รีเทล – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Sat, 04 May 2024 03:53:24 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 เปิดตัว ‘มาริส อโบลตินส์’ กรรมการผู้จัดการคนใหม่ ‘เมกาบางนา’ ลั่นกลองพร้อมเดินหน้าสานต่อโครงการเมกาซิตี้ https://positioningmag.com/1472131 Sat, 04 May 2024 03:48:33 +0000 https://positioningmag.com/?p=1472131

ต้องยอมรับว่ายุคนี้การทำ ศูนย์การค้า ไม่ใช่เรื่องง่าย นอกจากต้องแข่งขันกันเองแล้ว ยังต้องแข่งขันกับออนไลน์ด้วย อย่างไรก็ตาม เมกาบางนา (Megabangna) กลับเป็นศูนย์การค้าที่สามารถเติบโตทุกปี มีผลงานโดดเด่นจนเป็นที่จับตา และปีนี้ที่เมกาบางนาให้บริการเข้าสู่ปีที่ 12 ก็มี MD คนใหม่ โดย Positioning จะพาไปทำความรู้จัก พร้อมเจาะลึกถึงกลยุทธ์ของเมกาบางนาในปีนี้


ประสบการณ์ครบลูปในรีเทลและเรียลเอสเตส

ไม่ใช่แค่การบริหารศูนย์การค้าเมกาบางนา แต่ยังมี โครงการเมกาซิตี้ ดังนั้น มาริส อโบลตินส์ กรรมการผู้จัดการบริษัท เอสเอฟ ดีเวลอปเมนท์ จำกัด ผู้บริหารศูนย์การค้าเมกาบางนา และโครงการเมกาซิตี้ หรือ MD (Managing Director) คนใหม่นี้ถือว่าน่าสนใจ เพราะมีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับการจัดการอสังหาริมทรัพย์ โดยเน้นไปที่การพัฒนาและการขยายพื้นที่ของธุรกิจค้าปลีก ด้วยประสบการณ์กว่า 15 ปีในอุตสาหกรรมค้าปลีกและอสังหาริมทรัพย์ในยุโรป ผ่านการทำงานทั้งกับเชนห้างสรรพสินค้าดังหลายแห่ง รวมไปถึงมีประสบการณ์การทำงานร่วมกับ IKEA อีกด้วย

“ผมมีประสบการณ์ในต่างประเทศหลายที่  เช่น เยอรมนี, รัสเซีย, ยูเครน และออสเตรีย ซึ่งผมโชคดีที่มีประสบการณ์ครบลูปตั้งแต่งานก่อสร้าง วิศวกรรม ไปจนถึงงานด้านกลยุทธ์ ที่สำคัญผมเคยทำงานอยู่ในฝั่งลูกค้า หรือผู้เช่า  นั่นทำให้มีความเข้าใจความต้องการของลูกค้าอย่างดี” มาริส เล่า


รีเทลยุโรปกับไทยเหมือนมากกว่าต่าง

มาริส เล่าต่อว่า จริง ๆ แล้วอุตสาหกรรมรีเทลของยุโรปกับไทยค่อนข้างมีความเหมือนมากกว่าแตกต่าง ที่เห็น ณ ตอนนี้อาจจะมีบางจุดแตกต่างกันชัดเจนอาจเป็นเรื่องการจำนวนทีมงานที่บริหารศูนย์การค้า ซึ่งที่ไทยมีจำนวนทีมงานค่อนข้างเยอะ ขณะที่ของยุโรปจะใช้เอ้าท์ซอร์สเป็นส่วนใหญ่ แต่สุดท้ายปลายทาง รีเทลทุกแห่งต้อง แข่งขันกันตอบสนองความต้องการลูกค้า ดังนั้น ขึ้นอยู่กับทีมบริหารแล้วว่าจะวางกลยุทธ์อย่างไรให้ลูกค้ามาที่ศูนย์การค้า และต้องมาซ้ำ

“ทุกประเทศอยู่ในสถานการณ์ที่คล้ายกัน คือเจอการแข่งขันทั้งจากศูนย์การค้าด้วยกัน และจากอีคอมเมิร์ซ ดังนั้น เราต้องเข้าใจถึงความต้องการของผู้บริโภค และสามารถตอบโจทย์ลูกค้าได้อย่างแท้จริง รวมถึงมอบความคุ้มค่าให้กับทุกๆ การมา Visit ให้ได้”

อย่างไรก็ตาม เมกาบางนาถือเป็นศูนย์การค้าที่แข็งแกร่งอยู่แล้ว และอยู่บนโลเคชั่นย่านบางนา-ตราดที่กลุ่มผู้อาศัยโดยรอบเป็นกลุ่มที่ค่อนข้างมีกำลังซื้อ โดยตลอด 12 ปีที่ผ่านมาเมกาบางนาต้อนรับลูกค้ามาแล้วกว่า 550 ล้านคน และปี 2023 เป็นปีที่มียอดคนมาเยี่ยมศูนย์ฯ สูงสุดถึง 53 ล้านคน  สะท้อนให้เห็นว่าการเป็นศูนย์การค้าระดับภูมิภาคอาเซียน และด้วยลักษณะที่เป็นหน้ากว้าง ทำให้ลูกค้าสะดวกกว่าไม่ต้องเดินหาหลายชั้น เป็นที่ชื่นชอบของลูกค้า รวมถึงเมกาบางนามีที่จอดรถกว่า 12,000 คัน รวมทั้งใกล้ฮับของรถสาธารณะจากหลายทาง จึงเชื่อว่าเมกาบางนาจะสามารถพัฒนาและเติบโตไปได้อีกใกล้


TENANT MIX ที่ตรงใจ ทันสมัย และตอบโจทย์ทุกเจเนเรชัน

ในปีนี้ เมกาบางนาจะนำร้านใหม่ ๆ หลายร้าน โดยศูนย์ฯ พยายามจะศึกษาความต้องการของลูกค้า และมองหาพาร์ทเนอร์ที่จะมาช่วยเสริมให้เมกาบางนาแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น  ปัจจุบัน เมกาบางนามีพื้นที่ขายรวมกว่า 240,000 ตารางเมตร มีอัตราการเช่า 100% มีร้านค้าแฟชั่น ร้านอาหาร ศูนย์บริการต่าง ๆ รวมกว่า 900 ร้านค้า โดยผู้เช่าหลักที่เป็นแม็กเน็ตสำคัญ ได้แก่ IKEA, CENTRAL@MEGABANGNA, HOMEPRO, BIG C Extra, MEGA CINEPLEX

“ตอนนี้รีเทลเปลี่ยนเเปลงไปมาก ความต้องการลูกค้าก็เปลี่ยนไปเร็ว โจทย์คือจะต้องตอบสนองความต้องการลูกค้าอย่างไรให้ได้มากที่สุด”

ในส่วนของ Mega City อยู่ระหว่างการศึกษาตลาดเพิ่มเติม รวมถึงมองหาโอกาสใหม่ๆ ที่จะมาตอบโจทย์คนในย่านนี้ ซึ่งที่ผ่านมาก็มีหลายโครงการที่เปิดตัวในเมกาซิตี้  โดยมองว่ายังมีโอกาสเติบโตได้อีก อย่างคอนโดที่เปิดตัวไปเมื่อปีที่แล้วก็ได้รับการตอบรับอย่างดี เพราะยอดขายโครงการไปได้ดี แม้ว่าอัตราการเกิดจะลดลงก็ตาม นอกจากนี้ มาริส มองว่า เขาต้องการจะดันให้  ท็อปกอล์ฟ กลายเป็นอีก Destination ที่ดึงดูดทั้งนักท่องเที่ยวและลูกค้า Local ในย่านนี้และพื้นที่ใกล้เคียง

ในส่วนของกลยุทธ์ด้าน ความยั่งยืน (ESG) เมกาบางนายังคงทำอย่างต่อเนื่อง เช่น การติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาหรือ SOLAR ROOFTOP บนพื้นที่กว่า 62,000 ตรม. สามารถผลิตไฟฟ้าได้กว่า 12 ล้านหน่วย (KWH) ต่อปี ช่วยลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ได้ 8,000 ตัน การประหยัดการใช้ไฟการควบคุมอากาศในศูนย์ 20% และการนำน้ำที่ใช้แล้วมาบำบัดเพื่อใช้ได้ใหม่ เช่น รถน้ำต้นไม้ หรือทำความสะอาดศูนย์การค้า เป็นต้น


ทุ่ม 200 ล้าน อัดอีเวนต์แน่นตลอดปี

ในส่วนของ งานอีเวนต์ ก็ถือเป็นจุดเด่นของเมกาบางนา อาทิ เคาท์ดาวน์ ที่เมกาบางนาติด 1 ใน 5 สถานที่ที่คนอยากมาเคาท์ดาวน์ของกรุงเทพฯ และเป็นอีเวนท์ที่ลูกค้ารอคอยตลอดปี โดยปีนี้เมกาบางนาได้วางงบเกี่ยวกับงานกิจกรรมต่างๆ ไว้ประมาณ 200 ล้านบาท โดยจะมีเฉลี่ยทุกเดือน โดยในไตรมาสแรกได้จัดแคมเปญทั้ง Seasonal Campaign และ Monthly Campaign มาตั้งแต่เทศกาลปีใหม่ ตรุษจีน และสงกรานต์ รวมถึงการจัดกิจกรรมสำหรับคอมมูนิตี้ต่าง ๆ เช่น Mega Pet Day

“เราอยากทำให้ทุกอีเวนต์สร้างความตื่นเต้นให้ลูกค้า อยากทำให้เขารู้สึกเหมือนได้รีวอร์ดสทุกครั้งที่มาเมกาบางนา”

ส่วนของลอยัลตี้โปรแกรม เมกา สไมล์ รีวอร์ดส (MEGA SMILE REWARDS) ในช่วงไตรมาส 3 นี้จะมีการยกระดับ Privilege ต่างๆ ให้ดีขึ้น  ภายใต้แนวคิด THE ULTIMATE EXPERIENCE โดยจะให้สิทธิพิเศษที่มากยิ่งขึ้น อาทิ ที่จอดรถพิเศษสำหรับสมาชิก ส่วนลดและบัตรกำนัลที่มากกว่าเดิม รวมถึงการรับสิทธิ์เข้าร่วมกิจกรรมแบบเอ็กซ์คลูซีฟ ที่ตรงกับความต้องการ ความชอบ ไลฟ์สไตล์ ของสมาชิก


ครบรอบ 12 ปี ด้วยแคมเปญ 12th ANNIVERSARY 365 MEGA MOMENTS

ในเดือนพฤษภาคมนี้จะครบรอบ 12 ปี ของเมกาบางนา ทางศูนย์ฯ ได้จัดกิจกรรม 12th ANNIVERSARY 365 MEGA MOMENTS โดยดึงเอาศิลปินนักวาดภาพอย่าง Jirayu Koo (จิรายุ คู) ในการสร้างสรรค์งานศิลปะ เพื่อนำมาต่อยอดประสบการณ์ให้กับลูกค้า เช่น การตกแต่งบรรยากาศของศูนย์การค้าให้ลูกค้าได้มาถ่ายรูป, การจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย การจัดทำของสมนาคุณเอ็กซ์คลูซีฟคอลเลคชั่น เป็นต้น

มาริส ทิ้งท้ายว่า แม้เขาเป็น MD คนใหม่ แต่วิสัยทัศน์ของเมกาบางนายังเป็นเหมือนเดิมมาตลอด 12 ปี คือ การเป็นมากกว่าสถานที่สำหรับการช้อปปิ้ง แต่เราจะเป็นสถานที่พบปะสังสรรค์ให้ทุกๆ คนได้มาใช้เวลาร่วมกันได้ที่เมกาบางนา ครบทั้งช้อป กิน และทำกิจกรรม ดังนั้น ภารกิจเราก็จะสอดคล้องกับวิชั่นส์ ที่จะตอบโจทย์ความต้องการลูกค้าให้ได้ทั้งหมด และอยู่ในทุกๆ ช่วงเวลาของลูกค้าได้อย่างแท้จริง!

]]>
1472131
กันขโมยไม่ไหว! ห้างสหรัฐฯ “Target” เริ่มจำกัดการใช้ “ช่องชำระเงินด้วยตนเอง” (Self Check-out) https://positioningmag.com/1462735 Wed, 14 Feb 2024 12:11:28 +0000 https://positioningmag.com/?p=1462735 ห้างสรรพสินค้า “Target” ในสหรัฐฯ เป็นรีเทลรายล่าสุดที่เปลี่ยนนโยบายการใช้ “ช่องชำระเงินด้วยตนเอง” (Self Check-out) โดยห้างนี้ใช้วิธีจำกัดชั่วโมงการใช้งานเป็นบางช่วงเวลา และกำหนดให้ใช้เฉพาะลูกค้าที่ชำระเงินไม่เกิน 10 ชิ้น สาเหตุหลักคาดว่ามาจากปัญหาการขโมยของหรือการเนียนไม่จ่ายเงินเป็นบางชิ้น

เมื่อปี 2023 รีเทลหลายรายของสหรัฐฯ ต่างเปลี่ยนนโยบายการใช้ “ช่องชำระเงินด้วยตนเอง” (Self Check-out) เพราะพบว่าช่องนี้ไม่ได้ช่วยลดแรงงานคนลง แถมยังทำให้ขโมยของง่ายขึ้นด้วย

ล่าสุดห้าง “Target” เป็นอีกหนึ่งรายที่เปลี่ยนนโยบายการใช้ช่องชำระเงินด้วยตนเอง โดยอนุญาตเฉพาะลูกค้าที่จะซื้อสินค้าไม่เกิน 10 ชิ้นเท่านั้นที่สามารถใช้ช่องนี้ได้ ทางห้าง Target ให้เหตุผลว่า “เพื่อลดเวลาการรอชำระเงิน และทำให้เราเข้าใจความต้องการของลูกค้ามากขึ้น”

อย่างไรก็ตาม สำนักข่าว Business Insider มีข้อมูลเพิ่มเติมจากแหล่งข่าวพนักงานของห้างสรรพสินค้า “Target” หลายคนบอกตรงกันว่า สาขาที่ตนทำงานไม่ใช่แค่ให้จ่ายค่าสินค้าได้ไม่เกิน 10 ชิ้นที่ช่องชำระเงินด้วยตนเอง แต่ห้างยังปิดช่องนี้ในช่วงเวลาก่อน 10 โมงเช้าและหลัง 2 ทุ่มด้วย

ทั้งนี้ การพิจารณาปิดช่องเป็นช่วงเวลาเกิดขึ้นแค่บางสาขาเท่านั้น จากทั้งหมด 2,000 สาขาที่ Target มีในสหรัฐฯ คาดว่าหลักเกณฑ์พิจารณาขึ้นอยู่กับยอดขายสาขาและจำนวนพนักงานในสาขานั้นๆ

พนักงานคนหนึ่งจากสาขาในรัฐมิชิแกนระบุว่า ปกติห้าง Target จะเปิดเวลา 7 โมงเช้าหรือ 8 โมงเช้า และจะปิดเวลา 4 ทุ่มตรง การปิดช่องชำระเงินด้วยตนเองในช่วงเช้าและช่วงดึกน่าจะทำให้ลูกค้าหงุดหงิดมาก และพนักงานคงต้องอธิบายไปตามตรงว่า “ต้องปิดเพื่อป้องกันขโมย”

ก่อนหน้านี้มีการศึกษาชิ้นหนึ่งพบว่าอัตราสินค้าที่ไม่ถูกสแกนเมื่อใช้ช่องชำระเงินด้วยตนเองนั้นสูงถึง 6.7% (รวมทั้งที่ตั้งใจไม่สแกนจ่ายและที่เผลอลืมสแกน) ถือว่าสูงกว่ามากเมื่อเทียบกับอัตราสินค้าที่ไม่ถูกสแกนเมื่อใช้ช่องแคชเชียร์ปกติซึ่งมีเพียง 0.3% เท่านั้น

สต็อกสินค้าที่เหลือกับยอดขายที่ไม่ตรงกัน ทำให้ห้างสรรพสินค้าต่างๆ เริ่มรู้ตัวว่าช่องชำระเงินด้วยตนเองอาจจะก่อปัญหา

นอกจากนี้ ยังมีงานวิจัยชิ้นอื่นที่พบว่าการให้ลูกค้าชำระเงินด้วยตนเอง จะทำให้ “แบรนด์ลอยัลตี้” เป็นไปในเชิงลบ โอกาสที่พนักงานจะเสนอโปรโมชันหรือแคมเปญต่างๆ จากทางห้างฯ ก็ยากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น พนักงาน Target สาขาในรัฐโอคลาโฮม่าบอกว่า ขณะนี้ห้างฯ กำลังเน้นให้พนักงานโปรโมตบัตรเครดิต Target Red ของบริษัท ซึ่งแปลว่าถ้าแคชเชียร์ได้เจอลูกค้าก็จะมีโอกาสขายของง่ายกว่า

เมื่อปีที่แล้วรีเทลรายใหญ่ของสหรัฐฯ​ เริ่มเปลี่ยนนโยบาย Self Check-out กันหลายราย เช่น Costco กลับมามีพนักงานประกบที่เครื่องชำระเงินด้วยตนเอง ขณะที่ Walmart กับ Kroger ทดลองนำเครื่องชำระเงินด้วยตนเองออกบางสาขาแล้ว

Source

]]>
1462735
สรุป 10 ปี “เซ็นทรัล รีเทล” ในตลาด “เวียดนาม” ปฏิบัติการส่งแบรนด์ค้าปลีกยึดทุกมุมเมือง https://positioningmag.com/1420626 Thu, 23 Feb 2023 12:57:09 +0000 https://positioningmag.com/?p=1420626 “เซ็นทรัล รีเทล” เข้าตลาด “เวียดนาม” ครบ 10 ปี จนปัจจุบันเป็น “ไฮเปอร์มาร์เก็ต” รายใหญ่ที่สุดของประเทศ ตั้งเป้าขยายจำนวนสาขาอีกเท่าตัวภายในปี 2570 ปักหมุดเป็นผู้นำในตลาดหัวเมืองเทียร์ 3-4 เติบโตไปพร้อมกับความเจริญของเวียดนามที่คาดว่าประชากร ‘ครึ่งหนึ่ง’ จะเข้ามาอาศัยในเขตเมืองภายในอีก 6 ปีข้างหน้า

หนึ่งในพอร์ตสำคัญที่กำลังโตวันโตคืนของ บริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ CRC คือตลาด “เวียดนาม” หลังเข้าตลาดครบ 10 ปี ปัจจุบันเซ็นทรัล รีเทลกลายเป็นผู้นำตลาดในหลายแง่มุม โดยเป็นอันดับ 1 “ไฮเปอร์มาร์เก็ต” รายใหญ่ที่สุด มีส่วนแบ่งตลาดถึง 62% พ่วงตำแหน่งบริษัทรีเทลต่างประเทศที่ใหญ่ที่สุดในเวียดนาม

“ญนน์ โภคทรัพย์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร CRC เล่าย้อนถึงก้าวแรกของเซ็นทรัล รีเทลเมื่อปี 2555 เริ่มทดลองตลาดนี้ด้วยการดันสินค้าแฟชันเข้าไปจำหน่ายก่อน ซึ่งยังไม่ประสบความสำเร็จมากนักด้วยกำลังซื้อของคนเวียดนามสมัยนั้น แต่ก็ทำให้เซ็นทรัล รีเทลได้เรียนรู้ตลาดและเห็นช่องทาง

(ซ้าย) “โอลิวิเยร์ แลงเล็ต” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เซ็นทรัล รีเทล เวียดนาม และ (ขวา) “ญนน์ โภคทรัพย์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น

กระทั่งปี 2558 เซ็นทรัล รีเทลใช้วิธีเข้าซื้อหุ้นส่วนกิจการท้องถิ่น คือ “เหงียนคิม” (NK: Nguyen Kim) ซึ่งเป็นเชนร้านเครื่องใช้ไฟฟ้า (ต่อมาจะเทกโอเวอร์ทั้งหมดในปี 2562) กับ “ลานชี มาร์ท” (Lanchi Mart) เป็นซูเปอร์มาร์เก็ตที่ขยายตัวในเขตเวียดนามเหนือ

จุดเปลี่ยนสำคัญต่อเนื่องคือปี 2559 บริษัทเข้าเทกโอเวอร์ “บิ๊กซี เวียดนาม” (Big C) ซึ่งเป็นไฮเปอร์มาร์เก็ต อย่างไรก็ตาม ชื่อห้างฯ “บิ๊กซี” นั้นลิขสิทธิ์ยังอยู่กับกลุ่มบีเจซี เซ็นทรัล รีเทลจึงต้อง ‘รีแบรนด์’ ใหม่ทั้งหมดโดยใช้ชื่อ “GO!” (โก!) ซึ่งปีนี้คาดว่าจะรีแบรนด์บิ๊กซีเปลี่ยนเป็น GO! ได้ครบทุกสาขา

ลำดับการพัฒนาของ CRC ในเวียดนาม

 

แตกกิ่งก้านสู่โมเดลค้าปลีกหลายรูปแบบ

หลังเซ็นทรัล รีเทลลงรากฐานในเวียดนามได้แล้ว สิ่งที่บริษัทพัฒนาต่อคือการสร้างโมเดลธุรกิจใหม่ๆ ให้เหมาะกับตลาด

ในปี 2561 บริษัทเริ่มเปิดโมเดลค้าปลีก “GO! Mall” ลักษณะเป็นศูนย์การค้า 2 ชั้น พื้นที่ประมาณ 4,500 ตร.ม. แบ่งพื้นที่ชั้นล่างเป็นพื้นที่เช่าร้านค้า-ร้านอาหาร ตอบสนองด้านไลฟ์สไตล์ ช้อปปิ้ง ทานข้าวนอกบ้าน ส่วนชั้นบนเป็นไฮเปอร์มาร์เก็ต GO! โมเดลนี้จะมาตอบโจทย์พื้นที่ชุมชนเมืองที่มีกำลังซื้อสูง

เซ็นทรัล รีเทล เวียดนาม
บรรยากาศด้านใน GO! Mall สาขา Di An ชั้นล่างเป็นพื้นที่ไลฟ์สไตล์ขายสินค้าแฟชั่น และร้านอาหาร

ตามด้วยปี 2563-64 นำโมเดลประเภทซูเปอร์มาร์เก็ต เข้ามาเสริมทัพ โดยแบ่งเป็น “Mini go!” ที่ใช้บุกตลาดหัวเมืองเทียร์ 3-4 วางตนเองเป็นผู้นำโมเดิร์นเทรดของเมืองนั้นๆ และนำแบรนด์ “Tops Market” จากไทยเข้ามาลงทำเลหัวเมืองเทียร์ 1-2 ในจุดที่ลูกค้ามีกำลังซื้อสูง

เซ็นทรัล รีเทล เวียดนาม
Mini go! ซูเปอร์มาร์เก็ตสาขา Tan Uyen

ณ สิ้นปี 2564 เซ็นทรัล รีเทลมีค้าปลีกสะสมกว่า 300 ร้านค้า คิดเป็นพื้นที่ขายรวม 1.2 ล้านตร.ม. ครอบคลุม 40 จังหวัด ทำยอดขายไปมากกว่า 38,000 ล้านบาท ขณะที่ปี 2565 มีตัวเลขฐานลูกค้าสะสม 66 ล้านคน

สรุปแบรนด์ค้าปลีกหลักๆ ของเซ็นทรัล รีเทลที่เปิดตัวแล้วในเวียดนาม

  • GO! Mall จำนวน 39 สาขา
  • GO! ไฮเปอร์มาร์เก็ต จำนวน 38 สาขา
  • Tops Market ซูเปอร์มาร์เก็ต จำนวน 10 สาขา
  • Mini go! ซูเปอร์มาร์เก็ต จำนวน 3 สาขา
  • Lanchi Mart ซูเปอร์มาร์เก็ต จำนวน 24 สาขา
  • Nguyen Kim ร้านเครื่องใช้ไฟฟ้า จำนวน 59 สาขา

(*สำหรับ Mini go! จะเน้นตลาดเวียดนามกลางและเวียดนามใต้ ส่วน Lanchi Mart จะเน้นตลาดเวียดนามเหนือที่แบรนด์มีชื่อเสียงอยู่แล้ว)

พอร์ตโฟลิโอแบรนด์ค้าปลีกของ CRC เวียดนาม

 

ทำไม “เวียดนาม” จึงเนื้อหอมมากสำหรับค้าปลีก

นั่นเป็นเพียงจุดเริ่มต้น หลังจากนี้เซ็นทรัล รีเทลจะทุ่มเม็ดเงินการลงทุนอีกเพราะตลาดนี้มีแนวโน้มเป็น ‘ดาวรุ่ง’ ในการสร้างรายได้ “โอลิวิเยร์ แลงเล็ต” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เซ็นทรัล รีเทล เวียดนาม ชี้ให้เห็นปัจจัยหลัก 4 ข้อที่ทำให้เวียดนามน่าสนใจ ดังนี้

  1. การเติบโตทางเศรษฐกิจของเวียดนามจะขยายตัวมากกว่าประเทศไทย โดยการคาดการณ์ปี 2568 จีดีพีเวียดนามจะโต 2% ขณะที่ไทยจะโตเพียง 3.5%
  2. ประชากรเวียดนามขนาด 100 ล้านคนครึ่งหนึ่งจะกลายมาเป็น “คนเมือง” โดยคาดการณ์ปี 2572 ประชาชนเวียดนาม 50% จะมาอาศัยในเขตเมือง ส่งให้มีความต้องการจับจ่ายในโมเดิร์นเทรด
  3. มีพื้นที่ให้โมเดิร์นเทรดเติบโตได้อีกมาก โดยปัจจุบันค้าปลีกประเภทโมเดิร์นเทรดมีสัดส่วนเพียง 11% ของค้าปลีกทั้งหมด คาดว่าจะเพิ่มสัดส่วนเป็น 13% ภายในปี 2570 ซึ่งก็ยังถือเป็นสัดส่วนที่ต่ำมาก
  4. ประเทศท่องเที่ยวแห่งใหม่ จะทำให้มีกำลังซื้อจากนักท่องเที่ยวเข้ามาเสริมด้วย
เซ็นทรัล รีเทล เวียดนาม
บรรยากาศด้านใน Mini go! ซูเปอร์มาร์เก็ตที่เน้นเจาะเมืองเทียร์ 3-4 เป็นผู้นำตลาดโมเดิร์นเทรดในพื้นที่นั้นๆ

 

ไปต่อ! ปี 2570 หมุดหมายจำนวนสาขาโตเป็นเท่าตัว

ด้วยความเป็นดาวรุ่งของเวียดนาม ทำให้เซ็นทรัล รีเทลจะโหมตลาดมากยิ่งขึ้น โดยญนน์ประกาศงบการลงทุนในเวียดนามจากนี้จนถึงปี 2570 จะลงทุนเพิ่มอีก 50,000 ล้านบาท และวางเป้าหมายการขยายตัว ดังนี้

  • มีศูนย์การค้าและร้านค้ามากกว่า 600 สาขา
  • ครอบคลุมพื้นที่เพิ่มขึ้นเป็น 57 จังหวัด (จากทั้งหมด 63 จังหวัด)
  • มีพื้นที่ขายมากกว่า 2 ล้านตร.ม.
  • สร้างยอดขายขึ้นไปแตะ 150,000 ล้านบาท
  • ขึ้นเป็นอันดับ 1 ด้าน Omnichannel ในกลุ่มธุรกิจฟู้ด
  • ขึ้นเป็นอันดับ 2 ในกลุ่มพร็อพเพอร์ตี้ (เช่น ศูนย์การค้า)

เห็นได้ว่าอีกเพียง 4 ปีจากนี้ เซ็นทรัล รีเทล เวียดนามจะขยายสาขาเป็นเท่าตัว และต้องการทำยอดขายมากขึ้นเกือบ 4 เท่า!

ปัจจุบันเซ็นทรัล รีเทล เวียดนาม มีสาขาครอบคลุม 40 จังหวัด เป้าหมายปี 2570 ต้องการไปให้ถึง 57 จังหวัด

 

เริ่มปี 2566 ลุยก่อสร้าง-ซื้อที่ดินพรึบ

จากวิสัยทัศน์ภาพใหญ่ดังกล่าว ปี 2566 นี้จะได้เห็น CRC เวียดนามใช้งบลงทุน 6,000 ล้านบาท เร่งการก่อสร้าง รีโนเวตสาขาเดิม และซื้อที่ดินเตรียมพร้อมสู่อนาคต โดยมีแผนงานหลักด้านการขยายสาขา ดังนี้

  • GO! Mall
    – ก่อสร้าง 5-7 สาขา
    – จัดซื้อที่ดินเพิ่ม 5-8 แปลง
  • GO! Hypermarket
    – รีแบรนด์จากบิ๊กซีและรีโนเวตเสร็จสิ้น 10 สาขา
  • Tops Market และ Mini go!
    – ก่อสร้าง 8-10 สาขา
    – จัดซื้อที่ดินเพิ่ม 15-20 แปลง
  • Nguyen Kim (NK)
    – ก่อสร้าง 3-5 สาขา
    – รีโนเวต 10-12 สาขา

นอกจากนี้ จะมี “ธุรกิจใหม่” ที่เปิดตัวทั้งในไทยและเวียดนาม ตามที่เซ็นทรัล รีเทลมีการให้ข่าวไปเมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา

โอลิวิแยร์ยังกล่าวถึงแผนการสร้าง ‘synergy’ ภายในเวียดนามเอง และระหว่าง CRC ไทย-เวียดนาม ที่จะได้เห็นมากขึ้นในปีนี้ เช่น โมเดลใหม่ของการผนวก Tops กับ NK, การสร้าง Omnichannel ผ่านช่องทางเดียวกันในกลุ่มธุรกิจฟู้ด, การส่งสินค้า private label จาก Tops ประเทศไทยไปมากกว่า 300 SKUs, สั่งซื้อนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศเพื่อมาจำหน่ายทั้งไทยและเวียดนามเพื่อให้ได้ Economy of scale, ส่งออกของสดจากเวียดนามไปประเทศไทย

ร้านเครื่องใช้ไฟฟ้า Nguyen Kim ภายในศูนย์การค้า GO! Mall

ที่สำคัญคือ CRC เวียดนามจะเรียนรู้ระบบ ‘The 1’ จากประเทศไทย นำมาวางระบบ CRM รวมทั้งเครือในเวียดนามด้วย โดยที่ผ่านมาระบบ CRM ของฝั่งเวียดนามจะแยกกันตามแบรนด์ เช่น Big Xu ของลูกค้าบิ๊กซี, GO! App, Tops Online App ต่อไปจะได้เห็นการปรับเพื่อรวมเป็นหนึ่งในแบบเดียวกับ The 1

การแข่งขันด้านค้าปลีกในเวียดนามนั้นมีผู้เล่นหลายรายทั้งในประเทศและต่างประเทศ ข้อมูลจากสำนักข่าวท้องถิ่น Vietnam Report JSC กล่าวถึงชื่อผู้เล่นรายใหญ่ของเวียดนามเอง เช่น Wincommerce ในเครือ Masan Group บริษัทเอกชนยักษ์ใหญ่ และผู้เล่นจากต่างประเทศ นอกจาก CRC ที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มนี้ ยังมีแบรนด์ MM Mega Market จากประเทศไทย, Aeon จากญี่ปุ่น และ Lotte จากเกาหลีใต้ เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม เมื่อถามถึงความท้าทายในตลาดเวียดนาม กลับไม่ใช่เรื่องของคู่แข่ง แต่ญนน์มองว่าเป็นเรื่องของ “การหาที่ดินและขออนุญาตก่อสร้าง” มากกว่า กลายเป็นว่าอุปสรรคหลักที่เวียดนามคือความซับซ้อนในการขออนุญาตก่อสร้างที่ทำให้สปีดมากกว่านี้ได้ยาก โดยที่ไทยการสร้างแต่ละสาขาใช้เวลาเพียง 1 ปีสร้างเสร็จ แต่ในเวียดนามอาจต้องใช้เวลาถึง 2-3 ปีเลยทีเดียว

]]>
1420626
เปิดแผน 3 ปียกเครื่อง ‘โลตัส’ ใหม่! หมดยุคมุ่ง ‘ขายของ’ แต่เป็น ‘สมาร์ท คอมมูนิตี้ เซ็นเตอร์’ มัดใจ New Gen https://positioningmag.com/1402428 Thu, 29 Sep 2022 10:46:46 +0000 https://positioningmag.com/?p=1402428 ตั้งแต่ปี 2020 ที่ โลตัส (Lotus’s) ได้กลับมาอยู่ในมือ เจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์ อีกครั้งพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็น Logo ที่สื่อถึงความ Smart มากขึ้น หรือการเปลี่ยนรอยัลตี้โปรแกรมจาก Club Card สู่ My Lotus’s (มายโลตัส) ล่าสุด ก็เตรียม ยกเครื่องสาขาโฉมใหม่ เข้าสู่ New Smart Retail หรือ Retail 5.0

ย้อนดูวิวัฒนาการรีเทล

สมพงษ์ รุ่งนิรัติศัย ประธานคณะผู้บริหาร ธุรกิจโลตัส ประเทศไทย เล่าถึงเส้นทาง 28 ปีเต็มของโลตัสว่า ในช่วงของ Retail 1.0 นั้น เป็นช่วงเริ่มต้นของ ไฮเปอร์มาร์เก็ต ที่ได้รับอิทธิพลมาจากห้างฯ Walmart ที่จะเป็นเป็นพื้นกว้างมี 2 ชั้น จากนั้นรูปแบบดังกล่าวก็ได้รับความนิยมและกระจายไปทั่วประเทศ

จากนั้นก็มาถึงยุค Retail 2.0 ที่มีความเป็น Mall มากขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า และเพิ่มความสะดวกสบายซึ่งตอบโจทย์กับพฤติกรรมคนไทยมากกว่า จนมา Retail 3.0 เป็นการมุ่งสู่ ออนไลน์ รวมถึงมีการขยายในรูปแบบ ร้านเล็ก เพื่อกระจายเข้าสู่ชุมชนได้มากขึ้น

มาถึง Retail 4.0 จะเป็นในลักษณะ Multiformat ซึ่งจะเป็นการเชื่อมออนไลน์สู่ออฟไลน์ ไม่ว่าจะเป็นร้านใหญ่ไฮเปอร์มาร์เก็ต ซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านสะดวกซื้อ เพื่อให้บริการลูกค้าแบบ ไร้รอยต่อ ซึ่งปัจจุบัน โลตัสที่มีสาขารวมกว่า 2,700 สาขา สามารถให้บริการออนไลน์ได้ทุกสาขา และสามารถส่งได้ทั้งแบบ On Demand และ Next Day แต่พาร์ทนี้เป็นแค่ เฟสแรก ของการปรับตัวสู่ออนไลน์ของโลตัสเท่านั้น

Retail 5.0 หน้าร้านเป็นแค่คลังสินค้า

หากพิจารณาถึง Retail 4.0 ก็น่าจะเรียกได้ว่าครบทุกความต้องการแล้ว แต่ สมพงษ์ อธิบายว่า ยังไม่ตอบสนองความต้องการได้ทั้งหมด เพราะแม้จะสามารถสั่งสินค้าออนไลน์จากสาขาใกล้บ้านได้ แต่เนื่องจากความท้าทายหลักของธุรกิจรีเทลคือ สต็อกสินค้า เพราะสาขาในพื้นที่ไกลหรือสาขาย่อย ๆ ไม่ได้มีสินค้ามากเท่าสาขาใหญ่ ๆ ดังนั้น โลตัสต้องการอุดช่องว่างดังกล่าวโดยใช้สาขาเป็นจุด รับพรีออเดอร์สินค้าที่ไม่มีสต็อก โดยคาดว่าภายใน 3 ปีจากนี้ สัดส่วนยอดขายออนไลน์จะเพิ่มจาก 5% เป็น 20%

“ยุคนี้คือการแข่งกันไปถึงมือลูกค้าให้เร็วที่สุด ดังนั้น ใครไปถึงเร็วก็ยิ่งได้เปรียบ ซึ่งเรามีสาขากว่า 2,700 แห่ง ซึ่งได้เปรียบในแง่การกระจายสินค้า แต่จากนี้เราจะใกล้ชิดกับชุมชนมากขึ้น จะเริ่มทำเซอร์เวย์ความต้องการของลูกค้าในพื้นที่นั้น ๆ เพื่อหาสินค้าที่ตอบโจทย์”

แปลงโฉมโลตัสเป็นสมาร์ทคอมมูนิตี้เซ็นเตอร์

ไม่ใช่แค่ปรับแนวคิดของหน้าร้าน แต่รูปแบบคอมมูนิตี้มอลล์แบบเดิม ๆ ก็ต้องปรับเป็น สมาร์ท คอมมูนิตี้ เซ็นเตอร์ ให้เหมาะกับ New Gen เพราะคนรุ่นใหม่ ให้ความสำคัญกับไลฟ์สไตล์มากขึ้น ไม่ได้มาช้อปเน้นแค่ตอบโจทย์ฟังก์ชันนอล โดยจะมีการปรับดีไซน์ทั้งภายในภายนอก เพิ่มพื้นที่สีเขียว มีส่วน In Door – Out Door เพิ่มปริมาณร้านอาหาร เพิ่มพื้นที่ทำกิจกรรม มีลานกีฬา ลานออกกำลังกาย

“มันเป็นดิสรัปต์ของออนไลน์ ดังนั้น สาขาของโลตัสจะมุ่งแต่การขายของไม่ได้ เพราะออนไลน์ก็ซื้อได้ แต่เราต้องการสร้างประสบการณ์ เป็นพื้นที่ให้คนมาพบปะสังสรรค์ มีร้านค้าที่เทรนด์ดี้มากขึ้น เราหวังว่าพอปรับแล้วลูกค้าจะใช้เวลามากขึ้น จากปกติ 30-40 นาทีเป็น 1-2 ชั่วโมง”

เบื้องต้น โลตัสมีงบลงทุนปีละ 12,000-15,000 ล้านบาท โดยโมเดลสมาร์ท คอมมูนิตี้ เซ็นเตอร์รูปแบบใหม่นี้จะใช้งบประมาณ 3,000 ล้านบาท โดยภายใน 3 ปีคาดว่าจะสามารถรีโนเวตได้ 146 สาขา ซึ่งสาขา นอร์ธปาร์คราชพฤกษ์ ที่กำลังจะเปิดช่วงเดือนพฤศจิกายนนี้ จะถือเป็นต้นแบบของโมเดลสมาร์ท คอมมูนิตี้ เซ็นเตอร์

“โลตัสเข้าสู่ปีที่ 29 แล้ว ซึ่งต้องยอมรับว่าเราดูแก่ไปหน่อย ดังนั้น เราจึงเริ่มตั้งแต่ปรับโลโก้ใหม่ให้เทรนด์ดี้มากขึ้น แต่สิ่งสำคัญคือ การปรับโฉมโลตัส และเพิ่มสินค้าที่ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่มากขึ้น”

จับตลาดพรีเมียมและอัพเกรดเฮ้าส์แบรนด์

คงปฏิเสธไม่ได้ว่าเริ่มเห็นความต้องการ สินค้าพรีเมียม มากขึ้น ซึ่งจากนี้โลตัสก็จะขยายกลุ่มสินค้าให้ครอบคลุมตั้งแต่ล่าง-กลาง-บน ซึ่งในอดีตอาจไม่ได้เน้นกลุ่มบนมากนัก อีกทั้งจะ อัพเกรดเฮ้าส์แบรนด์ เพื่อลบภาพ Copycat โดยนำข้อมูลลูกค้ามาปรับใช้ให้มีคุณภาพในราคาจับต้องได้

“ที่ผ่านมาเราถนัดในเรื่องการทำราคาสินค้าที่ให้ความรู้สึกคุ้มค่า แต่กลุ่มพรีเมียมเราก็เห็นโอกาสมากขึ้น แต่คงยังไม่ถึงขั้นฟอร์แมทขายของนำเข้า แต่จะเป็นการเพิ่มสินค้าพรีเมียมในสาขาที่เหมาะสม ในแผนขั้นต้นมีไม่ต่ำกว่า 10 สาขา”

มุ่งสู่เพอร์เซอร์นอลไรซ์และความยั่งยืน

เมื่อช่วงต้นปี โลตัสได้ยกเครื่อง รอยัลตี้โปรแกรม จาก คลับการ์ด เป็น My Lotus’s ซึ่งปัจจุบันมีกว่า 23 ล้านบัญชี โดยโลตัสจะใช้เป็นพื้นที่ศึกษาพฤติกรรมผู้ใช้ เพื่อนำมาใช้ทำกลยุทธ์การตลาด พร้อมทั้งนำเสนอสินค้าและโปรโมชันให้ตรงความต้องการแต่ละคน รวมถึงการปรับร้านให้เหมาะสมกับลูกค้ากลุ่มเป้าหมายในแต่ละพื้นที่ ซึ่งภายใน 3 ปีคาดว่าเครือข่ายของโลตัสจะครอบคลุม 100% ของชุมชน จากปัจจุบันครอบคลุมประมาณ 75%

สำหรับแผน 3-5 ปีข้างหน้า โลตัสจะเน้น ความยั่งยืน มากขึ้น โดยจะเน้น 4 เรื่อง ได้แก่ Health and wellness, Social impact, Circular economy  และ Climate resilience

“ในยุค Retail 1.0 หรือการมาของไฮเปอร์มาร์เก็ต มันเป็นของใหม่ เราทำอะไรมันก็ตอบโจทย์ลูกค้าหมด แต่ตอนนี้ทุกอย่างมันดีขึ้น ความคาดหวังสูงขึ้น รีเทลก็ต้องปรับตัว”

]]>
1402428
ครบรอบ 3 ปี “สามย่านมิตรทาวน์” ถอดสูตรปัจจัยอะไรที่ทำให้ ‘เกิด’ ได้กลางสมรภูมิรีเทล https://positioningmag.com/1401300 Thu, 22 Sep 2022 07:29:27 +0000 https://positioningmag.com/?p=1401300 “สามย่านมิตรทาวน์” เปิดตัวครบรอบ 3 ปี พิสูจน์ตนเองยังยืนหยัดได้ท่ามกลางวิกฤตโรคระบาด โชว์ทราฟฟิกดีดทะลุเป้าที่ 79,000 คนต่อวัน อะไรคือปัจจัยที่ทำให้ศูนย์การค้าหน้าใหม่สามารถสร้างความสำเร็จได้ แม้ทำเลอยู่ไม่ห่างจากย่านสารพัดห้างฯ อย่าง “สยามสแควร์”

“สามย่านมิตรทาวน์” เป็นศูนย์การค้าแห่งแรกที่ เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ คอมเมอร์เชียล (ประเทศไทย) หรือ FPCT พัฒนาและบริหาร ถือเป็นผู้เล่นใหม่ที่ก้าวเข้ามาในธุรกิจศูนย์การค้า และถูกรับน้องโดยบังเอิญจาก COVID-19 ซึ่งเริ่มระบาดขึ้นภายในระยะเวลาไม่กี่เดือนหลังเปิดศูนย์ฯ

แต่ศูนย์ฯ สามารถประคองตัวผ่านช่วงเวลาการล็อกดาวน์และกลับมาคึกคักได้อีกครั้ง โดยแม่ทัพใหญ่ “ธีรนันท์ กรศรีทิพา” รองกรรมการผู้จัดการ สายงานพัฒนาธุรกิจรีเทล FPCT ระบุว่า ช่วงเดือนกรกฎาคม-กันยายน 2565 ศูนย์ฯ มีทราฟฟิกเพิ่มเป็น 79,000 คนต่อวันแล้ว หากเทียบกับช่วงก่อนเกิดโรคระบาด ตัวเลขนี้สูงขึ้นถึง 35% และเชื่อว่าเดือนตุลาคม-ธันวาคม 2565 ทราฟฟิกจะโตขึ้นอีก 10% เพราะเป็นหน้าเทศกาลที่คนจะออกมาทำกิจกรรมนอกบ้านมากขึ้น

สามย่านมิตรทาวน์

อย่างน้อยๆ จนถึงสิ้นปีนี้ทราฟฟิกน่าจะทะลุ 80,000 คนต่อวัน เรียกว่าทราฟฟิกของสามย่านมิตรทาวน์ทำได้เกินเป้าที่เคยตั้งไว้เมื่อต้นปี 2565 ซึ่งขณะนั้นคาดว่าทราฟฟิกจะอยู่ราวๆ 70,000 คนต่อวัน

ในโอกาสครบรอบ 3 ปีของสามย่านมิตรทาวน์ ธีรนันท์วิเคราะห์ “สูตรความสำเร็จ” ของบริษัทที่ทำให้ศูนย์ฯ แจ้งเกิดได้ ซึ่งมีทั้งประเด็นโครงสร้างพื้นฐานของศูนย์ฯ เองและการจัดการของฝ่ายบริหารที่ทำให้ติดตลาด รวมทั้งหมด 5 ปัจจัย ดังนี้

 

1.ทำเล ทำเล ทำเล

สามย่านเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยตั้งแต่แบบดั้งเดิมจนถึงคอนโดมิเนียมสมัยใหม่ (ต่างจากพื้นที่พาณิชย์ย่านสยามสแควร์ซึ่งโดยรอบมีที่อยู่อาศัยน้อยกว่า) อีกทั้งสถานีสามย่านยังติด Top 10 สถานี MRT ที่มีคนเข้าออกมากที่สุด และที่สำคัญมากคือ รอบๆ เป็นสถาบันการศึกษา

การมีนักเรียนนักศึกษาเป็นกลุ่มเป้าหมายมีเสน่ห์ที่แตกต่างคือ แต่ละปีสถาบันฯ จะรับนักเรียนนักศึกษากลุ่มใหม่เข้ามาเสมอ และหากเด็กๆ น้องใหม่เหล่านี้ยังไม่เคยมาสามย่าน ย่อมอยากจะมาเดินเล่นที่สามย่านมิตรทาวน์สักครั้ง

 

2.การเป็นโครงการมิกซ์ยูส

เมื่อไม่ได้เป็นศูนย์การค้าทั้งโครงการ แต่ผสมผสานทั้งตึกออฟฟิศ โรงแรม และคอนโดฯ ทำให้แต่ละส่วนสนับสนุนกันและกัน กรณีของศูนย์ฯ คือจะได้ทราฟฟิกจากอีก 3 ส่วนเข้ามาหล่อเลี้ยงโครงการแน่นอน

ปัจจุบันอัตราการใช้พื้นที่ทุกส่วนแทบจะเต็มทั้งหมดแล้ว ได้แก่ โซนศูนย์การค้า มีผู้เช่า 98% ของพื้นที่, โซนออฟฟิศ มีผู้เช่า 95% ของพื้นที่, โซนโรงแรม อัตราเข้าพักแตะ 90% และคอนโดมิเนียม ขายหมด 100% (จำนวนห้องชุด 500 กว่ายูนิต)

เมื่อมีคนหลากหลายทำให้ทราฟฟิกมีส่วนผสมหลายวัย แบ่งเป็น นักเรียน-นิสิต 50% พนักงานออฟฟิศ 40% ครอบครัวและเด็ก 10% (ส่วนใหญ่กลุ่มครอบครัวจะมาในช่วงเสาร์-อาทิตย์)

สามย่านมิตรทาวน์

3.ส่วนผสมของร้านค้า/ผู้เช่าโดนใจกลุ่มเป้าหมาย

ส่วนผสมร้านค้าในศูนย์ฯ 40% เป็นร้านอาหาร เป็นประเภทร้านที่มีมากที่สุด เพราะเข้าใจไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ส่วนใหญ่มาศูนย์ฯ เพื่อทานอาหาร

รองๆ ลงมาเป็นโซน Lifelong Learning มีโรงเรียนสอนทักษะหลายประเภทที่เรียนได้ทั้งวัยเรียนและวัยทำงาน รวมถึงโซนช้อปปิ้งก็เป็นสินค้าทั่วไปที่กลุ่มเป้าหมายต้องการ เช่น Muji ถือเป็นร้านแม่เหล็กและขายดีมาก

สามย่านมิตรทาวน์ยังมีไฮไลต์ที่โซน 24 ชั่วโมงซึ่งตรงจริตกับกลุ่มเป้าหมาย ไม่ว่าจะเป็น Samyan CO-OP พื้นที่อ่านหนังสือ ประชุม ทำงานได้ฟรี หรือ AIS E-Sports ที่ได้รับความนิยมสูงขึ้นเรื่อยๆ

โซนร้านอาหาร

“ขณะนี้นิสิตกลับมาเรียนออนไซต์เป็นส่วนใหญ่แล้ว แต่ถึงแม้ว่ามีบางวันอาจารย์อาจจะให้เรียนออนไลน์ น้องๆ ก็จะออกไปนั่งเรียนออนไลน์พร้อมกับเพื่อนอยู่ดี เพราะความรู้สึกที่อยากจะกลับมาอยู่กับกลุ่มเพื่อนของเขา” ธีรนันท์เจาะอินไซต์นักเรียนนักศึกษา ซึ่งทำให้โซน 24 ชั่วโมงจะมีคนคึกคักไปจนถึงประมาณตี 2-3

พื้นที่ที่หลากหลายทำให้ปัจจุบันลูกค้าจะใช้เวลาเฉลี่ยครั้งละ 3-4 ชั่วโมงในศูนย์ฯ

 

4.อีเวนต์มาร์เก็ตติ้ง

ประเด็นนี้ถือว่าเป็นหัวใจในการปั้นให้สามย่านมิตรทาวน์ติดตลาด เพราะถ้าไม่มีการตลาดใดๆ ทำเลนี้มีศูนย์การค้าพร้อมดึงทราฟฟิกอยู่แล้ว ไล่ตั้งแต่ MBK Center, สยามสแควร์ ไปจนถึงสยามพารากอน

“คนอาจมองว่าเราไม่เห็นต้องทำมาร์เก็ตติ้งอะไรมากมาย เพราะเราตั้งอยู่กลางกลุ่มลูกค้าอยู่แล้ว ไม่จริงนะคะ เพราะคนรุ่นใหม่อย่างไรเขาก็ต้องการแบรนด์ ต้องการการตลาดดึงให้เขามาเดินที่นี่” ธีรนันท์กล่าว

GIANT PROJECTION MAPPING LANDMARK ของ NST fair : Science Carnival Bangkok

หลักคิดการพัฒนาอีเวนต์ของสามย่านมิตรทาวน์คือต้อง “เร็ว” และ “ตรงรสนิยมเป้าหมาย” เพราะกระแสของคนยุคนี้มาไวไปไว มีเรื่องฮิตขึ้นมาอย่างหนึ่งต้องจับกระแสจัดงานทันที โดยงานตามเทรนด์เหล่านี้อาจจะทำในไซส์ XS มีพื้นที่ให้ถ่ายรูป ทำคอนเทนต์ลงโซเชียลหน่อย ถือว่าสำเร็จตามจุดประสงค์

“เมื่อเราทำอีเวนต์ที่มันใช่ ตรงกับทาร์เก็ตเราจริงๆ เด็กรุ่นนี้เขา Digital Native อยู่แล้ว เขาจะถ่ายรูปลงโซเชียล ช่วยแชร์ต่อให้”

 

5.เป็นพาร์ทเนอร์เติบโตไปกับผู้เช่า

ธีรนันท์กล่าวว่า ที่สามย่านมิตรทาวน์จะมีวิธีคิดแตกต่าง คือไม่ได้ให้ความสำคัญกับ ‘ความเชี่ยวชาญ’ ของผู้เช่าเป็นหลัก แต่พร้อมจะเติบโตไปกับผู้เช่าที่เป็น SMEs หน้าใหม่ เชื่อว่าหลายแบรนด์ไทยมีศักยภาพ และทำให้ศูนย์ฯ มีร้านที่แตกต่างจากที่อื่นด้วย

หลังจากครบ 3 ปี ศูนย์ฯ เพิ่งมีการต่อสัญญารอบสองไป โดยพบว่าร้านเช่าที่ต้องโบกมือลากันมีประมาณ 5% เท่านั้น

ส่วนการพัฒนาในอนาคตที่จะมีการปรับปรุงต่อไป ธีรนันท์แย้มว่าบริษัทจะมุ่งเน้นกับชั้น 2-3 ของศูนย์ฯ ให้มีชีวิตชีวามากขึ้นกว่านี้

ปัจจุบัน FPCT มีพื้นที่รีเทลที่บริหาร 3 แห่ง นอกจากสามย่านมิตรทาวน์ ล่าสุดคือการเปิดศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ (QSNCC) บริษัทนี้เป็นผู้บริหารส่วนรีเทลให้ และในวันที่ 3 ตุลาคมนี้ จะเริ่มเปิดเฟส 1 โซนรีเทลของตึก “สีลม เอจ” ซึ่งจะเป็นโซน 24 ชั่วโมงอีกแห่งบนถนนพระราม 4 ต้องรอดูต่อไปว่า ‘สูตร’ การบริหารที่สามย่านมิตรทาวน์จะถูกนำไปใช้ในรีเทลอื่นๆ ที่มีกลุ่มลูกค้าต่างกันอย่างไร

]]>
1401300
เปิดเส้นทาง 3 ปี “เซ็นทรัล วิลเลจ” กับการสร้างแลนด์มาร์กลักชูรี่เอาท์เล็ตระดับโลกในไทย https://positioningmag.com/1400623 Tue, 20 Sep 2022 02:00:40 +0000 https://positioningmag.com/?p=1400623

เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า “เซ็นทรัลพัฒนา” เป็นผู้นำในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในหลากหลายโครงการ ทั้งศูนย์การค้า, ที่อยู่อาศัย และโรงแรม แต่อีกหนึ่งโครงการที่สร้างความปังไม่แพ้กันก็คือ “เซ็นทรัลวิลเลจ” ลักชูรี่เอาท์เล็ตแห่งใหญ่ในกรุงเทพฯ ในปีนี้ได้ฉลองครบรอบการเปิดให้บริการ 3 ปีแล้ว

เซ็นทรัล วิลเลจ ได้เปิดให้บริการเมื่อเดือนสิงหาคม 2562 ภายใต้คอนเซ็ปต์ Bangkok Luxury Outlet มีมูลค่าโครงการรวม 5,000 ล้านบาท บนพื้นที่ 36,000 ตร.ม. มีที่จอดรถมากกว่า 2,000 คัน พร้อมกับได้พาร์ทเนอร์คนสำคัญอย่าง บริษัท มิตซูบิชิ เอสเตท (ไทยแลนด์) หนึ่งในบริษัท มิตซูบิชิ เอสเตท จำกัด (มหาชน) บิ๊กอสังหาฯ ระดับโลก ที่มีประสบการณ์ในการพัฒนาเอาท์เล็ตชื่อดังของเอเชีย

จุดเด่นที่สำคัญของเซ็นทรัล วิลเลจ นอกจากจะมีสินค้าแบรนด์เนมมากกว่า 300 แบรนด์ ครอบคลุมทุกไลฟ์สไตล์แล้ว แถมยังเดินทางสะดวกจากในเมือง Bangkok CBD เพียง 30 นาที และใกล้สนามบินสุวรรณภูมิ พร้อมกับมีบริการรถรับ-ส่ง Shuttle Bus จากเซ็นทรัลเวิลด์ และ Shuttle Van จากเซ็นทรัลพระราม 9 อีกด้วย

ดร. ณัฐกิตติ์ ตั้งพูลสินธนา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการตลาดของเซ็นทรัลพัฒนา กล่าวว่า

“เซ็นทรัล วิลเลจ เป็นโครงการแรกที่พลิกโฉมวงการรีเทลไทยด้วยการนำลักชูรี่เอาท์เล็ตระดับโลกเข้ามาในประเทศไทยเป็นแห่งแรก มอบประสบการณ์การช้อปแบรนด์เนมระดับโลก โดยที่ผ่านมา เซ็นทรัล วิลเลจ ประสบความสำเร็จและได้รับกระแสตอบรับที่ดีจากนักช้อปทั้งไทย, Expat และนักท่องเที่ยวต่างชาติ โดยกลยุทธ์สำคัญที่สร้างความแตกต่างคือ การสร้าง Omnichannel Platform ของตัวเอง ผ่าน Live Streaming, Chat & Shop ที่ทั้งสร้าง Engagement กับลูกค้าได้ทั่วประเทศเจาะกลุ่ม Top Spenders และ Quality Traffic ทั้งใน-นอก Catchmentและสร้างยอดขายให้แบรนด์พันธมิตรได้อย่างแท้จริง”

ตลอดเส้นทาง 3 ปีที่ผ่านมา ได้พิสูจน์แล้วว่าเซ็นทรัล วิลเลจ เป็นมากกว่าการช้อปปิ้งแบรนด์เนม แต่เป็น Luxury Lifestyle Destination ที่สมบูรณ์แบบที่สุดอีกแห่งหนึ่ง เป็นอีกหนึ่งแลนด์มาร์กสำคัญของกรุงเทพฯ ไปโดยปริยาย

4 กลยุทธ์ปั้น “เซ็นทรัล วิลเลจ” สำเร็จยืนหนึ่งตลอดกาล ได้แก่


1.Shoppertainment Experience

ใครที่เคยเดินทางไปต่างประเทศอาจจะได้เคยสัมผัสเอาท์เล็ตที่ต่างประเทศกันมาบ้าง ที่เซ็นทรัล วิลเลจได้สร้างประสบการณ์พิเศษ เหมือนเดินช้อปในเอาท์เล็ตเมืองนอกเลยทีเดียว พลาดไม่ได้กับอีเว้นท์ และกิจกรรมสุดพิเศษฉลองครบรอบ 3 ปี ได้ Collaboration แบรนด์ระดับโลก Central Village Anniversary Merry Go Round with Marimekko Mini Installation เนรมิตม้าหมุนสีขาวดีไซน์คลาสสิคตระการตา เป็นจุดเช็คอินแห่งใหม่ที่ทุกคนต้องไม่พลาด! พร้อมกับสนุกกับ Mini Concert ศิลปินดัง ส้ม มารี, ไบร์ทนรภัทร และ Inflatable Playground สไลเดอร์และบ่อบอลขนาดยักษ์กว่าหมื่นลูก โดยปลายปีนี้ เตรียมพบเซอร์ไพรส์สุดยิ่งใหญ่กับเทศกาลแห่งความสุขส่งท้ายปี พร้อมต้นคริสต์มาสยักษ์และการประดับไฟทั่วทั้งพื้นที่ สร้าง Festive Vibes ในบรรยากาศเอาท์เล็ตเมืองนอก


2. ยกทัพมากกว่า 300 แบรนด์ ครอบคลุมทุกไลฟ์สไตล์

ในเอาท์เล็ตบางแห่งอาจจะมีสินค้าแค่บางกลุ่ม หรือเป็นสินค้าลักชูรี่เพียงอย่างเดียว แต่เซ็นทรัล วิลเลจได้ขนแบรนด์ชั้นนำ ครบครัน ทุกไลฟ์สไตล์ตั้งแต่ลักชูรี่, แฟชั่น, กีฬา, เครื่องสำอาง เรียกว่าตอบโจทย์ความต้องการของทุกกลุ่มลูกค้า ทำให้ปัจจุบันเมื่อรวม 2 เฟส มีแบรนด์ชั้นนำ 300 แบรนด์ อาทิ Salvatore Ferragamo, Coach, Ermenegildo Zegna, Kate Spade, Kenzo, Marimekko, Max & Co, MCQ, Michael Kors, Moschino, Outlet by Club21, Polo Ralph Lauren, Valentino, Vivienne Westwood, Bath & Body Works, Coccinelle และJim Thompson


3. ยอดขายพุ่ง ผสาน Omnichannel

ถึงแม้ว่าในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ธุรกิจค้าปลีกจะโดนผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 แต่หลังจากการผ่อนคลายมาตรการต่างๆ และเริ่มเปิดประเทศต้อนรับนักท่องเที่ยว ทำให้เซ็นทรัล วิลเลจมียอดทราฟฟิกเพิ่มขึ้นกว่า 3 เท่า/เดือน มียอดการซื้อเฉลี่ยเพิ่มขึ้นกว่า 44% (เปรียบเทียบปี 2021 กับ 2022) อีกหนึ่งจุดแข็งคือ การทำ Live Streaming ที่ประสบความสำเร็จ เป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์สำคัญในการทำ Omnichannel ช่วยสร้างยอดขายให้กับร้านค้าเพิ่มขึ้น โดยที่ปัจจุบันนักท่องเที่ยวที่เข้ามาช้อปปิ้งในศูนย์ฯ 3 อันดับแรก ได้แก่ อินเดีย ญี่ปุ่น และสิงคโปร์


4.ฐานลูกค้ากำลังซื้อสูง

เซ็นทรัล วิลเลจมีกลุ่มลูกค้าที่เป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อสูง ผนวกกับกลยุทธ์ในการสร้างคอมมูนิตี้ใหม่ๆ ยิ่งทำให้เกิดการดึงลูกค้าที่มีกำลังซื้อจากศูนย์การค้าสาขาอื่นที่มีอยู่ทั่วประเทศมาต่อยอดทำ CRM Marketing โดยล่าสุด ได้ร่วมกับเซ็นทรัล เชียงใหม่ ดึงกลุ่ม Top spender จัดทริปช้อปปิ้งที่ศูนย์ฯ อีกทั้ง เจาะกลุ่มไลฟ์สไตล์หลากหลาย ทั้งครอบครัว กลุ่มสปอร์ต ที่ลงลึกทุกประเภทกีฬา, จัดกิจกรรม Supercar meeting, งาน Wine Testing ที่จับกลุ่มคนมีกำลังซื้อสูงของศูนย์การค้าเซ็นทรัลสาขาอื่นๆ ทั่วประเทศ

สำหรับแคมเปญ Central Village 3rd Anniversary Celebration ฉลองครบรอบ 3 ปี แฮปปี้ช้อปเดย์ ผนึกกำลังพาทเนอร์และแบรนด์ชั้นนำพิเศษเฉพาะที่เซ็นทรัล วิลเลจเท่านั้น ลดสูงสุด 90%* อาทิ  Adidas ลดสูงสุด 70%, Coach ลดสูงสุด 70%, Michael Kors ลดสูงสุด 70% และลดเพิ่ม 15% เมื่อช้อปสินค้าที่ร่วมรายการ 2 ชิ้นขึ้นไป, Kate Spade ลดสูงสุด 80%, Polo Ralph Lauren ลดสูงสุด 70% Outlet by Club21 ลดสูงสุด 90%, Coccinelle ลดสูงสุด 80% และลดเพิ่ม 10% เมื่อช้อปสินค้าที่ร่วมรายการครบ 2 ชิ้น, Marimekko ลดสูงสุด 60% รับฟรี Unikko Cushion Cover* เมื่อซื้อสินค้า 12,000 บาท ขึ้นไป, Runway Eighty ลดสูงสุด 80% และลดเพิ่ม 20% เมื่อช้อปครบ 4 ชิ้นขึ้นไป เป็นต้น เริ่มตั้งแต่วันนี้ – 2 ต.ค. 2565 โดยคาดว่าแคมเปญนี้จะช่วยเพิ่มยอดทราฟฟิกสูงขึ้นกว่า 80% (เทียบปี 2021-2022)

แฮปปี้ช้อปเดย์ สุขสันต์วันช้อปกับโปรโมชั่นพิเศษ 3 ต่ออาทิ ต่อที่ 1 ทุกยอดใช้จ่ายตั้งแต่ 5,000 บาทขึ้นไป ลุ้นรับแพคเกจห้องพักพร้อมดินเนอร์สุดหรู จากโรงแรม Banyan Tree กรุงเทพ มูลค่า 20,000 บาท จำนวน 2 รางวัล, ชุดเครื่องนอน New Collection Space Diamond จาก Pasaya มูลค่า 11,130 บาท จำนวน 1 รางวัล  Hermès NEOBAIN CASE จาก SF Brandnameมูลค่า 10,950 บาท จำนวน 1 รางวัล และรางวัลสุดพิเศษอีกมากมายกว่า 300 รางวัล ต่อที่ 2 ช้อปครบรับทันที Gift Voucher สูงสุด 1,500 บาท ช้อป 20,000บาท รับ Gift Voucher 300 บาท ช้อป 50,000 บาท รับ Gift Voucher 1,500 บาท และต่อที่ 3 โปรโมชั่นเครดิตเงินคืนสูงสุด 24% จากบัตรเครดิตที่ร่วมรายการ

เซ็นทรัล วิลเลจ พร้อมมอบเอาท์เล็ตดีลที่ดีที่สุด ช้อปแบรนด์เนมคุณภาพดีในราคาคุ้มค่า ลดสูงสุด 35-70% ช่วงแคมเปญพิเศษลดถึง 90% เปิดให้บริการทุกวัน จันทร์ – ศุกร์ เวลา 11.00 – 21.00 น. เสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 10.00 – 22.00 น.

ติดตามรายละเอียดอื่นๆ http://www.centralvillagebangkok.com, LINE: @centralvillage, Facebook: Central Village, Instagram: centralvillagebangkok

 

 

]]>
1400623
ค้าปลีก 2565 ปัจจัย “เงินเฟ้อ” ยังรุมเร้า ผู้บริโภคเน้นซื้อสินค้าจำเป็น แฟชั่น-บิวตี้ยังฟื้นตัวช้า https://positioningmag.com/1389653 Wed, 22 Jun 2022 09:41:44 +0000 https://positioningmag.com/?p=1389653
  • SCB EIC คาดมูลค่าธุรกิจ “ค้าปลีก” 2565 กลับมาโต 11% YoY จากการเปิดเมือง การท่องเที่ยวฟื้น แต่ปัจจัยลบยังรุมเร้าจากค่าพลังงานที่เพิ่มขึ้น ปัญหาเงินเฟ้อ ส่งผลต่อราคาสินค้าและกำลังซื้อผู้บริโภค
  • การฟื้นตัวจะไม่เท่ากันในแต่ละกลุ่มสินค้า กลุ่มของสด (grocery) ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นจะฟื้นตัวได้ดี รวมถึงกลุ่มซ่อมแซมตกแต่งบ้านและสวน ยังไปได้ดีจากพฤติกรรมอยู่บ้านมากขึ้น ส่วนสินค้าฟุ่มเฟือยกลุ่มแฟชั่นและบิวตี้ยังฟื้นอย่างช้าๆ
  • ช่องทางค้าปลีกที่ได้อานิสงส์คือกลุ่มร้านสะดวกซื้อ ซูเปอร์มาร์เก็ต และอีคอมเมิร์ซ ส่วนห้างสรรพสินค้าและร้านเครื่องสำอางจะยังซบเซา
  • SCB EIC เปิดรายงานคาดการณ์ธุรกิจ “ค้าปลีก” ปี 2565 คาดการณ์ว่า ตลาดจะกลับมาโต 11% YoY หรือคิดเป็นมูลค่า 3.45 ล้านล้านบาท (ยังต่ำกว่าปี 2562 ซึ่งมีมูลค่าตลาด 3.48 ล้านล้านบาท) เนื่องจากผู้บริโภคมีการเดินทาง ออกมาจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น รวมถึงการเปิดให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าประเทศ ช่วยเสริมกำลังซื้อมากขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2564

    อย่างไรก็ตาม EIC มองว่า “ปัจจัยลบยังมีมากกว่าปัจจัยบวก” เพราะราคาพลังงานพุ่งสูง ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนพฤษภาคม 2565 พบว่า หมวดไฟฟ้า ประปา เชื้อเพลิง ปรับเพิ่มขึ้นมาแล้ว 14.4% นับตั้งแต่ต้นปี 2565 ซึ่งมีผลต่อต้นทุนราคาสินค้าเกือบทุกหมวดปรับราคาขึ้นมาตั้งแต่ต้นปี โดยเฉพาะราคาเนื้อสัตว์ ขึ้นมา 15.5% และหมวดการขนส่งและการสื่อสารขึ้นมาแล้ว 10.8%

    เมื่อรวมกับปัจจัยหนี้ครัวเรือนสูง และอัตราว่างงานสูง ทำให้ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นต่ำ และจะส่งผลต่อการเลือกจับจ่ายของผู้บริโภค สินค้าแต่ละกลุ่มในธุรกิจค้าปลีกจะฟื้นตัวแบบไม่เท่ากัน

     

    ของสด-แต่งบ้าน สินค้าจำเป็นที่ผู้บริโภคซื้อมากขึ้น

    สำหรับกลุ่มสินค้าที่ EIC คาดว่าจะฟื้นตัวได้ดีคือกลุ่มของจำเป็น ได้แก่ ของสด (grocery) และ สินค้าซ่อมบ้านและตกแต่งบ้าน

    กลุ่มสินค้าของสดนั้นคาดว่าปี 2565 จะโต 12% YoY ทำให้มูลค่าใกล้เคียงกับปี 2562

    ส่วนสินค้าซ่อมบ้านและแต่งบ้านคาดว่าจะโต 4% YoY กลับมาใกล้เคียงปี 2562 เช่นกัน เนื่องจากบ้านที่มีอายุมาก อายุบ้าน 11-20 ปีจะต้องการรีโนเวตครั้งใหญ่ และอายุบ้าน 5-10 ปี จะต้องการเปลี่ยนเฟอร์นิเจอร์ สองกลุ่มนี้รวมกันคิดเป็นสัดส่วน 42% ของที่อยู่อาศัย รวมถึงบ้านอายุน้อยกว่า 5 ปีก็มีการตกแต่งบ้านจากเทรนด์ “อยู่บ้าน” มากขึ้น ทำให้ธุรกิจกลุ่มนี้เติบโตได้

     

    บิวตี้-แฟชั่น ยังฟื้นกลับมาไม่เต็มที่

    ด้านสินค้าบิวตี้นั้น EIC เชื่อว่าปีนี้จะโต 13% YoY แต่เนื่องจากสองปีที่ผ่านมาตลาดหดตัวอย่างมาก ทำให้การฟื้นตัวนี้ยังไม่ใกล้เคียงปี 2562 ต้องรอให้การกลับมาใช้ชีวิตเป็นปกติมากขึ้นก่อน

    สินค้าแฟชั่น เครื่องแต่งกาย และรองเท้าก็เช่นกัน คาดว่าจะโต 14% YoY แต่ยังไม่ใกล้เคียงปี 2562 เนื่องจากผู้บริโภคยังระมัดระวังการใช้จ่ายไปกับสินค้าฟุ่มเฟือย ยกเว้นตลาดระดับลักชัวรีซึ่งพยุงตัวได้มากกว่า เพราะถึงแม้ว่าลูกค้านักท่องเที่ยวต่างชาติยังกลับมาไม่มากเท่าก่อนเกิดโรคระบาด แต่ในทางกลับกันลูกค้าคนไทยก็หันมาช้อปภายในประเทศแทน เพราะยังไม่สะดวกเดินทางออกต่างประเทศ

    2565 ค้าปลีก

     

    ช่องทางการขายมีทั้งคึกคักและซบเซา

    จากกลุ่มสินค้าที่มีทั้งกลับมาฟื้นตัวสุดขีด และกลุ่มที่ยังฟื้นแบบช้าๆ ทำให้ช่องทางการขายที่จะได้อานิสงส์มากที่สุดปีนี้คือ “ร้านสะดวกซื้อและซูเปอร์มาร์เก็ต” เพราะเป็นช่องทางขายของสด และผู้ประกอบการมีการปรับโมเดลส่งซูเปอร์ฯ ไซส์เล็กเข้าหาแหล่งชุมชนมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ลูกค้าเลือกซื้อจากสาขาใกล้บ้าน (กลุ่มไฮเปอร์มาร์เก็ตจะต้องมีการปรับตัวต่อไป)

    อีคอมเมิร์ซ ยังเป็นช่องทางมาแรงสำหรับธุรกิจค้าปลีก

    ขณะที่ช่องทางที่น่าจะยังซบเซา ฟื้นตัวได้ไม่มาก คือ “ห้างสรรพสินค้า” ซึ่งเป็นแหล่งขายสินค้ากลุ่มแฟชัน-บิวตี้เป็นหลัก รวมถึง “รีเทลขายเครื่องสำอาง” โดยเฉพาะ ยกเว้นร้านกลุ่มดรักสโตร์ที่มีการขายยาและอาหารเสริมเพื่อสุขภาพด้วย กลุ่มนี้จะยังได้กระแสรักสุขภาพของคนไทยในช่วงที่ผ่านมาช่วยพยุงยอดขายไว้ได้

    ช่องทางที่น่าสนใจอีกช่องทางหนึ่งคือ “อีคอมเมิร์ซ” EIC คาดว่ามูลค่าตลาดการขายผ่านช่องทางนี้จะโต 24% YoY ในปี 2565 เพราะเป็นช่องทางที่ซื้อสินค้าได้หลากหลาย และเติบโตขึ้นมากจากความสะดวกในช่วงเกิด COVID-19 แม้ว่าจะคลายล็อกดาวน์แล้ว แต่จากการสำรวจความเห็นผู้บริโภคพบว่า 26% จะใช้อีคอมเมิร์ซซื้อสินค้าเพิ่มขึ้นอีกเทียบกับการสำรวจเมื่อเดือนกรกฎาคม 2564 และมี 24% ที่จะยังซื้อสินค้าออนไลน์ด้วยความถี่คงเดิม ทำให้ช่องทางนี้จะยังคงความสำคัญต่อไป

    ]]>
    1389653
    สรุปตลาด “คอนโดฯ-ออฟฟิศ-รีเทล” เกิดอะไรขึ้นบ้างในรอบ 20 ปี บทวิเคราะห์จาก “เน็กซัส” https://positioningmag.com/1371037 Thu, 20 Jan 2022 09:54:16 +0000 https://positioningmag.com/?p=1371037 “เน็กซัส” ที่ปรึกษาด้านการตลาดอสังหาฯ ครบรอบ 20 ปีบริษัท จัดทำสรุปตลาด “คอนโดฯ-ออฟฟิศ-รีเทล” ในรอบ 2 ทศวรรษ วัฏจักรธุรกิจเกิดอะไรขึ้นบ้าง เมื่ออสังหาฯ ผ่านทั้งวิกฤตเศรษฐกิจ วิกฤตการเมือง และโรคระบาด และคาดการณ์ตลาดปี 2565 เป็นต้นไป จะเป็นอย่างไร

    ตลาดคอนโดมิเนียม

    “นลินรัตน์ เจริญสุพงษ์” กรรมการผู้จัดการ บริษัท เน็กซัส พรอพเพอร์ตี้ มาร์เก็ตติ้ง จำกัด เปิดเผยการวิจัยตลาดคอนโดฯ 20 ปีที่ผ่านมา สามารถแบ่งได้เป็น 3 ช่วง ดังนี้

    • ช่วงแรก พ.ศ. 2544-2552 จำนวนหน่วยสะสม 123,000 หน่วย ทำเลพัฒนาส่วนใหญ่กระจุกอยู่ในใจกลางเมืองและรอบใจกลางเมือง
    • ช่วงที่สอง พ.ศ. 2553-2561 จำนวนหน่วยสะสม 482,000 หน่วย ทำเลพัฒนาเริ่มขยายไปรอบนอกเมืองมากขึ้น มีดีเวลลอปเปอร์รายใหม่เข้าตลาดมากขึ้น อุปทานจึงเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด
    • ช่วงที่สาม พ.ศ. 2562-2564 จำนวนหน่วยสะสม 562,100 หน่วย ตลาดหดตัวลงอย่างมาก เนื่องจากเศรษฐกิจเริ่มชะลอตัวในปี 2562 และเกิดเหตุไม่คาดฝันคือการระบาดของ COVID-19 ตั้งแต่ปี 2563 ทำให้ปี 2564 มีคอนโดฯ เปิดใหม่เพียง 16,800 หน่วยเท่านั้น และยอดขายก็ทำได้เพียง 23,400 หน่วย ถือเป็นสถิติต่ำสุดในรอบ 12 ปีทั้งซัพพลายและดีมานด์

    เน็กซัส

    สำหรับราคาคอนโดฯ ตั้งแต่ปี 2544 ราคาเฉลี่ยเคยอยู่ที่ 48,000 บาทต่อตร.ม. และปรับเพิ่มขึ้น 3 เท่าในรอบ 18 ปี มาอยู่ที่ 141,800 บาทต่อตร.ม. เมื่อปี 2562 ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดของราคาเฉลี่ยคอนโดฯ ในกทม.-ปริมณฑล

    หลังจากนั้นราคาเฉลี่ยต่ำลงเพราะ COVID-19 ทำให้ดีเวลอปเปอร์หันมาพัฒนา “บัดเจท คอนโด” เน้นราคาเข้าถึงง่ายมากขึ้น ราคาเฉลี่ยคอนโดฯ ปี 2564 อยู่ที่ 128,600 บาทต่อตร.ม. และถ้านับเฉพาะคอนโดฯ เปิดตัวใหม่จะอยู่ที่ 86,100 บาทต่อตร.ม.เท่านั้น

    ปี 2565 จะเกิดอะไรขึ้น? นลินรัตน์มองว่า ที่ผ่านมาวัฏจักรธุรกิจคอนโดฯ มีการเติบโตก้าวกระโดดจนราคาเติบโตสูงกว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจและรายได้จริงของผู้ซื้อ ทำให้ตั้งแต่ปี 2565 การเติบโตของคอนโดฯ จะมีเสถียรภาพมากขึ้น ราคาสะท้อนความเป็นจริงยิ่งขึ้น

    คาดว่าปีนี้จะมีการเปิดตัวคอนโดฯ ใหม่ 30,000 หน่วย และแบ่งการเติบโตออกเป็นกลุ่มคอนโดฯ ระดับลักชัวรีใจกลางเมือง กับกลุ่มคอนโดฯ รอบนอกเมืองที่ราคาย่อมเยา โดยมีปัจจัยส่งเสริมจากรถไฟฟ้าที่ขยายตัวไปมากขึ้น

     

    ตลาดอาคารสำนักงาน

    “ธีระวิทย์ ลิ้มทองสกุล” กรรมการผู้จัดการ บริษัท เน็กซัส เรียลเอสเตท แอ็ดไวซอรี่ จำกัด มองภาพรวมทั้งตลาดอาคารสำนักงานและค้าปลีกว่าในช่วง 2 ทศวรรษนี้ มีปัจจัยทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงมากมาย เช่น การสร้างรถไฟฟ้า ความไม่สงบทางการเมือง พฤติกรรมผู้บริโภค โรคระบาด โดยขอสรุปวัฏจักรของตลาดอาคารสำนักงาน ดังนี้

    • ช่วงแรก พ.ศ. 2544-2552 อุปทานใหม่เพิ่มเฉลี่ย 8% ต่อปี เป็นช่วงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจหลังวิกฤตต้มยำกุ้ง ทำให้ตลาดดีดตัวอย่างรวดเร็ว จนถึงปี 2551 ที่เกิดวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์และในไทยเกิดความไม่สงบทางการเมือง ตลาดจึงชะลอตัวเล็กน้อย อัตราการเช่าในช่วงนี้ ช่วงต้นอยู่ที่ประมาณ 70% ก่อนจะดีดตัวขึ้นไปที่ 90-95%
    • ช่วงที่สอง พ.ศ.2553-2564 อุปทานใหม่เพิ่มเฉลี่ย 2-3% ต่อปี ตลาดค่อยๆ ฟื้นตัว รักษาระดับอัตราการเช่าไว้ที่ 90-95% อย่างสม่ำเสมอ จนกระทั่งเกิดโรคระบาด COVID-19 ที่ทำให้ตลาดออฟฟิศหดตัว โดยเป็นการหดตัวมากที่สุดในรอบ 20 ปี ปัจจุบันตลาดออฟฟิศในกรุงเทพฯ มีอุปทาน 3 ล้านตร.ม. และอัตราการเช่าลดลงมาเหลือ 88% เป็นอัตราต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 2547

    เน็กซัส

    ด้านราคาเช่านั้นตั้งแต่ปี 2544 ออฟฟิศสามารถขึ้นค่าเช่าได้ 3-5% ต่อปีมาโดยตลอด จนกระทั่งเผชิญ COVID-19 ทำให้ปี 2564 เป็นครั้งแรกในรอบ 20 ปีที่ค่าเช่าลดลง -1% ปัจจุบันราคาเช่าเฉลี่ยทั้งตลาดอยู่ที่ 800 บาทต่อตร.ม.ต่อเดือน

    ปี 2565 และต่อจากนี้จะเกิดอะไรขึ้น? เน็กซัสคาดว่า จะยังมีอาคารสำนักงานเพิ่มขึ้น 1.9 ล้านตารางเมตรภายใน 5 ปี โดยกว่า 90% ของจำนวนนี้จะเป็นออฟฟิศเกรดเอ ทำให้ค่าเช่าเฉลี่ยจะสูงขึ้นจากการเปิดอาคารใหม่เหล่านี้ แต่ในแง่ดีมานด์ ยังตอบยากว่าจะเกิดอะไรขึ้น เพราะผลจาก COVID-19 ทำให้การใช้งานออฟฟิศกำลังเปลี่ยนไป

     

    ตลาดศูนย์การค้า

    ธีระวิทย์วิเคราะห์ตลาดโดยเน้นจับตาพื้นที่ Central Retail District (CRD) เป็นหลัก ได้แก่ สยามสแควร์ ราชประสงค์ และพร้อมพงษ์ สามารถแบ่งออกเป็น 3 ช่วง ดังนี้

    • ช่วงแรก พ.ศ. 2544-2547 อุปทานสะสม 250,000 ตร.ม. ช่วงต้นนั้นตลาดกำลังฟื้นตัวจากวิกฤตต้มยำกุ้ง แต่มีการถอนทุนของต่างชาติ ทำให้หลายห้างฯ เช่น เวิลด์เทรด เซ็นเตอร์ ปิดตัว แต่ในปี 2546 เกิดโรคระบาด SARS ตามด้วยปี 2547 เกิดสึนามิ ทำให้ตลาดย่อตัวอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม ในช่วงนี้ศูนย์การค้าบูมมาก สามารถปรับราคาเช่าได้ถึง 10% ต่อปี
    • ช่วงที่สอง พ.ศ. 2548-2553 อุปทานสะสม 550,000 ตร.ม. ช่วงของการฟื้นตัวจากเศรษฐกิจที่ดีขึ้นและนักท่องเที่ยวกลับเข้าประเทศมากขึ้น เกิดศูนย์การค้าขนาดใหญ่ 2 แห่ง คือ สยามพารากอน และ เซ็นทรัลเวิลด์ แต่ในช่วงปลายวัฏจักรเกิดความไม่สงบทางการเมือง มีการประท้วงย่านราชประสงค์จนเกิดความเสียหาย แม้ช่วงนี้จะเป็นวัฏจักรฟื้นตัว แต่ซัพพลายก็เข้าสู่ตลาดสูง ทำให้ราคาเช่าปรับได้เฉลี่ย 4-5% ต่อปี
    • ช่วงที่สาม พ.ศ. 2554-2564 อุปทานสะสม 635,000 ตร.ม. ช่วงต้นตลาดกลับมาฟื้นตัวได้อีกครั้ง โดยมีการเปิดศูนย์การค้าใหม่ คือ เซ็นทรัลเอ็มบาสซี และ เอ็มควอเทียร์ จนกระทั่งเผชิญปัจจัยลบระลอกแรกในปี 2561 เรือล่มที่จ.ภูเก็ต ทำให้นักท่องเที่ยวจีนลดลง ตามด้วยการระบาดของ COVID-19 ปี 2563 ทำให้นักท่องเที่ยวลดจนเหลือศูนย์ และมีการล็อกดาวน์ศูนย์การค้าเป็นระยะ ราคาเช่าจึงปรับเพิ่มได้เพียง 2% ต่อปี

    เน็กซัส

    ท่ามกลางปัจจัยบวกและลบที่เข้ามากระทบศูนย์การค้ากลางเมืองตลอดเวลา ธุรกิจศูนย์การค้ายังรักษาอัตราการเช่าไว้ที่ 93-97% ได้ตลอด 20 ปี ยกเว้นช่วง COVID-19 ที่สาหัสที่สุดในรอบ 2 ทศวรรษจนอัตราการเช่าเฉลี่ยลดเหลือ 91%

    ปี 2565 และในช่วงต่อไปจะเกิดอะไรขึ้น? ธีระวิทย์มองว่าช่วงนี้ต้องจับตาความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจ และการกลับมาของนักท่องเที่ยว รวมถึงการปรับตัวของศูนย์การค้าเองให้เข้ากับพฤติกรรมคนที่จับจ่ายบนโลกออนไลน์สูงขึ้น แต่เชื่อว่าตลาดจะยังมีสีสันจากการเปิดใหม่ของ “เอ็มสเฟียร์” และ “เซ็นทรัลเอ็มบาสซี (ส่วนต่อขยาย)”

    ]]>
    1371037
    เปิดผัง “สีลมเอจ” รีเทลใหม่กินเที่ยว 24 ชม. “สามย่านมิตรทาวน์” ลุ้นทราฟฟิกพุ่ง 7 หมื่นคน/วัน https://positioningmag.com/1369475 Wed, 05 Jan 2022 10:00:08 +0000 https://positioningmag.com/?p=1369475
  • เฟรเซอร์สฯ เปิดผังพื้นที่รีเทลใหม่ในตึก “สีลมเอจ” ที่จะเปิดตัวปีนี้ มีโซนกินเที่ยว 24 ชม. รองรับบุคลากร รพ.จุฬา, ชาวสวนลุม, คนทำงาน-นักเที่ยวไนต์ไลฟ์
  • “สามย่านมิตรทาวน์” ทราฟฟิกกลับมาเป็นปกติแล้ว ลุ้นปีนี้ทราฟฟิกขึ้นถึงเฉลี่ย 70,000 คนต่อวัน หากโอมิครอนไม่ระบาดหนัก ปี 2565 เน้นชูคอนเซ็ปต์ “สามย่านเรียนทาวน์”
  • ชี้เทรนด์พฤติกรรมผู้บริโภคเสาร์-อาทิตย์เข้าเมืองน้อยลง ศูนย์การค้ากลางเมืองต้องหาแม่เหล็กดึงดูด เรื่องฮิตมาไวไปไว อีเวนต์ต้องเร็ว
  • น้องใหม่ในสนามแข่งขันศูนย์การค้า แต่ประสบความสำเร็จจนต้องจับตามองการปั้นรีเทลแห่งต่อไป “ธีรนันท์ กรศรีทิพา” รองกรรมการผู้จัดการ สายงานพัฒนาธุรกิจรีเทล เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ คอมเมอร์เชียล (ประเทศไทย) หรือ FPCT กล่าวถึงการพัฒนาพื้นที่รีเทลแห่งต่อไปของเฟรเซอร์สฯ บนตึก “สีลมเอจ” ที่กำลังรีโนเวตและเตรียมเปิดบริการเดือนกันยายนนี้

    สีลมเอจเป็นโครงการมิกซ์ยูสอาคารสำนักงานกับรีเทล โดยส่วนรีเทลจะมีทั้งหมด 7 ชั้น พื้นที่เช่ารวม 10,000 ตร.ม. ถือว่าพื้นที่ไม่ใหญ่มาก แต่อยู่ในโลเคชั่นที่น่าสนใจ เพราะตึกนี้อยู่บริเวณหัวมุมถนนสีลมตัดถนนพระราม 4 และเชื่อมต่อได้ทั้ง MRT สีลม กับ BTS ศาลาแดง ทำให้หลายคนจับตามองว่าพื้นที่รีเทลตึกสีลมเอจจะมาสร้างความคึกคักอย่างไร

    สีลมเอจ

    ธีรนันท์เปิดภาพแรกของผังรีเทลสีลมเอจ จะแบ่งพื้นที่ชั้นต่างๆ ดังนี้

    ชั้น 9 : Over the Edge แหล่งร้านอาหาร hang out แบบกึ่งในร่มและกลางแจ้ง
    ชั้น 4 : Hollistic Wellness สถานบริการด้านสุขภาพและเวลเนส
    ชั้น 3 : Glow Up สถานบริการด้านความงาม
    ชั้น 2 : (ชั้นทางเชื่อม BTS) Life and Tech ร้านด้านเทคโนโลยีและเครื่องใช้
    ชั้น 1 : Bling-Bling แฟชั่น เสื้อผ้า เครื่องประดับ
    ชั้น G : All Day Eatery ร้านอาหาร 24 ชม.
    ชั้น B1 : Hashery Hab ร้านอาหาร 24 ชม.

    (*ชั้น 5-8 เป็นที่จอดรถ)

    ธีรนันท์ระบุว่า catchment area ของสีลมเอจ ในช่วงวันธรรมดาจะมีคนในพื้นที่ประมาณ 700,000 คน ส่วนวันเสาร์-อาทิตย์มี 500,000 คน และกลุ่มคนในย่านนี้มีความหลากหลายมาก ซึ่งเป็นเหตุที่ทำให้เปิดโซนร้านอาหารได้ 24 ชม. โดยแบ่งเป็น 5 กลุ่ม ดังนี้

    • คนทำงานออฟฟิศ เวลาที่น่าจะมาใช้บริการ 00-18.00 น.
    • บุคลากรการแพทย์ เวลาที่น่าจะมาใช้บริการ 00-18.00 น.
    • คนทำงาน-นักเที่ยวไนต์ไลฟ์ เวลาที่น่าจะมาใช้บริการ 00-05.00 น.
    • นักท่องเที่ยวทั่วไป เวลาที่น่าจะมาใช้บริการ 00-18.00 น.
    • ผู้มาออกกำลังกาย-พักผ่อนในสวนลุมพินี เวลาที่น่าจะมาใช้บริการ 00-08.00 น. และ 18.00-21.00 น.
    สีลมเอจ
    เป้าหมายของส่วนรีเทล “สีลมเอจ”

    คอนเซ็ปต์ของสีลมเอจที่จะสร้างความต่างและล้อตามการเป็น “แซนด์บ็อกซ์” ของทั้งโครงการด้วยคือ ตึกนี้จะเป็น Rookie Paradise การวางสล็อตพื้นที่เช่าจะบอกราคาเช่าสุทธิที่ไม่ต้องคูณราคาเป็นตารางเมตรและไม่ต้องคำนวณค่าใช้จ่ายอื่นๆ เพิ่มอีก รวมถึงให้เช่าสั้นระยะ 1 ปี ไม่เหมือนกับศูนย์ฯ ปกติที่มักจะให้เซ็นสัญญา 3 ปี รวมถึงมีโซนที่เป็น semi-finish ให้ร้านค้าลงทุนน้อยลง เหมาะกับกลุ่มมือใหม่ที่ยังปั้นแบรนด์อยู่ มีโอกาสลงทุนที่เสี่ยงน้อยกว่า

    สีลมเอจ
    รูปเรนเดอร์ภายในส่วนรีเทลของสีลมเอจ

    ด้วยเหตุนี้ สีลมเอจจะเน้นตามหาร้านค้าที่ไม่ใช่แบรนด์เชนใหญ่ๆ ต้องการให้มีร้านค้าทางเลือก เกิดความแปลกใหม่มากขึ้น

    ธีรนันท์กล่าวว่า สัปดาห์หน้าบริษัทจะเริ่มลุยเปิดไซต์ให้ผู้ที่สนใจเช่าเข้ามาชมพื้นที่ โดยหลังเปิดบริการเดือนกันยายนนี้ คาดหวังมีทราฟฟิก 40,000 คนต่อวัน

     

    “สามย่านมิตรทาวน์” ฟื้นแล้ว เข้าห้างเฉลี่ย 57,000 คนต่อวัน

    ด้านรีเทลหลักอย่าง “สามย่านมิตรทาวน์” ธีรนันท์สรุปสถานการณ์ล่าสุดมีอัตราการเช่า 98% เมื่อปี 2564 มีร้านค้าใหม่ 27 ร้าน (มี 6 ร้านที่ยังอยู่ระหว่างตกแต่งขณะนี้) สะท้อนให้เห็นว่าผู้เช่ายังต้องการพื้นที่และยังเชื่อมั่นในศักยภาพของศูนย์ฯ

    ด้านทราฟฟิกผู้ใช้บริการปี 2564 เฉลี่ย 57,000 คนต่อวัน ล่าสุดในช่วงปลายปีกลับมาเป็นปกติแล้ว แม้ว่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยังไม่เปิดเรียนแบบออนไซต์ และผู้ใช้บริการ MRT สถานีสามย่านยังมีทราฟฟิกที่ 95% ของช่วงปกติ ยังไม่กลับมาทั้งหมด

    บรรยากาศส่งท้ายปีเก่า 2564 ที่สามย่านมิตรทาวน์

    สำหรับปี 2565 มองว่าทีมงานได้ผ่านช่วงของการปรับตัวมาแล้ว ทำให้พร้อมรับทุกสถานการณ์ได้อย่างรวดเร็ว โดยหวังว่าหากการระบาดของไวรัสโรค COVID-19 สายพันธุ์โอมิครอนไม่สาหัสถึงขั้นล็อกดาวน์ และตลอดปีนี้ไม่มีเหตุการณ์วิกฤตอีก เชื่อว่าการเพิ่มทราฟฟิกเป็นเฉลี่ย 70,000 คนต่อวันจะเป็นไปได้

    กลยุทธ์ที่ใช้ในปีนี้ของสามย่านมิตรทาวน์ นอกจากการจัดอีเวนต์อย่างสม่ำเสมอ จะชูคอนเซ็ปต์ “สามย่านเรียนทาวน์” ให้เห็นชัดขึ้น โดยศูนย์ฯ ไม่ได้มีเฉพาะโรงเรียนกวดวิชาเชิงวิชาการ แต่ยังมีสถาบันการเรียนการสอนในด้านอื่นที่นับเป็น ‘การเรียนรู้เสริมทักษะตลอดชีวิต’ ด้วย เช่น โรงเรียนสอนภาษา สอนตัดเย็บเสื้อผ้า สอนการเต้น

    แคมเปญสามย่านเรียนทาวน์

     

    ผู้บริโภค “ไม่เข้าเมือง” “เทรนด์ฮิตมาไวไปไว”

    สำหรับเทรนด์รีเทลที่เกิดขึ้นแล้วในปี 2564 และน่าจะต่อเนื่องไปในปี 2565 ธีรนันท์กล่าวถึงพฤติกรรมผู้บริโภคที่ “ไม่นิยมเข้าเมือง” ในวันเสาร์-อาทิตย์ ผู้บริโภคใช้ชีวิตใกล้บ้านในย่านชานเมือง ทำให้การ “แวะห้างฯ” กลางเมืองมีน้อยลง ดังนั้น สามย่านมิตรทาวน์และสีลมเอจที่จะเปิดปีนี้ จะต้องตีโจทย์ให้ผู้บริโภคตั้งใจเดินทางมาที่ศูนย์ฯ ช่วงวันหยุด

    สิ่งที่สามย่านมิตรทาวน์ทำเพื่อตอบโจทย์นี้คือการจัดอีเวนต์ให้หลากหลาย ใช้พื้นที่ที่ปกติศูนย์ฯ จะจัดให้เป็นลานโปรโมชัน บางครั้งกลายเป็นอีเวนต์เพื่อให้ผู้บริโภคมา ‘สร้างคอนเทนต์’ ตั้งใจเดินทางมาถ่ายภาพ ถ่ายวิดีโอ เพราะทุกวันนี้ผู้บริโภคมาที่ศูนย์การค้าไม่ได้มาเพื่อช้อปปิ้งเท่านั้น แต่มาเพื่อหาประสบการณ์ใหม่

    กิจกรรมจากธีมเรื่อง Squid Game

    การจัดอีเวนต์เหล่านั้น นอกจากอีเวนต์ตามเทศกาล ยังต้องมีอีเวนต์ที่ทันต่อเหตุการณ์ และความเร็วการคิด-เตรียมงาน-จัดงานต้องเร็ว จบงานได้ภายใน 3-4 สัปดาห์ เนื่องจากเทรนด์ยุคสมัยนี้มาไวและไปไวมาก ยกตัวอย่างอีเวนต์ที่จัดล้อตามธีมฮิตในช่วงนั้น เช่น ลูกชิ้นยืนกิน จากเทรนด์ลิซ่า BLACKPINK, Squid Game, Hometown Cha-cha-cha เป็นต้น

    “คิดว่าปีนี้ถ้านักท่องเที่ยวกลับมาได้เต็มที่น่าจะเกิดความท้าทายใหม่ในธุรกิจศูนย์การค้า เพราะแต่ละเจ้าจะมีโจทย์ใหม่ให้ต้องดึงดูด จะดึงนักท่องเที่ยวแบบไหนเข้ามาหาตัวเอง เพราะนักท่องเที่ยวก็มีหลายแบบหลายกลุ่ม” ธีรนันท์กล่าว ทั้งนี้ สามย่านมิตรทาวน์นับว่าเป็นห้างฯ ที่เปิดมาเพียงไม่กี่เดือนก็เผชิญวิกฤต COVID-19 ทำให้ยังไม่เคยปักแลนด์มาร์กในกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติเลย การดึงนักท่องเที่ยวจึงนับเป็นความท้าทายใหม่ที่จะเกิดขึ้น

    ]]>
    1369475
    จับตา ‘ค้าปลีก’ โค้งสุดท้ายปี 64 กลับมาฟื้นตัวเป็นบวก เเต่ผู้บริโภคยังระวังใช้จ่าย https://positioningmag.com/1356736 Fri, 15 Oct 2021 05:51:35 +0000 https://positioningmag.com/?p=1356736 ‘ค้าปลีก’ ส่งสัญญาณฟื้นตัวช่วงโค้งสุดท้ายปลายปี รับคลายล็อกดาวน์ KBANK ประเมินเศรษฐกิจไทยผ่านจุดเเย่สุดของวิกฤตโควิดมาเเล้ว กลุ่มสินค้าจำเป็น ‘อาหาร-เครื่องดื่ม’ ฟื้นตัวได้เร็ว ส่วนกลุ่ม ‘เสื้อผ้า-รองเท้า’ ยังหดตัวต่อเนื่อง ประชาชนระมัดระวังการใช้จ่าย แนะเร่งทำโปรโมชันด้านราคาจับโอกาสตลาดหลังเปิดประเทศ ธุรกิจต้องปรับตัวรับกำลังซื้อที่ไม่เเน่นอน 

    เเนวโน้มค้าปลีก Q4 ฟื้นตัวเป็นบวก 

    ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ออกบทวิเคราะห์ถึง ‘ธุรกิจค้าปลีก’ ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 64 ว่าจะกลับมาฟื้นตัวเป็นบวกได้ จากสถานการณ์การระบาดของโควิดในประเทศที่ดีขึ้น เมื่อเทียบกับการระบาดในช่วงไตรมาส 3 ของปีนี้

    โดยสถานการณ์การระบาดของโควิด และการเข้าถึงวัคซีนของประชาชนที่เริ่มมีสัญญาณบวก จนทำให้ภาครัฐทยอยคลายมาตรการล็อกดาวน์กิจกรรมต่างๆ ทางเศรษฐกิจในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 64 ไม่ว่าจะเป็นแผนการเปิดประเทศเพื่อรองรับกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติโดยไม่ต้องกักตัว รวมทั้งสัญญาณความเป็นไปได้ในการกลับมาเปิดดำเนินกิจการของบางธุรกิจ เช่น สถานบันเทิง สะท้อนให้เห็น ถึงโอกาสในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่น่าจะผ่านจุดที่แย่ที่สุดจากการระบาดของโควิด-19 มาแล้ว

    เมื่อประกอบกับจังหวะการเร่งออกแคมเปญส่งเสริมการตลาดของภาคธุรกิจต่างๆ เพื่อกระตุ้นการใช้จ่าย ส่งผลให้ในเบื้องต้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า

    “ยอดขายของธุรกิจค้าปลีกในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 64 น่าจะมีแนวโน้มกลับมาฟื้นตัวที่ประมาณ 1.4% โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ที่ภาครัฐอาจออกมาตรการกระตุ้นการใช้จ่าย เช่น ช้อปดีมีคืน ในช่วงปลายปีไว้แล้วระดับหนึ่ง แต่หากภาครัฐมีการปรับหรือเพิ่มขนาดของมาตรการ ก็อาจจะทำให้ตัวเลขค้าปลีกในช่วงไตรมาสสุดท้ายขยับสูงขึ้นกว่าที่คาดเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันกับปีก่อนที่หดตัว -1.2%”

    การคลายมาตรการล็อกดาวน์ น่าจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นและบรรยากาศในการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภค โดยเฉพาะในช่วงเดือนธ.ค. ที่มีเทศกาลเฉลิมฉลองที่สำคัญอย่างเทศกาลปีใหม่ ซึ่งคาดว่าบรรยากาศของเทศกาลปีใหม่ในปีนี้ น่าจะฟื้นตัวดีขึ้นกว่าปีที่แล้วที่เกิดการระบาดคลัสเตอร์สมุทรสาคร

    ในส่วนของผู้ประกอบการค้าปลีก ที่เน้นจำหน่ายสินค้าจำเป็น อย่างอาหารและเครื่องดื่ม รวมถึงของใช้ส่วนตัว เช่น ธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-commerce) ห้างสรรพสินค้า (โดยเฉพาะในโซนร้านอาหารและเครื่องดื่ม) ซูเปอร์มาร์เก็ต รวมถึงไฮเปอร์มาร์เก็ต และร้านสะดวกซื้อ น่าจะทำยอดขายได้ต่อเนื่องในไตรมาสสุดท้ายของปี 64

    อาหาร-เครื่องดื่มยังขายดี เสื้อผ้า-รองเท้า หดตัวต่อเนื่อง 

    แม้ว่าสถานการณ์การระบาดของโควิดในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้จะมีแนวโน้มดีขึ้น แต่ผู้บริโภคยังคงกังวลกับความปลอดภัย และเผชิญกับกำลังซื้อที่ยังไม่ฟื้นตัวดี ส่งผลให้ยังคงเลือกใช้จ่ายอย่างระมัดระวัง โดยเฉพาะในหมวดสินค้าที่ยังมีความจำเป็นอย่างอาหารและเครื่องดื่ม รวมถึงของใช้ส่วนตัว

    ขณะที่กลุ่มสินค้าที่ไม่จำเป็นอย่างเสื้อผ้า รองเท้า น่าจะยังคงหดตัวต่อเนื่องในไตรมาสสุดท้ายของปี ส่วนกลุ่มสินค้าเฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้าน รวมถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แม้ว่ายอดขายอาจจะกลับมาฟื้นตัวเป็นบวกเล็กน้อยในไตรมาส 4 ปีนี้ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ยอดขายทั้งปี 64 น่าจะยังคงหดตัวต่อเนื่องเมื่อเทียบกับปีก่อน

    ดังนั้น ผู้ประกอบการที่เน้นจำหน่ายสินค้าจำเป็น ไม่ว่าจะเป็นแพลตฟอร์มออนไลน์ ห้างสรรพสินค้า (โดยเฉพาะโซนร้านอาหารและเครื่องดื่ม) ซูเปอร์มาร์เก็ต ไฮเปอร์มาร์เก็ต และร้านสะดวกซื้อ น่าจะทำยอดขายได้เพิ่มขึ้น หรือกลับมาฟื้นตัวได้เร็วกว่าผู้ประกอบการค้าปลีกกลุ่มห้างสรรพสินค้า (โซนจำหน่ายสินค้าไม่จำเป็นหรือสินค้าฟุ่มเฟือย เช่น เสื้อผ้า รองเท้า เครื่องใช้ไฟฟ้า) ร้านค้าเฉพาะอย่าง เช่น ร้านจำหน่ายสินค้าความงาม ร้านวัสดุก่อสร้าง และซ่อมแซมตกแต่งบ้าน (แม้ในบางพื้นที่อาจได้แรงหนุนบ้างจากการซ่อมแซมหลังผ่านอุทกภัย)

    เร่งทำโปรโมชัน สู้ตลาดด้านราคา 

    ภายใต้สถานการณ์ที่ผู้บริโภคยังคงกังวลกับรายได้ และกำลังซื้อที่ยังไม่ฟื้นตัวดี ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ประกอบการทุกกลุ่ม ยังคงต้องให้ความสำคัญกับการเร่งทำโปรโมชันการตลาดด้านราคาในช่วงเวลาดังกล่าว ที่เริ่มมีการเปิดประเทศภายหลังสถานการณ์โควิดส่งสัญญาณดีขึ้น

    ควบคู่ไปกับการให้บริการลูกค้าที่มีคุณภาพอย่างสม่ำเสมอในทุกแพลตฟอร์ม เพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายของผู้บริโภค และสร้างความประทับใจ รวมถึงผู้ประกอบการจะต้องมีการบริหารจัดการต้นทุน เพื่อให้ธุรกิจยังคงสามารถดำเนินการต่อไปได้

    Photo : Shutterstock

    ความไม่เเน่นอน กระทบค่าครองชีพ 

    ในช่วงที่เหลือของปีนี้ ต่อเนื่องถึงปี 65 ธุรกิจค้าปลีกยังต้องเผชิญกับปัจจัยท้าทายอีกหลายประการ ทำให้การดำเนินธุรกิจยังคงยากลำบากต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นสถานการณ์น้ำท่วมที่ครอบคลุมพื้นที่ในหลายจังหวัด ซึ่งสร้างความเสียหาย ต่อสินค้าเกษตรและส่งผลต่อราคาตามมา เช่น ผักสด เนื้อสัตว์ และการขนส่งที่อาจจะล่าช้า ราคาพลังงานที่มีแนวโน้มสูงขึ้น ซึ่งอาจจะกระทบกับค่าครองชีพของผู้บริโภค

    ขณะที่กลุ่มผู้บริโภคที่มีกำลังซื้อ หรือมีศักยภาพในการใช้จ่ายยังคงมีจำนวนจำกัด หรือแม้แต่แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภค หรือเทคโนโลยีในการทำธุรกิจค้าปลีกรูปแบบใหม่ๆ ที่อาจจะเข้ามาเปลี่ยนภาพการทำธุรกิจค้าปลีกในปัจจุบัน และเกิดผู้เล่นรายใหม่ หรือการปรับตัวของผู้เล่นรายเดิม

    ผู้ประกอบการที่สามารถปรับตัว หรือรับมือกับสถานการณ์และการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ได้เร็ว ก็น่าจะมีความได้เปรียบในการแข่งขัน ดังนั้นการเป็นผู้นำตลาดในธุรกิจค้าปลีกก็อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงไปอีกในระยะข้างหน้า

    “ความไม่แน่นอนของการระบาดของโควิดในประเทศในระยะข้างหน้า อาจจะมีผลต่อความเชื่อมั่นและการตัดสินใจกลับมาของกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ และการใช้จ่ายของคนในประเทศ รวมถึงภาวะการแข่งขันของธุรกิจที่จำนวนผู้เล่นยังคงทยอยเข้าสู่ตลาดเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะผู้เล่นที่อยู่ในแพลตฟอร์มออนไลน์” 

    ]]>
    1356736