวบินมากขึ้น ส่งผลดีต่อบริษัทมากขึ้น
กลุ่มธุรกิจอาหาร
ดิลลิปได้กล่าวว่า กลุ่มธุรกิจอาหารนั้นมีกำไรตั้งแต่พฤษภาคมที่ผ่านมา ในไตรมาส 3 ของปี 2022 นั้นมีนรายได้เติบโตมากถึง 30% ขณะที่กำไรเติบมากกว่าปีที่แล้วถึง 4 เท่า เขาชี้ว่าธุรกิจอาหารในไทยและออสเตรเลียเป็นตัวขับเคลื่อน
แม้ว่าในประเทศจีนจะล็อกดาวน์ก็ตาม แต่เขามองว่าเทรนด์ธุรกิจนั้นจีนจะฟื้นตัวเหมือนกับช่วงการแพร่ระบาดของโควิด และจีนคลายล็อกดาวน์ในช่วงปี 2020 เขายังได้ย้ำว่าแม้ว่าตอนนี้จะไม่มีรายได้จากจีน ก็มีไทย ออสเตรเลีย รวมถึงสิงคโปร์ ที่ทำรายได้เติบโตตลอด
นอกจากนี้บริษัทปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ เช่น หันมาทำ Craft Bar ของ Swensen’s รวมถึงปรับโฉมแบรนด์ และการลดต้นทุน ทำให้กำไรกลับมาอีกครั้งได้
กลุ่มธุรกิจ Lifestyle
กลุ่มนี้รายได้กับกำไรอาจส่งผลกับบริษัทน้อย แต่เขาชี้ว่าบริษัทให้ความสำคัญอยู่เช่นกัน โดยใช้กลยุทธ์การลดต้นทุน ใช้ช่องทาง E-commerce มากขึ้น ปิดตัวแบรนด์บางตัว และปรับปรุงโครงสร้างของกลุ่ม ส่งผลทำให้มีกำไรมากขึ้นในปีที่ผ่านมา
กลยุทธ์บริษัทปี 2023
สำหรับกลยุทธ์ในปี 2023 ดิลลิปได้กล่าวว่ามีโรงแรมที่จะกำลังเปิดหลังจากนี้อีกจำนวนมากถึง 70 โรงในหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะลงทุนเองหรือบริษัทได้เข้าไปบริหาร ขณะเดียวกันเขาก็รอดูนักท่องเที่ยวจีนกลับมาอีกครั้ง ซึ่งเป็นโอกาสของการเติบโต
นอกจากนี้บริษัทยังได้ผลักดัน Loyalty Program ซึ่งตอนนี้มีสมาชิก 22 ล้านคนทั่วโลกที่รวมโรงแรมในเครือของบริษัทไว้มากกว่าเครือโรงแรมคู่แข่งอีกด้วย
ขณะที่กลุ่มธุรกิจอาหารนั้น บริษัทได้เปิดร้าอาหารใหม่ทั้งในยุโรป ตะวันออกกลางอย่าง ซาอุดิอาระเบีย เขาชี้ถึงเทรนด์การกลับมากินอาหารในร้านมากขึ้น ขณะเดียวกันแบรนด์ก็ต้องสร้างความตื่นเต้นให้กับตลาด อย่างการทำเมนูใหม่ๆ รวมถึงเปิดร้านอาหารที่ตอบโจทย์ความคาดหวังของลูกค้า เช่น เปิดร้านบอนชอนนอกกรุงเทพมากขึ้น ร้านชานม Gaga ขยายสาขาเพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะทั้งในประเทศและนอกประเทศมากขึ้น เช่น ยุโรป ตะวันออกกลาง
หัวเรือใหญ่ของกลุ่ม Minor คาดว่ารายได้จะโตไม่ต่ำกว่า 2022 ราวๆ 20% บริษัทจะได้ผลดีจากนักท่องเที่ยวจีน หรือรายได้จากกลุ่มอาหารในประเทศจีน นอกจากนี้เขายังมองว่ารายได้และกำไรจะแข็งแกร่ง จากการรีดประสิทธิภาพของบริษัทในช่วงที่ผ่านมา และชี้ว่าปี 2023 จะทำให้ธุรกิจแข็งแกร่งมากกว่าเดิม
สิ่งที่ทำให้บริษัทเติบโต
กลยุทธ์ที่ทำให้บริษัทเติบโตได้นั้น ดิลลิปชี้ว่า ต้องมีแบรนด์ที่เป็นผู้ชนะอยู่ในพอร์ตโฟลิโอของบริษัทในหลายธุรกิจ รวมถึงจะต้องตอบโจทย์ลูกค้า ดูความต้องการของลูกค้าว่าต้องการอะไร ขณะที่คนที่ทำงานในบริษัทจะต้องเน้นในเรื่องการทำงานเป็นทีม และรวมถึงทำธุรกิจด้วยความยั่งยืน เนื่องจากบริษัทติดในดัชนีหลายตัว เช่น DJSI หรือ MSCI รวมถึง FTSE For good และยังต้องความโปร่งใสให้กับนักลงทุน มีความสม่ำเสมอด้วย
นอกจากนี้เขายังเล่าเรื่องของการปรับตัว โดยบริษัทนั้นไม่ได้นั่งเฉยๆ แต่หาโอกาสใหม่ๆ เช่น ซื้อโรงแรมในยุโรป แต่ก็รู้ว่าต้องเก็บกระแสเงินสด เนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด ทำให้พนักงานมี Productivity การวางแผนด้าน Supply Chain รวมถึงเรื่องการเงินของบริษัทที่ต้องบริหารอย่างชาญฉลาด
นอกจากนี้เขายังเน้นว่าแม้ว่าบริษัทจะขยายธุรกิจ แต่ดูเรื่องงบดุลของบริษัทด้วย ซึ่งเป็นบทเรียนจากช่วงโควิด-19 ที่บริษัทจะต้องมีกระแสเงินสดไว้
สำหรับมุมมองที่มีต่อนักท่องเที่ยวจีนนั้น เขามองว่าต้องใช้เวลาสักพัก โดยเฉพาะเรื่องของสายการบิน รวมถึงการเคลียร์วีซ่า 6-9 เดือนถึงจะเห็นความคึกคัก รวมถึงคนจีนน่าจะเที่ยวในประเทศอย่างการเยี่ยมเยือนญาติพี่น้องก่อน ขณะปัญหาการขาดแคลนแรงงาน ทางบริษัทได้เปิดโรงเรียนด้านการโรงแรม AIHM กับสถาบันในสวิตเซอร์แลนด์ นั่นจะทำให้คนทำงานด้านนี้เพิ่มจำนวนมากขึ้น บุคลากรสามารถทำงานได้ทั่วโลก
]]>ในรายงานผลประกอบการไตรมาสแรก ระบุว่า “กลุ่มผู้บริโภคในอเมริกาเหนือได้รับผลกระทบมากที่สุด โดยมีราคาสินค้าของเนสท์เล่เพิ่มขึ้น 8.5% ตามมาด้วยผู้บริโภคโซนลาตินอเมริกาที่ราคาปรับเพิ่มขึ้น 7.7%”
Mark Schneider ซีอีโอของเนสท์เล่ ส่งสัญญาณว่าบริษัทมีแนวโน้มจะปรับขึ้นราคาสินค้าอีก ตามอัตราเงินเฟ้อโลกที่พุ่งสูงขึ้น
โดยระบุในเเถลงการณ์ว่า การปรับขึ้นราคาสินค้าจะต้องคำนึงถึงผู้บริโภค โดยอัตราเงินเฟ้อทำให้ต้นทุนยังคงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จึงจำเป็นต้องมีการปรับราคาเพิ่มเติม รวมออกมาตรการเพื่อบรรเทาผลกระทบตลอดทั้งปีนี้
อัตราเงินเฟ้อพุ่งสูงขึ้นทั่วโลก โดยเงินเฟ้อสหรัฐฯ แตะ 8.5% ในเดือนมีนาคม สูงที่สุดในรอบ 40 ปี ส่วนในยุโรปอยู่ที่ 7.5% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่สหภาพยุโรปเริ่มรวบรวมข้อมูลเมื่อประมาณ 25 ปีที่แล้ว
ราคาของสินค้าที่ผลิตจากโรงงานในเยอรมนีเมื่อเข้าสู่ราคาขายปลีกได้ปรับเพิ่มขึ้น 30% ในเดือนมีนาคมเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นมากที่สุดในรอบ 73 ปี
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ หลักๆ มาจาก ‘ราคาพลังงาน’ ขณะเดียวกัน ราคาอาหารที่เเพงขึ้นก็กดดันเงินเฟ้อเช่นเดียวกัน
เนสท์เล่รายงานยอดขายรวมเพิ่มขึ้น 5.4% ในไตรมาสนี้และคาดว่ายอดขายจะเติบโต 5% ตลอดทั้งปี โดยได้เเบรนด์ต่างๆ อย่าง Purina PetCare, Nescafé และ KitKat เป็นตัวหนุนการเติบโต
อย่างไรก็ตาม การเเบกรับต้นทุนที่สูงขึ้น อาจทำให้ผลกำไรของบริษัทลดลง โดยคาดการณ์อัตรากำไรขั้นต้นในปีนี้จะอยู่ระหว่าง 17% ถึง 17.5% เทียบกับ 17.4% ในปี 2021
ราคาอาหารโลกแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในช่วงต้นปีนี้ จากวิกฤตโรคระบาด สภาพอากาศที่ย่ำแย่ การรุกรานยูเครนของรัสเซียที่ทำให้สถานการณ์แย่ลงไปอีก โดยเฉพาะสินค้าหลักอย่างข้าวสาลี และ น้ำมันพืช
David Malpass ประธานธนาคารโลก เตือนว่าการพุ่งขึ้นของราคาอาหาร มีความเสี่ยงจะเป็นภัยพิบัติครั้งใหญ่ของของมนุษยชาติ เเละราคาอาจเพิ่มขึ้นมากถึง 37% อันเป็นผลมาจากสงครามในยูเครน
ที่มา : CNN
]]>โดยผลงานนี้เป็นการพัฒนาร่วมกันระหว่างศาสตราจารย์ Homei Miyashita จากมหาวิทยาลัยเมจิ และบริษัทผู้ผลิตเครื่องดื่มรายใหญ่อย่าง Kirin Holdings ซึ่งตะเกียบดังกล่าว จะช่วยเพิ่มรสชาติผ่านการกระตุ้นด้วยระบบไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่สวมใส่อยู่บนสายรัดข้อมือ
ศาสตราจารย์ Miyashita เปิดเผยว่า ตัวอุปกรณ์จะใช้กระแสไฟฟ้าอ่อน เพื่อส่งผ่านไอออนของโซเดียมจากอาหารผ่านตะเกียบและเข้าสู่ปาก ซึ่งจะช่วยสร้างสัมผัสรสเค็มได้ เเละผลลัพธ์ที่ได้ ก็คือ “มีรสเค็มเพิ่มขึ้น 1.5 เท่า”
ทีมวิจัยกำลังสำรวจวิธีต่างๆ ที่จะนำเอาเทคโนโลยีมาทำปฏิกิริยาและกระตุ้นประสบการณ์ประสาทสัมผัสของมนุษย์ อย่างเช่น การพัฒนาจอโทรทัศน์ที่เลียได้ สามารถเลียนแบบรสชาติอาหารที่หลากหลาย เป็นต้น
ทั้งนี้ อาหารแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่น มักจะนิยมมีรสเค็ม ซึ่งผู้ใหญ่ชาวญี่ปุ่น โดยเฉลี่ยเเล้วจะบริโภคเกลือประมาณ 10 กรัมต่อวัน ซึ่งมากกว่าที่องค์การอนามัยโลกแนะนำไว้ถึง 2 เท่า
การที่ร่างกายได้รับโซเดียมมากเกินไป เกี่ยวเนื่องกับภาวะอันตรายที่เพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าเป็น ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง และอาการเจ็บป่วยอื่นๆ เเละเพื่อป้องกันโรคร้ายเหล่านี้ จึงต้องลดปริมาณเกลือที่เราบริโภคลง
Miyashita เเละ Kirin เตรียมจะเปิดตัวตะเกียบช่วยเพิ่มรสเค็มตัวต้นแบบในเร็วๆ นี้ และหวังว่าจะได้วางขายในตลาดอย่างเร็วที่สุดในช่วงปีหน้า
ที่มา : Reuters
]]>‘สลัดแฟคทอรี่’ (Salad Factory) ก็เป็นอีกหนึ่งร้านอาหารที่มีการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน ทั้งการปรับร้านให้มีขนาดเล็กลง เพื่อให้ง่ายต่อการกระจายสาขา ขยายช่องทางเดลิเวอรี่ เพิ่มความสะดวกในการซื้อกลับบ้าน เเละล่าสุดกับการรุกตลาดเมนู Plant-based ที่กำลังเป็นเทรนด์อาหารเเห่งอนาคต
ปิยะ ดั่นคุ้ม กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กรีนฟู้ด แฟคทอรี่ (สลัดแฟคทอรี่) บอกกับ Positioning ว่า ภาพรวมตลาดอาหารสุขภาพมีการเติบต่ออย่างต่อเนื่อง และไม่ใช่เป็นเพียงเทรนด์ที่มาแล้วไป แต่กลายเป็น ‘ตลาดที่ยั่งยืน’ เพราะคนหันมาใส่ใจดูเเลสุขภาพตัวเองมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม ในประเทศไทยอาหารสุขภาพยังมีราคาที่ค่อนข้างสูงและเข้าถึงกลุ่มคนบางกลุ่มเท่านั้น เเนวทางของ ‘สลัดแฟคทอรี่’ จึงจะมุ่งไปที่การทำให้อาหารสุขภาพมีคุณภาพในราคาที่เหมาะสม ให้เข้าถึงง่ายยิ่งขึ้น เพื่อเพิ่มฐานลูกค้ารายใหม่ ๆ
ปัจจุบันสลัดแฟคทอรี่ มีสาขาอยู่ทั้งหมด 20 สาขา เน้นเจาะกลุ่มวัยทำงาน ชาวออฟฟิศเเละผู้อยู่อาศัยในพื้นที่ ปีนี้ตั้งเป้าจะขยายให้ได้อีกราว 10-15 สาขาหลังสถานการณ์โรคระบาดเริ่มคลี่คลาย ประชาชนเริ่มออกมาทานอาหารนอกบ้านกันปกติ
โดยรูปเเบบการขยายสาขาจะเเตกต่างออกไป ซึ่งจะมุ่งเน้นไปที่โมเดล ‘Mini store’ ในสถานีบริการน้ำมันหรือไฮเปอร์มาร์เก็ตหรือตามโรงพยาบาลมากกว่าการเปิดสาขาสเเตนด์อะโลนเเบบเดิม
“ก่อนโควิดเรามีโมเดลเดียวคือเปิด Full-Shop ไปเลย เเต่ตลอดช่วงวิกฤตที่ผ่านมา เราได้เรียนรู้เเละปรับวิธีคิดใหม่ ว่าไม่ควรมีช่องทางการขายเเค่ช่องทางเดียว การจัดการเเต่ละสาขาต้องมีความยืดหยุ่น เมื่อลงเล็กก็คล่องตัวขึ้น ลดความเสี่ยงไปได้หลายทาง การทำงานก็มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เข้าถึงลูกค้าได้หลากหลายกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น”
ทั้งนี้ สัดส่วนการขายเเบบเดลิเวอรี่เเละหน้าร้านของสลัดแฟคทอรี่ เมื่อกลางปีที่เเล้วอยู่ที่ 50 : 50 จากนั้นลดลงเหลือราว 40% เมื่อรัฐผ่อนคลายมาตรการให้นั่งทานที่ร้านได้ เเต่ก็ยังถือว่าอยู่ในระดับสูงมาก เมื่อเทียบกับช่วงก่อนโควิด
สำหรับโมเดลร้านขนาดเล็ก เขามองว่า เป็นประโยชน์กับทั้งทางร้านเเละอำนวยความสะดวกให้ลูกค้ามากขึ้น เพราะสั่งซื้อกลับบ้านได้ง่าย นั่งทานที่เคาน์เตอร์บาร์ได้ เเละจัดส่งเดลิเวอรี่ได้รวดเร็ว โดยจะมีการดีไซน์เมนูใหม่ให้กับกับร้านมินิเรื่อยๆ เเม้จะมีจำนวนเมนูน้อยกว่าที่ร้านใหญ่เเต่ก็จะมีความผสมผสานหลากหลาย เเละสามารถทานคนเดียวได้ง่าย
ยกตัวอย่างเช่น โมเดล ‘Fresh and easy’ ซึ่งเปิดตัวไปเมื่อช่วงปลายปีที่เเล้ว ที่นำร่องเปิดที่ท็อปส์ ซูเปอร์มาร์เก็ตเเละเซ็นทรัลเฟสติวัล อีสต์วิลล์
โดยได้ทดลองวางจำหน่าย ‘สลัดพร้อมทาน’ แบรนด์สลัดแฟคทอรี่ในท็อปส์ ซูเปอร์มาร์เก็ต 5 สาขา ปรากฏว่าผลตอบรับค่อนข้างดี ซึ่งต่อไปจะมีการปรับปรุงเเพ็กเกจจิ้งเเละโปรดักส์ใหม่ คาดว่าจะเปิดตัวแคมเปญได้ในช่วงครึ่งปีหลังนี้
นอกจากนี้ ยังมีการขยายสาขาไปในโรงพยาบาลมากขึ้น เพื่อจับลูกค้ากลุ่มผู้รักสุขภาพเเละบุคลากรทางการเเพทย์ อย่างสาขาในรพ.จุฬาลงกรณ์ โดยวางเเผนจะมีการรังสรรค์เมนูใหม่ๆ เพื่อผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ป่วยโรคไต หรือผู้ป่วยที่ต้องมีการดูเเลเรื่องอาหารการกินเป็นพิเศษ
เมื่อถามว่า ส่วนใหญ่สาขาของสลัดแฟคทอรี่ มักจะอยู่ย่านชานเมืองนั้น มีเเผนจะเข้ามาเปิดในพื้นที่กลางใจเมืองบ้างหรือไม่ ผู้บริหารสลัดแฟคทอรี่ตอบว่า “กำลังอยู่ในระหว่างพิจารณา เนื่องจากค่าเช่าที่ในเมืองค่อนข้างสูง เเละมีความเสี่ยงหากสถานการณ์โควิดกลับมารุนเเรงอีกครั้ง จึงต้องระวังเป็นพิเศษเเละพยายามกระจายความเสี่ยงให้อยู่ในโซนที่จัดการได้ง่าย ยืดหยุ่นได้เมื่อเกิดวิกฤต”
ด้านการรุกตลาดเมนู Plant-based ก็เป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ที่สลัดแฟคทอรี่ ให้ความสำคัญในปีนี้ เพราะกำลังเป็นเทรนด์ที่น่าจับตามอง พร้อมมีการเติบโตต่อเนื่อง เเละยิ่งเริ่มต้นเร็วเท่าไหร่ก็ยิ่งได้เป็นการสร้างฐานกลุ่มลูกค้าให้เเข็งเเกร่งมากขึ้นเท่านั้น
ก่อนหน้านี้ ทางสลัดแฟคทอรี่ได้ทดลองตลาด โดยการเพิ่มเมนู Plant-based เป็นเมนูพิเศษในช่วงเทศกาลกินเจ ซึ่งก็มีเสียงตอบรับที่ดี ทั้งจากลูกค้าที่เป็นวีเเกนอยู่เเล้ว เเละลูกค้าใหม่ที่อยากลิ้มลอง
ในปีนี้ บริษัทจึงจะต่อยอดด้วยการเพิ่มเมนู Plant-based 10 เมนู เข้ามาในลิสต์ ‘เมนูประจำ’ โดยจะทยอยเพิ่มทีละสาขาจนครบ 20 สาขา ภายในช่วงต้นเดือนก.พ.นี้ หลังกระเเสความนิยมเพิ่มขึ้น หลังคนไทยทานเมนู Plant-based ได้ตลอดทั้งปี ไม่ใช่เเค่ช่วงเทศกาลเท่านั้น บางคนทานสัปดาห์ละ 2-3 มื้อ เป็นต้น
ล่าสุด สลัดแฟคทอรี่ มองเห็นโอกาสธุรกิจใหม่ในตลาดนี้ จึงจับมือกับ “มีท อวตาร” หนึ่งในซัพพลายเออร์ Plant-based ชื่อดังของไทย พัฒนาโปรดักต์ใหม่มาเจาะตลาดกลุ่มลูกค้าตลาดเเมส อย่าง น้ำสลัด Plant-based “มาทาน x สลัดแฟคทอรี่” 5 รสชาติ ได้แก่ น้ำสลัดซีซ่าร์, เทาซันไอร์แลนด์, ครีมส้มยูซู, งาญี่ปุ่นและมายองเนสเบส วางโพสิชั่นด้วยราคาที่เข้าถึงได้ เเละรสชาติไม่แตกต่างจากน้ำสลัดสูตรปกติมากนัก ซึ่งตอนนี้มีการวางขายในสาขาของสลัดแฟคทอรี่เเล้ว สเต็ปต่อไปจะมีการวางขายในโมเดิร์นเทรดในเร็วๆ นี้
สำหรับมูลค่าตลาดอาหารกลุ่ม Plant Base ปัจจุบันอยู่ที่ราว 2.8 หมื่นล้านบาท เติบโตเฉลี่ยประมาณ 10% ต่อปี ถือเป็นตัวเลขการเติบโตน่าจับตามอง โดยมีทั้งผู้ประกอบการรายเล็กรายใหญ่ลงมาเล่นในสนามนี้กันคึกคัก…
]]>
แนวโน้ม ‘ธุรกิจร้านอาหาร’ ในปี 2565 ยังเป็นปีที่ต้องระมัดระวัง เนื่องจากตลาดยังมีปัจจัยเสี่ยงของโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน และสายพันธุ์อื่นที่อาจเกิดขึ้นได้ รวมถึงกำลังซื้อของผู้บริโภคที่ยังไม่กลับมาฟื้นตัวดี
เเต่ก็ยังคงมี ‘ปัจจัยบวก’ จากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐที่จะเข้ามาช่วยกระตุ้นการใช้จ่ายและเพิ่มกำลังซื้อของผู้บริโภค อย่าง “มาตรการคนละครึ่งเฟส 4” ที่คาดว่าจะเริ่มในเดือนมีนาคม – เมษายนนี้
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า ในปี 2565 ธุรกิจร้านอาหารน่าจะกลับมาเติบโตประมาณ 5.0% – 9.9% (ส่วนหนึ่งเป็นผลของราคาอาหารที่ปรับตัวสูงขึ้นและเงินเฟ้อ) คิดเป็นมูลค่า 3.78-3.96 แสนล้านบาท จากที่ปี 2564 หดตัวถึง 11% อย่างไรก็ตาม จะยังคงเป็นการขยายตัวเฉพาะกลุ่มหรือประเภทร้านอาหาร
ร้านอาหารที่ให้บริการเต็มรูปแบบ (Full Service Restaurants) น่าจะเห็นการเติบโตที่เร่งตัวขึ้นจากฐานที่ต่ำในปีก่อน โดยกลุ่มร้านอาหารที่จะทยอยกลับมาฟื้นตัวก่อน จะเป็นกลุ่มร้านอาหารที่อยู่ในห้างสรรพสินค้าและร้านอาหารที่มีชื่อเสียงรวมถึงในพื้นที่ท่องเที่ยวจังหวัดที่เป็นจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวชาวไทยในฤดูท่องเที่ยว เช่น อยุธยา บางแสน พัทยา หัวหิน นครปฐม ฯลฯ
ส่วนร้านอาหารที่ตั้งอยู่ในบริเวณอาคารสำนักงานน่าจะฟื้นตัวจำกัด เนื่องสถานที่ทำงานหลายแห่งยังคงการทำงานแบบ Hybrid Working และ Work from home ทำให้ร้านอาหารกลุ่มนี้จึงยังคงต้องพึ่งช่องทางการจัดส่งอาหารไปยังที่พักเพื่อสร้างรายได้
ประเมินว่าจะมีมูลค่ายอดขายอยู่ที่ประมาณ 1.31 – 1.42 แสนล้านบาท หรือคิดเป็นการขยายตัว 10.0% – 19.5% โดยเป็นการฟื้นตัวจากฐานที่หดตัวรุนแรงในปีก่อน
ร้านอาหารที่ให้บริการจำกัด (Limited Service Restaurants) การขยายตัวจะมาจากการขยายสาขาในกลุ่มอาหารจานด่วน และร้านอาหารขนาดเล็กที่คาดว่าจะเปิดตัวมากขึ้นกว่าปี 2564 อาทิ กลุ่มร้านอาหารที่ไม่มีหน้าร้านรวมถึงร้านอาหารรูปแบบใหม่ๆ ที่มีความคล่องตัวสูง โดยมีพื้นที่เป้าหมายเป็นบริเวณที่อยู่อาศัยและปั๊มน้ำมันทั้งในกรุงเทพฯ รอบนอก ปริมณฑลและหัวเมืองหลัก
“ในปี 2565 คาดว่าผู้ประกอบการร้านอาหารในกลุ่มนี้น่าจะทำตลาดเพื่อกระตุ้นยอดขายมากขึ้น โดยเฉพาะการร่วมมือกับผู้ให้บริการแอปพลิเคชันจัดส่งอาหาร ซึ่งโดยปกติแล้วช่องทางการจัดส่งอาหารไปยังที่พักจะเป็นช่องทางรายได้ที่สำคัญของร้านอาหารประเภทนี้”
คาดว่าจะมีมูลค่ายอดขายอยู่ที่ประมาณ 6.4 -6.8 หมื่นล้านบาท หรือขยายตัว 4.6% – 11.8%
อย่างไรก็ดี ร้านอาหารกลุ่มนี้ยังมีความท้าทายในด้านการบริหารจัดการ ‘ช่วงเวลาเร่งด่วน’ ที่มีคำสั่งซื้อเข้ามาเป็นจำนวนมากในหลายช่องทาง เนื่องจากทรัพยากรแรงงานและพื้นที่ที่มีจำกัด ทำให้อาจเกิดภาวะคอขวดในกระบวนการต่างๆ ภายในร้านขึ้นได้
ร้านอาหารข้างทาง (Street Food) ที่มีหน้าร้าน ยังขยายตัวได้ต่อเนื่องและกลุ่มร้านอาหารข้างทางยังได้รับปัจจัยหนุนจากโครงการคนละครึ่งของภาครัฐ มีเมนูพื้นฐานที่เข้าถึงได้ง่าย และราคาไม่สูง
“ร้านอาหารในกลุ่มนี้ มีความหนาแน่นของผู้เล่นเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้เกิดการแข่งขันที่รุนแรง และมีการหมุนเวียนเข้าออกของผู้เล่นสูง ประกอบกับผู้ประกอบการรายใหญ่เข้ามาขยายฐานการตลาดในเซ็กเมนต์นี้อย่างต่อเนื่อง”
โดยคาดว่าตลาด Street Food จะมีมูลค่าอยู่ที่ประมาณ 1.84 -1.86 แสนล้านบาท หรือขยายตัว 2.0% – 3.0%
ในปี 2565 ทิศทางธุรกิจร้านอาหาร ต้องคำนึงเรื่อง ‘ต้นทุนธุรกิจที่คาดว่าจะทรงตัวสูงต่อเนื่องทั้งปี ขณะที่การปรับเพิ่มราคาขายยังทำได้จำกัด’ สร้างแรงกดดันต่อกำไรสุทธิของผู้ประกอบการร้านอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้นทุนวัตถุดิบอาหารและต้นทุนพลังงาน ส่งผลให้ผู้ประกอบการบางรายจำเป็นต้องปรับราคาอาหารเพิ่มขึ้น การปรับตัวของผู้ประกอบการมาใช้โมเดลร้านอาหารขนาดเล็กเพื่อลดต้นทุนและความเสี่ยง รวมถึงนำเทคโนโลยีเข้ามาผสานเป็นหัวใจสำคัญในห่วงโซ่ธุรกิจร้านอาหาร
“ผู้ประกอบการธุรกิจรายใหญ่ทั้งในและนอกอุตสาหกรรมขยายการลงทุนในธุรกิจร้านอาหารมากยิ่งขึ้น ทั้งในพื้นที่กรุงเทพฯ รอบนอกและปริมณฑล รวมถึงในพื้นที่ต่างจังหวัด โดยเฉพาะพื้นที่ทื่มีการกระจุกตัวของที่อยู่อาศัย ขณะเดียวกัน ความเสี่ยงของโควิดที่ยังมี ส่งผลให้ผู้ประกอบการร้านอาหารจำเป็นต้องรักษาสมดุลของช่องทางการขายและเพิ่มช่องทางการสร้างรายได้ ไปยังสินค้าอื่นๆ มากยิ่งขึ้น”
โดยแม้ภาพรวมทิศทางธุรกิจร้านอาหารในปี 2565 จะกลับมาฟื้นตัว หลังจากที่หดตัวต่อเนื่องในช่วง 2 ปีก่อนหน้า แต่ผู้ประกอบการร้านอาหารยังคงต้องดำเนินธุรกิจอย่างระมัดระวัง เพื่อลดผลกระทบจากทั้งปัจจัยท้าทายในธุรกิจ
]]>อาหารทดแทนเนื้อสัตว์ที่ทำมาจากพืช หรือ ‘Plant-based’ ได้รับความนิยมมากขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เเละมีส่วนเเบ่งการตลาดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ไม่ได้จำกัดเเค่ผู้บริโภคสายวีเเกนหรือสายรักษ์โลกเหมือนสมัยก่อน เเต่ขยายถึงกลุ่มลูกค้าทั่วไปด้วย
เนสท์เล่ (Nestlé) จะเริ่มวางขายผลิตภัณฑ์ ‘ไข่จากพืช’ ภายใต้แบรนด์ Garden Gourmet vEGGie โดยมีส่วนประกอบสำคัญเป็นโปรตีนถั่วเหลือง และกรดไขมันโอเมก้า 3 ใช้ทำอาหารเมนูต่างๆ หรือใช้ผสมในเค้กเเละคุกกี้ได้เหมือนกับไข่ปกติ
ส่วน ‘กุ้งจากพืช’ จะวางขายภายใต้แบรนด์ Vrimp หลังเปิดตัวผลิตภัณฑ์ทดแทนเนื้อทูน่าจากพืชไปเมื่อปีที่แล้ว เเละมีเสียงตอบรับที่ดี
โดยจะเริ่มจะวางจำหน่ายทั้ง 2 ผลิตภัณฑ์ในบางประเทศในยุโรป รวมถึงสวิตเซอร์แลนด์ ก่อนจะขยายไปยังตลาดอื่นๆ ต่อไป
Mark Schneider ซีอีโอของเนสท์เล่ บอกว่า ผลิตภัณฑ์วีแกน อย่างเบอร์เกอร์และไส้กรอกจากพืช มียอดขายเติบโตเเบบ ‘double-digit’
“Plant-based ไม่ได้จำกัดเเค่เฉพาะกลุ่มคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งอีกต่อไป เเต่กำลังจะเป็นเทรนด์กระเเสหลักที่เข้าถึงในวงกว้าง ทุกเพศทุกวัย”
เขาเชื่อว่าตลาดนี้ยังมีโอกาสเติบโตได้อีกมาก เเม้ในปีที่แล้ว ยอดขายของผลิตภัณฑ์จากพืชเเบรนด์ต่างๆ ของเนสท์เล่ จะมีมูลค่าเพียง 216 ล้านดอลลาร์ (ราว 7.3 พันล้านบาท) คิดเป็นสัดส่วน ‘เพียงเล็กน้อย’ จากยอดขายทั้งหมดในเครือกว่า 9 หมื่นล้านดอลลาร์ (ราว 3 ล้านล้านบาท)
ด้าน Stefan Palzer ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีของเนสท์เล่ ระบุว่า บริษัทได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ Plant-based เมนูใหม่ๆ ได้ภายในเวลาไม่ถึงปี อย่างเช่น การสร้างโปรตีนถั่วที่ไม่ได้มีรสชาติเหมือนพืชตระกูลถั่วเลย
“เราจะพยายามพัฒนาให้อาหาร Plant-based เหล่านี้ มีรสชาติใกล้เคียงกับเนื้อสัตว์จริงๆ ให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพราะจะช่วยให้ผู้คนเปลี่ยนมาทานวีเเกนกันได้ง่ายยิ่งขึ้น”
สะท้อนให้เห็นทิศทางของเเบรนด์อุปโภคบริโภครายใหญ่ของโลกที่จะบุกตลาด Plant-based อย่างจริงจัง หลังเปิดตัว ‘เบอร์เกอร์จากพืช’ เป็นครั้งแรกในปี 2019 ซึ่งช้ากว่าผู้บุกเบิกอุตสาหกรรมอย่าง Beyond Meat และ Impossible Foods ของสหรัฐฯ ไปประมาณ 3 ปี
อย่างไรก็ตาม การเข้าถึงลูกค้าทั่วโลกผ่านเเบรนด์ในเครือที่มีอยู่จำนวนมาก เป็น ‘ข้อได้เปรียบ’ ของเนสท์เล่ที่มีอยู่เหนือคู่แข่งรายสำคัญที่ทำตลาดนี้มาก่อน
“เรามีแบรนด์อาหารและเครื่องดื่มอยู่มากมาย เเต่บริษัทเหล่านั้นไม่มี” Palzer กล่าว
ที่ผ่านมา เนสท์เล่ ได้มีการเปิดตัวผลิตภัณฑ์วีแกนร่วมกับสินค้าหมวดหมู่อื่นๆ อย่าง KitKat V ซึ่งเราคงจะได้เห็นการทำตลาดเเบบนี้ออกมาเรื่อยๆ เพื่อสร้างความคุ้นเคยกับผู้บริโภค
ส่วนในไทยนั้น เนสท์เล่ จับตลาด Plant-based ผ่านแบรนด์ Harvest Gourmet จำหน่ายวัตถุดิบอาหารแบบ B2B เข้าร้านโดยตรง มีพันธมิตรเชนร้านอาหารรายใหญ่หลักร้อยสาขา มี 5 ชนิดให้เลือก ได้แก่ เนื้อเบอร์เกอร์ เนื้อบดละเอียด ไก่ย่างรมควัน ไก่ชุบเกล็ดขนมปัง และ มีทบอล
โดยประเมินมูลค่าตลาดในไทยราว 900 ล้านบาท โอกาสโตปีละ 20% พบคนไทย 1 ใน 4 เป็นกลุ่ม Flexitarian ลดทานเนื้อสัตว์อย่างน้อย 1 วันต่อสัปดาห์
อ่านต่อ : Plant-based ฮิตจัด! “เนสท์เล่” เปิดแบรนด์ Harvest Gourmet ส่งวัตถุดิบเข้าร้านอาหาร
]]>
จากมาตรการล็อกดาวน์ที่เข้มงวดขึ้น เพื่อสกัดการเเพร่ระบาดของโควิด-19 เมื่อวานนี้ (20 ก.ค.64) รัฐบาลได้มีข้อกำหนด ‘เพิ่มเติม’ ควบคุมการปิดและเปิดให้บริการในสถานที่ต่างๆ ทั้งห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้าเเละคอมมูนิตี้มอล ทั้ง 13 จังหวัด ‘พื้นที่สีแดงเข้ม’ เป็นเวลา 14 วันตามประกาศ หรือจนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง
โดยอนุญาตให้ห้างฯ เปิดให้บริการได้เพียงแค่ 3 กิจการเท่านั้น คือ ซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านยา/เวชภัณฑ์ และสถานที่ฉีดวัคซีน
ดังนั้น ธุรกิจอื่นๆ ที่ไม่ใช่ 3 กิจการดังกล่าว จะต้อง ‘ปิดให้บริการ’ ชั่วคราว รวมไปถึง “ร้านอาหารในห้างฯ” ที่ก่อนหน้านี้ยังเปิดให้บริการได้เเต่ต้องขายเเบบซื้อกลับบ้านและฟู้ดเดลิเวอรี่ “เเต่จากมาตรการล่าสุดนั้น ร้านอาหารในห้างฯ จะไม่สามารถขายได้เลยแม้แต่ช่องทางเดลิเวอรี่”
หลังปรับตัวรับวิกฤตโควิดมาหลายรอบ บรรดาร้านอาหารต้อง ‘ดิ้นรน’ อีกครั้งเพื่อให้ธุรกิจยังดำเนินต่อไปได้เเละต้องระบายวัตถุดิบที่มีอยู่
เเบรนด์ต่างๆ จึงตัดสินใจเเก้เกมนี้ ด้วยการประกาศ ’หาพื้นที่เช่า’ ที่มีทำเลอยู่นอกห้างสรรพสินค้า หลากหลายโซนในกรุงเทพฯ เพื่อทำเป็น ‘ครัวเเห่งใหม่’ เนื่องจากตอนนี้ หากเป็นร้านอาหารที่ตั้งอยู่ ‘นอกห้าง’ ยังสามารถเปิดขายเดลิเวอรี่ได้ถึงเวลา 20.00 น.
เริ่มจาก Zen Group เชนร้านอาหารรายใหญ่ ที่มีเเบรนด์ในมืออย่าง ZEN, On The Table และ AKA ระบุว่า
“ท่านใดมีร้านอาหารนอกห้าง ที่มีครัวและอุปกรณ์ครัว โดยไม่ได้เปิดร้าน สนใจอยากให้เช่า โซนดังต่อไปนี้ ลาดพร้าว อนุสาวรีย์ ทองหล่อ สาทร สีลม เพลินจิต พระราม 3 สาธุประดิษฐ์ รามอินทรา (แฟชั่นไอซ์แลนด์) เจริญนคร บางกะปิ สยาม พร้อมพงษ์ รัตนาธิเบศร์ งามวงศ์วาน ปิ่นเกล้า บางแค บางนา พระราม 9 สามารถติดต่อที่ [email protected] หรือโทร 084-675-7553”
ตามมาด้วย อัจฉรา บุรารักษ์ ผู้ก่อตั้ง iberry group เจ้าของร้านอาหารอย่าง กับข้าวกับปลา ทองสมิทธ์ เจริญแกง ฟ้าปลาทาน เบิร์นบุษบา โรงสีโภชนา เเละ รส’นิยม โพสต์ข้อความหาพื้นที่เช่าเเห่งใหม่ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวว่า
“สืบเนื่องมาจาก การถูกสั่งปิดร้านอาหารในห้างทั้งหมด เพื่อนคนไหนมีร้านอาหารนอกห้าง โซนดังต่อไปนี้ มีอุปกรณ์ครัวแต่ไม่ได้เปิดร้าน สนใจอยากให้เช่าระยะสั้นบ้างไหมคะ ทองหล่อ เอกมัย ลาดพร้าว เรียบด่วนเอกมัย–รามอินทรา ราชพฤกษ์ บางจาก รบกวน ติดต่อ line add @iberrygroup นะคะ ขอบพระคุณค่ะ”
ด้าน ดุษิตา สถิรเศรษฐ รองประธานกรรมการ Sukishi Inter Group ร้านอาหารเกาหลีและญี่ปุ่นชื่อดัง โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว ตามหาพื้นที่เช่าทำครัวอาหารนอกห้างเช่นกัน โดยมองหาโซนใกล้ๆ ย่านพระราม 2 พระราม 3 ปิ่นเกล้า เซ็นทรัลพลาซ่า เวสต์เกต แฟชั่น ไอส์แลนด์ พระราม 9 บางกะปิ รังสิต รวมทั้ง ฉะเชิงเทรา ชลบุรี หาดใหญ่ ติดต่อ inbox ไปโดยตรงได้ที่ https://www.facebook.com/dusita.satiraseth
Shinkanzen sushi ร้านอาหารญี่ปุ่นที่มีสาขาหลายเเห่งในห้างฯ ออกประกาศว่า ทางร้านยังมีพนักงานอีกหลายคนที่ต้องดูเเล เพื่อให้พนักงานยังมีงานและรายได้ จึงขอประกาศตามหาพื้นที่เช่า (ระยะสั้น) ทำครัวชั่วคราวสำหรับขายเดลิเวอรี่ ไม่ว่าจะเป็น ตึกเเถว ร้านอาหารเก่า cloud kitchen หรือเป็นครัวโรงเเรมที่หยุดดำเนินการในช่วงนี้ โดยพื้นที่ที่ต้องการคือ
ส่งรายละเอียด มาที่ line@: @shinkanzensushi หรือ inbox มาที่เพจ Shinkanzen sushi
Potato Corner เเบรนด์เฟรนช์ฟรายส์ปรุงรส ก็ประกาศว่า ต้องการหาพื้นที่เช่าด่วน ในช่วง 14 วันนี้ (20 ก.ค. – 2 ส.ค.) โดยไม่จำเป็นต้องมีครัว หรือเป็นร้านอาหาร เพียงแค่มีขนาดพื้นที่มากกว่า 15 ตร.ม. ขึ้นไป ในโซนต่างๆ อย่าง ลาดพร้าว เอกมัย ศรีนครินทร์ บางนา บางใหญ่ ท่าพระ ห้วยขวาง บางกะปิ พระราม 3 เลียบทางด่วนรามอินทรา รังสิต ดอนเมือง รังสิต ปทุมธานี พระราม 2 บางแค คันนายาว ตลิ่งชัน แจ้งวัฒนะ งามวงศ์วาน สำโรง รัตนาธิเบศร์ สุขสวัสดิ์ ทุ่งครุ
คุณสมบัติของพื้นที่ ที่จำเป็นต้องมี
คุณสมบัติที่อาจจะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ
-อยู่ชั้น 1 และติดถนนใหญ่
-มีระบบระบายอากาศ
-มีตู้แช่สินค้า (หากมีรบกวนระบุจำนวนและขนาด)
-มีระบบ Internet
ส่งข้อมูลได้ที่อีเมล [email protected] และ [email protected] หรือ แชทตรงมาที่ @PotatoCornerTH >> https://lin.ee/b3zbp9R
ติดต่อเข้ามายัง inbox ของทางเพจ Boon Tong Kee – Thailand หรือโทร.083-096-0530 (ฝ่ายสรรหาสถานที่) โดยหากพื้นที่มีอุปกรณ์ครัว หรืองานระบบสำหรับร้านอาหารแล้ว จะพิจารณาเป็นพิเศษ
เรือนเพชรสุกี้ระบุว่า ขณะนี้ทางร้านมีความจำเป็นต้องหาสถานที่นอกศูนย์การค้า เพื่อเปิดให้บริการแบบเพิ่มเติม
เพราะมีพนักงานที่ต้องดูแล มีค่าใช้จ่ายที่ยังเดินไม่หยุด และมีวัตถุดิบที่ถ้าไม่คิดแก้ปัญหาจะเน่าเสียทั้งหมด
โดยมองหาอาคารพาณิชย์ที่ต้องการปล่อยให้เช่าชั่วคราว หรือระยะยาว ที่สามารถใช้ประกอบอาหารได้
หรือพื้นที่ร้านอาหารที่ปิดตัวลงชั่วคราวและสามารถปล่อยให้ทางร้านเช่าเปิดบริการได้ หรือเปิดครัวร้านอาหารอยู่แล้วต้องการลดต้นทุนโดยการหาผู้เช่าร่วม หรือแบ่งพื้นที่ให้เช่าร่วม ในโซนบางนา อ่อนนุช อุดมสุข นนทบุรี เเจ้งวัฒนะ จรัญสนิทวงศ์ พระราม 3 หรือพื้นที่อื่นๆ
นอกจากนี้ ยังมีกรณีที่น่าสนใจอย่างร้าน Ramenga ราเมงอะ ラーメン เมื่อต้องปิดร้านชั่วคราว 7 สาขาในห้างฯ ต้องหาทางระบายสต๊อกวัตถุดิบที่เตรียมไว้เพื่อทำราเมงถึง 1,600 ชาม
โดยทางร้านจะนำไปบริจาคให้องค์กรต่างๆ เพื่อดูแลจิตอาสาและผู้เดือดร้อน ซึ่งหากองค์กรไหน หรือที่ไหนต้องการ ราเมงไปสนับสนุน สามารถแจ้งมาทาง inbox เพจ เฟซบุ๊ก หรือ Line Ramenga https://lin.ee/fTeAHcM โดยเริ่มต้นด้วยการเเจกที่ศูนย์เอราวัณ ที่จัดหาเตียงให้ผู้ป่วยโควิด 200 ชาม
ด้าน Kouen Group ก็ออกประกาศชวนผู้ที่มีความสนใจอยากเพิ่มรายได้จากธุรกิจอาหาร โดยไม่จำเป็นต้องทำอาหารเป็น ซึ่งทางร้านจะมีทีมงานช่วยเทรนให้ทุกขั้นตอน แค่มีบ้านในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล โดย ณ ตอนนี้ กำลังอยู่ระหว่างการวางเเผนรายละเอียดต่างๆ สามารถติดต่อมาได้ตามอีเมล [email protected] , [email protected]
นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของร้านอาหารจำนวนมากที่ต้อง ‘หาทางรอด’ ต่างๆ เพื่อให้ผ่านพ้นช่วงมาตรการล็อกดาวน์เเละวิกฤตโรคระบาดครั้งนี้ไปให้ได้
โดย Wendy’s วางเเผนจะเปิดสาขากว่า 400 เเห่งทั่วสหราชอาณาจักร และตั้งเป้าว่าจะสร้างงานให้ได้อย่างน้อย 12,000 ตำแหน่ง แม้ว่าต้องใช้เวลาหลายปีก็ตาม
ย้อนกลับไปเมื่อปี 2001 Wendy’s ประกาศออกจากตลาดสหราชอาณาจักรไป โดยให้เหตุผลเรื่อง ‘ต้นทุน’ ที่ทำให้บริษัทเติบโตได้ไม่เต็มที่ เเต่การกลับมาครั้งนี้ก็ต้องเจอกับงานหิน เมื่อเเบรนด์ McDonald’s ขยายตลาดไปในสหราชอาณาจักรไปกว่า 1,300 แล้ว
Abigail Pringle ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายพัฒนาธุรกิจของ Wendy’s ให้สัมภาษณ์ว่า ตลาดเบอร์เกอร์และเทรนด์การซื้อกลับบ้านเเบบ ‘Takeaway’ ในสหราชอาณาจักรที่เติบโตขึ้นอย่างมากในช่วงการเเพร่ระบาด นับเป็น ‘ช่วงเวลาที่เหมาะสม’ ในการกลับมาของ Wendy’s
Wendy’s จะวางให้สหราชอาณาจักรเป็น ‘สปริงบอร์ด’ เพื่อขยายการเติบโตไปยังประเทศอื่นๆ ในยุโรปต่อไป โดยเมื่อปีที่เเล้ว เเบรนด์เพิ่งจะเเซงคู่เเข่งอย่าง Burger King ขึ้นเป็นผู้เล่นอันดับ 2 ในตลาดเเฮมเบอร์เกอร์ของสหรัฐฯ
สำหรับสาขาแรกของ Wendy’s ในอังกฤษจะเริ่มเปิดในเมือง Reading ช่วงเดือนหน้า จากนั้นจะขยายไปยังเมือง Stratford เเละ Oxford ซึ่งทางร้านระบุว่า จะมี ‘เมนูใหม่’ ที่เหมาะกับตลาดอังกฤษเเละถูกใจคนในพื้นที่ รวมถึงเมนูที่เป็น ‘มังสวิรัติ’ ด้วย
จากสถานการณ์เศรษฐกิจที่ไม่เอื้ออำนวย Wendy’s มองว่าเเม้จะตลาดในสหราชอาณาจักรจะไม่ขยายตัวเร็วอย่างที่คาดการณ์ไว้ เเต่ก็เชื่อว่าจะสามารถชิงส่วนเเบ่งการตลาดจากคู่แข่งได้ โดยเน้นไปที่ ‘คุณภาพและบริการ’ พร้อมส่งเสริมการใช้ผลิตภัณฑ์จากท้องถิ่นและเนื้อสดที่ไม่ได้แช่แข็ง
Wendy’s เป็นเชนเบอร์เกอร์เก่าเเก่ที่ก่อตั้งมาตั้งเเต่ปี 1969 ปัจจุบันมีสาขาราว 6,800 เเห่งทั่วโลก อยู่ในตลาดหุ้นสหรัฐฯ ด้วยมูลค่า 5,000 ล้านดอลลาร์ (ราว 1.56 แสนล้านบาท)
โดยมีเป้าหมายจะขยายสาขาให้ได้ 8,000 เเห่งภายในปี 2025 เน้นไปที่แคนาดาและสหราชอาณาจักร หลังมองเห็นการเติบโตของธุรกิจในช่วงการระบาดของโควิด-19 ที่ผู้คนหันมาสั่งอาหารผ่านแอปฯ หรือซื้อเเบบ drive-thru
ทั้งนี้ Wendy’s รายงานผลประกอบการเมื่อวันที่ 2 มีนาคมที่ผ่านมา พบว่ายอดขายของร้านอาหารในสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 6% ขณะที่ยอดขายร้านอาหารทั่วโลกเพิ่มขึ้น 5%
ที่มา : BBC , Yahoo Finance
]]>โดยทั้ง 27 ประเทศที่เป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป (อียู) ไฟเขียวให้ ’หนอนนก’ หรือ ‘mealworm’ สามารถวางจำหน่ายได้ทั่วไปในฐานะ ‘novel food’ อาหารทางเลือกที่ใช้เทคโนโลยีแบบใหม่ ที่มีความปลอดภัยในการบริโภค
ความเคลื่อนไหวดังกล่าว มีขึ้นหลังหน่วยงานความปลอดภัยด้านอาหารของสหภาพยุโรป ได้เผยเเพร่งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ในปีนี้ว่า หนอนนกสามารถรับประทานได้อย่างปลอดภัย สามารถทานได้ทั้งตัวหรือในรูปแบบผงสกัด หรือนำมาปรุงเป็นอาหารว่าง เพราะอุดมไปด้วยคุณค่าทางโปรตีนสูง อย่างไรก็ตาม การเเพ้หนอนนกอาจเกิดขึ้นได้ในผู้ที่เคยมีอาการแพ้กุ้ง สัตว์น้ำเปลือกแข็งหรือไรฝุ่น เป็นต้น
แมลงถือเป็นอาหารอย่างหนึ่ง ที่ปัจจุบันเเม้จะยังมีส่วนเเบ่งในตลาดน้อยมาก เเต่ก็มีโอกาสเติบโตได้ เป็น
เทรนด์อาหารทางเลือกเพื่อสุขภาพเเบบใหม่
คาดว่าตลาด ‘แมลงที่กินได้’ จะมีมูลค่าสูงถึง 4.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.4 เเสนล้านบาท) ภายในปี 2027 เเละยังมีเมนูของแมลงอื่นๆ อีก 11 ชนิด ที่กำลังรอการประเมินความปลอดภัยจากสหภาพยุโรป
เจ้าหน้าที่ของอียูให้ความเห็นว่า การเพาะเลี้ยงเเมลงเพื่อนำมาเป็นอาหารนั้นเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มากกว่าการเลี้ยงวัวและแหล่งโปรตีนขนาดใหญ่อื่นๆ
ด้านองค์การอาหารและเกษตรของสหประชาชาติ ระบุว่า ‘เเมลงเป็นแหล่งอาหารที่ดีต่อสุขภาพ มีคุณค่าทางโภชนาการสูง อุดมไปด้วยไขมัน โปรตีน วิตามิน เส้นใยเเละเเร่ธาตุสูง’
ทั้งนี้ หลัง ‘หนอนนก’ ได้รับการอนุมัติจากประเทศในสหภาพยุโรปเเล้ว จะสามารถวางจำหน่ายเป็นผลิตภัณฑ์อาหารตามร้านสะดวกซื้อต่างๆ ได้ในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้านี้
]]>