วิกฤต COVID-19 – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 07 Jan 2021 13:33:41 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ส่องโอกาส ‘นักลงทุนจีน’ เเห่ขนเงินบุกตลาดไทย หลังวิกฤต COVID-19 https://positioningmag.com/1313268 Thu, 07 Jan 2021 11:49:16 +0000 https://positioningmag.com/?p=1313268 ความไม่เเน่นอนของเศรษฐกิจโลก ท่ามกลางโรคระบาด COVID-19 ส่งผลกระทบโดยตรงต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน

โดยนักลงทุนจากประเทศจีน ถือเป็นกลุ่มใหญ่ลำดับต้นๆ ที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทย ท่ามกลางสถานการณ์ที่มีความเสี่ยงเหล่านี้ มาดูกันว่าทิศทางของเม็ดเงินการลงทุนของจีนจะเป็นอย่างไร ธุรกิจที่น่าสนใจ ผู้ประกอบการชาวไทยต้องเตรียมตัว เเละมีข้อควรระวังอย่างไรบ้าง เพื่อเตรียมความพร้อมรับโอกาสการลงทุนในปี 2021 นี้

คาดจีน ‘ขนเงิน’ ลงทุนไทย หลัง COVID-19 

สำหรับภาพรวมการลงทุนของนักลงทุนจีนในประเทศไทยในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา พบว่า มีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มนักธุรกิจ SMEs ที่ปรับกลยุทธ์หันมาใช้ไทยเป็นฐานการผลิต เพื่อขยายตลาดในอาเซียน

หากย้อนไปในช่วง 5 ปีก่อน จะเห็นว่าสัดส่วนการลงทุนของจีนในไทยไม่ได้อยู่ในอันดับ 5 แต่ในปี 2561 ประเทศจีนขึ้นมาอยู่ในอันดับ 1 เเทนที่ประเทศญี่ปุ่นที่เคยเป็นอันดับ 1 ในการลงทุนในตลาดไทย

มาณพ เสงี่ยมบุตร รองผู้จัดการใหญ่ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มงานการเงิน ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) ให้ข้อมูลว่า สัดส่วนการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ของจีนในปี 2562 มีมูลค่าการลงทุนสะสมรวมอยู่ที่
1.4
แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเป็นการลงทุนในอาเซียนสัดส่วนประมาณ 11% และไทยมีสัดส่วนประมาณ 1% ซึ่งเพิ่มขึ้นจากในปี 2558 ที่มีสัดส่วนการลงทุนสะสมเพียง 0.3% เท่านั้น

แม้ว่าจะปรับเพิ่มขึ้น แต่ถือว่ายังค่อนข้างน้อย หากเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น CLMV ที่มีสัดส่วนการลงทุนถึง 4% โดยเฉพาะการลงทุนในเวียดนามที่ค่อนข้างโดดเด่น สะท้อนว่าการลงทุนในไทยยังค่อนต่ำเมื่อเทียบกับความสัมพันธ์ระหว่างไทยและจีน เเต่ก็มองว่าส่วนนี้ยังสามารถขยายเพิ่มได้อีก

โดย SCB ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของผู้บริหารบริษัทจีนขนาดกลางและขนาดใหญ่จำนวน 170 รายที่มีการลงทุนหรือเกี่ยวข้องกับไทย พบว่า นักลงทุนกว่า 2 ใน 3 ให้ความสนใจที่จะขยายการลงทุนมายังไทยในช่วง 2 ปีข้างหน้า นอกจากนี้ราว 60% ยังเป็นกลุ่มที่ไม่เคยลงทุนหรือทำธุรกิจในประเทศไทยมาก่อน ถือว่าเป็นโอกาสใหม่ที่สำคัญ

เหตุผลหลักๆ คือ มองว่าไทยเป็นตลาดที่มีศักยภาพ มีความพร้อมและตั้งอยู่ในจุดยุทธศาสตร์ที่จะสามารถก้าวเป็นศูนย์กลางอาเซียนเพื่อเชื่อมโยงตลาดสู่ประเทศเพื่อนบ้านได้มากขึ้น ต่างจากในอดีตที่นักลงทุนจีนเคยมองว่า ประเทศไทยเป็นเพียงฐานการผลิตเพื่อส่งออกเท่านั้น

อีกทั้ง ยังมีปัจจัยที่เอื้อให้การลงทุนไทยยังเติบโต จากนโยบายการลงทุนต่างประเทศของจีนที่น่าจะเปลี่ยนไปเพราะภัยโรคระบาด จากเดิมที่เคยมองการลงทุนในสหรัฐฯ เเละยุโรป ก็มีเเนวโน้มจะนำเงินทุนเหล่านั้นมาลงในประเทศ
เเถบอาเซียนเเละไทย ที่มีความรุนเเรงในการเเพร่ระบาดน้อยกว่า

จีนลุยเจาะธุรกิจ ‘บริการ’ ในไทย 

อุตสาหกรรมที่นักลงทุนจีนให้ความสนใจเริ่มกระจายตัวมากขึ้น จากเดิมที่กระจุกตัวในอุตสาหกรรมผลิตเพื่อส่งออก และอุตสาหกรรมหนัก อย่าง การลงทุนในระบบรางขนส่ง รถไฟ ฯลฯ

แต่ในระยะหลังนักธุรกิจจีนเริ่มหันมาบุกตลาดไทยมากขึ้น ทั้งในภาคบริการ เทคโนโลยี สาธาณูปโภค โลจิสติกส์ ร้านอาหาร รวมไปถึงการตั้งสำนักงานทนายความรองรับนักธุรกิจจีนในไทย

จากเดิมเม็ดเงินลงทุนจากจีนจะมีขนาดใหญ่ราว 1,000 ล้านบาท เเละจำกัดอยู่ในอุตสาหกรรมหลัก อย่าง ยางรถยนต์ ต่างจากตอนนี้ที่มีการกระจายการลงทุนมากขึ้น ทำให้เม็ดเงินลงทุนมีขนาดเล็กลง อาจเหลือเพียง 500 ล้านบาท แต่เราจะได้เห็นปริมาณโครงการลงทุนว่ามีมากขึ้นเกินความคาดหมาย

โดยพฤติกรรมของนักลงทุนจีน โดยเฉพาะ SMEs (ที่มีขนาดใหญ่กว่าในไทย) ที่ต้องการย้ายฐานการผลิตออกนอกประเทศ เพื่อเลี่ยงผลกระทบจากสงครามการค้า จะใช้เงินลงทุนในช่วงแรกน้อยลง เพื่อเรียนรู้ตลาดก่อนขยายธุรกิจในอนาคตตามโอกาสและทิศทางการเติบโต โดยธุรกิจบริการและเทคโนโลยี จะเป็นอุตสาหกรรมเป้าหมายของนักธุรกิจจีนที่มีแนวโน้มจะขยายการลงทุนในประเทศไทยต่อไป

ร้านอาหารจีน
Photo : Shutterstock

เเซงญี่ปุ่น จีนขึ้นเบอร์ 1 ดันเม็ดเงิน FDI ในไทย 5 หมื่นล้าน

ยรรยง ไทยเจริญ รองผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสูงสุด Economic Intelligence Center (EIC) ธนาคารไทยพาณิชย์ วิเคราะห์ว่า ในปี 2564 GDP ทั่วโลกน่าจะอยู่ที่ 5.4% ฟื้นตัวเมื่อเทียบกับปี 2563 ที่ติดลบ 4.1%

โดยเศรษฐกิจสหรัฐฯ เเละยุโรปจะฟื้นตัว แต่ยังไม่เท่ากับช่วงก่อนวิกฤต COVID-19 ขณะที่จีนยังเป็นมหาอำนาจใหญ่ชาติเดียวที่ยังเติบโตได้ แม้จะชะลอตัวลงจากปีก่อนหน้าก็ตาม

คาดว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีนจะขยายตัวได้ 8.3% เมื่อเทียบกับอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจโลกปีนี้จะอยู่ที่ 5.4% ถือว่าเป็นโอกาสดีในการทำธุรกิจกับจีน

หากดูข้อมูลการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ของโลก จากการประเมินของ UNCTAD ในปี 2564 พบว่า ยังมีแนวโน้มหดตัว -10% จากปี 2563 ที่หดตัวสูงถึง -30-40% หรือคิดเป็นเม็ดเงินลงทุนอยู่ที่ 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ถือว่าต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 2558 ที่มีเม็ดเงินลงทุน 2.04 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นผลมาจาก COVID-19 และมาตรการล็อกดาวน์

เเต่จะเห็นว่าภูมิภาคเอเชียได้รับผลกระทบน้อยสุด โดยเม็ดเงิน FDI หดตัว -12% เมื่อเทียบกับภูมิภาคยุโรปที่หดตัว -100% สะท้อนการควบคุม COVID-19 ได้ค่อนข้างดี

เมื่อเจาะลึกถึงการลงทุนในไทยของนักลงทุนจากจีน พบว่า ในช่วง 9 เดือนของปี 2563 เทียบกับช่วงเดียวของปีก่อน เเม้การยื่นขอส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) จะมีอัตราการหดตัว -19% แต่จะเห็นว่าการอนุมัติโครงการมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งมาจากการยื่นขอในช่วง 2-3 ปีก่อนทำให้มีเม็ดเงินการลงทุนเข้ามาในไทยต่อเนื่อง

ปัจจุบันการขอส่งเสริมการลงทุนของจีน ขึ้นแซงหน้าประเทศญี่ปุ่นมาเป็นอันดับ 1 แล้ว โดยมูลค่าเงินทุนที่ได้รับอนุมัติของจีนอยู่ที่ 5.15 หมื่นล้านบาท จากมูลค่าเงินลงทุนที่ยื่นขอรับการส่งเสริมอยู่ที่ 2.21 หมื่นล้านบาท

“ในปี 2563 จะเห็นว่าญี่ปุ่นยื่นขอส่งเสริมการลงทุน BOI มากที่สุด แต่จีนได้รับการอนุมัติการลงทุนมากที่สุด”

โดยต่อไป ไทยต้องเร่งในเรื่องการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลเพื่อดึงดูดนักลงทุนเข้ามา ไปพร้อมๆ กับปัจจัยสนับสนุน อย่าง การลงนามความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจภูมิภาค (The Regional Comprehensive Economic Partnership: RCEP) และต้องจับตาความเสี่ยงภูมิรัฐศาสตร์ระหว่างสหรัฐฯ และจีน โดยการที่สหรัฐฯ มีผู้นำคนใหม่เป็น “โจ ไบเดน” ก็จะเห็นทั้งนโยบายส่งเสริมและกีดกันทางการค้ามากขึ้น เเละโลกจะแบ่งเป็น 3 ขั้วอำนาจได้แก่ จีน สหรัฐฯ และยุโรป ซึ่งเป็นความเคลื่อนไหวที่น่าจับตา

โอกาสเเละความเสี่ยงที่ควรระวัง

มาณพ ระบุว่า การที่โครงสร้างพื้นฐานในประเทศ CLMV นั้นต้องพึ่งพาจีนมากกว่าไทย เเละมีชายเเดนใกล้กัน ทำให้มีความสัมพันธ์กับนักลงทุนจีนมากกว่า เเต่ไทยก็ยังสามารถวาง ‘จุดเเข็ง’ ของตัวเองได้ ด้วยการเป็นจุดยุทธศาสตร์ ที่มีโครงสร้างพื้นฐานเเละเทคโนโลยีที่ดีกว่า เมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน รวมไปถึงความพร้อมเรื่องของบุคลากร ที่จะเป็นตัวต่อยอดกับนักธุรกิจจีนต่อไปได้

“เหตุผลนักลงทุนจีนเลือกมาที่ประเทศไทย เขาไม่ได้มองไปที่การประหยัดต้นทุนเป็นอันดับเเรก ซึ่งต่างกับการไปลงทุนที่ใน CLMV ที่มักจะพิจารณาถึงต้นทุนที่ต่ำกว่า”

สำหรับข้อดีที่เป็นโอกาสต่อไป คือ นักธุรกิจจีนกำลังจะเข้ามาในลงทุนในไทยมากกว่าทุกวันนี้ เเละกระจายตัวไปในหลายภาคอุตสาหกรรม โดยมีเป้าหมายเพื่อตีตลาดไทย หาช่องทางการตลาดโดยตรงเพิ่มมากขึ้น เพราะต้องการเข้าเป็นส่วนหนึ่งในธุรกิจไทย

เหล่านี้เป็นโอกาสของนักธุรกิจไทย ที่จะเข้าไปเป็น “พันธมิตรร่วมทุน” หรือจับมือการค้าต่างๆ รวมไปถึงการให้บริการหรือขายบริการให้กับนักธุรกิจจีนที่มาลงทุนในประเทศไทย ซึ่งจะมีความต้องการเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ

ดังนั้น จึงต้องเตรียมการทำเข้าใจนักธุรกิจจีนมากขึ้น เพราะคนจีนจากเเต่ละภูมิภาค เเต่ละมณฑลก็มีลักษณะการทำธุรกิจที่เเตกต่างกัน นักธุรกิจจากบริษัทขนาดใหญ่เเละขนาดเล็กก็เเตกต่างกัน เป็นช่องทางที่เราจะเข้าไปให้ความช่วยเหลือด้านกฎระเบียบของไทย ตลอดจนการบริหารความเสี่ยงของตลาดไทยมากขึ้น

Photo : Shutterstock

ด้าน “ความเสี่ยง” ที่ต้องระมัดระวังนั้น ต้องเข้าใจก่อนว่าเเต่เดิมจีนวางว่าไทยเป็นฐานการผลิตเพื่อส่งออก จึงไม่ค่อยเข้ามาเกี่ยวข้องกับห่วงโซ่ธุรกิจบ้านเราเท่าไหร่ ไม่ค่อยมีผลกระทบต่อดีมานด์-ซัพพลาย เเต่ปัจจุบันเมื่อนักธุรกิจจีนเลือกที่จะเข้ามาตีตลาดไทยเอง ก็ทำให้สมการการเเข่งขันเปลี่ยนเเปลงไป

อีกทั้งนักธุรกิจจีนยังมาพร้อมกับเงินทุน ต้นทุนที่ต่ำกว่า เเละเทคโนโลยีที่ล้ำหน้ากว่า ตลอดจนวิธีการทำงานของนักธุรกิจจีนบางรายก็มีความก้าวร้าวมากกว่านักธุรกิจชาติอื่นๆ เป็นอีกหนึ่งความเสี่ยงที่ต้องทำความเข้าใจให้รอบคอบ

“ช่วง 5 ปีที่ผ่านมา มีเเบรนด์จีนขยับขึ้นมามีชื่อเสียงระดับโลกเพิ่มขึ้นมาก สินค้ามีคุณภาพ มีการดีไซน์สินค้า นำไปสู่การเเข่งขันในตลาดที่ดุเดือดมากขึ้น ดังนั้นนักธุรกิจไทยต้องเตรียมพร้อมรับมือ รวมถึงการหาแนวทางเป็นคู่ค้ากับนักธุรกิจจีนเพื่อรับกระเเสเม็ดเงินที่จะเข้ามาลงทุนต่อไป” 

 

]]>
1313268
เมื่อไหร่ COVID-19 รอบใหม่ในไทยจะควบคุมได้? อ่านข้อเปรียบเทียบจาก “เกาหลีใต้” ที่นี่ https://positioningmag.com/1313142 Wed, 06 Jan 2021 11:52:06 +0000 https://positioningmag.com/?p=1313142 ปัจจุบัน “เกาหลีใต้” ยังอยู่ระหว่างหาทางควบคุมการระบาดของ COVID-19 ระลอกที่สาม ทำไมประเทศที่ถูกยกให้เป็นหนึ่งในประเทศที่ควบคุมการระบาดได้ดีในระดับโลก จึงรับมือกับระลอกที่สามได้ยากเย็นกว่าที่เคย สถานการณ์เหล่านี้อาจเป็นข้อเปรียบเทียบให้เราคาดคะเนอนาคตของประเทศไทย และคำนึงถึงคำถามว่า “เราควรยกระดับความเข้มงวดมากกว่านี้หรือไม่”

เกาหลีใต้ยังอยู่ระหว่างการระบาดของ COVID-19 รอบที่สาม โดยจำนวนผู้ติดเชื้อเริ่มทะลุ 200 คนต่อวันเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2020 และมาเข้าสู่ช่วงวิกฤตอย่างเห็นได้ชัดเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2020 ซึ่งมีผู้ติดเชื้อใหม่ 583 รายภายในวันเดียว ก่อนที่กราฟจะพุ่งขึ้นเรื่อยๆ ไปทะลุสูงสุด 1,237 คนในวันที่ 25 ธันวาคม 2020 จากนั้นลดลงตามลำดับ

จนวันที่ 4 มกราคม 2021 จำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น 1,020 คน และวันที่ 5 มกราคม 2021 ผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น 715 คน แม้ว่าจะลดลงจากช่วงคริสต์มาส แต่ก็ยังเป็นตัวเลขที่น่ากังวล

 

วิธีติดตามกลุ่มเสี่ยงได้เร็ว…เอาไม่อยู่ในรอบนี้

ประเทศเกาหลีใต้มีวิธีรับมือการระบาดของ COVID-19 โดยไม่ได้ล็อกดาวน์อย่างสมบูรณ์เหมือนประเทศแถบยุโรป แต่ใช้วิธีติดตามหากลุ่มเสี่ยงและปูพรมตรวจหาเชื้อในหมู่ประชากร ในช่วงการระบาดรอบสอง (เดือนกันยายน 2020) เกาหลีใต้ตรวจหาเชื้อวันละ 16,000 คน ขณะที่ปัจจุบันเพิ่มกำลังตรวจหาเชื้อขึ้นอีกเป็นวันละ 22,000 คน

การติดตามหากลุ่มเสี่ยงได้เร็วและกว้าง ทำให้การระบาดรอบแรกของเกาหลีใต้ควบคุมได้ในเวลา 1 เดือน จากนั้นเกิดการระบาดรอบสองเมื่อเดือนสิงหาคม 2020 เกาหลีใต้ใช้เวลา 2 เดือนในการกดจำนวนผู้ติดเชื้อใหม่ลงมาให้ต่ำกว่า 100 คนต่อวัน ส่วนรอบที่สามนั้น ผ่านมาแล้ว 5 สัปดาห์ กว่าที่การระบาดจะมีแนวโน้มลดลง

จำนวนผู้ติดเชื้อใหม่รายวันของเกาหลีใต้ (Photo : Worldometers)

ดร.ลี จาค็อบ วิทยากรบนเวทีสัมมนาจัดโดยสโมสรยาแห่งชาติเกาหลีใต้ กล่าวถึงสาเหตุของการควบคุมที่ยากเย็นขึ้นว่า วิธีการระดมติดตามหากลุ่มเสี่ยงได้ผลในรอบแรก เนื่องจากคลัสเตอร์ของการระบาดรอบแรกมาจากกลุ่มสมาชิกโบสถ์ในเมืองแทกูและเมืองคย็องซังเหนือ ซึ่งมีลักษณะเป็นชุมชน ทำให้หาตัวผู้อยู่ในกลุ่มเสี่ยงได้ง่าย

ส่วนรอบที่สองนั้นมีลักษณะคล้ายกันคือ 70% เป็นผู้ติดเชื้อในกลุ่มชุมชนเดียวกัน แม้จะใช้เวลาเพิ่มขึ้นเป็น 2 เดือนแต่ก็ถือว่าวิธีการระดมตรวจยังได้ผล

แต่การระบาดรอบล่าสุด (รอบสาม) คาดว่าจะใช้เวลานานกว่านั้นกว่าที่จะควบคุมได้ เพราะไม่สามารถเจาะจงคลัสเตอร์ที่เป็นต้นเหตุได้อย่างชัดเจน เทรนด์นี้แสดงให้เห็นว่า COVID-19 แพร่กระจายได้เร็วขึ้น” ดร.จาค็อบกล่าว

ซุ้มตรวจ COVID-19 ชั่วคราวหน้าสถานีรถไฟฟ้ากรุงโซล เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2020 (Photo : Shutterstock)

การระบาดรอบสามของเกาหลีใต้มีข่าวต้นตอของคลัสเตอร์หลากหลายมาก เริ่มแรกในช่วงต้นเดือนธันวาคม 2020 มีการรายงานว่าติดเชื้อจากคลาสเรียนเต้นในกรุงโซล คลัสเตอร์จากร้านไวน์บาร์ คลัสเตอร์บริษัทอสังหาริมทรัพย์แห่งหนึ่ง คลัสเตอร์บริษัทประกันแห่งหนึ่ง ไปจนถึงค่ายทหาร ห้องซาวน่า โรงเรียนมัธยม และโบสถ์

จนถึงปลายเดือนธันวาคม 2020 คลัสเตอร์ใหม่เกิดขึ้นในเรือนจำและบ้านพักผู้สูงอายุ เห็นได้ว่าเมื่อมีคลัสเตอร์หลากหลายจุดทำให้การติดตามนำตัวบุคคลเสี่ยงทำได้ไม่ทันการ

 

ปิดสารพัดสถานที่แต่ยังระบาดต่อ

ในแง่การควบคุมทางสังคม เริ่มจากภายใน 3 วันแรกที่การระบาดพุ่งขึ้น เกาหลีใต้ออกนโยบายเฉพาะกรุงโซลและพื้นที่โดยรอบก่อน งดจัดเลี้ยง-ปาร์ตี้ทุกชนิดในที่สาธารณะ (เนื่องจากเป็นช่วงใกล้คริสต์มาสและปีใหม่ ทำให้จะมีงานฉลองมาก) และงดบริการห้องซาวน่า อบไอน้ำ ผับบาร์ คาราโอเกะ ฟิตเนส งดการเรียนการสอนเครื่องดนตรีประเภทเป่าและเรียนร้องเพลง

รวมถึง งดทานอาหารในร้านหลัง 21.00 น. ตามด้วย ห้ามร้านกาแฟเปิดบริการนั่งทานในร้าน อนุญาตซื้อกลับเท่านั้น เพราะปกติพนักงานออฟฟิศเกาหลีมักจะมานั่งสังสรรค์ในร้านกาแฟหลังมื้อเที่ยง และมีการสั่งปิดโรงเรียน ให้เรียนออนไลน์แทน

บรรยากาศร้าน Starbucks ย่านมหาวิทยาลัยฮงอิก กรุงโซล วันที่ 8 ธันวาคม 2020 หลังรัฐสั่งห้ามนั่งทานอาหาร-เครื่องดื่มในร้านกาแฟ (Photo : Shutterstock)

อย่างไรก็ตาม ผ่านไปเกือบเดือนหลังการระบาด สถานการณ์กลับยังไม่ดีขึ้น ทำให้วันที่ 23 ธันวาคม 2020 มีการสั่งยกระดับเฉพาะในกรุงโซลและปริมณฑล ห้ามรวมกลุ่มกันเกิน 4 คน เนื่องจากเป็นแหล่งการระบาดหลัก ตามด้วยวันที่ 24 ธันวาคม 2020 สั่งปิดลานสกีรีสอร์ต และให้โรงแรมรับแขกได้ไม่เกิน 50% ของจำนวนห้องพัก เพื่อสกัดไม่ให้มีการท่องเที่ยวและปาร์ตี้คริสต์มาส-ปีใหม่ ไม่เว้นแม้แต่กลุ่มปาร์ตี้เล็กๆ

ในที่สุด วันที่ 4 มกราคม 2021 เกาหลีใต้ต้องยกระดับอีกครั้งเพราะมีผู้ติดเชื้อเกินพันคนต่อวัน โดยห้ามรวมกลุ่มกันเกิน 4 คนทั่วประเทศ แม้ว่า 60% ของผู้ติดเชื้อจะอยู่ในเขตโซลและจังหวัดโดยรอบก็ตาม โดยจะมีผลไปถึงวันที่ 17 มกราคมนี้

นักท่องเที่ยวบนเขาด็อกยูซาน สถานที่เล่นสกียอดนิยม (Photo : tawatchai07 – www.freepik.com)

เกาหลีใต้กำลังพยายามยื้อไม่ให้ต้องยกระดับไปสู่การควบคุมระดับ 3 ทั่วประเทศ (แม้จะใกล้เคียงแล้ว) เพราะนั่นหมายความว่าจะเป็นการ “ล็อกดาวน์แบบอ่อนๆ” เพราะจะอนุญาตเฉพาะพนักงานที่ทำงานจำเป็นเท่านั้นให้ออกจากบ้านได้ และจะลดปริมาณคนบนรถไฟฟ้าเหลือ 50% โดยเกาหลีใต้จะไปถึงระดับ 3 เมื่อมีการติดเชื้อเพิ่มเกิน 1,000 คนต่อวัน ติดต่อกัน 3 วัน

เคสจากเกาหลีใต้เห็นได้ว่า มีความพยายามควบคุมกิจกรรมทางสังคมมาตลอด แต่ก็ยังเห็นผลลัพธ์ไม่ชัดเจนเท่าใดนัก จนต้องใช้ไม้แข็งห้ามรวมกลุ่มกันเกิน 4 คนทั้งประเทศ

 

ไทยใช้ไม้แข็งช้ากว่า

ย้อนมองประเทศไทยที่เกิดการระบาดรอบใหม่ เป็นการระบาดรอบที่สอง การระบาดหลักใน จ.สมุทรสาคร เริ่มขึ้นวันที่ 19 ธันวาคม 2020 จนถึงปัจจุบันผ่านมาแล้ว 18 วัน แต่ตัวเลขผู้ติดเชื้อภายในประเทศยังมีแนวโน้มขาขึ้น เพราะแม้ว่าคลัสเตอร์หลักอย่างแรงงานข้ามชาติส่วนใหญ่ถูกกักตัวไว้ได้ทัน แต่คนไทยที่ยังเดินทางข้ามจังหวัดทำให้เกิดคลัสเตอร์ใหม่ๆ ขึ้น เช่น บ่อนพนัน จ.ระยอง ร้านคาราโอเกะย่านปิ่นเกล้า บ่อนไก่ จ.อ่างทอง ซึ่งคล้ายกับในเกาหลีใต้ที่เกิดคลัสเตอร์ใหม่ขึ้นอย่างรวดเร็ว

ในแง่การกำกับควบคุม มีมาตรการช่วงแรกที่คล้ายกันคือ ภายใน 5 วันแรก โรงเรียนส่วนใหญ่ในประเทศปิดการเรียนการสอน ย้ายไปสอนออนไลน์แทน และพื้นที่ระบาดหนักห้ามการจัดกิจกรรมสาธารณะ แต่มีนโยบายที่ไทยยังไม่ออกกฎควบคุมทันทีภายในวันแรกๆ คือการปิดฟิตเนส ซาวน่า ผับบาร์ (แต่มีกฎพิเศษ เช่น ห้ามร้องเพลง ห้ามเต้น) กำหนดเวลาปิดร้านอาหาร และห้ามนั่งทานในร้านกาแฟ

ตลาดกลางกุ้ง สมุทรสาคร
ตลาดกลางกุ้ง จ.สมุทรสาคร (Photo : Facebook มหาชัย)

ผ่านไป 16 วันหลังเริ่มระบาด พื้นที่ควบคุมสูงสุดในไทยจึงได้เริ่มงดนั่งทานในร้านอาหารหลัง 21.00 น. งดการจำหน่ายสุราในร้านอาหารตลอด 24 ชั่วโมง (จุดนี้เป็นเสมือนการปิดผับบาร์ไปโดยปริยาย) และ 18 วันหลังการระบาด เริ่มควบคุมการเดินทางข้ามจังหวัดสำหรับจังหวัดควบคุมสูงสุดและเข้มงวด

เทียบกับเกาหลีใต้ แดนโสมต้องใช้เวลาประมาณ 5 สัปดาห์นับจากเริ่มระบาด กว่าที่ตัวเลขจะเลยจุดสูงสุดและเริ่มแผ่วลง ทั้งที่เริ่มบังคับควบคุมปิดสถานที่หลายแห่งและงดจัดกิจกรรมตั้งแต่เนิ่นๆ เป็นไปได้หรือไม่ที่สุดท้ายประเทศไทยอาจต้องงัดไม้แข็ง ห้ามรวมกลุ่มเกิน 4 คน มิฉะนั้นอาจต้องใช้เวลาถึง 5 สัปดาห์กว่าจะดีขึ้นเช่นกัน

Source: The Strait Times, Independent, Asia Times, Sky News, The Guardian

]]>
1313142
อยู่บ้านเถอะ! “เกาหลีใต้” สั่งปิดสกีรีสอร์ต ห้ามรวมกลุ่มเกิน 4 คน สกัดระบาดช่วงปีใหม่ https://positioningmag.com/1311579 Tue, 22 Dec 2020 11:02:35 +0000 https://positioningmag.com/?p=1311579 “เกาหลีใต้” มีคำสั่งเพิ่มเติม ปิดสกีรีสอร์ตและจุดท่องเที่ยวหน้าหนาวทั้งหมด เริ่มตั้งแต่วันที่ 24 ธ.ค.นี้ ถึง 3 ม.ค. 2021 ต่อเนื่องจากเมื่อวานนี้มีคำสั่งห้ามการรวมกลุ่มเกิน 4 คนในกรุงโซลและปริมณฑล เพื่อสกัดการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ระลอกสามที่ยังควบคุมไม่ได้

ชุง เซ-กยุน นายกรัฐมนตรีเกาหลีใต้ ประกาศการตัดสินใจของรัฐบาล สั่งปิดจุดเล่นสกีในรีสอร์ต สถานที่เล่นสกี ลานสเก็ตน้ำแข็ง และจุดท่องเที่ยวฤดูหนาวทั้งหมด รวมถึงห้ามการรวมกลุ่มเกิน 4 คน และจะมีการดูแลที่เข้มงวดมากขึ้นสำหรับร้านอาหาร เริ่มตั้งแต่วันที่ 24 ธ.ค. 2020 ถึง 3 ม.ค. 2021

การสั่งปิดครั้งนี้ไม่ได้ปิดโรงแรมทั้งหมด แต่กำหนดให้โรงแรมและรีสอร์ตสามารถรับจองที่พักได้ไม่เกิน 50% ของจำนวนห้องพักทั้งหมด

คำสั่งเหล่านี้เกิดขึ้นต่อเนื่องจากที่รัฐบาลเกาหลีใต้เพิ่งยกระดับความเข้มงวดในเขตกรุงโซลและปริมณฑล สั่งห้ามการรวมกลุ่มเกิน 4 คนระหว่างวันที่ 23 ธ.ค. 2020 ถึง 3 ม.ค. 2021 ไปแล้ว เป็นการคุมเข้มรับมือช่วงฉลองคริสต์มาสและปีใหม่ หลังจากเมื่อปลายเดือนพฤศจิกายน เกาหลีใต้เพิ่งสั่งห้ามการจัดเลี้ยงสังสรรค์ในที่สาธารณะ เช่น ห้องประชุม ห้องจัดเลี้ยง โรงแรม ในเขตโซลและปริมณฑลยาวแบบไม่มีกำหนด

สาเหตุที่เกาหลีใต้ต้องคุมเข้ม เพราะมีการระบาดระลอกสามของโรค COVID-19 โดยยังคงมีเคสใหม่เกิดขึ้นทุกวัน ล่าสุดเมื่อวันจันทร์ที่ 21 ธ.ค. 2020 สำนักงานควบคุมและป้องกันโรคของเกาหลีใต้รายงานพบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 869 ราย ลดลงเล็กน้อย เมื่อเทียบกับช่วงสุดสัปดาห์ที่มีผู้ติดเชื้อรายใหม่เกินกว่าวันละ 1 พันราย

อย่างไรก็ตาม รัฐบาลเกาหลีใต้ยังยืนยันว่ายังไม่มีแนวคิดที่จะใช้มาตรการเฟส 3 เพื่อควบคุมการระบาด โดยเฟส 3 จะเป็นเฟสขั้นสูงสุดคือสั่งล็อกดาวน์ประชาชนอยู่กับบ้าน ซึ่งจะทำร้ายประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 4 ของเอเชีย

“ข้อความขอร้องจากรัฐบาลถึงประชาชนนั้นชัดเจน” ชุงกล่าว “เราร้องขอคุณด้วยความจริงใจให้ยกเลิกการเดินทางและการรวมกลุ่มทั้งหมด และขอให้อยู่บ้านในช่วงเทศกาลคริสต์มาส-ปีใหม่นี้”

Source

]]>
1311579
Travel Bubble ความหวังใหม่กระตุ้นท่องเที่ยว “ฮ่องกง-สิงคโปร์” สะดุด ต้องเลื่อนยาวไป “ปีหน้า” https://positioningmag.com/1308536 Tue, 01 Dec 2020 13:31:57 +0000 https://positioningmag.com/?p=1308536 ไวรัสโคโรนา “คัมเเบ็ก” ระบาดรอบใหม่ ทำให้โครงการ Travel Bubble ที่เป็นเหมือนความหวังใหม่ของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวต้องโดนชะลอเเผนไปด้วย

ล่าสุดทางสำนักงานการบินพลเรือนสิงคโปร์ CAAS เเถลงว่า โครงการ Travel Bubble ระหว่างสิงคโปร์เเละฮ่องกงนั้น ต้องเลื่อนออกไปล่าช้ากว่าเดือนธันวาคมซึ่งหมายความว่า เหล่านักเดินทางต้องรอคอยถึงปีหน้าเป็นอย่างน้อย

โดยทั้งสองประเทศจะมีการประเมินสถานการณ์ความรุนเเรงของ COVID-19 อีกครั้งในช่วงปลายเดือนนี้ เพื่อประกาศกำหนดการใหม่

Travel Bubble ของฮ่องกงสิงคโปร์ มีอันต้องสะดุด เมื่อ COVID-19 กลับมาเเพร่ระบาดรุนเเรงอีกครั้ง หลังมีกำหนดเดิมที่จะเปิดตัวในวันที่ 22 ..ที่ผ่านมา จากนั้นตกลงเลื่อนกำหนดการออกไปอย่างน้อย 14 วันเเละประกาศเลื่อนไปถึงปีหน้าในครั้งนี้

หนึ่งในข้อตกลงที่สำคัญ คือหากฮ่องกงหรือสิงคโปร์ มีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างน่ากังวลในช่วง 7 วัน ทั้งสองฝ่ายสามารถ “ยกเลิก” โครงการ Travel Bubble ระหว่างกันได้ทันที โดยผู้เดินทางจะต้องมีผลตรวจ COVID-19 เป็นลบ ก่อนเดินทางทั้งขาไปเเละกลับ ผ่านเที่ยวบินโดยสารที่จำกัดจำนวนต่อวันของสายการบินเเห่งชาติอย่าง Singapore Airlines และ Cathay Pacific

โดยก่อนหน้านี้ ยอดจองตั๋วของ Cathay Pacific ไฟลท์ระหว่างฮ่องกงสิงคโปร์ เกือบเต็มทุกที่นั่งไปอีก 2-3 สัปดาห์ เเต่ต้องเผชิญข่าวร้ายเมื่อภาครัฐตัดสินใจเลื่อนใช้มาตรการ เนื่องจากผู้ติดเชื้อในฮ่องกงพุ่งสูงขึ้น

Bloomberg Intelligence ระบุในรายงานวิจัยว่า เส้นทาง Travel Bubble สองประเทศจะสร้างรายได้ให้ Cathay ประมาณ 93 ล้านเหรียญฮ่องกง (ประมาณ 364 ล้านบาท) และจะช่วยลดการขาดทุนลงได้สูงสุดราว 6% เมื่อมาตรการต้องเลื่อนออกไปเช่นนี้ ทำให้สายการบินน่าจะยังขาดทุนอย่างรุนแรงต่อไป

ส่วนสถานการณ์การเเพร่ระบาดของ COVID-19 ในฮ่องกง ยังไม่มีแนวโน้มคลี่คลายในเร็วๆ นี้ โดยในช่วง 7 วันที่ผ่านมา พบผู้ป่วยใหม่มากกว่า 500 คน ส่งผลให้สถิติผู้ป่วยสะสมเเล้วอย่างน้อย 6 พันราย เสียชีวิตสะสมอย่างน้อย 109 คน

รัฐบาลสิงคโปร์กำลังศึกษาเกี่ยวกับการให้นักท่องเที่ยวฮ่องกงและอีกหลายประเทศ ให้สามารถเดินทางเข้าสู่สิงคโปร์ได้โดยไม่ต้องกักตัว 14 วัน เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจโดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยว ขณะที่ฮ่องกงมีการเจรจา Travel Bubble กับอีก 10 ประเทศในขณะนี้ ซึ่งอาจจะเริ่มใช้มาตรการได้ปีหน้า

ต้องจับตาว่าโครงการ Travel Bubble ครั้งนี้จะลุล่วงเเละเป็นความหวังของธุรกิจท่องเที่ยวระหว่างประเทศ หลังวิกฤต COVID-19 ได้จริงหรือไม่

 

ที่มา : traveldailymedia , SCMP 

 

]]>
1308536
“ฮ่องกง” ป้องกันวิกฤตระบาดรอบ 4 สั่ง “ปิดโรงเรียน” เตรียมให้ข้าราชการทำงานจากบ้าน https://positioningmag.com/1308202 Mon, 30 Nov 2020 04:35:54 +0000 https://positioningmag.com/?p=1308202 สถานการณ์ COVID-19 ระบาดซ้ำเกิดขึ้นในหลายพื้นที่ทั่วโลก รวมถึง “ฮ่องกง” ซึ่งนิยามการระบาดบนเกาะว่าเกิดขึ้นเป็นรอบที่ 4 แล้ว โดยเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมามีผู้ติดเชื้อใหม่เพิ่ม 115 รายในวันเดียว ทำให้ต้องสั่งการ “ปิดโรงเรียน” ทั่วประเทศยาวจนถึงหลังเทศกาลคริสต์มาส และเตรียมให้ข้าราชการ 177,000 คนทำงานจากบ้านแทน

ทางการฮ่องกงสั่งปิดโรงเรียนทั้งเกาะเริ่มวันที่ 2 ธันวาคมนี้ และจะบังคับใช้ยาวจนถึงหลังเทศกาลคริสต์มาส เพื่อป้องกันการระบาดของโรค COVID-19 หลังจากที่เมื่อวันอาทิตย์ที่ 29 พฤศจิกายนมีรายงานผู้ติดเชื้อใหม่ 115 รายในวันเดียว ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงที่สุดในรอบ 4 เดือน เป็นจุดพีคที่เกิดขึ้นหลังเริ่มเห็นสัญญาณระบาดซ้ำในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา

สำหรับผู้ติดเชื้อรายใหม่ 115 รายล่าสุด ในจำนวนนี้ 62 รายสืบย้อนได้ว่าติดเชื้อมาจากคลัสเตอร์สถานที่เต้นรำ อีก 23 รายสามารถติดตามได้ว่าติดเชื้อจากแหล่งใด 24 รายยังไม่สามารถระบุแหล่งที่มาได้ ส่วน 6 รายที่เหลือเป็นผู้ติดเชื้อจากนอกเกาะฮ่องกง

เพื่อไม่ให้การระบาดแพร่มากกว่านี้ จึงต้องปิดโรงเรียนยาวร่วมเดือน ส่วนสถานที่กวดวิชาให้ปิด 2 สัปดาห์ นอกจากนี้ จะกลับมาเข้มงวดการใช้มาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม และเพิ่มการตรวจหาเชื้อในหมู่ประชาชนอีกครั้ง

“แคร์รี่ ลัม” ผู้บริหารสูงสุดของเขตปกครองพิเศษฮ่องกง ให้สัมภาษณ์กับ SCMP ด้วยว่า มาตรการให้ข้าราชการบนเกาะที่มีกว่า 177,000 คนทำงานจากบ้าน จะนำมาบังคับใช้ภายใน 1-2 วันนี้ และเชื่อว่าภาคเอกชนจะปฏิบัติตาม

เนื่องจากที่ปรึกษาทั้ง 4 คนของเธอเตือนว่า โรคระบาดระลอกที่ 4 นี้จะต้องระมัดระวังสูง โดยเฉพาะช่วงสองสัปดาห์จากนี้จะสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ทำให้เธอต้องมีการตอบสนองที่รวดเร็ว แม่นยำ และเข้มงวด

“แคร์รี่ ลัม” ผู้บริหารสูงสุดของเขตปกครองพิเศษฮ่องกง (Photo by Anthony Kwan/Getty Images)

ดังนั้น ลัมจะพิจารณาเพิ่มค่าปรับกรณีละเมิดการเว้นระยะห่างทางสังคม จากปัจจุบันมีค่าปรับที่ 2,000 ดอลลาร์ฮ่องกง เพราะมองว่าค่าปรับจำนวนนี้เริ่มไม่มีประสิทธิภาพควบคุมแล้ว และจะต้องบังคับใช้ให้เข้มงวดขึ้นด้วย ทั้งนี้ ปัจจุบันฮ่องกงมีกฎห้ามรวมตัวกันในที่สาธารณะเกิน 4 คน เพื่อป้องกันการแพร่ระบาด

นอกจากมาตรการเหล่านี้ รัฐบาลฮ่องกงจะสั่งการให้เจ้าหน้าที่ทุกคนที่ปฏิบัติงานในสถานพยาบาลหรือบ้านพักผู้สูงอายุ ต้องเข้าตรวจหาเชื้อ COVID-19 ทุกคนก่อนวันที่ 14 ธันวาคมนี้ โดยมองว่าเป็นเรื่องจำเป็น เพราะสถิติจากประเทศพัฒนาแล้ว 21 ประเทศ พบว่า 46% ของผู้เสียชีวิตด้วยโรค COVID-19 เป็นผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในบ้านพักคนชรา

สรุปสถิติผู้ติดเชื้อของฮ่องกงเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2020 มีผู้ติดเชื้อสะสม 6,238 ราย และมีผู้เสียชีวิต 109 ราย และครั้งนี้เป็นการระบาดซ้ำที่หนักที่สุดตั้งแต่เดือนสิงหาคมเป็นต้นมา

Source

]]>
1308202
ของขวัญคริสต์มาส! “อังกฤษ” ลดกักตัวเหลือ 5 วันเมื่อกลับจาก “เยี่ยมญาติ” ช่วงเทศกาล https://positioningmag.com/1307104 Mon, 23 Nov 2020 05:13:14 +0000 https://positioningmag.com/?p=1307104 “อังกฤษ” ผ่อนคลายกฎระเบียบช่วงคริสต์มาส ประชาชนที่กลับจากเยี่ยมญาติในประเทศกลุ่มเสี่ยง เมื่อกลับเข้าสู่สหราชอาณาจักรจะอนุโลมลดวันกักตัวจาก 14 วันเหลือ 5 วัน คาดเริ่มบังคับใช้ 15 หรือ 16 ธันวาคมนี้ โดยนโยบายนี้เป็นไปเพื่อช่วยเหลืออุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่วิกฤตหนัก และตอบสนองเสียงเรียกร้องของประชาชน

คณะรัฐมนตรีสหราชอาณาจักรเคาะไฟเขียวนโยบายผ่อนคลายกฎระเบียบการกักตัว สำหรับประชาชนชาวอังกฤษที่เดินทางไปเยี่ยมญาติในกลุ่มประเทศ “สีแดง” หรือประเทศเสี่ยงต่อโรคระบาด COVID-19 จะอนุโลมให้ลดวันกักตัวจาก 14 วันเหลือ 5 วัน เมื่อกลับสู่ประเทศอังกฤษ และจะใช้การตรวจโรคแบบเร่งด่วนรู้ผลใน 1 ชั่วโมงหลังกักตัวครบ 5 วัน หากผลเป็นลบสามารถออกจากสถานที่กักตัวได้ทันที

คาดว่านโยบายนี้จะเริ่มบังคับใช้ได้เร็วที่สุดวันที่ 15 หรือ 16 ธันวาคม 2020 เพื่อให้ประชาชนที่ต้องการไปเยี่ยมญาติช่วงเทศกาลคริสต์มาสไม่ต้องกังวลกับเวลาและค่าใช้จ่ายการกักตัวที่สูงมากเมื่อกลับมา

ปี 2020 เป็นปีที่ยากลำบากสำหรับครอบครัวที่จะมาพบกันในช่วงคริสต์มาส (Photo by freestocks.org from Pexels)

ทั้งนี้ สำหรับประเทศที่อยู่ในลิสต์ประเทศปลอดภัย (Travel Corridors List) 68 ประเทศที่คนอังกฤษไปเยือนแล้วไม่ต้องกักตัวเมื่อกลับประเทศ ยังมีผลบังคับใช้เช่นเดิม โดยมีประเทศที่อยู่ในลิสต์นี้ เช่น ออสเตรเลีย ฟินแลนด์ ญี่ปุ่น สิงคโปร์ รวมถึงประเทศ “ไทย” ด้วย (*ข้อมูลวันที่ 23 พ.ย. 2020)

นโยบายนี้เป็นความเคลื่อนไหวเพื่อตอบสนองกลุ่มอุตสาหกรรมการบินซึ่งเจ็บหนักมาตั้งแต่เกิดโรคระบาดขึ้น และเป็นเสียงเรียกร้องจากประชาชนบางกลุ่มด้วย โดยโพลจาก Skyscanner ที่สำรวจคน 3,500 คน พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถาม 44% มีแนวโน้มจะเดินทางต่างประเทศ ถ้าหากกลับมาแล้วจะต้องกักตัวน้อยกว่า 14 วัน และเป็นปัจจัยอันดับ 2 ในการตัดสินใจไปเที่ยวต่างประเทศ ส่วนอันดับ 1 นั้นคือความยืดหยุ่นของการเดินทาง การจองทุกอย่างจะต้องยกเลิกได้ฟรี จึงจะกระตุ้นให้ออกท่องเที่ยว

 

เตรียมผ่อนคลายความเข้มงวดลงอีก

นอกจากนโยบายนี้แล้ว อังกฤษยังเตรียมจะผ่อนคลายระเบียบอื่นๆ เกี่ยวกับ COVID-19 ลงอีกในเดือนมกราคม 2021 โดยขณะนี้เมื่อตรวจพบผู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้ติดเชื้อ (Contact Tracing) บุคคลนั้นจะต้องกักตัวในบ้านตนเอง 14 วัน แต่ปีหน้าอังกฤษจะเริ่มงดการกักตัว เปลี่ยนมาทดสอบหาเชื้อโรค COVID-19 ทุกวันติดต่อกัน 7 วันแทน ในระหว่างนั้นบุคคลเสี่ยงดังกล่าวสามารถดำเนินชีวิตได้ปกติ

การท่องเที่ยวบนเรือครุยส์ภายในประเทศของ UK คาดหวังจะได้กลับมาเปิดบริการปลายเดือนมกราคม 2021 (Photo : Pixabay)

รวมถึงนโยบายที่จะช่วยกระตุ้นการท่องเที่ยวอีกหนึ่งรายการ นั่นคือเรือครุยส์เฉพาะเส้นทางในประเทศ จะได้รับการอนุญาตให้กลับมาให้บริการได้ภายในปลายเดือนมกราคมหรือต้นเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า

สถานการณ์ COVID-19 ในสหราชอาณาจักรปัจจุบันมีผู้ติดเชื้อสะสม 1.51 ล้านคน และผู้เสียชีวิต 5.5 หมื่นรายและเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการระบาดระลอกสองเมื่อเดือนตุลาคม เช่นเดียวกับประเทศส่วนใหญ่ในทวีปยุโรป แต่สถานการณ์รอบสองเริ่มดีขึ้นตั้งแต่ช่วงกลางเดือนพฤศจิกายนเป็นต้นมา

ด้านการรับวัคซีนล็อตแรก คาดว่าจะทำได้เร็วที่สุดปลายเดือนธันวาคมนี้ เนื่องจากอังกฤษสั่งวัคซีนของ Pfizer-BioNTech ไว้แล้ว 40 ล้านโดส และ 10 ล้านโดสแรกน่าจะมาถึงช่วงเวลาดังกล่าว เพียงพอสำหรับฉีดให้ประชาชนกลุ่มแรก 5 ล้านคน ถ้าหากหน่วยงานด้านสาธารณสุขของอังกฤษให้การรับรองตัวยาเร็วๆ นี้

Source: Dailymail UK, Express UK, Reuters

]]>
1307104
คนอเมริกันแห่ย้ายออกนอกประเทศ หนีการเมือง-COVID-19 “นิวซีแลนด์” จุดหมายยอดฮิต https://positioningmag.com/1305907 Fri, 13 Nov 2020 06:49:55 +0000 https://positioningmag.com/?p=1305907 ชาวอเมริกันต้องการย้ายออกนอกประเทศสูงขึ้น จากการเมืองภายในไม่เสถียรและการระบาดของโรค COVID-19 โดยมีจุดหมายปลายทางยอดฮิตคือ “นิวซีแลนด์” ด้วยความสามารถในการรับมือการระบาดอย่างมีประสิทธิภาพและเริ่มต้นทำธุรกิจได้ง่าย พร้อมเปิดโควตา “Golden Visa” ดึงกลุ่มนักลงทุน ปีนี้จึงได้เห็นชาวอเมริกันขอวีซ่าเข้านิวซีแลนด์ล้นทะลัก ส่วนชาวจีนที่จะย้ายมานิวซีแลนด์ลดน้อยลง

ข้อมูลจากหน่วยราชการ “นิวซีแลนด์” พบว่า สัดส่วนผู้ขอวีซ่าประเภท “Golden Visa” ในช่วงเดือนเมษายน-ตุลาคมปีนี้เปลี่ยนแปลงไป มีชาวอเมริกันขอวีซ่าเป็นสัดส่วนเกือบครึ่งหนึ่งของผู้ขอทั้งหมด จากเดิมที่มีชาวอเมริกันขอวีซ่าประเภทนี้แค่ 3% เท่านั้น

ก่อนหน้านี้ ผู้ขอวีซ่าแบบ Golden Visa ส่วนใหญ่จะเป็น “ชาวจีน” ซึ่งมีสัดส่วนถึง 43% ของผู้ขอทั้งหมด แต่ช่วงเดือนเมษายน-ตุลาคมปีนี้กลับเห็นจำนวนผู้ขอวีซ่าชาวจีนลดลงเหลือสัดส่วน 25.4%

Golden Visa ดังกล่าวนั้นเป็นวีซ่านักลงทุน คือผู้ขอวีซ่ามีสิทธิได้รับสิทธิพำนักถาวร แลกกับเม็ดเงินลงทุนก้อนใหญ่ขั้นต่ำ 3 ล้านดอลลาร์นิวซีแลนด์ (ประมาณ 62 ล้านบาท) ที่จะลงทุนในสินทรัพย์หรือกองทุนของนิวซีแลนด์ พร้อมด้วยแผนการลงทุนที่สื่อได้ว่าจะอยู่ในนิวซีแลนด์ระยะยาว อย่างไรก็ตาม โควตา Golden Visa นั้นมีให้ชาวต่างชาติเพียงปีละ 400 รายเท่านั้น

ที่เป็นเช่นนั้นเพราะสถานการณ์ในสหรัฐฯ ที่เปลี่ยนแปลงอย่างมากช่วง COVID-19 ทำให้มีดีมานด์จากนักลงทุนชาวอเมริกันสูงขึ้น

 

หนีการเมืองไม่เสถียร – COVID-19

“เดวิด คูเปอร์” ประธานบริษัท Malcolm Pacific Immigration ซึ่งเป็นที่ปรึกษาเอกชนด้านการอพยพย้ายถิ่นฐาน มีสำนักงานในเมืองโอ๊กแลนด์และเมืองเวลลิงตัน นิวซีแลนด์ เปิดเผยว่า ปีนี้ชาวอเมริกันต้องเจอกับ “เคราะห์ร้าย 4 เท่า” ที่ส่งให้พวกเขาตัดสินใจย้ายถิ่นฐานไปต่างประเทศ และเป็นประเทศที่ปลอดภัยในการลงทุน

ชาวอเมริกัน “แห่ซื้อปืน” ช่วงเลือกตั้งสหรัฐฯ หวั่นเกิดเหตุรุนเเรง หลังรู้ผลประธานาธิบดี

“พวกเขาบอกว่า การประท้วงของประชาชน การเมืองไม่เสถียร ไฟป่าแคลิฟอร์เนีย และ COVID-19 คือสิ่งที่ทำให้พวกเขาหลังพิงฝา” คูเปอร์กล่าว “เราได้รับสายโทรฯ เข้าและอีเมลไม่ขาดสายจากคนที่ต้องการทราบว่า ตนเองจะย้ายมาอยู่ในนิวซีแลนด์ได้อย่างไร”

ไม่เพียงแต่ประเด็นใหญ่เหล่านั้นเท่านั้น ชาวอเมริกันที่ต้องการย้ายออกจากสหรัฐฯ ยังกล่าวถึงสาเหตุอื่นๆ อีกที่ทำให้พวกเขาต้องการออกนอกประเทศ เช่น การใช้ความรุนแรงของตำรวจ ฝ่ายอนุรักษนิยมเข้าครอบงำศาลฎีกา กฎหมายครอบครองปืน ความเสี่ยงที่สูงขึ้นด้านการก่อการร้ายภายในประเทศ ไปจนถึงภาวะไร้ความสามารถของประเทศในการจัดการปัญหาโลกร้อน

ข้อมูลจาก กรมสรรพากรสหรัฐฯ ระบุสอดคล้องกันว่า มีคนอเมริกันที่ละทิ้งสัญชาติหรือสิทธิพำนักถาวรเพิ่มขึ้นมากในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2020 มีคนอเมริกันทิ้งสัญชาติแล้ว 5,816 คน เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2019 ที่มี 2,072 คน เรียกว่าเพิ่มขึ้นมากกว่าเท่าตัว

“โจ ไบเดน” ขึ้นเป็นประธานาธิบดีคนใหม่สหรัฐอเมริกาอย่างไม่เป็นทางการ โดยที่ “โดนัลด์ ทรัมป์” ยังคงไม่ยอมรับความพ่ายแพ้ (Photo : twitter @JoeBiden)

นอกจากนี้ ในคืนวันเลือกตั้งของสหรัฐฯ ข้อมูลจาก Google พบว่า การค้นหาเรื่อง “วิธีการย้ายไปนิวซีแลนด์” พุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว

นิวซีแลนด์เป็นหนึ่งในประเทศที่แทบจะปลอด COVID-19 ขณะที่สหรัฐอเมริกายังอยู่ท่ามกลางการระบาดซ้ำ มีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 1 แสนเคสต่อวันตั้งแต่เริ่มต้นเดือนพฤศจิกายน

 

นิวซีแลนด์ได้โอกาสดึงนักลงทุน

คูเปอร์กล่าวต่อว่า เคราะห์ร้ายในการรับมือโรคระบาดของสหรัฐฯ กลายเป็นโชคดีของนิวซีแลนด์ เมื่อเป็นดั่งสวรรค์ปลอดเชื้อ ทำให้แดนกีวีมีโอกาสดึงการลงทุนเข้าสู่ประเทศ แลกกับการได้วีซ่าพำนักระยะยาว และจะช่วยให้เศรษฐกิจในประเทศดีขึ้น

เขาเปิดเผยว่า ในจำนวนผู้ขอวีซ่านักลงทุนและรอการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีอยู่นั้น มีมูลค่าการลงทุนรวมกันประมาณ 2.8 พันล้านดอลลาร์นิวซีแลนด์แล้ว (ราว 5.77 หมื่นล้านบาท)

“ถ้ารัฐบาลตัดสินใจอนุมัติได้เร็ว จะมีเม็ดเงินก้อนหนึ่งที่เริ่มเข้าประเทศทันที” คูเปอร์กล่าว “และเมื่อนักลงทุนเข้ามาแล้วพวกเขาจะไม่กลับออกไปเร็ว ดังนั้น ในห้วงเวลาหนึ่งเราจะมีเม็ดเงินเข้ามามากกว่า 2.8 พันล้านเสียอีก”

จาซินดา อาร์เดิร์น นายกรัฐมนตรีหญิงนิวซีแลนด์ ได้นั่งตำแหน่งต่อสมัยที่สอง จากความสามารถในการรับมือโรคระบาด COVID-19 จนประชาชนให้ความไว้วางใจ (Photo : Hannah Peters/Getty Images)

นอกจากการรับมือโรคระบาด COVID-19 ที่ดีเยี่ยมของนิวซีแลนด์ ประเทศนี้ยังมีพื้นฐานที่ดีมากในการทำธุรกิจด้วยโดยรายงานการทำธุรกิจของ ธนาคารโลก จัดอันดับให้นิวซีแลนด์เป็นอันดับ 1 ประเทศที่ทำธุรกิจได้คล่องตัวที่สุดของโลกติดต่อกันเป็นปีที่สี่ และเป็นอันดับ 1 ประเทศที่เริ่มต้นธุรกิจได้ง่ายที่สุดติดต่อกันเป็นปีที่สิบสอง เนื่องจากเป็นประเทศที่มีฐานภาษีเอื้อต่อนักลงทุน มีระบบรัฐบาลและกฎหมายที่แข็งแรง มีตลาดส่งออกที่ให้ผลกำไรสูง และการขอวีซ่าที่สะดวก

 

คนจีนย้ายออกน้อยลง เพราะแดนมังกรปลอดภัยกว่า

ส่วนกรณีของชาวจีนที่ขอวีซ่าเข้านิวซีแลนด์น้อยลง “จอร์จ ชิมเมล” หัวหน้าฝ่ายอสังหาริมทรัพย์จีนบริษัท Juwai กล่าวว่า ชาวจีนลดการขอวีซ่าออกนอกประเทศเพราะการอยู่อาศัยในจีนทุกวันนี้ปลอดภัยกว่าประเทศอื่น

“ในประเทศจีน ทั้งสถานการณ์การระบาดและการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจดูดีกว่าประเทศอื่นๆ ผู้ขอวีซ่าหลายรายที่ขอเลื่อนแผนออกไปก่อนมองว่า ไม่เป็นไรที่จะรอดูสถานการณ์ว่าจะคลี่คลายไปในทิศทางไหน” ชิมเมลกล่าว

อย่างไรก็ตาม ชิมเมลมองว่า นักลงทุนจีนจะกลับไปนิวซีแลนด์อีกแน่นอน เพราะเป็นประเทศที่น่าสนใจลงทุน แม้ว่าขนาดเศรษฐกิจจะเล็ก แต่เปิดโอกาสที่ดีให้กับนักลงทุนจีน โดยมีกลุ่มธุรกิจที่คนจีนสนใจคือ การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ เกษตรกรรม ภาคการผลิต และป่าไม้

เขายังให้ความเห็นถึงชาวอเมริกันที่กำลังแห่ขอวีซ่าไปนิวซีแลนด์ขณะนี้ว่า เชื่อว่าจะเป็นความสนใจระยะสั้นไม่เกิน 6 เดือน ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ COVID-19 ในสหรัฐฯ และประธานาธิบดีคนใหม่ว่าจะทำให้วิกฤตคลี่คลายได้เร็วแค่ไหน

Source

]]>
1305907
เปิด 3 เหตุผลที่ทำให้ “เบลเยียม” วิกฤตหนักเมื่อ COVID-19 ระบาดซ้ำสองในยุโรป https://positioningmag.com/1304874 Fri, 06 Nov 2020 11:24:39 +0000 https://positioningmag.com/?p=1304874 หลังจากการระบาดรอบสองเกิดขึ้นในทวีปยุโรปตั้งแต่ต้นเดือนตุลาคม 2020 หลายประเทศยุโรปมีการออกมาตรการล็อกดาวน์อีกครั้ง เช่น ฝรั่งเศส เยอรมนี อังกฤษ และรอบนี้ดูเหมือน “เบลเยียม” จะกลายเป็นศูนย์กลางการระบาดที่หนักที่สุด เมื่อคิดอัตราผู้ติดเชื้อต่อประชากร 1 แสนคน และนี่คือ 4 เหตุผลที่ทำให้เบลเยียมรับมือ COVID-19 ได้ยาก

ณ วันที่ 6 พฤศจิกายน 2020 เบลเยียมมีจำนวนผู้ติดเชื้อเกือบ 4.8 แสนคน และผู้เสียชีวิต 12,520 คน ตัวเลขนี้อาจจะไม่ได้มากเท่ากับประเทศใหญ่อย่างฝรั่งเศสและสเปนที่มีผู้ติดเชื้อ COVID-19 สะสมทะลุ 1 ล้านคนไปแล้ว แต่ถ้านับตามอัตราผู้ติดเชื้อต่อประชากร 1 แสนคน เบลเยียมจะกลายเป็นประเทศที่วิกฤตที่สุดในยุโรป

ค่าเฉลี่ย 7 วันที่ผ่านมา เบลเยียมมีอัตราจำนวนผู้ติดเชื้อ 110 คนต่อประชากร 1 แสนคน สูงกว่าประเทศอื่นมาก โดยอันดับรองลงมาคือฝรั่งเศสที่มีผู้ติดเชื้อ 70 คนต่อประชากร 1 แสนคน ตามด้วยอิตาลีซึ่งมีผู้ติดเชื้อ 50 คนต่อประชากร 1 แสนคน

อัตราผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นต่อประชากร 1 แสนคน

หายนะครั้งนี้ทำให้ Frank Vandenbroucke รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขของเบลเยียม ถึงกับออกปากว่า สถานการณ์ที่ประเทศกำลังเผชิญเปรียบเสมือน “สึนามิ” ของผู้ติดเชื้อ และเจ้าหน้าที่รัฐ “เสียการควบคุมไปแล้ว”

สาเหตุที่เป็นเช่นนั้น CNBC ได้สรุปออกมาเป็น 4 ปัจจัยที่ทำให้เบลเยียมรับมือได้อย่างยากลำบาก

 

1)พื้นฐานการเมือง

หนึ่งในเหตุผลเบื้องหลังวิกฤตคือพื้นฐานการเมืองการปกครองของเบลเยียมซึ่งมีความจำเพาะอย่างมาก เนื่องจากเบลเยียมปกครองแบบสหพันธรัฐ โดยแบ่งการปกครองออกเป็น 3 ส่วน คือ เขตเมืองหลวงบรัสเซลส์ เขตวัลลูน และเขตฟลามส์ ซึ่งเป็นการแบ่งตามภาษาที่ใช้ในแต่ละเขต คือภาษาเยอรมัน ฝรั่งเศส และดัตช์ นโยบายการปกครองบางอย่างใช้ร่วมกันก็จริง แต่แต่ละเขตมีสิทธิปกครองตนเองในบางเรื่อง เช่น การศึกษา

ระหว่างเกิดวิกฤต COVID-19 นักการเมืองในกลุ่มที่ใช้ภาษาดัตช์กับภาษาฝรั่งเศสมีความเห็นขัดแย้งกันว่า จะจัดสมดุลอย่างไรระหว่างการจำกัดการระบาดของไวรัสกับการหลีกเลี่ยงวิกฤตด้านเศรษฐกิจ

ในที่สุด Alexander de Croo ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่เข้ารับตำแหน่งเมื่อช่วงปลายเดือนกันยายน 2020 ตัดสินใจที่จะวอนขอให้ทั้งประเทศนี้ที่มีประชากรร่วม 11 ล้านคน พร้อมใจกันต่อสู้กับโรคระบาดไปด้วยกัน จากนั้นเมื่อต้นสัปดาห์นี้เอง เขาได้ออกมาตรการล็อกดาวน์ซึ่งจะใช้ยาวไปจนถึงกลางเดือนธันวาคม 2020 เป็นอย่างน้อย และจะยังคงมีมาตรการที่เข้มงวดต่อเนื่องจนกว่าจะมีวัคซีนออกมา

 

2)ประชากรหนาแน่นสูง

เปรียบเทียบกับเพื่อนบ้านใกล้เคียงอย่างเยอรมนีและฝรั่งเศส เบลเยียมมีความหนาแน่นของประชากรสูงกว่ามาก โดยมีประชากร 380 คนต่อตารางกิโลเมตร ขณะที่เยอรมนีมีประชากร 240 คนต่อตารางกิโลเมตร ฝรั่งเศสนั้นมีเพียง 120 คนต่อตารางกิโลเมตร ดังนั้น การเว้นระยะห่างทางสังคมในเบลเยียมจึงยากกว่า

เบลเยียมเป็นประเทศที่มีประชากรหนาแน่น เมื่อเทียบกับประเทศอื่นในยุโรป (Photo : Pixabay)

 

3)ผ่อนคลายล็อกดาวน์เร็วเกินไป

“เมื่อช่วงสิ้นฤดูร้อน เรากลับมาเปิดโรงเรียนอนุบาล โรงเรียนประถม และโรงเรียนมัธยมพร้อมๆ กัน และผู้ใหญ่ก็กลับไปทำงานกันตามปกติ” Simon Dellicour นักพันธุวิศวกรรมจาก Universite Libre de Bruxelles กล่าว
“ทุกอย่างรวมกันนั้น ทำให้สถานการณ์ของเราแย่ลงและแย่ลงเรื่อยๆ”

ในช่วงการระบาดรอบแรก เบลเยียมเป็นหนึ่งในประเทศที่มีมาตรการล็อกดาวน์เข้มงวดที่สุดในยุโรป โดยมีตำรวจคอยตรวจเช็กการเดินทางออกจากบ้านต้องเป็นการเดินทางที่จำเป็นจริงๆ แต่เมื่อเจอการระบาดรอบสอง กลายเป็นว่ามีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นมากยิ่งกว่ารอบแรก อย่างไรก็ตาม มองในแง่ดีคือมีอัตราการเสียชีวิตที่ต่ำลงครึ่งหนึ่งเมื่อเทียบกับรอบแรก

ปัจจุบัน วิกฤตของเบลเยียมทำให้ประเทศต้องทำเรื่องขอส่งผู้ป่วยหนักข้ามไปรักษาที่เยอรมนี เพราะเตียงโรงพยาบาลสำหรับผู้ป่วยหนักอาจไม่เพียงพอ ขณะนี้เบลเยียมมีผู้ป่วยหนัก 1,412 คน แต่จะรองรับได้เพียงแค่ 2,000 คนเท่านั้น

Source

]]>
1304874
Nintendo รับทรัพย์ไม่หยุด กำไรพุ่ง 3 เท่า หลังช่วงล็อกดาวน์ คนแห่ “เล่นเกม” อยู่บ้าน https://positioningmag.com/1304770 Thu, 05 Nov 2020 18:49:43 +0000 https://positioningmag.com/?p=1304770 Nintendo เป็นอีกเเบรนด์ที่ได้รับอานิสงส์ที่ดีจากวิกฤต COVID-19 กำไรครึ่งปีเเรกพุ่งขึ้น 3 เท่า เมื่อช่วงล็อกดาวน์คนแห่เล่นเกมตอนอยู่บ้าน

Nintendo (นินเทนโด) ผู้พัฒนาเกมชื่อดังจากญี่ปุ่น รายงานผลประกอบการครึ่งแรกของปีงบประมาณ (เม.. – .. 2020) ทำกำไรเพิ่มขึ้น 3 เท่า มาอยู่ที่ 2.13 แสนล้านเยน (ราว 6.3 หมื่นล้านบาท) สูงที่สุดในประวัติศาสตร์ของบริษัท โดยช่วงเดียวกันปีที่แล้ว มีกำไรอยู่ที่ราว 6.2 หมื่นล้านเยนเท่านั้น

ส่วนยอดขายในช่วง 6 เดือนพุ่งสูงถึง 7.69 แสนล้านเยน (ราว 2.27 เเสนล้านบาท) จากช่วงเดียวกันปีที่แล้ว ซึ่งอยู่ที่ 4.44 แสนล้านเยน

ความฮิตของเกม Animal Crossing : New Horizons ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในช่วงล็อกดาวน์ สามารถทำยอดขายได้ 26 ยูนิตทั่วโลก ส่วนยอดดาวน์โหลดซอฟต์แวร์เกมออนไลน์ และยอดขายเครื่องเล่นเกมพกพาก็ทำได้ดีมากเช่นกัน

โดยซอฟต์แวร์เกม Super Mario 3D All-Stars สำหรับเครื่องเล่นเกม Nintendo Switch ขายได้มากกว่า
5
ล้านเครื่อง และซอฟต์แวร์เกม Paper Mario : The Origami King ขายได้เกือบ 3 ล้านยูนิตในช่วงเวลาดังกล่าว

Nintendo หวังว่าผลประกอบการจะเติบโตต่อเนื่อง พร้อมปล่อยเกมใหม่ๆ ออกมาเจาะตลาด โดยบริษัทวางเเผนจะปล่อยเกมเวอร์ชั่นล่าสุดของ Pikmin 3 Deluxe ภายในสิ้นปีนี้

ด้วยเเนวโน้มรายได้ที่พุ่งไม่หยุด Nintendo ได้ปรับคาดการณ์ผลกำไรปีงบประมาณนี้ (เม.. 2020 – มี.. 2021) เป็น 3 แสนล้านเยน (ราว 8.9 หมื่นล้านบาท) เพิ่มขึ้นจากการคาดการณ์ก่อนหน้านี้ เดิมอยู่ที่ 2 แสนล้านเยน โดยการคาดการณ์กำไรครั้งล่าสุด ถือว่าเพิ่มขึ้น 16%” จากกำไรที่บริษัทเคยทำได้ที่ 2.59 แสนล้านเยน ในปีงบประมาณที่แล้ว

 

ที่มา : AP 

]]>
1304770
“อังกฤษ-ฝรั่งเศส-เยอรมนี” สั่งล็อกดาวน์ทั่วประเทศ รอบ 2 หลัง COVID-19 กลับมาระบาดหนัก https://positioningmag.com/1303966 Sun, 01 Nov 2020 10:10:07 +0000 https://positioningmag.com/?p=1303966 ยุโรปกำลังอยู่ในสถานการณ์ยากลำบาก เมื่อ COVID-19 กลับมาเเพร่ระบาดเป็นระลอกสองยอดผู้ติดเชื้อพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงนี้ ทำให้หลายประเทศต้องประกาศล็อกดาวน์เพื่อสกัดไวรัสอีกครั้ง

ล่าสุด นายกรัฐมนตรีอังกฤษ ประกาศล็อกดาวน์ทั่วประเทศรอบที่ 2 ตั้งเเต่วันที่ 5 .. ไปจนถึงวันที่ 2 .. 2020 หลังพบผู้ติดเชื้อทะลุ 1 ล้านราย และมีผู้เสียชีวิตแล้วกว่า 4.6 หมื่นราย โดยเเนะนำให้ประชาชนอยู่ในบ้าน ส่วนธุรกิจค้าปลีก ธุรกิจบริการที่ไม่จำเป็นจะถูกสั่งปิดทั้งหมด อย่างไรก็ตาม โรงเรียนและสถานศึกษาอื่น ๆ ยังสามารถเปิดได้ ขณะที่เยอรมนีเเละฝรั่งเศสได้ประกาศยกระดับล็อกดาวน์ไปเเล้ว เมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา

เราไม่อาจปล่อยให้ไวรัส มาทำลายอนาคตลูกหลานของเรามากไปกว่านี้แล้วบอริส จอห์นสัน นายกรัฐมนตรีอังกฤษ ระบุ

สำหรับการล็อกดาวน์ในสหราชอาณาจักร (อังกฤษ สกอตแลนด์ ไอร์แลนด์เหนือ และเวลส์) นั้น จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 5 .. – 2 .. 2020 โดยร้านค้าเเละบริการที่ไม่มีความจำเป็น เช่น ร้านอาหาร ผับ และธุรกิจบริการต่าง ๆ จะต้องปิดนาน 1 เดือน ยกเว้นร้านอาหารที่เปิดให้บริการแบบเดลิเวอรี่” 

พร้อมเเนะนำให้ประชาชนอยู่ในที่พัก เเละออกจากบ้านด้วยเหตุผลบางอย่างเท่านั้น เช่น เดินทางไปยังสถานศึกษาทำงาน ออกกำลังกาย การดูแลผู้อื่นตามหน้าที่ รวมถึงกรณีทางการแพทย์

คริสต์มาสปีนี้จะไม่เหมือนเดิม แต่รัฐบาลจะทำทุกอย่างเพื่อให้ครอบครัวได้พบหน้ากันให้ได้ในช่วงคริสต์มาส

ด้านประเทศยักษ์ใหญ่ในยุโรปอย่างเยอรมนี ได้ประกาศล็อกดาวน์อีกครั้ง หลังมีผู้ติด COVID-19 รายใหม่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ในช่วงใกล้ฤดูหนาวที่มีอากาศเย็น

โดยมาตรการล็อกดาวน์รอบใหม่ของเยอรมนี จะเริ่มตั้งแต่วันที่ 2 .. (ตามเวลาท้องถิ่น) และจะสิ้นสุดในวันที่ 30 .. ซึ่งร้านอาหาร คาเฟ่ และบาร์ จะต้องปิดให้บริการ การชุมนุมในที่สาธารณะอนุญาตให้ไม่เกิน 2 ครัวเรือน หรือไม่เกิน 10 คน ห้ามจัดงานเทศกาลขนาดใหญ่ ปิดโรงหนัง สระว่ายน้ำ ยิม ฟิตเนส ฯลฯ

ขณะที่ “ฝรั่งเศส” ประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล มาครง ประกาศใช้มาตรการล็อกดาวน์ทั่วประเทศ ครั้งที่ 2 โดยให้มีผลบังคับใช้ ตลอดเดือนพ.. จนถึงวันที่ 1 .. “เป็นอย่างน้อยโดยประชาชนจะสามารถออกนอกบ้านได้ เฉพาะกรณีที่ต้องไปทำงานที่จำเป็น หรือด้วยเหตุผลทางการแพทย์ เเละช่วงเคอร์ฟิวต้องอยู่แต่ในบ้านตั้งแต่ 21:00 – 06:00 น.เท่านั้น นอกจากนี้ ยังสั่งให้ธุรกิจที่ไม่มีความจำเป็นปิดบริการลงชั่วคราว เช่น ร้านอาหาร และบาร์ แต่โรงเรียนและโรงงาน ยังคงเปิดทำการได้เพื่อให้เศรษฐกิจยังดำเนินต่อไป

การประกาศใช้มาตรการล็อกดาวน์ครั้งนี้มีขึ้น ขณะที่ฝรั่งเศสมียอดผู้เสียชีวิตรายวันจาก COVID-19 สูงสุดนับตั้งแต่เดือน เม.. และเมื่อวันที่ 27 ..ที่ผ่านมา มีผู้ได้รับการยืนยันว่าติดเชื้อรายใหม่เพิ่มถึง 33,000 คน

 

ที่มา : BBC (1) , (2)

]]>
1303966