เศรษฐกิจอาเซียน – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Sun, 25 Feb 2024 11:23:30 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 วิจัยกรุงศรีคาด GDP ไทยปี 67 โต 2.7% และยังมีความไม่แน่นอนสูง สวนทางกลุ่มประเทศในอาเซียน https://positioningmag.com/1463914 Sun, 25 Feb 2024 07:32:30 +0000 https://positioningmag.com/?p=1463914 วิจัยกรุงศรีคาด GDP ไทยปี 67 โต 2.7% และยังมีความไม่แน่นอนสูง รวมถึงเติบโตต่ำกว่าค่าเฉลี่ย ตัวเลขดังกล่าวของไทยถือว่าสวนทางกลุ่มประเทศในอาเซียนซึ่งคาดว่าจะเติบโตที่ 4.7% ขณะที่ภาพรวมเศรษฐกิจโลกนั้นถือว่าเติบโตชะลอตัวลงตามวัฎจักร 

พิมพ์นารา หิรัญกสิ หัวหน้าทีมวิจัยเศรษฐกิจ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงสภาวะเศรษฐกิจโลกกำลังเข้าสู่สภาวะชะลอตัวตามวัฎจักร หลังจากหลายประเทศได้ใช้นโยบายเศรษฐกิจแบบผ่อนคลาย แล้วมีการปรับดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น ขณะที่นโยบายการคลังของรัฐบาลการกระตุ้นเศรษฐกิจก็จะเบาลง

นอกจากนี้ยังมีการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน ความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะชะงักงันทางเศรษฐกิจในยุโรป ภาวะภัยแล้งจากปรากฏการณ์เอลนีโญ สงครามรัสเซีย-ยูเครน รวมถึงความตึงเครียดในตะวันออกกลาง รวมถึงการแบ่งขั้วทางเศรษฐกิจซึ่งนำโดยสหรัฐฯ และจีน ส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานโลกนั้นสร้างแรงกระเพื่อมต่อการค้าและการลงทุนทั่วโลก

เศรษฐกิจสหรัฐฯ วิจัยกรุงศรีคาดว่า GDP จะเติบโต 2.1% โดยมองว่าเศรษฐกิจเติบโตไม่ร้อนแรงเหมือนเดิม แต่การจ้างงาน ค่าแรง ยังดูโอเค และหลังจากนี้เศรษฐกิจของสหรัฐฯ จะเติบโตกลับสู่ระดับปกติ นอกจากนี้ยังคาดว่าธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) น่าจะลดดอกเบี้ยช่วงกลางปีเป็นต้นไป

สำหรับเศรษฐกิจจีน วิจัยกรุงศรีมองว่าความเสี่ยงสำคัญคือภาคอสังหาริมทรัพย์ และปัญหาเชิงโครงสร้างทำให้เศรษฐกิจชะลอตัวลง นอกจากนี้จีนยังต้องหาเครื่องยนต์ขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจใหม่ๆ แทนการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน คาดว่าในปีนี้เศรษฐกิจจีนโตได้ 4.6%

ในส่วนของเศรษฐกิจในยูโรโซน วิจัยกรุงศรี มองว่ายังทรงๆ แม้ว่าจะรอดจากสภาวะเศรษฐกิจถดถอย แต่ในช่วงครึ่งปีแรกของปีนี้ยังมองว่าการเติบโตยังอ่อนแอ ขณะที่ญี่ปุ่นเศรษฐกิจได้รับแรงบวกจากการเปิดประเทศแทบจะ 100% แล้ว แต่มองว่าการเพิ่มค่าแรง อาจทำให้ BoJ ปรับดอกขึ้นได้ แม้ว่าไตรมาส 4 ของปีที่ผ่านมาเศรษฐกิจญี่ปุ่นจะถดถอยก็ตาม

ปัจจัยดังกล่าวทำให้หัวหน้าทีมวิจัยกรุงศรีมองว่าสำหรับเศรษฐกิจโลกนั้นน่าจะเติบโตได้ 3.1% ถือว่าเติบโตต่ำใกล้เคียงกับปีก่อน

ดร.พิมพ์นารา หิรัญกสิ – หัวหน้าทีมวิจัยเศรษฐกิจ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) / ภาพจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา

เศรษฐกิจอาเซียน

วิจัยกรุงศรีคาดว่า อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจในกลุ่มอาเซียน 5 ประเทศรวมกัน (ASEAN 5) จะอยู่ที่ 4.7% เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าที่ขยายตัวประมาณ 4.2%โดยอุปสงค์ภายในประเทศยังคงเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญ รวมถึงการส่งออกมีแนวโน้มฟื้นตัวเล็กน้อยตามการคลี่คลายของภาวะชะงักงันด้านอุปทาน กำลังซื้อที่กระเตื้องขึ้นจากเงินเฟ้อที่ชะลอตัวลง และแรงกดดันจากสภาวะทางการเงินตึงตัวที่มีแนวโน้มลดลงในช่วงครึ่งหลังของปีนี้

อย่างไรก็ตามความท้าทายต่อเศรษฐกิจภูมิภาคที่สำคัญ ได้แก่ ความเสี่ยงจากปัจจัยภายนอก อาทิ เศรษฐกิจโลกที่ยังอ่อนแอ ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ และปรากฏการณ์เอลนีโญ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะเพิ่มความไม่แน่นอนต่อแนวโน้มการเติบโตของภูมิภาคผ่านช่องทางทั้งภาคการเงินและการค้า

นอกจากนี้ นโยบายการคลังจะทวีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อรองรับความท้าทายด้านอุปทานที่มีแนวโน้มเกิดบ่อยขึ้น สำหรับนโยบายการเงิน อัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ ที่อยู่ในระดับสูง และความเสี่ยงเงินเฟ้อจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ผันผวน อาจทำให้ธนาคารกลางในภูมิภาคอาเซียนส่วนใหญ่ยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้จนถึงกลางปีนี้

เศรษฐกิจไทย

หัวหน้าทีมของวิจัยกรุงศรีคาดว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2567 จะเติบโตได้ 2.7% เติบโตมากกว่า GDP ของไทยในปี 2566 ซึ่งอยู่ที่ 1.9% สาเหตุสำคัญคือการใช้จ่ายภาครัฐที่กลับมาฟื้นตัวตั้งแต่ไตรมาส 2 ของปี ขณะเดียวกันภาคการส่งออกก็กลับมาฟื้นตัว รวมถึงคาดว่านักท่องเที่ยวชาวต่างชาติจะมาไทยมากถึง 35.6 ล้านคน ส่งผลต่อการบริโภคภาคเอกชน หรือแม้แต่การจ้างงาน

อย่างไรก็ดีการบริโภคภาคเอกชนอาจกระทบจากหนี้ครัวเรือน เนื่องจากภาระครัวเรือนที่ต้องจ่ายยังสูง นอกจากนี้ยังรวมถึงรายได้ภาคเกษตรที่ยังเติบโตไม่มากนัก แม้ว่าราคาพืชผลจะสูงจากสภาวะเอลนีโญก็ตาม

แม้ว่าเศรษฐกิจไทยโดยรวมทยอยฟื้นตัว แต่วิจัยกรุงศรีมองว่าอัตราการเติบโตดังกล่าวยังคงมีแนวโน้มต่ำกว่าระดับ 3% ต่อเนื่องนับตั้งแต่มีการระบาดของโควิด-19 ในส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยทั้งปีคาดว่าจะยังอยู่ในระดับต่ำต่อเนื่องที่ 1.1% ปัจจัยดังกล่าวเพิ่มโอกาสที่ธนาคารแห่งประเทศไทยจะเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงตั้งแต่ช่วงกลางปีเป็นต้นไป เพื่อสนับสนุนให้การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจมีความต่อเนื่อง

]]>
1463914
โควิดปี 2020 ทำให้ชาวอาเซียนกว่า 4.7 ล้านคน ‘ยากจนขั้นรุนเเรง’ ตกงาน-ไม่มีรายได้ https://positioningmag.com/1377981 Thu, 17 Mar 2022 08:25:55 +0000 https://positioningmag.com/?p=1377981 การเเพร่ระบาดของโควิด-19 ในปีที่เเล้ว มีส่วนทำให้ประชาชนในอาเซียนเข้าสู่ภาวะยากจนขั้นรุนแรง’  (Extreme Poverty) เพิ่มขึ้นกว่า 4.7 ล้านคน เเละสูญเสียงานถึง 9.3 ล้านตำแหน่ง เมื่อเทียบกับสถานการณ์ก่อนโรคระบาด

การระบาดใหญ่นำไปสู่การว่างงานเป็นวงกว้าง ความเหลื่อมล้ำที่เลวร้ายลง และความยากจนที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มผู้หญิง เเรงงานที่อายุน้อยและผู้สูงอายุในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” Masatsugu Asakawa ธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) กล่าว

หลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กำลังสูญเสียผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและการพัฒนา เนื่องจากยังคงต้องต่อสู้กับโควิดสายพันธุ์โอมิครอนที่ระบาดอย่างต่อเนื่อง

แม้ว่า ADB คาดว่าการเติบโต 5.1% ในปี 2022 จากอัตราการฉีดวัคซีนที่สูงขึ้น ทำให้เศรษฐกิจสามารถกลับมาเปิดดำเนินการได้อีกครั้ง แต่ก็เตือนว่าหากเกิดไวรัสกลายพันธุ์รูปแบบใหม่ ก็สามารถลดการเติบโตได้มากถึง 0.8%

ภาพรวมเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยังคงเปราะบางเเละหลายครัวเรือน กำลังเผชิญการสูญเสียรายได้เเละต้องเเบกรับหนี้สินจำนวนมาก

โดยประเทศที่มีรายงานผู้ป่วยโควิด-19 มากที่สุดในภูมิภาคนับตั้งแต่เริ่มมีการระบาดใหญ่ ได้แก่ เวียดนาม 6.55 ล้านคน , อินโดนีเซีย 5.91 ล้านคน และมาเลเซีย 3.87 ล้านคน ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ทั้งหมด ซึ่งกลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด คือแรงงานไร้ทักษะผู้ประกอบธุรกิจค้าปลีกและเศรษฐกิจนอกระบรายย่อยตลอดจนธุรกิจที่ไม่ได้ใช้ดิจิทัล

ผลกระทบของการระบาดใหญ่ส่งผลต่อความยากจนและการว่างงาน ทำให้การเข้าถึงโอกาสของคนยากจนยิ่งแย่ลงไปอีก” ADB ระบุ เมื่อสิ่งนี้เกิดขึ้น ความเหลื่อมล้ำอย่างรุนเเรงจะส่งต่อไปยังรุ่นต่อรุ่น

ภูมิภาคนี้ต้องพึ่งพาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวอย่างมากในการเติบโต อย่างเช่น ประเทศไทย โดยคาดว่าจะค่อยๆ เห็นการฟื้นตัวขึ้น เมื่อมีการเปิดพรมแดนเพื่อการท่องเที่ยวมากขึ้น เป็นโอกาสของการเติบโตทางเศรษฐกิจและการจ้างงาน

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มาเยือนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยรวมจะเพิ่มขึ้น 58% ในเดือนกรกฎาคมถึงกันยายน 2021 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปี 2020 แต่ก็ยังต่ำกว่าระดับปี 2019 ถึง 64%

ในปัจจุบัน สินค้าและบริการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว ซึ่งรวมถึงการขนส่ง ที่พัก นันทนาการและบริการส่วนบุคคลอื่นๆ ยังคงอ่อนแอ เพราะการเดินทางยังคงถูกจำกัดและมีการบังคับเว้นระยะห่างทางสังคม

โดย ADB เรียกร้องให้รัฐบาลในอาเซียนจัดสรรเงินลงทุนเพิ่มเติมในระบบการดูแลสุขภาพ เพื่อปรับปรุงการเฝ้าระวังโรค และตอบสนองต่อการระบาดใหญ่ในอนาคต การเติบโตทางเศรษฐกิจของอาเซียน อาจเพิ่มขึ้นอีก 1.5% หากการใช้จ่ายด้านสุขภาพในภูมิภาคนี้มีมูลค่าเเตะ 5% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ จากปี 2021 ซึ่งอยู่ที่ 3%

 

ที่มา : CNBC , ADB 

]]>
1377981
เมย์แบงก์ ประเมินเศรษฐกิจชาติอาเซียน ส่งสัญญาณฟื้นตัว ไทยยังติดผลกระทบ ‘ท่องเที่ยว’ https://positioningmag.com/1345719 Sun, 08 Aug 2021 08:41:05 +0000 https://positioningmag.com/?p=1345719 เมย์แบงก์ กิมเอ็งประเมินภาพรวมการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและตลาดหุ้นในอาเซียน ฝั่ง ‘สิงคโปร์ฟื้นตัวเร็วสุด จากเเรงหนุนอุตสาหกรรม กระจายวัคซีนได้ดี ฟิลิปปินส์-มาเลเชียเวียดนามอินโดนีเซีย ส่งสัญญาณมีความหวัง ไทยยังติดผลกระทบ ‘ท่องเที่ยว’ ฉีดวัคซีนไม่ได้ตามเป้า การบริโภคยังฟื้นตัวได้ช้าในทุกประเทศอาเซียน

ทีมวิจัยสรุปสาระสำคัญของงานสัมมนา Invest ASEAN 2021 ในหัวข้อ ASEAN Macro Outlook & ASEAN Strategy โดยมีประเด็นน่าสนใจ ดังนี้

สิงคโปร์  :

จะเป็นประเทศที่ฟื้นตัวได้เร็วที่สุดหากเทียบกับประเทศอื่นๆ ในอาเซียน เนื่องจากเศรษฐกิจสิงคโปร์ ได้รับแรงหนุนจากกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิต ตามแนวโน้มการกระจายวัคซีนที่ทำได้เร็ว โดยจีดีพีไตรมาส 2/64 ขยายตัว +14.3% จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งตัวจาก +1.3% ในไตรมาส 1/64

รวมไปถึง โอกาสการปรับเพิ่มประมาณการกำไรตลาดเเละการเริ่มกลับมาใช้นโยบายการเงินแบบ ‘Tightening’ มากขึ้น น่าจะส่งผลให้หุ้น Value มีความน่าสนใจมากกว่าหุ้น Growth

อินโดนีเซีย 

ได้รับแรงหนุนจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์และความหวังการเร่งฉีดวัคซีน ซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจของอินโดนีเซียน่าจะเข้าสู่จุดฟื้นตัว จากมาตรการเชิงผ่อนคลายทั้งด้านการเงิน (ล่าสุดปรับลดดอกเบี้ยนโยบายในช่วงไตรมาส 1/64) และการผ่อนปรนเงื่อนไขการปล่อยกู้ การช่วยเหลือลูกหนี้ นอกจากนี้ยังได้ประโยชน์จากทิศทางราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ยังทรงตัวในระดับสูงได้ต่อเนื่อง 

เวียดนาม :

ส่วนใหญ่ตลาดหุ้นเวียดนาม จะผันผวนสูงตามสถานการณ์โควิด-19 หลังผ่านพ้นช่วงการปรับฐานรอบใหญ่ในช่วงที่ผ่านมา ก็ยังคงให้น้ำหนักกับโรคระบาดต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม มาตรการด้านการเงินและการคลัง โดยเฉพาะการปรับลดภาษีบริษัท (Corporate Tax) ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยบรรเทาผลกระทบเชิงลบต่อภาคธุรกิจและเศรษฐกิจ 

Photo : Shutterstock

มาเลเซีย : 

การกระตุ้นด้านการคลังรอบใหม่ ยังเผชิญกับปัญหาโควิด-19 ในประเทศ และล่าสุดยังอยู่ในช่วงของการอัดฉีดเงินเยียวยาด้านการคลังจากภาครัฐ เงินช่วยเหลือโดยตรงรวมประมาณ 83 พันล้านริงกิต (MYR83bn) หรือคิดเป็น 5.9% ของจีดีพี

ฟิลิปปินส์ : 

เริ่มมีความคาดหวังเล็กๆ ท่ามกลางปัญหาโควิด-19 ที่ยังรุนแรงเเละเป็นหนึ่งในประเทศที่ประสบปัญหาสายพันธุ์เดลตาจนต้องมีการใช้มาตรการล็อกดาวน์ควบคุมการแพร่ระบาด

อย่างไรก็ตาม ภาวะเศรษฐกิจและตลาดหุ้นเริ่มมีความหวัง หลังจากที่การกระจายวัคซีนทำได้เร็วขึ้นกว่าในช่วงที่ผ่านมา และน่าจะได้แรงหนุนจากการลงทุนภาครัฐ ในช่วงหลังการเลือกตั้งที่กำลังจะมีขึ้น

ไทย : 

ภาคการท่องเที่ยวของไทย ได้รับผลกระทบเชิงลบรุนแรงต่อเนื่อง แนวโน้มเศรษฐกิจและตลาดหุ้นไทย ซึ่งพึ่งพาภาคการท่องเที่ยวค่อนข้างมาก ก็ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ที่จำนวนผู้ติดเชื้อเร่งตัวขึ้นในช่วงไตรมาส 2/64 ที่ผ่านมาอย่างมีนัยสำคัญ

ส่งผลให้ตลาดหุ้นในช่วงที่ผ่านมา Underperform และมีความกังวลต่อแผนการเปิดประเทศของรัฐบาลว่าอาจไม่เป็นไปตามเป้าหมาย

จากมุมมองต่อภาวะเศรษฐกิจและตลาดการเงินในแต่ละประเทศในอาเซียน จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าให้น้ำหนักกับปัจจัยเดียวกัน นั่นคือ สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิดสายพันธุ์ใหม่ อย่างไรก็ตาม ก็ปัจจัยเฉพาะตัวของแต่ละประเทศ ที่ล้วนแต่เป็นปัจจัยสำคัญที่กำหนดทิศทางและอัตราการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ อย่าง

1) โครงสร้างเศรษฐกิจ

2) นโยบายด้านการเงินและการคลังของภาครัฐ

3) ความรวดเร็วในการควบคุมการแพร่ระบาดเเละการกระจายวัคซีน

หากพิจารณาภาพรวมของไทยเทียบกับประเทศในอาเซียน พบว่าแนวโน้มการฟื้นตัวถือว่าทำได้ไม่เร็วนัก จากโครงสร้างที่เศรษฐกิจพึ่งพาการท่องเที่ยวเป็นหลัก (แม้ส่งออกไทยจะโดดเด่น แต่เกือบทุกประเทศในอาเซียนดีเหมือนกันหมด ตามเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวเด่น) อีกทั้งการกระจายวัคซีนหากพิจารณาถึงปัจจุบันยังคงช้ากว่าเป้าหมายของทางภาครัฐ

Photo : Shutterstock

เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจของประเทศในอาเซียนอยู่ในช่วงของการฟื้นตัว ด้วยแรงขับเคลื่อนของอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการค้าระหว่างประเทศ และพึ่งพาภาคการผลิตของประเทศพัฒนาแล้ว ซึ่งเศรษฐกิจฟื้นตัวได้เร็วกว่าประเทศกำลังพัฒนา (Emerging)

ในขณะที่การบริโภคในประเทศ และการท่องเที่ยว ยังเป็นส่วนที่ฟื้นตัวได้ช้าในทุกๆ ประเทศอาเซียนจากผลกระทบของโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่

โดยมุมมองต่อนโยบายการเงินสหรัฐฯ ต่อการปรับเปลี่ยนนโยบายการเงินของสหรัฐฯ กลับสู่ภาวะปกติ ซึ่งจะเริ่มต้นจากการทำ QE Tapering หรือการปรับลดเม็ดเงินที่ใช้ในการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านมาตรการ QE ของสหรัฐฯ น่าจะส่งผลเชิงลบต่อตลาดการเงินอาเซียนไม่มากนัก (คงมุมมองเดิม) เนื่องจากทุกประเทศอยู่ในจุดที่ดีกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งตลาดหุ้นอาเซียนไม่ได้อยู่ในช่วงภาวะกระทิง (Bull Market) ดังเช่นช่วงที่มีการทำ QE Tapering ครั้งที่ผ่านมา

]]>
1345719
GDP สิงคโปร์ ขยายตัว 14.3% ในไตรมาส 2 โตสูงสุดในรอบ 11 ปี ‘ภาคบริการ-ก่อสร้าง’ คัมเเบ็ก https://positioningmag.com/1342303 Wed, 14 Jul 2021 09:58:05 +0000 https://positioningmag.com/?p=1342303 กระจายวัคซีนที่ได้ผลดี เป็นหนึ่งในปัจจัยที่ผลักดันให้ เศรษฐกิจสิงคโปร์กลับมาฟื้นตัวต่อเนื่องการผลิตบริการก่อสร้างคัมเเบ็ก โดยล่าสุดตัวเลข GDP ในไตรมาส 2/2021 ขยายตัวที่ 14.3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา หลังเผชิญวิกฤตโรคระบาดใหญ่

โดยเป็นการขยายตัวสูงสุดในรอบ 11 ปี นับตั้งแต่ไตรมาส 2 ของปี 2010 ช่วงหลังวิกฤตการเงินโลก ที่ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของสิงคโปร์ ณ ตอนนั้น ขยายตัวได้ถึง 18.6%

อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจของสิงคโปร์ ยังไม่กลับมาเท่าช่วงก่อนโควิด-19 เพราะเเม้จะเป็นฟื้นตัวระดับสูง เเต่ก็เป็นผลจากการมีฐานที่ต่ำในปีก่อน ซึ่งเมื่อเทียบกับตัวเลขในไตรมาสแรกของปีนี้ ก็จะพบว่า GDP สิงคโปร์ ยังคงหดตัวที่ 2% 

ท่ามกลางยอดติดเชื้อไวรัสโคโรนาที่เพิ่มขึ้น ทำให้รัฐต้องออกข้อจำกัดต่างๆ พร้อมมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคมที่เข้มงวดในช่วง 4 สัปดาห์ ตั้งแต่เดือนพ.ค.ถึงเดือนมิ.ย.ของปีนี้ รวมไปถึงการห้ามรับประทานอาหารในร้านอาหารด้วย

เเต่ทางอุตสาหกรรมใหญ่ๆ อย่างภาคการผลิต บริการเเละก่อสร้าง เริ่มกลับมาขยายตัวอย่างเห็นได้ชัด

โดยกระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมของสิงคโปร์ เเถลงว่า ในภาคการผลิต มีการเติบโตเพิ่มขึ้นถึง 18.5% จากปีก่อน ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์และวิศวกรรมพรีซิชั่น ที่ขยายตัวได้อย่างเเข็งเเกร่งจากอุปสงค์ความต้องการอุปกรณ์เซมิคอนดักเตอร์เพิ่มสูงขึ้น เมื่อเศรษฐกิจโลกกลับมาฟื้นตัว

ขณะที่ภาคบริการ กลับมาขยายตัวได้ 9.8% เเละภาคการก่อสร้าง ขยายตัวได้ถึง 98.8% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

Photo : Shutterstock

แม้ว่าภาคธุรกิจเหล่านี้ จะยังคงมีอุปสรรคจากข้อจำกัดด้านการเดินทางและการรวมตัวทางสังคม ไปจนถึงการขาดเเคลนเเรงงานต่างชาติเเต่ก็มีสัญญาณฟื้นตัวได้ดี โดยการเติบโตของภาคบริการนั้น ได้กลับมาเป็นบวกครั้งแรกในรอบ 6 ไตรมาส

Alex Holmes นักเศรษฐศาสตร์ของ Capital Economics มองว่าวัคซีนโควิด จะเป็นตัวช่วยสำคัญที่ทำให้สิงคโปร์กลับมาเปิดพรมแดนได้อีกครั้งอย่างค่อยเป็นค่อยไป’ เพื่อส่งเสริมภาคการท่องเที่ยว ให้มีการเติบโตจากปัจจัยภายใน พร้อมๆ กับการส่งออกเซมิคอนดักเตอร์และเวชภัณฑ์ที่กำลังไปได้ดีจากความต้องการที่เพิ่มขึ้น

สิงคโปร์ เป็นหนึ่งในประเทศที่มีอัตราการฉีดวัคซีนสูงสุดของโลก โดยกว่า 70% ของจำนวนประชากรในประเทศ 5.69 ล้านคน ได้รับวัคซีนโควิด-19 แล้วอย่างน้อย 1 โดส และกว่า 41% ได้รับวัคซีนครบ 2 โดส

ทั้งนี้ รัฐบาลสิงคโปร์คาดการณ์ว่าภาพรวมเศรษฐกิจทั้งปีนี้ จะเติบโต 4% ถึง 6% ส่วนประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคอาเซียน ตอนนี้ก็มีเวียดนามที่เพิ่งประกาศตัวเลข GDP ในไตรมาส 2/2021 ว่าเพิ่มขึ้นในระดับ 6.6%

 

ที่มา : Nikkei Asia , CNBC

 

]]>
1342303
นายกฯ สิงคโปร์ เล็ง ‘เปิดประเทศ’ ให้เดินทาง ‘ท่องเที่ยว’ ได้ ภายในสิ้นปีนี้ https://positioningmag.com/1323371 Sun, 14 Mar 2021 05:57:28 +0000 https://positioningmag.com/?p=1323371 ลี เซียนลุงเผยสิงคโปร์อาจจะเปิดพรมแดนได้อีกครั้งภายในสิ้นปีนี้ หลังมีความคืบหน้าด้านการกระจายวัคซีนในหลายประเทศทั่วโลก จนทำให้มีความมั่นใจที่จะกลับมาเดินทางอีกครั้ง

ก่อนหน้านี้ สิงคโปร์สั่งห้ามการเดินทางเพื่อการท่องเที่ยว เเต่อนุญาตให้การเดินทางเพื่อธุรกิจและเดินทางอย่างเป็นทางการของเจ้าหน้าที่ได้ รวมถึงมีการเจรจาเพื่อทำกับบางประเทศ เพื่อจัดทำข้อตกลงเกี่ยวกับวัคซีน พาสปอร์ตเเละระเบียงท่องเที่ยว’ (Travel Bubble)

ล่าสุด ออสเตรเลียกำลังประสานงานกับสิงคโปร์ เกี่ยวกับโครงการ Travel Bubble ระหว่างสองประเทศ ซึ่งคาดว่าจะดำเนินการได้เร็วที่สุดในเดือนก..นี้ เพื่อฟื้นฟูอุตสาหกรรมท่องเที่ยว หลังต้องหยุดชะงักไปเนื่องจาก COVID-19 กลับมาระบาดหนักอีกครั้งในช่วงปลายปี 2020

นายกฯ สิงคโปร์ ให้สัมภาษณ์กับ BBC ว่า หากหลายประเทศสามารถฉีดวัคซีนให้กับประชาชนได้มากขึ้นสิงคโปร์ก็จะมีความมั่นใจเเละความเชื่อมั่นที่จะเปิดพรมเเดนระหว่างประเทศให้เดินทางอย่างปลอดภัยอีกครั้งภายในสิ้นปีนี้

Photo: Ministry of Communications and Information / Singapore

สิงคโปร์ เป็นหนึ่งในประเทศที่สามารถควบคุมการระบาดของไวรัสโคโรนาได้ในระดับดี ปัจจุบันพบผู้ติดเชื้อรายใหม่เพียงไม่กี่ราย ซึ่งตอนนี้กำลังเร่งกระจายวัคซีน COVID-19 ของ Pfizer เเละ Moderna ให้กับประชาชน

โดยจำนวน ณ วันที่ 8 มี.. ทางการสิงคโปร์ฉีดวัคซีนฟรีไปแล้วราว 611,000 โดส จากจำนวนประชากรทั้งหมด 5.7 ล้านคน ซึ่งถือว่าช้ากว่าประเทศใหญ่ ๆ อย่างสหรัฐฯ เเต่สิงคโปร์ก็ยังตั้งเป้าว่าจะฉีดวัคซีนแก่ประชาชนส่วนใหญ่ให้ได้ภายในปลายปีนี้ 

ลี เซียนลุง กล่าวว่า ต้องใช้เวลาในการโน้มน้าวให้ประชาชนเข้ารับการฉีดวัคซีน เนื่องจากการพบผู้ติดเชื้อในประเทศน้อย ทำให้หลายคนยังลังเล ไม่ตื่นตัว มีความกังวลเกี่ยวกับมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อไวรัสและผลข้างเคียงจากวัคซีนที่เร่งรีบในการพัฒนา

 

 

ที่มา : Reuters , CNA 

]]>
1323371
มาเลเซีย เตรียมฉีดวัคซีนโควิด ให้ ‘ชาวต่างชาติ’ ในประเทศ รวมผู้ลี้ภัย-เข้าเมืองผิดกฎหมาย https://positioningmag.com/1319012 Thu, 11 Feb 2021 10:42:38 +0000 https://positioningmag.com/?p=1319012 รัฐบาลมาเลเซีย เตรียมจะฉีดวัคซีนป้องกัน COVID-19 โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายให้กับชาวต่างชาติทุกคนที่อาศัยอยู่ในประเทศ รวมถึงผู้อพยพและผู้เดินทางเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมายด้วย

โดยย้ำว่า จะให้ความสำคัญในการฉีดวัคซีนให้กับชาวมาเลเซียก่อน ส่วนกำหนดการฉีดวัคซีนให้กับชาวต่างชาตินั้นจะมีการประกาศในภายหลัง

การฉีดวัคซีนถือเป็นการให้ความช่วยเหลือทางมนุษยธรรม โดยสภาพเเวดล้อมที่ปลอดภัยจาก COVID-19 จะเกิดขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อผู้ที่อยู่อาศัยอยู่ในมาเลเซียจำนวนมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้มีภูมิคุ้มกันไวรัสนี้

การตัดสินใจดังกล่าว มีขึ้นหลังจากการพิจารณาปัจจัยต่างๆ เช่น อัตราการติดเชื้อ COVID-19 ของเเรงงานต่างชาติที่อยู่ในมาเลเซียที่มีอยู่จำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคอุตสาหกรรมก่อสร้าง เกษตรกรรมและการผลิต ซึ่งการติดเชื้อไวรัสในกลุ่มแรงงานต่างชาติ นับว่ามีค่าใช้จ่ายสูงเนื่องจากต้องมีขั้นตอนการรักษาและการกักตัว

แรงงานต่างชาติ เป็นส่วนหนึ่งในชุมชนของเรา และยังมีส่วนช่วยผลักดันเศรษฐกิจของประเทศด้วยแถลงการณ์ระบุ

ทั้งนี้ ชาวต่างชาติที่มีสิทธิ์ได้รับวัคซีนฟรีของทางการมาเลเซียนั้น จะรวมถึงผู้ขอลี้ภัยที่ลงทะเบียนไว้กับสำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ และชาวต่างชาติที่ไม่มีเอกสารเข้าเมืองที่ถูกต้อง หรือเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมายด้วย 

คณะกรรมการด้านจัดหาวัคซีนในมาเลเซีย จะหารือกันต่อไปว่าจะดำเนินการเรื่องการฉีดวัคซีนกับชาวต่างชาติกลุ่มนี้อย่างไร โดยอาจต้องขอความร่วมมือกับรัฐบาลของแต่ละประเทศ สถานทูตเเละองค์กรต่างๆ ให้เข้ามาช่วยเหลือในการแจกจ่ายวัคซีนครั้งนี้ด้วย

ทางการมาเลเซีย ตั้งเป้าจะฉีดวัคซีนให้ครอบคลุมประชากรอย่างน้อย 80% ของประชากรทั้งหมดที่มีอยู่ 32 ล้านคนให้ได้ภายใน 1 ปี 

โดย ‘เฟสแรก’ จะเริ่มขึ้นในเดือนนี้ และเสร็จสิ้นภายในเดือน เม.. ครอบคลุมบุคลากรการแพทย์และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขด่านหน้าราว 5 เเสนคน

จากนั้นเฟสสองจะเริ่มขึ้นระหว่างเดือน เม.. – .. ฉีดให้ประชาชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยง อย่างผู้สูงอายุและผู้ที่มีโรคประจำตัว ราว 9.4 ล้านคน ต่อมาวางเเผนจะแจกจ่ายวัคซีนเฟสสามซึ่งจะเป็นช่วงสุดท้าย ระหว่างเดือน ส..ปีนี้..ปีหน้า ครอบคลุมประชาชนราว 16 ล้านคน ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป

ปัจจุบัน มาเลเซียสั่งจองวัคซีนป้องกัน COVID-19 หลากหลายขนาน มีทั้งวัคซีนของบริษัท Pfizer จากสหรัฐอเมริกา , วัคซีน Sinovac ของจีน และสั่งซื้อวัคซีน Sputnik V ของรัสเซีย นอกจากนี้ยังเข้ารับความช่วยเหลือผ่านโครงการ COVAX ที่สนับสนุนโดยองค์การอนามัยโลกด้วย

 

ที่มา : CNA , Malaymail

]]>
1319012
เปิดเเผน 3 ปี ‘กรุงศรี’ รุกอาเซียน ทุ่ม 8.5 พันล้านลงทุนดิจิทัล ดัน ‘เงินติดล้อ’ เข้าตลาดหุ้น https://positioningmag.com/1317776 Wed, 03 Feb 2021 13:11:30 +0000 https://positioningmag.com/?p=1317776 เเบงก์กรุงศรีประกาศแผนธุรกิจระยะกลาง 3 ปี รุกหนักลงทุนอาเซียน ไม่หวั่นความไม่เเน่นอนทางการเมือง ทุ่มงบดิจิทัล 8,000-8,500 ล้านบาทต่อปี ตั้งเป้าสินเชื่อโต 3-5% เน้นธุรกิจใหญ่ คุมหนี้เสียไม่เกิน 2.7% คงนโยบายตั้งสำรองสูง เดินหน้าส่ง ‘เงินติดล้อเข้า IPO ตลาดหุ้นไทย

กรุงศรี ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) หรือ BAY ในเครือของมิตซูบิชิ ยูเอฟเจ ไฟแนนเชียล กรุ๊ป (MUFG) ประกาศแผนธุรกิจระยะกลางฉบับใหม่ปี 2564 – 2566

เซอิจิโระ อาคิตะ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร BAY กล่าวถึง ทิศทางเศรษฐกิจไทยในปีนี้ว่า การเติบโตยังคงชะลอตัว จากผลกระทบของการระบาด COVID-19 ระลอกใหม่ เเต่ก็ยังมีปัจจัยหนุนให้เติบโตได้ อย่าง มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐ การลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน เเละการกระจายวัคซีน

ความท้าทายที่สุดของปีนี้ ยังคงเป็นเรื่อง COVID-19 คาดว่าในช่วงไตรมาส 2 กิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆ จะกลับมาเเละฟื้นตัวดีขึ้น

โดยแผนธุรกิจระยะกลางฉบับใหม่ดังกล่าว จะเน้นให้ความสำคัญกับการตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้ดีขึ้น ควบคู่กับการเร่งสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนในตลาดใหม่ โดยเฉพาะในภูมิภาคอาเซียน ผ่านกลยุทธ์การขับเคลื่อนธุรกิจ 5 ประการได้เเก่

1) ปฏิรูปธุรกิจลูกค้ารายย่อยให้เป็นหนึ่งเดียว (One Retail Transformation) โดยอาศัยฐานข้อมูลลูกค้าขนาดใหญ่ของกรุงศรี เพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เข้าถึงความต้องการเฉพาะตัวของลูกค้า

2) เสริมสร้างประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจด้านลูกค้าธุรกิจ (Commercial Business Enhancement) ผ่านการเร่งสร้างแพลตฟอร์มดิจิทัลสำหรับห่วงโซ่ธุรกิจและการให้บริการข้ามกลุ่มลูกค้า

3) สร้างระบบนิเวศของกรุงศรีเองและการสร้างพันธมิตรทางธุรกิจใหม่ (Ecosystem and Partnership) เพื่อขยายฐานลูกค้า

4) ขยายธุรกิจสู่ระดับภูมิภาคอาเซียน (ASEAN Expansion) เปิดโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ สำหรับกรุงศรีและลูกค้าในตลาดอาเซียน โดยตั้งเป้าเพิ่มสัดส่วนรายได้จากการลงทุนและการช่วยเหลือลูกค้าในการแสวงหาโอกาสใหม่ๆ ในอาเซียน

5) การสร้างรายได้จากธุรกิจใหม่ (New Revenue Stream) โดยอาศัยความแข็งแกร่งและศักยภาพด้านการวิจัยและพัฒนาของกรุงศรีในการพัฒนานวัตกรรมโซลูชั่นใหม่ๆ

เซอิจิโระ อาคิตะ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกรุงศรีอยุธยา

ทุ่มงบดิจิทัล 8,000-8,500 ล้านบาทต่อปี

ซีอีโอกรุงศรี มองว่า การพัฒนาศักยภาพทางด้านดิจิทัล เป็นหัวใจสำคัญในการแสวงหาเทคโนโลยีใหม่เเละจะช่วยผลักดันกลยุทธ์ต่างๆ ให้ไปสู่เป้าหมาย เพราะต่อไป ‘องค์กรจะขับเคลื่อนด้วยข้อมูล’

ธนาคารจึงได้ตั้บงบประมาณในการลงทุนด้านไอที ราว 8,000-8,500 ล้านบาทต่อปี โดยส่วนใหญ่จะลงทุนในด้าน ‘Big Data’ พัฒนาปัญญาประดิษฐ์ (AI) สร้างระบบนิเวศเทคโนโลยี และต่อยอดการเป็น ‘ดิจิทัลเเบงกิ้ง’ เพื่อขยายฐานลูกค้าไปยังตลาดต่างประเทศ

ตั้งเป้าสินเชื่อ 3-5% เน้นธุรกิจใหญ่

สำหรับเป้าหมายทางการเงินในปี 2564 กรุงศรีฯ หวังว่า การเติบโตของสินเชื่อจะอยู่ที่ระดับ 3-5% ซึ่งจะเน้นไปที่สินเชื่อของธุรกิจขนาดใหญ่ราว 5-6% และสินเชื่อธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) และรายย่อยอยู่ที่ 3-4%

ด้านต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิอยู่ที่ 3.1-3.3% การเติบโตของรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยอยู่ในระดับเดียวกับปีที่ผ่านมา และจะพยายามควบคุมคุณภาพหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ให้ไม่เกิน 2.7%

ขณะที่การตั้ง ‘สำรองหนี้สงสัยจะสูญ’ ในปีนี้ กรุงศรียังใช้นโยบายการตั้งสำรองในระดับสูงเช่นเดิม เเต่ตัวเลขน่าจะต่ำลงเมื่อเทียบกับปีก่อน

ทั้งนี้ รายงานผลประกอบการในปี 2563 กรุงศรีมีกำไรสุทธิจำนวน 23,040 ล้านบาท ลดลง 14.5% เมื่อเทียบกับปี 2562 อัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้ 42.52% สินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ 2% และอัตราส่วนเงินสำรองต่อสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้อยู่ในระดับสูงเป็นประวัติการณ์ที่ 175.12% ขณะที่อัตราส่วนเงินกองทุนอยู่ที่ 19.10%

Photo : Shutterstock

ดันขาย IPO เงินติดล้อ 

สำหรับความคืบหน้าการเข้าตลาดหุ้นไทยของบริษัท เงินติดล้อ จำกัด (มหาชน) หรือ NTL ซึ่งเป็นกิจการร่วมค้าของธนาคารกรุงศรีที่ถือหุ้นอยู่ 50% และ Siam Asia Credit Access Ple Ltd (SACA) ถือหุ้นอยู่ 50%

ดวงดาว วงศ์พนิตกฤต ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านการเงิน ธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า อยู่ระหว่างการดำเนินการออกและเสนอขายหุ้นต่อประชาชนครั้งแรก (IPO) และจะนำหุ้นเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.)

“ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการรอสำนักงาน ก.ล.ต. อนุมัติไฟลิ่ง คาดว่าจะใช้เวลาในการอนุมัติใน 6 เดือน ซึ่งภายหลังการอนุมัติ บริษัทจะดำเนินการภายในเวลาอีก 1 ปี ดังนั้นระยะเวลาปิดรายการแล้วเสร็จ น่าจะเห็นภายในสิ้นปีนี้ หรือกลางปี 2565” 

ด้าน ‘ราคา’ กำลังพิจารณาอยู่นั้น ยังไม่สามารถบอกได้ เพราะต้องดูความสนใจของตลาดเเละมหาชนเป็นหลัก โดยกรุงศรีจะลดสัดส่วนการถือหุ้นลงเป็นไม่ต่ำกว่า 30%

รุกลงทุนอาเซียน ไม่หวั่นการเมือง ‘ไม่เเน่นอน’

สำหรับเศรษฐกิจในอาเซียนนั้น กรุงศรี ประเมินว่า จะมีการฟื้นตัวเร็ว เเละจะขยายตัวอย่างแข็งแกร่งกว่าภูมิภาคอื่น ด้วยอานิสงส์จากต่างประเทศ การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ การลงทุนของภาครัฐ และการขยายเศรษฐกิจสู่ระดับภูมิภาค โดยมองว่าตลาดอาเซียนจะเติบโตสูง หลังวิกฤตโรคระบาด

ส่วนเศรษฐกิจโลก จะเริ่มฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป แต่การระบาดของ COVID-19 ระลอกใหม่ ส่งผลให้ความเสี่ยงในภาคอุตสาหกรรมบริการเพิ่มสูงขึ้น อย่างไรก็ดี ความแข็งแกร่งของภาคการผลิต ประกอบกับมาตรการต่างๆ ในการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ จะยังคงเป็นปัจจัยที่ขับเคลื่อนการเติบโตของเศรษฐกิจ

เมื่อถามว่า ความไม่เเน่นอนทางการเมืองในอาเซียน ส่งผลต่อการลงทุนของธนาคารหรือไม่นั้น ผู้บริหารกรุงศรีตอบว่า

“การลงทุนในประเทศ Emerging Market ย่อมหนีไม่พ้นเรื่องการเมืองที่ไม่เเน่นอน เเต่ไม่ได้ทำให้เป้าหมายใหญ่เปลี่ยนไป เพราะธนาคารเน้นมองในภาพใหญ่และเป็นเป้าหมายในระยะยาวมากกว่า ซึ่งตลาดอาเซียนมีเเนวโน้มเติบโตทางเศรษฐกิจต่อไปเเละเป็นโอกาสสำคัญในการลงทุน” 

เเผนการขยายธุรกิจในอาเซียนของธนาคารกรุงศรีฯ

ในปีที่ผ่านมา กรุงศรีขยายฐานธุรกิจไปยังภูมิภาคอาเซียน เช่น การยกระดับ Hattha Kaksekar Ltd. บริษัทไมโครไฟแนนซ์เครือกรุงศรีในกัมพูชาขึ้นเป็นธนาคารพาณิชย์ Hattha Bank Plc. รวมถึงการเข้าซื้อหุ้น 50% ในบริษัท SB Finance Company, Inc. (SBF) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยในเครือ Security Bank Corporation (SBC) หนึ่งในธนาคารชั้นนำของฟิลิปปินส์ การลงทุนและสร้างพันธมิตรทางธุรกิจกับ Grab

โดยจะเน้นไปที่ตลาด ‘สินเชื่อรายย่อย’ เพื่อเข้าถึงประชากรในอาเซียนที่มีจำนวนมาก ในยามที่คู่เเข่งยังไม่เยอะ

 

 

]]>
1317776
รัฐประหารเมียนมา : เช็ก 7 ข้อผลกระทบต่อ “เศรษฐกิจ” และ “การลงทุน” จากต่างประเทศ https://positioningmag.com/1317585 Tue, 02 Feb 2021 11:43:22 +0000 https://positioningmag.com/?p=1317585 หลังเกิดรัฐประหารครั้งล่าสุดในเมียนมาเมื่อวันที่ 1 ก.พ. 2564 ผลกระทบทางเศรษฐกิจเมียนมาและธุรกิจจากต่างประเทศ ทั้งโดยฉับพลันและแนวโน้มระยะยาวเป็นอย่างไรบ้าง เรารวบรวมมาไว้ที่นี่
1) เพิ่มปัจจัยเสี่ยงต่อการลงทุนจากต่างประเทศ

หลังการเปิดประตูสู่ถนนประชาธิปไตยในเมียนมา เงินลงทุนจากต่างประเทศเริ่มไหลเข้าสู่เมียนมามากขึ้น โดย ธนาคารโลก ประเมินว่ารอบปีบัญชี ตุลาคม 2562 – กันยายน 2563 มีเม็ดเงินมูลค่าถึง 5,500 ล้านเหรียญสหรัฐจากต่างประเทศเข้าลงทุน ซึ่งเพิ่มขึ้นถึง 33% จากรอบปีก่อนหน้า

นำโดยประเทศ “สิงคโปร์” คิดเป็นสัดส่วน 34% ของเงินลงทุนจากต่างประเทศ ตามด้วย “ฮ่องกง” คิดเป็นสัดส่วน 26% ส่วนอันดับสามคือนักลงทุน “ญี่ปุ่น” สัดส่วน 14% กลุ่มธุรกิจที่ต่างชาติมีการลงทุนมากที่สุดคือ อสังหาริมทรัพย์ และ ภาคการผลิต โดยมีสัดส่วนอย่างละ 20% เท่าๆ กัน (*ทุนญี่ปุ่นบางส่วนลงทุนผ่านบริษัทย่อยที่จดทะเบียนในสิงคโปร์)

Suzuki Motor บริษัทยานยนต์ญี่ปุ่นรายแรกที่เข้าไปตั้งฐานผลิตในเมียนมาตั้งแต่ปี 2556

Vriens & Partners ที่ปรึกษาด้านการลงทุน ดูแลโครงการในเมียนมาเกี่ยวกับพลังงาน โครงสร้างพื้นฐาน และโทรคมนาคม มูลค่ารวมกว่า 3,000-4,000 ล้านเหรียญสหรัฐ มองว่าการรัฐประหารครั้งนี้จะเป็น “ความเสี่ยง” ที่เพิ่มขึ้นสำหรับการลงทุนจากต่างประเทศ กลายเป็นปัจจัยลบซ้ำเติมโรคระบาด COVID-19 ที่ผลักให้บริษัทต่างชาติชะลอการลงทุนอยู่แล้ว

 

2) ตะวันตกคว่ำบาตร ไม่มีผลเชิงการลงทุนทางตรง

ท่าทีของสหรัฐอเมริกาตอบโต้แรงต่อการรัฐประหารครั้งนี้ โดย “โจ ไบเดน” ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ออกแถลงการณ์ประณามการรัฐประหาร และกล่าวว่ากำลังพิจารณา “คว่ำบาตร” เมียนมา

แต่การคว่ำบาตรของสหรัฐฯ หรือแม้แต่ชาติตะวันตกอาจไม่มีผลกับการลงทุนทางตรงในเมียนมาเท่าใดนัก เพราะการลงทุนส่วนใหญ่มาจากชาติในเอเชีย โดยสำนักข่าว BBC สัมภาษณ์นักธุรกิจในเมืองย่างกุ้งรายหนึ่งโดยขอไม่เปิดเผยชื่อ เขามองว่าการคว่ำบาตรจากตะวันตกอาจจะมีผลทางจิตวิทยา แต่สำหรับตัวเลขเม็ดเงินที่เข้ามาจริงๆ นั้นเมียนมาไม่เคยพึ่งพิงการลงทุนตะวันตกอยู่แล้ว

สอดคล้องกับ Vriens & Partners ที่เชื่อว่าหากสหรัฐฯ คว่ำบาตร เมียนมาจะหันไปพึ่งพิงการลงทุนจากจีนมากขึ้นเพราะเป็นประเทศเดียวที่สามารถพึ่งได้

โจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ตอบโต้ทันทีหลังกองทัพเมียนมารัฐประหาร (อ่านเพิ่มเติม คลิก)

อย่างไรก็ตาม Fitch Solutions บริษัทข้อมูลการเงิน มองอีกมุมหนึ่งว่า สำหรับจีนแล้วการเข้าลงทุนในเมียนมาหลังรัฐประหารจะเป็น “สถานการณ์ที่ไม่น่าสบายใจ” เพราะถึงแม้ว่าเมียนมาจะเป็นหนึ่งในกุญแจของเส้นทางการลงทุน Belt and Road ของจีน แต่จีนมักจะรู้สึกกังวลทันทีที่การเมืองในประเทศที่เข้าลงทุนเกิดความไม่แน่นอนขึ้น

 

3) แต่ถ้าสหรัฐฯ “แบน” สินค้า อาจมีผลลบทางอ้อม

“สุพันธุ์ มงคลสุธี” ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า นักลงทุนไทยกำลังติดตามอย่างใกล้ชิดว่าตะวันตกจะกดดันกองทัพเมียนมาด้วยการคว่ำบาตรสินค้าหรือไม่ เพราะหากเกิดขึ้นจริงจะมีผลเชิงลบกับนักลงทุนของไทยที่เข้าไปสร้างฐานผลิตเพื่อส่งออก จะทำให้การส่งออกไปประเทศตะวันตกลำบากมากขึ้น

มูลค่าการค้าระหว่างประเทศของสหรัฐฯ-เมียนมาช่วง 11 เดือนแรกปี 2563 นั้นอยู่ที่ 1,300 ล้านเหรียญสหรัฐ (ข้อมูลจาก U.S.Census Bureau)

โดย Panjiva บริษัทวิจัยในเครือ S&P Global Market Intelligence ระบุว่า หากวัดจากมูลค่าสินค้านำเข้าสู่สหรัฐฯ เมียนมาจะเป็นประเทศอันดับ 84 สินค้าส่วนใหญ่ที่สหรัฐฯ นำเข้าจากเมียนมาคือกลุ่มเสื้อผ้าและรองเท้าคิดเป็นสัดส่วน 41% รองลงมาคือกระเป๋าเดินทาง 30% สุดท้ายคือสินค้าประมง ซึ่งคิดเป็น 4% เท่านั้น

บริษัทที่นำเข้าสินค้าผลิตจากเมียนมามากที่สุดในสหรัฐฯ เช่น Samsonite, L.L. Bean, H&M และ Adidas

H&M สาขาแมนฮัตตัน นิวยอร์ก (photo: Shutterstock)

ดังนั้น ผลกระทบหนักจริงๆ ที่จะเกิดขึ้นคือเมื่อสหรัฐฯ คว่ำบาตรไม่รับสินค้าทั้งหมดที่ผลิตจากเมียนมา และผู้ที่จะได้รับผลกระทบพ่วงด้วยก็คือเหล่าซัพพลายเออร์ ทั้งที่มีเจ้าของเป็นชาวเมียนมาเอง หรือบริษัทสัญชาติอื่นที่เข้าไปลงทุนเพื่ออาศัยค่าแรงที่ถูกของเมียนมา

ขณะเดียวกัน หากมีการแบนสินค้าจากเมียนมาจริง นักธุรกิจที่จะปวดหัวจะรวมถึง “กลุ่มผู้นำเข้าในสหรัฐฯ” ด้วย โดยเฉพาะบริษัท “เสื้อผ้าแฟชั่น” เพราะหลายปีที่ผ่านมาบริษัทต้องย้ายฐานผลิตจากจีนมาเมียนมากันหลายเจ้า เนื่องจากปัญหาสงครามการค้า ทำให้กำแพงภาษีการนำเข้าสินค้าจากจีนแพงขึ้น

 

4) บางบริษัทได้รับผลกระทบทางตรงทันที

Grab แอปฯ เรียกรถจากสิงคโปร์เปิดเผยกับ Nikkei Asia ว่า บริการในเมียนมาไม่สามารถใช้การได้ชั่วคราวเนื่องจากสัญญาณโทรศัพท์มือถือมีปัญหา

ด้านบริษัทการลงทุน Yoma Strategic Holdings ซึ่งจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ต้องแขวนป้าย “ห้ามซื้อขายหลักทรัพย์ชั่วคราว” เพราะบริษัทเน้นการลงทุนในเมียนมาเป็นหลักโดยเฉพาะกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ อาหารและเครื่องดื่ม ยานยนต์ และบริการด้านการเงิน ทันทีที่เกิดรัฐประหาร กองทัพเมียนมามีการตัดสัญญาณโทรศัพท์จนบริษัทแม่ไม่สามารถติดต่อหาข้อมูลใดๆ ได้เลย จึงต้องห้ามซื้อขายหลักทรัพย์ไปก่อน

 

5) สำหรับการลงทุนระยะยาว ยังไม่มีผลชัดเจน

ด้านบริษัทที่มีฐานการผลิตในเมียนมาส่วนใหญ่จะกล่าวตรงกันว่า ช่วงนี้บริษัทยังโฟกัสกับการตรวจสอบว่าทุกคนในบริษัทปลอดภัยดี โดยยังไม่มีการหยุดงานหรือเปลี่ยนแผนการลงทุนในอนาคตที่ได้วางไว้ ยกตัวอย่างเช่น H&M โฆษกบริษัทระบุว่า แบรนด์ยังไม่มีแผนที่จะเปลี่ยนแหล่งผลิต แต่มีการมอนิเตอร์ติดตามสถานการณ์กับซัพพลายเออร์อย่างใกล้ชิด

สำหรับกลุ่มบริษัทญี่ปุ่นในเมียนมา รายงานโดย Nikkei Asia บริษัท Toyota ที่กำลังจะเปิดฐานผลิตที่เขตเศรษฐกิจพิเศษทวายในเดือนกุมภาพันธ์นี้แล้ว บริษัทยังคงวางเป้าเริ่่มผลิตตามแผน

Photo : Shutterstock

สอดคล้องกับ Suzuki Motor บริษัทยานยนต์ของญี่ปุ่นรายแรกที่เข้าไปตั้งฐานผลิตในเมียนมาตั้งแต่ปี 2556 ระบุว่ายังไม่ได้รับแจ้งผลกระทบการทำงานของฐานผลิตที่เมียนมา และแผนการตั้งโรงงานแห่งใหม่ในทวายที่จะเริ่มดำเนินการเดือนกันยายนนี้ก็จะยังเป็นไปตามแผน

ขณะที่ Mitsubishi Corp. กล่าวว่าบริษัทยังอยู่ระหว่างมอนิเตอร์สถานการณ์ บริษัทนี้มีส่วนร่วมกับโครงการภาครัฐจำนวนมาก เช่น สัญญาตู้รถไฟเมื่อเดือนธันวาคม 2563 มีส่วนร่วมในกลุ่มผู้รับบริหารจัดการสนามบินมันฑะเลย์ รวมถึงมีส่วนในโครงการพัฒนาเมือง Yoma Central นอกจากนี้ ยังมีบริษัทย่อย Mitsui & Co. ที่จำหน่ายปุ๋ยและ
อุปกรณ์การเกษตรในเมียนมาด้วย

 

6) ค้าชายแดนไทยปิดด่านแค่ช่วงสั้นๆ

ส่วนผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย “ผกายมาศ เวียร์ร่า” ประธานสมาคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจไทย-เมียนมา ระบุว่าด่านชายแดนไทย-เมียนมา ที่ จ.เชียงราย ปิดเพียงช่วงสั้นๆ เท่านั้น โดยปิดไปเมื่อเวลา 10.30 น. วานนี้ ก่อนจะกลับมาเปิดอีกครั้งในเวลา 13.30 น. หลังจากกองทัพไทยเข้าเจรจากับทางเมียนมา หลังจากนั้นการค้าชายแดนและขนส่งสินค้ากลับมาดำเนินการได้ตามปกติ

ด่านท่าขี้เหล็ก ชายแดนไทย-เมียนมา อ.แม่สาย จ.เชียงราย (Photo : Shutterstock)

ด้าน สุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตฯ มองว่า สำหรับทุนไทยที่ได้รับสัมปทานดำเนินการต่างๆ ในเมียนมาไปแล้ว
คาดว่ากองทัพเมียนมาไม่น่าจะเปลี่ยนแปลงใบอนุญาตต่างๆ ที่ตกลงแล้ว

 

7) สรุป รัฐประหารจะทุบซ้ำเศรษฐกิจเมียนมาจาก COVID-19

ก่อนหน้าเกิดรัฐประหาร ธนาคารโลกมีการประเมินไว้แล้วว่าเศรษฐกิจเมียนมาจะเติบโตลดลงเหลือ 2% ในรอบปีบัญชีตุลาคม 2563 – กันยายน 2564 เนื่องจากโรคระบาด COVID-19 และจะทำให้สัดส่วนผู้มีฐานะยากจนในเมียนมาพุ่งขึ้นเป็น 27% จากเมื่อสิ้นปี 2562 ที่มี 22.4%

ขณะที่ Fitch Solutions เคยประเมินก่อนหน้านี้ว่าเศรษฐกิจเมียนมาปี 2564 จะฟื้นมาโต 6% ได้ แต่เมื่อเกิดรัฐประหาร Fitch ประเมินใหม่ทันทีว่าการเติบโตจะลดลงครึ่งหนึ่งคือเหลือเพียง 3%

Source: BBC, Nikkei Asia, Reuters

]]>
1317585
จับตา “อินโดนีเซีย” บริษัทผู้ผลิตยารายใหญ่หลายเจ้า เล็งใช้เป็นฐานผลิตวัคซีน COVID-19 https://positioningmag.com/1307049 Sat, 21 Nov 2020 01:54:45 +0000 https://positioningmag.com/?p=1307049 บริษัทผู้ผลิตยาหลายราย เล็งใช้อินโดนีเซียเป็นฐานผลิตเเละจัดจำหน่ายวัคซีน COVID-19 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

รายงานข่าวจาก SCMP ระบุว่า Penny Lukito หัวหน้าสำนักงานควบคุมยาและอาหารแห่งชาติอินโดนีเซีย (BPOM) ให้สัมภาษณ์สื่อว่า ตอนนี้รัฐบาลได้รับการติดต่อจาก Pfizer บริษัทผู้ผลิตวัคซีนรายใหญ่ของสหรัฐฯ และบริษัท AstraZeneca ของอังกฤษ รวมไปถึงผู้พัฒนาวัคซีน Sputnik V ของรัสเซีย เพื่อพูดคุยเกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการทดสอบวัคซีน COVID-19 ในอินโดนีเซีย

บริษัทเหล่านี้มีแนวโน้มที่จะหา พันธมิตรธุรกิจยาในอินโดนีเซีย เพื่อสนับสนุนการทดลองหรือผลิตวัคซีนในประเทศ

ฉันคิดว่าการเเพร่ระบาดครั้งนี้ เปิดโอกาสให้ทุกส่วนของอุตสาหกรรมยาของอินโดนีเซียเติบโตไม่เพียงแต่บริษัทยาของรัฐเท่านั้น  Lukito กล่าวเเละเสริมว่า ปัจจุบันอุตสาหกรรมยาในประเทศ ที่มีมูลค่าราว 9 พันล้านเหรียญสหรัฐ มีความสามารถและประสบการณ์ในการผลิตวัคซีนสำหรับมนุษย์

ก่อนหน้านี้ Sinovac Biotech จากประเทศจีน ได้อนุญาตให้บริษัท Bio Farma ของอินโดนีเซียผลิตวัคซีนของ Sinovac ซึ่งคาดว่าจะมีการผลิตวัคซีนคู่ขนานจำนวน 260 ล้านโดส ซึ่งครอบคลุมประชากรเกือบครึ่งหนึ่งของประชากรอินโดนีเซียทั้งหมด 270 ล้านคน ทำให้อินโดนีเซียจะกลายเป็นศูนย์กลางในการผลิตวัคซีนของ Sinovac 

นอกจากนี้ อินโดนีเซียยังได้ทำข้อตกลงในการจัดหาวัคซีนจาก CanSino Biologics และ Sinopharm ผู้ผลิตยารายใหญ่ของจีนอีกเจ้าด้วย

การร่วมมือกับ Pfizer เเละผู้ผลิตวัคซีนระดับแนวหน้ารายอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านการทดสอบหรือการจัดหาวัคซีน จะช่วยใหอินโดนีเซียรับมือกับโรคระบาดที่รุนเเรง หลังมีผู้ติดเชื้อในประเทศไปเเล้วกว่า 483,000 คน และคร่าชีวิตผู้คนไปกว่า 15,000 คน ซึ่งเป็นจำนวนมากที่สุดในกลุ่มประเทศอาเซียน

นอกจากนี้ ผลกระทบจาก COVID-19 ยังทำให้เศรษฐกิจของอินโดนีเซีย เกิดภาวะถดถอยครั้งแรกในรอบ 20 ปี หลังจาก GDP หดตัวร้อยละ 3.49 ในไตรมาสที่ 3 ของปีนี้

 

]]>
1307049
ทำไม AWC ต้องยกเครื่อง “พันธุ์ทิพย์” เป็นศูนย์ค้าส่ง ปิดฉาก 36 ปี ห้างไอทีในตำนาน https://positioningmag.com/1303992 Mon, 02 Nov 2020 13:01:33 +0000 https://positioningmag.com/?p=1303992 ย้อนกลับไปเมื่อปี 2527 จุดเริ่มต้นของยุครุ่งโรจน์ของพันธุ์ทิพย์ พลาซ่า” ห้างใหญ่ย่านประตูน้ำที่ใครๆ ก็นึกถึง ด้วยดีไซน์ทันสมัยมากๆ (ในยุคนั้น)

เมื่อ เจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี แห่งทีซีซี กรุ๊ป ได้เข้ามาซื้อกิจการต่อในปี 2530 “พันธุ์ทิพย์ พลาซ่าได้รับการปรับภาพลักษณ์ใหม่ให้เป็นเเลนด์มาร์กของคนไอที ใครจะซื้อคอมพิวเตอร์ โน้ตบุ๊ก มือถือ อุปกรณ์ต่างๆ ก็ต้องชวนกันไปดูของที่นั่น เป็นห้างไอทีในตำนานที่มีชื่อติดลมบน จนเป็นหนึ่งในเพลงของวงร็อคชื่อดังอย่าง LOSO

จากประตูน้ำ ได้ขยายสาขาไปยังพันธุ์ทิพย์ บางกะปิ และพันธุ์ทิพย์ งามวงศ์วาน กลายเป็นต้นเเบบ “ไอทีมอลล์ในเมืองไทย ที่มีห้างอื่นๆ แห่เปิดตามกันในเวลาต่อมา

ในปี 2559 “พันธุ์ทิพย์ ประตูน้ำขยับอีกครั้งด้วยคอนเซ็ปต์ใหม่เทคไลฟ์ มอลล์ตามความนิยมของยุคสมัยที่ยังเน้นความเป็นแหล่งเทคโนโลยี เเต่มีการเพิ่มสินค้าไลฟ์สไตล์เข้ามา เช่นโซนพระเครื่องก็ได้รับความนิยมไม่น้อย นอกจากนี้ยังมีโซน Co-working Space สำหรับผู้ประกอบการ และสตาร์ทอัพให้มีมุมทำงานนอกออฟฟิศ รวมถึงเจาะตลาดเกมเมอร์สร้าง E-Sport Arena บุกเรื่องอีสปอร์ตอย่างจริงจัง

เเต่หลายทศวรรษผ่านไป ต้องยอมรับว่าค้าปลีกไอทีไม่มีวันเหมือนเดิม เราสามารถเลือกซื้อสินค้าได้ผ่านปลายนิ้วคลิก หมดยุคการเดินไปเลือกซื้อตามตึกคอม เมื่อสินค้าสเปกดี ราคาถูกลงนั้นเข้าถึงง่าย  มีให้เลือกซื้อใกล้บ้านส่งเร็ว ผู้คนไม่นิยมประกอบคอมเองอีกต่อไป จึงถึงเวลาที่ห้างไอทีเก่าเเก่ต้องปรับตัวไปจนถึงขั้นเปลี่ยนธุรกิจไปเลย

ภาพของศูนย์การค้าพันธุ์ทิพย์ ประตูน้ำ หลังการปรับเป็น “เทค-ไลฟ์ มอลล์” ในปี 2559

ทำไมต้องเป็นศูนย์ค้าส่ง ?

มาถึงในปี 2563 ครบ 36 ปีที่ห้างไอทีในตำนาน ต้องปิดฉากลงเเล้ว

ก่อนหน้านี้ บริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป จำกัด (มหาชน) หรือ AWC ผู้บริหารพันธุ์ทิพย์ พลาซ่า ประตูน้ำออกมาส่งสัญญาณว่า จะมีการยกเครื่องใหม่ เมื่อการเป็นห้างไอทีอยู่ยากเเล้วในยุคนี้

ล่าสุด ศูนย์ไอทีย่านประตูน้ำ กำลังจะเเปลงร่างเป็นศูนย์ค้าส่งที่ตั้งเป้าเป็นศูนย์กลางการค้าปลีกเเห่งอาเซียน ด้วยช่องว่างในตลาดที่ยังมีโอกาสอยู่มาก เเละยังไม่มีศูนย์ค้าส่งใหญ่ๆ ในไทย

โดย AWC ได้ประกาศเปลี่ยนพันธุ์ทิพย์ ประตูน้ำ สู่ธุรกิจ Wholesale ด้วยคอนเซ็ปต์ ศูนย์กลางการค้าส่งนานาชาติครบวงจรของอาเซียน ที่มีชื่อว่า AEC TRADE CENTER – PANTIP WHOLESALE DESTINATION ซึ่งกำลังจะเปิดให้บริการในวันที่ 26 พฤศจิกายน นี้ โดยใช้งบลงทุนกว่า 300 ล้านบาทในการปรับพื้นที่ วางระบบอาคารเเละการขนส่งต่างๆ เพื่อรองรับการเป็นศูนย์ค้าส่งแห่งใหญ่ใจกลางเมือง ด้วยพื้นที่รวมกว่า 30,000 ตร..

โดยชื่อเต็มๆ ของ AEC TRADE CENTER – PANTIP WHOLESALE DESTINATION มาจากการรวมคำที่เป็น “Keyword” ของธุรกิจ เพื่ออธิบายถึงความเป็นอาเซียนด้วยคำว่า AEC ตามด้วยความเป็นศูนย์ค้าส่ง – TRADE CENTER เเละคำว่า WHOLESALE ซึ่งยังคงคำว่า PANTIP (พันธุ์ทิพย์) ไว้เพราะเป็นชื่อที่คุ้นหูผู้คนมานาน ส่วนคำว่า DESTINATION นั้น อธิบายถึงคอนเซ็ปต์ของรีเทลยุคใหม่ที่ต้องปรับเป็นจุดหมายที่รวมความน่าสนใจของสินค้าและบริการต่างๆ ไว้ 

อย่างไรก็ตาม ชื่อใหม่ของ “พันธุ์ทิพย์ พลาซ่า ประตูน้ำ ดูจะยาวเเละ “จำยาก” ไปเสียหน่อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อต้อง “รีเเบรนด์ใหม่” เเละลบภาพจำห้างไอทีดั้งเดิม ซึ่งอาจจะมีผลต่อการขยายการรับรู้อยู่ไม่น้อย 

ปรับโฉมใหม่เป็น AEC TRADE CENTER – PANTIP WHOLESALE DESTINATION ซึ่งจะเปิดให้บริการในวันที่ 26 พฤศจิกายน 2563

วัลลภา ไตรโสรัส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป จำกัด (มหาชน) เล่าว่า ศูนย์ค้าส่งเเห่งนี้ตั้งขึ้นมาเพื่อสนับสนุนคนไทย ทั้งผู้ผลิต ผู้ส่งออกและนำเข้าสินค้า เป็นโอกาสที่จะขยายตลาดขายสินค้าให้กลุ่มลูกค้าใหม่ ได้ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้านที่มีความนิยมสินค้าไทยสูงมาก

“ย่านประตูน้ำมีชื่อเสียงด้านค้าส่งอยู่เเล้ว เเละตอนนี้เมืองไทยยังไม่มีธุรกิจค้าส่งขนาดใหญ่ที่มีทำเลอยู่ใจกลางกรุงเทพ AWC จึงมองว่าโอกาสที่ดีที่จะปั้นพันธุ์ทิพย์ให้กลายเป็นศูนย์กลางการค้าส่งนานาชาติ” 

โดยศูนย์ค้าส่งแห่งนี้ จะเชื่อมโยงการส่งออกและนำเข้าสินค้าของภูมิภาคผ่านโครงการ AEC TRADE CENTER ประตูน้ำพระอินทร์ที่มีทำเลขนาด 160 ไร่ ในตำบลเชียงรากน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งกำลังอยู่ระหว่างการพัฒนาเพิ่มเติม วางเเผนจะเปิดตัวอย่างเป็นทางการในช่วงต้นปี 2564 นี้

หลังจากนั้น AWC มีเเผนจะขยายไปยังพื้นที่ชายแดนของประเทศไทย ซึ่งขณะนี้มีที่ดินเรียบร้อยแล้ว เหลือแค่การก่อสร้างเท่านั้น เเต่จะสร้างเมื่อไรนั้นต้องรอดูสถานการณ์ก่อน

วัลลภา ไตรโสรัส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป จำกัด (มหาชน) หรือ AWC

อัดโปรใจป้ำ “ให้เช่าฟรี 6 เดือน” 

อนันต์ ลาภสุขสถิต หัวหน้ากลุ่ม Wholesales Business Officer บมจ.แอสเสท เวิรด์ คอร์ป เสริมว่า ธุรกิจค้าส่งเป็นรูปเเบบธุรกิจที่เข้ากับย่านประตูน้ำ ที่มีทั้งสินค้าเสื้อผ้าเเฟชั่น เเละศูนย์ไอทีค้าส่งอยู่เเล้ว

“AEC TRADE CENTER เป็นโมเดลทดลองธุรกิจใหม่ของ AWC ที่ต้องการช่วยเหลือคนไทย เรายังมีที่ดินอีกจำนวนมากที่จะสานต่อธุรกิจนี้ให้เป็นศูนย์กลางค้าส่งในภูมิภาค

หากดูจากความนิยมของมหกรรม Thaifex งานแสดงนวัตกรรมสินค้าอาหารและเครื่องดื่มของไทย ที่มีผู้ซื้อจากทั่วโลกเดินทางมาทำ Business Matching ในงานจำนวนมาก เเต่ติดปัญหาว่ามีเวลาเเค่ 4 วันเช่นเดียวกับงาน STYLE Bangkok แหล่งสินค้าไลฟ์สไตล์ ซึ่งจัดปีละครั้ง ก็มีผู้สนใจร่วมงานจำนวนมาก เเต่ผู้ส่งออกยังไม่มีหน้าร้านเเสดงสินค้าเเบบถาวร

เหล่านี้เป็น Pain Point ที่ทาง AEC TRADE CENTER ต้องการเข้ามาแก้ไขเเละวางคอนเซ็ปต์ห้างพันธุ์ทิพย์ใหม่ให้เป็นศูนย์กลางการค้าส่งแบบวันสต็อปครบวงจรใจกลางกรุงเทพฯ แห่งแรกของไทย ช่วยให้คู่ค้าสามารถเจรจาธุรกิจได้ตลอด 365 วัน สร้างโอกาสสำคัญให้คู่ค้าได้มาสรรหา (Sourcing) สินค้าในพื้นที่เดียวประหยัดค่าใช้จ่ายและเวลา เข้ากับการค้าขายในยุค New Normal

เบื้องต้น AEC TRADE CENTER – PANTIP WHOLESALE DESTINATION จะมีการคัดเลือกผู้ประกอบการที่จะเข้ามาขายสินค้า โดยเน้นผลักดันให้มีสินค้าจากผู้ผลิตต้นน้ำที่มีคุณภาพ เเละมีความหลากหลาย เช่น เฟอร์นิเจอร์อุปกรณ์ตกแต่งภายใน ของเล่น ของชำร่วย เครื่องเขียน ของขวัญ ของตกแต่งบ้าน นวัตกรรมการพิมพ์ ฯลฯ

นอกจากนี้ ยังมีพื้นที่แสดงสินค้า และศูนย์ SMEs Service Solution (SSS) ซึ่งจะมีสตูดิโอถ่ายภาพเพื่อให้ผู้ค้าสามารถใช้บริการถ่ายทอดสดออนไลน์ (Live Streaming) ห้องประชุม และสัมมนาขนาดย่อม พื้นที่ให้บริการคำปรึกษาด้านธุรกิจ ที่จะเชื่อมโยงกลุ่มผู้ซื้อ ทั้งผู้ผลิต ผู้ส่งออก และผู้นำเข้าสินค้า ทั้งภายในประเทศ ระหว่างภูมิภาค และทั่วโลก

ในเฟสแรกคาดว่าจะมีร้านค้าเข้ามาทั้งสิ้น 300 ร้านค้า ซึ่ง AWC มีโปรโมชันดึงดูดใจอย่างการไม่คิดค่าเช่านาน 6 เดือนจากปกติพันธุ์ทิพย์ พลาซ่า ประตูน้ำจะมีค่าเช่าตั้งเเต่ 800-7,000 บาท ต่อตารางเมตรต่อเดือน เลยทีเดียว

มีการประเมินว่า โปรโมชันให้เช่าฟรี 6 เดือนในครั้งนี้คิดเป็นมูลค่ารวมทั้งสิ้น 300 ล้านบาท ดังนั้นเมื่อรวมกับการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานของอาคารตามที่กล่าวมาข้างต้นอีก 200 กว่าล้านบาท รวมๆ เเล้ว AWC ทุ่มใช้งบไปกับโครงการนี้ถึง 500 ล้านบาท

ขณะเดียวกัน ยังมีผู้เช่าเดิมเหลืออยู่บางส่วนราว 10-15% ซึ่งจะมีการดูเเลเเละพูดคุยกันต่อไป โดยอาจจะต้องพัฒนาไปขายในรูปแบบค้าส่ง จากนั้นไตรมาสแรก ปี 2564 จะเปิดเต็มพื้นที่ทั้งอาคารกว่า 50,000 ตารางเมตร คาดทั้งโครงการจะมีผู้เช่าเต็มพื้นที่ราว 500 ร้านค้า โดยได้ลงนามกับสมาคมการค้า 11 แห่งในไทย เพื่อดึงดูดสมาชิกของหอการค้าฯ ที่มีอยู่ถึง 1 เเสนรายให้เข้ามาตั้งร้านค้าต่อไป

ตั้งเป้าเงินสะพัด “พันล้าน” ต่อเดือน เเม้เปิดช่วง COVID-19 

เเม้การค้าขายในโลกทุกวันนี้ จะปรับไปสู่เเพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซเเล้ว ตามพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป ซึ่งก็ถือเป็นหนึ่งในความท้าทายของธุรกิจ “ค้าส่ง”

โดยผู้บริหาร AWC มองว่า อย่างไรเเล้วการค้าปลีกก็ต้องควบคู่กันไปเเบบ “ออนไลน์-ออฟไลน์” การซื้อสินค้าน้อยชิ้นสั่งออนไลน์ได้ เเต่หากต้องซื้อในรูปเเบบค้าส่ง การสั่งซื้อ “บิ๊กล็อต” ระดับเเสนบาทขึ้นไป ก็ยังมีความจำเป็นที่คู่ค้าต้องเห็นและสัมผัสสินค้าจริง รวมไปถึงการเจรจาต่อรองเเบบเจอหน้ากัน เพื่อสร้างความมั่นใจของทั้งสองฝ่าย

“ในเฟสแรก เราหวังว่าจะมีมูลค่าการซื้อขายอยู่ที่ราว 1,000 ล้านบาทต่อเดือน เเม้ตอนนี้จะมีเเต่ลูกค้าคนไทยเป็นหลัก เเต่บริษัทต่างๆ น่าจะมาซื้อของเพื่อจัดเทศกาลปีใหม่กันเยอะ หากอนาคตมีการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามามากขึ้น ก็คาดว่าจะเห็นเงินสะพัดถึง 4,000-5,000 ล้านบาทต่อเดือน” 

นอกเหนือจากช่องทางออฟไลน์แล้ว ยังเตรียมที่จะเปิดตัวแพลตฟอร์มออนไลน์ที่เป็นทั้งเว็บไซต์เเละเเอปพลิเคชัน ภายใต้ชื่อ ‘ฟีนิกซ์บ็อก’ (Phenixbox) ซึ่งจะช่วยให้ร้านค้าสามารถติดต่อกับคู่ค้าต่างประเทศได้ทุกช่องทาง คาดว่าจะเปิดตัวในเฟส 2 ช่วงต้นปีหน้า

เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการไทยสามารถเติบโตได้ในตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะใน CLMVT (กัมพูชา ลาว เมียนมา เวียดนาม ไทย) และจีน บริษัทได้ร่วมมือกับความร่วมมือกับ Zhejiang China Commodities City Group Co., Ltd. (CCC Group) รัฐวิสาหกิจผู้พัฒนาและบริหารตลาดค้าส่งสินค้าเบ็ดเตล็ดที่ใหญ่ที่สุดในโลกจากเมืองอี้อู (Yiwu) ประเทศจีน จัดศูนย์แสดงสินค้า Yiwu Selection Thailand Showcase” และศูนย์ให้บริการด้านการส่งออกไปยังจีนใน IC Mall” เชื่อมโยงช่องทางการตลาดให้แก่ผู้ส่งออกไทยที่ต้องการจะส่ง
ออกสินค้าไปยังประเทศจีนด้วย 

ผู้บริหาร AWC มองว่า สิ่งสำคัญตอนนี้คือ ปลุกปั้นให้ AEC TRADE CENTER เป็นที่รู้จักในวงกว้างก่อน โดยหัวใจของศูนย์ค้าส่ง คือ “การขายของได้” ดังนั้นหากผ่านช่วงโปรโมชันไม่คิดค่าเช่า 6 เดือนไปแล้ว ยังมีผู้เช่าอยู่ต่อ เเละเพิ่มขึ้นในระดับที่วางไว้…ก็ถือว่าประสบความสำเร็จแล้ว

ต้องมาลุ้นกันว่า ก้าวใหม่ของ “พันธุ์ทิพย์ พลาซ่า” สู่ศูนย์ค้าส่งระดับอาเซียน จะเป็นไปในทิศทางไหน เสียงตอบรับจะเป็นอย่างไร เมื่อยังคงมีอุปสรรครออยู่อีกมาก ท่ามกลางเศรษฐกิจที่ไม่เเน่นอนหลังวิกฤต COVID-19 

 

]]>
1303992