เเบงก์ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 24 Sep 2021 09:13:09 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 การมาของยานเเม่ SCBX ปลดล็อกธนาคารร้อยปี Re-imagine เป็น ‘บริษัทเทค’ ยุคใหม่ https://positioningmag.com/1353082 Thu, 23 Sep 2021 13:17:12 +0000 https://positioningmag.com/?p=1353082 ยานเเม่ SCBX สร้างเเรงกระเพื่อมให้วงการธุรกิจไทยไม่น้อย เมื่อธนาคารเก่าเเก่นับร้อยปีอย่างไทยพาณิชย์กำลังจะปรับโครงสร้างครั้งใหญ่ พลิกภาพจำเก่าๆ ไปอย่างสิ้นเชิง

“SCB จะไม่เท่ากับธนาคารในความหมายเดิมอีกเป็นคำประกาศที่ทำให้หลายคนตื่นเต้นว่าอะไรจะเกิดขึ้นต่อไป เเม้ว่าการเเปลงสภาพมุ่งสู่การเป็นบริษัทเทคยักษ์ใหญ่ ไม่ใช่เรื่องง่าย เเต่ถ้าไม่ทำตอนนี้ ก็อาจจะสายเกินไป

ขั้นเเรกต้องไม่จำกัดตัวเอง

อาทิตย์ นันทวิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และประธานกรรมการบริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ เล่าว่า พฤติกรรมของผู้บริโภคหลังวิกฤตโควิด รวมถึงกฎระเบียบข้อบังคับที่เปลี่ยนไปอย่างมาก ทำให้รูปแบบการทำธุรกิจ (business model) ในแบบ intermediaries หรือการเป็นตัวกลางเก็บค่าธรรมเนียมของธนาคารแบบดั้งเดิมจะลดบทบาทลง

เนื่องจากจะไม่สามารถตอบสนองความต้องการและความคาดหวังใหม่ของผู้บริโภคได้ ความสำคัญของธนาคารต่อผู้บริโภคจะลดลงตามไปด้วยส่งผลลบต่อการให้มูลค่าอนาคตของนักลงทุนต่อธุรกิจธนาคารแบบดั้งเดิมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ดังนั้น SCB จะต้องไม่จำกัดตัวเอง อยู่ที่การเป็นธุรกิจธนาคารแบบดั้งเดิมอีกต่อไป หากแต่ต้องใช้ความเข้มแข็งทางการเงินของธุรกิจธนาคารในปัจจุบันให้เป็นประโยชน์ เติบโตเเละอยู่รอดปลอดภัยในอีก 3-5 ปีข้างหน้านี้ เป็นการ Re-imagine จินตนาการใหม่ว่า 

“SCB จะไม่เท่ากับธนาคารในความหมายเดิมอีก แต่จะแปลงสภาพกลายเป็นกลุ่มธุรกิจเทคโนโลยีทางการเงิน ที่มีธุรกิจธนาคารที่แข็งแรงขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม และจะขยายเข้าสู่ธุรกิจการเงินส่วนบุคคล ที่มีการเติบโตสูงที่ธนาคารไม่สามารถตอบสนองได้” 

นี่เป็นจุดสำคัญของการจัดตั้งบริษัทเเม่ขึ้นมาใหม่ในชื่อว่า SCBX (เอสซีบี เอกซ์) เพื่อเพิ่มความคล่องตัวเเละขยายธุรกิจเชิงรุกเข้าสู่ธุรกิจการเงินประเภทอื่นที่ตลาดต้องการ สร้างเเพลตฟอร์มเทคโลยีขนาดใหญ่ให้ทัดเทียมกับคู่แข่งระดับโลก

โดยวางเป้าหมายในอีก 5 ปีว่า SCBX จะมีฐานลูกค้ารวมกัน 200 ล้านคน ในระดับภูมิภาค เป็นบริษัทที่มีมาร์เก็ตเเคปเเตะ 1 ล้านล้านบาท (ปัจจุบันอยู่ที่ราว 3.7 เเสนล้านบาท)

การเเตกย่อยบริษัทไปยังธุรกิจต่างๆ ทั้งฟินเทค สตาร์ทอัพเเละสินทรัพย์ดิจิทัลของ SCB ครั้งนี้ ถือเป็นการปลดล็อก’ ข้อจำกัดและดำเนินกิจการภายใต้โครงสร้างของแบงก์ที่เเต่เดิมจะทำได้ไม่เต็มที่นัก

ทำความรู้จักยานเเม่’ SCBX

การที่ทีมงานได้เรียกว่ายานเเม่นั้น ทำให้คนทั่วไปเห็นภาพได้ชัดเจนมากขึ้น สื่อให้เห็นถึงการโอนย้ายธุรกิจต่างๆ ในเครือเข้ามาอยู่ภายใต้ SCBX 

ส่วนที่มาที่ชื่อ SCBX นั้น ซีอีโอของไทยพาณิชย์ บอกว่ามาจากเครื่องหมายยกกำลัง (x) ที่สื่อถึงการเติบโตเเบบยกกำลังเเละขยาย (expansion) ออกไปเรื่อยๆ ไม่ได้มีแค่ธนาคารเหมือนเเต่ก่อน

โดยโครงสร้างใหม่ที่จะขยายจากธุรกิจเเบงก์ เพิ่มขาธุรกิจเทคโนโลยี และการลงทุน เพื่อหารายได้อื่นนั้น แบ่งได้เป็น 2 ส่วนหลัก ๆ คือ

  • ธุรกิจ Cash Cow กลุ่มที่มีส่วนแบ่งตลาดสูงเเต่อัตราการเติบโตต่ำอย่างธนาคารธุรกิจประกัน ฯลฯ
  • ธุรกิจ New Growth จับตลาด Blue ocean ของใหม่ที่มีโอกาสเติบโตได้สูงอย่างสินเชื่อดิจิทัลดาต้าสินค้าเเละบริการด้านเทคโนโลยีต่างๆ

สิ่งที่น่าจับตา คือการพัฒนากลุ่ม New Growth ที่ทาง SCB ได้เเตกไลน์เป็นบริษัทย่อยที่มีทีมบริหารเเยกออกจากกัน เเต่ยังประสานงานกันได้ดี เพราะส่วนใหญ่มักจะเป็นลูกหม้อที่ทำงานกับอยู่เเบงก์มานานหลายปี 

อย่าง ดร.อารักษ์ สุธีวงศ์ มือเก๋าของไทยพาณิชย์ ที่ตอนนี้ดูแล SCB 10X ก็จะเข้าไปดูเเล SCB-CP Group JV เเละสารัชต์ รัตนาภรณ์ ที่ทำงานกับ SCB มานานกว่า 20 ปี ก็จะมาดูแลบริษัทที่ตั้งใหม่อย่าง Card X ด้วย 

SCBX จะยังอยู่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย (แต่ในส่วนของใบอนุญาตต่างๆ บริษัทในเครือจะเป็นผู้ขอใบอนุญาตในการดำเนินกิจการ) ซึ่งจะเข้าไปถือหุ้นใหญ่ในหลากหลายธุรกิจ ซึ่งตอนนี้มีอยู่ถึง 15 บริษัท เเละยังมีอีกหลายบริษัทที่กำลังจะเปิดตัว ยกตัวอย่างเช่น

Robinhood – เเพลตฟอร์มฟู้ดเดลิเวอรีที่จะขยายไปเป็นซูเปอร์เเอปฯ

Alpha X – ธุรกิจปล่อยสินเชื่อสำหรับรถหรู ที่ร่วมมือกับ Millennium Group

Auto X – ธุรกิจปล่อยสินเชื่อลีซซิ่ง จับกลุ่มคนรายได้น้อยปานกลาง

Card X – ธุรกิจบัตรเครดิตที่จะโอนออกจากแบงก์

Data X – ธุรกิจข้อมูลดิจิทัล

Tech X – ธุรกิจเทคโนโลยี หาพันธมิตรเป็นบริษัทเทคระดับโลก

TokenX – ธุรกิจโทเคนดิจิทัลแบบครบวงจร

AISCB – ธุรกิจสินเชื่อดิจิทัล ร่วมมือกับโทรคมนาคมรายใหญ่อย่าง AIS

ในส่วนของสินทรัพย์ดิจิทัลนั้น SCB จะขยายเข้าสู่ digital asset business ผ่าน SCB 10X และบริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ จำกัด หรือ SCBS โดยการร่วมลงทุนและเป็นพันธมิตรกองทุนระดับโลก และการพัฒนาธุรกิจ digital asset ด้านต่างๆ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับกลุ่มในระยะยาว

โดยกลุ่มไทยพาณิชย์ เพิ่งจับมือกับเครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือ CP ร่วมกันก่อตั้งกองทุน Venture Capital ขนาด 600-800 ล้านเหรียญสหรัฐ (18,000-24,000 ล้านบาท) มุ่งเน้นการลงทุนใน Disruptive Technology ด้านบล็อกเชน สินทรัพย์ดิจิทัล เทคโนโลยีด้านการเงินและเทคโนโลยีอื่นๆ ที่มีศักยภาพในการเติบโตสูงทั่วโลก ซึ่ง SCB 10X ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้เข้าร่วมบริหารจัดการกองทุนดังกล่าวนี้

เหล่านี้ ถือเป็นบ่อทองเเห่งใหม่ที่ SCB จะต้องขุดขึ้นมา เเละปลุกปั้นให้สำเร็จ ตามเป้าหมายที่วางไว้ว่าบริษัทย่อยต่างๆ จะต้องสามารถเติบโตได้ตามตลาดยุคใหม่ และเข้า IPO ในตลาดหลักทรัพย์ได้ในที่สุด

ถอนหุ้น SCB ออกจากตลาดฯ เเทนด้วย SCBX

ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) ได้เเจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์เเห่งประเทศไทย (ตลท.) เตรียมเสนอที่ประชุมผู้ถือหุ้นในวันที่ 15 .. 2564 เพื่ออนุมัติขอ ‘Share Swap’ โอนย้ายผู้ถือหุ้น SCB ไปบริษัทเเม่อย่าง SCBX เเละนำ SCB ออกจากตลาดหลักทรัพย์ฯ เพื่อปรับโครงสร้างธุรกิจ

ในกรณีผ่านการอนุมัติเเล้ว SCBX จะทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของธนาคารไทยพาณิชย์จากผู้ถือหุ้น โดยการออกและเสนอขายหุ้นเพิ่มทุน เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนกับหุ้นของ SCB ในอัตรา 1:1 ซึ่งคาดว่าการเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นในช่วงกลางปี 2565

โดยกระบวนการนี้ จะมีการโอนหุ้นที่ SCB ถือในบริษัทย่อยทั้งหลาย รวมทั้งธุรกิจบัตรเครดิตเเละสินเชื่อส่วนบุคคลไปให้ยานเเม่อย่าง SCBX

พร้อมได้เสนอให้มีการจ่ายเงินปันผลระหว่างกาล เป็นกรณีพิเศษ มูลค่า 70,000 ล้านบาท ซึ่งในส่วนนี้กว่า 70% จะถูกนำไปใช้ในเพื่อการถ่ายโอนธุรกิจ ตั้งบริษัทใหม่ และลงทุนอย่างต่อเนื่อง ส่วนอีก 30% จะเป็นเงินทุนหมุนเวียนเเละเก็บไว้จ่ายปันผลรอบปี 2565

ทั้งนี้ ธนาคารได้ดำเนินการแต่งตั้ง บล.เกียรตินาคินภัทร เป็นที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ (IFA) เพื่อทำหน้าที่ให้ความเห็นแก่ผู้ถือหุ้นของธนาคาร โดยได้พิจารณากำหนดรายชื่อผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิเข้าร่วมประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2564 ในวันที่ 6 ..64

ด้านกระเเสตอบรับในตลาดฯ วันเเรกหลังการเเถลงข่าว พบว่า (23 ..64) ราคาหุ้น SCB ปิดที่ 130.00 บาท เพิ่มขึ้น 20.50 บาท หรือ 18.72% ด้วยมูลค่าซื้อขาย 20,295.52 ล้านบาท สูงสุดเป็นอันดับ 1 ซึ่งระหว่างวันราคาปรับขึ้นไปสูงสุดที่ 137.00 บาท และต่ำสุดที่ 124.50 บาท

“แบงก์ SCB ยังไม่หายไปไหน ยังคงเป็นธนาคารที่ให้บริการลูกค้าเหมือนเดิม โลโก้เดิม บริการต่างๆ ลูกค้าทำก็ยังคงใช้บริการได้ปกติ”

-ไทม์ไลน์การเพิกถอนหุ้น SCB เเละนำ SCBX เข้าจดทะเบียนตลาดหลักทรัพย์ฯแทน

ลูกค้า 200 ล้านคน ไม่ไกลเกินเอื้อม 

สรุปเป้าหมายสำคัญของไทยพาณิชย์ในปี 2568 ก็คือ การสร้างมูลค่าของบริษัทจากธุรกิจใหม่ ที่นอกเหนือจากผลกำไรพื้นฐานและความมั่นคงของธุรกิจธนาคารหลัก 

รวมไปถึงการสร้างฐานลูกค้าในระบบให้ได้ถึง 200 ล้านคน (ปัจจุบันอยู่ที่ 16 ล้านคน) และการเป็นเจ้าของแพลตฟอร์มทางเทคโนโลยีขนาดใหญ่ที่มีผู้ใช้งานจำนวนมาก

เเน่ชัดว่าถ้าอยากได้ลูกค้าหลายร้อยล้านคน เเค่ในตลาดไทยคงไม่เพียงพอ จะต้องมีการขยายธุรกิจใหม่ออกสู่ต่างประเทศ ซึ่งช่วง 2-3 ปีนี้ ก็จะมีการขยับรุกไปยังกลุ่มประเทศในอาเซียน ที่มีเเนวโน้มการเติบโตสูง อย่างอินโดนีเซียเวียดนามเเละฟิลิปปินส์

เราจะไม่เน้นขยาย Commercial Bank ในต่างประเทศเเล้ว เเต่จะเน้นไปที่ธุรกิจการเงินดิจิทัล การลงทุนเเละเทคโนโลยีอื่นๆ มองการเติบโตทั้งเเบบกว้างเเละลึก

เป็นอีกภารกิจเชื่อมต่อ ecosystem ทั้งในและต่างประเทศที่ต้องรอดูว่าจะมีอะไรออกมาเซอร์ไพร์สกันอีกบ้าง

ความเคลื่อนไหวใหญ่ที่สร้างปรากฏการณ์ของธนาคารเก่าเเก่อายุ 116 ปีครั้งนี้ จึงไม่ใช่เเค่เป็นการขยายธุรกิจธรรมดาๆ เเต่เป็นการ Re-imagine สถาบันการเงิน พร้อมขึ้นยานรุ่นใหม่ที่ใหญ่กว่าเดิม

งานนี้ ฟากเเบงก์คู่เเข่งเจ้าอื่น คงไม่ยอมกันง่ายๆ ต้องเตรียมงัดสารพัดของเด็ด ออกมาสู้กันในสมรภูมิการเงินยุคใหม่เเบบดุเดือดยิ่งกว่าเดิมเเน่ๆ

 

]]>
1353082
DBS ธนาคารใหญ่สิงคโปร์ ปั้นเเพลตฟอร์มเทรด ‘คริปโต’ ขยาย 20-30% ต่อปี รับดีมานด์พุ่ง https://positioningmag.com/1351727 Tue, 14 Sep 2021 08:18:33 +0000 https://positioningmag.com/?p=1351727 อีกหนึ่งความเคลื่อนไหวสำคัญของ DBS ธนาคารใหญ่สุดในสิงคโปร์เเละเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่เดินหน้าลงทุนในเเพลตฟอร์มซื้อขายคริปโตเคอร์เรนซีโดยตั้งเป้าขยายฐานลูกค้าโตถึง 20-30% ต่อปี

‘DBS Digital Exchange’ เป็นแพลตฟอร์มซื้อขายสกุลเงินดิจิทัลหรือคริปโตฯ สำหรับผู้ที่สมัครเป็นสมาชิก เปิดตัวเมื่อเดือนธ.. 2020 ที่ผ่านมา ได้รับกระเเสตอบรับดีเกินคาด โดยเฉพาะกลุ่มนักลงทุนสถาบัน เเละบริษัทด้านการลงทุนต่างๆ ที่หันมายอมรับสกุลเงินดิจิทัลกันมากขึ้น ทำให้ตลาดนี้ขยายตัวขึ้นเรื่อยๆ

จากกระเเสนี้ ทาง DBS Group ประเมินว่า เเพลตฟอร์ม DBS Digital Exchange จะมีจำนวนสมาชิกเพิ่มขึ้น ‘2 เท่าจากปัจจุบันเป็น 1,000 คนได้ ภายในเดือนธ..นี้ และจะมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องราว 20-30% ต่อปี ในช่วง 3 ปีข้างหน้า

เรามีการเติบโตที่รวดเร็วมากๆ หลังนักลงทุนเริ่มสนใจสกุลเงินคริปโตฯ และสินทรัพย์ดิจิทัลมากขึ้นเรื่อยๆผู้บริหารระดับสูงของ DBS กล่าว

โดย DBS เริ่มปรับทิศทางธุรกิจจากธนาคารดั้งเดิมไปสู่วงการคริปโตเคอร์เรนซีอย่างจริงจัง ภายใต้การนำของ ‘Piyush Gupta’ ซีอีโอคนปัจจุบัน ที่ลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีของธนาคาร ตลอด 8 ปีที่ผ่านมา เพื่อรองรับระบบ Cloud Computing และบริการดิจิทัลต่างๆ

ความนิยมสกุลเงินคริปโทเคอร์เรนซีที่เพิ่มขึ้น เป็นความท้าทายของธนาคารในกระแสหลัก ที่ต้องพยายามสร้างสมดุลระหว่างความสนใจของลูกค้าในสกุลเงินดิจิทัล กับความกังวลเรื่องความเสี่ยงด้านกฎระเบียบ

ณ ตอนนี้ DBS เป็นธนาคารรายใหญ่เพียงรายเดียวเท่านั้น ที่ให้บริการด้านคริปโตเคอร์เรนซีอย่างเต็มรูปแบบ โดยมีทั้งเเพลตฟอร์มที่ให้บริการซื้อขายคริปโตฯ การเปลี่ยนสินทรัพย์ให้เป็นโทเคน และบริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล

ขณะเดียวกัน จากความนิยมที่มาเเรงไม่หยุด สถาบันการเงินยักษ์ใหญ่หลายแห่ง ก็เริ่มหันมาให้ความสนใจในตลาดคริปโตเคอร์เรนซีมากขึ้น อย่าง Standard Chartered ที่กำลังจัดตั้งบริษัทร่วมทุน เพื่อสร้างแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนสกุลเงินดิจิทัล ในสหราชอาณาจักรและยุโรป

โดยการเคลื่อนไหวดังกล่าว เกิดขึ้นพร้อมๆ กับช่วงเวลาที่ธนาคารต่างๆ ต้องการเพิ่มรายได้จากค่าธรรมเนียม เนื่องจากรายได้จากดอกเบี้ย ‘ลดลง’ ท่ามกลางภาวะอัตราดอกเบี้ยต่ำทั่วโลก

DBS Group คาดว่า ธุรกิจใหม่ของบริษัท ซึ่งรวมไปถึงเเพลตฟอร์มอย่าง DBS Digital Exchange เเละแพลตฟอร์ม Carbon Exchange จะสามารถทำรายได้ถึง 350 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในสิ้นปี 2022

 

ที่มา : CNA , Reuters 

]]>
1351727
ธนาคารใหญ่ในสหรัฐฯ เตรียมอัดโปร ‘บัตรเครดิต’ กระตุ้นใช้จ่าย ปั๊มรายได้ช่วงเศรษฐกิจฟื้น https://positioningmag.com/1333830 Tue, 25 May 2021 15:13:29 +0000 https://positioningmag.com/?p=1333830 บรรดาธนาคารยักษ์ใหญ่ของสหรัฐฯ วางเเผนการตลาดใหม่ ทุ่มออกโปรโมชันบัตรเครดิตเพื่อขยายหาฐานลูกค้า กระตุ้นการใช้จ่ายของผู้บริโภค รับเศรษฐกิจฟื้นตัว ต่างจากปีที่เเล้วที่ระวังความเสี่ยงจนถึงขั้นดึงวงเงินสินเชื่อกลับคืน

Andrew Davidson นักวิเคราะห์จาก Mintel Comperemedia มองว่า สถาบันการเงินอย่าง Capital One , Citigroup และ JPMorgan มีเเผนจะอัดโปรโมชันบัตรเครดิตอย่างหนัก เพื่อหาลูกค้าใหม่เเละสนับสนุนให้ลูกค้าเก่าใช้จ่ายมากขึ้น เป็นกลยุทธ์การเพิ่มรายได้ในช่วงที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ กำลังฟื้นตัว หลังการฉีดวัคซีนได้ผลดี

ดยจะเน้นไปที่การทำตลาดดิจิทัล โปรโมตเเคมเปญโฆษณาเเละข้อเสนอต่างๆ ผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย เช่น Facebook , Instagram , Youtube และ Podcast เพื่อดึงดูดให้ประชาชนหันมาใช้บริการบัตรเครดิตเพิ่มขึ้นในปีนี้

ธนาคารใหญ่กำลังรอจังหวะการฟื้นตัวหลังโรคระบาด เพื่อทำรายได้ชดเชยส่วนที่หายไปในปีที่เเล้ว

โดยคาดว่า เเบงก์ต่างๆ จะเริ่มผ่อนคลายมาตรการการให้สินเชื่อมากขึ้น ซึ่งเป็นท่าทีที่เเตกต่างจากช่วงปีที่ผ่านมา ที่ธนาคารส่วนใหญ่ตัดสินใจชะลอข้อเสนอบัตรเครดิต เเละดึงวงเงินสินเชื่อกลับคืน เพราะมีความกังวลเรื่องความเสี่ยงการผิดชำระหนี้ หลังอัตราว่างงานในสหรัฐฯ เพิ่มสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ จากผลกระทบของโควิด-19

อย่างไรก็ตาม ด้วยมาตรการเยียวยาจากรัฐบาล ที่ให้เงินช่วยเหลือคนว่างงาน เเละปล่อยเงินกู้ให้เจ้าของธุรกิจขนาดเล็ก ทำให้ชาวอเมริกันที่พึ่งพาการใช้บัตรเครดิต สามารถชำระหนี้ได้เเละยังมีการใช้จ่าย บางรายชำระยอดคงเหลือด้วย

โดยรวมเเล้ว ธุรกิจบัตรเครดิตในสหรัฐฯ ยังคงทำกำไรได้ แต่มีรายได้ลดลง

จากข้อมูลของธนาคารกลางสหรัฐฯ สาขานิวยอร์ก ระบุว่า ยอดเงินคงเหลือบัตรเครดิต (Card Balances) ของธนาคารในสหรัฐฯ ในปี 2020 ลดลง 14% ในช่วงการเเพร่ระบาด ขณะที่บัญชีที่มียอดหมุนเวียน (Revolving Balances) อยู่ที่ระดับ 39.7% ลดลงจากปี 2019 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 44.1%

ทั้งนี้ เฉลี่ยอัตราดอกเบี้ยโดยเฉลี่ยของบัตรเครดิตในสหรัฐฯ ปัจจุบันอยู่ที่ 16% สูงสุดที่ 25% (อ้างอิงจาก CreditCards)

แนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ เห็นได้ชัดเมื่อสถานการณ์โรคระบาดเริ่มคลี่คลายลง หลังการกระจายวัคซีนทั่วถึง ผู้คนกลับมารับประทานอาหารในร้าน ข้อจำกัดการเดินทางถูกยกเลิก มีการจัดคอนเสิร์ต สำนักงานใหญ่ๆ เริ่มกลับมาเปิดทำการ เป็นสัญญาณที่ดีต่อการใช้จ่ายของผู้บริโภคเเละโอกาสที่จะปล่อยสินเชื่อ

 

 

ที่มา : Reuters

]]>
1333830
เผยโฉมโลโก้ธนาคารใหม่ ‘ttb’ ทหารไทยธนชาต เปลี่ยนคอลเซ็นเตอร์เป็น 1428 https://positioningmag.com/1330936 Fri, 07 May 2021 06:35:49 +0000 https://positioningmag.com/?p=1330936
หลังธนาคารทหารไทย (TMB) และธนาคารธนชาต ประกาศควบรวมกิจการ เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น ‘ทหารไทยธนชาต’ หรือ ‘ทีเอ็มบีธนชาต’ มาวันนี้ถึงเวลาเผยโฉมโลโก้ใหม่ เป็น ‘ttb’ ผ่านช่องทางทั้งโซเชียลมีเดีย สาขา ตู้เอทีเอ็ม แอปพลิเคชัน และสื่อการตลาดต่างๆ ทั่วประเทศ ตามกลยุทธ์การ ‘รีเเบรนด์ดิ้ง’ เพื่อสร้างความคุ้นเคยให้ลูกค้า

 

สำหรับชื่อย่อคือ ‘ttb’ (ทีทีบี) นั้นสื่อความหมายถึงการรวมพลังของสองธนาคารเป็นหนึ่งเดียว โดยอักษร t สีน้ำเงินตัวแรกมาจาก TMB (ทหารไทย) และ t สีส้มตัวที่สองมาจาก Thanachart (ธนชาต) ส่วนอักษร b สีกรมท่ามาจากคำว่า Bank (ธนาคาร) โดยจะดำเนินการเปลี่ยนชื่อย่อหลักทรัพย์จดทะเบียนจาก TMB เป็น TTB ต่อไป

ในช่องทางโซเชียลมีเดีย ได้เปลี่ยนชื่อใหม่ว่า ttbbankofficial ทั้งเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ อินสตาแกรม ยูทูบ ส่วนไลน์จะใช้ TTB Bank และเว็บไซต์ทางการใช้ชื่อว่า ttbbank.com

นอกจากนี้ ยังเปลี่ยนหมายเลขคอนแทกต์เซ็นเตอร์ (Contact Center) จากหมายเลข 1558 และ 1770 ให้เป็นหมายเลขเดียวคือ ‘1428’ ส่วนเลขทะเบียนนิติบุคคล เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร และหมายเลขโทรศัพท์พื้นฐาน 0-2299-1111 และที่อยู่สำนักงานใหญ่นั้น ‘ไม่มีการเปลี่ยนแปลง’

โดยลูกค้า TMB เเละธนชาต สามารถใช้ผลิตภัณฑ์และบริการต่าง ๆ ได้เช่นเดิมภายใต้แบรนด์ใหม่ โดยเลขที่บัญชีและรหัสสาขายังคงเดิม ส่วนลูกค้าของธนาคารธนชาต จะแจ้งรายละเอียดการเปลี่ยนแปลงล่วงหน้า รวมทั้งขั้นตอนที่แนะนำให้ลูกค้าปฏิบัติเพื่อความต่อเนื่องในการใช้บริการของทีเอ็มบีธนชาตต่อไป

คาดว่าทั้งสองธนาคารจะควบรวมกิจการ ‘เสร็จสมบูรณ์’ ได้ในเดือนกรกฎาคมนี้ เตรียมเป็นธนาคารพาณิชย์ที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 6 ในไทย เเละดำเนินงานร่วมกัน ตามโมเดล “ONE GOAL”

ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธ.ค. 2563 ทีเอ็มบีธนชาต มีสินทรัพย์รวมกันราว 1.8 ล้านล้านบาท เงินให้สินเชื่อ 1.39 ล้านล้านบาท เงินฝาก 1.37 ล้านล้านบาท ฐานลูกค้ารวมกันประมาณ 10 ล้านราย

สำหรับการ ‘โอนย้ายพนักงาน’ กว่า 11,000 คน จากธนชาตไป ttb นั้น ได้มีการทยอยโอนย้ายมาต่อเนื่องเป็นระยะ โดยเมื่อพนักงานจากธนชาต มารวมกันกับพนักงานของ TMB ที่มีอยู่ราว 8,000 คน จะทำให้มีจำนวนพนักงานในธนาคารใหม่ทั้งสิ้นราว 19,000 คน

อ่านเพิ่มเติม :  ภารกิจ “TMB – ธนชาต” ย้ำควบรวมเสร็จในก.ค. 64 ตั้งเป้าปีนี้มีสาขาร่วม 100 แห่ง

]]>
1330936
‘เเบงก์ชาติสิงคโปร์’ สั่งธนาคาร จับตาธุรกรรมน่าสงสัยกับ ‘เมียนมา’ หวั่นก่ออาชญากรรมการเงิน https://positioningmag.com/1321984 Thu, 04 Mar 2021 12:10:01 +0000 https://positioningmag.com/?p=1321984 ธนาคารกลางสิงคโปร์ เเจ้งสถาบันการเงินภายในประเทศ จับตาธุรกรรมที่น่าสงสัยระหว่างสิงคโปร์กับเมียนมา ทั้งการโอนเงินหรือเงินหมุนเวียนของกองทุน เนื่องจากมีความกังวลเกี่ยวกับอาชญากรรมทางการเงินที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในช่วงนี้ หลังการทำรัฐประหารในเมียนมา

ธนาคารกลางสิงคโปร์ (MAS) ได้ส่งหนังสือเวียน เเจ้งเตือนไปยังผู้เหล่าผู้บริหารของสถาบันการเงินทุกเเห่งในประเทศ ให้ตรวจสอบสถานะกิจการ ประเมินทรัพย์สินของบริษัท (Due Diligence) ของลูกค้ารายสำคัญด้วยความระมัดระวัง และใช้มาตรการลดความเสี่ยงที่เหมาะสมสำหรับสถานการณ์ที่มีความเสี่ยงสูง 

ความเคลื่อนไหวดังกล่าว เกิดขึ้นท่ามกลางการเดินขบวนประท้วงเพื่อประชาธิปไตยในเมียนมา หลังกองทัพประกาศเข้ายึดอำนาจ

MAS มองว่า สถานการณ์ความรุนแรงในเมียนมา มีความเสี่ยงที่จะนำไปสู่การฟอกเงิน การระดมเงินทุนเพื่อการก่อการร้าย หรืออาจก่ออาชญากรรมทางการเงินประเภทอื่นๆ ได้ ซึ่งหากสถาบันการเงินตรวจพบการทำธุรกรรมที่น่าสงสัย ต้องแจ้งให้ธนาคารกลางทราบในทันที

นอกจากนี้ ยังขอให้สถาบันการเงิน ติดตามความเป็นไปในเมียนมาที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วรวมถึงมาตรการคว่ำบาตรต่อเมียนมาของประเทศต่างๆ ด้วย

สิงคโปร์เเละเมียนมา มีเงินไหลเวียนข้ามพรมเเดนระหว่างกันจำนวนมาก เเละมีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ใกล้ชิด เเละสิงคโปร์เป็นหนึ่งในประเทศที่เข้าไปลงทุนรายใหญ่

ก่อนหน้านี้ลี เซียนลุงนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ กล่าวว่า การที่กองทัพเมียนมาใช้ความรุนแรงสลายการชุมนุมของผู้ประท้วงที่ไม่ติดอาวุธ ถึงขั้นเสียชีวิตเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ พร้อมเสนอให้คณะรัฐประหารปล่อยตัวนางอองซาน ซูจี และหาทางออกกับสถานการณ์ในประเทศอย่างสันติ

 

ที่มา : Reutersthestar 

]]>
1321984
กำไร ‘เเบงก์พาณิชย์’ ปี 2563 ลดลง 46% เเต่สินเชื่อโต 5.1% ‘หนี้เสีย’ ทั้งระบบขยับเพิ่มขึ้น https://positioningmag.com/1320360 Mon, 22 Feb 2021 09:23:49 +0000 https://positioningmag.com/?p=1320360 เเบงก์ชาติเผยปี 2563 ธนาคารพาณิชย์ในไทย ทำกำไรลดลง 46% อยู่ที่ 1.46 เเสนล้านบาท ผลจากการกันสำรองเพิ่มขึ้นช่วง COVID-19 ภาพรวมสินเชื่อโต 5.1% ด้าน NPL เพิ่มขึ้นที่ 3.12% ลูกหนี้กลุ่มธุรกิจท่องเที่ยวโรงเเรมน่าเป็นห่วงสุด 

สุวรรณี เจษฎาศักดิ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงผลการดำเนินงานของระบบธนาคารพาณิชย์ไทยใน ปี 2563 ว่า มีกำไรสุทธิราว 146,200 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนซึ่งอยู่ที่ราว  271,000 ล้านบาท หรือลดลง 46% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน 

ปัจจัยหลักๆ มาจากการกันสำรองในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง เพื่อองรับผลกระทบจาก COVID-19 ต่อคุณภาพหนี้ในระยะต่อไป ประกอบกับผลของฐานสูงจากรายได้จากเงินลงทุนซึ่งเป็นปัจจัยพิเศษในปีก่อน 

โดยระบบธนาคารพาณิชย์ มีเงินกองทุนทั้งสิ้น 2,994.3 พันล้านบาท คิดเป็นอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (BIS ratio) ที่ 20.1% เงินสำรองอยู่ในระดับสูงที่ 799.1 พันล้านบาท โดยอัตราส่วนเงินสำรองที่มีต่อสินเชื่อด้อยคุณภาพ (NPL coverage ratio) อยู่ที่ 149.2% และอัตราส่วนสินทรัพย์สภาพคล่องเพื่อรองรับกระแสเงินสดที่อาจไหลออกในภาวะวิกฤต (Liquidity Coverage Ratio: LCR) อยู่ที่ 179.6%

สำหรับผลตอบแทนต่อสินทรัพย์เฉลี่ย (Return on Assets: ROA) ลดลงมาอยู่ที่ 0.65% จากปีก่อนที่ 1.39% และอัตราส่วนรายได้ดอกเบี้ยสุทธิต่อสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้ดอกเบี้ยเฉลี่ย (NIM) ลดลงมาอยู่ที่ 2.51% จากปีก่อนที่อยู่ที่ 2.73%

ด้านภาพรวมการเติบโตของสินเชื่อในระบบธนาคารพาณิชย์ในปีที่ผ่านมา ยังขยายตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 5.1% จากปีก่อนที่ขยายตัว 2%

สินเชื่อธุรกิจ ขยายตัว 5.4% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่หดตัว 0.8% ปัจจัยหลักจากการเติบโตของสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ที่ส่วนหนึ่งกลับมาใช้สินเชื่อแทนการออกตราสารหนี้ในช่วงไตรมาส 2/63

สินเชื่อ SMEs หดตัวในอัตราที่ลดลงจากผลของมาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft loan)

สินเชื่อที่อยู่อาศัย ขยายตัวเพิ่มขึ้น ตามอุปสงค์ในตลาดที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะแนวราบที่ปรับดีขึ้นและแคมเปญการตลาดของผู้ประกอบการ

สินเชื่ออุปโภคบริโภค ขยายตัว 4.6% ลดลงจากปีก่อนที่ขยายตัว 7.5% สอดคล้องกับกำลังซื้อของภาคครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบจากโรคระบาด

คาดว่าจะทยอยปรับดีขึ้นในทุกพอร์ตสินเชื่อ ในช่วงครึ่งหลังของปี 2563 ตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ปรับดีขึ้น หลังการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์

ด้านคุณภาพสินเชื่อลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ได้รับความช่วยเหลือจากธนาคารพาณิชย์ ทำให้ยอดคงค้างสินเชื่อด้อยคุณภาพ (NPL หรือ Stage3) เพิ่มขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ที่ 5.233 เเสนล้านบาท คิดเป็น 3.12%

ขณะที่สัดส่วนสินเชื่อที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญของความเสี่ยงด้านเครดิตต่อสินเชื่อรวม อยู่ที่ 6.62% ส่วนแนวโน้ม NPL นั้นคาดว่าจะทยอยเพิ่มขึ้น จากกลุ่มที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ หรือมีหนี้ที่มีปัญหาที่หลากหลาย

กลุ่มลูกหนี้ที่น่าเป็นห่วงมากที่สุดคือ ลูกหนี้ในกลุ่มธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 อย่างหนัก เช่นกลุ่มธุรกิจท่องเที่ยวเเละโรงเเรม เเม้จะเริ่มฟื้นตัวจากการท่องเที่ยวในประเทศ เเต่เมื่อมีการระบาดระลอกใหม่ก็ทำให้คนไทยท่องเที่ยวน้อยลง โดยโรงเเรมหรือธุรกิจที่พึ่งพานักท่องเที่ยวต่างชาติเกือบ 100% ก็ยังต้องรอความคืบหน้าในเรื่องวัคซีน

ทั้งนี้ พอร์ตลูกหนี้กลุ่มธุรกิจโรงแรม มีอยู่ประมาณ 4 แสนล้านบาทในระบบธนาคารพาณิชย์ไทย

 

]]>
1320360
เเบงก์ใหญ่ญี่ปุ่น Mizuho ลุยโมเดลหารายได้เสริม ประกาศขายข้อมูล “พฤติกรรมลูกค้า” https://positioningmag.com/1305568 Wed, 11 Nov 2020 11:16:43 +0000 https://positioningmag.com/?p=1305568 ธนาคารในญี่ปุ่น เริ่มหา รายได้เสริมด้วยโมเดลธุรกิจใหม่ ล่าสุด Mizuho Financial Group เป็น
เเบงก์เเรกของประเทศที่ประกาศขายข้อมูลลูกค้าเช่นพฤติกรรมการใช้จ่าย การกู้เเละรายได้

Koji Fujiwara ซีอีโอฝ่ายธนาคารของ Mizuho ให้สัมภาษณ์ว่า กำลังจะมีการเสนอขายข้อมูลพฤติกรรมผู้บริโภคให้กับลูกค้าองค์กรเเละผู้ประกอบการที่สนใจ ซึ่งธนาคารมีข้อมูลเหล่านี้อยู่จำนวนมาก ทั้งการทำธุรกรรมและการกู้ยืมต่างๆ โดยเน้นย้ำว่า ข้อมูลเหล่านั้นจะถูกรวบรวมทำให้เป็นนิรนามไม่ระบุตัวตน เเละจะไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนตัวของผู้บริโภค

Mizuho ตามรอยธนาคารใหญ่ในโลกหลายเเห่ง ที่หันมาหารายได้จากการขายข้อมูลพฤติกรรมทางการเงินของลูกค้าอย่าง Bank of America เเละ Lloyds Banking Group เช่นเดียวกับ บริษัทเทคโนโลยีชั้นนำอย่าง Facebook เเละ Alphabet (บริษัทเเม่ของ Google) ที่ทำเงินมหาศาลจากข้อมูลของผู้ใช้

โดยมีการประเมินว่า บรรดาธนาคารทั้งหลาย จะมีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างน้อย 1% ถึง 2% หากสามารถใช้ประโยชน์จากการแบ่งปันข้อมูลที่มีได้

ที่ผ่านมา ญี่ปุ่นมีกฎข้อบังคับที่เข้มงวดต่อการดำเนินธุรกิจของธนาคาร แต่หลังจากที่อัตราดอกเบี้ยและดีมานด์การกู้ลดต่ำลงต่อเนื่อง ส่งผลกระทบต่อธุรกิจปล่อยสินเชื่อของธนาคารอย่างมาก รัฐบาลจึงมีการผ่อนปรนนโยบายและปลดล็อกข้อกฏหมายต่าง ๆ ให้ธนาคารหารายได้หลากหลายช่องทางมากขึ้น

ในเบื้องต้น Mizuho ไม่ได้เผยถึงรายได้หรือค่าบริการที่ตั้งเป้าไว้ เเต่ระบุว่า ธนาคารมีเป้าหมายในการให้เสนอบริการข้อมูลนี้กับลูกค้าให้ได้ 100 รายภายใน 3 ปี เเละหวังว่าจะมีการนำข้อมูลไปประยุกต์ใช้กับธุรกิจในหลายอุตสาหกรรม เช่น ธุรกิจค้าปลีก หรือร้านอาหารอาจจะเลือกที่ตั้งของสาขาใหม่ โดยอ้างอิงจากข้อมูลรายได้การใช้จ่ายและข้อมูลอื่นๆ ของทางธนาคาร

(Photo by Tomohiro Ohsumi/Getty Images)

เทคโนโลยีดิจิทัล เป็นหนึ่งในธุรกิจที่ธนาคาร Mizuho เเละเเบงก์ต่างๆ ในญี่ปุ่น กำลังให้ความสำคัญเเละสนใจเข้าไปร่วมกิจการใหม่ๆ

เมื่อต้นปีที่ผ่านมา Mitsubishi UFJ Financial Group ทุ่มเงินลงทุนกว่า 700 ล้านดอลลาร์สหรัฐในสตาร์ตอัพยูนิคอร์นอย่าง Grab ขณะที่ Sumitomo Mitsui Financial Group เข้าซื้อหุ้นในบริษัทผู้ให้บริการแอปฯ ข้อมูลทางการแพทย์ของญี่ปุ่น

ซีอีโอฝ่ายธนาคารของ Mizuho เชื่อว่า แม้ธุรกิจหลักของธนาคารจะยังสำคัญอยู่ แต่ก็ไม่เพียงพออีกต่อไป โดยธนาคารต้องหันไปให้บริการแบบ Non-financial Service เพิ่มขึ้นต่อไป

นักวิเคราะห์ Bloomberg มองว่า ธนาคารในญี่ปุ่นมีเเนวโน้มจะการพัฒนาด้านเทคโนโลยีมากขึ้น หลังจากที่โยชิฮิเดะ ซูงะนายกรัฐมนตรีคนใหม่ สัญญาว่าจะยกเครื่องการทำงานที่ล้าสมัย เเละปรับให้ญี่ปุ่นเข้าสู่ยุคดิจิทัลมากขึ้น

 

ที่มา : Bloomberg , Japantimes

]]>
1305568
กำไร “แบงก์ไทย” ลดฮวบ คาดไตรมาส 3 หดตัวลึก -66.5% หาย 6 หมื่นล้าน สิ้นปี “ทรุดกว่า” https://positioningmag.com/1300840 Fri, 09 Oct 2020 09:48:25 +0000 https://positioningmag.com/?p=1300840 ธนาคารพาณิชย์ในไทย เจอพิษ COVID-19 ไตรมาส 3 ปีนี้ คาดกำไรสุทธิหดตัวลึก -66.5% หรือลดฮวบลงกว่า 6 หมื่นล้านบาท มองไตรมาสสุดท้าย “ทรุดหนักกว่า” จากเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัว คุณภาพหนี้แย่ลง หาทางรับมือหลังหมดมาตรการ “พักหนี้”

จากสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจไทยที่ยังไม่กลับสู่ภาวะปกติ ยังคงกดดันความสามารถในการ “ทำกำไร” ของธนาคารพาณิชย์ในไตรมาส 3/2563 โดยรายได้ดอกเบี้ยและรายได้ค่าธรรมเนียม มีแนวโน้มลดลงตามการหดตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องในหลายๆ ภาคส่วน นอกจากนี้ รายได้ดอกเบี้ยของทั้งระบบธนาคารพาณิชย์ไทย ยังได้รับผลกระทบมากขึ้น จากทิศทางขาลงของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ตั้งแต่ช่วงปลายปี 2562 ด้วย

กำไร “เเบงก์ไทย” ลดฮวบ 

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ออกบทวิเคราะห์ ถึงผลประกอบการระบบธนาคารพาณิชย์ไทย ในไตรมาส 3 /2563 โดยคาดว่า กำไรสุทธิของระบบธนาคารพาณิชย์จดทะเบียนในประเทศ จะยังเผชิญแรงกดดันต่อเนื่อง แม้ระดับกำไรสุทธิอาจจะขยับขึ้นเล็กน้อย เมื่อเทียบกับไตรมาส 2/2563

โดยคาดว่า กำไรสุทธิของธนาคารพาณิชย์ไทย ในไตรมาส 3/2563 จะลดลงมาอยู่ที่ระดับประมาณ 3.08 หมื่นล้านบาท หรือ -66.5% YoY เมื่อเทียบกับที่มีกำไรสุทธิสูงถึง 9.16 หมื่นล้านบาทในไตรมาส 3/2562 ซึ่งเป็นช่วงที่ธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่ง มีกำไรพิเศษจากการขายหุ้นในบริษัทประกันซึ่งธนาคารถือหุ้นอยู่

อย่างไรก็ดี กำไรสุทธิที่ระดับดังกล่าวขยับขึ้นเล็กน้อยประมาณ 3.7% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการกันสำรองฯ ในไตรมาส 3/2563 ของธนาคารพาณิชย์หลายแห่งอาจชะลอลงบางส่วน หลังจากที่มี
นโยบายการตั้งสำรองฯ เชิงรุกในระดับที่สูงมากในไตรมาส 2/2563 ที่ผ่านมา

ขณะที่ “รายได้จากธุรกิจหลัก” ยังคงไม่ฟื้นตัวขึ้นท่ามกลางสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ ที่โดนกระทบหนักจากวิกฤต COVID-19

สำหรับแนวโน้มในไตรมาสที่ 4/2563 คาดว่า การประคองทิศทางรายได้และกำไรสุทธิ จะเป็นโจทย์ที่ท้าทายมากขึ้น เนื่องจากต้องรับมือกับการจัดการปัญหาหนี้เสีย การดูแลปรับโครงสร้างลูกหนี้ ค่าใช้จ่ายในการตั้งสำรองฯ และอื่นๆ ที่เพิ่มสูงขึ้นไปพร้อมกัน

Photo : Shutterstock

สินเชื่อ ชะลอตัว – NIM ปรับลด – คุณภาพหนี้แย่ลง

KBANK มองว่า “สินเชื่อ” ของธนาคารพาณิชย์ไทย อาจเติบโตในอัตราที่ชะลอลงมาที่ 4.5-4.8% YoY ในไตรมาส 3/2563 จาก 5.1% YoY ในไตรมาส 2/2563 เนื่องจากยังต้องประเมินความเสี่ยงด้านเครดิตของลูกค้าที่มาขอสินเชื่อใหม่อย่างระมัดระวัง ประกอบกับมีการทยอยชำระคืนสินเชื่อของภาคธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจขนาดใหญ่บางราย

ขณะที่ข้อมูลจากธนาคารเเห่งประเทศไทย (ธปท.) สะท้อนว่าหลังจากมาตรการช่วยเหลือของสถาบันการเงินทยอยครบกำหนดลง มีลูกหนี้ธุรกิจและรายย่อยบางส่วนเริ่มกลับมาชำระคืนหนี้ในช่วงไตรมาส 3/2563 นี้ด้วยเช่นกัน

โดย NIM ไตรมาส 3/2563 ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับประมาณ 2.65-2.70% จาก 2.73% ในไตรมาส 2/2563 เป็นผลต่อเนื่องจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ในช่วงก่อนหน้านี้ ประกอบกับสินเชื่อปล่อยใหม่ส่วนใหญ่ รวมถึงสินเชื่อรีไฟแนนซ์ในระยะนี้ เป็นสินเชื่อที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำลง นอกจากนี้ เพดานใหม่สำหรับดอกเบี้ยสินเชื่อบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล ก็เริ่มมีผลบังคับแล้ว ตั้งแต่เดือนส.ค. 2563 ที่ผ่านมา

ด้าน “คุณภาพสินเชื่อ” ในพอร์ตถดถอยลง ตามสัญญาณอ่อนแอของเศรษฐกิจ คาดว่า สัดส่วน NPLs ของระบบธนาคารไทยในไตรมาส 3/2563 จะขยับขึ้นไปที่กรอบประมาณ 3.25-3.35% จากระดับ 3.21% ในไตรมาส 2/2563 เนื่องจากยังอยู่ในช่วงของมาตรการพักชำระหนี้ของภาคธุรกิจ ประกอบกับคาดว่า ธนาคารพาณิชย์ทุกแห่งจะเร่งจัดการปัญหาหนี้เสียในเชิงรุกมากขึ้น ทั้งด้วยวิธีการตัดขายหนี้ด้อยคุณภาพ และเร่งปรับโครงสร้างหนี้

อย่างไรก็ตาม ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า การตั้งสำรองฯ จะยังอยู่ในระดับสูงในไตรมาส 3/2563 แม้จะมีการตั้งสำรองฯ ก้อนใหญ่ไปแล้วในไตรมาส 2/2563 ดังนั้นสัดส่วนค่าใช้จ่ายในการตั้งสำรองฯ ต่อสินเชื่อ (Credit Cost) อาจชะลอลงเล็กน้อยมาอยู่ในกรอบประมาณ 1.80-1.95% ในไตรมาส 3/2563 เทียบกับ 2.15% ในไตรมาส 2/2563

“ธนาคารพาณิชย์ต่างๆ คงเตรียมความพร้อมในส่วนนี้ไว้เพื่อรองรับปัญหาคุณภาพหนี้ ซึ่งจะเห็นได้อย่างชัดเจนมากขึ้นหลังมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ ทยอยสิ้นสุดลงหลังในเดือนตุลาคมนี้” 

โจทย์ยาก เมื่อ SMEs หมดมาตรการ “พักหนี้”

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า เมื่อจบไตรมาส 3/2563 สินเชื่อที่ได้รับความช่วยเหลือจากธนาคารพาณิชย์จะมีสัดส่วนประมาณ 28.5% ต่อสินเชื่อรวม ลดลงเล็กน้อยจากสัดส่วนประมาณ 31.0% ต่อสินเชื่อรวมในไตรมาส 2/2563 เนื่องจากลูกหนี้บางส่วนกลับมาชำระคืนหนี้ได้ตามปกติหลังมาตรการช่วยเหลือรอบแรกทยอยสิ้นสุดลง

“การประเมินความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้บุคคลและลูกหนี้ธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจ SMEs หลังจากมาตรการพักหนี้สิ้นสุดลง ยังคงเป็นโจทย์ยากและมีความท้าทายสำหรับธนาคารพาณิชย์ เนื่องจากลูกหนี้กลุ่มนี้ส่วนใหญ่ยังมีสถานะทางการเงินที่เปราะบาง ขณะที่สัญญาณอ่อนแอทางเศรษฐกิจที่ลากยาวต่อเนื่องอาจส่งผลกระทบต่อรายได้ และความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้กลุ่มนี้ได้อีกในอนาคต” 

ดังนั้น แม้มาตรการพักชำระหนี้ธุรกิจเป็นการทั่วไปจะทยอยสิ้นสุดลง แต่ธนาคารพาณิชย์แต่ละแห่งจะยังคงให้ความช่วยเหลือกับลูกหนี้ทั้งลูกหนี้ธุรกิจและลูกหนี้รายย่อยในรูปแบบอื่นต่อไป ควบคู่ไปกับการเร่งปรับโครงสร้างหนี้ตามแนวทางของธนาคาร หรือผ่านโครงการ DR BIZ มาตรการรวมหนี้ ตลอดจนมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยระยะที่ 2 ซึ่งยังสามารถเข้าโครงการได้จนถึงสิ้นปี 2563

โดยหลักเกณฑ์ในการให้ความช่วยเหลือจะตั้งอยู่บนพื้นฐานของการพิจารณาความสอดคล้องกันระหว่างกระแสรายได้-ภาระหนี้ ซึ่งแยกตามลักษณะของลูกหนี้แต่ละกลุ่มที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจและมีจังหวะและโอกาสในการฟื้นธุรกิจแตกต่างกัน

Photo : Shutterstock

ไตรมาสสุดท้าย “ทรุดหนักกว่า” 

การประคองความสามารถในการทำกำไรของธนาคารพาณิชย์ในไตรมาสสุดท้ายของปี 2563 ยังคงมีความท้าทายไม่น้อยไปกว่าหลายๆ ไตรมาสที่ผ่านมา เพราะแม้กิจกรรมทางเศรษฐกิจจะทยอยกลับมาหลังการคลายล็อกดาวน์ แต่ก็เป็นการฟื้นตัวที่เปราะบางมากเพราะแรงขับเคลื่อนพื้นฐานของเศรษฐกิจ โดยเฉพาะภาคการส่งออกและท่องเที่ยว ยังไม่สามารถฟื้นกลไกการทำงานกลับมาได้อย่างเต็มที่

“ในไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ คาดว่าจะยังเป็นช่วงที่ธนาคารมีค่าใช้จ่ายรวมสูงกว่าไตรมาสอื่นๆ เพราะมีทั้งค่าใช้จ่ายในการตั้งสำรองฯ ที่น่าจะยังอยู่ในระดับสูง ค่าแคมเปญการตลาด ค่าอุปกรณ์และสถานที่ และรายจ่ายค่าธรรมเนียม ซึ่งท้ายที่สุด คาดว่าจะมีผลกดดันให้กำไรสุทธิของระบบธนาคารพาณิชย์ไทยติดลบ YoY ต่อเนื่องในไตรมาสสุดท้ายของปี 2563 โดยระดับกำไรสุทธิมีแนวโน้มลดต่ำลงกว่ากำไรสุทธิในไตรมาส 3/2563 ซึ่งคาดไว้ที่ประมาณ 3.08 หมื่นล้านบาท”

 

]]>
1300840
อัปเดตภารกิจ “ทีเอ็มบี – ธนชาต” ย้ำควบรวมเสร็จในก.ค. 64 ตั้งเป้าปีนี้มีสาขาร่วม 100 แห่ง https://positioningmag.com/1291881 Mon, 10 Aug 2020 09:31:07 +0000 https://positioningmag.com/?p=1291881 ภารกิจใหญ่ของทีเอ็มบีธนชาตที่กำลังจะก้าวสู่การเป็นธนาคารพาณิชย์ที่มีขนาดใหญ่ อันดับ 6 ในไทย หลังประกาศดีลควบรวมมูลค่า 1.4 แสนล้าน ตั้งเเต่ช่วงต้นปี 2019 ที่ผ่านมา เเละเริ่มดำเนินการร่วมกัน ตามโมเดล “ONE GOAL” มาเป็นเวลา 6 เดือนวันนี้เราจะมาอัปเดตความคืบหน้าของดีลนี้กัน

หลังผ่านช่วงวิกฤต COVID-19 ที่กระทบธุรกิจทุกภาคส่วน ล่าสุดธนาคารทหารไทย (TMB) และธนาคารธนชาต ยืนยันว่าทุกอย่างจะเป็นไปตามเเผนเดิม ตามเป้าหมายที่จะรวมสองธนาคารเป็นหนึ่งเดียว ให้เสร็จสิ้นภายในเดือนกรกฎาคม ปี 2564 

สำหรับการดำเนินงานช่วง 6 เดือนที่ผ่านมานั้น ความคืบหน้าล่าสุดของ ทีเอ็มบีธนชาต ในด้านการให้บริการลูกค้าได้เน้นไปที่การเชื่อมโยงการให้บริการในช่องทางบริการอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เช่น

  • ลูกค้าชำระบิลสินเชื่อรถยนต์ ประกันรถยนต์ สินเชื่อบ้าน สินเชื่อส่วนบุคคล บัตรเครดิต และบัตรกดเงินสด ของธนาคารธนชาต สามารถทำรายการดังกล่าวได้ผ่านโมบายล์แอปพลิเคชัน TOUCH และตู้ ATM ของทีเอ็มบี (ยกเว้นสินเชื่อบ้าน และประกันรถยนต์) ได้เรียบร้อยแล้ว และในส่วนของลูกค้าทีเอ็มบี สามารถใช้บริการกดเงินไม่ใช้บัตรผ่าน TOUCH เพื่อรับเงินสดจากเครื่อง ATM ของธนชาตได้เช่นกัน

  • ลูกค้าทั้งสองธนาคารสามารถทำรายการ ฝาก ถอน และโอน ได้ฟรี ไม่มีค่าธรรมเนียม ผ่าน ATM/ADM ทั้งของทีเอ็มบีและธนชาต กว่า 4,900 เครื่องทั่วประเทศ  เหมือนตู้ของธนาคารเดียวกัน
  • บริการสาขา ธนาคารได้เปิดตัว สาขาที่ให้บริการร่วม (Co-Location) ระหว่างทีเอ็มบี และธนชาต ในช่วงต้นปีที่ผ่านมา เเละสิ้นปี 2563 ตั้งเป้าหมายอยู่ที่ประมาณ 100 สาขา แบ่งเป็นในกรุงเทพฯ ราว 60 สาขา และต่างจังหวัดอีก 30 สาขา โดยพนักงานทีเอ็มบีสามารถแนะนำผลิตภัณฑ์ทั้งสินเชื่อรถยนต์ใหม่รถใช้แล้วและรถแลกเงินของธนชาตให้กับลูกค้าได้

ประพันธ์ อนุพงษ์องอาจ ผู้จัดการใหญ่ ธนาคารทหารไทย หรือ ทีเอ็มบี กล่าวว่า การรวมกิจการของธนาคารทีเอ็มบีและธนาคารธนชาต ภายใต้ One Dream, One Team, One Goal เป็นไปตามแผนที่วางไว้ โดยคาดว่ากระบวนการรวมกิจการทั้งสองธนาคาร จะเสร็จสมบูรณ์ภายในเดือนกรกฎาคม 2564 

เมื่อภารกิจการรวมธนาคารของเราสำเร็จเรียบร้อยทุกด้าน ธนาคารใหม่ที่เกิดขึ้นจะกลายเป็นธนาคารพาณิชย์ที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 6 ในกลุ่มธนาคารพาณิชย์ไทย มีฐานลูกค้าขนาดใหญ่ขึ้น แตะระดับ 10 ล้านราย ช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันกับธนาคารพาณิชย์อื่น ทั้งในระดับประเทศและระดับอาเซียนให้ดีขึ้น รวมทั้งสามารถสร้างสรรค์สินค้าและบริการด้านการเงินใหม่ๆ ให้ลูกค้าได้มีชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้น” 

สำหรับการ โอนย้ายพนักงาน กว่า 11,000 คนจากธนชาตไปธนาคารใหม่นั้น ทางทรัพยากรบุคคลกลางได้เริ่มดำเนินการสื่อสารและจะเริ่มดำเนินการโอนการจ้างพนักงาน มาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ และมีการทยอยโอนย้ายเป็นระยะ ตามเป้าหมายที่วางไว้ เเม้จะเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ทั้งนี้ หากมาพนักงานจากธนชาตมารวมกันกับพนักงานทีเอ็มบี ที่มีอยู่ราว 8,000 คน จะทำให้มีพนักงานในธนาคารใหม่ทั้งสิ้นราว 19,000 คน คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนกรกฎาคม 2564 นี้เช่นกัน

อ่านต่อ : เปิดเเผนโอนย้ายพนักงานกว่า 11,000 คน ในการควบรวมทีเอ็มบีธนชาต

โดยผู้บริหารของธนาคารใหม่ได้ย้ายมาทำงานร่วมกันทั้งหมดตั้งแต่ต้นปี และตลอดครึ่งปีที่ผ่านมา มีการโอนย้ายพนักงานบางส่วนแล้ว เช่น กลุ่มผู้บริหารระดับสูง พนักงานระดับหัวหน้างาน และพนักงานส่วนปฏิบัติการ  

สำหรับทีเอ็มบี” มีจุดเด่นในการระดมเงินฝาก, Deposit Franchise และรูปแบบการให้บริการด้านการเงินที่แตกต่างจากธนาคารแบบดั้งเดิม (Traditional Bank) ส่วน “ธนชาต” เป็นผู้เชี่ยวชาญการให้บริการสินเชื่อรายย่อยโดยเฉพาะสินเชื่อรถยนต์ เป็นผู้นำอันดับ 1 ของตลาด โดยเมื่อกระบวนการรวมกิจการเสร็จสิ้น คาดว่าธนาคารใหม่นี้จะมีสินทรัพย์รวมเกือบ 2 ล้านล้านบาท 

ล่าสุด (25 ก.พ.2564) TMB แจ้งว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทเห็นสมควรเสนอให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นพิจารณาอนุมัติการเปลี่ยนชื่อธนาคารเป็นธนาคาร ‘ทหารไทยธนชาต’ (TMBThanachart Bank) เป็นไปตามกลยุทธ์การ ‘รีเเบรนด์ดิ้ง’ ของธนาคารโดยธนาคารมีแผนจะเปลี่ยนชื่อย่อหลักทรัพย์จาก TMB เป็น ‘TTB’ ต่อไป

 

]]>
1291881
เปิดเกม KBank vs SCB เเข่งธุรกิจอาหาร เมื่อแบงก์จะไปอยู่ทุกที่ เเละเป็น “มากกว่า” ธนาคาร https://positioningmag.com/1286885 Wed, 08 Jul 2020 08:44:59 +0000 https://positioningmag.com/?p=1286885 สมัยก่อนเมื่อพูดถึงธนาคาร หรือเเบงก์เรามักจะนึกถึงเเค่การทำธุรกรรมทางการเงิน สินเชื่อเเละประกัน เเต่ในยุคดิจิทัล ธนาคารได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของเรา เป็นอีกหนึ่งเเอปพลิเคชันจำเป็นที่ต้องมีไว้ติดมือถือ

ธนาคารในไทย เป็นธุรกิจที่ถูกดิสรัปต์อย่างรุนเเรง เเต่ก็ปรับตัวได้อย่างรวดเร็วเเละมีประสิทธิภาพ พัฒนาไปสู่ดิจิทัล
เเบงกิ้งอย่างเต็มรูปแบบ มีนวัตกรรมใหม่ๆ ออกมาสม่ำเสมอ มากไปกว่านั้น ยังเป็นเหมือนผู้นำที่ขับเคลื่อนเทคโนโลยีใหม่ของเมืองไทยเลยก็ว่าได้ ด้วยความพร้อมจากการเป็นทุนใหญ่มีทรัพยากรมากทั้งบุคลากรเเละข้อมูลผู้ใช้

ในช่วงที่ผ่านมา เราได้เห็นการฟาดฟันกันระหว่าง 2 ธนาคารใหญ่เเบงก์เขียวเเละเเบงก์ม่วงอย่างกสิกรไทย (KBank) เเละไทยพาณิชย์ (SCB) ที่เเข่งขันเอาใจลูกค้าเเละตอบสนองความต้องการใหม่ๆ พยายามที่จะเป็นมากกว่าเเบงก์ทำอะไรหลายอย่างที่ไม่เคยทำ ด้วยเป้าหมายว่าต่อไปแบงก์จะอยู่ทุกที่ ยกเว้นที่แบงก์นั่นเอง

KBank เเละ SCB เป็นคู่เเข่งสมน้ำสมเนื้อมาก ด้วยฐานผู้ใช้ K Plus ที่ 13 ล้านราย (ตั้งเป้าสิ้นปีนี้ 15 ล้านราย)  ส่วน SCB Easy มีผู้ใช้ 11 ล้านราย (ตั้งเป้าสิ้นปีนี้ 13 ล้านราย)

ด้านรายได้รวม (อ้างอิงจากงบการเงิน 9 เดือน ปี 2562) KBank อยู่ที่ 139,376 ล้านบาท SCB อยู่ที่ 131,890 ล้านบาท

ทั้ง 2 ธนาคารได้ตั้งบริษัทลูกที่จะมาปั้นสตาร์ทอัพในเมืองไทยโดยเฉพาะ อย่าง KASIKORN Business- Technology Group หรือ KBTG ที่ได้ กระทิง เรืองโรจน์ พูนผล มานำทัพเป็นหัวเรือใหญ่ ฟาก SCB ส่ง
SCB 10X 
มาลงสนามนำทัพโดย ดร.อารักษ์ สุธีวงศ์ 

  • KBank เป็นผู้ให้บริการ Grab Pay ในแอปพลิเคชันฟู้ดเดลิเวอรี่ Grab ทาง SCB ก็เป็นผู้ให้บริการ Get Pay ผ่านเเอปฯ คู่เเข่งอย่าง Get เช่นกัน
  • KBank มีระบบ Face Pay สแกนใบหน้าเพื่อชำระเงิน ทาง SCB ก็มี Palm Vein การชำระเงินด้วยฝ่ามือ เช่นกัน
  • KBank เปิดตัวขุนทองเป็นแชทบอทเหรัญญิกช่วยคิดการแชร์ค่าอาหารบน LINE ทาง SCB ก็มีปาร์ตี้หาร (PartyHaan)” เช่นกัน

ล่าสุดการฉีกเเนวธนาคาร มาลงทุนในศึก “ฟู้ดเดลิเวอรี่ด้วยการเปิดตัว Robinhood ของ SCB ก็สั่นสะเทือนวงการไม่น้อย เมื่อกำลังถูกพูดถึงอย่างกว้างขวาง ด้วยประเด็นจี้จุด Pain Point อย่างการไม่คิด GP ไม่คิดค่าสมัคร โอนเงินไวใน 1 ชั่วโมง ท้าทายคู่เเข่งระดับโลกอย่าง Grab, LINE Man, GET เเละ Food Panda โดยพร้อมจะเปิดตัวอย่างเต็มรูปแบบ ในช่วงต้นเดือนสิงหาคมนี้

ส่วน KBank ตามมาติดๆ เเละได้ใจผู้ประกอบการไปเต็มๆ เปิดตัว “Eatable” (อีทเทเบิล) แพลตฟอร์มตัวช่วยจัดการร้านอาหารไม่ต้องโหลดแอป ไม่มีค่าธรรมเนียม สามารถจัดการระบบหลังบ้านแบบเรียลไทม์ผ่านทางออนไลน์ ส่วนลูกค้าสามารถเลือกอาหาร สั่ง และจ่ายแบบไร้การสัมผัส ที่กำลังจะเปิดตัวเเบบเต็มรูปแบบในเดือนตุลาคมนี้ พร้อมพัฒนาต่อยอดให้นักท่องเที่ยวจีนสั่งอาหารในไทยได้ปลายปีนี้

การได้เห็นแบงก์แข่งขัน เปิดตัวเทคโนโลยีออกมารัว เเบบนี้ เป็นประโยชน์กับผู้บริโภคเเละสร้างเเรงกระเพื่อมให้วงการธนาคารไม่น้อย

SCB vs KBank ทุ่มลงทุนธุรกิจ “อาหาร” 

ถ้าการเข้ามาในตลาดนี้ของ SCB ทำให้เจ้าอื่นๆ ตื่นตัวเเละทุ่มโปรโมชั่นเพื่อเเข่งขันกันมากขึ้น ก็ถือว่าเป็นผลประโยชน์ของผู้บริโภค

Robinhood เกิดขึ้นจากไอเดียของ อาทิตย์ นันทวิทยา ซีอีโอของ SCB ตอนที่เขาต้องกักตัวในช่วงการระบาดของ COVID-19 ต้องทำงานจากที่บ้าน ทำให้ต้องสั่งอาหารออนไลน์บ่อยครั้ง และมองเห็นโอกาสว่าธนาคารมีทรัพยากรเพียงพอที่จะทำได้ จึงต่อยอดด้วยการระดมทีมกว่า 80 คนพัฒนาแอปฯ นี้ขึ้น ภายในเวลาไม่ถึง 3 เดือนก่อนเปิดตัว

เเนวคิดหลักของ Robinhood เป็นไปตามเเบบฉบับของสตาร์ทอัพ คือมุ่งเเก้ Pain Point ในวงการฟู้ดเดลิเวอรี่ ทั้งประเด็นการเก็บค่าธรรมเนียม หรือ GP ที่สูงถึง 30-35% ที่ทำให้บางร้านอาหารเเทบไม่มีกำไร หรือผู้บริโภคที่ต้องเเบกรับค่าอาหารที่ “เเพงขึ้น” จากปกติ ดังนั้น Robinhood จึงคว้าโอกาสชูจุดขายว่า ไม่เก็บค่า GP รวมถึงปัญหา “เงินหมุน” ของทั้งร้านค้าเเละคนขับ จึงเป็นที่มาของการที่จะเคลียร์เงินเข้าบัญชีให้ได้ใน 1 ชั่วโมง

ทาง SCB ยืนยันว่าเป็นหนึ่งใน CSR ของบริษัทที่ จะไม่มีการเก็บค่าธรรมเนียม GP ทั้งในช่วงนี้และต่อไป เเละถ้าหากในอนาคตมีคนใช้จำนวนมาก แนวทางการหารายได้จะเป็นไปในทาง “เสนอสินเชื่อ” ให้ผู้ประกอบการมากกว่าที่จะหันมาหักค่า GP

เเอปพลิเคชัน Robinhood กำลังจะเปิดตัวอย่างเต็มรูปเเบบในช่วงต้นเดือนสิงหาคมนี้

ถ้าจะพูดกันว่าเป็นการเผาเงินเล่น ก็คงเป็นการเผาเงินที่คุ้มค่ามากเราลงทุนปีละร้อยล้าน จะมองว่าเยอะก็เยอะ จะว่าน้อยก็น้อย เเต่เมื่อเทียบกับกำไรของธนาคารที่ได้ปีละ 4 หมื่นล้านเเล้ว ถือว่าน้อยมาก งบในส่วน CSR ของบริษัทเยอะกว่านี้อีก

คำกล่าวของ “ธนา เธียรอัจฉริยะ” ผู้บริหาร SCB ที่จะมาเป็นหัวเรือใหญ่ของ Robinhood ผ่านการดำเนินงานภายใต้ บริษัท เพอร์เพิล เวนเจอร์ส จำกัด (บริษัทลูกของ scb 10x) โดยเขาจะนั่งเป็นประธานกรรมการบริหาร พร้อมผู้เชี่ยวชาญด้านเพย์เมนต์อย่าง “สีหนาท ล่ำซำ” ที่จะมานำทัพบุกเบิกบริษัท ในตำเเหน่งกรรมการผู้จัดการ ซึ่งกำลังจะปั้นทีมใหม่ให้ได้ราว 40-50 คน ใช้งบลงทุนราว 100 ล้านบาทต่อปี

อ่านเพิ่มเติมเจาะลึกทุกมุมของ Robinhood ไขข้อสงสัยปมค่าส่ง โมเดลธุรกิจเเละเเผนสู้ศึกฟู้ดเดลิเวอรี่

ข้อมูลของศูนย์วิจัยกสิกรไทย ในประเด็นการปรับตัวของธุรกิจร้านอาหารเข้าสู่มาตรฐานใหม่ คาดว่า ธุรกิจร้านอาหารในปีนี้จะมีมูลค่าราว 3.8 แสนล้านบาท หดตัวเกือบ 10% จากปีที่ผ่านมา เนื่องจากลูกค้ามีความระมัดระวังตัวในการออกไปทานอาหารนอกบ้าน จากปัญหาการระบาดของ COVID-19 ทำให้พฤติกรรมของผู้บริโภคบางส่วนได้เปลี่ยนแปลงไป ใช้บริการเดลิเวอรี่ในการสั่งอาหารมาทานที่บ้านหรือที่ทำงานแทนมากขึ้น ร้านอาหารยุคใหม่จะต้องผสมผสานการให้บริการและอำนวยความสะดวกแก่ลูกค้าทั้งที่ทานที่ร้านและเดลิเวอรี่ไปพร้อม ๆ กัน

อย่างไรก็ตาม แม้จะผ่านช่วงแพร่ระบาดหนักมาแล้ว แต่ร้านอาหารก็ยังฟื้นตัวช้ากว่าปีที่ผ่านมาถึง 70% ถือเป็นภาคธุรกิจที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นอย่างมาก สิ่งเหล่านี้เป็นโจทย์ท้าทายของเหล่าร้านอาหาร ที่ต้องมีการ
ทรานส์ฟอร์เมชั่นไปสู่การเป็นร้านอาหารยุค New Normal แบบครบวงจรที่ตอบรับลูกค้าทั้งการทานที่ร้านและเดลิเวอรี่

นี่จึงเป็นที่มาของ “Eatable” (อีทเทเบิล) แพลตฟอร์มให้ใช้ “ฟรี” ที่จะมาเป็นตัวช่วยจัดการร้านอาหาร พัฒนาโดย KBTG บริษัทลูกของธนาคารกสิกรไทย

“Eatable” แพลตฟอร์มฟรีช่วยร้านอาหาร กำลังเปิดให้บริการเต็มรูปเเบบในเดือนตุลาคมนี้

เรืองโรจน์ พูนผล ประธาน KBTG ยืนว่า Eatable เป็นแพลตฟอร์มฟรี ช่วยจัดการร้านอาหารที่มีทั้งส่วนบริการในร้าน รับออเดอร์ เรียกพนักงานหรือรับชำระเงิน เเละมีบริการจัดส่งเดลิเวอรี่ โดยจะเน้นไปที่ประสบการณ์การทานอาหารที่ร้านไม่ได้เน้นไปที่ธุรกิจฟู้ดเดลิเวอรี่โดยตรง ซึ่งมีการเเข่งขันอย่างดุเดือดในปัจจุบัน

อ่านเพิ่มเติม : KBank มาเเล้ว! เปิดตัว “Eatable” แพลตฟอร์มฟรีช่วยร้านอาหาร ระบบสั่งทานที่ร้าน-ส่งเดลิเวอรี่

ไม่หวังกำไร…เเล้วต่อยอดรายได้อย่างไร ? 

การลงทุนใน Robinhood ของ SCB จะเน้นต่อยอดไปที่สินเชื่อเเละสร้างความหลากหลาย

บริษัทใหญ่ของโลกที่ให้บริการทั้ง E-Marketplace , Ride Hailing เเละเดลิเวอรี่ สุดท้ายก็จะวนมาสู่บริการทางการเงิน เป็นคำถามว่าแล้ว SCB ที่เป็นธนาคารให้บริการทางการเงินอยู่แล้ว โดนดิสรัปต์มาโดยตลอด แล้วทำไมธนาคารจะก้าวข้ามไปทำบริการอื่นๆ ไม่ได้

สีหนาท ล่ำซำ เอ็มดีของ Robinhood กล่าวถึงการลงทุนในธุรกิจฟู้ดเดลิเวอรี่ของธนาคาร และบอกว่าข้อได้เปรียบของการเป็นธนาคารในตลาดนี้ คือฐานลูกค้าเเละความเสถียรของระบบเพย์เมนต์ รวมถึงข้อเสนอเรื่องสินเชื่อที่ผู้ประกอบการเข้าถึงได้ง่ายขึ้น

การลงทุนใน Eatable ของ KBank เน้นสร้าง Ecosystem เพื่อดึงลูกค้าให้อยู่ด้วยนานๆเเละต่อยอดไปบริการอื่น

เเม้ผู้บริหาร KBTG จะไม่เปิดเผยถึงงบประมาณในการลงทุน แต่บอกว่าเยอะทั้งในส่วนปฏิบัติการและการประสานงาน แต่ก็ถือว่าคุ้มเพราะ ถ้าลูกค้าแฮปปี้ เขาก็จะอยู่กับเรานาน” เเละต่อยอดไปให้บริการเเละผลิตภัณฑ์อื่นๆ ของธนาคารได้ 

เบื้องต้นไม่ได้ตั้งเป้าว่าจะมีร้านค้าใช้ Eatable จำนวนเท่าใด แต่หวังว่าจะดึงดูดให้ร้านอาหารมาเข้าร่วมให้มากที่สุด เพราะถือเป็นการลดต้นทุนด้านเทคโนโลยีให้กับผู้ประกอบการรายย่อยและร้านอาหารที่มีทุนน้อย ให้สามารถเปลี่ยนแปลง และปรับตัวสู่ยุคดิจิทัลได้ในระยะยาว ซึ่งจะเป็นการพลิกโฉมวงการร้านอาหารไทยเลยทีเดียว

อีกด้านหนึ่ง การพัฒนาไคไท่เตี่ยนไช่” (Kai Tai Dian Cai) บริการสั่งอาหารสำหรับนักท่องเที่ยวจีนผ่านแอปวีแชท (WeChat) ก็เป็นการต่อยอดการลงทุนฟินเทคในจีนของกสิกรไทย โดยก่อนหน้านี้ KBTG ได้เปิดตัว 2 บริษัท KX และ Kai Tai Tech ในเซินเจิ้น เพื่อดึงศักยภาพการทำงานรูปแบบสตาร์ทอัพ เเละสร้างการเติบโตให้ธนาคารไทย

สร้าง Engagement ใกล้ชิดกว่าเเบงก์เดิม ๆ 

เห็นได้ชัดว่าทั้ง SCB เเละ KBank ประกาศว่าจะเน้นการให้บริการด้านธุรกิจอาหาร โดยไม่หวังรายได้ “โดยตรง” กลับคืนมา เพราะจุดประสงค์ไม่ใช่การหารายได้ เเต่การสร้าง Engagement กับลูกค้าเเบบที่ไม่เคยมีธนาคารไหนทำมาก่อนซึ่งจะนำไปสู่การเปลี่ยนองค์กรครั้งใหญ่

โมเดลธุรกิจที่นอกเหนือจากการเสนอสินเชื่อเเละการเก็บข้อมูลเเล้ว อีกหนึ่งผลพลอยได้ คือ การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างร้านอาหารกับพนักงานสาขา

โดย SCB วางนโยบายใหม่ว่า พนักงานธนาคารจะต้องออกไปเจอร้านค้าที่อยู่ในรัศมี 5 กิโลเมตร ไปพูดคุย ทำความรู้จักเเละให้คำเเนะนำได้ เป็นการ Re-Skill และปรับการทำงานของสาขา SCB ใหม่ จึงเกิดเป็นการเทรนนิ่งพนักงานกว่า 800 คนทั่วประเทศขึ้น

จึงมาถึงยุคที่พนักงานธนาคารต้องปรับตัว ให้ถ่ายรูปสวย เพื่อเป็นผู้ช่วยให้กับร้านอาหาร เป็นการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าที่มากกว่าการฝากถอนซึ่งความสนิทสนมเหล่านี้ ทำให้มีโอกาสสูงที่จะต่อยอดไปสู่บริการอื่นๆ ของธนาคารได้ง่ายขึ้น

Photo : Shutterstock

ส่วน SCB เมื่อเข้าไปเป็นระบบหลังบ้านของร้านอาหารเเล้ว ก็ถือเป็นความใกล้ชิดเเบบสุดๆ เลยก็ว่าได้ เป็นการสร้างความเชื่อใจในระยะยาว เมื่อธุรกิจต้องการความช่วยเหลือด้านการเงิน ต้องการขยายสาขาหรือพัฒนาศักยภาพธุรกิจก็ต้องคิดถึงธนาคารที่ใกล้ตัวที่สุดอยู่เเล้ว

นอกจากนี้ ด้วยประโยชน์ของข้อมูล (Data) ซึ่งได้กลายมาเป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาธุรกิจยุคดิจิทัล เพื่อนำมาวางทิศทางกลยุทธ์การตลาด เเละคาดการณ์ว่าลูกค้าจะมีความต้องการอะไรทั้งในตอนนี้เเละอนาคตธนาคารจึงสามารถออกบริการใหม่ๆ มาตอบสนองความต้องการผู้บริโภคได้ตรงจุด นำไปสู่รายได้ทางอ้อม ที่คุ้มยิ่งกว่าต่างจากสมัยก่อนที่ธนาคารมักจะเสนอบริการแบบเดิมๆ ที่ไม่อาจรู้ได้ว่าลูกค้าอยากได้หรือไม่

ในช่วงนี้ธนาคารต่างๆ กำลังพัฒนาระบบวิเคราะห์สถานะทางการเงิน เพื่อรุกหนักด้านสินเชื่อออนไลน์ ให้สามารถยื่นกู้ผ่านแอปฯ ได้ทันทีก็เป็นอีกตัวอย่างที่อธิบายการต่อยอดธุรกิจนี้ได้ดี

นอกจากการเเข่งขันในประเทศเเล้ว ธนาคารใหญ่ในไทยกำลังหาบ่อเงินเเห่งใหม่ ด้วยการเข้าไปเจาะประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนที่เป็นตลาดเติบโตใหม่ เป็นโอกาสทองที่จะเข้าไปปูทางสร้างดิจิทัลเเบงกิ้งให้เข้าถึงประชากรจำนวนมาก ในยามที่คู่เเข่งยังไม่เยอะ

อ่านเพิ่มเติม : ธนาคารไทย ตามหา “ขุมทรัพย์ใหม่” เเย่งลงทุนอาเซียน ส่ง “ดิจิทัลเเบงกิ้ง” เข้าถึงท้องถิ่น

KBank เเละ SCB เลือกเจาะเพื่อนบ้านที่คุ้นเคยกันดีอย่างเมียนมาโดยธนาคารกสิกรไทย ได้รับการอนุมัติอย่างเป็นทางการโดยธนาคารกลางของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ในการเข้าร่วมลงทุนในสัดส่วน 35% ของ ธนาคารเอยาวดี ฟาร์มเมอร์ ดีเวลลอปเม้นท์แบงก์ หรือ เอแบงก์ (A bank) ส่วน SCB ได้รับอนุมัติจัดตั้งธนาคารลูกอย่างเป็นทางการ โดยตั้งเป้า 5 ปี ยอดสินเชื่อแตะ 7 พันล้านบาท เจาะลูกค้าทุกกลุ่มทั้งรายใหญ่ SMEs เเละรายย่อย

การงัดกลยุธ์เด็ดๆ มาประชันกันในศึกดิจิทัลเเบงกิ้งของเหล่าธนาคารยักษ์ใหญ่ในไทย เป็นประเด็นที่น่าจับตามองอย่างยิ่ง เมื่อเเบงก์กำลังจะไปอยู่ทุกที่ เเละเป็นมากกว่าผู้ให้บริการทางการเงิน ส่วนใครจะก้าวไปไกลเเละเร็วกว่านั้น ล้วนเป็นตัวขับเคลื่อนเทคโนโลยีของไทยทั้งสิ้น เเละหนึ่งในผู้ได้รับประโยชน์ก็คือ เราๆ ชาวผู้บริโภคนั่นเอง…

 

]]>
1286885