ขายออนไลน์ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 24 Feb 2022 12:00:37 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 รู้จัก “ZORT” สตาร์ทอัพไทยช่วย “จัดการคำสั่งซื้อ” ร้านออนไลน์ หวังบินไกลถึงตลาดอาเซียน https://positioningmag.com/1375287 Thu, 24 Feb 2022 10:42:03 +0000 https://positioningmag.com/?p=1375287 จากจุดเริ่มต้นการก่อตั้งบริษัทเพราะเผชิญปัญหา ‘excel’ ไม่ตอบโจทย์การขายออนไลน์ จนวันนี้ระดมทุน Series A ได้สำเร็จ “ZORT” (ซอร์ทเอาท์) เตรียมขยายตลาดทั่วประเทศ และปักหมุดเข้าสู่ตลาดอาเซียน พร้อมขยายฟีเจอร์ให้ครบลูปการขายออนไลน์ของ SMEs ตั้งแต่นับสต็อกจนถึงระบบ CRM รักษาฐานลูกค้า

“จุดเริ่มต้นของเราคือตัวเองก็เคยทำธุรกิจมาก่อน สมัยนั้นเราก็ใช้โปรแกรม excel ซึ่งพบว่ามันยุ่งยากในการลงข้อมูล และมีโอกาสที่ออร์เดอร์จะหล่นหายสูงมาก ต่อมาพี่ๆ ในวงการธุรกิจก็มาคุย ต้องการจ้างเราซึ่งจบวิศวะเพื่อจะให้ทำโปรแกรมจัดการการขายและสต็อกให้ ซึ่งเราพบว่าทุกคนมี pain point แบบเดียวกัน เราเลยคิดว่า ถ้าอย่างนั้นเราก็ทำเป็นโปรดักส์เลยดีกว่าเพราะทุกคนต้องการใช้เหมือนกันหมด” สวภพ ท้วมแสง หนึ่งในผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซอร์ทเอาท์ จำกัด (ZORT) กล่าวถึงการก่อตั้งบริษัทเมื่อปี 2559

ปัญหาที่พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ทุกคนต้องเผชิญ คือการขายปัจจุบันมีหลายช่องทาง เช่น Shopee, Lazada, JD Central, Facebook, Line แต่เมื่อมีลูกค้าสั่งซื้อ การตัดสต็อกที่ ‘ไม่เรียลไทม์’ พร้อมกันทุกช่องทาง ทำให้บางครั้งเกิดอาการสินค้าหมด ต้องบอกยกเลิกออร์เดอร์ลูกค้า ทำให้เสียความน่าเชื่อถือและเสียโอกาสการขาย

ZORT จึงเข้ามาแก้ปัญหานี้ ทำหน้าที่เป็นซอฟต์แวร์กลางในการทำระบบให้ ‘sync’ กัน ตัดสต็อกอัตโนมัติและอัปเดตพร้อมกันทุกช่องทางขาย

จากนั้นต่อยอดจนกลายเป็น แพลตฟอร์มบริหารออร์เดอร์และสต็อกครบวงจร (Seller Management Platform) ทำได้ทั้ง 6 ส่วนสำคัญต่อธุรกิจค้าออนไลน์ คือ จัดการสต็อก, จัดการคำสั่งซื้อ, ทำบัญชีรับจ่าย, การรับชำระเงิน, จัดการแพ็กสินค้า และขนส่ง

หลังก่อตั้งมา 6 ปี ปัจจุบัน ZORT มีฐานลูกค้า 3,000 ราย โดยมีคำสั่งซื้อที่ผ่านระบบสะสม 84,000 ล้านบาท จำนวน 45 ล้านรายการ สามารถลดต้นทุนให้ลูกค้าได้เฉลี่ย 30% และพร้อมจะขยายตัวมากกว่านี้

ZORT
ทีมผู้บริหาร บริษัท ซอร์ทเอาท์ จำกัด

 

รับเงินลงทุน 55 ล้านบาทในรอบ Series A

จากฐานธุรกิจที่มีทำให้ดึงดูดใจนักลงทุน โดยซอร์ทเอาท์สามารถระดมทุนรอบ Series A ได้แล้วด้วยมูลค่าการลงทุนรวม 55 ล้านบาท มี lead investor คือ กองทุน Finnoventure Fund ของ กรุงศรี ฟินโนเวต (โดยซอร์ทเอาท์เป็นสตาร์ทอัพรายแรกที่กองทุนนี้ร่วมลงทุน) ร่วมด้วย บริษัท บัซซี่บีส์ จำกัด รุ่นพี่เทคสตาร์ทอัพ รวมถึงมี angel investor 3 ราย นำโดย “โคบี้ บุญบรรเจิดศรี” นักลงทุนอิสระ

“แซม ตันสกุล” กรรมการผู้จัดการ บริษัท กรุงศรี ฟินโนเวต จำกัด กล่าวว่า ธนาคารกรุงศรีอยุธยามีฐานลูกค้า SMEs อยู่แล้วนับแสนราย และมีการแนะนำ ZORT ให้ลูกค้าใช้งาน ซึ่งพบว่าลูกค้าตื่นเต้นกับเทคโนโลยีนี้ ทำให้เชื่อมั่นว่าสตาร์ทอัพรายนี้จะโตไปพร้อมกับการเติบโตของอีคอมเมิร์ซ และไม่ใช่แค่ในไทย แต่สามารถไปในระดับอาเซียนได้ โดยกรุงศรีซึ่งอยู่ในเครือ MUFG พร้อมจะผลักดัน

“ปลายทางคือเราจะแต่งตัว ZORT ให้เข้าตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้ในที่สุด คิดว่าไม่เกิน 3-5 ปีข้างหน้า” แซมกล่าว

ZORT
พิธีลงนามร่วมลงทุน Series A กับซอร์ทเอาท์

ด้าน “ณัฐธิดา สงวนสิน” กรรมการผู้จัดการและผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท บัซซี่บีส์ จำกัด กล่าวว่า เนื่องจากอยู่ในธุรกิจที่ใกล้เคียงกันโดยบัซซี่บีส์ถนัดด้านการทำระบบ CRM ให้กับลูกค้าองค์กรใหญ่ ทำให้บริษัทเล็งเห็นว่าฟีเจอร์ของซอร์ทเอาท์จะตอบ ‘need’ หรือความจำเป็นของลูกค้า SMEs และเห็นศักยภาพว่ามีโอกาสขึ้นเป็นอันดับ 1 ได้เพราะการใช้งานง่าย สะดวก และโมเดลพร้อมสเกลอัพ

 

เล็งขยายเข้าตลาดอาเซียน

หลังได้รับเงินลงทุน และที่สำคัญกว่านั้นคือได้ “พาร์ทเนอร์เชิงกลยุทธ์” สวภพกล่าวว่า บริษัทจะนำเงินลงทุนใน 3 ด้าน คือ

1.พัฒนาโปรดักส์ เพื่อให้เป็น Seller Management Platform ที่ทำได้ครบวงจรมากขึ้น สิ่งที่จะเพิ่มเข้ามาคือ “การทำ CRM” ซึ่งส่วนนี้บัซซี่บีส์จะเข้ามาประสานพลังได้อย่างลงตัว

ณัฐธิดากล่าวเสริมว่า การทำ CRM จะกลายเป็นส่วนสำคัญมากของธุรกิจในอนาคต เนื่องจากการลงโฆษณาโดยใช้ Targeted Ad จะทำได้ยากขึ้นเพราะติดกฎหมายปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) ทำให้แต่ละธุรกิจต้องเก็บฐานลูกค้าของตัวเองไว้ เพื่อทำการตลาดและสร้างความภักดีต่อแบรนด์

นอกจากนี้ สวภพกล่าวว่าบริษัทจะมีเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ๆ ให้ครอบคลุมเทคนิคการขายแบบใหม่ยิ่งขึ้น เช่น Live Commerce การไลฟ์สดขายสินค้าจะต้องนำมา sync กับระบบของแพลตฟอร์มได้

shopping online ecommerce

2.ขยายตลาด สำหรับในไทยยังมีโอกาสอีกมาก เพราะมีผู้ประกอบการจำนวนมากที่ต้องการปรับมาขายออนไลน์ และบริษัทจะทำการตลาดกระจายตัวออกจากกรุงเทพฯ เน้นต่างจังหวัดมากขึ้น หลังพบว่าอีคอมเมิร์ซกระจายฐานไปอยู่ต่างจังหวัดสูงขึ้น เพราะการขนส่งทำได้ทั่วถึงทั้งประเทศ

รวมถึงจะขยายตลาดอาเซียนด้วย โดยบริษัทสำรวจแล้วพบว่าพฤติกรรมการซื้อขายของชาวอาเซียนคล้ายกับคนไทย และอาเซียนเป็นตลาดที่ใหญ่มาก ขณะนี้กำลังศึกษาประเทศแรกที่จะเข้าไป เป็นประเทศที่คนท้องถิ่นพูดภาษาอังกฤษได้เพื่อลดกำแพงทางภาษาในการทำงาน รวมถึงเป็นประเทศที่ขนาดตลาดใหญ่ แต่คู่แข่งยังน้อยอยู่

สำหรับการเข้าสู่อาเซียน จะมีกรุงศรีเป็นพี่เลี้ยงในการลุยตลาดใหม่ เหมือนดั่งที่กรุงศรีพา Flash Express เข้าสู่ตลาดฟิลิปปินส์และลาวมาแล้ว

3.พัฒนาทีมงาน โดยจะจัดการพัฒนาทักษะของทีมงานซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของบริษัท และจะเพิ่มทีมงานให้ตอบรับกับจำนวนลูกค้าที่สูงขึ้น จากปัจจุบันมีทีมงานเพียง 40 คน

เป้าหมายของปี 2565 ซอร์ทเอาท์ต้องการขยายฐานลูกค้าเป็นเท่าตัวคือ 6,000 ราย และอีก 3 ปีคาดว่าจะโตเป็น 18,000 ราย (*ยังไม่รวมลูกค้าในต่างประเทศ)

สวภพมองว่า ปัจจุบันการทำความเข้าใจกับลูกค้า ‘ไม่ยาก’ เท่ากับ 4-5 ปีก่อนแล้ว เพราะลูกค้ารับได้และชินกับการสมัครใช้ซอฟต์แวร์แบบรายเดือน เข้าใจถึงความจำเป็นใช้งาน โจทย์ธุรกิจขณะนี้จึงเป็นการสเกลให้ลูกค้าเข้ามาใช้มากขึ้น และอยู่กับแพลตฟอร์มอย่างต่อเนื่องมากกว่า

“คู่แข่งมีเยอะไหม? ก็มีเข้ามาเรื่อยๆ ทั้งสัญชาติไทยและต่างชาติ แต่จุดเด่นของแต่ละรายต่างกัน อย่าง ZORT จะเด่นเรื่องมาร์เก็ตเพลส แต่ต่อไปเราต้องทำให้เราทำได้หมดทุกระบบ รวมทั้ง Facebook, Instagram, Line เข้ามาได้หมด เมื่อตอบโจทย์เขาได้แล้ว เขาก็จะไม่ย้ายแพลตฟอร์ม” สวภพกล่าว

]]>
1375287
วงการ ‘ไลฟ์สด’ เเข่งดุ เเบรนด์ ‘Big Player’ ชิงลูกค้า เจ้าเล็กหาจุดขายเอนเตอร์เทนคนดู https://positioningmag.com/1374658 Tue, 22 Feb 2022 12:20:22 +0000 https://positioningmag.com/?p=1374658 วงการขายของบนสื่อออนไลน์ในไทยบูมไม่หยุด เเม่ค้าพ่อค้าเเบรนด์เล็กเเบรนด์ใหญ่กระโจนชิงเค้กกันต่อเนื่อง เเจ้งเกิดเซเลบไลฟ์สดกันถ้วนหน้า ขนสินค้าสารพัดสิ่งมาเอนเตอร์เทนคนดู

เมื่อเร็วๆ นี้ เกิดประเด็นฮือฮาเมื่อมีคนสังเกตเห็นว่า พี่บิ๊กร้านค้าสะดวกซื้ออย่างเซเว่น อีเลฟเว่นภายใต้บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) หรือ CPALL ได้ลงสนามเเข่งไลฟ์สดผ่านเพจเฟซบุ๊ก 7-Eleven Thailand ที่มีผู้ติดตามมากกว่า 7 ล้านคน ขายสินค้าต่างๆ ทั้งอาหารเครื่องดื่ม ของอุปโภคบริโภค น้ำหอม เสื้อผ้าไปจนถึงเครื่องใช้ไฟฟ้าเเละต้นไม้ อัดโปรโมชันดึงดูดลูกค้าขั้นสุด แถมบริการส่งฟรีถึงบ้านหากซื้อสินค้าตามเงื่อนไข

หลายคนมองว่า ปกติตลาดขายของไลฟ์สดก็มีการเเข่งขันที่สูงอยู่เเล้ว เมื่อมี Big Player เข้ามาก็ยิ่งดุเดือดยิ่งขึ้นไปอีก ท่ามกลางกำลังซื้อของผู้บริโภคที่ยังอ่อนเเอ วิกฤตโรคระบาดยังดำเนินต่อเนื่อง

เเบรนด์ใหญ่ลงเเข่งไลฟ์สด ชูความน่าเชื่อถือ 

ย้อนกลับไปในช่วงต้นปี 2564 เพจ 7-Eleven Thailand ก็มีการจับกระเเสอีคอมเมิร์ซอย่างต่อเนื่อง เเต่จะเป็นในรูปแบบขายของออนไลน์ ที่เน้นการนำเสนอผลิตภัณฑ์ผ่านการเชิญดาราหรือคนในวงการบันเทิงที่มีชื่อเสียงมาร่วมเป็นเเขกในไลฟ์มากกว่า ซึ่งก็ได้รับเสียงตอบรับที่ดีพอสมควร เฉลี่ยยอดวิวอยู่ที่หลักหมื่นวิว

ต่อมาในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2564 เพจ 7-Eleven Thailand เริ่มมีการปรับเปลี่ยนสไตล์เเละลีลาในการไลฟ์ขายของ เป็น #AllOnlineLive หันมาใช้ผู้ดำเนินรายการเพียงคนเดียว เปลี่ยนรูปแบบการคอนเฟิร์มสินค้าด้วยรหัสเลขต่างๆ มีหน้าจอการเเสดงผลคล้ายคลึงกับไลฟ์สดของเเม่ค้าชื่อดังหลายเจ้า พร้อมการลดเเลกเเจกเเถมที่มากขึ้น

ไม่ใช่เพียงเซเว่น อีเลฟเว่นเท่านั้น ปัจจุบันเเบรนด์ใหญ่ๆ ก็นำจับกลยุทธ์ไลฟ์สดขายสินค้ามาเป็นหนึ่งในอาวุธสำคัญในการทำตลาดช่วงโควิด-19 ซึ่งได้ผลทั้งในเเง่ยอดขายเเละการสร้าง Brand Awareness

ยกตัวอย่าง เช่น B2S Thailand ศูนย์รวมสินค้าไลฟ์สไตล์ ซึ่งเป็นเเบรนด์มีผู้ติดตามในเฟซบุ๊กราว 4.3 เเสนคน ก็มีการเปิดไลฟ์สดขายของอย่างต่อเนื่อง ยิ่งเป็นของชิ้นเล็กๆ กุ๊กกิ๊ก ยิ่งขายดีเป็นพิเศษ เจาะตลาดกลุ่มลูกค้าวัยรุ่นที่ใช้เวลาอยู่ในสื่อโซเชียล เเละจับกลุ่มลูกค้าวัยทำงานด้วยอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้สำหรับ Work From Home ทั้งเก้าอี้ ชั้นวางของ ปากกาเเละสมุดจดต่างๆ ไปจนถึงชุดตรวจโควิด ATK

ต่อมากับร้านค้ากีฬารายใหญ่สุดในไทยอย่าง Supersports ที่มีผู้ติดตามเพจกว่า 1.7 ล้านคน ก็รุกตลาดขายออนไลน์อย่างจริงจัง โดยเน้นการโชว์วิธีใช้สินค้าให้ผู้ชมเข้าถึงได้ นำเสนออุปกรณ์เพื่อการออกกำลังกายที่บ้านเเละจัดโปรโมชั่นลดราคาพิเศษกับเเบรนด์ดัง พร้อมกิจกรรมร่วมสนุกต่าง ๆ

โดยจุดเด่นของเเบรนด์ใหญ่ที่ทำการขายของผ่านไลฟ์สดก็คือ ความน่าเชื่อถือเเละการมีสินค้าที่ครบครัน ตรงกับความต้องการของลูกค้า

เซเลบไลฟ์สด มาพร้อมพลังเเฟนคลับ 

ฝั่งเเม่ค้าออนไลน์ ระดับ #เซเลบ ที่มาเเรงสุดๆ ก็ต้องยกให้ พิมรี่พายขายทุกอย่าง ที่สร้างกระเเสบนพื้นที่สื่อได้ตลอด ทั้งประเด็นดราม่าเเละการเปิดตัวสินค้าต่างๆ โดยปัจจุบันมีผู้ติดตามในเฟซบุ๊กมากถึง 7.4 ล้านคน

ตามมาด้วย กะฟา เเห่งเพจ MakeeShop จากเมืองยะลา ที่มียอดผู้ติดตาม 2.4 ล้านคน กับลีลาการขายเเบบใกล้ชิดลูกค้าด้วยวลีที่รักของกะฟา โชว์การทดลองใช้สินค้า พร้อมความสนุกสนานจากเสียงเชียร์ของทีมงาน

ขณะเดียวกัน ยังมีนักเเสดงชื่อดังอย่าง ยุ้ย จีรนันท์ มะโนแจ่ม ที่ขยับมาเอาดีด้านวิถีขายออนไลน์ เคยกวาดรายได้ 3 ชั่วโมง 3 ล้านบาท บนเพจ ซุปตาร์ออนไลน์ by ยุ้ย จีรนันท์ ที่มียอดติดตาม 1.6  ล้านไลค์ เน้นขายกระเป๋า เสื้อผ้า ของกินต่างๆ ด้วยสไตล์นางเอก พูดเพราะ ฟังเพลิน ทำให้ลูกค้าติดใจไปตามๆ กัน เเละบางวันก็จะมีเพื่อนนักแสดงมาร่วมไลฟ์ด้วย ยิ่งช่วยดึงยอดคนดูเเละเเฟนคลับให้เพิ่มขึ้นไปอีก

เจ้าเล็ก หาจุดขายชิงคนดู 

นอกจากนี้ ยังมีผู้ประกอบการรายย่อยตัวเล็กๆ ที่ปั้นเเบรนด์ประสบความสำเร็จ โดยเริ่มต้นจากการไลฟ์สดอย่างเปี๊ยะทะลักบางแสนที่ เจริศา นุตสถาปนา นักศึกษาวัย 22 ปี ได้เริ่มไลฟ์ขายสินค้าในกลุ่มเพื่อนๆ รอบตัว จนขยายไปในวงกว้างมากขึ้น

เเละการแนะนำขนมเปี๊ยะผ่านช่องทาง ‘TikTok’ ก็เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้มีออเดอร์เข้ามากขึ้น จนเคยมีออเดอร์เข้ามาต่อเดือนถึง 3 ล้านบาท ปัจจุบันได้ขยายไลน์การผลิตมากขึ้น มีตัวแทนจำหน่ายในหลายจังหวัดทั่วประเทศ

โดยยอดขายผ่านการไลฟ์สดทางโซเชียล คิดเป็น 70% ลูกค้าส่วนใหญ่มาจาก TikTok เเละเฟซบุ๊ก ส่วนด้านออฟไลน์เปิดขายหน้าร้านเพียงแห่งเดียวที่บางแสน มียอดขายคิดเป็น 30%

อ่านต่อเปี๊ยะทะลัก บางแสนเปี๊ยะลาวาชื่อดังโลกออนไลน์ ยอดขายเดือนละ 3 ล้านบาท 

อีกหนึ่งดาว TikTok ที่ชูการเอนเตอร์เทนลูกค้ามาต่อยอดการขายได้เป็นอย่างดี ก็คือ ก๊อตจิบิวตี้ สองแม่ค้าออนไลน์สายเต้น จากเพจเสื้อผ้าแฟชั่น by Polyyclothes ที่มุ่งสร้างความสุขให้ลูกค้าตามคอนเซปต์เต้นแรงก่อนขายพร้อมนำเสนอเสื้อผ้าแฟชั่นตัดเย็บเองได้อย่างน่าสนใจ

เรียกได้ว่าตลาดไลฟ์สดใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ ด้วยต้นทุนการตลาดที่ต่ำ ไม่ต้องมีสาขาหน้าร้านก็ทำได้ เเถมยังมีจุดเด่นในด้านการนำเสนอสินค้าได้หลายตัว สร้างการรับรู้ว่าถึงผลิตภัณฑ์ต่างๆ ของเเบรนด์ให้เป็นที่รู้จัก พร้อมส่งเเรงกระตุ้นให้ตัดสินใจซื้อสินค้าภายในเวลาที่รวดเร็ว

นอกจากนี้ ยังมีระบบไลฟ์สดสำเร็จรูปที่เข้ามาเจาะตลาดพ่อค้าเเม่ค้าออนไลน์ด้วย เพิ่มความสะดวกในการเริ่มธุรกิจมากขึ้น

เหล่านี้ ดึงดูดให้เเบรนด์ใหญ่ที่ได้เปรียบในด้านความน่าเชื่อถือ เซเลบดาราที่มีชื่อเสียงเข้ามาทำตลาดนี้มากขึ้น ฝั่งผู้ประกอบการรายย่อยก็ต้องงัดจุดเด่นของตัวเองออกมาสู้ สร้างความเป็นกันเองให้กับลูกค้า อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญที่ต้องยึดถือก็คือความจริงใจซึ่งจะทำให้ธุรกิจอยู่รอดได้เรื่อยๆ ไม่ใช่ลูกค้ามาลองซื้อครั้งเดียวเเล้วจบ เเต่เป็นการรักษายอดขายให้ได้ในระยะยาว ท่ามกลางการเเข่งขันสูงมากๆ

]]>
1374658
5 กลยุทธ์ ‘ปั้นเเบรนด์’ ให้ทันใจผู้บริโภคที่ ‘เปลี่ยนเร็ว’ ในยุคออนไลน์ https://positioningmag.com/1369337 Tue, 04 Jan 2022 10:32:46 +0000 https://positioningmag.com/?p=1369337 การเเข่งขันในโลกดิจิทัลดุเดือดขึ้นทุกวัน พร้อมๆ กับการเปลี่ยนเเปลงของเทรนด์ผู้บริโภค การปั้นเเบรนด์ให้ติดตลาดได้อย่างเเท้จริง จึงไม่ใช่เเค่ทำยอดขายได้ดีเท่านั้น เเต่รวมไปถึงการเติบโตอย่างยั่งยืน สามารถครองใจเเละเข้าถึงลูกค้าได้ในระยะยาว 

รศ. ดร. วิเลิศ ภูริวัชร คณบดี คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า โควิด-19 ทำให้รูปแบบการค้าขายเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง จากการสำรวจพบว่า แบรนด์สินค้ามีพลังในการขับเคลื่อนการเข้าถึงผู้บริโภคได้น้อยลง ดังนั้นเหล่านักธุรกิจ นักการตลาด ต้องหาพลังด้านอื่นมาเสริม ต้องอาศัยนวัตกรรมเเละเทคโนโลยี เข้ามาช่วยให้เข้าถึงลูกค้ารวดเร็วยิ่งขึ้น “ความรวดเร็วต้องมาในรูปแบบที่ง่าย มีการเชื่อมโยงออนไลน์เเละออฟไลน์เข้าด้วยกัน” 

คาดว่าลูกค้าต้องการอะไร แล้วไปดักรอ ‘ไม่ใช่ผู้ตาม’ 

พฤติกรรมผู้บริโภคในยุคนิวนอร์มอลเปลี่ยนไป เกิดความกลัวระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น ทำให้ธุรกิจต้องปรับเปลี่ยนตาม แบรนด์สินค้าเเละผู้ประกอบการ ควรคาดการณ์ว่าเทรนด์ในอนาคตจะไปในทิศทางไหน แล้วไปดักรอข้างหน้า ไม่ใช่รอให้เกิดก่อนแล้วค่อยตามหลังพฤติกรรมผู้บริโภค มุ่งสร้างองค์กรให้มีความคล่องตัว รวดเร็ว ถึงจะมีโอกาสชนะในตลาดที่มีการเเข่งขันเร็ว

“เราต้องผลักดันตัวเองให้เป็นผู้นำเทรนด์ ใช้เทคโนโลยี นำนวัตกรรมมาใช้ สร้างอารมณ์ ความรู้สึก สร้างความหวัง เเละรู้ความต้องการของผู้บริโภคอย่างลึกซึ้ง”

แบรนด์ต้องมีอินไซต์ เข้าใจความต้องการของมนุษย์ 

ต่อไปนี้ไม่ว่าจะเป็นการขายออนไลน์ หรือออฟไลน์ เจ้าของแบรนด์ต้องสร้างความแตกต่างให้ได้ มีจุดยืนเป็นของตัวเอง เข้าใจกลุ่มเป้าหมาย เเละต้องเข้าถึงสัญชาตญานของมนุษย์ ความต้องการ เล่นกับความหวัง ความอยากรู้อยากลอง เช่น กลยุทธ์กล่องสุ่ม เป็นต้น

ดังนั้นอินไซต์ของลูกค้าจึงยังเป็น ‘กฎเหล็ก’ ที่แบรนด์ต้องทำเข้าใจความต้องการของผู้บริโภคที่แท้จริงว่าพวกเขาไม่ได้มาแค่ซื้อของ ไม่ได้มาแค่ช้อปปิ้ง แต่ต้องการสิ่งที่โดนใจ

shopping online

คอนเทนต์ออนไลน์ เนื้อหาต้องไม่จบที่การซื้อ

สำหรับการทำคอนเทนต์มาร์เก็ตติ้งออนไลน์ในยุคใหม่ สิ่งที่ต้องเน้นคือการสร้างเนื้อหาที่ไม่จบที่การซื้อเพียงอย่างเดียว ต้องหวังผลไปที่การแชร์ การให้ความรู้ต่างๆ สร้างความคุ้นชิน เป็นการตลาดที่ไม่ใช่เพียงจะขายได้ในระยะสั้น เเต่ต้องมองระยะยาว ใส่ใจความยั่งยืน

มีความเป็น Social Commerce

เครื่องมือที่จะใช้ในการทำธุรกิจในปัจจุบัน จะกลายเป็น Social Commerce ไม่ใช่เเค่ E-Commerce
อีกต่อไป โดยจะต้องมีการปฏิสัมพันธ์ พูดคุย สร้างความสนุกสนานร่วมกับลูกค้าด้วย ไม่ใช่แค่สถานที่ซื้อขายสินค้าอย่างเดียวเหมือนรูปแบบ E-Commerce นอกจากนี้ การเลือกช่องทางการขายบนออนไลน์ จะต้องศึกษาว่าควรใช้สื่อเเบบไหน กำหนดบทบาทให้ชัดเจน เเละเลือกสื่อให้เหมาะสมกับกิจกรรมการตลาดของเเบรนด์

แบรนด์ต้องขยับสู่ DSR

แบรนด์ต้องผสมผสานออนไลน์กับออฟไลน์ให้ได้ พร้อมเน้นการสร้างคุณค่าทางอารมณ์ คุณค่าทางสังคม เนื่องด้วยโลกดิจิทัลจะมีความร้อนแรงมากขึ้น ดังนั้นแบรนด์จึงต้องระมัดระวัง หากสื่อสารผิดพลาดก็อาจทำให้เสียหายได้ ต้องเรียนรู้ที่จะปรับตัวให้เร็วเเละมั่นคงกว่าเดิม ขยายจากการมุ่งทำกิจกรรมเพื่อสังคม หรือ CSR (Corporate Social Responsibility) มาเป็น DSR (Digital Social Responsibility) มากขึ้นด้วย

 

 

 

]]>
1369337
‘GoDaddy’ ลุยตลาดไทยเต็มสูบ เจาะ SMEs ขยับขายออนไลน์ ช่วยทำเว็บไซต์ DIY ได้เอง https://positioningmag.com/1351152 Fri, 10 Sep 2021 10:42:44 +0000 https://positioningmag.com/?p=1351152 ‘GoDaddy’ ยกทีมบุกตลาดไทย หลังมองอีคอมเมิร์ซเติบโตดี ไม่กลัวตลาดโดเมนท้องถิ่นเเข่งดุ ชูจุดเด่นเป็น ‘one-stop-shop’ โซลูชันครบวงจร เจาะกลุ่ม SMEs ให้ทำเว็บไซต์ DIY ได้เองง่ายๆ กลยุทธ์การตลาดเฟสเเรกขอเน้นสร้าง Brand Awareness ให้เป็นที่รู้จักก่อน

หลายคนคงได้ยินชื่อของ Go Daddy ผู้ให้บริการจดทะเบียนชื่อโดเมนที่ใหญ่ที่สุดในโลกสัญชาติอเมริกัน มาหลายปี เเต่ยังไม่มีทีมงานมาดูเเลตลาดไทยเเบบเต็มที่ 100% สักที

จนกระทั่งปีนี้ GoDaddy ตัดสินใจขยายสู่ตลาด 9 ประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยได้เปิดฝ่ายบริการลูกค้าด้วยภาษาไทยเป็นครั้งเเรก เมื่อเดือนพ..ที่ผ่านมา

“GoDaddy เล็งเห็นถึงศักยภาพในการเติบโตของผู้ประกอบการรายย่อยในไทย และอยากสร้างการรับรู้ว่าการเริ่มทำธุรกิจบนแพลตฟอร์มดิจิทัลในยุคนี้นั้น เป็นสิ่งที่ทำได้ง่ายและมีต้นทุนค่าใช้จ่ายไม่สูง

ปัจจุบัน GoDaddy มีลูกค้ากว่า 20 ล้านราย และมีชื่อโดเมนกว่า 82 ล้านชื่อในมือ ดำเนินธุรกิจใน 50 ตลาดทั่วโลก มีลูกค้าอยู่ใน 100 ประเทศ 

ท่ามกลางวิกฤตโควิด-19 ในปี 2020 บริษัทมียอดลูกค้าใหม่ทั่วโลกเกือบ 1.4 ล้านคน นับเป็นอัตราการเติบโตของจำนวนลูกค้าสุทธิประจำปีสูงสุดตั้งแต่ก่อตั้งมา สะท้อนให้เห็นว่าภาคธุรกิจต่างๆ หันมาขยายช่องทางการสื่อสารเเละสร้างเเบรนด์ผ่านเว็บไซต์มากขึ้น

SMEs ไทยขยับสู่ดิจิทัล 

สายทิพย์ (นิกกี้เชวงทรัพย์ ผู้อำนายการฝ่ายการตลาด เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บอกว่า กลุ่มลูกค้าเป้าหมายหลักของ Go Daddy คือผู้ประกอบการ SMEs’ ทั้งเล็ก กลาง ใหญ่ รวมถึงบุคคลทั่วไป เเบ่งง่ายๆ ให้เห็นภาพเป็น 3 กลุ่มได้เเก่

  • กลุ่มที่มีสินค้าและบริการที่ต้องการจะขาย
  • กลุ่มที่ต้องการขายงานบริการระดับมืออาชีพ เช่น สถาปนิก ออกเเบบเเละตกเเต่งภายใน ศิลปินนักวาด นักบัญชี ฯลฯ
  • ผู้ประกอบการที่ต้องการหาโซลูชันอีคอมเมิร์ซเเบบครบวงจร

Go Daddy มีลูกค้าคนไทยที่ใช้บริการอยู่แล้วราว 60,000 ราย ในส่วนนี้คิดเป็นผู้ประกอบการรายย่อยกว่า 60-70% เลยทีเดียว

จากข้อมูลกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ปี 2020 ระบุว่า ไทยมีการจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจใหม่ 63,340 ราย มีการคาดการณ์ว่าในปี 2564 จะมีการลงทะเบียนธุรกิจใหม่ เพิ่มขึ้นราว 64,000 – 66,000 ราย

โดยการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เติบโตอย่างต่อเนื่องในอัตราเฉลี่ย 2% ต่อปี เเละมีจำนวนร้านค้าออนไลน์ที่จดทะเบียนสะสมจนถึงปี 2020 ทั้งหมดถึง 58,423 ราย

ในปีที่ผ่านมาเพียงปีเดียว ไทยมีการจดทะเบียนธุรกิจอีคอมเมิร์ซ 12,883 ราย และคาดว่าในปีนี้ จะมีการจดทะเบียนอีคอมเมิร์ซใหม่ในจำนวนที่สูงขึ้นอีก

ชูจุดขายโซลูชัน one-stop-shop สร้างเว็บไซต์ได้เอง

เมื่อถามถึงการเเข่งขันในตลาดโดเมนเเละโฮสติ้งในไทย Go Daddy มองว่า มีผู้เล่นทั้งบริษัทใหญ่จากต่างชาติ เเละบริษัทเล็กๆ ท้องถิ่นในไทยจำนวนมาก มีการตัดราคากันค่อนข้างสูง

โดยกลยุทธ์ที่บริษัทจะนำมาใช้เป็นจุดเเข็งในการตีตลาดไทย ก็คือการเป็น ‘one-stop-shop’ ที่มีผลิตภัณฑ์และบริการเพื่อธุรกิจออนไลน์แบบครบวงจร จบในที่เดียว มีตัวเลือกมากกว่า น่าเชื่อถือเเละให้บริการดูแลลูกค้าจากเจ้าหน้าที่คนไทย

“GoDaddy ต้องการเป็นที่รู้จักมากกว่าการเป็นแพลตฟอร์มสร้างเว็บไซต์ เเต่เป็นเเหล่งที่มีเครื่องมือแบบครบวงจรให้ลูกค้า ในการสร้างธุรกิจออนไลน์ ทั้งการแสดงสินค้าและบริการ สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับแบรนด์ ส่งเสริมการขายเเบบ Websites + Marketing”

หนึ่งในผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจของ GoDaddy คือ ‘Website Builder’ ที่ช่วยให้ผู้ประกอบการรายย่อย ทำเว็บไซต์ของตัวเองได้เเบบ DIY ไม่ต้องมีประสบการณ์เชิงเทคนิคเพียงกดตามขั้นตอนง่ายๆ

โดย Website Builder จะมีระบบป้องกันความปลอดภัยเว็บไซต์ SSL Certification ที่ทำงานร่วมกับอุปกรณ์มือถือ พร้อมเชื่อมต่อโซเชียลมีเดียและ Google My Business เข้ากับเว็บไซต์ที่สร้างขึ้นได้

นอกจากนี้ ยังมีบริการหลักๆ อย่างบริการจดทะเบียนชื่อโดเมนและโฮสติ้ง การสร้างเว็บไซต์และการตลาด บริการ Professional Email และ GoDaddy Guides ให้ความช่วยเหลือลูกค้าแบบตัวต่อตัวทั้งทางเเชทเเละโทรศัพท์จากทีมงานคนไทย 

เว็บไซต์คู่โซเชียลมีเดีย 

เป็นที่ทราบกันดีว่า คนไทยส่วนใหญ่มักนิยมการขายเเละซื้อสินค้าผ่านโซเชียลมีเดียมากกว่าทางเว็บไซต์ เป็นอีกหนึ่งความท้าทายของที่จะเข้ามาตีตลาดนี้

ผู้บริหาร GoDaddy ตอบว่า คนไทยนิยมใช้โซเชียลมีเดียเพราะไม่มีค่าใช้จ่าย เชื่อมต่อลูกค้าได้เร็ว เเต่การมีเว็บไซต์นั้นจะช่วยในเรื่องความน่าเชื่อถือ เพิ่มช่องทางการขาย เเละสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้เเบรนด์ได้ เเละที่สำคัญคือค้นหาทาง กว่าโดยไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายมากนัก เพียงหลักพันบาทขึ้นไป อีกทั้งยังได้เป็นเจ้าของเเพลตฟอร์มเอง ค้นหาทาง search engine ได้ง่ายกว่า เเละกระจายความเสี่ยงออกจากโซเชียลมีเดีย

โดยหัวใจสำคัญของการสร้างเว็บไซต์ให้ประสบความสำเร็จ คือ ชื่อต้องจำได้ง่าย , ดีไซน์ให้สื่อถึงความเป็นเเบรนด์ , คอนเทนต์ต้องมีคุณภาพเเละสม่ำเสมอ , เชื่อมต่อโซเชียลมีเดียได้ง่าย , ติดต่อลูกค้าได้รวดเร็ว เเละมีขั้นตอนการชำระเงินที่สะดวก เป็นต้น

ต้องยอมรับว่าตลาดไทย ไม่ใช่ตลาด DIY เหมือนในอเมริกาหรือยุโรป คนส่วนใหญ่ยังคิดว่าการจะทำเว็บไซต์ต้องมีความรู้ด้านเทคนิค ต้องเขียนโค้ดเป็น หรือมองว่าเป็นเรื่องยาก ต้องไปจ้างคนอื่นทำ GoDaddy จึงต้องเข้ามาสร้างความเข้าใจตรงนี้ เเละทำให้ตลาดขยายขึ้น

ในช่วงที่ผ่านมา GoDaddy มีการโปรโมตโฆษณาด้วยดิจิทัลมาร์เก็ตติ้งต่างๆ โดยเน้นไปที่สร้างการรับรู้เกี่ยวกับแบรนด์เเละบริการที่มีอยู่

รวมไปถึงการจัดสัมมนาออนไลน์เป็นภาษาไทย เพื่อให้ความรู้กับผู้ประกอบการ SMEs เป็นกลุ่มย่อยในทุกๆ เดือน เพื่อเข้าถึงกลุ่มลูกค้าให้ตรงเป้าหมายให้มากขึ้น 

การบุกไทยอย่างเต็มรูปแบบของยักษ์ใหญ่อย่าง GoDaddy จะกระตุ้นให้ตลาดธุรกิจออนไลน์โตเเค่ไหน เเละจะงัดกลยุทธ์อะไรมาดึงดูดผู้ใช้อีกบ้าง ต้องติดตาม…

 

 

]]>
1351152
คว้าโอกาส ตลาด ‘อีคอมเมิร์ซ’ ไทย ฉายเเววรุ่ง โตเฉลี่ยปีละ 20% คาดเเตะ 7.5 แสนล้านในปี 68 https://positioningmag.com/1349187 Mon, 30 Aug 2021 08:59:00 +0000 https://positioningmag.com/?p=1349187 ตลาด ‘อีคอมเมิร์ซ’ ในไทย หลังโควิดฉายเเววรุ่ง ประเมินขยายตัวเฉลี่ย 20% ตลอดช่วง 5 ปีข้างหน้า มูลค่าตลาดอาจพุ่งเเตะ 7.5 แสนล้านในปี 2568 จาก 3 แสนล้านในปัจจุบัน E-marketplace เเข่งขันดุเดือดเหลือเจ้าใหญ่ไม่กี่ราย โอกาสร้านเล็กกระจายความเสี่ยง ปรับตัวรับลูกค้าเเนวใหม่ 

KKP Research โดยกลุ่มการเงินเกียรตินาคินภัทร ประเมินว่า ตลาดค้าปลีกออนไลน์ หรือ อีคอมเมิร์ซ (E-commerce) ในไทยหลังวิกฤตโควิด-19 จะขยายตัวเฉลี่ย 20% ต่อปีตลอดช่วง 5 ปีข้างหน้า เพิ่มขึ้นจากระดับ 3 แสนล้านบาท เป็น 7.5 แสนล้านบาทในปี 2568 หรือคิดเป็น 16% ของตลาดค้าปลีกรวม

โดยในปี 2563 ตลาดอีคอมเมิร์ซไทยขยายตัวก้าวกระโดดถึง 80% สะท้อนพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนมาสู่ช่องทางออนไลน์เพิ่มขึ้น ท่ามกลางข้อจำกัดการเดินทางเเละมาตรการล็อกดาวน์

สำหรับสินค้าที่มีเเนวโน้ม ‘ขยายตัวได้ดี’ จะอยู่ในหมวดสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ อาหารและสุขภาพ สวนทางกับยอดใช้จ่ายเพื่อการจองโรงแรมและการเดินทางท่องเที่ยวที่หดตัวลงอย่างรุนแรง 

อีคอมเมิร์ซไทย ใหญ่เบอร์ 2 อาเซียน มีปัจจัยหนุนอะไรบ้าง 

ปัจจุบัน ตลาดอีคอมเมิร์ซในไทย มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของอาเซียนรองจากอินโดนีเซีย แต่ในแง่มูลค่าใช้จ่ายต่อผู้ใช้ยังอยู่ในระดับต่ำกว่าสิงคโปร์ อินโดนีเซีย และมาเลเซีย ชี้ให้เห็นโอกาสในการเติบโตได้ เนื่องจากยังอยู่ในช่วงระยะเริ่มต้นโดย 3 ปัจจัยหลักๆ ที่จะทำให้อีคอมเมิร์ซในไทยเเละอาเซียน สามารถเติบโตได้สูงต่อเนื่อง ได้แก่

1. การเข้าถึงอินเทอร์เน็ต : เพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากปัจจุบันที่เฉลี่ยราว 80% ของประชากร

2. การใช้โทรศัพท์มือถือและเครือข่ายสังคมออนไลน์อย่างเข้มข้น : โดยเฉพาะในกลุ่ม Gen Y และ Gen Z โดยกลุ่มประเทศในอาเซียนมีจำนวนบัญชี Facebook ต่อประชากรสูงที่สุดในโลกและเป็นโอกาสทางการตลาดที่สำคัญ

3.บริการชำระเงินออนไลน์ที่แพร่หลายในอาเซียน : ไทยเป็นประเทศที่มีการใช้บริการธนาคารผ่านมือถือ (mobile banking) และการชำระเงินผ่านมือถือ (mobile payments) สูงที่สุดเป็นอันดับ 1 และอันดับ 2 ของโลก โดยมีบริการพร้อมเพย์ (PromptPay) ที่สะดวกและมีต้นทุนต่อผู้ใช้ต่ำ

เเพลตฟอร์มใหญ่ ‘คุมตลาด’ 

ธุรกิจค้าปลีกในไทย เปลี่ยนไปเป็นการซื้อขายบนแพลตฟอร์มออนไลน์หรือ E-marketplace มากขึ้น คิดเป็นกว่าครึ่งหนึ่งของมูลค่าตลาดอีคอมเมิร์ซรวมของไทย
“โดยเป็นการแข่งขันระหว่างสองแพลตฟอร์มข้ามชาติ ได้แก่ Shopee และ Lazada ทิ้งห่างแพลตฟอร์มรายอื่น” 
ส่วนแนวโน้มการแข่งขันในธุรกิจแพลตฟอร์มที่เข้มข้นเพื่อช่วงชิงส่วนแบ่งตลาด และเป็นฐานต่อยอดไปสู่โอกาสธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง ส่งผลให้โดยรวมแล้วแม้รายได้ของธุรกิจแพลตฟอร์มจะขยายตัวขึ้นอย่างมาก แต่ยังคงมีแนวโน้มขาดทุนต่อเนื่องจากการโฆษณาประชาสัมพันธ์และการร่วมอุดหนุนการขาย
KKP Research ประเมินว่า ท้ายที่สุดจะเหลือธุรกิจแพลตฟอร์มที่สามารถทำกำไรได้เพียงไม่กี่ราย และอาจมีผู้ชนะเพียงรายเดียว เช่นเดียวกับตลาดอีคอมเมิร์ซในจีนและสหรัฐฯ ที่มีกลุ่ม Alibaba และ Amazon เป็นเจ้าตลาดทิ้งห่างคู่แข่งที่เหลือ

ร้านเล็ก-ใหญ่ ต้องกระจายความเสี่ยง 

ธุรกิจค้าปลีก ที่มีหน้าร้านสามารถปรับกลยุทธ์ไปสู่ช่องทางออนไลน์เพิ่มมากขึ้น เพื่อลดผลกระทบจากโควิด-19 และขยายโอกาสการเติบโตในคราวเดียวกัน ในภาวะที่สูตรสำเร็จของธุรกิจค้าปลีกเปลี่ยนจากการมีทำเลที่ตั้งที่ใกล้แหล่งผู้บริโภค (localization) ความน่าเชื่อถือของผู้ขาย (trust) และประสบการณ์หน้าร้าน (human touch) และถูกแทนที่ด้วย

1.การส่งสินค้าถึงบ้าน (home delivery)

2. คะแนนรีวิวและยอดขาย (online reputation)

3. การสอบถามและบริการผ่านการสนทนาออนไลน์ (online support) บนอีคอมเมิร์ซ 

ธุรกิจค้าปลีกขนาดกลางและขนาดย่อม ที่มีหน้าร้านควรเริ่มสร้างรอยเท้าดิจิทัล (Digital footprint) บนช่องทางและแพลตฟอร์มที่หลากหลายเพื่อเพิ่มการมองเห็น (visibility) และเพื่อกระจายความเสี่ยงหากบางแพลตฟอร์มต้องปิดตัวลง

KKP Research มองว่า ธุรกิจค้าปลีกขนาดใหญ่ เช่นห้างสรรพสินค้า หรือร้านค้าประเภทที่มีผู้ให้คำแนะนำ (Specialist Shops) มีข้อได้เปรียบในด้านความน่าเชื่อถือของผู้ขายเป็นทุนเดิมและมีบริการหลังการขายที่ดี สามารถนำช่องทางออนไลน์มาหลอมรวมกับหน้าร้านเพื่อยกระดับประสบการณ์ของผู้บริโภค (omnichannel experience) หรืออาจสร้างช่องทางออนไลน์แยกจากช่องทางหน้าร้าน (multichannel) และเน้นการส่งสินค้าอย่างรวดเร็วถึงบ้าน เช่น การส่งสินค้าถึงบ้านใน 3 ชั่วโมงในเขตกรุงเทพฯ

แม้ฐานลูกค้า E-commerce ของธุรกิจค้าปลีกเดิม จะมีไม่สูงนักเมื่อเทียบกับแพลตฟอร์มรายใหญ่ แต่จำนวนผู้เข้าใช้บริการสามารถเติบโตอย่างก้าวกระโดดในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19

“ธุรกิจหน้าร้านยังคงมีข้อเสียเปรียบในด้านโครงสร้างต้นทุน โดยเฉพาะค่าเช่าพื้นที่และค่าจ้างพนักงาน จึงจำเป็นต้องปิดจุดอ่อนผ่านการบริหารต้นทุนของช่องทางหน้าร้าน ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นเพื่อรักษาอัตรากำไรในระยะต่อไป”

Photo : Shutterstock

เเนะรัฐส่งเสริม ‘โลจิสติกส์-ระบบการเงิน’ ลดขั้นตอนระหว่างแดน

การขยายตัวธุรกิจค้าปลีกออนไลน์ยังส่งเสริมให้ภาคธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องได้รับประโยชน์ไปด้วย ได้แก่ ธุรกิจคลังสินค้า (Warehouse) บรรจุภัณฑ์ (Packaging) และขนส่ง (Logistics) รวมถึงโฆษณาออนไลน์

ขณะที่มีบางธุรกิจที่จะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น ธุรกิจค้าปลีกที่อาศัยหน้าร้าน ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับการขายหรือให้เช่าพื้นที่เพื่อการพาณิชย์ หรือร้านอาหารขนาดใหญ่ที่ถูกแย่งส่วนแบ่งจากบริการส่งอาหาร (Food Delivery)

กลยุทธ์การปรับตัวไปสู่ภาวะปกติใหม่ (New Normal) จะเป็นกุญแจสำคัญสำหรับธุรกิจที่จะอยู่รอดต่อไป และเป็นโอกาสในการสร้างการเติบโตใหม่ของธุรกิจได้

KKP Research วิเคราะห์ว่า ภาครัฐสามารถมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนธุรกิจค้าปลีกออนไลน์และเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศ เพื่อยกระดับผลิตภาพในภาคบริการ สร้างงานในภาคธุรกิจใหม่ และสร้างการเข้าถึงโอกาสที่เท่าเทียมแก่ธุรกิจรายย่อย ผ่านการส่งเสริมด้านโครงสร้างพื้นฐานและลดขั้นตอนและกฎระเบียบใน 3 ด้าน ได้แก่

(1) ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพโลจิสติกส์ในประเทศ ทั้งการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานและสนับสนุนการจัดตั้งคลังสินค้าสมัยใหม่แบบครบวงจร (Fulfillment center)

2) สนับสนุนการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์และการจัดเก็บภาษีบนธุรกิจออนไลน์อย่างโปร่งใสและเป็นระบบ เพื่อรองรับการขยายตัวของธุรกรรมค้าปลีกออนไลน์ในอนาคต

3) ขยายตลาดค้าปลีกออนไลน์ ให้ไปไกลกว่าตลาดในประเทศผ่านการลดขั้นตอนและกฎระเบียบระหว่างแดน เพื่อให้ธุรกิจอีคอมเมิร์ซของไทยสามารถเข้าถึงผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ต 470 ล้านคนในอาเซียนได้

 

 

]]>
1349187
เฮือกสุดท้าย ‘เเม่ค้าออนไลน์’ ขายไม่ได้ สินค้าตีกลับ ผลกระทบขนส่งพัสดุ ล่าช้า-อ่วมโควิด https://positioningmag.com/1344529 Thu, 29 Jul 2021 13:05:15 +0000 https://positioningmag.com/?p=1344529 หลังเจอวิกฤตโควิดจนล้มลุกคลุกคลานมาหลายรอบ บรรดาแบรนด์ต่างๆ ทั้งค้าปลีก ร้านอาหาร สินค้าเกษตร พ่อค้าเเม่ค้ารายย่อย คนตกงานหารายได้เสริม กระโจนเข้าสู่โลกช้อปปิ้งออนไลน์เพื่อดิ้นรนหาทางรอด ปรับตัวพยุงธุรกิจ

ฝั่งผู้บริโภคเอง ด้วยความกังวลเสี่ยงติดโรคเเละมาตรการล็อกดาวน์ ก็หันมาสั่งซื้อสินค้าทางออนไลน์ เเทบจะกลายเป็นส่วนหนึ่งในวิถีชีวิตไปเเล้ว

ธุรกิจอีคอมเมิร์ซในไทย กำลังจะไปได้สวย จนกระทั่งวันนี้ การระบาดใหญ่รอบล่าสุด ที่มียอดผู้ติดเชื้อพุ่งสูงเเตะระดับ 17,000 คนต่อวัน ได้ขยายวงกว้างไปสู่พนักงานขนส่งพัสดุซึ่งเป็นอีกหนึ่งหัวใจสำคัญของธุรกิจขายออนไลน์เลยก็ว่าได้

บริษัทขนส่งยักษ์ในไทย กำลังประสบปัญหาเรื่องการรับ-ส่งสินค้าบางรายอาการหนักจนต้องปิดศูนย์กระจายสินค้า พนักงานจำนวนมากต้องกักตัว บางเจ้าต้องปิดสาขาตามห้างสรรพสินค้าตามคำสั่งล็อกดาวน์ ทำให้ช่วงนี้มีพัสดุตกค้างเเละล่าช้า จำนวนมาก อีกทั้งยังเปิดให้บริการได้ไม่เต็มที่

นอกจากความเดือดร้อนของบริษัทขนส่งเเละพ่อค้าเเม่ค้าออนไลน์ ที่ต้องเจอศึกหนัก ตามหาของที่ยังส่งไม่ถึงเเล้ว อีกมุมหนึ่งปัญหาเหล่านี้ ก็ส่งผลให้เหล่าผู้บริโภคไม่กล้าสั่งซื้อของออนไลน์ ในช่วงนี้ ซ้ำเติมยอดขายเเละรายได้ที่ลงลดอยู่เเล้ว จากการหดหายของกำลังซื้อให้ยิ่งลดลงไปอีก

บิ๊กขนส่งพัสดุในไทย ‘อ่วมโควิด’ 

ล่าสุดของบริษัทขนส่งต่างๆ ยังสามารถเปิดให้บริการตามปกติ’ ได้ทุกเจ้า แต่มีการกำหนดเกณฑ์การรับพัสดุใหม่ เเละบางส่วนอาจส่งของล่าช้า 1-2 วัน

ย้อนกลับไปไปรษณีย์ไทยเป็นผู้ให้บริการขนส่งพัสดุรายเเรกที่ออกมายอมรับว่า มีพนักงานติดเชื้อโควิด-19 เเม้จะฉีดวัคซีนเข็มแรกไปเเล้วกว่า 12,000 คน และเข็มสองอีกกว่า 4,200 คนก็ตาม

ปกติเเล้ว ไปรษณีย์ไทย มีปริมาณไปรษณียภัณฑ์และพัสดุด่วน เฉลี่ยอยู่ที่ 8 ล้านชิ้นต่อวัน เป็นเบอร์หนึ่งในตลาด จากสถานการณ์ดังกล่าว “อาจมีการจัดส่งสิ่งของล่าช้าในบางพื้นที่

โดยได้ระงับการฝากส่ง ผลไม้สด ต้นไม้ กล้าพันธุ์ไม้ และของเน่าเสียง่าย เป็นการชั่วคราวถึงวันที่ 31 .. 2564 เพื่อป้องกันผลไม้และต้นไม้เสียหาย 

ไปรษณีย์ไทย มีปรับแผนบริหารความเสี่ยงเคลียร์พัสดุตกค้าง เช่น แบ่งเจ้าหน้าที่นำจ่ายออกเป็น 2 กลุ่ม กำหนดให้ทำงานเหลื่อมเวลากัน นำเจ้าหน้าที่จากไปรษณีย์ที่อยู่ใกล้เคียงมาปฏิบัติหน้าที่ในการนำจ่ายแทนเจ้าหน้าที่ของไปรษณีย์ที่ต้องปิดให้บริการชั่วคราว

รวมไปถึง ปรับเปลี่ยนเวลาการทำงานของเจ้าหน้าที่ กำชับให้เว้นระยะห่างเพื่อลดความเสี่ยง ขยายพื้นที่ปฏิบัติงานสำรอง พร้อมย้ำว่าจะไม่ปกปิดข้อมูล’ กับลูกค้า 

ด้าน ‘Flash Express’ สตาร์ทอัพยูนิคอร์นรายเเรกของไทย ที่มีมูลค่ากิจการเกิน 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 31,000 ล้านบาท) เมื่อเดือนมิ..ที่ผ่านมา ก็เกิดปัญหาใหญ่ พนักงานติดโควิด-19 เช่นเดียวกัน จนถึงขั้นต้องปิดศูนย์กระจายสินค้าที่วังน้อยชั่วคราว ส่งผลกระทบต่อลูกค้าจำนวนมาก

คมสันต์ ลีประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Flash Express เทคเเอกชั่นด้วยการส่งจดหมายเเสดงความเสียใจเเละขอโทษลูกค้าทุกคน พร้อมตั้งงบชดเชยความเสียหายกว่า 200 ล้านบาท

โดยมีมาตรการเยียวยาอย่าง การคืนเงินค่าขนส่ง 100% มอบคูปองมูลค่ารวม 50 บาท เเละชดเชยความเสียหายของพัสดุเต็มจำนวนภายใต้กฎเกณฑ์ของบริษัท เป็นต้น

-คมสันต์ ลี ประธานกรรมการบริหาร กลุ่มธุรกิจแฟลช (Flash Group)

นอกจากนี้ ยังต้องงดรับของสด และ ผลไม้ทุกชนิดเเละงดพัสดุที่มีน้ำหนักเกินกว่า 10 กิโลกรัม และขนาดความกว้าง ความยาว และความสูงแต่ละด้านเกินกว่า 100 เซนติเมตร และสามด้านรวมกันเกินกว่า 150 เซนติเมตรเป็นการชั่วคราวด้วย

ทั้งนี้ ในปี 2563 Flash Express มียอดส่งมากกว่า 300 ล้านชิ้น ส่วนในปี 2564 บริษัทมีจำนวนพัสดุเฉลี่ยต่อวันประมาณ 2 ล้านชิ้น เติบโตจากเดิมที่มียอดส่งพัสดุเฉลี่ยอยู่ 1.3 ล้านชิ้นต่อวัน

ขณะที่เจ้าใหญ่ฝั่งเอกชนอย่าง Kerry Express เเม้ตอนนี้ปัญหาเรื่องพนักงานติดโควิดจะไม่รุนเเรงเท่ารายอื่น เเต่ก็ได้รับผลกระทบจากมาตรการล็อกดาวน์ของภาครัฐ 

ทำให้ต้องปิดบางสาขาในห้างฯ เเละบางสาขามีพนักงานติดโควิด ดังนั้นการขนส่งไปยังปลายทาง จึงต้องใช้เวลามากกว่าปกติราว 1-2 วัน โดยเฉพาะในพื้นที่ 13 จังหวัดสีแดงเข้ม โดยเเนะนำให้ลูกค้าวางแผนก่อนส่ง หลีกเลี่ยงพัสดุที่มีวันหมดอายุและเน่าเสียง่าย

ประกอบกับช่วงนี้จำนวนพัสดุเพิ่มขึ้นมากขึ้น 2.2 ล้านชิ้น จากช่วงปกติจำนวนพัสดุอยู่ที่ประมาณ 2 ล้านชิ้น ในขณะที่พนักงานเคอร์รี่ทั่วประเทศมีประมาณ 20,000 คน จึงมีความล่าช้ากว่าปกติด้วย

ด้านขนส่งรายอื่นๆ อย่าง J&T Express , SCG Express , BEST Express เเละ NIM Express ก็ยังไม่สามารถให้บริการพ่อค้าเเม่ค้าออนไลน์ได้เต็มที่ เพราะมีข้อจำกัดเช่นเดียวกัน

โดย SCG Express งดจัดส่งบางพื้นที่ และงดบริการเข้ารับพัสดุที่บ้านชั่วคราว ส่วนพัสดุแบบควบคุมอุณหภูมิ แช่เย็นแช่แข็งยังจัดส่งได้ตามปกติ

NIM Express แจ้งการส่งสินค้าล่าช้ากว่ากำหนด เเละของดรับสินค้าปลายทางในพื้นที่สาขาพุทธมณฑล สาย 2 ในระหว่างวันที่ 27-30 .. 2564 โดยยังคงดำเนินการจัดส่งสินค้าตามปกติ 

BEST Express ประกาศ จัดส่งพัสดุเกิดความล่าช้ากว่าปกติ ในพื้นที่สาขาเขตพระนคร กรุงเทพฯ ในช่วงตั้งแต่วันที่ 23 กรกฎาคม – 5 สิงหาคม 2564

J&T Express จำเป็นที่จะต้องปรับเปลี่ยนวิธีการคำนวณน้ำหนักและขนาดปริมาตรใหม่ โดยด้านใดด้านหนึ่งไม่เกิน 100 ซม. ทั้งสามด้านรวมกันไม่เกิน 180 ซม. และน้ำหนักจริงไม่เกิน 50 กิโลกรัม ข้อกำหนดนี้ใช้กับพัสดุทุกประเภท ยกเว้นพัสดุจาก Shopee เริ่มตั้งแต่วันที่ 27 กรกฎาคม 2564 เป็นต้นไป

ท่ามกลางความปั่นป่วนของธุรกิจขนส่งในไทยนั้นทีวี ไดเร็คเห็นโอกาสธุรกิจ รีบเปิดรับฝากส่งพัสดุ อุดช่องว่างขนส่งขาด ราคาเริ่มต้น 32 บาท โดยมีจุดรับฝากส่งพัสดุ ณ ศูนย์กระจายสินค้าของบริษัท จำนวน 58 แห่งทั่วประเทศ

ประกาศรับสินค้าขนาดใหญ่น้ำหนักไม่เกิน 150 กก. สามารถจัดส่งสินค้าได้ทุกประเภท รวมถึงกล้าพันธุ์ไม้ ระยะเวลาจัดส่ง ภายในกรุงเทพฯปริมณฑลใช้เวลา 2 วันทำการ ส่งต่างจังหวัดประมาณ 3 วัน สามารถรองรับการขนส่งพัสดุได้ 10,000 ชิ้นต่อวัน

ช้อปปิ้งออนไลน์ สะดุด ขายไม่ได้-ส่งของยาก-สินค้าตีกลับ 

เเม่ค้าออนไลน์รายหนึ่ง บอกกับ Positioningmag ว่า เริ่มปรับตัวมาขายออนไลน์อย่างจริงจัง มาตั้งเเต่ช่วงปีก่อน หลังยอดขายหน้าร้านลดลงมาก จึงได้ส่วนขายออนไลน์ ช่วยพยุงธุรกิจให้อยู่รอดในช่วงโรคระบาด

โดยช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา หลังมีปัญหาในระบบขนส่ง บางสินค้าส่งไปถึงปลายทางเเต่เกิดความเสียหาย ต้องรับผิดชอบด้วยการส่งของใหม่ไปให้ลูกค้า ทำให้ต้องเเบกรับต้นทุนสูงขึ้น รวมถึงมีสินค้าโดน ‘ตีกลับจำนวนมาก มองว่า เเม้จะมีการชดเชยค่าส่ง 100% เเต่ก็ไม่คุ้มกับความเสียหายของสินค้า เเละความเชื่อใจของลูกค้าที่หายไป 

ส่วนยอดขายที่มีอยู่ในปัจจุบัน ก็ลดลงอย่างเห็นได้ชัด เหมือนคนไม่ค่อยกล้าสั่งของออนไลน์กัน เพราะกลัวเสี่ยงติดเชื้อเเละกังวลจะได้รับของช้าหรืออาจเสียหาย

โดยหวังว่าสถานการณ์ของธุรกิจขนส่งจะคลี่คลายโดยเร็ว เบื้องต้นในช่วงนี้ก็ต้องปรับตัว เช่น เปลี่ยนบริษัทที่ส่งให้เหมาะสมกับจังหวัดปลายทาง เเม้จะมีค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น ก็พยายามให้ของไปถึงลูกค้าอย่างสมบูรณ์เเละรวดเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้พร้อมต้องติดตามสินค้าให้ด้วย

ด้านพ่อค้าเเม่ค้าออนไลน์ที่จำหน่าย ผลไม้สด ต้นไม้ กล้าพันธุ์ไม้ และของเน่าเสียง่าย ที่บริษัทขนส่งหลายราย ‘งดรับบริการชั่วคราวนั้น เรียกได้ว่าซวยเเล้วซวยอีก จากราคาผลผลิตทางการเกษตรที่ตกต่ำอยู่เเล้ว

โดยผู้ใช้ทวิตเตอร์รายหนึ่ง โพสต์ข้อความถึงความเสียหายจากอุทกภัย ทำให้มังคุดที่มีอยู่ขายไม่ได้ เเม้จะลดราคาลงเหลือกิโลกรัมละ 5 บาทเเล้วก็ตาม อีกทั้งส่งขายทางออนไลน์ไม่ได้อีก

ระวังพิษเศรษฐกิจ ฉุด ‘กำลังซื้อลด’ 

จากข้อมูลของ We are Social เปิดเผยในรายงาน Global Digital Stat 2021 ระบุว่า วิกฤตโควิดเป็นปัจจัยสำคัญทำให้การเติบโตของอีคอมเมิร์ซไทย ทั้งอีโคซิสเต็มส์ขยายตัวเพิ่มขึ้นมากอย่างมีนัยสำคัญ

คนไทยนิยมช้อปปิ้งออนไลน์สูงสุดเป็นอันดับ 3 ของโลก หรือราว 83.6% สูงกว่าหลายประเทศพัฒนาแล้ว เช่นเดียวกับการช้อปปิ้งออนไลน์ผ่านมือถือ คนไทยก็ครองอันดับ 2 ของโลก ด้วยสัดส่วนถึง 74.2% โดยหมวดอาหาร ของใช้ส่วนตัว ของใช้ภายในบ้านเพิ่มขึ้นอย่างมาก อันเป็นผลมาจากมาตรการล็อกดาวน์

ขณะเดียวกัน ด้วยภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซา ก็ทำให้กำลังซื้อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคลดลงตามไปด้วย เพราะคนต้องประหยัดมากขึ้น ระวังการจับจ่ายใช้สอย

ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจธนาคารไทยพาณิชย์ หรือ EIC ประเมินว่า โควิด-19 ระลอกที่ 3 มีแนวโน้มสร้างความเสียหายต่อการบริโภคภาคเอกชนกว่า 7.7 แสนล้านบาท หรือราว 4.8% ของ GDP จากผลของมาตรการล็อกดาวน์ ความกังวลของประชาชนต่อการติดเชื้อและความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจที่สูงขึ้นมาก ตลอดจนรายได้ของผู้ประกอบการและแรงงานในหลายภาคธุรกิจที่จะปรับลดลงมาก

แม้ภาคธุรกิจและผู้บริโภคบางส่วนจะหันไปใช้ธุรกรรมออนไลน์มากขึ้น ซึ่งจะช่วยบรรเทาผลกระทบได้บางส่วนเท่านั้น ทำให้เกิด ‘แผลเป็นเศรษฐกิจที่ลึกขึ้น’ ขณะที่เม็ดเงินช่วยเหลือจากภาครัฐที่ออกมายังไม่เพียงพอ โดยรัฐต้องเร่งกระจายวัคซีนให้ทั่วถึงอย่างเร็วที่สุด

ผลกระทบต่อธุรกิจขายออนไลน์ครั้งนี้ จึงเป็นการซ้ำเติมความลำบากของประชาชนรายย่อยให้ร้าวลึกลงไปอีก โดยฝั่งธุรกิจขนส่งพัสดุด่วนเองก็ต้องปรับตัวรับมือครั้งใหญ่ เมื่อโรคระบาดยังไม่หายไปโดยเร็ว เเต่พนักงานยังต้องลงพื้นที่เสี่ยงในทุกๆ วัน

 

]]>
1344529
‘ไปรษณีย์ไทย’ เปิดเเผนจัดการ ‘พัสดุตกค้าง’ หลังพนักงานติดโควิด แบ่งทีม-ปรับเวลาทำงาน ย้ำจะไม่ปิดบังข้อมูล  https://positioningmag.com/1344274 Tue, 27 Jul 2021 09:37:11 +0000 https://positioningmag.com/?p=1344274
‘ไปรษณีย์ไทย’ เปิดเเผนใหม่ จัดการ ‘พัสดุตกค้าง’ หลังพนักงานติดโควิด แบ่งทีม-ปรับเวลาทำงาน ย้ำจะให้ข้อมูลตรงไปตรงมา ไม่ปิดบัง 

จากการระบาดของโควิด-19 ในปัจจุบัน ทำให้มีเจ้าหน้าที่ไปรษณีย์ไทยจำนวนหนึ่งติดเชื้อ และไปรษณีย์บางแห่งต้อง ‘ปิดให้บริการชั่วคราว’ เพื่อป้องกันการระบาดนั้น

ดร.ดนันท์ สุภัทรพันธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ชี้เเจงว่า กรณีดังกล่าว มีเจ้าหน้าที่บางส่วนต้องทำการรักษาและกักตัวชั่วคราว แต่ไปรษณีย์ไทยซึ่งเป็นหน่วยงานผู้ให้บริการด้านขนส่งและการสื่อสารภายใต้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ยังคงต้องให้บริการประชาชนอย่างต่อเนื่องแม้ในภาวะวิกฤต “จึงอาจมีการจัดส่งสิ่งของล่าช้าในบางพื้นที่”

ปัจจุบันไปรษณีย์ไทย มีปริมาณไปรษณียภัณฑ์และพัสดุด่วน เฉลี่ยอยู่ที่ 8 ล้านชิ้นต่อวัน

จากการระบาดของ ไปรษณีย์ไทย ให้ความสำคัญในการไม่ให้งานตกค้าง โดยได้มีการจัดทำแผนบริหารความเสี่ยง และแนวทางดำเนินงานรองรับสถานการณ์การแพร่ระบาด ดังนี้

1.แบ่งเจ้าหน้าที่นำจ่ายออกเป็น 2 กลุ่ม โดยกำหนดให้ทำงานเหลื่อมเวลากัน

2.นำเจ้าหน้าที่จากไปรษณีย์ที่อยู่ใกล้เคียงมาปฏิบัติหน้าที่ในการนำจ่ายแทนเจ้าหน้าที่ของไปรษณีย์ที่ต้องปิดให้บริการชั่วคราว

3.ปรับเปลี่ยนเวลาการทำงานของเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ศูนย์ไปรษณีย์ที่ใช้ในการคัดแยกปลายทางซึ่งเปิดทำการตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมจัดพื้นที่ปฏิบัติงานให้มีความปลอดภัย ตามมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม

4.กำชับให้เว้นระยะห่างเพื่อลดความเสี่ยง แยกกันรับประทานอาหาร ห้ามสูบบุหรี่ร่วมกัน และห้ามจับกลุ่มคุยกันอย่างใกล้ชิด

5.ไปรษณีย์ที่มีพื้นที่ปฏิบัติงานหลายจุดให้กำหนดเป็นพื้นที่ปฏิบัติงานสำรอง ในกรณีที่จุดใดจุดหนึ่งต้องปิด

6.ปรับสถานที่ปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่นำจ่ายให้มีระยะห่างกันเพิ่มมากขึ้น

ไปรษณีย์ไทย ย้ำว่าจะไม่ปกปิดข้อมูล หากพบว่ามีเจ้าหน้าที่ติดเชื้อและจะรายงานให้ผู้ใช้บริการทุกท่านทราบผ่านช่องทางออนไลน์ต่าง ๆ ของไปรษณีย์ไทยอย่างตรงไปตรงมา แต่ด้วยสถานการณ์ในปัจจุบันอาจส่งผลกระทบให้การนำจ่ายสิ่งของในช่วงนี้อาจล่าช้าบางพื้นที่ จึงต้องขออภัยผู้ใช้บริการมา ณ ที่นี้

นอกจากนี้ ไปรษณีย์ไทย ได้กำชับให้เจ้าหน้าที่ทุกคนปฏิบัติตามมาตรการด้านสุขอนามัยอย่างเคร่งครัด เช่น

  • ที่ทำการไปรษณีย์ทุกแห่งต้องคัดกรองผู้ใช้บริการก่อนเข้าที่ทำการอย่างเข้มงวด
  • ให้บริการเจลล้างมือแอลกอฮอล์ตั้งแต่เข้าที่ทำการ ระหว่างใช้บริการ และหลังจากเสร็จสิ้นกิจกรรม จัดระยะห่างทั้งเคาน์เตอร์ให้บริการ เก้าอี้พักรอใช้บริการ
  • ทำความสะอาดจุดสัมผัสในที่ทำการ เช่น จุดกดบัตรคิว มือจับประตู เคาน์เตอร์ให้บริการทุกๆ 20 นาที
    คัดกรองเจ้าหน้าที่ก่อนปฏิบัติหน้าที่อย่างเคร่งครัด ต้องสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลาระหว่างปฏิบัติงาน ล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ และงดการพูดคุยระหว่างให้บริการ
  • เจ้าหน้าที่นำจ่ายต้องตรวจวัดอุณหภูมิก่อนปฏิบัติงานทุกครั้ง และล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ระหว่างนำจ่ายสิ่งของให้ลูกค้าทุกครั้ง ศูนย์ไปรษณีย์มีการพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อบนพัสดุทุกชิ้น
  • สำหรับผู้ใช้บริการที่ไม่ต้องการลงนามรับสิ่งของ สามารถแจ้งให้บุรุษไปรษณีย์บันทึกชื่อ-นามสกุล แทนการลงนามได้ เพื่อลดความเสี่ยงในการสัมผัส

ก่อนหน้านี้ ไปรษณีย์ไทยได้ระงับการฝากส่ง ‘ผลไม้สด ต้นไม้ กล้าพันธุ์ไม้ และของเน่าเสียง่าย’ เป็นการชั่วคราวถึงวันที่ 31 ก.ค. 2564 เพื่อป้องกันผลไม้และต้นไม้เสียหาย เนื่องจากมีวันหยุดต่อเนื่อง รวมถึงการระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้การจัดส่งและนำจ่ายสิ่งของเป็นไปอย่างจำกัด และบางพื้นที่การจัดส่งอาจล่าช้า

โดยไปรษณีย์ไทยจะแจ้งข้อมูลที่ทำการไปรษณีย์ที่ปิดให้บริการรับฝากชั่วคราว หรืองดนำจ่ายชั่วคราว หรือนำจ่ายล่าช้า รวมทั้งการปิดทำการชั่วคราวของไปรษณีย์บางแห่ง ให้ผู้ใช้บริการทราบทุกวัน ผ่านช่องทาง เว็บไซต์ www.thailandpost.co.th เฟซบุ๊ก ไปรษณีย์ไทย ทวิตเตอร์ @Thailand_Post เเละไลน์ออฟฟิเชียล @Thailand Post

]]>
1344274
Adidas รุกเเผนปั้นยอดขายออนไลน์ ‘เพิ่ม 2 เท่า’ ในปี 2025 ออกสินค้ารักษ์โลก ลุยตลาดจีน https://positioningmag.com/1323016 Thu, 11 Mar 2021 09:47:52 +0000 https://positioningmag.com/?p=1323016 จับเทรนด์อีคอมเมิร์ซเฟื่องฟู ‘Adidas’ แบรนด์เสื้อผ้าและรองเท้ากีฬาชื่อดังจากเยอรมนี ทุ่มพันล้านยูโรปั้นยอดขายออนไลน์เพิ่ม 2 เท่าภายในปี 2025 จับตลาดวัยรุ่น-เเฟชั่น-ผู้หญิง เร่งเจาะตลาดจีน พร้อมออกสินค้ารักษ์โลกคำนึงถึงความยั่งยืนมากขึ้น โดยเป็นหนึ่งในเเผนธุรกิจ 5 ปี ที่จะเพิ่มผลกำไรให้ทันคู่เเข่งอย่าง Nike

Adidas วางเป้าทำยอดขายทางออนไลน์ให้ได้ถึง 9 พันล้านยูโรต่อปี (ราว 3.2 เเสนล้านบาท) ให้ได้ภายในปี 2025 หลังมีกำไรจากการดำเนินงานเพิ่มขึ้น 12-14% จากที่เคยทำได้ในปี 2019 ที่ 11.3% โดยสามารถทำรายได้ 5.55 พันล้านยูโร (ราว 2 เเสนล้านบาท) ในไตรมาสที่ 4/2020 ที่ผ่านมา 

บริษัท ประเมินว่า ในปีนี้จะมีการฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง หลังสาขาทั่วโลกมากกว่า 95% ได้กลับมาเปิดให้บริการอีกครั้ง โดยเฉพาะลูกค้าในกลุ่มวัยรุ่นที่มีรายได้ปานกลางถึงระดับสูง

คาดว่ายอดขายปีนี้จะเพิ่มขึ้นมากถึง 30% โดยเฉพาะในประเทศจีน เอเชีย และลาตินอเมริกา

เเม้ธุรกิจเสื้อผ้าเเละอุปกรณ์กีฬา จะได้รับผลกระทบหนักจากการปิดสาขาชั่วคราว ตามมาตรการล็อกดาวน์สกัด COVID-19 ในหลายประเทศ เเต่ก็สามารถทำยอดขายทางออนไลน์ได้ถล่มทลาย เนื่องจากมีผู้คนจำนวนมากหันมาใส่ใจสุขภาพ มีการออกกำลังกายหรือเล่นโยคะที่บ้านกันมากขึ้น

ด้านรายใหญ่อีกเจ้าอย่าง Nike แบรนด์ชุดกีฬาที่ครองตลาดมากที่สุดในโลก ก็มีเเผนจะปรับตัวสู่ “ขายออนไลน์” เเบบเต็มสูบ ให้กลายเป็นทิศทางของเเบรนด์ หลังยอดขายไปได้สวย

John Donahoe ซีอีโอของ Nike บอกว่า “เราต่างรู้ดีว่าดิจิทัลเป็น New Normal ในยุคนี้ และพฤติกรรมผู้บริโภคจะไม่กลับไปเป็นแบบเดิมอีกเเล้ว” 

โดย Adidas มีเเผนจะทุ่มเงินทุนมากกว่า 1 พันล้านยูโร (ราว 3.6 หมื่นล้านบาท) เพื่อเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัล ในปี 2525 พร้อมสร้างเเพลตฟอร์มเเละระบบต่างๆ ที่เอื้อให้มีคำสั่งซื้อทางออนไลน์ได้ดีเเละรวดเร็วขึ้น

(Photo by Sean Gallup/Getty Images)

Kasper Rorsted ซีอีโอของ Adidas ระบุว่า ภายในปี 2025 อีคอมเมิร์ซจะมีสัดส่วนมากกว่า 40% ของยอดขายทั้งหมดในอุตสาหกรรม โดยออนไลน์จะเติบโตเร็วกว่าออฟไลน์ถึงสามเท่าซึ่งตอนนี้ Adidas มีสมาชิกมากกว่า 150 ล้านคนเข้าสู่ระบบออนไลน์ของบริษัทแล้ว

เช่นเดียวกับคู่เเข่งอย่าง Puma และ Nike เเบรนด์ Adidas จะให้ความสำคัญกับตลาดผู้หญิง มากขึ้น โดยเฉพาะในสินค้าหมวดเเฟชั่น

นอกจากนี้ ยังวางเป้าหมายที่จะทำให้ผลิตภัณฑ์กว่า 9 ใน 10 เป็นผลิตภัณฑ์มีความยั่งยืนมากขึ้น ด้วยการใช้วัสดุรีไซเคิลและย่อยสลายได้ นำร่องด้วยการใช้หนังสัตว์เทียมจากเห็ดในรองเท้ารุ่นฮิตอย่าง Stan Smith ที่จะเปิดตัวในปีนี้

ซีอีโอ Adidas บอกว่าผู้บริโภคมากกว่า 70% เห็นว่าความยั่งยืนเป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจซื้อ

ด้วยการที่จีนเป็นตลาดที่เติบโตเร็วที่สุด ณ ตอนนี้ Adidas จึงเตรียมเข้าถึงตลาดจีนมากขึ้น โดยจะแยกธุรกิจออกมาจากทวีปเอเชีย รวมถึงการรวมธุรกิจของรัสเซียเข้ากับธุรกิจของทวีปยุโรป โดยเตรียมเปิดตลาดใหม่ในภูมิภาคตะวันออกกลาง และทวีปแอฟริกาในปีนี้ด้วย

นอกจากนี้ Adidas มีแผนที่จะขายกิจการ ‘Reebok’ ภายในปีนี้ เนื่องจากไม่สามารถทำรายได้ถึงเป้าหมายตลอดช่วงเวลา 15 ปีที่ผ่านมา ทำให้สูญเสียส่วนแบ่งการตลาดไป โดย Adidas เข้าเข้าซื้อ Reebok แบรนด์เสื้อผ้าฟิตเนสของสหรัฐฯ ด้วยมูลค่า 3.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อ 15 ปีก่อน เพื่อหวังจะเข้ามาช่วยเเข่งขันกับคู่เเข่ง Nike ซึ่งเป็นบริษัทใหญ่ของสหรัฐฯเช่นกัน

 

ที่มา : Reuters (1) (2) , Yahoo

 

]]>
1323016
‘Sephora’ สวนกระเเสตลาด ‘เครื่องสำอาง’ วูบ เตรียมขยายสาขาอีก 260 เเห่ง มากสุดในรอบ 21 ปี https://positioningmag.com/1321401 Mon, 01 Mar 2021 13:37:36 +0000 https://positioningmag.com/?p=1321401 เเม้ธุรกิจเครื่องสำอางจะได้รับผลกระทบสาหัสจากพิษโรคระบาด เเต่ก็ไม่อาจฉุดร้านมัลติเเบรนด์ชื่อดังอย่าง ‘Sephora’ ได้ ล่าสุดประกาศขยายสาขาเพิ่มอีก 260 เเห่งทั่วอเมริกา นับเป็นการขยายสาขาครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 21 ปี ท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจ

‘Sephora’ เป็นธุรกิจในเครือ LVMH ยักษ์สินค้าลักชัวรีจากฝรั่งเศส ที่กำลังกว้านซื้อเเบรนด์ต่างๆ เข้าพอร์ต โดยเมื่อเร็วๆ นี้ก็เพิ่งเข้าซื้อหุ้น 50% ในแชมเปญหรู ‘Ace of Spades’ ของ Jay-Z เจ้าพ่อแรปเปอร์

การขยายสาขาครั้งนี้ จะเเบ่งเป็นร้านของ Sephora เอง (freestanding stores) 60 สาขา ในจำนวนนี้กว่า 85% จะตั้งอยู่นอกห้างสรรพสินค้า ส่วนอีก 200 สาขาจะเป็นร้านขนาดเล็ก’ (mini shops) ที่ตั้งอยู่ในห้างสรรพสินค้า Kohl’s

ธุรกิจความงามกำลังอยู่ในช่วงการปรับกลยุทธ์ครั้งใหญ่ เมื่อการเเพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้ลูกค้ามาช้อปปิ้งในห้างสรรพสินค้าลดลง เเละอัตราว่างงานในตำเเหน่งที่ทำในห้างฯ พุ่งสูงเป็นประวัติการณ์ที่ 10.5%

ขณะเดียวกัน ความจำเป็นที่ต้องสวมหน้ากากอนามัย เเละการทำงานที่บ้านเเบบ Work from Home ก็ทำให้ยอดขายเครื่องสำอางลดลงอย่างมาก เพราะผู้บริโภคไม่ต้องเเต่งหน้าเพื่อออกสังคม อีกทั้งยังบำรุงรักษาผิวหน้าน้อยลง

รายงานของบริษัทวิจัยตลาด NPD ระบุว่า ยอดขายเครื่องสำอางลดลง 34% ในปี 2020 เมื่อเทียบกับปีก่อน

Photo : SEPHORA

เเม้ตลาดโดยรวมจะไม่เอื้ออำนวย เเต่ ‘Sephora’ ขอลุยต่อ โดยจะเริ่มทยอยเปิดสาขาใหม่ในเมืองต่างๆ เช่น ดัลลัส, ฮูสตัน, ลอสแองเจลิส และเท็กซัส

Sephora ระบุในอีเมลถึง CNNBusiness ว่า การเลือกทำเลเปิดสาขาใหม่เหล่านี้ ผ่านพิจารณาจากปัจจัยหลายประการ โดยมุ่งเน้นที่การเติบโตในพื้นที่ชานเมืองและนอกห้างสรรพสินค้า ช่วยให้สามารถเข้าถึงผู้ซื้อสินค้าความงามทั่วประเทศได้มากขึ้น

พร้อมกันนี้ ยังเป็นการเพิ่มช่องทางการขายเเบบ Omnichannel สั่งออนไลน์เเละรับได้ที่สาขา หรือพ่วงโปรโมชันจัดส่งฟรีและการเสนอคืนสินค้าที่ง่ายดาย โดยยอดขายออนไลน์ของ Sephora ในอเมริกาเหนือ ช่วงโรคระบาด เพิ่มขึ้นใกล้แตะระดับ 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ 

การขยายสาขานี้ คาดว่าจะเป็นประโยชน์ต่อห้างสรรพสินค้า Kohl’s เพราะการมีผลิตภัณฑ์ความงามระดับไฮเอนด์ที่หลากหลาย จะช่วยดึงดูดลูกค้าคนรุ่นใหม่ได้มากขึ้นด้วย

 

ที่มา : CNN , Forbes , Yahoo 

]]>
1321401
“พิมรี่พาย” ขายทุกอย่าง! พาส่อง 10 ไอเท็มเด็ดที่แม่ค้าปากแรงคนนี้มีจำหน่าย https://positioningmag.com/1313575 Mon, 11 Jan 2021 07:30:25 +0000 https://positioningmag.com/?p=1313575 ดราม่าคลิปบริจาคของให้เด็กๆ บนดอย ทำให้สปอตไลต์ส่องลงมาที่ “พิมรี่พาย” แม่ค้าและอินฟลูเอนเซอร์ชื่อดัง แต่สำหรับคนที่ไม่รู้จักพิมรี่พาย อาจจะนึกภาพไม่ออกว่าการเป็น “แม่ค้า” ของเธอนั้นไม่ได้ขายของแค่ไม่กี่อย่าง แต่มีทุกอย่างมาขายราวกับเป็นตลาดนัดทีเดียว

“พิมรี่พาย” เป็นแม่ค้าและอินฟลูเอนเซอร์บนอินเทอร์เน็ต โด่งดังจากการไลฟ์ขายของได้เพลิดเพลิน น่าติดตาม พร้อมคาแร็กเตอร์ “ปากแรง” ไม่ไว้หน้าใครแม้แต่ลูกค้า ถ้ากวนใจมากๆ จะถูกด่าสดกลางรายการ แต่แทนที่ลูกค้าจะแอนตี้พิมรี่พาย กลับกลายเป็นสิ่งที่ทำให้มีคนติดตามเธอมากขึ้น เพราะรู้สึกว่าการด่าของเธอ “ตลก” และสร้างความรู้สึกจริงใจ ตรงๆ คิดอย่างไรพูดอย่างนั้น

ความโด่งดังของพิมรี่พายทำให้แต่ละคลิปของเธอบน Facebook Page ส่วนใหญ่มียอดผู้ชมทะลุหลักล้านวิว ยิ่งช่วงหลังที่เธอทำคลิปแจกของ บริจาค คอนเทนต์ทำบุญ ทำความดี ยิ่งได้รับความนิยม ยกตัวอย่างเช่น คลิปเซอร์ไพรส์แม่ สักแขนเป็นรูปแม่พร้อมนำเงินมากองให้ 5.2 ล้านบาทเนื่องในวันแม่ มีคนดูไปถึง 28 ล้านวิว!

แล้วพิมรี่พายขายอะไร? เธอเป็นแม่ค้าที่ขนานนามตนเองว่า “พิมรี่พายขายทุกอย่าง” เพราะเธอมีสินค้าสารพัดอย่างมานำเสนอ ไม่ว่าจะเป็นสินค้าที่รับทำโฆษณาขายให้พร้อมเป็นตัวแทนขาย สินค้าแบบซื้อมาขายไป หรือทำแบรนด์ของตัวเองขึ้นมาหลังจากโด่งดังพอที่จะปั้นแบรนด์ตัวเองได้แล้ว ไปดู ตัวอย่าง 10 ไอเท็มเด็ดที่พิมรี่พายขาย กัน แล้วจะเห็นว่าเธอขายได้ทุกอย่างจริงๆ

1.น้ำหอม

ไอเท็มจุดพลุความโด่งดังของเธอก็ว่าได้ ด้วยน้ำหอมเป็นสิ่งที่ต้องทดลองดมกลิ่น ทำให้เป็นจุดบอดว่าจะขายออนไลน์ได้อย่างไรถ้าไม่เคยไปลองกลิ่นมาก่อน แต่พิมรี่พายทำได้! ด้วยการบรรยายสรรพคุณคาแร็กเตอร์กลิ่นน้ำหอมแบบถึงพริกถึงขิง

2.ลิปสติก

อีกหนึ่งสินค้าขายดี แท่งละร้อย ซื้อง่ายขายคล่อง พร้อมคลิปในตำนานเมื่อครั้งหนึ่งลูกค้าเข้ามาถามว่าลิปสติกมี อย. ไหม จนพิมรี่พายบ่นยาวเป็นนาทีว่าลิปสติกไม่มีเลข อย. แต่ต้องถามเลขที่จดแจ้งต่างหาก

3.แป้งทาหน้า

มีน้ำหอม มีลิป ไม่มีแป้งก็คงไม่ได้ เครื่องสำอางที่สาวๆ ส่วนใหญ่ใช้ กับลีลาการขายแบบลองให้ดูกันจริงๆ แบบเทียบก่อนและหลังแต่ง ช่วยสร้างความน่าเชื่อถือ

4.กางเกงใน

เธอขายทุกอย่างที่คนน่าจะซื้อ แม้แต่กางเกงในยกกล่องก็เคยนำมาขาย ในไลฟ์เดียวกันยังมีขายแมวกวักญี่ปุ่นเรียกโชคลาภด้วย

5.ครีมทาหน้า

ยุครุ่งเรืองของพิมรี่พายที่เริ่มเพิ่มโปรดักชันและลูกน้องเข้ากล้อง ทำคลิปโฆษณาขายครีมทาหน้าฉ่ำยี่ห้อหนึ่ง พร้อมเป็นตัวแทนจำหน่าย

6.อาหารเสริม

เมื่อกิจการใหญ่โต ยอดขายดีมีกำไร พิมรี่พายเริ่มมีทุนเข้าสู่วงการพัฒนาสินค้าแบรนด์ตัวเองขาย ยกตัวอย่างเช่น อาหารเสริมไฟเบอร์ช่วยขับถ่าย

7.เซรั่มจุดซ่อนเร้น

ต่อด้วยสินค้าแบรนด์ตัวเองอีกหนึ่งอย่าง เซรั่มเกี่ยวกับจุดซ่อนเร้นของผู้หญิง มาพร้อมการลงทุนโปรดักชันโฆษณาระดับมืออาชีพ

8.น้ำปลาร้า

ฉีกแนวสินค้ามาที่ “ของกิน” บ้าง ถึงแม้สินค้าจะดูแหวกแนวจากบรรดาเครื่องสำอางและสินค้าแฟชั่น แต่ถ้าดูคอนเทนต์รวมของพิมรี่พายก็ไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะขายน้ำปลาร้า เพราะเธอมีรายการ “แอบแ_ก” กินอาหารโชว์คนดูมานานแล้ว ทำให้การขายของกินเป็นการต่อยอดจากคอนเทนต์บันเทิงที่เธอทำอยู่

9.ร้านทำเล็บ

สิ่งหนึ่งที่ติดตาคนดูเวลาชมไลฟ์พิมรี่พายคือ “เล็บ” ของเธอที่จะไว้ยาวและแต่งเล็บเปรี้ยวจี๊ดอยู่เสมอ จนมีคนถามบ่อยครั้งว่าเธอทำเล็บร้านไหน สุดท้ายแม่พิมก็เลยเปิดร้านทำเล็บเองเสียเลย

10.คอร์สสอนขายของออนไลน์

ปิดท้ายที่การต่อยอดขายของที่พลาดไม่ได้ เมื่อขายดีขนาดนี้ย่อมมีคนอยากรู้เคล็ดลับการขาย จนเธอสามารถเปิดขาย “คอร์สออนไลน์” สอนขายของสไตล์พิมรี่พาย

สรุปการเป็นแม่ค้ากึ่งอินฟลูเอนเซอร์ทำให้เธอใช้ชื่อเสียง บุคลิก เอกลักษณ์ มาขายสินค้าได้สารพัดอย่าง ต่อยอดไปสู่การผลิตสินค้าแบรนด์ตนเองออกจำหน่าย และขายได้แม้แต่ “องค์ความรู้” ของตนเอง ท่ามกลางกระแสดราม่าทั้งทางบวกและทางลบจากคลิปทำบุญที่กำลังเป็นกระแส คงไม่มีใครปฏิเสธถ้าหากเราจะบอกว่าเธอประสบความสำเร็จในฐานะ “แม่ค้า” แล้ว!

ภาพจาก : Facebook Page @pimrypie.official

]]>
1313575