ธุรกิจการบิน – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 19 Dec 2023 07:22:30 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 หลายบริษัทลด “การเดินทางเพื่อธุรกิจ” ลงแม้หลังโควิด-19 ผ่านพ้น ช่วยลดการปลดปล่อยคาร์บอน https://positioningmag.com/1456185 Tue, 19 Dec 2023 03:17:33 +0000 https://positioningmag.com/?p=1456185 เกือบครึ่งหนึ่งของบริษัทระดับโลก 217 แห่งลด “การเดินทางเพื่อธุรกิจ” ลงระหว่างปี 2019-2022 ช่วยลดการปลดปล่อยคาร์บอนลงได้อย่างน้อย 50% แม้หลังผ่านโควิด-19 การเดินทางเพื่อธุรกิจก็ยังฟื้นตัวอย่างช้าๆ เมื่อเทียบกับการเดินทางเพื่อการพักผ่อน

แม้การเดินทางในโลกนี้จะฟื้นตัวขึ้นอย่างมาก แต่หากเจาะลึกไปในกลุ่ม “การเดินทางเพื่อธุรกิจ” กลุ่มนี้ยังฟื้นตัวอย่างช้าๆ เนื่องจากลูกค้าองค์กรจำนวนมากเปลี่ยนมาใช้ระบบประชุมผ่านวิดีโอคอนเฟอเรนซ์แทน หรือเดินทางด้วยรถไฟแทนการขึ้นเครื่องบินซึ่งช่วยลดการปล่อยคาร์บอนได้มากกว่า

Transport and Environment กลุ่มรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า ในทศวรรษนี้เราจำเป็นต้องลดการเดินทางเพื่อธุรกิจลง 50% เทียบกับก่อนโควิด-19 เพื่อช่วยลดภาวะโลกร้อนลงให้ได้ 1.5 องศาเซลเซียส

รายงานวิเคราะห์จาก Travel Smart Emissions Tracker พบว่า บริษัทสากลหลายบริษัท เช่น SAP บริษัทเทคโนโลยี, PwC บริษัทที่ปรึกษา หรือ Lloyd บริษัทด้านการธนาคาร ทั้งหมดมีการลดการปล่อยคาร์บอนจากการเดินทางเพื่อธุรกิจลงได้มากกว่า 75% เทียบกับปี 2019

“หนทางในอนาคตคือจะต้องมีการประชุมออนไลน์ให้มากขึ้น เดินทางด้วยรถไฟมากขึ้น และลดการเดินทางด้วยเครื่องบิน” Denise Auclair ผู้จัดการแคมเปญรณรงค์ Travel Smart กล่าวในแถลงการณ์

อย่างไรก็ตาม รายงานฉบับนี้พบด้วยว่ามี 21 บริษัทจาก 217 แห่งที่ “บิน” มากกว่าปี 2019 ไปแล้ว เช่น Marriott International, Boston Scientific, L3Harris บริษัทเหล่านี้มีการปล่อยคาร์บอนเฉลี่ยมากกว่าปี 2019 ถึง 69%

วิดีโอคอนเฟอเรนซ์กลายเป็นตัวเลือกทดแทนการเดินทางเพื่อธุรกิจ พบปะออนไลน์แทนการเจอตัวจริง

บรรดาสายการบินมองว่าการลดการบินเพื่อเดินทางธุรกิจอาจจะทำร้ายธุรกิจของพวกเขาและการเติบโตทางเศรษฐกิจได้ แต่เนื่องจากกลุ่มนักเดินทางเพื่อการพักผ่อนกลับมาฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งในช่วงหลังโรคระบาด ทำให้สายการบินคลายความกังวลลง

ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้มีการสำรวจร่วมกันระหว่าง American Express Global Business Travel และ Harvard Business Review เผยแพร่เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา พบว่า 84% ขององค์กรมองว่าทริปการเดินทางเพื่อพบเจอตัวจริงกันนั้นยังสำคัญและมีคุณค่ากับธุรกิจ

สำหรับสายการบินอเมริกันในช่วงก่อนเกิดโรคระบาดนั้น  การเดินทางเพื่อธุรกิจถือเป็นผู้โดยสารกลุ่มสำคัญ มีสัดส่วนถึงครึ่งหนึ่งของรายได้สายการบิน เพราะสายการบินเหล่านี้สามารถขายที่นั่งแบบพรีเมียมที่ได้กำไรดีกว่าได้ และยังเติมที่นั่งในเที่ยวบินวันธรรมดาให้เต็มมากขึ้นได้ด้วย

ส่วนในทวีปยุโรป สายการบินใหญ่ เช่น Air France เริ่มเปลี่ยนกลยุทธ์มาเสนอขายที่นั่งพรีเมียมให้กับนักเดินทางเพื่อการพักผ่อนทดแทนผู้โดยสารเชิงธุรกิจที่ลดลง

ประเด็นนี้ยังเป็นที่ถกเถียงผลดีผลเสีย เพราะบริษัทที่ทำธุรกิจด้านการเดินทางเพื่อธุรกิจมองว่าเทรนด์นี้จะทำให้ความสัมพันธ์เชิงธุรกิจของบริษัทต่างๆ อ่อนแอลง แต่กลุ่มนักรณรงค์เพื่อสิ่งแวดล้อมมองว่า เทรนด์นี้คือก้าวสำคัญในการลดการปล่อยคาร์บอนของโลก

Source

]]>
1456185
“พาที สารสิน” ก่อตั้งสายการบิน “Really Cool” เปิดใจหวนคืนวงการเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง https://positioningmag.com/1424401 Wed, 22 Mar 2023 06:58:23 +0000 https://positioningmag.com/?p=1424401 เปิดใจการกลับมาของ “พาที สารสิน” ในวงการธุรกิจการบิน ก่อตั้ง “Really Cool Airlines” จากแรงบันดาลใจที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรม เตรียมบินไฟลท์ปฐมฤกษ์เดือนธันวาคมนี้ วางตำแหน่งทางการตลาดเป็น “ไลฟ์สไตล์ ฟูลเซอร์วิส” บินเฉพาะเส้นทางพิสัยไกล เช่น ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ จีน ออสเตรเลีย ยุโรป

“พาที สารสิน” ออกจากวงการธุรกิจการบินไปเมื่อปี 2560 หลังลงจากตำแหน่งซีอีโอ “นกแอร์” ผ่านไป 6 ปี พาทีในวัย 60 ปีกลับมาอีกครั้งกับการก่อตั้งสายการบินแห่งใหม่ในชื่อ “Really Cool Airlines” หวังตีตลาดเส้นทางบินพิสัยไกลทั่วโลก

“การออกจากวงการครั้งนั้น ไม่เคยคิดว่าจะกลับมาในธุรกิจการบินอีก เพราะธุรกิจนี้ยากมาก มีความท้าทายสูง” พาทีกล่าวในงานเปิดตัวสายการบิน Really Cool Airlines ที่ชั้น 5 เอ็มควอเทียร์

แต่สาเหตุที่ได้หวนคืนกลับมาเพราะเมื่อ 2-3 ปีก่อน พาทีมีโอกาสเป็นที่ปรึกษาให้กับเพื่อนคนหนึ่ง คือ นัตดา บุรณศิริ อดีตประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายการบินไทยแอร์เอเชีย เอ็กซ์ ในช่วงที่สายการบินต้องปรับโครงสร้างกิจการ

เมื่อได้เข้าไปคลุกคลีกับวงการการบินอีกครั้ง ประกอบกับเกิดโควิด-19 ทำให้เห็นโอกาสที่จะเข้าไปสร้างความเปลี่ยนแปลงในวงการด้วยสายการบินใหม่ โดยเป็นไอเดียร่วมกับคุณนัตดาที่จะเริ่มต้นใหม่ด้วยกัน เริ่มคิดวางแผนก่อตั้งบริษัทเมื่อเดือนมิถุนายน 2565

โชคร้ายที่นัตดา บุรณศิริเสียชีวิตไปเมื่อเดือนกรกฎาคมปีก่อน แต่พาทีเลือกที่จะสานต่อความตั้งใจที่มีร่วมกัน และเปิดตัว Really Cool Airlines ในวันนี้

Really Cool สายการบิน
พาที สารสิน ซีอีโอ สายการบิน Really Cool Airlines

พาทีกล่าวว่า สายการบิน Really Cool มีผู้ถือหุ้นเป็นคนไทยทั้งหมด โดยตนถือหุ้น 51% ส่วนที่เหลือเป็นเพื่อนๆ ที่รู้จักกันจากหลายวงการ ส่วนใหญ่เป็นคนที่ไม่เคยทำธุรกิจการบินมาก่อน แต่มองเห็นเป้าหมายร่วมกันว่าสายการบินจะสามารถดึงเม็ดเงินภาคการท่องเที่ยวเข้าประเทศได้ และมีแพสชันที่จะสร้างธุรกิจที่เป็น “นวัตกรรม” ใหม่ของอุตสาหกรรม มองมากกว่ากำไรขาดทุน

“โควิด-19 จบ ทุกคนกลับไปทำตาม norm ปกติที่เคยทำมา ไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมนี้” พาทีกล่าว “แต่จริงๆ วงการนี้ท้าทายมาก และมีรูโหว่ให้เราอุดอีกมาก เช่น ถ้าเครื่องบินมีปัญหาขึ้นบินไม่ได้ เราจะแก้ไขอย่างไรไม่ให้กระทบผู้โดยสาร หรือการวางแผนเฮดจ์ราคาน้ำมันจะทำอย่างไรให้แม่นยำขึ้น”

 

Really Cool สายการบินพิสัยไกลสุดคูล

คอนเซปต์ของ Really Cool Airlines จะเป็นสายการบินที่อยู่กึ่งกลางระหว่างโลว์คอสต์กับพรีเมียม โดยพาทีให้นิยามว่าเป็นสายการบินแบบ “ไลฟ์สไตล์ ฟูลเซอร์วิส” โดยเข้ามาจับกลุ่มนี้เพราะในตลาดยังมีสายการบินระดับนี้น้อย Really Cool สามารถสร้างความแตกต่างได้

เส้นทางบินจะเน้นเฉพาะเส้นทางต่างประเทศและเน้นการบินพิสัยไกล แย้มว่าเส้นทางแรกๆ ที่วางไว้คือ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ จีน ออสเตรเลีย และยุโรป (ปารีส) โดยพาทีตัดสินใจที่จะทำธุรกิจการบินระหว่างประเทศ เพราะมองว่าผู้โดยสารส่วนใหญ่ 70% เป็นนักท่องเที่ยวขาเข้า (inbound) จากต่างประเทศ

Really Cool สายการบิน

คำว่า Really Cool ที่เป็นชื่อสายการบินจึงตั้งมาเพื่อสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นคนต่างชาติ เข้าใจ ‘ฟีลลิ่ง’ ของคำนี้ และเป็นคำที่ชัดเจนในการทำงานว่าอะไรก็ตามที่ไปถึงลูกค้าไม่ว่าจะเป็นการบริการ อาหาร เครื่องดื่ม ฯลฯ จะต้อง “สุดคูล” จริงๆ

“เราไม่ได้คาดหวังว่าเราจะเป็นสายการบินที่ดีที่สุดของวงการ แต่เราจะเป็นสายการบินที่มีนวัตกรรมก้าวหน้ามากที่สุด” พาทีกล่าว

เราไม่ได้คาดหวังว่าเราจะเป็นสายการบินที่ดีที่สุดของวงการ แต่เราจะเป็นสายการบินที่มีนวัตกรรมก้าวหน้ามากที่สุด

 

ปฐมฤกษ์ธันวาคมนี้ ใช้เครื่อง A330

เบื้องต้นสายการบิน Really Cool จะมีฟลีตทั้งหมด 4 ลำ แบ่งเป็นเฟสแรกปีนี้ 2 ลำ และต้นปีหน้าเข้ามาอีก 2 ลำ ทั้งหมดเป็นเครื่องเช่าจาก Airbus รุ่น A330 ที่เหมาะกับการบินพิสัยกลางถึงไกล

ไทม์ไลน์หลังจากนี้ เดือนเมษายนจะเริ่มมีการทำการตลาดเพื่อให้เห็นนวัตกรรมใหม่ๆ ของสายการบิน ตามด้วยเดือนมิถุนายนเริ่มรับสมัครกัปตันและลูกเรือ คาดว่าจะได้ใบรับรองผู้ดำเนินการอากาศ (AOC) ภายในเดือนตุลาคมนี้ และเที่ยวบินปฐมฤกษ์น่าจะเริ่มได้เดือนธันวาคม 2566 เส้นทางบินเที่ยวแรกจะเป็นในภูมิภาคเอเชียก่อน

ด้านอุตสาหกรรมการบินทั่วโลกขณะนี้ พาทีมองว่ายังไม่กลับสู่สภาวะปกติด้วยกำลังคนยังขาดแคลน และเครื่องบินขาดแคลน คาดว่าจะใช้เวลาอีก 2-3 ปีกว่าจะกลับเข้าสู่ช่วงปกติได้เหมือนก่อน ทำให้ราคาตั๋วเครื่องบินจะยังแพงไปอีกนานเช่นกัน

]]>
1424401
‘บางกอกแอร์เวย์ส’ ลุยฟื้นธุรกิจ เพิ่มเส้นทางบิน-หารายได้เสริม น้ำมันเเพงยังไม่ขึ้นค่าตั๋ว  https://positioningmag.com/1376937 Thu, 10 Mar 2022 09:14:34 +0000 https://positioningmag.com/?p=1376937 ธุรกิจสายการบินเริ่มฟื้นตัว ข้อจำกัดการเดินทางเริ่มลดลง ดันดีมานด์นักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มขึ้น เเต่ยังมีความเสี่ยงจากวิกฤตรัสเซียยูเครน ที่ผลกระทบต่อราคาน้ำมันให้ปรับตัวสูงขึ้น

บางกอกแอร์เวย์ส’ (Bangkok Airways) หนึ่งในสายการบินรายใหญ่ของไทย ประเมินว่า ในปี 2565 ภาพรวมธุรกิจของบริษัทจะฟื้นตัวได้ 40% เมื่อเทียบกับปี 2562 จากอัตราการฉีดวัคซีนเพิ่มขึ้น เเละการผ่อนคลายมาตรการควบคุมโรคระบาด เเละหวังว่าในปี 2566 จะพลิกกลับมาทำกำไรได้ จากการฟื้นตัว 80-90% เเละในปี 2567 จะฟื้นตัว 100% เเละกลับมามียอดผู้โดยสารเกือบเเตะ 6 ล้านคนเท่าช่วงก่อนโควิด-19

ทยอยเปิดเส้นทางบิน ดึงผู้โดยสาร 2.6 ล้านคน 

พุฒิพงศ์ ปราสาททองโอสถ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BA เปิดเผยว่า แนวโน้มการเดินทางของผู้โดยสารสายการบินบางกอกแอร์เวย์สในช่วงเดือนพ.. 2564 ที่มีการระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์เดลตา ส่งผลให้ภาพรวมการเดินทางลดลงอย่างเห็นได้ชัด

เเละต่อมาเมื่อมีนโยบายเปิดประเทศของรัฐอย่างภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์และสมุยพลัสายการบินฯ ได้เปิดให้บริการเส้นทาง sealed route ซึ่งจำนวนผู้โดยสารได้ทยอยเพิ่มขึ้นมาในเดือนพ.

เส้นทางสมุยยังคงเป็นเส้นทางที่ได้รับความนิยมมากที่สุด โดยมีสัดส่วนรายได้ผู้โดยสารอยู่ที่ 63% ของรายได้ผู้โดยสารทั้งหมด

ส่วนเส้นทางภายในประเทศอื่นๆ มีสัดส่วนรายได้ผู้โดยสารอยู่ที่ราว 35% และกลุ่มประเทศ CLMV ได้เเก่ กรุงเทพฯพนมเปญ ที่ได้เปิดปฏิบัติการบินเมื่อเดือนธ.. มีสัดส่วนรายได้ผู้โดยสารอยู่ที่ 2% ของรายได้ผู้โดยสารทั้งหมดในปี 2564

สำหรับในปี 2565 จะมีเส้นทางบินที่จะเปิดเพิ่มเติมเพื่อรองรับการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมการบิน อย่างกรุงเทพฯกระบี่ ซึ่งจะเปิดให้บริการในวันที่ 27 มี..2565 

ส่วนในไตรมาสที่ 3 มีเเผนจะเปิดเส้นทางการบินสมุยเชียงใหม่ สมุยฮ่องกง กรุงเทพฯเสียมราฐ เเละไตรมาสที่ 4 จะเปิดเส้นทางบิน เชียงใหม่กระบี่ (เที่ยวเดียว) เชียงใหม่ภูเก็ต (เที่ยวเดียว) สมุยกระบี่ กรุงเทพฯดานัง กรุงเทพฯหลวงพระบาง กรุงเทพฯย่างกุ้ง และ กรุงเทพฯมัลดีฟส์

ทั้งนี้ การกลับมาเปิดให้บริการเส้นทางบินต่างๆ ขึ้นอยู่กับความต้องการเดินทางของนักท่องเที่ยว มาตรการการเดินทางของแต่ละประเทศ และการควบคุมสถานการณ์โควิด-19 ที่อาจยังไม่คลี่คลาย

ในปีนี้เราตั้งเป้าจำนวนผู้โดยสารอยู่ที่ 2.6 ล้านคน แบ่งเป็นผู้โดยสารเส้นทางระหว่างประเทศ 30-40% และเส้นทางในประเทศ 60-70% ตั้งเป้ารายได้ผู้โดยสาร ราว 8,175 ล้านบาท รวมเที่ยวบิน 3.4 หมื่นเที่ยวบิน มีอัตราการขนส่งผู้โดยสารอยู่ที่ 65% และราคาบัตรโดยสารเฉลี่ยต่อเที่ยวคาดว่าจะอยู่ที่ 3,100 บาทต่อเที่ยว

ลดจำนวนฝูงบิน คุมค่าใช้จ่าย 

ปัจจุบัน บางกอกแอร์เวย์ส มีเครื่องบินจำนวน 37 ลำ โดยมีแผนการจะลดจำนวนฝูงบินลง เหลือ 30 ลำภายในสิ้นปีนี้ เพื่อควบคุมต้นทุนเเละบางเส้นทางยังไม่สามารถบินได้อย่างเต็มที่

โดยจะทยอยคืน Airbus A320 จำนวน 5 ลำ ซึ่งครบกำหนดสัญญาแล้ว รวมถึงจำหน่ายเครื่องบิน ATR72-500 อีกจำนวน 2 ลำ

นอกจากนี้ จะมีการนำเครื่องบินที่ไม่ได้ใช้งานมารุกตลาดบริการเช่าเหมาลำ’ มากขึ้นด้วย เเละจะปรับเส้นทางบินให้ตรงกับความต้องการในการเดินทาง โดยเน้นเส้นทางบินที่เชื่อมต่อสนามบินสมุย

พร้อมปรับลดค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับสนามบิน การจัดการด้านบุคลากรให้เหมาะสมการรักษาสภาพคล่องทางการเงินการรักษาประสิทธิภาพยานพาหนะ เพื่อลดค่าใช้จ่ายเช่นการบำรุงรักษา ตลอดจนการได้รับมาตรการช่วยเหลือจากภาครัฐ อาทิ ในด้านภาษี

ทั้งนี้ ในปี 2564 บริษัทฯ มีรายได้รวมเท่ากับ 5,668.5 ล้านบาท ลดลง 44.5% เมื่อเทียบกับปี 2563 ค่าใช้จ่ายรวมอยู่ที่ 8,145.1 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อน 45.4% ผลขาดทุนสุทธิของบริษัทฯ ในปี 2564 เท่ากับ 8,599.8 ล้านบาท โดยมีรายการขาดทุนสุทธิจากการยกเลิกสัญญาเช่ากองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์สนามบินสมุย จำนวน 5,434,7 ล้านบาท

ขณะที่ผลขาดทุนจากการดำเนินงานในปี 2564 เท่ากับ 2,532.5 ล้านบาท ขาดทุนลดลง 22.2% เมื่อเทียบกับปี 2563

ส่วนธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสนามบิน ในปี 2564 บริษัท ครัวการบินกรุงเทพ มีรายได้อยู่ที่ 119.5 ล้านบาท ลดลง 61% เนื่องจากมีจำนวนเที่ยวบินที่สนามบินสุวรรรณภูมิและสนามบินภูเก็ตลดลง เเละบริษัท ภาคพื้นการบินกรุงเทพเวิลด์ไลด์ไฟล์ทเซอร์วิส จำกัด มีรายได้ 1,122.1 ล้านบาท ลดลง 18%  เเต่จากการบริหารจัดการค่าใช้จ่าย ทำให้มีกำไรอยู่ที่ 237 ล้านบาท

สำหรับบริษัท ดับบลิวเอฟเอสพีจี คาร์โก้ จำกัด มีรายได้ในปี 2564 อยู่ที่ 2,140.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 18% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563 โดยได้รับอานิสงส์จากการใช้บริการคลังสินค้าที่เพิ่มสูงขึ้นในช่วงโควิด-19

มุ่งปั้นรายได้เสริม เข้าถึงลูกค้าผ่านซูเปอร์เเอปฯ

ด้านกลยุทธ์การตลาดของบางกอกแอร์เวย์สในปีนี้ จะเน้นไปที่ ตลาดต่างประเทศควบคู่กับการให้ความสำคัญกับตลาดในประเทศ การบริหารช่องทางการจัดจำหน่าย และออกกลยุทธ์ด้านราคา การพัฒนาระบบต่างๆ รวมถึงความสำคัญของระบบการจ่ายเงิน การบริการ การสื่อสารการตลาดและการมีส่วนรวมของลูกค้า

โดยจะให้ความสำคัญด้าน ‘รายได้เสริม’ อย่างบัตรสมาชิกโดยสารแบบพิเศษ อย่าง Flyer Pass เเละ Elite Card ที่เจาะกลุ่มลูกค้ากำลังซื้อสูง

ช่องทางการจัดจำหน่ายในประเทศ ยังคงเป็นช่องทางหลักที่ลูกค้าในประเทศใช้ คือ website/mobile และ Customer Care Centre 1771 ส่วนตลาดต่างประเทศจะจัดจำหน่ายผ่าน Billing and Settlement Plan Agents หรือ BSP agents ในตลาดหลัก เช่น ยุโรป อเมริกา ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น จีน แอฟริกาใต้ และอีกกว่า 20 ตลาดทั่วโลก รวมถึงการขายผ่านเครือข่ายสายการบินพันธมิตรทั่วโลก เเละเชื่อมต่อกับเเพลตฟอร์ม OTA ยอดนิยม

พร้อมมุ่งเน้นช่องทาง API ผ่านโครงข่าย NDC และ metasearch เป็นหลัก ขยายไปยังแอปพลิเคชัน เเละซูเปอร์เเอปฯ ต่างๆ ซึ่งตอนนี้กำลังเชื่อมต่อกับเเอปพลิเคชัน ‘Robinhood’ เพื่อให้เข้าถึงผู้บริโภคในชีวิตประจำวันมากขึ้น

ต้นทุนน้ำมัน ยังไม่กระทบค่าตั๋ว (ณ ตอนนี้)

ขณะที่ความกังวลเรื่อง ‘ราคาน้ำมัน’ ที่ปรับตัวสูงขึ้นจากวิกฤตความขัดเเย้งในรัสเซียเเละยูเครน ซึ่งได้กดดันการฟื้นตัวของของธุรกิจสายการบินต่างๆ นั้น ในช่วงนี้โดยทั่วไปต้นทุนน้ำมันปรับสูงขึ้นราว 40-50% จากปีที่แล้วที่ราคาน้ำมันอยู่ระดับ 70-80 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล และมีแนวโน้มพุ่งสูงกว่าระดับ 100 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล หากสงครามยังยืดเยื้อ

ในส่วนของ ‘บางกอกแอร์เวย์ส’ พบว่า ราคาน้ำมันยังไม่มีผลกับต้นทุนบริการการบินมากนัก โดยตอนนี้ต้นทุนน้ำมัน ยังอยู่ที่ราว 15% ของต้นทุนทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่มีสัดส่วนเพียง 10% น้อยกว่าช่วงก่อนโควิดที่จะอยู่ที่ 30-35% ขณะที่ปีที่เเล้ว ‘ต้นทุนเครื่องบิน’ จะสูงกว่าด้วยสัดส่วนถึง 25% ของต้นทุนทั้งหมด จากภาระค่าเช่าเเละการที่ต้องหยุดบินในหลายเส้นทาง อีกทั้งยังใช้เครื่องบินได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ

โดยผู้บริหาร บมจ. การบินกรุงเทพ ยืนยันว่า ราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นในตอนนี้ ยังไม่ใช่ปัจจัยในการปรับขึ้นราคาตั๋วเครื่องบิน 

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 9 มื.ค. สมาคมสายการบินในประเทศ ซึ่งมีนายพุฒิพงศ์ ปราสาทมองโอสถ เป็นนายกสมาคมฯ ได้ยื่นหนังสือต่อสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (CAAT) เพื่อขอหารือในการพิจารณาให้สายการบินกลับมาเรียกเก็บค่าธรรมเนียมน้ำมัน หรือ Fuel Surcharge ในการคิดค่าโดยสาร เหมือนกับที่เคยใช้มาในอดีต เนื่องจากราคาน้ำมันตลาดโลกปรับสูงขึ้นอย่างมาก

]]>
1376937
Singapore Airlines เปิดรับสมัคร ‘ลูกเรือ’ อีกครั้ง หลังหยุดจ้างงานใหม่ไปนาน 2 ปี https://positioningmag.com/1373845 Mon, 14 Feb 2022 08:29:43 +0000 https://positioningmag.com/?p=1373845 ส่งสัญญาณธุรกิจการบินเริ่มฟื้น Singapore Airlines สายการบินประจำชาติสิงคโปร์ กลับมาเปิดรับสมัครลูกเรืออีกครั้ง หลังระงับการจ้างงานใหม่ไปนานกว่า 2 ปี

วิกฤตโรคระบาดโควิด-19 ทำให้การเดินทางหยุดชะงักทั่วโลก เหล่าสายการบินต้องเจอมรสุมหนัก ทั้งต้องปลดพนักงาน ลดค่าใช้จ่าย รวมไปถึงบางเเห่งต้องยื่นล้มละลาย

การกลับมาจ้างลูกเรือครั้งใหม่เเละเที่ยวบินที่เพิ่มขึ้น สะท้อนให้เห็นถึงการฟื้นตัวของอุตสาหกรรม หลังประเทศต่างๆเริ่มผ่อนคลายข้อจำกัดการเดินทาง ตามอัตราการฉีดวัคซีนที่ทั่วถึงมากขึ้น

นักบินและลูกเรือส่วนใหญ่ของเรากลับมาปฏิบัติหน้าที่กับ Singapore Airlines แล้ว

โดยบริษัทมีเเผนจะเพิ่มความจุเที่ยวบิน ขยายบริการ เพื่อรองรับความต้องการการเดินทางเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังติดต่อและเชิญลูกเรือเก่าที่ลาออกไปให้กลับมาสมัครงานอีกครั้งด้วย

รัฐบาลสิงคโปร์ได้ปรับนโยบายมาเป็น ‘อยู่ร่วมกับโควิด’ เเละเปิดช่องทางการเดินทางของผู้ที่ฉีดวัคซีนแล้ว ให้สามารถเข้าสิงคโปร์โดยไม่ต้องกักตัว หรือเรียกว่า Vaccinated Travel Lane  (VTL) กับหลายสิบประเทศ

เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้อัตราส่วนการขนส่งผู้โดยสาร (Load Factor) โดยรวมของ Singapore Airlines เเละบริษัทในเครือย่าง SilkAir เเละ Scoot เพิ่มขึ้นเป็น 46.5% ในเดือนธันวาคม ปี 2021 จาก 13.7% ในปีก่อนหน้า

โดยในเดือนกันยายน ปี 2020 บริษัทต้องปลดพนักงานไปกว่า 4,300 ตำแหน่ง หรือคิดเป็น 20% ของจำนวนพนักงานทั้งหมด พร้อมลดต้นทุนเเละเสนอให้ลูกเรือเกษียณอายุก่อนกำหนด เนื่องจากการระบาดของโควิด-19 ได้ทำลายอุตสาหกรรมการบิน

จากนั้น Singapore Airlines ได้ระดมสภาพคล่องเพิ่มเติมมูลค่า 2.16 หมื่นล้านดอลลาร์สิงคโปร์ ตั้งแต่เดือนเมษายน ปี 2020 เพื่อประคองธุรกิจและเอาตัวรอดจากการระบาดใหญ่ โดยปัจจุบันได้เริ่มกลับมาเดินหน้าลงทุนด้านบุคลากรและธุรกิจต่างๆ เพื่อรองรับการเดินทางระหว่างประเทศที่กำลังฟื้นตัว

 

ที่มา : CNA , Bloomberg 

]]>
1373845
เวียดนาม เตรียมกลับมาเปิดเที่ยวบินเชิงพาณิชย์ ‘ระหว่างประเทศ’ รวมไทย 1 ม.ค. 65 นี้ https://positioningmag.com/1366445 Sun, 12 Dec 2021 17:01:08 +0000 https://positioningmag.com/?p=1366445 เวียดนาม อนุมัติให้มีการเปิดเที่ยวบิน ‘เชิงพาณิชย์’ ตามปกติ ระหว่างเวียดนามกับประเทศจุดหมายปลายทาง ที่มีความปลอดภัยสูงในการเเพร่ระบาดของโควิด-19 เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2565 เป็นต้นไป

ตามประกาศล่าสุดของรัฐบาลเวียดนาม ระบุว่า จุดหมายปลายทางดังกล่าว จะรวมถึงประเทศจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไทย สิงคโปร์ ลาว กัมพูชา และสหรัฐอเมริกา

ความเคลื่อนไหวนี้ นับเป็นการกลับมาเปิดการบินระหว่างประเทศอีกครั้ง เพื่อเร่งการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว หลังสถานการณ์โควิด-19 เริ่มดีขึ้นเเละการกระจายวัคซีนได้ผลดี นอกจากนี้ ยังช่วยให้ชาวเวียดนามในต่างประเทศ สามารถเดินทางกลับภูมิลำเนาของตนเองได้ ในช่วงเทศกาลตรุษจีนที่กำลังจะมาถึงด้วย

เวียดนามได้สั่งปิดพรมแดนและห้ามเที่ยวบินระหว่างประเทศทั้งหมด มาตั้งเเต่เดือนมี.ค.ปีที่แล้ว จากการระบาดของโควิด-19 โดยอนุญาตให้ผู้เดินทางเข้าประเทศได้เฉพาะชาวเวียดนามที่เดินทางกลับจากต่างประเทศ ผู้เชี่ยวชาญต่างชาติ และแรงงานที่มีทักษะสูง โดยจะต้องเข้ามาตรการกักตัวตามระเบียบของรัฐเมื่อเดินทางมาถึง

 

ที่มา : Xinhua , thestar 

]]>
1366445
รัฐบาลมาเลเซีย หนุนเงินกู้อัดฉีด ‘เเอร์เอเชีย’ รับการบินฟื้นตัวหลังโควิด https://positioningmag.com/1355091 Tue, 05 Oct 2021 15:50:59 +0000 https://positioningmag.com/?p=1355091 รัฐบาลมาเลเซีย สนับสนุนเงินกู้ต่อลมหายใจ ให้กับสายการบินโลว์คอสต์เจ้าใหญ่อย่างเเอร์เอเชีย’ รับการฟื้นตัวหลังโควิด

แอร์เอเชีย กรุ๊ป (AirAsia Group) ได้รับการอนุมัติเงินกู้จาก Danajamin Nasional Berhad สถาบันการเงินที่กระทรวงการคลังถือหุ้นอยู่ 50% จำนวน 500 ล้านริงกิต หรือราว 4 พันล้านบาท

วงเงินกู้ดังกล่าว รัฐบาลมาเลเซียเป็น ‘ผู้ค้ำประกันให้ถึง 80% ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในแผนการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ หลังวิกฤตโรคระบาด

Tony Fernandes ผู้ร่วมก่อตั้งและซีอีโอ AirAsia Group ให้สัมภาษณ์กับ The Edge เมื่อช่วงต้นปีว่า บริษัทมีเเผนจะระดมทุนครั้งใหญ่ ราว 2,000-2,500 ล้านริงกิต รวมไปถึงการกู้ยืมเงินจากธนาคารในท้องถิ่น 3 แห่ง ซึ่งอยู่ระหว่างรอการอนุมัติ เเละ Danajamin ก็เป็นหนึ่งในนั้น

โดยแอร์เอเชีย จะนำมาเป็นเงินทุนหมุนเวียนจ่ายเงินเดือนพนักงาน และใช้จ่ายในส่วนต่างๆ ที่มีความจำเป็นต่อการดำเนินงานของบริษัท เช่น การบำรุงรักษาเครื่องบิน เนื่องจากทางสายการบินกำลังเตรียมเพิ่มการดำเนินงานเพื่อรองรับการเปิดพรมแดนระหว่างประเทศอีกครั้ง

การได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลมาเลเซีย จึงเป็นเหมือนการเพิ่มความเชื่อมั่นในการฟื้นตัวของธุรกิจสายการบิน ว่าจะมีเเนวโน้มที่ดีขึ้น เเละจะกลับมาให้บริการอย่างเต็มรูปแบบได้ในอนาคตอันใกล้ พร้อมกับการที่ประเทศต่างๆ ทั่วโลกกำลังจะเริ่มเปิดพรมแดนระหว่างประเทศ เมื่อประสบความสำเร็จในการกระจายวัคซีน

ส่วนตลาดในประเทศไทย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ เเอร์เอเชียก็เริ่มมีการกลับมาเปิดให้บริการ ‘อย่างค่อยเป็นค่อยไป’ ขณะที่รอการเจรจาเรื่องทราเวล บับเบิลและการผ่อนคลายมาตรการเพื่อเปิดพรมแดนระหว่างประเทศอีกครั้ง

โดยรัฐบาลมาเลเซีย วางเเผนจะเปิดเส้นทางการบินภายในประเทศและระหว่างประเทศ เมื่อประชากรวัยผู้ใหญ่ราว 90% ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ครบโดส ซึ่งปัจจุบันระดมฉีดไปเเล้วกว่า 88% (4 ต.ค.)

 

ที่มา : theedgemarkets , Reuters 

]]>
1355091
‘ฟิลิปปินส์ แอร์ไลน์’ ยื่นขอล้มละลาย ลดขนาดฝูงบินลง 25% เดินหน้าปรับโครงสร้างบริษัท https://positioningmag.com/1350302 Sun, 05 Sep 2021 11:14:55 +0000 https://positioningmag.com/?p=1350302 ธุรกิจสายการบินยังไม่ฟื้นในเร็ววันฟิลิปปินส์ แอร์ไลน์‘ (PAL) สายการบินแห่งชาติของฟิลิปปินส์ กำลังยื่นขอล้มละลายกับศาลในสหรัฐฯ เพื่อขอลดหนี้เเละปรับโครงสร้างบริษัท ลดขนาดฝูงบินลง 25% ให้อยู่รอดพ้นวิกฤตโควิด-19

ฟิลิปปินส์ แอร์ไลน์ ได้ยื่นขอพิทักษ์ทรัพย์ ตามมาตรา 11 ในกฎหมายล้มละลายสหรัฐฯ ซึ่งจะทำให้บริษัทสามารถเลื่อนชำระหนี้กับบรรดาเจ้าหนี้ออกไปได้ รวมถึงสามารถขายกิจการย่อยได้บางส่วน เเละจะเริ่มแผนการปรับโครงสร้างหนี้ระยะยาว โดยตั้งเป้าจะปรับโครงสร้างสัญญาและลดหนี้ได้อย่างน้อย 2,000 ล้านดอลลาร์ นอกจากนี้ ยังจะได้รับเงินทุนก้อนใหม่กว่า 655 ล้านดอลลาร์

ทางฟิลิปปินส์ แอร์ไลน์ ระบุว่า หลังจากนี้ จะมีการปรับลดขนาดฝูงบินลง 25% เเละจะมีการเจรจาสัญญาต่างๆ กับคู่ค้า เพื่อขอลดค่าเช่า ลดต้นทุน ฯลฯ

ฟิลิปปินส์ แอร์ไลน์ จะดำเนินธุรกิจต่อไปตามปกติ ไปพร้อมๆ กับการปรับโครงสร้างธุรกิจ เครือข่าย ฝูงบิน และการจัดการภายในองค์กร Nilo Thaddeus Rodriguez รองประธานอาวุโสและประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน กล่าว

โดยข้อตกลงกับซัพพลายเออร์ ผู้ให้กู้และผู้ให้เช่า จะทำให้ฟิลิปปินส์แอร์ไลน์ได้รับเงินกู้และตราสารหนี้ระยะยาวราว 505 ล้านดอลลาร์ เเละจะได้รับเงินกู้เพิ่มเติมอีก 150 ล้านดอลลาร์ หลังจากจบกระบวนการปรับโครงสร้างหนี้ในอีกไม่กี่เดือนนี้

ปริมาณการเดินทางทางอากาศของฟิลิปปินส์ มีเพียง 7 ล้านคนในปีที่แล้ว คิดเป็นการลดลงกว่า 75% จากผู้โดยสารประมาณ 30 ล้านคน ในปี 2019 เนื่องจากข้อจำกัดในวิกฤตโรคระบาด ปัจจุบันกลับมาให้บริการเที่ยวบินได้ราว 70% ของจุดหมายปลายทางตามปกติ

ที่ผ่านมา ฟิลิปปินส์ แอร์ไลน์ ได้ประกาศยกเลิกเที่ยวบินมากกว่า 80,000 สูญเสียรายได้ถึง 2,000 ล้านดอลลาร์ และต้องปลดพนักงานกว่า 2,300 คน

 

ที่มา : AFP , PAL

 

]]>
1350302
‘การบินไทย’ หารายได้ใหม่ เสิร์ฟเบเกอรี่ ‘Puff & Pie’ ใน ‘ร้านอินทนิล’ ลุยขยายให้ได้ 100 สาขา ปีหน้า https://positioningmag.com/1348869 Fri, 27 Aug 2021 06:29:58 +0000 https://positioningmag.com/?p=1348869
‘การบินไทย’ หาช่องทางรายได้ใหม่ จับมือ ‘บางจาก รีเทล’ เสิร์ฟเบเกอรี่ ‘Puff & Pie’ ในร้านอินทนิล ตั้งเป้าขยายสาขาให้ได้ 100 สาขา ภายในปี 2565 

วันนี้ (27 ส.ค. 64) การบินไทย เเละ บางจากรีเทล ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) ระหว่างร้านอินทนิล กับสินค้า ‘Puff & Pie’ พัฒนาธุรกิจ ทั้งในรูปแบบ Grab & Go และ Shop in Shop รวม 50 สาขาภายในปีนี้ พร้อมตั้งเป้าขยายให้ได้ 100 สาขาภายปีหน้า

ช่วงหลายปีที่ผานมา ‘ร้านกาแฟ’ เป็นหนึ่งในธุรกิจที่ได้รับความนิยมและเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Chain Store Coffee

ปัจจุบันร้านอินทนิล เปิดให้บริการแล้วมากกว่า 700 สาขาทั่วประเทศ ทั้งในและนอกสถานีบริการน้ำมันบางจาก เเบ่งเป็น 450 สาขาในสถานีบริการน้ำมันบางจาก และนอกสถานีบริการน้ำมันอีกประมาณ 250 สาขา มีแผนเปิดให้บริการครบ 1,000 สาขาภายในปี 2565

ด้านร้าน Puff & Pie ของการบินไทย ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล มีจำนวน 33 สาขา ทั้งสาขาการบินไทย และสาขาผู้แทนจำหน่าย

เสรี อนุพันธนันท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท บางจาก รีเทล จำกัด บอกว่า จากอดีตที่ผ่านมา คนทั่วไปอาจมองว่าอินทนิลคือร้านกาแฟ แต่เรามองตัวเองเป็นมากกว่าร้านกาแฟ และไม่ได้ต้องการจำหน่ายเพียงเครื่องดื่ม จึงมองหาพันธมิตรใหม่ๆ

“ในอนาคต เรามองถึงการขยายสู่อาหารพร้อมรับประทานในสาขาที่เหมาะสม และ Puff & Pie จากครัวการบินไทยก็เป็นพันธมิตร ที่ตอบโจทย์เป้าหมายนี้ของอินทนิลได้เป็นอย่างดี ทั้งเรื่องของ Product และ Operation ความร่วมมือในเฟสแรกทั้ง 15 สาขานี้จะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการพัฒนาสู่โอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ระหว่างอินทนิลกับครัวการบินไทยต่อไป”

สำหรับฝ่ายครัวการบินไทย ได้นำสินค้าของ Puff & Pie มาทดลองวางจำหน่ายในร้านอินทนิล ตั้งแต่ปี 2563 ที่ผ่านมา พบว่ามีกระเเสตอบรับที่ดีจากลูกค้า นำมาสู่ความร่วมมือต่อเนื่องของทั้ง 2 แบรนด์ในการต่อยอดธุรกิจ ในรูปแบบ Grab & Go เพิ่มเป็น 13 สาขา และในรูปแบบ Shop in Shop ที่ร้านอินทนิลสาขาสถานีบริการน้ำมันบางจาก ถนนบรมราชชนนี กม.10 และสาขา Summer Point สุขุมวิท อีก 2 สาขา รวมเป็น 15 สาขาในปัจจุบัน

สมัชชา ศรีทองสุข กรรมการผู้จัดการ ฝ่ายครัวการบิน บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ 2 ปีที่ผ่านมา การนำพาธุรกิจให้เติบโตนั้นไม่ง่าย และการขยายธุรกิจยังคงเป็นความท้าทาย”

Puff & Pie มีแผนจะขยายการจัดจำหน่ายในร้านอินทนิลให้ครอบคลุมสาขาในทุกพื้นที่ รวมถึงพัฒนาสินค้าพิเศษสำหรับร้านอินทนิล และรายการส่งเสริมการขายพิเศษร่วมกันอีกด้วย “ในอนาคตเราจะได้เห็นความร่วมมือใหม่ๆ จากบางจาก รีเทลและการบินไทยอย่างแน่นอน”

 

source

]]>
1348869
‘สกู๊ต’ มั่นใจธุรกิจการบินฟื้นภายในปี 66 ย้ำ พร้อมให้บริการครบทุกเส้นทางหากเปิดประเทศ https://positioningmag.com/1339812 Wed, 30 Jun 2021 05:58:03 +0000 https://positioningmag.com/?p=1339812 ตั้งแต่เกิดการระบาดของไวรัส COVID-19 หนึ่งในธุรกิจที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักคงหนีไม่พ้น ‘สายการบิน’ เนื่องจากคนทั่วโลกไม่สามารถเดินทางได้เหมือนเดิม ส่งผลให้มีหลายสายการบินที่ต้องโบกมือลาเพราะไม่สามารถทำธุรกิจต่อได้ แต่ ‘สกู๊ต’ (Scoot) สายการบินราคาประหยัดภายใต้การบริหารของกลุ่มสิงคโปร์แอร์ไลน์ก็ยังมั่นใจว่าธุรกิจการบินจะฟื้นตัวได้ภายในปี 2566 โดยเฉพาะสายการบินโลว์คอสต์ที่จะฟื้นได้เร็วกว่า

มั่นใจตลาดการบินฟื้นปี 66

แม้ แคมป์เบล วิลสัน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายการบินสกู๊ต จะยอมรับว่าตั้งแต่เกิดวิกฤตการระบาดของ COVID-19 ในช่วง 16 เดือนที่ผ่านมา ทำให้ตนเรียนรู้ว่า “การคาดการณ์อนาคต” เป็นอะไรที่ทำได้ยากมาก เพราะไม่มีอะไรแน่นอนเลย แต่ก็ยังเชื่อว่าตลาดการบินจะกลับมาได้อย่างเข้มแข็งอีกครั้ง เพราะตลาดนี้ในอดีตถือเป็นตลาดที่ยังมีการเติบโต

ขณะที่แนวโน้มของการฟื้นตัวในประเทศแถบยุโรป อเมริกา และออสเตรเลียที่มีการผ่อนคลายมาตรการการเดินทาง ส่งผลให้ดีมานด์กลับมาอย่างรวดเร็ว ดังนั้นเชื่อว่าในเอเชียจะมีผลลัพธ์ที่ไม่แตกต่างกัน รวมถึงประเทศไทยที่ถือเป็นปลายทางสำคัญของนักท่องเที่ยว แต่ต้องรอดูว่ารัฐบาลจะสามารถเปิดประเทศได้เร็วแค่ไหน

“สกู๊ตและสายการบินชั้นประหยัดตอนนี้ไม่น่าห่วงเท่าไหร่ เพราะหากการเดินทางเพื่อการท่องเที่ยวกลับมาจะสามารถฟื้นตัวได้เร็วกว่า ขณะที่ต้นทุนค่อนข้างต่ำ ทำให้ยังสามารถประคองตัวได้ และสามารถฟื้นได้เร็ว”

แคมป์เบล วิลสัน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายการบินสกู๊ต

ไม่ร่วมภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ แต่พร้อมเปิดเส้นทางเพิ่มหากเปิดประเทศ

ก่อนเกิดการระบาดของ COVID-19 สายการบินสกู๊ตให้บริการอยู่ 68 เส้นทางครอบคลุม 15 ประเทศ แต่ปัจจุบันสามารถให้บริการได้เพียง 26 เส้นทางครอบคลุม 12 ประเทศเท่านั้น สำหรับประเทศไทยสกู๊ตมีเส้นทาง กรุงเทพฯ (สุวรรณภูมิ)-สิงคโปร์ โดยให้บริการ 11 เที่ยวบิน/สัปดาห์ จากอดีตไทยจะมี 6 เส้นทาง ได้แก่ กรุงเทพฯ (สนามบินดอนเมือง), เชียงใหม่, หาดใหญ่, กระบี่ และภูเก็ต ซึ่งสกู๊ตย้ำว่าพร้อมจะกลับมาให้บริการในทุกเส้นทางอีกครั้งหาก ไทยเปิดประเทศ

โดยสกู๊ตกำลังศึกษาอยู่ว่าจะเปิดเส้นทางการบินอื่น ๆ โดยไม่จำกัดแค่จากสิงคโปร์แต่รวมถึงฮับอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม สำหรับโครงการ ภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ ที่จะเปิดเมืองภูเก็ตต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ฉีดวัคซีนแล้วนั้น ทางสกู๊ตไม่ได้มีแผนที่จะเข้าร่วมโครงการ เนื่องจากกลุ่มสิงคโปร์แอร์ไลน์ที่เป็นบริษัทแม่ได้ร่วมโครงการดังกล่าวแล้ว

“แผนของเราในช่วง 1-2 ปีคือ เปิดเส้นทางการบินให้ครบทุกเส้นทางที่เคยบิน แล้วค่อยเพิ่มความถี่เที่ยวบินให้เท่าเดิม รวมถึงเพิ่มเที่ยวจากสิงคโปร์มาไทยและไทยไปที่อื่น ๆ”

เน้นส่งของ พร้อมทรานส์ฟอร์มในตัว

ต้องยอมรับว่ารัฐบาลสิงคโปร์ได้อนุมัติงบช่วยเหลือธุรกิจการบินจากพิษ COVID-19 แม้จะไม่สามารถเปิดเผยได้ว่าเป็นจำนวนเท่าไหร่ แต่งบดังกล่าวพียงพอแค่ที่จะประคองไม่ให้ต้องเลิกจ้างพนักงาน ดังนั้น ที่ผ่านมาสกู๊ตจึงประคองตัวโดยการเน้นการ ขนส่งสินค้า เพราะการให้บริการในลักษณะกึ่งพาณิชย์ (semi commercial flight) คิดเป็นสัดส่วน 12-15% ของจำนวนที่นั่งเท่านั้น

นอกจากนี้ ในช่วงที่การเดินทางยังไม่กลับสู่ภาวะปกติ สกู๊ตจึงลงทุนด้านเทคโนโลยีมาพัฒนาระบบต่าง ๆ เพื่อเตรียมพร้อมก่อนจะให้บริการอีกครั้ง อาทิ การเช็กอินผ่านออนไลน์, อัพเกรดที่นั่ง หรือซื้อบริการต่าง ๆ ผ่านแชทบอท รวมถึงชำระเงินผ่านคิวอาร์โค้ด

“เราไม่สามารถเปิดเผยตัวเลขการลงทุนได้ แต่เรามั่นใจว่ามันคุ้มค่ากับผลลัพธ์ และที่เรายอมลงทุนในช่วงที่วิกฤตเช่นนี้เป็นเพราะเรามองว่ามันทำให้เราสามารถโฟกัส เรียนรู้กับเทคโนโลยีใหม่ ๆ ได้อย่างเต็มที่”

ลงทุนซื้อเครื่องแต่ไม่ลงทุนสายการบิน

ในปี 2557 สายการบินนกแอร์ และสกู๊ต ได้ร่วมทุนกันเปิดสายการบิน ‘นกสกู๊ต’ (NokScoot) โดยเจาะกลุ่มนักท่องเที่ยว หรือกลุ่มที่เดินทางท่องเที่ยวด้วยตัวเอง โดยที่ผ่านมาต้องเจอทั้งการแข่งขันที่รุนแรงโดยเฉพาะเรื่องของ ‘ราคา’ การขยายเส้นทาง จนกระทั่งเจอพิษ COVID-19 ทำให้ในวันที่ 26 มิ.ย. 63 คณะกรรมการของสายการบินนกสกู๊ต ได้มีมติยุติการดำเนินกิจการ ซึ่งตลอดเส้นทางการดำเนินธุรกิจนกสกู๊ตยังไม่สามารถทำ ‘กำไร’ ได้เลย

ซึ่งทาง แคมป์เบล ก็ยืนยันว่าตอนนี้บริษัท ไม่มีแผนที่จะลงทุนในสายการบินในประเทศไทย โดยล่าสุด ทางสายการบินได้ลงทุนซื้อเครื่องบินรุ่นใหม่ ‘แอร์บัส A321neo’ จำนวน 6 ลำ และเช่าอีก 10 ลำ โดยจะให้บริการในเส้นทา ‘สิงคโปร์-กรุงเทพฯ’ เป็นเส้นทางแรก เริ่มบินในวันที่ 28 มิถุนายนที่ผ่านมา และจะขยายการใช้เครื่องบินรุ่นนี้ไปยังฟิลิปปินส์และเวียดนามในเดือนสิงหาคมนี้

ทั้งนี้ แอร์บัส A321neo มีพิสัยการบินสูงสุดถึง 2,620 ไมล์ทะเล ซึ่งมากกว่าเครื่องบินรุ่น A320neo ประมาณ 270 ไมล์ทะเล ทำให้สกู๊ตสามารถให้บริการในเส้นทางบินระยะสั้นถึงระยะกลางได้ ด้วยเวลาบินสูงสุดถึง 6 ชั่วโมง ซึ่งเทียบกับเครื่องบินรุ่นก่อนอย่าง A320 ที่มีรอบการบินอยู่ที่ 4-5 ชั่วโมง นอกจากนี้ สามารถรองรับผู้โดยสารได้มากถึง 236 ที่นั่ง เพิ่มขึ้นจากรุ่น A320neo ถึง 50 ที่นั่ง และยังประหยัดเชื้อเพลิงมากกว่า 12-20%

ดังนั้น แอร์บัส A321neo จะสามารถรองรับแผนการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมได้ในอนาคต เนื่องจากสามารถบริหารความคุ้มทุนและควบคุมต้นทุนต่อหน่วยได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังช่วยให้สายการบินสามารถบริหารจัดการเครื่องบินให้สอดคล้องกับเส้นทางและความต้องการได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นอีกด้วย

คงต้องรอดูว่า ตลาดการบินคิดว่าจะกลับมาฟื้นฟูเท่ากับก่อนเกิดการระบาดได้มากน้อยแค่ไหน และการลงทุนต่าง ๆ ของ สกู๊ต จะสามารถแข่งขันกับคู่แข่งรายอื่น ๆ ได้หรือไม่

]]>
1339812
‘ไทยเวียตเจ็ท’ แก้เกมการบินอย่างไรให้ ‘ไม่ขาดทุน’ จับโอกาสขึ้นเบอร์ 2 ครองตลาดในประเทศ https://positioningmag.com/1326301 Thu, 08 Apr 2021 08:24:13 +0000 https://positioningmag.com/?p=1326301 ชื่อของไทยเวียตเจ็ทเริ่มเป็นที่รู้จักมาเมื่อไม่นานมานี้ เเม้จะเข้ามาตีตลาดไทยนานถึง 5 ปีเเล้วก็ตาม…

จากเดิมที่เน้นเส้นทางบินไปยังต่างประเทศ เน้นจับนักท่องเที่ยวต่างชาติ มาวันนี้ต้องเดินเกมใหม่ หันมาเจาะเส้นทางบินในประเทศ มุ่งสร้าง Brand Awareness กับลูกค้าคนไทย ขยับมาหารายได้จากกลุ่ม non-airline เเละอีคอมเมิร์ซมากขึ้น

ในช่วงการเเพร่ระบาดของ COVID-19 สายการบินใหญ่จากเวียดนามอย่าง ‘VietJet’ ซึ่งเป็นบริษัทเเม่ของ ไทยเวียตเจ็ท (Thai Vietjet Air) ทำรายได้รวมตลอดปี 2020 อยู่ที่ 790 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 2.3 หมื่นล้านบาท) มีกำไรสุทธิหลังหักภาษี 3 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 94 ล้านบาท)

‘VietJet’ จึงกลายเป็นสายการบินไม่กี่เเห่งในโลก ที่ยังคงมีผลประกอบการเป็นบวกเเละไม่มีการปลดพนักงานเลยในปีที่ผ่านมา ขณะที่สายการบินหลายเจ้าถึงขั้นต้องล้มละลาย

ไม่หยุดบิน : ใช้ความ ‘เล็ก’ ให้เป็นประโยชน์ 

วรเนติ หล้าพระบางอดีตเเม่ทัพของไทยสมายล์ ที่เพิ่งเข้ามารับตำแหน่งซีอีโอคนใหม่ของไทยเวียตเจ็ท ได้ราว 7 เดือน ให้สัมภาษณ์กับ Positioning ถึงการเเก้เกมในช่วงวิกฤต กลยุทธ์ต่อไป เเละทิศทางของสายการบินโลว์คอสต์’ ที่จะไม่มีทางกลับมาเหมือนเดิม

“ตอนนั้นเราคิดว่าใครจะหยุดบิน ก็หยุดไป…เเต่เราไม่หยุด”

ตั้งแต่เกิดโรคระบาดในช่วงแรกๆ ไทยเวียตเจ็ทเป็นสายการบินเดียวที่ประจำในไทย ณ ขณะนั้น ที่ยังคงให้บริการตามปกติ เพียงแต่ปรับลดจำนวนเที่ยวบินลง ‘ไม่ปลดพนักงานออก แต่มีการปรับลดเงินเดือน’ 

วรเนติ หล้าพระบาง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายการบินไทยเวียตเจ็ท

เมื่อถามว่าทำไมยังกล้าบินต่อ ทั้งๆ ที่ สายการบินอื่นต้องหยุดบินเพื่อลดการเจ็บตัว…

วรเนติ บอกว่า มี 2 เหตุผลหลักๆ ที่ไทยเวียตเจ็ทเลือกที่จะไม่หยุดบิน คือ

1.มองว่าเป็นหน้าที่ ของสายการบินที่ต้องให้บริการนักเดินทางซึ่งตอนนั้นยังมีดีมานด์ของลูกค้าทั้งในเเละต่างประเทศเป็นทางเลือกของคนที่จำเป็นต้องเดินทาง

2.มองว่าเป็นโอกาสที่จะสร้างการรับรู้ให้คนไทยรู้จักสายการบินมากขึ้น อีกทั้งยังสามารถชิงส่วนเเบ่งการตลาด ในแง่จำนวนผู้โดยสาร ขึ้นมาเป็นอันดับ 2 ในไทยได้

นี่คือข้อได้เปรียบของการที่เราเป็นสายการบินเล็ก คล่องตัวเเละมีความกล้า เพราะถึงจะเจ็บ เเต่ก็เจ็บไม่หนักมากเหมือนที่อื่น

ในช่วงเดือนมกราคมกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ไทยเวียตเจ็ทมีจำนวนผู้โดยสารต่อเที่ยวบิน เฉลี่ยอยู่ที่ราว 50% ขยับขึ้นเป็นประมาณ 80% ในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของเดือนมีนาคม

โดยผู้โดยสารกว่า 95% เป็นคนไทย เเละที่เหลือเป็นต่างชาติที่อาศัยอยู่ในเมืองไทย เปลี่ยนจากช่วงก่อน COVID-19 ที่เคยมีสัดส่วนผู้โดยสารต่างชาติราว 50% คนไทย 50%

ขยับขึ้นเบอร์ 2 ตลาดบินในไทย

จากข้อมูลของ CAAT ระบุว่า จำนวนผู้โดยสารในไทยทั้งหมดของปี 2020 มีอยู่ราว 58.25 ล้านคน ลดลง 64.7% เมื่อเทียบกับปี 2019

ในจำนวนนี้ เเบ่งเป็น ผู้โดยสารระหว่างประเทศ 16.25 ล้านคน ลดลง 81.7% เเละผู้โดยสารภายในประเทศ จำนวน 42 ล้านคน ลดลง 44.9%

หลังจากที่ไทยเวียตเจ็ท ไม่หยุดบินในช่วง COVID-19 ทำให้สามารถขยับส่วนเเบ่งการตลาด (มาร์เก็ตเเชร์) ในแง่จำนวนผู้โดยสาร ขึ้นมาเป็นอันดับ 2 ในไทยได้ โดยเป็นรองเพียงสายการบินไทยแอร์เอเชีย (Thai AirAsia) เท่านั้น จากเดิมก่อนวิกฤตอยู่ที่อันดับ 4-5

เพิ่มฝูงบิน ขยายเส้นทาง ‘ข้ามภาค’

สำหรับในปีนี้ไทยเวียตเจ็ทมีเเผนจะเปิดเส้นทางบินใหม่ ทั้งเส้นทางบินภายในประเทศ เส้นทางบินข้ามภาค เส้นทางบินระหว่างประเทศ ที่คาดว่าช่วยปลายปีจะฟื้นตัวขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งจะประเมินจากความต้องการของตลาดเป็นหลัก

จะเน้นไปที่เส้นทางในประเทศมากขึ้น ต่างจากสมัยก่อนที่แต่ก่อนให้ความสำคัญกับเส้นทางระหว่างประเทศ

โดยสายการบินมีแผนรับมอบเครื่องบินใหม่เข้ามาเสริมฝูงบินอีก 10 ลำ จากเมื่อสิ้นปี 2563 ที่มีจำนวน 15 ลำ ซึ่งล่าสุดได้รับมาเเล้ว 1 ลำ เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ส่วนที่เหลืออีก 9 ลำนั้นจะทยอยรับมอบเข้ามาให้ทันภายในสิ้นปีนี้

ทั้งนี้ ฝูงบินทั้ง 16 ลำ ประกอบด้วย แอร์บัส A320 ขนาด 180 ที่นั่ง จำนวน 10 ลำ และแอร์บัส A321 ขนาด 230 ที่นั่ง จำนวน 6 ลำ ‘เป็นขนาดที่กำลังพอเหมาะ คล่องตัวในการบริหารต้นทุน’ 

ปัจจุบัน ไทยเวียตเจ็ท มีไฟลต์บิน 140 ไฟลต์ต่อวัน จากเส้นทางบินในประเทศ 14 เส้นทาง เเบ่งเป็น จากกรุงเทพฯ ไปสู่เชียงใหม่ เชียงราย กระบี่ ภูเก็ต อุดรธานี หาดใหญ่ ขอนแก่น นครศรีธรรมราช อุบลราชธานี สุราษฎร์ธานี

ส่วนบินข้ามภาคจะเป็น เชียงรายสู่ ภูเก็ต หาดใหญ่ อุดรธานี เส้นทางระหว่างเชียงใหม่ สู่ นครศรีธรรมราช

ด้านเส้นทางระหว่างประเทศมีอยู่ 17 เส้นทาง ไปที่เวียดนาม ไต้หวัน จีน ซึ่งกำลังรอความคืบหน้าในการเปิดประเทศในเร็วๆ นี้

ตั้งแต่ต้นปี 2020 ที่ผ่านมา ไทยเวียตเจ็ท ได้กลับมาเปิดบริการเที่ยวบินเเบบกึ่งพาณิชย์ระหว่างประเทศ ในเส้นทางโฮจิมินห์กรุงเทพฯ ให้บริการในทุกวันศุกร์ สัปดาห์ละ 1 เที่ยวบิน และเส้นทางดานังกรุงเทพฯ ให้บริการในทุกวันพฤหัสบดี สัปดาห์ละ 1 เที่ยวบิน

สำหรับความล่าช้าของเที่ยวบินและการยกเลิกเที่ยวบินทำให้ผู้โดยสารไม่ได้รับความสะดวก ซึ่งเป็นประเด็นร้อนในช่วงที่ผ่านมานั้น ทางสายการบินเน้นไปที่ความปลอดภัยเป็นหลัก เเละพร้อมชดเชยให้ผู้โดยสารอย่างครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด

Photo : vietjetair.com

เร่งปั้นเเบรนด์ให้คนไทยรู้จัก รุกอีคอมเมิร์ซเพิ่มรายได้ 

ไทยเวียตเจ็ทมีจำนวนผู้โดยสารรวมในปีที่ผ่านราว 3 ล้านคน เเละปีนี้ตั้งเป้าไว้ที่กว่า 7 ล้านคน เเบ่งเป็นชาวไทย 5 ล้านคน เเละชาวต่างชาติ 2 ล้านคน จากความหวังว่าการท่องเที่ยวจะฟื้นตัวได้ในช่วงปลายปี

โดยมีเเผนการตลาดผ่าน 3 กลยุทธ์หลักๆ ได้แก่

สร้าง Brand Awareness ให้เป็นที่รู้จักในหมู่คนไทย ผ่านการโปรโมตในสื่อต่างๆ เเละขยายเส้นทางในประเทศไปพร้อมๆ กับการเตรียมการขยายเส้นทางต่างประเทศ

พัฒนาด้านดิจิทัล เซอร์วิส ตั้งเป้าเพิ่มจำนวนสมาชิก SkyFUN เว็บไซต์เเละแอปพลิเคชันของไทยเวียตเจ็ท จากราว 1 เเสนคนในปัจจุบันให้เป็น 2 เเสนคนภายในสิ้นปีนี้ โดยจะมีการให้สะสมคะเเนน มอบคูปองส่วนลดต่างๆ เพื่อดึงดูดผู้ใช้ พร้อมขยายเเผนกคอลเซ็นเตอร์ให้ทันกับจำนวนผู้ใช้ หลังมีการร้องเรียนว่าติดต่อยากเนื่องจากมีลูกค้าโทรเข้ามาจำนวนมาก เเละจะเริ่มให้บริการ AI Chatbot ในช่วงกลางปีนี้

ออกโปรโมชันที่เข้มข้นขึ้น อย่างการออกตั๋วบุฟเฟ่ต์ให้คนที่เดินทางบ่อยใช้ได้ตลอดปีกระตุ้นการเดินทางไปในตัว

เพิ่มรายได้อีคอมเมิร์ซ เป็นหนึ่งในกลยุทธ์เพื่อเพิ่มช่องทางการขายให้หลากหลายยิ่งขึ้น เสริมรายได้หลักจากทางฝั่งการบิน ด้วยการหาสินค้าเเละบริการต่างๆ มาจำหน่ายเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ บริษัทมีเป้าหมายเพิ่มสัดส่วนรายได้ในกลุ่ม Non-Airline ให้ได้ 30% จากปัจจุบันที่มีสัดส่วนที่ประมาณ 25%

“ไทยเวียตเจ็ท กำลังจะนำชานมไข่มุกเเบรนด์ดังอย่าง BROWN ที่มีกลุ่ม CRG ถือหุ้นใหญ่ มาให้บริการบนเครื่องด้วย”

โดยที่ผ่านมา VietJet บริษัทเเม่ในเวียดนาม มีรายได้จากการจำหน่ายสินค้าและบริการเสริม คิดเป็นกว่า 50% ของรายได้ทั้งหมด เป็นหนึ่งในความพยายามของสายการบินที่จะหารายได้จากขายสินค้าและบริการเพื่อชดเชยรายได้จากตั๋วโดยสารที่ลดลง พร้อมมีการปรับเครื่องบินเพื่อขนส่งสินค้าทางอากาศมากขึ้น 

บริหารจัดการต้นทุน โดยเฉพาะการลดค่าใช้จ่ายในการจัดสรรฝูงบิน ซึ่งที่ผ่านมาบริษัทเเม่ได้มีการเจรจาขอส่วนลดกับท่าอากาศยาน ปรับโครงสร้างค่าเช่าเครื่องบิน การปรับลดเงินเดือนพนักงานไปตามสัดส่วน (ปัจจุบันมีอยู่ราว 740 คน) รวมถึงการลดค่าใช้จ่ายอื่นๆ ในองค์กร

ซีอีโอ ไทยเวียตเจ็ท’ มองทิศทางใหม่ของสายการบินต้นทุนต่ำหรือ ‘โลว์คอสต์’ จะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป หลังได้รับผลกระทบสาหัสจาก COVID-19 หลายสายการบินต้องล้มหายไป หรือต้องเข้าแผนฟื้นฟูกิจการ เฉพาะในไทยก็มี 3 บริษัทเเล้ว เเม้ธุรกิจสายการบินโดยรวมจะยังอยู่ได้ เเต่จะอยู่ในรูปแบบที่เปลี่ยนไป เพราะเจ้าไหนที่สามารถควบคุมต้นทุนได้ดี ก็จะฟื้นตัวเเละเติบโตได้ดีกว่า 

ที่ผ่านมา สายการบินต้นทุนต่ำจะแข่งขันกันด้วย ‘volume’ เน้นขายราคาถูก เเต่ตอนนี้การเเข่งขันไม่ได้จำกัดเเค่ระหว่างสายการบินด้วยกันเเล้ว เเต่เป็นการเเข่งขันด้วย ‘ประเทศ’ ว่าประเทศไหนจะมีความพร้อมเรื่องวัคซีน มีมาตรการเปิดรับนักท่องเที่ยวได้ดีเเละเร็วกว่ากัน…

 

 

]]>
1326301