เงินกู้ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 21 Apr 2022 00:34:46 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 IMF ให้คำมั่นช่วย ‘ศรีลังกา’ ภายใต้เงื่อนไขเงินกู้ที่ต้องใช้ฟื้นฟูเศรษฐกิจอย่าง ‘ยั่งยืน’ https://positioningmag.com/1382098 Wed, 20 Apr 2022 16:40:46 +0000 https://positioningmag.com/?p=1382098 กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เผยถึงการหารือกับรัฐบาลศรีลังกา เกี่ยวกับโครงการเงินกู้พิเศษเพื่อบรรเทาวิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่ว่า ยังอยู่ในระยะเริ่มต้นเเละข้อตกลงใดๆก็ตาม จะต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ว่าภาระหนี้ของประเทศต้องนำสู่การฟื้นฟูเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน 

ศรีลังกา กำลังเผชิญวิกฤตเศรษฐกิจที่รุนแรงที่สุดในรอบ 74 ปี นับตั้งแต่ได้รับเอกราชจากอังกฤษ เมื่อปี 2491 

เมื่อสัปดาห์ที่เเล้ว ศรีลังกา เพิ่งประกาศระงับการชำระคืนหนี้ต่างประเทศชั่วคราว เพื่อหลีกเลี่ยงการผิดนัดชำระครั้งใหญ่ โดยเงินทุนสำรองระหว่างประเทศที่มีอยู่จำกัดนั้น จะต้องเก็บไว้ใช้สำหรับการนำเข้าสินค้าที่จำเป็น อย่างเช่น พลังงานเชื้อเพลิง อาหารเเละยารักษาโรค

Masahiro Nozaki หัวหน้าคณะผู้แทน IMF ศรีลังกาส่งแถลงการณ์ทางอีเมลถึงสำนักข่าว Reuters ระบุว่า เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา Kristalina Georgieva ผู้อำนวยการ IMF ได้พูดคุยกับตัวเเทนรัฐบาลศรีลังกาถึงทางเลือกในการให้กู้ยืมและแผนนโยบาย

โดยโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจาก IMF เพื่อช่วยเหลือศรีลังกานั้น จะถูกออกแบบมาเพื่อแก้ไขปัญหาดุลการชำระเงินแบบเฉียบพลัน และช่วยให้เศรษฐกิจของประเทศกลับมาการเติบโตอย่างยั่งยืนอย่างเร็วที่สุด

IMF มีความกังวลอย่างมาก เกี่ยวกับวิกฤตเศรษฐกิจและความยากลำบากของประชาชนในศรีลังกา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มเปราะบางและกลุ่มคนยากจน 

อย่างไรก็ตาม หนี้สาธารณะของศรีลังกานั้นไม่ยั่งยืน และประเทศจำเป็นต้องดำเนินการตามขั้นตอนเพื่อฟื้นฟูความยั่งยืนของหนี้ ก่อนที่จะได้รับการกู้ยืมใดๆ จาก IMF รวมถึงกองทุน Rapid Financing Instrument (RFI)

นอกจากนี้ การฟื้นฟูเศรษฐกิจอาจต้องทำการปรับโครงสร้างหนี้สาธารณะใหม่ทั้งหมด ซึ่งในกรณีของศรีลังกาอาจต้องขอความร่วมมือจากจีนซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศเจ้าหนี้รายใหญ่ที่สุด

ที่ผ่านมา กองทุนการเงินระหว่างประเทศใช้เงินกู้ RFI แบบมีเงื่อนไขต่ำ เพื่อช่วยเหลือประเทศต่างๆ ในช่วงการระบาดใหญ่ของโควิด-19 และได้ให้เงินกู้ดังกล่าวเพื่อบรรเทาปัญหาการชำระหนี้ หลังเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ ความขัดแย้ง และราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ตกต่ำ

โดยการออกแบบเงินกู้ IMF ของศรีลังกา ซึ่งรวมถึงเป้าหมายของโครงการและเงื่อนไขต่างๆ จะต้องได้รับการตกลงผ่านการอภิปรายอย่างกว้างขวางระหว่างรัฐบาลและ IMF

สำหรับเงินทุนสำรองระหว่างประเทศของศรีลังกา ณ สิ้นเดือนมีนาคม อยู่ที่ 1,930 ล้านดอลลาร์ ซึ่งถือว่า ‘น้อยมาก’ และมีกำหนดต้องชำระหนี้ต่างประเทศที่ครบกำหนดในปีนี้ที่ราว 4,000 ล้านดอลลาร์ รวมถึงพันธบัตรรัฐบาลมูลค่า 1,000 ล้านดอลลาร์ ที่จะครบกำหนดในเดือนกรกฏาคมนี้

 

ที่มา : Reuters 

]]>
1382098
ถอดรหัส ‘ผู้บริโภค’ ช่วงวิกฤต รายได้ลด มีปัญหาหนี้ หวังปีหน้าฟื้นตัว เเต่ยัง ‘รัดเข็มขัด’ https://positioningmag.com/1363998 Thu, 25 Nov 2021 10:03:17 +0000 https://positioningmag.com/?p=1363998 สรุปประเด็นน่าสนใจจาก EIC Consumer Survey 2564 ถอดรหัสผู้บริโภคยุคโควิด-19 การเงินวิกฤต การใช้ชีวิตไม่เหมือนเดิม กลุ่มรายได้น้อยรับผลกระทบหนักสุด คนส่วนใหญ่หวังปีหน้ารายได้เริ่มกลับมา เเต่ยัง ‘รัดเข็มขัด’ ระมัดระวังใช้จ่าย แม้สถานการณ์โควิดจะคลี่คลายก็ตาม เเนะผู้ประกอบการหาโอกาสจากแนวโน้มการใช้จ่ายในหมวดที่จะเร่งตัวจาก pent-up demand ของผู้มีกำลังซื้อ-รายได้สูง เทรนด์ออนไลน์อยู่ยาว 

โดย EIC ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของผู้บริโภคไทยจำนวน 3,205 คน ระหว่างวันที่ 27 สิงหาคม ถึง 27 กันยายน 2564 เกี่ยวกับ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและพฤติกรรมในช่วงโควิด-19 และแนวโน้มหลังวิกฤตคลี่คลาย

ผู้บริโภค รายได้ไม่พอรายจ่าย เเบกภาระหนี้ 

วิกฤตโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อรายได้ของผู้บริโภคไทยจำนวนมาก นำไปสู่ 3 ปัญหาทางเศรษฐกิจ ที่สำคัญในช่วงปีที่ผ่านมา ได้แก่ ปัญหารายได้ไม่พอใช้จ่าย ปัญหาภาระการชำระหนี้ ปัญหาสภาพคล่องทางการเงิน โดยปัญหาจะมีความรุนแรงเป็นพิเศษในกลุ่มผู้มีรายได้น้อย

การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลทำให้ผู้บริโภคเกือบครึ่ง หรือ 48% ของผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด
มีรายได้ลดลง เมื่อเทียบกับช่วงก่อน COVID-19

โดยมีสัดส่วนถึง 30% ของผู้บริโภคที่มีรายได้ที่ลดลงมากกว่า 10% ขึ้นไปเมื่อเทียบกับระดับรายได้ก่อนโควิด-19 ขณะที่มีผู้บริโภคเพียง 24% เท่านั้น ที่มีรายได้เพิ่มขึ้นในช่วงเดียวกัน

Photo : Shutterstock

คนกลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะเป็นคนทำงานเป็นลูกจ้างบริษัทเอกชนที่มีระดับรายได้ค่อนข้างสูง ด้วยสถานการณ์ด้านรายได้ที่ซบเซา ส่งผลทำให้เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจทั้งในด้านการใช้จ่าย การจัดการภาระหนี้ และปัญหาสภาพคล่อง

โดยผลสำรวจพบว่ามีถึง 63% ของผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด ที่กำลังเผชิญปัญหารายได้ ไม่พอรายจ่ายไม่มากก็น้อย

นอกจากนี้ เกินครึ่ง (56%) ของผู้ตอบแบบสอบถามที่มีหนี้กำลังเผชิญปัญหาในการชำระหนี้ และ 52% ของผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมดยังมีสภาพคล่องทางการเงินไม่เกิน 6 เดือน

ทั้งนี้ EIC พบว่า มีคนจำนวนถึง 31% ของผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมดที่กำลังเผชิญ 3 ปัญหาดังกล่าวพร้อมกัน

คนรายได้น้อย รับผลกระทบหนักสุด

เมื่อพิจารณาแยกตามระดับรายได้ EIC พบว่า กลุ่มผู้บริโภครายได้น้อย หรือคนที่มีรายได้ไม่เกิน 1.5 หมื่นบาทต่อเดือน มีสัดส่วนคนที่มีปัญหาทางเศรษฐกิจมากที่สุดในทุกประเด็นปัญหาที่กล่าวมา โดยสัดส่วนของจำนวนคนที่มีปัญหาจะลดน้อยลงในกลุ่มระดับรายได้ที่สูงขึ้น

“สะท้อนให้เห็นว่า วิกฤตโควิด-19 เป็นวิกฤตที่กระทบผู้มีรายได้น้อยรุนแรงกว่า ตอกย้ำปัญหาความเหลื่อมล้ำอันเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างของสังคมไทย”

โดยกลุ่มคนรายได้น้อย มีสัดส่วนของคนที่ระบุว่ารายได้ลดลงในช่วงปีที่ผ่านมาสูงถึง 63% จากจำนวนคนรายได้น้อยทั้งหมด ซึ่งถือว่ามากที่สุดเมื่อเทียบกับกลุ่มคนที่มีรายได้สูงกว่า

ในทำนองเดียวกัน ทั้งสัดส่วนการมีปัญหารายได้ไม่พอรายจ่ายของคนรายได้น้อย (87%) สัดส่วนคนมีปัญหาภาระหนี้ (78%) และสัดส่วนคนมีปัญหาสภาพคล่อง (71%) หรือสัดส่วนของคนที่เผชิญทั้ง 3 ปัญหา (49%) ก็ล้วนแล้วแต่สะท้อนถึงผลกระทบที่มีต่อคนรายได้น้อยส่วนใหญ่และระดับปัญหาที่มากกว่าคนรายได้สูงกว่าทั้งสิ้น

หวัง ‘ปีหน้า’ รายได้เริ่มกลับมา

ผู้บริโภคส่วนใหญ่ มองว่ารายได้จะฟื้นตัวกลับมาเท่ากับที่เคยได้ในช่วงก่อนโควิด ตั้งแต่ปีหน้าเป็นต้นไป แต่ยังค่อนข้างมีความระมัดระวังกับแผนการใช้จ่ายในระยะข้างหน้า

“อย่างไรก็ตาม การใช้จ่ายสำหรับบริการในประเทศบางประเภทมีแนวโน้มได้รับประโยชน์จากแรงส่งของอุปสงค์คงค้าง (pent-up demand) โดยเฉพาะจากกลุ่มผู้มีรายได้สูง”

เมื่อมองไปข้างหน้า ผู้บริโภคครึ่งหนึ่ง คาดว่ารายได้ของตนเองจะฟื้นกลับมาเท่ากับช่วงก่อนโควิด-19 ตั้งแต่ปีหน้าเป็นต้นไป

โดยมีผู้บริโภคถึง 16% ที่เชื่อว่ารายได้ตนเองไม่มีทางกลับมาเท่ากับก่อนโควิด-19 ซึ่งคนกลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็นคนรายได้น้อย และเป็นคนทำงานในภาคการท่องเที่ยว และค้าส่ง-ค้าปลีก สะท้อนถึงผลกระทบต่อกลุ่มธุรกิจดังกล่าวที่รุนแรงมากและมีแนวโน้มฟื้นตัวได้ยาก

ผู้บริโภคส่วนใหญ่ ยัง ‘รัดเข็มขัด’ เเม้สถานการณ์จะดีขึ้น 

การคาดการณ์ว่ารายได้จะฟื้นตัวช้า มีส่วนกดดันแผนการใช้จ่ายในระยะข้างหน้า โดยผู้บริโภคส่วนใหญ่ราว 72% ระบุว่าจะยังคงไม่เพิ่มการใช้จ่ายแม้สถานการณ์โควิด จะคลี่คลายก็ตาม ราว 43% ของผู้บริโภคระบุว่าจะลดค่าใช้จ่ายลงจากปัจจุบันอีกด้วย โดยคนกลุ่มที่เลือกจะรัดเข็มขัดเพิ่มเติมนี้ ส่วนใหญ่เป็นคนที่มีมุมมองว่ารายได้ตนเองจะยังไม่เพิ่มขึ้นในเร็ววัน

อย่างไรก็ตาม การใช้จ่ายบางหมวดมีแนวโน้มฟื้นตัวได้ดีจากอุปสงค์คงค้าง (pent-up demand) ผู้บริโภคส่วนใหญ่มีแนวโน้มกลับไปใช้จ่ายในหมวดที่เกี่ยวกับกิจกรรมนอกบ้าน หลังสถานการณ์คลี่คลาย เช่น การท่องเที่ยวภายในประเทศ และบริการด้านสุขภาพและความงาม เป็นต้น โดยเฉพาะกลุ่มรายได้สูง (รายได้มากกว่า 1 แสนบาทต่อเดือน) ที่มีสัดส่วนคนที่จะกลับไปใช้จ่ายในหมวดดังกล่าวภายในระยะเวลา 6 เดือนข้างหน้าสูงกว่ากลุ่มอื่น ๆ

คาดว่ามาจากความต้องการที่คงค้างมาจากช่วงปิดเมือง และยังเป็นช่วงเวลาของฤดูกาลท่องเที่ยว ประกอบกับยังมีมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายของภาครัฐเป็นอีกแรงสนับสนุนด้วย

อย่างไรก็ดี สำหรับสินค้าที่มีมูลค่าสูง ได้แก่ บ้าน รถยนต์ มีผู้บริโภคเพียงส่วนน้อย (5-6%) ที่มีแผนจะใช้จ่ายในช่วง 6 เดือนข้างหน้า สะท้อนถึงผลจากทั้งรายได้และความเชื่อมั่นที่ซบเซา เช่นเดียวกันกับแผนในการท่องเที่ยวต่างประเทศที่ยังมีไม่มากนักในหมู่ผู้บริโภคไทย ตามภาวะรายได้ รวมถึงข้อจำกัดและความเชื่อมั่นในการเดินทางระหว่างประเทศ

พฤติกรรม New Normal เทรนด์ออนไลน์อยู่ยาว 

ในช่วง COVID-19 ผู้บริโภคไทยมีการเปลี่ยนพฤติกรรมทั้งด้านการใช้เทคโนโลยี และการใช้เวลาที่บ้านมากขึ้น ซึ่งพฤติกรรม 2 กลุ่มนี้มีแนวโน้มกลายเป็น New Normal

ในช่วงปีที่ผ่านมา ผู้บริโภคได้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจากผลกระทบของวิกฤต COVID-19 ทั้งในด้านการใช้เทคโนโลยีและการใช้เวลาที่บ้าน โดย ผู้บริโภค 41% ระบุว่ามีการซื้อสินค้าผ่านทางออนไลน์เพิ่มขึ้นหรือซื้อเป็นครั้งแรกเมื่อเทียบกับช่วงก่อน COVID-19

ขณะที่มีเพียง 17% ของผู้บริโภคเท่านั้นที่เพิ่มการใช้จ่ายโดยทั่วไปในช่วงเดียวกัน สะท้อนถึงการเพิ่มสัดส่วนการใช้ช่องทางออนไลน์ในการซื้อสินค้ามากขึ้นในช่วงที่การจับจ่ายใช้สอยในช่องทางออฟไลน์มีข้อจำกัด

นอกจากนี้ ผู้บริโภคส่วนใหญ่ (57%) ยังมีการใช้เวลาทำกิจกรรมที่บ้าน เช่น การปลูกต้นไม้ ทำอาหาร เพิ่มขึ้น หรือทำเป็นครั้งแรกด้วยเช่นกัน จากการที่วิกฤต COVID-19 ทำให้ผู้บริโภคต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานมาเป็นการทำงานที่บ้านและมีเวลาอยู่บ้านมากขึ้น ซึ่งการเปลี่ยนพฤติกรรมดังกล่าวส่งผลต่อเนื่องทำให้การปรับปรุงและตกแต่งบ้าน และการซื้อของออนไลน์ในหมวดสินค้าเกี่ยวกับบ้านเพิ่มขึ้นตามไปด้วย

สำหรับแนวโน้มหลังโควิดคลี่คลายนั้น พฤติกรรมที่ผู้บริโภคปรับเปลี่ยนในช่วงที่ผ่านมา มีแนวโน้มที่จะยังคงอยู่ต่อเนื่อง หรือกลายเป็น New Normal แม้จะลดน้อยลงบ้างจากที่เคยทำในช่วง COVID-19 ไม่ว่าจะเป็นการซื้อสินค้าออนไลน์ที่กว่า 86% ของผู้บริโภคระบุว่าจะยังทำต่อไปแม้สถานการณ์ COVID-19 คลี่คลาย ซึ่งอาจเป็นเพราะความสะดวกจากการใช้บริการ

(Photo by Carl Court/Getty Images)

พฤติกรรมผู้บริโภคที่มีแนวโน้มจะกลายเป็น New Normal ได้แก่ การใช้เวลาทำกิจกรรมที่บ้านที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่ (91%) ระบุว่าจะยังคงทำต่อไป เช่นเดียวกันกับการปรับปรุง-ตกแต่งบ้าน (67%) และการใช้บริการ food delivery (67%) ซึ่งคาดว่าพฤติกรรมกลุ่มนี้ได้รับแรงสนับสนุนจากเทรนด์การทำงานที่บ้านที่หลายองค์กรมีแนวโน้มปรับใช้แบบระยะยาว ทำให้การใช้เวลาที่บ้านของผู้บริโภคจะเพิ่มขึ้นตามมา

อย่างไรก็ตาม กลุ่มพฤติกรรมดังกล่าวมีแนวโน้มลดลงบ้างเมื่อสถานการณ์คลี่คลาย เพราะอาจถูกทดแทนด้วยทางเลือกนอกบ้าน โดยเฉลี่ยประมาณ 25-30% ของผู้บริโภคระบุว่าจะยังคงพฤติกรรมการซื้อของออนไลน์และการใช้เวลาที่บ้าน แต่จะลดน้อยลงจากที่เคยทำในช่วง COVID-19 ทั้งนี้ สาเหตุอาจมาจากการมีทางเลือกมากขึ้นเมื่อบริการที่ทดแทนกันได้แบบออฟไลน์ เช่น ห้างสรรพสินค้า ร้านอาหาร กลับมาเปิดให้บริการได้มากขึ้น

สรุป : 

ข้อค้นพบจากผลสำรวจความคิดเห็นผู้บริโภคของ EIC ได้บ่งชี้ให้เห็นถึงผลกระทบจากวิกฤต COVID-19 ต่อผู้บริโภคไทยที่ค่อนข้างรุนแรงและจะยังมีผลต่อเนื่องไปในระยะข้างหน้า ผ่านความเชื่อมั่นต่อการฟื้นตัวของรายได้ที่ยังซบเซา กดดันแนวโน้มการใช้จ่ายภาพรวมในอนาคต โดยเฉพาะสำหรับกลุ่มผู้มีรายได้น้อย

“ผู้ประกอบการที่เจาะกลุ่มผู้บริโภคยังสามารถหาโอกาสได้จากแนวโน้มการใช้จ่ายในหมวดที่จะเร่งตัวจาก pent-up demand ของผู้มีกำลังซื้อ รวมถึงโอกาสจากพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปทั้งในด้านการซื้อของออนไลน์และการใช้เวลาอยู่บ้านซึ่งมีแนวโน้มกลายเป็น New Normal ที่ดำเนินต่อไปแม้สถานการณ์โควิด-19 เริ่มคลี่คลายลง”

 

]]>
1363998
เเนวโน้ม ‘ธุรกิจเเบงก์’ ปี 65 ฟื้นตัวดี เเรงหนุนสินเชื่อโต เงินฝากชะลอลง คนไทยปรับการลงทุน  https://positioningmag.com/1363737 Wed, 24 Nov 2021 07:50:49 +0000 https://positioningmag.com/?p=1363737 ttb analytics มองเเนวโน้ม ‘ธุรกิจแบงก์’ ในไทย ปี 65 ดีขึ้นต่อเนื่อง จากการเติบโตของ ‘สินเชื่อ’ ทั้งภาคธุรกิจรายใหญ่ SMEs และรายย่อย 
“คาดว่าสินเชื่อโดยรวมมีแนวโน้มขยายตัวได้ราว 5.5% ขณะที่เงินฝาก มีทิศทางเติบโตอัตราชะลอลงจากการฟื้นตัวของการบริโภคภายในประเทศ และการปรับเปลี่ยนการลงทุนในสินทรัพย์ประเภทอื่นๆ” 
 
ด้านคุณภาพสินเชื่อโดยรวมยังทรงตัวอยู่ในระดับ 3.0% ได้รับการสนับสนุนจากนโยบายการปรับโครงสร้างหนี้ (debt restructuring) ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
 
ทั้งนี้ ประเมินอัตราดอกเบี้ยกู้ยืมคงที่อยู่ในระดับต่ำ จากการปรับลดอัตรานำส่งเงินสมทบกองทุนฟื้นฟูฯ (FIDF) และแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ทรงตัวในปี 65
เเรงหนุนสินเชื่อรายย่อย – SMEs 

สำหรับแนวโน้มสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ในปี 65 จะมีปัจจัยสนับสนุนจากการเติบโตของสินเชื่อ ทั้งภาคธุรกิจและรายย่อย

ในภาพรวมสินเชื่อธุรกิจ พบว่า สินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่มีแนวโน้มขยายตัว 4.2% นำโดยสินเชื่อภาคการผลิตและภาคก่อสร้าง ซึ่งได้รับแรงสนับสนุนจากการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะใน EEC มาตรการส่งเสริมการลงทุนของ BOI และการค้าระหว่างประเทศที่เติบโตดี

ส่วนสินเชื่อธุรกิจ SMEs คาดการณ์เติบโต 4.5% จากหลายปัจจัยสนับสนุน ได้แก่ แนวโน้มการฟื้นตัวที่ดีของธุรกิจภายหลังการเปิดประเทศ ความต้องการสภาพคล่องเพื่อกลับมาดำเนินธุรกิจ รองรับอุปสงค์ที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต

รวมถึงแรงสนับสนุนของสินเชื่อฟื้นฟูของ ธปท.และสถาบันการเงินของรัฐ โดยสินเชื่อ SMEs ที่มีแนวโน้มขยายตัวได้ดีในปีหน้า ได้แก่ ธุรกิจค้าปลีกค้าส่งออนไลน์ ธุรกิจการผลิตเกี่ยวกับนวัตกรรมด้านอาหาร สุขภาพ เกษตรแปรรูป และบริการด้านธุรกิจดิจิทัล เป็นต้น

ขณะที่ สินเชื่อรายย่อย มีแนวโน้มฟื้นตัวตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้น คาดการณ์การเติบโตปี 65 ที่ 6.5% จากการฟื้นตัวของสินเชื่อในทุกหมวดหมู่ ทั้งสินเชื่อที่อยู่อาศัย สินเชื่อรถยนต์ และสินเชื่อส่วนบุคคล
  • สินเชื่อที่อยู่อาศัย มีแนวโน้มเติบโตเพิ่มขึ้น 7% จากการฟื้นตัวของกำลังซื้อภายในประเทศ ที่ได้รับผลบวกจากการผ่อนปรนมาตรการสินเชื่อที่อยู่อาศัย (LTV) และกำลังซื้อจากต่างประเทศที่กลับมาพร้อมกับการเปิดประเทศ
  • สินเชื่อรถยนต์ มีแนวโน้มฟื้นตัวจากอุปสงค์คงค้าง (Pend up demand) จากปี 64 โดยเติบโต 4% และในปี 65 การฟื้นตัวของการบริโภคภาคเอกชนจะช่วยสนับสนุนให้สินเชื่อส่วนบุคคลปรับตัวเพิ่มขึ้นถึง 8.5%

คุณภาพสินเชื่อ ttb analytics ประเมินว่า มีแนวโน้มทรงตัวระดับเดิม จากนโยบายส่งเสริมการปรับโครงสร้างหนี้ของ ธปท. ที่ขยายเวลาการใช้หลักเกณฑ์การจัดชั้นและกันเงินสำรองอย่างยืดหยุ่นไปจนถึงสิ้นปี 66 เพื่อให้ธนาคารสามารถให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ผ่านการเปลี่ยนโครงสร้างสินเชื่อ จากระยะสั้นเป็นระยะยาวร่วมกับการปรับโครงสร้างหนี้วิธีอื่นๆ โดยคาดการณ์ว่าอัตราส่วนยอดคงค้างสินเชื่อด้อยคุณภาพ (NPL ratio) ในปี 65 จะอยู่ที่ระดับ 3.0% ซึ่งใกล้เคียงกับช่วงปี 64 ในระดับ 3.1%

ในส่วนอัตราดอกเบี้ยกู้ยืมปี 65 มีแนวโน้มไม่เปลี่ยนแปลงจากปี 64 เนื่องจากคาดการณ์ว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะทรงตัวที่ระดับ 0.50% ต่อเนื่องตลอดปี 65 เพื่อเป็นการสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย ประกอบกับ ธปท. ได้ขยายระยะเวลาปรับลดอัตราเงินนำส่งเข้ากองทุน FIDF เหลือ 0.23% จาก 0.46% ต่อปี ออกไปจนถึงสิ้นปี 65 เพื่อให้สถาบันการเงินสามารถส่งผ่านการลดต้นทุน เพื่อบรรเทาผลกระทบต่อภาคธุรกิจ และประชาชนได้อย่างต่อเนื่อง

เงินฝากโตชะลอลง คนไทยปรับการลงลงทุน 

ด้านเงินฝากในปี 65 มีแนวโน้มขยายตัวได้ 3.0% ลดลงเล็กน้อยจากประมาณการที่ 3.5% ในปี 64 โดยปริมาณเงินฝากในบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ยังคงเติบโตอยู่ที่ 6.5% แต่ชะลอลงจากปี 64 ที่ขยายตัว 8.5% ตามแนวโน้มการบริโภคที่ฟื้นตัวได้เร็วหลังเปิดประเทศ

ขณะที่ปริมาณเงินฝากบัญชีฝากประจำคาดว่าจะหดตัว 7% ในปี 65 ซึ่งเป็นทิศทางที่ลดลงต่อเนื่องตั้งแต่ปี 63 จากอัตราดอกเบี้ยบัญชีเงินฝากประจำที่อยู่ในระดับต่ำ สอดคล้องกับอัตราดอกเบี้ยนโยบายทรงตัวที่ 0.50% ตั้งแต่กลางปี 63 เป็นต้นมา ทำให้ผู้ฝากทั้งประชาชนและภาคธุรกิจปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการลงทุน และเลือกลงทุนในรูปแบบอื่นๆ เช่น พันธบัตรรัฐบาล ตราสารหนี้ ที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า

“ในภาพรวมแนวโน้มเงินฝากที่ยังคงเติบโตในปี 65 จะทำให้สภาพคล่องในระบบธนาคารพาณิชย์ยังคงอยู่ในระดับสูงเกือบ 4 ล้านล้านบาท รวมทั้งการที่ยังคงมีเงินกองทุนในระดับสูง จะช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งของระบบธนาคารพาณิชย์ไทยได้” 

]]>
1363737
ออมสิน เร่งปล่อยสินเชื่อผ่านเเอปฯ ช่วย ‘รายย่อย’ ยื่นกู้สินเชื่อสู้ภัยโควิด-อิ่มใจ ก่อนสิ้นปี 64 https://positioningmag.com/1360711 Sun, 07 Nov 2021 12:12:15 +0000 https://positioningmag.com/?p=1360711 ออมสิน เร่งปล่อยสินเชื่อช่วยรายย่อย ผ่านเเอป MyMo ในเวลา 10 เดือน อนุมัติแล้ว 1.5 ล้านราย กว่า 2.4 หมื่นล้านบาท เปิดยื่นกู้สินเชื่อสู้ภัยโควิด-สินเชื่ออิ่มใจ หมดเขตสิ้นปีนี้ 

วิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า นับตั้งแต่ที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด–19 ในประเทศไทยทวีความรุนแรงขึ้น ที่ผ่านมากระทรวงการคลังได้รับนโยบายจากรัฐบาลให้เร่งจัดทำมาตรการช่วยเหลือประชาชนที่เดือดร้อนจากผลกระทบที่เกิดขึ้น โดยมอบหมายธนาคารออมสินจัดทำมาตรการสินเชื่อต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง

โดยธนาคารออมสินตระหนักถึงความจำเป็นเร่งด่วนในการเติมเม็ดเงินเสริมสภาพคล่อง ช่วยเหลือผู้ที่เดือดร้อนให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินโดยเร็ว จึงได้เร่งรัดพัฒนาแอปพลิเคชันมายโม่ (MyMo) ให้สามารถพิจารณาอนุมัติสินเชื่อบนสมาร์ทโฟน หรือ Digital Lending เพื่ออำนวยความสะดวกให้ลูกค้า สามารถยื่นกู้และรับโอนเงินกู้เข้าบัญชีได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่จำเป็นต้องไปติดต่อสาขา เพื่อลดความเสี่ยงติดเชื้อ

“หลังจากธนาคารเริ่มปล่อยสินเชื่อผ่าน MyMo เป็นครั้งแรกเมื่อเดือนมกราคม 2564 ด้วยระยะเวลาเพียง 10 เดือน ธนาคารได้อนุมัติสินเชื่อช่วยเหลือลูกค้ารายย่อยแล้ว จำนวนประมาณ 1.5 ล้านราย ผ่านมาตรการต่าง ๆ เช่น สินเชื่อเสริมพลังฐานราก สินเชื่อสู้ภัย COVID-19 สินเชื่อฉุกเฉินสำหรับผู้มีรายได้อิสระ และสินเชื่ออิ่มใจ วงเงินสินเชื่อรวมกว่า 24,000 ล้านบาท” 

สำหรับ มาตรการสินเชื่อสู้ภัย COVID-19 วงเงินให้กู้สูงสุด 10,000 บาท เพื่อช่วยเหลือรายย่อย และสินเชื่ออิ่มใจ วงเงินให้กู้สูงสุด 100,000 บาท สำหรับผู้ประกอบการร้านอาหารและเครื่องดื่ม ยังคงเปิดให้ยื่นขอกู้ผ่านแอป MyMo ได้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564

โดยมาตรการสินเชื่อทั้ง 2 โครงการ มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนทางการเงินของผู้ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 จึงเป็นสินเชื่อที่มีเงื่อนไขผ่อนปรน เช่น ไม่ต้องใช้หลักประกัน ไม่ต้องมีบุคคลค้ำ หรือปลอดชำระเงินงวด (ตามหลักเกณฑ์ของแต่ละโครงการ) เป็นต้น ผู้สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ GSB Contact Center โทร. 1115

]]>
1360711
รัฐบาลมาเลเซีย หนุนเงินกู้อัดฉีด ‘เเอร์เอเชีย’ รับการบินฟื้นตัวหลังโควิด https://positioningmag.com/1355091 Tue, 05 Oct 2021 15:50:59 +0000 https://positioningmag.com/?p=1355091 รัฐบาลมาเลเซีย สนับสนุนเงินกู้ต่อลมหายใจ ให้กับสายการบินโลว์คอสต์เจ้าใหญ่อย่างเเอร์เอเชีย’ รับการฟื้นตัวหลังโควิด

แอร์เอเชีย กรุ๊ป (AirAsia Group) ได้รับการอนุมัติเงินกู้จาก Danajamin Nasional Berhad สถาบันการเงินที่กระทรวงการคลังถือหุ้นอยู่ 50% จำนวน 500 ล้านริงกิต หรือราว 4 พันล้านบาท

วงเงินกู้ดังกล่าว รัฐบาลมาเลเซียเป็น ‘ผู้ค้ำประกันให้ถึง 80% ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในแผนการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ หลังวิกฤตโรคระบาด

Tony Fernandes ผู้ร่วมก่อตั้งและซีอีโอ AirAsia Group ให้สัมภาษณ์กับ The Edge เมื่อช่วงต้นปีว่า บริษัทมีเเผนจะระดมทุนครั้งใหญ่ ราว 2,000-2,500 ล้านริงกิต รวมไปถึงการกู้ยืมเงินจากธนาคารในท้องถิ่น 3 แห่ง ซึ่งอยู่ระหว่างรอการอนุมัติ เเละ Danajamin ก็เป็นหนึ่งในนั้น

โดยแอร์เอเชีย จะนำมาเป็นเงินทุนหมุนเวียนจ่ายเงินเดือนพนักงาน และใช้จ่ายในส่วนต่างๆ ที่มีความจำเป็นต่อการดำเนินงานของบริษัท เช่น การบำรุงรักษาเครื่องบิน เนื่องจากทางสายการบินกำลังเตรียมเพิ่มการดำเนินงานเพื่อรองรับการเปิดพรมแดนระหว่างประเทศอีกครั้ง

การได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลมาเลเซีย จึงเป็นเหมือนการเพิ่มความเชื่อมั่นในการฟื้นตัวของธุรกิจสายการบิน ว่าจะมีเเนวโน้มที่ดีขึ้น เเละจะกลับมาให้บริการอย่างเต็มรูปแบบได้ในอนาคตอันใกล้ พร้อมกับการที่ประเทศต่างๆ ทั่วโลกกำลังจะเริ่มเปิดพรมแดนระหว่างประเทศ เมื่อประสบความสำเร็จในการกระจายวัคซีน

ส่วนตลาดในประเทศไทย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ เเอร์เอเชียก็เริ่มมีการกลับมาเปิดให้บริการ ‘อย่างค่อยเป็นค่อยไป’ ขณะที่รอการเจรจาเรื่องทราเวล บับเบิลและการผ่อนคลายมาตรการเพื่อเปิดพรมแดนระหว่างประเทศอีกครั้ง

โดยรัฐบาลมาเลเซีย วางเเผนจะเปิดเส้นทางการบินภายในประเทศและระหว่างประเทศ เมื่อประชากรวัยผู้ใหญ่ราว 90% ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ครบโดส ซึ่งปัจจุบันระดมฉีดไปเเล้วกว่า 88% (4 ต.ค.)

 

ที่มา : theedgemarkets , Reuters 

]]>
1355091
รู้จัก FINNIX เเอปเงินกู้ เเก้ปมผู้มีรายได้น้อย เข้าไม่ถึงแบงก์ หวังดึงคนออกจากหนี้นอกระบบ https://positioningmag.com/1349907 Fri, 03 Sep 2021 04:00:47 +0000 https://positioningmag.com/?p=1349907 Finnix (ฟินนิกซ์) นาโนไฟเเนนซ์น้องใหม่ในไทย ที่เปิดตัวมาด้วยสโลเเกนแอปเงินกู้คู่คนทำมาหากินเจาะใจคนรายได้น้อย กับความมุ่งหมายเเก้ปัญหาหนี้นอกระบบ 

ท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจ คนดิ้นรนหาเงินกู้เงินด่วนมาใช้ต่อลมหายใจธุรกิจ ใช้ในชีวิตประจำวัน ทำให้ตลาดนาโนไฟแนนซ์ในไทยมูลค่า 2 เเสนล้านบาท (ผู้เล่นที่ลงทะเบียนถูกกฎหมายราว 7 หมื่นล้านบาท) เเข่งขันกันดุเดือดขึ้น

สอดคล้องกับหนี้ครัวเรือนของคนไทยที่สูงขึ้นมากในช่วงโควิด-19 ไตรมาสปีนี้พุ่งสูงกว่า 90% ต่อ GDP สะท้อนให้เห็นว่าคนไทยขาดสภาพคล่องทางการเงินอย่างมาก โดยเฉพาะผู้มีรายได้น้อย หรือไม่มีเอกสารยืนยันบัญชีการเงิน ไม่สามารถเข้าถึงผลิตภัณฑ์และบริการของสถาบันการเงินได้ เป็นโอกาสของธุรกิจนาโนไฟเเนนซ์ที่จะเข้ามาอุดช่องโหว่นี้

หลังเปิดตัวมาได้ 14 เดือน Finnix มียอดดาวน์โหลดถึง 3.5 ล้านครั้ง ในส่วนนี้ได้กลายมาเป็นลูกค้าปัจจุบัน 2.5 เเสนราย เเละปล่อยสินเชื่อไปแล้วกว่า 3 พันล้านบาท ตั้งเป้าปิดยอดได้ 5 พันล้าน พร้อมปั๊มยอดลูกค้าเพิ่มเป็น 3 เเสนราย ภายในสิ้นปี 2564

Finnix เป็นแอปฯ เงินกู้ดิจิทัลของมันนิกซ์’ (MONIX) บริษัทฟินเทคสตาร์ทอัพร่วมทุนระหว่างประเทศของ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) และ AbakusGroup ฟินเทคยูนิคอร์นจากประเทศจีน

โดยรีแบรนด์จากเเอปฯ ห้าให้มันนี่ มาเป็นชื่อ Finnix เมื่อช่วงเดือนเม..ที่ผ่านมา ยังคงกลุ่มเป้าหมายเดิม คือผู้มีรายได้น้อย ต่ำกว่า 2 หมื่นบาทต่อเดือน

คนไทย 36 ล้านคน มีปัญหาการขอสินเชื่อ

ถิรนันท์ อรุณวัฒนกูล ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ บริษัท มันนิกซ์ จำกัด เล่าว่า ปัจจุบัน มีคนไทยกว่า 36 ล้านคนที่ประสบปัญหาการขอสินเชื่อ เเบ่งเป็น ผู้มีรายได้ไม่ถึง 20,000 บาท ราว 8 ล้านคน และไม่มีสลิปเงินเดือนให้ยื่นกู้กับสถาบันการเงินทั่วไปได้อีก 28 ล้านคน

เหล่านี้ เป็นโอกาสที่มันนิกซ์จะเข้ามาในตลาดนี้ และตัดสินใจว่าจะทำผลิตภัณฑ์แรกในรูปแบบสินเชื่อนาโนไฟแนนซ์ โดยตั้งเป้าช่วยเหลือคนทำมาหากินให้ได้ อย่างน้อยราว 20% หรือ 7.2 ล้านคน ในช่วงเริ่มต้น

โดยจับจุด ‘Pain Point’  ของคนที่มีรายได้น้อยเข้าไม่ถึงการกู้เงิน คือ โอกาสได้รับอนุมัติน้อย , รอผลอนุมัตินาน , ใช้เอกสารเยอะ , วิธีการสมัครยาก เเละอัตราดอกเบี้ยสูง

Finnix จึงเพิ่มฟีเจอร์ต่างๆ ภายในเเอปฯ อย่างการกำหนดวงเงินกู้ตั้งแต่ 2,000 – 100,000 บาทเพื่อตอบโจทย์คนหลายกลุ่ม ทั้งคนที่เเค่อยากหมุนเงินเล็กๆ น้อยๆ หลักพัน ไปจนถึงพยุงธุรกิจด้วยเงินหลักเเสน โดยคิดอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 33% ต่อปี หรือ 2.75% ต่อเดือน  

ชำระเฉพาะดอกเบี้ย เพื่อรักษาเครดิตได้ เเต่หากผิดนัดชำระเกิน 30 วัน บริษัทจำเป็นต้องรายงานต่อบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ เเละหากผิดนัดชำระเกิน 180 วัน ต้องบอกเลิกสัญญาและดำเนินการทางกฎหมายต่อไป

พิจารณาให้สินเชื่อด้วย ‘Alternative Data’

สำหรับการสมัครของสินเชื่อ หลังโหลดเเอปพลิเคชัน หากเป็น ลูกค้าเดิมของธนาคารไทยพาณิชย์ หรือมีแอปพลิเคชัน SCB Easy ก็สามารถใช้บัตรประชาชนใบเดียว ในการยืนยันตัวตนได้เลย โดยไม่ต้องเเนบ statement ย้อนหลัง

เเต่ถ้าหากไม่ได้เป็นลูกค้า SCB Easy มาก่อน จำเป็นต้องส่งไฟล์ statement ของธนาคารอื่นๆมาให้ทางแอปฯพิจารณา

เมื่อถามว่าหากมีการใช้เเค่บัตรประชาชนใบเดียวในการกู้เงินทางเเอปฯ มีการประเมินความเสี่ยงอย่างไร ?

ถิรนันท์ ตอบว่า Finnix จะเน้นไปที่การดู Alternative Data ข้อมูลที่ไม่ใช่ข้อมูลทางการเงินอื่นๆ อย่างการขอสิทธิ์เข้าถึงข้อมูลรายชื่อในโทรศัพท์มือถือของผู้กู้ 

เราจะนำเอา Alternative Data ตรงนี้ ไปใช้ในการประมวลผล การพิจารณาสินเชื่อ ไม่ได้เอาข้อมูลไปการันตี หรือทำอันตรายใด ๆ เป็นทางเเก้กรณีที่ลูกค้าไม่ได้มีการเดินบัญชีในธนาคาร หรือใช้ชีวิตด้วยเงินสด

โดยจุดเด่นของ Finnix ที่จะทำให้เเข่งในตลาดนี้ได้ เธอบอกว่า คืออนุมัติสินเชื่อภายใน 5 นาที เเละรูปแบบการผ่อนชำระที่ยืดหยุ่นที่เหมาะสมกับลูกค้า เช่น เปิดให้ชำระชั้นต่ำ หรือชำระดอกเบี้ยเพียงอย่างเดียวได้ เพื่อรักษาประวัติทางการเงิน หรือเเบ่งชำระตามกระแสเงินสดของลูกค้า เช่น เลือกชำระแบบงวด 3, 6 และ 12 เดือน

ถ้ามีวินัยทางการเงิน จ่ายค่างวดตรงเวลา จะมีเกมล่าดาวให้ร่วมสนุก เพื่อรักษาเครดิตตามเงื่อนไข ถ้าชำระสินเชื่อภายใน 3 วันก่อนถึงครบกำหนดชำระหรือในวันครบกำหนดชำระ ก็จะได้รับดาว 1 ดวง เมื่อสะสมดาวครบ 3 ดวง จะได้รับกล่องสมบัติไปเปิดลุ้นรับรางวัลได้ทันที (เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทฯ กำหนด)

การใช้เทคโนโลยี AI และ Machine Learning ทำให้ประเมินความเสี่ยงของลูกค้าได้รวดเร็วแม่นยำ และเราเป็นแพลตฟอร์มสินเชื่อในรูปแบบออนไลน์ 100% เข้าถึงได้ทุกพื้นที่ แค่ลูกค้ามีสมาร์ทโฟนที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต

ดึงคนออกจาก ‘หนี้นอกระบบ’ 

ปัจจุบัน รายได้เฉลี่ยของผู้กู้อยู่ที่ 7,000 – 12,000 บาทต่อเดือน เเละ Finnix มีวงเงินที่อนุมัติเฉลี่ย อยู่ระหว่าง 10,000 – 15,000 บาท เรตในการอนุมัติสินเชื่อ (Approval Rate) อยู่ที่ 25%

ส่วนแนวโน้มหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) พบว่าในช่วงโควิด-19 ระลอก 3 ลูกค้ามีความสามารถในการชำระหนี้ลดลง โดยบริษัทพยายามจะคุม NPLให้อยู่ในกรอบ 1 ดิจิต

ผู้บริหาร Finnix ประเมินตลาดนาโนไฟแนนซ์ในไทย ยังมีโอกาสขยายตัวได้ดี เเม้จะมีคู่เเข่งขึ้นมาหลายเจ้า เเต่ยังไม่มากเท่าตลาดอื่นนัก ส่วนตลาดเพื่อนบ้านในอาเซียนก็มีความน่าสนใจมาก อย่างอินโดนีเซีย ที่มีพฤติกรรมใช้เงินไม่มาก แต่ใช้บ่อยมีการใช้จ่ายก้อนใหญ่ในเเต่ละปี ซึ่งจะมีการขยายสู่ระดับภูมิภาคต่อไป

เป้าหมายของเราคือการดึงคนรายได้น้อย ออกจากปัญหาหนี้นอกระบบที่เสี่ยงอันตราย ด้วยแอปฯ กู้เงินที่ถูกกฎหมาย นอกจากนี้ยังเป็นการให้โอกาสคนมีวินัย เเต่รายได้น้อย ให้มีการเข้าถึงสินเชื่อมากขึ้น ให้ความรู้ในการจัดการการเงินในระยะยาว

 

]]>
1349907
“กสิกรไทย-กรุงเทพ-กรุงศรี-กรุงไทย” พักชำระหนี้ 2 เดือน ช่วยร้านปิดทำการช่วงล็อกดาวน์ https://positioningmag.com/1342670 Fri, 16 Jul 2021 05:19:30 +0000 https://positioningmag.com/?p=1342670 3 ธนาคารใหญ่ กสิกรไทย กรุงเทพ และกรุงศรี ออกมาตรการพักชำระหนี้ 2 เดือน แต่เฉพาะเงินต้น ช่วยเหลือลูกค้าที่ต้องปิดทำการนช่วงล็อกดาวน์ ตามมาตรการของภาครัฐ ด้านกสิกรไทยออก “เงินกู้สู้ไปด้วยกัน” ดอกต่ำ 3% ช่วยร้านอาหารและร้านค้ารายย่อย  

KBank พักชำระหนี้ ออกเงินกู้ดอกต่ำ

กสิกรไทยออกโครงการพิเศษส่งความช่วยเหลือเร่งด่วน เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้ร้านอาหารรายเล็ก และร้านค้ารายย่อย ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤต COVID-19 ให้เข้าถึงเงินทุนได้ง่าย ภายใต้โครงการพิเศษ “เงินกู้สู้ไปด้วยกัน” อนุมัติง่าย ดอกเบี้ย 3% พักชำระเงินต้น 3 เดือน วงเงินกู้สูงสุด 300,000 บาท ไม่ต้องมีหลักประกัน ฟรีค่าธรรมเนียมทุกประเภท

ผลักดันให้ร้านอาหารและร้านรายย่อยมีเงินทุนในการทำธุรกิจให้ไปต่อได้ คาดหวังช่วยร้านค้ารายย่อยได้ 35,000 ราย วงเงินสินเชื่อ 3,500 ล้านบาท

ธนาคารฯ ยังออกมาตรการพักชำระหนี้ 2 เดือน เพื่อช่วยลูกค้าเอสเอ็มอี และลูกค้ารายย่อยที่ต้องปิดกิจการตามมาตรการของทางการ

พัชร สมะลาภา กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า

“จากสถานการณ์ในตอนนี้ ธนาคารกสิกรไทยขอเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้กับร้านค้ารายย่อย จึงออกโครงการพิเศษ “เงินกู้สู้ไปด้วยกัน” อนุมัติง่าย อัตราดอกเบี้ย 3% พักชำระเงินต้น 3 เดือน วงเงินกู้สูงสุด 300,000 บาท ไม่ต้องมีหลักประกัน ฟรีค่าธรรมเนียมทุกประเภท ระยะเวลากู้สูงสุด 5 ปี ใช้แค่บัตรประชาชนใบเดียวก็กู้ได้ เพียงเดินบัญชีกับธนาคารฯ สมัครทางออนไลน์ง่ายและสะดวกที่เว็บไซต์ของธนาคารฯ เพื่อช่วยให้ร้านอาหารและร้านค้ารายย่อยมีเงินทุนในการทำธุรกิจ มีความหวังและกำลังใจในการดำเนินธุรกิจต่อไปได้”

ทั้งนี้ธนาคารฯ ยังสนับสนุนให้ร้านค้าเพิ่มช่องทางการขายได้บน K+ market ในแอป K PLUS ของธนาคารฯ รวมถึงการทำกิจกรรมช่วยโปรโมตร้านผ่านสื่อต่างๆ ของธนาคารฯ และร่วมมือกับเพจออนไลน์ชื่อดัง เพื่อช่วยเพิ่มยอดขายสร้างรายได้ให้แก่ร้านค้า ให้มีสภาพคล่องเพิ่มขึ้นได้อีกทางหนึ่ง

นอกจากโครงการพิเศษดังกล่าวแล้ว ธนาคารฯ ยังขานรับนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทยในการให้ความช่วยเหลือเร่งด่วนแก่ลูกค้าเอสเอ็มอีและลูกค้ารายย่อยที่ต้องปิดกิจการตามมาตรการของทางการ ด้วยการพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ย ระยะเวลา 2 เดือน โดยเริ่มการพักชำระตั้งแต่งวดการชำระหนี้เดือน ก.ค. 2564 เป็นต้นไป เพื่อช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายให้แก่ลูกค้าของธนาคารฯ

สำหรับร้านอาหารและร้านค้ารายย่อยที่สนใจเข้าร่วมโครงการ “เงินกู้สู้ไปด้วยกัน” สามารถสมัครได้ตั้งแต่วันนี้ถึง 15 ส.ค. 2564 ดูรายละเอียดเพิ่มเติมและสมัครได้ที่ www.kasikornbank.com และสำหรับลูกค้าเอสเอ็มอีที่ต้องการเข้าร่วมมาตรการพักชำระหนี้ สามารถติดต่อได้ที่ผู้ดูแลความสัมพันธ์ลูกค้า หรือ K-BIZ Contact Center 02-888-8822 และลูกค้ารายย่อย ติดต่อได้ที่ K-Contact Center 02-888-8888 หรือช่องทางไลน์ KBank Live ตั้งแต่วันที่ 19 ก.ค. – 31 ส.ค. 2564

BBL ช่วยพักชำระหนี้ 2 เดือน

ธนาคารกรุงเทพ จัดมาตรการด่วนตามแนวทางของธปท. พักชำระหนี้ 2 เดือน ช่วยลูกค้าผู้ประกอบการเอสเอ็มอี และลูกค้ารายย่อย ที่ต้องปิดกิจการจากมาตรการของทางการ เปิดหลากหลายช่องทางติดต่อ โดยเฉพาะการลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ www.bangkokbank.com และโมบายแบงก์กิ้ง จากธนาคารกรุงเทพ ตั้งแต่วันที่ 19 ก.ค. ถึง 15 ส.ค. 2564 สำหรับมาตรการให้ความช่วยเหลือก่อนหน้ายังคงพร้อมเช่นเดิม จนถึง 31 ธ.ค. 64

ลูกค้าที่สามารถเข้าร่วมมาตรการนี้ เป็นได้ทั้งลูกค้าสินเชื่อธุรกิจเอสเอ็มอี และลูกค้าสินเชื่อรายย่อย ที่ได้รับผลกระทบจากการปิดกิจการและอยู่ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ตามคำสั่งของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) ซึ่งเบื้องต้นออกประกาศจำนวน 10 จังหวัด ประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร นครปฐม นราธิวาส นนทบุรี ปทุมธานี ปัตตานี ยะลา สมุทรปราการ สมุทรสาคร และสงขลา

โดยลูกค้าสามารถติดต่อขอรับความช่วยเหลือได้ที่ สำนักธุรกิจและสาขาธนาคารทั่วประเทศ และบัวหลวงโฟน โทร.1333 หรือ 0 2645 5555 โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อป้องกันความเสี่ยง สามารถลงทะเบียนได้ทางเว็บไซต์ www.bangkokbank.com และ โมบายแบงก์กิ้ง จากธนาคารกรุงเทพ

สำหรับลูกค้าที่ยังสามารถเปิดดำเนินกิจการ แต่ได้รับผลกระทบด้านรายได้ที่ลดลงจากมาตรการควบคุมการระบาดของภาครัฐ ธนาคารพร้อมให้คำปรึกษาและนำเสนอความช่วยเหลือตามความจำเป็นและสอดคล้องกับสถานการณ์ของลูกค้าอย่างเต็มที่

กรุงศรี คอนซูมเมอร์ พักชำระหนี้ 2 เดือน ช่วยลูกค้าบัตรเครดิต

กรุงศรี คอนซูมเมอร์ ผู้ให้บริการด้านบัตรเครดิต และสินเชื่อส่วนบุคคลขานรับนโยบายธนาคารแห่งประเทศไทย ออกมาตรการช่วยเหลือเพิ่มเติม เปิดให้ลงทะเบียนเพื่อขอพักชำระหนี้ 2 เดือน สำหรับลูกค้าที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากมาตรการป้องกันควบคุมโรค ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงสุด 10 จังหวัด หวังช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของลูกค้าบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลที่ได้รับผลกระทบ

มาตรการนี้ เป็นการพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ยนานสูงสุด 2 รอบบัญชี โดยต้องลงทะเบียนเพื่อขอเข้าร่วมมาตรการ สำหรับสมาชิกบัตรเครดิต และลูกค้าสินเชื่อส่วนบุคคลของกรุงศรี คอนซูมเมอร์ ที่ได้รับผลกระทบโดยตรง เช่น พนักงาน ลูกจ้าง หรือเจ้าของกิจการที่อยู่ในธุรกิจที่ไม่สามารถเปิดให้บริการได้ตามประกาศของศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงสุด 10 จังหวัด หรือได้รับผลกระทบจากธุรกิจที่ไม่สามารถเปิดให้บริการได้ตามประกาศของทางราชการ

โดยสามารถลงทะเบียนเพื่อขอเข้าร่วมมาตรการดังกล่าวได้ ตั้งแต่ 19 กรกฎาคม ถึง 18 สิงหาคม 2564 ทั้งนี้ มาตรการพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ยดังกล่าว เป็นมาตรการช่วยเหลือเพิ่มเติม จากมาตรการช่วยเหลืออื่นๆ ของบริษัท เช่น ลดยอดชำระขั้นต่ำต่อเดือน, ปรับลดอัตราดอกเบี้ยและขยายระยะเวลาผ่อนชำระเป็นกรณีพิเศษ เป็นต้น ซึ่งลูกค้าที่ได้รับผลกระทบ และมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด สามารถติดต่อลงทะเบียนกับบริษัทเพื่อขอเข้าร่วมมาตรการช่วยเหลือเหล่านี้ได้ โดยจะได้รับการพิจารณาเป็นรายกรณี

กรุงไทยก็มาด้วย

กรุงไทย ขานรับแนวทางธปท. เร่งช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ เร่งออกมาตรการพักชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยนาน 2 เดือน เพื่อช่วยลดภาระทางการเงินให้ลูกค้าเอสเอ็มอี และรายย่อยที่ต้องปิดกิจการจากมาตรการควบคุมการระบาดของโควิด-19 แจ้งความประสงค์ได้ตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม 2564 เป็นต้นไป พร้อมมีอีก 7 มาตรการช่วยลูกค้าฝ่าวิกฤต

มาตรการนี้สำหรับลูกค้าธนาคาร ทั้งที่เป็นนายจ้างและลูกจ้างในสถานประกอบการทั้งในพื้นที่ควบคุมฯ และนอกพื้นที่ควบคุมฯ ที่ต้องปิดกิจการจากมาตรการของทางการ เริ่มตั้งแต่งวดการชำระหนี้เดือนกรกฎาคม 2564 เป็นต้นไป โดยหลักเกณฑ์การพิจารณาเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด ทั้งนี้ มาตรการเร่งด่วนเพื่อช่วยลูกค้าเอสเอ็มอี-รายย่อยที่ต้องปิดกิจการจากมาตรการของทางการ สามารถแจ้งความประสงค์ขอรับความช่วยเหลือได้ตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม ถึง 15  สิงหาคม 2564 ที่ธนาคารกรุงไทยทุกสาขา หรือ หน่วยงานที่ดูแลสินเชื่อของท่าน

มาตรการลูกค้าบุคคล 3 มาตรการ ดังนี้

มาตรการที่ 1 สินเชื่อที่อยู่อาศัย และสินเชื่อที่มีที่อยู่อาศัยเป็นหลักประกัน (สินเชื่อ Home for Cash, สินเชื่อ Home Easy Cash, สินเชื่อกรุงไทยบ้านให้เงิน) วงเงินกู้แบบมีกำหนดระยะเวลา (Term Loan) พักชำระเงินต้น ชำระเฉพาะดอกเบี้ยบางส่วน สูงสุด 12 เดือน หรือ ขยายระยะเวลาโดยลดอัตราผ่อนชำระ สูงสุด 12 เดือน หรือ พักชำระเงินต้น โดยชำระเฉพาะดอกเบี้ย สูงสุด 3 เดือน

มาตรการที่ 2 สินเชื่อส่วนบุคคล วงเงินกู้แบบมีกำหนดระยะเวลา (Term Loan) ลดการผ่อนชำระค่างวดลง 30% นานสูงสุด 6 เดือน

มาตรการที่ 3 สินเชื่อวงเงินกู้แบบหมุนเวียน (Revolving Loan) ได้แก่ สินเชื่อกรุงไทยธนวัฏ สินเชื่อกรุงไทยธนวัฏ 5 Plus ปรับเป็นวงเงินกู้แบบมีกำหนดระยะเวลา (Term Loan) ได้นาน 48 งวด หรือตามความสามารถในการชำระหนี้

 มาตรการลูกค้าธุรกิจ 4 มาตรการ ดังนี้

มาตรการที่ 1 มาตรการสินเชื่อฟื้นฟู สินเชื่อสำหรับผู้ประกอบการอัตราดอกเบี้ยพิเศษ 2 ปีแรก ไม่เกิน 2% ต่อปี (อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 5 ปี ไม่เกิน 5% ต่อปี) ผ่อนชำระสูงสุดไม่เกิน 10 ปี ได้รับยกเว้นดอกเบี้ย 6 เดือนแรก รวมทั้งได้รับการค้ำประกันสินเชื่อจากบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) นานสูงสุด 10 ปี

มาตรการที่ 2 มาตรการช่วยเหลือลูกค้าสินเชื่อธุรกิจ SME

·      ลูกค้าที่มีสินเชื่อธุรกิจ วงเงินกู้ไม่เกิน 20 ล้านบาท  สำหรับสินเชื่อประเภท Term Loan  พักชำระเงินต้น ชำระเฉพาะดอกเบี้ยสูงสุด 6 เดือน หรือ ขยายเวลาชำระหนี้สูงสุด 24 เดือน สำหรับสินเชื่อประเภท P/N และTrade Finance  ขยายเวลาชำระหนี้สูงสุด 6 เดือน

·      ลูกค้าที่มีสินเชื่อธุรกิจ วงเงินกู้ 20-500 ล้านบาท สำหรับสินเชื่อประเภท Term Loan พักชำระเงินต้น ชำระเฉพาะดอกเบี้ยสูงสุด 12 เดือน สำหรับสินเชื่อประเภท P/N และTrade Finance ขยายเวลาชำระหนี้สูงสุด 6 เดือน

มาตรการที่ 3 มาตรการพักทรัพย์พักหนี้ เพื่อช่วยเหลือลูกค้าธุรกิจที่มีศักยภาพและมีทรัพย์สินเป็นหลักประกันให้สามารถลดภาระทางการเงินชั่วคราว ในช่วงที่รอให้ธุรกิจฟื้นตัว ด้วยวิธีการโอนทรัพย์ชําระหนี้และให้สิทธิซื้อทรัพย์คืนในอนาคต ในราคารับโอนบวกต้นทุนการถือครองทรัพย์ (Carrying Cost) 1% ต่อปี บวกค่าใช้จ่ายในการดูแลทรัพย์ที่ธนาคารจ่ายตามจริง หักค่าเช่าทรัพย์หลังตีโอนที่ลูกค้าชำระมาแล้ว

มาตรการที่ 4 โครงการ DR BIZ การเงินร่วมใจ ธุรกิจไทยมั่นคง สำหรับลูกค้าธุรกิจที่มีวงเงินสินเชื่อรวมทุกสถาบันการเงิน 50-500 ล้านบาท โดยพิจารณาตามความสามารถและศักยภาพของลูกค้า เช่น ปรับลดการผ่อนชำระ ยืดระยะเวลาผ่อนชำระหนี้ ตลอดจนการเสริมสภาพคล่องให้กับลูกค้าที่มีแผนธุรกิจชัดเจนภายใต้หลักเกณฑ์การพิจารณาของธนาคาร

สำหรับลูกค้าที่สนใจศึกษาข้อมูลมาตรการช่วยเหลือของธนาคารที่ www.krungthai.com/link/covid-19 หรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ธนาคารกรุงไทยทุกสาขา หน่วยงานที่ดูแลสินเชื่อของท่าน หรือ Krungthai Contact Center 02-111-1111

]]>
1342670
Grab เดินเกมรุก ‘ไฟเเนนซ์’ ให้สินเชื่อร้านค้า-ไรเดอร์ ผ่อน 0% ขยายจับ ‘บุคคลทั่วไป’ ในอนาคต https://positioningmag.com/1337959 Mon, 21 Jun 2021 11:53:05 +0000 https://positioningmag.com/?p=1337959 เป็นที่ทราบกันดีว่า แอปพลิเคชันฟู้ดเดลิเวอรี่ยักษ์ใหญ่อย่าง ‘Grab’ (เเกร็บ) วางโพสิชันตัวเองไว้เป็น ‘Super App’ รวมบริการหลายอย่างไว้ในที่เดียว หนึ่งในนั้นก็คือบริการทางการเงินเเละในปีนี้ก็ได้เห็นกลยุทธ์ขับเคลื่อนด้านสินเชื่อเด่นชัดขึ้น พร้อมเตรียมขยายจับ ‘บุคคลทั่วไปในอนาคต

วรฉัตร ลักขณาโรจน์ กรรมการผู้จัดการ แกร็บ ไฟแนนเชียล กรุ๊ป ประเทศไทย เล่าว่า ปีที่ผ่านมาเป็นช่วงเวลาที่ท้าทายของผู้ประกอบการร้านอาหารเเละพาร์ตเนอร์คนขับอย่างมาก เมื่อเจอวิกฤตเศรษฐกิจทำให้รายได้ลดลง ขาดเงินทุนพยุงธุรกิจ เหล่านี้ทำให้ความต้องการสินเชื่อเพิ่มขึ้นตามไปด้วย แม้ภาพรวมของอุตสาหกรรมจะมีการชะลอตัวของยอดสินเชื่อใหม่

Grab มีไรเดอร์ (คนขับ) ผู้จัดส่งอาหารและพัสดุ และพาร์ตเนอร์ร้านค้า รวมกว่า 4 แสนราย ในจำนวนนี้ใช้บริการสินเชื่อ แกร็บไฟแนนซ์ รวมกัน 1 เเสนราย ประมาณ 80% เป็นพาร์ตเนอร์คนขับ ผู้จัดส่งอาหารและพัสดุ และอีก 20% เป็นพาร์ตเนอร์ร้านค้า

โดยสินเชื่อที่ Grab นำเสนอให้พาร์ตเนอร์คนขับและร้านค้า เป็นสินเชื่อเงินสดระยะสั้นระยะเวลาผ่อนชำระ 3-6 เดือน มีวงเงินสูงสุด 1 เเสนบาท อัตราดอกเบี้ยลดต้นลดดอกสูงสุด 33% ต่อปี ตามข้อกำหนดของธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งอัตราดอกเบี้ยดังกล่าว จะขึ้นอยู่กับรายละเอียดและเงื่อนไขการกู้ของพาร์ตเนอร์ร้านค้า

ปัจจุบัน Grab ให้บริการสินเชื่อใน 2 รูปแบบ ได้เเก่

  • สินเชื่อเงินสดสำหรับร้านค้า

ในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่มียอดกู้เฉลี่ย 7 หมื่น – 1 เเสนบาท พิจารณาวงเงินผ่าน Credit Scoring จากข้อมูลใน Grab เริ่มเปิดให้บริการในเดือนม.. 64 โดยร้านค้าสามารถเลือกว่าจะผ่อนเป็นรายวัน หรือจะผ่อนเป็นรายเดือนก็ได้ ซึ่งที่ผ่านมาพบว่า มีหลายร้านเลือกผ่อนรายวันเพราะเป็นเงินจำนวนไม่มาก พอหมุนได้ในหลักร้อย

“เรากำลังเตรียมนำเสนอบริการผ่อนชำระสินค้ารายวัน 0% แก่พาร์ตเนอร์ร้านค้าภายในสิ้นเดือนมิ.ย.นี้ เพื่อสนับสนุนร้านอาหารในการต่อยอดธุรกิจ แบ่งเบาภาระการลงทุนอุปกรณ์ต่างๆ”

  • สินเชื่อรายย่อยสำหรับไรเดอร์

จุดเด่นของสินเชื่อนี้ คือจะคล้ายกับการผ่อน 0%’ ของบัตรเครดิต เเต่จะเจาะกลุ่มไรเดอร์โดยเฉพาะ เพราะหลายคนมีความต้องการอยากซื้อสินค้าต่างๆ เเต่เข้าถึงบัตรเครดิตยาก เพราะไม่มีสลิปเงินเดือน เเต่ Grab มีข้อมูลรายได้ของไรเดอร์ช่วยประเมินสถานะการกู้ได้

เป็นสินเชื่อผ่อนของที่ไรเดอร์สามารถซื้อมือถือและเครื่องใช้ไฟฟ้ายี่ห้อต่างๆ ที่ Grab หามาให้บริการ โดยคิดดอกเบี้ย 0% ระยะเวลาการผ่อน 3-6 เดือน ในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่มียอดกู้เฉลี่ย 1-2 หมื่นบาทตามราคาสินค้า โดยไรเดอร์นิยมซื้อเครื่องปรับอากาศ สมาร์ทโฟนเเละทีวี

ใช้ AI คำนวณสินเชื่อ 

ข้อได้เปรียบของ Grab นอกจากมีจำนวนไรเดอร์เเละร้านค้าจำนวนมากเเล้ว นั่นก็คือ การคำนวณวงเงินสินเชื่อด้วย AI วิเคราะห์ข้อมูลด้านต่างๆ เป็น ‘Data Driven Lending’ อุดช่องว่างของธนาคารที่ต้องใช้หลักทรัพย์ค้ำประกันหรือหลักฐานยืนยันรายได้ที่เเน่นอน 

โดย Credit Scoring เป็นส่วนสำคัญที่มีผลต่อการปล่อยสินเชื่อ รวมไปถึงชั่วโมงการทำงาน พฤติกรรม และรายได้ที่ได้จากบริษัท เพื่อหาวงเงินสูงสุดที่เหมาะสมให้ผู้กู้ เป็นระบบที่ช่วยให้คนทําดี ได้ดี

เมื่อถามถึงความเสี่ยงด้านการชำระหนี้ เขามองว่าไรเดอร์หลายคนไม่ได้ทำงานนี้เป็นประจำก็จริง เเต่ยอดเงินกู้ไม่ได้สูงมาก ไม่คุ้มที่จะสูญเสียช่องทางรายได้ ถ้าวงเงินเป็นล้าน เราคงไม่ได้ปล่อยกู้

แกร็บไฟแนนซ์ เตรียมจะขยายบริการครอบคลุมทุกจังหวัดที่ Grab ให้บริการจากที่ผ่านมากระจุกในจังหวัดใหญ่เเละจะทยอยเพิ่มสินค้าในรายการผ่อนให้มากขึ้นเพื่อเพิ่มทางเลือกให้ลูกค้า

ปีนี้เราไม่ได้ตั้งเป้าเป็นตัวเลขว่าคนจะเข้ามาใช้บริการสินเชื่อเท่าไหร่ เเต่หวังว่าจะเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่ช่วยให้ผ่านพ้นวิกฤตนี้ไปด้วยกัน

สร้าง Loyalty ภายใน เตรียมขยายสู่ ‘ภายนอก’ 

สำหรับ แกร็บ ไฟแนนเชียล กรุ๊ปเป็นกลุ่มธุรกิจที่แกร็บตั้งขึ้นมาตั้งแต่ปี 2561 มีเป้าหมายให้บริการด้านการเงินเเบบครบวงจร ผ่าน 4 บริการหลัก ได้แก่

Grab Pay – ระบบจ่ายเงินให้ไรเดอร์ ร้านอาหาร เเละอีวอลเล็ตของผู้ใช้
Grab Insure – ให้บริการประกันต่างๆ เป็น micro insurance
Grab Finance – ให้บริการสินเชื่อนาโนไฟแนนซ์ เเละ Credit Score
Grab Invest – บริการเงินฝากการลงทุน

ในปีหน้า Grab เราจะขยายไปด้านเงินฝาก เเละการให้คำปรึกษาด้านการลงทุน เพื่อให้ครอบคลุมบริการทางการเงินทุกด้าน

โดยรายได้จากดอกเบี้ยต่างๆ มีเเนวโน้มจะเติบโตเรื่อยๆ จากตลาดที่เติบโตขึ้น ความต้องการบริการทางการเงินที่มากขึ้น ซึ่งในอนาคตจะกลายมาเป็นหนึ่งในรายได้หลักของ Grab 

นอกจากนี้ การออกสินเชื่อให้ไรเดอร์เเละร้านอาหาร ยังเป็นการสร้าง  ‘Loyalty’ ต่อเเบรนด์ กระตุ้นให้คนต้องขยันทำงานมากขึ้น สร้างรายได้มากขึ้น พร้อมทั้งยังต้องมีพฤติกรรมที่ดียกระดับบริการให้ถูกใจลูกค้า เพื่อไม่ให้เสียเครดิตเพื่อยื่นกู้เงิน

แกร็บไฟแนนซ์ ยังคงให้บริการเฉพาะกับไรเดอร์และร้านค้าในระบบ แต่ในอนาคตหวังว่าจะให้บริการกับบุคคลทั่วไปภายนอกได้

ต้องจับตามองว่าธุรกิจไฟแนนซ์ของ Grab จะขยายไปในทิศทางใด เเม้ทางผู้บริหารจะยืนยันว่า ตอนนี้ไม่ได้ตั้งใจจะมุ่งเเข่งขันในตลาดสินเชื่อ Non-Bank ก็ตาม….

 

]]>
1337959
โลมาผงาด! ‘ดอลฟิน’ ผนึก KBank ปล่อยกู้ 3 พันล้าน ชิงความได้เปรียบสงคราม e-Wallet https://positioningmag.com/1307624 Wed, 25 Nov 2020 12:01:01 +0000 https://positioningmag.com/?p=1307624 ให้บริการมาได้แค่ปีนิด ๆ สำหรับ ‘ดอลฟิน (Dolfin)’ อี-วอลเลตน้องใหม่แต่มีพ่อ-แม่ใหญ่อย่าง ‘กลุ่มเซ็นทรัล’ และ ‘กลุ่มเจดี ดอทคอม (JD.com)’ บริษัทอีคอมเมิร์ซรายใหญ่ของจีนร่วมลงทุนถึง 8,000 ล้านบาท โดยปัจจุบันดอลฟินมีผู้ใช้กว่า 2 ล้านรายเลยทีเดียว

ท้าชนทุกแพลตฟอร์มด้วยการ ‘ปล่อยกู้’

ประกาศชัดไปตั้งแต่ช่วง 5 เดือนก่อนว่าจะมีบริการใหม่ในช่วงสิ้นปีนอกเหนือจาก ‘เพย์เมนต์’ ที่เปรียบเสมือนเป็นเครื่องมือทำให้รู้จักลูกค้า และล่าสุดก็ไม่ทำผิดสัญญา โดยได้ก้าวขาเข้ามาสู่บริการ ‘ปล่อยเงินกู้ (loan)’ เต็มตัวโดยได้ร่วมกับ ‘เคแบงก์’ ในการให้บริการ ‘ดอลฟิน มันนี่ จากธนาคารกสิกรไทย (Dolfin Money | KBank)’ สินเชื่อส่วนบุคคลบนดิจิทัลแพลตฟอร์ม ผ่านแอป Dolfin โดย ‘รุ่งเรือง สุขเกิดกิจพิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท เซ็นทรัล เจดี ฟินเทค โฮลดิ้ง’ ระบุว่า เจ้าของเงินที่ปล่อยกู้คือ ‘เคแบงก์’ แต่ใช้เทคโนโลยีและดาต้าผู้ใช้งานดอลฟินที่มีกว่า 2 ล้านราย และจากอีโคซิสเต็มส์ของเครือเซ็นทรัล โดยเฉพาะ ‘The 1Card’ ที่ปัจจุบันมีผู้ใช้กว่า 18 ล้านรายมาช่วยในการวิเคราะห์เพื่อปล่อยสินเชื่อ

“เคแบงก์เป็นเจ้าของเงิน แต่เรามีเทคโนโลยีมีข้อมูลที่ช่วยให้เลือกลูกค้าที่มีความเสี่ยงต่ำได้ โดยเรามั่นใจว่ายอดหนี้เสีย (NPL) ของเราจะต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของตลาด 3.95%”

ทั้งนี้ ลูกค้าสามารถลูกค้าเข้าถึงวงเงินสินเชื่อได้ผ่านแอปพลิเคชัน Dolfin โดยไม่ต้องใช้หลักประกัน ไม่ต้องส่งเอกสารแสดงรายได้ สามารถสมัครง่ายได้ทุกที่ ทุกเวลา รู้ผลอนุมัติเร็วสุดใน 5 นาที และพร้อมใช้วงเงินได้ทันที โดยสามารถโอนเข้าบัญชี เบิกถอนเงินสดผ่านตู้เคแบงก์ หรือจะใช้จ่ายช้อปปิ้งกับร้านค้าชั้นนำในเครือเซ็นทรัลและร้านค้าพันธมิตรได้ทันที

ดิจิทัลเลนดิ้งมีสัดส่วนเพียง 0.2%

นายพัชร สมะลาภา กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย ระบุว่า ธุรกิจสินเชื่อบุคคลผ่านช่องทางดิจิทัลมีโอกาสเติบโตอีกมาก โดย ณ ไตรมาส 2 ปี 2563 ภาพรวมตลาดสินเชื่อบุคคลในประเทศไทยที่อนุมัติผ่านสถาบันการเงิน และผู้ให้บริการทางการเงินที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน (non-bank) มีจำนวน 428,000 ล้านบาท เป็นสินเชื่อในช่องทางดิจิทัลเพียง 12,000 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 0.2 ของสินเชื่อบุคคลทั้งหมดในตลาด

ขณะที่ปัจจุบัน ฐานข้อมูลของลูกค้ามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และเทคโนโลยีในการวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้ามีการพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ ส่งผลให้การพิจารณาสินเชื่อสามารถประเมินผู้ขอสินเชื่อได้จากข้อมูลอื่น ๆ นอกเหนือจากข้อมูลรายได้ เช่น ข้อมูลด้านการใช้จ่ายต่าง ๆ ผ่านช่องทางดิจิทัล เพื่อประเมินความสามารถหรือความเต็มใจในการชำระหนี้

“แบงก์ปล่อยกู้ให้กับลูกค้าที่ไม่รู้จักน้อยมาก โดยเฉลี่ยมีเพียง 30% ที่ได้รับอนุมัติ ดังนั้น เมื่อเรากำลังเข้าไปในตลาดที่ไม่รู้ว่าพฤติกรรมการใช้เงินเป็นอย่างไร การร่วมกับดอลฟินที่มีข้อมูลลูกค้า เพื่อให้ K-Bank สามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าใหม่ ๆ ได้ ดังนั้น ใครเลือกเก่งก็ไม่เจ๊ง ใครเลือกไม่เก่งก็ลำบากไป

นายพัชร สมะลาภา กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย (ซ้าย), รุ่งเรือง สุขเกิดกิจพิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท เซ็นทรัล เจดี ฟินเทค โฮลดิ้ง (ขวา), นายญนน์ โภคทรัพย์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำกัด (กลาง)

วางเป้าปล่อย 3,000 ล้าน ผู้กู้ 1 แสนราย

รุ่งเรือง กล่าวว่า เป้าหมายใน 1 ปีของดอลฟิน มันนี่ คือ ปล่อยกู้ได้ 1 แสนราย ยอดเงินรวม 3,000 ล้านบาท ส่วนผู้ใช้งานดอลฟินคาดว่าจะเติบโตเป็น 4 ล้านราย โดยนอกจากจะมีดอลฟิน มันนี่ที่ช่วยดึงดูดให้มีผู้ใช้เพิ่มขึ้นแล้ว ดอลฟินเตรียมเปิดบริการใหม่ ๆ เพิ่มเติมอีกตามแผนที่จะมีบริการอย่าง การขายประกัน (insurance) และ การจัดการสินทรัพย์ (Asset Management)

“เราหวังว่าจะปล่อยกู้ได้ประมาณ 3,000 ล้านบาท โดยเชื่อว่า 80% จะใช้เป็นเงินสด ส่วนอีกประมาณ 20% มีโอกาสที่จะกู้เพื่อใช้ซื้อสินค้าในเครือเซ็นทรัล แต่เรามองว่าเป็นผลพลอยได้มากกว่า ไม่ได้คาดหวังขนาดนั้น”

ยืนยัน เงินสด คือคู่แข่งเบอร์ 1

สำหรับแบงก์เราไม่ได้มองเป็นคู่แข่งแต่มองเป็นพาร์ตเนอร์ อย่างการปล่อยเงินกู้ เราทำเองได้แต่ไม่คิดจะทำเอง และเราไม่ได้ปิดกั้นว่าจะต้องจับกับเคแบงก์รายเดียว หรือเคแบงก์ไม่จำเป็นต้องเป็นพันธมิตรเพียงรายเดียว โดยดอลฟินยินดีเปิดรับพาร์ตเนอร์ใหม่ ๆ หรือแบงก์อื่น ๆ ที่จะมาปล่อยเงินกู้ผ่านดอลฟิน เพราะแต่ละธนาคารมีเป้าหมายไม่เหมือนกัน

ขณะที่ส่วนของผู้ให้บริการอีวอลเลตรายอื่น ๆ เราก็ไม่ได้มองใครเป็นศัตรู เพราะศัตรูที่เราแข่งอยู่คือ ‘เงินสด’ ตอนนี้ไทยมีการใช้ e-payment ไม่ถึง 3% ดังนั้น ผู้เล่นในตลาดทุกรายยังต้องวิ่งตามหาความฝัน ดังนั้น ตอนนี้มองว่ายังเป็นช่วงเริ่มต้นสร้างอีโคซิสเต็มส์ของตัวเอง จนกว่าจะถึงวันที่ไทยกลายเป็นสังคมไร้เงินสดถึงจะเป็นช่วงต้องแข่งขัน

“ปัจจุบันภาครัฐก็ผลักดันเต็มที่ทั้งมีพร้อมเพย์ หรือแอปเป๋าตัง ซึ่งมันผลักดันให้ประชาชนชิน แต่เมื่อผู้บริโภคใช้จนเป็นเรื่องปกติแล้ว เขาจะเลือกใช้ใครก็ต้องดูว่าใครให้อะไรเขา จุดรับชำระมีเยอะไหม สิทธิประโยชน์อะไรที่เขาจะได้”

สำหรับ ‘ดอลฟิน มันนี่ จากธนาคารกสิกรไทย (Dolfin Money | KBank)’ เริ่มให้บริการตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค. 2563 เป็นต้นไป ทั้งนี้ สินเชื่อที่ได้จะเป็นวงเงินพร้อมใช้ หากไม่ใช้วงเงินไม่เสียดอกเบี้ย ฟรีค่าธรรมเนียม ไม่ต้องพกบัตร ใช้วงเงินได้ทันทีผ่านแอป Dolfin และ K PLUS ลูกค้าที่ได้รับอนุมัติสินเชื่อฯ และใช้สินเชื่อดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค. 2563 จนถึง 31 ม.ค. 2564 จะได้รับอัตราดอกเบี้ยพิเศษ 0% นาน 30 วัน นับจากวันที่ได้รับอนุมัติสินเชื่อฯ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ K-Contact Center โทร. 02-888-8888 ต่อ 814 หรือ ศูนย์บริการลูกค้า Dolfin โทร. 02-255-5959 ต่อ 2 หรือ https://bit.ly/3601BPA

]]>
1307624
“ออมสิน” เตรียมปล่อยกู้ไม่วิเคราะห์รายได้ วงเงิน 3,000 ล้านบาท ให้วงเงินสูงสุด 10 ล้าน https://positioningmag.com/1303928 Sun, 01 Nov 2020 16:28:32 +0000 https://positioningmag.com/?p=1303928 ธนาคารออมสิน จับมือสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ผนึกกำลังช่วย SMEs ภาคการท่องเที่ยว ปล่อยกู้ไม่วิเคราะห์รายได้ วงเงิน 3,000 ล้านบาท

วิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยถึงกรณีที่ผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs ภาคการท่องเที่ยวประสบปัญหาสภาพคล่องเนื่องจากขาดรายได้ แต่ยังไม่สามารถเข้าถึงแหล่งทุนที่จะใช้ประคับประคองกิจการให้ดำเนินต่อได้ เนื่องจากข้อจำกัดของเงื่อนไขกระบวนการปล่อยสินเชื่อที่ต้องมีการวิเคราะห์รายได้ และพิจารณาภาระของผู้กู้ เป็นต้น

เพื่อปลดล็อกดังกล่าวให้แก่ผู้ประกอบการ โดยเฉพาะธุรกิจ SMEs ภาคการท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบรุนแรง ธนาคารออมสิน จึงร่วมกับสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เดินหน้าเร่งให้ความช่วยเหลือ

โดยจัดสรรวงเงิน 3,000 ล้านบาท ตามโครงการ “สินเชื่อ SMEs มีที่ มีเงิน” ให้ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยว สามารถนำที่ดินมาเป็นหลักประกันการกู้ด้วยเงื่อนไขผ่อนปรน

กล่าวคือ ธนาคารจะไม่พิจารณาภาระผู้กู้ และไม่วิเคราะห์รายได้ โดยพร้อมให้กู้สูงถึง 70% ของราคาประเมินที่ดินของทางราชการ ให้วงเงินกู้สูงสุด 10 ล้านบาทสำหรับบุคคลธรรมดา และ 50 ล้านบาทสำหรับนิติบุคคล ในอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ 5.99% ต่อปี ให้ผู้กู้มาไถ่ถอนที่ดินคืนเมื่อไหร่ก็ได้ที่พร้อม ภายในเวลา 3 ปี

ซึ่งการที่ธนาคารออมสินได้รับการสนับสนุนให้สามารถปล่อยกู้ด้วยเงื่อนไขผ่อนปรน เชื่อว่าจะช่วยผู้ประกอบการท่องเที่ยวที่เดือดร้อนจากผลกระทบการระบาด COVID-19 ให้ได้รับวงเงินกู้ไปหมุนเวียนประคับประคองกิจการต่อไป

Source

]]>
1303928