บริการเดลิเวอรี่ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 31 Aug 2023 05:09:05 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 กลยุทธ์ “ท็อปส์” จับกลุ่มลูกค้าลอยัลตี้ โหมช้อปออนไลน์ด้วย “ท็อปส์ ไพร์ม” เหมาค่าส่งรายเดือน https://positioningmag.com/1442943 Thu, 31 Aug 2023 04:34:22 +0000 https://positioningmag.com/?p=1442943 27 ปีของ “ท็อปส์” ในประเทศไทย ยืนระยะได้ด้วยการจับกลุ่มลูกค้าลอยัลตี้อยู่หมัด ปัจจุบันยอดขาย 70% มาจากลูกค้าสมาชิก พร้อมปรับเปลี่ยนตามพฤติกรรมช้อปออนไลน์ โปรแกรม “ท็อปส์ ไพร์ม” เหมาค่าจัดส่งเดลิเวอรีรายเดือนได้ผลดี หลังเปิดมากว่า 1 ปีจำนวนสมาชิกโตเฉลี่ย 19% ทุกเดือน

“ท็อปส์” แบรนด์ซูเปอร์มาร์เก็ตในเครือเซ็นทรัล รีเทล ฉลองครบรอบ 27 ปีในประเทศไทย เติบโตจนถึงปัจจุบันมีสาขารวมเกือบ 700 สาขา แบ่งเป็น Tops Supermarket 137 สาขา, Tops Food Hall 16 สาขา, Tops Fine Food 2 สาขา, Tops Club 1 สาขา และ Tops Daily 534 สาขา (*รวมสาขาที่กำลังรีแบรนด์จาก Family Mart แล้ว) รวมถึงมีช่องทางอีคอมเมิร์ซผ่าน Tops Online

“จักรกฤษณ์ จตุปัญญาโชติกุล” รองกรรมการผู้จัดการฝ่ายการตลาด ประชาสัมพันธ์ และกิจกรรมเพื่อสังคม บริษัท เซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล จำกัด เปิดเผยสถิติของ “ท็อปส์” จากฐานสมาชิก The1 ปัจจุบันมีกว่า 8 ล้านราย ในจำนวนนี้มีลูกค้า 6 แสนรายที่สมัครสมาชิกต่อเนื่องกับท็อปส์มาตั้งแต่ช่วงแรกที่มีการเปิดระบบ CRM เมื่อ 2 ทศวรรษก่อน สะท้อนให้เห็นว่าท็อปส์สามารถสร้าง “ลอยัลตี้” ในกลุ่มลูกค้าได้ดี

ท็อปส์

โดยกลุ่มลูกค้าลอยัลตี้ถือว่าสำคัญมากกับท็อปส์ เนื่องจากปัจจุบันยอดขาย 70% ของท็อปส์มาจากลูกค้าสมาชิก และกลุ่มลูกค้าสมาชิกจะมียอดซื้อต่อครั้ง (basket size) สูงกว่าลูกค้าทั่วไปถึง 59% รวมถึงมาช้อปปิ้งกับท็อปส์บ่อยกว่า โดยมาช้อปเฉลี่ย 2 ครั้งต่อสัปดาห์

จักรกฤษณ์มองว่า ท็อปส์สามารถครองใจผู้บริโภคกลุ่มใหญ่ได้มาจากจุดแข็งหลายด้าน ได้แก่

  • วางตำแหน่งทางการตลาดเป็นซูเปอร์มาร์เก็ตแห่งสินค้านำเข้า โดยมีสินค้านำเข้ากว่า 15,000 รายการ หรือคิดเป็น 1 ใน 3 ของสินค้าที่วางจำหน่าย และนำเข้ามาจากหลายแหล่งกว่า 20 ประเทศ เช่น ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สหรัฐอเมริกา อิตาลี ฝรั่งเศส
  • ราคาดีทุกวัน มีโปรโมชันอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะโปรโมชันสำหรับกลุ่มสมาชิก
  • ฟังเสียงลูกค้าจากการวิเคราะห์ดาต้า (Data-Driven) ทำให้การจัดหาสินค้าเข้ามาตรงใจผู้บริโภค รวมถึงพัฒนาบริการได้แบบเฉพาะเจาะจง เช่น ท็อปส์ ฟู้ด ฮอลล์ มาร์เช่ ทองหล่อ ตัดสินใจเปิดเป็นสาขา 24 ชั่วโมง จากการศึกษาพฤติกรรมของคนในย่าน

ท็อปส์

 

“ท็อปส์ ไพร์ม” โปรแกรมรองรับโลกแห่ง Omnichannel

การฟังเสียงลูกค้าของท็อปส์ทำให้เกิดการปรับตัวเข้าสู่โลกแห่ง Omnichannel ขยับตัวไปพร้อมกับนโยบายใหญ่ของทั้งเครือเซ็นทรัลที่ต้องตอบโจทย์ลูกค้าให้ได้ทั้งออฟไลน์-ออนไลน์

จักรกฤษณ์ระบุว่า ตั้งแต่เกิดโควิด-19 ขึ้น ลูกค้ามีพฤติกรรมการช้อปแบบ Omnichannel มากขึ้น วิธีการช้อปไม่ตายตัวและไม่แบ่งแยกชัดเจน การจะซื้อออฟไลน์หรือออนไลน์ขึ้นอยู่กับ ‘โมเมนต์’ นั้นๆ ของลูกค้าสะดวกแบบไหน ดังนั้น ท็อปส์ต้องพร้อมตอบโจทย์ได้ทุกโมเมนต์ของลูกค้า

“จักรกฤษณ์ จตุปัญญาโชติกุล” รองกรรมการผู้จัดการฝ่ายการตลาด ประชาสัมพันธ์ และกิจกรรมเพื่อสังคม บริษัท เซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล จำกัด

ในแง่ของช่องทางออนไลน์ ท็อปส์จึงพัฒนาโปรแกรมเดลิเวอรีขึ้นมาในชื่อ “ท็อปส์ ไพร์ม” เปิดตัวเมื่อเดือนเมษายน 2565 โปรแกรมนี้เป็นแพ็กเกจเหมาจ่ายค่าจัดส่งรายเดือน เดือนละ 99 บาท ส่งไม่อั้นไม่จำกัดรอบ แต่กำหนดขั้นต่ำค่าสินค้า 250 บาทต่อรอบจัดส่ง

หลังเปิดตัวมา ท็อปส์ ไพร์มได้รับผลตอบรับที่ดี มียอดสมาชิกเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 19% ทุกเดือน (ท็อปส์ขอสงวนไม่เปิดเผยจำนวนสมาชิกโปรแกรมนี้) และทำให้ลูกค้าช้อปกับท็อปส์ ‘ถี่ขึ้น’ มากกว่า 70% รวมถึงทำให้ยอดขายต่อคนเพิ่มขึ้น 20%

“โปรแกรมนี้เหมาะมากกับลูกค้าที่ชอบซื้อของทีละน้อยแต่ซื้อบ่อย เป็นคนรักความสะดวกแบบนึกขึ้นได้ว่ามีของที่ต้องการก็สั่งได้เลย” จักรกฤษณ์กล่าว

สำหรับสินค้าที่สมาชิกท็อปส์ ไพร์มนิยมสั่งมากที่สุด 5 อันดับแรก คือ 1.เครื่องดื่ม 2.ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด 3.ผักผลไม้ 4.วัตถุดิบและเครื่องปรุงทำอาหาร และ 5.ของใช้ภายในบ้าน

ถือเป็นโปรแกรมสร้างลอยัลตี้ที่น่าสนใจ ช่วยดึงลูกค้าที่มีพฤติกรรมชอบสั่งเดลิเวอรีให้เลือกสั่งกับท็อปส์แบบเหมารายเดือน แทนที่จะกระจายเม็ดเงินและโอกาสที่จะเสียลูกค้าให้คู่แข่ง หากลูกค้าเปิดแอปพลิเคชันเดลิเวอรีอื่นๆ

ทั้งนี้ ในโอกาสฉลองครบรอบ 27 ปีของท็อปส์ ท็อปส์มีแคมเปญ “Every Day HAPPINESS ค้นพบความสุขที่ไม่ธรรมดา” เปิดดีลพิเศษ เช่น ดีลสินค้าราคาพิเศษ 27 รายการ, สินค้าราคาเริ่มต้น 27 บาท, สมาชิก The1 ช้อปครบ 500 บาทต่อใบเสร็จ รับคะแนนเพิ่ม 27 เท่า (เฉพาะ 100 คนแรกต่อวัน), รับคูปองส่วนลดสูงสุด 27% เมื่อช้อปครบ 600 บาทต่อใบเสร็จ แคมเปญนี้จัดที่ท็อปส์ทุกสาขา รวมถึง Tops Online ตั้งแต่วันนี้ – 10 ตุลาคม 2566

]]>
1442943
“Robinhood Ride” บริการใหม่จากแอปฯ เพื่อคนตัวเล็กที่ยั่งยืน ชูคอนเซ็ปต์บริการเรียกรถที่แฟร์และแคร์คุณ https://positioningmag.com/1439160 Thu, 27 Jul 2023 10:00:11 +0000 https://positioningmag.com/?p=1439160

เกือบ 3 ปีที่แอปฯ “Robinhood” เริ่มต้นจากบริการเดลิเวอรี วันนี้แอปฯ เติบโตจนมีฐานผู้ใช้ทะลุ 3.7 ล้านคน พร้อมไปต่อกับบริการใหม่ “Robinhood Ride” ที่ยังคงวางเป้าหมายทำเพื่อคนตัวเล็ก ด้วยคอนเซ็ปต์ “บริการเรียกรถที่แฟร์และแคร์คุณ” สร้างตัวเลือกบริการเรียกรถราคายุติธรรมกับทั้งผู้โดยสารและคนขับ

ย้อนไปเกือบ 3 ปีก่อน ประเทศไทยเกิดสถานการณ์โควิด-19 ที่ทำให้ธุรกิจร้านอาหารเล็กๆ ยากลำบาก ต้องเน้นการขายสินค้าผ่านระบบเดลิเวอรีทดแทนยอดขายหน้าร้านที่ลดลง แต่ด้วยแอปฯ เดลิเวอรีส่วนใหญ่มีการเก็บค่า GP หรือค่าคอมมิชชันจากราคาขาย ทำให้ร้านอาหารขนาดเล็กขาดทุนหรือจำต้องขึ้นราคาสินค้าซึ่งกระทบกับผู้บริโภคปลายทาง

แอปพลิเคชัน Robinhood จึงก่อตั้งขึ้นด้วยจุดประสงค์ “ช่วยคนตัวเล็ก” เป็นระบบเดลิเวอรีที่ “ไม่เก็บค่า GP” เพื่อให้ร้านอาหารเล็กๆ ยังอยู่ได้ และเมื่อร้านอาหารขายผ่านเดลิเวอรีได้ ไรเดอร์คนขับรถส่งอาหารก็จะยังมีงานทำเช่นกัน

(ซ้าย) “กวีวุฒิ เต็มภูวภัทร” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เพอร์เพิล เวนเจอร์ส จำกัด และ (ขวา) “สุชานัน ตันติวัฒนวัลลภ” Head of Ride Business บริษัท เพอร์เพิล เวนเจอร์ส จำกัด

“กวีวุฒิ เต็มภูวภัทร” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เพอร์เพิล เวนเจอร์ส จำกัด ระบุว่าหลังจากแอปฯ Robinhood ก่อตั้งมา 2 ปี 8 เดือน ปัจจุบันระบบมีฐานผู้ใช้รวม 3.7 ล้านคน มีร้านอาหารในระบบ 3 แสนร้านค้า และมีไรเดอร์ร่วม 3 หมื่นคน

ที่ผ่านมาแอปฯ ช่วยเชื่อมโยงสร้างมูลค่าการขายให้ร้านค้าสะสม 17,200 ล้านบาท และสร้างรายได้ให้ไรเดอร์รวม 3,600 ล้านบาท ช่วยหมุนเวียนเศรษฐกิจให้กับคนตัวเล็กดังที่ตั้งใจไว้เมื่อเกือบ 3 ปีก่อน

มูลค่าที่ Robinhood ช่วยสร้างรายได้ให้กับกลุ่มร้านค้าและไรเดอร์

ต่อมาในปี 2565 แอปฯ Robinhood ยังขยายฟีเจอร์บริการใหม่ๆ เพิ่มขึ้น คือ Robinhood Travel บริการจองโรงแรมและตั๋วเครื่องบิน, Robinhood Mart บริการเดลิเวอรีสินค้าจากร้านค้า และ Robinhood Express บริการเรียกรับ-ส่งพัสดุ มาช่วยเติมเต็มไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภค มีทางเลือกในการใช้งานเพิ่มขึ้น


บริการ “เรียกรถ” ที่แฟร์และแคร์คุณ

กวีวุฒิกล่าวต่อว่า เป้าหมายของ Robinhood ในปี 2566 คือมุ่งมั่นสานต่อการสร้างโอกาสและสนับสนุนคนตัวเล็กภายใต้วิสัยทัศน์ใหม่ “แอปเพื่อคนตัวเล็กที่ยั่งยืน” ความหมายคือ Robinhood จะต้องยั่งยืนด้วยตนเองไปพร้อมๆ กับการสร้างงานให้คนตัวเล็ก ดังนั้น แอปฯ จะมีบริการใหม่เพิ่มขึ้นที่คาดว่าจะทำให้บริษัทเริ่มทำกำไรด้วยตนเองได้ใน 1-2 ปี

เริ่มจากการออกบริการใหม่คือ “Robinhood Ride” บริการ “เรียกรถ” ซึ่งบริษัทมองว่าจะเป็นธุรกิจที่สำคัญมาก เพราะปัจจุบันบริการเรียกรถทั่วไปเรียกเก็บค่าโดยสารในราคาค่อนข้างสูง จึงมองว่าการเข้ามาเป็นอีกผู้เล่นหนึ่งในตลาดและทำราคาให้ “แฟร์” ยุติธรรมกับผู้บริโภค ช่วยเรื่องค่าครองชีพให้กับคนกรุงเทพฯ และจังหวัดใกล้เคียง

ขณะที่ปลายปี 2566 จะมีบริการใหม่เพิ่มอีก 2 ประเภท คือ “Robinhood Finance” บริการสินเชื่อนาโนไฟแนนซ์ดิจิทัลที่จะเริ่มจากให้กับกลุ่มไรเดอร์และร้านค้าก่อน และ “Robinhood EV” บริการให้เช่ารถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า โดยคาดว่าจะมีรถเข้าระบบได้ 1,000 คัน


Robinhood Ride ตัวเลือกใหม่เพื่อคนตัวเล็ก

“สุชานัน ตันติวัฒนวัลลภ” Head of Ride Business บริษัท เพอร์เพิล เวนเจอร์ส จำกัด อธิบายต่อถึงสภาวะตลาดบริการเรียกรถรับส่งปัจจุบันมีขนาดตลาดใหญ่ถึง 7 หมื่นล้านบาท และคาดว่าจะเติบโตไปถึง 1.5 แสนล้านบาทได้ในปี 2571

สาเหตุที่บริการเรียกรถจะเติบโต เนื่องจากปัจจุบันตลาดรับรับส่งยังมีการเรียกรถแบบโบกมืออยู่ 35% และเรียกผ่านแอปฯ 65% แต่แนวโน้มการเรียกผ่านแอปฯ จะเติบโตขึ้นไปอีก

อย่างไรก็ตาม จากการวิเคราะห์แล้วบริษัทพบว่าตลาดนี้ยังมี ‘pain point’ ทั้งในฝั่งผู้โดยสารและคนขับ 3 ปัญหาใหญ่ คือ

1. ผู้โดยสารถูกเรียกเก็บค่าโดยสารสูงมาก โดยเฉพาะในช่วงเวลาเร่งด่วน (peak time) อาจถูกเรียกเก็บสูงกว่าปกติ 2-3 เท่า

2. คนขับรถถูกหักค่าคอมมิชชันสูง ค่าเฉลี่ยในตลาดหักค่าคอมมิชชัน 25-30% ซึ่งทำให้คนขับอาจไม่เหลือกำไรจากการขับรถ

3. ระบบ Call Center ไม่เพียงพอในการช่วยเหลือทั้งผู้โดยสารและคนขับ ติดต่อได้ยาก

จากปัญหาทั้งหมดนี้ Robinhood Ride จึงต้องการเข้ามาแก้ไขเพื่อเป็นตัวเลือกที่แฟร์และแคร์คุณมากกว่า ไม่ว่าจะทั้งฝั่งผู้โดยสารหรือคนขับ โดยนำเสนอจุดเด่น 6 ด้าน ได้แก่

1. ราคาเป็นธรรม โดยมีลิมิตเพดานค่าโดยสารที่เรียกเก็บอยู่ในกรอบที่กรมขนส่งทางบกกำหนด

2. คนขับบริการดีมีมาตรฐาน โดยมีการเทรนนิ่งด้านมารยาทการให้บริการ เหมือนกับที่มีการเทรนนิ่งไรเดอร์ขนส่งอาหาร

3. เก็บค่าคอมมิชชันจากคนขับน้อยกว่า โดยกำหนดเพดานเรียกเก็บไม่เกิน 20%

4. คนขับเริ่มงานง่ายไม่ต้องเติมเครดิตก่อนเริ่มงาน ต่างจากแอปฯ อื่นที่ต้องเติมเครดิตไว้ให้เพียงพอสำหรับการหักค่าคอมมิชชันก่อน

5. ประกันเหตุร้ายในช่วง 22:00-04:00 น. ทำให้ทั้งผู้โดยสารและคนขับอุ่นใจในยามค่ำคืน

6. Call Center 24 ชั่วโมง ไม่ใช้ระบบอัตโนมัติ ใช้มนุษย์เป็นผู้สื่อสาร โดยเตรียมบุคลากรไว้อย่างเพียงพอและผ่านการเทรนนิ่ง

ระบบ Robinhood Ride ยังมีจุดเด่นด้านอื่นๆ ถือเป็นส่วนเสริมที่น่าสนใจเช่น ตัวเลือกรถยนต์มีให้เลือก 8 รูปแบบ และหนึ่งในแบบที่เลือกได้คือเรียก “รถยนต์ไฟฟ้า (EV)” ในราคาที่เท่ากับรถบ้านปกติ เพื่อสนับสนุนการใช้รถยนต์ปลอดมลพิษ

รวมถึงมีฟังก์ชันให้เลือก “ห้ามรบกวนขณะโดยสาร” (Silent Mode) มาจากอินไซต์ของคนกรุงเทพฯ ที่บางครั้งต้องการสมาธิทำงานระหว่างนั่งรถโดยสาร หรือต้องการความเป็นส่วนตัวขณะโดยสาร

ตั้งเป้าขึ้นเป็น Top 3 ภายใน 3 ปี

ปัจจุบันบริการ Robinhood Ride เริ่มให้บริการครอบคลุมทั้งเขตกรุงเทพฯ-ปริมณฑล โดยเริ่มต้นมีรถบริการ 4,500 คัน แต่จะเร่งขยายจำนวนคนขับให้มากขึ้นโดยมีเป้าขยายจำนวนรถในระบบเป็น 10,000 คัน และเป้าให้บริการเฉลี่ย 12,000 ครั้งต่อวันให้ได้ภายในสิ้นปีนี้

สุชานันกล่าวว่า บริษัทตั้งเป้าระยะกลางภายใน 3 ปีจะขึ้นสู่ “Top 3” ของตลาดแอปฯ เรียกรถ และมีส่วนแบ่งตลาดราว 20%

ส่วนแผนงานการขยายตัวไปให้บริการในต่างจังหวัดนั้นเป็นไปได้ แต่จะรอดูผลตอบรับจากผู้โดยสารในกรุงเทพฯ ก่อน และต้องวิเคราะห์ตลาดต่างจังหวัดในแต่ละหัวเมืองด้วยว่ามีดีมานด์เพียงพอหรือไม่

ทั้งนี้ ในช่วงเปิดตัว Robinhood Ride บริษัทมีสิทธิพิเศษมอบให้ผู้โดยสารเพื่อทดลองใช้งานบริการเรียกรถที่แฟร์และแคร์คุณ เพียงกรอกรหัส “CARE” รับส่วนลดทันที 50 บาท เมื่อเรียกรถค่าโดยสารขั้นต่ำ 100 บาท ใช้สิทธิได้ตั้งแต่วันที่ 18 กรกฎาคม – 30 กันยายน 2566

#Robinhood #แอปเพื่อคนตัวเล็กที่ยั่งยืน #RobinhoodRide #บริการเรียกรถที่แฟร์และแคร์คุณ

]]>
1439160
ขนส่งสินค้าออนไลน์สะดุด ‘โควิด’ ชั่วคราว ตลาดยังโตได้ ต้องสู้ตัดราคา-เเบกต้นทุนมากขึ้น  https://positioningmag.com/1345391 Thu, 05 Aug 2021 10:00:43 +0000 https://positioningmag.com/?p=1345391 โควิดระบาดรุนเเรงบวกมาตรการล็อกดาวน์ต่อเนื่อง กระทบภาคขนส่งสะเทือนธุรกิจขายของออนไลน์ KBANK มองเป็นปัญหาชั่วคราวต่อการจัดส่งสินค้า เเต่ภาพรวมตลาดปีนี้ ยังเติบโตได้ 7.1 หมื่นล้านเเต่จะโตน้อยลง ต้องสู้เเข่งตัดราคา-เเบกต้นทุนมากขึ้น 

ธุรกิจขนส่งสินค้าออนไลน์ หรือ Last-mile delivery เป็นหนึ่งในธุรกิจที่ขยายตัวตามการเติบโตของอีคอมเมิร์ซ ยิ่งในช่วงวิกฤตโควิด-19 ทำให้ผู้บริโภคกังวลในเรื่องของความปลอดภัยและงดทำกิจกรรมนอกบ้าน มีการปรับพฤติกรรมการใช้จ่ายและหันมาซื้อสินค้าบนแพลตฟอร์มออนไลน์มากขึ้น จึงหนุนให้ธุรกิจขนส่งสินค้าออนไลน์มีแนวโน้มเติบโตตามไปด้วย

สะดุด เจอพนักงานติดโควิด 

เเต่จากการระบาดของโควิดที่รุนแรงขึ้น จนทำให้ปัจจุบันมีพนักงานขนส่งสินค้าออนไลน์ของหลายบริษัทและในหลายพื้นที่ติดเชื้อโควิด โดยเฉพาะในเขตพื้นที่สีแดงเข้ม เช่น กรุงเทพฯ นนทบุรี อยุธยา ชลบุรี ประกอบกับการขยายมาตรการล็อกดาวน์ออกไปอีกอย่างน้อย 14 วันในเดือนสิงหาคม 2564 (อาจมีการทบทวนและปรับเปลี่ยนมาตรการอีกครั้ง) จนส่งผลให้ศูนย์กระจายสินค้าที่สำคัญในบางพื้นที่ รวมถึงสาขาที่รับ-ส่งสินค้าบางแห่ง ทั้งที่อยู่ในห้างสรรพสินค้าและนอกห้างสรรพสินค้าต้องปิดทำการชั่วคราว

“บางสาขาที่ยังคงเปิดให้บริการได้นั้น ก็ได้รับผลกระทบเนื่องจากต้องใช้ระยะเวลาในการขนส่งสินค้าไปยังพื้นที่ปลายทางที่นานขึ้นกว่าช่วงปกติ” 

เหล่านี้ ส่งผลให้ธุรกิจขนส่งสินค้าออนไลน์อาจได้รับผลกระทบและทำให้การจัดส่งสินค้าออนไลน์ติดขัดเป็นการชั่วคราว ประกอบกับการแข่งขันของธุรกิจที่รุนแรงขึ้น โดยเฉพาะการแข่งขันเรื่องราคาค่าขนส่งสินค้า

“ธุรกิจขนส่งในภาพรวมปีนี้ แม้คาดว่ารายได้จะยังคงเติบโต แต่ก็เผชิญความยากลำบากในการดำเนินธุรกิจ” 

shopping online

สินค้าอาหาร-ของสด กระทบหนักสุด

การจัดส่งสินค้าออนไลน์ในกลุ่มอาหาร (Food) น่าจะได้รับผลกระทบมากกว่าสินค้าในกลุ่มที่ไม่ใช่อาหาร (Non-food) เนื่องจากเป็นกลุ่มสินค้าที่เน่าเสียง่าย ไม่ว่าจะเป็นอาหารสด อาหารแห้ง ผัก ผลไม้ ซึ่งถือเป็นกลุ่มสินค้าจำเป็นที่คาดว่าผู้บริโภคน่าจะยังคงมีการวางแผนใช้จ่ายผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้นในช่วงที่โควิดระบาด

แต่เมื่อขนส่งไม่สามารถจัดส่งสินค้าได้ หรือใช้ระยะเวลานานกว่าปกติ รวมถึงยานพาหนะที่ใช้ในการจัดส่งสินค้ากลุ่มนี้ ส่วนใหญ่ไม่ได้เอื้อต่อการจัดเก็บหรือควบคุมคุณภาพได้นาน สินค้ามีความเน่าเสียได้ง่าย จึงทำให้ได้รับผลกระทบที่ค่อนข้างมาก จนผู้ประกอบการบางราย บางพื้นที่ต้องงดรับการจัดส่งสินค้าในกลุ่มนี้เป็นการชั่วคราว

ขณะที่กลุ่มสินค้าที่ไม่ใช่อาหาร (Non-food) หรือสินค้าฟุ่มเฟือย เช่น สินค้าแฟชั่น เครื่องสำอาง ของตกแต่งบ้าน เนื่องจากยอดขายได้รับผลกระทบจากกำลังซื้อของผู้บริโภคที่หดตัว และใช้จ่ายอย่างระมัดระวังมาอย่างต่อเนื่องก่อนหน้านี้

ดังนั้น สถานการณ์ดังกล่าว ก็อาจจะกระทบต่อการจัดส่งสินค้ากลุ่มนี้ในระดับที่น้อยกว่า หรือหากมีคำสั่งซื้อมองว่าผู้บริโภคบางรายก็อาจจะรอสินค้าได้

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า เหตุการณ์ดังกล่าว น่าจะเป็นปัญหาชั่วคราว และจากการเร่งแก้ปัญหาและการปรับตัวของผู้ประกอบการ ส่งผลให้สาขาในบางพื้นที่ที่ปิดทำการชั่วคราวเริ่มกลับมาเปิดทำการได้บ้าง แต่ยังคงต้องรอสินค้าที่นานกว่าช่วงปกติ

ขนส่งต้องสู้เเข่งตัดราคา-เเบกต้นทุนมากขึ้น 

ส่วนรายได้ของธุรกิจจัดส่งสินค้าออนไลน์ ในภาพรวมปี 2564 ยังคงขยายตัวได้จากการระบาดของโควิดที่ยังคงหนุนให้ผู้บริโภคหันมาซื้อสินค้าออนไลน์มากขึ้น แต่การเติบโตคาดว่าจะชะลอตัวลงจากปีก่อนหน้า ปัจจัยหลักๆ มาจากการแข่งขันด้านราคาค่าส่งสินค้า อีกทั้งยังต้องเผชิญกับต้นทุนในการดำเนินธุรกิจที่สูงขึ้น

แม้ว่าการระบาดของโควิดที่รุนแรงขึ้น จนส่งผลกระทบต่อระบบการขนส่งสินค้าให้หยุดชะงักลงเป็นการชั่วคราวในบางพื้นที่ แต่เนื่องจากผู้บริโภคยังคงกังวลกับการออกไปใช้จ่ายหรือทำกิจกรรมนอกบ้าน การประกาศล็อกดาวน์ของภาครัฐ อีกทั้งผู้ประกอบการอีคอมเมิร์ซ มีการอัดโปรโมชันกันอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้ผู้บริโภคยังคงใช้จ่ายผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงต่างๆ 

“ธุรกิจขนส่งสินค้าออนไลน์ในปัจจุบันที่แข่งขันกันรุนแรงจากจำนวนผู้เล่นในตลาดมากราย โดยเฉพาะการแข่งขันด้านราคาค่าขนส่งของผู้ประกอบการรายใหญ่ ซึ่งส่งผลให้ผู้ประกอบการรายอื่นๆ ต้องปรับตัวตาม และท้ายที่สุดหากผู้ประกอบการรายใดไม่สามารถแบกรับหรือบริหารจัดการต้นทุนได้ ก็อาจจะเผชิญการแข่งขันที่ยากลำบากขึ้น” 

ดังนั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า แม้ว่ารายได้ของธุรกิจจัดส่งสินค้าออนไลน์ (Last-mile delivery) ในปี 2564 จะอยู่ที่ประมาณ 71,800 ล้านบาท ขยายตัว 19.0% ซึ่งเป็นการเติบโตที่ชะลอตัวลงจากปีก่อนหน้าที่ขยายตัวถึง 31.3%

แต่หากพิจารณาในส่วนของต้นทุนในการบริหารจัดการคาดว่าน่าจะปรับเพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน โดยเฉพาะต้นทุนที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการโควิดเพื่อสร้างความปลอดภัยและความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคและพนักงาน ต้นทุนจากการจ้างพนักงานเพิ่มขึ้น (ทดแทนพนักงานที่ติดโควิด และรองรับกับคำสั่งซื้อออนไลน์ที่เพิ่มขึ้น) 

รวมถึงต้นทุนในการบริหารจัดการเส้นทางการส่งสินค้าใหม่ เพื่อหลีกเลี่ยงเส้นทางเดิมที่มีปัญหา ในขณะที่ต้องลดราคาค่าขนส่งให้ถูกลง เพื่อให้ธุรกิจแข่งขันได้ จึงมีความเป็นไปได้ว่าผลประกอบการของผู้ประกอบการบางรายยังคงประสบภาวะขาดทุน

เเนะลงทุนเพื่อความปลอดภัย ให้ลูกค้ามั่นใจสั่งของ 

การเติบโตของรายได้ธุรกิจขนส่งสินค้าออนไลน์ในภาพรวมที่อัตรา 2 หลัก อาจจะไม่ได้สะท้อนถึงผลประกอบการสุทธิที่ดีขึ้นของผู้ประกอบการได้ทุกราย และเมื่อมองไปข้างหน้า ด้วยสถานการณ์การระบาดที่ยังไม่คลี่คลาย ความเสี่ยงต่างๆ ยังคงเกิดขึ้นได้ ก็น่าจะทำให้ต้นทุนในการบริหารจัดการโควิดของผู้ประกอบการยังคงมีอยู่ ไม่ว่าจะเป็นการจัดการด้านสุขอนามัยและความปลอดภัยจากโรค การกระจายศูนย์กระจายสินค้าไปยังพื้นที่ศักยภาพใหม่ ๆ เพื่อกระจายความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น การนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน รวมถึงการให้บริการเรื่องของสินค้าที่ครบวงจร 

หากผู้บริโภคมีความกังวลและไม่มั่นใจในเรื่องของความปลอดภัยจนทำให้มีการสำรองสินค้ามากขึ้นเพื่อลดจำนวนครั้งในการสั่งซื้อ ก็อาจจะส่งผลกระทบต่อปริมาณการจัดส่งที่น้อยลงและส่งผลต่อผลประกอบการของธุรกิจตามมา

โดยเฉพาะผู้ประกอบการที่มีข้อจำกัดในเรื่องของการบริหารจัดการต้นทุน เงินทุน และการปรับตัวที่ไม่สามารถตอบสนองต่อสถานการณ์และพฤติกรรมของผู้บริโภคได้ทัน ซึ่งน่าจะยังคงเผชิญความยากลำบากในการแข่งขัน

 

 

 

]]>
1345391
Walmart ทุ่มลงทุนใน ‘Cruise’ ผู้ผลิตรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ ขยายเครือข่ายเดลิเวอรี่ ‘ไร้คนขับ’ https://positioningmag.com/1328076 Sun, 18 Apr 2021 10:20:11 +0000 https://positioningmag.com/?p=1328076 หลังจากที่ ‘Walmart’ ห้างค้าปลีกรายใหญ่ของโลก ร่วมมือกับ ‘Cruise’ นำรถยนต์ไฟฟ้าไร้คนขับมาส่งสินค้าอุปโภคบริโภคเเบบเดลิเวอรี่ในช่วงปลายปีที่ผ่านมา

เมื่อเห็นศักยภาพที่จะพัฒนาต่อ Walmart จึงประกาศเข้าลงทุนใน Cruise บริษัทรถยนต์ไร้คนขับในเครือ General Motors (GM) ที่ได้รับเงินทุนจาก Softbank , Honda  เเละบิ๊กเทคฯ อย่าง ‘Microsoft’ ร่วมลงขันกว่า 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 6.2 หมื่นล้านบาท)

เเม้ดีลของ Walmart เเละ Cruise ครั้งนี้จะไม่มีการเปิดเผยตัวเลขเงินลงทุนเเน่ชัด เเต่ก็มีการประเมินว่าน่าจะไม่ต่ำกว่า 750 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 2.3 หมื่นล้านบาท) เนื่องจาก Cruise ระบุยอดระดมทุนครั้งใหม่ว่าอยู่ที่ราว 2.75 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (เพิ่มจากตัวเลขเดิมที่ 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ)

John Furner ซีอีโอของ Walmart กล่าวว่า การลงทุนครั้งนี้ถือว่ามีความสำคัญอย่างมาก เเสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของบริษัทที่จะนำประโยชน์ของรถยนต์ไร้คนขับมาให้บริการลูกค้าในธุรกิจค้าปลีก เเละรู้สึกตื่นเต้นที่จะได้ร่วมงานกับพันธมิตรอย่าง GM, Honda และ Microsoft เพื่อบุกเบิกเทคโนโลยีใหม่นี้

ที่ผ่านมา Walmart เป็นพาร์ตเนอร์กับผู้พัฒนารถยนต์ไร้คนขับหลายบริษัท อย่างเช่น Ford, Nuro เเละ Waymo ของ Google เป็นต้น

โฆษกของ Walmart ย้ำว่า จะยังคงยังคงทำงานร่วมกับบริษัทรถยนต์รายอื่น ต่อไป แม้ว่าจะลงทุนใน Cruise เเล้วก็ตาม

โดยล่าสุดมูลค่าบริษัทของ Cruise อยู่ที่ประมาณ 3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นหนึ่งในตัวท็อปของวงการรถยนต์ไร้คนขับที่กำลังถูกจับตามอง

“รถยนต์ขับเคลื่อนด้วยตนเอง จะทำให้การขนส่งปลอดภัย สะอาดและเข้าถึงได้มากขึ้นสำหรับทุกคน” Dan Ammann ซีอีโอของ Cruise ระบุ

ด้าน Amazon คู่แข่งรายใหญ่ของ Walmart เพิ่งเข้าซื้อ Zoox บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ไร้คนขับ เมื่อปีที่แล้วและได้ตั้งบริษัทลูกเพื่อพัฒนาเเบรนด์ตัวเองขึ้นอย่าง Aurora Amazon พร้อมทดสอบใช้หุ่นยนต์ขนาดเล็กเพื่อจัดส่งพัสดุบนทางเท้า

การผลิตรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติในเชิงพาณิชย์เป็นเรื่องที่ท้าทายมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ บางบริษัทต้องล้มเลิกไป เเต่ Mary Barra ซีอีโอของ GM กล่าวเมื่อเดือนที่แล้วว่า บริษัทมั่นใจว่า Cruise จะเปิดตัวและดำเนินการเชิงพาณิชย์ได้เร็วกว่าที่หลายคนคิด

 

ที่มา : CNBC , CNN

]]> 1328076 Walmart เตรียมทดสอบระบบใช้ “รถยนต์ไฟฟ้าไร้คนขับ” ส่งเดลิเวอรี่สินค้า https://positioningmag.com/1305681 Thu, 12 Nov 2020 07:20:34 +0000 https://positioningmag.com/?p=1305681 Walmart ยังคงเดินหน้าทดลองการใช้นวัตกรรมในธุรกิจรีเทล ล่าสุดเปิดโครงการนำร่องร่วมกับ Cruise ในเครือ General Motors (GM) นำรถยนต์ไฟฟ้าขับเคลื่อนอัตโนมัติไร้คนขับ มาเป็นเครื่องมือเดลิเวอรี่สินค้าอุปโภคบริโภค โดยจะทดสอบในรัฐแอริโซนา

“ทอม วาร์ด” รองประธานอาวุโสด้านผลิตภัณฑ์ลูกค้า Walmart ประกาศในบล็อกโพสต์ของเขาว่า โครงการนำร่องของ Walmart กับ Cruise จะเริ่มต้นในช่วงต้นปี 2021 บริเวณพื้นที่เมืองสก็อตส์เดล รัฐแอริโซนา ทางตะวันตกของสหรัฐฯ

โดยรถยนต์ที่ใช้ในโครงการนี้จะเป็นรถยนต์ไฟฟ้า และจะชาร์จไฟจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนเท่านั้นด้วย เพื่อให้ตรงกับนโยบายบริษัทซึ่งมุ่งสู่การลดการปล่อยคาร์บอน

คอนเซ็ปต์ของบริการนี้คือต้องการให้ลูกค้าสามารถสั่งสินค้าจากร้านในท้องถิ่น และรถยนต์ของ Walmart จะนำสินค้าไปส่งให้เอง โดยเป็นรถยนต์แบบไร้คนขับเพื่อลดการสัมผัสของคนกับสินค้า “เทคโนโลยีนี้ไม่เพียงมีศักยภาพในการประหยัดเงินและเวลาให้กับลูกค้า แต่ยังมีส่วนช่วยสิ่งแวดล้อมโลกด้วย เทคโนโลยีเช่นนี้เป็นสิ่งที่เราต้องการศึกษาเพิ่มเติม” วาร์ดกล่าว

Cruise รถยนต์ไร้คนขับ มีการทดสอบส่งเดลิเวอรี่อาหารในซานฟรานซิสโกไปแล้ว 20,000 ครั้ง (Photo : Cruise)

ขณะนี้ Walmart ยังไม่ประกาศว่าหน่วยรถยนต์ไร้คนขับในโครงการนี้จะมีทั้งหมดกี่คัน และลงทุนไปทั้งหมดเท่าไหร่แต่โครงการร่วมกับ Cruise ไม่ใช่โครงการแรกของ Walmart ก่อนหน้านี้ในปี 2018 บริษัทมีความร่วมมือกับ Waymo บริษัทในเครือเดียวกับ Google เพื่อใช้รถยนต์ไร้คนขับส่งของมาแล้ว (ในโครงการดังกล่าว บริษัทเลือกใช้รถตู้ขนาดเล็ก Pacifica และเป็นรถระบบไฮบริดที่ใช้ไฟฟ้าเป็นบางส่วน)

โรคระบาด COVID-19 ที่เกิดขึ้นในปีนี้เป็นตัวแปรสำคัญที่มีผลกับแผนของรถยนต์ไร้คนขับอย่าง Cruise และ Waymo จากเดิมที่มองว่าจะมุ่งเป้าเป็นแท็กซี่ขนส่งผู้โดยสาร กลับกลายมามีจุดแข็งในระบบเดลิเวอรี่และโลจิสติกส์แทน เพราะลูกค้าต้องการการขนส่งที่ถูกสัมผัสจากคนน้อยที่สุด

ยกตัวอย่างเช่น Waymo เริ่มมีให้บริการชื่อ “Via” ที่สามารถไปรับพัสดุจากร้านรับส่งพัสดุ UPS ได้ หรือบริษัทสตาร์ทอัพ Nuro สามารถระดมทุนได้สำเร็จเพื่อทำธุรกิจหุ่นยนต์เดลิเวอรี่อย่างต่อเนื่อง

นอกจากนี้ ในอีกฟากโลกคือที่ประเทศจีน สำนักข่าวซินหัวเพิ่งมีรายงานว่า มีบริษัทกำลังทดลองใช้รถส่งอาหารเดลิเวอรี่แบบไร้คนขับ จำนวน 4 คัน ที่นิคมนวัตกรรมหูหลี่ เมืองเซี่ยเหมิน ทางตะวันออกเฉียงใต้ของจีน โดยรถดังกล่าวเป็นรถที่ออกแบบมาเพื่อขนส่งอาหารโดยเฉพาะ มีการติดตั้งระบบอุ่นร้อนภายใน และผู้สั่งเพียงสแกน QR CODE ชำระเงินก็รับอาหารออกจากรถได้ทันที

แต่อย่าเพิ่งตกใจไปว่าหุ่นยนต์หรือเทคโนโลยีจะมาแทนที่มนุษย์ได้แบบฉับพลัน เพราะอาจจะยังไม่ถึงจังหวะที่เหมาะสม Walmart เองเพิ่งจะตัดสินใจยกเลิกใช้ “หุ่นยนต์เช็กสต๊อก” ไปในเดือนนี้เอง หลังทดลองมา 3 ปีแล้วพบว่าต้นทุนการใช้มนุษย์ยังถูกกว่า (ในเวลานี้) และลูกค้ามีปฏิกิริยาทางลบเมื่อพบหุ่นยนต์เช็กสต๊อกบนชั้นวางสินค้าในซูเปอร์มาร์เก็ต

อย่างไรก็ตาม Walmart และอีกหลายธุรกิจรีเทลยักษ์ใหญ่ก็ยังไม่หยุดทดลองใช้สารพัดเทคโนโลยีที่จะทำให้ตนได้เปรียบในการแข่งขัน ดังนั้นต้องจับตาว่า “จังหวะ” ที่หุ่นยนต์จะมาแทนที่มนุษย์ได้ในแต่ละตำแหน่งจะเป็นเมื่อไหร่

Source

]]>
1305681
ธุรกิจร้านสะดวกซื้อ “อิ่มตัว” 7-Eleven ญี่ปุ่น พลิกเกมรุก “บริการส่งเร็วถึงบ้าน” ท้าเเข่ง Amazon https://positioningmag.com/1296561 Fri, 11 Sep 2020 08:35:42 +0000 https://positioningmag.com/?p=1296561 ยุคนี้ค้าปลีกต้องขยับมาเดลิเวอรี่ยักษ์ใหญ่ร้านสะดวกซื้อในญี่ปุ่นอย่าง 7-Eleven รุกหนักบริการส่งถึงบ้านเน้นรวดเร็วส่งถึงใน 30 นาที ตอบโจทย์พฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปช่วง COVID-19 เเข่งกับอีคอมเมิร์ซใหญ่อย่าง Amazon และ Rakuten ที่ครองตลาดอยู่

ช่วงที่ผ่านมา คนไทยอาจจะคุ้นกับบริการสั่งสินค้าจากร้าน 7-Eleven มาส่งถึงหน้าบ้านกันแล้ว เเต่ในญี่ปุ่นเพิ่งจะนำร่องให้บริการอย่างจริงจัง โดยในสิ้นปีนี้ 7-Eleven จะทดลองเปิดให้บริการนี้กับ 100 สาขาในกรุงโตเกียว ก่อนจะขยายไปให้ได้ 1,000 สาขา ภายในปี 2021

7-Eleven ญี่ปุ่นจะชูจุดเด่นด้วยสินค้าที่หลากหลาย เเละตั้งเป้าจะจัดส่งเร็วที่สุดใน 30 นาทีเพื่อท้าทายคู่เเข่งสำคัญอย่าง Amazon Japan

บริการจัดส่งถึงบ้าน ได้รับความนิยมขึ้นอย่างมากในช่วงการเเพร่ระบาดของ COVID-19 โดย 7-Eleven เเละเครือข่ายร้านสะดวกซื้อต่างๆมองว่าเป็นหนทางใหม่ที่จะพาธุรกิจเติบโตต่อไปได้ ในสังคมที่มีผู้สูงอายุจำนวนมาก

ปัจจุบัน 7-Eleven มีสาขากว่า 50,000 ร้านค้าในญี่ปุ่น กำลังเผชิญความท้าทายจากยอดขายที่ลดลง ซึ่งสร้างความกังวลให้กับผู้ที่อยู่ในตลาดมูลค่า 12 ล้านล้านเยน (ราว 3.5 ล้านล้านบาท) ไม่น้อย

ท่ามกลางจุดอิ่มตัวของธุรกิจร้านสะดวกซื้อ เทรนด์การซื้อของออนไลน์กำลังก้าวเข้ามาครองใจชาวญี่ปุ่น โดยมีเจ้าใหญ่อีคอมเมิร์ซอย่าง Amazon และ Rakuten เป็นผู้ครองตลาด ทำให้ร้านสะดวกซื้อดั้งเดิมอย่าง 7-Eleven จึงต้องปรับกลยุทธ์ให้เข้ากับเทคโนโลยีออนไลน์ เพื่อสู้กับคู่เเข่งในตลาดอีคอมเมิร์ซ

สำหรับบริการจัดส่งสินค้าถึงบ้านของ 7-Eleven จะเน้นไปที่การนำเสนอสินค้ากว่า 3,000 รายการ ทั้งอาหารและของใช้ประจำวันที่วางขายในสาขา ให้สามารถสั่งซื้อผ่านเว็บไซต์ได้ เบื้องต้นจะดำเนินการส่งให้ได้ในช่วง 2 ชั่วโมง อนาคตจะส่งให้เร็วที่สุดใน 30 นาที ซึ่งจะจัดส่งโดยบริษัทโลจิสติกส์ของ Seino Holdings

ปกติการสั่งซื้อสินค้าจากเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซในญี่ปุ่น ส่วนใหญ่จะส่งเร็วที่สุดในวันถัดไป และจะสิ้นสุดในเวลา 21.00 . นี่จึงเป็นโอกาสของ 7-Eleven จะสร้างความได้เปรียบกว่าอีคอมเมิร์ซเจ้าอื่น ด้วยการจัดส่งที่รวดเร็วกว่า ใกล้บ้านกว่า และรับคำสั่งซื้อจนถึงช่วงดึกได้

โดย 7-Eleven ได้เริ่มทดสอบบริการใหม่ดังกล่าวกับสาขา 39 แห่งในโตเกียว เปิดรับคำสั่งซื้อทางออนไลน์ในช่วงเวลา 09.00-22.00 . สำหรับการจัดส่งไปยังสถานที่ในรัศมี 500 เมตรจากร้านค้า เบื้องต้นจะคิดค่าธรรมเนียมการจัดส่งระหว่าง 110-550 เยน ตามช่วงเวลาของวัน เเละจะส่งฟรีสำหรับการสั่งซื้อตั้งแต่ 3,000 เยนขึ้นไป อย่างไรก็ตาม ค่าธรรมเนียมและเงื่อนไขอื่นๆ จะมีการเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง เมื่อให้บริการอย่างเต็มรูปแบบ ซึ่ง 7-Eleven ก็ยังคงมีความท้าทายเรื่องการขาดเเคลนเเรงงานอย่างหนักด้วย

ด้านบรรดาร้านสะดวกซื้ออื่น ๆ ในญี่ปุ่นอย่าง Lawson ก็ได้เริ่มจัดส่งอาหารถึงบ้านโดยใช้บริการ Uber Eats เเล้ว

ที่ผ่านมา Seven & i Holdings ซึ่งเป็นบริษัท แม่ของ 7-Eleven มีความพยายามจะเปิดคำสั่งซื้อทางออนไลน์ที่ให้ลูกค้าสามารถไปรับของได้ที่สาขา เเต่บริการดังกล่าวไม่ได้รับความนิยมมากนัก จนกระทั่งเกิดวิกฤต COVID-19 ที่กระตุ้นให้ผู้บริโภคหันมาซื้อของกินของใช้ จากร้านสะดวกซื้อทางออนไลน์มากขึ้นในชีวิตประจำวัน

 

ที่มา : Nikkei Asian Review

 

]]>
1296561
Starbucks คว้าโอกาสเจาะตลาดจีน ช่วงเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว ขยาย “เดลิเวอรี่” ผ่าน 4 แอปฯ Alibaba https://positioningmag.com/1288738 Tue, 21 Jul 2020 08:42:19 +0000 https://positioningmag.com/?p=1288738 แบรนด์กาแฟยอดนิยม Starbucks รุกจับตลาดออนไลน์หลังเศรษฐกิจจีนเริ่มฟื้นตัว ร่วมกับ Alibaba อีคอมเมิร์ซยักษ์ใหญ่ ขยายให้บริการเดลิเวอรี่ไปอีก 4 เเพลตฟอร์มผ่าน Taobao , แอปพลิเคชันแผนที่ Amap , เเอปฯ บริการในท้องถิ่น Koubei รวมถึงแอปฯ ชำระเงินออนไลน์อย่าง Alipay เพิ่มความสะดวกสบายให้กับคอกาแฟชาวจีน

บริการเสริมเหล่านี้ จะช่วยให้ Starbucks เข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคชาวจีนมากขึ้น ผ่านหลายช่องทางของอาลีบาบาที่มีฐานผู้ใช้เกือบ 1 พันล้านราย” Alibaba ระบุในแถลงการณ์ ทั้งนี้ ลูกค้าที่ซื้อเครื่องดื่มผ่าน Alipay และ Koubei สามารถเลือกวิธีการจัดส่งได้อีกด้วย

Starbucks เริ่มปรับกลยุทธ์การตลาดใหม่ จัดบริการส่งกาแฟและขนมถึงมือลูกค้าแบบรวดเร็วทันใจ พลิกวิกฤตยอดขายหน้าร้านที่เริ่มลดลง โดยเปิดให้บริการสั่งเครื่องดื่มแบบเดลิเวอรี่ในจีนครั้งแรก ตั้งแต่ปี 2018 ผ่านแอปพลิเคชัน Ele.me บริษัทลูกของ Alibaba ซึ่งเป็นผู้ให้บริการรับส่งอาหารในประเทศ เพื่อเเข่งขันกับคาเฟ่เจ้าอื่นที่หันมาเน้นการจัดส่งเดลิเวอรี่กันมากขึ้น

ความเคลื่อนไหวของ Starbucks ในการขยายบริการเดลิเวอรี่ผ่านแอปพลิเคชันต่าง ๆ ของ Alibaba ในครั้งนี้ มีเป้าหมายจะเจาะตลาดผู้บริโภคจีนที่กำลังเติบโตกว่าประเทศอื่น โดยคาดว่ากำลังซื้อของชาวจีนจะฟื้นตัวอีกครั้ง ในช่วงเดือนก..นี้ หลังสถานการณ์ COVID-19 คลี่คลาย

ขณะเดียวกันก็เป็นการคว้าโอกาสครั้งสำคัญ ในยามที่คู่เเข่งท้องถิ่นอย่าง Luckin Coffee ที่มีร้านสาขาในจีนมากกว่า แต่ตอนนี้กำลังเจอมรสุม เพราะธุรกิจกำลังสั่นคลอน จากกรณีอื้อฉาวที่มีการฉ้อโกงภายในองค์กร เเละมีคดีทุจริตเรื่องการตกเเต่งบัญชีหลายคดี

ในช่วงเดือนพ..ที่ผ่านมา Starbucks เปิดตัวมินิโปรแกรมกับ Tencent อีกหนึ่งยักษ์ธูรกิจในจีน คู่เเข่งสำคัญของ Alibaba เพื่อขยายหาลูกค้าใน WeChat ซึ่งอนุญาตการเข้าถึงสิทธิ์การเป็นสมาชิกและบริการเดลิเวอรี่ของ Starbucks

เห็นได้ชัดว่าช่วงนี้ เเบรนด์ชั้นนต่างๆ พยายามกระตุ้นยอดขายในช่วงที่เศรษฐกิจจีนกำลังฟื้นตัวจากผลกระทบของ COVID-19 ที่ต้องปิดกิจการชั่วคราวตามมาตรการล็อกดาวน์ โดยบริษัทใหญ่ในสหรัฐฯ มองว่าจีนเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดในการเติบโตหลังวิกฤต เเม้จะต้องมองข้ามความตึงเครียดทางการเมืองเเละสงครามการค้าระหว่างรัฐบาลจีนกับสหรัฐฯ ก็ตาม

ที่มา : Reuters

]]>
1288738
KBank มาเเล้ว! เปิดตัว “Eatable” แพลตฟอร์มฟรีช่วยร้านอาหาร ระบบสั่งทานที่ร้าน-ส่งเดลิเวอรี่ https://positioningmag.com/1285636 Mon, 29 Jun 2020 12:35:40 +0000 https://positioningmag.com/?p=1285636 ในช่วงการแพร่ระบาดของ COVID-19 ส่งผลกระทบโดยตรงกับ “ธุรกิจร้านอาหาร” ทั้งเรื่องรายได้ การดำเนินการ พนักงานและการปรับปรุงร้านใหม่ รวมไปถึงการที่ร้านค้าต้องหันมาพึ่งพาบริการฟู้ดเดลิเวอรี่ ตามพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป แต่อย่างไรก็ตามบรรยากาศการสังสรรค์ “ทานอาหารนอกบ้าน” ยังคงเป็นเสน่ห์สำคัญของร้านอาหาร

สิ่งเหล่านี้เป็นโจทย์ท้าทายของเหล่าร้านอาหาร ที่ต้องมีการ “ทรานส์ฟอร์เมชั่น” ไปสู่การเป็นร้านอาหารยุค New Normal แบบ “ครบวงจร” ที่ตอบรับลูกค้าทั้งการทานที่ร้านและเดลิเวอรี่

นี่เป็นที่มาของ “Eatable” (อีทเทเบิล) แพลตฟอร์มตัวช่วยจัดการ “ร้านอาหาร” ที่พัฒนาโดย KBTG บริษัทลูกของธนาคารกสิกรไทย (KBank) โดยผู้ประกอบการไม่ต้องโหลดแอป ไม่มีค่าธรรมเนียม และสามารถจัดการระบบหลังบ้านแบบเรียลไทม์ผ่านทางออนไลน์ ส่วนลูกค้าสามารถเลือกอาหาร สั่ง และจ่ายแบบไร้การสัมผัส ที่กำลังจะเปิดตัวเเบบเต็มรูปแบบในเดือนตุลาคมนี้ พร้อมพัฒนาต่อยอดให้นักท่องเที่ยวจีนสั่งอาหารในไทยได้ปลายปีนี้

ผู้บริหาร KBTG ยืนว่า Eatable เป็นแพลตฟอร์มจัดการร้านอาหารที่มีทั้งส่วนบริการในร้าน รับออเดอร์ เรียกพนักงานหรือรับชำระเงิน เเละมีบริการจัดส่งเดลิเวอรี่ โดยจะเน้นไปที่ “ประสบการณ์การทานอาหารที่ร้าน” ไม่ได้เน้นไปที่ธุรกิจฟู้ดเดลิเวอรี่โดยตรง ซึ่งมีการเเข่งขันอย่างดุเดือดในปัจจุบัน

ก่อนหน้านี้ มีธนาคารใหญ่อีกเจ้าอย่างไทยพาณิชย์ (SCB) กระโจนข้ามฟากธุรกิจเเบงก์มาลงทุนในธุรกิจฟู้ดเดลิเวอรี่ เปิดตัวเเอป “Robinhood” ท้าชน Grab, LINE Man, GET เเละ Food Panda โดยตรงเเละชูจุดเด่นไม่เก็บค่า GP

อ่านเพิ่มเติม : เจาะลึกทุกมุมของ Robinhood ไขข้อสงสัยปมค่าส่ง โมเดลธุรกิจเเละเเผนสู้ศึก “ฟู้ดเดลิเวอรี่” 

เรืองโรจน์ พูนผล ประธาน บริษัท กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป (KBTG) เล่าถึงที่มาของ Eatable ว่า ทางทีมมีโครงการพัฒนาแพลตฟอร์มเกี่ยวกับร้านอาหารมากนานเเล้ว เตรียมที่จะเปิดตัวมาตั้งเเต่เดือนเมษายน แต่ต้องประสบปัญหาที่ไม่คาดฝันอย่าง COVID-19 เสียก่อน จึงต้องมีการ “รื้อ” เเพลตฟอร์มนี้ทั้งหมด เพื่อเปลี่ยนทิศทางใหม่ให้เข้ากับสถานการณ์ เป็นการสร้างอีโคซีสเต็ม ต่อยอดจาก “เทคโนโลยีแบบไร้สัมผัส” ที่ KBank เพิ่งเปิดตัวไปเมื่อช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา 

จากข้อมูลของศูนย์วิจัยกสิกรไทย ในประเด็นการปรับตัวของธุรกิจร้านอาหารเข้าสู่มาตรฐานใหม่ คาดว่า ธุรกิจร้านอาหารในปีนี้จะมีมูลค่าราว 3.8 แสนล้านบาท หดตัวเกือบ 10% จากปีที่ผ่านมา เนื่องจากลูกค้ามีความระมัดระวังตัวในการออกไปทานอาหารนอกบ้าน จากปัญหาการระบาดของ COVID-19 ทำให้พฤติกรรมของผู้บริโภคบางส่วนได้เปลี่ยนแปลงไป ใช้บริการเดลิเวอรี่ในการสั่งอาหารมาทานที่บ้านหรือที่ทำงานแทนมากขึ้น ร้านอาหารยุคใหม่จะต้องผสมผสานการให้บริการและอำนวยความสะดวกแก่ลูกค้าทั้งที่ทานที่ร้านและเดลิเวอรี่ไปพร้อม ๆ กัน

อย่างไรก็ตาม แม้จะผ่านช่วงแพร่ระบาดหนักมาแล้ว แต่ร้านอาหารก็ยังฟื้นตัวช้ากว่าปีที่ผ่านมาถึง 70% ถือเป็นภาคธุรกิจที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นอย่างมาก

Eatable ไม่ใช่ธุรกิจหลักของเรา เพราะผู้ประกอบการที่เป็นลูกค้าของ KBank คือหัวใจหลักของเรา การช่วยให้พวกเขาอยู่รอด มีรายได้ที่ดี ปรับร้านอาหารไปสู่ดิจิทัลอย่างยั่งยืน จะนำไปสู่การต่อยอดบริการเเละผลิตภัณฑ์ต่างๆ ของธนาคาร ก็เป็นเป้าหมายของเเพลตฟอร์มนี้เเล้ว” เรืองโรจน์ระบุ

ผู้บริหาร KBTG ไม่เปิดเผยถึงงบประมาณในการลงทุน แต่บอกเพียงว่า “เยอะ” ทั้งในส่วนปฏิบัติการและการประสานงาน แต่ก็ถือว่าคุ้มเพราะ “ถ้าลูกค้าแฮปปี้ เขาก็จะอยู่กับเรานาน” 

จุดเด่นของ Eatable

  • รองรับลูกค้าที่ทานที่ร้านและให้จัดส่ง (Dinein, DineOut & Delivery)
  • รองรับนักท่องเที่ยว มีให้ใช้หลายภาษาทั้งไทย อังกฤษเเละจีน (อนาคตจะมีการเพิ่มอีกหลายภาษา)
  • ใช้งานได้ทันที ไม่ต้องดาวน์โหลดแอปฯ ส่งต่อเป็น URL ไปในหลายโซเชียลมีเดียได้
  • ลูกค้าที่มาทานที่ร้าน เลือกสั่งเมนูที่มีภาพอาหารประกอบ ผ่าน QR Ordering ได้ทันที ไม่ต้องรอพนักงานเสิร์ฟมาบริการ ไม่ต้องสัมผัสเมนูเเบบรูปเล่ม ถ้ามาหลายคน ทุกคนกดสั่งเองได้จากมือถือของตัวเอง รวมบิลเป็นโต๊ะเดียวกันได้
  • หากต้องการสั่งกลับบ้าน กดสั่งผ่าน QR Ordering ไม่ต้องผ่านพนักงาน ไม่ต้องเข้าคิวรอ
  • หากต้องการสั่งเดลิเวอร์รี่ถึงบ้าน จะเป็นการสั่งตรงกับร้านอาหาร โดยทางร้านจะเป็นผู้จัดส่งเองก็ได้ หรือทางร้านจะเลือกวิธีจัดส่งที่คุ้มที่สุดโดย Copy ที่อยู่ลูกค้าไปใส่ในแอปเดลิเวอร์รี่ เช่น Grab, Lalamove, Skootar (ราคาขึ้นอยู่กับเเต่ละผู้ให้บริการ) ซึ่ง Eatable จะคำนวณราคารวม (หักส่วนลดเเละโปรโมชั่น)ให้เลือกเรียบร้อย
  • แจ้งเตือนผ่านไลน์ ตั้งให้แจ้งเตือนด้วย LINE NOTIFY ออเดอร์เข้ามาเมื่อไหร่ รู้ทันที
  • กำหนดเวลารับอาหาร ติดตามสถานะออเดอร์
  • ผู้ประกอบการปรับเปลี่ยนข้อมูลร้านค้า เปลี่ยนเมนูอาหาร เปลี่ยนรูปได้ทันที โดยไม่ต้องรออนุมัติ
  • มีบัญชีสำหรับพนักงาน รองรับการเพิ่มบัญชีแก่พนักงานหน้าร้านให้มีคนช่วยดูแลร้านตอนเจ้าของร้านไม่อยู่
  • ไม่มีค่าธรรมเนียมการใช้บริการ ร้านอาหารนำไปใช้ในร้านได้ฟรี

สำหรับลูกค้าเดลิเวอรี่ สามารถกดลิงก์ที่ร้านอาหารลงไว้ในทุกๆ ช่องทาง แล้วสั่งอาหารผ่านเมนูออนไลน์ พร้อมตัวเลือกในการส่งเดลิเวอรี่ที่เปิดกว้าง ไม่ว่าจะให้คนของร้านไปส่งเองหรือให้ร้านอาหารเป็นผู้เลือกผู้ให้บริการจัดส่งเจ้าที่คุ้มค่าที่สุด ซึ่งจะมีระบบที่ช่วยแนะนำส่วนลดค่าจัดส่งที่เหมาะสม สำหรับให้ร้านอาหารใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงเพื่อมอบส่วนลดค่าบริการจัดส่งแก่ลูกค้าที่สั่งอาหารโดยตรงกับทางร้าน” 

Eatable มีกำหนดเปิดให้บริการเต็มรูปเเบบในเดือนตุลาคมนี้ ซึ่งตอนนี้มีบริการเปิด Public Beta แล้วที่เว็บไซต์ eatable.kasikornbank.com เพื่อเปิดให้ร้านค้าที่สนใจร่วมลงทะเบียน

ตอนนี้ Eatable ได้เริ่มทดลองใช้กับร้านสุกี้เรือนเพชร และร้าน BEAST&BUTTER และโรงแรมเครือกะตะธานี มีผลตอบรับเป็นที่น่าพอใจ การเลือกผู้ขนส่งที่หลากหลายมากขึ้น ทำให้สามารถเลือกต้นทุนค่าส่งที่ต่ำลงด้วย ซึ่งเท่าที่ทดสอบแล้ว ต้นทุนค่าส่งอาหารลดลงประมาณ 12.5%

เจ้าของร้าน “สุกี้เรือนเพชร” เปิดเผยว่า เคยได้ใช้เเพลตฟอร์มในรูปเเบบนี้ที่จีน เเต่ตอนนั้นยังไม่มีใครทำเเอปฯ เเบบนี้ในเมืองไทย เเต่พอคิดจะทำระบบด้วยตนเองก็มีค่าใช้จ่ายสูง จึงจัดการร้านในเเบบดั้งเดิมอยู่ จากนั้นพอทาง KBTG มาติดต่อก็เห็นว่าไอเดียตรงกัน จึงนำมาทดลองใช้ในบางสาขา

เบื้องต้นพบว่า ประหยัดกระดาษเเละความผิดพลาดของพนักงานลดลง เนื่องจากเเต่เดิมให้ลูกค้าสั่งโดยการจดเมนูเอง บางครั้งเขียนเเล้วขีดฆ่าหรืออ่านลายมือไม่ออก การสั่งผ่าน QR Ordering แม่นยำกว่า ลดความเสียหายจากการทำออเดอร์ผิด อีกทั้งยังลด “การเดิน” ของพนักงาน ให้พวกเขาไม่เหนื่อยมาก และหันไปโฟกัสกับการดูแลลูกค้าแทน โดยทางลูกค้าก็มีการใช้ Eatable อย่างคล่องเเคล่วเพราะคุ้นชินกับการสั่งอาหารผ่านฟู้ดเดลิเวอรี่ ในช่วงล็อกดาวน์มาแล้ว 

ขณะท่ีเเผนต่อไปของ Eatable จะพัฒนาให้สามารถเชื่อมเข้าสู่บริการรับชำระเงินแบบออนไลน์ได้ในเดือนกันยายนปีนี้ เพื่อให้ลูกค้าสามารถสั่งครบจ่ายจบได้ในช่องทางเดียว และสเต็ปต่อไปหลังจากเปิดตัว 3 เดือนแรกจะมีการพัฒนาไปสู่การให้บริการนอกเหนือจากร้านอาหาร ซึ่งอาจจะเป็นร้านขายของชำ มินิมาร์ทหรือร้านขายของต่างๆ ได้ในอนาคต 

นอกจากนี้จะมีการจะมีการเปิดตัวมินิโปรแกรม “ไคไท่เตี่ยนไช่” (Kai Tai Dian Cai) บริการสั่งอาหารสำหรับนักท่องเที่ยวจีนผ่านแอปวีแชท (WeChat) ในช่วงปลายปีนี้ด้วยเช่นกัน เพื่อรองรับการกลับมาเปิดท่องเที่ยวอีกครั้ง “เรายืนยันว่าโปรเเกรม ไคไท่เตี่ยนไช่ จะเปิดให้ร้านค้าได้ลองใช้ 1 เดือน ก่อนที่จะมีการทำ Travel bubble เเน่นอน” 

ทั้งนี้ การพัฒนาไคไท่เตี่ยนไช่ ผ่านวีเเชทเป็นหนึ่งในการต่อยอดการลงทุน “ฟินเทค” ในจีนของกสิกรไทย โดยก่อนหน้านี้ KBTG ได้เปิดตัว 2 บริษัท KX และ Kai Tai Tech ในเซินเจิ้น ดึงศักยภาพการทำงานรูปแบบสตาร์ทอัพ เพื่อสร้างการเติบโตให้ธนาคารไทย

ผู้บริหาร KBTG ปิดท้ายว่า ไม่ได้ตั้งเป้าว่าจะมีร้านค้าใช้ Eatable จำนวนเท่าใด แต่หวังว่าจะดึงดูดให้ร้านอาหารมาเข้าร่วมให้มากที่สุด เพราะถือเป็นการลดต้นทุนด้านเทคโนโลยีให้กับผู้ประกอบการรายย่อยและร้านอาหารที่มีทุนน้อย ให้สามารถเปลี่ยนแปลงและปรับตัวสู่ยุคดิจิทัลได้ในระยะยาว ซึ่งจะเป็นการพลิกโฉมวงการร้านอาหารไทยเลยทีเดียว…

 

 

]]>
1285636
Foodpanda สิงคโปร์ ลุยบริการใหม่ Pandanow ส่งของใช้ตลอด 24 ชั่วโมง ถึงบ้านใน 15 นาที https://positioningmag.com/1262862 Sun, 02 Feb 2020 09:51:46 +0000 https://positioningmag.com/?p=1262862 ย้อนไปเมื่อเดือน ต.ค.ปีที่เเล้ว ธุรกิจสั่งอาหารออนไลน์ “Foodpanda” เริ่มให้บริการจัดส่งของใช้ในครัวเรือน ดอกไม้เเละของจิปาถะตามความต้องการของลูกค้าใน “สิงคโปร์” ที่เรียกว่า Pandamart มีสินค้ากว่า 1,000 จากร้านค้าปลีกพันธมิตรทั่วประเทศและส่งถึงบ้านภายใน 25 นาที

หลังทดลองให้บริการมาราว 3 เดือน Pandamart ก็ “ประสบความสำเร็จ” ด้วยยอดคำสั่งซื้อของชำและของใช้ในครัวเรือนมากขึ้นถึง 4 เท่า

ไม่รอช้า Foodpanda รีบคว้าโอกาส ล่าสุดเปิดตัวบริการใหม่ที่มีชื่อว่า “Pandanow” เเพลตฟอร์มจัดส่งสินค้าได้ตลอด 7 วัน 24 ชั่วโมง การันตีสินค้าส่งถึงบ้านภายใน 15 นาที ผ่านศูนย์กระจายสินค้าของ Foodpanda ที่มีอยู่ 5 เเห่งรอบเกาะสิงคโปร์ ดังนั้นลูกค้าจึงไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับการหาของใช้จำเป็น เมื่อร้านค้าทั่วไปปิดทำการในตอนกลางคืน

เเม้รายการสินค้าของ Pandanow จะน้อยกว่า Pandamart เเต่ Pandanow เลือกใช้กลยุทธ์ด้านการลดราคาค่าส่งโดยประกาศจะ “จัดส่งฟรี ไม่มียอดสั่งซื้อขั้นต่ำ” ขณะที่ Pandamart มีค่าให้บริการเริ่มต้นที่ 2.99 ดอลลาร์สิงคโปร์

Luc Andreani กรรมการผู้จัดการของ Foodpanda สิงคโปร์ เปิดเผยว่า บริษัทมีแผนการเปิดคลังสินค้าเพิ่มในอนาคต เเละกำลังมองหาวิธีใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อช่วยตอบสนองความคาดหวังของลูกค้า

ที่มา : Foodpanda Launches 24/7 On-Demand Delivery Service In Singapore

]]>
1262862
ตลาดยิ่งเจริญ ยุค 5G ทำแอปพลิชัน “ส่งสด” ซื้อของสดในตลาดส่งถึงหน้าบ้าน https://positioningmag.com/1244929 Tue, 03 Sep 2019 06:27:18 +0000 https://positioningmag.com/?p=1244929 ในวันที่พฤติกรรมของผู้บริโภค เคยชินกับความสะดวกสบาย อยากได้อะไรก็กดสั่งจากที่บ้าน แป๊ปๆ ก็มาส่งถึงหน้าบ้าน “บริการเดลิเวอรี่” ถึงโตเอาๆ ตั้งแต่สั่งอาหาร ไปจนกระทั่ง “สั่งซื้อของสด” จากบรรดาซูเปอร์มาร์เก็ตต่างๆ 

เมื่อลูกค้าเปลี่ยน แถมกำลังจะถูกดึงไปด้วยเทคโนโลยี งานนี้ตลาดสดชื่อดังอย่าง ตลาดยิ่งเจริญ จะอยู่เฉยๆ ได้ไง ในยุค 5G แบบนี้ก็ขอโกออนไลน์กับคนอื่นบ้าง

นายอริย ธรรมวัฒนะ กรรมการบริหารงาน ตลาดยิ่งเจริญ

อริย ธรรมวัฒนะ กรรมการบริหารงาน ตลาดยิ่งเจริญ กล่าวถึงบริการตลาดสดออนไลน์ “ส่งสด ว่า เกิดขึ้นมาช่วงปี 2559 มีการสร้างรถไฟฟ้าสายสีเขียว ทำให้การเดินทางมาตลาดยิ่งเจริญ การจราจรติดขัดอย่างมาก ยอดขายในตลาดลดลงอย่างเห็นได้ชัดตนเองเกิดไอเดีย เปิดบริการตลาดสดออนไลน์ขึ้นมา 

โดยได้ไอเดีย มาจากเมื่อครั้งที่ตนเองไปประเทศจีนและฮ่องกง เห็นบริการจัดส่งอาหารสดทางออนไลน์ และนำไอเดียนี้ มาปรึกษาผู้ใหญ่ ซึ่งไม่มีใครเห็นด้วย เพราะมองไม่เห็นภาพว่า บริการตลาดสดออนไลน์จะเกิดขึ้นได้อย่างไร จนต้องนำไปรู้จักกับบริการดังกล่าวที่ประเทศจีน โดยเริ่มจากการสั่งสินค้าจากตลาดสดให้มาส่งที่พักในอพาร์ทเม้นท์ พอผู้ใหญ่เห็นก็ไฟเขียวให้ทำตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ถึงวันนี้ผ่านมาเกือบ 2 ปี โดยเริ่มทำครั้งแรก เมื่อเดือนตุลาคม 2560 โดยมียอดขายในปีแรก จำนวน 13 ล้านบาท และในปีนี้ 2562 ถึงตอนนี้ มีรายได้ 30 ล้านบาท

ลูกค้าร้านอาหาร ขยายสู่ คนรุ่นใหม่เริ่มทำอาหาร 

ในส่วนของลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการจะมี 2 ลักษณะเป็นแบบ B2B คือ ร้านอาหาร ภัตตาคาร ส่วนใหญ่จะอยู่ในใจกลางเมือง ย่าน พระราม 9, สุขุมวิทพระราม 2 และปทุมธานี ฯลฯ มีทั้งหมด จำนวน 55 ราย ส่วนลูกค้า B2C หรือผู้บริโภคทั่วไป ยังมีอยู่ไม่มากประมาณ 10 – 20 ราย อยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ปัจจุบันลูกค้าที่กลุ่มผู้บริโภคของเราจะเป็นกลุ่มผู้สูงอายุและในกลาง เดือนกันยายน 2562 จะหันมาบุกตลาด B2C มากขึ้น โดยการเปิดช่องทางแอปพลิชั่น เพิ่มขึ้นมา นอกเหนือจากการขายผ่านหน้า เว็บไซต์ เฟซบุ๊ก และไลน์แอด เพื่อจะเข้าถึงกลุ่มคนรุ่นใหม่มากขึ้น 

ทั้งนี้ การเจาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ ให้หันมาทำกับอาหารรับประทานเอง ไม่ใช่เรื่องง่าย ปัญหาที่พบ คือ คนรุ่นใหม่ไม่มีเวลา และที่สำคัญ คือ ทำกับข้าวไม่เป็น ดังนั้น นำปัญหานี้มาเป็น จุดขายของ ส่งสด ที่แตกต่างจากบริการตลาดสดออนไลน์ อื่นๆ คือ การบริการให้คำปรึกษาสำหรับคนที่ต้องการทำอาหารกินเอง แต่ไม่มีความรู้ในการทำอาหาร โดยทีมงานเชี่ยวชาญด้านการทำอาหาร คือ ป้าสมร แนะนำการทำอาหาร และเลือกวัตถุดิบว่าจะต้องเลือกวัตถุดิบอย่างไร เพื่อให้การทำอาหารออกมาได้รสชาติที่ดี เหมือนมืออาชีพ

แข่งขัน กันตรงจุดขายที่แตกต่าง.. 

นอกจากนี้ จุดขายอีกอย่างหนึ่ง คือ เราเป็นผู้ให้บริการตลาดสดอยู่แล้ว ดังนั้น มีสินค้าคุณภาพ ให้เลือกจำนวนมาก ลูกค้าสามารถเลือกร้านที่ต้องการได้ และที่สำคัญ อีกอย่างหนึ่ง ที่ถือว่าเป็นจุดขายของ ส่งสด คือ มีผักพื้นบ้าน ที่หาไม่ได้ในตลาดสดทั่วไป เช่น ผักเหลียง เห็ดเผาะ ต้นคูณ ผักหวานป่า ฯลฯ และสินค้าที่เป็นไฮไลท์ ของเรา คือ ไก่สดเพราะทางตลาดยิ่งเจริญมีการดิวกับผู้ค้าส่งไก่สด โดยจัดหาไก่ มาส่งขายให้กับผู้ค้าในตลาด โดยดิวตรงกับผู้ค้าไก่ เกิดมาจากปัญหาโรคที่มาจากไก่ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา จำเป็นต้องควบคุมการขายไก่ที่ปลอดภัย เป็นที่มาของการดิวกับผู้ค้าไก่ดังกล่าว และการซื้อปริมาณมากๆ ทำให้เราได้ไก่ในราคาที่ถูก และมีบริการจัดแต่งสินค้าให้ลูกค้าสามารถจัดเก็บเข้าห้องเย็นได้เลย 

สำหรับรูปแบบการให้บริการของ ส่งสด เหมือนกับ บริการตลาดสดออนไลน์รายอื่นๆ ในช่วงแรก เริ่มจากการติดต่อลูกค้าผ่านเฟซบุ๊ก และไลน์แอดก่อน และใช้การโปรโมทผ่านการซื้อแอดของเฟซบุ๊ก ไลน์ และกูลเกิลแอด ประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง หลังจากนั้น ค่อยขยายงาน และเริ่มทำอย่างจริงจัง โดยการเปิดเว็บไซต์ เพื่อสร้างความสะดวกสบาย และให้ลูกค้าได้เห็นสินค้ามากขึ้น ซึ่งการเลือกสินค้าผ่านหน้าเว็บฯ ลูกค้าได้เห็นสินค้าและราคา การสั่งซื้อง่ายเพียงแค่หยิบใส่ตระกร้า จ่ายเงิน หลังจากนั้น ทางเราจัดการสินค้าและจัดส่งให้ลูกค้า ตามเวลาที่กำหนด

ค่าบริการตลาดสดออนไลน์ คือ ค่าธรรมเนียม คิดตั้งแต่ 10 – 20% 

อริย กล่าวถึงข้อดี ของการซื้อสินค้าผ่านบริการตลาดสดออนไลน์ คือ ลูกค้าจะได้ใบเสร็จพร้อมใบกำกับภาษี ทาง ส่งสดจะออกให้กับลูกค้า ทุกครั้งที่มีการสั่งซื้อ เพื่อลูกค้าสามารถนำไปยื่น ขอลดหย่อนภาษีได้ ซึ่งเป็นจุดขายอย่างหนึ่ง ที่ลูกค้า B2B ชื่นชอบเพราะถ้ามาซื้อด้วยตัวเองโอกาสที่ พ่อค้า แม่ค้าจะออกใบกำกับภาษีให้เป็นเรื่องยาก มีน้อยร้านมาก หรือแถบจะไม่มี และที่สำคัญ คือ ลูกค้าต้องขอเขาถึงจะออกให้ แต่ของเราลูกค้าไม่ต้องขอ เราออกให้เลยทุกครั้ง 

สำหรับ อัตราค่าบริการ ลูกค้าทั้ง 2 กลุ่ม จะคิดค่าบริการแตกต่างกัน ถ้าเป็น B2B ค่าบริการจัดส่งจะคิดอีกอัตราหนึ่ง ซึ่งเป็นค่าส่งที่บวกไปในสินค้า เป็นค่าบริการที่แน่นอน เพราะกลุ่มนี้จะมีการสั่งล่วงหน้า สามารถกำหนดเวลาส่งให้กับรถบริการจัดส่ง และผู้ให้บริการจัดส่งสามารถวางแผนการจัดส่งได้ ทำให้ราคาค่าบริการจัดส่งถูกกว่า ต่างจากลูกค้าที่เป็น B2C ที่มีเวลาจัดส่งไม่แน่นอน ซึ่งลูกค้าจะต้องจ่ายค่าธรรมเนียม 10 – 20% โดยลูกค้าจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าจัดส่งเอง 

จับมือ ลาล่ามูฟ” 

ล่าสุด ส่งสด ได้มีการดิวกับทางผู้ให้บริการจัดส่งโดยตรงอย่าง ลาล่ามูฟ เข้ามารับหน้าที่ด้านโลจิสติกส์ แทนมอเตอร์ไซต์วิน ที่ใช้บริการในขณะนี้ เพราะด้วยเวลาการสั่งซื้อ และจัดส่งไม่แน่นอน ทำให้ไม่สามารถใช้บริการมอเตอร์ไซต์วินเหมือนเดิมได้ เพราะงานหลักของมอเตอร์ไซต์วิน คือ รับส่งลูกค้า และการเลือกใช้ผู้ให้บริการโลจิส ติกส์ ที่เชี่ยวชาญและมีความชำนาญด้านการจัดส่ง โดยตรง จะทำให้เราตัดปัญหาเรื่องการจัดส่งไม่ตรงเวลาออกไปได้ 

ทั้งนี้ ลูกค้าของ ส่งสด” ในกลุ่มผู้บริโภค ส่วนใหญ่จะเป็นผู้สูงอายุ ซึ่งจะมียอดการสั่งซื้อเข้ามากๆ ตอนช่วงเทศกาล เพราะต้องการสินค้าไปใช้สำหรับการจัดงานเลี้ยง จัดปาร์ตี้ ซึ่งถ้าเป็นลูกค้ากลุ่มผู้บริโภค มีบริการคำนวณปริมาณของสดที่จะใช้ในการจัดปาร์ตี้จากจำนวนผู้เข้าร่วมงาน แต่ละครั้งให้ด้วย ซึ่งในช่วงเทศกาล การสั่งซื้อเข้ามามากไม่ใช่เฉพาะผู้บริโภคทั่วไป ที่เป็น B2C แต่ร้านอาหาร กลุ่ม B2B สั่งซื้อเข้ามาจำนวนมากเช่นกัน 

ในส่วนปัญหาของบริการตลาดสดออนไลน์ของ ส่งสด ที่ผ่านมา คือ การที่เรายังไม่สามารถให้เครดิตกับลูกค้า ในกลุ่ม B2B ได้เหมือนกับ ผู้ให้บริการรายอื่นๆ แต่ไม่ได้นิ่งนอนใจ พยายามหาทางอยู่ ในขณะนี้ได้มีการพูดคุยกับทางธนาคารที่สามารถทำเครดิตตรงนี้แทนเราได้ เพราะเราเองอยากได้ผู้เชี่ยวชาญที่ชำนาญมาช่วยทำงาน” อริย กล่าว.

Source

]]>
1244929