ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 29 Feb 2024 12:32:18 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ปี 2567 คนมีแผน “ซื้อบ้าน” ลดลง สาเหตุจากเศรษฐกิจซบกระทบเงินเก็บ บ้านแพง ดอกเบี้ยสูง https://positioningmag.com/1464521 Thu, 29 Feb 2024 10:34:43 +0000 https://positioningmag.com/?p=1464521
  • DDproperty สำรวจความต้องการ “ซื้อบ้าน” ของคนไทย พบว่าปี 2567 คนไทยที่วางแผนซื้อบ้านภายใน 1 ปีข้างหน้าลดลงเหลือ 44% เท่านั้น จากปีก่อนที่มี 53%
  • 30% ของผู้ตอบแบบสอบถาม “เลื่อน” แผนการซื้อบ้านออกไปก่อน สาเหตุหลักจากภาวะเศรษฐกิจส่งผลต่อเงินเก็บที่จะใช้ซื้อบ้าน มองว่าราคาบ้านแพงเกินไป และอัตราดอกเบี้ยสูง
  • ผู้บริโภคคาดหวังว่ารัฐบาลจะมีมาตรการลดอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้านออกมา เพื่อช่วยเหลือทั้งผู้กู้เดิมและที่จะกู้ใหม่
  • DDproperty จัดทำสำรวจความคิดเห็นผู้บริโภคและเผยแพร่ผ่านรายงาน DDproperty Thailand Consumer Sentiment Study รอบล่าสุด ครึ่งปีแรกประจำปี 2567 พบว่าความเชื่อมั่นต่อภาคอสังหาริมทรัพย์ของผู้บริโภคไทยลดลงทุกด้าน ดังนี้

    คนอยาก “ซื้อบ้าน” ลดลงอย่างมีนัยยะ

    รายงานชิ้นนี้พบว่า 44% ของผู้บริโภคมีแผน “ซื้อบ้าน” ภายใน 1 ปีข้างหน้า ตัวเลขนี้ถือว่าลดลงอย่างมีนัยยะจากการสำรวจรอบก่อนหน้าช่วงครึ่งปีหลัง 2566 ที่เคยมีสัดส่วน 53% ตัวเลขคนอยากซื้อบ้านที่ลดลงต่ำกว่าครึ่งหนึ่งเป็นภาพสะท้อนว่ากำลังซื้อผู้บริโภคยังไม่ฟื้น และภาวะเศรษฐกิจกระทบมากต่อกลุ่มผู้ซื้อระดับกลางถึงล่างซึ่งมีความเปราะบางทางการเงินสูง

    สอดคล้องกับคำตอบของผู้บริโภคในอีกหัวข้อหนึ่งคือ 30% ของผู้บริโภคตอบว่าได้ตัดสินใจเลื่อนแผนซื้อบ้านออกไปก่อน เนื่องจากปัญหาทางการเงิน

    ซื้อบ้าน

     

    เงินเก็บไม่พอ บ้านแพง ดอกเบี้ยสูง

    ผู้บริโภคที่เลื่อนแผนซื้อบ้านออกไปหรือไม่มีแผนที่จะซื้อมาจากปัจจัยด้านการเข้าถึงที่อยู่อาศัย ดังนี้

    • “ดอกเบี้ยสูง”ผู้บริโภค 48% มองว่าดอกเบี้ยอยู่ในระดับสูง และ 29% มองว่าอยู่ในระดับสูงมาก มีเพียง 16% ที่มองว่าดอกเบี้ยอยู่ในระดับเหมาะสม
    • “เงินเก็บไม่พอ” – ในกลุ่มผู้บริโภคที่เลือกเช่าแทนการซื้อ 61% ให้เหตุผลว่าเป็นเพราะพวกเขายังไม่มีเงินเก็บพอที่จะซื้อที่อยู่อาศัย
    • “บ้านแพง” – ขณะที่คนที่เลือกเช่าแทนซื้อ 38% มองว่าบ้านมีราคาแพงเกินไป

    ซื้อบ้าน

    ปัจจัยเหล่านี้ส่งเสริมให้คนไทยเลือกจะเช่าบ้านเพิ่มขึ้น โดยมี 14% ของผู้ตอบแบบสอบถามที่มองว่าตนจะหาเช่าบ้านใน 1 ปีข้างหน้า เพิ่มจากสัดส่วน 9% เมื่อการสำรวจรอบก่อน

    อีกวิธีหนึ่งที่ผู้บริโภคใช้ในการแก้ปัญหาคือ “ลดช่วงราคาที่อยู่อาศัยที่จะซื้อลง” โดยมี 20% ของผู้ถูกสำรวจที่จะใช้แนวทางนี้ เพื่อลดความเสี่ยงในการก่อหนี้ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจซบเซา

     

    ขอสินเชื่อไม่ผ่านเพราะ “รายได้ไม่มั่นคง”

    อุปสรรคคนซื้อบ้านยุคนี้จึงเป็นเรื่องทางการเงินที่รุมเร้า นอกจากจะมีปัญหาจากเศรษฐกิจแล้ว ฝั่งแบงก์เองก็ระมัดระวังสูงในการอนุมัติสินเชื่อบ้าน มีการพิจารณาอย่างเข้มงวดจนทำให้อัตราลูกค้าที่ถูกปฏิเสธให้สินเชื่อสูงถึง 60-65% ของการยื่นขอกู้ทั้งหมด (ข้อมูลโดย LWS)

    เหตุที่ลูกค้าขอสินเชื่อบ้านไม่ผ่านนั้น 56% เกิดจากรายได้และอาชีพไม่มั่นคง 38% มีประวัติทางการเงินไม่ดี และ 31% มีเงินดาวน์ไม่พอ

    ขณะที่การช่วยเหลือจากภาครัฐผ่านมาตรการกระตุ้นอสังหาฯ นั้น ผู้บริโภค 58% ต้องการมาตรการลดดอกเบี้ยสินเชื่อบ้าน 51% ต้องการมาตรการลดดอกเบี้ยสินเชื่อบ้านทั้งที่มีอยู่แล้วและที่กู้ใหม่ และ 40% ต้องการมาตรการลดค่าธรรมเนียมโอนกรรมสิทธิ์และจดจำนอง

    ]]>
    1464521
    สรุปตลาดอสังหาฯ ไตรมาส 2/2566 ดีมานด์ ‘ซื้อบ้าน’ ยังซบเซา แต่คนมองหา ‘บ้านเช่า’ สูงขึ้น https://positioningmag.com/1442153 Thu, 24 Aug 2023 03:51:32 +0000 https://positioningmag.com/?p=1442153
  • ข้อมูลจาก “ดีดีพร็อพเพอร์ตี้” รายงานตลาด “อสังหาฯ” ไตรมาส 2/2566 พบว่าดีมานด์ “ซื้อบ้าน” ซบเซาลงถึง -32% YoY และลดลง -4% QoQ จากอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น และความไม่แน่นอนทางการเมืองทำให้ผู้บริโภคไม่มั่นใจ
  • สวนทางกับตลาด “บ้านเช่า” แม้ดีมานด์จะลดลง -30% YoY แต่ในระยะสั้นปรับเพิ่มขึ้นแล้ว 13% QoQ สะท้อนทิศทางที่ดีสำหรับตลาดเช่า
  • ประเภทอสังหาฯ ที่มีดีมานด์เช่าเพิ่มขึ้นมากที่สุดคือ คอนโดฯ , บ้านเดี่ยว และทาวน์เฮาส์ ตามลำดับ
  • ข้อมูลจากรายงาน DDproperty Thailand Property Market Report เปิดเผยข้อมูลตลาดอสังหาริมทรัพย์ในช่วง ไตรมาส 2/2566 โดยศึกษาทั้งตลาดซื้อและตลาดเช่าในเขตกรุงเทพฯ-ปริมณฑล

    ตลาด “ซื้อบ้าน” นั้นยังซบเซา โดยพบว่าความต้องการซื้อบ้านลดลงถึง -32% YoY และลดลง -4% QoQ โดยประเภทอสังหาฯ ที่ความต้องการซื้อยังซบเซามากที่สุดคือ “คอนโดมิเนียม” เพราะผู้บริโภคยังอยู่ในเทรนด์ความต้องการที่อยู่อาศัยที่มีพื้นที่ใช้สอย

    วิทยา อภิรักษ์วิริยะ ผู้จัดการทั่วไป Think of Living และ ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (ฝั่งดีเวลลอปเปอร์) มองว่าตลาดซื้อยังซบเซาเพราะหนี้ครัวเรือนสูง อัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น ซึ่งทำให้การเข้าถึงการซื้อบ้านยากขึ้น และทำให้ผู้บริโภคที่กำลังมองหาบ้านกังวลเกี่ยวกับภาระผ่อนชำระ

    ขณะที่ความไม่แน่นอนทางการเมืองก็เป็นอีกปัจจัยระยะสั้นที่ทำให้ผู้บริโภคลดความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจ ซึ่งคาดว่าจะปรับตัวดีขึ้นหลังจากมีรัฐบาลใหม่และนโยบายทางเศรษฐกิจที่ชัดเจน

    ซื้อบ้าน

    จากปัจจัยลบและความต้องการซื้อที่ลดลง ทำให้ดัชนี “ราคาบ้าน” ไม่กระเตื้องเท่าใดนัก โดยปรับขึ้นเพียง 1% QoQ และลดลง -6% YoY รวมถึงถ้าเทียบกับก่อนเกิดโรคระบาด ราคาบ้านยังต่ำกว่า -10% เทียบกับไตรมาส 2/2562

     

    “บ้านเช่า” สวนทาง ตลาดฟื้นกลับมาคึกคัก

    แม้ผู้ซื้อมีความต้องการซื้อลดลง แต่ตลาด “บ้านเช่า” โตสวนทาง ถึงแม้เทียบกับปีก่อนแล้วดีมานด์เช่าลดลง -30% YoY แต่ระยะสั้นเห็นการปรับตัวดีขึ้น ดีมานด์เพิ่ม 13% QoQ

    ประเภทอสังหาฯ ที่ต้องการเช่าสวนทางกับตลาดซื้อเช่นกัน เพราะ “คอนโดมิเนียม” มีความต้องการเช่าเพิ่มขึ้นสูงสุด ตามด้วยบ้านเดี่ยวและทาวน์เฮาส์

    บ้านเช่า

    ความต้องการมากขึ้นส่งผลให้ “ค่าเช่าบ้าน” ปรับเพิ่มขึ้นได้ แบ่งเป็นกลุ่มคอนโดฯ ราคาเช่าเพิ่ม 3% QoQ ส่วนบ้านแนวราบ (บ้านเดี่ยวและทาวน์เฮาส์) ปรับเพิ่ม 8% QoQ

    อย่างไรก็ตาม ถ้าเทียบกับก่อนเกิดโรคระบาดแล้ว กลุ่มบ้านแนวราบถือว่าทำราคาได้แข็งแกร่งกว่ามาก โดยทั้งบ้านเดี่ยวและทาวน์เฮาส์ปรับราคาเช่าขึ้นถึง 51% เทียบกับปี 2562 แต่กลุ่มคอนโดฯ รวมถึงหอพัก-อะพาร์ตเมนต์ ต่างปรับลดราคา -9% เทียบกับช่วงก่อนเกิดโรคระบาด สะท้อนให้เห็นว่าที่พักในเมืองแม้ความต้องการจะสูงขึ้น แต่ก็ต้องแข่งขันกับคู่แข่งในตลาดสูงมากเพื่อดึงดูดผู้บริโภค

    วิทยาเสริมในส่วนตลาดบ้านเช่าว่า ความต้องการเพิ่มขึ้นเพราะเกิด Generation Rent คนรุ่นใหม่เน้นเช่าบ้านมากกว่าเพราะมีความยืดหยุ่นกว่าในการย้ายที่อยู่ และไม่พร้อมที่จะมีภาระการเงินผูกพันในระยะยาว

     

    “คันนายาว” ราคาบ้านพุ่งสูงสุด “ทุ่งครุ” ค่าเช่าปรับขึ้นสูงสุด

    ด้านทำเลร้อนแรงสำหรับไตรมาส 2/2566 ทั้งในกลุ่ม “ซื้อบ้าน” และ “บ้านเช่า” มีดังนี้

     

    ซื้อบ้าน : ทำเลที่ดัชนีราคาเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบไตรมาส

    ส่วนใหญ่อยู่ในทำเลพื้นที่นอกเขตศูนย์กลางธุรกิจและพื้นที่กรุงเทพฯ รอบนอก ซึ่งมีที่อยู่อาศัยแนวราบเป็นหลัก และตั้งอยู่ใกล้เส้นทางที่รถไฟฟ้าพาดผ่าน ได้แก่

    • เขตคันนายาว เพิ่มขึ้น 15% QoQ ทำเลที่มีโครงการที่อยู่อาศัยแนวราบเป็นส่วนใหญ่ อยู่ใกล้รถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ซึ่งมีกำหนดเปิดให้บริการในปี 2567
    • เขตบางคอแหลม เพิ่มขึ้น 8% QoQ เป็นแหล่งงานย่านพระราม 3 ใกล้กับสาทร-สีลม
    • เขตสะพานสูง เพิ่มขึ้น 7% QoQ พื้นที่นอกเขตศูนย์กลางธุรกิจ อีกหนึ่งทำเลบ้านแนวราบใกล้เมืองและใกล้สนามบินสุวรรณภูมิ โดยเฉพาะโครงการหรูย่านกรุงเทพกรีฑาตัดใหม่ที่กำลังได้รับความนิยม
    • เขตบางเขน เพิ่มขึ้น 7% QoQ พื้นที่นอกเขตศูนย์กลางธุรกิจใกล้รถไฟฟ้า 2 สาย ได้แก่ รถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยาย หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต และรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี และใกล้สนามบินดอนเมือง
    • เขตบึงกุ่ม เพิ่มขึ้น 6% QoQ พื้นที่กรุงเทพฯ รอบนอกที่อยู่ใกล้แหล่งงาน เป็นทำเลที่มีที่อยู่อาศัยแนวราบเป็นจำนวนมาก
    ซื้อบ้าน
    โครงการ SMYTH’s Ramintra บ้านหรูราคา 120 ล้านบาท พัฒนาโดย บมจ.สิงห์ เอสเตท ทำเลในบริเวณใกล้รถไฟฟ้าสายสีชมพู สายสีเขียว และสนามบินดอนเมือง ซึ่งเป็นทำเลที่ทำราคาสูงขึ้นได้ในกรุงเทพฯ
    บ้านเช่า :  ทำเลที่มีดัชนีค่าเช่าเพิ่มขึ้นมากที่สุดในรอบไตรมาส

    ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯ รอบนอก และพื้นที่นอกเขตศูนย์กลางธุรกิจ รวมทั้งอยู่ในทำเลแนวรถไฟฟ้าสายปัจจุบันและอนาคต ได้แก่

    • เขตทุ่งครุ ค่าเช่าเพิ่มขึ้นมากที่สุด 24% QoQ โดยเป็นพื้นที่กรุงเทพฯ รอบนอกที่ใกล้แหล่งงานและสถานศึกษา ไม่ไกลจากรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงต่อขยาย เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ ที่กำลังก่อสร้าง
    • เขตทวีวัฒนา เพิ่มขึ้น 21% QoQ พื้นที่กรุงเทพฯ รอบนอกที่เป็นทำเลที่อยู่อาศัยแนวราบ เดินทางได้สะดวก อยู่ใกล้ทางด่วนและรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน และ ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา ที่มีแผนก่อสร้างในอนาคต
    • เขตลาดพร้าว เพิ่มขึ้น 16% QoQ พื้นที่นอกเขตศูนย์กลางธุรกิจใกล้ใจกลางเมืองและศูนย์การค้าขนาดใหญ่ มีความเป็นย่านพาณิชย์แหล่งช้อปปิ้ง มีรถไฟฟ้า 2 สายผ่าน ทั้งสายสีน้ำเงิน และสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง
    • เขตหนองแขม เพิ่มขึ้น 13% QoQ พื้นที่กรุงเทพฯ รอบนอก แม้เป็นทำเลชานเมืองแต่ไม่ไกลจากรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงท่าพระ-หลักสอง และมีศูนย์การค้าขนาดใหญ่
    • เขตบางเขน เพิ่มขึ้น 10% QoQ พื้นที่นอกเขตศูนย์กลางธุรกิจ อีกหนึ่งทำเลใกล้เมือง ใกล้สถานศึกษาชื่อดังและศูนย์การค้าขนาดใหญ่ มีรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยาย หมอชิต-คูคต ผ่านทำเล และใกล้สนามบินดอนเมือง
    บ้านเช่า
    แกรนด์ บริทาเนีย วงแหวน-ประชาอุทิศ บ้านเดี่ยวราคาเริ่ม 18 ล้านบาท พัฒนาโดย บมจ.บริทาเนีย
    ]]>
    1442153
    อสังหาฯ กรุงเทพฯ ไตรมาส 1/66 “ราคา” ลดลง 10% ดีมานด์ตลาดซบเซาจาก “ดอกเบี้ย” ขาขึ้น https://positioningmag.com/1430069 Wed, 10 May 2023 10:24:45 +0000 https://positioningmag.com/?p=1430069 ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ รายงานการสำรวจตลาดอสังหาฯ กรุงเทพฯ ไตรมาส 1 ปี 2566 พบว่า ดัชนี “ราคา” อสังหาฯ ลดลง 10% QoQ ส่วนดีมานด์ความต้องการซื้อลดลง 2% QoQ สะท้อนภาพผลกระทบจาก “ดอกเบี้ย” ขาขึ้น และความเข้มงวดการให้สินเชื่อของธนาคาร ในทางตรงข้าม ตลาดการเช่าที่อยู่อาศัยจึงเติบโตขึ้นเมื่อผู้บริโภคไม่พร้อมซื้อ

    เว็บไซต์มาร์เก็ตเพลสอสังหาริมทรัพย์ “ดีดีพร็อพเพอร์ตี้” จัดทำรายงานสำรวจตลาดอสังหาฯ ในกรุงเทพฯ ข้อมูลจากช่วงไตรมาส 1 ปี 2566

    ข้อมูลพบว่า ดัชนี “ราคา” อสังหาฯ กรุงเทพฯ ลดลงไปถึง 10% QoQ หรือลด 18% YoY ขณะที่ “ดีมานด์” ของผู้ซื้อก็มีความต้องการลดลง 2% QoQ หรือลดลง 15% YoY สะท้อนให้เห็นว่าตลาดซื้ออสังหาฯ ในกรุงเทพฯ ยังชะลอตัว

    “วิทยา อภิรักษ์วิริยะ” ผู้จัดการทั่วไป Think of Living และดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (ฝั่งดีเวลลอปเปอร์) กล่าวว่า ภาวะราคานี้คาดว่าเกิดจากกำลังซื้อที่ลดลงของผู้บริโภค รวมถึงผู้ประกอบการยังมีสินค้าค้างสต็อกอยู่ในมือ ทำให้ต้องจัดโปรโมชันเพื่อระบายสต็อก ทำให้ดัชนีราคาในตลาดลดลง

    สำหรับกำลังซื้อที่ลดลงของผู้บริโภค มีปัจจัยสำคัญมาจากประกาศของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ที่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยติดต่อกันหลายครั้งจนปัจจุบันขึ้นมาอยู่ที่ 1.75% ต่อปีและน่าจะขึ้นอีกในอนาคต ส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ด้วยเช่นกัน มีผลกระทบต่อผู้ที่กำลังผ่อนสินเชื่อบ้านหรือกำลังพิจารณาวางแผนซื้อที่อยู่อาศัย นอกจากนี้ ธนาคารพาณิชย์ยังเข้มงวดมากขึ้นในการอนุมัติสินเชื่อบ้าน ทำให้โอกาสซื้อของผู้บริโภคจะยิ่งน้อยลงในกลุ่มที่มีรายได้อ่อนแอ

    ด้านความต้องการซื้อหากแยกตามประเภทที่อยู่อาศัย ไตรมาสก่อนมีสินค้าประเภทเดียวที่ดีมานด์ยังเติบโตเล็กน้อยคือ “ทาวน์เฮาส์” ดีมานด์โต 1% QoQ ส่วนประเภทอื่นคือ “บ้านเดี่ยว” ดีมานด์ลด 3% QoQ และ “คอนโดมิเนียม” ดีมานด์ลด 2% QoQ เห็นได้ว่าความร้อนแรงของตลาดบ้านเดี่ยวที่เคยมีก่อนหน้านี้อาจจะเริ่มชะลอลงแล้ว

     

    ซื้อไม่ไหว หันมาหา “เช่า” แทน

    วิทยากล่าวต่อว่า เมื่อการซื้อที่อยู่อาศัยมีความท้าทายด้านการเงิน จึงทำให้ผู้บริโภคหาเช่าทดแทน ร่วมกับอีกเหตุผลหนึ่งคือคนยุคปัจจุบันเริ่มจะ “เช่าแทนซื้อ” เพราะต้องการความยืดหยุ่นในการย้ายที่อยู่อาศัย ดังนั้น ตลาดที่อยู่อาศัยเพื่อ “เช่า” มีแนวโน้มโต เป็นปัจจัยบวกต่อกลุ่มนักลงทุน

    สำหรับการสำรวจรอบไตรมาส 1/2566 พบว่า ดีมานด์การเช่าปรับลดลง 3% QoQ แต่เทียบกับปีก่อนแล้วเพิ่มขึ้น 17% YoY โดยประเภทสินค้าที่ต้องการเช่าเพิ่มขึ้นมีประเภทเดียวคือ “ทาวน์เฮาส์” ต้องการเพิ่ม 7% QoQ ส่วน “บ้านเดี่ยว” ลดลง 8% QoQ และ “คอนโดฯ” ลดลง 3% QoQ

    ด้านดัชนีราคาเช่าก็ปรับขึ้นเล็กน้อย 3% QoQ และราคาเช่าที่เพิ่มขึ้นก็สอดคล้องกับดีมานด์ คือราคาเช่า “ทาวน์เฮาส์” ปรับขึ้น 2% QoQ ส่วน “บ้านเดี่ยว” ลดลง 6% QoQ ขณะที่ “คอนโดฯ” ราคายังทรงตัวเท่ากับไตรมาสก่อนหน้า

     

    พื้นที่ซื้อ-เช่าที่ราคาเพิ่มสูง ส่วนใหญ่อยู่ในเขตกลางเมือง

    ในวิกฤตมีโอกาสเสมอ แม้ดัชนีราคาซื้อที่อยู่อาศัยในภาพรวมจะลดลง แต่มีบางพื้นที่ที่ราคาเติบโตขึ้น ได้แก่

    • เขตปทุมวัน ราคาเพิ่มขึ้น 6% QoQ
    • เขตสัมพันธวงศ์ และ เขตบางคอแหลม ราคาเพิ่มขึ้น 4% QoQ
    • เขตคลองสาน เขตคลองสามวา เขตวัฒนา และ เขตหลักสี่ ราคาเพิ่มขึ้น 3% QoQ

    เช่นเดียวกัน ในกลุ่มตลาดเช่า มีบางพื้นที่ที่ราคาเช่าปรับได้มากกว่าตลาด ได้แก่

    • เขตธนบุรี และ เขตสัมพันธวงศ์ ราคาเช่าเพิ่มขึ้น 8% QoQ
    • เขตดินแดง ราคาเช่าเพิ่มขึ้น 7% QoQ
    • เขตสายไหม และ เขตประเวศ ราคาเช่าเพิ่มขึ้น 5% QoQ

    ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ มองว่าพื้นที่ที่ราคาซื้อและราคาเช่าเพิ่มขึ้นเริ่มกลับมาเป็นเขตกลางเมืองและโดยรอบกลางเมืองมากขึ้น ซึ่งน่าจะเกิดจากการกลับมาทำงานในเมือง ทำให้ผู้บริโภคต้องการทำเลใกล้แหล่งงานหรือเดินทางด้วยรถไฟฟ้าได้สะดวก

    ]]>
    1430069
    คนวางแผน “ซื้อ” บ้านลดลง ต้องการ “เช่า” มากขึ้น “เงินเฟ้อ” ต้นเหตุพับแผน-ชะลอการซื้อ https://positioningmag.com/1423105 Tue, 14 Mar 2023 09:55:11 +0000 https://positioningmag.com/?p=1423105 “ดีดีพร็อพเพอร์ตี้” สำรวจความเห็นผู้บริโภครอบครึ่งปีแรก 2566 พบว่า คนไทยที่มีแผน “ซื้อ” บ้านภายในระยะเวลา 1 ปีลดลงเหลือ 52% ขณะเดียวกัน ผู้บริโภคที่ต้องการ “เช่า” บ้านมีมากขึ้นเป็น 9% โดย “เงินเฟ้อ” มีผลต่อผู้บริโภคมาก เป็นต้นเหตุการชะลอแผนหรือพับแผนซื้อที่อยู่อาศัย

    ข้อมูลจาก “ดีดีพร็อพเพอร์ตี้” เว็บไซต์มาร์เก็ตเพลสอสังหาริมทรัพย์ สำรวจความคิดเห็นผู้บริโภคประจำรอบครึ่งปีแรก 2566 (DDproperty Thailand Consumer Sentiment Study) เกี่ยวกับความต้องการซื้อหรือเช่าที่อยู่อาศัย และปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจ พบข้อมูลที่น่าสนใจดังนี้

    1.คนมีแผน “ซื้อ” บ้าน “ลดลง” น้อยกว่าปีก่อน — ผู้ตอบแบบสอบถามมี 52% ที่มีแผนจะซื้อที่อยู่อาศัยภายในระยะเวลา 1 ปี ตัวเลขนี้แม้จะเกินครึ่ง แต่เทียบกับการสำรวจรอบครึ่งปีหลัง 2565 เคยมีสูงกว่านี้ที่ 57%

    2.คนมีแผน “เช่า” บ้าน “เพิ่มขึ้น” จากปีก่อน — ผู้ตอบแบบสอบถามมี 9% ที่กำลังมองหาที่อยู่อาศัยเพื่อเช่า เทียบกับการสำรวจรอบก่อนมีเพียง 7%

     

    “เงินเฟ้อ” ทำคนอยากมีบ้านถอยทัพ

    สาเหตุหลักที่ทำให้คนที่ตั้งใจจะซื้อบ้านมีสัดส่วนลดลง เกิดจากภาวะเศรษฐกิจที่รุมเร้า โดยภาวะเงินเฟ้อ อัตราดอกเบี้ยขาขึ้น ค่าครองชีพสูงขึ้น เงินเก็บลดลง ทุกปัจจัยทำให้ความสามารถในการซื้อที่อยู่อาศัยของผู้บริโภคลดลงตามไปด้วย

    เมื่อสอบถามผลกระทบจากเงินเฟ้อที่มีต่อความต้องการซื้อที่อยู่อาศัย ปรากฏว่า มีผู้บริโภคเพียง 1 ใน 5 ที่ไม่กระทบและจะเดินหน้าซื้อบ้านต่อไปตามแผน ส่วนอีก 3 ใน 5 เลือกชะลอการซื้อบ้านไปก่อนจนกว่าภาวะเงินเฟ้อจะลดลง ขณะที่อีก 1 ใน 5 ยกเลิกแผนการซื้อบ้าน เพราะเงินเฟ้อกระทบกับสภาพคล่องทางการเงินของตนเอง

    สำหรับกลุ่มผู้ที่ต้องการซื้อที่อยู่อาศัยใหม่ มีเหตุผลหลักที่ผลักดันความต้องการ 3 ปัจจัย คือ ต้องการพื้นที่ส่วนตัว (40%), ซื้อเพื่อการลงทุน (33%) และ ต้องการพื้นที่ให้กับการขยายครอบครัว เช่น มีบุตรหลาน พ่อแม่ย้ายเข้ามาอยู่ร่วม (28%) ทั้งนี้ การเลือกซื้อที่อยู่อาศัยของผู้บริโภค อันดับแรกที่ใส่ใจที่สุดยังคงเป็น “ทำเล” ที่ตอบโจทย์

     

    “เช่า” เพราะยังไม่พร้อมซื้อ

    ในอีกมุมหนึ่ง การสำรวจรอบนี้พบว่ามีคนสนใจเช่าบ้านมากขึ้น เหตุที่ผู้บริโภคมีแนวโน้มเช่าจากการสำรวจนี้มี 3 เหตุผลหลักคือ ยังไม่มีเงินเก็บพร้อมซื้อที่อยู่อาศัย (45%), ยังไม่ต้องการตั้งถิ่นฐานถาวรอยู่เพียงที่เดียว ต้องการความยืดหยุ่นเผื่อย้ายทำเลในอนาคต (36%) ตามด้วยเหตุผลคือ มองว่าราคาที่อยู่อาศัยแพงเกินไป การเก็บออมเป็นเงินคุ้มค่ากว่า (31%)

    การสำรวจของดีดีพร็อพเพอร์ตี้ จัดสำรวจเป็นประจำทุก 6 เดือน โดยใช้วิธีทำแบบสอบถามออนไลน์ในกลุ่มตัวอย่างอายุ 22-69 ปี จำนวน 1,000 คน

     

    อ่านข่าวอื่นๆ เพิ่มเติม

    ]]>
    1423105
    อสังหาฯ ปี’65 ต่างสุดขั้ว: “คอนโดฯ-ทาวน์เฮาส์” ขอไม่เกิน 3 ล้าน แต่ “บ้านเดี่ยว” ลักชัวรีขายดี https://positioningmag.com/1413588 Thu, 22 Dec 2022 11:49:44 +0000 https://positioningmag.com/?p=1413588 “ดีดีพร็อพเพอร์ตี้” สำรวจการค้นหาบนแพลตฟอร์มเพื่อซื้ออสังหาฯ ในกรุงเทพฯ-ปริมณฑลปี 2565 พบว่าแต่ละกลุ่มสินค้ามีความต้องการต่างกันชัดเจน โดยประเภท “คอนโดฯ” และ “ทาวน์เฮาส์” นั้นคนส่วนใหญ่ต้องการในราคา 1-3 ล้านบาท แต่กลับกัน “บ้านเดี่ยว” ส่วนใหญ่จะค้นหาในราคามากกว่า 10 ล้านบาท สะท้อนภาพความแตกต่างของกำลังซื้อชาวกรุง

    เว็บไซต์มาร์เก็ตเพลสอสังหาริมทรัพย์ “ดีดีพร็อพเพอร์ตี้” เก็บข้อมูลผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์และแอปพลิเคชันของบริษัท ระหว่างเดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2565 พบข้อมูลที่น่าสนใจในแง่ของ “ดีมานด์” การซื้อและเช่าอสังหาฯ ซึ่งสะท้อนว่า คนไทยโดยเฉพาะในกรุงเทพฯ-ปริมณฑลมีกำลังซื้อที่แตกต่าง

    โดยหากแบ่งตามประเภทสินค้า การค้นหาส่วนใหญ่เป็นที่อยู่อาศัยแนวสูง เพราะเป็นกลุ่มสินค้าที่ดึงดูดทั้งผู้อยู่อาศัยเองและนักลงทุน ดังนี้

    • คอนโดฯ 55%
    • บ้านเดี่ยว 28%
    • ทาวน์เฮาส์ 17%
    ศุภาลัย ลอฟท์ รัชดา-วงศ์สว่าง

    เมื่อแบ่งตามประเภทสินค้าและระดับราคาของแต่ละประเภท จะเห็นความต้องการที่ต่างกัน ดังนี้

    “คอนโดฯ”
    ดีมานด์มาจากลูกค้าตลาดกลางล่างเป็นหลัก แล้วกระโดดขึ้นไปเป็นกลุ่มตลาดกลางบน
    • 1-3 ล้านบาท 42%
    • 3-5 ล้านบาท 16%
    • 5-10 ล้านบาท 18%
    “บ้านเดี่ยว”
    ดีมานด์มาจากลูกค้ามีรายได้สูง มีเงินเก็บ ต้องการเป็นเจ้าของบ้านหรู
    • 3-5 ล้านบาท 20%
    • 5-10 ล้านบาท 30%
    • 10 ล้านบาทขึ้นไป 36%
    “ทาวน์เฮาส์”
    ดีมานด์คล้ายกับคอนโดฯ คือส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มจับต้องได้ง่าย
    • 1-3 ล้านบาท 48%
    • 3-5 ล้านบาท 27%
    • 5-10 ล้านบาท 15%
    บางกอก บูเลอวาร์ด พระราม 9 หนึ่งในโครงการบ้านเดี่ยวระดับบนของเอสซีฯ

     

    ระดับราคาเช่า ใกล้เคียงกับการซื้อ

    สำหรับตลาดเช่านั้น ความต้องการในแง่ของเซกเมนต์มีความใกล้เคียงกับตลาดซื้อขาด คือคอนโดฯ และทาวน์เฮาส์นั้นจะต้องการราคาเช่ากลางๆ ส่วนบ้านเดี่ยวผู้เช่ามีกำลังเช่าค่อนข้างสูง โดยรายละเอียดของแต่ละสินค้ามีดังนี้

    “คอนโดฯ”
    กลุ่มที่ต้องการมากที่สุดเป็นคอนโดฯ ระดับกลาง
      • อันดับ 1 ระดับค่าเช่า 10,000-20,000 บาท สัดส่วน 38%
      • อันดับ 2 ระดับค่าเช่า ไม่เกิน 10,000 บาท สัดส่วน 36%
      • อันดับ 3 ระดับค่าเช่า 30,000 บาทขึ้นไป สัดส่วน 15%
    “บ้านเดี่ยว”
    กลุ่มผู้เช่าต้องการบ้านเดี่ยวในทำเลทองซึ่งมักจะหาซื้อได้ยาก จึงตัดสินใจเช่าในราคาสูง
      • อันดับ 1 ระดับค่าเช่า 30,000 บาทขึ้นไป สัดส่วน 59%
      • อันดับ 2 ระดับค่าเช่า 10,000-20,000 บาท สัดส่วน 19%
      • อันดับ 3 ระดับค่าเช่า 20,000-30,000 บาท สัดส่วน 16%
    “ทาวน์เฮาส์”
    ผู้เช่าต้องการพื้นที่มากขึ้นจากคอนโดฯ หรือสามารถทำธุรกิจได้ด้วย
      • อันดับ 1 ระดับค่าเช่า 10,000-20,000 บาท สัดส่วน 38%
      • อันดับ 2 ระดับค่าเช่า 30,000 บาทขึ้นไป สัดส่วน 27%
      • อันดับ 3 ระดับค่าเช่า 20,000-30,000 บาท สัดส่วน 20%

     

    “สวนหลวง” ทำเลมาแรงจากรถไฟฟ้าสายสีเหลือง

    สำหรับ “ทำเล” ที่มาแรงมากวัดจากการค้นหาบนแพลตฟอร์มของดีดีพร็อพเพอร์ตี้ พบว่าเป็นเขต “สวนหลวง” ซึ่งคาดว่าเกิดจากการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเหลืองสำโรง-ลาดพร้าว ที่ใกล้จะเปิดใช้บริการ ลักษณะย่านยังเป็นย่านที่อยู่อาศัยของคนระดับกลางถึงระดับบน มีสิ่งอำนวยความสะดวก และเส้นทางคมนาคมที่ดี

    ในแง่ของการหาซื้ออสังหาฯ สวนหลวงเป็นเขตอันดับ 1 ที่มีการค้นหามากที่สุด
    ส่วนในแง่การหาเช่า สวนหลวงก็ติดอันดับ 6 โดยถ้าแบ่งตามประเภทสินค้าด้วยแล้ว สวนหลวงเป็นเขตที่คนหาเช่าบ้านเดี่ยวละเช่าทาวน์เฮาส์สูงที่สุดในปีนี้

    คอนโด ทาวน์เฮาส์ บ้านเดี่ยว

    คอนโด ทาวน์เฮาส์ บ้านเดี่ยว

    ต้องติดตามกันต่อในปี 2566 ว่าความต้องการและกำลังซื้อจะเปลี่ยนไปหรือไม่อย่างไร โดยล่าสุดศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคประจำเดือนพฤศจิกายน 2565 ปรับตัวมาอยู่ที่ 47.9 ซึ่งเป็นจุดที่ดีที่สุดนับตั้งแต่เดือนเมษายน 2564 เป็นสัญญานบวกที่ดีต่อผู้ประกอบการ

    ]]>
    1413588
    จับชีพจร “คอนโดฯ” กำลังจะพ้นจุดต่ำสุด ขณะที่ “บ้านเช่า” เมืองท่องเที่ยวกลับมาบูม! https://positioningmag.com/1385991 Thu, 19 May 2022 11:44:53 +0000 https://positioningmag.com/?p=1385991 รายงานสถานการณ์ตลาดอสังหาฯ จาก “ดีดีพร็อพเพอร์ตี้” สำรวจรอบ 4 เดือนแรกปี 2565 พบว่า ตลาด “คอนโดฯ” กำลังจะพ้นจุดต่ำสุด ห้ามเลือดราคาที่ตกต่ำลงมาตลอดช่วงโควิด-19 ได้แล้ว ขณะที่ตลาดน่าสนใจอยู่ที่ “บ้านเช่า” ในเมืองท่องเที่ยว ภูเก็ต พัทยา เชียงใหม่ กลับมาบูม ดีมานด์พุ่งจากกระแสนักท่องเที่ยว คนทำงานทางไกล (Work from Anywhere)

    กมลภัทร แสวงกิจ ผู้จัดการใหญ่ประจำประเทศไทย ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ เว็บไซต์มาร์เก็ตเพลสด้านอสังหาริมทรัพย์ เปิดเผยรายงานสถานการณ์ตลาดอสังหาฯ สำรวจรอบ 4 เดือนแรก (มกราคม-เมษายน) ปี 2565 ภาพรวมตลาดประเทศไทย พบว่า ดีมานด์ค่อยๆ ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ไตรมาส 3/64 โดยไตรมาสล่าสุดมีดีมานด์เพิ่มขึ้น +30% YoY แต่ซัพพลายก็ปรับเพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยไตรมาสล่าสุดซัพพลายปรับเพิ่ม +15% YoY ทำให้ราคาโดยภาพรวมก็ยังคงลดลง -7% YoY

    อย่างไรก็ตาม ถ้าดูแยกย่อยตามประเภทสินค้าแล้ว จะพบว่า “บ้านเดี่ยว” เป็นกลุ่มสินค้าที่มาแรงกว่าตลาด โดยมีดีมานด์สูงมาก และทำให้ราคาปรับขึ้นได้ +8% YoY (ยิ่งในตลาดกรุงเทพฯ บ้านเดี่ยวขึ้นราคาถึง +19% YoY) ส่วนสินค้า “ทาวน์เฮาส์” ก็ขึ้นราคาได้เล็กน้อย +2% YoY

    สินค้าที่ถือว่าตลาดซึมเซาลงไปนั้นคือ “คอนโดฯ” โดยราคาตกลง -6% YoY อย่างไรก็ตาม หากดูจากเส้นกราฟจะเห็นว่าราคาคอนโดฯ ที่ลดลงต่อเนื่องมาตั้งแต่ไตรมาส 4/62 เริ่มเข้าสู่ระดับทรงตัวแล้ว

    กมลภัทรเชื่อว่า ตลาดคอนโดฯ น่าจะถึงจุดต่ำสุด เข้าสู่ช่วงโค้งสุดท้ายของวิกฤต และน่าจะกลับมาฟื้นตัวขึ้นราคาได้ในช่วงครึ่งปีหลังของปีนี้ เนื่องจากดีมานด์ที่น่าจะกลับเพิ่มขึ้นแล้ว รวมถึงยังเกิดจากต้นทุนวัสดุก่อสร้างและพลังงานที่จะบีบให้ผู้ประกอบการจำต้องขึ้นราคา ดังนั้น ผู้ต้องการซื้อคอนโดฯ ควรจะเร่งการตัดสินใจภายในไตรมาส 2 นี้ ก่อนที่ราคาจะทยอยปรับขึ้น

     

    “บ้านเช่า” เมืองท่องเที่ยวกลับมาคึกคัก

    ไฮไลต์อีกส่วนที่น่าสนใจคือตลาด “บ้านเช่า” และ “คอนโดฯ ให้เช่า” ในหัวเมืองจังหวัดท่องเที่ยว โดยดีดีพร็อพเพอร์ตี้เสนอข้อมูล 3 จังหวัด คือ ภูเก็ต, พัทยา และเชียงใหม่ ภาพรวมพบว่า ดีมานด์การเช่าอสังหาฯ กลับมาพุ่งสูงทุกจังหวัด แต่ด้วยซัพพลายที่เข้าสู่ตลาดมากเช่นกัน ทำให้ราคาอาจจะยังปรับขึ้นไม่ได้ ดังนี้

    • ภูเก็ต – ดีมานด์ +234% YoY ซัพพลาย +21% YoY ราคาเช่า -12% YoY
    • พัทยา – ดีมานด์ +138% YoY ซัพพลาย +233% YoY ราคาเช่า -27% YoY
    • เชียงใหม่ – ดีมานด์ +51% YoY ซัพพลาย +26% YoY ราคาเช่า +0% YoY
    (Photo : Shutterstock)

    กมลภัทรมองว่า ตลาดเช่าเหล่านี้กลับมาเติบโตด้วยกระแสการท่องเที่ยวไทยที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง และโลกยุคหลังโควิด-19 มีหลายบริษัทที่อนุญาตให้ทำงานจากที่ไหนก็ได้ (Work from Anywhere) ทำให้ทั้งชาวต่างชาติจำนวนมากเลือกมาอาศัยพร้อมท่องเที่ยวในประเทศที่ค่าครองชีพต่ำลง และได้บรรยากาศในการพักผ่อน

    โดยสรุปภาพรวมตลาดอสังหาฯ ไทยครึ่งปีหลัง 2565 ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ประเมินว่าจะเข้าสู่ช่วงการฟื้นตัว แต่เป็นการฟื้นตัวอย่างช้าๆ เนื่องจากไทยยังมีปัจจัยลบหลายด้านรุมเร้า ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจที่ยังซบเซา อัตราเงินเฟ้อ ต้นทุนค่าก่อสร้างสูง ต้องจับตาในช่วงครึ่งปีหลังว่า เมื่อไทยปรับเปลี่ยนให้โควิด-19 เป็นโรคประจำถิ่น จะส่งผลให้การเปิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจผลักดันประเทศได้มากแค่ไหน

    ]]>
    1385991
    “ราคาอสังหาฯ” อาจลดลงอีก รอลุ้นฟื้นตัว Q2/65 ดีมานด์ “บ้านเดี่ยว” ทั้งซื้อและเช่ายังมาแรง https://positioningmag.com/1365680 Tue, 07 Dec 2021 13:04:53 +0000 https://positioningmag.com/?p=1365680 “ดีดีพร็อพเพอร์ตี้” ประเมินสถานการณ์ “อสังหาฯ” กรุงเทพฯ-ปริมณฑล ราคายังลดลงต่อเนื่อง ขณะที่ซัพพลายพุ่งสูง คาดราคายังลงต่อจนถึงสิ้นปี ลุ้นฟื้นตัวไตรมาส 2 ปีหน้า อย่างไรก็ตาม โปรดักส์ที่ยังชนะในตลาดคือ “บ้านเดี่ยว” ทั้งดีมานด์ซื้อและเช่ามาแรง

    “กมลภัทร แสวงกิจ” ผู้จัดการใหญ่ประจำประเทศไทย ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ รายงานสถานการณ์ตลาดอสังหาริมทรัพย์ จากผลสำรวจของดีดีพร็อพเพอร์ตี้ พบว่า “ราคาอสังหาฯ” กรุงเทพฯ-ปริมณฑล ดัชนีราคาลดลงอย่างต่อเนื่องมาอยู่ที่ 178 จุด ในช่วงไตรมาส 3/64 โดยคิดเป็นราคาที่ลดลง -14% เทียบกับช่วงก่อนเกิด COVID-19 หรือลดลง -11% YoY

    ราคาอสังหาฯ

    อย่างไรก็ตาม หากแยกตามประเภทอสังหาฯ จะพบว่า “คอนโดมิเนียม” คือประเภทสินค้าที่ราคาลดลงมาก โดยลดลง -13% เทียบกับช่วงก่อนเกิด COVID-19 หรือลดลง -11% YoY

    รองลงมาคือ “ทาวน์เฮาส์” ที่ราคาลดลงเล็กน้อย -2% เทียบกับช่วงก่อนเกิด COVID-19 หรือลดลง -1% YoY

    สินค้ากลุ่มเดียวที่โตดีสวนตลาดคือ “บ้านเดี่ยว” ราคาเพิ่มขึ้นถึง +10% เทียบกับช่วงก่อนเกิด COVID-19 และโตขึ้น +6% YoY

    ซัพพลายของตลาดโดยรวมยังเพิ่มขึ้น +19% YoY แต่เกิดจากการเพิ่มขึ้นของซัพพลายบ้านเดี่ยวและทาวน์เฮาส์ที่มีดีมานด์ ส่วนคอนโดฯ ยังมีซัพพลายทรงตัวเท่ากับไตรมาส 2/64 เนื่องจากดีเวลอปเปอร์ชะลอการเปิดตัวใหม่ และเร่งระบายสต๊อกออกไปได้พอสมควร

    กมลภัทรมองว่า ภายในไตรมาส 4 ปีนี้ เป็นไปได้ที่ราคาอสังหาฯ อาจยังปรับลดลงอีก เพราะเป็นช่วงระบายสต๊อกก่อนจบสิ้นปี และอาจจะยังคงราคาต่ำไปจนถึงไตรมาส 1 ปีหน้า ส่วนไตรมาส 2/2565 อาจมีลุ้นได้เห็นการปรับขึ้นของราคาอสังหาฯ หลังผ่านจุดต่ำสุด เพราะเศรษฐกิจไทยน่าจะฟื้นตัวดีขึ้น การระบายสต๊อกอสังหาฯ ทำไปมากแล้ว ทำให้ปีหน้าผู้ประกอบการจะกลับมาเปิดคอนโดฯ ใหม่และปรับราคาขึ้น

     

    “บ้านเดี่ยว” ยังคงเป็นผู้ชนะในทุกมุม

    เมื่อต้นปี 2564 นี้ ดีดีพร็อพเพอร์ตี้รายงานว่าเทรนด์ “บ้านเดี่ยว” กำลังมาแรง และช่วงท้ายปีนี้ก็ยังคงแรงต่อเนื่อง ดังที่เห็นจากราคายังคบปรับขึ้นได้

    (ที่มา: ดีดีพร็อพเพอร์ตี้)

    ฝั่งดีมานด์ก็เช่นกัน โดยวัดจากการค้นหาในเว็บไซต์ของดีดีพร็อพเพอร์ตี้ พบว่าไตรมาส 3/64 มีผู้ค้นหา “ซื้อบ้านเดี่ยว” เพิ่มขึ้น 69% YoY และมีผู้ค้นหา “เช่าบ้านเดี่ยว” เพิ่มขึ้น 59% YoY

    “คนเช่ากลุ่มนี้ (บ้านเดี่ยว) มักจะเป็น ชาวต่างชาติที่อยู่ในไทย มีศักยภาพในการจ่ายสูง เป็นระดับผู้บริหารที่อยู่อาศัยกันทั้งครอบครัว จึงต้องการบ้านเดี่ยวที่มีความสะดวก สะอาด” กมลภัทรกล่าว “อีกกลุ่มจะเป็น ผู้เช่าคนไทยที่อาจจะเคยเช่าคอนโดฯ หรูในเมือง แต่เมื่อตอนนี้ไม่ต้องเข้าออฟฟิศทุกวัน จึงหันมาเลือกบ้านเดี่ยวที่ห่างเมืองหน่อยแต่ยังเข้าเมืองได้สะดวก ทำให้โยกค่าเช่าคอนโดฯ หรูมาเป็นการเช่าบ้านแทน”

    ส่วนเทรนด์การลงทุนของนักลงทุนปล่อยเช่า เห็นว่ามีการลงทุนบ้านเดี่ยวเพิ่มขึ้น แต่อาจจะไม่หวือหวาอย่างที่คิด เพราะบ้านเดี่ยวนั้นต้องลงทุนสูงต่อหนึ่งยูนิต และมีค่าบำรุงรักษาสูง รวมถึงทำเลอาจจะเดินทางไปดูแลยากกว่า กลยุทธ์การหาผู้เช่าก็แตกต่าง จึงไม่ใช่นักลงทุนทุกคนจะเปลี่ยนมาลงทุนบ้านแทนคอนโดฯ

     

    ดีมานด์ตลาดกลางและตลาดบนยังเติบโต

    สำหรับกลุ่มราคาอสังหาฯ ที่มีดีมานด์ ในตลาดซื้อขาดพบประเด็นที่น่าสนใจคือ การค้นหาอสังหาฯ ราคามากกว่า 15 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง 54% YoY รองลงมาเป็นกลุ่มราคา 3-5 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 50% YoY สะท้อนให้เห็นว่าตลาดบนมีความต้องการสูงมาก และตลาดกลางก็ยังมีดีมานด์ที่ดี

    (ที่มา: ดีดีพร็อพเพอร์ตี้)

    ส่วนอสังหาฯ สำหรับเช่า พบว่าค่าเช่า 20,000-30,000 บาทต่อเดือน เป็นกลุ่มที่เติบโตสูงสุด 54% YoY สอดคล้องกับตลาดบ้านเดี่ยวให้เช่าที่ดีมานด์สูง รองลงมาคือกลุ่มค่าเช่าไม่เกิน 10,000 บาทต่อเดือน เติบโต 50% YoY

    ประเด็นความเคลื่อนไหวในตลาดอสังหาฯ ปีนี้จนถึงปี 2565 ที่ผ่านมาธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มีการประกาศ ผ่อนคลายมาตรการ LTV ทำให้อสังหาฯ ราคามากกว่า 10 ล้านบาท และผู้กู้บ้านสัญญาที่ 2-3 สามารถกู้ได้เต็ม 100% แล้ว ซึ่งเป็นสัญญาณที่ดี

    อย่างไรก็ตาม ต้องรอลุ้นว่าคณะรัฐมนตรี (ครม.) จะมีการต่ออายุมาตรการลดค่าโอน-จดจำนองหรือไม่ และจะยอมให้ครอบคลุมถึงมูลค่าอสังหาฯ 3 ล้านบาท “แรก” กรณีที่ราคาเกินกว่า 3 ล้านบาทหรือไม่

    ส่วนปัจจัยบวกที่ต้องจับตาปีหน้า คือการเปิดใช้ครั้งแรกของรถไฟฟ้าโมโนเรลสายสีชมพู แคราย-มีนบุรี และสายสีเหลือง สำโรง-ลาดพร้าว ที่น่าจะสร้างความคึกคักให้กับตลาดในทำเลนั้นได้มาก

    ]]>
    1365680
    สรุปสถานการณ์อสังหาฯ 2564 ตลาดที่อยู่อาศัยซึมต่อเนื่อง นักพัฒนาเบนเข็มเข้าธุรกิจโลจิสติกส์ https://positioningmag.com/1352099 Thu, 16 Sep 2021 09:40:40 +0000 https://positioningmag.com/?p=1352099 สัมมนา REIC สรุปสถานการณ์อสังหาฯ ปี 2564 กลุ่มตลาดที่อยู่อาศัยกรุงเทพฯ-ปริมณฑลยังซึมหนักกว่าปีก่อน รอลุ้นปี 2565 ดีดกลับมาหากการฉีดวัคซีนทั่วถึง ดีเวลอปเปอร์เบนเข็มไปลงทุนธุรกิจคลังสินค้า-นิคมฯ ตอบรับโลจิสติกส์ที่กำลังบูมเพราะค้าออนไลน์ ติดตามได้ในบทความนี้

    ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (REIC) จัดสัมมนาสถานการณ์ตลาดอสังหาฯ ในเขตกรุงเทพฯ-ปริมณฑล ครึ่งปีหลัง 2564 และแนวโน้มปี 2565 พร้อมฟังข้อมูลจากบริษัทวิจัยด้านอสังหาฯ 3 แห่ง คือ JLL, ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ และ CBRE สรุปข้อมูลที่น่าสนใจเป็นข้อๆ ดังนี้

     

    1.ตลาดที่อยู่อาศัย 2564 ซบเซาตลอดปี

    ดร.วิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ และรักษาการผู้อำนวยการ REIC เปิดเผยข้อมูลการวิจัยตลาดที่อยู่อาศัยกรุงเทพฯ-ปริมณฑล พบว่า “ครึ่งปีแรก 2564” มีโครงการที่อยู่อาศัยเปิดใหม่เพียง 18,700 หน่วย ลดลง -4.7% YoY คิดเป็นมูลค่า 86,400 ล้านบาท ลดลง -5.9% YoY โดยตลาดที่หดตัวลงส่วนใหญ่เกิดจากคอนโดมิเนียมลดลง ขณะที่ตลาดแนวราบยังทรงตัวใกล้เคียงปีก่อน

    อย่างไรก็ตาม “รวมทั้งปี 2564” REIC ประเมินว่าโครงการที่อยู่อาศัยเปิดใหม่ในกรุงเทพฯ-ปริมณฑล จะมีจำนวน 53,700 หน่วย และมีมูลค่าประมาณ 239,700 ล้านบาท

    ฝั่งซ้ายคือตลาดอสังหาฯ กรุงเทพฯ ก่อนเกิด COVID-19 ฝั่งขวาคือตลาดหลังเกิด COVID-19

    เห็นได้ว่า “ครึ่งปีหลัง 2564” ยังถูกประเมินว่าจะมีสินค้าใหม่เข้าตลาดได้มากกว่าครึ่งปีแรก อย่างไรก็ตาม ถ้าเทียบกับปีก่อนแล้ว จำนวนหน่วยจะยังติดลบ -3.9% YoY และมูลค่าติดลบ -22.2% YoY ภาพรวมของปีนี้ภาคอสังหาฯ จึงซบเซายิ่งกว่าปี 2563

     

    2.ทำเล นครปฐม สมุทรสาคร สมุทรปราการ ฟื้นตัวดีกว่า

    REIC ยังแยกย่อยรายทำเลด้วยว่า ตลาดที่การเปิดโครงการใหม่หดตัวมากในช่วงครึ่งปีแรก 2564 ได้แก่ นนทบุรี (-70.1% YoY) ปทุมธานี (-67.1% YoY) และกรุงเทพฯ (-29.1% YoY)

    แต่ตลาดที่กลับมาฟื้นตัวในแง่การเปิดขายใหม่คือ นครปฐม (+82.4% YoY) สมุทรสาคร (+43.1% YoY) และ สมุทรปราการ (+16.8% YoY) ซึ่งการฟื้นตัวเหล่านี้เกิดจากตลาดบ้านจัดสรรแทบทั้งหมด

     

    3.ปี 2565 ประเมินตลาดที่อยู่อาศัยจะกลับมาโตพุ่ง 60%

    สำหรับปี 2565 REIC มองเห็นความหวังว่าตลาดที่อยู่อาศัยกรุงเทพฯ จะฟื้น ภายใต้สมมติฐานว่าไทยมีการฉีดวัคซีนทั่วถึงและมีภูมิคุ้มกันหมู่ ทำให้เศรษฐกิจไทยฟื้นตัว 4% ในปีหน้า

    โดยคาดว่าจะมีโครงการเปิดขายใหม่ 86,100 หน่วย หรือเติบโต +60.3% YoY คิดเป็นมูลค่า 374,300 ล้านบาท เติบโต +56.2% YoY ทั้งนี้ คาดว่าจะมีการเติบโตสูงในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2565 ก่อนจะเติบโตแบบชะลอลงในช่วงครึ่งปีหลัง

     

    4.ตลาดกลางถึงล่างเน้นราคา ตลาดบนต้อง ‘ปัง’ จริงๆ

    ด้านพฤติกรรมผู้บริโภคเป็นอย่างไร รัฐวัฒน์ คูวิจิตรสุวรรณ รองผู้อำนวยการและหัวหน้าแผนกวิจัยและที่ปรึกษาการพัฒนาโครงการ CBRE แยกการวิเคราะห์เป็น 2 กลุ่ม คือ

    กลุ่มซื้อระดับกลางถึงล่าง ผลกระทบทางเศรษฐกิจต่อกลุ่มนี้สูงมาก ดังนั้น การตัดสินใจทุกอย่างขึ้นอยู่กับราคาตอบโจทย์หรือไม่ หรืออาจจะเป็นโครงการที่เจาะผู้ซื้อเฉพาะกลุ่ม เช่น อยู่ในทำเลใกล้สถาบันการศึกษา โปรดักส์ที่สามารถตอบความต้องการได้ตรงกลุ่มเฉพาะและราคาดีด้วยก็จะขายได้ง่ายกว่า

    ส่วนตลาดระดับบนขึ้นไป ลูกค้ายังมีกำลังซื้อ แต่ใช้เวลาตัดสินใจนาน เพราะลูกค้าต้องการโปรดักส์ที่ ‘one of a kind’ คือมีหนึ่งเดียวที่ไม่สามารถหาโปรดักส์อื่นทดแทนได้ รวมถึงจะเน้นที่อยู่อาศัยเพื่อการพักผ่อน เพราะกลุ่มนี้ต้องการจะมีบ้านหลังที่สองเพื่อหลีกหนีปัญหา COVID-19 ไปพักผ่อนได้

     

    5.อสังหาฯ เบนเข็มลงทุนด้านโลจิสติกส์

    แม้ว่าที่อยู่อาศัยจะซบเซา แต่ธุรกิจอสังหาฯ ก็มีการเบนเข็มไปลงทุนในกลุ่มอสังหาฯ ให้เช่าแทน “สุพินท์ มีชูชีพ”  ประธานกรรมการบริหาร บริษัท โจนส์ แลง ลาซาลล์ ประเทศไทย จำกัด (JLL) เปิดเผยว่า แม้การลงทุนจะลดลงตั้งแต่ปี 2563 แต่กลุ่มหนึ่งที่มาแรงคือ อสังหาฯ เพื่อการอุตสาหกรรมและโลจิสติกส์ ในปี 2563 การลงทุนกลุ่มนี้เติบโตถึง 89% YoY และคิดเป็นครึ่งหนึ่งของการลงทุนอสังหาฯ ให้เช่าทั้งหมด

    ปริมาณการลงทุนในอสังหาฯ ประเภทต่างๆ (ข้อมูล : JLL)

    เปิดไตรมาส 1 ปี 2564 ก็ยังคงร้อนแรง โดยมีการลงทุนอสังหาฯ ให้เช่ารวม 8,400 ล้านบาท เกือบทั้งหมดคือการลงทุนอสังหาฯ อุตสาหกรรม เช่น คลังสินค้า นิคม ส่วนกลุ่มอสังหาฯ ให้เช่าที่แทบไม่เห็นการลงทุนเลยตั้งแต่ปี 2563 ต่อเนื่องถึงปีนี้คือ “รีเทล” กระแสเหล่านี้เกิดจากเทรนด์อีคอมเมิร์ซที่ทำให้คลังสินค้าเป็นที่ต้องการสูง

     

    6.ใช้ Branded Residences ดึงนักลงทุน

    กลุ่มบริษัทวิจัยที่ร่วมสัมมนายังแนะนำว่า สำหรับโครงการคอนโดฯ ที่กำลังพัฒนาหรือมีปัญหาด้านยอดขาย อาจจะพิจารณาแนวทางใหม่ในการดึงนักลงทุน โดยวิธีที่มองตรงกันว่าจะได้ผลคือ การดึงเชนโรงแรมชื่อดังเข้ามาบริการเพื่อเป็นโครงการแบบ Branded Residences

    “กมลภัทร แสวงกิจ” ผู้จัดการใหญ่ประจำประเทศไทย ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ มองว่าโครงการอาจจะปรับตัวเป็นลักษณะขายห้องเพื่อการลงทุนและเช่าห้องคืนเพื่อบริหารเป็นโรงแรม/อพาร์ตเมนต์ ซึ่งจะทำให้การันตีผลตอบแทน (yield) ที่จะให้กับนักลงทุนได้ และทำให้นักลงทุนสนใจมากขึ้น

    ในแง่ลูกค้าต่างชาติ สุพินท์แห่ง JLL มองว่า Branded Residences จะทำให้ต่างชาติเชื่อถือมากกว่า และราคาของคอนโดฯ ที่มีแบรนด์โรงแรมในไทยยังถูกกว่าในสิงคโปร์หรือฮ่องกง จะทำให้นักลงทุนตัดสินใจซื้อง่ายขึ้น

    ]]>
    1352099
    ครม.อนุมัติ “วีซ่าระยะยาว” ดึงต่างชาติมีฐานะ “อสังหาฯ” อ้อนรัฐปลดล็อกการถือครองบ้าน-คอนโด https://positioningmag.com/1351999 Wed, 15 Sep 2021 13:31:16 +0000 https://positioningmag.com/?p=1351999 มติ ครม. อนุมัติการจัดทำโครงการ “วีซ่าระยะยาว” ให้ชาวต่างชาติที่มีฐานะหรือมีทักษะสูงเข้ามาพำนักในไทย หวังดึงเม็ดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจ ประเด็นนี้ทำให้กลุ่มธุรกิจ “อสังหาฯ” ตื่นตัว และส่งเสียงถึงภาครัฐอีกครั้งว่าต้องการให้มีการ “ปลดล็อก” กฎหมายการถือครองที่อยู่อาศัย “ดีดีพร็อพเพอร์ตี้” เปิดข้อมูลคนจีนยังสนใจกลับมาลงทุน

    เมื่อวานนี้ (14 ก.ย. 64) คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีการอนุมัติตามที่สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอ ข้อหนึ่งในมติที่มีการอนุมัติ คือการให้จัดทำ “วีซ่าระยะยาว” (Long-term Resident Visa) มุ่งเป้าดึงดูดชาวต่างชาติที่มีฐานะดีหรือมีความรู้ความเชี่ยวชาญเข้ามาพำนักในไทย เพื่อดึงกำลังซื้อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ และทำให้ประเทศไทยมีบุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเพิ่มขึ้น

    โครงการนี้วางแผนในระยะ 5 ปี (2565-2569) ตลอดระยะโครงการหวังผลดึงดูดชาวต่างชาติ 1 ล้านคน แต่ละคนมีการใช้จ่ายเฉลี่ย 1 ล้านบาทต่อปี ยังไม่นับรวมมูลค่าจากการลงทุนและการชำระภาษีเงินได้ที่ไทยจะได้ประโยชน์

    (Photo : Shutterstock)

    กลุ่มที่ต้องการจะดึงดูดเข้ามามีทั้งหมด 4 กลุ่ม ดังนี้

    1. กลุ่มผู้มีความมั่งคั่งสูง (Wealthy Global Citizen) ต้องมีคุณสมบัติต่อไปนี้

    – ลงทุนขั้นต่ำ 500,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 15 ล้านบาท) ในพันธบัตรรัฐบาลไทย หรือ ลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) หรือ ลงทุนในอสังหาริมทรัพย์

    – มีเงินเดือนหรือเงินบำนาญขั้นต่ำปีละ 80,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 2.4 ล้านบาท) ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา

    – มีทรัพย์สินขั้นต่ำ 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 30 ล้านบาท)

    2. กลุ่มผู้เกษียณอายุจากต่างประเทศ (Wealthy pensioner) ต้องมีคุณสมบัติต่อไปนี้

    – ลงทุนขั้นต่ำ 250,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 7.5 ล้านบาท) ในพันธบัตรรัฐบาลไทย หรือ ลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ หรือ ลงทุนในอสังหาริมทรัพย์

    – มีเงินบำนาญขั้นต่ำ ปีละ 40,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 1.2 ล้านบาท)

    – กรณีไม่มีการลงทุน ต้องมีเงินบำนาญขั้นต่ำ ปีละ 80,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 2.4 ล้านบาท)

    3. กลุ่มที่ต้องการทำงานจากประเทศไทย (Work-from-Thailand professional) มีคุณสมบัติกรณีใดกรณีหนึ่งต่อไปนี้

    – กรณีที่ 1 มีรายได้ส่วนบุคคล (อาทิ เงินเดือน และรายได้จากการลงทุน) ปีละ 80,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 2.4 ล้านบาท) ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา

    – กรณีที่ 2 มีรายได้ปีละ 40,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 1.2 ล้านบาท) หากสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทขึ้นไป หรือ ครอบครองทรัพย์สินทางปัญญา หรือ ทำธุรกิจสตาร์ทอัพที่ได้รับเงินทุน Series A และมีประสบการณ์การทำงาน 5 ปี

    4. กลุ่มผู้มีทักษะเชี่ยวชาญพิเศษ (High-Skilled professional) มีคุณสมบัติกรณีใดกรณีหนึ่งต่อไปนี้

    – กรณีที่ 1 มีรายได้ส่วนบุคคล (อาทิ เงินเดือน และรายได้จากการลงทุน) ปีละ 80,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 2.4 ล้านบาท) ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา

    – กรณีที่ 2 มีรายได้ปีละ 40,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 1.2 ล้านบาท) หากสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทขึ้นไป และมีประสบการณ์การทำงานอย่างน้อย 5 ปี ในอุตสาหกรรมเป้าหมาย (เป็นอุตสาหกรรมที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เช่น ยานยนต์สมัยใหม่ อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ ท่องเที่ยวระดับคุณภาพ การเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ หุ่นยนต์ การบิน การแพทย์ครบวงจร เศรษฐกิจหมุนเวียน ฯลฯ)

    (Photo : Shutterstock)
    ต่างชาติที่ยื่นขอ “วีซ่าระยะยาว” จะได้สิทธิประโยชน์อะไร?

    กลุ่มข้อ 1-3 จะได้สิทธิประโยชน์คือ

    • สิทธิทำงาน ได้พร้อมกันกับวีซ่า
    • ทั้งคู่สมรสและบุตรจะได้วีซ่าผู้ติดตาม
    • ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับรายได้ที่มาจากต่างประเทศ

    ส่วนกลุ่มข้อ 4 จะได้สิทธิประโยชน์แบบเดียวกับข้อ 1-3 แต่เนื่องจากกลุ่มนี้น่าจะเข้ามาเพื่อทำงานในประเทศไทย มีรายได้ภายในประเทศไทย ทำให้รัฐมีแรงจูงใจทางภาษีคือ ไทยจะคิดภาษีเงินได้เท่ากับภาษีของการจ้างแรงงานในเขต EEC (ปัจจุบันต่างชาติที่มาทำงานระดับบริหารใน EEC จะได้ลดเพดานอัตราภาษีไม่เกิน 17% จากปกติ 35%)

    ทั้งนี้ ประเด็นสิทธิการถือครองที่ดินยังค่อนข้างกำกวม เนื่องจากรายงานที่เสนอ ครม. ระบุว่าคนต่างชาติกลุ่มวีซ่าระยะยาวจะมีสิทธิประโยชน์ด้านการถือครองที่ดิน 5 ปีนับตั้งแต่เริ่มบังคับใช้โครงการนี้ แต่ยังไม่ลงรายละเอียดว่าสิทธิส่วนนี้จะเป็นอย่างไร

     

    “อสังหาฯ” ขานรับ ขอปลดล็อกการถือครองที่ดิน

    ต่อประเด็นนี้ ผู้บริหารในกลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มีมุมมองเชิงบวกกับโครงการวีซ่าระยะยาว โดย “สุพินท์ มีชูชีพ”  ประธานกรรมการบริหาร บริษัท โจนส์ แลง ลาซาลล์ ประเทศไทย จำกัด (JLL) กล่าวว่า โครงการนี้น่าจะช่วยกระตุ้นให้ชาวต่างชาติเข้ามาในไทยมากขึ้น เพราะการขอวีซ่าพำนักจะง่ายขึ้นและอยู่อาศัยได้สะดวกขึ้น จากเดิมต้องรายงานตัวกับสำนักตรวจคนเข้าเมืองทุกๆ 90 วัน แต่การมีวีซ่าตามโครงการนี้ไม่จำเป็นต้องไปรายงานตัว

    ภาพมุมสูง กรุงเทพฯ

    เช่นเดียวกัน “กมลภัทร แสวงกิจ” ผู้จัดการใหญ่ประจำประเทศไทย ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ มีความหวังว่า โครงการวีซ่าระยะยาวจะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ภาคอสังหาฯ ฟื้นตัว จาก 1 ล้านคนที่เป็นเป้าหมายของรัฐ นอกจากการเช่าที่พักอาศัยแล้ว ขอเพียงไม่กี่เปอร์เซ็นต์จากจำนวนนี้ที่เข้ามาซื้ออสังหาฯ ก็จะช่วยภาคธุรกิจนี้ได้

    สุพินท์กล่าวต่อว่า ประเด็นหนึ่งที่ต้องการร้องขอให้รัฐพิจารณา คือการอนุญาตให้ต่างชาติในโครงการนี้ถือครองที่ดินในหมู่บ้านจัดสรรได้ โดยอาจจะมีเงื่อนไขไม่ให้มีสิทธิออกเสียงในฐานะเจ้าของร่วมเมื่อมีการประชุมลูกบ้าน รวมถึงอนุญาตให้ต่างชาติถือครองห้องชุดในคอนโดฯ ได้เกินสัดส่วน 49% ของโครงการซึ่งเป็นข้อจำกัดเดิม

    (Photo : Shutterstock)

    ข้อร้องขอของสุพินท์เป็นประเด็นที่คนในวงการธุรกิจอสังหาฯ ร้องขอมานาน รวมถึงเคยมีข้อเสนอของ TDRI ในทำนองเดียวกันเมื่อปี 2563 โดยเล็งผลด้านการกระตุ้นเศรษฐกิจเป็นหลัก

    ข้อเสนอของ TDRI มีการชี้แนะว่าการปลดล็อกหรือผ่อนผันเหล่านี้ควรจะมาพร้อมกับการจำกัดวงบ้านหรือคอนโดฯ ที่ต่างชาติซื้อได้มากกว่าเกณฑ์ปกติ ให้ซื้อเฉพาะกลุ่มราคาสูง และอยู่ในทำเลเฉพาะที่รัฐกำหนด เพื่อให้กระทบกลไกราคาบ้าน-คอนโดของคนไทยทั่วไปน้อยลง (อ่านมุมมองของ TDRI ที่นี่ >> https://positioningmag.com/1309568)

     

    “คนจีน” ยังสนใจอสังหาฯ ไทยอยู่

    กมลภัทรให้ข้อมูลว่า ชาวต่างชาติเริ่มกลับมาให้ความสนใจอสังหาฯ ไทย วัดจากยอดการเข้าชมเว็บไซต์ดีดีพร็อพเพอร์ตี้เพื่อชมรายการอสังหาฯ ขายของไทย มีการเข้าชมจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น 31% ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2564 เทียบกับปีก่อนหน้า แน่นอนว่า กลุ่มคนต่างชาติที่ต้องการอสังหาฯ ไทยมากที่สุดคือ “ชาวจีน”

    ทั้งนี้ อสังหาฯ ไทยถือเป็นตัวเลือกลำดับต้นๆ ของคนจีนในการลงทุนนอกประเทศ อันดับ 1 ที่คนจีนเลือกคือ ญี่ปุ่น (22%) อันดับ 2 ไทย (21%) และอันดับ 3 สหรัฐฯ และ มาเลเซีย (12% เท่ากัน) สาเหตุที่คนจีนชื่นชอบอสังหาฯ ไทยเพราะมีโอกาสได้ผลตอบแทนการลงทุนเฉลี่ย 5% มากกว่าผลตอบแทนในจีนที่ได้เฉลี่ยเพียง 2% และคนจีนยังชื่นชอบวัฒนธรรมไทยเป็นพิเศษ

    ราคาที่พักอาศัยที่คนจีนสนใจซื้อในประเทศไทย (ที่มา : ดีดีพร็อพเพอร์ตี้)

    เมื่อวัดจากกลุ่มราคาอสังหาฯ ที่คนจีนสนใจ พบว่ามีถึง 30% ที่มองหาอสังหาฯ ในราคามากกว่า 10 ล้านบาท สอดคล้องกับแนวคิดของภาครัฐที่ต้องการให้มีกลุ่มผู้มีความมั่งคั่งเข้ามาลงทุนกระตุ้นเศรษฐกิจ

    จากนี้ต้องรอดูเงื่อนไขโดยละเอียดของภาครัฐในการจัดทำโครงการวีซ่าระยะยาวที่เกี่ยวข้องกับภาคอสังหาฯ จะเป็นไปตามที่ภาคธุรกิจหวังไว้หรือไม่ รวมถึงรอการเปิดประเทศของไทยที่จะทำให้กลุ่มนักลงทุนเข้ามาชมโครงการจริงได้ในที่สุด

    ]]>
    1351999
    ระลอกใหม่ยิ่งอ่วม! “คอนโด” ยกเลิกแล้ว 5,900 ยูนิต ผู้บริโภคยืดเวลาตัดสินใจซื้อเป็น 3-5 ปี https://positioningmag.com/1343339 Tue, 20 Jul 2021 12:28:19 +0000 https://positioningmag.com/?p=1343339 JLL เปิดข้อมูลตลาด “คอนโด” ยกเลิกไปแล้ว 5,900 ยูนิต ชะลอก่อสร้างหรือยังไม่มีกำหนดเปิดตัวอีก 6,800 ยูนิต ดาวจรัสแสงหนึ่งเดียวในตลาดอสังหาฯ คือ “คลังสินค้า/โรงงาน” ตอบรับธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ ด้านดีดีพร็อพเพอร์ตี้สำรวจผู้บริโภครอบครึ่งปีหลัง’64 พบแนวโน้มยืดเวลาตัดสินใจซื้อบ้านเป็น 3-5 ปีเพิ่มขึ้น เหตุผลหลัก “รายได้หด-ราคาอสังหาฯ สูงเกินไป”

    เก็บข้อมูลจากงานแถลงข่าวเปิดรับสมัครโครงการเข้าประกวดเวที PropertyGuru Thailand Property Awards ครั้งที่ 16 โดยมี “สุพินท์ มีชูชีพ” ประธานกรรมการบริหาร บริษัท โจนส์ แลง ลาซาลล์ (ประเทศไทย) จำกัด หรือ JLL และ “กมลภัทร แสวงกิจ” ผู้จัดการใหญ่ประจำประเทศไทย ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ ร่วมฉายภาพสถานการณ์อสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทย

    สุพินท์มองภาพรวมอสังหาฯ ไทยปีนี้ยังไม่ใช่ขาขึ้น โดยอสังหาฯ กลุ่มค้าปลีก ออฟฟิศ คอนโดฯ ล้วนอยู่ในวัฏจักรราคาขาลง เหลือเพียงกลุ่ม “คลังสินค้า-โรงงาน” ที่ยังน่าสนใจ โดยอยู่ในวัฏจักรที่การเติบโตเริ่มช้าลง แต่นับว่าดีที่สุดในกลุ่มอสังหาฯ เพราะการเติบโตอย่างมากของอี-คอมเมิร์ซซึ่งได้อานิสงส์จากการระบาด

    (จากซ้าย) “สุพินท์ มีชูชีพ” ประธานกรรมการบริหาร บริษัท โจนส์ แลง ลาซาลล์ (ประเทศไทย) จำกัด, จูลส์ เคย์ กรรมการผู้จัดการ พร็อพเพอร์ตี้กูรู เอเชีย พร็อพเพอร์ตี้ อวอร์ดส์ แอนด์ อีเวนต์ และ “กมลภัทร แสวงกิจ” ผู้จัดการใหญ่ประจำประเทศไทย ดีดีพร็อพเพอร์ตี้

    “ถ้ารัฐบาลฉีดวัคซีนได้ 70% ของประชากรภายในสิ้นปีนี้ เศรษฐกิจน่าจะกลับมาฟื้นได้ในปี 2565 ขณะนี้เราพบว่านักลงทุนเข้ามาเก็บข้อมูลโครงการหรืออาคารต่างๆ ผ่านหน้าเว็บไซต์จำนวนมาก แต่เมื่อดูได้เฉพาะหน้าเว็บ ยังเข้ามาดูของจริงไม่ได้ ถ้าเป็นโครงการขนาดใหญ่ก็จะยังไม่กล้าตัดสินใจ” สุพินท์กล่าว

     

    คอนโดฯ อ่วม พับแผน-เลื่อนอื้อ

    ตลาดที่ยังคงสาหัสต่อเนื่องคือ “คอนโดมิเนียม” โดยสุพินท์กล่าวว่าตลาดนี้อยู่ในสภาวะโอเวอร์ซัพพลายอยู่แล้วตั้งแต่ปี 2562 ก่อนเกิด COVID-19 ระบาด โดยเฉพาะกลุ่มไฮเอนด์และระดับกลาง เมื่อเผชิญ COVID-19 จึงเหมือนซ้ำเติมปัจจัยลบที่มีอยู่เดิม

    JLL พบว่า ตั้งแต่ปี 2561 จนถึงปัจจุบัน มีคอนโดฯ ที่แผนสะดุดแล้วทั้งหมด 12,700 ยูนิต โดยแบ่งสถานะได้ดังนี้

    • ถอนตัวยกเลิกโครงการ 5,900 ยูนิต
    • ชะลอการก่อสร้างโครงการ 2,500 ยูนิต
    • ยังไม่กำหนดวันเปิดตัวโครงการ 4,300 ยูนิต

    ด้านราคาคอนโดฯ เฉลี่ยทั้งตลาดอยู่ที่ 101,900 บาทต่อตร.ม. ส่วนคอนโดฯ ระดับไฮเอนด์กลางเมืองราคาอยู่ที่ 218,000 บาทต่อตร.ม. ซึ่งราคาปรับลงทั้งหมด ทำให้ผู้ซื้อเหลือเฉพาะกลุ่มซื้ออยู่เอง ไม่มีนักเก็งกำไร ตลาดเป็นตลาดของผู้ซื้ออย่างมาก

    เฉพาะตลาดคอนโดฯ นั้น สุพินท์มองว่าหากเศรษฐกิจฟื้นตัวดังที่กล่าวข้างต้น คอนโดฯ น่าจะเริ่มฟื้นได้ช่วงไตรมาส 2/65 แต่กว่าที่ตลาดจะดูดซับซัพพลายมากพอที่จะกลับมาเป็นขาขึ้น น่าจะอีก 12-18 เดือนต่อจากนั้น

     

    คนเลื่อนแผนซื้อบ้านเป็น 3-5 ปี

    ด้าน “กมลภัทร” จาก ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ เปิดข้อมูลสำรวจผู้บริโภคช่วงครึ่งปีหลัง 2564 พบว่า 71% ยังสนใจซื้อบ้าน แต่ปัจจัยลบคือผู้บริโภคที่ยังต้องการซื้อ “เลื่อนแผน” การซื้อบ้านออกไป ดังนี้

    • จะซื้อภายใน 1 ปี – 13%
    • จะซื้อภายใน 1-2 ปี – 26%
    • จะซื้อภายใน 3-5 ปี – 39%
    • จะซื้อในช่วง 5 ปีขึ้นไป – 22%

    ทั้งนี้ เมื่อเทียบข้อมูลกับช่วงครึ่งปีแรก 2564 สถานการณ์ยิ่งแย่ลง เพราะผู้บริโภคที่จะซื้อบ้านภายใน 2 ปีลดลงจาก 48% เหลือเพียง 39% แล้ว ส่วนใหญ่เปลี่ยนไปตัดสินใจซื้อใน 3-5 ปี

    เหตุผลหลัก 5 อันดับแรกที่ทำให้ผู้บริโภคเลื่อนแผนการซื้อบ้านออกไปก่อน คือ 1) รายได้ลดลง 2) ราคาอสังหาฯ สูงเกินไป 3) ไม่สามารถกู้สินเชื่อบ้านได้ 4) การเมืองยังไม่มีเสถียรภาพ และ 5) ไม่มีเงินดาวน์

    กมลภัทรกล่าวว่า เห็นได้ว่า COVID-19 มีผลอย่างมากต่อการตัดสินใจ ทุกอย่างจึงขึ้นอยู่กับการจัดการโรคระบาด และทางออกคือต้องฉีดวัคซีนประชาชนให้เร็วที่สุด

    ฝั่งผู้ประกอบการ กมลภัทรมองว่าขณะนี้ต้องดูแลใน 3 ด้านเพื่อดึงลูกค้า คือ 1) สินค้าต้องตอบโจทย์ทุกส่วน ต้องใส่ใจในรายละเอียดแม้เล็กๆ น้อยๆ ที่ตรงกับความต้องการลูกค้า 2) ราคาต้องจัดโปรโมชันคุ้มค่า แม้ว่าขณะนี้ราคาเฉลี่ยอสังหาฯ ลดลง -7% YoY แล้วแต่ทัศนคติผู้ซื้อยังมองว่าสูง 3) จังหวะการทำการตลาดหรือเปิดโครงการใหม่ ต้องระมัดระวัง เช่น ช่วงนี้สถานการณ์อึมครึมมาก หากทำตลาดช่วงนี้อาจไม่มีคนสนใจมากนัก

    บรรยากาศงาน Property Guru Thailand Property Awards 2020

    สำหรับโครงการประกวดประจำปี PropertyGuru Thailand Property Awards ครั้งที่ 16 ยังจัดตามปกติ ปีนี้มีสาขาประกวดทั้งหมด 60 สาขา เพิ่มรางวัลใหม่หลายสาขา เช่น สุดยอดดีเวลอปเปอร์ภาคเหนือ สุดยอดดีเวลอปเปอร์ภาคใต้ รางวัลพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกยอดเยี่ยม เป็นต้น เปิดรับสมัครแล้ววันนี้จนถึงวันที่ 27 สิงหาคม 2564 บุคคลทั่วไปหรือบริษัทที่สนใจสามารถเสนอชื่อโครงการได้ที่ AsiaPropertyAwards.com/nominations

    อ่านข่าวอื่นๆ เพิ่มเติม

    ]]>
    1343339