โรงเเรม – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 30 Aug 2021 08:41:42 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 U City ปรับทิศ เลิกทำ ‘อสังหาฯ’ เทขายโรงเเรมในยุโรป ทุ่มหมื่นล้าน ขอลุย ‘บริการทางการเงิน’ https://positioningmag.com/1349219 Mon, 30 Aug 2021 08:10:43 +0000 https://positioningmag.com/?p=1349219 U City บริษัทลูกในเครือ ‘บีทีเอส กรุ๊ป’ ที่เคยมุ่งลงทุนในธุรกิจอสังหาฯ 100% วันนี้ประกาศทรานส์ฟอร์มใหม่ ทยอยเทขายโรงแรมในยุโรป หลังเจอพิษโควิดฉุดท่องเที่ยวซบเซา ทุ่มหมื่นล้าน ขอลุย ‘บริการทางการเงิน’ 

กวิน กาญจนพาสน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชน ถึงการปรับตัวท่ามกลางวิกฤตโควิด-19 นี้ ว่า “ทาง U City มีตั้งใจที่จะ ‘ยุติการดำเนินธุรกิจอสังหาริมทรัพย์”

เนื่องจากมองว่าธุรกิจอสังหาฯ โรงเเรมเเละออฟฟิศ ภายใน 3 -5 ปีนี้ ‘ไม่น่าจะทำกำไร’ จากผลกระทบของโรคระบาด ทำให้ธุรกิจมีรายได้ค่อนข้างต่ำ ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่นักลงทุนต้องการ

ทางบริษัท จึงได้ประกาศขายธุรกิจโรงแรมที่เหลืออยู่ในยุโรปเกือบทั้งหมด รวมถึงขายแบรนด์เวียนนา เฮ้าส์ และส่วนหนึ่งของบริษัท แอ๊บโซลูท โฮเต็ล เซอร์วิส จำกัด เบื้องต้น คาดว่าธุรกรรมนี้ จะสร้างกำไรให้แก่บริษัทและจะแล้วเสร็จภายในสิ้นปีนี้

กวิน บอกว่า การเทขายอสังหาฯ เเละโรงเเรมครั้งนี้ จะทำให้มีเงินทุนกลับมาประมาณ ‘หมื่นกว่าล้าน’ ซึ่งจะนำไปไปลงทุนในธุรกิจ ‘ไฟแนนซ์เชียล เซอร์วิส’ อย่างเจมาร์ท เเละซิงเกอร์

โดย U City เเจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์เเห่งประเทศไทย ว่า ได้ทำการเข้าซื้อหุ้น 24.9% ในบริษัท ซิงเกอร์ประเทศไทย จำกัด (มหาชน) หรือ Singer จำนวน 7,000 ล้านบาท ขึ้นเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุด และเข้าลงทุน 9.9% ในบริษัท เจ มาร์ท จำกัด (มหาชน) หรือ Jaymart จำนวน 4,000 ล้านบาท

นอกจากนี้ ยังขยายไปสู่ธุรกิจประกัน โดย U City ทุ่มเงินอีก 1,500 ล้านบาท เข้าซื้อหุ้น 75% ในบริษัท แอ๊ดวานซ์ ไลฟ์ ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) หรือ A Life พร้อมขยายฐานลูกค้าเเละช่องทางการจัดจำหน่าย ร่วมกับ วีจีไอ, ซิงเกอร์ และ เจเอ็มที รวมถึงพันธมิตรในเครือข่ายของกลุ่มบีทีเอส ที่มีทั้งธุรกิจระบบขนส่งมวลชน สื่อโฆษณา ธุรกิจบริการ

สถานการณ์โควิด-19 ที่ยืดเยื้อมานานกว่า 2 ปี ทำให้ U City ต้องปรับเเผนการดำเนินธุรกิจในระยะยาวครั้งใหญ่
“จุดเปลี่ยนครั้งนี้ จะพลิกฟื้นธุรกิจจากอุตสาหกรรมที่กำลังเป็นขาลง ให้ก้าวไปสู่การเติบโตที่ยั่งยืน” กวิน กล่าว

ในช่วงต่อไปนี้ U City จะดำเนินการขายพอร์ตอสังหาริมทรัพย์อย่างต่อเนื่อง ภายใต้ข้อตกลงและราคาที่สร้างผลกำไร เพื่อจะจัดสรรเงินทุนที่ได้รับไปต่อยอดธุรกิจบริการทางการเงินต่อไป

“อสังหาฯ เเละโรงเเรมที่เหลืออยู่ กำลังรอราคาที่ดี เพื่อขายให้ได้กำไร ไม่ใช่จะเร่งขายถูกในช่วงนี้”

ทั้งนี้ ต่อไปบริษัทจะมีการเปลี่ยนชื่อ ‘U City’ (ยูซิตี้) โดยจะให้ผู้ถือหุ้นเสนอชื่อบริษัทขึ้นมาใหม่ในเร็วๆ นี้

 

 

]]>
1349219
‘โรบินฮู้ด’ ขยับสู่ธุรกิจท่องเที่ยว เตรียมเปิดตัว ‘Zero GP OTA’ ต้นปีหน้า ไม่เก็บค่า GP โรงแรม https://positioningmag.com/1333561 Mon, 24 May 2021 06:58:53 +0000 https://positioningmag.com/?p=1333561 โรบินฮู้ดฉลองลูกค้าครบล้านคน ขยายต่อสู่ธุรกิจท่องเที่ยว เตรียมเปิดตัว ‘Zero GP OTA’  ต้นปีหน้า ไม่เก็บค่า GP โรงแรม เป็นโปรเจกต์ CSR เหมือนเเพลตฟอร์มฟู้ดเดลิเวอรี่

โรบินฮู้ด เเอปพลิเคชันสั่งอาหารในเครือธนาคารใหญ่อย่าง SCB ประกาศโมเดลธุรกิจเพื่อสังคม ผ่านโมเดล ‘Zero GP OTA’ ลุยธุรกิจท่องเที่ยว ขยายขอบเขตบริการสู่การเป็น OTA (Online Travel Agent) สัญชาติไทย

โดยมีจุดยืนเหมือนกับเเพลตฟอร์มฟู้ดเดลิเวอรี่ คือการไม่คิดค่า GP’ เพื่อเพิ่มทางเลือกและช่วยผู้ประกอบการ SME ในกลุ่มธุรกิจโรงแรม ให้ไม่ต้องแบกรับต้นทุนที่เพิ่มขึ้น จากการใช้ตัวแทนขายห้องพักผ่านช่องทางออนไลน์ 

ธนา เธียรอัจฉริยะ ประธานกรรมการ บริษัท เพอร์เพิล เวนเจอร์ส จำกัด บอกว่า ที่ผ่านมาโรบินฮู้ดได้เริ่มทำในส่วนของธุรกิจอาหารไปแล้ว แต่ยังมีอีกหนึ่งกลุ่มธุรกิจสำคัญที่จะเป็นกำลังหลักในการขับเคลื่อนประเทศหลัง
โควิด-19 นั่นก็คือ ภาคการท่องเที่ยว

โมเดลที่เรียกว่า “Zero GP OTA” ไม่เก็บ GP โรงแรม จะมุ่งช่วยผู้ประกอบการโรงแรมร่วมกับลูกค้าโรบินฮู้ดกว่าล้านคน คาดว่าจะเปิดตัวได้ภายในต้นปีหน้า

ธนามองว่า เป็นช่วงเวลาที่ค่อนข้างเหมาะสมการท่องเที่ยวน่าจะเริ่มกลับมาฟื้นตัวได้อีกครั้ง ซึ่งจะมีดำเนินการตามขั้นตอนของธนาคารแห่งประเทศไทยต่อไป เเละจะมีการอัปเดตให้ทราบเป็นระยะ

ด้านความคืบหน้าของเเอปพลิเคชันโรบินฮู้ด’ (Robinhood) ที่เปิดตัวมาได้ 7 เดือนเเล้ว ด้วยคอนเซ็ปต์ไม่เก็บค่า GP ร้านอาหารแม้แต่บาทเดียว และมีนโยบายที่จะไม่เก็บตลอดไป 

ปัจจุบันมีจำนวนลูกค้าที่ลงทะเบียนใช้งานกว่า 1 ล้านคน มีเฉพาะร้านเล็ก ๆ ในระบบ 90,000 ร้าน มีผู้ส่ง (ไรเดอร์) 15,000 คน ยอดการสั่งอาหารรวมกว่า 2.3 ล้านออเดอร์ คิดเป็นมูลค่ากว่า 500 ล้านบาท

ในปีนี้มีแผนที่จะขยายฟู้ดเดลิเวอรี่สู่ต่างจังหวัดโดยเตรียมปักหมุดนำร่องที่เชียงใหม่ และชลบุรี ซึ่งเป็นพื้นที่ศักยภาพและมีความต้องการบริการด้านฟู้ดเดลิเวอรี่สูง พร้อมโครงการเพิ่มโอกาสในการสร้างอาชีพเสริมรายได้ของคนส่งอาหารที่ไม่มีรถมอเตอร์ไซค์เป็นของตัวเอง

โรบินฮู้ดจะร่วมกับพันธมิตรเตรียมเปิดทดลองให้เช่ามอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า (EV) เป็นรายวันในช่วงประมาณเดือนมิถุนายน 2564”

ราคาเช่าเบื้องต้นคาดว่าจะอยู่ที่ราวร้อยกว่าบาท’ เพื่อให้คนขับมีรายได้เหลือในการทำงาน หรือชาร์จไฟเองที่บ้านได้

นอกจากนี้ ยังมีแผนที่จะขยายไปสู่ ธุรกิจรับส่งของ (Express Service) และบริการด้านสั่งซื้อสินค้าจากซูเปอร์มาร์เก็ต (Mart Service) เช่น ร้านค้าสามารถสั่งซื้อวัตถุดิบแบบขายส่ง (wholesale) ผ่านแพลตฟอร์ม ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนให้กับร้านค้าได้ เเละสนับสนุน ecosystem ที่เป็นประโยชน์กับร้านค้าและลูกค้า ซึ่งจะสามารถช่วยสร้างงานเพิ่มขึ้นให้กับไรเดอร์ในช่วง off-peak ที่ลูกค้าไม่ได้สั่งอาหาร

]]>
1333561
KBank ห่วงไทย ‘ฟื้นตัวช้าสุด’ ตามหลังเพื่อนบ้านในอาเซียน โรงแรม 40% เสี่ยงหายจากตลาด https://positioningmag.com/1320011 Thu, 18 Feb 2021 13:11:04 +0000 https://positioningmag.com/?p=1320011 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ห่วงเศรษฐกิจไทย ‘ฟื้นตัวช้าสุด’ ตามหลังเพื่อนบ้านในอาเซียน เหตุพึ่งพานักท่องเที่ยวต่างชาติสูง จับตาเร่งกระจายวัคซีน วิกฤตยื้อยาวอาจทำโรงเเรม 30-40% ‘ไม่รอด’ หายออกจากตลาด หนี้ครัวเรือนพุ่ง ฉุดเศรษฐกิจ SMEs อ่วมสารพัดปัญหาไม่สามารถจ่ายหนี้ได้

‘วัคซีน’ คือตัวเเปรสำคัญของเศรษฐกิจไทย 

ณัฐพร ตรีรัตน์ศิริกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด ให้ข้อมูลว่า KBank ยังคงคาดการณ์เป้าการเติบโตของเศรษฐกิจไทยไว้ที่ 2.6%

มีหลายประเด็นที่ทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย ‘ฟื้นตัวช้า’ ตามหลังประเทศอื่นๆ ในอาเซียน โดยเฉพาะโครงสร้างเศรษฐกิจไทยที่พึ่งพิงการท่องเที่ยวคิดเป็นกว่า 10% ของ GDP

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ปรับลดการคาดการณ์นักท่องเที่ยวต่างชาติเที่ยวไทยในปี 2564 มาอยู่ที่ประมาณ 2-4.5 ล้านคน จากเดิมที่คาดไว้ 4.5-7 ล้านคน

ตัวเเปรหลักของเศรษฐกิจไทยคือ ‘วัคซีน’ ต้องติดตามการควบคุมการแพร่ระบาดของโรค ตลอดจนการ
กระจายวัคซีนในประชากรหมู่มากจนสามารถสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ได้ ซึ่งจะมีผลต่อการกำหนดแนวทางการเริ่มเปิดรับนักท่องเที่ยว ณ ขณะนี้มองไว้ว่าน่าจะเป็นช่วงปลายปี 2564

Photo : Shutterstock

ณัฐพร คาดว่า กว่าที่เศรษฐกิจไทยจะกลับไปเท่าที่ระดับก่อนโรคระบาดได้คงใช้เวลาจนถึงปี 2565-2566 เพราะปัญหาจาก COVID-19 ในรอบนี้ กระทบภาคธุรกิจจริงตรงๆ ต่างจากปี 2540 ที่มีจุดกำเนิดจากธุรกิจการเงิน

“การฟื้นตัวของธุรกิจหลังผ่านพ้นช่วง COVID-19 คงไม่ทั่วถึง และยังมีโจทย์เชิงโครงสร้างที่รออยู่ อีกทั้งสังคมสูงอายุ ตลาดผู้บริโภคเล็กลง ปัญหาหนี้ครัวเรือน และปัญหาความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ”

โรงแรม 40% เสี่ยงหายออกจากตลาด

ด้าน เกวลิน หวังพิชญสุข ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด เสริมว่า ภาคท่องเที่ยวในไทยเป็นอุตสาหกรรมที่ ‘เปราะบางที่สุด’ ในภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ โดยเฉพาะกลุ่มโรงแรมในจังหวัดที่พึ่งพิงนักท่องเที่ยวต่างชาติมาก เช่นใน 6 จังหวัดอย่าง ภูเก็ต, กระบี่, พังงา, สุราษฎร์ธานี, ชลบุรี เเละกรุงเทพฯ ที่ต้องติดตามเป็นพิเศษ ขณะที่ธุรกิจค้าปลีกได้รับผลกระทบจากกำลังซื้อที่ลดลง และการปิดพื้นที่ชั่วคราว

“ปัญหาโควิดในครั้งนี้คงทำให้โรงแรม 30-40% อาจต้องออกจากตลาดไป เน้นไปที่โรงแรมในกลุ่มราคาประหยัด (Budget) หรือราคาระดับกลาง (Midscale) รวมไปถึงธุรกิจค้าปลีก อย่างร้านค้า SMEs ในห้างที่มีสัดส่วนกว่า 30% ของผู้ประกอบการรายย่อยไทยในภาคการค้าทั่วประเทศ” 

เเม้ช่วงที่ผ่านมา คนไทยจะหันมา ‘เที่ยวในประเทศ’ กันมากขึ้น โดยคาดว่า ปี 2564 จะอยู่ที่ราว 90-120 ล้านคนต่อครั้ง แต่ยังไม่สามารถทดแทนการหายไปของรายได้ที่พึ่งพิงจากนักท่องเที่ยวต่างชาติ ที่เคยสร้างรายได้ให้ธุรกิจในภาคโรงเเรมไทยถึง 5 แสนล้านบาท หรือคิดเป็นกว่า 70%

Photo : Shutterstock

สำหรับประเด็นเรื่อง ‘Vaccine Passport’ มองว่า ยังไม่อาจคาดหวังได้มากในขณะนี้ เพราะยังไม่มีหลักฐานการศึกษาว่าคนที่ฉีดวัคซีนแล้ว จะไม่ติดเชื้อหรือแพร่เชื้ออีกครั้ง ประโยชน์ในเรื่องนี้คงเกิดกับเฉพาะบางประเทศที่รับความเสี่ยงได้ มากกว่าจะเป็นประโยชน์ในระดับโลก

ธัญญลักษณ์ วัชระชัยสุรพล รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด มองว่า ‘โจทย์เฉพาะหน้าคือ การดูแลปัญหาสภาพคล่องทางธุรกิจและครัวเรือน’

“ภาคการเงินต้องติดตามสภาพคล่องภาคธุรกิจ SMEs มีปัญหาไม่สามารถจ่ายหนี้ได้ แม้ว่าตอนนี้ตัวเลขหนี้เสีย (NPL) จะยังไม่สะท้อนมาก เพราะยังอยู่ในช่วงมาตรการผ่อนปรนการจัดชั้นหนี้ของธปท.ก็ตาม” 

อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงดังกล่าว เห็นได้จากตัวเลขจำนวนผู้ขอรับความช่วยเหลือทางการเงินที่คงไต่ระดับขึ้นจากปลายปี 2563 ที่ 27.6% และ 14.7% ของสินเชื่อสำหรับกลุ่มเอสเอ็มอีและลูกค้าบุคคลรายย่อยตามลำดับ

สำหรับกลุ่มธุรกิจที่เปราะบางนั้น คาดว่าภาครัฐจะมีมาตรการช่วยเหลือเพิ่มเติม เช่น Asset Warehousing แต่อาจไม่เร็วพอ เพราะยังต้องรอรายละเอียดในหลายประเด็น ด้านลูกค้าหากมีสัญญาณปัญหาการชำระหนี้ ก็แนะนำให้รีบคุยกับสถาบันการเงิน โดยไม่ต้องรอให้เป็น NPL ก่อน

“ธุรกิจจะต้องมีการปรับตัวให้ทันกับโลกที่เปลี่ยนไป เเต่คาดว่าตลาดจะเล็กลง จากหนี้ครัวเรือนที่เพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง จากปีก่อนที่ 86% ปีนี้น่าจะแตะ 90-91% ซึ่งจะทำให้กำลังซื้อลดลง เเละการเข้าสู่สังคมสูงอายุของไทยที่กำลังใกล้เข้ามา ก็เป็นปัญหาใหญ่ที่มองข้ามไม่ได้”

 

 

]]>
1320011
โรงเเรมหรู ดิ้นหาลูกค้า จัด ‘หมูกระทะ Rooftop’ งัดจุดเด่นปิ้งย่างวิวหลักล้าน ค่าอาหารหลักร้อย https://positioningmag.com/1318598 Wed, 10 Feb 2021 11:00:51 +0000 https://positioningmag.com/?p=1318598 ธุรกิจท่องเที่ยวไทยทรุดหนัก ทุ่มหมดหน้าตักเพื่อหาลูกค้างัดสารพัดวิธีเเบบคาดไม่ถึงหารายได้เพิ่มพยุงกิจการ ล่าสุดบรรดาโรงเเรมหรูปิ๊งไอเดียสร้างความฮือฮาอย่างการออกเมนูหมูกระทะ Rooftop’ ปิ้งย่างชมวิวหลักล้าน แต่จ่ายค่าอาหารหลักร้อย

เมื่อนักท่องเที่ยวยังคงไม่กลับมาง่ายๆ ในเร็ววัน โดยเฉพาะชาวต่างชาติที่ต้องรอความคืบหน้าการฉีดวัคซีน โรงเเรมเเละร้านอาหารต่างๆ ต้องหันมาใช้กลยุทธ์การตลาดที่หลากหลาย

โนโวเทล สุขุมวิท 20’ เป็นอีกหนึ่งโรงเเรมหรูย่านกลางใจเมือง ที่ออกเเคมเปญดึงดูดลูกค้าได้อย่างน่าสนใจ นั่นก็คือหมูกระทะออนเดอะรูฟ เชิญชวนสาวกปิ้งย่างสตรีทฟู้ด มานั่งฟินกินหมูย่างในบรรยากาศสุดหรู ดื่มด่ำวิวพระอาทิตย์ตกบน ‘Sky on 20’ รูฟท็อปบาร์ชื่อดังที่เป็นจุดขายของโรงเเรม

สำหรับชุดเมนูหมูกระทะออนเดอะรูฟ’ มาพร้อมกับเนื้อหมู ไก่ เนื้อ ซีฟู้ด ผักสด เต้าหู้ ไข่ไก่ เห็ด วุ้นเส้น ผักสดและอื่น ๆ ตามเเบบฉบับหมูกระทะสไตล์ไทย มีน้ำจิ้มให้เลือก 3 แบบคือ น้ำจิ้มสุกี้ น้ำจิ้มแจ่ว เเละน้ำจิ้มหมูกระทะ ซึ่งเป็นสูตรเฉพาะของเชฟโนโวเทล จัดมาในราคาชุดละ 999 บาท สำหรับ 2 ท่าน รวมน้ำดื่ม เปิดให้บริการวันพุธอาทิตย์ โดยลูกค้าต้องทำการจองโต๊ะก่อน เพราะที่นั่งมีจำนวนจำกัด 

ก่อนหน้านี้ โรงแรมหรูอย่างโฟร์ซีซั่น รีสอร์ต เกาะสมุยก็ได้เสนอเมนูพิเศษเป็น ‘หมูกระทะเช่นเดียวกัน โดยเลือกได้ทั้งเนื้อหมู เนื้อวัวแองกัส กุ้งกุลาดำ หรือจะเป็นเนื้อไก่ปลอดสาร นั่งปิ้งย่างท่ามกลางบรรยากาศริมทะเลสวยๆ มีราคาเริ่มต้นที่ 1,900-2,500 บาท สร้างเสียงฮือฮาในโลกออนไลน์ได้อย่างมากที่พบเห็นเมนูหมูกระทะในโรงแรมระดับห้าดาว

โดยมีชาวเน็ตมากดไลก์โพสต์โปรโมตของโรงเเรมกว่า 1 หมื่นครั้ง เเชร์ไปมากกว่า 4 พันเเชร์ เเละมีผู้มา
เเสดงความคิดเห็นถึง 2 พันคอมเมนต์

 

นับว่าเป็นการสร้างกิมมิกใหม่ๆ ให้ร้านอาหารของโรงเเรมกลับมาคึกคัก ด้วยการเปลี่ยนบรรยากาศจากหมูกระทะบ้านๆ ตามร้านทั่วไป ให้เป็นหมูกระทะลอยฟ้าได้ใจสายกินเที่ยว เเละสายโซเชียลที่ได้ถ่ายรูปเมนูเก๋ ๆ ในบรรยากาศหรู ๆ ได้ดีทีเดียว อีกทั้งยังเป็นการโปรโมตโรงเเรมบนโลกออนไลน์ไปในตัวด้วย

ด้านร้านปิ้งย่างชาบูชื่อดังอย่างเพนกวิน อีท ชาบู’ (Penguin Eat Shabu) ที่มักจะผุดไอเดียใหม่ๆ มา
สร้างสีสันให้วงการร้านอาหารอยู่เสมอ ล่าสุดประกาศเปิดให้ลูกค้าจองโต๊ะรับประทานอาหารที่เป็นเมนูของทางร้าน บนพื้นที่ดาดฟ้าของร้าน ChubbyPapaya เพื่อให้ลูกค้าได้ดื่มด่ำบรรยากาศสวยๆ ของวัดภูเขาทอง ยามพระอาทิตย์ใกล้ตก เเละมองเห็นไฟสีทองเหลืองสวยในเวลาพลบค่ำ

โดยจะเปิดให้บริการเพียงวันละ 2 รอบ (เวลา 17.00-19.00 . และ 19.00-21.00 .) รอบละ 2 โต๊ะ จำกัดจำนวนลูกค้าโต๊ะละ 4 คน ราคา 2,500 บาท (เฉลี่ยคนละ 625 บาท) เปิดให้จองล่วงหน้าได้ตั้งแต่ 1-28 .. (หยุดวันพุธ)

 

นับเป็นการจับมือกันระหว่างร้านอาหาร ทั้งฝ่ายนำเสนอเมนูเเละฝ่ายสถานที่ เพื่อฝ่าฟันวิกฤตนี้ไปให้ได้ โดยการปรับตัวของร้านปิ้งย่างชาบู ต้องยอมรับว่าเผชิญกับอุปสรรคมาแล้วมากมายหลายครั้ง โดยเฉพาะในช่วงการเเพร่ระบาดของ COVID-19 รอบเเรก ตลอดปีที่ผ่านมา

โดยหลายร้านได้ปรับตัวสู้ด้วยการหันมาส่งเดลิเวอรี่ถึงบ้าน พร้อมออกกลยุทธ์เด็ด อย่างการสั่งชาบูแถมหม้อที่สร้างความตื่นเต้นให้กับธุรกิจอาหารในเมืองไทยอย่างมาก ซึ่งก็เป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์เพิ่มยอดขายที่มาช่วยต่อลมหายใจให้ธุรกิจ ในช่วงที่ร้านยังให้บริการหน้าร้านไม่ได้เต็มที่

เป็นกลยุทธ์การตลาดของเหล่าร้านปิ้งย่าง-ชาบู ที่งัดหมัดเด็ดเอาใจผู้บริโภคจนเกิดกระเเส “สุกี้ฟรีหม้อ” เเก้ Pain Point คนอยากกินเเต่ไม่มีอุปกรณ์ ที่เเม้จะดูเป็นการเพิ่มต้นทุน เเต่ร้านกำลังต้องการรายได้ให้พอหมุนเงินไปได้

นอกจากนั้นยังเป็นการ “ยิงนกหลายตัว” เพราะเมื่อลูกค้ามีหม้อที่บ้านเเล้ว ก็มีเเนวโน้มที่จะ “สั่งซ้ำ” มากินอีกบ่อยๆ เป็นการรักษาความผูกพันกับแบรนด์ไว้ต่อยอดเมื่อผ่านพ้น COVID-19 พวกเขาเหล่านั้นก็จะกลับมาทานที่ร้านอีก

ขณะเดียวกันเหล่าร้านขนมก็ปิ๊งไอเดียออกเเพ็กเกจรวมวัตถุดิบเเบบ DIY จัดส่งเดลิเวอรี่ให้ถึงบ้าน ให้ลูกค้าสามารถทำขนมเบื้อง โตเกียว เเพนเค้ก ไปจนถึงบัวลอย ได้เองเเบบง่ายๆ ใช้เวลานิดเดียวเเถมเเก้เหงาช่วงล็อกดาวน์ได้ด้วย

เป็นช่องทางการขายใหม่ๆ ของทางร้าน ที่เเม้ว่าจะผ่านพ้นโรคระบาดไปแล้ว เเต่ “เซตพร้อมทำ DIY” เเบบนี้ก็น่าจะขายต่อไปได้อีกยาว

เเต่การเเพร่ระบาดของ COVID-19 รอบใหม่ในไทย ตั้งเเต่ช่วงต้นปี 2021 ที่ผ่านมา ถือว่ามีความเเตกต่างจากการระบาดรอบเเรกพอสมควร เพราะธุรกิจร้านอาหารเเละโรงเเรม ยังสามารถเปิดบริการให้ลูกค้าเข้าไปรับประทานได้ตามปกติ เพียงเเต่ต้องมีมาตรการความปลอดภัยเพิ่มเติม

เหล่านี้จึงทำให้ผู้ประกอบการต้องสรรหาไอเดียใหม่ๆ ที่มักมาในทางชมวิวสวยหรือการให้บรรยากาศดีๆ  ผสมกับเมนูอาหารที่คนไทยนิยม ราคาไม่เเพงมาก เพื่อให้ผู้คนเลือกจะเดินทางออกมาทานข้าวนอกบ้านกันมากขึ้นนั่นเอง

นับเป็นกลยุทธ์หารายได้ใหม่ ที่นอกเหนือจากการลดราคาห้องพัก เเจกเเถมสินค้าหรือการจัดโปรโมชันบุพเฟ่ต์ได้อย่างน่าสนใจทีเดียว

Photo : Shutterstock

โรงแรมสู้ต่อ…ปรับกลยุทธ์ให้พนักงานมีงานทำ

มาริสา สุโกศล หนุนภักดี ประธานสมาคมโรงแรมไทย เผยมุมมองภาพรวมธุรกิจโรงแรมในวิกฤต COVID-19 กับ MGR Online ว่า อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวได้รับผลกระทบหนัก โดยเฉพาะในแง่ของการสูญเสียจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ

จากสถานการณ์โรคระบาดที่เกิดขึ้น ประเมินว่า โรงแรมในไทยจะปลดพนักงานไม่น้อยกว่า 35-50% เพราะต้องคำนึงถึงค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในการชดเชยต่างๆ ช่วงเวลาที่ไม่มีนักท่องเที่ยวซึ่งกลายมาเป็นค่าใช้จ่ายที่สูงที่สุดของกลุ่มโรงแรมราวๆ 24% ต่อรายได้รวม คาดว่ากลุ่มโรงแรมจะไม่เพิ่มจำนวนพนักงานกลับสู่ระดับในปี 2562 แม้สถานการณ์จะกลับสู่สภาวะปกติ เพราะมีทางเลือกในการจ้างบุคคลภายนอกและพนักงาน part-time

อย่างไรก็ตาม มองว่าในอนาคตกลุ่มธุรกิจโรงแรมจะมีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างช้าๆ หากเริ่มเปิดประเทศให้กรุ๊ปทัวร์เข้ามาแล้ว จะมีกลุ่มนักท่องเที่ยวอิสระที่กลับมาเป็นกลุ่มแรกๆ เเละกลุ่ม MICE จะเป็นนักท่องเที่ยวกลุ่มสุดท้ายที่จะกลับเข้ามา

ความเสี่ยงที่ต้องจับตามองคือ ธุรกิจโรงแรมขนาดเล็ก และขนาดย่อม อาจจะต้องปิดกิจการไปก่อน เพราะสายป่านสั้น ตามด้วยรายใหญ่ซึ่งก็คงไม่รอดง่ายๆ เพราะต้องพึ่งพานักท่องเที่ยวต่างชาติเป็นหลัก แม้จะมีการกระตุ้นการท่องเที่ยวจากคนไทย เเต่การใช้จ่ายของคนไทยไม่สามารถชดเชยส่วนต่างได้

“พนักงานของโรงแรมต้องสลับกันมาทำงาน และรับเงินเดือนไม่เต็มเดือน อีกทั้งยังไม่มี service charge เเละต้องปรับกลยุทธ์การบริการ เป็นร้านอาหารแบบเดลิเวอรี หรือทำข้าวกล่องขาย เพื่อให้โรงแรมอยู่ได้และพนักงานมีงานทำ” 

 

]]>
1318598
มอง ‘ท่องเที่ยวไทย’ ปี 2021 ยังเหนื่อย คนเที่ยวน้อย-ใช้จ่ายลด เเข่ง ‘เเย่งลูกค้า’ ดุเดือด https://positioningmag.com/1312134 Fri, 25 Dec 2020 09:47:36 +0000 https://positioningmag.com/?p=1312134 ธุรกิจท่องเที่ยวไทยต้องกัดฟันสู้กันอีกยาว ฟื้นตัวไม่ทั่วถึง เจอระบาดรอบใหม่ซ้ำเติม ต้องล็อกดาวน์ในหลายจังหวัด ผู้คนเดินทางท่องเที่ยวลดลง เเต่ผู้ประกอบการต้องเเข่งขัน “เเย่งลูกค้า” กันรุนเเรงขึ้น 

ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC) วิเคราะห์ว่า ภาคการท่องเที่ยวของไทย ในช่วงที่ผ่านมา มีการทยอยฟื้นตัวจากการท่องเที่ยวของคนไทยด้วยกันเอง แต่ทั้งจำนวนและรายได้ ก็ยังคงอยู่ในระดับต่ำกว่าปีก่อนหน้า

อีกทั้งการฟื้นตัวในช่วงที่ผ่านมายังไม่ทั่วถึงโดยจังหวัดที่คนไทยนิยมท่องเที่ยวอยู่แล้ว ในอดีตก็ยังเป็นกลุ่มที่สามารถฟื้นตัวได้ดีกว่า

คนไทยเที่ยวน้อยลง จ่ายน้อยลง

โดยล่าสุด จำนวนนักท่องเที่ยวคนไทยในช่วงเดือนตุลาคม ยังต่ำกว่าในช่วงเดียวกันปีก่อนหน้าถึง -34.5% (หดตัวน้อยลงจาก -38.1% ในไตรมาส 3)

ขณะที่รายได้ที่มาจากนักท่องเที่ยวคนไทยก็ต่ำกว่าอยู่ถึง -49.2% (หดตัวน้อยลงจาก -57.2% ในไตรมาส 3) ซึ่งการที่รายได้ มีการหดตัวมากกว่าจำนวนนักท่องเที่ยวนั้น หมายความว่า นอกจากคนไทยจะเดินทางท่องเที่ยวน้อยลงแล้ว ยังใช้จ่ายต่อคนเฉลี่ยลดลงอีกด้วย

จากข้อมูลการสำรวจ ภาวะเศรษฐกิจและสังคมของภาคครัวเรือนไทยของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า ครัวเรือนไทยใช้จ่ายเพื่อการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 3.9% ต่อปี แม้การใช้จ่ายในภาพรวมจะชะลอลง -0.5% ต่อปี การเข้ามาของโรคระบาดจึงเป็นการสะดุดลงของแนวโน้มการขยายตัวของการท่องเที่ยวของคนไทยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา

Photo : Shutterstock

แม้จะเริ่มมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาในเดือนตุลาคม แต่ก็ยังเป็นจำนวนที่น้อยมากเพียง 1,201 คนเท่านั้น หรือคิดเป็นเพียง 0.04% ของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติรวมในเดือนเดียวกันของปีก่อน

EIC คาดการณ์ว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในปี 2564 
จะอยู่ที่ราว 8.5 ล้านคน โดยส่วนใหญ่จะเริ่มทยอยเดินทางเข้ามาในช่วงครึ่งปีหลัง

เราเที่ยวด้วยกัน “ดี” เเต่ยังไม่ทั่วถึง 

ในภาวะที่ซบเซานี้ การมีปัจจัยสนับสนุนจากมาตรการ “เราเที่ยวด้วยกัน” ถือว่ามีส่วนช่วยภาคการท่องเที่ยวในประเทศ โดย ณ วันที่ 2 ธันวาคม 2563 มีจำนวนผู้ลงทะเบียนเข้าร่วมมาตรการแล้ว 6.4 ล้านคน และมีผู้ใช้สิทธิ์จองที่พัก
ที่ชำระเงินแล้วจำนวน 4 ล้านสิทธิ์ จาก 5 ล้านสิทธิ์ คิดเป็นมูลค่าห้องพักที่จอง 10,961 ล้านบาท

“การฟื้นตัวของการท่องเที่ยวในประเทศมีลักษณะที่ไม่ทั่วถึง ซึ่งจังหวัดที่มีการฟื้นตัวได้ดีกว่าค่าเฉลี่ยมักเป็นจังหวัดยอดนิยม
ของคนไทยอยู่แล้ว” 

ในช่วงเดือนกรกฎาคม-ตุลาคม (ข้อมูลล่าสุด) จำนวนผู้เยี่ยมเยือนชาวไทยเฉลี่ย
หดตัวที่ -37.0% จากช่วงเดียวกันปีก่อน

EIC มองว่า ภาคการท่องเที่ยวไทยผ่านพ้นจุดต่ำสุดมาแล้ว แต่การฟื้นตัวของการท่องเที่ยวในประเทศยังไม่ครอบคลุม โดยจังหวัดที่มีการฟื้นตัวได้ดีกว่าค่าเฉลี่ยมักเป็นจังหวัดยอดนิยม เช่น เชียงใหม่ เพชรบุรี ชลบุรี ฯลฯ

โดยในช่วงต้นไตรมาสที่ 4 ทิศทางการฟื้นตัวของจังหวัดท่องเที่ยวที่ “ไกลจากกรุงเทพฯ” เริ่มปรับดีขึ้น หลังนักท่องเที่ยว
เริ่มมีความเชื่อมั่นในการโดยสารด้วยเครื่องบินมากขึ้น โดยมองว่า ต้นไตรมาสที่ 4 เห็นทิศทางการฟื้นตัวของจังหวัดท่องเที่ยวที่ไกลจากกรุงเทพฯ เริ่มปรับดีขึ้น

ส่วนกรณี “สมุทรสาคร” ส่งผลโดยตรงต่อการท่องเที่ยวช่วงปลายปี และกระทบความเชื่อมั่นของประชาชนต่อการควบคุมโรคของภาครัฐเริ่มลดลง ซึ่งหลายส่วนประกาศงดกิจกรรมต่างๆ ในช่วงปลายปี เเละการพบผู้ติดเชื้อที่กระจายอยู่ในหลายจังหวัดอาจส่งผลให้ประชาชนบางส่วนตัดสินใจเลื่อนทริปท่องเที่ยวช่วงปลายปี จากความกังวลต่อการแพร่ระบาดในสถานที่ต่างๆ และการขาดความมั่นใจในการเดินทางด้วยเครื่องบินและการขนส่งสาธารณะภาคพื้นดิน

ที่มา : SCB EIC

จับตา “ท่องเที่ยวไทย” ปีหน้า 

EIC มองว่าธุรกิจการท่องเที่ยวของไทย ในปี 2564 ยังมีอีกหลายความท้าทาย ตามปัจจัยต่อไปนี้

  • ความเสี่ยงของการแพร่ระบาดของ COVID-19 

ประเมินว่ากลุ่มประเทศพัฒนาแล้วจะได้รับวัคซีนเป็นวงกว้างและเข้าสู่ภาวะภูมิคุ้มกันหมู่ (Herd immunity) ได้ในช่วงครึ่งแรกของปี 2564 “ไทยน่าจะมีการเริ่มฉีดในช่วงกลางปีหน้า และจะเข้าสู่ภาวะคุ้มกันหมู่
ได้ภายในครึ่งแรกของปี 2565”

EIC มองว่า ถึงแม้จะต้องใช้เวลา
อีกระยะหนึ่งกว่าที่ไทยจะได้รับวัคซีน แต่ภาครัฐและผู้ประกอบการธุรกิจการท่องเที่ยวก็ควรมีการเตรียมพร้อมสำหรับการรับนักท่องเที่ยวต่างชาติตั้งแต่เนิ่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นการวางแผนจัดสรรวัคซีนให้ทั่วถึงแก่บุคลากร
ภาคการท่องเที่ยว การประชาสัมพันธ์เพื่อเชิญชวนและสร้างความเชื่อมั่น รวมถึงการวางระบบตรวจสอบข้อมูล
ด้านสุขอนามัย และข้อมูลการฉีดวัคซีนที่อาจจำเป็นมากขึ้นในการท่องเที่ยวในช่วงหลังจากนี้

  • กำลังซื้อของนักท่องเที่ยวที่ซบเซา

เป็นปัจจัยที่เกิดจากผลกระทบของเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา ทำให้มาตรการกระตุ้นจากภาครัฐจะเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญในการประคับประคองการใช้จ่ายด้านการท่องเที่ยวไปอีกระยะหนึ่ง 
การขยายระยะเวลาของ “เราเที่ยวด้วยกัน” หรือการออกแคมเปญกระตุ้นการท่องเที่ยวใหม่ ๆ จึงมีส่วนสำคัญสำหรับการท่องเที่ยวในช่วงต้นปีหน้า ภายใต้สมมติฐานว่า ไทยจะสามารถควบคุมการระบาดระลอกใหม่นี้ได้

  • การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของนักท่องเที่ยว 

ต้องระมัดระวังเรื่องสุขอนามัยที่เพิ่มมากขึ้น การหลีกเลี่ยงสถานที่ที่แออัด การมองหาโปรโมชันที่จูงใจ คุ้มค่ากับราคาในภาวะที่กำลังซื้อมีจำกัด

  • การแข่งขันระหว่างธุรกิจท่องเที่ยวด้วยกันที่รุนแรงมากขึ้น

เกิดการเเข่งขันดุเดือด ทั้งในด้านการลดราคาและการนำเสนอโปรโมชัน
จูงใจต่าง ๆ ที่น่าจะยังมีอยู่ต่อไปในภาวะที่อุปสงค์การเข้าพักต่ำลงจากการหายไปของนักท่องเที่ยวต่างชาติ ในขณะที่อุปทานห้องพักมีเท่าเดิม จนกว่าจะเริ่มมีปัจจัยสนับสนุนด้านความต้องการเข้าพักจากกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติกลับมา

อ่านเพิ่มเติม : Travel Bubble ความหวังใหม่กระตุ้นท่องเที่ยว “ฮ่องกง-สิงคโปร์” สะดุด ต้องเลื่อนยาวไป “ปีหน้า”

 

 

]]>
1312134
“ไมเนอร์ โฮเทลส์” เร่งเดินเกมกระตุ้นไทยเที่ยวไทย หลังไตรมาสแรกขาดทุน 1,700 ล้าน https://positioningmag.com/1287841 Wed, 15 Jul 2020 09:09:19 +0000 https://positioningmag.com/?p=1287841 ธุรกิจท่องเที่ยวเเละโรงเเรม เป็นภาคอุตสาหกรรมลำดับต้นๆ ที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ขั้นรุนเเรงทั่วโลก หลายเเห่งต้องปลดพนักงาน บางเเห่งถึงขั้นต้องปิดกิจการเพราะไม่มีเงินทุนสำรองที่เพียงพอ

ในช่วงครึ่งปีหลัง 2563 เราเริ่มเห็นสัญญาณการฟื้นตัวของธุรกิจท่องเที่ยว หลังมีการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ ผู้คนเริ่มหันมาท่องที่ยวในประเทศมากขึ้น จุดนี้ทำให้ยักษ์ใหญ่ของวงการอย่างไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนลหรือ MINT เริ่มเดินเกม ปรับเเผนกลยุทธ์เพื่อฟื้นฟูธุรกิจเเละกระตุ้นการท่องเที่ยว โดยเน้นไทยเที่ยวไทย เป็นหลัก

ธุรกิจในเครือไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล เเบ่งเป็น 3 กลุ่มหลัก คือ ธุรกิจโรงแรม ธุรกิจอาหาร และธุรกิจไลฟ์สไตล์ ล้วนได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ทั้งสิ้น เห็นได้ชัดจากไตรมาสแรกของปีนี้ ไมเนอร์ขาดทุนกว่า 1,700 ล้านบาท นับเป็นขาดทุนครั้งเเรกตั้งแต่ดำเนินงานมากว่า 20 ปี

ไมเนอร์ ประกอบกิจการในกว่า 60 ประเทศทั่วโลก มีพนักงานทั้งหมดกว่า 7.9 หมื่นคน โดยมีพอร์ตรายได้ของบริษัทมาจากต่างประเทศ 73% อีก 27% เป็นรายได้ในไทย ขณะที่สัดส่วนรายได้แบ่งตามประเภทกิจการ ได้แก่ ธุรกิจโรงแรม 70% ธุรกิจร้านอาหาร 25% และธุรกิจไลฟ์สไตล์ 5%

เมื่อเจาะลงไปในธุรกิจโรงเเรมของไมเนอร์ ปัจจุบัน มีเครือโรงแรมอยู่ 535 แห่งใน 57 ประเทศทั่วโลก มีห้องพักกว่า 80,000 ห้อง ภายใต้ 8 เเบรนด์หลัก ยกตัวอย่างเช่นอนันตราและอวานีเเละโรงเเรม NH Hotels ในโซนยุโรป โดยช่วงมาตรการล็อกดาวน์ส่งผลให้ต้องปิดให้บริการโรงแรมในเครือชั่วคราวกว่า 75% ทั่วโลก ซึ่งกระทบต่อรายได้ตลอดทั้งปีของกลุ่มให้ลดลงอย่างแน่นอน

หลังจากช่วงปลายเดือนพฤษภาคมเป็นต้นมา โรงเเรมในเครือไมเนอร์เริ่มทยอยเปิดให้บริการเเล้ว โดย ณ ตอนนี้โรงเเรมในเครือสามารถกลับมาเปิดได้แล้วราว 60% 

ไม่หวั่นระบาดรอบ 2 ลุ้นเเพ็กเกจกระตุ้นเที่ยวไทย 

โทมัส ไมเออร์ รองประธานอาวุโสฝ่ายปฏิบัติการ (เอเชีย) ของกลุ่ม ไมเนอร์ โฮเทลส์ ในเครือ MINT อัพเดตธุรกิจโรงแรมในไทยว่า คนไทยเริ่มทยอยกลับมาท่องเที่ยวอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะในช่วงวันหยุด เเต่ช่วงวันธรรมดายังมีอัตราการเข้าพักที่ต่ำมาก

อย่างไรก็ตาม เริ่มมองเห็นสัญญาณบวกของตลาดการท่องเที่ยวภายในประเทศมากขึ้น บริษัทจึงได้ทยอยกลับมาเปิดให้บริการโรงแรมต่างๆ เพื่อสร้างรายได้อีกครั้ง โดยในไทยได้กลับมาเปิดให้บริการกว่า 18 แห่งจากทั้งหมด 29 แห่งแล้ว และคาดว่าจะกลับมาเปิดให้บริการได้อีกครั้งเร็ว ๆ นี้

เมื่อผู้คนไม่สามารถเดินทางต่างประเทศได้ จึงกลายมาเป็นเทรนด์การท่องเที่ยวในประเทศเเทน โดยไมเนอร์ได้เร่งเเผนโปรโมตเเบรนด์ เเละออกเเคมเปญโปรโมชั่นเพื่อดึงดูดลูกค้าในประเทศ ซึ่งจะเป็นกลยุทธ์ที่ไมเนอร์จะมุ่งเน้นไปในปีนี้ 

โดยมีการยกระดับมาตรฐานความปลอดภัย สร้างความสบายใจในการเข้าพัก ซึ่งได้ทำงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญ ทั้งหน่วยงานในไทยและต่างประเทศ เช่น เครือโรงแรมอนันตรา ได้กำหนดมาตรฐาน “พักอย่างสบายใจ(Stay with Peace of Mind) ตั้งแต่การเว้นระยะห่าง ตรวจเช็กอุณหภูมิ การฆ่าเชื้อในพื้นที่ต่างๆ ของโรงแรม รวมถึงสัมภาระของแขกก่อนที่จะจัดส่งถึงมือผู้เข้าพัก

ส่วนเครือโรงแรมอวานี ได้กำหนดมาตรฐานภายใต้ชื่อ “อวานี ชิลด์(AvaniSHIELD) โดยจะเน้นไปที่การให้บริการแบบไร้สัมผัส ใช้แอปพลิเคชันเข้ามาให้บริการแทนเพื่ออำนวยความสะดวกตั้งแต่การเช็กอิน ไปจนถึงเช็กเอาต์ออกจากโรงแรม รวมถึงชำระค่าบริการและรับใบเสร็จรับเงินผ่านทางระบบออนไลน์ด้วย

สำหรับโปรโมชั่นที่จะนำมากระตุ้นท่องเที่ยวไทย ไมเนอร์ได้เข้าร่วมมาตรการกระตุ้นกับโครงการ เราเที่ยวด้วยกันที่เปิดให้ลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ www.เราเที่ยวด้วยกัน.com ตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคมนี้ โดยนักท่องเที่ยวจะสามารถรับสิทธิ์ส่วนลดที่พัก 40% หรือสูงสุดไม่เกิน 3,000 บาทต่อห้องต่อคืน สูงสุด 5 ห้อง หรือ 5 คืน รวมถึงคูปองมูลค่า 600 บาท ต่อวันเพื่อใช้เป็นส่วนลดค่าอาหารและค่าเข้าชมสถานที่ท่องเที่ยวที่ร่วมรายการ และสิทธิ์ค่าตั๋วเครื่องบินในประเทศไม่เกินใบละ 1,000 บาท สามารถใช้สิทธิ์เดินทางท่องเที่ยวตั้งแต่ 18 กรกฎาคม-31 ตุลาคม 2563

รวมถึงการเปิดตัวบริการใหม่ๆ ทั้ง Loy Pela เป็นบริการล่องเรือแบบค้างคืน และ Manohra Cruises บริการล่องเรือ พร้อมบริการอาหารมื้อค่ำในแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อเจาะกลุ่มลูกค้าคนไทยโดยเฉพาะ

เรามองว่าเเพ็กเกจกระตุ้นท่องเที่ยวของรัฐครั้งนี้ จะช่วยกระตุ้นภาคการท่องเที่ยวในครึ่งปีหลังได้อย่างมาก ซึ่งจะช่วยให้อัตราการเข้าพักของเราปรับตัวดีขึ้น

โทมัส ไมเออร์ รองประธานอาวุโสฝ่ายปฏิบัติการ (เอเชีย) ของกลุ่ม ไมเนอร์ โฮเทลส์ ในเครือ MINT

ขณะเดียวกัน ประชาชนยังคงมีความกังวลว่าจะเกิดการเเพร่ระบาดระลอก 2 ในไทยหรือไม่นั้น ผู้บริหาร Minor Hotels ตอบว่า ทางโรงเเรมมีการยกระดับความปลอดภัยให้มากยิ่งขึ้น พร้อมติดตามสถานการณ์กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด เเละหวังว่าการสร้างความมั่นใจให้ลูกค้าจะยังคงดึงดูดให้ผู้คนท่องเที่ยวมากขึ้นได้

ปัจจุบันมีโรงแรมในเครือไมเนอร์ 3 แห่ง คือ อนันตรา สยาม, อนันตรา ริเวอร์ไซด์ และ อนันตรา ไม้ขาว ภูเก็ต ที่เปิดให้เป็นสถานที่กักตัวทางเลือก (Alternative State Quarantine) สำหรับผู้เดินทางกลับจากต่างประเทศ โดยได้ร่วมมือกับโรงพยาบาลตามมาตรฐานกระทรวงสาธารณสุข มีการแยกโซนชัดเจนกับห้องพักปกติ มีอัตราการเข้าพัก 50-60%

ขยายหารายได้ใหม่ รอ Travel Bubble 

ในช่วงที่ผ่านมา ธุรกิจโรงเเรมจะขาดรายได้จากการประชุม จัดเลี้ยงเเละงานสัมมนาไปอย่างมาก เเต่ในช่วงครึ่งปีหลังนี้จะเริ่มเห็นสัญญาณที่ดีขึ้น โดยไมเนอร์จะหันมามุ่งตลาด “MICE” มากยิ่งขึ้น พร้อมกับความช่วยเหลือของภาครัฐกำลังศึกษาแนวทางสนับสนุนด้านภาษี โดยให้องค์กรหรือหน่วยงานต่างๆ ที่จัดงานในโรงเเรมสามารถนำไปลดภาษีได้เท่าตัว ซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างการรอความชัดเจน

นอกจากนี้ ยังต้องรอดูความเคลื่อนไหวของรัฐบาลในการทำ Travel Bubble กับประเทศต่างๆ ซึ่งหวังว่าจะช่วยดึงนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาได้อีกทาง เเละมองว่าการท่องเที่ยวในไทยจะกลับมาฟื้นตัวอย่างเเน่นอน ก่อนขยายไปในภูมิภาคเเละการท่องเที่ยวข้ามทวีปในช่วงปีหน้า

เเม้ Minor Hotels จะได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 อย่างหนัก เเต่ยังคงจะเดินหน้าโครงการต่างๆ ทั้งส่วนโรงแรม โรงเรียนการโรงแรม และศูนย์ดูแลสุขภาพ ต่อไป ซึ่งจะเป็นเเหล่งรายได้อีกทาง

สำหรับโครงการ ศูนย์ดูเเลสุขภาพ (Wellness Center) ไมเนอร์ ร่วมกับเวอริตา เฮลท์แคร์ กรุ๊ป เตรียมเปิดศูนย์บริการสุขภาพเวอริตาในพื้นที่โรงแรมอนันตารา สยาม และอนันตารา ริเวอร์ไซด์ กรุงเทพฯ ซึ่งเตรียมจะเปิดตัวในช่วงไตรมาสเเรก เเต่ต้องชะลอไปก่อนหลังมีการระบาด ซึ่งยืนยันว่าจะสามารถเปิดบริการได้ภายในปีนี้

นอกจากนี้ ยังมีโครงการ VLCC ในพื้นที่โรงแรมอนันตารา หัวหินและโครงการ Clinique La Prairie ในพื้นที่โรงแรมเซนต์รีจิสรวมอยู่ในเเผนการดังกล่าวด้วย

ส่วนธุรกิจใหม่ที่จะเปิดให้บริการในเดือนตุลาคมนี้ คือ สถาบันการศึกษาการโรงแรม AIHM หรือ Asian Institute of Hospitality Management ภายใต้ความร่วมมือด้านวิชาการกับเลส์โรชส์โกลบอลฮอสปิตอลลิตี้เอ็ดดูเคชั่น ซึ่งเป็นสถาบันอุดมศึกษาเอกชนด้านการบริหารจัดการธุรกิจบริการที่ระดับโลก โดยจะเปิดสอน 2 วิทยาเขตในกรุงเทพฯ และพัทยา รองรับทั้งคนไทยและเอเชีย คาดว่าปีหน้าจะมีมีนักศึกษา 150 คน

ลดต้นทุน-ระดมทุน รับมือ COVID-19 ยืดเยื้อ

เมื่อรายได้จากห้องพักยังไม่กลับสู่ภาวะปกติ ไมเนอร์จึงมีการปรับองค์กรครั้งใหญ่ รวมถึงต้องสร้างแหล่งรายได้ใหม่นอกเหนือจากห้องพัก เช่นเปิดร้านอาหาร เบเกอรี่เเละคาเฟ่

นอกจากนี้ ยังมีการดำเนินเเผนลดต้นทุน ผ่าน 3 วิธีการ ได้เเก่ 1) การปรับลดพนักงาน ซึ่งบริษัทจ้างพนักงานพาร์ตไทม์ค่อนข้างเยอะ โดยเฉพาะไมเนอร์ฟู้ดกว่า 60% เป็นพนักงานพาร์ตไทม์ ดังนั้นจึงลดในส่วนนี้ได้ค่อนข้างมากเเละมีความยืดหยุ่น 2)เจรจาขอลดหรือเลื่อนจ่ายค่าเช่าพื้นที่ร้านอาหารและโรงแรม และ 3)การเจรจากับคู่ค้าเพื่อขอปรับเงื่อนไขการชำระเงินรวมถึงส่วนลด

ชัยพัฒน์ ไพฑูรย์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายพัฒนาเชิงกลยุทธ์ MINT ให้สัมภาษณ์กับ Positioning ว่าไมเนอร์สามารถลดค่าใช้จ่ายได้ค่อนข้างเยอะ มากกว่า 25-30% จากที่เราเคยจ่ายไปในปีที่เเล้ว ทำให้เราถึง Breakeven Point หรือจุดคุ้มทุนได้เร็วขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ในธุรกิจโรงเเรมเเต่ก่อนต้องมีอัตราเข้าพักถึง 50-60% กว่าถึงจะถึงจุดคุ้มทุน เเต่พอองค์กรคล่องตัวมากขึ้น มีวิธีการทำงานที่รวดเร็วเเละต้นทุนต่ำลง เราก็ลดจุดคุ้มทุนลงเหลือเเค่ 30-40% ของอัตราเข้าพักเท่านั้น

ก่อนหน้านี้ ไมเนอร์ได้ประกาศแผนระดมทุนแบบเบ็ดเสร็จ 25,000 ล้านบาท เพื่อเตรียมตัวรับมือกับความไม่เเน่นอน หากมีการระบาดของ COVID-19 รอบสองเเละยืดเยื้อกว่าที่คาด ซึ่งประเมินเเล้วว่าสามารถรับมือหากเกิดสถานการณ์เลวร้ายในช่วงครึ่งปีหลังได้เเน่นอน

 

 

]]>
1287841
ไขข้อสงสัย www.เราเที่ยวด้วยกัน.com สำหรับผู้ประกอบการ-ประชาชน-แอปฯ เป๋าตังรับส่วนลด https://positioningmag.com/1286445 Fri, 03 Jul 2020 08:48:15 +0000 https://positioningmag.com/?p=1286445 มาเเล้วกับมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวในประเทศ หลัง COVID-19 ผ่าน 3 โครงการ รวมวงเงิน 22,400 ล้านบาท ได้แก่ ท่องเที่ยวปันสุข เราเที่ยวไปด้วยกัน ท่องเที่ยวกำลังใจ ที่จะดำเนินการได้ในเดือนกรกฎาคมตุลาคมนี้ 

ล่าสุดรัฐบาลเปิดลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ www.เราเที่ยวด้วยกัน.com ให้โรงแรม ที่พัก ร้านอาหาร และสถานที่ท่องเที่ยวแล้ว ตั้งเเต่วันที่ 1 .. ที่ผ่านมา ขณะที่ประชาชนทั่วไป รอลงทะเบียนในวันที่ 15 ..นี้ ผู้สนใจต้องดาวน์โหลดเเอปพลิเคชันเป๋าตังรอไว้ เพื่อใช้จ่ายค่าที่พัก เช็กอิน รับส่วนลดร้านอาหาร แหล่งท่องเที่ยว แถมขอคืนค่าตั๋วเครื่องบินได้ 40% สูงสุด 1,000 บาทต่อที่นั่ง มีแค่ 2 ล้านสิทธิเท่านั้น

วันนี้ Positioning รวบรวมข้อสงสัย คำถามที่พบบ่อย “เราเที่ยวด้วยกัน” ทั้งฝั่งผู้ประกอบการร้านค้า โรงเเรม สถานที่ท่องเที่ยว ประชาชนทั่วไปเเละการใช้เป๋าตังเป็นข้อควรรู้ก่อนลงทะเบียน มาให้อ่านก่อน…

ผู้ประกอบการ ร้านอาหาร-สถานที่ท่องเที่ยว

1. ผู้ประกอบการร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ที่สนใจเข้าร่วมโครงการต้องทำอย่างไร

คำตอบ: มีบัญชีธนาคารกรุงไทย

  • สมัครใช้บริการแอปพลิเคชันถุงเงิน
  • ลงทะเบียนสมัครเข้าร่วมโครงการที่ เราเที่ยวด้วยกัน.com
  • กรณีประสงค์ใช้แอปพลิเคชันถุงเงินรับชำระเงินด้วยบัตรเครดิต สามารถยื่นความประสงค์ได้
  • กรณีผู้ประกอบการโรงแรม/ที่พัก สมัครใช้บริการระบบชำระเงินออนไลน์ (Payment Service Provider) หรือผู้ให้บริการ Online Travel Agency กับผู้ให้บริการที่เข้าร่วมโครงการฯ

2. ผู้ประกอบการร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ที่มีหลายสาขาต้องลงทะเบียนแยกเป็นรายสาขาหรือไม่

คำตอบ: การลงทะเบียนผู้ประกอบการต้องมีหมายเลข TAX ID และบัญชีรับเงินในการลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการและสมัครแอปพลิเคชันถุงเงิน กรณีมีสาขามากกว่า 1 สาขา ไม่จำเป็นต้องลงทะเบียนแยกสาขา

 

3.ผู้ประกอบการ ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว จะได้สิทธิประโยชน์อะไรบ้าง เมื่อเข้าร่วมโครงการ

คำตอบ:

  • ได้เพิ่มช่องทางประชาสัมพันธ์กิจการผ่านทางเว็บไซต์ เราเที่ยวด้วยกัน.com
  • มีรายได้เพิ่มมากขึ้นจากการสนับสนุนของภาครัฐให้ประชาชนออกมาท่องเที่ยวแบบ New Normal

4.ผู้ประกอบการที่มาลงทะเบียน จะทราบผลการลงทะเบียนจากช่องทางใด

คำตอบ: ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ที่ผ่านเกณฑ์และไม่ผ่านเกณฑ์เข้าร่วมโครงการฯ จะได้รับ SMS แจ้งผลจากชื่อผู้ส่ง “TTogether”

5. ผู้ลงทะเบียนต้องเป็นเจ้าของกิจการเท่านั้นหรือไม่

คำตอบ: ผู้ที่ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการผ่านเว็บไซด์ ต้องเป็นเจ้าของกิจการ หรือผู้ได้รับมอบอำนาจจากเจ้าของกิจการ ให้ทำการลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการฯ โดยยืนยันตัวตนด้วยเบอร์โทรศัพท์มือถือ ผ่านรหัส OTP ที่ทำการลงทะเบียน

6.ผู้ประกอบการร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ที่มีหมายเลขประจำตัวผู้เสียภาษี (TAX ID) 1 หมายเลข สามารถลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการได้กี่ครั้ง

คำตอบ: สามารถลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการได้ครั้งเดียว และเมื่อลงทะเบียนสำเร็จจะไม่สามารถลงทะเบียนซ้ำได้

7. โรงเเรมในเครือสามารถลงทะเบียนได้เองหรือไม่ 

  • กรณีที่มีหมายเลข TAX ID และบัญชีกรุงไทย เฉพาะสาขา สามารถเลือกลงทะเบียนแยกได้
  • กรณีที่ไม่มีหมายเลข TAX ID และบัญชีกรุงไทย เฉพาะสาขา โรงแรมสามารถเลือกลงทะเบียนครั้งเดียวได้ และเพิ่มสาขาในระบบจัดการข้อมูลกิจการโดยเพิ่มหมายเลขโทรศัพท์มือถือแต่ละสาขาในการใช้ระบบแอปพลิเคชันถุงเงิน

สำหรับประชาชน 

  • มีบัตรประจำตัวประชาชนและเป็นบุคคลสัญชาติไทย
  • อายุตั้งแต่ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ณ วันที่ลงทะเบียน
    * ประชาชนจะได้รับสิทธิเมื่อท่องเที่ยว กิน และนอน ในจังหวัดที่ไม่ใช่ทะเบียนบ้านของตนเอง

1.การใช้สิทธิสามารถใช้สิทธิได้ทุกจังหวัดยกเว้นจังหวัดตามทะเบียนบ้านใช่หรือไม่

คำตอบ : ประชาชนที่ลงทะเบียนรับสิทธิ สามารถเดินทางท่องเที่ยวทุกจังหวัด ยกเว้นจังหวัดตามทะเบียนบ้านตนเอง

2. สิทธิส่วนลดค่าที่พัก (40%) และสิทธิใช้จ่ายซื้อของจากร้านอาหาร/สถานที่ท่องเที่ยว (600 บาท/วัน) มีกําหนดระยะเวลาหรือไม่ว่าหมด อายุภายในกี่วัน

คำตอบ: บัตรกำนัลส่วนลดโรงแรมและอาหาร/สถานที่ท่องเที่ยวจะมีอายุการใช้งานถึง 23.59 น. ของวันที่จอง เช็กเอาต์ ที่พัก

3. สิทธิต่อประชาชน 1 คน สามารถจองห้องพักได้ครั้งละกี่ห้อง มีจํากัดหรือไม่

คำตอบ: ประชาชนมีสิทธิ 1 คนต่อ 5 ห้อง/คืน ซึ่งสามารถจองกี่ครั้งก็ได้ แต่ใช้สิทธิส่วนลดห้องพักได้ไม่เกิน 5 ห้องคืน

4. สิทธิใช้จ่ายซื้อของจากร้านค้า (600 บาท/วัน) สามารถกดออกมาเป็นเงินสดหรือโอนเข้าบัญชีได้หรือไม่

คำตอบ: บัตรกำนัลส่วนลดอาหารไม่สามารถโอนออกหรือใช้เป็นเงินสดได้

5. กรณีประชาชนผู้เข้าร่วมโครงการ จ่ายชําระค่าจองที่พัก (60%) แล้วมีการยกเลิกการจอง จะต้องแจ้งอะไรกับทางภาครัฐหรือไม่ สิทธิยังคงไปใช้จองที่ใหม่ได้อีกหรือไม่

คำตอบ: ตามเงื่อนไขของโครงการ เมื่อทำการจองที่พักและชำระเงินส่วน 60% แล้วจะไม่สามารถยกเลิกและเปลี่ยนการจองได้

6. ประชาชนที่ได้รับสิทธิเข้าร่วมโครงการฯ จะสามารถจองโรงแรมผ่านช่องทางใดได้บ้าง

คำตอบ:

  • Online Travel Agency (OTA) ได้แก่ Agoda , Traveloka
  • Website โรงแรมที่เข้าร่วมโครงการ (ถ้ามี)
  • www.เราเที่ยวด้วยกัน.com โดยไปที่ค้นหากิจการโรงแรม
  • ช่องทางติดต่ออื่นๆ ที่โรงแรมมี เช่น Line , Facebook , เบอร์โทรศัพท์

7. ช่องทางการลงทะเบียนสามารถลงทะเบียนผ่านช่องทางไหนบ้าง และจํากัดจํานวนผู้ลงทะเบียนหรือไม่ 

คำตอบ: ประชาชนและร้านค้า สามารถลงทะเบียนเข้าร่วมมาตรการ ที่ www.เราเที่ยวด้วยกัน.com เท่านั้น ไม่จำกัดจำนวนผู้ลงทะเบียน

8. จะตรวจสอบผลการลงทะเบียนอย่างไรและทําการแจ้งผลผ่านช่องทางไหน หากไม่มี e-mail สามารถลงทะเบียนได้ไหม 

คำตอบ: สามารถตรวจสอบผลการลงทะเบียนได้จาก sms ระบบจะส่ง sms แจ้งผลจากชื่อผู้ส่ง “TTogether” แจ้งไปยังเบอร์ที่รับรหัส OTP

นักท่องเที่ยวไทยพร้อมกลับมาเที่ยวในประเทศเร็วๆ นี้ (Photo by Thanakorn Phanthura from Pexels)

คำถามเกี่ยวกับ “แอปฯ เป๋าตัง”

1. กรณีที่มี แอปฯ เป๋าตัง อยู่แล้ว จะต้องลงทะเบียนใหม่หรือไม่

คำตอบ: ประชาชนที่ประสงค์เข้าร่วมโครงการฯ ต้องลงทะเบียนรับสิทธิที่ www.เราเที่ยวด้วยกัน.com ก่อนจึงจะสามารถใช้สิทธิบนแอปฯ เป๋าตังได้

2. กรณีที่เดิมเคยใช้ แอปฯ เป๋าตัง แต่ปัจจุบันไม่ได้ใช้เบอร์โทรศัพท์เบอร์เดิมแล้ว จะเข้าใช้งาน แอปฯ เป๋าตัง ได้อย่างไร

คำตอบ:สามารถแก้ไขปัญหา ได้ 3 วิธี ได้แก่

  • สามารถเข้าใช้งานด้วยการผูกบัญชีกรุงไทย
  • สามารถเข้าใช้งาน G-wallet ด้วยการรับรหัส OTP จากเบอร์ที่ลงทะเบียนโครงการเราเที่ยวด้วยกัน เพื่อยืนยันตัวตน
  • ติดต่อเบอร์ 02-111-1144 หรือสาขาธนาคารกรุงไทยทั่วประเทศ

3. เมื่อจองโรงแรมเรียบร้อยแล้ว จะทราบได้อย่างไรว่าได้รับการยืนยันจากโรงแรม

คำตอบ: สามารถตรวจสอบผลยืนยันการจองโรงแรมที่แอปฯ เป๋าตัง จากการแจ้งเตือนบนแอปฯ ซึ่งประชาชนสามารถทำการตรวจสอบรายละเอียดส่วนลดจากสิทธิที่ได้รับ และชำระเงินได้ที่ Payment Link บนแอปฯ

4. จะทราบได้อย่างไร ว่า E-voucher โรงแรมที่จองสามารถใช้งานได้ในวันไหน

คำตอบ: สามารถทราบได้หลังจากที่ประชาชนชำระเงินส่วน 60% ที่จองโรงแรมสำเร็จ และตรวจสอบ E-voucher บนแอปฯ เป๋าตัง ที่เมนู G-wallet

5. ประชาชนจะได้รับบัตรกำนัล ส่วนลดค่าอาหารและสถานที่ท่องเที่ยวอย่างไร

คำตอบ: ประชาชน ต้องทำการจองโรงแรมพร้อมชำระเงินส่วน 60% สำเร็จ และเดินทางไปเข้าพักที่โรงแรม เมื่อทำการเช็กอิน ที่พักเรียบร้อย ระบบจะแสดงคูปองส่วนลดอาหาร/ท่องเที่ยว บนแอปฯ เป๋าตังให้ใช้งานเวลา 17.00 น. ในวันเช็กอิน

6. คูปองอาหารมีวันหมดอายุหรือไม่

คำตอบ: คูปองส่วนลดค่าอาหาร/สถานที่ท่องเที่ยว จะมีอายุการใช้งานถึงวันเช็กเอาต์ก่อนเที่ยงคืน

7. E-Voucher โรงแรมที่ได้รับ สามารถเปลี่ยนแปลงวันเข้าพัก หรือ ยกเลิกได้หรือไม่

คำตอบ: ผู้ที่ได้รับสิทธิส่วนลดโรงแรมเรียบร้อยแล้วจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงวันเข้าพัก หรือ ยกเลิกการจองได้

8. หลังจากที่โรงแรมส่ง Payment Link เพื่อยืนยันการจอง ประชาชนต้องเข้าไปชำระเงินภายในกี่วัน

คำตอบ: ประชาชนที่ได้รับ Payment Link บนแอปฯ เป๋าตัง สามารถชำระเงินเพื่อยืนยันการจองได้ภายในวันถัดไป (T+1)

9. E-Voucher ที่ได้รับจากการจองโรงแรม จะมีหมดอายุวันไหน

คำตอบ: ส่วนลดค่าโรงแรมจะหมดอายุ ตามวันที่จองที่พัก

 

 

]]>
1286445
เจอกันหลัง COVID-19 เปิดลิสต์ “เมืองท่องเที่ยว” ที่คนไทยอยากไปมากที่สุด เมื่อพ้นวิกฤต https://positioningmag.com/1279449 Tue, 19 May 2020 11:52:21 +0000 https://positioningmag.com/?p=1279449 เชื่อว่าหลายคนกำลังเฝ้ารอคอยจะได้ไปท่องเที่ยว จดลิสต์สถานที่ต่าง ๆ เก็บไว้ เมื่อผ่านพ้นวิกฤตการเเพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 เเล้วก็หวังจะเดินทางไปเยี่ยมชมให้ได้

เจาะลึกลงในอันดับ Wish-list หรือรายการที่พักโปรดนับล้านแห่งบนจุดหมายปลายทางกว่า 100,000 แห่ง ที่รวบรวมข้อมูลจากนักท่องเที่ยวที่หวังจะได้ท่องเที่ยวอีกครั้งบนแพลตฟอร์มของ Booking.com ตลอดช่วง 2 เดือนที่ผ่านมาเริ่มตั้งแต่เดือน มี.ค. เผยให้เห็นจุดหมายปลายทางและที่พักที่ผู้คนตั้งตาคอยเมื่อสามารถเดินทางท่องเที่ยวได้อีกครั้ง

ที่เห็นได้ชัดคือ การท่องเที่ยวในฝันของคนทั่วโลก เปลี่ยนมาเน้นที่การเดินทาง “ภายในประเทศ” มากขึ้น เมื่อเทียบกับ Wish-list ของที่พักในประเทศที่เพิ่มมากขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว

แหล่งท่องเที่ยวในเมืองและติดชายหาด อย่างกรุงเทพฯ, หัวหิน, เชียงใหม่, เกาะช้าง และหาดจอมเทียนติดอันดับ Wish-list จุดหมายปลายทางของชาวไทยระหว่างช่วงกักตัว

โดยคนไทยอยากจะพัก “โรงเเรม” มากที่สุดบน Wish-list สูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกเล็กน้อย ขณะที่ 1 ใน 5 นักท่องเที่ยวชาวไทยหรือราว 21% ที่ใช้ Booking.com ต้องการเข้าพักในรีสอร์ต สูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ต้องการเข้าพักในรีสอร์ตเพียง 6%

-หัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ Photo : Booking.com

“อยากไปทะเล” คนไทยเลือกเที่ยวในประเทศเพิ่มขึ้น

จุดหมายปลายยอดนิยมในต่างประเทศ เช่น บาหลี, อันดาลูเซีย, ลอนดอน, ฟลอริดา และปารีส ยังคงเป็นเป้าหมายการเดินทางหลักที่สร้างแรงบันดาลใจแก่ผู้คนทั่วโลก

ขณะเดียวกันการท่องเที่ยวภายในประเทศก็ได้รับความนิยมมากขึ้น โดยมีสัดส่วนมากกว่าครึ่ง หรือ 51 % ของ Wish-list ทั่วโลกระหว่างช่วงสถานการณ์ครั้งนี้ เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้วถึง 1 ใน 3 (หรือ 33 %)
สำหรับ Wish-list ของประเทศไทย นักท่องเที่ยวนิยมจุดหมายปลายทางในประเทศสูงถึง 72% ในขณะที่ปี 2562 อยู่ที่เพียง 54 %

โดยตั้งแต่เริ่มเดือน มี.ค. อันดับ Wish-list สำหรับจุดหมายปลายทางยอดนิยมในประเทศของคนไทย ได้แก่ กรุงเทพฯ, หัวหิน, เชียงใหม่, เกาะช้าง และหาดจอมเทียน บ่งชี้ให้เห็นว่าเมืองที่เต็มไปด้วยชีวิตชีวาและวัฒนธรรม ตลอดจนเมืองติดชายหาด เป็นสิ่งแรกที่นักท่องเที่ยวชาวไทยจินตนาการถึงเมื่อต้องกักตัวเป็นเวลาหลายสัปดาห์

Booking.com เผยว่าสิ่งที่อาจทำให้จุดหมายปลายทางเหล่านี้เป็นที่นิยมและดึงดูดนักท่องเที่ยวชาวไทยคือประสบการณ์ความตื่นเต้นต่างๆ ที่ได้จากจุดหมายปลายทางเหล่านี้ไม่ว่าจะเป็น ตลาดกลางคืน อาหารหลากหลายประเภท ตลอดจนกิจกรรมกลางแจ้งต่างๆ ทั้งการดำน้ำหรือขี่ม้า

10 อันดับ จุดหมายปลายทางยอดนิยมในประเทศไทย

1.กรุงเทพฯ
2.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์
3.เชียงใหม่
4.เกาะช้าง จ.ตราด
5.หาดจอมเทียน จ.ชลบุรี
6.เมืองพัทยา จ.ชลบุรี
7.หาดป่าตอง จ.ภูเก็ต
8.ชะอำ จ.เพชรบุรี
9.พัทยาใต้ จ.ชลบุรี
10.อ่าวนาง จ.กระบี่

10 อันดับ จุดหมายปลายทางต่างประเทศยอดนิยมสำหรับคนไทย

1.โตเกียว (ญี่ปุ่น)
2.โซล (เกาหลีใต้)
3.โอซาก้า (ญี่ปุ่น)
4.สิงคโปร์
5.อูบุด-บาหลี (อินโดนีเซีย)
6.ลอนดอน (สหราชอาณาจักร)
7.กัวลาลัมเปอร์ (มาเลเซีย)
8.ไทเป (ไต้หวัน)
9.ปารีส (ฝรั่งเศส)
10.ดานัง (เวียดนาม)

 

ข้อมูลจาก Booking.com ระบุว่า นักท่องเที่ยวชาวไทยเฝ้าใฝ่ฝันที่จะเปลี่ยนบรรยากาศและมีโอกาสที่จะเพลิดเพลินไปกับประสบการณ์การพักผ่อนนอกบ้าน โดยประเภทของห้องพักที่ชาวไทยต้องการเข้าพักมากที่สุดคือ โรงแรมรีสอร์ต อพาร์ตเมนต์ เกสต์เฮาส์ และโฮสเทล ตามลำดับ

โดยโรงแรมมีอัตราส่วนความต้องการเข้าพักสูงถึง 42% ตลอดช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา มากกว่าค่าเฉลี่ยนทั่วโลกที่ 40% เล็กน้อย

สิ่งที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งคือนักท่องเที่ยวชาวไทยชอบเข้าพักในรีสอร์ตมากกว่าค่าเฉลี่ยนักเดินทางทั่วโลก โดยมีนักท่องเที่ยวทั่วโลกเพียง 6% เลือกรีสอร์ตเป็นพักใน Wish-list ในขณะที่นักท่องเที่ยวชาวไทยมากถึง 21% เลือกรีสอร์ตเป็น Wish-list สำหรับ 3 ที่พักได้รับความนิยมสูงสุดในประเทศไทยบน Wish-list ได้แก่

1.The Quarter Ari by UHG
2.Coral Tree Villa Huahin
3.The Yana Villas Hua Hin

ทั้งนี้ ระเบียบวิธีเก็บข้อมูล อ้างอิงจากการเปรียบเทียบข้อมูลใน Booking.com ระหว่างเดือน มี.ค. ถึง เม.ย. 2563 กับเดือนเดียวกันในปี 2562 โดยลูกค้าใน Booking.com เพิ่มที่พักเป็น Wish-list ได้ด้วยการคลิกที่ปุ่ม “หัวใจ” (Heart) ที่มีอยู่บนทุกรายชื่อที่พักบนแพลตฟอร์มของ Booking.com

COVID-19 ฉุด RevPAR ธุรกิจโรงแรมไทยปีนี้ ลดลง 55-65%

จากรายงานของ ศูนย์วิจัย EIC ธนาคารไทยพาณิชย์ คาดการณ์ว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติของไทยในปี 2563 จะหดตัวลง 67% จาก 39.8 ล้านคนในปี 2562 เหลือเพียง 13.1 ล้านคน จากการที่รัฐบาลของหลายประเทศดำเนินมาตรการห้ามประชาชนของตนเองเดินทางออกนอกประเทศ การยกเลิกเที่ยวบินจำนวนมากของสายการบินทั่วโลก

ประกอบกับความกังวลเกี่ยวกับการระบาดของ COVID-19 และด้วยสภาวะเศรษฐกิจโลกเข้าสู่สภาวะถดถอย จนส่งผลกระทบต่อรายได้ของชาวต่างชาติและส่งผลกระทบต่อเนื่องถึงการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยว และในที่สุดแล้วอาจจะเลือกเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศของตนเองหรือในประเทศละแวกใกล้เคียงภายในภูมิภาคของตนเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง

จำนวนนักท่องเที่ยวที่ลดลงดังกล่าว ทำให้ EIC คาดว่า ค่าห้องพักเฉลี่ยต่อห้องพักที่ขายได้ (RevPAR) ของธุรกิจโรงแรมไทยจะลดลง 55-65% ในปี 2563 โดยคาดว่าอัตราการเข้าพัก เฉลี่ยทั่วประเทศของปีนี้ จะลดลงประมาณ 35-40% ในขณะที่ค่าห้องพักเฉลี่ยจะลดลง 20-25% ดังนั้นจึงทำให้โรงแรมเกือบทุกแห่งประสบกับสภาวะขาดทุนจากการดำเนินงานและอาจมีโรงแรมบางแห่งจำเป็นต้องปิดกิจการ โดยเฉพาะโรงแรมขนาดกลางเเละเล็กที่มีเงินทุนไม่มากนัก และไม่สามารถทนต่อสภาวะขาดสภาพคล่องติดต่อกันได้ยาวนานหลายเดือน

 

]]>
1279449
ปิ๊งไอเดีย “SCB Shop Deal” ซื้อ-ขาย ดีลท่องเที่ยวราคาถูก ช่วย SMEs หารายได้ช่วงวิกฤต https://positioningmag.com/1275129 Fri, 24 Apr 2020 07:41:05 +0000 https://positioningmag.com/?p=1275129 ไทยพาณิชย์ ปิ๊งไอเดียช่วย “ธุรกิจท่องเที่ยว” หารายได้ช่วงวิกฤต COVID-19 เปิดตัว SCBShopDeal เว็บไซต์ใช้ฟรี ไม่มีค่าคอมมิชชั่น ศูนย์รวมดีลลดราคากระหน่ำ 30-60% ให้ซื้อล่วงหน้า รอไปเที่ยวหลัง “คลายล็อกดาวน์” ตั้งเป้ายอดขาย 50 ล้านบาท ภายในมิ.ย.นี้ ด้านสภาอุตฯ ท่องเที่ยว มองธุรกิจวูบยาว ผู้ประกอบการเตรียมฟื้นต้นปีหน้า

ชวนคน “ชอบดีล” ช่วย SMEs ไทย

จากสถานการณ์การเเพร่ระบาดของ COVID-19 สะเทือนทุกภาคส่วน ธุรกิจการท่องเที่ยวไทยกระทบหนัก ขายรายได้ เสี่ยงปิดกิจการ จึงต้องพยายามปรับตัวจาก “ออฟไลน์” สู่ “ออนไลน์”

นำมาสู่ความร่วมมือของไทยพาณิชย์ (SCB) การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) และสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) ผุดแนวคิดสร้างช่องทางการขายออนไลน์เพื่อหารายได้ในยามวิกฤต

โดยจะทำหน้าที่เป็นศูนย์รวมดีลส่วนลดพิเศษจากลูกค้าผู้ประกอบการรายย่อยของธนาคาร ในระยะแรกจะเปิดโอกาสให้กับ SMEs ในกลุ่มธุรกิจท่องเที่ยวและกลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวข้อง มีจุดเด่น ดังนี้

  • SMEs จัดแพ็กเกจข้อเสนอขึ้นขายบนเว็บไซต์ได้ โดยไม่มีค่าธรรมเนียม ไม่เรียกเก็บค่าคอมมิชชั่น
  • ใช้งานง่าย เป็นเว็บไซต์ สามารถค้นหาตามหมวดหมู่ เมื่อสนใจดีลไหนสามารถจ่ายเงินได้สะดวกผ่าน
    SCB EASY หรือจ่ายผ่าน QR Code ของแอปพลิเคชันธนาคารอื่นๆ ได้ (ในช่วงเดือน พ.ค.จะมีการให้จ่ายผ่านบัตรเครดิตเเละสามารถใช้เเต้มบัตรเเลกซื้อดีลได้)
  • ผู้ซื้อจะได้รับส่วนลดเป็น Voucher เเละสิทธิพิเศษอื่นๆ ส่งหลักฐานการจองให้ผ่านมือถือ นำไปใช้บริการได้ในภายหลัง “เมื่อพร้อม”
  • มีดีลส่วนลดพิเศษให้สูงสุดตั้งเเต่ 30-60%
  • เว็บไซต์มีความน่าเชื่อถือ เนื่องจากธุรกิจที่มาลงทะเบียนจะต้องผ่านการพิจารณาจาก SCB ททท. เเละ สทท
  • ช่วยสนับสนุนผู้ประกอบการคนไทย ให้มีกระเเสเงินสด เพิ่มสภาพคล่องให้ธุรกิจผ่านพ้นวิกฤตนี้ไปได้

ดร. อารักษ์ สุธีวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอสซีบี เท็นเอกซ์ จำกัด และ ผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ บอกว่า “เเพลตฟอร์ม SCBShopDeal สร้างเสร็จได้ภายใน 3 สัปดาห์เท่านั้น ด้วยความตั้งใจของทีมงานที่ต้องการช่วยเหลือสังคม ด้วยการนำความสามารถด้านเทคโนโลยีที่มีอยู่มาใช้เพื่อ “ช่วยชาติ” และ “ช่วยลูกค้า” โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ประกอบการ SMEs ในกลุ่มอุตสาหกรรมท่องเที่ยวซึ่งได้รับผลกระทบจาก COVID-19 เป็นกลุ่มแรกๆ”

สำหรับการต่อยอด SCBShopDeal เมื่อหลังพ้นวิกฤตครั้งนี้ จะยังคงเป็นเเพลตฟอร์มของคนไทยเพื่อคนไทย เป็นอีกช่องทางการขายออนไลน์ในระยะยาวให้กับผู้ประกอบการ ถือเป็นการพลิกวิกฤตเป็นโอกาสให้ได้เรียนรู้เครื่องมือดิจิทัล รวมถึงจะทำให้เรารู้จักลูกค้า เข้าใจผู้บริโภค ซึ่งในอนาคตจะมีฟีเจอร์อื่นๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าต่อไป

ด้าน อภิพันธ์ เจริญอนุสรณ์ ผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า ผลกระทบจาก COVID-19 ขยายวงกว้างลุกลามไปส่วนของสังคมไทย โดยเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบการ SMEs ที่เป็นกลุ่มลูกค้าเปราะบาง ส่วนธุรกิจธนาคารก็ได้ผลกระทบไม่น้อยเช่นกัน โดย 3 เเนวทางที่ SCB นำมาช่วยเหลือลูกค้าหลักๆ ได้เเก่

  • ช่วยให้ลูกค้า “ตัวเบา” ซึ่งจะออกมาเป็นมาตรการพักชำระหนี้ทั้งต้นทั้งดอก เพิ่มเงินทุนจากซอฟต์โลน
  • ช่วยลดต้นทุน โดยมีการจัดสัมมนา จัดอบรมคอร์สเพื่อนำธุรกิจสู่ออนไลน์ นำดิจิทัลเข้ามาช่วยทำให้มีรายได้
  • ร่วมมือกับ SCB10X ทำโปรเจกต์ดิจิทัลช่วยผู้ประกอบการ อย่างเช่นการเปิดตัว SCBShopDeal
    ที่วางเป้ายอดขายไว้ที่ 50 ล้านบาท ภายใน มิ.ย.นี้ จากนั้นจะมีโปรเจกต์อื่นๆ มีออกมาอีก

“เป้าหมายของธนาคารก็ขึ้นอยู่กับความอยู่รอดของลูกค้า หากสถานการณืดีขึ้น ตัวเลขผู้ติดเชื้อลดลงหรือมีวัคซีนรักษาได้ในต้นปีหน้า ธุรกิจก็จะกลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง ดังนั้นต้องช่วยกันประคับประคองให้ผ่านจุดนี้ไปให้ได้”

Photo : Shutterstock

ท่องเที่ยวซบยาวถึงสิ้นปี รอปลด “ล็อกดาวน์” หนุนไทยเที่ยวไทย

รุจิรัศมิ์ ฉัตรเฉลิมกิจ ผู้อำนวยการฝ่ายสินค้าการท่องเที่ยว การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เปิดเผยถึงสถานการณ์ธุรกิจท่องเที่ยวในเมืองไทยว่า ได้รับผลกระทบหนัก โดยเมื่อช่วงเดือน ม.ค. ยังสามารถรับนักท่องเที่ยวได้ตามปกติ มียอดราว 4 ล้านคน เเต่เริ่มลดลงหนัก ตั้งเเต่ช่วงเดือน ก.พ. ที่ยอดนักท่องเที่ยวหายไปกว่าครึ่งเหลือ 2 ล้านคน เเละเดือน มี.ค.เหลือเเค่ 8 เเสนคน ล่าสุดในเดือน เม.ย.ที่เคยเป็นไฮซีซั่นช่วงสงกรานต์ มีนักท่องเที่ยวในไทยอยู่หลักพันคนเท่านั้น

โดยภารกิจหลักที่ ททท. จะสนับสนุนหลังมีการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์คือส่งเสริม “ไทยเที่ยวไทย” ให้คนไทยที่เคยวางเเผนจะไปเที่ยวต่างประเทศซึ่งมีกว่าปีละ 10 ล้านคน หันมาเที่ยวในประเทศมากขึ้น

“สิ่งที่ธุรกิจท่องเที่ยวต้องเตรียมความพร้อม คือด้านสุขอนามัย รองรับการเปิดเมือง เพื่อให้พร้อมกลับมาทำธุรกิจใหม่ เพิ่มความเชื่อมั่นให้นักท่องเที่ยวว่ามีความปลอดภัย ส่วนนักท่องเที่ยวไทยก็ต้องเตรียมพร้อมไปช่วยจับจ่ายใช้สอยในประเทศ เพื่อให้ธุรกิจกลับมาฟื้นตัวได้อีกครั้ง

ขณะที่ ชัยรัตน์ ไตรรัตนจรัสพร ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย บอกว่า ปัจจุบันมีผู้ประกอบการที่เป็นสมาชิกไม่ต่ำกว่า 5 หมื่นราย มีเเรงงานที่เกี่ยวข้องไม่น้อยกว่า 4 ล้านรายซึ่งกำลังได้รับผลกระทบอย่างหนักเนื่องจากไทยเคยมีนักท่องเที่ยวมาเยือนกว่า 40 ล้านคนต่อปี เงินสะพัด 2 ล้านล้านบาท เเต่ตอนนี้ “หายหมด”

“เเม้จะเคยมองว่าสถานการณ์ดีขึ้นช่วงเดือน 6-7 เเต่เมื่อรุนเเรงขึ้นก็คาดว่าจะลากยาวไปถึงสิ้นปี การฟื้นฟูสภาพธุรกิจคงต้องรอจะเริ่มดีขึ้นก็คงช่วงต้นปีหน้า”

]]>
1275129
Booking เเชมป์จองโรงแรมในไทย ปี 2019 จับตานักท่องเที่ยว “อินเดีย” มาไทยมากขึ้น https://positioningmag.com/1264425 Fri, 14 Feb 2020 12:38:52 +0000 https://positioningmag.com/?p=1264425 เปิด 12 เเพลตฟอร์มจองโรงเเรมสุดฮิตของคนชอบเที่ยว Booking.com ครองเเชมป์ในไทยในปี 2019 ท่ามกลางการเเข่งขันเดือดทั้งการจองตรงและผู้นำในตลาด จับตา Goibibo คนอินเดียเที่ยวไทยมากขึ้น

SiteMinder เผยผลสำรวจจากรายได้เว็บไซต์การจองที่พัก บ่งชี้ว่ามูลค่าตลาดนักท่องเที่ยวอินเดียและจีนนับเป็นส่วนสำคัญในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย

“ในปี 2019 ประเทศไทยต้อนรับนักท่องเที่ยวถึง 40.7 ล้านคน เพิ่มขึ้นถึง 188% จาก 10 ปีที่ผ่านมา การเติบโตนี้ถือเป็นการเปิดโอกาสอย่างมหาศาลให้กับผู้ประกอบกิจการโรงแรมในประเทศ แต่ในขณะเดียวกันสิ่งที่ผู้ประกอบการไม่ควรมองข้ามคือการติดตามพฤติกรรมการจองที่พักที่เปลี่ยนแปลงไป และมีความเข้าใจปัจจัยที่ผู้บริโภคใช้ในการเลือกจองห้องพัก” แบรด ไฮนส์ รองประธานกรรมการบริษัท SiteMinder ประจำภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก กล่าว

โดยสุดยอด 12 แพลตฟอร์มจองโรงแรมในประเทศไทยประจำปี 2019 เมื่อประเมินจากรายได้รวมที่สร้างให้กับลูกค้าธุรกิจโรงแรมของ SiteMinder ได้แก่

1.Booking.com
2.Agoda
3.Expedia Group
4.เว็บไซต์โรงแรม (การจองตรง)
5.Hotelbeds
6.Trip.com
7.Traveloka
8.Goibibo
9.Fusion Holidays
10.Global Distribution System
11.Flight Centre Travel Group
12.Destinations of the World จาก WebBeds

จาก 12 อันดับช่องทางการจองยอดนิยม รายชื่อที่น่าจับตามองที่สุดคือ Goibibo ซึ่งถือเป็นตัวชี้วัดถึงยอดการเติบโตของนักท่องเที่ยวชาวอินเดีย โดยปัจจุบันอินเดียถือเป็น 1 ใน 5 ตลาดหลักของนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาประเทศไทยเลยทีเดียว

โดย 14 จาก 20 จุดหมายปลายทางยอดนิยม ชี้ให้เห็นว่าการจองตรงผ่านเว็บไซต์ของโรงแรม มีการไต่อันดับขึ้นจากปีที่แล้วหรือยังสามารถคงระดับอยู่ใน 5 อันดับแรกไว้ได้ และเฉพาะ Agoda ที่มีสำนักงานใหญ่ในเอเชียเท่านั้นที่มีอัตราการเติบโตที่ดี เช่นเดียวกับช่องทางการจองตรง ซึ่งมีการเติบโตแบบก้าวกระโดดในแถบภูมิภาคยุโรปตะวันออกกลางและแอฟริกา (EMEA)

นอกจากนี้ยังมีความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจในตลาดการท่องเที่ยวโลก ดังนี้

  • การเปิดตัวของ Airbnb ในตลาด 6 แห่งภายในยุโรป แอฟริกา และอเมริกาเหนือและใต้
  • การขยายสู่ตลาดยุโรปเพิ่มขึ้นในประเทศอิตาลีของ Trip.com เพิ่มเติมจากฝรั่งเศส ถือเป็นบริษัทสัญชาติจีนแห่งแรก ที่ได้เปิดตัวแพลตฟอร์มของตนในประเทศฝั่งตะวันตกเป็นผลสำเร็จเมื่อปี 2018
  • แบรนด์ต่างๆภายใต้ WebBeds อย่าง JacTravel, totalstay, Destinations of the World และ Sunhotels มีชื่อติดอันดับสุดยอด 12 แพลตฟอร์มจองโรงแรมที่จัดขึ้นในรอบครึ่งปีของ 2018
  • การปรากฏชื่ออีกครั้งของ Flight Centre Travel Group ซึ่งติดสุดยอด 12 อันดับของประเทศออสเตรเลีย หลังจากที่ห่างหายไปถึง 4 ปี ซึ่งเป็นผลมาจากการใช้กลยุทธ์การกระจายธุรกิจและการเข้าซื้อกิจการในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการรวมการจัดการการท่องเที่ยวเข้าด้วยกัน นอกจากนี้ยังปรากฏชื่อเป็นครั้งแรกในแอฟริกาใต้อีกด้วย
  • การเปิดตัวของ Lastminute.com ในตลาดทวีปยุโรปตะวันออกกลางและแอฟริกาถึง 2 แห่ง
    แสดงให้เห็นถึงการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของจำนวนผู้บริโภคที่ตัดสินใจแบบไม่วางแผนล่วงหน้า

เจมส์ บิชอป ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายพันธมิตรของ SiteMinder กล่าวว่า การจองตรงผ่านระบบออนไลน์ยังคงมีส่วนสำคัญในการสร้างรายได้จำนวนมหาศาลให้กับโรงแรมทั่วโลก เห็นได้จากการที่เว็บไซต์ของโรงแรมยังคงอยู่ใน 4 อันดับแรกของช่องทางการจองในตลาดหลัก และในบางตลาดยังกระโดดขึ้นมาในอันดับที่สูงขึ้นด้วย เป็นผลมาจากการที่โรงแรมผลักดันให้คนติดต่อเข้ามาจองห้องพักผ่านของทางหลักของตนเองมากขึ้น ผ่านการโปรโมทและการนำนวัตกรรมมาปรับใช้ รวมถึงการลงทุนเพิ่มในเมตาเสิร์ช (Metasearch)

นอกจากนี้เรายังเห็นผู้ให้บริการทางเทคโนโลยีมีส่วนในการส่งเสริมด้วยการสร้างบริการเสริมร่วมกับช่องทางการจองตรง ซึ่งทำหน้าที่เสมือนเป็นตัวแทนด้านการตลาดในรูปแบบดิจิทัลให้กับโรงแรมด้วย

 

]]>
1264425