โควิดวันนี้ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 09 Dec 2021 05:42:27 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 คนไทยค้นหา “เราชนะ-คนละครึ่ง” ใน Google มากที่สุดประจำปี 2564 https://positioningmag.com/1366085 Thu, 09 Dec 2021 04:02:47 +0000 https://positioningmag.com/?p=1366085 คำค้นหาจาก Google ในปีนี้ พบว่า 3 โครงการจากรัฐบาลติดอันดับ 3 ใน 10 คำยอดนิยม ได้แก่ เราชนะ, คนละครึ่ง และ ม.33 เรารักกัน อีกทั้งการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับ COVID-19 ก็ยังยอดนิยมอยู่

Google ประเทศไทย ประกาศคำค้นหายอดนิยมประจำปี 2564 ที่แสดงให้เห็นถึงภาพรวมของตลอดทั้งปีที่ผ่านมา ที่ผ่านสายตาและจากคำค้นหาของผู้คนในประเทศไทย รวมทั้งการใช้ข้อมูลจาก Google Trends ที่นำเสนอมุมมองที่โดดเด่นและการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการค้นหาของผู้คนตลอดทั้งปี ซึ่งมีผลมาจากเหตุการณ์สำคัญต่างๆ ที่เกิดขึ้น ตลอดจนเทรนด์การค้นหาเพื่อช่วยการเยียวยาที่มาแรงในประเทศไทยในปีนี้

โควิด-19 อยู่ในเทรนด์

เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในปีนี้ยังคงส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่และต่อภาคธุรกิจของประชาชนทั้งประเทศอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้คนไทยให้ความสนใจและขานรับต่อโครงการที่รัฐบาลให้การสนับสนุนวงเงินช่วยเหลือเพื่อบรรเทาภาระค่าครองชีพให้แก่ประชาชนและช่วยฟื้นฟูกระตุ้นเศรษฐกิจ ทำให้ 3 ใน 10 ของหมวดคำค้นหายอดนิยมปีนี้มาจากโครงการรัฐบาล ได้แก่ “เราชนะ” “คนละครึ่ง” และ “ม.33 เรารักกัน” 

นอกจากนี้ ตลอดทั้งปีผู้คนยังคงให้ความสนใจ และค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดย “วัคซีนโควิด” “โควิดวันนี้” และ “อาการโควิด” ติดโผ 3 ใน 10 คำค้นหายอดนิยมประจำปี ส่วนคำค้นหาด้านการศึกษาอย่าง “SGS” ซึ่งเป็นโปรแกรมสำหรับการประเมินผลการเรียนรูปแบบใหม่ ตลอดจนคำค้นหาเพื่อความบันเทิง ผ่อนคลายและเฉลิมฉลอง เช่น “Popcat” เกมคลิกหน้าแมวที่เป็นกระแสไวรัลไปทั่วโลก “กระเช้าสีดา” ละครดราม่าที่นำมารีเมกใหม่ และ “ลอยกระทงออนไลน์” ก็ติดโผคำค้นหายอดนิยมในปีนี้ด้วยเช่นกัน

ด้านข่าวเด่นยอดนิยมในปีนี้ ผู้คนให้ความสนใจต่อเหตุการณ์ที่มีผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่และสุขภาพ โดยมีการค้นหาคำที่เกี่ยวข้องกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้แก่ “ข่าวโควิดวันนี้” ที่ติดโผอันดับ 1 รวมทั้ง “ข่าวเคอร์ฟิวล่าสุด” และ “ข่าววัคซีน” ที่มาในอันดับ 5 และ 7 ตามลำดับ

นอกจากนี้ 4 ใน 10 ของคำค้นหายอดนิยมในหมวดข่าวเป็นข่าวอุบัติเหตุสะเทือนขวัญที่คนไทยติดตามและให้ความสนใจ ได้แก่ “ข่าวไฟไหม้” จากเหตุการณ์ไฟไหม้ครั้งใหญ่ของโรงงานในจังหวัดสมุทรปราการ “ข่าวน้ำท่วม” อุทกภัยจากอิทธิพลพายุเตี้ยนหมู่ “ข่าว BMW Z4” อุบัติเหตุทางถนนซึ่งมีผู้เสียชีวิตหลายรายจากรถ BMW Z4 ที่จังหวัดเพชรบูรณ์ และ “ข่าวเรือล่ม” ในจังหวัดอยุธยา ด้านข่าวการเมืองระดับโลกอย่าง “ข่าวพม่า” จากสถานการณ์การทำรัฐประหาร ติดโผในอันดับที่ 3 ส่วน “ข่าวอัฟกานิสถาน” และ “ข่าวอิสราเอล” ก็ติดอันดับในปีนี้ด้วยเช่นกัน

หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 เริ่มคลี่คลาย ผู้คนเริ่มมีความต้องการออกเดินทางท่องเที่ยวกันมากขึ้น ส่งผลให้หมวดสถานที่ท่องเที่ยวเป็นอีกหนึ่งหมวดที่เข้ามาช่วยเยียวยาและผ่อนคลายจิตใจคนไทย โดยการค้นหาคำเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวตามจังหวัดต่างๆ และชื่อเมืองรองยอดนิยมประจำปีนี้ ปรากฏว่า “ระยอง” มาเป็นอันดับ 1 ตามมาด้วย “จันทบุรี” “กาญจนบุรี” ”กระบี่” และ “ชลบุรี” ในอันดับ 2-5 ตามลำดับ

สำหรับหมวดที่สามารถช่วยเยียวยาคนไทยคือหมวดการค้นหาคำว่า “วิธี” และในปีนี้ผู้คนยังให้ความสนใจการค้นหาวิธีต่างๆ เพื่อรับมือกับสถานการณ์วิกฤตอย่างต่อเนื่อง โดย “วิธียืนยันตัวตน เราชนะ” ติดโผอันดับ 1 ส่วน “วิธีใช้คนละครึ่ง” “วิธีทำกระทง” “วิธีตรวจโควิด” และ “วิธีต้มน้ำขิง” ติดโผในอันดับ 2-5 ตามลำดับ

อีกหนึ่งหมวดที่มาแรงและติดอันดับการค้นหาเป็นปีแรกได้แก่หมวด “ต้นไม้” ที่ผู้คนเริ่มนิยมค้นหาพันธุ์ไม้ต่างๆ ตามกระแสในช่วงที่ต้องกักตัวอยู่บ้าน โดย “ต้นบอนสี” มาแรงเป็นอันดับ 1 ตามด้วย “ต้นดีหมี” “ต้นกระท่อม” “ต้นฟ้าทะลายโจร” และ “ต้นกล้วยด่าง” ในอันดับ 2-5  ตามลำดับ ซึ่งนอกจากต้นไม้เหล่านี้จะช่วยให้ผู้คนผ่อนคลายแล้วยังสามารถช่วยสร้างอาชีพและรายได้ให้กับธุรกิจเอสเอ็มอีอีกด้วย

คำค้นหายอดนิยมประจำปี 2564

 

]]>
1366085
เช็กเลย ! จังหวัดไหนบ้างที่ประกาศรับ ‘ผู้ป่วยโควิด’ กลับมารักษาตัวที่บ้านเกิด พร้อมเบอร์ติดต่อ https://positioningmag.com/1340112 Thu, 01 Jul 2021 13:26:13 +0000 https://positioningmag.com/?p=1340112 เช็กเลย…จังหวัดไหนบ้างที่ประกาศรับ ‘ผู้ป่วยโควิด’ กลับมารักษาตัวที่ภูมิลำเนา (มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านตามพื้นที่) พร้อมเบอร์ติดต่อประสานงานการเดินทาง เพื่อลดการเเพร่เชื้อ

จากสถานการณ์โรคระบาดที่มีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ทำให้โรงพยาบาลในเขตกรุงเทพฯ เเละปริมณฑลเริ่มขาดเเคลนเตียงในการรักษา สำนักงานสาธารณสุขในหลายจังหวัด จึงออกประกาศ ให้ประชาชนผู้ที่มีผลตรวจยืนยันพบเชื้อโควิด-19 ที่มีความประสงค์จะกลับมารักษาตัวในพื้นที่ภูมิลำเนา โดยต้องมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านตามพื้นที่ สามารถติดต่อสายด่วนของจังหวัดนั้นๆ เพื่อประสานงานกับทีมเเพทย์ในการเดินทางได้

โดยรายชื่อจังหวัดที่รับผู้ป่วยโควิด ‘กลับบ้าน’ ได้เเก่

1. จังหวัดมหาสารคาม
เบอร์ติดต่อ : 096-3423450

2. จังหวัดกาฬสินธุ์
เบอร์ติดต่อ : 043-019760 ต่อ 120-130
(ทุกวัน 08.30-20.00 น.)

3. จังหวัดนครพนม
เบอร์ติดต่อ : 082-8498155 , 061-0992999

4. จังหวัดสิงห์บุรี
เบอร์ติดต่อ : 061-3902229

5. จังหวัดกำแพงเพชร
เบอร์ติดต่อ : 093-1118594

6. จังหวัดมุกดาหาร
เบอร์ติดต่อ : 042-614270 , 081-2055908

7. จังหวัดอุบลราชธานี
เบอร์ติดต่อ : 082-6489270 , 096-6932139 , 096-3961783
(จันทร์ถึงศุกร์ 08.30-20.30 น.)

8. จังหวัดสุรินทร์
เบอร์ติดต่อ : 044-513999 (ในเวลาราชการ) , 092-5995108 (ตลอด 24 ชม.)

9. จังหวัดสระแก้ว
เบอร์ติดต่อ : 098-2728734 , 081-0510074

10. จังหวัดพะเยา
เบอร์ติดต่อ : 054-409123 (เวลา 08.30-16.30 น.)

11. จังหวัดยโสธร
เบอร์ติดต่อ : 045-712233 , 045-712234

12. จังหวัดอุตรดิตถ์
เบอร์ติดต่อ : 095-3126690

13. จังหวัดเลย
เบอร์ติดต่อ : 042-862123 ต่อ 2709 , 062-1977501 , ไลน์ : Referloei

14. จังหวัดเพชรบูรณ์
เบอร์ติดต่อ : 091-025-3596

15. จังหวัดสกลนคร
เบอร์ติดต่อ : 093-3285264

16. จังหวัดศรีสะเกษ
เบอร์ติดต่อ : 065-2400691 , 065-240680 , 065-2400688

17. จังหวัดพิษณุโลก
เบอร์ติดต่อ : 055-241555-9 (ในเวลาราชการ) , 088-2752261, 088-2919271 , 088-2752217 (นอกเวลาราชการ)

18. จังหวัดขอนแก่น
เบอร์ติดต่อ : 099-1692254 , 081-2604433 , 094-2891345

19. จังหวัดลำปาง
เบอร์ติดต่อ : 093-1408023

20. จังหวัดนครราชสีมา
เบอร์ติดต่อ : 081-2655604 , 065-1990188 (เวลา 08.30-20.30 น.) , 044-465010-4 ต่อ 440 (ในเวลาราชการ)

*ข้อมูลรวบรวม ณ วันที่ 1 ก.ค. 2564

 

 

 

 

 

 

 

]]>
1340112
สหรัฐฯ ผุดโครงการ ‘ลดหย่อนภาษี’ ดึงดูดใจให้ประชาชนไปฉีด ‘วัคซีนโควิด’ https://positioningmag.com/1329022 Fri, 23 Apr 2021 08:53:24 +0000 https://positioningmag.com/?p=1329022 รัฐบาลสหรัฐฯ สรรหาวิธีดึงดูดใจให้คนไปฉีดวัคซีนโควิด-19’ ผุดโครงการลดหย่อนภาษีให้ผู้ประกอบการที่อนุญาตลูกจ้างลาหยุด’  ไปรับวัคซีน กระตุ้นเอกชนมีส่วนร่วมในการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่‘  ให้เร็วที่สุด หลังมีคนจำนวนมากลังเลไม่อยากฉีด 

โครงการลดหย่อนภาษีดังกล่าว จะเป็นการชดเชยค่าใช้จ่ายของบริษัทที่หายไป ในช่วงที่พนักงานลาหยุดเพื่อไปฉีดวัคซีนและยังได้รับค่าจ้างปกติ รวมไปถึงในช่วงการพักฟื้นจากผลข้างเคียงต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นด้วย

สำหรับธุรกิจขนาดเล็กกลาง และองค์กรไม่แสวงหากำไร ที่มีพนักงานน้อยกว่า 500 ราย จะครอบคลุมค่าใช้จ่ายมากสุดถึง 511 ดอลลาร์สหรัฐต่อวันต่อคน ระยะเวลามากสุดถึง 10 วัน หรือ 80 ชั่วโมงทำการงาน ในระหว่างวันที่ 1 เมษายน – 30 กันยายน 2021

ประธานาธิบดีโจ ไบเดนยังเรียกร้องให้นายจ้างช่วยเเบ่งปันข้อมูลที่ถูกต้อง เเละเชิญชวนให้พนักงานออกไปฉีดวัคซีน โดยให้สิทธิพิเศษอย่าง การแจกผลิตภัณฑ์ฟรีและให้ส่วนลดแก่ผู้ที่ได้รับวัคซีนเเล้ว

ทั้งนี้ ธุรกิจที่มีพนักงานน้อยกว่า 500 รายนั้น นับเป็นกว่า 50% ของภาคเอกชนในสหรัฐฯ โดยโครงการลดหย่อนภาษีนี้เป็นส่วนหนึ่งของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ 1.9 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งประธานาธิบดีไบเดนเซ็นรับรองเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา

สหรัฐฯ กำลังระดมฉีดวัคซีนระยะต่อไปหลังอนุญาตให้ประชาชนที่อายุมากกว่า 16 ปีทุกคน สามารถเข้ารับวัคซีนได้ ถ้าคุณกำลังรอว่าเมื่อไรจะถึงคิวของคุณ คุณไม่ต้องรออีกต่อไป

ขณะที่กลุ่มผู้สูงอายุกว่า 80% ได้รับวัคซีนแล้วอย่างน้อย 1 โดส ส่งผลให้อัตราเสียชีวิตในผู้สูงวัยลดลงตามไปด้วย

โจ ไบเดน ได้ประกาศความสำเร็จ หลังรัฐบาลสามารถกระจายวัคซีนต้านโควิด-19 ให้กับชาวอเมริกันได้ทะลุเป้าหมายใหม่ที่วางไว้ 200 ล้านโดส ภายใน 100 วันแรกของการดำรงตำแหน่งแล้ว เเละสำเร็จก่อนกำหนดถึง 1 สัปดาห์

จากข้อมูลของศูนย์ควบคุมเเละป้องกันโรคของสหรัฐฯ (CDC) รายงานอัตราการฉีดวัคซีนทั่วประเทศ เฉลี่ย 3 ล้านครั้งต่อวันในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นจากประมาณ 1.8 ล้านครั้ง ในช่วงต้นเดือนมีนาคม

เเต่อัตราการฉีดวัคซีนลดลงเล็กน้อยในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา แม้ว่าประชาชนวัยผู้ใหญ่ในสหรัฐฯ ทุกคนจะมีสิทธิ์ได้รับวัคซีนเเล้วก็ตาม

บรรยากาศการต่อคิวเข้ารับวัคซีน COVID-19 ในนครนิวยอร์ก สหรัฐฯ

ทางการสหรัฐฯ ได้สั่งระงับการฉีดวัคซีน COVID-19 ของบริษัทจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน (J&J) เป็นการชั่วคราว หลังพบรายงานภาวะการเกิดลิ่มเลือดอุดตัน 6 ราย แม้ว่าวัคซีน J&J จะมีสัดส่วนน้อยกว่า 4% ของวัคซีนทั้งหมดกว่า 213 ล้านโดสที่สหรัฐฯ ฉีดไปจนถึงปัจจุบัน แต่ก็มีการใช้วัคซีนนี้ไปเเล้วมากกว่า 6.8 ล้านโดส

เจ้าหน้าที่สาธารณสุข เผยว่า ตอนนี้สหรัฐฯ มีวัคซีน COVID-19 ของบริษัท Pfizer เเละ Moderna เพียงพอที่จะเร่งฉีดได้ 3 ล้านครั้งต่อวัน

ก่อนหน้านี้ มีความเห็นจากแพทย์ในสหรัฐฯ ที่เกรงว่าจะเกิดปัญหาวัคซีนล้นประเทศ’ เพราะยังมีกลุ่มคนจำนวนมากกว่า 15-20% ที่ลังเลไม่อยากฉีดวัคซีน

 

ที่มา : CNBC , NBC News

]]>
1329022
ส่องการทำงานของ ‘Coronapas’ หลังเดนมาร์ก เปิดใช้เป็นประเทศแรกในยุโรป เร่งฟื้นเศรษฐกิจ https://positioningmag.com/1328684 Wed, 21 Apr 2021 10:57:22 +0000 https://positioningmag.com/?p=1328684 ภาพของเเฟนบอลที่ได้รับอนุญาตให้เข้าไปชมการเเข่งขันในสนามกีฬา ร้านอาหารที่เต็มไปด้วยผู้คน เเละพิพิธภัณฑ์ที่กลับมาเปิดให้บริการอีกครั้ง เกิดขึ้นหลังเดนมาร์ก ประสบความสำเร็จในการป้องกันการแพร่ระบาดของ COVID-19 ระลอกที่ 3 พร้อมเดินหน้าผ่อนคลายข้อจำกัดต่างๆ

ล่าสุดเดนมาร์ก’ เดินหน้าใช้ ‘Coronapas’ (โคโรนาพาส) หรือที่เรียกเต็มๆ ว่า Corona Passport เป็นประเทศแรกในยุโรป เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ

ก่อนหน้านี้ ทางการตั้งเป้าว่าจะใชั Coronapas ได้ในช่วงกลางปี โดยจะเริ่มจากกลุ่มนักธุรกิจและนักลงทุนที่มีความจำเป็นต้องเดินทางไปต่างประเทศก่อน จากนั้นจะขยายให้ครอบคลุมประชาชนทุกกลุ่ม เเต่ตอนนี้มีความคืบหน้าไปเร็วกว่าที่คิด

Coronapas เป็นข้อมูลดิจิทัลที่จะเเสดงผลสุขภาพเกี่ยวกับ COVID-19 บนเเอปพลิเคชั่นในมือถืออย่างผลการตรวจหาเชื้อว่าเป็นลบ (Negative) ในช่วง 72 ชั่วโมงที่ผ่านมา รวมถึงประวัติการเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสโคโรนา หรือประวัติการติดเชื้อในช่วง 2-12 สัปดาห์ก่อนหน้า

สำหรับ Coronapas ของเดนมาร์กนั้นจะเเสดงข้อมูลในเเอปพลิเคชั่น ‘MinSundhed’ (MyHealth) ที่เชื่อมต่อกับเลขประจำตัวประชาชน ของผู้ที่พำนักในประเทศทุกคน ซึ่งจะมีรหัส CPR เพื่อใช้ระบุตัวตนพร้อมกับบัตรสุขภาพสีเหลืองที่มีบาร์โค้ด

เมื่อเข้าไปใช้บริการตรวจหาการติดเชื้อ COVID-19 ในโรงพยาบาลหรือศูนย์สุขภาพของรัฐ จะมีการให้สแกนบาร์โค้ดหรือกรอกรหัส CPR ดังกล่าว จากนั้นจะมีการเชื่อมโยงข้อมูลบันทึกและแสดงผลใน Coronapas ของผู้ใช้ทันที เเละสามารถยื่นขอใบรับรองเเบบกระดาษได้

โดยมีการกำหนดให้เเสดงข้อมูล Coronapas ก่อนเข้าใช้บริการร้านอาหาร พิพิธภัณฑ์ สนามเเข่งขันกีฬา สวนสัตว์ เเละพื้นที่สาธารณะที่มีการชุมนุมของคนหมู่มาก ซึ่งต่อไปจะมีการขยายให้ครอบคลุมมากขึ้น เเละใครฝ่าฝืนอาจต้องโทษปรับ (เด็กเล็กได้รับการยกเว้น)

ด้านคณะกรรมาธิการยุโรป (EC) เสนอให้มีการออกใบอนุญาตเดินทางระบบดิจิทัล หรือ ‘Digital Green Pass’ เพื่อเปิดพรมเเดนให้ผู้คนเดินทางเเละร่วมกิจกรรมต่างๆ ได้อย่างปลอดภัย พร้อมส่งเสริมอุตสาหกรรม ‘ท่องเที่ยว’ ของประเทศสมาชิก คาดเปิดตัวภายในสิ้นเดือนมิถุนายน

เเต่ประเด็นความกังวลเรื่องความเป็นส่วนตัวนั้นยังมีการถกเถียงกันในบางประเทศ แต่เดนมาร์กเป็นประเทศแรกในยุโรปที่ยอมรับแนวคิดนี้อย่างเต็มที่

Mette Frederiksen นายกรัฐมนตรีเดนมาร์ก ระบุว่า เราจะกลับมาขับเคลื่อนประเทศได้อีกครั้ง ตรงกันข้ามกับหลายประเทศที่กำลังประสบอยู่ปัญหาอยู่

Photo : Shutterstock

ฝั่งความเห็นของประชาชน จากผลสำรวจล่าสุดพบว่า ส่วนใหญ่ยอมรับ การใช้ Coronapas โดยกว่า 67% ของชาวเดนมาร์กคิดว่าหนังสือเดินทางดิจิทัลเป็นไอเดียที่ดี ขณะที่มีเพียง 16% เท่านั้นที่ไม่เห็นด้วย

สวนสัตว์เเห่งหนึ่งในกรุงโคเปนเฮเกน เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเเห่งเเรกที่ทดลองใช้ Coronapas มีบรรยากาศสุดคึกคัก เต็มด้วยครอบครัวที่พาลูกหลานมาต่อคิวเข้าชมจำนวนมาก

มันทำให้เรารู้สึกปลอดภัยมากขึ้นผู้ปกครองคนหนึ่งบอกกับ BBC เเละอีกคนบอกว่า “ฉันคิดว่ามันเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตในตอนนี้” ขณะที่มีพ่อเเม่บางคนเห็นว่า “ฉันไม่คิดว่าเราต้องการมัน (Coronapas) จริงๆ”

‘เดนมาร์ก’ มีประชากรทั้งหมดราว 5.8 ล้านคน มีอัตราการทดสอบหา COVID-19 ต่อประชากรสูงกว่าประเทศอื่นๆ ทั่วโลก ประสบความสำเร็จในการป้องกันการแพร่ระบาดของ COVID-19 ระลอกที่ 3 สวนทางกับหลายประเทศในยุโรปที่ยังต้องเผชิญกับความลำบากในการจัดการโรค

โดยชาวเดนมาร์กราว 1 ใน 5 ได้รับการฉีดวัคซีน COVID-19 เข็มเเรกเเล้ว เเละตั้งเป้าจะฉีดวัคซีนให้กับผู้ใหญ่ทุกคนให้ได้ภายในต้นเดือนสิงหาคมนี้ ดังนั้นระบบการทดสอบที่เข้มงวดจึงเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งในการบังคับใช้  ‘Coronapas’

 

ที่มา : BBC , healthcareitnews 

]]>
1328684
ปี 2564 ‘ตรวจโควิด-19’ ที่ไหนได้บ้าง เเบบ Drive Thru – ไม่เข้า ‘กลุ่มเสี่ยง’ ต้องจ่ายเองเท่าไหร่ ? https://positioningmag.com/1327447 Fri, 09 Apr 2021 10:18:46 +0000 https://positioningmag.com/?p=1327447 ช่วงต้นเดือนเมษายน 2564 การเเพร่ระบาดของโควิด-19 กลับมาอีกครั้ง หลายคนตกอยู่ในความเสี่ยงโดยไม่ทันตั้งตัว

สำหรับผู้ที่ต้องการขอรับการตรวจหาเชื้อโควิด-19 โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายนั้น จะต้องเข้าเกณฑ์เสี่ยง ตามเงื่อนไขกรมควบคุมโรค ได้เเก่ 

  • เดินทางมายังเขตติดโรค หรือ พื้นที่ที่มีการระบาดต่อเนื่อง
  • ทำอาชีพใกล้กับผู้ป่วยที่เดินทางมาจากเขตติดโรค หรือพื้นที่ที่มีการระบาดต่อเนื่อง
  • สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยต้องสงสัย หรือผู้ป่วยยืนยัน
  • เป็นบุคลากรทางการแพทย์ที่สัมผัสกับผู้ป่วยยืนยัน
  • มีไข้สูงเกิน 37.5 องศาขึ้นไป, ไอ, มีน้ำมูก, เจ็บคอ, หายใจเหนื่อยหอบ, จมูกไม่ได้รับกลิ่น ลิ้นไม่ได้รับรส

โดยกลุ่มเสี่ยงสามารถตรวจโควิด-19 ได้ฟรี ที่รพ.รัฐและเอกชนทุกเเห่ง หรือตรวจกับรถตรวจโควิดเคลื่อนที่’ 

ค้นหาสถานพยาบาลที่มีห้องปฏิบัติการตรวจโควิด-19 ทั้ง  275 แห่งทั่วประเทศ ได้ที่เว็บไซต์ service.dmsc.moph.go.th/labscovid19

สำหรับผู้ที่อยู่ในระบบประกันสังคม ตามมาตรา 33 มาตรา 39 และมาตรา 40 ที่อาศัยในพื้นที่กรุงเทพมหานคร สามารถเข้ารับการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ณ อาคารกีฬาเวสน์ 1 ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น) เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร ผ่านการลงทะเบียนออนไลน์ เพื่อจองคิวก่อนเข้ารับบริการทาง https://sso.icntracking.com/icntracking/self_register.php

สำหรับผู้ที่ไม่เข้าเกณฑ์เสี่ยงตามเงื่อนไขของกรมควบคุมโรค หากมีความประสงค์จะเข้าตรวจโควิด-19 กับโรงพยาบาลรัฐ หรือเอกชน ด้วยวิธี RT-PCR มีค่าบริการ เเตกต่างกันไป ดังนี้

ตรวจโควิดเเบบ Drive Thru 

(วิธี RT-PCR)

  • โรงพยาบาลธนบุรี บำรุงเมือง ราคา 2,500 บาท
  • โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 3 อินเตอร์ ราคา 3,000 บาท
  • โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา ราคา 3,000 บาท
  • โรงพยาบาลบางปะกอกรังสิต 2 ราคา 3,000 บาท
  • โรงพยาบาลสมิติเวช ศรีนครินทร์ ราคา 3,000 บาท  *งดตรวจชั่วคราว 
  • โรงพยาบาลกรุงสยามเซนต์คาร์ลอส ราคา 3,000 บาท
  • โรงพยาบาลบางโพ ราคา 3,000 บาท
  • โรงพยาบาลกรุงเทพ  ราคา 3,500 บาท
  • โรงพยาบาลวิภาวดี ราคา 3,500 บาท
  • โรงพยาบาลรามคำแหง ราคา 3,500 บาท  *งดตรวจชั่วคราว 
  • โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ  ราคา 3,800 บาท
  • โรงพยาบาลสุขุมวิท ราคา 3,900 บาท  *งดตรวจชั่วคราว 
  • โรงพยาบาลนครธน ราคา 4,500 บาท  *รับตรวจเฉพาะกลุ่มเสี่ยง

ขอใบรับรองแพทย์ มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
-ระยะเวลาการเเจ้งผล เเตกต่างกันในเเต่ละรพ.

ตรวจโควิดที่โรงพยาบาลรัฐ’ 

(วิธี RT-PCR) 

  • สถาบันควบคุมโรคเขตเมือง บางเขน 1,500 บาท
  • โรงพยาบาลศิริราช ค่าใช้จ่าย 2,000-3,000 บาท (รับตรวจเฉพาะกลุ่มเสี่ยง)
  • โรงพยาบาลรามาธิบดี คนไทยไม่เกิน 2,500 บาท ชาวต่างชาติไม่เกิน 3,500 บาท
  • โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ค่าใช้จ่าย 3,000-6,000 บาท
  • โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน ค่าใช้จ่าย 3,000 บาท
  • โรงพยาบาลวชิรพยาบาล ค่าใช้จ่าย 2,440 – 2,590 บาท
  • โรงพยาบาลราชวิถี ค่าใช้จ่าย 3,000-6,000 บาท

ตรวจโควิดที่โรงพยาบาลเอกชน’ 

(วิธี RT-PCR) 

  • โรงพยาบาลปิยะเวช ค่าใช้จ่าย เริ่มต้นที่ 2,500 บาท
  • โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ ประชาชื่น ค่าใช้จ่าย 3,000 บาท
  • โรงพยาบาลนันอา ค่าใช้จ่าย 1,100 บาท
  • โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ค่าใช้จ่าย 7,500 บาท
  • โรงพยาบาลพระราม 9 ค่าใช้จ่าย 6,500 บาท  *งดตรวจชั่วคราว
  • โรงพยาบาลวิภาวดี ค่าใช้จ่าย 3,500 บาท
  • โรงพยาบาลพญาไท 2 ค่าใช้จ่าย 4,500 บาท
  • โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล ค่าใช้จ่าย 3,000 บาท
  • โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา ค่าใช้จ่าย 3,800 บาท
  • โรงพยาบาลราชเวชอุบลราชธานี ค่าใช้จ่าย 5,900-6,900 บาท
  • โรงพยาบาลเชียงใหม่ ราม ค่าใช้จ่าย 3,900-4,500 บาท

ราคาอาจมีการเปลี่ยนเเปลง เเละมีรพ.หลายเเห่งงดตรวจชั่วคราว โปรดตรวจสอบกับทางโรงพยาบาลอีกครั้ง

ข้อมูล ณ วันที่ 8 เมษายน 2564

]]>
1327447
KBank ห่วงไทย ‘ฟื้นตัวช้าสุด’ ตามหลังเพื่อนบ้านในอาเซียน โรงแรม 40% เสี่ยงหายจากตลาด https://positioningmag.com/1320011 Thu, 18 Feb 2021 13:11:04 +0000 https://positioningmag.com/?p=1320011 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ห่วงเศรษฐกิจไทย ‘ฟื้นตัวช้าสุด’ ตามหลังเพื่อนบ้านในอาเซียน เหตุพึ่งพานักท่องเที่ยวต่างชาติสูง จับตาเร่งกระจายวัคซีน วิกฤตยื้อยาวอาจทำโรงเเรม 30-40% ‘ไม่รอด’ หายออกจากตลาด หนี้ครัวเรือนพุ่ง ฉุดเศรษฐกิจ SMEs อ่วมสารพัดปัญหาไม่สามารถจ่ายหนี้ได้

‘วัคซีน’ คือตัวเเปรสำคัญของเศรษฐกิจไทย 

ณัฐพร ตรีรัตน์ศิริกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด ให้ข้อมูลว่า KBank ยังคงคาดการณ์เป้าการเติบโตของเศรษฐกิจไทยไว้ที่ 2.6%

มีหลายประเด็นที่ทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย ‘ฟื้นตัวช้า’ ตามหลังประเทศอื่นๆ ในอาเซียน โดยเฉพาะโครงสร้างเศรษฐกิจไทยที่พึ่งพิงการท่องเที่ยวคิดเป็นกว่า 10% ของ GDP

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ปรับลดการคาดการณ์นักท่องเที่ยวต่างชาติเที่ยวไทยในปี 2564 มาอยู่ที่ประมาณ 2-4.5 ล้านคน จากเดิมที่คาดไว้ 4.5-7 ล้านคน

ตัวเเปรหลักของเศรษฐกิจไทยคือ ‘วัคซีน’ ต้องติดตามการควบคุมการแพร่ระบาดของโรค ตลอดจนการ
กระจายวัคซีนในประชากรหมู่มากจนสามารถสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ได้ ซึ่งจะมีผลต่อการกำหนดแนวทางการเริ่มเปิดรับนักท่องเที่ยว ณ ขณะนี้มองไว้ว่าน่าจะเป็นช่วงปลายปี 2564

Photo : Shutterstock

ณัฐพร คาดว่า กว่าที่เศรษฐกิจไทยจะกลับไปเท่าที่ระดับก่อนโรคระบาดได้คงใช้เวลาจนถึงปี 2565-2566 เพราะปัญหาจาก COVID-19 ในรอบนี้ กระทบภาคธุรกิจจริงตรงๆ ต่างจากปี 2540 ที่มีจุดกำเนิดจากธุรกิจการเงิน

“การฟื้นตัวของธุรกิจหลังผ่านพ้นช่วง COVID-19 คงไม่ทั่วถึง และยังมีโจทย์เชิงโครงสร้างที่รออยู่ อีกทั้งสังคมสูงอายุ ตลาดผู้บริโภคเล็กลง ปัญหาหนี้ครัวเรือน และปัญหาความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ”

โรงแรม 40% เสี่ยงหายออกจากตลาด

ด้าน เกวลิน หวังพิชญสุข ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด เสริมว่า ภาคท่องเที่ยวในไทยเป็นอุตสาหกรรมที่ ‘เปราะบางที่สุด’ ในภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ โดยเฉพาะกลุ่มโรงแรมในจังหวัดที่พึ่งพิงนักท่องเที่ยวต่างชาติมาก เช่นใน 6 จังหวัดอย่าง ภูเก็ต, กระบี่, พังงา, สุราษฎร์ธานี, ชลบุรี เเละกรุงเทพฯ ที่ต้องติดตามเป็นพิเศษ ขณะที่ธุรกิจค้าปลีกได้รับผลกระทบจากกำลังซื้อที่ลดลง และการปิดพื้นที่ชั่วคราว

“ปัญหาโควิดในครั้งนี้คงทำให้โรงแรม 30-40% อาจต้องออกจากตลาดไป เน้นไปที่โรงแรมในกลุ่มราคาประหยัด (Budget) หรือราคาระดับกลาง (Midscale) รวมไปถึงธุรกิจค้าปลีก อย่างร้านค้า SMEs ในห้างที่มีสัดส่วนกว่า 30% ของผู้ประกอบการรายย่อยไทยในภาคการค้าทั่วประเทศ” 

เเม้ช่วงที่ผ่านมา คนไทยจะหันมา ‘เที่ยวในประเทศ’ กันมากขึ้น โดยคาดว่า ปี 2564 จะอยู่ที่ราว 90-120 ล้านคนต่อครั้ง แต่ยังไม่สามารถทดแทนการหายไปของรายได้ที่พึ่งพิงจากนักท่องเที่ยวต่างชาติ ที่เคยสร้างรายได้ให้ธุรกิจในภาคโรงเเรมไทยถึง 5 แสนล้านบาท หรือคิดเป็นกว่า 70%

Photo : Shutterstock

สำหรับประเด็นเรื่อง ‘Vaccine Passport’ มองว่า ยังไม่อาจคาดหวังได้มากในขณะนี้ เพราะยังไม่มีหลักฐานการศึกษาว่าคนที่ฉีดวัคซีนแล้ว จะไม่ติดเชื้อหรือแพร่เชื้ออีกครั้ง ประโยชน์ในเรื่องนี้คงเกิดกับเฉพาะบางประเทศที่รับความเสี่ยงได้ มากกว่าจะเป็นประโยชน์ในระดับโลก

ธัญญลักษณ์ วัชระชัยสุรพล รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด มองว่า ‘โจทย์เฉพาะหน้าคือ การดูแลปัญหาสภาพคล่องทางธุรกิจและครัวเรือน’

“ภาคการเงินต้องติดตามสภาพคล่องภาคธุรกิจ SMEs มีปัญหาไม่สามารถจ่ายหนี้ได้ แม้ว่าตอนนี้ตัวเลขหนี้เสีย (NPL) จะยังไม่สะท้อนมาก เพราะยังอยู่ในช่วงมาตรการผ่อนปรนการจัดชั้นหนี้ของธปท.ก็ตาม” 

อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงดังกล่าว เห็นได้จากตัวเลขจำนวนผู้ขอรับความช่วยเหลือทางการเงินที่คงไต่ระดับขึ้นจากปลายปี 2563 ที่ 27.6% และ 14.7% ของสินเชื่อสำหรับกลุ่มเอสเอ็มอีและลูกค้าบุคคลรายย่อยตามลำดับ

สำหรับกลุ่มธุรกิจที่เปราะบางนั้น คาดว่าภาครัฐจะมีมาตรการช่วยเหลือเพิ่มเติม เช่น Asset Warehousing แต่อาจไม่เร็วพอ เพราะยังต้องรอรายละเอียดในหลายประเด็น ด้านลูกค้าหากมีสัญญาณปัญหาการชำระหนี้ ก็แนะนำให้รีบคุยกับสถาบันการเงิน โดยไม่ต้องรอให้เป็น NPL ก่อน

“ธุรกิจจะต้องมีการปรับตัวให้ทันกับโลกที่เปลี่ยนไป เเต่คาดว่าตลาดจะเล็กลง จากหนี้ครัวเรือนที่เพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง จากปีก่อนที่ 86% ปีนี้น่าจะแตะ 90-91% ซึ่งจะทำให้กำลังซื้อลดลง เเละการเข้าสู่สังคมสูงอายุของไทยที่กำลังใกล้เข้ามา ก็เป็นปัญหาใหญ่ที่มองข้ามไม่ได้”

 

 

]]>
1320011
COVID-19 เร่ง ‘ความเหลื่อมล้ำ’ ให้ร้าวลึก เศรษฐีรวยเเล้วรวยอีก คนจนยิ่งจนลง https://positioningmag.com/1316290 Mon, 25 Jan 2021 10:53:41 +0000 https://positioningmag.com/?p=1316290 โรคระบาดเป็นตัวเร่งทำให้ ‘ความเหลื่อมล้ำ’ ในสังคมร้าวลึกมากขึ้น คนรวยยิ่งรวยขึ้น คนจนยิ่งจนลง โดยมหาเศรษฐี TOP 10 ของโลกมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นรวมกันกว่า ‘5 เเสนล้านดอลลาร์สหรัฐ’ ในช่วงวิกฤต COVID-19 ขณะที่ผู้คนหลายร้อยล้านคนมีรายได้ลดลง หนี้สินเพิ่มขึ้นเเละต้อง ‘ตกงาน’

จากรายงานขององค์การ Oxfam ระบุว่า เกือบทุกประเทศในโลก มีความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น อันเป็นผลมาจากการเเพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา

เมื่อนำสินทรัพย์ของเหล่ามหาเศรษฐีรวยที่สุด 10 อันดับแรกของโลก ที่เพิ่มขึ้นนับตั้งแต่ COVID-19 เริ่มระบาด พบว่าจะมีมูลค่าสูงกว่าประมาณ 5 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมีระบบเศรษฐกิจเอื้อให้กลุ่มคนร่ำรวย สามารถรักษาความร่ำรวยไว้ได้ ท่ามกลางภาวะวิกฤตทางอันเลวร้าย

ขณะที่กลุ่มมหาเศรษฐี 1,000 อันดับเเรกของโลก กลับมามีสภาพคล่องทางการเงิน ‘เทียบเท่า’ ช่วงก่อนเกิดโรคระบาดได้ (Pre-pandemic) เร็วภายใน 9 เดือน ส่วนคนยากจนต้องใช้เวลามากกว่านั้นถึง 14 เท่า หรือคิดเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 10 ปีในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ โดยกลุ่มคนที่มีฐานะร่ำรวยจำนวนนี้ ที่เป็นผู้ชายผิวขาว (White Male) จะกลับมามีฟื้นตัวทางการเงินได้เร็วกว่ากลุ่มอื่นๆ ด้วย

ผลการสำรวจขององค์การ Oxfam ครั้งนี้ จัดทำขึ้นโดยนักเศรษฐศาสตร์ 295 คนจาก 79 ประเทศทั่วโลก พบว่า 87% ของผู้ตอบแบบสอบถาม คาดว่าจะเกิดความเหลื่อมล้ำทางรายได้ในประเทศของตน ‘เพิ่มขึ้น’ หรือ ‘เพิ่มขึ้น อย่างมาก’ อันเป็นผลมาจาก COVID-19

โดยวิกฤตนี้ ทำให้เกิดปัญหาการจ้างงานที่เลวร้ายที่สุดในรอบ 90 ปี ส่งผลให้ประชาชน ‘หลายร้อยล้านคน’ ทั่วโลกต้องตกอยู่ในภาวะไม่มีงานทำ เวลาทำงานลดลงและตกงาน ส่วนผู้คนอีก ‘หลายพันล้านคน’ เเละผู้ที่อยู่แนวหน้าในการเผชิญกับโรคระบาด อย่าง พนักงานร้านค้า ผู้ค้าขายในตลาด เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ก็ยิ่งมีความเสี่ยงต่อชีวิตเเละรายได้มากขึ้นเรื่อยๆ

ด้านปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเพศก็ยังมีเพิ่มขึ้นต่อไป โดยผู้หญิง เป็นหนึ่งในกลุ่มประชากรที่ได้รับผลกระทบชัดเจนที่สุด เพราะได้ค่าจ้างต่ำกว่าที่จะเป็น เเละยังต้องตกงานในช่วงล็อกดาวน์มากกว่าผู้ชาย

Oxfam ระบุอีกว่า การแพร่ระบาดของ COVID-19 ยังเเสดงให้เห็นถึงความเหลื่อมล้ำทางเชื้อชาติอีกด้วย โดยกลุ่มชาติพันธุ์ชายขอบ มีแนวโน้มที่จะถูกผลักให้ต้องเผชิญกับความยากจนมากขึ้น และถูกกีดกันออกจากระบบทางสาธารณสุข

Gabriela Bucher ผู้อำนวยการ Oxfam International เเนะว่า การต่อสู้กับความเหลื่อมล้ำเป็นหัวใจสำคัญของการเยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจ รัฐบาลต้องจัดการเเละดูแลให้ทุกคนสามารถเข้าถึงเงินช่วยเหลือ สวัสดิการต่างๆ รวมถึงวัคซีน โดยควรมีการ ‘จัดเก็บภาษี’ อย่างยุติธรรมเพื่อประโยชน์ของทุกคนไม่ใช่แค่เฉพาะผู้มีสิทธิพิเศษเพียงไม่กี่คนโลกเท่านั้น

 

ที่มา : Oxfam , aljazeera

]]>
1316290
ซีอีโอ ‘Moderna’ ผู้ผลิตวัคซีนรายใหญ่ มองว่า COVID-19 อาจจะอยู่กับเรา ‘ตลอดไป’ https://positioningmag.com/1314626 Sun, 17 Jan 2021 11:50:13 +0000 https://positioningmag.com/?p=1314626 ซีอีโอของบริษัทผู้ผลิตวัคซีน COVID-19 รายใหญ่ของโลกอย่างModerna’ บอกว่า เราอาจจะต้องอยู่กับไวรัสชนิดนี้ตลอดไป

สอดคล้องกับความเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านโรคระบาดหลายคนที่มองว่า มีความเป็นไปได้สูงที่ไวรัสโคโรนาจะกลายเป็นโรคประจำถิ่นที่สามารถพบได้ตลอดเวลา แม้ว่าตอนนี้มีอัตราการระบาดจะลดลงแล้วก็ตาม

Stephane Bancel ซีอีโอของ Moderna กล่าวในงาน JPMorgan Healthcare Conference ตอนหนึ่งว่าผู้คนทั่วโลกอาจจะต้องอยู่กับไวรัสชนิดนี้ตลอดไป มันจะไม่หายไปไหน’

ด้านเจ้าหน้าที่ด้านสาธารณสุข กำลังจับตาการกลายพันธุ์ของ COVID-19 อย่างต่อเนื่อง เเม้ตอนนี้จะมีการผลิตวัคซีนออกมาเเละมีการเริ่มฉีดให้ประชาชนบางส่วนเเล้ว เเต่นักวิจัยจากรัฐโอไฮโอ สหรัฐฯ ระบุว่า พวกเขาเพิ่งค้นพบ COVID-19 สายพันธุ์ใหม่ 2 ชนิดที่มาจากอเมริกา เเละเริ่มเเพร่ระบาดในประเทศมาอย่างน้อย 3 สัปดาห์เเล้ว ตั้งแต่ปลายเดือนธันวาคม 2020

ก่อนหน้านี้ มีการค้นพบการกลายพันธุ์ของ COVID-19 ในอังกฤษเเละเเอฟริกาใต้ ก่อนจะลุกลามไปเเล้วกว่า 50 ประเทศทั่วโลก ซึ่งคาดว่าการกลายพันธุ์ดังกล่าวสามารถเเพร่ระบาดได้เร็วขึ้นกว่าเดิมมาก

โดยองค์การอนามัยโลก ระบุว่าตอนนี้มีไวรัส COVID-19 อยู่ 4 สายพันธุ์ เเต่ความรุนเเรงที่อาจทำให้ถึงขั้นเสียชีวิตยังไม่เท่ากับสายพันธุ์เดิม

ด้านนักวิจัยจาก Pfizer ระบุว่า วัคซีนที่ได้ร่วมพัฒนากับ BioNTech นั้นมีประสิทธิภาพในการป้องกัน COVID-19 สายพันธุ์ใหม่ที่กำลังแพร่ระบาดอยู่ในอังกฤษและในแอฟริกาใต้ 

ส่วนวัคซีนของ Moderna เพิ่งได้รับอนุมัติจากองค์การอาหารและยาของสหรัฐฯ ให้สามารถใช้กับชาวอเมริกันที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปได้ แต่วัคซีนสำหรับเด็กยังต้องพัฒนาต่อไป เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันของเด็กแตกต่างกับผู้ใหญ่

ตอนนี้ ทางการสหรัฐฯ กำลังเร่งเเจกจ่ายวัคซีนให้กับประชาชน เเต่ยังต้องใช้เวลาหลายเดือนกว่าที่จะครอบคลุมประชากรในจำนวนที่เพียงพอให้เกิด ‘herd immunity’ หรือการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ได้

ซีอีโอของ Moderna มองว่า สหรัฐฯ น่าจะเป็นหนึ่งในประเทศขนาดใหญ่ชาติเเรกๆ ที่ประสบความสำเร็จจากการปกป้องจากโรค COVID-19 ด้วยการฉีดวัคซีนอย่างเพียงพอ

 

ที่มา : CNBC

]]> 1314626 ‘ผู้นำสิงคโปร์’ ประเดิมฉีดวัคซีน COVID-19 หวังสร้างความเชื่อมั่น ชวนประชาชนมาฉีดฟรี https://positioningmag.com/1313455 Fri, 08 Jan 2021 09:49:20 +0000 https://positioningmag.com/?p=1313455 ผู้นำสิงคโปร์ เข้าฉีดวัคซีนต้าน COVID-19 ของ Pfizer-BioNTech เข็มเเรกเเล้ว เพื่อสร้างความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัยและประสิทธิภาพของวัคซีนให้แก่ประชาชน พร้อมเร่งกระจายให้ทั่วถึงทั้งประเทศ

การฉีดวัคซีนจะเป็นไปโดยสมัครใจ แต่ผมหวังว่าเมื่อถึงเวลาของคุณ คุณจะไปฉีด เพื่อช่วยป้องกันคุณและครอบครัว เพราะวัคซีนจะช่วยดูแลให้เราทุกคนปลอดภัยไปด้วยกัน”  นายกรัฐมนตรีลี เซียนลุง ของสิงคโปร์ วัย 68 ปี กล่าวเชิญชวนหลังเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรค COVID-19

โดยเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ได้เฝ้าระวังอาการ หลังฉีดวัคซีนดังกล่าวราว 30 นาที พบว่า ผู้นำสิงคโปร์มีอาการปกติดี เเละมีนัดกลับมาฉีดอีกครั้งในอีก 3 สัปดาห์ข้างหน้า ขณะที่คณะรัฐมนตรีทั้งหมดก็กำลังจะเข้ารับการฉีดวัคซีนเช่นเดียวกัน

รัฐบาลสิงคโปร์ อ้างผลสำรวจพบว่า มีประชาชนเกือบ 60% พร้อมเข้ารับวัคซีน แต่ก็ยังมีชาวสิงคโปร์บางคนที่ยังลังเลเพราะมองว่าสถานการณ์การเเพร่ระบาดในประเทศบรรเทาลงเเล้ว มีอัตราการติดเชื้อลดลงมาก เเละเกรงว่าวัคซีนที่ได้รับการพัฒนาอย่างเร่งรีบ อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้

แม้ว่าสิงคโปร์จะไม่ได้บังคับให้ประชาชนทุกคนต้องฉีดวัคซีน แต่รัฐบาลก็วางแผนสร้างแรงจูงใจ ด้วยการพิจารณาผ่อนคลายข้อจำกัดบางอย่างด้านการเดินทางให้แก่ผู้ที่ยอมฉีดวัคซีนด้วย

vaccine covid-19 pfizer
Photo : Shutterstock

ก่อนหน้านี้ บุคลากรทางการแพทย์บางส่วน ได้รับวัคซีนเป็นกลุ่มแรกเมื่อช่วงปลายเดือนธันวาคมที่ผ่านมา เเละจะเริ่มฉีดวัคซีนให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขส่วนใหญ่ ตั้งแต่วันนี้ (8 มกราคม) เป็นต้นไป ตามมาด้วยประชากรกลุ่มเสี่ยงอย่างผู้สูงอายุให้ได้ภายในเดือนกุมภาพันธ์ เเละคาดว่าจะเเจกจ่ายวัคซีนให้เพียงพอสำหรับชาวสิงคโปร์ราว 5.7 ล้านคน รวมถึงชาวต่างชาติผู้พำนักระยะยาวทุกคน ภายในสิ้นปี 2021 

ณ ตอนนี้ สิงคโปร์ ได้อนุมัติใช้วัคซีนป้องกันโรค COVID-19 ที่พัฒนาโดย Pfizer -BioNTech เพียงขนานเดียวเท่านั้น เเต่ในช่วงต่อไป รัฐบาลมีเเผนจะทำข้อตกลงซื้อ Moderna บริษัทเวชภัณฑ์ของสหรัฐฯ ที่เพิ่งได้รับการรับรองจากองค์การยาแห่งสหภาพยุโรป เเละอาจจะสั่งซื้อวัคซีน Sinovac Biotech ของจีน ซึ่งกำลังอยู่ในขั้นทดลองระยะที่ 3

โดยต่อไป สิงคโปร์ได้เตรียมพร้อมการขนส่งวัคซีนไปยังประเทศอื่น หวังยกระดับประเทศให้เป็น “จุดศูนย์กลาง” ของการขนส่งวัคซีนไปทั่วภูมิภาค หลังจากแจกจ่ายวัคซีนให้กับประชากรทั้งประเทศแล้ว

ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขของไทย ประกาศว่า จะมีการนำเข้าวัคซีนของ Sinovac Biotech จำนวน 2 แสนโดสเข้ามาไทย ในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์นี้อย่างแน่นอน เเละในช่วงปลายเดือนมีนาคมจะมีการนำเข้าอีก 8 แสนโดส และปลายเดือนเมษายนอีก 1 ล้านโดส รวมทั้งหมดเป็น 2 ล้านโดส

อ่านเพิ่มเติม : ‘เครือซีพี’ ทุ่มเงิน 1.5 หมื่นล้านบาท เข้าถือหุ้น 15% ใน ‘ซิโนแวค’ บริษัทผลิตวัคซีนโควิด

 

ที่มา : CNA , Reuters 

]]>
1313455
สั่งปิดต้องเยียวยา ล็อกดาวน์รอบ 3 ‘อังกฤษ’ ทุ่มเงิน 1.8 แสนล้านบาท ชดเชยธุรกิจค้าปลีก-บันเทิง https://positioningmag.com/1313171 Wed, 06 Jan 2021 12:24:28 +0000 https://positioningmag.com/?p=1313171 COVID-19 ในสหราชอาณาจักรยังน่าห่วง ล่าสุดยอดผู้ติดเชื้อรายวันพุ่งทำสถิติใหม่ทะลุ 6 หมื่นรายเป็นครั้งเเรก โดยรัฐบาลกำลังเร่งเเจกจ่ายวัคซีน พร้อมทุ่มงบประมาณชดเชยรายได้เพิ่มเติมพยุงภาคธุรกิจให้อยู่รอดหลังประกาศล็อกดาวน์ประเทศ รอบที่ 3

โดยมีการสั่งปิดร้านค้าปลีก สถานบันเทิง สถานที่ท่องเที่ยวและสถานที่อื่น ๆ ที่ไม่จำเป็นสำหรับการใช้ชีวิต (non-essential business) ทั่วประเทศ

Rishi Sunak รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสหราชอาณาจักร เเถลงว่า รัฐบาลจะทุ่มเงินเพิ่ม 4.6 พันล้านปอนด์ (ราว 1.87 แสนล้านบาท) เพื่อช่วยเหลือธุรกิจค้าปลีก ท่องเที่ยวและสถานบันเทิงที่ต้องปิดให้บริการชั่วคราว ภายใต้คำสั่งมาตรการล็อกดาวน์ โดยแต่ละธุรกิจจะได้รับเงินชดเชยมากที่สุดถึง 9,000 ปอนด์ (ราว 3.6 เเสนบาท

นอกจากนี้ รัฐบาลอังกฤษ ยังเตรียมจัดสรรงบประมาณอีกจำนวน 594 ล้านปอนด์ (ราว 2.4 หมื่นล้านบาท) เพื่อเข้าช่วยเหลือธุรกิจในอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่ได้รับผลกระทบจากการล็อกดาวน์ครั้งนี้ด้วย

โดยเงินเยียวยาดังกล่าวจะเน้นไปที่การพยุงธุรกิจรายย่อยให้อยู่รอดในช่วงที่ต้องขาดรายได้ ส่วนเเรงงานที่โดนพักงาน (furlough scheme) ก็จะได้รับเงินชดเชยที่เเยกจ่ายต่างหาก ซึ่งถูกขยายโครงการไปจนถึงปลายเดือนเมษายน

เงินชดเชยก้อนนี้จะช่วยธุรกิจสามารถอยู่รอด ทันช่วงรอยต่อที่กลับมาเปิดทำการได้ตามปกติ Sunak ระบุ

(photo by John Keeble/Getty Images)

สำหรับการล็อกดาวน์ ครั้งที่ 3 มีผลบังคับใช้จนถึงช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ โดยจะมีความเข้มงวดระดับสูงสุดในอังกฤษ เพราะเป็นพื้นที่พบผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตมากที่สุด ส่วนสกอตแลนด์ เวลส์ และไอร์แลนด์เหนือ ให้นำข้อบังคับไปประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของตัวเอง

ปัจจุบันสหราชอาณาจักรมียอดผู้ป่วย COVID-19 สะสมอย่างน้อย 2.7 ล้านคน เสียชีวิตสะสมกว่า 7.5 หมื่นคนโดยสถานการณ์ตึงเครียดขึ้นอีกครั้ง หลังมีความกังวลเกี่ยวกับการพบเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ “ชนิดกลายพันธุ์” ครั้งแรกที่ประเทศอังกฤษ เมื่อช่วงเดือนก..ที่ผ่านมา ซึ่งสามารถแพร่กระจายได้เร็วขึ้นอีก 70% ซึ่งสายพันธุ์ใหม่ ที่พบในสหราชอาณาจักรและแอฟริกาใต้ยังเป็นคนละชนิดกันด้วย ทำให้ตอนนี้นานาชาติได้สั่งระงับเที่ยวบินจากอังกฤษเพื่อสกัดไวรัสกลายพันธุ์ดังกล่าว

ด้านความคืบหน้าด้านการฉีดวัคซีน รัฐบาลอังกฤษประกาศเป้าหมายระยะเเรก จะเเจกจ่ายให้กลุ่มเสี่ยงจากโรค COVID-19 ได้แก่ บุคลากรการแพทย์และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ผู้สูงอายุ และเจ้าหน้าที่ดูแลผู้สูงอายุ รวมประมาณ 13 ล้านคน ต้องได้รับวัคซีนอย่างน้อย 1 โดส ภายในกลางเดือน ก..นี้ 

โดยนับตั้งแต่เริ่มแจกจ่ายวัคซีนครั้งเเรก เมื่อวันที่ 8 ธันวาคมที่ผ่านมา ตอนนี้มีประชาชนเข้ารับวัคซีนมากกว่า 1.3 ล้านคน ในจำนวนดังกล่าวราว 6.5 เเสนคน เป็นผู้สูงวัยที่มีอายุมากกว่า 80 ปี

 

ที่มา : BBC (1),(2)

]]>
1313171