วิจัยกรุงศรี – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 16 Feb 2022 08:23:10 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 เศรษฐกิจไทยเริ่มฟื้น เเต่เปราะบาง ตลาดเเรงงาน-กำลังซื้ออ่อนเเอ ค่าจ้างต่ำกว่าก่อนโควิด https://positioningmag.com/1374184 Wed, 16 Feb 2022 07:49:54 +0000 https://positioningmag.com/?p=1374184 วิจัยกรุงศรี คาดกนง.ตรึงดอกเบี้ย 0.5% ตลอดทั้งปีนี้ มองเเนวโน้มเศรษฐกิจไทยเริ่มฟื้นตัว เเต่ยังเปราะบาง ตลาดเเรงงานอ่อนเเอ ค่าจ้างยังอยู่ในระดับต่ำกว่าช่วงก่อนโควิด เเละแตกต่างกันตามกลุ่มรายได้ ฉุดกำลังซื้อผู้บริโภค

คาดกนง.ตรึงดอกเบี้ยทั้งปี 0.5%

วิจัยกรุงศรี คาดการณ์ว่าคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะตรึงดอกเบี้ยไว้ที่ระดับ 0.50% ตลอดจนถึงสิ้นปีนี้ เนื่องจาก แม้อัตราเงินเฟ้อมีความเสี่ยงด้านสูงเพิ่มขึ้น แต่ กนง.คาดว่าอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยในปี 2565 และอัตราเงินเฟ้อคาดการณ์ในระยะปานกลางยังอยู่ในกรอบเป้าหมาย (ต่ำกว่า 3%) และยังไม่เห็นสัญญาณการปรับเพิ่มของราคาสินค้าและบริการเป็นวงกว้าง อีกทั้งแรงกดดันเงินเฟ้อด้านอุปสงค์ยังอยู่ในระดับต่ำ

การฟื้นตัวของเศรษฐกิจยังมีความเปราะบางและแตกต่างกันอยู่มาก โดยเฉพาะภาคท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวล่าช้าและต่ำกว่าช่วงก่อนเกิดโควิด-19 อยู่มาก

“เศรษฐกิจโดยรวม กว่าจะฟื้นกลับสู่ระดับก่อนวิกฤตการระบาดอาจเป็นช่วงปลายปีนี้หรือต้นปีหน้า และตลาดแรงงานยังอ่อนแอและค่าจ้างที่อาจยังอยู่ในระดับต่ำกว่าช่วงเกิดโควิด-19” 

ค่าจ้างยังต่ำกว่าระดับก่อนโควิด 

วิจัยกรุงศรี ประเมินค่าจ้างที่แท้จริงของครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำสุดในปีนี้ จะเพิ่มขึ้นเพียง 1% เมื่อเทียบรายปี ต่ำกว่าค่าจ้างที่แท้จริงของครัวเรือนรายได้สูงสุดที่จะเพิ่มขึ้น 3.2%

ขณะที่ค่าจ้างที่แท้จริงของทุกกลุ่มครัวเรือนในปีนี้ จะยังอยู่ต่ำกว่าระดับก่อนเกิดโควิด-19 สะท้อนถึงกำลังซื้อที่ยังอ่อนแอและมีความแตกต่างกันตามกลุ่มรายได้ ซึ่งจะส่งผลให้ความสามารถในการใช้จ่ายไม่เท่าเทียมกัน และยังบ่งชี้ถึงความเปราะบางในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ

Photo : Shutterstock

เงินเฟ้อพุ่งช่วงต้นปี 

ด้านความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนมกราคมปรับลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 5 เดือน สะท้อนความอ่อนแอของการใช้จ่ายในประเทศ แต่ยังพอมีแรงพยุงจากมาตรการรัฐ โดยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนมกราคมปรับลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 3 เดือนที่ 44.8 จาก 46.2 เดือนธันวาคม เช่นเดียวกับดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ (6 เดือนข้างหน้า) ปรับลดลงสู่ระดับ 52.5 จาก 53.8 เดือนธันวาคม

ปัจจัยลบจากความกังวลการระบาดของไวรัสโอมิครอนที่แพร่ได้เร็ว ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ปรับสูงขึ้นกระทบต่อราคาวัตถุดิบและราคาสินค้า รวมถึงความกังวลเกี่ยวกับเสถียรภาพทางการเมืองในประเทศ

ในช่วงต้นปีกำลังซื้ออาจได้รับแรงกดดันจากเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้น เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าในกลุ่มพลังงานตามราคาน้ำมันดิบในคลาดโลก นอกจากนี้ กำลังซื้อของผู้บริโภคยังมีความเปราะบางและแตกต่างกันตามกลุ่มรายได้อีกด้วย

มาตรการรัฐกระตุ้นใช้จ่าย 

อย่างไรก็ตาม ยังพอมีปัจจัยบวกที่จะช่วยประคับประคองการใช้จ่ายในประเทศได้บ้าง จากมาตรการควบคุมการระบาดที่ผ่อนคลายมากขึ้น มาตรการช้อปดีมีคืน รวมถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจล่าสุดวงเงินรวม 53.2 พันล้านบาท ผ่านโครงการสำคัญ ๆ ได้แก่

  • โครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 4 (วงเงิน 34.8 พันล้านบาท)
  • โครงการช่วยเหลือผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและกลุ่มเปราะบาง (วงเงิน 9.4 พันล้านบาท)
  • โครงการเราเที่ยวด้วยกัน ระยะที่ 4 (วงเงิน 9 พันล้านบาท)

“คาดว่ามาตรการเหล่านี้จะช่วยให้มีเม็ดเงินหมุนเวียนเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจประมาณ 1-1.5 แสนล้านบาท” 

 

]]>
1374184
ประเมิน ‘เงินเฟ้อ’ มีแนวโน้มเร่งขึ้น เเต่อุปสงค์ในประเทศฟื้นตัวช้า ธุรกิจท่องเที่ยวยังมีข้อจำกัด https://positioningmag.com/1361153 Tue, 09 Nov 2021 10:57:40 +0000 https://positioningmag.com/?p=1361153 วิจัยกรุงศรี คาดกนง. คงดอกเบี้ย 0.50% ไปอย่างน้อยจนถึงสิ้นปี 2565 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือนตุลาคมสูงสุดในรอบ 5 เดือน ตามราคาน้ำมัน-ราคาอาหารสด พืชผัก แต่อุปสงค์ในประเทศยังฟื้นตัวช้า ภาคท่องเที่ยวเริ่มฟื้นตัวเเบบมีข้อจำกัด

โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไป ‘เดือนตุลาคม’ อยู่ที่ 2.38% YoY จาก 1.68% เดือนกันยายน สาเหตุสำคัญจากการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศตามสถานการณ์ราคาพลังงานโลก (+37.1%) และการเพิ่มขึ้นของราคาอาหารสดในกลุ่มพืชผัก (+7.1)

“ผลกระทบจากน้ำท่วมทำให้ผลผลิตเข้าสู่ตลาดลดลง ขณะที่ราคาสินค้าในหมวดยาสูบเพิ่มสูงขึ้นจากการปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิต”

ด้านอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (หักราคาหมวดอาหารสดและพลังงาน) อยู่ที่ 0.21% จาก 0.19% เดือนกันยายน สำหรับในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2564 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเฉลี่ยอยู่ที่ 0.99% และ 0.23% ตามลำดับ

อัตราเงินเฟ้อยังคงเผชิญแรงกดดัน ในช่วงที่เหลือของปี หลักๆ มาจาก 

⚫ ราคาพลังงานและสินค้าโภคภัณฑ์ที่ทรงตัวในระดับสูงตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และปัญหาด้านอุปทาน

⚫ กิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศที่เพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ ภายหลังผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาด และการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติแบบไม่กักตัวจากประเทศที่กำหนด

⚫ การเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าเกษตรบางชนิด ที่ยังคงได้รับผลกระทบจากสถานการณ์น้ำท่วมขังในพื้นที่เพาะปลูก

แม้ทิศทางของอัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มเร่งสูงขึ้นจากปัจจัยทางด้านอุปทานเป็นส่วนใหญ่ ขณะที่อุปสงค์ในประเทศมีทิศทางฟื้นตัวค่อนข้างช้า สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเดือนล่าสุดที่ทรงตัวในระดับต่ำ ประกอบกับสถานการณ์การระบาดโควิด-19 ที่ยังมีความไม่แน่นอนสูง หลังหลายประเทศกำลังประสบกับการกลับมาระบาดใหม่หลังจากมีการผ่อนคลายมาตรการควบคุม

ทั้งนี้ ในการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงินในสัปดาห์นี้ (วันที่ 10 พฤศจิกายน) คาดว่าจะคงดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.50% และมีแนวโน้มตรึงไว้อย่างน้อยจนถึงสิ้นปีหน้า เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ยังมีความเปราะบางและไม่สม่ำเสมอ แม้อาจเผชิญแรงกดดันจากเงินเฟ้อจากปัจจัยด้านอุปทานอยู่บ้างในช่วงปลายปีนี้ถึงต้นปีหน้าก็ตาม

ความเชื่อมั่นผู้บริโภค เพิ่มสูงสุดรอบ 5 เดือน

ด้านความเชื่อมั่นผู้บริโภคและความเชื่อมั่นทางธุรกิจฟื้นต่อเนื่อง ขณะที่การเปิดประเทศสัปดาห์แรกมีนักท่องเที่ยวต่างชาติแล้วกว่า 2 หมื่นราย กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ทยอยฟื้นตัวหลังสถานการณ์การระบาดบรรเทาลง และมาตรการควบคุมการระบาดที่ผ่อนคลายเพิ่มเติม หนุนให้ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนตุลาคมเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 สู่ระดับสูงสุดในรอบ 5 เดือนที่ 43.9 จาก 41.4 ในเดือนกันยายน

โดยเป็นการปรับขึ้นในทุกองค์ประกอบ ด้านดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจปรับขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 สู่ระดับสูงสุดในรอบ 7 เดือนที่ 47.0 จาก 42.6 เดือนกันยายน จากการปรับเพิ่มขึ้นในเกือบทุกองค์ประกอบ ยกเว้นด้านต้นทุนที่ยังถูกแรงกดดันจากราคาน้ำมันที่อยู่ในระดับสูง อย่างไรก็ตาม ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า ปรับขึ้นเหนือระดับ 50 (ขยายตัว) ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 อยู่ที่ 52.5 จาก 50.7

แม้เศรษฐกิจในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีมีสัญญาณฟื้นตัวจากความเชื่อมั่นทั้งผู้บริโภคและภาคธุรกิจที่ปรับดีขึ้นต่อเนื่อง แต่ยังถือว่าอยู่ในระดับต่ำมากเมื่อเทียบกับช่วงก่อนเกิดการระบาด (ที่ระดับค่าเฉลี่ย 75.5 และ 48.9 ตามลำดับ ในปี 2562)

Photo : Shutterstock

ภาคท่องเที่ยวฟื้นตัวล่าช้า- มีข้อจำกัด

นอกจากนี้ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ยังกระจายตัวไม่ทั่วถึง โดยเฉพาะภาคท่องเที่ยวที่ยังฟื้นล่าช้าแม้จะเริ่มมีการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ โดยจากข้อมูลช่วงวันที่ 1-7 พฤศจิกายน มีนักท่องเที่ยวต่างชาติจำนวน 22,832 ราย แม้สูงกว่าทั้งเดือนกันยายนที่มีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ 12,237 ราย

แต่การฟื้นตัวของภาคท่องเที่ยวโดยรวมแล้วอาจยังมีข้อจำกัดอยู่บ้าง อย่าง นโยบายของประเทศต้นทางที่ยังคุมเข้มการเดินทางระหว่างประเทศ และความกังวลจากสถานการณ์จำนวนผู้ติดเชื้อรายวันของไทยที่ยังค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเดียวกัน

“มาตรการภาครัฐที่เพิ่มกำลังซื้อของผู้บริโภค และกระตุ้นการท่องเที่ยวในประเทศ จะเป็นปัจจัยหนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในช่วงปลายปีนี้” 

]]>
1361153
ฉีดวัคซีนไม่ถึง 70% เเผนเปิดกรุงเทพฯ จ่อเลื่อน ยอดติดเชื้อผ่าน ‘จุดสูงสุด’ เเต่ยังน่ากังวล https://positioningmag.com/1352819 Tue, 21 Sep 2021 10:39:15 +0000 https://positioningmag.com/?p=1352819 เเผนเปิดกรุงเทพฯ จ่อเลื่อน เหตุฉีดวัคซีนยังล่าช้า ได้ไม่ถึง 70% วิจัยกรุงศรี ประเมินยอดผู้ติดเชื้อผ่านจุดสูงสุดแล้ว สิ้นปีอาจเหลือ 2,500 รายต่อวัน เสียชีวิต 40 รายต่อวัน เเม้ผ่อนคลายมาตรการ แต่ยังน่ากังวลไม่แน่นอนสูง รัฐใช้เเผนดึงดูดนักลงทุนต่างชาติ หวังหารายได้ชดเชยภาคท่องเที่ยว อาจต้องรอนานถึงปี 68 กว่าจำนวนนักท่องเที่ยวจะกลับมาระดับปกติ

จ่อเลื่อนเเผนเปิดกรุงเทพฯ ฉีดวัคซีนได้ไม่ถึง 70% 

วิจัยกรุงศรี ประเมินว่า ทางการจะเลื่อนเปิดกรุงเทพฯ ซึ่งการผ่อนคลายในระยะต่อไปยังต้องระมัดระวัง และอาจขึ้นอยู่กับอัตราการเสียชีวิตที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ  

โดยแผนการเปิดประเทศเพื่อรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ระยะที่ 2 เบื้องต้นเตรียมเปิดเพิ่มอีก 4 จังหวัดพื้นที่นำร่องในวันที่ 1 ตุลาคมนี้ ได้แก่ เชียงใหม่ (.เมือง อ.แม่ริม อ.แม่แตง อ.ดอยเต่า) ชลบุรี (พัทยา สัตหีบ อ.บางละมุง) เพชรบุรี (ชะอำ) และประจวบคีรีขันธ์ (หัวหิน)

ส่วนในกรุงเทพฯ อาจต้องเลื่อนออกไปจนกว่าจำนวนประชากรในพื้นที่จะได้รับวัคซีน 2 โดส ตามเกณฑ์ที่ 70% ของประชากร ล่าสุด ณ วันที่ 19 กันยายน มีอัตราการฉีดที่ 40.7%  

ยอดติดเชื้อรายวันผ่าน ‘จุดสูงสุด’ แต่ยังน่ากังวล

อย่างไรก็ตาม เเม้ทางการจะทยอยเปิดพื้นที่นำร่องเพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติได้ แต่ความกังวลและความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการติดเชื้อโควิด-19 ในไทยจะยังสูงอยู่อย่างน้อยจนถึงสิ้นปี 2564’ หลังการทยอยผ่อนคลายมาตรการควบคุม

ในกรณีฐาน : การฉีดวัคซีนจำนวนมากในช่วง 2-3 เดือนข้างหน้า คาดว่าจะช่วยควบคุมการติดเชื้อได้ระดับหนึ่ง ภายใต้ข้อสมมติว่า ฉีดวัคซีนเฉลี่ยวันละ 460,000 โดส และประสิทธิภาพของวัคซีนต่อไวรัสสายพันธุ์เดลต้าอยู่ที่ 50%

วิจัยกรุงศรี มองว่า จำนวนผู้ติดเชื้อรายวันได้ผ่านจุดสูงสุดแล้ว แต่มีแนวโน้มลดลงอย่างช้าๆ ตลอดช่วงที่เหลือของปี โดยในช่วงสิ้นปีจะมีผู้ติดเชื้อประมาณ 2,500 รายต่อวัน และเสียชีวิตราว 40 รายต่อวัน 

มาตรการควบคุมการระบาดจึงยังมีความจำเป็น การผ่อนคลายมาตรการควรดำเนินการไปทีละขั้นตอนแต่ยังคงข้อจำกัดบางประการด้วยความระมัดระวังตลอดทั้งปี

ทั้งนี้ อาจมีการผ่อนคลายมาตรการควบคุมเพิ่มเติมในช่วงกลางเดือนตุลาคมนี้หรือเป็นช่วงที่จำนวนผู้เสียชีวิตลดลงต่ำกว่า 150 รายต่อวัน

ในกรณีเลวร้าย : แม้จะฉีดวัคซีนได้ 90 ล้านโดสภายในสิ้นปีนี้ เเต่จำนวนผู้ติดเชื้อรายวันอาจยังอยู่ในระดับสูงตลอดช่วงที่เหลือของปี เนื่องจากวัคซีนมีประสิทธิภาพต่ำ และผ่อนคลายมาตรการควบคุมเร็วเกินไป ในกรณีนี้อาจเห็นการกลับมาล็อกดาวน์อีกครั้ง

ดึงดูดนักลงทุนต่างชาติ หวังหารายได้ชดเชยท่องเที่ยว

ขณะเดียวกัน ทางการได้เตรียมออกมาตรการดึงดูดนักลงทุนต่างชาติ โดยตั้งเป้า 5 ปี (2565-2569) ไว้ที่ราว 1 ล้านล้านบาท เเบ่งเป็นเพิ่มการลงทุนในประเทศ 8 แสนล้านบาท สร้างรายได้จากการเก็บภาษีเพิ่มขึ้น 2.7 แสนล้านบาท หวังสร้างรายได้เข้าประเทศในช่วงที่ภาคท่องเที่ยวยังฟื้นช้า

โดยคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบหลักการมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนโดยการดึงดูดชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูงในลักษณะผู้พำนักระยะยาว (long-term stay) ใน 4 กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่

1. กลุ่มผู้มีความมั่งคั่งสูง 

2. กลุ่มผู้เกษียณอายุจากต่างประเทศ

3. กลุ่มที่ต้องการทำงานจากประเทศไทย

4. กลุ่มผู้มีทักษะเชี่ยวชาญพิเศษ

คาดจำนวนนักท่องเที่ยวกลับมาปกติ ปี 68 

เกือบ 2 ปีที่ผ่านมา การระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อเศรษฐกิจไทย โดยเฉพาะภาคท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการสูญเสียรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติปีละเกือบ 2 ล้านล้านบาท จากจำนวนนักท่องเที่ยวเกือบ 40 ล้านคนต่อปี

ขณะที่การฟื้นตัวของภาคท่องเที่ยวมีแนวโน้มล่าช้า วิจัยกรุงศรี คาดว่า จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติกว่าจะกลับสู่ระดับก่อนเกิดการระบาดอาจต้องใช้เวลาหลายปี หรือราวปี 2568

ปัจจุบันแม้แผนการฉีดวัคซีนจะเร่งขึ้นแต่คาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติจะมีเพียง 0.15 ล้านคน และ 2.5 ล้านคน ในปี 2564 และปี 2565 ตามลำดับ

ผลจากการระบาดที่รุนแรงกว่าคาดจึงอาจเป็นอุปสรรคต่อการเดินทางและทำให้แผนการเปิดสถานที่ท่องเที่ยวหลักบางแห่งเลื่อนช้าออกไปอีก ทั้งหลายประเทศสำคัญได้ปรับยกระดับคำเตือนนักท่องเที่ยวให้หลีกเลี่ยงการเดินทางมาประเทศไทย อาทิ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรปและอังกฤษ

การฟื้นตัวของตลาดนักท่องเที่ยวที่สำคัญของไทย โดยเฉพาะภูมิภาคเอเชียอาจล่าช้า เนื่องจากจำนวนผู้ติดเชื้อรายวันที่ยังอยู่ในระดับสูง และมีความกังวลเกี่ยวกับประสิทธิภาพของวัคซีน และการกลายพันธุ์ของไวรัส

 

 

]]>
1352819
วิจัยกรุงศรี ประเมิน ยอดติดเชื้อโควิด สูงสุด 26,000 คน/วัน ในต้นเดือนก.ย.นี้ กรณีเลวร้าย อาจเสียชีวิตพุ่ง 250-300 คน/วัน https://positioningmag.com/1347391 Tue, 17 Aug 2021 11:34:48 +0000 https://positioningmag.com/?p=1347391 วิจัยกรุงศรี ประเมินยอดติดเชื้อโควิด เเตะสูงสุด 26,000 คนต่อวัน ภายในต้นเดือนก.ย.นี้ กรณีเลวร้าย ยอดเสียชีวิตอาจพุ่ง 250-300 คนต่อวัน มองรัฐขยายมาตรการล็อกดาวน์เข้มงวด ยาวถึงกลางเดือนต.ค. 

ศูนย์วิจัยกรุงศรี เผยแบบจำลองวิเคราะห์การแพร่ระบาดของโควิดระลอก 3 ในไทย ล่าสุด ณ วันที่ 15 ส.ค. 64 จากสมมติฐานที่ผลของการล็อกดาวน์และวัคซีน มีประสิทธิภาพต่อการป้องกันการแพร่ระบาดที่ลดลง

โดยระบุว่า ในกรณีฐาน (Base Case) ที่ถูกเลื่อนออกไปเป็นช่วงต้นเดือนก.ย. (จากเดิมช่วงกลางเดือนส.ค.) อัตราการติดเชื้อรายวัน จะเเตะ ‘จุดสูงสุด’ ในต้นเดือนก.ย. ที่จะมีผู้ติดเชื้อสูงสุดอยู่ที่ 26,000 คนต่อวัน จากนั้นยอดผู้ติดเชื้อจะทยอยปรับตัวลดลง

ทั้งนี้ ในกรณีฐาน ประเมินภายใต้สมมติฐานที่ว่า ไทยสามารถฉีดวัคซีนได้อย่างน้อย 250,000 โดสต่อวัน หรือ 55 ล้านโดสภายในสิ้นปี 64 ประสิทธิภาพวัคซีนอยู่ที่ 50% และการล็อกดาวน์ในเดือนก.ค.ที่ผ่านมา สามารถควบคุมการระบาดได้ 40% ของการล็อกดาวน์ในเดือนเม.ย. 63

ส่วนกรณีเลวร้าย (Worst Case) อัตราการติดเชื้อต่อวันจะเพิ่มสูงกว่า 26,000 คน เเละจำนวนผู้เสียชีวิตต่อวัน จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องไปจนถึงประมาณต้นถึงกลางเดือนก.ย. สูงถึง 250-300 คนต่อวัน

ทั้งนี้ ในกรณีเลวร้าย ประเมินภายใต้สมมติฐานที่ว่า ไทยสามารถฉีดวัคซีนได้อย่างน้อย 250,000 โดสต่อวัน หรือ 55 ล้านโดสภายในสิ้นปี 64 แต่ประสิทธิภาพของวัคซีนอยู่ที่ 40% และการล็อกดาวน์ในเดือนก.ค.ที่ผ่านมา สามารถควบคุมการระบาดได้เเค่ 25% ของการล็อกดาวน์ในเดือนเม.ย. 63

จากข้อมูลทางสถิติพบว่า แม้วัคซีนที่มีอยู่ในปัจจุบัน จะไม่ได้ป้องกันการติดเชื้อได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ แต่ก็สามารถป้องกันอัตราการเสียชีวิตได้พอสมควร ดังนั้นในระยะต่อไป จำนวนผู้ติดเชื้ออาจจะยังคงอยู่ในระดับสูง แต่อัตราการเสียชีวิตอาจจะลดลงได้ หากมีผู้ฉีดวัคซีนเพิ่มขึ้นถึงระดับหนึ่งแล้ว

ทางวิจัยกรุงศรี คาดว่า การควบคุมกิจกรรมทางเศรษฐกิจแบบเข้มงวดของภาครัฐ อาจจะยังคงมีต่อไปจนกว่าจะพ้นกลางเดือนต.ค. ที่อัตราการเสียชีวิตเริ่มจะลดลงอย่างมีนัยสำคัญ โดยจะต้องติดตามปัจจัยเพิ่มเติมในช่วงหลังจากนี้อีกครั้ง

หากมาตรการล็อกดาวน์ขยายเวลาต่อไปจนถึงเดือนต.ค. วิจัยกรุงศรีจะคงประมาณการ GDP ไทยปีนี้ไว้ที่ 1.2% ลดลงจากเดิมที่เคยคาดไว้ที่ 2%

เศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งปีหลัง มีแนวโน้มอ่อนแอลงจากครึ่งปีแรกอย่างชัดเจน เเละประมาณการ GDP ปีนี้ ที่วิจัยกรุงศรีคาดไว้ว่าจะเติบโตที่ 1.2% นั้น ยังเผชิญความเสี่ยงขาลงมากขึ้น หากมาตรการทางการคลังและการเงินที่กำลังจะออกมาไม่มากเพียงพอที่จะบรรเทาผลเชิงลบได้

 

 

]]>
1347391
โควิดระลอก 3 ฉุดยอดบริโภคเอกชนวูบ ใช้จ่ายในประเทศลดลง หวัง ‘ส่งออก’ พยุงเศรษฐกิจ https://positioningmag.com/1335898 Tue, 08 Jun 2021 09:20:04 +0000 https://positioningmag.com/?p=1335898 BAY ประเมินโควิดระลอก 3 กระทบเป็นวงกว้าง ฉุดยอดใช้จ่ายในประเทศ การบริโภคเอกชน ‘หดตัว’ ในไตรมาส 2 นักท่องเที่ยวยังอยู่ในระดับต่ำมาก ได้อานิสงส์ส่งออกโต 19.1% ช่วยพยุงเศรษฐกิจ จับตาสัญญาณการผลิตโลกปรับดีขึ้นสูงสุดในรอบ 11 ปี

วิจัยกรุงศรี ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) เผยมุมมองต่อภาพรวมเศรษฐกิจไทยถึงผลกระทบจากการเเพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกที่สามว่า ได้ฉุดการใช้จ่ายในประเทศเดือนเมษายนให้อ่อนแอลง แต่การผลิตภาคอุตสาหกรรมยังคงทรงตัว โดยมีแรงหนุนจากภาคส่งออก

โดยดัชนีการบริโภคภาคเอกชนเดือนเมษายนกลับมาหดตัว จากเดือนก่อน (-4.3% MoM sa) ตามการลดลงในทุกหมวดการใช้จ่าย

มาตรการควบคุมการระบาดที่เข้มงวดขึ้น กระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจและความเชื่อมั่นลดลง แม้มาตรการภาครัฐจะช่วยพยุงกำลังซื้อภาคครัวเรือนได้บ้าง

ส่วนดัชนีการลงทุนภาคเอกชน หดตัวลงจากเดือนก่อนเช่นกัน (-3.1%) ตามการลดลงในหมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์สอดคล้องกับความเชื่อมั่นทางธุรกิจที่ปรับลดลงในทุกหมวด

ขณะที่ภาคท่องเที่ยวยังไม่ฟื้นตัว จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติยังอยู่ในระดับต่ำมากจากมาตรการจำกัดการเดินทางระหว่างประเทศที่ยังมีอยู่และการท่องเที่ยวในประเทศยังถูกกดดันจากการระบาดรอบใหม่

อย่างไรก็ดี มูลค่าภาคส่งออกยังขยายตัวดีต่อเนื่อง (19.1% YoY) และเมื่อหักการส่งออกทองคำ มูลค่าส่งออกจะยิ่งเติบโตสูงถึง 37% อานิสงส์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า ทำให้การส่งออกปรับดีขึ้นในหลายหมวดสินค้า และช่วยพยุงให้การผลิตภาคอุตสาหกรรมทรงตัวจากเดือนก่อน

ช่วงไตรมาส 2 ของปีนี้ กิจกรรมเศรษฐกิจของไทย ได้รับผลกระทบที่ ‘กระจายเป็นวงกว้าง’ ไปทั่วประเทศและมีจำนวนผู้ติดเชื้อสะสมเกินแสนคน ส่งผลให้การใช้จ่ายในประเทศมีแนวโน้มอ่อนแอลง

“ผลกระทบต่อภาพรวมเศรษฐกิจอาจไม่รุนแรงเท่ากับการระบาดรอบแรก เพราะภาคส่งออกในปีนี้ยังมีทิศทางขยายตัวดีตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและการค้าโลก” 

Photo : Shutterstock

ส่งออก ‘เติบโตดี’ ประคองเศรษฐกิจไทย

ล่าสุด สัญญาณภาคการผลิตของโลกเดือนพฤษภาคม ปรับดีขึ้นต่อเนื่องสู่ระดับสูงสุดในรอบ 11 ปี โดยการส่งออกและการผลิตอุตสาหกรรมที่ปรับดีขึ้นกระจายในหลายสาขา นับเป็นปัจจัยบวกที่จะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในปีนี้

สำหรับข้อมูลสินค้าส่งออกสูงสุด 20 อันดับแรกของไทย (คิดเป็นสัดส่วน 64.5% ของมูลค่าส่งออกรวม) มีสินค้า 14 รายการ (สัดส่วน 42.3%) ที่มีมูลค่าส่งออกในเดือนล่าสุดอยู่สูงกว่าค่าเฉลี่ยในช่วงก่อนเกิดการระบาด (ไตรมาส 4/2562) เช่น ผลิตภัณฑ์ยาง ยางพารา ผลิตภัณฑ์เคมี เม็ดพลาสติก ฯลฯ

เช่นเดียวกับการผลิตภาคอุตสาหกรรมในสาขาที่เกี่ยวข้องกับภาคส่งออกมีการปรับดีขึ้น เมื่อเทียบกับช่วงก่อนเกิดการระบาดอย่างชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า ฯลฯ

คาดครึ่งปีหลัง อัตราเงินเฟ้อ ‘ลดลง’ 

ด้านมาตรการลดค่าครองชีพของรัฐบาล มีส่วนช่วยชะลอการเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือนพฤษภาคม คาดว่าครึ่งปีหลังมีแนวโน้มทยอยชะลอตัวลง โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือนพฤษภาคมอยู่ที่ 2.44% YoY ชะลอลงจาก 3.41% ในเดือนเมษายน

อันเป็นผลมาจากมาตรการภาครัฐในการปรับลดค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า เพื่อลดภาระค่าครองชีพให้กับประชาชนเป็นครั้งที่ 2 ในรอบปี รวมทั้งการลดลงของราคาในกลุ่มอาหารสด เนื่องจากการแพร่ระบาดเป็นวงกว้างของโควิด-19 ระลอกใหม่ ส่งผลให้มีการปิดตลาดและสถานประกอบการหลายแห่ง ทำให้กำลังซื้อและปริมาณการบริโภคชะลอตัว

ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ยังคงปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง (+36.49%) ตามการสูงขึ้นของราคาน้ำมันในตลาดโลก เเละอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (หักราคาหมวดอาหารสดและพลังงาน) เดือนพฤษภาคมสะท้อนอุปสงค์ในประเทศที่อ่อนแอลง โดยลดลงอยู่ที่ -0.11% MoM จากเดือนเมษายนที่ +0.14% ปัจจัยชั่วคราวจากผลของฐานที่ต่ำในปีก่อน รวมถึงราคาพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้น หนุนให้อัตราเงินเฟ้อในเดือนเมษายนและพฤษภาคมค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับช่วงต้นปี

อย่างไรก็ตาม ผลของมาตรการภาครัฐที่ช่วยลดค่าครองชีพชั่วคราว (เดือนพฤษภาคม-มิถุนายน) ช่วยทำให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปค่อยๆ ทยอยลดลง

สำหรับแนวโน้มในช่วงครึ่งปีหลัง เมื่อผลของฐานต่ำในปีก่อนหมดลง คาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะลดลงอย่างชัดเจน แต่คาดว่าจะไม่ติดลบหรือต่ำมากเท่าช่วงต้นปี เนื่องจากการฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศ จากความคืบหน้าของการฉีดวัคซีน ผนวกกับได้แรงหนุนจากมาตรการกระตุ้นจากภาครัฐ คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปีนี้จะอยู่ที่ 1.1%

กระจายวัคซีนเร็ว ดันเศรษฐกิจโลก 

สำหรับสถานการณ์ ‘เศรษฐกิจโลก’ คาดว่าจะ ‘ฟื้นตัวดีขึ้น’ จากปัจจัยหนุนในการกระจายวัคซีนของจีนและสหรัฐฯ ที่มีสัญญาณบวกต่อเนื่อง
ส่วนเฟดจะยังไม่ปรับมาตรการ QE ในปีนี้ องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) ได้ปรับเพิ่มตัวเลขคาดการณ์การเติบโตของ GDP โลก แม้ความเร็วในการฟื้นตัวยังมีความแตกต่างกันในแต่ละประเทศ
โดยล่าสุดปรับเพิ่มคาดการณ์ GDP โลกในปี 2564 และปี 2565 เป็นขยายตัว 5.8% และ 4.4% (เดิมคาด 5.6% และ 4.0% ตามลำดับ) เเละมีการปรับเพิ่มประมาณการ GDP สหรัฐฯ ยูโรโซน และจีนที่ 6.9% 4.3% และ 8.5 ตามลำดับ ส่วนญี่ปุ่นนั้นคาดว่าขยายตัวที่ 2.6%
จากความคืบหน้าในการฉีดวัคซีนซึ่งช่วยให้ภาคธุรกิจทยอยกลับมาเปิดดำเนินการอีกครั้ง รวมถึงความต่อเนื่องของมาตรการภาครัฐในประเทศหลัก ที่มีส่วนช่วยขับเคลื่อนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก


เศรษฐกิจสหรัฐฯ
มีการฟื้นตัวต่อเนื่อง โดยเฉพาะตลาดแรงงาน ที่ปรับตัวดีขึ้นตามการทยอยเปิดดำเนินกิจกรรมการผลิต โดยประธานสาขาเฟดบางท่านเรียกร้องให้เฟดเริ่มหารือเกี่ยวกับแผนการลดการเข้าซื้อสินทรัพย์ตามมาตรการผ่อนคลายทางการเงิน (QE Tapering) ว่าจะดำเนินการอย่างไรและเมื่อใด วิจัยกรุงศรีมองว่า เฟดจะยังคงดอกเบี้ยนโยบายในระดับต่ำต่อไป

เศรษฐกิจจีน มีสัญญาณการฟื้นตัวที่ดี โดยคาดว่าจะกระจายไปยังฐานที่กว้างขึ้น ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อรวมภาคการผลิตและบริการเดือนพฤษภาคมของสำนักงานสถิติแห่งชาติจีนแตะระดับ 54.2 ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนซึ่งอยู่ที่ 53.8 เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของดัชนีฯ นอกภาคการผลิตที่แตะระดับ 55.2 สูงสุดในรอบ 2 เดือน แม้ว่าดัชนีฯ ภาคการผลิตปรับตัวลงสู่ระดับ 51.0 ต่ำสุดในรอบ 3 เดือน

เศรษฐกิจจีนยังคงฟื้นตัวต่อไปสะท้อนจากดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อรวมฯ ที่ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 15 (ค่าดัชนี > 50) แม้ดัชนีฯ ภาคการผลิตจะปรับตัวลงเนื่องจากปัจจัยชั่วคราวจากการขาดแคลนวัตถุดิบและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้น ขณะที่ดัชนีฯ นอกภาคการผลิตฟื้นตัวตามการเพิ่มขึ้นของคำสั่งซื้อใหม่ การปรับตัวดีขึ้นของภาคเศรษฐกิจที่นอกเหนือจากด้านการผลิตบ่งชี้ว่าการเติบโตของเศรษฐกิจจีนในระยะต่อไปมีแนวโน้มกระจายตัวมากขึ้น

Photo : Shutterstock

“แม้เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นจากแรงส่งในภาคการผลิต การค้า รวมถึงการเริ่มกลับมาใช้จ่ายของผู้บริโภค แต่ยังเผชิญความไม่แน่นอน” 

โดยมีปัจจัยเสี่ยงในด้านต่างๆ ที่ต้องจับตามอง ได้แก่
  • ความรวดเร็วในการกระจายวัคซีนที่ต่างกันในหลายประเทศ เเละความเสี่ยงจากการระบาดระลอกใหม่รวมทั้งการกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัส
  • การฟื้นตัวยังไม่เท่าเทียมกัน โดยเฉพาะประเทศที่ต้องพึ่งพาภาคท่องเที่ยวอาจปรับตัวช้ากว่า
  • แนวโน้มการเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อ จากปัจจัยชั่วคราวทั้งฐานต่ำในปีก่อนและต้นทุนที่สูงขึ้น จากการขาดแคลนวัตถุดิบ รวมถึงการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นมีผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสูงขึ้นและอาจกระทบต้นทุนทางการเงิน
  • การฟื้นตัวของภาคการผลิตที่ถูกจำกัด โดยปัญหาการชะงักงันและสภาพคอขวดในห่วงโซ่อุปทาน ซึ่งอาจกลายเป็นความเสี่ยงที่กดดันการเติบโตให้ต่ำกว่าศักยภาพ และส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวโดยภาพรวมของโลก

 

]]>
1335898
วิจัยกรุงศรีเลื่อนคาดการณ์ “โควิดรอบสาม” จบเดือนสิงหาคม ปรับลดจีดีพีไทยเหลือ 2% https://positioningmag.com/1332716 Tue, 18 May 2021 10:36:05 +0000 https://positioningmag.com/?p=1332716 ระบาดรอบ 3 จะจบเมื่อไหร่? คือคำถามที่ทุกคนเฝ้ารอคำตอบ ล่าสุด “วิจัยกรุงศรี” พล็อตกราฟใหม่หลังการระบาดมีแนวโน้มรุนแรง คาดจุดพีคของยอดผู้ติดเชื้ออาจเป็นช่วงปลายเดือนพฤษภาคมนี้ และทำให้การคุมระบาดสำเร็จล่วงเลยไปถึงเดือนสิงหาคม จึงพิจารณาปรับลดคาดการณ์จีดีพีไทยปีนี้เหลือโต 2% โดยไตรมาส 1/64 ยังติดลบอยู่ -2.6% YoY

วิจัยกรุงศรีประเมินใหม่ หลังสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 รอบสามรุนแรงกว่าที่เคยคาดไว้เมื่อเดือนเมษายน คาดว่าระยะที่การระบาดจะกลับมาเป็นปกติ (มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ไม่เกิน 100 คนต่อวัน) จะเลื่อนจากต้นเดือนกรกฎาคมนี้ ไปเป็นเดือนสิงหาคม ทั้งนี้ ประเมินแยกเป็น 3 กรณี ดังนี้

  • กรณีแรก (เส้นสีเหลือง) สามารถคุมการระบาดของคลัสเตอร์ใหม่ได้ ทำให้จำนวนผู้ติดเชื้อสูงสุดยังอยู่ในเดือนพฤษภาคม คาดว่าจะทำให้ผู้ติดเชื้อค่อยๆ ลดลงจนเป็นปกติภายในปลายเดือนกรกฎาคม
  • กรณีที่สอง (เส้นสีส้ม) ยังไม่สามารถคุมการระบาดของคลัสเตอร์ใหม่ได้ ทำให้จำนวนผู้ติดเชื้อสูงสุดเกิดขึ้นช่วงปลายเดือนพฤษภาคม และทำให้การระบาดกลับเป็นปกติราวปลายเดือนสิงหาคม
  • กรณีที่เลวร้ายที่สุด (เส้นสีแดง) มีการระบาดของคลัสเตอร์ใหม่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้ติดเชื้อยังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ไปอีก 2-3 เดือน และผู้ติดเชื้อสะสมจะขึ้นไปแตะ 3 แสนรายได้ในช่วงสิ้นเดือนกรกฎาคม (จากปัจจุบันมีผู้ติดเชื้อกว่า 1 แสนราย) โดยวิจัยกรุงศรียังไม่ระบุช่วงที่การระบาดจะคลี่คลาย หากเกิดกรณีนี้ขึ้น
คาดการณ์กรณีความเป็นไปได้ต่างๆ ของการระบาดรอบ 3 โดยวิจัยกรุงศรี

อย่างไรก็ตาม วิจัยกรุงศรีเชื่อว่า สถานการณ์จริงน่าจะอยู่ในช่วงระหว่างเส้นสีเหลืองและเส้นสีส้ม นั่นหมายความว่าการระบาดอาจคลี่คลายช่วงต้นถึงกลางเดือนสิงหาคม

การระบาดที่คลี่คลายช้าลงไปอีกประมาณ 1 เดือน จะทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจและการใช้จ่ายภาคเอกชนถูกจำกัด รวมถึงจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติปีนี้น่าจะหดตัวลงเหลือ 3.3 แสนคนเท่านั้น วิจัยกรุงศรีจึงปรับคาดการณ์จีดีพีไทยเหลือ 2% (จากเดิม 2.2%)

ขณะที่ สภาพัฒน์ ก็ปรับลดคาดการณ์จีดีพีไทยเช่นกัน โดยลดเหลือกรอบ 1.5-2.5% จากเดิม 2.5-3.5%

สำหรับไตรมาสแรกปี 2564 เศรษฐกิจไทยติดลบต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ห้า โดยติดลบ -2.6% YoY แต่ถือว่าฟื้นตัวขึ้นมาแล้วจากไตรมาสที่สี่ปี 2563 เพราะเมื่อไตรมาสก่อนหน้าเศรษฐกิจติดลบ -4.2%

ส่วนเซ็กเตอร์ที่จะยังช่วยประคองเศรษฐกิจในปีนี้ได้ เป็นภาคการส่งออก การลงทุนภาคเอกชน การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของรัฐ และเงินอัดฉีด 2 แสนล้านบาทเพื่อเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจาก COVID-19

การควบคุมการระบาดยังขึ้นอยู่กับนโยบายการกระจายวัคซีนด้วย โดยล่าสุดคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติจัดประชุมเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม มีมติที่สำคัญ ดังนี้ 1.ปรับเพิ่มจำนวนจัดหาวัคซีนเป็น 150 ล้านโดสภายในปี 2565 2. ปรับแนวทางเป็นการฉีดวัคซีนเข็มแรกให้ประชาชนให้ได้มากที่สุด 3.เร่งจัดหาวัคซีนให้มากที่สุดและหลากหลายมากขึ้น

]]>
1332716
COVID-19 ระลอกสามป่วนเศรษฐกิจปี’64 นักวิเคราะห์ “ปรับลด” จีดีพีไทยถ้วนหน้า https://positioningmag.com/1328555 Wed, 21 Apr 2021 09:12:10 +0000 https://positioningmag.com/?p=1328555 รวมข้อมูลจาก 4 สถาบันวิเคราะห์การเงินการลงทุน คาดการณ์ใหม่ “ปรับลด” จีดีพีไทยปี 2564 ถ้วนหน้า “กรุงไทย” ปรับลดฮวบเหลือโต 1.5% ขณะที่ “เอเซีย พลัส” ยังมองบวก คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะเติบโต 2.46% มาตรการรัฐรอบใหม่ไม่รุนแรงเท่าปีก่อน

Positioning รวบรวมข้อมูลจาก 4 สถาบันวิเคราะห์การเงินการลงทุน ตบเท้ากันออกคาดการณ์ใหม่เศรษฐกิจไทยปี 2564 ปรับลดจีดีพีลงทั้งหมด ดังนี้

– ศูนย์วิจัยกรุงไทย COMPASS : ปรับลดเหลือ 1.5% จากเดิม 2.5%
– ศูนย์วิจัยกสิกรไทย : ปรับลดเหลือ 1.8% จากเดิม 2.6%
– ศูนย์วิจัยกรุงศรี : ปรับลดเหลือ 2.2% จากเดิม 2.5%
– เอเซีย พลัส : ปรับลดเหลือ 2.46% จากเดิม 2.6%

การปรับลดจีดีพีไทย 2564 เกิดขึ้นจากการระบาดของ COVID-19 ระลอกที่สาม ซึ่งทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจของคนไทยลดลง โดยขณะนี้ยังไม่สามารถระบุได้ว่าการแพร่ระบาดรอบนี้จะผ่อนแรงลงเมื่อใด

 

“กรุงไทย” : รอบสามกระทบหนักการบริโภค

ศูนย์วิจัยกรุงไทย COMPASS ปรับลดหนักที่สุด โดยมองว่าผลกระทบ COVID-19 รอบสามจะทำให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวต่ำ เหลือ 1.5% จากเดิม 2.5% เพราะกระทบโดยตรงกับการบริโภคภายในประเทศ กระทบการท่องเที่ยว และภาครัฐออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจได้จำกัด ทำให้เม็ดเงินจะเข้าสู่ระบบได้น้อย

คาดว่าการฟื้นตัวอาจจะต้องใช้เวลา 3 เดือน เข้าสู่ช่วงไตรมาส 3 กว่าที่จะเห็นการฟื้นตัวได้ มีเพียงปัจจัยภาคส่งออกที่ยังเติบโตได้ดี ช่วยชดเชยจีดีพีได้ แต่ก็ยังไม่มากพอที่จะพยุงจีดีพีให้เติบโตได้เท่าที่เคยคาดการณ์ไว้

 

“กสิกรไทย” : กังวลการคุมการระบาด-วัคซีน

ด้าน ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เป็นอีกหนึ่งสถาบันที่มองค่อนข้างเป็นลบกับสถานการณ์ระบาดรอบสาม โดยปรับลดคาดการณ์จีดีพีไทยเหลือ 1.8% จากเดิม 2.6%

กสิกรไทยมองว่า ผลของมาตรการของรัฐ แม้จะไม่ได้เข้มงวดมาก แต่จะมีผลต่อความกังวลและทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภค รวมถึงอาจมีผลต่อจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดิมคาดว่าจะเข้ามา 2 ล้านคน อาจจะต่ำกว่าที่คาดไว้

ที่มา: ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

อีกประเด็นหนึ่งที่กสิกรไทยชี้ให้เห็นคือ “วัคซีน” เป็นตัวแปรสำคัญต่อเศรษฐกิจไทย เพราะหากการฉีดวัคซีนล่าช้า อาจทำให้การระบาดรอบสามยืดเยื้อ หรือเกิดการระบาดรอบใหม่ได้อีกในไตรมาส 3/64 ซึ่งจะมีผลซ้ำอีกกับการบริโภคภายในประเทศและการท่องเที่ยว

รวมถึงหากจำนวนผู้ติดเชื้อสูงต่อเนื่อง อาจมีผลทำให้ระบบสาธารณสุขล่ม ซึ่งส่งผลกับเศรษฐกิจอย่างประเมินค่ามิได้

 

“กรุงศรี” : จีดีพีลดลงเล็กน้อย 0.3%

ฟากสถาบันที่ยังมองไม่รุนแรงมากคือ ศูนย์วิจัยกรุงศรี มองว่าจีดีพีไทยปีนี้จะลดลงเหลือ 2.2% จากเดิม 2.5% ถือว่าลดลงไม่แรงเทียบกับสถาบันอื่นๆ ที่ปรับคาดการณ์

จุดที่กรุงศรีมองว่าจะปรับลดลงคือ “การลงทุนภาครัฐ” และ “นักท่องเที่ยว” คาดว่าจะลดจากเดิม 4 ล้านคน เหลือ 3 ล้านคน แต่เนื่องจากการนำเข้า-ส่งออกเติบโตดี และการบริโภคภาคเอกชนน่าจะดีขึ้น ทำให้การปรับลดไม่สูงมาก

อย่างไรก็ตาม การประเมินข้างต้นตั้งอยู่บนสมมติฐานว่ารัฐจะใช้มาตรการล็อกดาวน์แบบอ่อนๆ ไม่เกิน 2 เดือน คือสถานการณ์เริ่มดีขึ้นในเดือนกรกฎาคม ไทยกลับมามีผู้ติดเชื้อไม่เกิน 100 รายต่อวัน และทำให้นักท่องเที่ยวเข้าประเทศได้ หากการล็อกดาวน์บางส่วนยิงยาวไปถึง 3 เดือน จะทำให้จีดีพีประเทศลดลง 0.75%

 

“เอเซีย พลัส” : มองบวก กระทบจีดีพีเพียงเล็กน้อย

สำหรับ บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จำกัด ประเมินว่าจีดีพีไทยน่าจะลดลงจากเดิมที่คาดว่าโต 2.6% เหลือกรณีที่ดีที่สุดเติบโตได้ 2.46%

ที่มา: เอเซีย พลัส

เหตุที่มองว่าจะลดลงไม่มาก เพราะมาตรการรัฐคุมระบาดรอบสามไม่รุนแรงเท่ากับเมื่อปีก่อน โดยไม่ได้มีการเคอร์ฟิวห้ามออกนอกเคหสถาน และร้านอาหารกับศูนย์การค้าไม่ถูกปิดชั่วคราวแต่ใช้วิธีควบคุมเวลาเปิดปิดแทน จึงมองว่าจะไม่กระทบการใช้จ่ายมากนัก

นอกจากนี้ การส่งออกนำเข้าก็ยังเติบโตได้ดี และไม่ได้รับผลกระทบจากการระบาด อย่างไรก็ตาม หากการระบาดยืดเยื้อยาวนาน กรณีที่แย่ที่สุด เชื่อว่าจีดีพีไทยจะโตเพียง 2.04%

]]>
1328555
เศรษฐกิจไทยมีหวัง! กรุงศรี คาด GDP ปี 64 โต 3.3% ส่งออกดี-ท่องเที่ยวซบยาว การเมืองกระทบ “ลงทุน” https://positioningmag.com/1307537 Wed, 25 Nov 2020 09:30:26 +0000 https://positioningmag.com/?p=1307537 ปีหน้ายังมีหวัง เศรษฐกิจไทยจะฟิ้นตัว เเต่ไม่หวือหวามากนักเเบงก์กรุงศรีปรับจีดีพี ปี 2564 ดีขึ้นเป็น 3.3% จากเดิมคาดไว้ที่ 2.9% จากเเรงหนุนส่งออก ลงทุนภาครัฐ บวกอานิสงส์ต่างประเทศเริ่มฟื้น ส่วนธุรกิจท่องเที่ยวยังต้องรอชาวต่างชาตินานถึงปลายปีหน้า

ปัญหาการเมืองยืดเยื้อ กระทบจีดีพี 0.6-1.1% มีผลต่อการลงทุนเเละความเชื่อมั่น มองไทยเข้าร่วม RCEP เปิดตลาดเสรี คือโอกาสหนุนเศรษฐกิจโตในระยะยาว 

สมประวิณ มันประเสริฐ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงานวิจัยและหัวหน้าทีมวิจัยเศรษฐกิจ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) เปิดเผยว่า ธนาคารได้คาดการณ์อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย (จีดีพี) ในปี 2564 อยู่ที่ 3.3% จากเดิมที่คาดไว้ที่ 2.9%

พร้อมๆ กับการปรับจีดีพี ปี 2563 จาก -10.3% มาอยู่ที่ -6.4% เนื่องจากเห็นสัญญาณที่ดีของเศรษฐกิจไทยที่เริ่มฟื้นตัวมาตั้งเเต่ช่วงไตรมาสที่ 3 จากการใช้จ่ายของภาครัฐที่มีการเร่งตัวขึ้น และการส่งออกที่ดีเกินคาดโดยล่าสุดการส่งออกสินค้าปรับดีขึ้นทุกหมวดสินค้า

คาดว่าเศรษฐกิจไทย จะกลับมาเป็นบวกได้ ตั้งแต่ไตรมาส 2/2564 จากฐานที่ต่ำในปีก่อนหน้า การเร่งใช้จ่ายภาครัฐ และการฟื้นตัวของอุปสงค์ภายนอกประเทศ

การลงทุนภาครัฐที่คาดว่าจะขยายตัว 10.5% ในปีหน้า จะเป็นตัวผลักดันภาคการบริโภคขยายตัว 2.5% จากปีนี้ -1.1% และการลงทุนในประเทศโต 3.2% จาก -11% ในปีนี้

ส่วนความท้าทายที่รออยู่นั้น วิจัยกรุงศรีฯ มองว่า หลักๆ คือปัจจัยลบจากสถานการณ์ในประเทศ การฟื้นตัวของภาคท่องเที่ยวจะช้ากว่าภาคอื่นๆ เนื่องจากเศรษฐกิจไทยมีการพึ่งพาการท่องเที่ยวสูงมาก ซึ่งส่งผลกระทบต่อธุรกิจ ทำให้เกิดการว่างงาน ส่งต่อเป็นปัญหารายได้และการใช้จ่ายของผู้บริโภค

“คาดว่าเศรษฐกิจไทย จะกลับเข้าสู่ระดับเดียวกับช่วงก่อนเกิด COVID-19 ได้ในไตรมาส 3 ปี 2565” 

ท่องเที่ยวฟื้นช้า รอต่างชาติยาวถึงปลายปี 64

ผู้บริหารกรุงศรี มองว่า ภาคการท่องเที่ยว เป็นดัชนีชี้วัดเดียวที่ยังไม่มีหวังที่จะกลับมาในเร็วๆ นี้ โดยคาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวในปี 2564 จะอยู่ที่ 4 ล้านคน จากปีนี้อยู่ที่ 6.7 ล้านคน ซึ่งตอนนั้นยังพอมีนักท่องเที่ยวต่างชาติบ้างในช่วงไตรมาส 1

คาดว่าวัคซีน COVID-19 จะถูกนำมาใช้จริงในช่วงกลางปีหน้า เเต่ยังต้องใช้เวลาในการเเจกจ่ายให้ทั่วถึง ขึ้นอยู่กับนโยบายของเเต่ละประเทศ ทำให้การเปิดพรมเเดนรับนักท่องเที่ยวต้องใช้เวลานานยิ่งขึ้นไปอีก โดยความคืบหน้าด้านวัคซีน อาจเร่งให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มขึ้นได้ในช่วงไตรมาส 4/2564”

ขณะที่การเติบโตของการบริโภคภาคเอกชน ปี 2563 มีการปรับคาดการณ์จาก -4.2% เป็น -1.1% และคาดว่าจะเติบโตที่ 2.5% ในปี 2564 โดยการใช้จ่ายภาคครัวเรือนจะค่อยๆ ฟื้นตัว แต่การใช้จ่ายในเกือบทุกหมวดสินค้าจะยังต่ำกว่าระดับก่อนวิกฤต

“การใช้จ่ายของผู้บริโภคในปีนี้ จะหดตัวน้อยกว่าที่คาดไว้ จากมาตรการให้เงินช่วยเหลือวงเงินมากกว่า 4 แสนล้านบาท ในช่วงไตรมาส 2 และ 3 และมาตรการส่งเสริมการใช้จ่ายในประเทศวงเงินประมาณ 1 แสนล้านบาท ในไตรมาส 4/2563”

ส่วนในปี 2564 กรุงศรีฯ มองว่า มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม (งบประมาณพิเศษของรัฐบาลวงเงิน 2 แสนล้านบาท) กำลังซื้อจากกลุ่มชั้นกลาง และกลุ่มที่มีรายได้สูง จะเป็นปัจจัยหนุนการบริโภคภาคเอกชนเติบโตต่อเนื่อง

การเมืองกระทบ “ลงทุน” 

สมประวิณ กล่าวว่า สถานการณ์ความไม่แน่นอนทางการเมืองในประเทศนั้น อาจจะส่งผลให้จีดีพีของปี 2564 ลดลงราว 0.6% ถึง 1.1% และมีผลกระทบระยะยาว (ธนาคารได้รวมปัจจัยนี้ไว้ในการคาดการณ์จีดีพีที่ 3.3% ในกรณีที่ไม่เกิดเหตุรุนเเรง)

โดยมีการประเมินจาก เหตุการณ์ความวุ่นวายทางการเมืองที่ผ่านมา พบว่าส่วนใหญ่จะกระทบต่อภาคการท่องเที่ยว และการลงทุน ซึ่งมีผลโดยตรงกับความเชื่อมั่น เเละการตัดสินใจในการเข้ามาทำธุรกิจ

มอง RCEP เปิดตลาดเสรี คือโอกาส

เศรษฐกิจไทยในปีหน้าจะ “เป็นบวก” ได้มาจาก “การส่งออก” ที่จะพลิกกลับมาขยายตัวได้ 4.5% จากปี 2563 ที่ -7.5% จากอุปสงค์ที่เพิ่มสูงขึ้นสำหรับผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการป้องกัน COVID-19 อุปกรณ์ทางการแพทย์และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานที่บ้าน (work from home)

องค์การการค้าโลก (WTO) คาดการณ์ว่าการเติบโตของยอดส่งออกโลกจะเพิ่มขึ้น 7.2% ในปี 2564 จากคาดการณ์ที่ติดลบในปีนี้ -9.2% มีโอกาสการเติบโตในระยะปานกลาง จากภูมิภาคอาเซียนที่กำลังขยายความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและแนวโน้มการพึ่งพากันภายในภูมิภาคมากขึ้น (Regionalization)

“การเข้าร่วมในความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ของไทย ถือว่าเป็นปัจจัยหนุนต่อการช่วยผลักดันเศรษฐกิจไทยในระยะต่อไป” 

สมประวิณ มันประเสริฐ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงานวิจัยและหัวหน้าทีมวิจัยเศรษฐกิจ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา

ผู้บริหารกรุงศรี มองว่า ประเทศอาเซียนส่วนใหญ่อยู่ในตำแหน่งที่แตกต่างกันบนซัพพลายเชนโลก แสดงถึงโอกาสที่จะเอื้อประโยชน์ต่อกันและกัน ดังนั้นความร่วมมือ RCEP ที่เชื่อมโยงทั้งการค้าและห่วงโซ่อุปทานการผลิต จะเป็นโอกาสในการที่ประเทศไทย จะได้ขยายฐานการส่งออกไปสู่ประเทศที่มีแนวโน้มขยายตัวมากขึ้น และเป็นกลุ่มประเทศที่ประชากรเริ่มมีกำลังซื้อสูงขึ้น ทำให้ช่วยผลักดันเศรษฐกิจไทยได้

ทีมวิจัยเศรษฐกิจ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา สรุปข้อเสนอเเนะเกี่ยวกับ “มาตรการช่วยเหลือ” ใน 4 ประเด็น ได้เเก่ 

  • การปรับโครงสร้างหนี้ เพราะจะช่วยให้ระบบการเงินขับเคลื่อนไปได้
  • สร้างสภาพคล่องในระบบ เเม้ว่าธุรกิจต่างๆ จะกลับมาเปิดให้บริการตามปกติเเล้ว
  • สนับสนุนให้เกิดการจ้างงาน กระตุ้นให้กลุ่มคนที่ “มีกำลังซื้อ” ออกมาจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น
  • ช่วยเหลือภาคท่องเที่ยว เช่นการลดภาษี กระตุ้นให้ผู้คนท่องเที่ยวในประเทศ

“ควรดำเนินการทันทีและทำให้เหมาะสม ขึ้นอยู่กับระดับของปัญหาสภาพคล่อง ซึ่งมาตรการช่วยเหลือที่ออกมาส่วนใหญ่ยังคงไม่เพียงพอ เเละยังขาดมาตรการที่ส่งเสริมการให้สินเชื่อใหม่”

 

]]>
1307537
ทุบลงอีก! “วิจัยกรุงศรี” ปรับคาดการณ์ GDP ปีนี้ ติดลบ 10.3% จากพิษ COVID-19 https://positioningmag.com/1286667 Mon, 06 Jul 2020 14:40:25 +0000 https://positioningmag.com/?p=1286667 วิจัยกรุงศรี คาดการณ์เศรษฐกิจไทยจะหดตัว 10.3% ในปี 2563 จากเดิมที่คาดว่าจะติดลบ 5% โดยมองว่าเศรษฐกิจในภาพรวมมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นจากการชะลอตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจจากการระบาดของไวรัส COVID-19 ที่รุนแรงและยาวนานกว่าที่คาด และผลกระทบทางลบที่ส่งต่อเป็นทอดๆ ไปยังภาคส่วนเศรษฐกิจอื่นๆ  

ต่ำกว่าปี 41

ดร.สมประวิณ มันประเสริฐ ผู้บริหารสายงานวิจัยและหัวหน้าทีมเศรษฐกิจ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า

“แม้ไทยจะไม่มีรายงานผู้ติดเชื้อรายใหม่ในประเทศมากว่า 1 เดือน และมีการผ่อนคลายมาตรการล็อคดาวน์ แต่มาตรการเฝ้าระวัง เช่น การรักษาระยะห่างทางสังคม การระงับการบินระหว่างประเทศ รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภค ยังกดดันกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้วิจัยกรุงศรีปรับคาดการณ์เศรษฐกิจไทยในปีนี้และมองว่าจะหดตัว 10.3% ซึ่งต่ำกว่าช่วงวิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชียในปี 2541 แต่เศรษฐกิจจะค่อยๆ ฟื้นตัวและเติบโตที่ 2.9% ในปี 2564”

วิจัยกรุงศรี มองว่า จำนวนผู้ติดเชื้อทั่วโลกที่พุ่งขึ้นเกิน 10 ล้านรายและยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง รวมทั้งความเสี่ยงของการเกิดการระบาดรอบสองในหลายประเทศ อาจทำให้การบังคับใช้มาตรการห้ามเที่ยวบินระหว่างประเทศนานกว่าที่คาดไว้ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อภาคการท่องเที่ยวอย่างมาก ประเทศไทยพึ่งพารายได้จากการท่องเที่ยวในสัดส่วนสูง จึงเป็นหนึ่งในประเทศที่เปราะบางมากจากผลกระทบของ COVID-19

โดยคาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มาไทยในปีนี้จะลดลงถึง 83% แม้จะมีการเปิดประเทศด้วยการท่องเที่ยวแบบจับคู่เดินทาง (Travel Bubble Policy) แต่คาดว่า ณ กลางปี  2564 จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติจะยังคงน้อยกว่า 1 ล้านคนต่อเดือน

กระทบแรงงานไทย 80%

การชะลอตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจและผลกระทบทางลบที่ส่งต่อไปยังภาคหลายส่วน อาจทำให้แรงงานในไทยประมาณ 80% ได้รับผลกระทบในช่วงที่มีการระบาดหนักของ COVID-19 จากเดิมคาดไว้ที่ 50% และในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้คาดว่าจะยังมีแรงงานที่ได้รับผลกระทบประมาณ 30% จากเดิมคาดไว้ที่ 10% ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อรายได้ของครัวเรือนและความสามารถในการใช้จ่ายของประชาชน

ทั้งนี้ การปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายมาสู่ระดับต่ำสุดที่ 0.5% และการผ่อนคลายมาตรการทางการเงินต่างๆ น่าจะช่วยบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจได้บางส่วน อย่างไรก็ตาม หลังจากพ้นช่วงเวลาของมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยและผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs คาดว่าหนี้สินของภาคธุรกิจและหนี้สินของภาคครัวเรือนจะเพิ่มขึ้นในเร็วๆ นี้ ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเลิกจ้างงานและภาคการเงินของประเทศ

(Photo by Anusak Laowilas/NurPhoto via Getty Images)

“นอกจากการระบาดของไวรัส COVID-19 ที่คาดว่าจะฉุดให้เศรษฐกิจไทยหดตัว 10.6% ในปีนี้ ความล่าช้าของการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและปัญหาภัยแล้งจะส่งผลให้การเติบโตของ GDP ลดลงไปอีก 1% และ 0.4% ตามลำดับ แม้จะมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจทยอยออกมา ซึ่งคาดว่าจะหนุนให้เศรษฐกิจโตได้ราว 1.7%

นโยบายการเงินและการคลังที่ประกาศออกมาอาจจะไม่เพียงพอในการยับยั้งการถดถอยของเศรษฐกิจ และอาจไม่มากพอที่จะกระตุ้นให้การเกิดการใช้จ่ายของภาคครัวเรือนและการลงทุนของภาคเอกชน วิจัยกรุงศรีจึงมองว่าเศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวในรูปแบบตัวยู (U-shaped Recovery) แต่มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นที่จะเปลี่ยนไปเป็นการฟื้นตัวแบบตัวแอล (L-shaped Recovery) จากการระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่รุนแรงและยาวนานเกินกว่าที่คาดไว้”

]]>
1286667