ตลาดจีน – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 29 Jul 2022 06:36:15 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 Maybelline จะทยอยปิดสาขาหน้าร้านทั้งหมดใน “จีน” ลุยขายออนไลน์เท่านั้น https://positioningmag.com/1394332 Fri, 29 Jul 2022 06:36:01 +0000 https://positioningmag.com/?p=1394332 แบรนด์เครื่องสำอางตลาดแมส ‘Maybelline’ ในเครือบริษัท L’Oreal จะทยอยปิดสาขาหน้าร้านทั้งหมดใน “จีน” เพื่อมาลุยตลาดออนไลน์เท่านั้น ตามกระแสชาวจีนที่นิยมซื้อเครื่องสำอางผ่านอีคอมเมิร์ซ ด้านภาพรวมบริษัท แม้แบรนด์นี้จะเสียมาร์เก็ตแชร์ในจีน แต่ทั้งเครือ L’Oreal สามารถทำรายได้เติบโตสวนทางกับตลาดที่ซบเซาหลังเผชิญล็อกดาวน์

Maybelline New York ให้สัมภาษณ์กับสื่อท้องถิ่นจีน Blue Whale Finance ว่า บริษัทกำลังดำเนินตามแผน “ทรานสฟอร์มเชิงกลยุทธ์” ที่เริ่มขึ้นมาตั้งแต่ปี 2020 เพื่อให้เกิดการ “ประสานร่วมกันระหว่างช่องทางขายออนไลน์และออฟไลน์” ทำให้แบรนด์จะปิดหน้าร้านสาขาทั้งหมด ยกเว้นเคาน์เตอร์ขายจำนวนหนึ่งในร้าน Watsons ที่อาจจะเหลือผลิตภัณฑ์วางขายไม่มาก แต่จะเน้นการทำตลาดออนไลน์เป็นหลัก เป็นจุดที่ผู้บริโภคจะได้ช้อปสินค้าหลากหลายจากแบรนด์

แบรนด์นี้เข้ามาทำตลาดจีนมาอย่างยาวนานตั้งแต่ปี 1997 และเริ่มปรับเปลี่ยนช่องทางขายตั้งแต่ปี 2018 โดยเริ่มถอนตัวจากช่องทางในไฮเปอร์มาร์เก็ต เช่น Walmart, Carrefour และปี 2020 เริ่มปิดเคาน์เตอร์ในห้างสรรพสินค้า หันมามุ่งเน้นเคาน์เตอร์และหน้าร้านเฉพาะของแบรนด์ในศูนย์การค้าและแหล่งช้อปปิ้งแทน

การตัดสินใจของ Maybelline ไม่แน่ใจว่าเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้องหรือไม่ เพราะตั้งแต่เริ่มปิดช่องทางขายหน้าร้าน Qianzhan Industry Research Institute พบว่า ในปี 2021 แบรนด์มีมาร์เก็ตแชร์ต่ำลงเหลือ 4.9% เทียบกับปี 2018 ที่มี 5.8% ทั้งนี้ Statista ระบุว่าปัจจุบันตลาดเครื่องสำอางจีนมีมูลค่าราว 6.75 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 2.44 ล้านล้านบาท)

Maybelline ถือเป็นแบรนด์ตะวันตกเจ้าแรกๆ ที่เดินตามเทรนด์การขายออนไลน์ในจีนได้ทัน โดยมีความร่วมมือกับอินฟลูเอนเซอร์จีน 50 คนในการไลฟ์สตรีมขายเครื่องสำอางประเภทลิปสติกตั้งแต่ปี 2016 ในครั้งแรกที่เปิดแคมเปญนี้ แบรนด์สามารถขายลิปสติกได้ 10,000 แท่งภายใน 2 ชั่วโมง

Carita Paris แบรนด์สกินแคร์ที่ L’Oreal ผลักดันเปิดตลาดจีนล่าสุด

Statista ยังพบสถิติด้วยว่า ชาวจีนมีอัตราการซื้อเครื่องสำอางออนไลน์สูงมาก เมื่อปี 2018 สัดส่วนการซื้อเครื่องสำอางจากช่องทางออนไลน์มีถึง 74% และคาดการณ์ว่าจะเพิ่มเป็น 80% ในปี 2024

ถึงแม้ว่าแบรนด์ Maybelline จะดูเหมือนครองมาร์เก็ตแชร์ต่ำลง แต่ภาพรวมบริษัท L’Oreal ยังคงไปได้ดีในจีน โดยการประกาศผลดำเนินงานไตรมาส 2/2022 บริษัทระบุว่า รายได้ในจีนเติบโต 13% จากไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งทำได้ดีกว่าตลาดซึ่งติดลบ -6% จากไตรมาสก่อนหน้า เนื่องจากจีนมีการล็อกดาวน์เมืองใหญ่หลายเมืองตามนโยบาย Zero Covid มาตั้งแต่กลางเดือนมีนาคม ซึ่ง L’Oreal มองว่าบริษัทยังคงทำรายได้เติบโตสวนทางตลาดเพราะการดันเรื่อง “อีคอมเมิร์ซ” มาต่อเนื่อง

แบรนด์ Maybelline อาจจะลดหน้าร้านออฟไลน์ลง แต่ L’Oreal เพิ่งเปิดตัวแบรนด์น้องใหม่ในจีนไปเมื่อปี 2021 คือ “Carita Paris” เป็นแบรนด์สกินแคร์ระดับลักชัวรี และเริ่มเปิดเคาน์เตอร์สองแห่งแรกแล้วที่กรุงปักกิ่งและเมืองนานจิง

Source: Inside Retail, TheBL, Reuters

]]>
1394332
Lululemon แบรนด์กีฬาจากแคนาดามุ่งลุย “ตลาดจีน” เต็มที่ เป้าขยายสาขาเพิ่ม 3 เท่าใน 5 ปี https://positioningmag.com/1393265 Wed, 20 Jul 2022 05:10:51 +0000 https://positioningmag.com/?p=1393265 แบรนด์กีฬาจากแคนาดา “Lululemon” ตั้งเป้าเพิ่มรายได้จากต่างประเทศเพิ่มเป็น 4 เท่า นับจากปี 2021 ถึง 2026 โดย “ตลาดจีน” นับเป็นตลาดสำคัญอันดับ 2 ของแบรนด์ วางแผนขยายสาขาจีนเพิ่ม 3 เท่าภายใน 5 ปี หลังจากแบรนด์ไปได้ดีในแดนมังกร รายได้เติบโตสะสม 60% ในรอบสามปีที่ผ่านมา

สำนักข่าว China Daily รายงานว่า Lululemon Athletica วางตลาดจีนเป็นตลาดขนาดใหญ่อันดับ 2 ของแบรนด์ภายในปี 2026 ผ่านการขยายสาขาหน้าร้านอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันแบรนด์มีหน้าร้าน 71 สาขา ตั้งเป้าจะเพิ่มเป็น 220 สาขาภายใน 5 ปี และจะมีการตั้งสาขาที่เป็น “แฟลกชิป สโตร์” ด้วย

“เป้าหมายใหม่ของเราคือจะเพิ่มรายได้จากต่างประเทศเป็น 4 เท่าภายในปี 2026” คาลวิน แมคโดนัลด์ ซีอีโอของ Lululemon กล่าว “จีนแผ่นดินใหญ่จะเป็นสัดส่วนใหญ่ในโอกาสนั้น เมื่อเราลงทุนต่อเนื่องในตลาด ทั้งส่วนการขยายหน้าร้าน การขายผ่านดิจิทัล และสร้างชุมชนลูกค้าของแบรนด์”

จากข้อมูลของ MarketBeat พบว่าแบรนด์ Lululemon สามารถทำรายได้เติบโตได้ถึง 60% ในช่วงสามปีที่ผ่านมา แม้ว่าในช่วงล็อกดาวน์ของจีนจะทำให้ 1 ใน 3 ของสาขาทั้งหมดต้องปิดชั่วคราวเนื่องจากโควิด-19

Lululemon_Yoga
เสื้อผ้าโยคะและฟิตเนสเป็น Hero Product ของแบรนด์

แบรนด์ Lululemon นั้นเป็นแบรนด์ประเภท ‘athleisure’ ชื่อดัง โดยก่อตั้งที่แคนาดาในปี 1998 เริ่มจากการผลิตเสื้อผ้าโยคะของผู้หญิง ก่อนจะขยายมาสู่กลุ่มเสื้อผ้าผู้ชาย และขยายไปในเสื้อผ้ากลุ่มฟิตเนสและกีฬาวิ่งด้วย ถือว่าเป็นแบรนด์ที่เข้ามาแบ่งส่วนแบ่งตลาดกับเสื้อผ้ากีฬาดังอย่าง Adidas และ Nike

ในช่วงปี 2018-2021 บริษัทสามารถทำรายได้เติบโตเป็น 3 เท่า และเป้าปี 2021-2026 แบรนด์ต้องการจะเติบโตเป็น ‘เท่าตัว’ อีกซึ่งจะทำให้บริษัททำรายได้สูงถึง 12,500 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 4.58 แสนล้านบาท) โดยมีกลยุทธ์การขยายตัวในต่างประเทศเป็นสำคัญ นอกจาก “ตลาดจีน” ที่สำคัญมาก แบรนด์ยังตั้งเป้าจะเปิดตลาดใหม่ๆ ในทวีปเอเชียแปซิฟิกและทวีปยุโรป ประเทศที่มีแผนการเปิดสาขาแรกเร็วๆ นี้ ได้แก่ สเปน และ อิตาลี

ปี 2022 แบรนด์เพิ่งออกผลิตภัณฑ์ใหม่เป็นไลน์สินค้ารองเท้า

การเข้าสู่ตลาดจีนของ Lululemon นั้นใช้วิธีที่ชาญฉลาด โดยในปี 2013-2016 แบรนด์ไม่ได้เข้ามาเปิดขายสินค้าทันที แต่มาเปิด ‘โชว์รูม’ สำหรับจัดอีเวนต์ด้านกีฬาและทำให้ลูกค้ารู้จักแบรนด์ก่อน พร้อมกับส่งสินค้าให้ KOLs ชาวจีนรีวิว ก่อนที่จะเริ่มขายสินค้าจริงผ่านช่องทางดิจิทัลในปี 2015 ผ่านแพลตฟอร์ม Tmall และจนถึงปลายปี 2016 แบรนด์จึงค่อยเริ่มเปิดหน้าร้าน 3 สาขาแรกในกรุงปักกิ่งและเมืองเซี่ยงไฮ้

การเปิดตลาดจีนของแบรนด์ต่างประเทศนั้นมีโอกาสที่ดีจากจำนวนประชากรแต่ก็มีความท้าทายสูงมากด้วย หลายแบรนด์ตะวันตกที่เข้ามาและต้องม้วนเสื่อกลับไป ยกตัวอย่างเช่น 3 แบรนด์ในเครือ Inditex จากสเปน ได้แก่ Pull&Bear, Bershka และ Stradivarius ที่ไม่ประสบความสำเร็จในจีนจนต้องทยอยปิดสาขาหน้าร้านทั้งหมดไปเมื่อปี 2021 เพราะตลาดจีนแข่งขันสูงมากและรสนิยมชาวจีนมีความละเอียดอ่อน

จากตัวเลือกที่มีมากมายในตลาด และบริษัท/สตาร์ทอัพจีนก็พร้อมจะเปิดแบรนด์มาแข่งขันในกลุ่มสินค้าเดียวกัน ทำให้แบรนด์ต่างชาติต้องระมัดระวัง Lululemon เองก็กำลังเผชิญกับแบรนด์ท้องถิ่นจีนอย่าง ‘Keep’ แบรนด์เสื้อผ้ากีฬาหน้าตาคล้ายกันแต่ทำราคาถูกกว่า

Source: InsiderRetail, Lululemon Corporate, Rehub Tech

]]>
1393265
ภารกิจใหม่ TCP ก้าวสู่ยอดขาย “9 หมื่นล้าน” ใน 3 ปี ส่งแบรนด์บุกนอกให้มากกว่า “กระทิงแดง” https://positioningmag.com/1383438 Fri, 29 Apr 2022 08:04:00 +0000 https://positioningmag.com/?p=1383438
  • กลุ่มธุรกิจ TCP เปิดเป้าหมายใหม่ ก้าวสู่ยอดขาย “9 หมื่นล้าน” ภายใน 3 ปี (2565-67) เติบโต 2 เท่าตัว ดำเนินการผ่าน 3 กลยุทธ์ Fulfilling, Growing และ Caring
  • เพิ่มพอร์ตสินค้าทั้งกลุ่ม Energy Drink และ Non-Energy Drink รุกตลาดต่างประเทศ โดยจะผลักดันแบรนด์อื่นนอกเหนือจาก “กระทิงแดง” (RedBull) ให้มากขึ้น
  • ตั้งงบลงทุน 12,000 ล้านบาท ลุยสร้างโรงงานใหม่ในจีน เพิ่มกำลังการผลิต ใช้เทคโนโลยีใหม่ลดต้นทุน
  • เป้าด้านสิ่งแวดล้อม เปลี่ยนมาใช้บรรจุภัณฑ์รีไซเคิลได้ 100% ภายในปี 2567
  • ย้อนไปเมื่อปี 2560 ซึ่งเป็นปีที่ “กระทิงแดง” ทำการรวมกลุ่มแบรนด์ในเครือให้อยู่ภายใต้ “กลุ่มธุรกิจ TCP” และมีการตั้งเป้าหมายที่ ‘aggressive’ อย่างมาก ต้องการจะเพิ่มยอดขายจากกว่า 30,000 ล้านบาทในขณะนั้น ขึ้นไปเป็น 3 เท่าตัว แตะ 1 แสนล้านบาท ภายในปี 2565

    แต่ใครจะคาดถึงว่าระหว่างทางจะเผชิญวิกฤตร่วมกับทั้งโลก ตั้งแต่โรคระบาด COVID-19 สงครามความขัดแย้ง นำมาสู่ค่าพลังงานพุ่ง และเงินเฟ้อ ทำให้การเร่งตัวของ TCP ไม่เป็นดั่งใจนึก แต่ก็ยังเติบโตได้ดีจนปี 2564 ปิดยอดขายที่เกือบ 45,000 ล้านบาท

    TCP 9 หมื่นล้าน
    “สราวุฒิ อยู่วิทยา” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจ TCP

    หลังผ่านช่วงวิกฤต ในที่สุดบริษัทพร้อมจะลุยเต็มที่อีกครั้งโดย “สราวุฒิ อยู่วิทยา” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจ TCP เปิดเป้าหมายใหม่กับภารกิจ “ปลุกพลัง เพื่อวันที่ดีกว่า” ต้องการทำยอดขาย 90,000 ล้านบาท ภายใน 3 ปี (2565-67) เติบโตเป็น 2 เท่าตัว โดยมีกลยุทธ์ที่จะใช้ 3 ด้าน คือ

    1. Fulfilling ปลุกพลังแบรนด์สินค้า
    2. Growing ปลุกพลังธุรกิจเติบโต
    3. Caring ปลุกพลังห่วงใยสิ่งแวดล้อม

     

    ไม่ทิ้ง “กระทิงแดง” แต่ “แบรนด์ใหม่” ก็ต้องไปสู่ตลาดโลก

    กลยุทธ์แรกที่จะปลุกพลังแบรนด์สินค้า ในรอบ 3 ปี TCP จะมีการออกสินค้าใหม่ ดังนี้

    • “แบรนด์กระทิงแดง” จะเปิดสินค้าใหม่ไม่ต่ำกว่า 10 SKUs โดยจะสร้างความน่าตื่นเต้น ใหม่ทั้งด้านรสชาติ ส่วนผสม จุดขาย ภาพลักษณ์สร้างความทันสมัย เข้ากับไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ เกิดความพรีเมียมในตลาด
    • “แบรนด์ใหม่” จะเปิดตัวใหม่อย่างน้อย 5 แบรนด์ โดยมุ่งเน้นในกลุ่ม Health & Wellness เพราะเป็นเทรนด์ของโลก
    แบรนด์ใหม่ โปรดักส์แบบใหม่ที่ออกมาทดลองตลาด ด้านซ้ายคือ “Hopster” เครื่องดื่มกลิ่นฮอปไม่มีแอลกอฮอล์ และขวาคือ “มายด์เบอรี่” เครื่องดื่มเยลลี่บำรุงความจำ

    ปัจจุบันกลุ่ม TCP ยังมี ‘ฮีโร่ โปรดักส์’ เป็นกลุ่ม Energy Drink อยู่ แบรนด์อย่าง กระทิงแดง (RedBull), เรดดี้, โสมพลัส, วอริเออร์ คิดเป็นสัดส่วนถึง 85% ของยอดขายรวม ขณะที่ Non-Energy Drink เช่น กลุ่มเครื่องดื่มเกลือแร่ สปอนเซอร์ กลุ่มฟังก์ชันนอลดริงก์ แมนซั่ม และ ไฮ่! x DHC กลุ่มชา เพียวริคุ หรือขนมขบเคี้ยว ซันสแนค ยังคิดเป็นเพียง 15% ในพอร์ต

    โดยเฉพาะ “กระทิงแดง” ที่เป็นที่รู้จักและแทบจะเป็นแบรนด์เดียวที่ทำยอดขายในต่างประเทศได้ แต่แผนใหม่ 3 ปีจากนี้บริษัทต้องการจะดันสินค้าอื่นให้โตในต่างประเทศได้เหมือนกัน

    “เราคิดว่าเราสามารถผลักดันให้แบรนด์อื่นประสบความสำเร็จในต่างประเทศได้เหมือนกัน เราไม่ควรติดยึดกับกระทิงแดงตัวเดียว”

    สราวุฒิเล็งเป้าหมายแบรนด์ที่จะดันไว้ที่ “สปอนเซอร์” กำลังทดลองตลาดว่าจะตอบรับกับชื่อแบรนด์นี้แค่ไหน โดยเห็นโอกาสทั้งจีน เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย แต่หากไม่เวิร์กจริงๆ ก็พร้อมที่จะปั้นแบรนด์ใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับรสนิยมของตลาด เหมือนอย่าง “วอริเออร์” ที่เข้าไปชิงมาร์เก็ตแชร์ตลาดเครื่องดื่มชูกำลังของเวียดนามได้ 5%

    “เราคิดว่าเราสามารถผลักดันให้แบรนด์อื่นประสบความสำเร็จในต่างประเทศได้เหมือนกัน เราไม่ควรติดยึดกับกระทิงแดงตัวเดียว” สราวุฒิกล่าว

    แบรนด์สปอนเซอร์ เครื่องดื่มที่มีโอกาสผลักดันเข้าสู่ตลาดต่างประเทศ

     

    ลงทุน 12,000 ล้าน กันงบ 60% ตั้งโรงงานจีน

    กลยุทธ์ที่สองคือการลงทุนเพื่อเติบโต 3 ปีนี้ TCP จะลงทุนรวม 12,000 ล้านบาท ซึ่งแบ่งออกเป็น

    • 60% ใช้ในการลงทุนโรงงานแห่งใหม่ที่มณฑลเสฉวน ประเทศจีน
    • 20% ใช้เพิ่มกำลังผลิตโรงงานเดิม
    • 20% ปรับปรุงเทคโนโลยีใหม่ ใช้ระบบออโตเมชันเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต เพิ่มฟังก์ชันรักษาสิ่งแวดล้อม

    โปรเจ็กต์ใหญ่ที่สำคัญคือการตั้งโรงงานจีนนี้เอง โดยสราวุฒิท้าวความก่อนว่าแต่เดิม “กระทิงแดง” มีจอยต์เวนเจอร์สัญญา 20 ปีกับพาร์ทเนอร์ชาวจีน แต่เมื่อสัญญาหมดลง และพาร์ทเนอร์รายใหม่ไม่ราบรื่น ทำให้บริษัทตัดสินใจเข้าบริหารเองทั้งหมดมาตั้งแต่ปี 2561

    TCP 9 หมื่นล้าน
    พิธีวางรากฐานโรงงานแห่งใหม่กระทิงแดง มณฑลเสฉวน ประเทศจีน

    จากเดิมที่มีโรงงานแห่งเดียวบนเกาะไห่หนาน บวกกับการจ้างโรงงาน OEM จีน 4 แห่ง ไม่เพียงพอตอบสนองตลาดจีนอีกต่อไป จึงมีโครงการสร้าง โรงงานแห่งที่ 2 มูลค่าการลงทุนเบื้องต้น 1,100 ล้านหยวน กำลังผลิต 1,400 ล้านกระป๋องต่อปี เริ่มสร้างแล้วในมณฑลเสฉวน เพราะเป็นพื้นที่ที่สินค้าขายดี และรัฐบาลสนับสนุน อำนวยความสะดวก

    ตลาดจีนมีความสำคัญกับ TCP มาก เพราะขนาดตลาดใหญ่ เศรษฐกิจเติบโต มีโอกาสรออยู่สูง สราวุฒิประเมินว่าบริษัทต้อง ‘เพิ่มกำลังผลิตอีก 2 เท่า’ ถึงจะพอรองรับ และเชื่อว่าอนาคตจีนจะเป็นแหล่งรายได้อันดับ 1 ของกลุ่ม (ปัจจุบันอันดับ 1 คือไทย ตามด้วยเวียดนาม และจีน)

     

    เป้ารักษ์โลก ลดคาร์บอน รีไซเคิล คืนแหล่งน้ำ

    สุดท้ายคือการรักษาสิ่งแวดล้อม ซึ่งสราวุฒิกล่าวว่าเป็นเรื่องที่ ‘รอไม่ได้อีกแล้ว’ และต้องการให้เห็นว่ากลุ่ม TCP ทำจริง ไม่ได้ตั้งโครงการเพื่อใส่ไว้ในรายงานประจำปี เป้าหมายที่จะทำทั้งหมด ได้แก่

    • ลดการปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ ภายในปี 2593
    • ต้องการเป็น Circular Economy ภายในปี 2567 บรรจุภัณฑ์ของกลุ่มจะรีไซเคิลได้ 100% โดยเริ่มทำงานร่วมกับซัพพลายเออร์และองค์กรระดับโลกแล้วเพื่อเปลี่ยนทั้งซัพพลายเชน
    • ต้องการเป็นบริษัท Water Net Positive ภายในปี 2573 เนื่องจากบริษัทมีการใช้น้ำเป็นวัตถุดิบในการผลิตมาก ดังนั้น บริษัทจะคืนน้ำกลับสู่ธรรมชาติให้ได้มากกว่าที่ดึงมาใช้ผลิต โดยจะช่วยผ่านการรักษาอนุรักษ์น้ำตามธรรมชาติ

    ทั้งหมดคือแผนและเป้าของ TCP ซึ่งสราวุฒิมองว่ายังเป็นแผนที่ ‘aggressive’ เช่นเคย ยังคงท้าทาย แต่มองเห็นความเป็นไปได้ ท่ามกลางปัจจัยลบที่กระหน่ำอยู่ในโลกขณะนี้

    “ถ้าเราตอบว่าเรามั่นใจกับสถานการณ์ภายนอกคือเราโกหก แต่เรามั่นใจกับแผนของเรา มีการพูดคุยกับซัพพลายเชนให้โตไปพร้อมกับเราได้ ปูพื้นวัฒนธรรมการทำงานของคนในองค์กรให้ตอบรับกับโลกยุคหลัง COVID-19 เราไม่ได้มั่นใจ 90-100% เหมือนในสมัยก่อนแล้วค่อยลงทุน เราต้องเดินต่อไป เพราะโลกทุกวันนี้คือการต้องลองทำไปก่อน” สราวุฒิกล่าวปิดท้าย

    ]]>
    1383438
    “Tesla” ไปได้สวยในตลาดรถยนต์ไฟฟ้า “จีน” แต่ยังเป็นรอง “รถจิ๋ว” หงกวง มินิ ของ “Wuling” https://positioningmag.com/1356459 Thu, 14 Oct 2021 07:32:15 +0000 https://positioningmag.com/?p=1356459 รายงานรถยนต์ไฟฟ้ารุ่นที่ขายดีที่สุดในจีน 15 อันดับแรก ในรอบ 9 เดือนของปี 2021 บริษัทอเมริกัน “Tesla” ยึดหัวหาดได้ในอันดับ 2 และ 3 แต่ยังเป็นรองรถยนต์ไซซ์เล็ก “หงกวง มินิ” ของบริษัทร่วมทุน “Wuling-SAIC-GM” ซึ่งเป็นรถราคาประหยัดที่วัยรุ่นจีนนิยมสูง

    สมาคมรถยนต์นั่งส่วนบุคคลแห่งประเทศจีน เปิดเผยข้อมูลเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2021 รายงานรถยนต์ไฟฟ้า 15 รุ่นที่ขายดีที่สุดในรอบ 9 เดือนแรกปีนี้ของแดนมังกร ผลปรากฏว่า Tesla ยึดอันดับ 2 และ 3 ได้สำเร็จ ไปได้สวยกว่าบริษัทลักษณะสตาร์ทอัพที่เป็นคู่แข่งในตลาดหุ้นฝั่งสหรัฐฯ อย่าง Nio (นีโอ) และ Xpeng (เอ๊กซ์เผิง)

    รถยนต์ไฟฟ้า 15 รุ่นที่ขายดีที่สุดรอบ 9 เดือนแรกของปี 2021 ในประเทศจีน

    1. Hongguang Mini หงกวง มินิ (บริษัทร่วมทุน SAIC-GM-Wuling)
    2. Model 3 (Tesla)
    3. Model Y (Tesla)
    4. Han ฮั่น (BYD)
    5. Qin Plus DM-I ชิน พลัส ดีเอ็ม-ไอ (BYD)
    6. Li One หลี่ วัน (Li Auto)
    7. BenBen EV (Changan)
    8. Aion S (GAC Motor spin-off)
    9. eQ (Chery)
    10. Ora Black Cat (Great Wall Motor)
    11. P7 (Xpeng)
    12. Song DM ซ่ง ดีเอ็ม (BYD)
    13. Nezha V (Hozon Auto)
    14. Clever (SAIC Roewe)
    15. Qin Plus EV (BYD)

    จะเห็นได้ว่า แม้ไม่ติดสามอันดับแรก แต่รถยนต์จากบริษัท BYD (บีวายดี) ของจีน ติดลิสต์นี้ถึง 4 รุ่น ส่วน อันดับ 1 ของลิสต์ยังเป็นของ Hongguang Mini “หงกวง มินิ” จากบริษัทร่วมทุนจีน “อู่หลิง” กับ “SAIC” กับบริษัทอเมริกัน General Motor รถยนต์รุ่นนี้เป็นกระแสในประเทศจีนเพราะเป็นรถขนาดเล็กน่ารัก สามารถตกแต่งให้เป็นสไตล์ของตัวเอง และราคาคิดเป็นเงินไทยไม่ถึง 150,000 บาท ทำให้เป็นที่นิยมอย่างมาก

    รถยนต์ไฟฟ้าจิ๋ว “หงกวง มินิ” รถขวัญใจชาวจีน

    สำนักข่าว CNBC รายงานว่า Tesla จำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้าในจีนไปแล้วกว่า 200,000 คันในปีนี้ แบ่งเป็นรุ่น Model Y กว่า 92,900 คัน และ Model 3 กว่า 111,700 คัน

    จีนถือเป็นตลาดสำคัญของ Tesla เฉพาะปี 2020 ตลาดนี้คิดเป็นสัดส่วน 1 ใน 5 ของรายได้รวมของบริษัท และมีการลงทุนสร้างโรงงานผลิตในจีน ปัจจุบันสามารถผลิตรถได้ 2 รุ่นที่เป็นรถรุ่นขายดี และเมื่อเดือนกรกฎาคมเพิ่งจะเปิดตัวรถ Model Y SUV แบบปรับปรุงใหม่ คือเป็นรถเอสยูวีที่ขับขี่ได้ระยะทางต่ำลงต่อการชาร์จหนึ่งครั้ง แต่จะทำให้ราคารถถูกลงไปด้วย

    Tesla Model Y

    หุ้นของ Tesla ปรับขึ้นมาแล้ว 15% ในปีนี้ เทียบกับคู่แข่งในตลาดหุ้นสหรัฐฯ อย่าง Nio ราคาหุ้นตกไปมากกว่า 25% และ Xpeng ราคาหุ้นตกไปเกือบ 7%

    โดยรถของ Xpeng ยังขึ้นไปติดลิสต์รถยนต์ไฟฟ้าขายดีได้ในอันดับ 11 ด้วยรุ่น P7 ขณะที่รถของ Nio ไม่อยู่ในลิสต์เลย หากวัดเป็นยอดขายรายเดือนแล้ว ครั้งสุดท้ายที่ Nio ติดอันดับคือเมื่อเดือนพฤษภาคมปีนี้ที่รถรุ่น ES6 เบียดขึ้นไปอยู่อันดับ 15 ได้สำเร็จ

    ส่วนตลาดรถยนต์ทั้งหมดของจีน เฉพาะกลุ่มรถยนต์พลังงานใหม่ (รถยนต์ไฮบริดและรถยนต์ที่มีเฉพาะแบตเตอรี) เติบโตสูงขึ้นจากการสนับสนุนของรัฐบาลจีน แต่ถ้าวัดทั้งตลาดรถยนต์นั่งส่วนบุคคล ตลาดหดตัวมาแล้ว 4 เดือนต่อเนื่องเทียบปีต่อปี

    Source

    ]]>
    1356459
    ชาวจีนเเห่ซื้อ ‘เเบรนด์จีน’ หลังกระเเสเเบนสินค้าต่างชาติ กำลังเป็น ‘โอกาสทอง’ ของนักลงทุน https://positioningmag.com/1339941 Wed, 30 Jun 2021 12:16:39 +0000 https://positioningmag.com/?p=1339941 เเบรนด์จีนกำลังได้รับความนิยมจากเหล่านักช้อปในประเทศ ดึงดูดเม็ดเงินลงทุนหมื่นล้านดอลลาร์ เมื่อผู้บริโภคหันมาอุดหนุนสินค้าท้องถิ่น หลังกระแสต่อต้านแบรนด์ต่างชาติ 

    อานิสงส์การช้อปปิ้งออนไลน์ที่พุ่งสูงขึ้น หลังผู้คนต้องถูกจำกัดการเดินทางในช่วงโรคระบาด อีคอมเมิร์ซที่สะดวกสบายเเละการขนส่งที่รวดเร็ว มีส่วนกระตุ้นความต้องการของแบรนด์ท้องถิ่นด้วย

    นักศึกษาชาวจีนวัย 19 ปี ให้สัมภาษณ์กับ Reuters ว่า “เมื่อคุณลองใช้ จะพบว่าคุณภาพของผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่นนั้น ดีพอๆ กับผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศ” โดยเธอเลือกใช้อายแชโดว์ของ Carslan และรองเท้าผ้าใบของ Feiyue ทานขนม Bestore Co และมีเครื่องใช้ในบ้านที่ซื้อจาก Miniso

    Maia Active เป็นแบรนด์เสื้อผ้าสปอร์ตเเวร์ของจีน ที่ได้รับการสนับสนุนจากบริษัทลงทุนใหญ่อย่าง Sequoia Capital ระบุว่า สินค้าของแบรนด์ออกแบบมาเพื่อผู้หญิงเอเชียโดยเฉพาะ ทำให้เหมาะสมกับผู้บริโภคในพื้นที่มากกว่าแบรนด์จากตะวันตก

    จากความต้องการที่มากขึ้นในช่วงล็อกดาวน์ ทำให้ปีนี้นักลงทุนเลือกทุ่มเงินให้กับแบรนด์ที่เจาะผู้บริโภคในท้องถิ่น

    ตามรายงานของ Cygnus Equity ชี้ให้เห็นว่า บริษัทผู้ผลิตสินค้าสำหรับผู้บริโภคในจีน สามารถระดมทุนได้มากถึง 6.97 หมื่นล้านหยวน (ราว 1.1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ) จากนักลงทุนในตลาดแรก (Primary Market) ในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวจากปีก่อนหน้า

    โดยแบรนด์ที่เกี่ยวข้องกับความงาม อาหาร และเครื่องดื่ม เป็นที่นิยมมากที่สุด ขณะที่แบรนด์ Hot Pot (หม้อไฟ) และราเมน ก็กำลังเป็นที่ต้องการอย่างมาก

    ปัจจุบันมีแบรนด์จีนมากถึง 200 แบรนด์ กำลังมองหาเงินทุนใหม่จากนักลงทุน Ming Jin หุ้นส่วนผู้จัดการของ Cygnus กล่าว

    Genki Forest แบรนด์น้ำอัดลมที่ได้รับการสนับสนุนจาก Sequoia กล่าวว่าบริษัทมีมูลค่า 6 พันล้านดอลลาร์ หลังการระดมทุนในเดือนเม.. ที่ผ่านมา ซึ่งมากกว่า 18 เดือนก่อนหน้านี้ถึงสิบเท่า

    การระดมทุนในจีน ดึงดูดนักลงทุนรายใหญ่ของโลกอย่าง LVMH เจ้าของเเบรนด์ Louis Vuitton และ Temasek จากสิงคโปร์

    จีนเป็นตลาดที่ง่ายที่สุดในการสร้างยอดขายจากศูนย์ให้ไปเป้าหมาย 100 ล้านหยวนนักลงทุนคนหนึ่งบอกกับ Reuters

    ช่วงเทศกาลช้อปปิ้งออนไลน์บนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซของจีน ‘JD.Com’ ในเดือนนี้ พบว่า ยอดขายของแบรนด์จีนเติบโตขึ้นถึง 4% เมื่อเทียบกับแบรนด์ต่างประเทศ เเละการเติบโตของจำนวนลูกค้าก็สูงกว่าแบรนด์ต่างประเทศถึง 16%

    Chris Mulliken จากบริษัทที่ปรึกษา EY ให้ความเห็นว่า ความชาตินิยมเป็นปัจจัยที่ผลักดันให้เเบรนด์ท้องถิ่นในจีนได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น รวมถึงความภูมิใจในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีนจากโควิด-19 ขณะที่ประเทศอื่น ๆ อีกหลายประเทศยังต้องต่อสู้กับอัตราการติดเชื้อที่สูง

    บวกกับกระแสการต่อต้านฝ้ายซินเจียงจากแบรนด์ใหญ่ฝั่งตะวันตก อย่าง H&M , Nike และ Adidas ที่มีความกังวลเรื่องสิทธิมนุษยชนของเเรงงานก็ทำให้ลูกค้าชาวจีนไม่พอใจกับคำกล่าวหา ก็มีส่วนทำให้ชาวจีนบางส่วนตอบโต้ด้วยการหันไปซื้อของจากเเบรนด์ในประเทศมากขึ้น

     

    ที่มา : Reuters 

    ]]>
    1339941
    Tesla ถูกโจมตีท่าที “หยิ่งยโส” กับลูกค้าจีน เผชิญวิกฤตภาพลักษณ์แบรนด์ครั้งใหญ่ https://positioningmag.com/1329007 Fri, 23 Apr 2021 08:45:03 +0000 https://positioningmag.com/?p=1329007 ดราม่า Tesla ครั้งนี้เริ่มจากหญิงชาวจีนรายหนึ่งบุกประท้วงแบรนด์ที่งานแสดงรถยนต์ อ้างถึงปัญหา “เบรกไม่ทำงาน” ข้างฝ่ายแบรนด์โต้กลับว่าเธอใช้ความเร็วเกินกำหนดเอง และจะไม่ชดใช้ใดๆ กลายเป็นว่าแบรนด์ถูกโจมตีจากสื่อรัฐบาลและสังคมว่า “หยิ่งยโส” ไม่ดูแลลูกค้า

    Tesla อาจกำลังเผชิญกับวิกฤตภาพลักษณ์องค์กรครั้งใหญ่ที่สุดในจีน ประเด็นนี้เริ่มเป็นกระแสตั้งแต่วันจันทร์ที่ 19 เมษายน 2021 เมื่อผู้หญิงคนหนึ่งอ้างตัวเป็นลูกค้าของ Tesla ปีนขึ้นไปยืนบนรถของบริษัทที่งานแสดงรถยนต์เซี่ยงไฮ้ โดยเธอสวมเสื้อที่มีข้อความภาษาจีนว่า “เบรกไม่ทำงาน”

    เธอทำเช่นนั้นเพื่อประท้วงปัญหาเบรกไม่ทำงานของรถ Tesla ซึ่งมีผู้ใช้รถ Tesla อีกหลายรายระบุว่าพบปัญหาเดียวกันบนโซเชียลมีเดียจีนตลอดหลายเดือนที่ผ่านมา หลังจากวิดีโอคลิปของหญิงรายนี้เผยแพร่ออกไป คลิปนี้กลายเป็นไวรัลทันทีและถูกหยิบไปรายงานในสื่อของรัฐบาลจีน

    วันที่ 20 เมษายน 2021 ตำรวจเซี่ยงไฮ้ระบุว่าหญิงคนดังกล่าวใช้สกุลจาง และเธอถูกสั่งจำคุก 5 วันในฐานความผิดก่อกวนความเรียบร้อยในที่สาธารณะ

    โชว์รูมรถยนต์ Tesla ในเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน (Photo : Shutterstock)

    ฝั่งบริษัท Tesla ชี้แจงว่า หญิงรายนี้ประสบอุบัติเหตุรถชนในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดยเกี่ยวข้องกับการ “ขับรถเร็วเกินกำหนด” หลังจากนั้นบริษัทเจรจากับเธอมานาน 2 เดือน เธอไม่ยอมให้มีการตรวจสอบโดยบุคคลที่สาม และยืนยันจะขอคืนเงินค่ารถยนต์เท่านั้น

     

    Tesla ถูกวิจารณ์ว่า “หยิ่งยโส”

    ในช่วงเดียวกันนี้ “เถา หลิน” รองประธานบริษัท Tesla ประเทศจีน กล่าวในการสัมภาษณ์กับสื่อด้านการเงินของจีน Caijing ว่า หญิงรายนี้เรียกร้องค่าชดเชยสูงมาก และบริษัทไม่มีเหตุผลใดๆ ที่จะให้ตามที่เธอร้องขอ

    โพสต์ของ Tesla บน Weibo โซเชียลมีเดียจีน ยังเน้นย้ำอีกด้วยว่า บริษัทจะไม่ประนีประนอมกับ “ความต้องการที่ไม่มีเหตุผล”

    สื่อของรัฐหยิบประเด็นนี้มาวิจารณ์ Tesla ในทันที โดยออกสกู๊ปต่อเนื่องเพื่อวิจารณ์ท่าทีของ Tesla ขณะที่รัฐบาลจีนส่งแถลงการณ์ตักเตือนไปที่บริษัท

    สำนักข่าว CNBC รายงานบทความจากสำนักข่าวของรัฐบาลจีนแห่งหนึ่ง ใช้พาดหัวว่า “3 บทเรียนที่ Tesla ควรเรียนรู้” โดยข้อความในบทความแนะนำให้ บริษัทรถยนต์จากสหรัฐฯ ไม่ควร “หยิ่งยโส” และควรจะ “ให้ความนับถือ” ตลาดผู้บริโภคจีน

    ขณะที่สำนักข่าวอีกแห่งหนึ่งซึ่งสนับสนุนโดยรัฐบาลคือ Global Times ออกบทความเชิงความคิดเห็นเมื่อวันที่ 21 เม.ย. 2021 ความว่า “ท่าทีที่หยิ่งยโสและยกตนข่มท่านของบริษัทที่ได้แสดงออกต่อหน้าสาธารณชนนั้นน่ารังเกียจและไม่อาจยอมรับได้ และอาจจะก่อให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรงต่อชื่อเสียงของบริษัท และต่อฐานลูกค้าในตลาดจีน”

    ในเวลาต่อมา Tesla จึงออกแถลงการณ์ขออภัยที่ไม่ได้แก้ปัญหาให้กับเจ้าของรถรายดังกล่าว และจะกลับไปตรวจสอบและแก้ไขระบบให้บริการลูกค้าของตนเองให้ดีขึ้น รวมถึงบริษัทยังให้ข้อมูลดิบของตัวรถในช่วงเวลา 30 นาทีก่อนเกิดรถชนแก่คุณจางด้วยเพื่อตรวจสอบข้อสงสัยต่างๆ

     

    จาก “ลูกรัก” สู่ “ลูกชัง” ?

    Tesla นั้นนับได้ว่าเป็น “ลูกรัก” ของรัฐบาลจีนมาโดยตลอด เพราะตกอยู่ในฐานะ “กรณีตัวอย่าง” ว่ารัฐบาลจีนเปิดกว้างและให้โอกาสบริษัทต่างชาติเข้ามาทำตลาดจีนมากขึ้นแล้ว

    โดยบริษัท Tesla เริ่มตั้งโรงงานหลักในจีนตั้งแต่ปี 2019 และเริ่มส่งมอบรถยนต์รุ่น Model 3 ที่ผลิตจากโรงงานจีนเป็นครั้งแรกเมื่อปีก่อน จากเดิมต้องรอนำเข้ามาจากต่างประเทศ ทำให้ยอดขาย Tesla ในประเทศจีนปี 2020 โตแบบ “ดับเบิล” จากปี 2019 และ Model 3 กลายมาเป็นรถยนต์ไฟฟ้ารุ่นที่ขายดีที่สุดในแดนมังกร

    Photo : Xinhua

    แน่นอนว่า ความสำเร็จของ Tesla กลายเป็นเป้าหมายวิจารณ์ของบริษัทท้องถิ่นจีนที่ต้องการจะได้ส่วนแบ่งตลาดรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศให้มากกว่านี้

    ที่ผ่านมา นโยบายสนับสนุนรถอีวีของจีนทำให้มีสตาร์ทอัพจำนวนมากผุดขึ้นมาด้วยความหวังว่าจะแข่งขันกับ Tesla ไม่ว่าจะเป็น Nio หรือ Xpeng Motors แต่ปัจจุบันยอดขายของสองแบรนด์นี้ก็ยังตามหลัง Tesla อีกไกล

    “การเปิดให้ผู้นำตลาดโลกเข้ามาค้าขายได้ถือว่าเป็นแนวคิดของรัฐบาลจีนอย่างแน่นอน แต่การเปิดให้ผู้นำตลาดโลกมามีอิทธิพลเหนือตลาดจีนด้วยนั้นไม่ใช่แนวคิดของรัฐบาลจีน” บิล รอสโซ ผู้ก่อตั้งและซีอีโอบริษัท Automobility Limited บริษัทที่ปรึกษาและการลงทุน ให้ความเห็นเกี่ยวกับดราม่า Tesla ในครั้งนี้

     

    ไม่ใช่ครั้งแรกที่ Tesla ถูกโจมตี

    หลายเดือนที่ผ่านมา Tesla ตกเป็นข่าวเชิงลบในหน้าสื่อจีนอยู่บ่อยครั้ง เช่น เมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา Model 3 รถยนต์ของบริษัท เกิดระเบิดขึ้นในที่จอดรถกลางกรุงเซี่ยงไฮ้

    ขณะที่บทความในสื่อรัฐบาลจีนกล่าวว่า มีรายงานว่าคนขับไม่สามารถควบคุมรถยนต์ Tesla ของตนเองได้ โดยเกิดขึ้นอย่างน้อย 10 ครั้งเมื่อปี 2020

    รัฐบาลจีนยังจำกัดการใช้งานรถ Tesla ในหมู่นายทหารและเจ้าหน้าที่รัฐระดับสูงด้วย เพราะกังวลว่าเซนเซอร์รอบคันของรถอาจจะแอบบันทึกภาพเอาไว้ ต่อเรื่องนี้ “อีลอน มัสก์” เคยออกมาโต้แล้วว่า หากรถของเขาถูกใช้เป็นสายลับได้ ป่านนี้บริษัทคงถูกปิดไปแล้ว

    ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม เหตุการณ์หญิงประท้วงที่งานแสดงรถยนต์ก็เป็นเหมือนจุดแตกหักของ Tesla กับรัฐบาลจีน เพราะทำให้หน่วยงานกำกับควบคุมตลาดของรัฐส่งเจ้าหน้าที่มาพูดคุยกับสำนักงานสาขา Tesla เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของลูกค้าจีน

    ย้อนกลับไปเมื่อเดือนมีนาคม 2021 มัสก์ยังคงให้สัมภาษณ์กับช่องโทรทัศน์ CCTV ของรัฐบาลจีนว่า อนาคตของตลาดจีน “จะยังไปได้สวย” และประเทศนี้จะเป็น “ตลาดที่ใหญ่ที่สุดของ Tesla” …ต้องรอดูว่าตลาดจีนจะยังรุ่งโรจน์อยู่หรือไม่หลังแบรนด์ต้องฝ่าฟันวิกฤตภาพลักษณ์แบบนี้

    Source

    ]]>
    1329007
    3 แบรนด์เสื้อผ้าเครือ Zara “ปิดสาขา” หน้าร้านทั้งหมดใน “จีน” ลุยออนไลน์เต็มตัว https://positioningmag.com/1313646 Mon, 11 Jan 2021 08:42:09 +0000 https://positioningmag.com/?p=1313646 3 แบรนด์ย่อยในเครือบริษัทเดียวกับ Zara ได้แก่ Bershka, Pull&Bear และ Stradivarius เตรียมปิดหน้าร้านสาขาทั้งหมดในประเทศจีน และมุ่งสู่การขายออนไลน์เท่านั้น ตามแผนธุรกิจใหม่ของบริษัทแม่ รับมือตลาดจีนที่เป็นเรดโอเชียนธุรกิจเสื้อผ้าแฟชั่น

    Woman’s Wear Daily รายงานอ้างอิงแหล่งข่าววงในว่า บริษัทฟาสต์แฟชั่น Inditex ยักษ์ใหญ่จากสเปน เตรียมปิดสาขาหน้าร้านออฟไลน์ทั้งหมดในจีนของ 3 แบรนด์ในเครือ ได้แก่ Bershka, Pull&Bear และ Stradivarius เหลือเฉพาะการขายออนไลน์เท่านั้น โดยปัจจุบันทั้ง 3 แบรนด์มีแพลตฟอร์มอี-คอมเมิร์ซบนหน้าเว็บไซต์ของตนเอง ร้านค้าทางการบน Tmall และโปรแกรมไลฟ์ขายของบน WeChat

    ทำให้เครือ Inditex จะมี 4 แบรนด์ในจีนที่ยังมีร้านค้าแบบออฟไลน์อยู่ คือ Zara, Zara Home, Massimo Dutti และ Oysho

    ตั้งแต่ปี 2020 บริษัท Inditex ทยอยปิดสาขาของทั้ง 3 แบรนด์ดังกล่าวรวมกว่า 120 แห่ง จนกระทั่งขณะนี้แต่ละแบรนด์มีสาขาเหลือแบรนด์ละประมาณ 10-12 สาขาเท่านั้น โดยมีเฉพาะในเมืองใหญ่ เช่น เซี่ยงไฮ้ ปักกิ่ง เสิ่นเจิ้น

    หน้าร้าน Pull&Bear ในเมืองเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน ภาพเมื่อเดือนธ.ค. 2018 (Photo : Shutterstock)

    การปิดสาขาเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของแผนปรับใหญ่ของ Inditex ที่ต้องการจะ “ทำให้เป็นดิจิทัล” ทั้งบริษัท โหมการค้าออนไลน์เพื่อรับมือกับผลของโรคระบาด COVID-19 เมื่อช่วงกลางปี 2020 บริษัทจึงประกาศเตรียมปิดสาขาแบรนด์ Zara ถึง 1,200 สาขาทั่วโลก และตั้งเป้าจะมีสัดส่วนการขายจากช่องทางออนไลน์ 25% ของยอดขายรวมภายในปี 2022

    3 แบรนด์ย่อยดังกล่าวมีคาแร็กเตอร์ที่แตกต่างจาก Zara โดย Bershka วางกลุ่มเป้าหมายเป็นวัยรุ่นสไตล์คนเมือง Pull&Bear จำหน่ายเสื้อผ้าที่กำลังฮิตในกลุ่มวัยรุ่นอเมริกัน ขณะที่ Stradivarius เป็นเสื้อผ้าวัยรุ่นที่มีความคิดสร้างสรรค์ ทั้งหมดเข้าสู่ตลาดจีนมาแล้วหลายปี แต่ไม่ประสบความสำเร็จเท่ากับแบรนด์ Zara ด้วยสภาพตลาดจีนแข่งขันสูงและลูกค้ามีรสนิยมที่ละเอียดอ่อนมาก

    ปัจจุบัน นับได้ว่าแบรนด์ต่างประเทศในกลุ่มฟาสต์แฟชั่นที่เข้าจีนแล้วติดตลาดจริงๆ มีเพียงแค่ Zara จากสเปน H&M จากสวีเดน และ Uniqlo จากญี่ปุ่น

    Source: S&P Global Market Intelligence, Yicai Global

    ]]>
    1313646
    “Gucci” เตรียมเปิดขายบน Tmall Luxury Pavilion อีคอมเมิร์ซตลาดสินค้าหรูของจีน https://positioningmag.com/1311087 Fri, 18 Dec 2020 10:24:51 +0000 https://positioningmag.com/?p=1311087 Gucci แบรนด์แฟชั่นลักชัวรีระดับโลก เตรียมเปิดสโตร์บน Tmall Luxury Pavilion แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซในเครือ Alibaba ประเทศจีน สะท้อนให้เห็นความสำคัญของตลาดจีนและการช้อปปิ้งออนไลน์ โดยเฉพาะในปีที่โรคระบาด COVID-19 ทำให้กำลังซื้อลูกค้าทั่วโลกต่ำลง

    Gucci เป็นแบรนด์สำคัญในพอร์ตของบริษัท Kering ประเทศฝรั่งเศส และเป็นแบรนด์ล่าสุดที่ตอบรับเข้าร่วมเปิดสโตร์ออนไลน์บนแพลตฟอร์มของ Tmall Luxury Pavilion แพลตฟอร์มที่เปิดจำหน่ายเฉพาะแบรนด์สินค้าหรู
    และเป็นหนึ่งในเครือบริษัท Alibaba

    แบรนด์ดัง Gucci จะแยกสโตร์ออกเป็น 2 ร้าน คือ กลุ่มแฟชั่น-เครื่องหนัง จะเปิดตัววันที่ 21 ธันวาคมนี้ ส่วนอีกร้านหนึ่งจะเป็น กลุ่มสินค้าเครื่องสำอาง เตรียมเปิดตัวเดือนกุมภาพันธ์ 2021 และบริหารโดยพาร์ตเนอร์คือบริษัท Coty ก่อนหน้านี้ Gucci มีเว็บไซต์ขายสินค้าออนไลน์ของตนเองอยู่แล้วคือ gucci.cn และมีการทำตลาดผ่านโซเชียลมีเดียคือ Weibo และ WeChat แต่ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่มีการเปิดขายผ่านมาร์เก็ตเพลซจีน

    Tmall Luxury Pavilion นั้นเพิ่งก่อตั้งเมื่อปี 2017 ลักษณะเป็นเหมือนฟีเจอร์ภายในแอปพลิเคชัน Tmall  ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มขายสินค้าแบบ B2C อยู่แล้ว แต่กลุ่ม Luxury Pavilion นั้นจะขายเฉพาะแบรนด์หรู และร้านที่จะได้เปิดขายต้องได้รับเชิญเข้ามาเท่านั้น ปัจจุบันมีทั้งหมดกว่า 200 แบรนด์ที่เปิดสโตร์แล้ว เช่น Coach, Balmain, Salvatore Ferragamo, Burberry, Hugo Boss, De Beers เป็นต้น

    Tmall Luxury Pavilion เปิดตัวเมื่อปี 2017

    การขายสินค้าหรูบนโลกออนไลน์อาจจะดูเหมือนยังไปด้วยกันไม่ได้ แต่ในประเทศจีนนั้นตลาดมีความแตกต่าง โดยพื้นฐานแล้วลูกค้าจีนจะช้อปปิ้งออนไลน์ผ่านมือถือเป็นสัดส่วนที่มากยิ่งกว่าสหรัฐฯ หรือยุโรป ทำให้กลายเป็นตลาดที่น่าสนใจมากขึ้นในแง่การขายออนไลน์

    โดยเฉพาะปีนี้ที่ COVID-19 ระบาดหนัก ประเทศจีนเป็นหนึ่งในไม่กี่ตลาดของกลุ่มสินค้าหรูที่ยังกลับมาเติบโตได้และช่องทางอีคอมเมิร์ซกลายเป็นช่องทางสำคัญ ทำให้แบรนด์ลักชัวรีต่างถูกบีบให้มุ่งความสนใจไปที่อีคอมเมิร์ซ นอกจากนี้ยังได้เห็นการเจาะกลุ่มลูกค้าที่เด็กลง เพราะเป็นกลุ่มที่คาดการณ์ว่าจะกลับมาใช้จ่ายมากที่สุดหลัง COVID-19

    ก่อนหน้าจะเกิด COVID-19 ระบาด ประเทศจีนเป็นตลาดที่ครองมาร์เก็ตแชร์ฝั่งผู้ซื้อสูงถึง 35% ในตลาดสินค้าลักชัวรีอยู่แล้ว โดยบริษัทที่ปรึกษา Bain ประเมินว่า จนถึงปี 2025 ประเทศจีนจะเพิ่มส่วนแบ่งฝั่งผู้ซื้อสินค้าลักชัวรี ได้แก่ เสื้อผ้า กระเป๋า และเครื่องเพชร มากถึงเกือบ 50% ของทั้งโลก

    Source

    ]]>
    1311087
    เศรษฐกิจจีน “ฟื้นเร็ว” หลังวิกฤตไวรัส ประกาศ GDP ไตรมาส 3 เติบโต 4.9% https://positioningmag.com/1302064 Mon, 19 Oct 2020 07:27:50 +0000 https://positioningmag.com/?p=1302064 เศรษฐกิจจีนกำลังฟื้นตัวได้ดี รอดพ้นภาวะถดถอย ขณะที่หลายประเทศทั่วโลก ยังคงต้องหาทางออกจากความวุ่นวายของผลกระทบจาก COVID-19

    ล่าสุด สำนักงานสถิติแห่งชาติจีน เปิดเผยตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจไตรมาส 3/2020 ระบุว่า เศรษฐกิจประเทศจีนเริ่มฟื้นตัวต่อเนื่อง โดย GDP ในไตรมาส 3 เติบโต 4.9% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ถือเป็นการขยายตัวต่อเนื่องไตรมาสที่ 2 ติดต่อกัน หลังจากไตรมาส 2/2020 ขยายตัว 3.2% เเต่ในไตรมาสแรกของปีนี้ติดลบ 6.8% ทำให้ GDP โดยรวมงวด 9 เดือนแรกของปีนี้ เศรษฐกิจจีนขยายตัวอยู่ที่ 0.7%

    อย่างไรก็ตาม การขยายตัว 4.9% ของ GDP จีน ก็เป็นการขยายตัวที่ต่ำกว่าการคาดการณ์ของเหล่านักวิเคราะห์ที่ประเมินไว้ว่าจะขยายตัว 5.2% ในไตรมาสสะท้อนว่าจีนยังต้องจัดการกับปัญหาที่ท้าทายเเละมีปัจจัยไม่แน่นอนจำนวนมาก

    กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดว่าจีนจะเป็นเศรษฐกิจใหญ่ของโลกเพียงแห่งเดียวที่ GDP เป็นบวกได้ในปีนี้ โดยประเมินว่าจะขยายตัวที่ 1.9% ก่อนที่จะขยายตัวเพิ่มขึ้นถึง 26.8% ในปี 2021”

    ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจจีนขยายตัวเป็นบวกนั้น เป็นผลมาจากเศรษฐกิจของจีนที่เริ่มฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่ผ่านพ้นวิกฤตโระระบาด โดยภาคค้าปลีกเพิ่มขึ้น 3.3% ในเดือนกันยายนและปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.9% ในไตรมาส 3 ด้านภาคอุตสาหกรรม เพิ่มขึ้น 6.9% ส่งผลให้การผลิตภาคอุตฯ 9 เดือนแรกของปีนี้เติบโต 1.2% ส่วนภาคบริการ เพิ่มขึ้น 4.3% อัตราว่างงานลดลงเหลือ 5.4% 

    จีนมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากสหรัฐฯ หลังจากการเเพร่ระบาดของ COVID-19 เริ่มขึ้นในจีนเมื่อช่วงปลายปี 2019 ตอนนี้หลายประเทศก็ยังคงต้องต่อสู้กับวิกฤตไวรัส เเละได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจอย่างเเสนสาหัส

    เศรษฐกิจจีนฟื้นตัวค่อนข้างรวดเร็ว หลังรัฐบาลปักกิ่งบังคับใช้นโยบายการล็อกดาวน์และการติดตามประชากรที่เข้มงวด โดยปัจจุบันสหรัฐฯ ยังคงเป็นประเทศมียอดผู้ติดเชื้อสูงสุดในโลกเเละกำลังเผชิญกับวิกฤตเเรงงาน ขณะที่ยุโรปก็มีการเเพร่ระบาดระลอกสอง ซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจยิ่งทรุดลงไปอีก

     

    ที่มา : CNN , Bloomberg

    ]]>
    1302064
    มองอนาคต Uniqlo ในจีน “โตเร็ว” มีร้านค้าแซงญี่ปุ่น รุกโมเดลธุรกิจใหม่ ขยายได้ถึง 1,300 สาขา https://positioningmag.com/1301218 Mon, 12 Oct 2020 16:10:23 +0000 https://positioningmag.com/?p=1301218 Uniqlo ฟาสต์แฟชั่นยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่น เติบโตได้สวยในการตีตลาดจีน มองอนาคตสามารถขยายสาขาได้ถึง 3,000 แห่ง สวนทางเเบรนด์เสื้อผ้าอื่นๆ ที่ทยอยใช้นโยบายปิดสาขา

    ย้อนกลับไป Uniqlo เริ่มขยายสาขาไปต่างประเทศครั้งเเรก หลังเหตุวินาศกรรม 9/11 โดยเปิดสาขาเเรกนอกญี่ปุ่นที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ จากนั้นเพียง 1 ปีก็บุกไปจีนเเละมีสาขาแรกอยู่ที่เซี่ยงไฮ้ 

    วันนี้ Uniqlo ในประเทศจีน ขยายตัวเร็วมากมีจำนวนแซงหน้าญี่ปุ่นไปเรียบร้อย โดยมีอยู่ทั้งสิ้น 767 สาขา มากกว่าประเทศบ้านเกิดที่มีอยู่ 764 สาขา โดยจำนวนร้านค้าในเเดนมังกรเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา เมื่อเทียบกับจำนวนร้าน  387 สาขาที่มีในเดือนสิงหาคม 2015

    การที่ Uniqlo มีการขยายหน้าร้านไปถึง 7 แห่งตามภูมิภาคต่างๆ ในจีน ตั้งเเต่เดือนมิถุนายนที่ผ่านมา สะท้อนให้เห็นว่า บริษัทกำลังพึ่งพาตลาดจีนมากขึ้นในยามวิกฤต COVID-19 ซึ่งจีนเป็นประเทศเเรกที่มีการเเพร่ระบาดเเละมีการควบคุมโรคได้ดี

    Fast Retailing บริษัทเเม่ของ Uniqlo กำลังเร่งกลยุทธ์สร้างโมเดลธุรกิจใหม่ในจีนด้วยการรวมแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซเข้ากับการขายที่สาขา ให้สามารถส่งออกสินค้ากลับไปยังญี่ปุ่นได้

    เเม้จีนจะเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก เป็นตลาดใหญ่ที่สุดของ Uniqlo เเต่บางครั้งปัญหาความสัมพันธ์ที่ตึงเครียดระหว่างสองประเทศนี้ก็สร้างความเสี่ยงให้ธุรกิจไม่น้อย

    ด้วยตลาดที่มีประชากรมากถึง 1.3 พันล้านคน เราคิดว่า  Uniqlo สามารถขยายสาขาได้ถึง 3,000 แห่ง  Tadashi Yanai ผู้ก่อตั้งเเละประธานของ Fast Retailing กล่าวกับ Nikkei Asian Review

    Uniqlo ให้ความสำคัญในการตีตลาดจีนมากขึ้น ดูจากยอดขายในจีนเมื่อรวมกับฮ่องกงและไต้หวันที่สร้างรายได้กว่า 5.025 แสนล้านเยน (ราว 1.48 แสนล้านบาท) สำหรับปีงบประมาณสิ้นสุดเดือนสิงหาคม 2019 คิดเป็นสัดส่วนรายได้ถึง 20% แม้ยอดขายจะน้อยกว่าในญี่ปุ่นที่ทำได้ 8.729 แสนล้านเยน หรือ 2.56 แสนล้านบาท เเต่ก็เป็นการเติบโตที่มีนัยสำคัญ

    โดยกลุ่มประเทศที่พูดภาษาจีนมีการขยายตัวที่รวดเร็ว ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา จนถึงเดือนสิงหาคม 2019 มีอัตราการเติบโตต่อปีที่ 15% มากกว่าญี่ปุ่นถึง 3% ดังนั้นจึงมีการประเมินว่ายอดขายในจีนจะเเซงยอดขายในญี่ปุ่นได้ ในช่วงเดือนสิงหาคม ปี 2024 

    นักช้อปชาวจีนยังรับสินค้าราคาสูงได้ค่อนข้างดี และยังตอบรับอีคอมเมิร์ซได้ดีอีกด้วย โดยชาวจีนนิยมซื้อสินค้าออนไลน์ประมาณ 20% ของยอดขายในจีนของ Fast Retailing ในปีงบประมาณสิ้นสุดเดือนสิงหาคม 2019 เติบโตขึ้นเป็นสองเท่าเมื่อเทียบกับญี่ปุ่น

    Tadashi Yanai มองว่า หากบริษัทใช้กลยุทธ์เชื่อมอีคอมเมิร์ซกับหน้าร้านที่มีอยู่ได้ทั้งหมด จะทำให้ยอดขายพุ่งสู่ 2 ล้านล้านเยน (ราว 5.86 แสนล้านบาท) ได้ภายในหนึ่งปี จากที่ก่อนหน้านี้ บริษัทเคยประเมินว่ายอดขายจะมากถึง 1.99 ล้านล้านเยน ภายในสิ้นสิงหาคม 2020

    Tadashi Yanai
    Photo : Getty Images

    รูปแบบการเชื่อมธุรกิจออฟไลน์ออนไลน์เเบบไร้รอยต่อของ Fast Retailing ในจีน เรียกว่าเป็นกลยุทธ์ Information-driven manufacturer-retailer (ข้อมูลข่าวสารขับเคลื่อนการผลิตและค้าปลีกซึ่งตลาดจีนน่าจะเป็นกุญเเจสำคัญเพราะจีนเป็นผู้นำในด้านอีคอมเมิร์ซและระบบการชำระเงินที่ก้าวหน้ากว่าประเทศอื่นไปมาก

    โดยสาขาในจีนนั้นมีการสั่งออเดอร์ออนไลน์มากขึ้น รวมถึงลูกค้ามีส่วนร่วมในเเคมเปญโซเชียลมีเดีย ขณะที่ในบ้านเกิดอย่างญี่ปุ่น ยังประสบปัญหาแพลตฟอร์มออนไลน์ออฟไลน์ของ Uniqlo ยังไม่เชื่อมโยงกันได้ดีเท่าไหร่นัก

    อย่างไรก็ตาม การพึ่งพาจีนเกินไปของ Uniqlo ก็ยังมีความเสี่ยงอยู่มาก หลังในปี 2012 บริษัทต้องปิดชั่วคราวเกือบครึ่งหนึ่งเมื่อเกิดเหตุพิพาทพรมแดนรวมถึงเรื่องโลโก้ที่ไม่สามารถนำมาใช้ในจีนได้จากความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ไม่เเน่นอนนี้

    เเม่ทัพของ Fast Retailing ก็ยอมรับว่าบริษัทต้องสร้างสมดุลและไม่พึ่งพาจีนมากเกินไป

     

    ที่มา : Nikkei Asian Review (1) (2) , WSJ

    ]]> 1301218