ยูนิคอร์น – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 09 Dec 2022 11:33:06 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ส่องเหล่า “บิ๊กเทคอาเซียน” ปีนี้ “ปลดพนักงาน” ไปมากน้อยแค่ไหนหลังเจอพิษเศรษฐกิจ https://positioningmag.com/1411739 Fri, 09 Dec 2022 05:13:30 +0000 https://positioningmag.com/?p=1411739 หากนับเฉพาะบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ของโลก จะเห็นการปลดพนักงานครั้งใหญ่ โดยเฉพาะ Meta บริษัทแม่ของ Facebook ที่ปลดพนักงานราว 11,000 คน หรืออย่าง Microsoft ก็มีรายงานว่าปลดพนักงานน้อยกว่า 1,000 คน เนื่องจากการชะลอตัวของการเติบโต ดังนั้น มาดูในฝั่งของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้บ้านเรากัน ว่าเหล่าสตาร์ทอัพปลดพนักงานกันไปมากน้อยแค่ไหนในปีนี้

ในปีนี้ มีเหล่าสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จำนวนหลายรายที่ เลิกจ้างพนักงาน เนื่องจากความผันผวนของเศรษฐกิจ อย่างเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว คารูเซลล์ (Carousell) แพลตฟอร์มซื้อขายสินค้ามือสองออนไลน์สัญชาติ สิงคโปร์ ประกาศว่าจะปลดพนักงานประมาณ 10% ของจำนวนพนักงาน หรือประมาณ 110 ตำแหน่ง

หรือในเดือนพฤศจิกายน โกทู กรุ๊ป (GoTo Group) แพลตฟอร์มธุรกิจส่งอาหารและธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ที่เกิดจากการควบรวมของ โกเจ็ก (Gojek) และ Tokopedia สองยูนิคอร์นของอินโดนีเซีย ก็ได้ลดพนักงานลง 1,300 ตำแหน่ง หรือประมาณ 12% ของจำนวนพนักงาน เนื่องจากนับตั้งแต่เดือยมกราคม-กันยายน บริษัทยังคงขาดทุนเพิ่มขึ้น

ส่วนบริษัทที่มีการลดพนักงานมากที่สุดก็คือ ซี กรุ๊ป (Sea Group) เจ้าของธุรกิจเกม Garena อีคอมเมิร์ซ Shopee และอีเพย์เมนต์ โดยได้ลดขนาดพนักงานกว่า 7,000 คน ในช่วงหกเดือนที่ผ่านมา เพื่อลดภาวะขาดทุนเป็นการปรับโครงสร้างธุรกิจให้มีศักยภาพมากขึ้น

สำหรับ Carousell ตัวซีอีโออย่าง Quek Siu Rui ได้ออกมายอมรับกับพนักงานว่า เขา “มองโลกในแง่ดีเกินไป” เกี่ยวกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจหลักโควิด และประเมินผลกระทบของการเติบโตของทีมอย่างรวดเร็วนั้นผิดไป ทั้งนี้ รายได้ของ Carousell ในปี 2021 แม้จะยังเติบโต แต่ก็ช้าลงถึง 21% เมื่อเทียบกับรายได้ที่เพิ่มขึ้นสามเท่าในปี 2020

นอกจากนี้ ยังมีบริษัทสตาร์ทอัพอื่น ๆ ที่ลดจำนวนพนักงาน อาทิ

  • Foodpanda แพลตฟอร์มฟู้ดเดลิเวอรี่ ลด 60 ตำแหน่ง
  • Zenius แพลตฟอร์มด้านการศึกษาเบอร์ 2 ของอินโดนีเซีย ลดกว่า 200 ตำแหน่ง
  • Carsome แพลตฟอร์มซื้อ-ขายรถยนต์มือสองออนไลน์ ลด 10%
  • Glints แพลตฟอร์มค้นหางานของสิงคโปร์ ลด 18%

รัดเข็มขัด โฟกัสความยั่งยืน

Jia Jih Chai ผู้ร่วมก่อตั้งและซีอีโอของ Rainforest ผู้รวบรวมแบรนด์อีคอมเมิร์ซในสิงคโปร์ กล่าวว่า หนึ่งในสาเหตุที่เหล่าสตาร์ทอัพต้องลดจำนวนพนักงานเป็นเพราะ ต้องระมัดระวังในการจัดการต้นทุนในสภาพแวดล้อมนี้ เพื่อให้แน่ใจว่าจะสามารถวิ่งได้ไกลถึงปี 2567

“มีสัญญาณว่าเรากำลังเข้าสู่ภาวะถดถอย ดังนั้น ความต้องการของลูกค้าจึงมีแนวโน้มชะลอตัวลงในปี 2566 และความจริงก็คือ เราเพิ่มค่าใช้จ่ายและจ้างงานได้อย่างรวดเร็ว แต่เราใช้เวลาในการหารายได้นานกว่าที่คิดไว้

เควกยังกล่าวอีกว่า เป็นเรื่องรอบคอบเท่านั้นที่บริษัทจะสามารถทำกำไรเป็นกลุ่มได้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เนื่องจากยังไม่ชัดเจนว่าสภาวะตลาดจะดีขึ้นหรือไม่

ด้าน เจฟรีย์ โจ ผู้ร่วมก่อตั้งและหุ้นส่วนผู้จัดการของ Alpha JWC Ventures ในอินโดนีเซีย กล่าวว่า ก่อนหน้านี้เหล่าสตาร์ทอัพถูกออกแบบมาให้ เร่งการเติบโต อาทิ Sea Group และ Grab ที่ขาดทุนสะสมมาหลายปี แต่ปัจจุบันบริษัทจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนเพื่อเปลี่ยนจากการเติบโตอย่างรวดเร็วไปสู่ การเติบโตอย่างยั่งยืนแทน ขณะที่เหล่านักลงทุนในปัจจุบันก็กำลังเน้นให้เหล่าสตาร์ทอัพโฟกัสการทำตลาดในระยะยาวมากกว่า

Source

]]>
1411739
‘LINE MAN Wongnai’ ขึ้นแท่น ‘ยูนิคอร์น’ รายใหม่ หลังระดมทุนซีรีส์บี 265 ล้านดอลลาร์สหรัฐ https://positioningmag.com/1401682 Mon, 26 Sep 2022 05:50:08 +0000 https://positioningmag.com/?p=1401682 LINE MAN Wongnai ประกาศระดมทุนรอบซีรีส์บี มูลค่า 265 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (9,700 ล้านบาท) โดยการระดมทุนครั้งนี้ทำให้บริษัทมีมูลค่าหลังระดมทุนมากกว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (3.7 หมื่นล้านบาท) ขึ้นเป็นเทคสตาร์ทอัพที่ใหญ่ที่สุดของไทยเมื่อวัดจากมูลค่าบริษัท และขึ้นแท่นเป็น ยูนิคอร์น รายใหม่ของไทย

ย้อนไปในปี 2020 เมื่อ วงใน (Wongnai) แพลตฟอร์มรีวิวร้านอาหารและข้อมูลด้านไลฟ์สไตล์ ได้ถูก ไลน์แมน (LINE MAN) แพลตฟอร์ม on-demand ส่งอาหารและส่งของของ LINE เข้าควบรวมกิจการในมูลค่า 3,300 ล้านบาท โดยได้งบลงทุนจากบริษัท BRV Capital Management (BRV)

ล่าสุด LINE MAN Wongnai ก็ระดมทุนซีรีส์บีได้อีก 265 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งนำโดย GIC กองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติของสิงคโปร์ ที่ก่อตั้งเมื่อปี 1981 และบริษัท LINE Corporation นอกจากนี้ยังมี BRV Capital Management, บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) (OR), Bualuang Ventures และ Taiwan Mobile ร่วมลงทุนด้วย

โดยทาง ยอด ชินสุภัคกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร LINE MAN Wongnai ระบุว่า เงินที่ได้จากการระดมทุนจะนำมาเสริมความแข็งแกร่งในธุรกิจส่งอาหาร ขยายไปสู่บริการใหม่ ๆ ขยายทีมงานด้านเทคโนโลยี และยกระดับโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยี บริษัทตั้งเป้าเพิ่มจำนวนพนักงานฝ่ายเทคโนโลยีให้มากกว่า 450 คนภายในสิ้นปี 65

“ความสำเร็จของการระดมทุนครั้งนี้ถือเป็นก้าวสำคัญของ LINE MAN Wongnai ต้องขอขอบคุณ GIC, LINE และนักลงทุนรายอื่น ๆ ที่ให้โอกาสพวกเราสร้างการเปลี่ยนแปลงสำคัญ และขึ้นเป็น National Champion ในอุตสาหกรรมส่งอาหารของประเทศไทย อาหารถือเป็นรากเหง้าของเรามาตั้งแต่เมื่อร่วมก่อตั้ง Wongnai และตอนนี้พวกเราบรรลุความฝันในการเชื่อมต่อลูกค้าหลายล้านคนกับร้านอาหารจำนวนมาก เรายังภูมิใจที่สามารถสร้างงานให้กับไรเดอร์มากกว่า 1 แสนตำแหน่งทั่วประเทศ โดยไรเดอร์จำนวนมากมีรายได้มากกว่าค่าแรงขั้นต่ำ 2 เท่า เรามุ่งมั่นที่จะผลักดันประเทศไทยไปข้างหน้า ด้วยการพัฒนาบริการที่ยอดเยี่ยมสำหรับคนไทย เพื่อให้คนไทยมีชีวิตที่ดีขึ้น”

สำหรับ LINE MAN Wongnai ก่อตั้งในปี 63 จากการควบรวมระหว่างแพลตฟอร์มออนดีมานด์ LINE MAN และแพลตฟอร์มรีวิวร้านอาหาร Wongnai โดยมีเป้าหมายเป็นแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซด้านบริการ (E-commerce Platform for Services) ที่มีนวัตกรรมมากที่สุด โดยปัจจุบัน LINE MAN Wongnai มีธุรกิจในเครือ 3 กลุ่มหลัก ได้แก่

  • กลุ่มบริการออนดีมานด์ – บริการภายใต้แบรนด์ LINE MAN ครอบคลุมการส่งอาหาร สินค้า เมสเซนเจอร์ และแท็กซี่ โดยธุรกิจส่งอาหารมีอัตราการเติบโตของจำนวนออเดอร์ต่อเดือนมากกว่า 15 เท่าระหว่างมกราคมปี 63 ถึงสิงหาคมปี 65 ถือเป็นบริการส่งอาหารที่เติบโตเร็วที่สุดในไทย ปัจจุบัน LINE MAN ให้บริการครอบคลุมพื้นที่ 77 จังหวัดทั่วไทย และมีร้านอาหารบนแพลตฟอร์มกว่า 700,000 ร้าน ซึ่งมากที่สุดในท้องตลาด
  • กลุ่มโซลูชันสำหรับร้านค้าและร้านอาหาร – Wongnai มีฐานข้อมูลร้านค้าและร้านอาหารมากกว่า 1 ล้านร้านทั่วไทย นำมาให้บริการค้นหาข้อมูลร้านอาหารและรีวิวจากผู้ใช้งานจริง รวมทั้งมี Wongnai POS ระบบจัดการร้านอาหารและการขายผ่านเดลิเวอรี่ ถือเป็นผู้นำตลาด POS สำหรับร้านอาหาร และมีผู้ประกอบการร้านอาหารใช้งานมากกว่า 50,000 ร้าน
  • กลุ่มธุรกิจเสริมมูลค่า – ด้วยฐานผู้ใช้งานเดลิเวอรี่ที่มีทั้งผู้ใช้ ผู้ขับขี่ และร้านอาหารจำนวนมาก นำมาสู่ธุรกิจใหม่ที่ช่วยเพิ่มมูลค่าแก่ทุกภาคส่วนในอีโคซิสเต็ม โดยมีทั้งธุรกิจโฆษณาสำหรับร้านอาหาร และธุรกิจบริการทางการเงิน
]]>
1401682
อัปเดต ‘Moonshot Mission’ ของ SCB 10X ความท้าทายในการเเสวงหา ‘ยูนิคอร์นตัวใหม่’ https://positioningmag.com/1379519 Thu, 31 Mar 2022 12:21:43 +0000 https://positioningmag.com/?p=1379519 ในปีที่ผ่านมา ‘SCB 10X’ โฮลดิ้งคอมพานีในกลุ่มไทยพาณิชย์ ที่มุ่งเข้าไปลงทุนในบริษัทเทคดาวรุ่งและสตาร์ทอัพศักยภาพสูงทั่วโลก ได้รับการจัดอันดับจาก CB Insights ให้เป็น Corporate Venture Capital (CVC) ที่ ลงทุนในสตาร์ทอัพด้าน ‘Fintech’ มากที่สุด เป็นอันดับ 2  ร่วมกับ PayPal Ventures ยักษ์ใหญ่จากสหรัฐฯ เเละและอันดับที่ 8 จาก CVC ทั่วโลก

โดย SCB 10X โฟกัสการลงทุนในธุรกิจใหม่ที่ขับเคลื่อนด้วยดิจิทัลเทคโนโลยี ทั้งการเข้าไปลงทุนเอง การลงทุนร่วมสร้าง กับเป้าหมายผลักดันให้กลุ่มไทยพาณิชย์เติบโตสู่การเป็นกลุ่มบริษัทเทคโนโลยีการเงิน ที่มีมูลค่าเกิน 1 ล้านล้านบาทและฐานลูกค้ากว่า 200 ล้านคน นับเป็นก้าวสำคัญที่จะนำมาซึ่งโอกาสด้านการลงทุนเเละสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ในประเทศ

วันนี้ เราจะมาพูดคุยกับมุขยา พานิช Chief Venture and Investment Officer บริษัท เอสซีบี เท็นเอกซ์ จำกัด (SCB 10X) กับภารกิจ “Moonshot Mission” พร้อมอัปเดตโปรเจกต์ แผนการลงทุนเเละเทรนด์เทคโนโลยีที่น่าสนใจ ความท้าทายของวงการสตาร์ทอัพ สงครามการเเย่งชิงเหล่า ‘Talents’ เเละคนเเบบไหนที่ SCB 10X อยากได้มาร่วมงานมากที่สุด

เดินหน้าปั้น ‘ยูนิคอร์น’ ตัวใหม่ 

มุขยา อธิบายถึง “Moonshot Mission” ของ SCB 10X ให้ฟังว่า เป็นเหมือนภารกิจการเดินทางออกไปสำรวจความเป็นไปได้ใหม่ๆ เพื่อสร้างการเติบโตแบบก้าวกระโดดให้กับองค์กร

โดยจะมีการโฟกัสไปที่การลงทุนด้าน ‘Disruptive Technology’ ได้แก่ เทคโนโลยีด้านการเงิน (Fintech) โดยเฉพาะบล็อกเชน (Blockchain) ที่เกี่ยวกับด้าน Financial Services รวมถึงสินทรัพย์ดิจิทัล (Digital Asset) Web 3.0 และ Metaverse

นอกจากนี้ ยังมีความสนใจเกี่ยวกับเทคโนโลยี DAO หรือ Decentralized Autonomous Organization ที่มีแนวโน้มจะเติบโตสูง ตามจำนวนโปรเจกต์ที่เกี่ยวกับ DeFi, NFT, Web 3.0 ที่มีมากขึ้น

ในช่วงที่ผ่านมา SCB 10X ได้เข้าไปลงทุนไปในสตาร์ทอัพแล้วกว่า 48 แห่ง บริษัทใน 15 ประเทศทั่วโลก

ในจำนวนนี้มี 10 บริษัทที่ประสบความสำเร็จขึ้นเป็นยูนิคอร์น (มูลค่ามากกว่า 1 พันล้านดอลลาร์) เเละอีก 11 บริษัทได้เป็นเซ็นทอร์ (มูลค่ามากกว่า 100 ล้านดอลลาร์) และ 5 บริษัทเป็นลิตเติลโพนี่ (มูลค่ามากกว่า 10 ล้านดอลลาร์)

โดยเป็นการลงทุนทั้งในเเบบ Build คือ Venture Builder และ Invest คือ Venture Capital ผ่านงบประมาณสำหรับลงทุนในช่วง 3-5 ปี ที่มีอยู่กว่า 2 หมื่นล้านบาท ซึ่งปัจจุบันยังมีเงินทุนเหลือเพียงพอที่จะเข้าไปลงทุนเเละปลุกปั้นสตาร์ทอัพตัวต่อๆ ไป

สำนักงานใหญ่บน Metaverse เชื่อมต่อผู้คนทั่วโลก

สำหรับการเปิดตัวสำนักงานใหญ่ (Headquarters) ของ SCB 10X ใน ‘The Sandbox’ แพลตฟอร์มโลกเสมือนจริงที่พัฒนาบนเทคโนโลยีบล็อกเชน หรือ Metaverse นั้น มีจุดประสงค์หลักคือการเป็นพื้นที่สำหรับสร้างรากฐานระบบนิเวศและคอมมูนิตี้ที่ขับเคลื่อนโดยชุมชน (Community-Driven) บนโลก Metaverse รวมถึงมุ่งสนับสนุนส่งเสริมและผลักดันความคิดสร้างสรรค์ของศิลปินชาวไทยสู่ตลาดโลก

นอกจากนี้ ยังเป็นพื้นที่สำหรับเชื่อมผู้คนจากทั่วทุกมุมโลก ให้สามารถเข้ามามีส่วนร่วมบนโลกเสมือนจริงพร้อมต่อยอดและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอันทันสมัยกับอุตสาหกรรมต่างๆ รวมถึงอุตสาหกรรมการเงิน คาดว่าจะสามารถเปิดให้บุคคลทั่วไปเข้าเยี่ยมชมได้ภายในไตรมาส 4 ปี 2565 นี้

โดยแบ่งประโยชน์การใช้สอย 3 ด้านหลัก ได้แก่ 

1. Virtual Hub พื้นที่แบ่งปันความรู้ (Event & Knowledge Sharing) เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีและการมีส่วนร่วม

2. Virtual Land พื้นที่สำหรับพันธมิตรทางธุรกิจในการทำกิจกรรมร่วมกันและพัฒนาต่อยอดโครงการอื่น ๆ ในอนาคต

3. พื้นที่แสดงผลงานและคอนเสิร์ต สนับสนุนและผลักดันศิลปินชาวไทยสู่ตลาดโลก ในรูปแบบต่างๆ เช่น NFT Gallery เป็นต้น

บิ๊กดีล SCB 10X ร่วม CP คาดได้ใบอนุญาตใน Q3

ด้านความคืบหน้าของบิ๊กดีลระหว่าง 2 บริษัทยักษ์ใหญ่ในไทย โดยในปีนี้นี้ SCB 10X  มีแผนจะจัดตั้งกองทุน Venture Capital (VC) ร่วมกับเครือเจริญโภคภัณฑ์ (CP) ขนาด 600-800 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 19,800-26,400 ล้านบาท)

เพื่อลงทุนใน ‘Disruptive Technology’ ด้านบล็อกเชนสินทรัพย์ดิจิทัลเทคโนโลยีด้านการเงินและเทคโนโลยีอื่นๆที่มีศักยภาพในการเติบโตสูงทั่วโลกซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาอนุมัติจากหน่วยงานกำกับทางการ โดยคาดว่าจะได้รับใบอนุญาตภายในช่วงไตรมาส 3 ของปีนี้

มีวินัยในการลงุทน ‘Valuation’ ต้องไม่สูงเกินไป 

เมื่อถามถึงความท้าทายของการลงทนสตาร์ทอัพในปีนี้ คุณมุขยา มองว่าคือเรื่องมูลค่า’ (Valuation) เพราะในปีที่ผ่านมา ทั้งบล็อกเชนและสินทรัพย์ดิจิทัลได้รับความนิยมเเละเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางมากขึ้น

ซึ่งจะเห็นว่ามี Venture Capital (VC) จำนวนมากเข้ามาลงทุนในสตาร์ทอัพเหล่านี้ เเละแม้แต่ VC ที่เน้นการลงทุนแบบดั้งเดิมก็กระโจนเข้ามาในธุรกิจนี้ เกิดการระดมทุนใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง ดังนั้น Valuation ของสตาร์ทอัพในปีนี้ จึงค่อนข้างสูงกว่าปีที่เเล้ว

“สตาร์ทอัพ Series A ในปีนี้ ราคาต่างกับปีที่เเล้วค่อนข้างเยอะ เป็นความท้าทายอย่างมาก เราเองจึงต้องมีวินัยในการลงทุน เมื่อมองว่าราคาสูงเกินไปก็ต้อง ‘Walk Away’ ออกมาเพื่อรอจังหวะ รวมถึงเข้าไปลงทุนในสตาร์ทอัพตั้งแต่ระดับ Early Stage และ Seed Round ซึ่งยังมีราคาไม่สูงมากนัก เลือกลงทุนใน Series A มากขึ้น เพราะ Series B และ C อาจจะแพงเกินไป”

สำหรับสตาร์ทอัพที่ ‘SCB 10X’ อยากจะเข้าไปลงทุนนั้น จะโฟกัสเเละให้ความสำคัญกับเรื่องโครงสร้างพื้นฐานค่อนข้างมาก ก่อนที่จะมีการขยับไปครีเอทเเอปพลิเคชันเเละอื่นๆ โดยปีนี้สนใจหมวด Web 3.0 เป็นพิเศษ

ศึกชิง ‘Talents’ ตามหาคน ‘กล้าพูด กล้าทำ’

โดยระหว่างปี 2022-2024 ถือเป็นช่วงที่ ‘SCB 10X’ ตั้งเป้าการเติบโตแบบ Exponential จึงต้องมีการขยายทีมมากขึ้นทั้งด้านการลงทุนเเละซัพพอร์ต ซึ่งหนึ่งในความท้าทายที่สำคัญ ก็คือการเฟ้นหา ‘Talents’ แรงงานทักษะสูงเข้ามาเสริมทัพ

การเฟ้นหา Talents ในเมืองไทยมีการเเข่งขันกันสูงมาก คนเก่งส่วนใหญ่มักจะเป็น Founder เอง หรือไม่ก็ถูกบริษัทเทคยักษ์ใหญ่เเละสตาร์ทอัพชื่อดังในต่างประเทศคว้าตัวไปก่อนแล้ว เพราะทุกคนสามารถทำงานทางไกลจากที่ไหนก็ได้ในโลก เเต่จุดนี้ก็ทำให้เรามีโอกาสที่จะได้ทำงานกับ Talents ในภูมิภาคหรือที่อื่นๆ ในโลกได้เช่นกัน

ในส่วนงาน ’Metaverse’ บริษัทก็มีแผนที่จะ Spin-Off ออกไปจัดตั้งเป็นอีกหนึ่งบริษัท เพื่อรับจ้างทำให้กับธุรกิจทั่วไปที่สนใจ ซึ่งก็ต้องมีการเปิดรับพนักงานใหม่เพิ่มขึ้น รวมถึงมีไอเดียจะเปิดบริษัทใหม่ๆ เพื่อรองรับการเปลี่ยนเเปลงของโลกดิจิทัล

สำหรับการบริหารจัดการทีมของ ‘SCB 10X’  จะเป็นเเบบ Flat Organization มีไม่กี่เลเวล ทำให้ตัดสินใจได้รวดเร็ว เเละมีวัฒนธรรมองค์กรที่ยึดถือคือ B-O-O-S-T = Boldness , Ownership , Open , Speed เเละ Trust

คนที่เราอยากได้มาร่วมงานมากที่สุดนั้นจะต้องกล้าพูด กล้าทำเป็นคนที่กล้าริเริ่มเเละต้องรีบทำ เพราะถ้าหากล้มเหลวขึ้นมาก็จะได้มาช่วยกันเเก้ไขเเละพัฒนาได้ก่อน” 

 

]]>
1379519
จับตา ยุค ‘ตื่นทอง’ ของสตาร์ทอัพอาเซียน เงินระดมทุนเพิ่มขึ้นเท่าตัว ปั้นยูนิคอร์นรุ่นใหม่ https://positioningmag.com/1372526 Tue, 01 Feb 2022 09:44:23 +0000 https://positioningmag.com/?p=1372526 เหล่าสตาร์ทอัพดาวรุ่งในอาเซียน ระดมทุนได้สูงสุดเป็นประวัติการณ์ถึง 2.57 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2021 เพิ่มขึ้นเท่าตัวจากปีก่อนหน้านี้

ช่วงวิกฤตโควิด-19 นักลงทุนทั่วโลกอที่ถือครองเงินสดจำนวนมาก ต่างพยายามเข้ามามีส่วนร่วมในตลาดอาเซียน ที่เป็นเหมือนขุมทองด้านเทคโนโลยีเเห่งใหม่ของโลก จากศักยภาพการเติบโตท่ามกลางการขับเคลื่อนของเศรษฐกิจดิจิทัล

บรรดากองทุนต่างๆ เเละบริษัทร่วมทุนขนาดใหญ่ กำลังแสวงหาโอกาสการลงทุนที่จะช่วยให้ได้รับผลตอบแทนเพิ่มขึ้น ดังนั้น ผู้เชี่ยวชาญจึงประเมินว่า ยุคตื่นทอง” (Gold Rush) ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะยังคงดำเนินต่อไปในปีนี้ หลังปั้นยูนิคอร์นได้ถึง 25 บริษัท เเละเงินลงทุนกำลังจะเข้าหากลุ่มสตาร์ทอัพรุ่นใหม่ ที่ยังมีต่ำกว่ามูลค่า 1 พันล้านดอลลาร์มากขึ้น 

อาเซียน เนื้อหอมดึงดูดเงินทุนทั่วโลก 

รายงานของ SE Asia Deal Review ที่รวบรวมโดย DealStreetAsia แพลตฟอร์มข้อมูลสตาร์ทอัพของสิงคโปร์ ระบุว่า ในปี 2021 ที่ผ่านมาสตาร์ทอัพในภูมิภาคนี้สามารถระดมทุนได้ถึง 2.57 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 2.7 เท่า จาก 9.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2020 และมากกว่าปี 2018 ที่เคยมีมีการระดมทุนสูงสุดที่ 1.4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ

ตัวเลขการระดมทุนที่เพิ่มขึ้น เป็นสัญลักษณ์ของตลาดใหม่ที่กำลังเติบโต เเละยังเป็นเครื่องพิสูจน์ถึงความเชื่อมั่นของนักลงทุนทั่วโลกที่มีต่อตลาดอาเซียน ทั้งในแง่การเป็นตลาดเกิดใหม่สำหรับธุรกิจและศูนย์กลางนวัตกรรมทางเทคโนโลยีระดับโลก” DealStreetAsia กล่าวในบทวิเคราะห์

ยุค Gold Rush เเห่งอาเซียน 

ระบบนิเวศของสตาร์ทอัพในอาเซียน เริ่มเติบโตในช่วงต้นปี 2010 ตามหลังจีนอยู่ประมาณ 5-10 ปี ท่ามกลางช่วงธุรกิจสมาร์ทโฟนที่เข้ามาเจาะตลาดอาเซียน 

จนกระทั่งก่อนเกิดโรคระบาด เงินทุนส่วนใหญ่เริ่มตกไปอยู่กับกลุ่มสตาร์ทอัพใหม่ที่เติบโตอย่างโดดเด่นอย่าง Grab ของสิงคโปร์ เเละ Gojek คู่แข่งจากอินโดนีเซีย

โดยหนึ่งในนักลงทุนรายใหญ่ที่เข้ามาบุกอาเซียน ก็คือ ‘SoftBank Group’ ของญี่ปุ่น ที่ทุ่มเงินหลายพันล้านดอลลาร์ให้กับ Grab และ Tokopedia แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซของอินโดนีเซีย

สำหรับบริษัทที่ระดมทุนได้มากในปี 2021 คือGoTo’ ของอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นบริษัทเทคฯ ที่เกิดขึ้นจากการควบรวมกิจการระหว่าง Gojek เเละ Tokopedia ซึ่งระดมทุนได้ราว 1,600 ล้านดอลลาร์ รวมถึงเงินทุนที่ Gojek ระดมทุนได้ก่อนรวมกิจการกันทำให้เป็นบริษัทที่ระดมทุนได้มากที่สุดอันดับสองของภูมิภาค 

Photo : Shutterstock

ขณะที่ Grab ระดมทุนได้ 675 ล้านดอลลาร์ ก่อนเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สหรัฐฯ ในเดือนธ..ที่ผ่านมา ขึ้นเป็นบริษัทใหญ่สุดอันดับที่ 4

เมื่อเทียบกับจุดสูงสุดของการระดมทุนในปี 2018 เราได้เห็นการกระจายตัวของแหล่งเงินทุนไปยังบริษัทที่หลากหลายมากขึ้น ทั้งในตลาดและภาคส่วนต่างๆ ซึ่งมีความสำคัญต่อสุขภาพและการเติบโตของระบบนิเวศ

Yinglan Tan ผู้จัดการกองทุน Insignia Ventures เเสดงความคิดเห็นของเขาในรายงาน DealStreetAsia โดยเขาอธิบายสถานการณ์ปัจจุบันว่าเป็น “ยุคตื่นทองของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้”

ปี 2021 ปั้นยูนิคอร์น 25 ตัว จับตาสตาร์ทอัพรุ่นใหม่ 

เมื่อแยกตามภาคธุรกิจเเล้ว สตาร์ทอัพกลุ่มฟินเทคถือเป็นอุตสาหกรรมที่ได้รับการระดมทุนมากที่สุดในปี 2021 โดยระดมทุนได้กว่า 5,830 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 4 เท่าจาก 1,460 ล้านดอลลาร์ในปี 2020

โดยการระบาดของโควิด-19 ได้กระตุ้นให้เกิดการชำระเงินแบบไร้เงินสดมากขึ้นและบริการทางการเงินออนไลน์อื่นๆมากขึ้น

บริการเหล่านี้มีผลกระทบทางสังคมนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างมากหากเทียบกับตลาดที่พัฒนาแล้วจากการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของประชาชนรายใหม่เเละการเปิดบัญชีออนไลน์มากขึ้น

ยกตัวอย่าง เช่น สตาร์ทอัพ Mynt ของฟิลิปปินส์ หรือที่รู้จักกันในชื่อกระเป๋าเงินเคลื่อนที่ GCash ที่ได้รับการสนับสนุนโดยบิ๊กเทคของจีนอย่าง Ant Group ระดมทุนได้ 475 ล้านดอลลาร์ในปี 2021 จากบรรดานักลงทุนระดับโลก ซึ่งรวมถึง Warburg Pincus กองทุนเพื่อการลงทุนหุ้นนอกตลาดจากสหรัฐฯ

ด้านภาคโลจิสติกส์ตามมาเป็นอันดับสอง ด้วยยอดการระดมทุนได้ประมาณ 5,560 ดอลลาร์ในปี 2021 ด้วยปัจจัยหนุนการเติบโตของธุรกิจอีคอมเมิร์ซที่เติบโตอย่างรวดเร็ว จากความต้องการของผู้บริโภคที่ช้อปปิ้งออนไลน์เเละส่งพัสดุเพิ่มขึ้นมาก  

การลงทุนที่เพิ่มขึ้น ก็มาพร้อมกับการประเมินมูลค่าที่สูงขึ้นเช่นกัน โดยบริษัททั้ง 4 แห่ง ได้แก่ Mynt, MoMo, J&T Express และ Ninja Van ก็มีมูลค่าทะลุ 1 พันล้านดอลลาร์ได้ปีที่แล้ว นับเป็นอีกกลุ่มสตาร์ทอัพยูนิคอร์นที่เพิ่มขึ้นในภูมิภาคนี้

DealStreetAsia ระบุว่า มีสตาร์ทอัพ 25 แห่งจาก 6 ประเทศอาเซียน ก้าวขึ้นมาเป็นบริษัทยูนิคอร์นได้ในปี 2021 โดยทั้งหมดมีมูลค่ารวมอยู่ที่ราว 55,400 ล้านดอลลาร์ และส่วนใหญ่เป็นบริษัทสตาร์ทอัพในอินโดนีเซียและสิงคโปร์

นอกจากนี้ ยังมียูนิคอร์นที่เพิ่งเกิดใหม่ที่น่าสนใจอย่าง Carro แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซสำหรับรถยนต์มือสอง ของสิงคโปร์ , บริษัทโลจิสติกส์ของไทย Flash Express และร้านกาแฟในเครือ Kopi Kenangan ของอินโดนีเซีย

เหล่าผู้เชี่ยวชาญ มองว่าการไหลเข้ามาของเงินทุนจะดำเนินต่อเนื่องในปี 2565 เนื่องจากมีเงินทุนจากภายนอกเข้ามาให้ความสนใจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มสตาร์ทอัพรุ่นใหม่ที่ยังมีต่ำกว่ามูลค่า 1 พันล้านดอลลาร์

]]>
1372526
ย้อนดู ‘3 ยูนิคอร์น’ สัญชาติไทยที่เกิดพร้อมกันในปี 2021 https://positioningmag.com/1369454 Wed, 05 Jan 2022 07:47:56 +0000 https://positioningmag.com/?p=1369454 หากพูดถึงวงการสตาร์ทอัพไทยที่มีมานานเกือบ 10 ปี แต่ในช่วง 2-3 ปีหลังหลายคนเริ่มมองว่าเป็นขาลง ขนาด ‘Dtac’ ยังยุบ ‘Dtac Accelerate’ ไป หลายคนในแวดลงมองว่ามีเพียง ‘ยูนิคอร์น’ หรือ บริษัทที่มีมูลค่า ‘1,000 ล้านดอลลาร์’ เท่านั้นที่จะฟื้นความเชื่อมั่นได้ และในที่สุดปี 2021 ที่ผ่านมานี้ ประเทศไทยก็มียูนิคอร์นถือกำเนิดแถมไม่ได้มีแค่ตัวเดียว แต่กลับมีถึง 3 ราย ภายในปีเดียวกัน โดย Positiongmag จะสรุปยูนิคอร์นไทย 3 รายว่ามีใครบ้าง

1. Flash Express

ผู้ก่อตั้ง : นายคมสันต์ ลี

ธุรกิจ : บริษัท แฟลช เอ็กซ์เพรส โลจิสติกส์และอีคอมเมิร์ซครบวงจร (Flash Logistics, Flash Fulfillment, Flash Home, Flash Pay, Flash Money)

Flash Express (แฟลช เอ็กซ์เพรส) ก่อตั้งเมื่อปี 2017 ก่อนจะให้บริการในปี 2018 ซึ่งถือเป็นช่วงที่อีคอมเมิร์ซกำลังเติบโต จุดเด่นของแฟลชคือ ให้บริการตลอด 7 วันไม่มีหยุด มีบริการรับถึงบ้านฟรี เพื่อตัดปัญหาการหาหน้าร้าน รวมถึงราคาที่เริ่มต้นเพียง 15 บาท โดยตลอด 3 ปีที่ผ่านมา Flash มีการเติบโตกว่า 1,000% และได้มีการแตกบริการไปอย่างครบวงจร และในวันที่ 31 พ.ค. 2021 Flash ได้ระทมทุนซีรีส์ D+ และ E จาก SCB 10X, PTTOR, TOP และอื่น ๆ ส่งผลมูลค่าบริษัททะลุ 30,000 ล้านบาท ขึ้นเป็นยูนิคอร์นตัวแรกของประเทศไทย

2. Ascend Money

ผู้ก่อตั้ง : นายศุภชัย เจียรวนนท์

ธุรกิจ : บริษัท แอสเซนด์ มันนี่ จำกัด ในเครือแอสเซนด์ ให้บริการ Fintech เช่น E-Wallet (True Money), สินเชื่อออนไลน์ (Ascend Nano), ประกันออนไลน์ (Ascend Assurance, Ascend Weath)

Ascend Money เป็นบริษัทที่อยู่ในกลุ่ม Ascend Group ในเครือซีพี หากพูดถึงชื่อบริษัทหลายคนคงไม่คุ้น แต่ถ้าพูดชื่อของ True Money คนต้องรู้จักแน่นอน โดย True Money เริ่มให้บริการปี 2003 และในปี 2016 สามารถเติบโตอย่างก้าวกระโดดด้วยบริการ True Money Wallet นอกจากนี้ยังได้ Ant Financial Services Group บริษัทในเครือของ Alibaba Group เป็นพันธมิตร

ปัจจุบัน True Money ได้ให้บริการใน 6 ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มียอดผู้ใช้กว่า 50 ล้านราย เฉพาะยอดผูู้ใช้ไทยมีมากกว่า 20 ล้านราย ส่วนยอดการทำธุรกรรมรวมทั้งหมดกว่า 2,200 ล้านครั้ง เป็นมูลค่ารวมกว่า 14,000 ล้านดอลลาร์ (ตัวเลขสิ้นปี 2020)

และในเดือน ก.ย 2021 Ascend Money ก็มีมูลค่าเพิ่มเป็น 1,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หลังจากระดมทุนรอบล่าสุดจำนวน 150 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากบริษัท โบว์ เวฟ แคปปิตอล แมเนจเมนท์ (Bow Wave Capital Management) จากสหรัฐอเมริกา มาลงทุนร่วมกับเครือเจริญโภคภัณฑ์ และ แอนท์ กรุ๊ป (Ant Group) ทำให้บริษัทกลายเป็นฟินเทคยูนิคอร์นรายแรกของประเทศไทย

3. Bitkub 

ผู้ก่อตั้ง : นายจิรายุส ทรัพย์ศรีโอชา

ธุรกิจ : บริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด ในเครือบิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป Exchange Platform สำหรับการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล

หากพูดถึงคริปโตเคอร์เรนซีหรือสกุลเงินดิจิทัล แน่นอนว่ามันไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะไม่ว่าจะเป็น Bitcoin, Ethereum ต่างก็มีอยู่นานเเล้ว เเต่กระเเสกลับมาร้อนแรงขึ้นในช่วงปี 2020-2021 เนื่องจากมูลค่าที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างก้าวกระโดดจนใคร ๆ ก็อยากลงทุน โดยในไทยเองก็มี บิทคับ (Bitkub) Exchange Platform สำหรับการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล โดย Bitkub ก่อตั้งเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2018

เนื่องจากกระเเสความร้อนแรงของคริปโตเคอร์เรนซีรวมถึงแพลตฟอร์มของ Bitkub ทำให้ในเดือนพฤศจิกายน 2021 กลุ่ม SCBX ประกาศใช้เงินลงทุนถึง 17,850 ล้านบาท เข้าถือหุ้นสัดส่วน 51% ใน Bitkub ทำให้กลายเป็นยูนิคอร์นตัวที่ 3 ของเมืองไทยทันที

เชื่อว่าอนาคตของสตาร์ทอัพไทยคงไม่ได้มียูนิคอร์นแค่ 3 ตัวนี้แน่ ๆ เพราะยังมีสตาร์ทอัพอีกหลายรายที่มีศักยภาพในการเติบโต ไม่ว่าจะเป็น ‘LineMan Wongnai’ ที่ปัจจุบันมีมูลค่าถึงระดับ ‘เซนทอร์’ หรือประมาณ 3,300 ล้านบาท หรืออย่าง ‘Omise’ ก็เพิ่งสามารถระดมทุนในซีรีส์ C มาได้ ดังนั้น ในปี 2022 นี้จะได้เห็น ยูนิคอร์น ตัวที่ 4 หรือไม่ต้องติดตาม

]]>
1369454
วิเคราะห์เศรษฐกิจดิจิทัล ‘อาเซียน’ โตเเรง ดึงเงินทุนทั่วโลก ฉายเเววมี ‘ยูนิคอร์น’ เพิ่มขึ้น https://positioningmag.com/1362133 Mon, 15 Nov 2021 13:58:10 +0000 https://positioningmag.com/?p=1362133 เศรษฐกิจดิจิทัลในอาเซียน กำลังเป็นที่จับตามองจากนักลงทุนทั่วโลก หลังมีเเนวโน้มเติบโตสดใส แตะระดับ 1 ล้านล้านดอลลาร์ภายในปี 2030 จากจำนวนผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต ‘หน้าใหม่’ ที่เพิ่มขึ้นในช่วงวิกฤตโรคระบาด เทคสตาร์ทอัพดาวรุ่ง การขับเคลื่อนธุรกิจออนไลน์ อีคอมเมิร์ซเเละการเงินดิจิทัล

Nikkei Asia นำเสนอบทวิเคราะห์น่าสนใจ ถึงเศรษฐกิจดิจิทัลของกลุ่มประเทศอาเซียนที่คาดว่าจะมีมูลค่าถึง 3.63 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี 2025 และมีโอกาสแตะระดับ 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี 2030

ชาวเน็ตหน้าใหม่ มาพร้อมช้อปปิ้ง 

จากรายงาน e-Conomy SEA Report 2021 ซึ่งเผยเเพร่เมื่อ 10 ..ที่ผ่านมา โดยความร่วมมือของ Google , Temasek ของสิงคโปร์ และบริษัทที่ปรึกษาอย่าง Bain & Co. สำรวจกลุ่มเศรษฐกิจในอาเซียน 6 ประเทศ ได้แก่ เวียดนาม ไทย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย

พบว่า ในปีนี้มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตรายใหม่กว่า 40 ล้านคนในภูมิภาค เข้ามาในโลกออนไลน์ ทำให้ปัจจุบันยอดรวมของผู้เข้าถึงอินเทอร์เน็ตในอาเซียนเพิ่มขึ้นเป็น 350 ล้านคน คิดเป็น 75% ของประชากรทั้งภูมิภาค และที่สำคัญคือในจำนวนนี้กว่า 8 ใน 10 คน เคยสั่งซื้อของออนไลน์อย่างน้อย 1 ครั้ง

Stephanie Davis รองประธาน Google ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า ก่อนการแพร่ระบาดของโควิด-19 เมืองใหญ่ๆ ในภูมิภาคก็เป็นพื้นที่ที่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตและการบริโภคออนไลน์ในระดับสูงอยู่เเล้ว

เเต่หลังจากโรคระบาด การเปลี่ยนเเปลงที่เกิดขึ้นคือ จำนวนผู้เข้าถึงอินเทอร์เน็ตในพื้นที่นอกเมือง มีมากขึ้นเรื่อย ๆ และกลายมาเป็นผู้บริโภคกลุ่มใหญ่ในปี 2020 และขยายตัวมากขึ้นไปอีกในปีนี้ เราจะเริ่มมองไม่เห็นความแตกต่างระหว่างผู้บริโภคในเมืองและในชนบท

‘ยูนิคอร์น’ ในอาเซียนเริ่มมีมากขึ้นเรื่อยๆ 

อีกประเด็นสำคัญ คือ การเติบโตอย่างรวดเร็วของสตาร์ทอัพเทคโนโลยีที่มีมากขึ้นเรื่อยๆ ในภูมิภาคก็มีส่วนสำคัญที่ทำให้มูลค่าของเศรษฐกิจดิจิทัลของอาเซียนเพิ่มสูงขึ้นไปด้วย

โดยเฉพาะสตาร์ทอัพที่ประสบความสำเร็จระดับยูนิคอร์นที่มีมูลค่าบริษัทสูงกว่า 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ อย่าง ผู้ให้บริการซูเปอร์แอป Grab และ GoTo รวมถึง Sea Group บริษัทจดทะเบียนที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในปีนี้อาเซียน มีสตาร์ทอัพยูนิคอร์น เพิ่มขึ้นถึง 11 ราย ทำให้ปัจจุบันมียูนิคอร์นรวมเป็น 23 ราย

การที่บริษัทต่างๆ มุ่งเน้นไปในอีคอมเมิร์ซและเทคโนโลยีทางการเงิน จะมีส่วนช่วยเพิ่มมูลค่าของเศรษฐกิจอินเทอร์เน็ตของอาเซียนในทศวรรษหน้า

ท่ามกลางวิกฤตโรคระบาดที่ยืดเยื้อมานานเกือบ 2 ปีเกิดข้อจำกัดทางสังคมเเละเศรษฐกิจต่างๆ มากมายผู้บริโภคทั่วโลกต้องพึ่งพาบริการดิจิทัลอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

เหล่านี้ ทำให้มูลค่าของเศรษฐกิจอินเทอร์เน็ตในอาเซียนในปีนี้ ขยายตัวถึง 49% เป็น 1.74 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากระดับ 1.17 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2020

ธุรกิจการจัดส่งอาหาร หรือฟู้ดเดลิเวอรี่เป็นหนึ่งในบริการดิจิทัลที่เข้าถึงผู้บริโภคมากที่สุด โดย 71% ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเคยสั่งอาหารออนไลน์อย่างน้อยหนึ่งครั้ง

ขณะที่ บริการทางการเงินดิจิทัล ก็เติบโตอย่างแข็งแกร่ง’ รายงานระบุว่า การชำระเงินดิจิทัลและกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-wallets) กลายเป็นเทรนด์กระแสหลักอย่างรวดเร็ว เชื่อมโยงกับการเติบโตของอีคอมเมิร์ซ ที่การซื้อสินค้ามักจะถูกชำระผ่านออนไลน์แทนที่จะใช้เงินสด

การชำระเงินทางดิจิทัลขยายตัว 9% ตามมูลค่าธุรกรรมรวม จาก 6.46 เเสนล้านดอลลาร์ในปี 2020 เป็น 7.07 เเสนล้านดอลลาร์ในปีนี้ และคาดว่าจะสูงถึง 1.17 ล้านล้านดอลลาร์ ภายในปี 2025

ด้านการปล่อยสินเชื่อดิจิทัลในอาเซียน เพิ่มขึ้น 48% จาก 2.6 หมื่นล้านดอลลาร์ในปี 2020 เป็น 3.9 หมื่นล้านดอลลาร์ในปีนี้ เเละคาดว่าจะมีมูลค่าสูงถึง 1.16 เเสนล้านดอลลาร์ ภายในปี 2025

Photo : Shutterstock

ดึงดูดเงินทุนจากทั่วโลก 

ความโดดเด่นของฟินเทคและอีคอมเมิร์ซฉายเเสงดึงดูดความสนใจจากนักลงทุนในสตาร์ทอัพ รายงานของ Google ระบุว่า เงินทุนของจากทั่วโลกเข้ามาในกลุ่มสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีของอาเซียนพุ่งสูงเป็นประวัติการณ์

โดยมูลค่าข้อตกลงทางธุรกิจในบริษัทเทคโนโลยีอาเซียนช่วง 6 เดือนแรกปีนี้ อยู่ที่ 11,500 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นราว 65% จากช่วงเดียวกันของปี 2020 และเกือบเท่ากับมูลค่ารวมของข้อตกลงตลอดทั้งปี 2020 ที่ 11,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ส่วนใหญ่กระจุกตัวในอุตสาหกรรมการขนส่งและอาหาร สื่อออนไลน์และการเดินทางออนไลน์ โดยเฉพาะกลุ่ม Sea Group บริษัทเทคโนโลยีของสิงคโปร์ ที่มีมูลค่าตลาดถึง 2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ครอบคลุมหลายธุรกิจทั้งเกมออนไลน์อย่าง Garena เเละอีมาร์เก็ตเพลสอย่าง Shopee

การลงทุนส่วนใหญ่ที่เข้ามาในภูมิภาคนี้ ไม่ได้มาจากกลุ่มทุนในภูมิภาคหรือท้องถิ่นเท่านั้น เเต่กระแสเงินทุนจำนวนมากนี้มาจากนักลงทุนทั่วโลก

 

ที่มา : Nikkei Asia

]]>
1362133
รู้จัก ‘ฟินโนเวนเจอร์ ฟันด์ I’ กองทุนสตาร์ทอัพ 3 พันล้าน เปิดทางนักลงทุน ร่วมปั้นยูนิคอร์นไทย https://positioningmag.com/1348779 Fri, 27 Aug 2021 09:59:27 +0000 https://positioningmag.com/?p=1348779 มาทำความรู้จักกับฟินโนเวนเจอร์ ฟันด์ I’ กองทุนสตาร์ทอัพ มูลค่า 3 พันล้าน โปรเจกต์ใหม่จากกรุงศรี ฟินโนเวต‘ เตรียมเปิดรับนักลงทุนสถาบันนักลงทุน Ultra High Net Worth ร่วมปั้นทีมยูนิคอร์นไทยลุยฟินเทคอีคอมเมิร์ซออโตโมทีฟ

กรุงศรี ฟินโนเวตบริษัทร่วมลงทุนเเบบ Corporate venture Capital หรือ CVC ในเครือธนาคารกรุงศรีฯ ที่เปิดตัวมาตั้งเเต่ปี 2558 ด้วยเป้าหมายเฟ้นหาสตาร์ทอัพใหม่ๆ บ่มเพาะธุรกิจสตาร์ทอัพในไทยเเละอาเซียน

หลังคลุกคลีในวงการนี้หลายปี ทุ่มเงินลงทุนให้สตาร์ทอัพหน้าใหม่หลายสิบเจ้า จนมีส่วนร่วมในการผลักดันให้ธุรกิจขนส่งดาวรุ่งอย่าง ‘Flash Express’ ขึ้นเเท่นยูนิคอร์นรายเเรกของไทยได้สำเร็จ

มาวันนี้ ถึงเวลาขยับไปอีกก้าว ด้วยการจัดตั้ง ‘ฟินโนเวนเจอร์ ฟันด์ I’ กองทุนสตาร์ทอัพ ประเภท Private Equity Trust รายแรกของประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มูลค่า 3,000 ล้านบาท

ความน่าสนใจคือ เป็นการเปิดให้นักลงทุนสถาบันเเละนักลงทุนรายใหญ่พิเศษ (Ultra High Net Worth) มีช่องทางใหม่ในการลงทุนบริษัทสตาร์ทอัพที่พวกเขาสนใจได้โดยเฉพาะ

แซม ตันสกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท กรุงศรี ฟินโนเวต จำกัด เล่าให้ฟังว่า ฟินโนเวนเจอร์ ฟันด์เปิดโอกาสให้นักลงทุนรายย่อย และองค์กรที่สนใจลงทุนในสตาร์ทอัพ แต่ยังไม่มีความเชี่ยวชาญในการทำงานร่วมกับสตาร์ทอัพได้เข้าลงทุน ซึ่งกรุงศรีฟินโนเวตจะเข้ามาช่วยในจุดนี้

โดยจะเริ่มเดินสายนำเสนอข้อมูลต่อนักลงทุน (Roadshow) และเปิดขายให้กับนักลงทุนสถาบัน ตั้งแต่ปลายเดือนส.. จากนั้นจะเตรียมขายให้กับนักลงทุนรายใหญ่พิเศษ ผ่านกองทุนรวม บริหารจัดการโดย บลจ.กรุงศรีอยุธยา ในช่วงเดือน พ.. เปิดลงทุนขั้นต่ำที่รายละ 1 ล้านบาท

ทั้งนี้ นักลงทุนรายใหญ่พิเศษ (Ultra High Net Worth) ตามนิยามของ ก... คือ บุคคลธรรมดาผู้มีรายได้ต่อปี 7 ล้านบาทขึ้นไป (ถ้ารวมคู่สมรสจะเป็น 10 ล้านบาทขึ้นไป) เงินลงทุนในหลักทรัพย์ ไม่รวมเงินฝาก 25 ล้านบาทขึ้นไป หรือรวมเงินฝากจะเป็น 50 ล้านบาทขึ้นไป

-แซม ตันสกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท กรุงศรี ฟินโนเวต จำกัด

ตามหาสตาร์ทอัพเเบบไหน ?

กองทุนขนาด 3,000 ล้านบาทนี้ จะมุ่งเข้าลงทุนในสตาร์ทอัพทั้งไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ระดับซีรีส์ A ขึ้นไป

เเบ่งคร่าวๆ เป็นการลงทุนสตาร์ทอัพในประเทศไทย ราว 70% และในต่างประเทศ อีก 30% โดยเฉพาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์เเละความน่าสนใจ เบื้องต้น จะเน้นไปการลงทุนในสตาร์อัพกลุ่มธุรกิจ ได้เเก่

  • ฟินเทค 40%
  • อีคอมเมิร์ซ 30%
  • นวัตกรรมยานยนต์ อีก 30% 

นอกจากนี้ ยังมองหากลุ่มสตาร์ทอัพที่ฟื้นตัวเร็วหรือได้รับโอกาสทางธุรกิจจากวิกฤตโควิด-19 ซึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมของผู้บริโภคอย่างรวดเร็ว หรือที่เรียกว่า Post-Pandemic Boom Startup

กองทุนนี้มีโมเดลธุรกิจมาจาการลงทุนสตาร์ทอัพในญี่ปุ่นเเละสหรัฐฯ เเละการที่กรุงศรี ฟินโนเวต มีบริษัทเเม่เป็น  MUFG ธนาคารใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่นที่มีเครือข่ายทั่วโลก มีความเชี่ยวชาญการลงทุนสตาร์ทอัพ ก็เป็นการอุดความเสี่ยงได้ระดับหนึ่งเเละต่อยอดพัฒนาธุรกิจกับพันธมิตรได้ในอนาคต

ผู้บริหาร กรุงศรี ฟินโนเวต ย้ำว่า ผลตอบแทนกองทุนนี้ไม่สามารถการันตีได้เเต่มั่นใจว่าจะสร้างผลตอบเเทนได้มากกว่าที่บริษัทเคยทำได้ เฉลี่ยที่ 20.8% มากกว่าผลตอบแทนของกองทุนเวนเจอร์ต่างๆ ในตลาดที่เฉลี่ยราว 18%

ทั้งนี้ ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา กรุงศรี ฟินโนเวตเข้าลงทุนใน 15 สตาร์ทอัพ มูลค่าลงทุนมากกว่า 1,500 ล้านบาทส่วน ธนาคารกรุงศรีฯ เป็นสถาบันการเงินที่ทำงานร่วมกับสตาร์ทอัพมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 63 บริษัท กว่า 106 โปรเจกต์ และส่งเสริมการทำงานด้านดิจิทัลของกรุงศรีและบริษัทในเครือ 37 หน่วยธุรกิจ 

-สตาร์ทอัพชื่อดังที่กรุงศรี ฟินโนเวตเข้าไปลงทุนในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา

หลายคนอาจจะสงสัยว่าประเทศไทยเเละอาเซียน มีศักยภาพเเละฐานผู้บริโภคหลายร้อยล้านคน เเต่ทำไมบริษัทลงทุนต่างชาติ ยังไม่เข้ามาลงทุนมากนัก เมื่อเทียบกับโซนตะวันตก

หลักๆ มาจากปัจจัยวัฒนธรรมที่เเตกต่างกัน ปัญหาเรื่องภาษา เเละกฎระเบียบต่างๆ โดยกรุงศรี ฟินโนเวต จะพยายามเข้ามาเป็นตัวกลางประสานเเละเเก้ไขปัญหาเหล่านี้ให้สตาร์ทอัพคนไทยเเละอาเซียน

เราต้องการสร้างร่วมผลักดันให้สตาร์ทอัพในไทยและอาเซียน เติบโตเข้าไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ หรือกลายยูนิคอร์นตัวที่ 2 3 4 5 ต่อไปเรื่อยๆ

โอกาสตลาด ‘สตาร์ทอัพ’ โตในอาเซียน 

ด้านความพร้อมของกองทุนฟินโนเวนเจอร์ ฟันด์ I’ คาดว่าจะสามารถเริ่มลงทุนในบริษัทสตาร์ทอัพรายแรกได้ในเดือนธ..นี้ (หลังเปิดระดมทุนจากนักลงทุนสถาบัน/นักลงทุน Ultra High Net Worth)

ขณะนี้ มีสตาร์ทอัพที่น่าสนใจวางไว้ใน Pipeline ไม่ต่ำกว่า 10 บริษัท และน่าจะสามารถเข้าไปลงทุนได้แน่นอน ราวบริษัท

ส่วนตลาดสตาร์ทอัพในอาเซียนที่น่าจับตามองหลักๆ จะอยู่ที่สิงคโปร์เเละอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นประเทศที่มียูนิคอร์นจำนวนมาก นอกจากนี้ ยังมีฟิลิปปินส์และเวียดนาม ที่มีเทคสตาร์ทอัพใหม่ๆ เกิดขึ้นมาต่อเนื่อง และเป็นประเทศที่เเละเป็นประเทศที่ธนาคารกรุงศรีเข้าไปขยายธุรกิจด้วย

สำหรับเเนวโน้มการเติบโตของสตาร์ทอัพในไทยเเซมมองว่า ในระยะ 3-5 ปี จากนี้ไปจะเป็นช่วงเวลาเเห่งการเปลี่ยนเเปลงครั้งใหญ่ เเละน่าจะมีการเติบโตมากขึ้น

โดยนับจาก ปี 2558 พบว่ามีมูลค่าการลงทุนในธุรกิจสตาร์ทอัพเติบโตขึ้น 3 เท่า เเละกำลังมีบริษัทที่รอจะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ อีกกว่า 10 เเห่ง ซึ่งหากมีโอกาสที่ดี มีเงินลงทุนช่วยเสริมศักยภาพที่มีอยู่ให้ดีขึ้น สตาร์ทอัพไทยก็มีความหวังที่จะประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้นไปอีก

 

 

]]>
1348779
CARRO ระดมทุน Series C กว่าหมื่นล้านบาท เป็น “ยูนิคอร์น” รายแรกในตลาดซื้อขายยานยนต์ https://positioningmag.com/1337029 Tue, 15 Jun 2021 05:19:16 +0000 https://positioningmag.com/?p=1337029 Carro สตาร์ทอัพตลาดซื้อขายยานยนต์ ประกาศได้รับเงินระดมทุนรอบ Series C 360 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือราวๆ 10,800 ล้านบาท นำโดย SoftBank Vision Fund 2, EV Growth และอื่นๆ ทำให้ขึ้นแท่นกลายเป็นยูนิคอร์นในตลาดซื้อขายยานยนต์แห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภายในระยะเวลา 5 ปี

Carro จะใช้เงินทุนเพื่อเสริมความแข็งแกร่งให้กับการครองส่วนแบ่งการตลาด และขยายการขายปลีกทั้งในประเทศอินโดนีเซีย ไทย มาเลเซีย และสิงคโปร์ ซึ่งตลาดทั้งหมดที่กล่าวมาบริษัทฯ มีการเติบโตอย่างมีนัยสำคัญในปีที่ผ่านมา โดยในแต่ละเดือนมียอดขายรวมกันมากกว่า 13,000 คัน และร่วมมือกันกับตัวแทนจำหน่ายอีกหลายหมื่นรายในภูมิภาค

นอกจากนี้ Carro ยังตั้งใจที่จะขยายงานบริการทางการเงินโดยให้บริการมากกว่าการให้เงินกู้ สำหรับหน่วยงานภายในบริษัทฯ เท่านั้น ตลอดจนการเร่งพัฒนาความสามารถด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI) อีกด้วย

Aaron Tan ซีอีโอ และผู้ก่อตั้ง Carro เผยว่า

“ความสำเร็จในครั้งนี้นับเป็นก้าวที่ยิ่งใหญ่ และเราขอขอบคุณการสนับสนุนอย่างแข็งขันจากผู้ลงทุน ถือเป็นการตอกย้ำความเชื่อของเราที่ AI จะเข้ามาสร้างความเปลี่ยนแปลงต่ออุตสาหกรรมยานยนต์ โดยการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบดิจิทัลนั้น จะเป็นตัวกำหนดมุมมองของโลกอันเกิดจากพฤติกรรมผู้บริโภคและการดำเนินธุรกิจในรูปแบบใหม่ นับเป็นช่วงเวลาที่น่าตื่นเต้นมากสำหรับตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ออนไลน์อย่าง Carro”

Greg Moon ผู้บริหารร่วมของ SoftBank Vision Fund กล่าวว่า

“Carro กำลังพลิกโฉมอุตสาหกรรมยานยนต์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผ่านประสบการณ์การซื้อ และขายรถยนต์ที่สะดวกสบาย ราบรื่น ให้แก่ผู้บริโภคและตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ โดยใช้นวัตกรรม AI เข้ามาขับเคลื่อน ซึ่งเทคโนโลยีที่ Carro นำมาใช้ช่วยให้ผู้บริโภคได้รับบริการแบบครบวงจรที่มาพร้อมความโปร่งใสตลอดกระบวนการซื้อรถยนต์ที่ Carro

โดยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา Carro มีความโดดเด่นเป็นอย่างมากและเรารู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมเป็นพันธมิตรกับ Aaron และทีม Carro เพื่อส่งเสริมให้ Carro สร้างสรรค์บริการใหม่ๆ บนพื้นฐานของ AI ออกสู่ตลาด และทำให้ขั้นตอนการซื้อรถยนต์ดียิ่งขึ้น ง่ายยิ่งขึ้น และปลอดภัยยิ่งขึ้น”

SoftBank Group ได้ลงทุนกับ Carro ในครั้งแรกผ่าน SoftBank Ventures Asia ซึ่งเป็นธุรกิจการร่วมลงทุนของเครือในปี 2559 และได้สนับสนุนแผนงาน และการเติบโตของ Carro อย่างต่อเนื่องมาโดยตลอดจนถึงปัจจุบัน

]]>
1337029
เทียบฟอร์ม Flash VS Kerry ยูนิคอร์นไฟเเรงกับเเบรนด์หุ้น IPO ในสงครามขนส่ง ‘ตัดราคา’ https://positioningmag.com/1335409 Fri, 04 Jun 2021 14:34:49 +0000 https://positioningmag.com/?p=1335409 ธุรกิจขนส่งพัสดุ’ ในไทย เติบโตตามอีคอมเมิร์ซที่พุ่งพรวดในวิกฤตโรคระบาด เเบรนด์เล็กเเบรนด์ใหญ่ งัดสารพัดวิธีครองใจลูกค้า ทั้งทุบราคา ยกระดับบริการ ขยายสาขา เเย่งชิงพนักงาน อัดโฆษณาโหมพรีเซ็นเตอร์

ไม่กี่วันที่ผ่านมา สงครามของธุรกิจนี้ก็ดุเดือดขึ้นมาอีกครั้ง เมื่อน้องใหม่ค่ายสีเหลืองที่เพิ่งเปิดมาได้เพียง 3 ปีกว่าๆ อย่าง ‘Flash Express’ (แฟลช เอ็กซ์เพรส) เขย่าบัลลังก์เจ้าตลาด ด้วยการปิดระดมทุนได้ 4,700 ล้านบาท ขึ้นเเท่นสตาร์ทอัพยูนิคอร์นรายแรกของคนไทย

ดีลนี้เป็นหมัดหนักที่สะเทือนคู่เเข่งค่ายสีส้มอย่าง ‘Kerry Express’ (เคอรี่ เอ็กซ์เพรส) ได้ไม่น้อย หลังโดนตีตื้นจนอยู่ไม่สุขมานาน ไปจนถึงสร้างความกังวลใจให้พี่บิ๊กเบอร์หนึ่งอย่างไปรษณีย์ไทย ที่ต่อไปนี้ต้องดิ้นรนหาอะไรมาสู้บ้างเพื่อไม่ให้โดนเเซงไปได้ในที่สุด

เเบรนด์เก๋าติดตลาด ปะทะ ยูนิคอร์นไฟเเรงเฟร่อ 

Kerry ดำเนินกิจการในประเทศไทยมาตั้งเเต่ปี 2549 เพิ่งระดมทุนหุ้น IPO ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อช่วงปลายปี 2563 ภายใต้ชื่อ KEX มีมูลค่าบริษัทล่าสุดอยู่ที่ราว 75,000 ล้านบาท

ปี 2561 รายได้ 13,565.35 ล้านบาท กำไรสุทธิ  1,185.10 ล้านบาท
ปี 2562 รายได้ 19,894.60 ล้านบาท กำไรสุทธิ  1,328.55 ล้านบาท
ปี 2563 รายได้ 19,010.05  ล้านบาท กำไรสุทธิ  1,405.02 ล้านบาท

ส่วน Flash เป็นบริษัทสตาร์ทอัพที่ยังไม่ได้เข้าจดทะเบียนในตลาด ก่อตั้งเมื่อปี 2560 เพิ่งระดมทุนซีรีส์ D และ E ได้สำเร็จ เป็นยูนิคอร์นที่มีมูลค่ากิจการเกิน 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 31,000 ล้านบาท

ปี 2561 รายได้ 47 ล้านบาท ขาดทุน 183 ล้านบาท
ปี 2562 รายได้ 2,123 ล้านบาท ขาดทุน 1,666 ล้านบาท
ปี 2563 ยังไม่ได้เปิดเผยข้อมูลบนเว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เเต่จากข่าวประชาสัมพันธ์ ระบุว่า บริษัทมียอดส่งรวมทั้งปี 2563 มากกว่า 300 ล้านชิ้น หรือเติบโตขึ้นกว่า 500% ทำให้คาดว่าจะมีรายได้รวมจะเยอะขึ้นหลายเท่าตัว

ดังนั้น Kerry จึงมีมูลค่าบริษัทมากกว่า Flash กว่าสองเท่า เเต่ตอนนี้กำลังประสบภาวะราคาหุ้นขาลง(วันที่ 4 มิ.ย. อยู่ที่ราว 40 บาท) ผลประกอบการยังทำกำไรสุทธิในช่วงโควิด-19 ได้เพิ่มขึ้น เเต่ในส่วนรายได้ลดลง จากการปรับราคาต่อพัสดุเชิงรุกและการเจาะกลุ่มตลาดจัดส่งราคาประหยัด ชี้ให้เห็นสัญญาณการเเข่งขันในตลาดที่คู่เเข่งกำลังไล่เบียดมาติดๆ

ส่วน Flash กำลังอยู่ในช่วงขาขึ้น’ รายได้พุ่งสูงเเต่ยังขาดทุน ตามเเบบฉบับของสตาร์ทอัพที่ต้องเผาเงินเพื่อเอาฐานลูกค้า โดยมีจุดเเข็งคือการเป็น ‘ดาวรุ่งเนื้อหอม’ ที่มีผู้สนับสนุนเป็นบริษัทระดับท็อปของไทย ต่างมุ่งหวังผลักดัน ยูนิคอร์นตัวนี้ให้มีอนาคตไกล

ชิงเเต้มต่อ ‘เเบ็กอัพใหญ่’ 

คมสันต์ แซ่ลีซีอีโอและผู้ก่อตั้ง Flash Express ยืนยันว่า ธุรกิจของเขาเป็นสตาร์ทอัพที่ก่อตั้งและดำเนินงานโดยคนไทยไม่ใช่กลุ่มทุนต่างชาติเเม้ช่วงเเรกๆ จะมีกลุ่มทุนจากจีนเข้ามาร่วมลงทุนด้วย เเต่ในการระดมทุนซีรีส์ D และ E เป็นนักลงทุนจากไทยมากขึ้น

เมื่อพูดถึงเเบ็กอัพของ Flash ก็ต้องบอกว่าเป็นบริษัททุนหนาที่มีเงินลงทุนในมือหลายหมื่นล้าน มุ่งหา New Business เพื่อขยายเครือข่ายธุรกิจเดิม หลีกหนีการถูกดิสรัปต์ในยุคใหม่

เริ่มจาก SCB 10X บริษัทลูกของธนาคารไทยพาณิชย์ ที่ปลุกปั้นขึ้นมาเพื่อพัฒนานวัตกรรม เทคโนโลยีเเละลงทุนในธุรกิจใหม่ มีเป้าหมายลงทุนในสตาร์ทอัพทั่วโลก การมีส่วนสร้างยูนิคอร์นในไทยคือหนึ่งในภารกิจหลัก ซึ่งการได้ Flash มาเป็นลูกรัก ก็คงจะได้เห็นการต่อยอดร่วมกันอีกหลายอย่าง โดยเฉพาะบริการทางการเงิน 

ถัดมาคือบิ๊กพลังงานอย่าง OR บริษัทลูกของ ปตท. ที่เพิ่งขายหุ้น IPO สูงสุดเป็นประวัติการณ์ การจับมือกับ Flash จะช่วยขยายอีโคซีสเต็มได้ดี ทำให้ปั๊มน้ำมันที่มีอยู่ทั่วประเทศมาเป็นศูนย์กระจายสินค้าเเละจุดรับส่งพัสดุภายในร้าน Café Amazon เป็นการเพิ่มทราฟฟิกลูกค้าไปในตัว รวมไปถึงการบริการน้ำมันให้กับรถขนส่งของ Flash ที่มีมากกว่าหมื่นคัน

นอกจากนี้ยังมีกรุงศรีฟินโนเวตในเครือธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) อีกเเบงก์ที่มอบทุนก้อนใหญ่ให้สตาร์ทอัพ โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้าง E-commerce Ecosystem ที่สมบูรณ์ในเมืองไทยร่วมกัน เเละ Durbell ธุรกิจกระจายสินค้าในเครือกลุ่ม TCP เจ้าของเครื่องดื่มกระทิงแดง สปอนเซอร์ ฯลฯ ที่มาช่วยเสริมเเกร่งกันในด้านโลจิสติกส์ให้พร้อมขยายต่อไปในอาเซียน

ส่วน Kerry Express มีบริษัท เคแอลเอ็น โลจิสติคส์ (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทแม่ซื้อขายอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง ถือหุ้นใหญ่ ตามมาด้วย บมจ. วีจีไอ (บริษัทที่แยกออกมาจาก BTS) เเละกัลฟ์ โฮลดิ้งส์ โดย Kerry ถือเป็นหนึ่งในธุรกิจสำคัญที่ทำกำไรให้กับเครือ BTS 

สงคราม ‘ตัดราคา’ เปิดสาขาที่ไหน…ไปด้วย 

Kerry Express บุกเบิกตลาดขนส่งพัสดุโดยเอกชนรายเเรก เป็นช่วงโอกาสธุรกิจที่ไปรษณีย์ไทย ณ ขณะนั้น ยังไม่ทรานส์ฟอร์มองค์กร ประเดิมด้วยการจัดส่งแบบ ‘Next Day’ เเละเป็นเจ้าแรกที่ให้บริการรับชำระเงินปลายทาง 

ผู้บริหาร Kerry เคยให้สัมภาษณ์กับ Positioning ว่าต้องการขยายจุดส่งพัสดุให้เข้าถึงผู้บริโภคมากที่สุด จากตอนนี้ที่มีจุดให้บริการตามถนนสายหลักต่อไปจะเข้าไปหาลูกค้าตามซอกซอยให้ได้

ทั้งนี้ จุดให้บริการราว 15,000 ใน 77 จังหวัดทั่วประเทศนั้น เป็นสาขาที่เคอรี่ดำเนินการเองราว 2,000 เเห่ง เป็นการจับมือกับพันธมิตรอีก 3,000 เเห่ง เเละที่เหลืออีกกว่า 1 หมื่นเเห่งเป็นสาขาของ SME รายย่อย มีจำนวนรถรับส่งพัสดุราว 25,000 คัน มียอดจัดส่งราว 1.9 ล้านชิ้นต่อวันทำการ ส่วนในไตรมาส 1/64 ปริมาณพัสดุเพิ่มสูงขึ้น 13% (หากเทียบกับไตรมาส 1/63)

เมื่อถามถึงการเเข่งขันด้านราคาที่หลายคนมองว่า Kerry อาจจะมีค่าบริการที่สูงกว่าเจ้าอื่นในตลาดนั้น ผู้บริหารตอบว่า บริษัทมีการดูเเลเรื่องนี้โดยตลอด เช่นการจัดเรตราคาตามหมวดหมู่ของสินค้า โดยอยากให้ผู้บริโภคเห็นถึงคุณภาพในการจัดส่งว่ามีความชัวร์เเละคุ้มค่า ในราคาที่ไม่เเพงไปกว่ากันมากนัก 

ท่ามกลางคู่แข่งที่เต็มไปหมด การบริการขยับมาอยู่ในระดับใกล้เคียงกัน ทำให้ Kerry ไม่อาจดำเนินกลยุทธ์เเบบที่เคยทำสมัยบุกเบิกตลาดได้ จึงต้องหาลูกเล่นใหม่ๆ มาทดลองตลาด อย่างการสร้างแบรนด์ให้เป็น Lifestyle & Creative Logistics ขณะที่บริษัทหน้าใหม่ๆ เน้นใช้การ ‘ตัดราคาเป็นตัวนำในการเจาะธุรกิจนี้

Flash Express ก็ใช้กลยุทธ์เรื่องราคา มาจับพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ที่ต้องการลดต้นทุนการส่ง ด้วยการเป็นเจ้าเเรกที่ ‘รับพัสดุฟรีถึงที่ตั้งแต่ชิ้นแรก ให้บริการ 365 วันไม่หยุด’ ไม่ว่าลูกค้าจะส่งที่ช็อป หรือเรียกให้ไปรับ ค่าบริการไม่บวกเพิ่ม โดยในปี 2564 บริษัทมีจำนวนพัสดุเฉลี่ยต่อวันประมาณ 2 ล้านชิ้น เติบโตจากเดิมที่มียอดส่งพัสดุเฉลี่ยอยู่ 1.3 ล้านชิ้นต่อวัน

ตลาดขนส่งพัสดุในปีนี้ยังจะมีการแข่งขันกันใน 3 เรื่องหลัก คือ ราคา คุณภาพ และความคุ้มค่าในการให้บริการ ซึ่งน่าจะเป็น 3 เรื่องหลักที่ผู้เล่นทุกรายในตลาดยังคงต้องโฟกัส รวมไปถึงเรื่องความรวดเร็วในการจัดส่งสินค้าซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้ใช้บริการต้องการที่สุด

เเละตอนนี้ไม่ใช่เเค่คู่ปรับอย่าง Kerry เเละ Flash เท่านั้น ขนส่งเอกชนยังต้องสู้กับ J&T Express , Nim Express , SCG Express , Ninja Van เเละเจ้าอื่นๆ ที่พร้อมตัดราคากันเพื่อเเย่งลูกค้า ไม่เว้นเเม้เเต่ไปรษณีย์ไทย โดยมีราคาเริ่มต้นที่ราว 18-30 บาท

ส่วนใครขยายสาขาไปที่ไหน ก็พร้อมเฮตามกันไปที่นั่น เราจึงได้เห็นร้านข้างๆ กันที่มีทั้งค่ายสีส้ม สีเหลือง สีเเดง ฯลฯ โดยเริ่มขยายเป็นโมเดลแฟรนไชส์ ธุรกิจ Drop-Off มากขึ้น เพราะบริษัทเจ้าของเเบรนด์ไม่ต้องใช้เงินทุนมากนัก

ขณะเดียวกัน Lazada เเละ Shopee ก็เป็นสองคู่เเข่งที่น่ากลัว เมื่อเจ้าของอีมาร์เก็ตเพลส ลงสนามมาเล่นธุรกิจขนส่งด้วยตัวเอง ดังนั้นก็มีเเนวโน้มที่จะ ‘จัดสรรพัสดุ’ ที่สั่งในเเพลตฟอร์มตัวเองมา ‘ส่งเอง’ ได้ด้วย

สตอรี่ ‘นักสู้’ กลายมาเป็นอีกหนึ่งจุดขาย 

ที่ผ่านมาธุรกิจโลจิสติกส์มักเลือกใช้พรีเซ็นเตอร์มาเพื่อสื่อสารเเบรนด์ เน้นเป็นพระเอกดังที่ผู้คนรู้จักกันดี มีคาเเร็กเตอร์เป็นสายลุย น่าเชื่อถือ อย่าง Kerry Express ที่เลือกเวียร์ศุกลวัฒน์ คณารศ , Flash Express ที่เลือก ติ๊กเจษฎาภรณ์ ผลดี , BEST Express ขนส่งสัญชาติจีนที่เลือก ณเดชน์ คูกิมิยะ หรือ J&T Express ที่เลือกมาริโอ้ เมาเร่อ มาเป็นพรีเซ็นเตอร์

ตอนนี้มีกิมมิกเล็กๆ เเต่น่าสนใจคือชีวิตของซีอีโอก็มาเป็นจุดขายของเเบรนด์ได้เหมือนกัน อย่างเรื่องราวการสู้ชีวิตของคมสันต์ แซ่ลีนักธุรกิจหนุ่มวัย 29 ปี จากดอยวาวี จังหวัดเชียงราย ผู้ก่อตั้ง Flash Express ด้วยคาเเร็กเตอร์ ‘กล้าคิด กล้าทำ มุ่งมั่น’

การเป็นคนรุ่นใหม่ที่สามารถปั้นธุรกิจ 3 ปีกว่าๆ ให้โตไปถึงระดับเป็นยูนิคอร์น กลายเป็นเเรงบันดาลใจให้ใครหลายคน สร้างการรับรู้เเละภาพจำให้คนรู้จักเเบรนด์มากขึ้น นอกจากนี้ ทักษะการนำเสนอที่ดี ความฉลาดเเละการสู้ไม่ถอย ก็มีส่วนที่ทำให้ผู้ลงทุนเชื่อมั่นและยอมให้เงินลงทุนด้วย

เเต่สงครามธุรกิจขนส่งพัสดุยังต้องสู้กันอีกยาวไกล นี่จึงเป็นเเค่การเเข่งขันยกใหม่ พร้อมเงินทุนก้อนใหม่เท่านั้น…ผู้บริโภคอย่างเราๆ ก็ต้องติดตามกันต่อไป

 

 

 

]]>
1335409
“แฟลช” ปิดดีลระดมทุนซีรีส์ E กว่า 4,700 ล้าน ขึ้นแท่นยูนิคอร์นตัวแรกของไทย https://positioningmag.com/1334676 Tue, 01 Jun 2021 02:55:35 +0000 https://positioningmag.com/?p=1334676 กลุ่มธุรกิจแฟลช (Flash Group) ผู้ให้บริการ E-commerce สัญชาติไทย และเป็นบริษัทแม่ของ แฟลช เอ็กซ์เพรส ผู้ให้บริการด้านขนส่งเอกชน ปิดดีลยักษ์จากการระดมทุนรอบซีรีส์ D+ และ ซีรีส์ E คว้ากลุ่ม Buer Capital Limited และ SCB 10X ร่วมทุน พร้อม eWTP -โออาร์-เดอเบล-กรุงศรีฟินโนเวต ลงเพิ่มได้เม็ดเงินรวมไปกว่า 150 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 4,700 ล้านบาท สู่ยูนิคอร์นตัวแรกของไทย

คมสันต์ ลี ประธานกรรมการบริหาร กลุ่มธุรกิจแฟลช (Flash Group) เปิดเผยข้อมูลล่าสุดจากการระดมทุนรอบซีรีส์ D+ ที่ได้ผู้ร่วมทุนรายใหม่อย่าง SCB 10X  พ่วงด้วย บริษัทจันวาณิชย์ ซีเคียวริตี้พริ้นท์ติ้ง จำกัด เข้าสนับสนุน โดยในส่วนของซีรีส์ E ก็ยังคว้า Buer Capital กลุ่มทุนจากสิงคโปร์ ร่วมด้วย SCB 10X ที่ให้การสนับสนุนทั้งซีรีส์ D+ และ E

ตามด้วยผู้ลงทุนเดิมอย่าง eWTP, บริษัท ปตท. น้ำมัน และการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือโออาร์, บริษัท เดอเบล จำกัด (Durbell) ภายใต้กลุ่มธุรกิจ TCP, บริษัท กรุงศรี ฟินโนเวต จำกัด (Krungsri Finnovate) ในเครือกรุงศรี กรุ๊ป ที่ตบเท้าลงเพิ่มในซีรีส์ E

ซึ่งดีลใหญ่นี้ทำให้กลุ่มธุรกิจแฟลช (Flash Group) สามารถระดมทุนไปได้สูงถึง 150 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นเงินไทยประมาณ 4,700 ล้านบาท โดยคาดว่าเม็ดเงินลงทุนจะถูกกระจายไปในหลายสัดส่วนทั้งด้านการบริหาร และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี ครอบคลุมไปถึงการลงทุนในด้านแพลตฟอร์ม eCommerce ที่จะตอบโจทย์ และสร้างความแตกต่างให้แก่ตลาด รวมถึงการเพิ่มช่องทางการขาย ขยายบริการ และสร้างกลยุทธ์ใหม่ๆ

กลุ่มธุรกิจแฟลช (Flash Group) ก่อตั้งขึ้นจากแนวคิด การเป็นผู้ให้บริการ E-commerce สัญชาติไทยแบบครบวงจร โดยได้รับความไว้วางใจจากกลุ่มนักลงทุนหลายอุตสาหกรรมเข้ามาร่วมสนับสนุน ปัจจุบันกลุ่มธุรกิจแฟลช (Flash Group) มีอัตราการเติบโตอย่างก้าวกระโดด พร้อมธุรกิจในเครือหลากหลายประเภท อาทิ Flash Express ผู้ให้บริการขนส่งแบบครบวงจร

โดยปัจจุบัน Flash Express มียอดจัดส่งพัสดุต่อวันสูงสุดร่วม 2 ล้านชิ้น นอกจากนี้ยังมีบริการ Flash Fulfilment คลังสินค้าแบบครบวงจร ที่มีบริษัทชั้นนำเป็นพันธมิตร และใช้บริการมากมาย รวมถึงบริษัทในเครืออีกหลายบริษัทที่สอดคล้องกับธุรกิจ E-commerce และรูปแบบตลาดของประเทศไทย รวมไปถึงบริการใหม่ที่เตรียมขยายออกสู่กลุ่มประเทศใน SEA ซึ่งรอการเปิดเผยหลังจากนี้

มร.เหลียง จี้ ผู้อำนวยการ กลุ่ม Buer Capital (Buer) ในฐานะนักลงทุนเชิงกลยุทธ์รายหลักของซีรีส์ E กล่าวว่า

“Buer เป็นนักลงทุนที่มุ่งเน้นเรื่องการเปลี่ยงแปลงโครงสร้างด้านการบริโภค Buer มีความเชื่อมั่นว่าธุรกิจขนส่งเป็นหนึ่งในระบบสาธารณูปโภคหลักที่สำคัญของเศรษฐกิจยุคดิจิทัล เมื่อระบบขนส่งถูกพัฒนาให้มีประสิทธิภาพ และยกระดับขึ้นไปอีกขั้นจะทำให้มีการเปลี่ยนแนวคิด space-time ของธุรกิจค้าปลีก รวมถึงมีความมั่งคั่ง รวดเร็ว และประหยัด ซึ่งสอดคล้องอย่างยิ่งกับกลยุทธ์การลงทุนของแฟลชทั้งในด้านเทคโนโลยี และด้านบริหาร รวมไปถึงศักยภาพในด้านฐานข้อมูล (Data base) ที่จะช่วยผลักดัน และพัฒนาธุรกิจให้มีความสามารถในการแข่งขันกับคู่แข่งรายอื่นๆ ในตลาดได้อย่างระยะยาว”

ด้าน SCB 10X ผู้ร่วมทุนรายใหม่ที่ให้การสนับสนุนทั้งรอบซีรีส์ D+ และ ซีรีส์ E โดยนางปิติพร พนาภัทร์ Chief Business Development and Financial Officer บริษัท เอสซีบี เท็นเอกซ์ จำกัด (SCB 10X) กล่าวว่า

หนึ่งในภารกิจหลักของ SCB 10X คือ มุ่งลงทุนในสตาร์ทอัพที่มีศักยภาพทั่วโลก รวมถึงสนับสนุนและผลักดันสตาร์ทอัพไทยที่มีศักยภาพให้สามารถเติบโตและก้าวสู่เวทีโลกได้ ด้วยความแข็งแกร่งของกลุ่มธุรกิจแฟลช ที่มีการเติบโตแบบก้าวกระโดด รวมถึงเป้าหมายในการขยายธุรกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

เราจึงมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้เป็นผู้ร่วมลงทุนหลักในการระดมทุนรอบ Series D+ และลงทุนเพิ่มเติมต่อเนื่องในรอบ Series E ร่วมกับนักลงทุนชั้นนำ นอกจากนี้ กลุ่มธนาคารไทยพาณิชย์และกลุ่มธุรกิจแฟลช ยังมีแผนในการต่อยอดความร่วมมือเพื่อร่วมกันพัฒนาโซลูชันและบริการทางการเงิน ตลอดจนเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงบริการทางการเงิน (Financial Inclusion) และสร้างประสบการณ์การเงินรูปแบบใหม่ให้กับกลุ่มลูกค้าในอนาคตอันใกล้

ศิระ ศรีสุกใส ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจและนวัตกรรม บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือโออาร์ ผู้ลงทุนหลักจากรอบซีรีส์ D เผยถึงการตัดสินใจลงทุนเพิ่มในซีรีส์ E

การร่วมลงทุนและการสร้างความร่วมมือทางธุรกิจระหว่าง โออาร์ และแฟลช จะเป็นการเสริมศักยภาพซึ่งกันและกันเพื่อขับเคลื่อนอุตสาหกรรมด้านขนส่งและพลังงาน อีกทั้งยังสามารถต่อยอดไปยังธุรกิจอื่น ๆ ของโออาร์ เชื่อมต่อธุรกิจแบบ Online to Offline เพื่อตอบสนองความต้องการและพฤติกรรมของผู้บริโภคในอนาคตที่มีไลฟ์สไตล์ปรับตัวสู่โลกออนไลน์มากขึ้น อีกทั้งเป็นการส่งเสริม Startup ไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืนไปด้วยกัน

ปัจจุบัน โออาร์ และ แฟลช ได้มีความร่วมมือทางธุรกิจในด้านต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมและต่อยอดธุรกิจหลักของทั้งสองบริษัท เช่น การที่โออาร์ให้บริการน้ำมันแก่รถที่ใช้ในการขนส่งของ Flash Express หรือการที่ Flash Express เริ่มเข้ามาเป็นหนึ่งในผู้ขนส่งผลิตภัณฑ์ของโออาร์ และยังมีแผนเพิ่มศักยภาพในการทำธุรกิจ ทั้งความร่วมมือในการทดลองเปิดให้บริการจุดรับส่งพัสดุของ Flash Express ภายในร้าน Café Amazon บางสาขา

และการวางแผนในการพัฒนาพื้นที่ภายในสถานีบริการน้ำมัน พีทีที สเตชั่น บางแห่ง เพื่อเป็นศูนย์กระจายสินค้าของ Flash Express เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการศึกษาความเป็นไปได้ในความร่วมมือทางธุรกิจเพิ่มเติมในประเทศต่าง ๆ ผ่านบริษัทย่อยในต่างประเทศของกลุ่มโออาร์ตามแผนการขยายธุรกิจของแฟลชอีกด้วย

บริษัท เดอเบล จำกัด (Durbell) ผู้นำด้านการกระจายสินค้าและโลจิสติกส์ในประเทศไทย ในเครือกลุ่มธุรกิจ TCP ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้สนับสนุนเงินทุนแก่แฟลชทั้งรอบ ซีรีส์ D และE โดยนางสาวนุชรี อยู่วิทยา กรรมการผู้จัดการใหญ่ กล่าวว่า

การเติบโตของธุรกิจขนส่งในประเทศไทยและกลุ่มประเทศในแถบ SEA สอดคล้องกับพฤติกรรมผู้บริโภคในยุค New Normal นี้ และแฟลช กรุ๊ปก็สามารถตอบรับความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างดีเยี่ยมแม้ในสภาพการแข่งขันที่ดุเดือด ด้วยบริการขนส่งพัสดุครบวงจรที่ก่อกำเนิดมาจากความเข้าใจลูกค้าอย่างแท้จริง และระบบปฏิบัติงานที่แข็งแกร่ง รวดเร็ว

ซึ่งเป็นแนวทางการทำงานเดียวกันกับบริษัท เดอเบล จำกัด บริษัทกระจายสินค้าและโลจิสติกส์ในเครือกลุ่มธุรกิจ TCP ทั้งนี้ กลุ่มธุรกิจ TCP ซึ่งเป็นผู้ผลิตเครื่องดื่มชั้นนำของโลกและประเทศไทย เช่น กระทิงแดง (เรดบูล) เรดดี้ สปอนเซอร์ แมนซั่ม เพียวริคุ และอื่นๆ มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมลงทุนและเป็นส่วนหนึ่งของการเติบโตของแฟลช กรุ๊ปในทั้ง 2 ซีรีส์

แฟลช กรุ๊ป (Flash Group) นับเป็น Startup ไทยรายแรกที่สามารถระดมทุนรวมได้มากที่สุดในระยะเวลาเพียงแค่ 3 ปี ซึ่งทำให้ธุรกิจมีมูลค่ามากกว่า 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือมากกว่า 30,000 ล้านบาทไทย

]]>
1334676