รายได้ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 26 Nov 2021 02:28:52 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ถอดรหัส ‘ผู้บริโภค’ ช่วงวิกฤต รายได้ลด มีปัญหาหนี้ หวังปีหน้าฟื้นตัว เเต่ยัง ‘รัดเข็มขัด’ https://positioningmag.com/1363998 Thu, 25 Nov 2021 10:03:17 +0000 https://positioningmag.com/?p=1363998 สรุปประเด็นน่าสนใจจาก EIC Consumer Survey 2564 ถอดรหัสผู้บริโภคยุคโควิด-19 การเงินวิกฤต การใช้ชีวิตไม่เหมือนเดิม กลุ่มรายได้น้อยรับผลกระทบหนักสุด คนส่วนใหญ่หวังปีหน้ารายได้เริ่มกลับมา เเต่ยัง ‘รัดเข็มขัด’ ระมัดระวังใช้จ่าย แม้สถานการณ์โควิดจะคลี่คลายก็ตาม เเนะผู้ประกอบการหาโอกาสจากแนวโน้มการใช้จ่ายในหมวดที่จะเร่งตัวจาก pent-up demand ของผู้มีกำลังซื้อ-รายได้สูง เทรนด์ออนไลน์อยู่ยาว 

โดย EIC ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของผู้บริโภคไทยจำนวน 3,205 คน ระหว่างวันที่ 27 สิงหาคม ถึง 27 กันยายน 2564 เกี่ยวกับ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและพฤติกรรมในช่วงโควิด-19 และแนวโน้มหลังวิกฤตคลี่คลาย

ผู้บริโภค รายได้ไม่พอรายจ่าย เเบกภาระหนี้ 

วิกฤตโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อรายได้ของผู้บริโภคไทยจำนวนมาก นำไปสู่ 3 ปัญหาทางเศรษฐกิจ ที่สำคัญในช่วงปีที่ผ่านมา ได้แก่ ปัญหารายได้ไม่พอใช้จ่าย ปัญหาภาระการชำระหนี้ ปัญหาสภาพคล่องทางการเงิน โดยปัญหาจะมีความรุนแรงเป็นพิเศษในกลุ่มผู้มีรายได้น้อย

การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลทำให้ผู้บริโภคเกือบครึ่ง หรือ 48% ของผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด
มีรายได้ลดลง เมื่อเทียบกับช่วงก่อน COVID-19

โดยมีสัดส่วนถึง 30% ของผู้บริโภคที่มีรายได้ที่ลดลงมากกว่า 10% ขึ้นไปเมื่อเทียบกับระดับรายได้ก่อนโควิด-19 ขณะที่มีผู้บริโภคเพียง 24% เท่านั้น ที่มีรายได้เพิ่มขึ้นในช่วงเดียวกัน

Photo : Shutterstock

คนกลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะเป็นคนทำงานเป็นลูกจ้างบริษัทเอกชนที่มีระดับรายได้ค่อนข้างสูง ด้วยสถานการณ์ด้านรายได้ที่ซบเซา ส่งผลทำให้เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจทั้งในด้านการใช้จ่าย การจัดการภาระหนี้ และปัญหาสภาพคล่อง

โดยผลสำรวจพบว่ามีถึง 63% ของผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด ที่กำลังเผชิญปัญหารายได้ ไม่พอรายจ่ายไม่มากก็น้อย

นอกจากนี้ เกินครึ่ง (56%) ของผู้ตอบแบบสอบถามที่มีหนี้กำลังเผชิญปัญหาในการชำระหนี้ และ 52% ของผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมดยังมีสภาพคล่องทางการเงินไม่เกิน 6 เดือน

ทั้งนี้ EIC พบว่า มีคนจำนวนถึง 31% ของผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมดที่กำลังเผชิญ 3 ปัญหาดังกล่าวพร้อมกัน

คนรายได้น้อย รับผลกระทบหนักสุด

เมื่อพิจารณาแยกตามระดับรายได้ EIC พบว่า กลุ่มผู้บริโภครายได้น้อย หรือคนที่มีรายได้ไม่เกิน 1.5 หมื่นบาทต่อเดือน มีสัดส่วนคนที่มีปัญหาทางเศรษฐกิจมากที่สุดในทุกประเด็นปัญหาที่กล่าวมา โดยสัดส่วนของจำนวนคนที่มีปัญหาจะลดน้อยลงในกลุ่มระดับรายได้ที่สูงขึ้น

“สะท้อนให้เห็นว่า วิกฤตโควิด-19 เป็นวิกฤตที่กระทบผู้มีรายได้น้อยรุนแรงกว่า ตอกย้ำปัญหาความเหลื่อมล้ำอันเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างของสังคมไทย”

โดยกลุ่มคนรายได้น้อย มีสัดส่วนของคนที่ระบุว่ารายได้ลดลงในช่วงปีที่ผ่านมาสูงถึง 63% จากจำนวนคนรายได้น้อยทั้งหมด ซึ่งถือว่ามากที่สุดเมื่อเทียบกับกลุ่มคนที่มีรายได้สูงกว่า

ในทำนองเดียวกัน ทั้งสัดส่วนการมีปัญหารายได้ไม่พอรายจ่ายของคนรายได้น้อย (87%) สัดส่วนคนมีปัญหาภาระหนี้ (78%) และสัดส่วนคนมีปัญหาสภาพคล่อง (71%) หรือสัดส่วนของคนที่เผชิญทั้ง 3 ปัญหา (49%) ก็ล้วนแล้วแต่สะท้อนถึงผลกระทบที่มีต่อคนรายได้น้อยส่วนใหญ่และระดับปัญหาที่มากกว่าคนรายได้สูงกว่าทั้งสิ้น

หวัง ‘ปีหน้า’ รายได้เริ่มกลับมา

ผู้บริโภคส่วนใหญ่ มองว่ารายได้จะฟื้นตัวกลับมาเท่ากับที่เคยได้ในช่วงก่อนโควิด ตั้งแต่ปีหน้าเป็นต้นไป แต่ยังค่อนข้างมีความระมัดระวังกับแผนการใช้จ่ายในระยะข้างหน้า

“อย่างไรก็ตาม การใช้จ่ายสำหรับบริการในประเทศบางประเภทมีแนวโน้มได้รับประโยชน์จากแรงส่งของอุปสงค์คงค้าง (pent-up demand) โดยเฉพาะจากกลุ่มผู้มีรายได้สูง”

เมื่อมองไปข้างหน้า ผู้บริโภคครึ่งหนึ่ง คาดว่ารายได้ของตนเองจะฟื้นกลับมาเท่ากับช่วงก่อนโควิด-19 ตั้งแต่ปีหน้าเป็นต้นไป

โดยมีผู้บริโภคถึง 16% ที่เชื่อว่ารายได้ตนเองไม่มีทางกลับมาเท่ากับก่อนโควิด-19 ซึ่งคนกลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็นคนรายได้น้อย และเป็นคนทำงานในภาคการท่องเที่ยว และค้าส่ง-ค้าปลีก สะท้อนถึงผลกระทบต่อกลุ่มธุรกิจดังกล่าวที่รุนแรงมากและมีแนวโน้มฟื้นตัวได้ยาก

ผู้บริโภคส่วนใหญ่ ยัง ‘รัดเข็มขัด’ เเม้สถานการณ์จะดีขึ้น 

การคาดการณ์ว่ารายได้จะฟื้นตัวช้า มีส่วนกดดันแผนการใช้จ่ายในระยะข้างหน้า โดยผู้บริโภคส่วนใหญ่ราว 72% ระบุว่าจะยังคงไม่เพิ่มการใช้จ่ายแม้สถานการณ์โควิด จะคลี่คลายก็ตาม ราว 43% ของผู้บริโภคระบุว่าจะลดค่าใช้จ่ายลงจากปัจจุบันอีกด้วย โดยคนกลุ่มที่เลือกจะรัดเข็มขัดเพิ่มเติมนี้ ส่วนใหญ่เป็นคนที่มีมุมมองว่ารายได้ตนเองจะยังไม่เพิ่มขึ้นในเร็ววัน

อย่างไรก็ตาม การใช้จ่ายบางหมวดมีแนวโน้มฟื้นตัวได้ดีจากอุปสงค์คงค้าง (pent-up demand) ผู้บริโภคส่วนใหญ่มีแนวโน้มกลับไปใช้จ่ายในหมวดที่เกี่ยวกับกิจกรรมนอกบ้าน หลังสถานการณ์คลี่คลาย เช่น การท่องเที่ยวภายในประเทศ และบริการด้านสุขภาพและความงาม เป็นต้น โดยเฉพาะกลุ่มรายได้สูง (รายได้มากกว่า 1 แสนบาทต่อเดือน) ที่มีสัดส่วนคนที่จะกลับไปใช้จ่ายในหมวดดังกล่าวภายในระยะเวลา 6 เดือนข้างหน้าสูงกว่ากลุ่มอื่น ๆ

คาดว่ามาจากความต้องการที่คงค้างมาจากช่วงปิดเมือง และยังเป็นช่วงเวลาของฤดูกาลท่องเที่ยว ประกอบกับยังมีมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายของภาครัฐเป็นอีกแรงสนับสนุนด้วย

อย่างไรก็ดี สำหรับสินค้าที่มีมูลค่าสูง ได้แก่ บ้าน รถยนต์ มีผู้บริโภคเพียงส่วนน้อย (5-6%) ที่มีแผนจะใช้จ่ายในช่วง 6 เดือนข้างหน้า สะท้อนถึงผลจากทั้งรายได้และความเชื่อมั่นที่ซบเซา เช่นเดียวกันกับแผนในการท่องเที่ยวต่างประเทศที่ยังมีไม่มากนักในหมู่ผู้บริโภคไทย ตามภาวะรายได้ รวมถึงข้อจำกัดและความเชื่อมั่นในการเดินทางระหว่างประเทศ

พฤติกรรม New Normal เทรนด์ออนไลน์อยู่ยาว 

ในช่วง COVID-19 ผู้บริโภคไทยมีการเปลี่ยนพฤติกรรมทั้งด้านการใช้เทคโนโลยี และการใช้เวลาที่บ้านมากขึ้น ซึ่งพฤติกรรม 2 กลุ่มนี้มีแนวโน้มกลายเป็น New Normal

ในช่วงปีที่ผ่านมา ผู้บริโภคได้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจากผลกระทบของวิกฤต COVID-19 ทั้งในด้านการใช้เทคโนโลยีและการใช้เวลาที่บ้าน โดย ผู้บริโภค 41% ระบุว่ามีการซื้อสินค้าผ่านทางออนไลน์เพิ่มขึ้นหรือซื้อเป็นครั้งแรกเมื่อเทียบกับช่วงก่อน COVID-19

ขณะที่มีเพียง 17% ของผู้บริโภคเท่านั้นที่เพิ่มการใช้จ่ายโดยทั่วไปในช่วงเดียวกัน สะท้อนถึงการเพิ่มสัดส่วนการใช้ช่องทางออนไลน์ในการซื้อสินค้ามากขึ้นในช่วงที่การจับจ่ายใช้สอยในช่องทางออฟไลน์มีข้อจำกัด

นอกจากนี้ ผู้บริโภคส่วนใหญ่ (57%) ยังมีการใช้เวลาทำกิจกรรมที่บ้าน เช่น การปลูกต้นไม้ ทำอาหาร เพิ่มขึ้น หรือทำเป็นครั้งแรกด้วยเช่นกัน จากการที่วิกฤต COVID-19 ทำให้ผู้บริโภคต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานมาเป็นการทำงานที่บ้านและมีเวลาอยู่บ้านมากขึ้น ซึ่งการเปลี่ยนพฤติกรรมดังกล่าวส่งผลต่อเนื่องทำให้การปรับปรุงและตกแต่งบ้าน และการซื้อของออนไลน์ในหมวดสินค้าเกี่ยวกับบ้านเพิ่มขึ้นตามไปด้วย

สำหรับแนวโน้มหลังโควิดคลี่คลายนั้น พฤติกรรมที่ผู้บริโภคปรับเปลี่ยนในช่วงที่ผ่านมา มีแนวโน้มที่จะยังคงอยู่ต่อเนื่อง หรือกลายเป็น New Normal แม้จะลดน้อยลงบ้างจากที่เคยทำในช่วง COVID-19 ไม่ว่าจะเป็นการซื้อสินค้าออนไลน์ที่กว่า 86% ของผู้บริโภคระบุว่าจะยังทำต่อไปแม้สถานการณ์ COVID-19 คลี่คลาย ซึ่งอาจเป็นเพราะความสะดวกจากการใช้บริการ

(Photo by Carl Court/Getty Images)

พฤติกรรมผู้บริโภคที่มีแนวโน้มจะกลายเป็น New Normal ได้แก่ การใช้เวลาทำกิจกรรมที่บ้านที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่ (91%) ระบุว่าจะยังคงทำต่อไป เช่นเดียวกันกับการปรับปรุง-ตกแต่งบ้าน (67%) และการใช้บริการ food delivery (67%) ซึ่งคาดว่าพฤติกรรมกลุ่มนี้ได้รับแรงสนับสนุนจากเทรนด์การทำงานที่บ้านที่หลายองค์กรมีแนวโน้มปรับใช้แบบระยะยาว ทำให้การใช้เวลาที่บ้านของผู้บริโภคจะเพิ่มขึ้นตามมา

อย่างไรก็ตาม กลุ่มพฤติกรรมดังกล่าวมีแนวโน้มลดลงบ้างเมื่อสถานการณ์คลี่คลาย เพราะอาจถูกทดแทนด้วยทางเลือกนอกบ้าน โดยเฉลี่ยประมาณ 25-30% ของผู้บริโภคระบุว่าจะยังคงพฤติกรรมการซื้อของออนไลน์และการใช้เวลาที่บ้าน แต่จะลดน้อยลงจากที่เคยทำในช่วง COVID-19 ทั้งนี้ สาเหตุอาจมาจากการมีทางเลือกมากขึ้นเมื่อบริการที่ทดแทนกันได้แบบออฟไลน์ เช่น ห้างสรรพสินค้า ร้านอาหาร กลับมาเปิดให้บริการได้มากขึ้น

สรุป : 

ข้อค้นพบจากผลสำรวจความคิดเห็นผู้บริโภคของ EIC ได้บ่งชี้ให้เห็นถึงผลกระทบจากวิกฤต COVID-19 ต่อผู้บริโภคไทยที่ค่อนข้างรุนแรงและจะยังมีผลต่อเนื่องไปในระยะข้างหน้า ผ่านความเชื่อมั่นต่อการฟื้นตัวของรายได้ที่ยังซบเซา กดดันแนวโน้มการใช้จ่ายภาพรวมในอนาคต โดยเฉพาะสำหรับกลุ่มผู้มีรายได้น้อย

“ผู้ประกอบการที่เจาะกลุ่มผู้บริโภคยังสามารถหาโอกาสได้จากแนวโน้มการใช้จ่ายในหมวดที่จะเร่งตัวจาก pent-up demand ของผู้มีกำลังซื้อ รวมถึงโอกาสจากพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปทั้งในด้านการซื้อของออนไลน์และการใช้เวลาอยู่บ้านซึ่งมีแนวโน้มกลายเป็น New Normal ที่ดำเนินต่อไปแม้สถานการณ์โควิด-19 เริ่มคลี่คลายลง”

 

]]>
1363998
วิเคราะห์เเนวโน้มภาคธุรกิจไทย กับการฟื้นตัวแบบ ‘K-Shape’ เมื่อวิกฤตโควิดลากยาว https://positioningmag.com/1350156 Fri, 03 Sep 2021 06:47:33 +0000 https://positioningmag.com/?p=1350156 การฟื้นตัวของแต่ละธุรกิจ ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ขึ้นอยู่กับการปรับตัวให้เข้ากับสภาพตลาด

บทวิเคราะห์ล่าสุดของ ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี หรือ ttb analytics มีประเด็นที่น่าสนใจที่สะท้อนให้เห็น การปรับตัวธุรกิจไทยในหลากหลายเซกเตอร์ และการฟื้นตัวระยะปานกลางแบบ K-Shape

จากการศึกษาการปรับตัวของแต่ละธุรกิจ มาตั้งแต่ช่วงล็อกดาวน์ครั้งแรกในไตรมาส 2 ของปี 2563 จนถึงไตรมาส 2 ของปี 2564 ผ่านการคำนวณเป็นดัชนีรายได้ของแต่ละธุรกิจ ข้อมูลรายได้ของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกว่า 500 บริษัท เทียบกับรายได้ปี 2562 ซึ่งเป็นปีก่อนเกิดโควิด-19 เป็นปีฐานเริ่มต้นเท่ากับ 100 พบว่า แต่ละธุรกิจมีการฟื้นตัวที่ต่างกัน แบ่งออกได้เป็น 3 ระดับ ได้แก่ 

ธุรกิจฟื้นแล้ว (ดัชนีรายได้ > 100) เป็นธุรกิจที่ฟื้นตัว จากการได้รับอานิสงส์จากตลาดส่งออกและตลาดในประเทศดีขึ้น เช่น ผลิตภัณฑ์ยางพารา พลังงาน เหล็กและโลหะ อิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วน เคมีภัณฑ์ วัสดุก่อสร้าง ชิ้นส่วนยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน อาหารและเครื่องดื่ม

ธุรกิจกำลังฟื้น (ดัชนีรายได้อยู่ระหว่าง 60 ถึง 100) เป็นธุรกิจกำลังฟื้นตามกำลังซื้อในประเทศที่เริ่มกลับมา เช่น ค้าปลีก รับเหมาก่อสร้าง เกษตรแปรรูป ไอทีและเทเลคอม ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ การแพทย์ เครื่องจักรและชิ้นส่วน สินค้าอุปโภคและบริโภค เฟอร์นิเจอร์

• ธุรกิจยังไม่ฟื้น (ดัชนีรายได้ < 60) เป็นกลุ่มที่ยังไม่ฟื้นและได้รับผลกระทบหนักจากการระบาดของโรคโควิด-19 ส่วนใหญ่เป็นภาคบริการ เช่น อสังหาริมทรัพย์ให้เช่า ขนส่งและโลจิสติกส์ (ขนส่งทางน้ำ และทางอากาศ) ท่องเที่ยว (โรงแรมและร้านอาหาร) และการบริการส่วนบุคคล

“ผลของการล็อกดาวน์บางส่วนตามมาตรการของรัฐ ในช่วงไตรมาส 3 ของปี 2564 ที่กำลังดำเนินอยู่นี้ ทำให้รายได้ของผู้ประกอบการในแต่ละธุรกิจลดลง” 

อย่างไรก็ตาม การเร่งฉีดวัคซีนเเละเริ่มผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ จะช่วยให้สถานการณ์มีแนวโน้มดีขึ้นทำให้แต่ละธุรกิจทยอยฟื้นตัวนับตั้งแต่ไตรมาสสุดท้ายของปี 2564 เป็นต้นไป “รูปแบบการฟื้นตัวจะเป็นไปในลักษณะการทยอยฟื้นตัว และไม่แตกต่างไปจากเดิมมากนัก” 

ธุรกิจอ่วม รายได้หด 2 ปีติดต่อกัน 

“กลุ่มธุรกิจที่ยังไม่ฟื้น” มีความเปราะบางมากที่สุด เพราะรายได้เมื่อเทียบกับปี 2562 (ก่อนโควิด-19) มีการหดตัวมากกว่า 30% ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาติดต่อกัน

โดยเฉพาะกลุ่มท่องเที่ยว ได้แก่ โรงแรม และร้านอาหาร รายได้ลดลง 66% และ 49% กลุ่มขนส่งและโลจิสติกส์ ได้แก่ ขนส่งทางอากาศและทางน้ำ รายได้ลดลง 84% และ 51% และกลุ่มบริการส่วนบุคคล ได้แก่ บันเทิงและการกีฬา รายได้ลดลงมากถึง 84%

สำหรับ “กลุ่มธุรกิจกำลังฟื้น” ก็น่าเป็นห่วงเช่นกัน เนื่องจากรายได้ใน 2 ปีที่ผ่านมาลดลง 10-30% ซึ่งในช่วงที่เหลือของปีนี้ ผู้ประกอบการจำเป็นต้องปรับตัวอีกครั้ง เพื่อรอคอยช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2564 นี้ที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจจะค่อย ๆ กลับพลิกฟื้นอีกครั้ง

ttb analytics เเนะว่า สิ่งที่สามารถประคับประคองธุรกิจให้ผู้ประกอบการที่อยู่ในกลุ่มธุรกิจยังไม่ฟื้นและกำลังฟื้นให้อยู่รอดในช่วงครึ่งปีหลังนี้ ได้เเก่ การทำตลาดในช่องทางออนไลน์มากขึ้น การบริหารจัดการธุรกิจโดยคำนึงถึงความสะดวกของการซื้อสินค้าของผู้บริโภค และสินค้าต้องมีคุณภาพ สะอาด และปลอดภัย เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า และหากเป็นโรงงานและธุรกิจบริการควรพิจารณาทำ Bubble & Seal

นอกจากนี้ ควรพิจารณาเข้ารับความช่วยเหลือตามมาตรการต่างๆ ของภาครัฐ เช่น การพักชำระหนี้ สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ การขอปรับโครงสร้างหนี้กับธนาคาร ฯลฯ เพื่อให้ธุรกิจสามารถเดินต่อไปได้

Photo : Shutterstock

โควิดอยู่ยาว ธุรกิจปรับตัวเพิ่มทางออนไลน์ 

หากมองออกไปใน 1-2 ปีข้างหน้า (2565-2566) แม้ว่าการระบาดของโรคโควิดมีแนวโน้มบรรเทาลง จากการเร่งฉีดวัคซีนที่ครอบคลุมประชากรของโลกและในประเทศไทยมากขึ้น

แต่ทว่าโรคโควิด ก็ยังไม่หมดไปและอาจกลายพันธุ์เพิ่มเติม ทำให้การแพร่ระบาดดังกล่าวจะยังคงอยู่กับโลกต่อไปหลังจากนี้อย่างน้อย 1 ปี จนกว่าจะมีวัคซีนที่สามารถจัดการไวรัสได้อย่างเบ็ดเสร็จ ทำให้ต้องพึ่งการฉีดวัคซีนสร้างภูมิคุ้มกันให้กับประชากรในทุกปี 

ดังนั้น ภาคธุรกิจจะยังต้องเผชิญกับความท้าทายใน 3 ด้าน ต่อไปนี้

ด้านแรก ธุรกิจยังต้องเผชิญกับการระบาดของโรคโควิดต่อไป ดังนั้น ผู้ประกอบการจะต้องปรับตัวเพื่ออยู่ด้วยกันด้วยความระมัดระวัง โดยการดำเนินธุรกิจให้ปลอดภัยจากการติดเชื้อในพนักงานและลูกค้าที่มาซื้อสินค้าหรือใช้บริการ

ด้านที่สอง ธุรกิจต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้าง ได้แก่ การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่ EEC และเขตเศรษฐกิจพิเศษ (SEZ) เทรนด์รักษ์สิ่งแวดล้อม การเป็นสังคมผู้สูงอายุของไทย สิ่งเหล่านี้จะส่งผลทำให้ความเจริญกระจายไปหัวเมืองในเศรษฐกิจภูมิภาค การผลิตสินค้าที่คำนึงถึงเรื่องสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ตลาดสินค้าสำหรับผู้สูงอายุจะมีขนาดใหญ่ขึ้น และสินค้าเพื่อการส่งออกจะมีมูลค่ามากขึ้น เพราะได้รับแรงหนุนจากนโยบายส่งเสริมลงทุนภาครัฐ

ด้านสุดท้าย ธุรกิจต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภค อาทิ การเข้าถึงผู้บริโภคจากหลายช่องทางทั้งออนไลน์และออฟไลน์ ซึ่งธุรกิจต้องผสมผสานอย่างสมดุล หรือที่เรียกว่า Omni-Channel และจะต้องปรับใช้เทคโนโลยี Digital Ecosystem ที่อยู่รอบตัว เช่น E-Commerce, E-Payment, E-Transportation, Inventory Management ฯลฯ มาใช้ในธุรกิจ เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มความสะดวกให้กับผู้บริโภค

“ความนิยมในสินค้าของผู้บริโภคมีหลากหลายกลุ่มมากขึ้น เพราะสามารถสืบค้นข้อมูลและเปรียบเทียบสินค้าจากสื่อออนไลน์ได้” 

ฟื้นตัวแบบ K-Shape

จากปัจจัยท้าทายทั้ง 3 ด้าน ttb analytics ประเมินว่าการฟื้นตัวของแต่ละธุรกิจในระยะปานกลางจะแตกต่างกัน กล่าวคือ มีธุรกิจที่ฟื้นและเติบโตดี และธุรกิจที่ไม่ฟื้นและตกต่ำต่อเนื่องจนกว่าโรคโควิดจะหมดไป หรืออยู่ในรูปแบบการฟื้นตัวแบบ K-Shape ดังนี้

  • K-Shape (ขาขึ้น) ได้แก่ ธุรกิจประเภทไอทีและเทเลคอม บริการซอฟต์แวร์ อิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วน ยานยนต์และชิ้นส่วน ร้านค้าปลีกที่มีทั้งช่องทางตลาดออนไลน์และออฟไลน์ การบริการขนส่งสินค้าและการจัดการคลังสินค้า ธุรกิจการแพทย์ และอาหารสำเร็จรูป
  • K-Shape (ขาลง) ได้แก่ ธุรกิจท่องเที่ยว โรงแรม ร้านอาหาร สปา ธุรกิจบันเทิงและสันทนาการ การขนส่งผู้โดยสาร ออฟฟิศให้เช่า ที่อยู่อาศัยประเภทคอนโดมิเนียม

โดยธุรกิจ K-Shape ขาขึ้นจะมีปัจจัยการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างของประเทศและพฤติกรรมผู้บริโภค สนับสนุนให้ธุรกิจเหล่านี้ฟื้นและเติบโตได้ดีต่อเนื่อง

“K-Shape ขาลง ส่วนใหญ่จะอยู่ในธุรกิจบริการ จำเป็นต้องช่วยกันประคับประคองทั้งในส่วนของผู้ประกอบการและลูกจ้างให้อยู่รอดใน 1-2 ปีข้างหน้า เเละจำเป็นที่รัฐต้องช่วยสนับสนุนให้ธุรกิจลุกขึ้นมาให้ได้ เพื่อการฟื้นตัวในระยะต่อไป” 

 

 

 

 

]]>
1350156
‘หนี้ครัวเรือน’ พุ่งไม่หยุด 14.13 ล้านล้าน แตะ 90.5% โควิดลากยาว รายได้หาย ซ้ำคนไทยจมกองหนี้ https://positioningmag.com/1340409 Fri, 02 Jul 2021 08:06:16 +0000 https://positioningmag.com/?p=1340409 หนี้ครัวเรือนไทย ไตรมาส 1/2564 แตะ 90.5% ต่อจีดีพี ขยับขึ้นมาอยู่ที่ 14.13 ล้านล้านบาท สูงสุดในรอบ 18 ปี โควิดลากยาวซ้ำเติมคนไทยติดบ่วง ‘วังวนหนี้สิน’ รายได้ไม่พอรายจ่าย ดิ้นรนหางานเสริม 

โดยสถานการณ์หนี้สินของประชาชน ยังคงมีอัตราการเติบโต ‘เร็วกว่า’ เศรษฐกิจไทยในภาพรวม…

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เปิดเผยข้อมูลเงินให้กู้ยืมแก่ภาคครัวเรือนล่าสุดในไตรมาส 1/2564 ระบุว่า ยอดคงค้างหนี้ครัวเรือนไทย ขยับขึ้นมาอยู่ที่ 14.13 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 90.5% ต่อจีดีพี นับว่าสูงสุดในรอบ 18 ปี ตามสถิติที่มีการเก็บรวบรวมของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และสูงขึ้นต่อเนื่องจากระดับ 89.4% ต่อจีดีพี ในไตรมาสที่ 4/2563

วิกฤตโควิด-19 ที่ลากยาวเข้าสู่ช่วงครึ่งหลังของปี จะเพิ่มความเสี่ยงต่อเส้นทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ พร้อมๆ ตอกย้ำวังวนปัญหาหนี้สินของภาคครัวเรือน โดยเฉพาะครัวเรือนที่มีรายได้ไม่สม่ำเสมอ หรือมีรายได้ลดลงจนมีผลกระทบต่อความสามารถในการชำระคืนหนี้

สำหรับแนวโน้มในปี 2564 นั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้ปรับทบทวน ตัวเลขประมาณการหนี้ครัวเรือนไทยขึ้นมาอยู่ที่กรอบ 90-92% ต่อจีดีพี (กรอบเดิมคาดที่ 89-91% ต่อจีดีพี)

Photo : Shutterstock

เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า หนี้ครัวเรือนในไตรมาส 1/2564 มียอดคงค้างเพิ่มขึ้นประมาณ 88,138 ล้านบาท 

สาเหตุหลักๆ เป็นผลมาจากการเร่งขึ้นของหนี้รายย่อย’ 3 กลุ่ม ได้แก่ หนี้บ้าน หนี้ประกอบอาชีพ และหนี้เพื่อใช้จ่ายชีวิตประจำวัน

1) หนี้บ้าน (ยอดคงค้างหนี้บ้านเพิ่ม 55,300 ล้านบาทจากไตรมาสก่อน) สอดคล้องกับแคมเปญกระตุ้นยอดขายของผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะกลุ่มที่อยู่อาศัยแนวราบราคาประมาณ1-3 ล้านบาท และ 3-5 ล้านบาท ซึ่งผู้กู้หรือครัวเรือนยังคงเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อ รายได้ปานกลางค่อนไปทางสูง (ไม่ถูกกระทบมากนักจากสถานการณ์โควิด) ซึ่งทำให้ยังคงมีความสามารถในการผ่อนชำระหนี้ได้

2) หนี้เพื่อประกอบอาชีพ (ยอดคงค้างหนี้ประกอบอาชีพเพิ่ม 40,100 ล้านบาทจากไตรมาสก่อน) ก่อหนี้เพิ่มเพื่อหนุนสภาพคล่อง และใช้เป็นทุนหมุนเวียนในการประคับประคองกิจการในช่วงที่โควิด-19 ยืดเยื้อซึ่งมีผลกระทบต่อเนื่องต่อรายได้และยอดขาย

3) หนี้เพื่อการอุปโภคบริโภคทั่วไป (ยอดคงค้างหนี้อุปโภคบริโภคทั่วไป เพิ่ม 33,500 ล้านบาทจากไตรมาสก่อน) ซึ่งเป็นกลุ่มครัวเรือนที่มีปัญหารายได้ฝืดเคือง รายได้ไม่สมดุลกับภาระค่าใช้จ่าย จนทำให้ต้องกู้หนี้ยืมสินมาใช้จ่ายในชีวิตประวัน

โควิดระลอกสาม : กลุ่มเปราะบางเพิ่มขึ้น กังวลเรื่องใช้หนี้

จากการเปรียบเทียบผลสำรวจภาวะหนี้สินและการออมของประชาชนในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล พบว่า สถานการณ์รายได้และหนี้สินของประชาชนรายย่อย ‘ถดถอย’ ลงมากจากผลของโควิด-19 ระลอกที่สาม

ในผลสำรวจเดือนมิ.. 2564 ผู้ตอบแบบสอบถามที่มีรายได้ไม่ปกติมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 59.6% สูงกว่าสัดส่วน 56.2% ในผลสำรวจเดือนมี.. 2564 (ก่อนโควิดรอบสาม)

โดยเฉลี่ยแล้ว ผู้ตอบแบบสอบถามในรอบเดือนมิ.. 2564 มีจำนวนบัญชีสินเชื่อและสัดส่วนภาระหนี้ต่อรายได้ หรือ DSR” เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 46.9% เทียบกับ DSR ที่ 42.8% ตอกย้ำปัญหาหนี้สินของประชาชนที่มีสัญญาณน่ากังวลมากขึ้นในระดับครัวเรือน

สำหรับมุมมองต่อสถานการณ์หนี้สินของตัวเองนั้นลูกหนี้เป็นห่วงปัญหาหนี้สินของตัวเองมากขึ้น

ผู้ตอบแบบสอบถาม 79.5% ประเมินว่า ปัญหาหนี้ของตัวเองยังไม่น่าจะดีขึ้น ในช่วงครึ่งหลังของปี2564 โดยสัดส่วนของผู้ที่มองว่าปัญหาหนี้จะแย่ลงเพิ่มขึ้นมาที่ 26.6% เทียบกับสัดส่วนเพียง 7.8% ในรอบมี..

โควิดระลอกที่สาม มีผลกระทบต่อสถานะทางการเงินของครัวเรือนหลายส่วนให้อ่อนแอและเปราะบางมากขึ้น และเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ผู้ที่มีภาระหนี้สมัครเข้ามาตรการช่วยเหลือของสถาบันการเงินมากขึ้น

ขณะที่ภาพสะท้อนจากมุมของประชาชนครัวเรือน บ่งชี้ว่า สินเชื่อที่ต้องการรับความช่วยเหลือส่วนใหญ่ เป็นสินเชื่อบัตรเครดิต+สินเชื่อส่วนบุคคล (45.3%) สินเชื่อเช่าซื้อ (25.3%) และสินเชื่อบ้าน (14.3%) ตามลำดับ

รายได้ไม่พอ ต้องดิ้นหางานเสริม

ด้านแนวโน้มในปี 2564 จากสถานการณ์โควิด 19 ที่ลากยาวเข้าสู่ช่วงครึ่งหลังของปี 2564 มีผลกระทบทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจมีความไม่แน่นอน

ประชาชนครัวเรือน มีความกังวลมากขึ้นเกี่ยวกับสถานะรายได้จากการทำงานของตัวเอง ส่วนหนึ่งสะท้อนจากการค้นหาช่องทางเพื่อหารายได้เสริม ใน Google Trends ที่กลับมาปรับเพิ่มขึ้นในช่วงที่โควิดระบาดรอบสาม ซึ่งเป็นภาพที่คล้ายกับการระบาดของโควิดในรอบแรก

สำหรับข้อมูลลูกหนี้รายย่อยที่เข้ารับความช่วยเหลือจากธนาคารพาณิชย์และนอนแบงก์นั้น ขยับขึ้นมาที่ 1.69 ล้านบัญชีในเดือนเม.. 2564 (จาก 1.68 ล้านบัญชีในเดือนมี..) คิดเป็นยอดภาระหนี้ที่ได้รับความช่วยเหลือ 12.4% ของลูกหนี้รายย่อย

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า ผลกระทบที่หนักและชัดเจนมากขึ้นของโควิดรอบสาม อาจทำให้จำนวนบัญชีลูกหนี้รายย่อยเข้ามาตรการช่วยเหลือฯ มีโอกาสขยับขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะในเดือนมิ.. ถึงต้นไตรมาส 3/2564 นี้

คาดว่า ยอดคงค้างหนี้ครัวเรือนในปี 2564 น่าจะเติบโตในระดับที่สูงกว่า หรือใกล้เคียงกับอัตรา 4.1%  ในปี 2563 ตอกย้ำภาพหนี้สินครัวเรือนที่โตกว่าทิศทางเศรษฐกิจต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 และศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้ปรับทบทวนสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีในปี 2564 ขึ้นมาอยู่ในกรอบประมาณ 90-92% ต่อจีดีพี (กรอบคาดการณ์เดิมที่ 89-91% ต่อจีดีพี)

ปัญหาหนี้ครัวเรือนโตสวนทิศทางเศรษฐกิจ เป็นภาวะที่เกิดขึ้นกับหลายๆ ประเทศ ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะกับประเทศไทย

เเต่แม้ว่าจะไม่มีปัญหาโควิด-19 หนี้ครัวเรือน ก็เป็นปัญหาเชิงโครงสร้างลำดับต้น ๆ ของไทย ที่รอให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องร่วมกันวางแนวทางแก้ไข

สำหรับในปีนี้ น่าจะเห็นการเดินหน้ามาตรการเร่งด่วนเพื่อช่วยหล่อเลี้ยงสภาพคล่อง ปรับโครงสร้างหนี้เพื่อประคองไม่ให้ลูกหนี้กลายเป็นหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) และ/หรือทบทวนเพดานดอกเบี้ยผลิตภัณฑ์สินเชื่อรายย่อย (เพื่อช่วยลดภาระให้กับลูกหนี้ในช่วงที่โควิด 19 ยังไม่สิ้นสุด) ตลอดจนการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบ

รวมไปถึง การวางแนวทางในระยะยาวเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและหนี้สินของภาคครัวเรือนอย่างจริงจังเมื่อวิกฤตโควิด-19 สิ้นสุดลง โดยเฉพาะการเพิ่มศักยภาพในการหารายได้ และดูแลให้การก่อหนี้ของภาคประชาชน สอดคล้องกับรายได้และความสามารถในการชำระหนี้ของตนเองมากขึ้น

 

 

]]>
1340409
หนี้เพิ่มเร็วกว่ารายได้ ซ้ำคนไทยไร้เงินออม ‘หนี้ครัวเรือน’ ทะลุ 14 ล้านล้าน คาดปีนี้เเตะ 91% ต่อจีดีพี https://positioningmag.com/1326143 Thu, 01 Apr 2021 13:28:21 +0000 https://positioningmag.com/?p=1326143 หนี้ครัวเรือน ณ สิ้นปี 2563 ทะลุ 14 ล้านล้านบาท ทำจุดสูงสุดใหม่ในรอบ 18 ปี คิดเป็นกว่า 89.3% ต่อจีดีพี KBANK คาดปีนี้พุ่งต่อ เเตะ 89-91% คนไทยมีเงินออมน้อย อยู่ได้ไม่เกิน 3 เดือน ห่วงกังวลหาใช้หนี้คืนไม่ทัน

จากผลกระทบทางเศรษฐกิจจากวิกฤต COVID-19 ทำให้กระแสรายได้ และสถานะทางการเงินของครัวเรือนบางกลุ่มย่ำแย่ลง ตอกย้ำวังวนปัญหาหนี้เพิ่มเร็วกว่ารายได้

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย รายงานข้อมูลเงินให้กู้ยืมแก่ภาคครัวเรือนล่าสุดในไตรมาส 4/2563 ระบุว่า หนี้ครัวเรือนของไทยปิดสิ้นปี 2563 ที่ผ่านมา ด้วยภาพของระดับหนี้ครัวเรือนที่ทะลุ 14 ล้านล้านบาท นับเป็นจุดสูงสุดใหม่ในรอบ 18 ปี ตามสถิติที่มีการเก็บรวบรวมของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)

หนี้เพิ่ม’ 3 ปีติด สวนทางเศรษฐกิจหดตัว

โดยหนี้ครัวเรือนดังกล่าวคิดเป็นสัดส่วน 89.3% เมื่อเทียบกับ GDP ในปี 2563 เร่งตัวขึ้นเป็นปีที่ 3 เทียบกับ 78.4% ต่อจีดีพี และ 79.8% ต่อจีดีพีในปี 2561 และปี 2562 ตามลำดับ

อย่างไรก็ตาม หากมองในมิติอัตราการเติบโตของหนี้ พบว่า ยอดคงค้างหนี้ครัวเรือนปี 2563 เพิ่มขึ้นเพียง 3.9% ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตที่ต่ำที่สุดในรอบ 4 ปี

สะท้อนว่าทั้งผู้กู้และผู้ปล่อยกู้ ต่างก็เพิ่มความระมัดระวังมากขึ้นในช่วงที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจหยุดชะงักลงจากผลกระทบของโรคระบาด

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ตั้งข้อสังเกตว่า สินเชื่อภาคครัวเรือนที่ยังเติบโตสวนกระแสเศรษฐกิจได้นั้น ชี้ให้เห็นถึงสถานะของผู้กู้และวัตถุประสงค์ของการกู้ยืมที่แตกต่างกันระหว่างผู้กู้สองกลุ่ม 

กลุ่มแรก เป็นการกู้ยืมของครัวเรือนเพื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์ ที่อยู่อาศัย และรถยนต์ ซึ่งน่าจะเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อปานกลางค่อนไปทางสูง และรายได้ไม่ได้ถูกกระทบมากจาก COVID-19

กลุ่มที่สอง เป็นกลุ่มครัวเรือนที่มีความจำเป็นต้องก่อหนี้หรือกู้ยืมเพิ่มขึ้นเพื่อใช้เสริมสภาพคล่อง หรือเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนในการประกอบธุรกิจ ซึ่งผู้กู้หรือครัวเรือนกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่มีรายได้ไม่แน่นอน และสถานะทางการเงินอ่อนแอลงตามทิศทางเศรษฐกิจ

ความสามารถในการชำระคืนหนี้ของลูกหนี้หลายกลุ่ม ถดถอยลง โดยเฉพาะผู้กู้รายย่อยที่ประกอบธุรกิจ และผู้กู้รายย่อยที่มีปัญหาด้านรายได้

Photo : Shutterstock

สำหรับภาระหนี้หรือ Debt Service Ratio (DSR) ของผู้กู้รายย่อยที่ประกอบธุรกิจอยู่ที่ 44.1% ของรายได้ต่อเดือนในช่วงต้นปี 2564 

ส่วน DSR ของผู้กู้รายย่อยที่มีปัญหาด้านรายได้อยู่ที่ 43.8% ซึ่งภาระหนี้ของผู้กู้ทั้งสองกลุ่มดังกล่าวอยู่สูงกว่าค่าเฉลี่ย DSR ภาพรวมของผู้ตอบแบบสอบถามในผลสำรวจรอบนี้ซึ่งอยู่ที่ 42.8% ของรายได้ต่อเดือน

ขณะที่หนี้ครัวเรือนในส่วนอื่นๆ ซึ่งเกิดขึ้นเพื่อการอุปโภคบริโภคหรือใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ก็มีทิศทางขยับขึ้นท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่ซบเซาของเศรษฐกิจ ซึ่งส่งผลทำให้ครัวเรือนหลายส่วนต้องรัดเข็มขัด และบริหารกระแสรายรับรายจ่ายของครัวเรือนให้มีความสมดุล

สถานะทางการเงินของประชาชนค่อนข้างตึงตัวมากขึ้น และสถานการณ์รายได้ของประชาชนหลายกลุ่ม เริ่มจะไม่สัมพันธ์กับหนี้สินที่ต้องแบกรับภาระ

 

คนไทยไร้เงินออม กังวลใช้หนี้ไม่ทัน

เมื่อสอบถามถึงความสามารถในการผ่อนชำระคืนหนี้ในอนาคตนั้น ประชาชนส่วนใหญ่กว่า 3 ใน 4 ของผลสำรวจ แสดงความกังวล เนื่องจากยังคงมีประเด็นรายได้ที่ไม่แน่นอน (45.3% ของผู้ตอบ) และค่าครองชีพและภาระหนี้เพิ่มขึ้นเร็วกว่ารายได้ (41.4%) รวมถึงการที่ภาระผ่อนหลังมาตรการเยอะและนานขึ้น (12.7%)

ตอกย้ำว่า ปัญหาหนี้ครัวเรือนสูง น่าจะยังเป็นข้อจำกัดสำคัญในการฟื้นตัวของการใช้จ่ายภาคครัวเรือนในระยะที่เหลือของปี

ส่วนระดับการออมของภาคครัวเรือนลดต่ำลง หากเปรียบเทียบมุมการออมภาคครัวเรือนต่อรายได้จากผลสำรวจฯ ปี 2564 กับการออมภาคครัวเรือนในปี 2562 โดยเฉลี่ยแล้ว สัดส่วนเงินออมต่อรายได้ของครัวเรือนลดลงประมาณ 3.6% จากที่มีสัดส่วนเงินออมประมาณ 16.1% ของรายได้ต่อเดือนในปี 2562 ลดลงมาอยู่ที่ 12.5% ของรายได้ต่อเดือนในปี 2564

และเมื่อเจาะลงไปในกลุ่มผู้กู้รายย่อยที่ประกอบธุรกิจและกลุ่มที่มีปัญหาด้านรายได้ จะพบว่า สถานการณ์เงินออมเฉลี่ยของ 2 กลุ่มนี้แย่กว่าภาพรวมค่อนข้างชัด โดยมีเงินออมเพียง 11.7% และ 10.8% ของรายได้ต่อเดือนตามลำดับ

นอกจากนี้ หากพิจารณาเฉพาะประชาชนที่มีเงินออมในผลสำรวจฯ ในปี 2564 จะพบว่า มีประชาชนเพียง 38.9% จากประชาชนผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมดเป็นผู้ที่มีเงินออม แต่ในจำนวนนี้ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่มีเงินออมไม่สูงมาก

หากพิจารณาเฉพาะกลุ่มผู้ที่มีเงินออมในผลสำรวจฯ พบว่า มีเพียง 46.2% เท่านั้นที่มีเงินออมสะสมเพียงพอสามารถรองรับค่าใช้จ่ายได้มากกว่า 3 เดือน (ในกรณีที่ขาดรายได้ หรือตกงาน)

สถานการณ์เงินออมจากผลสำรวจฯ รอบนี้ แย่ลงกว่าผลสำรวจเมื่อปี 2562 อย่างชัดเจน โดยผลสำรวจฯ เมื่อปี 2562 สัดส่วนผู้มีเงินออมสะสมที่สามารถรองรับค่าใช้จ่ายได้มากกว่า 3 เดือน สูงถึง 75% ของผู้มีเงินออมทั้งหมด

คาดปีนี้หนี้ครัวเรือนพุ่งต่อ เเตะ 89-91%

สำหรับแนวโน้มในปี 2564 ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ทยอยฟื้นตัวขึ้นจากวิกฤตโควิด-19 น่าจะทำให้เงินกู้ยืมของภาคครัวเรือนปี 2564 มีโอกาสเติบโตขึ้นสูงกว่าปี 2563 ที่เติบโตเพียง 3.9%

ภาพดังกล่าวอาจส่งผลต่อเนื่องให้สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ขยับสูงขึ้นมาอยู่ในกรอบประมาณ 89.0-91.0% ต่อ GDP ในปี 2564 เทียบกับระดับ 89.3% ต่อ GDP ในปี 2563 

ทางการไทยคงหันกลับมาดูแลปัญหาหนี้ครัวเรือนอย่างจริงจัง เมื่อหลังวิกฤตโรคระบาดสิ้นสุดลง โดยอาจกลับมาสานต่อมาตรการดูแลให้การก่อหนี้ของครัวเรือนสอดคล้องกับความสามารถในการชำระหนี้ (Affordability)”

]]>
1326143
COVID-19 เร่ง ‘ความเหลื่อมล้ำ’ ให้ร้าวลึก เศรษฐีรวยเเล้วรวยอีก คนจนยิ่งจนลง https://positioningmag.com/1316290 Mon, 25 Jan 2021 10:53:41 +0000 https://positioningmag.com/?p=1316290 โรคระบาดเป็นตัวเร่งทำให้ ‘ความเหลื่อมล้ำ’ ในสังคมร้าวลึกมากขึ้น คนรวยยิ่งรวยขึ้น คนจนยิ่งจนลง โดยมหาเศรษฐี TOP 10 ของโลกมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นรวมกันกว่า ‘5 เเสนล้านดอลลาร์สหรัฐ’ ในช่วงวิกฤต COVID-19 ขณะที่ผู้คนหลายร้อยล้านคนมีรายได้ลดลง หนี้สินเพิ่มขึ้นเเละต้อง ‘ตกงาน’

จากรายงานขององค์การ Oxfam ระบุว่า เกือบทุกประเทศในโลก มีความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น อันเป็นผลมาจากการเเพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา

เมื่อนำสินทรัพย์ของเหล่ามหาเศรษฐีรวยที่สุด 10 อันดับแรกของโลก ที่เพิ่มขึ้นนับตั้งแต่ COVID-19 เริ่มระบาด พบว่าจะมีมูลค่าสูงกว่าประมาณ 5 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมีระบบเศรษฐกิจเอื้อให้กลุ่มคนร่ำรวย สามารถรักษาความร่ำรวยไว้ได้ ท่ามกลางภาวะวิกฤตทางอันเลวร้าย

ขณะที่กลุ่มมหาเศรษฐี 1,000 อันดับเเรกของโลก กลับมามีสภาพคล่องทางการเงิน ‘เทียบเท่า’ ช่วงก่อนเกิดโรคระบาดได้ (Pre-pandemic) เร็วภายใน 9 เดือน ส่วนคนยากจนต้องใช้เวลามากกว่านั้นถึง 14 เท่า หรือคิดเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 10 ปีในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ โดยกลุ่มคนที่มีฐานะร่ำรวยจำนวนนี้ ที่เป็นผู้ชายผิวขาว (White Male) จะกลับมามีฟื้นตัวทางการเงินได้เร็วกว่ากลุ่มอื่นๆ ด้วย

ผลการสำรวจขององค์การ Oxfam ครั้งนี้ จัดทำขึ้นโดยนักเศรษฐศาสตร์ 295 คนจาก 79 ประเทศทั่วโลก พบว่า 87% ของผู้ตอบแบบสอบถาม คาดว่าจะเกิดความเหลื่อมล้ำทางรายได้ในประเทศของตน ‘เพิ่มขึ้น’ หรือ ‘เพิ่มขึ้น อย่างมาก’ อันเป็นผลมาจาก COVID-19

โดยวิกฤตนี้ ทำให้เกิดปัญหาการจ้างงานที่เลวร้ายที่สุดในรอบ 90 ปี ส่งผลให้ประชาชน ‘หลายร้อยล้านคน’ ทั่วโลกต้องตกอยู่ในภาวะไม่มีงานทำ เวลาทำงานลดลงและตกงาน ส่วนผู้คนอีก ‘หลายพันล้านคน’ เเละผู้ที่อยู่แนวหน้าในการเผชิญกับโรคระบาด อย่าง พนักงานร้านค้า ผู้ค้าขายในตลาด เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ก็ยิ่งมีความเสี่ยงต่อชีวิตเเละรายได้มากขึ้นเรื่อยๆ

ด้านปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเพศก็ยังมีเพิ่มขึ้นต่อไป โดยผู้หญิง เป็นหนึ่งในกลุ่มประชากรที่ได้รับผลกระทบชัดเจนที่สุด เพราะได้ค่าจ้างต่ำกว่าที่จะเป็น เเละยังต้องตกงานในช่วงล็อกดาวน์มากกว่าผู้ชาย

Oxfam ระบุอีกว่า การแพร่ระบาดของ COVID-19 ยังเเสดงให้เห็นถึงความเหลื่อมล้ำทางเชื้อชาติอีกด้วย โดยกลุ่มชาติพันธุ์ชายขอบ มีแนวโน้มที่จะถูกผลักให้ต้องเผชิญกับความยากจนมากขึ้น และถูกกีดกันออกจากระบบทางสาธารณสุข

Gabriela Bucher ผู้อำนวยการ Oxfam International เเนะว่า การต่อสู้กับความเหลื่อมล้ำเป็นหัวใจสำคัญของการเยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจ รัฐบาลต้องจัดการเเละดูแลให้ทุกคนสามารถเข้าถึงเงินช่วยเหลือ สวัสดิการต่างๆ รวมถึงวัคซีน โดยควรมีการ ‘จัดเก็บภาษี’ อย่างยุติธรรมเพื่อประโยชน์ของทุกคนไม่ใช่แค่เฉพาะผู้มีสิทธิพิเศษเพียงไม่กี่คนโลกเท่านั้น

 

ที่มา : Oxfam , aljazeera

]]>
1316290
จับตา ‘หนี้ครัวเรือน’ ปี 2564 จ่อทะลุ 91% ต่อจีดี​พี​ คนไทยติดวังวน ‘เเบกหนี้เพิ่ม’ เเต่รายได้ลด https://positioningmag.com/1312956 Tue, 05 Jan 2021 07:07:40 +0000 https://positioningmag.com/?p=1312956 ปัญหาหนี้ครัวเรือนพุ่งสูงไม่หยุด จะส่งผลอันใหญ่หลวงต่อเศรษฐกิจเเละสังคมในช่วงต่อไป เมื่อหนี้สินเพิ่มพูนเเต่รายได้กลับลดลง ทำให้คนไทยต้องติดอยู่ในวังวนเเบกหนี้ไม่มีวันจบสิ้น

โดยหนี้ครัวเรือนของไทยยังคงอยู่ในระดับสูงและมีทิศทางเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง สวนทางสัญญาณอ่อนแอของภาวะเศรษฐกิจในช่วงวิกฤต

จากข้อมูลเงินให้กู้ยืมแก่ภาคครัวเรือน (หนี้ครัวเรือน) ในไตรมาส 3 ปี 2563 ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุว่า หนี้ครัวเรือนไทยทำสถิติสูงสุดในรอบ 18 ปีครั้งใหม่ที่ 86.6% ต่อจีดีพี (จากระดับ 83.8% ต่อจีดีพีในไตรมาส 2/2563) โดยเฉพาะสินเชื่อบ้าน สินเชื่อรถยนต์และบัตรเครดิต

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ในปี 2564 หนี้ครัวเรือนไทยอาจพุ่งไป 91% ต่อจีดีพี หรืออาจสูงกว่านั้น หากเศรษฐกิจได้รับผลกระทบจากการเเพร่ระบาดของ COVID-19 ระลอกใหม่หนักกว่าที่ประเมินไว้ เเละฟื้นตัวได้ล่าช้ากว่าเดิม ทำให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ในปี 2564 จะเติบโตน้อยกว่ากรณีพื้นฐานที่ 2.6%

นอกจากนี้ ยังพบว่ามีสัญญาณการเร่งตัวขึ้นของการก่อหนี้ก้อนใหม่ในภาคครัวเรือนในไตรมาสที่ 3/2563 โดยเฉพาะหนี้เพื่อที่อยู่อาศัย ซึ่งสินเชื่อบ้านปล่อยใหม่ ยังคงขยับขึ้นอีกประมาณ 1.60 แสนล้านบาท คิดเป็น 88% ของการเพิ่มขึ้นของยอดคงค้างหนี้ครัวเรือน ซึ่งในไตรมาส 3/2563 หนี้ครัวเรือนมียอดคงค้างเพิ่มขึ้นราว 1.82 แสนล้านบาท มาอยู่ที่ระดับ 13.77 ล้านล้านบาท

ส่วนสัญญาณการก่อหนี้ในส่วนอื่นๆ ทั้งหนี้ก้อนใหญ่ อย่างหนี้เพื่อการประกอบอาชีพและหนี้เช่าซื้อรถยนต์ และหนี้เพื่ออุปโภคบริโภค เช่น บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล ก็กลับมาเร่งสูงขึ้นในไตรมาสที่ 3/2563 อีกครั้ง จากที่มีทิศทางชะลอลงในไตรมาส 2/2563 ซึ่งมีการระบาดของ COVID-19 รอบแรก

คนรายได้น้อยไม่ถึง 5 พัน/เดือน เเบกหนี้สูง 84% ต่อรายได้

ผลกระทบจากเศรษฐกิจที่ทรุดตัวรุนแรงจาก COVID-19 และหนี้สินที่เพิ่มขึ้นอีกในปี 2563 ได้เพิ่มความเปราะบางทางการเงินให้กับครัวเรือนหลายกลุ่มโดยเฉพาะกลุ่มครัวเรือนที่มีสถานะทางการเงินที่ค่อนข้างตึงตัวอยู่แล้วก่อนจะเกิดโรคระบาด

เมื่อเจาะลึกลงไปจะพบว่า ภาระหนี้ต่อรายได้ (DSR) โดยเฉลี่ยของครัวเรือนไทยทั้งประเทศอยู่ที่ 27% เเต่ครัวเรือนที่มีรายได้น้อย หรือมีรายได้เฉลี่ยไม่เกิน 10,000 บาทต่อเดือนกลับมี DSR อยู่ในระดับสูงกว่าค่าเฉลี่ยหลายเท่า

โดยเฉพาะครัวเรือนในกลุ่มที่มีรายได้ต่ำกว่า 5,000 บาทต่อเดือน มีภาระหนี้ต่อรายได้ สูงถึง 84% ขณะที่ครัวเรือนในกลุ่มที่มีรายได้ระหว่าง 5,000-10,000 บาทต่อเดือน มีภาระหนี้ต่อรายได้  40%

สะท้อนให้เห็นว่า ความเปราะบางทางการเงินในภาคครัวเรือนของไทย ปรากฏชัดเจนมากขึ้นตามสัญญาณอ่อนแอของเศรษฐกิจไทยในช่วงหลายปีที่ผ่านมา

โดยภาพรวมครัวเรือนทั้งประเทศมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนลดลงในอัตราที่มากกว่าการลดลงของค่าใช้จ่ายต่อเดือน สวนทางกับภาระหนี้ที่ยังอยู่ในระดับสูง ขณะที่ระดับการออมของครัวเรือนไทยอยู่ในสถานการณ์ที่อ่อนแอลง มาตั้งแต่ก่อนวิกฤต COVID-19

โควิดรอบใหม่ต้องมีมาตรการช่วยลูกหนี้

ความเสี่ยงการระบาดของ COVID-19 ระลอกใหม่ในประเทศ ได้ส่งผลกระทบต่อจังหวะการฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในปี 2564 และน่าจะมีผลกระทบต่อสถานะทางการเงินของกลุ่มลูกหนี้รายย่อยที่เคยได้รับความช่วยเหลือจากสถาบันการเงิน ทั้งในส่วนของธนาคารพาณิชย์ นอนแบงก์ และสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ที่รวมๆ แล้วมีอยู่ประมาณ 10.68 ล้านบัญชี คิดเป็นภาระหนี้ประมาณ 3.5 ล้านล้านบาท (ข้อมูลจาก ธปท. ณ เดือน ต.. 2563)

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า แม้ข้อมูลเบื้องต้นก่อน COVID-19 ระลอกใหม่จะสะท้อนว่าลูกหนี้รายย่อยส่วนใหญ่ของธนาคารพาณิชย์น่าจะสามารถกลับมาชำระหนี้ได้ตามปกติหลังหมดมาตรการฯ และลูกหนี้บางส่วนได้รับการช่วยเหลือโดยการปรับโครงสร้างหนี้ไปแล้ว

แต่ต้องติดตามสถานการณ์ความเสี่ยงของเศรษฐกิจไทยในช่วงต้นปี 2564 อย่างใกล้ชิด เพราะจะมีนัยโดยตรงต่อกระแสรายได้และความสามารถในการชำระหนี้ของครัวเรือน

ภาพรวมของหนี้ครัวเรือนที่ทรงตัวสูงต่อเนื่อง เป็นหนึ่งในเครื่องชี้ที่ตอกย้ำปัญหาเชิงโครงสร้างของเศรษฐกิจไทย และความเปราะบางของฐานะทางการเงินในภาคครัวเรือนที่เป็นโจทย์รอการแก้ไข ต่อเนื่องจากการควบคุมการระบาดของ COVID-19 และการพลิกฟื้นเศรษฐกิจไทยกลับเข้าสู่ภาวะปกติ 

โดยโจทย์เฉพาะหน้าที่สำคัญกว่า คือ การเตรียมมาตรการช่วยเหลือทางการเงินให้กับลูกหนี้ทั้งธุรกิจและครัวเรือน ให้ผ่านช่วงเวลาแห่งความยากลำบากนี้ไปให้ได้

 

]]>
1312956
กำไร “แบงก์ไทย” ลดฮวบ คาดไตรมาส 3 หดตัวลึก -66.5% หาย 6 หมื่นล้าน สิ้นปี “ทรุดกว่า” https://positioningmag.com/1300840 Fri, 09 Oct 2020 09:48:25 +0000 https://positioningmag.com/?p=1300840 ธนาคารพาณิชย์ในไทย เจอพิษ COVID-19 ไตรมาส 3 ปีนี้ คาดกำไรสุทธิหดตัวลึก -66.5% หรือลดฮวบลงกว่า 6 หมื่นล้านบาท มองไตรมาสสุดท้าย “ทรุดหนักกว่า” จากเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัว คุณภาพหนี้แย่ลง หาทางรับมือหลังหมดมาตรการ “พักหนี้”

จากสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจไทยที่ยังไม่กลับสู่ภาวะปกติ ยังคงกดดันความสามารถในการ “ทำกำไร” ของธนาคารพาณิชย์ในไตรมาส 3/2563 โดยรายได้ดอกเบี้ยและรายได้ค่าธรรมเนียม มีแนวโน้มลดลงตามการหดตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องในหลายๆ ภาคส่วน นอกจากนี้ รายได้ดอกเบี้ยของทั้งระบบธนาคารพาณิชย์ไทย ยังได้รับผลกระทบมากขึ้น จากทิศทางขาลงของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ตั้งแต่ช่วงปลายปี 2562 ด้วย

กำไร “เเบงก์ไทย” ลดฮวบ 

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ออกบทวิเคราะห์ ถึงผลประกอบการระบบธนาคารพาณิชย์ไทย ในไตรมาส 3 /2563 โดยคาดว่า กำไรสุทธิของระบบธนาคารพาณิชย์จดทะเบียนในประเทศ จะยังเผชิญแรงกดดันต่อเนื่อง แม้ระดับกำไรสุทธิอาจจะขยับขึ้นเล็กน้อย เมื่อเทียบกับไตรมาส 2/2563

โดยคาดว่า กำไรสุทธิของธนาคารพาณิชย์ไทย ในไตรมาส 3/2563 จะลดลงมาอยู่ที่ระดับประมาณ 3.08 หมื่นล้านบาท หรือ -66.5% YoY เมื่อเทียบกับที่มีกำไรสุทธิสูงถึง 9.16 หมื่นล้านบาทในไตรมาส 3/2562 ซึ่งเป็นช่วงที่ธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่ง มีกำไรพิเศษจากการขายหุ้นในบริษัทประกันซึ่งธนาคารถือหุ้นอยู่

อย่างไรก็ดี กำไรสุทธิที่ระดับดังกล่าวขยับขึ้นเล็กน้อยประมาณ 3.7% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการกันสำรองฯ ในไตรมาส 3/2563 ของธนาคารพาณิชย์หลายแห่งอาจชะลอลงบางส่วน หลังจากที่มี
นโยบายการตั้งสำรองฯ เชิงรุกในระดับที่สูงมากในไตรมาส 2/2563 ที่ผ่านมา

ขณะที่ “รายได้จากธุรกิจหลัก” ยังคงไม่ฟื้นตัวขึ้นท่ามกลางสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ ที่โดนกระทบหนักจากวิกฤต COVID-19

สำหรับแนวโน้มในไตรมาสที่ 4/2563 คาดว่า การประคองทิศทางรายได้และกำไรสุทธิ จะเป็นโจทย์ที่ท้าทายมากขึ้น เนื่องจากต้องรับมือกับการจัดการปัญหาหนี้เสีย การดูแลปรับโครงสร้างลูกหนี้ ค่าใช้จ่ายในการตั้งสำรองฯ และอื่นๆ ที่เพิ่มสูงขึ้นไปพร้อมกัน

Photo : Shutterstock

สินเชื่อ ชะลอตัว – NIM ปรับลด – คุณภาพหนี้แย่ลง

KBANK มองว่า “สินเชื่อ” ของธนาคารพาณิชย์ไทย อาจเติบโตในอัตราที่ชะลอลงมาที่ 4.5-4.8% YoY ในไตรมาส 3/2563 จาก 5.1% YoY ในไตรมาส 2/2563 เนื่องจากยังต้องประเมินความเสี่ยงด้านเครดิตของลูกค้าที่มาขอสินเชื่อใหม่อย่างระมัดระวัง ประกอบกับมีการทยอยชำระคืนสินเชื่อของภาคธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจขนาดใหญ่บางราย

ขณะที่ข้อมูลจากธนาคารเเห่งประเทศไทย (ธปท.) สะท้อนว่าหลังจากมาตรการช่วยเหลือของสถาบันการเงินทยอยครบกำหนดลง มีลูกหนี้ธุรกิจและรายย่อยบางส่วนเริ่มกลับมาชำระคืนหนี้ในช่วงไตรมาส 3/2563 นี้ด้วยเช่นกัน

โดย NIM ไตรมาส 3/2563 ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับประมาณ 2.65-2.70% จาก 2.73% ในไตรมาส 2/2563 เป็นผลต่อเนื่องจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ในช่วงก่อนหน้านี้ ประกอบกับสินเชื่อปล่อยใหม่ส่วนใหญ่ รวมถึงสินเชื่อรีไฟแนนซ์ในระยะนี้ เป็นสินเชื่อที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำลง นอกจากนี้ เพดานใหม่สำหรับดอกเบี้ยสินเชื่อบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล ก็เริ่มมีผลบังคับแล้ว ตั้งแต่เดือนส.ค. 2563 ที่ผ่านมา

ด้าน “คุณภาพสินเชื่อ” ในพอร์ตถดถอยลง ตามสัญญาณอ่อนแอของเศรษฐกิจ คาดว่า สัดส่วน NPLs ของระบบธนาคารไทยในไตรมาส 3/2563 จะขยับขึ้นไปที่กรอบประมาณ 3.25-3.35% จากระดับ 3.21% ในไตรมาส 2/2563 เนื่องจากยังอยู่ในช่วงของมาตรการพักชำระหนี้ของภาคธุรกิจ ประกอบกับคาดว่า ธนาคารพาณิชย์ทุกแห่งจะเร่งจัดการปัญหาหนี้เสียในเชิงรุกมากขึ้น ทั้งด้วยวิธีการตัดขายหนี้ด้อยคุณภาพ และเร่งปรับโครงสร้างหนี้

อย่างไรก็ตาม ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า การตั้งสำรองฯ จะยังอยู่ในระดับสูงในไตรมาส 3/2563 แม้จะมีการตั้งสำรองฯ ก้อนใหญ่ไปแล้วในไตรมาส 2/2563 ดังนั้นสัดส่วนค่าใช้จ่ายในการตั้งสำรองฯ ต่อสินเชื่อ (Credit Cost) อาจชะลอลงเล็กน้อยมาอยู่ในกรอบประมาณ 1.80-1.95% ในไตรมาส 3/2563 เทียบกับ 2.15% ในไตรมาส 2/2563

“ธนาคารพาณิชย์ต่างๆ คงเตรียมความพร้อมในส่วนนี้ไว้เพื่อรองรับปัญหาคุณภาพหนี้ ซึ่งจะเห็นได้อย่างชัดเจนมากขึ้นหลังมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ ทยอยสิ้นสุดลงหลังในเดือนตุลาคมนี้” 

โจทย์ยาก เมื่อ SMEs หมดมาตรการ “พักหนี้”

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า เมื่อจบไตรมาส 3/2563 สินเชื่อที่ได้รับความช่วยเหลือจากธนาคารพาณิชย์จะมีสัดส่วนประมาณ 28.5% ต่อสินเชื่อรวม ลดลงเล็กน้อยจากสัดส่วนประมาณ 31.0% ต่อสินเชื่อรวมในไตรมาส 2/2563 เนื่องจากลูกหนี้บางส่วนกลับมาชำระคืนหนี้ได้ตามปกติหลังมาตรการช่วยเหลือรอบแรกทยอยสิ้นสุดลง

“การประเมินความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้บุคคลและลูกหนี้ธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจ SMEs หลังจากมาตรการพักหนี้สิ้นสุดลง ยังคงเป็นโจทย์ยากและมีความท้าทายสำหรับธนาคารพาณิชย์ เนื่องจากลูกหนี้กลุ่มนี้ส่วนใหญ่ยังมีสถานะทางการเงินที่เปราะบาง ขณะที่สัญญาณอ่อนแอทางเศรษฐกิจที่ลากยาวต่อเนื่องอาจส่งผลกระทบต่อรายได้ และความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้กลุ่มนี้ได้อีกในอนาคต” 

ดังนั้น แม้มาตรการพักชำระหนี้ธุรกิจเป็นการทั่วไปจะทยอยสิ้นสุดลง แต่ธนาคารพาณิชย์แต่ละแห่งจะยังคงให้ความช่วยเหลือกับลูกหนี้ทั้งลูกหนี้ธุรกิจและลูกหนี้รายย่อยในรูปแบบอื่นต่อไป ควบคู่ไปกับการเร่งปรับโครงสร้างหนี้ตามแนวทางของธนาคาร หรือผ่านโครงการ DR BIZ มาตรการรวมหนี้ ตลอดจนมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยระยะที่ 2 ซึ่งยังสามารถเข้าโครงการได้จนถึงสิ้นปี 2563

โดยหลักเกณฑ์ในการให้ความช่วยเหลือจะตั้งอยู่บนพื้นฐานของการพิจารณาความสอดคล้องกันระหว่างกระแสรายได้-ภาระหนี้ ซึ่งแยกตามลักษณะของลูกหนี้แต่ละกลุ่มที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจและมีจังหวะและโอกาสในการฟื้นธุรกิจแตกต่างกัน

Photo : Shutterstock

ไตรมาสสุดท้าย “ทรุดหนักกว่า” 

การประคองความสามารถในการทำกำไรของธนาคารพาณิชย์ในไตรมาสสุดท้ายของปี 2563 ยังคงมีความท้าทายไม่น้อยไปกว่าหลายๆ ไตรมาสที่ผ่านมา เพราะแม้กิจกรรมทางเศรษฐกิจจะทยอยกลับมาหลังการคลายล็อกดาวน์ แต่ก็เป็นการฟื้นตัวที่เปราะบางมากเพราะแรงขับเคลื่อนพื้นฐานของเศรษฐกิจ โดยเฉพาะภาคการส่งออกและท่องเที่ยว ยังไม่สามารถฟื้นกลไกการทำงานกลับมาได้อย่างเต็มที่

“ในไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ คาดว่าจะยังเป็นช่วงที่ธนาคารมีค่าใช้จ่ายรวมสูงกว่าไตรมาสอื่นๆ เพราะมีทั้งค่าใช้จ่ายในการตั้งสำรองฯ ที่น่าจะยังอยู่ในระดับสูง ค่าแคมเปญการตลาด ค่าอุปกรณ์และสถานที่ และรายจ่ายค่าธรรมเนียม ซึ่งท้ายที่สุด คาดว่าจะมีผลกดดันให้กำไรสุทธิของระบบธนาคารพาณิชย์ไทยติดลบ YoY ต่อเนื่องในไตรมาสสุดท้ายของปี 2563 โดยระดับกำไรสุทธิมีแนวโน้มลดต่ำลงกว่ากำไรสุทธิในไตรมาส 3/2563 ซึ่งคาดไว้ที่ประมาณ 3.08 หมื่นล้านบาท”

 

]]>
1300840
CPN เปิดงบไตรมาส 2/63 รายได้รวม 3,613 ล้าน ขาดทุน 611 ล้าน แต่ครึ่งปียังมีกำไร https://positioningmag.com/1294268 Wed, 26 Aug 2020 15:14:39 +0000 https://positioningmag.com/?p=1294268 เซ็นทรัลพัฒนา หรือ CPN รายงานผลประกอบการไตรมาส 2 ปี 2563 มีรายได้รวม 3,613 ล้านบาท ขาดทุน 611 ล้านบาท แต่ภาพรวมครึ่งปีแรกมีรายได้รวม 12,183 ล้านบาท และกำไร 1,890 ล้านบาท ส่วนใหญ่มาจากผลการดำเนินงานช่วง 2 เดือนแรก

ล็อกดาวน์ทำขาดทุน 611 ล้าน

บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) หรือ CPN รายงานผลประกอบการไตรมาส 2 ปี 2563 แม้มีรายได้และกำไรสุทธิที่ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ภาพรวมครึ่งปีแรกของปี 2563 ยังมีกำไรสุทธิครึ่งปีแรกอยู่ที่ 1,890 ล้านบาท

ผลประกอบการในไตรมาสที่ 2 ปี 2563 ลดลง โดยหากไม่รวมรายการที่มิได้เกิดขึ้นเป็นประจำและผลกระทบจากมาตรฐานรายงานทางการเงิน มีรายได้รวม 3,613 ล้านบาท และมีผลขาดทุนสุทธิ 611 ล้านบาท ในขณะที่ภาพรวมครึ่งปีแรกของปี 2563 มีรายได้รวม 12,183 ล้านบาท และกำไรจากการดำเนินงานหลักอยู่ที่ 1,890 ล้านบาท ส่วนใหญ่มาจากผลการดำเนินงานช่วง 2 เดือนแรก

นภารัตน์ ศรีวรรณวิทย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงิน และรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการเงิน บัญชี และบริหารความเสี่ยงของ CPN กล่าวว่า

“จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ส่งผลให้ในช่วงล็อกดาวน์ บริษัทฯ ต้องปิดศูนย์การค้าเป็นการชั่วคราวทั้ง 33 แห่งในประเทศไทย และ 1 แห่งในประเทศมาเลเซีย รวมทั้งสิ้น 34 แห่ง โดยมีระยะเวลาการปิดศูนย์ที่แตกต่างกันตามแต่ละพื้นที่ระหว่าง 45-56 วัน โดยยังคงเปิดให้บริการในส่วนที่จำเป็นแก่ลูกค้า รวมทั้งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมในธุรกิจอื่น อาทิ ศูนย์อาหารและโรงแรม เป็นต้น ซึ่งในระยะเวลาต่อมาได้ให้ความช่วยเหลือแก่ร้านค้าและผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม เพื่อร่วมกันประคับประคองผ่านพ้นสถานการณ์วิกฤตไปด้วยกัน”

นอกจากนี้ CPN ยังรักษาความแข็งแกร่งของฐานะการเงินด้วย Net D/E ณ สิ้นไตรมาส 2 อยู่ที่ 0.55 เท่า ต่ำกว่าระดับนโยบายของบริษัทฯ ที่ 1 เท่า ซึ่งถือว่ามีความพร้อมและยืดหยุ่นมากในการบริหารโครงสร้างเงินทุนของบริษัท ทั้งนี้หลังจากมีการประกาศมาตรการผ่อนคลายล็อกดาวน์จากทางภาครัฐ ที่ทางบริษัทฯ ได้กลับมาเปิดให้บริการศูนย์การค้าทั้ง 34 แห่งอีกครั้งในเดือนพฤษภาคม 2563 บริษัทฯ ได้มีการบริหารจัดการลดต้นทุนและลดค่าใช้จ่ายทุกด้าน พร้อมปรับแผนการดำเนินงานใหม่ให้เหมาะสมเพื่อบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อรายได้ และกำไร โดยคำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนและรักษาผลตอบแทนให้แก่ผู้ถือหุ้น

นอกจากนี้ ได้มีการช่วยเหลือดูแลร้านค้าผู้เช่า และคู่ค้าที่ได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่องด้วยการพิจารณายกเว้นค่าเช่าในช่วงที่มีการปิดศูนย์ และปรับลดค่าเช่าตามสัดส่วนที่เหมาะสมทำให้ผู้เช่าสามารถกลับมาเปิดให้บริการในศูนย์การค้าได้อีกครั้ง ส่งผลให้บริษัทฯ สามารถรักษาอัตราพื้นที่เช่าไว้ได้เฉลี่ยที่ 92% เท่ากับช่วงเดียวกันของปีก่อน”

เดินหน้าลงทุนตามแผนเดิม

CPN ยังคงเดินหน้าพัฒนาโครงการใหม่ตามแผนระยะยาวที่วางไว้ โดยโครงการมิกซ์ยูสที่อยู่ระหว่างการพัฒนา ได้แก่ เซ็นทรัลพลาซา อยุธยา และเซ็นทรัลพลาซา ศรีราชา (กำหนดเปิดปี 2564) เซ็นทรัลพลาซา จันทบุรี (กำหนดเปิดปี 2565) และโครงการ ดุสิต เซ็นทรัล พาร์ค ที่ร่วมพัฒนากับบริษัท ดุสิตธานี จำกัด (มหาชน) บนทำเลทอง “ซูเปอร์คอร์ ซีบีดี” ในกรุงเทพฯ โดยจะทยอยเปิดให้บริการในปี 2566-2567 เป็นต้นไป

สำหรับแผนการลงทุนและเป้าหมายทางธุรกิจในระยะ 5 ปี (ปี 2563-2567) บริษัทฯ ได้มีการปรับแผนการลงทุน และแผนพัฒนาโครงการใหม่ที่ยังไม่ได้ประกาศ ทั้งโครงการอสังหาริมทรัพย์แบบผสม (Mixed-use Development) โครงการที่พักอาศัย รวมถึงแผนการปรับปรุงสินทรัพย์ที่มีอยู่ในปัจจุบันเพื่อเพิ่มมูลค่าเพื่อเตรียมความพร้อม และรักษาสถานะทางการเงินและสภาพคล่องเพื่อรองรับการดำเนินธุรกิจท่ามกลางสถานการณ์ที่ท้าทายจาก COVID-19

CentralPlaza Siracha

รวมทั้งศึกษาโอกาสการลงทุนธุรกิจใหม่ในรูปแบบอื่น การเข้าซื้อกิจการ และการลงทุนในต่างประเทศในแถบภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อาทิ มาเลเซีย และเวียดนาม รวมถึงศึกษาโอกาสการลงทุนในธุรกิจใหม่ที่มีศักยภาพการเติบโตสูงเพื่อขยายช่องทางในการสร้างรายได้ใหม่ และสอดคล้องกับแผนการเติบโตตามเป้าหมายในอนาคตอย่างมั่นคง และยั่งยืน

ปัจจุบัน CPN บริหารจัดการศูนย์การค้า 34 แห่ง มีพื้นที่ให้เช่าสุทธิรวม 1.8 ล้านตารางเมตร (อยู่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล 15 โครงการ, ต่างจังหวัด 18 โครงการ และในมาเลเซีย 1 โครงการ) ศูนย์อาหาร 30 แห่ง อาคารสำนักงาน 7 อาคาร โรงแรม 2 แห่ง โครงการที่พักอาศัยอีก 12 โครงการ ประกอบด้วยคอนโดมิเนียมภายใต้แบรนด์ ESCENT, ESCENT  VILLE, ESCENT PARK VILLE, และ PHYLL จำนวน 9 โครงการ และโครงการแนวราบ จำนวน 3 โครงการ

ซึ่งเมื่อไตรมาส 1 ปี 2563 ที่ผ่านมา ได้เปิดตัว 2 โครงการใหม่ ได้แก่ โครงการ เอสเซ็นท์ทาวน์ พิษณุโลก และนินญา กัลปพฤกษ์ ซึ่งได้รับการตอบรับที่ดี นอกจากนี้ CPN เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัท แกรนด์ คาแนล แลนด์ จำกัด (มหาชน) หรือ GLAND ซึ่งเป็นผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่มีสินทรัพย์ที่ดำเนินการแล้ว และสินทรัพย์ที่รอการพัฒนาอยู่บนทำเลศักยภาพสูงในกรุงเทพฯ

]]>
1294268
เงินของประชากรโลก 60% รวมกัน…ยังรวยไม่เท่ามหาเศรษฐี 2 พันคน https://positioningmag.com/1261281 Mon, 20 Jan 2020 08:15:08 +0000 https://positioningmag.com/?p=1261281 เหล่าเศรษฐีพันล้านมีจำนวนมากขึ้นเป็นเท่าตัว ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา เเละร่ำรวยกว่าประชากร 60 % ของโลก โดยคนรวยที่สุดในโลก 22 คนมีทรัพย์สินมากกว่าผู้หญิงทั้งหมดในทวีปแอฟริกา

จากรายงานของมูลนิธิอ็อกซ์แฟม (Oxfam) ระบุว่า ผู้หญิงและเด็กหญิงที่ยากจนอยู่ล่างสุดของระบบนี้ พวกเธอทำงานดูแลโดยไม่ได้รับค่าจ้างรวม 1.2 หมื่นล้านชั่วโมงต่อวัน คิดเป็นมูลค่าอย่างน้อย 10.8 ล้านล้านดอลลาร์ต่อปี

“มหาเศรษฐีพันล้านซึ่งปัจจุบันมีอยู่ 2,153 คน มีทรัพย์สินรวมกัน มากกว่าทรัพย์สินของคนยากจนที่สุดในโลก 4,600 ล้านคนรวมกัน”

Amitabh Behar หัวหน้าของ Oxfam อินเดีย กล่าวว่า เศรษฐกิจที่ล้มเหลวของเรากำลังหล่อเลี้ยงกระเป๋าเงินของมหาเศรษฐีและธุรกิจใหญ่ ด้วยการทำลายชายและหญิงธรรมดาทั่วไป ไม่เคยมีใครตั้งคำถามว่ามหาเศรษฐีควรมีอยู่หรือไม่

“ช่องว่างระหว่างคนรวยและคนจนไม่อาจแก้ไขได้ หากปราศจากนโยบายทำลายความไม่เท่าเทียมอย่างตรงจุด”

อ่านเพิ่มเติม : รวยแล้วรวยอีก! Top 500 เศรษฐีโลกรวยขึ้น 1.2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐปี 2019

รายงานดังกล่าวระบุด้วยว่า “คนรวยที่สุดในโลก 22 คนมีทรัพย์สินมากกว่าผู้หญิงทั้งหมดในแอฟริกา” โดยประชากรผู้หญิงและเด็กผู้หญิง คือกลุ่มประชากรที่สร้างรายได้ได้น้อย เพราะต้องทำงานด้านการดูแลเป็นส่วนใหญ่ ทั้งที่งานดูแลเหล่านั้นคือต้นกำเนิดของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ธุรกิจและสังคม

“พวกเธอส่วนใหญ่มักไม่มีเวลาที่จะรับการศึกษา มีชีวิตที่เหมาะสม หรือมีโอกาสพูดว่าสังคมของเราควรไปในทิศทางไหน พวกเธอจึงติดกับดักชั้นล่างสุดของระบบเศรษฐกิจ ” Behar กล่าว

Oxfam เเนะว่าหากกลุ่มคนที่ร่ำรวยรวยที่สุดในโลกจ่ายภาษีเพิ่มเพียงร้อยละ 0.5 เป็นเวลา 10 ปี จะเท่ากับการลงทุนเพื่อสร้างงานใหม่ถึง 117 ล้านตำแหน่งในด้านการดูแลผู้สูงอายุและเด็ก การศึกษาและสาธารณสุข

อย่างไรก็ตาม ตัวเลขของ Oxfam อ้างอิงข้อมูลจากนิตยสาร Forbes และธนาคารเครดิตสวิสในสวิสเซอร์แลนด์ เเละถูกโต้แย้งโดยนักเศรษฐศาสตร์หลายคน

 

ที่มา : AFP / Billionaires richer than 60 percent of the world’s population: Oxfam

]]>
1261281
มองเศรษฐกิจรอบด้าน เปิดวิเคราะห์ SCB EIC ครัวเรือนไทยรายได้-ใช้จ่ายลดในรอบ 10 ปี หนี้สูง https://positioningmag.com/1261075 Fri, 17 Jan 2020 11:32:50 +0000 https://positioningmag.com/?p=1261075 EIC ปรับลด GDP ไทยปีนี้เหลือ 2.7% คาดส่งออกฟื้นเพียงแค่ 0.2% เงินบาทยังเเข็งค่าต่อ มองเจรจาสงครามการค้าจีน-สหรัฐฯ เฟส 2 มีแนวโน้มลงเอยค่อนข้างยาก การลงทุนภาคเอกชนในไทยยังชะลอตามกำลังซื้อ ภาครัฐจะประคับประคองเศรษฐกิจมากขึ้น คาดประมูล 5G กระตุ้นเศรษฐกิจ ส่วนภาคครัวเรือนไทย รายได้-การใช้จ่ายลดลงครั้งเเรกในรอบ 10 ปี หนี้สูง การเงินเปราะบาง

ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ (Economic Intelligence Center : EIC) ธนาคารไทยพาณิชย์ ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจไทยปี 2020 ว่าจะเติบโตที่ 2.7% จากเดิมที่ 2.8% ฟื้นตัวเล็กน้อยจากปี 2019 ที่คาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวที่ 2.5% ตามภาคส่งออกที่มีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปจากภาวะการค้าโลกที่น่าจะปรับดีขึ้นบ้าง
เเต่ปัจจัยค่าเงินบาทที่แข็งค่ายังเป็นปัจจัยที่กดดันผู้ส่งออกเเละการท่องเที่ยวไทยอยู่

“เงินบาทที่แข็งค่าสะสมกว่า 24% เมื่อเทียบกับคู่ค้าคู่แข่งในช่วง 6 ปีที่ผ่านมา ยังมีแนวโน้มทรงตัวในระดับแข็งค่าต่อเนื่องจะยังเป็นปัจจัยกดดันต่อรายได้ผู้ส่งออกในรูปเงินบาท และความสามารถในการแข่งขันด้านราคาของสินค้าส่งออกไทย

รวมถึงรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติผ่านการใช้จ่ายต่อหัวของนักท่องเที่ยวที่ชะลอตัวลง แม้จำนวนนักท่องเที่ยวจะยังขยายตัวได้แต่ก็เติบโตในอัตราที่ชะลอลงเช่นกัน

“คาดว่าปีนี้จะมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าไทยราว 41.3 ล้านคน เพิ่มขึ้น 3.7% เติบโตในอัตราที่ชะลอตัวลงจากปีก่อนที่ขยายตัวได้ 4.3%”

ยรรยง ไทยเจริญ รองผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสูงสุดศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ (EIC) ธนาคารไทยพาณิชย์ มองว่า การส่งออกไทยในปีนี้ จะเป็นบวกได้เล็กน้อยที่ 0.2% (ปีก่อนติดลบที่ -3.3%) เพราะเชื่อว่าเศรษฐกิจโลกได้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว เเละสหรัฐฯ และจีนสามารถมีข้อตกลงร่วมกันได้ในเฟสแรก ทำให้คลายความกังวลเรื่องสงครามการค้าลงไปได้ แต่การส่งออกที่แม้จะฟื้นตัว เเต่ก็ยังมีข้อจำกัดจากเงินบาทที่ยังแข็งค่าในปีนี้

มองเศรษฐกิจโลก

ประเด็นสงครามการค้า มองว่าการบรรลุข้อตกลงทางการค้าระยะแรกระหว่างสหรัฐฯ และจีน เฟส 1 ที่จะนำไปสู่การยกเลิกและลดภาษีสินค้านำเข้าบางส่วนที่ขึ้นไปก่อนหน้า รวมถึงแนวนโยบายการเงินและการคลังของหลายประเทศทั่วโลกที่มีทิศทางผ่อนคลายเพื่อประคับประคองเศรษฐกิจ

อย่างไรก็ตาม ความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน ที่แม้จะบรรลุข้อตกลงระยะแรกได้ แต่ต้องติดตมการปฎิบัติตามข้อตกลง รวมทั้งยังมีข้อขัดแย้งพื้นฐานในหลายมิติที่มีแนวโน้มยืดเยื้อและเสี่ยงที่จะกลับมาปะทุได้อีก

EIC คาดว่าภายในปี 2020 ข้อตกลงจะบรรลุได้เพียงเฟส เพราะการเจรจา เฟส 2 มีแนวโน้มลงเอยค่อนข้างยาก เนื่องจากทั้งสองฝ่ายมีจุดยืนในประเด็นโครงสร้าง เศรษฐกิจเชิงลึกของจีนที่ต่างกัน เช่น 1) นโยบายอุตสาหกรรมเป้าหมาย 2) นโยบายด้านรัฐวิสาหกิจ และ 3) เงื่อนไขการยกเลิกภาษีในช่วงก่อนหน้า

โดยรวมเศรษฐกิจโลกจะส่งสัญญาณดีขึ้นจากกการส่งออกและดัชนี PMI ภาคการผลิตที่เริ่มพ้นจุดต่ำสุดในหลายประเทศ จากอานิสงส์ของการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงก่อนหน้า

ขณะที่ผลสำรวจความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจโลกในอีก 12 เดือนข้างหน้าของ McKinsey ที่สอบถามผู้บริหารทั่วโลก 1,881 ราย เห็นว่าความเสี่ยงที่น่าจับตามองที่สุดคือ

อันดับ 1 ความตึงเครียดทางการค้า 65%
อันดับ 2 ความไม่แน่นอนทางภูมิรัฐศาสตร์ 54%
อันดับ 3 การเปลี่ยนแปลงนโยบายการค้า 35%
อันดับ 4 การประท้วง 20%
อันดับ 5 การเปลี่ยนผ่านผู้นำทางการเมือง 17%

ด้านเศรษฐกิจจีน ในปีนี้คาดว่าโตต่ำกว่า 6% ซึ่งโตต่ำสุดตั้งแต่ปี 1990 จากปัจจัยนโยบายในประเทศเเละสงครามการค้า ขณะที่กลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ (Emerging Markets : EM) อย่างลาตินอเมริกา แอฟริกา จะเติบโตได้ดี

ในภาพรวม สัดส่วนการค้าโลกที่เผชิญกับมาตรการกีดกันทางการค้าใหม่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ขณะที่สหรัฐฯ ยังมีการใช้มาตรการทางการค้าสำหรับคู่ค้าอื่นๆ รวมถึงไทยด้วย ทั้งนี้ สินค้าไทยที่โดนตัดสิทธิ GSP คิดเป็น 0.5% ของการส่งออกรวมของไทย โดยสินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ สุขภัณฑ์ เม็ดพลาสติก อาหาร และเครื่องประดับ

ความตึงเครียดสหรัฐฯ-อิหร่าน หากรุนเเรงเเละขยายวงกว้างมากขึ้นอาจกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ผ่านช่องราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้น การผันผวนในตลาดเงิน และความเชื่อมั่นภาคธุรกิจที่จะปรับแย่ลง

“ในปี 2020 EIC คาดว่าน้ำมันเฉลี่ยจะทรงตัวใกล้เคียงกับปีก่อน จากภาวะตลาดที่ค่อนข้างสมดุล แต่มีความเสี่ยงสูงจากประเด็นข้อขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯ กับอิหร่าน”

การเงินในไทย : ค่าเงินบาทเเข็งค่า อัตราดอกเบี้ยอยู่ระดับต่ำตลอดปี

ค่าเงินบาท

มีแนวโน้มทรงตัวในระดับแข็งค่าต่อเนื่อง โดยคาดว่าอัตราแลกเปลี่ยน ณ สิ้นปี 2563 จะอยู่ในช่วง 29.50-30.50 บาท/ดอลลาร์ ตามแรงกดดันของดุลบัญชีเดินสะพัดไทยที่ยังจะเกินดุลในระดับสูง

“เงินบาทยังมีแนวโน้มแข็งค่าในปีนี้ ด้วยแรงกดดันต่อเนื่อง อีกทั้งไทยยังเกินดุลบัญชีเดินสะพัดสูง ประกอบกับเมื่อเวลาเศรษฐกิจโลกฟื้นตัว ดอลลาร์สหรัฐจะอ่อนค่าเพราะความต้องการดอลลาร์ลดลงนอกจากนี้ยังมีแนวโน้มเงินของทุนไหลเข้าในตลาดเกิดใหม่เพิ่มขึ้นด้วย” ยรรยงระบุ

เงินเฟ้อ

อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปีนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ 0.6% ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานมีแนวโน้มอยู่ในระดับต่ำ เนื่องจากอุปสงค์ในประเทศที่ชะลอตัว

อัตราดอกเบี้ย 

SCBEIC คาดว่าคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะยังใช้นโยบายการเงินในระดับผ่อนคลายต่อเนื่อง เพื่อช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโดย กนง.มีแนวโน้มที่จะคงอัตราดอกเบี้ยที่ 1.25% ตลอดทั้งปี 2563 และอาจปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มเติมอีก 1 ครั้งหากเศรษฐกิจชะลอตัวมากกว่าที่คาด

“เชื่อว่าธนาคารเเห่งประเทศไทย (ธปท.) มองว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปัจจุบันน่าจะต่ำเพียงพอแล้ว หากลดดอกเบี้ยลงไปมากกว่านี้ อาจจะกระทบต่อเสถียรภาพระบบการเงินต่างๆ แต่ก็ยังมีโอกาสที่ดอกเบี้ยจะลงได้ หากเศรษฐกิจแย่กว่าคาด”

ขณะที่ธนาคารกลางที่สำคัญของโลก อย่างธนาคากลางสหรัฐฯ (FED) ธนาคารกลางยุโรป (ECB) และธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) คาดว่าจะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปีนี้ไว้ แต่ก็พร้อมที่จะผ่อนคลายนโยบายการเงินเพิ่มเติม
หากภาวะเศรษฐกิจของประเทศชะลอตัวลงกว่าที่คาดไว้

 

อุปสงค์ในประเทศของภาคเอกชน

มีแนวโน้มขยายตัวได้แต่ในอัตราที่ชะลอลง โดยแม้ว่าภาคส่งออกจะมีโอกาสฟื้นตัว แต่การบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนยังมีทิศทางชะลอตัวต่อเนื่องตามหลายปัจจัยกดดัน ไม่ว่าจะเป็นการลดลงของการจ้างงานโดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรม ความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ลดต่าต่อเนื่อง รายได้นอกภาคเกษตรที่เริ่มหดตัว

ส่วนรายได้ภาคเกษตรก็มีแนวโน้มได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง รวมถึงหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง ล้วนส่งผลกระทบต่อการจับจ่ายใช้สอยของครัวเรือนโดยเฉพาะในหมวดสินค้าคงทนในระยะต่อไป

“กรมอุตุฯ พยากรณ์ปริมาณฝนใน Q1 ลดต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในอดีต ซึ่งภัยเเล้งปีนี้จะกระทบเกษตรภาคกลางมากที่สุด คาดการณ์ผลผลิตรายสินค้าในปี 2020 ว่าอ้อยจะ -16% เเละข้าวเปลือก -10% ” 

การลงทุนภาคเอกชน

นอกจากจะมีแนวโน้มชะลอลงตามกาลังซื้อในประเทศแล้วอัตราการใช้กาลังการผลิต (CapU) ที่อยู่ในระดับต่ำและระดับสินค้าคงคลัง (inventory) ภาคอุตสาหกรรมที่อยู่ในระดับสูง ก็จะส่งผลต่อการชะลอตัวของการลงทุนภาคเอกชนในระยะข้างหน้า นอกจากนี้ ยอดขายรถยนต์เพื่อการบริโภคและการพาณิชย์ที่มีแนวโน้มหดตัวต่อเนื่อง
รวมถึงการก่อสร้างภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการ LTV ในช่วงก่อนหน้าก็จะเป็นอีกปัจจัยกดดันภาคอุปสงค์ในประเทศในระยะต่อไป

ภาครัฐจะมีบทบาทประคองเศรษฐกิจปี 2020 มากขึ้น

โดยจะมีส่วนในรูปแบบการกระตุ้นเศรษฐกิจและดูแลกลุ่มเปราะบางระยะสั้น การลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน และการกำหนดแนวนโยบายเศรษฐกิจที่สนับสนุนการดำเนินธุรกิจของภาคเอกชน (Enabler) โดยเฉพาะการเปิดประมูลโครงการ 5G ที่จะผลักดันให้เกิดการลงทุนภาคโทรคมนาคมและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม ประกอบกับการจัดทางบประมาณที่ล่าช้าจากเมื่อปลายปี 2019 จึงทำให้หลายโครงการมีการเลื่อนเบิกจ่ายมาในปี 2020

“การประมูล 5G ในเดือนหน้าคาดว่าจะทำให้มีเม็ดเงินเข้ามาประมาณ 93,000 ล้านบาท รวม 4 ปี น่าจะได้ประมาณ 4 แสนล้านบาท ซึ่งจะเป็นเม็ดเงินที่เข้ามาช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจไทยได้” 

ความเสี่ยงเศรษฐกิจไทยปีนี้

มี 3 ปัจจัยหลัก ได้เเก่

  • ความไม่แน่นอนของสงครามการค้า ความเสี่ยงเชิงภูมิรัฐศาสตร์ และความเปราะบางทางการเงินของภาคครัวเรือนและธุรกิจ ด้านสงครามการค้า แม้ล่าสุดจะมีข้อตกลงการค้าระยะแรกระหว่างสหรัฐฯ และจีน แต่นโยบายกีดกันทางการค้าของสหรัฐฯ ยังมีความไม่แน่นอนสูงและอาจกระทบต่อการค้าโลกได้ อาทิ การเจรจากับจีนในระยะต่อไป การตอบโต้ทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับสหภาพยุโรป และการพิจารณาของสหรัฐฯ ในการตัดสิทธิ GSP ของหลายประเทศ
  • ความเสี่ยงเชิงภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitical risks) โดยเฉพาะความขัดแย้งระหว่างอิหร่านและสหรัฐฯ
    การประท้วงที่ยืดเยื้อในฮ่องกง และประเด็น Brexit ยังเป็นปัจจัยเสี่ยงที่อาจส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัว
    ของเศรษฐกิจโลก
  • ความเปราะบางทางการเงินของภาคครัวเรือนและธุรกิจ โดยเฉพาะกลุ่มที่มีหนี้ในระดับสูงและการสร้างรายได้ถูกกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี (Technology Disruption) และการแข่งขันที่รุนแรงขึ้น

ครัวเรือนไทย : รายได้ – การใช้จ่ายลดลงครั้งเเรกในรอบ 10 ปี หนี้สูง การเงินเปราะบาง

ครัวเรือนไทยลดการใช้จ่ายลง ในช่วงครึ่งแรกของปี 2019 ครัวเรือนไทยใช้จ่ายเฉลี่ยอยู่ที่ 21,236 บาทต่อครัวเรือนต่อเดือนลดลง -0.9% จาก 21,437 บาทต่อครัวเรือนต่อเดือนในปี 2017 ถือเป็นการลดลงครั้งแรกในรอบ 10 ปี สอดคล้องกับรายได้ที่ลดลง

ทั้งนี้การลดลงของการใช้จ่ายยังอาจมีสาเหตุมาจากความกังวลเรื่องความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจที่มากขึ้น รวมถึงภาระหนี้ที่เพิ่มสูงขึ้นด้วยเช่นกัน

ครัวเรือนไทยเป็นหนี้มากขึ้น ภาระหนี้ต่อรายได้แตะระดับสูงสุด

ครัวเรือนไทยมีการก่อหนี้เพิ่มขึ้น เมื่อพิจารณาเฉพาะครัวเรือนที่มีหนี้ (46.3% ของจำนวนครัวเรือนทั้งหมด) พบว่า ภาระหนี้เฉลี่ยต่อครัวเรือนเพิ่มขึ้นจาก 353,210 บาทต่อครัวเรือนในปี 2017 มาอยู่ที่ 362,373 บาทต่อครัวเรือนในครึ่งแรกของปี 2019 หรือเพิ่มขึ้น2.6% ส่งผลให้สัดส่วนหนี้ต่อรายได้ (หารเฉพาะครัวเรือนที่มีหนี้) เพิ่มขึ้นจาก 96.1% มาเป็น 97.7% จากการที่หนี้ยังเติบโตสูงกว่ารายได้

ทั้งนี้สัดส่วนหนี้ในปัจจุบันเพิ่มขึ้นมาต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2015 และถือเป็นระดับที่สูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ ต่างจากสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ที่มีการลดลง (deleverage) ในช่วงปี 2015 ถึงปี 2017 แล้วจึงเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในช่วงหลังจากนั้น

สาเหตุหลักเป็นเพราะในช่วงดังกล่าวสัดส่วนรายได้ครัวเรือนต่อ GDP ลดลง ขณะที่สัดส่วนของกำไรภาคธุรกิจ (ซึ่งส่วนมากน่าจะมาจากกำไรของธุรกิจขนาดใหญ่) ต่อ GDP เพิ่มสูงขึ้น

ครัวเรือนไทยก่อหนี้เพิ่มในด้านที่อยู่อาศัย การบริโภค และการเกษตร แต่ลดการก่อหนี้ธุรกิจนอกภาคเกษตรลง เมื่อพิจารณาการเปลี่ยนแปลงในด้านการก่อหนี้ในครึ่งแรกปี 2019 เทียบกับปี 2017 พบว่า

การก่อหนี้เพื่อซื้อที่อยู่อาศัย ของครัวเรือนเฉลี่ยเพิ่มขึ้น จาก 128,287 บาทต่อครัวเรือนในปี 2017 มาอยู่ที่ 135,312 บาท ต่อครัวเรือนในช่วงเเรกของปี 2019 หรือเพิ่มขึ้น 5.5% ส่งผลให้สัดส่วนหนี้ที่อยู่อาศัยต่อหนี้ครัวเรือนทั้งหมดเพิ่มขึ้นจาก36.3% มาเป็น 37.3% ซึ่งถือเป็นระดับที่สูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2009

หนี้เพื่อการบริโภคเพิ่ม ในส่วนของหนี้เพื่อการบริโภค (รวมหนี้รถยนต์) ซึ่งเป็นหนี้ที่มีสัดส่วนสูงที่สุดของครัวเรือนในปัจจุบันเพิ่มขึ้นจาก 137,678 บาทต่อครัวเรือนในปี 2017 มาอยู่ที่ 139,904 บาทต่อครัวเรือนในครึ่งแรกของปี 2019 คิดเป็นการเพิ่มขึ้น 1.0% สำหรับหนี้เพื่อการบริโภคนี้ถือเป็นหนี้ที่เติบโตเร็วที่สุดในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา
โดยเติบโตเฉลี่ย 7.0% ต่อปี ขณะที่หนี้ส่วนอื่น ๆ เติบโตเฉลี่ยเพียง 3.7% ต่อปี ทำให้หนี้เพื่อการบริโภค
มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นจาก 30.8% ในปี 2009 มาเป็นที่ 38.4% ในปัจจุบัน (2019)

การก่อหนี้เพื่อทำกิจการเกษตร ยังคงเพิ่มขึ้น จาก 49,273 บาทต่อครัวเรือนในปี 2017 มาอยู่ที่
51,574 บาทต่อครัวเรือนคิดเป็นการเพิ่มขึ้น 4.7% ทั้ง ๆ ที่กำไรจากกิจการการเกษตรลดลงในช่วงเดียวกัน คาดว่าสาเหตุน่าจะมาจากการก่อหนี้เพื่อ ประคับประคองธุรกิจและค่าใช้จ่ายในครัวเรือนในช่วงที่ต้องเผชิญปัจจัยลบ รวมถึงอาจมีผลส่วนหนึ่งมาจากมาตรการภาครัฐในการให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำแก่เกษตรกรต่อเนื่อง

ในทางกลับกัน การก่อหนี้เพื่อทำธุรกิจนอกภาคเกษตรลดลง จาก 30,120 บาทต่อครัวเรือนในปี 2017 ลดลงมาอยู่ที่ 29,478 บาทต่อครัวเรือนในปัจจุบัน คิดเป็นการลดลง -2.1% สอดคล้องกับทิศทางการเปลี่ยนแปลงของกำไรกิจการนอกภาคเกษตร

ทั้งนี้ หนี้ในส่วนนี้มีสัดส่วนมีแนวโน้มลดลงในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา โดยเคยมีสัดส่วนสูงถึง 16.3% ในปี 2009 ลดลงมาเหลือเพียง 8.1% ในปัจจุบัน ส่วนหนึ่งมาจากการที่จนวนครัวเรือนที่ทำกิจการ นอกภาคเกษตรลดลงจาก 30.5% ในปี 2009 มาอยู่ที่ 25.2% ในปัจจุบัน อีกทั้งในบรรดาครัวเรือนที่ทำธุรกิจนอกภาคเกษตร สัดส่วนครัวเรือนที่กู้ก็ลดน้อยลงเช่นกันจาก 14.2% ในปี 2009 มาอยู่ที่ 10.0% ในปัจจุบัน

ดาวน์โหลด Outlook ไตรมาส 1/2020 ฉบับเต็ม ได้ที่ : SCB EIC 

]]>
1261075