เเบรนด์ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 04 Jan 2022 14:23:26 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 5 กลยุทธ์ ‘ปั้นเเบรนด์’ ให้ทันใจผู้บริโภคที่ ‘เปลี่ยนเร็ว’ ในยุคออนไลน์ https://positioningmag.com/1369337 Tue, 04 Jan 2022 10:32:46 +0000 https://positioningmag.com/?p=1369337 การเเข่งขันในโลกดิจิทัลดุเดือดขึ้นทุกวัน พร้อมๆ กับการเปลี่ยนเเปลงของเทรนด์ผู้บริโภค การปั้นเเบรนด์ให้ติดตลาดได้อย่างเเท้จริง จึงไม่ใช่เเค่ทำยอดขายได้ดีเท่านั้น เเต่รวมไปถึงการเติบโตอย่างยั่งยืน สามารถครองใจเเละเข้าถึงลูกค้าได้ในระยะยาว 

รศ. ดร. วิเลิศ ภูริวัชร คณบดี คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า โควิด-19 ทำให้รูปแบบการค้าขายเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง จากการสำรวจพบว่า แบรนด์สินค้ามีพลังในการขับเคลื่อนการเข้าถึงผู้บริโภคได้น้อยลง ดังนั้นเหล่านักธุรกิจ นักการตลาด ต้องหาพลังด้านอื่นมาเสริม ต้องอาศัยนวัตกรรมเเละเทคโนโลยี เข้ามาช่วยให้เข้าถึงลูกค้ารวดเร็วยิ่งขึ้น “ความรวดเร็วต้องมาในรูปแบบที่ง่าย มีการเชื่อมโยงออนไลน์เเละออฟไลน์เข้าด้วยกัน” 

คาดว่าลูกค้าต้องการอะไร แล้วไปดักรอ ‘ไม่ใช่ผู้ตาม’ 

พฤติกรรมผู้บริโภคในยุคนิวนอร์มอลเปลี่ยนไป เกิดความกลัวระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น ทำให้ธุรกิจต้องปรับเปลี่ยนตาม แบรนด์สินค้าเเละผู้ประกอบการ ควรคาดการณ์ว่าเทรนด์ในอนาคตจะไปในทิศทางไหน แล้วไปดักรอข้างหน้า ไม่ใช่รอให้เกิดก่อนแล้วค่อยตามหลังพฤติกรรมผู้บริโภค มุ่งสร้างองค์กรให้มีความคล่องตัว รวดเร็ว ถึงจะมีโอกาสชนะในตลาดที่มีการเเข่งขันเร็ว

“เราต้องผลักดันตัวเองให้เป็นผู้นำเทรนด์ ใช้เทคโนโลยี นำนวัตกรรมมาใช้ สร้างอารมณ์ ความรู้สึก สร้างความหวัง เเละรู้ความต้องการของผู้บริโภคอย่างลึกซึ้ง”

แบรนด์ต้องมีอินไซต์ เข้าใจความต้องการของมนุษย์ 

ต่อไปนี้ไม่ว่าจะเป็นการขายออนไลน์ หรือออฟไลน์ เจ้าของแบรนด์ต้องสร้างความแตกต่างให้ได้ มีจุดยืนเป็นของตัวเอง เข้าใจกลุ่มเป้าหมาย เเละต้องเข้าถึงสัญชาตญานของมนุษย์ ความต้องการ เล่นกับความหวัง ความอยากรู้อยากลอง เช่น กลยุทธ์กล่องสุ่ม เป็นต้น

ดังนั้นอินไซต์ของลูกค้าจึงยังเป็น ‘กฎเหล็ก’ ที่แบรนด์ต้องทำเข้าใจความต้องการของผู้บริโภคที่แท้จริงว่าพวกเขาไม่ได้มาแค่ซื้อของ ไม่ได้มาแค่ช้อปปิ้ง แต่ต้องการสิ่งที่โดนใจ

shopping online

คอนเทนต์ออนไลน์ เนื้อหาต้องไม่จบที่การซื้อ

สำหรับการทำคอนเทนต์มาร์เก็ตติ้งออนไลน์ในยุคใหม่ สิ่งที่ต้องเน้นคือการสร้างเนื้อหาที่ไม่จบที่การซื้อเพียงอย่างเดียว ต้องหวังผลไปที่การแชร์ การให้ความรู้ต่างๆ สร้างความคุ้นชิน เป็นการตลาดที่ไม่ใช่เพียงจะขายได้ในระยะสั้น เเต่ต้องมองระยะยาว ใส่ใจความยั่งยืน

มีความเป็น Social Commerce

เครื่องมือที่จะใช้ในการทำธุรกิจในปัจจุบัน จะกลายเป็น Social Commerce ไม่ใช่เเค่ E-Commerce
อีกต่อไป โดยจะต้องมีการปฏิสัมพันธ์ พูดคุย สร้างความสนุกสนานร่วมกับลูกค้าด้วย ไม่ใช่แค่สถานที่ซื้อขายสินค้าอย่างเดียวเหมือนรูปแบบ E-Commerce นอกจากนี้ การเลือกช่องทางการขายบนออนไลน์ จะต้องศึกษาว่าควรใช้สื่อเเบบไหน กำหนดบทบาทให้ชัดเจน เเละเลือกสื่อให้เหมาะสมกับกิจกรรมการตลาดของเเบรนด์

แบรนด์ต้องขยับสู่ DSR

แบรนด์ต้องผสมผสานออนไลน์กับออฟไลน์ให้ได้ พร้อมเน้นการสร้างคุณค่าทางอารมณ์ คุณค่าทางสังคม เนื่องด้วยโลกดิจิทัลจะมีความร้อนแรงมากขึ้น ดังนั้นแบรนด์จึงต้องระมัดระวัง หากสื่อสารผิดพลาดก็อาจทำให้เสียหายได้ ต้องเรียนรู้ที่จะปรับตัวให้เร็วเเละมั่นคงกว่าเดิม ขยายจากการมุ่งทำกิจกรรมเพื่อสังคม หรือ CSR (Corporate Social Responsibility) มาเป็น DSR (Digital Social Responsibility) มากขึ้นด้วย

 

 

 

]]>
1369337
เเรงงาน ‘เวียดนาม’ หลายล้านคน กำลังจะแห่หนี ‘กลับบ้านเกิด’ ป่วนซัพพลายเชนโลก https://positioningmag.com/1355806 Fri, 08 Oct 2021 10:54:40 +0000 https://positioningmag.com/?p=1355806 เเรงงานหลายล้านคนในเวียดนาม กำลังเเห่เดินทางกลับบ้านเกิดสะเทือนห่วงโซ่อุปทานการผลิตของเเบรนด์ต่างๆ ทั่วโลก

การระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ ทำให้โรงงานและท่าเรือในเอเชีย ต้องปิดทำการชั่วคราว ครอบคลุมถึงการผลิตชิปคอมพิวเตอร์ วัตถุดิบ สินค้าอุปโภคบริโภคเเละชิ้นส่วนรถยนต์ รวมไปถึงสินค้าเเฟชั่นอย่าง เสื้อผ้า รองเท้า ของเล่น

เวียดนามได้กลายเป็นประเทศ ‘ฐานผลิต’ สำคัญของบริษัทยักษ์ใหญ่ระดับโลก ที่เลือกย้ายการผลิตมายังอาเซียนมากขึ้น เพื่อหลีกเลี่ยงสงครามการค้าระหว่างจีนสหรัฐฯ

โดยนครโฮจิมินห์’ ถือเป็นศูนย์กลางการผลิตของเวียดนาม และเป็นที่ตั้งของโรงงานซัพพลายเออร์ให้แบรนด์ดังอย่าง Nike , Adidas เเละ Abercrombie & Fitch Co

เเต่หลังจากรัฐบาลได้ ผ่อนคลายมาตรการควบคุมการเดินทางเมื่อวันที่ 1 ..ที่ผ่านมา ทำให้ให้มีแรงงานหลายหมื่นคน เดินทางออกจากนครโฮจิมินห์ และจังหวัดใกล้เคียงอย่างบินห์ดอง , ดองไน และลองอัน

การที่รัฐบาลเวียดนามสั่งการให้โรงงานต่างๆ ในนิคมอุตสาหกรรมทางตอนใต้ของประเทศ จัดเตรียมที่พักให้กับคนงานหรือปิดการดำเนินงานชั่วคราวนั้น ก็สร้างความกังวลให้เหล่าเเรงงานไม่น้อย ตามรายงานของเว็บไซต์รัฐบาลเวียดนาม คาดว่าตอนนี้ยังมีเเรงงานในโซนอุตสาหกรรมกว่า 2.1 ล้านคน ที่ต้องการกลับภูมิลำเนาอีก 

ทางเจ้าหน้าที่ได้จัดรถโดยสารหลายร้อยคัน เพื่อขนส่งคนงานเหล่านี้กลับไปยังภูมิภาคต่าง ๆ ส่วนคนที่ยังได้รับวัคซีนไม่ครบโดส ก็จะถูกส่งไปยังศูนย์กักตัวก่อน

(Photo by Linh Pham/Getty Images)

การอพยพกลับถิ่นฐานของเเรงงานในเวียดนามจำนวนมากนี้ ทำให้ปัญหาขาดแคลนแรงงานที่มีมาก่อนเเล้วในช่วงวิกฤตโควิด มีความตึงเครียดมากขึ้นเรื่อยๆ เเละอาจจะส่งผลกระทบต่อซัพพลายเชนทั่วโลก

ประธานสมาคมสิ่งทอและเสื้อผ้าของเวียดนาม ให้สัมภาษณ์ว่า อุตสาหกรรมเสื้อผ้าของประเทศ อาจเจอปัญหาแรงงานลดลงถึง 37% ในช่วงเวลาที่เหลือของปีนี้

ด้านรองประธานสมาคมผู้ผลิตรองเท้าและกระเป๋าเวียดนาม เปิดเผยว่า ตอนนี้กว่า 40% ของคนงานในอุตสาหกรรมผลิตรองเท้า เดินทางกลับบ้านไปแล้วและยังไม่ชัดเจนว่าพวกเขาจะกลับมาทำงานตามเดิมได้มากน้อยเเค่ไหน

หลายปีที่ผ่านมา เวียดนามขึ้นเเท่นเป็นผู้ผลิตเสื้อผ้าและรองเท้ารายใหญ่ที่สุดอันดับ 2 ของบริษัทในสหรัฐฯ โดยผลิตสินค้าให้แบรนด์สัญชาติอเมริกันมากกว่า 1,000 แบรนด์

ปัญหาเหล่านี้ ทำให้เเบรนด์ยักษ์ใหญ่เริ่มมีการปรับเเผนสินค้าใหม่ โดย Urban Outfitters และ Abercrombie & Fitch ได้ประกาศเตือนถึงการขาดแคลนสินค้าในช่วงเทศกาลวันหยุด

ขณะที่ Nike ได้ปรับลดคาดการณ์ยอดขายลง จากสาเหตุหลักๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับโรงงานผลิตในเวียดนามกว่า 80% ในภาคใต้ และเกือบครึ่งหนึ่งของโรงงานผลิตเสื้อผ้าที่ต้องปิดทำการ ส่วน Adidas ก็มีการจัดสรรการผลิตสินค้าใหม่ไปยังประเทศอื่น ๆ ชั่วคราว

เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักงานสถิติ คาดการณ์ว่า จีดีพีของประเทศจะเติบโตเพียง 2.5% ในปีนี้ ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายที่รัฐบาลเคยตั้งเป้าไว้มากถึง 6.5%

โดยสถานการณ์โรคระบาดที่รุนเเรงจากสายพันธุ์เดลตา มาตรการล็อคดาวน์ที่ยาวนานเกินไป เเละการเป็นหนึ่งในประเทศที่มีอัตราการฉีดวัคซีนที่ต่ำที่สุดในภูมิภาค เป็นตัวเเเปรสำคัญที่กำลังส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของเวียดนาม

 

ที่มา : Bloomberg , Reuters

]]>
1355806
Unicharm ชูจุดขาย Made in Japan เเข่งสินค้าจีน เพิ่มยอดส่งออกตลาดเอเชีย-ไทย เท่าตัว https://positioningmag.com/1353420 Sun, 26 Sep 2021 09:56:33 +0000 https://positioningmag.com/?p=1353420 ‘Unicharm’ เดินเกมเเข่งสินค้าจีน ชูจุดขาย ‘Made in Japan’ ปรับยอดส่งออกหน้ากากอนามัย เพิ่มเป็นเท่าตัว ภายในปี 2023 รับความต้องการในเอเชียพุ่ง จับกลุ่มลูกค้ากำลังซื้อสูง โดยเฉพาะในไทย อินโดฯ เเละเวียดนาม

Nikkei Asia รายงานว่า Unicharm (ยูนิชาร์ม) เเบรนด์ผู้ผลิตของใช้ส่วนบุคคลจากญี่ปุ่น ที่มีสินค้าติดตลาดอย่างหน้ากากอนามัย ผ้าอนามัย เเละผ้าอ้อม ฯลฯ มีเเผนจะเพิ่มการส่งออกเป็นเท่าตัว ไปยังตลาดเอเชีย เช่น อินโดนีเซีย ไทย และเวียดนาม พร้อมจะขยายตลาดในซาอุดีอาระเบีย ซึ่งเป็นประเทศที่มีรายได้สูง

ที่ผ่านมา บริษัทจัดจำหน่ายหน้ากากอนามัยรุ่น Cho-Kaiteki และ Cho-Rittai 3D Mask ได้ถึง 1.3 พันล้านชิ้นในปีที่แล้ว เเละมีการวางขายในต่างประเทศประมาณ 10% โดยส่วนใหญ่ผลิตในญี่ปุ่น

สำหรับกลยุทธ์เพื่อชิงตลาดครั้งนี้ Unicharm จะมีการปรับแพ็กเกจใหม่ ขยายโลโก้ Made in Japan ให้ใหญ่ขึ้นกว่าเดิม เพื่อชูจุดเเข็งจากชื่อเสียงคุณภาพสินค้าที่ผลิตในญี่ปุ่น ดีไซน์ให้สวมใส่สบาย เน้นการป้องกันมลพิษเเละโควิด-19 ไปพร้อมๆ กัน

หน้ากากอนามัยของ Unicharm เเพงกว่าราคาเฉลี่ยในตลาดเอเชียอื่นๆ ถึง 5 เท่า โดยบริษัทมุ่งเป้าไปที่กลุ่มลูกค้าที่มีรายได้ปานกลางสูง ซึ่งส่วนใหญ่อาศัยในเขตเมือง

ความต้องการสวมใส่หน้ากากที่มีคุณภาพสูงยังมีอยู่มาก แม้ว่าจะมีราคาแพงกว่าก็ตามตัวแทนของบริษัทระบุ

ก่อนที่จะเกิดวิกฤตโควิด บริษัทพยายามจะทำตลาดหน้ากากอนามัยในต่างประเทศ เพื่อแก้ปัญหามลพิษทางอากาศ เเละตอนนี้ได้ผู้บริโภคก็หันมาสวมหน้ากากอนามัย ด้วยความจำเป็นที่ต้องป้องกันไวรัส

โดยในปีที่แล้ว Unicharm เปิดให้โรงงานตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อตอบสนองความต้องการภายในประเทศที่พุ่งสูงขึ้นเเละเริ่มติดตั้งเครื่องจักรเเละอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตสำหรับส่งออกไปต่างประเทศ

ทั้งนี้ ในตลาดอินโดนีเซียและไทย Unicharm ครองส่วนแบ่งสูงสุดในกลุ่มผ้าอ้อมเด็กเเละผ้าอ้อมผู้ใหญ่ และผลิตภัณฑ์เพื่อสุขอนามัยของผู้หญิง

ล่าสุด Unicharm ได้ตั้งเป้าเพิ่มยอดขาย เป็น 1.4 ล้านล้านเยน หรือเพิ่มอีกกว่า อีก 90% ภายในปี 2030 ซึ่งรายได้จากการส่งออกจะมีสัดส่วนมากถึง 70% ทำให้ต้องเร่งพัฒนาเพื่อเเข่งขันในตลาดนี้ให้มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการชิงตลาดกับสินค้าที่ราคาถูกกว่ากับจีน

โดยแม้ดีมานด์ของหน้ากากอนามัยในทั่วโลกในช่วงโรคระบาดจะพุ่งสูงเป็นประวัติการณ์ เเต่ส่วนแบ่งตลาดส่วนใหญ่ยังตกอยู่เป็นของสินค้าจากจีน

ข้อมูลของบริษัทวิจัย Euromonitor และหน่วยงานส่งออกของญี่ปุ่น ระบุว่า ปี 2020 ตลาดหน้ากากอนามัยทั่วโลกเติบโต 3 เท่า ส่วนในอาเซียนโตขึ้นถึง 5 เท่า โดยสินค้าจากจีนครองส่วนแบ่งในตลาดโลกเพิ่มขึ้นเป็น 74% จากเดิม 39%

 

ที่มา : Nikkei Asia 

]]>
1353420
สายการบิน จับเทรนด์ ‘ป้าย HBD’ เเฟนด้อมเปลี่ยนเเนว ไม่ใช่เเค่ทุ่มซื้อเเอด เเต่ช่วยสังคมด้วย https://positioningmag.com/1351507 Fri, 17 Sep 2021 15:47:49 +0000 https://positioningmag.com/?p=1351507 ธุรกิจสายการบินดิ้นสู้โควิดไม่หยุด เเม้รัฐผ่อนคลายมาตรการการเดินทางบ้างเเล้ว เเต่ก็คงไม่กลับมา 100% ในเร็ววัน ต้องเร่งอัดโปรฯ ลดราคาเพื่อดึงลูกค้า ล่าสุดกับขยายช่องทางทำรายได้จากฝั่งโฆษณา เพื่อจับตลาดกลุ่มเเฟนคลับกำลังซื้อสูง ที่ยังคงทุ่มโปรโมต ‘ป้าย HBD’ ศิลปินอย่างต่อเนื่อง พร้อมกับการขยายโปรเจกต์ ‘ช่วยเหลือสังคม’ ในวิกฤตโรคระบาด 

จากการลงขันของกลุ่มเเฟนคลับสู่เทรนด์ป้าย HBD ตามสถานีรถไฟฟ้า ขยับมาซื้อสื่อโฆษณาใน “ขนส่งมวลชนท้องถิ่นอย่างตุ๊กตุ๊ก รถสองเเถว รถเเดง ป้ายในเรือ หรือป้ายในย่านชุมชนกันมากขึ้น เเละคราวนี้ก็จะขึ้นบินลัดฟ้าตามเที่ยวบินของสายการบินต่างๆ

สายการบินขยับหาลูกค้า Ads รายย่อย ผ่าน ‘ป้าย HBD’ 

เมื่อเร็วๆ นี้ เราได้เห็นป้าย HBD ศิลปิน ขึ้นไปอยู่ในเที่ยวบินไปกลับเชียงใหม่ดอนเมืองของไทยเเอร์เอเชียจากกลุ่มเเฟนคลับของสิงโต ปราชญา เรืองโรจน์โดยมีทั้งรูปแบบที่ติดบนที่นั่งเเละช่องเก็บสัมภาระ เป็นคำอวยพรวันเกิดให้ศิลปินที่ชื่นชอบ ซึ่งที่ผู้โดยสารภายในเที่ยวบินสามารถมองเห็นได้ทุกคน

นอกจากมีโปรเจกต์ HBD นี้เเล้ว ยังมีการเชิญชวนร่วมบริจาคให้แก่ศิริราชมูลนิธิ เพื่อจัดหาอุปกรณ์ทางการเเพทย์ในช่วงโควิด-19 อีกด้วย

ภาพจากผู้ใช้เฟซบุ๊ก : Happy Richy

ก่อนที่จะเกิดโรคระบาด ไทยเเอร์เอเชีย มีนโยบายมุ่งขยายช่องทางการรับชมสื่อให้กลุ่มผู้โดยสารที่ใช้บริการสายการบินที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปี โดยเมื่อปี 2557 ก็เคยจับมือกับ VGI เอเยนซี่โฆษณานอกบ้านในเครือบีทีเอสกรุ๊ป

อย่างไรก็ตาม ในอดีตผู้ที่เลือกโปรโมตโฆษณาบนเครื่องบิน มักจะเป็นเเบรนด์ใหญ่หรือบริษัทใหญ่ๆ ที่มีงบประมาณการตลาดสูง เพราะเรตราคาก็ถือว่าเเพงเอาการ ผู้ประกอบรายย่อยนั้นเเทบจะเข้าไม่ถึง

เเต่ด้วยสถานการณ์ปัจจุบัน ที่รายได้จากเที่ยวบินลดลง คนเดินทางน้อยลง สายการบินต่างๆ จึงต้องเพิ่มช่องทางการขายให้หลากหลาย เเละปรับเพิ่มสัดส่วนรายได้ Non-Airline ให้มากขึ้น

การที่ได้เราเห็นกลุ่มเเฟนคลับโปรโมต HBD ศิลปินบนเครื่องบินในครั้งนี้ จึงชี้ให้เห็นว่า สายการบินมีการปรับกลยุทธ์การขายสื่อโฆษณาให้เข้าถึงลูกค้ารายย่อยทั่วไปมากขึ้น เเละคาดว่าคงจัดโปรลดราคาลงให้ไม่น้อยเลยทีเดียว

ภาพจากผู้ใช้เฟซบุ๊ก : Happy Richy

เล่นใหญ่ #Wrapเครื่องบิน จับเเฟนคลับกระเป๋าหนัก 

ไทยเวียตเจ็ท’ ก็เป็นอีกหนึ่งสายการบินที่ลงสนามมาจับตลาดกลุ่มเเฟนคลับชาวไทยเช่นกัน ด้วยการประกาศผ่านทวิตเตอร์ว่าด้อมไหนสนใจ Wrap เครื่องบินในโอกาสพิเศษต่างๆ ของเมนตัวเอง ติดต่อไทยเวียตเจ็ทได้เลยนะคะ” เเละ อยากออกแบบไว้ก่อน เชิญเลยนะคะ ทำเสร็จแล้วอย่าลืมเอามาอวดกันด้วยน้า

โดยเพจ Aumjumma วาไรตี้..ชีวิตป้า บล็อกเกอร์สายท่องเที่ยว ระบุว่า หลังจาที่ได้สอบถามไปยังไทยเวียตเจ็ทเเล้ว ได้เรตราคามาคร่าวๆ ว่า หากสนใจจะติดสติกเกอร์แบรนด์ข้างลำตัวเครื่องบิน ค่าผลิตสติกเกอร์ จะอยู่ที่ประมาณ 8 แสนบาท (รวมทั้ง 2 ด้านแล้วแต่ดีไซน์) เเละค่าโฆษณา จะอยู่ที่ปีละประมาณ 6-8 ล้านบาท

(ทั้งนี้ หากระยะเวลาไม่ถึงปี อยู่เเค่ระดับรายเดือน ราคาจริงอาจจะลดลงกว่านี้มาก ต้องติดต่อสอบถามทางไทยเวียตเจ็ทอีกครั้ง)

สำหรับเทรนด์การ #Wrapเครื่องบิน นั้นมีมาหลายปีเเล้ว เเต่ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มเเฟนคลับชาวจีนที่มีกำลังซื้อสูงมากเพราะต้องใช้เงินหลักล้าน

ซีอีโอของไทยเวียตเจ็ท เคยให้สัมภาษณ์กับ Positioning เมื่อเดือนเม..ที่ผ่านมา ว่า บริษัทมีเป้าหมายจะเพิ่มสัดส่วนรายได้ในกลุ่ม Non-Airline ให้ได้ 30% จากปัจจุบันที่มีสัดส่วนที่ประมาณ 25% เพื่อเสริมรายได้หลักจากทางฝั่งการบิน โดยหนึ่งในนั้นคือกลยุทธ์การเพิ่มรายได้จากอีคอมเมิร์ซ หาสินค้าเเละบริการต่างๆ มาจำหน่ายเพิ่มขึ้น 

ตามรอย VietJet บริษัทเเม่ในเวียดนาม ที่มีรายได้จากการจำหน่ายสินค้าและบริการเสริม คิดเป็นกว่า 50% ของรายได้ทั้งหมด นับเป็นความพยายามของสายการบิน ที่จะหารายได้จากขายสินค้าและบริการเพื่อชดเชยรายได้จากตั๋วโดยสารที่ลดลง

เเฟนคลับ : ไม่ใช่เเค่ทุ่มซื้อโฆษณา เเต่ขยับไปช่วยเหลือสังคม

ด้านฝั่งเเฟนคลับเอง ก็มีทั้งคนที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจ เเต่บางส่วนก็ไม่ได้รับผลกระทบมากนัก ยังมีรายได้อยู่ในระดับดี

เห็นได้จากยอดขายซิงเกิลอัลบั้ม LALISA ของลิซ่า BLACKPINK’ ที่ได้สร้างประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ ภายในเวลาแค่ 4 วัน มียอดจองพรีออร์เดอร์กว่า 700,000 ก๊อบปี้ทั่วโลก (ราคาเซตละประมาณ 790 บาท ไม่รวมค่าจัดส่ง) ซึ่งถือว่าสูงสุดตลอดกาลสำหรับศิลปินหญิงเดี่ยวในวงการเคป๊อป สะท้อนให้เห็นว่าเเฟนคลับจำนวนมากยังมีเงินที่จะซื้อสินค้าของศิลปินในช่วงนี้

เเฟนคลับวงบอยเเบนด์เกาหลีรายหนึ่ง บอกกับ Positioning ว่า การระดมทุนภายในเเฟนด้อมในไทยยังมีอยู่ต่อเนื่อง เเต่ไม่ได้เน้นหนักไปที่การทำโปรเจกต์ในป้าย HBD เหมือนเเต่ก่อน เเต่กระจายไปที่การทำโปรเจกต์การกุศลช่วยเหลือผู้คนในช่วงวิกฤตโควิดด้วย

อย่างเช่น โครงการ #เลิฟชนะ เเฟนคลับของ วง NU’EST (นิวอีสต์) ที่มีชื่อแฟนด้อมคือ L.O.Λ.E (เลิฟ) ได้จัดซื้อชุดตรวจ Rapid Test จำนวน 300 ชุด เเจกให้คนในพื้นที่เสี่ยงในเขตกทม. เเละปริมณฑล รวมถึงบริจาคชุด PPE และถุงพลาสติกบรรจุศพให้เเก่วัดต่าง ๆ

ภาพจากทวิตเตอร์ @PRLOVE_ เลิฟชนะ

ขณะที่ แฟนคลับของหนุ่ม เป๊ก ผลิตโชค หรือ ด้อมนุช ก็มีหนึ่งในโปรเจกต์วันเกิด ที่ส่งมอบรถฉุกเฉินให้กับโรงพยาบาล บริจาคเครื่องผลิตออกซิเจน รวมถึงเปิดตลาดนัด ‘ฝากร้านของเหล่าชาวนุช นอกจากนี้ ยังมีเเฟนด้อม WIN:D PARK ของนักร้องหนุ่ม คิมเเจฮวาน ที่ได้จัดทำหน้าเว็บไซต์เพื่อ รวบรวมข้อมูลเตียงโควิด ในไทยด้วย

เป็นอีกหนึ่งพลังเเฟนด้อมที่ร่วมมือกันช่วยเหลือสังคม เเละได้โปรโมตศิลปินไปในตัว เพิ่มเติมเเละเปลี่ยนเเปลงจากการทุ่มเงินซื้อสื่อโฆษณาอย่างเดียวเเบบสมัยก่อน…

 

 

]]>
1351507
ชาวจีนเเห่ซื้อ ‘เเบรนด์จีน’ หลังกระเเสเเบนสินค้าต่างชาติ กำลังเป็น ‘โอกาสทอง’ ของนักลงทุน https://positioningmag.com/1339941 Wed, 30 Jun 2021 12:16:39 +0000 https://positioningmag.com/?p=1339941 เเบรนด์จีนกำลังได้รับความนิยมจากเหล่านักช้อปในประเทศ ดึงดูดเม็ดเงินลงทุนหมื่นล้านดอลลาร์ เมื่อผู้บริโภคหันมาอุดหนุนสินค้าท้องถิ่น หลังกระแสต่อต้านแบรนด์ต่างชาติ 

อานิสงส์การช้อปปิ้งออนไลน์ที่พุ่งสูงขึ้น หลังผู้คนต้องถูกจำกัดการเดินทางในช่วงโรคระบาด อีคอมเมิร์ซที่สะดวกสบายเเละการขนส่งที่รวดเร็ว มีส่วนกระตุ้นความต้องการของแบรนด์ท้องถิ่นด้วย

นักศึกษาชาวจีนวัย 19 ปี ให้สัมภาษณ์กับ Reuters ว่า “เมื่อคุณลองใช้ จะพบว่าคุณภาพของผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่นนั้น ดีพอๆ กับผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศ” โดยเธอเลือกใช้อายแชโดว์ของ Carslan และรองเท้าผ้าใบของ Feiyue ทานขนม Bestore Co และมีเครื่องใช้ในบ้านที่ซื้อจาก Miniso

Maia Active เป็นแบรนด์เสื้อผ้าสปอร์ตเเวร์ของจีน ที่ได้รับการสนับสนุนจากบริษัทลงทุนใหญ่อย่าง Sequoia Capital ระบุว่า สินค้าของแบรนด์ออกแบบมาเพื่อผู้หญิงเอเชียโดยเฉพาะ ทำให้เหมาะสมกับผู้บริโภคในพื้นที่มากกว่าแบรนด์จากตะวันตก

จากความต้องการที่มากขึ้นในช่วงล็อกดาวน์ ทำให้ปีนี้นักลงทุนเลือกทุ่มเงินให้กับแบรนด์ที่เจาะผู้บริโภคในท้องถิ่น

ตามรายงานของ Cygnus Equity ชี้ให้เห็นว่า บริษัทผู้ผลิตสินค้าสำหรับผู้บริโภคในจีน สามารถระดมทุนได้มากถึง 6.97 หมื่นล้านหยวน (ราว 1.1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ) จากนักลงทุนในตลาดแรก (Primary Market) ในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวจากปีก่อนหน้า

โดยแบรนด์ที่เกี่ยวข้องกับความงาม อาหาร และเครื่องดื่ม เป็นที่นิยมมากที่สุด ขณะที่แบรนด์ Hot Pot (หม้อไฟ) และราเมน ก็กำลังเป็นที่ต้องการอย่างมาก

ปัจจุบันมีแบรนด์จีนมากถึง 200 แบรนด์ กำลังมองหาเงินทุนใหม่จากนักลงทุน Ming Jin หุ้นส่วนผู้จัดการของ Cygnus กล่าว

Genki Forest แบรนด์น้ำอัดลมที่ได้รับการสนับสนุนจาก Sequoia กล่าวว่าบริษัทมีมูลค่า 6 พันล้านดอลลาร์ หลังการระดมทุนในเดือนเม.. ที่ผ่านมา ซึ่งมากกว่า 18 เดือนก่อนหน้านี้ถึงสิบเท่า

การระดมทุนในจีน ดึงดูดนักลงทุนรายใหญ่ของโลกอย่าง LVMH เจ้าของเเบรนด์ Louis Vuitton และ Temasek จากสิงคโปร์

จีนเป็นตลาดที่ง่ายที่สุดในการสร้างยอดขายจากศูนย์ให้ไปเป้าหมาย 100 ล้านหยวนนักลงทุนคนหนึ่งบอกกับ Reuters

ช่วงเทศกาลช้อปปิ้งออนไลน์บนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซของจีน ‘JD.Com’ ในเดือนนี้ พบว่า ยอดขายของแบรนด์จีนเติบโตขึ้นถึง 4% เมื่อเทียบกับแบรนด์ต่างประเทศ เเละการเติบโตของจำนวนลูกค้าก็สูงกว่าแบรนด์ต่างประเทศถึง 16%

Chris Mulliken จากบริษัทที่ปรึกษา EY ให้ความเห็นว่า ความชาตินิยมเป็นปัจจัยที่ผลักดันให้เเบรนด์ท้องถิ่นในจีนได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น รวมถึงความภูมิใจในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีนจากโควิด-19 ขณะที่ประเทศอื่น ๆ อีกหลายประเทศยังต้องต่อสู้กับอัตราการติดเชื้อที่สูง

บวกกับกระแสการต่อต้านฝ้ายซินเจียงจากแบรนด์ใหญ่ฝั่งตะวันตก อย่าง H&M , Nike และ Adidas ที่มีความกังวลเรื่องสิทธิมนุษยชนของเเรงงานก็ทำให้ลูกค้าชาวจีนไม่พอใจกับคำกล่าวหา ก็มีส่วนทำให้ชาวจีนบางส่วนตอบโต้ด้วยการหันไปซื้อของจากเเบรนด์ในประเทศมากขึ้น

 

ที่มา : Reuters 

]]>
1339941
Grab เดินเกมรุก ‘ไฟเเนนซ์’ ให้สินเชื่อร้านค้า-ไรเดอร์ ผ่อน 0% ขยายจับ ‘บุคคลทั่วไป’ ในอนาคต https://positioningmag.com/1337959 Mon, 21 Jun 2021 11:53:05 +0000 https://positioningmag.com/?p=1337959 เป็นที่ทราบกันดีว่า แอปพลิเคชันฟู้ดเดลิเวอรี่ยักษ์ใหญ่อย่าง ‘Grab’ (เเกร็บ) วางโพสิชันตัวเองไว้เป็น ‘Super App’ รวมบริการหลายอย่างไว้ในที่เดียว หนึ่งในนั้นก็คือบริการทางการเงินเเละในปีนี้ก็ได้เห็นกลยุทธ์ขับเคลื่อนด้านสินเชื่อเด่นชัดขึ้น พร้อมเตรียมขยายจับ ‘บุคคลทั่วไปในอนาคต

วรฉัตร ลักขณาโรจน์ กรรมการผู้จัดการ แกร็บ ไฟแนนเชียล กรุ๊ป ประเทศไทย เล่าว่า ปีที่ผ่านมาเป็นช่วงเวลาที่ท้าทายของผู้ประกอบการร้านอาหารเเละพาร์ตเนอร์คนขับอย่างมาก เมื่อเจอวิกฤตเศรษฐกิจทำให้รายได้ลดลง ขาดเงินทุนพยุงธุรกิจ เหล่านี้ทำให้ความต้องการสินเชื่อเพิ่มขึ้นตามไปด้วย แม้ภาพรวมของอุตสาหกรรมจะมีการชะลอตัวของยอดสินเชื่อใหม่

Grab มีไรเดอร์ (คนขับ) ผู้จัดส่งอาหารและพัสดุ และพาร์ตเนอร์ร้านค้า รวมกว่า 4 แสนราย ในจำนวนนี้ใช้บริการสินเชื่อ แกร็บไฟแนนซ์ รวมกัน 1 เเสนราย ประมาณ 80% เป็นพาร์ตเนอร์คนขับ ผู้จัดส่งอาหารและพัสดุ และอีก 20% เป็นพาร์ตเนอร์ร้านค้า

โดยสินเชื่อที่ Grab นำเสนอให้พาร์ตเนอร์คนขับและร้านค้า เป็นสินเชื่อเงินสดระยะสั้นระยะเวลาผ่อนชำระ 3-6 เดือน มีวงเงินสูงสุด 1 เเสนบาท อัตราดอกเบี้ยลดต้นลดดอกสูงสุด 33% ต่อปี ตามข้อกำหนดของธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งอัตราดอกเบี้ยดังกล่าว จะขึ้นอยู่กับรายละเอียดและเงื่อนไขการกู้ของพาร์ตเนอร์ร้านค้า

ปัจจุบัน Grab ให้บริการสินเชื่อใน 2 รูปแบบ ได้เเก่

  • สินเชื่อเงินสดสำหรับร้านค้า

ในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่มียอดกู้เฉลี่ย 7 หมื่น – 1 เเสนบาท พิจารณาวงเงินผ่าน Credit Scoring จากข้อมูลใน Grab เริ่มเปิดให้บริการในเดือนม.. 64 โดยร้านค้าสามารถเลือกว่าจะผ่อนเป็นรายวัน หรือจะผ่อนเป็นรายเดือนก็ได้ ซึ่งที่ผ่านมาพบว่า มีหลายร้านเลือกผ่อนรายวันเพราะเป็นเงินจำนวนไม่มาก พอหมุนได้ในหลักร้อย

“เรากำลังเตรียมนำเสนอบริการผ่อนชำระสินค้ารายวัน 0% แก่พาร์ตเนอร์ร้านค้าภายในสิ้นเดือนมิ.ย.นี้ เพื่อสนับสนุนร้านอาหารในการต่อยอดธุรกิจ แบ่งเบาภาระการลงทุนอุปกรณ์ต่างๆ”

  • สินเชื่อรายย่อยสำหรับไรเดอร์

จุดเด่นของสินเชื่อนี้ คือจะคล้ายกับการผ่อน 0%’ ของบัตรเครดิต เเต่จะเจาะกลุ่มไรเดอร์โดยเฉพาะ เพราะหลายคนมีความต้องการอยากซื้อสินค้าต่างๆ เเต่เข้าถึงบัตรเครดิตยาก เพราะไม่มีสลิปเงินเดือน เเต่ Grab มีข้อมูลรายได้ของไรเดอร์ช่วยประเมินสถานะการกู้ได้

เป็นสินเชื่อผ่อนของที่ไรเดอร์สามารถซื้อมือถือและเครื่องใช้ไฟฟ้ายี่ห้อต่างๆ ที่ Grab หามาให้บริการ โดยคิดดอกเบี้ย 0% ระยะเวลาการผ่อน 3-6 เดือน ในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่มียอดกู้เฉลี่ย 1-2 หมื่นบาทตามราคาสินค้า โดยไรเดอร์นิยมซื้อเครื่องปรับอากาศ สมาร์ทโฟนเเละทีวี

ใช้ AI คำนวณสินเชื่อ 

ข้อได้เปรียบของ Grab นอกจากมีจำนวนไรเดอร์เเละร้านค้าจำนวนมากเเล้ว นั่นก็คือ การคำนวณวงเงินสินเชื่อด้วย AI วิเคราะห์ข้อมูลด้านต่างๆ เป็น ‘Data Driven Lending’ อุดช่องว่างของธนาคารที่ต้องใช้หลักทรัพย์ค้ำประกันหรือหลักฐานยืนยันรายได้ที่เเน่นอน 

โดย Credit Scoring เป็นส่วนสำคัญที่มีผลต่อการปล่อยสินเชื่อ รวมไปถึงชั่วโมงการทำงาน พฤติกรรม และรายได้ที่ได้จากบริษัท เพื่อหาวงเงินสูงสุดที่เหมาะสมให้ผู้กู้ เป็นระบบที่ช่วยให้คนทําดี ได้ดี

เมื่อถามถึงความเสี่ยงด้านการชำระหนี้ เขามองว่าไรเดอร์หลายคนไม่ได้ทำงานนี้เป็นประจำก็จริง เเต่ยอดเงินกู้ไม่ได้สูงมาก ไม่คุ้มที่จะสูญเสียช่องทางรายได้ ถ้าวงเงินเป็นล้าน เราคงไม่ได้ปล่อยกู้

แกร็บไฟแนนซ์ เตรียมจะขยายบริการครอบคลุมทุกจังหวัดที่ Grab ให้บริการจากที่ผ่านมากระจุกในจังหวัดใหญ่เเละจะทยอยเพิ่มสินค้าในรายการผ่อนให้มากขึ้นเพื่อเพิ่มทางเลือกให้ลูกค้า

ปีนี้เราไม่ได้ตั้งเป้าเป็นตัวเลขว่าคนจะเข้ามาใช้บริการสินเชื่อเท่าไหร่ เเต่หวังว่าจะเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่ช่วยให้ผ่านพ้นวิกฤตนี้ไปด้วยกัน

สร้าง Loyalty ภายใน เตรียมขยายสู่ ‘ภายนอก’ 

สำหรับ แกร็บ ไฟแนนเชียล กรุ๊ปเป็นกลุ่มธุรกิจที่แกร็บตั้งขึ้นมาตั้งแต่ปี 2561 มีเป้าหมายให้บริการด้านการเงินเเบบครบวงจร ผ่าน 4 บริการหลัก ได้แก่

Grab Pay – ระบบจ่ายเงินให้ไรเดอร์ ร้านอาหาร เเละอีวอลเล็ตของผู้ใช้
Grab Insure – ให้บริการประกันต่างๆ เป็น micro insurance
Grab Finance – ให้บริการสินเชื่อนาโนไฟแนนซ์ เเละ Credit Score
Grab Invest – บริการเงินฝากการลงทุน

ในปีหน้า Grab เราจะขยายไปด้านเงินฝาก เเละการให้คำปรึกษาด้านการลงทุน เพื่อให้ครอบคลุมบริการทางการเงินทุกด้าน

โดยรายได้จากดอกเบี้ยต่างๆ มีเเนวโน้มจะเติบโตเรื่อยๆ จากตลาดที่เติบโตขึ้น ความต้องการบริการทางการเงินที่มากขึ้น ซึ่งในอนาคตจะกลายมาเป็นหนึ่งในรายได้หลักของ Grab 

นอกจากนี้ การออกสินเชื่อให้ไรเดอร์เเละร้านอาหาร ยังเป็นการสร้าง  ‘Loyalty’ ต่อเเบรนด์ กระตุ้นให้คนต้องขยันทำงานมากขึ้น สร้างรายได้มากขึ้น พร้อมทั้งยังต้องมีพฤติกรรมที่ดียกระดับบริการให้ถูกใจลูกค้า เพื่อไม่ให้เสียเครดิตเพื่อยื่นกู้เงิน

แกร็บไฟแนนซ์ ยังคงให้บริการเฉพาะกับไรเดอร์และร้านค้าในระบบ แต่ในอนาคตหวังว่าจะให้บริการกับบุคคลทั่วไปภายนอกได้

ต้องจับตามองว่าธุรกิจไฟแนนซ์ของ Grab จะขยายไปในทิศทางใด เเม้ทางผู้บริหารจะยืนยันว่า ตอนนี้ไม่ได้ตั้งใจจะมุ่งเเข่งขันในตลาดสินเชื่อ Non-Bank ก็ตาม….

 

]]>
1337959
ก้าวใหม่ FWD กับ ‘เดวิด โครูนิช’ ซีอีโอสไตล์ Young At Heart เปลี่ยนภาพประกันชีวิตให้ ‘สนุก’ https://positioningmag.com/1336958 Tue, 15 Jun 2021 05:35:31 +0000 https://positioningmag.com/?p=1336958 ผมวาดฝันไว้ว่า วันใดวันหนึ่งผู้คนจะตื่นมาพร้อมกับความรู้สึกที่ว่าพวกเขาควรจะมีประกัน

นี่คือหนึ่งในเป้าหมายชีวิตของเดวิด โครูนิช(David Korunic) ผู้ทำงานรันวงการไฟเเนนซ์เเละประกันมายาวนานเกือบ 4 ทศวรรษ

บรรยากาศของออฟฟิศกลางใจเมืองที่พนักงานหัวเราะสนุกสนาน เเต่งตัวตามสบาย พูดคุยกับซีอีโออย่างเป็นกันเอง เป็นจุดเล็กๆ ที่ทำให้เห็นถึงรูปแบบการทำงานเเบบใหม่ที่เขาได้นำมาใช้ในองค์กร เพื่อสลัดภาพธุรกิจประกันที่เคร่งขรึมสู่การทำงานเเบบสตาร์ทอัพที่เน้นความสร้างสรรค์เเละเเตกต่าง

เดวิด เล่าถึงราวชีวิตคร่าวๆ ให้ฟังว่า เขาเกิดเเละเติบโตในนิวซีเเลนด์ จุดพลิกผันเกิดขึ้นเมื่อเขาตัดสินใจมาท่องเที่ยวพักร้อนเพื่อหาประสบการณ์ใหม่ เเละไม่คาดคิดว่าหนึ่งปีหลังจากนั้น เขาจะได้ใช้เวลามากกว่าครึ่งชีวิตในเอเชีย เเละสร้างครอบครัวในประเทศไทย

เขาเริ่มทำงานด้านไฟเเนนซ์ในอินโดนีเซีย ขยับไปฮ่องกง เคยไปอยู่เกาหลีใต้ จีน ย้ายมาสิงคโปร์ บุกเบิกประกันสุขภาพโซนอาเซียนกับ ‘Allianz’ ค่อยๆ เลื่อนตำเเหน่งขึ้นมา เเละมาอาศัยอยู่ในไทยหลายปี พร้อมขึ้นตำเเหน่งซีอีโอของกรุงไทยแอกซ่า’ โดยเมื่อปลายปี 2019 ที่ผ่านมาได้ข้ามค่ายมานั่งเเท่นบิ๊กบอสของ FWD ประเทศไทย

“FWD เป็นน้องใหม่ที่เพิ่งเปิดตัวได้เพียง 8 ปี ท่ามกลางคู่เเข่งที่อยู่มาเป็น 100 ปี นี่คือโอกาสที่เราจะปั้นเเบรนด์ให้เเตกต่าง เเละสร้างปรากฏการณ์ใหม่ให้วงการนี้”

มองมุมกลับ ปรับมุมมอง

เหตุผลหลักๆ ที่ทำให้เขาเลือกมาอยู่กับ FWD นั่นก็คือปรัชญาขององค์กรที่มุ่งเน้นไปที่การเปลี่ยนมุมมองของผู้บริโภคที่มีต่อประกันชีวิต นับเป็นความท้าทายครั้งใหญ่ในเส้นทางอาชีพของเขา

เดิมทียุคสมัยพ่อเเม่ บริษัทประกันถูกมองว่าสร้างความกลัวให้ลูกค้า กลัวต้องตาย กลัวต้องป่วย ไร้ความเห็นอกเห็นใจ มีภาพลักษณ์ในเเง่ลบ มาวันนี้เขาต้องการเปลี่ยนภาพนั้น ด้วยการปรับธุรกิจประกันให้สื่อสารอย่างเป็นมิตร เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในชีวิต ทำให้รู้สึกว่ามีเเล้วหายห่วงเเละเป็นไปในรูปเเบบสนุกสนาน

ไม่มีใครคิดหรอกว่า ตื่นขึ้นมาเเล้วอยากซื้อประกันจังเลย เรามักซื้อประกันในยามที่จำเป็นต้องใช้ จึงนำมาสู่การคิดผลิตภัณฑ์ใหม่ให้เข้าถึงชีวิตผู้คน โดยที่พวกเขาไม่ต้องรู้สึกกดดันหรืออึดอัด ต้องสื่อสารสิ่งที่ซับซ้อนให้เข้าใจง่าย ใช้คำง่ายๆ เเต่ตรงประเด็นเเละน่าเชื่อถือ เปลี่ยน Mistrusting เป็น Trustworthy”

No More Drama

ในช่วงวิกฤตโรคระบาด พฤติกรรมเเละไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคเปลี่ยนไป หันมาใช้เวลาบนเเพลตฟอร์มออนไลน์ เพื่อหาความบันเทิงในยามสถานการณ์ตึงเครียด เริ่มหาความสุขจากสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ในชีวิตประจำวัน

FWD จึงจับเทรนด์ ‘Micro Moments’ มาเป็นกลยุทธ์ในสร้างการรับรู้ของเเบรนด์ผ่านคอนเซ็ปต์ Celebrate living ที่นำอินไซต์ของคนยุคนิวนอร์มอล มาสื่อสารให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า พร้อมใช้ Entertainment Marketing ส่งต่อเรื่องราวสร้างเเรงบันดาลใจ กระตุ้นความสุข ตรงข้ามกับโฆษณา ‘เรียกน้ำตา’ ที่ทำคล้ายๆ กันมา

“If you enjoy , you remember … คนเราถ้าสนุกกับอะไร ก็จะจำสิ่งนั้นได้” เดวิดกล่าว

เขาบอกอีกว่า ‘เพลง’ เเละ ‘วิดีโอ’ เป็นสื่อบันเทิงหลักที่ผู้บริโภคคนไทยชื่นชอบและเข้าถึงได้ง่าย ซึ่งผ่านมา FWD ใช้สิ่งนี้เป็นสื่อกลางการสื่อสาร อย่างเเคมเปญโรเเมนติกคอมเมดี้อย่าง ‘น้อง.พี่.ที่รัก(ษา)’ เเละเพลง ‘ทุกก้าวไป’ ที่ร้องโดยตู่ ภพธร ซึ่งเป็นเพลงฟังที่ในร้านอาหารได้ ไม่ใช่เเค่ผ่านเเอดโฆษณา เเละให้ความสำคัญกับ Storytelling บอกเล่าเรื่องราวผ่านสารคดีเพลง ด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย มีโมเมนต์ที่ทุกคนเข้าถึง

นอกจากนี้ ยังมีการสื่อสารเเบรนด์ผ่านอาหาร โดยทำ ‘รสชาติไอศกรีมของ FWD’ ร่วมกับ Guss Damn Good

“ใครจะคิดว่าจะมีรสไอติมของบริษัทประกัน…ต่อไปนี้เราจะไปอยู่ทุกที่ ให้ทุกคนเห็นเรา คุ้นเคยกับเรา ค่อยๆ เป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของลูกค้า”

ประกันยุคใหม่ : เสิร์ฟตามไลฟ์สไตล์ ไม่ใช่ ‘อายุ’ 

กลุ่มเป้าหมายหลักของธุรกิจประกันชีวิต อยู่ในช่วงวัย 35-55 ปี เเละส่วนใหญ่เป็น ‘Older Generation’ เเต่ตอนนี้คนรุ่นใหม่ก็หันมาสนใจซื้อประกันมากขึ้น

เราจะออกผลิตภัณฑ์ตามไลฟ์สไตล์ ที่ไม่ใช่เเค่ตัวเลขอายุ คนอายุมากอาจจะมีหัวใจวัยรุ่น ดังนั้น เราจึงโฟกัสไปที่บริการในสิ่งที่ลูกค้าอยากได้”

เเม้ในช่วงล็อกดาวน์ คนจะต้องอยู่บ้านไม่ได้เจอพบปะสังสรรค์ ไม่ได้ไปธนาคาร ไม่ได้เจอตัวเเทน เเต่จากการสำรวจพบว่า ลูกค้ายังอยากเจอผู้คน การซื้อประกันจึงเป็นไปแบบไฮบริดคือลูกค้าหาข้อมูลจากออนไลน์ เเต่พอจะตัดสินใจซื้อจริงๆ มักจะต้องโทรหรือวิดีโอคอล ให้เห็นหน้าเห็นตากัน

ขณะเดียวกัน จุดประสงค์การซื้อประกันก็เปลี่ยนไปด้วย เช่น เมื่อก่อนคนจะซื้อเพื่อลงทุน เเต่หลังโควิด-19 เริ่มดูที่การคุ้มครอง การดูเเลรักษาพยาบาลอย่างจริงจัง

โดยผลิตภัณฑ์ที่ลูกค้ามองหามากที่สุดตอนนี้ คือกลุ่มสุขภาพที่ผ่านมาบริษัทได้ออกผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อจับตลาดนี้โดยเฉพาะ อย่าง ‘OPD คุ้มครบ จบหายห่วง’ เเละ FWD Precious CARE แผนคุ้มครองสุขภาพเหมาจ่าย พร้อมขยายความคุ้มครองลูกค้าที่แพ้วัคซีนด้วย

เดวิด บอกว่า ที่ผ่านมาบริษัทประกันไม่ค่อยออกผลิตภัณฑ์คุ้มครอง OPD (ผู้ป่วยนอก) จะมีบ้างเเต่ไม่มาก ส่วนใหญ่จะมีเงื่อนไขเยอะ ข้อจำกัดเยอะ เป็นโอกาสตลาดที่ FWD จะเข้าไปเจาะลูกค้าที่มีความต้องการส่วนนี้ เพราะพวกเขาอยากได้ประกันที่ซื้ออะไรเเล้วครั้งเดียวจบ ไม่ใช่ใครขายถูกเเล้วชนะ เเต่เป็นการที่ใครบริการได้ดีที่สุด

เมื่อถามถึงสถานการณ์ที่ว่าเเม้ประกันสุขภาพจะบูม เเต่คนไม่มีเงินจ่ายเบี้ย ซีอีโอ FWD มองว่า

ผมคิดว่ามันเป็นไปตามสภาพเศรษฐกิจที่ซบเซา คนรายได้ลดลง ต้องใช้เงินเพื่อดำรงชีวิตไว้ก่อน ประหยัดไว้ก่อน ดูปัจจัย 4 ไว้ก่อน เเต่ตอนนี้ประกันสุขภาพก็กำลังจะเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญของการดำรงชีวิตไปเเล้ว”

โดยพื้นฐานลูกค้าประกันเเต่ละประเทศที่เคยทำงานมา จะต่างกันที่สิ่งเเวดล้อมเป็นหลัก เช่น อินโดฯ จะชอบลงทุน เเต่ออสเตรเลียจะไม่ค่อยซื้อประกันสุขภาพ เพราะมีระบบสาธารณสุขรองรับอยู่เเล้ว ส่วนคนไทยเเม้จะมี 30 บาทรักษาทุกโรค ซึ่งเป็นโครงการที่ดี เเต่ผู้คนยังต้องการความสะดวกสบาย ไม่ต้องรอคิวนาน ก็หันมาซื้อประกันสุขภาพมากขึ้น

สำหรับตลาดประกันในไทยที่มีมูลค่ารวม 6 เเสนล้านบาท นั้น ‘ยากที่จะคาดการณ์ต้องดูการกระจายวัคซีน การฟื้นตัวของเศรษฐกิจ เเละระยะเวลาในการเปิดประเทศ

เปลี่ยนเเปลงจาก ‘ภายใน’ 

การที่จะพลิกโฉมธุรกิจได้ ต้องเริ่มจากการดิสรัปต์ในบริษัทก่อน ซึ่งเดวิดยอมรับว่าเป็นเรื่องที่ท้าทายมากเพราะต้อง ‘Rebuild’ วัฒนธรรมองค์กรใหม่หลังควบรวมกับ SCBLIFE ก้าวขึ้น ‘เบอร์สอง’ ในตลาดประกัน โดยจะเน้นไปที่การทรานส์ฟอร์มสู่ดิจิทัล ที่ไม่ใช่เเค่ย้ายไปอยู่บนเเพลตฟอร์มออนไลน์ เเต่หมายถึงการใช้ AI , Machine learning , Robotics , อัพสกิลพนักงานเเละเปลี่ยนระบบการทำงานใหม่

อย่างเช่น การเทรนนิ่งพนักงานช่วงโควิด-19 ที่รูปแบบการขายเปลี่ยนไปเยอะ ต้องปรับมาเทรนนิ่งออนไลน์ มีการพบปะลูกค้าเเบบ face to face ผ่านหน้าจอ เปลี่ยนการนำเสนอ อบรมเป็นกลุ่มเล็กลงฯลฯ

ขณะเดียวกัน ต้อง ‘Repurpose’ เปิดพื้นที่ให้พนักงานได้คิดสร้างสรรค์เเละทำให้เเตกต่าง โดยการสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการคิดไอเดียใหม่ ทำงานเเบบ  Hot- Desk เเต่งตัวได้ตามสบาย ไม่รู้สึกกดดัน อยากที่จะเปลี่ยนเเปลงเเละกล้าเเสดงความคิดเห็น รวมถึงการมีค่าตอบเเทนที่ดี สวัสดิการที่ครอบคลุมการใช้ชีวิต

เราต้องเชื่อในตัวพนักงาน เชื่อในความสามารถพวกเขา ว่ามีความรับผิดชอบเเละเป็นตัวเทนของเเบรนด์ได้เป็นอย่างดี

Young At Heart อยู่เสมอ

วันว่างของเดวิด โครูนิชเขามักจะขับรถคลาสสิกไปเที่ยวต่างจังหวัดกับครอบครัวอยู่บ่อยครั้ง อย่างหัวหินที่อยู่ใกล้กรุงเทพฯ ซึ่งเขาใช้เวลาอยู่ที่นั่นถึง 4 วันต่อสัปดาห์ในช่วงที่ต้อง WFH เเละงานอดิเรกที่ชื่นชอบที่สุด…นั่นก็คือการทำอาหารลองสูตรใหม่ เมนูใหม่ตลอดเวลา

ความชอบลองอะไรใหม่ๆ สะท้อนไปถึงหลักยึดที่เขานำมาใช้ในองค์กร คือ การทำงานด้วยความสนุก “it’s okay to fail” คนเราทำผิดพลาดได้ เเต่ต้องนำกลับมาปรับปรุง เเละสิ่งสำคัญคือการ ‘Open Minds’ เปิดใจเรียนรู้สิ่งใหม่ ไม่ตีกรอบความคิด เชื่อในความหลากหลาย “ความเเตกต่างของคน จะทำให้เกิดความเเตกต่างในงาน

นี่คือจุดกำเนิดที่ดีที่สุดที่เขาเชื่อว่า จะสร้างสรรค์ผลงานที่เเตกต่างจากคนอื่น เพราะมาจากหลากหลายมุมมอง ไม่ได้มาจากมุมใดมุมหนึ่ง ขณะเดียวกันต้องมุ่งมั่นในงานไปทางเดียวกัน ดูเเลทุกคนให้ทั่วถึง ไม่ยึดติดกับตำเเหน่ง

โดยการบริหารคนที่มาจากหลายเจเนอเรชัน สิ่งที่ต้องทำคือรับฟังความคิดเห็นให้พนักงานเป็นตัวของตัวเองมากที่สุด เช่น ที่ FWD เปิดให้ทุกคนเเต่งตัวได้ตามเพศสภาพ ให้มีประกันเพื่อการผ่าตัดเเปลงเพศ ให้สิทธิพาร์ตเนอร์ lgbtqia+ เหมือนคู่สมรส ฯลฯ

ผมชอบคุยกับคนรุ่นใหม่นะ ชอบใช้เเอปพลิเคชันใหม่ๆ ไม่เคยคิดว่าตัวเองต้องเเก่ Young At Heart อยู่เสมอ เปิดใจรับว่าโลกใหม่คิดอย่างไร หมุนตามโลกให้ทัน

 

 

 

]]>
1336958
Muji U.S.A. ยื่นขอล้มละลาย ภายใต้ Chapter 11 เซ่นพิษ COVID-19 มรสุมค้าปลีกในอเมริกา https://positioningmag.com/1287285 Fri, 10 Jul 2020 08:03:21 +0000 https://positioningmag.com/?p=1287285 Muji U.S.A. บริษัทลูกในสหรัฐฯ ของ Ryohin Keikaku Co. เจ้าของร้านค้าปลีกญี่ปุ่นสไตล์มินิมอลอย่าง MUJI ยื่นขอล้มละลายภายใต้ Chapter 11 ท่ามกลางวิกฤต COVID-19 ที่สั่นสะเทือนธุรกิจทั่วโลก

สำนักข่าว Bloomberg รายงานว่า Muji U.S.A. ได้ยื่นขอล้มละลายเพื่อฟื้นฟูกิจการ ภายใต้ Chapter 11 ต่อศาลในรัฐเดลาแวร์

โดยทาง Ryohin Keikaku ระบุในเเถลงการณ์ว่า Muji U.S.A. ยื่นฟ้องขอล้มละลาย เนื่องจากได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ซึ่งต้องมีการปิดร้านชั่วคราวตามมาตรการล็อกดาวน์ ทำให้บริษัทต้องเเบกรับค่าใช้จ่ายต่างๆ รวมถึงค่าเช่าพื้นที่ซึ่งมีราคาสูง โดยทางบริษัทกำลังวางกลยุทธ์เพื่อเพิ่มยอดขายเเละกำลังต่อรองค่าเช่าใหม่

ทั้งนี้ การยื่นขอล้มละลายภายใต้ Chapter 11 นั้น MUJI ในอเมริกาจะยังสามารถดำเนินธุรกิจเเละให้บริการต่อไปได้ เเต่จะต้องมีการปรับโครงสร้างองค์กร เจรจากับเจ้าหนี้เเละวางแผนอื่น ๆ เพื่อฟื้นฟูกิจการ

Muji U.S.A. เป็นอีกหนึ่งใน 110 บริษัทที่ประกาศยื่นขอล้มละลายในสหรัฐฯ นับตั้งเเต่ช่วงต้นปี 2020 เป็นต้นมา สาเหตุหลักๆ มาจากผลกระทบของโรค COVID-19 ที่สร้างความเสียหายต่อธุรกิจค้าปลีกทั่วโลก โดยยอดขายของร้าน Muji ตามสาขาต่างๆ ในอเมริกาลดฮวบลงกว่าครึ่งหนึ่ง ในช่วงเดือนเมษายนพฤษภาคมที่มีการระบาดหนัก

สำหรับยอดขายของ MUJI ในอเมริกา คิดเป็นรายได้ราว 2.5% ของ Ryohin Keikaku เเต่ผลประกอบการไม่ค่อยดีนัก โดยในปีงบประมาณ 2019 บริษัทขาดทุนราว 10 ล้านเหรียญสหรัฐ

แม้ MUJI จะเติบโตอย่างรวดเร็วในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา จากการขยายธุรกิจไปยังประเทศจีน แต่เมื่อเร็วๆ นี้ เเบรนด์กำลังประสบปัญหาว่าผลิตภัณฑ์ที่มีสไตล์เรียบง่ายนั้นถูกลอกเลียนเเบบได้ง่ายเเละมีราคาที่ถูกกว่า ขณะที่สินค้าของ MUJI ยังถูกผู้บริโภคบางส่วนมองว่ามีราคาสูงเกินไป

ก่อนหน้านี้ ห้างค้าปลีกหลายรายในสหรัฐฯ กำลังดิ้นรนเพื่อฝ่าวิกฤติ COVID-19 เช่นกัน อย่าง ห้างสรรพสินค้า Neiman Marcus, J.C. Penney และ Stage Stores ต่างยื่นล้มละลายในช่วงที่มีการระบาดใหญ่ รวมถึงเชนขายสินค้าเพื่อสุขภาพอย่าง GNC Holdings ก็ยื่นล้มละลายเเละมีแผนจะปิดร้านค้าหลายร้อยแห่งอย่างถาวรด้วย

 

ที่มา : Bloomberg

]]> 1287285 รู้จัก Consciouslites ผู้บริโภคใหม่มาเเรง “ทำดีพร้อมเเชร์” ยอมจ่ายเเพงให้เเบรนด์ช่วยสังคม https://positioningmag.com/1285842 Tue, 30 Jun 2020 11:42:18 +0000 https://positioningmag.com/?p=1285842 พฤติกรรมผู้บริโภคในยุคดิจิทัลเปลี่ยนเเปลงตลอดเวลา เป็นเรื่องสำคัญที่ธุรกิจและเเบรนด์ต่างๆ ต้องปรับตัวให้ทันและตอบสนองความต้องการของตลาดให้ตรงจุด

อย่างที่ทราบกันว่า ทุกวันนี้เทรนด์รักษ์โลกเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันผู้คนเริ่มให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมและสังคมมากขึ้น เมื่อโลกต้องเผชิญทั้งโรคระบาด ภัยธรรมชาติ ภาวะโลกร้อนเเละความไม่เท่าเทียมในสังคม

ความตระหนักเหล่านี้ก่อให้เกิดพฤติกรรมผู้บริโภคเเบบใหม่ที่เรียกว่า “Consciouslites” หรือกลุ่มคนที่ใส่ใจสังคมและสิ่งแวดล้อม

พวกเขามีเเนวโน้มยอมจ่ายเเพงให้กับแบรนด์ที่มีการช่วยเหลือสังคม พร้อม เเชร์เรื่องราว” ของตัวเองเเละช่วยเป็นกระบอกเสียงให้ผลิตภัณฑ์เเละเเบรนด์ที่สนับสนุนผ่านโซเชียลด้วย

รู้จักผู้บริโภค Consciouslites 

ผลวิจัยล่าสุดในหัวข้อ “The Rise of Conscious ASEANs: Why should you CARE?” (บริโภคอย่างใส่ใจ ไลฟ์สไตล์แนวใหม่ของคนอาเซียน) โดยศูนย์วิจัยความเป็นอยู่ฮาคูโฮโด อาเซียน หรือ ฮิลล์ อาเซียน ก่อตั้งโดย ฮาคูโฮโด อิงค์ บริษัทโฆษณายักษ์ใหญ่อันดับ 2 ของญี่ปุ่น

เปิดเผยมุมมองของ Consciouslites ที่เป็นพฤติกรรมผู้บริโภคสายพันธ์ุใหม่ในอาเซียน ถึงความสนใจกับปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าและบริการ รวมถึงเสนอแนวทางการตลาดที่สอดคล้องกับพฤติกรรมผู้บริโภคกลุ่มนี้

คำว่า The Consciouslites หมายถึง ผู้บริโภคที่มีวิถีชีวิตที่ใส่ใจสังคมและสิ่งแวดล้อม ต้องการสร้างผลกระทบในทางที่ดีต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมโดยรวม ผ่านการกระทำต่างๆ ในชีวิตประจำวัน และการเลือกใช้แบรนด์ต่างๆ

ส่วน Conscious Lifestyle หมายถึง วิถีชีวิตและพฤติกรรมการบริโภคที่มีการพิจารณาว่าการกระทำของตนจะเป็นผลดีต่อตนเองผู้อื่นสังคมและสิ่งแวดล้อมหรือไม่ รวมถึงมีความใส่ใจในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์บริการและแบรนด์ต่างๆ ที่มีแนวคิดสอดคล้องกับวิถีชีวิตของตนเอง

นัฐกาญจน์ วัฒนมงคลศิลป์ ผู้อำนวยการสายงานวางแผนกลยุทธ์ บริษัท สปาฮาคูโฮโด จำกัด กล่าวว่าการเเพร่ระบาดของ COVID-19 เป็นหนึ่งในปัจจัยที่กระตุ้นให้พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนเเปลงเร็วขึ้น

จากผลสำรวจผู้บริโภคในไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ (6 ประเทศอาเซียน) จำนวน 4,500 คน อายุ 20-49 ปี ช่วงเดือนมีนาคม 2563 พบว่าผู้บริโภคกว่า 91% มองว่า COVID-19 เป็นเหตุการณ์ที่สำคัญที่สุดในชีวิต เเละกว่า 94% บอกว่าพวกเขาต้องปรับเปลี่ยนชีวิตตัวเอง เนื่องจาก COVID-19 ทั้งด้านไลฟ์สไตล์ รูปแบบการทำงาน มีการซื้อสินค้าด้านสุขภาพ สุขอนามัย และช้อปปิ้งออนไลน์เพิ่มขึ้น

ขณะที่ 81% มองอีกมุมว่าความตึงเครียดจากสถานการณ์ COVID-19 ถือเป็นโอกาสดี ที่ทำให้เห็นการแสดงออกในการช่วยเหลือกันของคนในสังคม

สิ่งเหล่านี้ ชี้ให้เห็นเเนวโน้มของพฤติกรรมผู้บริโภคว่า หลังจากผ่านพ้นวิกฤตนี้ไปเเล้ว พวกเขาจะหันมาใส่ใจเรื่องสุขอนามัย การดูแลสุขภาพรวมทั้งการบริโภคอย่างใส่ใจสิ่งแวดล้อมเเละสังคม” ซึ่ง Conscious Consumer กำลังเติบโตอย่างมากในอาเซียน

ผู้บริโภคยุคใหม่ใส่ใจสังคมและสิ่งแวดล้อม ตระหนักรู้เกี่ยวกับไลฟ์สไตล์ที่ใส่ใจสังคม-สิ่งแวดล้อม และนำไปปฏิบัติจริง คนอาเซียนประมาณร้อยละ 90 รู้จักคำว่า Conscious Lifestyle หรือวิถีชีวิตที่ใส่ใจสังคม-สิ่งแวดล้อม และเกือบร้อยละ 80 นำความใส่ใจสังคมและสิ่งแวดล้อมมาปฏิบัติจริงในการดำเนินชีวิตประจำวัน

มีความใส่ใจสังคมและสิ่งแวดล้อมในระดับสูง (Base : Conscious ASEANs) Consciouslites ในอาเซียนร้อยละ 86 ระบุว่า จะนำความใส่ใจสังคม-สิ่งแวดล้อมมาเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินชีวิตประจำวันอย่างจริงจัง (ทำโดยไม่สนใจว่าคนอื่นทำอย่างไรหรือคิดอย่างไร รวมถึงทำและชักชวนให้ผู้อื่นทำด้วย)

ผลกระทบทางสังคมมีผลต่อการเลือกแบรนด์ (Base : Conscious ASEANs) กว่าร้อยละ 80 ของ Consciouslites ในอาเซียนให้ความสำคัญกับแบรนด์ที่ใส่ใจสังคม โดยร้อยละ 85 ระบุว่าอยากให้มีแบรนด์จำนวนมากขึ้นที่สนับสนุนวิถีชีวิตที่ใส่ใจสังคม-สิ่งแวดล้อม และส่งผลในทางที่ดีต่อสังคม และร้อยละ 82 ระบุว่าจะเปลี่ยนไปใช้แบรนด์ที่สนับสนุนสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม

เต็มใจจ่ายเงินมากขึ้นเพื่อผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและใส่ใจสังคม (Base: Conscious ASEANs) ร้อยละ 81 ของ Consciouslites ในอาเซียนระบุว่า เต็มใจจ่ายแพงขึ้นเพื่อสินค้าสำหรับวิถีชีวิตที่ใส่ใจสังคมและสิ่งแวดล้อม

ยอมจ่ายเเพง…ให้เเบรนด์ที่ช่วยสังคม 

อีกข้อมูลที่น่าสนใจคือ ชาวอาเซียน 81% พร้อมจ่ายเงินให้กับสินค้าและแบรนด์ที่ดูแลสังคมและผลกระทบสิ่งแวดล้อม ในจำนวนนี้แบ่งเป็น ยอมจ่ายในราคาที่สูงขึ้น 20% สัดส่วน 33% และยอมจ่ายในราคาที่มากกว่า 20% สัดส่วน 48% 

โดยปัจจัยหลักในการ “เลือกแบรนด์” ที่รองมาจากฟังก์ชันการใช้งานและราคา นั่นก็คือ “ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม” ที่ผู้บริโภคใส่ใจมากกว่าดีไซน์เเละภาพลักษณ์ของเเบรนด์

  • Awareness / Interest ชาวอาเซียนให้ความสำคัญกับ Conscious Lifestyle ถึง 80% โดยมี KOL กระตุ้นให้เกิดการซื้อมากขึ้น
  • Search / Compare ชาวอาเซียน 78% ค้นหาข้อมูลแบรนด์ที่ส่งเสริมและดูแลสิ่งแวดล้อม หากเป็นสินค้าประเภทเดียวกันราคาพอๆ กัน ชาวอาเซียน 82% พร้อมเปลี่ยนมาเลือกแบรนด์ที่สนับสนุนสังคม
  • Action ผู้บริโภคอาเซียน 76% พร้อมจ่ายเงินเพื่อสินค้าที่ดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อมมากกว่าสินค้าทั่วไป และถ้ามีดีไซน์สวยงามจะเป็นสิ่งที่จูงใจในการซื้อเพิ่มขึ้น
  • Share / Endorse ผู้บริโภค Consciouslites ในอาเซียนกว่า 86% พร้อมบอกต่อและแนะนำแบรนด์ที่สนับสนุนสังคมและสิ่งแวดล้อม

อย่างไรก็ตาม ผู้บริโภคกลุ่มนี้ไม่ได้มองว่าผู้ประกอบการหรือแบรนด์เจ้าของสินค้าเป็น “ผู้ร้าย” ที่ทำให้เกิดปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อม แล้วต้องลงโทษด้วยการตำหนิติเตียน (shaming) และไม่ซื้อสินค้า (boycott) แต่มองว่าผู้ประกอบการธุรกิจสามารถเป็นพันธมิตร และร่วมกันแก้ไขปัญหาได้ จึงแสดงออกด้วยการอุดหนุนซื้อสินค้า (buycott) ของแบรนด์และผู้ประกอบการที่พยายามช่วยแก้ปัญหา สังคมและสิ่งแวดล้อม รวมถึงชักชวนให้ผู้อื่นซื้อเช่นเดียวกัน

“ผู้บริโภคจะไม่ Boycott แบรนด์ที่ไม่ได้ทำ แต่จะ Buycott แบรนด์ที่ทำเพื่อสังคมมากกว่า”

Consciouslites ไทยเน้น “สนุกไม่น่าเบื่อ” เเละ “ทำดีพร้อมเเชร์” 

ผู้บริโภค Consciouslites ในอาเซียน รวมทั้งประเทศไทยมีลักษณะพิเศษ คือ “มองในเเง่บวก” คือมีความสุขกับการทำดีและอยากทำต่อเนื่อง มีแนวโน้มจะแชร์เรื่องราวที่เป็นประโยชน์กับสังคมในเชิงบวก ซึ่งเเตกต่างจากกลุ่ม Consciouslites ในยุโรปที่จะมีการแสดงออกที่แข็งกร้าวมากกว่า

กฤตเมธ วุฒิเมธีกุล นักวางแผนกลยุทธ์ระดับอาวุโส บริษัท เดลฟิส ฮาคูโฮโด (ประเทศไทย) กล่าวว่า “บุคลิกหรือนิสัยของคนอาเซียนจะค่อนข้างแตกต่างจากภูมิภาคอื่น จะเน้นในเรื่องของการแชร์ หรือมุ่งเน้นการทำความดีเพื่อช่วยสังคมและแชร์ผ่านสื่อออนไลน์เท่านั้น จะไม่สร้างความแตกแยกหรือก่อประเด็นไปโจมตีผู้อื่น”

โดยพฤติกรรมการบริโภคจะเปลี่ยนแปลงไปจากการทำดีแบบเดิม ๆ แต่เกิดเป็น “มาตรฐานใหม่ในการทำดี” เพื่อนำไปสู่การหาแนวทางแก้ไข โดยรักษาสมดุลระหว่างการรักษ์โลกกับความสบายใจส่วนบุคคล รณรงค์ด้วยความสนุกสนานไม่เคร่งเครียด เคารพความเห็นต่าง และไม่กดดันตัวเองและผู้อื่นมากเกินไป

ดังนั้นชาว Consciouslites ในอาเซียนเเละไทย จึงชอบการช่วยเหลือสังคมที่ต้อง “สนุก” ไปด้วย รวมถึงต้องมีความตื่นเต้นเช่นการนำกิจกรรมทางกีฬามาช่วยเหลือสังคม อย่างการแข่งพายเรือเก็บขยะในคลอง การดำน้ำเก็บขยะในทะเล เป็นต้น

นอกจากนี้ พฤติกรรมที่โดดเด่นของชาวอาเซียน คือการเเชร์เรื่องราวเพื่อการทำดีเพื่อสังคมลงในโซเชียลมีเดีย เรียกว่าการส่งต่อความดีผ่าน #เเฮชเเท็ก ขณะเดียวกันการสนับสนุนกิจกรรมเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมต่างๆ ก็เป็นการสร้างภาพลักษณ์ให้ตนเองดูดีขึ้นในโลกออนไลน์ อีกทั้งได้กระตุ้นให้เเบรนด์ต่างๆ ต้องออกมาเคลื่อนไหวด้วยการทำแคมเปญเพื่อให้เกิดการเเชร์เพื่อสร้างการรับรู้เเละสร้างกลุ่มผู้ที่มีความสนใจเดียวกัน 

งานวิจัยของฮิลล์ อาเซียน ชี้ให้เห็นว่า วิถีชีวิตที่ใส่ใจสังคมและสิ่งแวดล้อม มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อและการเลือกแบรนด์ของผู้บริโภค และมีพลังในการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของกิจกรรมทางการตลาดต่าง ๆ

จาก CSR สู่การทำ CSI

พฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนเเปลงครั้งนี้ จึงเป็น “โอกาสสำคัญ” ของผู้ประกอบการและแบรนด์ที่จะเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคใหม่ ด้วยการเปลี่ยนจากการทำกิจกรรมเพื่อสังคม (Corporate Social Responsibility) หรือ CSR มาเป็น CSI (Conscious and Sustainable Initiative)

พร้อมพร สุภัทรวณิช ผู้จัดการแผนกวางแผนกลยุทธ์ บริษัท ฮิลล์ เอเชีย จำกัด กล่าวว่า ปัจจุบันโครงการ CSR ของเเบรนด์ต่างๆ ไม่ได้ตอบโจทย์การทำเพื่อสังคมได้ทั้งหมด เพราะเป็นการส่งเสริมระยะสั้น อาจไม่ต่อเนื่องและบางครั้งก็ไม่ได้เกี่ยวกับสินค้าของเเบรนด์ แม้จะเป็นการช่วยเหลือสังคมในมุมหนึ่ง แต่ไม่ได้สร้างการจดจำและสะท้อนเเบรนด์มากนัก

เเต่การทำ CSI เป็นความต่อเนื่องเเละมีผลต่อสังคมในระยะยาว โดยเเบรนด์สามารถนำเรื่องการดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อมมาปรับให้เกี่ยวข้องกับสินค้าเเละเเบรนด์ได้ พร้อมกับการกระตุ้นการซื้อเเละสร้างความภักดีในเเบรนด์ได้ทั้งกลุ่มผู้บริโภคเเละคนในองค์กรเองด้วย 

โดยฮิลล์ อาเซียน ได้แนะแนวทางการปรับตัวด้านการตลาดของแบรนด์และผู้ประกอบการธุรกิจใน 3 ด้าน ดังนี้

1. อุดมการณ์ของแบรนด์ (Brand Cause)

Identify the right issue : แบรนด์ไม่จำเป็นต้องพูดถึงทุกประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้น แต่ให้พิจารณาเลือกประเด็นปัญหาหรือคุณค่าเพียงอย่างเดียวมาเป็นสิ่งที่แบรนด์ให้ความสำคัญ และเจาะจงทำเรื่องนั้นอย่างต่อเนื่องจริงจัง
Stand up to stand out : แบรนด์ควรยืนหยัดเพื่อบางสิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่าสิ่งที่แบรนด์ต้องการขาย ซึ่งจะทำให้ผู้บริโภคเกิดความเชื่อมั่นในแบรนด์ และช่วยให้แบรนด์สามารถเชื่อมโยงกับผู้บริโภคได้อย่างลึกซึ้งมากขึ้น

2. การแสดงออกของแบรนด์ (Brand Expression)

Greenovative action : แบรนด์ควรกระตุ้นให้ผู้คนหันมามีวิถีชีวิตที่ใส่ใจสังคมและสิ่งแวดล้อมผ่านกิจกรรมที่สนุกสนาน หรือมีลักษณะคล้ายเกม ซึ่งนอกจากจะทำให้ผู้บริโภคได้รับประสบการณ์ที่ดีแล้ว ยังทำให้แบรนด์มีภาพลักษณ์ที่ดีด้วย

Make it fun and inspiring : Consciouslites ในอาเซียนชอบการสื่อสารในเชิงบวก แบรนด์จึงต้องเน้นย้ำการสื่อสาร ให้มีความสนุกสนานเพลิดเพลิน

3. ความร่วมมือกับพันธมิตร (Brand Collaboration)

Partnering with stakeholders : ผู้บริโภคมองว่าผู้มีอิทธิพลทางความคิด (key opinion leader) หรือ KOL และผู้นำชุมชนต่างๆ มีความน่าเชื่อถือและเป็นกระบอกเสียงสำคัญที่ควรได้รับการสนับสนุน การร่วมมือกับ KOL หรือผู้นำชุมชนที่เหมาะสม จะทำให้แบรนด์เป็นที่ชื่นชมและสนับสนุนมากขึ้น

 

 

]]>
1285842
พลิกสูตร “สหพัฒน์” จัดงานเเฟร์ออนไลน์ ครั้งเเรกรอบ 24 ปี “เอาเงินค่าเช่าที่ มาอัดโปรโมชั่น” https://positioningmag.com/1284615 Mon, 22 Jun 2020 15:42:05 +0000 https://positioningmag.com/?p=1284615 ก่อนจะเกิดการเเพร่ระบาดของ COVID-19 เชื่อว่าหลายคนตั้งตารอจะไปเดินงานเเฟร์เพื่อเลือกซื้อสินค้าลดราคาและหาดีลพิเศษมากมาย โดยเฉพาะงานใหญ่ประจำปีอย่างสหกรุ๊ปแฟร์ซึ่งจัดขึ้นมายาวนานกว่า 2 ทศวรรษเเล้ว

แต่ในปีนี้เกิดเรื่องไม่คาดฝันขึ้น การจัดงานที่มีผู้คนนับหมื่นไปรวมตัวกัน เป็นเรื่องที่ต้องหลีกเลี่ยง เเบรนด์ต่างๆ เเละฝ่ายผู้จัดต้องสรรหาหนทางใหม่ เพื่อรองรับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป เมื่อการซื้อของออนไลน์ได้กลายเป็น New Normal แห่งวงการค้าปลีก

COVID-19 จึงเป็นเหมือนตัวเร่งให้เครือสหพัฒน์ต้องปรับตัวมาจัดสหกรุ๊ปแฟร์ออนไลน์ครั้งแรกในปีที่ 24 ด้วยเเคมเปญ #ช้อปหยุดโลก

ด้วยจุดเด่นของงานแฟร์ คือการได้ลองของจริง มีให้เลือกหลากหลายและราคาถูก รวมถึงเป็นเเหล่งการเกิดดีลธุรกิจต่างๆ การจัดสหกรุ๊ปแฟร์แบบออนไลน์ครั้งนี้ จึงไม่ง่ายนักและมีความท้าทายอยู่มาก แต่ก็ถือเป็นการเริ่มต้นที่ดี

สหกรุ๊ปแฟร์ออนไลน์ครั้งนี้ จะเป็นโมเดลการทดลองขายสินค้าอุปโภคบริโภคผ่านทางออนไลน์ของเรา

ธรรมรัตน์ โชควัฒนา กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท ไอ.ซี.ซี.อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) ในฐานะประธานจัดงานสหกรุ๊ปแฟร์ออนไลน์กล่าว

เอาเงินค่าเช่าที่…มาอัดโปรโมชั่น

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำห้เครือสหพัฒน์ตัดสินใจเปลี่ยนรูปแบบการจัดงานในปีนี้มาเป็นสหกรุ๊ปแฟร์ออนไลน์โดยจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 2-5 กรกฎาคม 2563 จับมือกับ 3 แพลตฟอร์ม

E-Marketplace รายใหญ่อย่าง Lazada , Shopee เเละ JD Central นำสินค้ากว่า 100 แบรนด์ รวม 2 หมื่นรายการ พร้อมมีเว็บไซต์ sahagroupfair.com เป็นเว็บที่รวบรวมโปรโมชั่น ถ่ายทอดสดกิจกรรมต่างๆ และเชื่อมไปยังแพลตฟอร์มนั้นๆ

การจัดงานเเฟร์ปกติกับการจัดทางออนไลน์ สเกลมันไม่เท่ากันอยู่เเล้ว เราต้องยอมรับสถานการณ์ โดยปีนี้วางเป้าหมายรายได้ไว้ที่ 100 ล้านบาท ถือว่าลดลง 50% เมื่อเทียบกับการจัดงานสหกรุ๊ปแฟร์เเบบปกติในปีท่ี่ผ่านมา ที่สร้างรายได้สะพัดราว 200 ล้านบาท

ธรรมรัตน์ ไม่ได้เปิดเผยถึงงบประมาณในการจัดงานครั้งนี้ แต่ระบุว่า การจัดงานในรูปออนไลน์ไม่ต้องเสียค่าเช่าที่” และทางสหพัฒน์ก็มีการพัฒนาด้านออนไลน์ตลอด ดังนั้นต้นทุนจึงน้อยกว่าการจัดงานเเฟร์ปกติ อีกทั้งยังมีการขายเเบบ 24 ชั่วโมงซึ่งน่าจะเป็นการเพิ่มยอดขายได้

โดยจะมีการนำเงินส่วนที่เหลือมาใช้ในการอัดโปรโมชั่น เพื่อดึงดูดผู้บริโภคให้สั่งของออนไลน์มากขึ้น รวมถึงให้เปอร์เซ็นต์ส่วนเเบ่งกับแพลตฟอร์ม E-Marketplace ที่เข้าร่วมทั้ง 3 เจ้าให้มีการเสนอดีลพิเศษต่างๆ ให้กับลูกค้าด้วย อย่างการส่งฟรี ให้คูปองส่วนลด มี Flash Sale เป็นต้น

ในช่วงมาตรการล็อกดาวน์ที่ผ่านมา ส่งผลให้ยอดขายผ่านช่องทางออนไลน์ของเครือสหพัฒน์ มีอัตราการเติบโตถึง 300% แต่เมื่อเทียบกับยอดขายทางออฟไลน์แล้ว ก็ยังคงมีสัดส่วนน้อย โดยปัจจุบันการขายออนไลน์มีสัดส่วนในยอดขายทั้งหมดที่ 20% อย่างไรก็ตาม บริษัทได้ตั้งเป้าการเติบโตเพิ่มขึ้นเท่าตัวในอนาคต  ดังนั้นสหกรุ๊ปแฟร์ออนไลน์จึงเป็นก้าวเเรกที่สำคัญในการต่อยอดเเละปรับตัวครั้งนี้

ภาพบรรยากาศงานสหกรุ๊ป เเฟร์ ครั้งที่ 23 ในปี 2019 ก่อนที่ปีนี้จะมีการปรับมาจัดทางออนไลน์ เนื่องจากสถานการณ์การเเพร่ระบาดของ COVID-19

ให้ส่วนลดเเลกกับการรอคอย

คอนเซ็ปต์หลักๆ ของสหกรุ๊ปแฟร์ยังคงเหมือนเดิม เพียงแต่ผู้คนเปลี่ยนจากการเดินดูซื้อของ ไปเป็นการใช้นิ้วคลิกเลือกซื้อแล้วรอรับที่บ้าน

ด้วยเหตุนี้ ไฮไลต์สำคัญจึงเป็นการให้ส่วนลดที่มากกว่าปกติ เพื่อให้ลูกค้ารู้สึกคุ้มกับการรอคอยเเละคุ้มกับค่าจัดส่ง 

สำหรับสินค้าในสหกรุ๊ปแฟร์ออนไลน์ จะเเบ่งออกเป็น 7 หมวด ได้เเก่ Fashion, Lingerie, Health & Beauty, Baby & Toddler, Household, Grocery และ Services & Education โดยมีสินค้ามาจำหน่ายกว่า 100 แบรนด์ กว่า 20,000 SKU อย่าง วาโก้ บีเอสซี แอร์โรว์ ลาคอสท์ แอล (ELLE) เอราวอน กี ลาโรช อองฟองต์ แอ็บซอร์บา ฟาร์มเฮ้าส์ มาม่า มองต์เฟลอ ริชเชส ซื่อสัตย์ เอสเซ้นต์ เปา ซิสเท็มมา คิเรอิคิเรอิ โชกุบุสซึ วาเซดะบุนกะ ซึ่งสินค้า 7 หมวดนี้ จะมีทั้งสินค้านวัตกรรม สินค้าใหม่ สินค้าขายดี และสินค้า Clearance ที่นำมาลดพิเศษสูงสุดถึง 80% ตลอด 24 ชั่วโมง

นอกจากการจำหน่ายสินค้าแบบ B2C ให้กับผู้สนใจทั่วไปแล้ว จะมีการจำหน่ายแบบ B2B ให้กับร้านค้าทั่วไป ร้านค้าธงฟ้าประชารัฐ และผู้ที่ซื้อสินค้าไปจำหน่ายต่อในราคาพิเศษ 

ในเว็บจะมีการไลฟ์สดช่วง Flash Sale และการแจกคูปองส่วนลดเพื่อนำไปลดเพิ่มใน LAZADA SHOPEE และ JD CENTRAL ซึ่งทุกบิลที่ซื้อสามารถนำมากรอกข้อมูลชิงรางวัลในเว็บ กว่า 3,000 รางวัล รวมกว่า 9 แสนบาท สำหรับผู้ที่ต้องการสั่งซื้อล่วงหน้าจะเปิดให้มีพรีออเดอร์ (PRE SALES) สินค้าใหม่ในวันที่ 27 มิถุนายน – 1 กรกฎาคม 2020 เฉพาะที่ LAZADA พร้อมทั้งจะมีการรับสมัครสมาชิกและสะสมคะแนน His & Her ด้วย 

“ในทุกปีๆ สิ่งที่ลูกค้าคาดหวังจะมาดูในสหกรุ๊ปแฟร์ คือกิจกรรมเเละนวัตกรรมต่างๆ ซึ่งในเว็บจะยังคงมีกิจกรรมที่สร้างสีสัน เเต่เราจะทำให้พิเศษกว่าเดิม เพราะเป็นการเเสดงทางออนไลน์ โดยจะมีการจัดแฟชั่นโชว์ เวิร์กช็อปเเต่งหน้า กิจกรรมจากดาราและเซเลบริตี้ รวมไปถึงการรับสมัครงาน” 

ส่วนสินค้าไฮไลต์ที่จะมาเปิดตัวในปีนี้ จะเน้นไปด้าน Wealthness การดูเเลสุขภาพและนวัตกรรมใหม่ อย่าง นวัตกรรมผ้ายับยั้งเชื้อไวรัส ที่ได้ทำการทดสอบกับเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ H3N2 ซึ่งสามารถซักและนำกลับมาใช้ใหม่ได้ รวมไปถึงกางเกงในอนามัยรุ่นใหม่จากวาโก้ หน้ากากจากแอร์โรว์

ด้านเครื่องสำอางจะมีการเปิดตัวคอลเลกชั่นใหม่ arty professional x snoopy ส่วนโรงเรียนสอนภาษาและวัฒนธรรมญี่ปุ่นวาเซดะ จะมีการจัดคอร์สสอนออนไลน์เต็มรูปแบบ ขณะที่เเบรนด์ “มาม่า” จะมีการเปิดตัวข้าวต้มคัพ รสปลาทรงเครื่อง และเเบรนด์ฟาร์มเฮ้าส์จะมีโปรโมชั่นพิเศษเเละการจัดส่งให้ถึงบ้าน

อีกหนึ่งจุดเด่นของ “สหกรุ๊ปแฟร์ออนไลน์” คือการ “Cash Back เเละสินเชื่อดอกเบี้ยพิเศษ” จากสถาบันการเงินและกองทุน 11 แห่ง ได้แก่ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME Bank) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) ธนาคารออมสิน ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) (KTC) บริษัท อยุธยา แคปปิตอล เซอร์วิสเซส จำกัด และกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เพื่อให้ส่วนลดเงินสดและเครดิตเงินคืนสำหรับการซื้อแบบ B2C และให้สินเชื่อพิเศษสำหรับการซื้อแบบ B2B ซึ่งจะเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจได้อีกทางหนึ่ง

โดยมีดีลที่น่าสนใจ ยกตัวอย่างเช่น เสนอวงเงินกู้ตั้งเเต่ 2 เเสน- 20 ล้านบาทเพื่อซื้อของในงานด้วยดอกเบี้ยต่ำ ผ่อนนาน 7-10 ปี การใช้บัตรเครดิตเพื่อรับ Cash Back สูงสุด 30% หรือการสะสมเเต้ม ใช้คะเเนนทำยอดซื้อ เเละรับ E-coupon เป็นต้น (โดยรายละเอียดจะเเตกต่างไปตามเงื่อนไขของธนาคารที่เข้าร่วม)

โจทย์ยากของ “สหพัฒน์” 

ธุรกิจยามนี้ ทุกเเบรนด์ต่างหันมาขายออนไลน์กันอย่างเต็มที่ ปรับรับ New Normal ของผู้บริโภค แต่ความท้าทายของแบรนด์ในเครือสหพัฒน์ คือ ยังมีสินค้าจำนวนมากที่ยังไม่เหมาะกับขายผ่านช่องทางออนไลน์ อย่างพวกสินค้าอุปโภคบริโภคที่มีขนาดใหญ่ ค่าขนส่งเเพง หรือสินค้าประเภทที่ซื้อเเล้วต้องใช้ทันที สินค้าที่ลูกค้าอยากไปเดินช้อปปิ้งเเล้วได้กลับบ้านเลย

“มันเป็นโจทย์ยากในการปรับตัวมาขายออนไลน์ของเรา แต่สหพัฒน์ก็พยายามทำให้ดีขึ้น อย่างเรื่องการจัดส่งเราจะพยายามพัฒนาไปสู่การส่งเเบบวันเดียวถึง เสื้อผ้าก็ต้องทำให้มีไซส์มาตรฐาน มั่นใจว่ากดสั่งได้แม้ไม่ได้ลอง”

ขณะที่สิ่งที่ยังน่ากังวลคือ “กำลังซื้อ” ที่เพิ่งจะฟิ้นตัวอย่างช้าๆ เเม้จะมียอดขายทางออนไลน์จะมาช่วยบ้างเเต่ยังมีสัดส่วนน้อย โดยหลังจากปลดล็อกเเล้วกำลังซื้อก็เริ่มดีขึ้น โดยคาดว่าจะกลับมาได้เท่าช่วงก่อน COVID-19 ได้ภายในปีนี้

“ผมมองว่าคนไทยยังระมัดระวังในการจับจ่ายอยู่ และสิ่งที่น่าห่วงคือต้องรอดูภาวะการว่างงานหลังจากนี้ ซึ่งจะมีผลกระทบต่อกำลังซื้อ และจะฉุดให้ภาวะเศรษฐกิจหดตัวลากยาวต่อไปอีก” ธรรมรัตน์กล่าว

โดยคาดว่ายอดขายในส่วนของ ไอ.ซี.ซี.ฯ ปีนี้น่าจะติดลบ 10% จากเดิมตั้งเป้าหมายที่จะเติบโต 5% เนื่องจากในช่วงที่มีมาตรการล็อกดาวน์กำลังซื้อลดลงไปถึง 90% ซ้ำเติมจากก่อนล็อกดาวน์ที่ลดลงไป 10% แล้ว แม้ในช่วงคลายล็อกกำลังซื้อจะกลับมา 90% แล้วก็ตาม

ด้านการลงทุนกับพาร์ตเนอร์ต่างชาตินั้น ตามที่เคยมีการจับมือกับค้าปลีกญี่ปุ่นชื่อดังอย่าง “ดอง กิโฮเต้” (Don Quijote) และร้านขายสินค้าแบรนด์เนมมือสอง “Komehyo” ในช่วงที่ผ่านมา ปีนี้จะมีโอกาสจับมือกับพาร์ตเนอร์ใหม่ๆ หรือไม่นั้น

พิภพ โชควัฒนา กรรมการบริษัทและกรรมการบริหาร บริษัท สหพัฒนาอินเตอร์โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) ตอบว่า แบรนด์ในเครือยังมีการพิจารณาการลงทุนอยู่ แต่ด้วยความสะไม่ดวกในการประสานงานช่วงนี้ ทำให้การเซ็นสัญญาใหม่อาจจะน้อยลง เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยมองว่าหากสถานการณ์คลี่คลาย ปีหน้าก็เป็นโอกาสอันดี

“เศรษฐกิจของประเทศไทยน่าจะกลับมามีสัญญาณที่ดีขึ้นในช่วงปลายปีนี้ กลุ่มเสื้อผ้าที่จำเป็นต้องใช้ในชีวิตในประจำวันยังขายได้ เเต่กลุ่มเสื้อผ้าเเฟชั่นน้อยลง จึงต้องทำธุรกิจเเบบตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคให้ได้มากที่สุด ในช่วงนี้ธุรกิจด้านอาหารก็น่าสนใจ ซึ่งเราก็กำลังดูๆ ไว้อยู่”

เเบรนด์วาโก้ หันมาผลิตหน้ากากาอนามัย ในช่วง COVID-19

สำหรับนโยบายของ “เครือสหพัฒน์” ในช่วงเวลานี้ ธรรมรัตน์บอกว่าหลักๆ จะเเบ่งได้ดังนี้

  • การออกสินค้าใหม่ ต้องทบทวนใหม่ เช่นปกติเคยออก 3-4 คอลเลกชั่นต่อไตรมาส ก็จะมีการปรับลดลงตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป และไม่ให้เเย่งยอดขายกันเอง
  • ช่องทางการขาย ดูว่าเหมาะกับการขายออนไลน์หรือออฟไลน์ เจาะตลาดที่มีความต้องการจริงๆ
  • ระบายสต็อกสินค้า ซึ่งเป็นผลกระทบมาจากมาตรการล็อกดาวน์ โดยเฉพาะสินค้าเเฟชั่นที่ยังมีค้างสต็อกอยู่ จากเดิมที่เคยคาดว่าจะใช้เวลา 1 ปี ตอนนี้อาจจะต้องใช้เวลาระบายสต็อกถึง 2 ปี
  • บุกตลาดออนไลน์ เป็นหนึ่งในนโยบายดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นของบริษัท ซึ่งการจัดสหกรุ๊ปแฟร์ออนไลน์จะเป็นการเปิดทางสู่การพัฒนาในยุค E-commerce เเม้ว่าตอนนี้สัดส่วนขายออนไลน์ของสหพัฒน์ยังอยู่ที่ 20% แต่เป้าหมายเพิ่มยอดขายออนไลน์ใน 5 ปี (2019-2023) ตั้งใจว่าทำรายได้ให้ถึง 5,000 ล้านบาท

 

]]>
1284615