เเบรนด์หรู – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 03 Dec 2021 04:23:23 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 Volvo ชิงเกมด้วยลุค ‘รถยนต์ไฟฟ้าพรีเมียม’ เปิดตลาด ‘มือสอง’ ขยายฐานลูกค้าให้เข้าถึงง่าย https://positioningmag.com/1365083 Thu, 02 Dec 2021 12:53:21 +0000 https://positioningmag.com/?p=1365083 หลังวางโพสิชั่นสู้ตลาดด้วยมาด ‘รถไฟฟ้าระดับพรีเมียม’ ตามเทรนด์ความนิยมโลก เเบรนด์ยานยนต์จากสวีเดนอย่าง ‘Volvo’ (วอลโว่) ได้เวลา ‘เร่งเกียร์เร็ว’ เอาใจลูกค้าคนไทยอย่างต่อเนื่อง ด้วยการงัดกลยุทธ์ใหม่ ทั้งการมุ่งหน้าสู่ระบบดิจิทัล ขยายบริการซ่อมบำรุง เเละการอำนวยความสะดวกเรื่องการชาร์จ

วันนี้ ‘คริส เวลส์’ กรรมการผู้จัดการ บริษัท วอลโว่ คาร์ (ประเทศไทย) จำกัด จะมาเปิดเผยถึงกลยุทธ์ธุรกิจในปี 2565 กับเป้าหมายเติบโตให้ได้ 20 % พร้อมฉายภาพโอกาสของยานยนต์พลังงานสะอาดเต็มรูปแบบในไทย

คนไทยเปิดใจรับ ‘รถยนต์ไฟฟ้าล้วน’ 

คริส เวลส์ เล่าว่า ‘ปีนี้เป็นปีที่ยากจะคาดเดา’ ทั้งจากวิกฤตโควิดเเละปัญหาการขาดเเคลนเซมิคอนดักเตอร์ต่างๆ ที่สะเทือนหลายวงการ รวมไปถึงอุตสาหกรรมรถยนต์ พฤติกรรมผู้บริโภคก็เปลี่ยนเเปลง ใส่ใจสิ่งเเวดล้อมเเละความยั่งยืนมากขึ้น เเละเริ่มคุ้นชินกับการสื่อสารเเละซื้อขายผ่านช่องทางออนไลน์ ซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้ยังสามารถทำยอดขายได้ดี เเม้ในช่วงล็อกดาวน์

“อุตฯ รถยนต์ในไทยไม่ได้เปลี่ยนไปมากถึงระดับก้าวกระโดด ส่วนใหญ่คือการพัฒนาของรถยนต์ไฟฟ้า (EV) เเละเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง เเต่สิ่งที่เปลี่ยนไปเร็วมากๆ คือความคาดหวังของลูกค้า คาดหวังสิ่งที่เหนือกว่าที่พวกเขาจะได้รับ นี่คือโจทย์ใหญ่ของเเบรนด์รถยนต์”

กลุ่มลูกค้าของ Volvo ถือว่าอยู่ในกว้างมาก ส่วนใหญ่เป็นวัยทำงานอายุตั้งเเต่ 20 ปลายๆ ไปจนถึง 60 กว่าปี มีทั้งผู้ที่ชื่นชอบในเเบรนด์ คนที่สนใจด้านเทคโนโลยี รวมไปถึงกลุ่มบริษัทชั้นนำต่างๆ

Volvo ออกนโยบายยกเลิกการจัดจำหน่ายรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์สันดาป มาตั้งแต่ปี 2562 โดยมีการนำเสนอรถยนต์แบบ Recharge Plug in Hybrid และ Recharge Pure Electric ตามแผนธุรกิจระยะ 10 ปี เเละในปีนี้ก็มีการเปิดตัว Volvo XC40 Recharge Pure Electric รถยนต์พลังงานไฟฟ้า 100% เป็นครั้งแรก ซึ่งได้รับกระแสตอบรับที่ดีเพิ่มขึ้นจากผู้ใช้งานทั้งในไทยและต่างประเทศ

สำหรับรุ่นที่ ‘ขายดีที่สุด’ ในปีที่ผ่านมา ได้แก่รุ่น Volvo X60 Recharge Plug-in Hybrid คิดเป็น 23% ของยอดจำหน่ายรวมทั้งหมด ตามมาด้วยอันดับสองอย่างรุ่น Volvo XC40 Recharge Plug-in Hybrid คิดเป็น 20% และอันดับสามคือรุ่น Volvo V60 Recharge Plug-in Hybrid คิดเป็น 17%

ส่วนรถยนต์รุ่นแรกที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าแบบ 100% อย่าง Volvo XC40 Recharge Pure Electric สามารถสร้างยอดขายได้เป็นอันดับที่ 5 ในสัดส่วนสูงถึง 13% หลังจากเปิดตัวเป็นครั้งแรก สะท้อนให้เห็นการเปิดใจรับของผู้บริโภคชาวไทย ที่มองหา ‘รถยนต์ไฟฟ้าล้วน’ หรือ Battery Electric Vehicle (BEV) มากขึ้น

– Volvo XC40 Recharge Pure Electric

ด้านการขยาย ‘ศูนย์บริการ’ ตามมาตรฐาน Volvo Retail Experience (VRE) ในปีนี้ได้มีเครือข่ายโชว์รูมพันธมิตรเพิ่มเติมอีก 2 แห่ง ในกรุงเทพฯ และพัทยาพร้อมการเปิดตัว “Volvo Certified Damage Repair Centre (VCDR)” ศูนย์บริการซ่อมตัวถังและสีมาตรฐานเพิ่มขึ้นอีก 2 ที่ในกรุงเทพฯ

“เรามีการเปิดศูนย์บริการลูกค้าด้วยระบบดิจิทัล มีช่างเทคนิคบริการให้แก่ลูกค้าตลอด 24 ชั่วโมง 365 วัน โดยไม่มีวันหยุด เข้าหาลูกค้าให้ทั่วถึงมากขึ้นในพื้นที่ห่างไกลจากศูนย์ฯ ที่ตั้ง ต่อไปนี้ช่างจะเดินทางไปหาลูกค้า
โดยพกเเค่ซอฟท์เเวร์ ไม่ต้องใช้เครื่องมือหนักๆ ที่ต้องทำในอู่ซ่อมเหมือนรถยนต์รุ่นเก่าๆ”

ตั้งเป้าโต 20% พร้อมโมเดลโชว์รูมเคลื่อนที่ 

สำหรับกลยุทธ์ธุรกิจในปี 2565 Volvo จะผลักดันการขายผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคยุคใหม่ พร้อมกับการสร้าง Customer Touch Point ‘โชว์รูมเคลื่อนที่’ ที่เข้าถึงลูกค้าได้ในระดับตำบล หมู่บ้าน พร้อมต่อยอดบริการด้วยระบบ Volvo Personal Service (VPS) โดยลูกค้าสามารถเข้ารับบริการจากช่างเทคนิคส่วนบุคคล ที่รู้จักประวัติรถยนต์วอลโว่ของลูกค้า เพื่อให้การซ่อมบำรุงเป็นไปได้อย่างถูกต้องและประหยัดเวลาในการทำงาน เเละนำเสนอรูปแบบการให้บริการผ่านโทรศัพท์มือถือ

ขณะเดียวกัน ก็จะยังคงยึดถือ ‘แผนเติบโตอย่างยั่งยืน’ มุ่งทำตลาดรถยนต์ไฟฟ้าเช่นเดิม เพื่อปูทางนโยบายระดับโลกที่ภายในปี 2030 จะจำหน่ายเฉพาะรถยนต์ไฟฟ้าล้วนเท่านั้น

Volvo ประเทศไทย ตั้งเป้ายอดขายในสิ้นปีนี้ เติบโตที่ 10% เเละเป้าหมายในปีหน้าด้วยความหวังว่าจะเติบโตถึง 20% จากเเรงหนุนของรุ่นยนต์รุ่นใหม่อย่าง All New Volvo C40 Recharge ที่กำลังจะเปิดตัว พร้อมส่งมอบช่วงกลางปี 

– All New Volvo C40 Recharge

เปิดตลาด ‘มือสองพรีเมียม’ ขยายฐานลูกค้า 

อีกประเด็นที่น่าสนใจ คือ Volvo กำลัง วางแผนเดินหน้าการส่งมอบรถยนต์ ‘Premium Used Car’ หรือรถมือสอง จาก Volvo SELEKT ที่ทุกคนจะมีการรคัดสรรเเละตรวจสอบปรับปรุงให้เป็นไปตามมาตรฐานของบริษัท เพื่อขยายฐานลูกค้าให้เข้าถึงคนทั่วไป ที่มีกำลังทรัพย์ไม่มากนักเพิ่มขึ้น ใน ‘ราคาพิเศษ’ ซึ่งจะมีการเปิดเผยรายละเอียดในเร็วๆ นี้

เมื่อถามถึงสิ่งที่ Volvo อยากให้หน่วยงานภาครัฐสนับสนุน เวลส์บอกว่า หลักๆ เป็นเรื่องของโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญต่อการรองรับรถยนต์ไฟฟ้า เเละตอนนี้รัฐให้การสนับสนุนในฝั่งผู้ผลิต เเต่ยังจูงใจคนซื้อไม่ได้มากนัก ควรจะมีการออกนโยบายเเยกระหว่างฝั่งการผลิตกับนโยบาย ฝั่งผู้บริโภค เพื่อกระตุ้นให้มีการเปลี่ยนผ่านไปสู่รถยนต์ไฟฟ้าล้วน

ก่อนหน้านี้ Volvo ประเทศไทย มีการมอบอตู้ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าให้กับผู้ซื้อรถยนต์ของ Volvo ไปติดตั้งที่บ้านหรือที่ทำงาน เพื่อำนวยความสะดวกในการใช้งาน จับมือเป็นพันธมิตรกับ EA Anywhere ผู้ให้บริการสถานีอัดประจุไฟฟ้าสำหรับยานยนต์ระบบไฟฟ้า ซึ่งมีสถานีชาร์จไฟกว่า 1,000 จุดทั้งในกรุงเทพฯ ปริมณฑล และต่างจังหวัด พร้อมร่วมมือกับโรงเรียนสายอาชีพเพื่อปั้น ‘ช่างที่เชี่ยวชาญรถยนต์ไฟฟ้าโดยเฉพาะ’ เพื่อรองรับตลาดในอนาคต

โดยผู้บริหาร Volvo บอกว่า ไม่ได้มองถึงการเเข่งเป็นที่ 1 หรือที่ 2 ในตลาดรถไฟฟ้าเเบรนด์หรู เพราะต้องการแข่งกับตัวเองมากกว่า จึงเน้นการสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนทั้งในแง่ยอดขาย งานบริการ และความน่าเชื่อถือของแบรนด์ 

]]>
1365083
กระเป๋า Louis Vuitton ยอดขายพุ่ง นักช้อปเอเชียเริ่มกลับมาซื้อเครื่องประดับหรูมากขึ้น https://positioningmag.com/1356627 Thu, 14 Oct 2021 12:02:59 +0000 https://positioningmag.com/?p=1356627 สินค้าเเบรนด์เนมไฮเอนด์ขายดีต่อเนื่อง ความนิยมกระเป๋า ‘Louis Vuitton’ พุ่ง หลังคลายล็อกดาวน์ ขณะที่นักช้อปชาวเอเชีย ก็เริ่มกลับมาซื้อเครื่องประดับสุดหรูมากขึ้นเรื่อยๆ 

LVMH ยักษ์ใหญ่ธุรกิจลักชัวรี ที่มีเเบรนด์ในเครือกว่า 70 เเบรนด์ เเถลงว่า ยอดขายสินค้าแฟชั่นและเครื่องหนังต่างๆ เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ในช่วงไตรมาสของปีนี้ หลังร้านค้ากลับมาเปิดทำการตามปกติได้อีกครั้ง

โดยสินค้าหมวดแฟชั่นและเครื่องหนัง รวมถึงกระเป๋า ซึ่งมีสัดส่วนเกือบครึ่งหนึ่งของยอดขายทั้งหมดในเครือ LVMH มียอดขายเพิ่มขึ้นถึง 24% จากพลังความนิยมของเเบรนด์ Louis Vuitton และ Dior

LVMH มั่นใจว่าการเติบโตของบริษัทในปัจจุบัน จะดำเนินต่อไปตามเเนวโน้มการเติบโตโดยรวมของอุตสาหกรรมที่ยังคงเป็นไปในทางที่ดี ท่ามกลางสถานการณ์โรคระบาดค่อยๆ คลี่คลายลง

เเบรนด์หรูต่างๆ ฟื้นตัวกลับมาได้รวดเร็วจากวิกฤตโควิด เเม้ว่าอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเเละการเดินทางต่างประเทศจะยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่

อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์ ระบุว่า ยังมีความกังวลเกี่ยวกับอุปสงค์ที่อาจหยุดชะงักในตลาดใหญ่ๆ อย่างจีน เเละการระบาดของไวรัสกลายพันธุ์ รวมไปถึงนโยบายความรุ่งเรืองร่วมกัน” หรือ Common Prosperity ของประธานาธิบดีสีจิ้นผิงที่ต้องการลดความเหลื่อมล้ำทางรายได้ระหว่างคนรวยเเละคนจน จัดระเบียบธุรกิจเพื่อกระจายรายได้ซึ่งอาจกระทบถึงการใช้สินค้าหรูหราด้วย

เเต่ทาง LVMH มองว่านโยบายใหม่ของจีนนี้ ไม่ได้ส่งผลเสียต่อชนชั้นกลางระดับบนที่เป็นกลุ่มลูกค้าหลักของเเบรนด์ในจีนมากนัก

Jean-Jacques Guiony ประธานเจ้าหน้าที่การเงินของ LVMH ให้สัมภาษณ์ต่อกรณีนี้ว่า อาจเป็นผลดีต่อยอดขายด้วยซ้ำ เเละเราไม่ได้กังวลอะไรเป็นพิเศษ

Louis Vuitton เมืองเฉิงตู ประเทศจีน ภาพเมื่อเดือนมี.ค. 2019 (Photo : Shutterstock)

ตลาดเอเชีย ไม่รวมญี่ปุ่น นับเป็นภูมิภาคที่ทำเงินมากใหญ่ที่สุดให้เเบรนด์ในเครือ LVMH คิดเป็นกว่า 36% ของยอดขาย (ณ สิ้นเดือนกันยายน) ส่วนตลาดสหรัฐฯ ครองอันดับ 2 โดยมีสัดส่วนทำให้รายได้ราว 1 ใน 4 ของรายได้ทั้งหมด

ส่วนตลาดตลาดยุโรป ถือว่ามีการฟื้นตัวที่ดีมาก ในช่วงไตรมาสที่ 3 จากการเที่ยวในประเทศในช่วงฤดูร้อน แม้จะไม่มีกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวเอเชียไปช้อปปิ้งก็ตาม

โดยแผนกแฟชั่นและเครื่องหนัง เติบโตขึ้นกว่า 38% เมื่อเทียบเป็นรายปีในไตรมาสที่ 3 หลังจากเติบโต 40% ในไตรมาสก่อนหน้า

ส่วนสินค้าประเภทนาฬิกาและเครื่องประดับ ซึ่งรวมถึงเเบรนด์ดังอย่าง tiffany & co.ในตลาดเอเชียนั้น อ่อนตัวลงมาในช่วงเดือนมการาคมสิงหาคม จากข้อจำกัดโรคระบาด แต่เริ่มดีขึ้นเรื่อยๆ ในเดือนกันยายนเป็นต้นมา สะท้อนให้เห็นว่าชาวเอเชียกระเป๋าหนัก เริ่มกลับมาช้อปปิ้งหลังผ่อนคลายมาตรการโควิด-19

ทั้งนี้ ยอดขายโดยรวมในเครือ LVMH เพิ่มขึ้น 20% เป็น 17,900 ล้านเหรียญสหรัฐ ในไตรมาสที่ 3 (ณ สิ้นเดือนกันยายน)

 

ที่มา : Bloomberg , livemint 

 

]]>
1356627
เเรงงาน ‘เวียดนาม’ หลายล้านคน กำลังจะแห่หนี ‘กลับบ้านเกิด’ ป่วนซัพพลายเชนโลก https://positioningmag.com/1355806 Fri, 08 Oct 2021 10:54:40 +0000 https://positioningmag.com/?p=1355806 เเรงงานหลายล้านคนในเวียดนาม กำลังเเห่เดินทางกลับบ้านเกิดสะเทือนห่วงโซ่อุปทานการผลิตของเเบรนด์ต่างๆ ทั่วโลก

การระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ ทำให้โรงงานและท่าเรือในเอเชีย ต้องปิดทำการชั่วคราว ครอบคลุมถึงการผลิตชิปคอมพิวเตอร์ วัตถุดิบ สินค้าอุปโภคบริโภคเเละชิ้นส่วนรถยนต์ รวมไปถึงสินค้าเเฟชั่นอย่าง เสื้อผ้า รองเท้า ของเล่น

เวียดนามได้กลายเป็นประเทศ ‘ฐานผลิต’ สำคัญของบริษัทยักษ์ใหญ่ระดับโลก ที่เลือกย้ายการผลิตมายังอาเซียนมากขึ้น เพื่อหลีกเลี่ยงสงครามการค้าระหว่างจีนสหรัฐฯ

โดยนครโฮจิมินห์’ ถือเป็นศูนย์กลางการผลิตของเวียดนาม และเป็นที่ตั้งของโรงงานซัพพลายเออร์ให้แบรนด์ดังอย่าง Nike , Adidas เเละ Abercrombie & Fitch Co

เเต่หลังจากรัฐบาลได้ ผ่อนคลายมาตรการควบคุมการเดินทางเมื่อวันที่ 1 ..ที่ผ่านมา ทำให้ให้มีแรงงานหลายหมื่นคน เดินทางออกจากนครโฮจิมินห์ และจังหวัดใกล้เคียงอย่างบินห์ดอง , ดองไน และลองอัน

การที่รัฐบาลเวียดนามสั่งการให้โรงงานต่างๆ ในนิคมอุตสาหกรรมทางตอนใต้ของประเทศ จัดเตรียมที่พักให้กับคนงานหรือปิดการดำเนินงานชั่วคราวนั้น ก็สร้างความกังวลให้เหล่าเเรงงานไม่น้อย ตามรายงานของเว็บไซต์รัฐบาลเวียดนาม คาดว่าตอนนี้ยังมีเเรงงานในโซนอุตสาหกรรมกว่า 2.1 ล้านคน ที่ต้องการกลับภูมิลำเนาอีก 

ทางเจ้าหน้าที่ได้จัดรถโดยสารหลายร้อยคัน เพื่อขนส่งคนงานเหล่านี้กลับไปยังภูมิภาคต่าง ๆ ส่วนคนที่ยังได้รับวัคซีนไม่ครบโดส ก็จะถูกส่งไปยังศูนย์กักตัวก่อน

(Photo by Linh Pham/Getty Images)

การอพยพกลับถิ่นฐานของเเรงงานในเวียดนามจำนวนมากนี้ ทำให้ปัญหาขาดแคลนแรงงานที่มีมาก่อนเเล้วในช่วงวิกฤตโควิด มีความตึงเครียดมากขึ้นเรื่อยๆ เเละอาจจะส่งผลกระทบต่อซัพพลายเชนทั่วโลก

ประธานสมาคมสิ่งทอและเสื้อผ้าของเวียดนาม ให้สัมภาษณ์ว่า อุตสาหกรรมเสื้อผ้าของประเทศ อาจเจอปัญหาแรงงานลดลงถึง 37% ในช่วงเวลาที่เหลือของปีนี้

ด้านรองประธานสมาคมผู้ผลิตรองเท้าและกระเป๋าเวียดนาม เปิดเผยว่า ตอนนี้กว่า 40% ของคนงานในอุตสาหกรรมผลิตรองเท้า เดินทางกลับบ้านไปแล้วและยังไม่ชัดเจนว่าพวกเขาจะกลับมาทำงานตามเดิมได้มากน้อยเเค่ไหน

หลายปีที่ผ่านมา เวียดนามขึ้นเเท่นเป็นผู้ผลิตเสื้อผ้าและรองเท้ารายใหญ่ที่สุดอันดับ 2 ของบริษัทในสหรัฐฯ โดยผลิตสินค้าให้แบรนด์สัญชาติอเมริกันมากกว่า 1,000 แบรนด์

ปัญหาเหล่านี้ ทำให้เเบรนด์ยักษ์ใหญ่เริ่มมีการปรับเเผนสินค้าใหม่ โดย Urban Outfitters และ Abercrombie & Fitch ได้ประกาศเตือนถึงการขาดแคลนสินค้าในช่วงเทศกาลวันหยุด

ขณะที่ Nike ได้ปรับลดคาดการณ์ยอดขายลง จากสาเหตุหลักๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับโรงงานผลิตในเวียดนามกว่า 80% ในภาคใต้ และเกือบครึ่งหนึ่งของโรงงานผลิตเสื้อผ้าที่ต้องปิดทำการ ส่วน Adidas ก็มีการจัดสรรการผลิตสินค้าใหม่ไปยังประเทศอื่น ๆ ชั่วคราว

เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักงานสถิติ คาดการณ์ว่า จีดีพีของประเทศจะเติบโตเพียง 2.5% ในปีนี้ ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายที่รัฐบาลเคยตั้งเป้าไว้มากถึง 6.5%

โดยสถานการณ์โรคระบาดที่รุนเเรงจากสายพันธุ์เดลตา มาตรการล็อคดาวน์ที่ยาวนานเกินไป เเละการเป็นหนึ่งในประเทศที่มีอัตราการฉีดวัคซีนที่ต่ำที่สุดในภูมิภาค เป็นตัวเเเปรสำคัญที่กำลังส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของเวียดนาม

 

ที่มา : Bloomberg , Reuters

]]>
1355806
ก้าวเเรก 1 ปี ‘สยามพรีเมี่ยมเอาท์เล็ต’ กลยุทธ์ ‘รุกให้ถูกจังหวะ’ เพิ่มแบรนด์หรูหาลูกค้าไทย https://positioningmag.com/1339626 Tue, 29 Jun 2021 16:41:00 +0000 https://positioningmag.com/?p=1339626 1 ปีผ่านไปหลังการตัดสินใจเปิดตัว ‘สยามพรีเมี่ยมเอาท์เล็ต กรุงเทพของกลุ่มสยามพิวรรธน์ กับไซม่อน พร็อพเพอร์ตี้ กรุ๊ป จากสหรัฐฯ ท่ามกลางสถานการณ์โรคระบาด มาวันนี้ยังคงต้องปรับตัวรับความท้าทายเศรษฐกิจชะลอตัว ลุยต่อโมเดลเข้าหาคนไทยเมื่อนักท่องเที่ยวต่างชาติยังไม่กลับมาในเร็ววัน

Positioning จะพามาอัปเดตความเป็นไปของธุรกิจ การเเก้เเกมรับโควิดระลอกใหม่ กลยุทธ์อัดโปรโมชันต่างๆ เเละทิศทางต่อไปของสยามพรีเมี่ยมเอาท์เล็ต กรุงเทพ

ย้อนกลับไปช่วงก่อนการระบาดระลอกที่มีทราฟฟิกลูกค้าราว 5,000-6,000 คนต่อวัน เเละในเดือนพ..ที่ผ่านมาลดลง 20% เหลือราว 3,000 คนต่อวัน เเต่ปัจจุบันเริ่มกลับมาอยู่ในระดับใกล้ 5,000 คนต่อวัน 

ไมเคิล ถัง กรรมการผู้จัดการ บริษัท สยามพิวรรธน์ ไซม่อน จำกัด เล่าว่า ในช่วงเเรกของการเปิดตัวผลตอบรับดีเกินคาดผู้คนตอคิวซื้อยาวเหยียด จากนั้นก็ปรับลดเเละเพิ่มขึ้นตามฤดูกาล อย่างหน้าฝนคนจะน้อย เเละช่วงปีใหม่ก็จะคึกคักอีกครั้งเราพอใจเเละถือว่าทำได้ดี ในสภาพเศรษฐกิจเช่นนี้

เขายอมรับว่า โควิด-19 ระลอกที่ 2 ในช่วงต้นปี เหมือนการ ตกเหว’ ที่ทุกธุรกิจตกเหวไปด้วยกันหมด เเละการระบาดระลอกที่ 3 ในช่วงเดือนเม.. ก็เป็นการตกเหวอีกครั้งด้วยยอดผู้ติดเชื้อที่เพิ่มรัฐเข้มงวดมาตรการต่างๆสถานการณ์ที่คาดเดาไม่ได้ ทำให้ต้อง ‘Wait & See’  คิดกลยุทธ์ใหม่กันอีกรอบ พักรอจังหวะที่เห็นว่าเหมาะสม ค่อยเดินหน้าต่อเเละปล่อยแคมเปญ โปรโมชันต่าง ๆ ออกไป

ช่วยกันเป็น ‘เซลส์’ 

นับตั้งเเต่เปิดตัวมา 1 ปีสยามพรีเมี่ยมเอาท์เล็ต กรุงเทพมีผู้ใช้บริการไปแล้ว 2 ล้านคน เเบ่งเป็นผู้หญิง 65% และผู้ชาย 35% อายุเฉลี่ยตั้งเเต่ 23-50 ปี โดยเป็นลูกค้าคนไทยเกือบทั้งหมด อีกส่วนเล็กๆ เป็น Expat ชาวต่างชาติที่อยู่อาศัยในไทย

ส่วนครึ่งปีแรกของปี 2564 มีผู้ใช้บริการไปแล้ว 1 ล้านคน ยอดการใช้จ่ายเฉลี่ยอยู่ที่คนละ 1,400-1,500 บาท

ในช่วงวิกฤต สยามพรีเมี่ยมฯ วางกลยุทธ์เเบบร่วมด้วยช่วยกันทั้งบุคลากรเเละร้านค้า โดยทุกคนต้องเป็นเหมือนเซลส์ช่วยกันกระตุ้นกำลังซื้อ จากช่วงเเรกที่มีร้านค้าเปิดให้บริการแค่ 65% ปัจจุบันมีร้านค้าเปิดให้บริการ 91% เเล้ว

เเม้จะเหนื่อย เเต่ก็ถือว่าเป็นปีที่ได้เรียนรู้ ปรับตัวเเละวางเเนวทางการดำเนินงานใหม่ สร้างกลยุทธ์ใหม่ๆ เพื่อผลักดันธุรกิจให้ก้าวไปข้างหน้า ภายใต้ข้อจำกัดต่างๆ

สมาร์ทมาร์เก็ตติ้ง รุกให้ถูกจังหวะ

เมื่อผู้คนทั่วโลกยังไม่สามารถเดินทางได้ตามปกติ ประเทศไทยคาดการณ์ตัวเลขนักท่องเที่ยวขยายตัวในระดับต่ำ 1-2% โดยมองว่าการฟื้นตัวจะเริ่มดีขึ้นปีหน้า จำนวนนักท่องเที่ยวอาจจะกลับมาโตได้ 10-15% เเละประมาณ 2566-2567 จึงจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติเหมือนช่วงก่อนโควิด-19

เเผนกลยุทธ์ระยะสั้นที่ สยามพรีเมี่ยมฯ จะนำมาใข้ในครึ่งปีหลัง หลักๆ คือการคุมต้นทุนค่าใช้จ่ายเเละมุ่งเจาะลูกค้าคนไทยเป็นหลักที่ 95% ชาวต่างชาติที่พำนักในไทยอีก 5% 

ตามที่เคยให้สัมภาษณ์ไว้ว่าเเม้อนาคตจะมีการเปิดน่านฟ้า เเต่การรีทาร์เก็ตเบนเข็มมุ่งตลาดในประเทศ จะยังคงดำเนินต่อไปอย่างน้อยอีก 2 ปี” 

พร้อมพัฒนาเเพลตฟอร์มซื้อขายบริการทางออนไลน์ที่ครอบคลุมเเบรนด์ให้หลากหลาย เเละเข้าไปเป็นพันธมิตรกับธนาคาร

ปัจจุบัน แพลตฟอร์มออนไลน์ของบริษัทมีทั้งเว็บไซต์ เเละโซเชียลมีเดียอย่าง Facebook , Instagram เเละบริการ ‘CHAT&SHOP’ บน LINE Official ซึ่งหวังว่าจะเป็นช่องทางการขายรูปแบบใหม่ที่ช่วยเพิ่มยอดขายให้ร้านค้าได้ 10-30%

ต้องใช้การตลาดที่สมาร์ทขึ้น จับไทม์มิ่งปล่อยแคมเปญต่างๆ ให้ถูกจังหวะ รุกโซเชียลมีเดียทุกแพลตฟอร์ม

โดยลูกค้าส่วนใหญ่ ยังชอบเดินทางมาดูสินค้าเองที่เอาท์เล็ต ซึ่งการอยู่ในโลเคชั่นนอกเมือง เป็นเเหล่งช้อปปิ้งเเบบ Open Air ที่มีการดูเเลรักษาความสะอาดอย่างดีก็มีส่วนช่วยลดความกังวลให้ลูกค้าไปได้มาก

การควบคุมต้นทุนได้ดี เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้เราอยู่ได้ ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น น้ำไฟบางจุดไม่ได้ใช้ก็ต้องปิด ข้อดีของการเป็นองค์กรที่ลีนเเละมีทีมที่เล็ก คือเปลี่ยนกลยุทธ์ได้รวดเร็ว ปรับไปตามสถานการณ์เเละนำไปใช้ได้ทันที

อีกหนึ่งกลยุทธ์ที่เป็นจุดเเข็งของธุรกิจเอาท์เล็ตคือการเพิ่ม เเบรนด์ลักชัวรี ใหม่ๆ เข้ามาเปิดสาขาดึงดูดผู้บริโภคเดินทางช้อปปิ้งมากขึ้นโดยช่วงครึ่งปีหลังจะยังมีแบรนด์ทยอยมาเรื่อยๆ ในหลากหลายหมวดหมู่ ทั้งแบรนด์แฟชั่นหรูไลฟ์สไตล์ แบรนด์สินค้าแฟชั่นเเละสินค้าสำหรับเด็ก

ยกตัวอย่างเช่น ลองฌองป์ (Longchamp) ซึ่งจะเปิด ‘Exclusive Outlet’ แห่งแรกที่สยามพรีเมี่ยมเอาท์เล็ต กรุงเทพฯ ในเดือนสิงหาคมนี้ และแบรนด์รองเท้าเอคโค่ (Ecco)

นอกจากนี้ยังมีร้าน ป๊อปอัพ สโตร์ หมุนเวียนมาเปิด เช่น เสื้อผ้าแบรนด์สำหรับวัยรุ่นวัยทำงานอย่าง โพเมโล (Pomelo) เเละเเบรนด์ลัช (Lush) ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติแบรนด์ดังจากอังกฤษ ซึ่งเปิดให้บริการเป็นที่แรกที่สยามพรีเมี่ยมเอาท์เล็ต กรุงเทพ และมีแบรนด์รองเท้าอย่าง ไนน์ เวสท์ (Nine West), สตีฟ แมดเด้น (Steve Madden) แอร์วอร์ค (Airwalk) และเฟอร์นิเจอร์นำเข้าจากสหรัฐฯ อย่าง โยกิโบ (Yogibo)

มุ่งเเผนระยะสั้น รอโอกาสลุยระยะยาว 

เมื่อถามถึง กลุ่มตลาดรับหิ้วพ่อค้าแม่ค้าที่มาซื้อไปขายต่อผ่านโซเชียลมีเดีย ซึ่งลูกค้ากลุ่มนี้มีส่วนช่วยพยุงยอดขายของสยามพรีเมี่ยมเอาท์เล็ต กรุงเทพในช่วงปีที่ผ่านมา บางรายจ่ายสูง 3-4 แสนบาทต่อคนต่อครั้ง (ข้อมูล ณ เดือนต..63)

ไมเคิล ตอบว่า กลุ่มตลาดหิ้วยังเข้ามาใช้บริการอย่างคึกคัก ขายดีที่สุดในกลุ่มสินค้ากลุ่มรองเท้าเเละสปอร์ตแวร์ โดยพฤติกรรมการช้อปปิ้งจะเเตกต่างกับลูกค้าทั่วไป เพราะจะมาเลือกซื้อในช่วงวันธรรมดา เมื่อซื้อของจำนวนมาก ยอดต่อบิลก็จะสูงตามไปด้วย

เเผนการลงทุนเเละขยายสาขาต่อไปนั้น เเม้จะต้องชะลอจากสถานการณ์ COVID-19 เเต่ก็มีการพูดคุยกันเป็นระยะ โดยทางไซม่อน พร็อพเพอร์ตี้ กรุ๊ป ยังไม่สามารถเดินทางมาดูสถานที่จริงได้ในขณะนี้ จึงต้องรอให้สถานการณ์คลี่คลายก่อน

“ตามแผนธุรกิจระยะยาว อย่างไรก็ต้องขยายสาขา เเต่ต้องดูความพร้อมเเละทำสาขานี้ให้ประสบความสำเร็จก่อน

ตอนนี้ สยามพรีเมี่ยมเอาท์เล็ต กรุงเทพจึงขอมุ่งแผนระยะสั้น ด้วยวิธีการควบคุมต้นทุนให้มีประสิทธิภาพ พยุงธุรกิจให้ก้าวผ่านความไม่เเน่นอน พร้อมๆ กับการตลาดเชิงรุก สรรหาร้านค้าใหม่ๆ ปล่อยโปรโมชันต่างๆ เตรียมตัวให้พร้อมลุยเสมอ เมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัวเเละมีโอกาสที่ดีเข้ามา…

 

 

 

]]>
1339626
เพียง 3 เดือนเเรกของปีนี้ ยอดขาย ‘Hermes’ พุ่งเกือบ 44% คนรวยเอเชียทุ่มช้อปเเบรนด์หรู https://positioningmag.com/1329060 Fri, 23 Apr 2021 11:45:04 +0000 https://positioningmag.com/?p=1329060 ‘Hermes’ เเบรนด์เเฟชั่นหรูจากฝรั่งเศส เจ้าของกระเป๋า Birkin สุดโด่งดัง ทำยอดขายในไตรมาสแรกของปี 2021 เพิ่มขึ้นสูงถึงเกือบ 44% จากพลังช้อปของเหล่าคนรวยในเอเชีย โดยมีรายได้เพิ่มขึ้นถึงสองเท่าเมื่อเทียบกับปีก่อน หลังมีการผ่อนคลายมาตรการสกัดโรคระบาดเเละกลับมาเปิดร้านค้าได้อีกครั้ง

ความนิยมซื้อของหรูของกลุ่มคนมั่งคั่ง ไม่เเผ่วลงในช่วงวิกฤต COVID-19 โดยผลประกอบการของ Hermes ประจำไตรมาส 1/2021 เพิ่มขึ้น 43.7% ในอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่จากปี 2020 โดยสามารถรายได้รวมถึง 2,083 ล้านยูโร (ราว 7.8 หมื่นล้านบาท) ในช่วงเเค่ 3 เดือนแรกของปีนี้เท่านั้น เหนือความคาดหมายของนักวิเคราะห์ว่าคาดจะเพิ่มขึ้น 24%

ปัจจัยที่ส่งเสริมรายได้ของ Hermes ในช่วงนี้ก็คือยอดขายในเอเชีย(ไม่รวมญี่ปุ่น) ที่เติบโตขึ้นอย่างเห็นได้ชัดถึงถึง 93.6% เมื่อเทียบกับจากไตรมาสแรกของปี 2020 โดยเฉพาะยอดขายในจีน ที่เศรษฐกิจกลับมาฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว บวกกับยอดขายที่ทรงตัวในเกาหลีใต้ ไทย สิงคโปร์ และออสเตรเลีย 

ญี่ปุ่นยังเป็นตลาดสำคัญที่เติบโตได้ดีของ Hermes โดยมียอดขายเพิ่มขึ้น 20% ส่วนยอดขายฝั่งอเมริกาก็เพิ่มขึ้นกว่า 24% ช่วยชดเชยยอดขายที่ลดลงในตลาดยุโรป ที่เพิ่มขึ้นเพียงแค่ 4.4% เพราะยังต้องเผชิญกับการเเพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาระลอกใหม่

โดยสินค้าขายดีที่สุดของเเบรนด์ Hermes เป็นกลุ่มเครื่องหนัง , เสื้อผ้า Ready-to-Wear และผ้าไหม 

Eric du Halgouët ผู้บริหารระดับสูงของ Hermes ยืนยันว่า การเติบโตของยอดขายในไตรมาสดังกล่าวไม่ใช่แรงหนุนจาก ‘ราคาที่เเพงขึ้นเพราะบริษัทมีการปรับราคาขึ้นเพียง 1.4%ในปีนี้

ยอดขายออนไลน์เพิ่มขึ้น 100% หรือมากกว่านั้นในทุกภูมิภาค และมีแนวโน้มที่จะเกิน 1 พันล้านยูโรในไม่ช้า

ยอดขายที่เพิ่มขึ้นของแบรนด์แฟชั่นไฮเอนด์ต่างๆ ชี้ให้เห็นถึงสัญญาณการกลับมาเฟื่องฟูอีกครั้งของกลุ่มสินค้าลักชัวรี โดยคู่แข่งอย่าง LVMH และ Kering ก็มีรายได้เพิ่มขึ้นเช่นกัน อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องจับตามองปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ในวิกฤตนี้ เช่นในญี่ปุ่นที่ COVID-19 กำลังกลับมาระบาดรุนเเรงอีกครั้ง

 

 

ที่มา : Reuters , wwd 

]]>
1329060
อังกฤษ ยกเลิกคืนภาษีขาช้อปต่างชาติ ปลายปีนี้ เเบรนด์ดัง หวั่นกระทบ “ท่องเที่ยว-ค้าปลีก” https://positioningmag.com/1298212 Tue, 22 Sep 2020 12:45:22 +0000 https://positioningmag.com/?p=1298212 อังกฤษ เตรียมยกเลิก VAT-free shopping การช้อปปิ้งสินค้าปลอดภาษีสำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ในช่วงปลายปีนี้ ภาคธุรกิจหวั่นกระทบ “ท่องเที่ยว-ค้าปลีก” ทำให้ประเทศเสียรายได้หลายพันล้านปอนด์ต่อปี 

กระทรวงการคลังของอังกฤษ ระบุว่า หากข้อตกลง Brexit สำเร็จลุล่วงในช่วงปลายปีนี้ ทางสหราชอาณาจักรมีเเผนจะยกเลิกมาตรการ VAT-free shopping เนื่องจากผลประโยชน์ในหลายส่วนของสหราชอาณาจักรที่ไม่สอดคล้องกับบรรทัดฐานระหว่างประเทศ อีกทั้งยังมีค่าใช้จ่ายสูงและเสี่ยงต่อการฉ้อโกง

ด้านบรรดายักษ์ใหญ่ค้าปลีกเเละเเบรนด์หรูต่างๆ อย่าง Marks & Spencer, Heathrow และ Selfridges ร่วมส่งจดหมายถึงนายกรัฐมนตรีอังกฤษว่า การยกเลิกดังกล่าว จะสร้างความเสี่ยงกับเเรงงานกว่า 7 หมื่นคน โดยขายสินค้าปลอดภาษีสำหรับนักท่องเที่ยวนอกสหภาพยุโรปนั้น สามารถทำรายได้กว่า 3.5 พันล้านปอนด์ (ราว 1.4 เเสนล้านบาท) ในเเต่ละปี 

สำหรับโครงการคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ หรือ VAT Retail Export Scheme (VAT RES) เป็นสิทธิพิเศษให้นักท่องเที่ยวต่างชาติที่ซื้อสินค้าในเเหล่งท่องเที่ยว อย่างในกรุงลอนดอนและเอดินเบอระ รวมถึงย่านช้อปปิ้งยอดนิยมอย่าง Bicester Village เเต่ไม่ได้นำมาใช้หรือบริโภคในสหราชอาณาจักรสามารถขอคืนภาษีได้โดยเป็นโครงการที่ช่วยกระตุ้นการใช้จ่ายของชาวต่างชาติ

(Photo by Sergei BobylevTASS via Getty Images)

สมาคมการค้าปลีกระหว่างประเทศ (AIR) ที่ร่วมลงนามในจดหมายถึงนายกรัฐมนตรีอังกฤษดังกล่าว มองว่า การยกเลิกมาตรการนี้ จะส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวเเละธุรกิจค้าปลีกที่กำลังเจอมรสุม COVID-19 ยิ่งไปกว่านั้น สหราชอาณาจักรจะกลายเป็นประเทศเดียวในยุโรป ที่จะไม่มีการช้อปปิ้งสินค้าปลอดภาษี

ตอนนี้มาดริด มิลานและปารีส กำลังยินดีกับสิ่งที่รัฐบาลอังกฤษทำ เพราะถ้านักท่องเที่ยวจะต้องจ่ายเเพงกว่าในสินค้าประเภทเดียวกัน พวกเขาก็คงไม่ลังเลที่จะเปลี่ยนใจไปประเทศอื่น

ด้าน Thierry Andretta ผู้บริหารเเบรนด์หรูอย่าง Mulberry ที่ได้ร่วมลงนามในจดหมายร้องเรียนดังกล่าว บอกว่า การตัดสินใจของรัฐบาลอังกฤษ จะทำลายความสามารถการแข่งขันกับประเทศอื่นในยุโรป ทำให้เสียเปรียบทั้งด้านการจ้างงานและการผลิตในภาคอุตสาหกรรม

ทั้งนี้ จากข้อมูลของ Visit Britain ระบุว่า ในปี 2018 มีนักท่องเที่ยวต่างชาติใช้เงินราว 6 พันล้านปอนด์ (ราว 2.4 แสนล้านบาท) เพื่อช้อปปิ้งในสหราชอาณาจักรโดยในส่วนนี้กว่า 3.5 พันล้านปอนด์ เป็นการขายแบบไม่ต้องเสียภาษี เเต่มีนักท่องเที่ยวขอคืนภาษีเพียง 2.5 พันล้านปอนด์เท่านั้น

 

ที่มา : BBC , the guardian

]]>
1298212
ตลาด “ลักชัวรี” จีนฟื้นเร็ว คนรวยแห่ซื้อเเบรนด์เนม ยอดขาย Prada กลับมาโตกว่าปีก่อน COVID-19 https://positioningmag.com/1296739 Sun, 13 Sep 2020 12:01:45 +0000 https://positioningmag.com/?p=1296739 เเม้ว่ากลุ่มสินค้าเเบรนด์หรู จะได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ทำให้ยอดขายลดฮวบ โดยคาดว่าทั้งตลาดจะหดตัวกว่า 35% ในปีนี้ เเต่กลุ่มคนมีเงินในตลาดจีนนั้นกลับออกมาจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น สะท้อนให้เห็นจากยอดขายสินค้าหรูที่ฟื้นตัวอย่างรวดเร็วในเเดนมังกร

Patrizio Bertelli ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Prada เปิดเผยว่า ในช่วง 8 เดือนที่ผ่านมา เเม้จะต้องเผชิญวิกฤตโรคระบาดอย่างหนักในจีน เเต่ยอดขายของ Prada เพิ่มสูงขึ้นในระดับที่ดีกว่าปีที่แล้ว

ความต้องการสินค้าแบรนด์หรูของผู้บริโภคในจีน กลับมาฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว หลังเคยลดลงอย่างหนักในช่วงการระบาดของไวรัสโคโรนา ตั้งเเต่ช่วงปลายปี 2019 จนเเบรนด์หรูต่างๆ ต้องปิดทำการสาขาชั่วคราว ขณะที่โรงงานที่รับผลิตสินค้าก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน

ยอดขายในจีนเริ่มฟื้นตัวอย่างเห็นได้ชัด มาตั้งแต่ปลายเดือนมี.. และเติบโตด้วยอัตราสูงกว่า 60% ในเดือนต่อๆ มา โดยยอดขายในวันวาเลนไทน์ของจีนซึ่งตรงกับวันที่ 25 ส.ค.ที่ผ่านมานั้น ทำสถิติสูงที่สุดตั้งแต่ทำตลาดในจีน และเชื่อว่ากระแสดีมานด์นี้จะต่อเนื่องไปจนสิ้นปี

ตามผลสำรวจของบริษัทวิจัย Bain ระบุว่า ในปี 2019 ชาวจีนซื้อสินค้าหรูถึง 37% ของยอดขายทั่วโลก โดยส่วนใหญ่เป็นการซื้อขณะเดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศ เเละเมื่อปีนี้ไม่สามารถเดินทางไปท่องเที่ยวได้ จึงทำให้ชาวจีนหันมาช้อปปิ้งเเบรนด์หรูกันมากขึ้น ทำให้ดีมานด์สินค้าหรูในจีนยังคงสูงต่อเนื่อง 

ยอดขายของ Prada ในช่วงครึ่งปีนี้ ส่วนใหญ่มาจากภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกถึง 44% สะท้อนการบริโภคของคนรวยชาวเอเชีย เเต่เมื่อดูยอดขายของ Prada ทั่วโลกเเล้วจะพบว่าลดลงถึง 40% เพราะเศรษฐกิจในหลายประเทศยังคงไม่ฟื้นตัวจาก COVID-19 ดังนั้นตลาดลักชัวรีก็ยังคงต้องสู้กันต่อไปอีกยาว

ท่ามกลางยอดขายทั้งตลาดที่มีเเนวโน้มจะลดฮวบในปีนี้ หลายแบรนด์ดำเนินการแก้เกม เช่น ขึ้นราคาสินค้า ออกสินค้าไลน์ใหม่ ใช้สินค้า Collab ที่มีจำนวนจำกัด ดึงลูกค้ากลุ่มแฟนพันธุ์แท้ให้ซื้อต่อเนื่อง ซึ่งอาจจะต้องลุ้นเทรนด์ ‘Revenge Spending’ ของผู้บริโภคที่จะกลับมาช้อปกระหน่ำด้วยความอัดอั้น และลุ้นให้มีการเปิดการท่องเที่ยวระหว่างกันมากขึ้น เพื่อให้ยอดซื้อจากคนเดินทางกลับมาอีกครั้ง

อ่านต่อ : พิษไวรัสเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภคลักชัวรีจนยอดขายร่วง แบรนด์เร่งหากลยุทธ์แก้เกม

 

ที่มา : Reuters , CNBC

 

]]>
1296739
เคลียร์กันไม่ได้ Tiffany & Co. ยื่นฟ้อง LVMH ส่อ “ล้มดีล” ซื้อกิจการ หลังเเบรนด์หรูยอดขายร่วง https://positioningmag.com/1296386 Thu, 10 Sep 2020 12:25:25 +0000 https://positioningmag.com/?p=1296386 ดีลนี้จะล้มไม่ล้มเมื่อสถานการณ์เปลี่ยน เเบรนด์หรูยอดขายลดฮวบจากพิษไวรัส สะเทือนข้อตกลงทางธุรกิจ ล่าสุด Tiffany & Co. แบรนด์อัญมณีชื่อดัง เตรียมยื่นฟ้อง LVMH กลุ่มบริษัทแบรนด์เนมยักษ์ใหญ่ของโลก หลังส่อจะผิดนัดล้มดีลเข้าซื้อกิจการ มูลค่ากว่า 5 เเสนล้านบาท

ก่อนหน้านี้ LVMH ได้รับการร้องขอจากรัฐบาลฝรั่งเศส ให้ชะลอการเข้าถือครองกรรมสิทธิ์ของ Tiffany & Co. จากปัญหาอัตราภาษีศุลกากรจากสหรัฐฯ ทำให้ขั้นตอนพิจารณาถึงข้อตกลงในการซื้อกิจการมูลค่า 1.62 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 5 แสนล้านบาท) ในราคา 135 เหรียญต่อหุ้น ต้องหยุดชะงัก ก่อนจะเกิดวิกฤตการเเพร่ระบาดของ COVID-19

เเต่เมื่อเกิดโรคระบาดที่กระทบต่อธุรกิจทั่วโลก มีกระเเสข่าวว่า เบอร์นาร์ด อาร์โนลต์ ซีอีโอเครือ LVMH กำลังต่อรองกับ Tiffany & Co. ให้ยอมลดราคาต่อหุ้นลงมาจากเดิม เเต่ทาง LVMH ยืนยันว่าบริษัทไม่มีการพิจารณาซื้อหุ้นของ Tiffany ตามเเถลงการณ์ ณ วันที่ 4 มิ.. ที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม หลังจากนั้นก็ยังมีข่าวลือว่า LVMH จะกลับลำไม่เข้าเทกโอเวอร์กิจการออกมาต่อเนื่อง

จากความไม่เเน่นอนดังกล่าว ทำให้ Tiffany & Co. ตัดสินใจเตรียมที่จะยื่นฟ้องต่อ LVMH ว่ามีความจงใจหลีกเลี่ยงที่จะทำให้ข้อตกลงซื้อกิจการให้สำเร็จลุล่วง รวมถึงการตั้งคำถามเกี่ยวกับราคาที่เสนอขายกิจการ และความโปร่งใสในการดำเนินกิจการของ LVMH ที่มีปัญหาเกี่ยวกับภาษี

Roger Farah ประธานของ Tiffany & Co. กล่าวว่า LVMH พยายามหาวิธีหลีกเลี่ยงที่จะจัดทำข้อตกลงเพื่อถือครองกรรมสิทธิ์ ตามเงื่อนไขที่เคยตกลงกันไว้

เดิมที ความต้องการซื้อ Tiffany & Co. เกิดจากวิสัยทัศน์การขยายกิจการของ LVMH ที่ต้องการบุกตลาดสหรัฐฯ อย่างเต็มที่และเพิ่มแบรนด์เครื่องประดับเข้าพอร์ต มีการคาดการณ์ว่าจะปิดดีลได้เรียบร้อยภายในกลางปี 2020 แต่กลับมาเกิดวิกฤต COVID-19 เสียก่อน ทำให้บริษัทต้องหันมาบริหารความเสี่ยงและทำให้บริษัทอยู่รอดให้ได้

ด้านแถลงการณ์ของ LVMH ที่เป็นเจ้าของแบรนด์หรูกว่า 75 แบรนด์อย่าง Louis Vuitton , Christian Dior เเละ Dom Perignon ระบุว่า คณะกรรมการของบริษัทต้องทบทวนถึงสถานการณ์นี้ เพราะมีผลกระทบต่อการตัดสินใจกลุ่มลูกค้าสายแฟชั่นรุ่นใหม่

การแพร่ระบาดของ COVID-19 ส่งผลกระทบให้รายได้ในกลุ่มสินค้าแบรนด์เนม โดยผลประกอบการของ LVMH ในช่วงครึ่งปีแรกอยู่ที่ 18,393 ล้านยูโร ลดลง -27% เทียบช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่กำไรจากการทำธุรกิจอยู่ที่ 1,671 ล้านยูโร ลดลง -68% ส่วนยอดขายของ Tiffany & Co. ลดลงถึง 36% ในช่วงครึ่งปีแรกซึ่งอาจมีความเชื่อมโยงไปถึงปัญหาการเข้าซื้อกิจการครั้งนี้

โดยสถานการณ์ตลาดแฟชั่นหรูจนถึงสิ้นปี 2020 ทาง McKinsey บริษัทที่ปรึกษารายใหญ่ ประเมินไว้ว่าน่าจะหดตัว -35% ถึง -39% เพราะเหตุผลหลายประการทำให้ผู้บริโภคจะใช้จ่ายน้อยลงกับสินค้าลักชัวรี

 

ที่มา : BBC , Forbes

]]>
1296386
เเบรนด์หรู Mulberry โดนบีบจากมาตรการล็อกดาวน์ เตรียมปลดพนักงานทั่วโลก 25% https://positioningmag.com/1282875 Wed, 10 Jun 2020 06:46:01 +0000 https://positioningmag.com/?p=1282875 Mulberry เเบรนด์หรูจากเกาะอังกฤษ วางเเผนจะปลดพนักงานทั่วโลกกว่า 25% จากจำนวนทั้งหมด 1,400-1,500 คน เพื่อลดต้นทุน หลังได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการปิดร้านชั่วคราว ตามมาตรการล็อกดาวน์เพื่อสกัด COVID-19

จากความไม่เเน่นอนทั้งเรื่องผลกระทบเเละระยะเวลาในการเเพร่ระบาดของ COVID-19 ที่จะส่งผลต่อธุรกิจ ทำให้ Mulberry เเบรนด์หรูที่ขึ้นชื่อด้านกระเป๋าหนัง คาดว่ายอดขายจะฟื้นตัวเเบบค่อยเป็นค่อยไป เเต่ไม่ใช่ในเร็ววันนี้

เเม้ในบางสาขาในจีน เกาหลีใต้ ยุโรป และแคนาดา จะเริ่มกลับมาเปิดให้บริการได้เเล้ว เเละในอังกฤษก็มีเเผนที่จะกลับมาเปิดได้ในวันที่ 15 มิ.ย.นี้ เเต่ทว่าร้านค้า 120 แห่ง ใน 25 ประเทศทั่วโลกซึ่งทางเเบรนด์เป็นผู้บริหารเอง ยังคงต้องปิดให้บริการต่อเนื่องไปอีกตามมาตรการล็อกดาวน์ที่ยังคงมีอยู่ในหลายประเทศ

“การปิดร้านค้าจะยังส่งผลกระทบต่อธุรกิจของเราอย่างต่อเนื่อง” Mulberry ระบุในเเถลงการณ์

ในช่วง COVID-19 ที่ทำให้ร้านค้าของ Mulberry ส่วนใหญ่ต้องปิดให้บริการชั่วคราวมาตั้งเเต่ปลายเดือนมี.ค. ทางเเบรนด์พยายามหันมามุ่งขายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ ซึ่งมีการเติบโตที่ดี เเต่ด้วยกำลังซื้อที่ลดลงทำให้รายได้จากการขายออนไลน์ ไม่สามารถชดเชยรายได้จากการขายหน้าร้านที่ต้องปิดได้ทั้งหมดอยู่ดี

ขณะเดียวกัน การกลับมาเปิดร้านได้อีกครั้งก็ไม่ได้ทำให้ยอดขายกลับมาสดใสนัก เมื่อต้องมีมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) การลดลงของจำนวนนักท่องเที่ยว เเละผู้คนก็ออกมาเดินช้อปปิ้งน้อยลง เหล่านี้ล้วนกระทบต่อรายได้ทั้งสิ้น ดังนั้นการปลดพนักงานบางส่วน จึงเป็นทางเลือกของ Mulberry เพื่อให้สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปในระยะยาวได้

ด้านความเคลื่อนไหวของเเบรนด์หรูชื่อดังอีกเจ้าอย่าง Chanel ปรับกลยุทธ์ด้วยการ “ขึ้นราคา” ราคากระเป๋าบางรุ่น 5-17% ในสกุลเงินยูโร เหตุต้นทุนวัตถุดิบสูงขึ้นจาก COVID-19 กระทบซัพพลายเชน โดยนักวิเคราะห์มองว่าสินค้าแบรนด์หรูวางเป้าจะขึ้นราคาเพื่อรอนักช้อปที่อัดอั้นจากช่วงการเเพร่ระบาด

อ่านเพิ่มเติม : Chanel ขึ้นราคากระเป๋าหรู 20% เตรียมโกยเงินนักช้อป ชดเชยรายได้ที่หายไปช่วง COVID-19

 

ที่มา : Business Insider , Reuters

 

]]>
1282875
Louis Vuitton เตรียมปิดสาขาใหญ่ในฮ่องกงหลังเจอพิษประท้วง เเบกค่าเช่าเเพงลิ่ว https://positioningmag.com/1259388 Sun, 05 Jan 2020 06:29:57 +0000 https://positioningmag.com/?p=1259388 เเบรนด์หรูชั้นนำที่มีอายุมากกว่าศตวรรษอย่าง Louis Vuitton เตรียมปิดสาขาใหญ่ในฮ่องกงหลังเผชิญการประท้วงหนักจนยอดขายร่วง เเละต้องเเบกรับค่าเช่ารายเดือนกว่า 642,000 เหรียญสหรัฐ (ราว 19.3 ล้านบาท)

Louis Vuitton ภายใต้การบริหารของ LVMH Moet Hennessy มีสำนักงานใหญ่ที่กรุงปารีส ฝรั่งเศส เเละเป็นเจ้าของเเบรนด์หรูมากมาย อาทิ Christian Dior, Hermès เเละ Tiffany & Co. เป็นต้น

ก่อนการประท้วงใหญ่ในฮ่องกง Louis Vuitton ประสบความสำเร็จอย่างมาก ด้วยกระเเสการนิยมซื้อของหรูจากกลุ่มคนมั่งคั่งรุ่นใหม่ในเอเชีย จึงขยายเปิดถึง 8 สาขาเเละมีสาขาใหญ่อยู่ในห้างสรรพสินค้า Times Square มีพื้นที่กว่า 10,000 ตารางฟุต ตั้งอยู่บนหนึ่งในถนนสายหลักที่มีค่าเช่าเเพงที่สุดในโลก

ล่าสุดตามรายงานของ South China Morning Post ระบุว่า Louis Vuitton ตัดสินใจที่จะปิดสาขานี้ลง หลังจาก Wharf Real Estate Investment Corporation บริษัทเจ้าของห้าง Times Square ปฏิเสธคำขอในการ “ลดค่าเช่า” หลังมีการยื่นเจรจาไปก่อนหน้านี้

“เนื่องจาก Times Square ได้ลงนามในข้อตกลงในการรักษาความลับกับผู้เช่าทั้งหมดจึงไม่สามารถเปิดเผยข้อมูลใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเจรจาการเช่าหรือการจัดการได้”

การปิดตัวของ Louis Vuitton ในฮ่องกงเเห่งนี้ เป็นผลมาจากยอดขายที่ลดลงอย่างมาก หลังมีการประท้วงต่อต้านรัฐบาลจีนยาวนานต่อเนื่อง เเละการประท้วงดังกล่าวมักเกิดขึ้นในศูนย์การค้าหลายเเห่งในใจกลางเมือง

อีกหนึ่งเเบรนด์หรูรายใหญ่อย่าง Prada ก็วางแผนที่จะปิดสาขาที่พลาซ่า 2000 เช่นกัน เมื่อสัญญาเช่า 9 ล้านเหรียญฮ่องกง (1.2 ล้านเหรียญสหรัฐ) สิ้นสุดในเดือนมิถุนายน ปี 2020 นี้

นับเป็นวิกฤตการณ์ทางการเมืองที่เลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์ของฮ่องกง ชาวเมืองหลายล้านคนพากันเดินขบวนไปตามถนน เเละมีการปะทะกันระหว่างผู้ประท้วงและเจ้าหน้าที่บ่อยครั้ง

ทางการฮ่องกงเปิดเผยตัวเลขค้าปลีกล่าสุดว่า เดือนพฤศจิกายนตัวเลขลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 10 และลดลง 23.6 % จากเดือนเดียวกันปีก่อน

ขณะที่สินค้าหรูอย่างเครื่องประดับ นาฬิกา และของขวัญราคาแพงลดลงมากที่สุดถึง 46 % ด้านการท่องเที่ยว ในเดือนพฤศจิกายน มีผู้คนมาเยือนฮ่องกงเพียง 2.65 ล้านคน ลดลงถึง 56% จากเดือนเดียวกันปีก่อน โดยกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวจีนแผ่นดินใหญ่ซึ่งเป็นลูกค้าผู้ซื้อแบรนด์หรูที่ใหญ่ที่สุดก็หลีกเลี่ยงการมาเยือนฮ่องกง

ก่อนการประท้วงนี้เเบรนด์ Louis Vuitton เคยวางเเผนว่าจะเปิดตัวสาขาใหม่แห่งที่ 9 ภายในสนามบินนานาชาติฮ่องกงในปี 2021 จากความสำเร็จในสาขาในห้าง Times Square ที่มียอดขายต่อเดือนกว่า 25 ล้านดอลลาร์ฮ่องกง เเต่กลายเป็นว่าตอนนี้ต้องระงับแผนดังกล่าวเอาไว้ก่อนเเละเตรียมที่จะปิดสาขาที่เคยทำเงินมหาศาลด้วย 

 

Source

 

]]>
1259388